หรือที่ : http://www.mediafire.com/?109fpjmxr8ipbsm
..................
รายงานการจับกุม
นายครอง จันดาวงศ์











...............

สำนักนายกรัฐมนตรี
1 มิถุนายน 2504
ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท













(1) นโยบายภายนอกจะต้องทำความพยายามอย่างสุดความสามารถ ที่จะมิให้ราชอาณาจักรลาวตกอยู่ในความครอบงำของคอมมิวนิสต์

ข้าพระพุทธเจ้าหวังด้วยเกล้าฯ ว่า ด้วยเดชะพระบารมีและด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีของข้าพระพุทธเจ้า ต่อประเทศชาติ ต่อพระศาสนา และในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท รัฐบาลนี้จะสามารถปราบปราม และแก้ไขสถานการณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้นโดยลำดับ


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า จอมพล ส. ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี
รวม วงษ์พันธ์






เวลา 18.00 น. ของวันที่ 24 เมษายน 2505 รวม วงษ์พันธ์ ก็เดินเข้าสู่หลักประหารบริเวณคุกบางขวาง ด้วยท่าทีเด็ดเดี่ยวและไม่สะทกสะท้านต่อความตายที่กำลังทอดรออยู่เบื้องหน้า ก่อนที่เพชฌฆาตผูกตา มัดขา และมัดมือกับหลักประหาร รวม วงษ์พันธ์ ยังพูดคุยตั้งคำถามกับเพชฌฆาตอย่างหนักแน่นและใจเย็น

เพชฌฆาตผงกหน้าตอบว่า "เชื่อ"
ถ้างั้นคุณรับรู้ไว้เถิดว่าผมพูดความจริง คอมมิวนิสต์เป็นคนดี เขาทำเพื่อประเทศชาติเพื่อประชาชนที่ถูกกดขี่ ก่อนผมจะถูกยิงขอทำหน้าที่เป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่คุณจะปฏิบัติหน้าที่ของคุณ ผมอโหสิกรรมให้คุณ ให้ผมพูดจบก่อนแล้วค่อยยิงผม ลาก่อนครับ แล้วตะโกนดังลั่นว่า “จักรพรรดินิยมอเมริกาจงพินาศ เผด็จการสฤษดิ์จงพินาศ ประชาชนไทยจงเจริญ พรรคคอมมิวนิสต์จงเจริญ "
(สำเนา) คำสั่งให้ประหารชีวิต
นายรวม วงษ์พันธ์


ฉะนั้น อาศัยอำนาจมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรและโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงให้ทำการประหารนายรวม วงษ์พันธ์ เสียแต่บัดนี้ ณ. เรือนจำบางขวาง นนทบุรี
สั่ง ณ 24 เมษายน 2505
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี
จิตร ภูมิศักดิ์
(Jit Pumisak)
ปํญญาชนนักปฏิวัติ

เป็นบุตรของ นายศิริและนางแสงเงิน มีชื่อเดิมว่าสมจิตร ให้คล้องกับ ภิรมย์ พี่สาวคนเดียว ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร คำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจนของจอมพลป.
ปี 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งเป็นนายตรวจสรรพสามิตไปรับราชการจังหวัดกาญจนบุรี ปี 2484 - 2489 บิดาได้ย้ายจังหวัดพระตะบอง ซึ่งไทยได้คืนจากเขมร จิตรเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พระตะบอง ได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสและเขมรจนเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะภาษาเขมร ทั้งพูด เขียนและศิลาจารึก

แนวคิด และ การต่อสู้



เวลานั้นจิตรเพิ่งอยู่ในวัย 20 ต้นๆ แต่เขียนงานทางภาษาศาสตร์ได้โดดเด่นจนปราชญ์ผู้ใหญ่อย่าง กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร/พระองค์เจ้าธานีนิวัติ อยากรู้จักถึงขั้นขอพบตัว

จิตรเองก็คิดใฝ่ในทางนักปราชญ์ราชบัณฑิต ทำให้เขาค้นคว้าหาอ่านตำรับตำราอย่างจริงจัง และนำเขาไปพบกับงานของ นักเขียนฝ่ายประชาชนหลายคน เช่น
![]() |
อินทรายุทธ หรือนายผี คือ อัศนี พลจันทร์ |
อินทรายุธ ( นายผี/ อัศนี พลจันทร์ คนแต่งเพลงเดือนเพ็ญ ) กับงานวิจารณ์ศิลปวรรณคดี

บรรจง บรรเจอดศิลป์ (อุดม สีสุวรรณ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ) ชื่อ ดูวรรณคดีจากสังคม ดูสังคมจากวรรณคดี

สุภา ศิริมานนท์ ในนิตยสารอักษรสาส์น
![]() |
ศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ หรือ เสนีย์ เสาวพงศ์ ผู้เขียน ปีศาจและความรักของวัลยา |
เสนีย์ เสาวพงษ์ ในนิยายเรื่องความรักของวัลยา





หนังสือ 23 ตุลา มีข้อเขียนของจิตร อย่างน้อย 3 เรื่อง ได้แก่












ได้สอบสวนจิตร ว่าบทความในหนังสือบทความไหนเป็นของใคร จิตรใช้อะไรเป็นหลักเกณฑ์พิจารณา ว่าบทความใด ควรได้รับการตีพิมพ์ ได้ยกเอาบทความเรื่องผีตองเหลือง และกลอนเรื่องแม่ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่ามีเนื้อหาที่รุนแรง มาพิจารณาเป็นพิเศษ ให้จิตรบอกว่าใครเป็นเจ้าของกลอนและบทความ จิตรไม่ได้ให้คำตอบที่น่าพอใจกับคณะกรรมการซึ่งสรุปว่า จิตรมีความเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ และลงมติให้ส่งเรื่องจิตรให้ตำรวจสันติบาลทำการสอบสวนต่อไป

คณะกรรมการได้ตัดบทความออกหลายบทความ และยังลบข้อความบางข้อความออก และส่งต้นฉบับที่ผ่านการเซ็นเซอร์แล้วให้จิตร เพื่อนำไปดำเนินการจัดพิมพ์ต่อไป





การลุกลามบานปลายของสงครามใบปลิว และข่าวลือในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเหตุให้ ม.ร.ว.สลับ เลขาธิการจุฬาฯ เรียกประชุมนิสิตทั้งหมดหกคณะ ที่มีอยู่ราว 3,000 คน มาประชุมกันที่หอประชุมใหญ่ ในเวลา 12.15 น. เพื่อแถลงถึงสาเหตุที่ทางสภามหาวิทยาลัยสั่งระงับการแจกจ่ายหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาฯ








โซตัส (SOTUS) คืออักษรย่อ 5ตัว :
S=Seniority เคารพผู้อาวุโส
O=Order ต้องทำตามคำสั่งผู้อาวุโส

U=Unity ต้องคิดเหมือนๆกันอย่างเป็นเอกภาพห้ามคิดต่าง
S=Spirit พร้อมพลีชีพเพื่อสถาบัน





นิสิตผู้ก่อเหตุโยนบก สองคนแรกถูกทำโทษเพียงให้เดินลุยน้ำลงสระแค่ครึ่งตัว ส่วนอีกคนไม่ปรากฏความผิดและไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด








"คุณแม่ครับ นี่ไงครับปริญญาบัตรที่คุณแม่อยากเห็น"
แม่รับกระดาษแผ่นนั้นจากจิตร นางตั้งความหวังให้ลูกทั้งสองคนได้มาครอบครอง บัดนี้สมใจของคุณแม่แล้ว
จิตรถามแม่ว่า "แม่เสียใจไหมที่ผมไม่ได้เข้าร่วมพิธีรับพระราชทานปริญญากับเพื่อน ๆ "
คุณแม่แสงเงินย้อนถามจิตรว่า"จิตรตอบแม่ก่อนว่าปริญญาบัตรแผ่นนี้มีค่าครึ่งเดียวหรือเปล่า”
"เปล่าครับ" "ใช้สมัครงานที่ไหนได้หรือเปล่า " "ใช้ได้ครับ"
"เข้าใจหรือยังว่าแม่ตอบคำถามว่ากระไร " แม่ได้ตอบคำถามของจิตร—ด้วยการตั้งคำถาม...







กลุ่มแรก เป็นสมาชิกองค์กรจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) เช่น เปลื้อง วรรณศรี, อุดม สีสุวรรณ , หนก บุญโยดม และคนอื่นๆ

กลุ่มที่สอง เป็นนักการเมืองแนวสังคมนิยม เช่น เทพ โชตินุชิต , พรชัย แสงชัจจ์ , เจริญ สืบแสง และคนอื่นๆ

กลุ่มที่สาม เป็นพวกนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์ เช่น อุทธรณ์ พลกุล , อิศรา อมันตกุล , สนิท เอกชัย , เชลง กัทลีระดะพันธ์ และคนอื่นๆ







ที่รู้จักกันดี คือ หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคม ของชื่อชนชาติ"
หนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย
เพลง "ภูพานปฏิวัติ" เพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา"


..........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น