ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ :http://www.4shared.com/mp3/MPJXnM86/The_Royal_Legend_07.html
ตำนานๆ 009007 : กดหัวไว้ไม่ให้หมิ่น

หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

คือ ต้องหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และ ต้องมีเจตนา
มีถ้อยคำที่ควรพิจารณาอยู่ 3 ถ้อยคำ คือ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย
หมิ่นประมาท ตามมาตรา 112 คือ เป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ไม่ว่าเรื่องที่เล่ามานั้นจะจริงหรือเท็จก็ตาม ถ้าพระมหากษัตริย์เสียหายก็ถือว่าหมิ่นประมาทแล้ว
ดูหมิ่น หมายถึงการแสดงการเหยียดหยาม อาจกระทำทางกริยา เช่น ยกส้นเท้า ถ่มน้ำลาย หรือกระทำด้วยวาจา เช่น ด่าด้วยคำหยาบคาย
แสดงความอาฆาตมาดร้าย หมายถึง การแสดงว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายในอนาคต เช่น ขู่ว่าจะปลงพระชนม์ไม่ว่าจะมีเจตนากระทำตามที่ขู่หรือไม่ก็ตาม

ไม่รวมถึงองคมนตรี ท่านผู้หญิง คุณหญิง ข้าราชบริพาร สิ่งของ หรือสัตว์เลี้ยง…

แต่คำพิพากษาฎีกายืนยัน ห้ามใช้บังคับกรณีพระมหากษัตริย์ เพราะทรงเป็นที่เคารพสักการะ มีสถานะแตกต่างจากบุคคลทั่วไป ดังนั้นหากใครหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์และจะอ้างต่อศาลว่าตนติชมด้วยความเป็นธรรม ศาลก็ไม่รับฟัง

2.ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีในระบบกฎหมายไทยจริงหรือ


กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ในสังคมไทย มี 4 ระยะ คือ

ระยะที่สาม มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาปี 2499 โดยบัญญัติข้อความที่ใช้อยู่จนถึงปัจจุบันว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ต่อมามีการเพิ่มโทษในปี 2519 มีการเพิ่มคำว่า“ดูหมิ่น” และมีผลที่กว้างกว่ามากจนถึงปัจจุบัน


การเพิ่มคำว่า “ดูหมิ่น” เข้าไป ทำให้ความผิดฐานนี้ขยายออกไปมาก การกระทำที่เป็นความผิดฐานดูหมิ่น ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้ในปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะถูกตีความไปถึงเรื่องอื่นด้วย เช่น การพ่นสีสเปรย์ การไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ฯลฯ



ข้อเสนอเรื่องกฎหมาย
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

2.ควรเพิ่มข้อยกเว้นให้การแสดงความคิดเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นสิ่งที่กระทำได้
3.ควรปรับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไปตามระบอบประชาธิปไตยตามแบบของประเทศอื่นๆ ในสังคมโลกสมัยใหม่ โดยการฟ้องร้องดำเนินคดีควรทำได้เมื่อกษัตริย์มีพระบรมราชโองการ หรือโดยฉันทานุมัติจากกษัตริย์เท่านั้น ควรถือเป็นเรื่องส่วนตัวซึ่งกษัตริย์ย่อมมีสิทธิ์ที่จะปกป้องตนเองหากถูกกล่าวหา แต่ให้ดำเนินการฟ้องร้องคดีเอง โดยผ่านสำนักพระราชวังก็ได้ มิใช่ใครก็ฟ้องได้ ไม่ควรคิดแทนกษัตริย์ ควรเป็นสิทธิ์ของกษัตริย์เอง

ในขณะที่ประเทศอื่นๆที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้เปลี่ยนเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เปิดกว้างมากขึ้น แต่สังคมไทยกลับมีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกิดขึ้นมาก ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถพูดอะไรได้มาก กระบวนการยุติธรรมก็ลำบากใจต้องทำงานรับใช้เจ้าอย่างเต็มที่โดยไม่มีความปรานีใดๆ มันเป็นปัญหาที่สังคมไทยอยู่กับความผิดปกติ จนกระทั่งมันกลายเป็นเรื่องปกติไป หากไม่มีการแก้ไขปรับปรุง กฎหมายนี้ก็จะยังคงเป็นเครื่องมือทางการเมืองและสร้างความเสียหายแก่สถาบันกษัตริย์เองในที่สุด
ชะตากรรมนักโทษคดีหมิ่นฯ
ดา ตอร์ปิโด :
ชีวิตที่ไม่อาจล่วงรู้ชะตากรรม


กลุ่มเคลื่อนไหวทางด้านสิทธิมนุษยชนสากลได้เรียกร้องต่อทางการไทยให้เปิดการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยหลังจากมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ โดยอ้างเหตุผลเรื่อง"ความมั่นคงของชาติ" เพราะไม่มีหลักประกันการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม เป็นคดีที่จำกัดเสรีภาพในการพูด ทั้งๆที่กฏหมายสากล และกฏหมายไทยเอง ยึดถือหลักการพิจารณาคดีเปิดเผยต่อสาธารณะ
บุญยืน:
นักโทษที่ไม่มีใครรู้จัก

เปิดใจจากคุก
สุวิชา ท่าค้อ







ลองฟังคำปราศัยของดา ตอร์ปิโด และพิจารณาให้ความเป็นธรรมต่อผู้หญิงที่รักชาติรักประชาธิปไตยที่กล้าหาญคนหนึ่ง ใครผิดใครชั่วกันแน่ ระหว่าง คนที่อวดอ้างว่าเป็นเจ้าแต่แท้จริงเป็นแค่หัวหน้าโจร หรือคนที่กล้าเรียกร้องเพื่อความถูกต้องและยุติธรรม.....วันนี้เรามาเปิดประเด็นกัน มาทำคำว่าศัตรูของประชาชนให้ชัดเจน เพราะมีการอ้างว่าเป็นภาระจำยอม แต่จากการรัฐประหาร 15 ครั้งในอดีต เราจะตอบกับสาธารณชนได้อย่างไร จากการที่คนเป็นกบฏ ทำรัฐประหารสำเร็จ ตัดสินกันด้วยลายเซ็น ตลอดเวลา 60 กว่าปี เพียงแค่คนๆเดียวเซ็น จะตอบประชาชนว่าโดนบังคับหรือ เหมือน 19 กันยายน 2549 อย่างนั้นหรือ
การปล่อยให้ประชาชนถูกปล้นอำนาจและเห็นดีเห็นงามกับการรัฐประหารเพื่อให้สถาบันของตนเองอยู่รอดถือเป็นความเห็นแก่ตัว จากการปฏิวัติ24 มิถุนายน 2475 ที่นำโดยนายปรีดี พนมยงศ์ ที่ต้องเสี่ยงการโดนประหารเจ็ดชั่วโคตร ทั้งๆที่ท่านเป็นถึงเสนาบดีระดับสูง แต่ท่านต้องทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อเห็นแก่อนาคตของประเทศชาติและประชาชน




คือ นายชำนาญ เพ็ญชาติ


ตั้งแต่เราเสียนายปรีดี พนมยงค์เป็นเวลายาวนานมาแล้ว พอมาถึงสมัยนายกทักษิณก็กลับมาโดนคนๆเดียวกันเล่นงานอีก คนเราถ้าแก่ตัวแล้วก็หัดสำนึกตัวเสียบ้าง อุตส่าห์เดินทางไปหัวหิน ไม่รู้ว่าสำนึกตัวได้บ้างรึเปล่า นึกว่าจะไปปลีกวิเวกทำใจให้รู้สำนึกวาระสุดทเยของชีวิต จะทำความดีเป็นครั้งสุดท้าย แต่วันดีคืนดีก็ไฟเขียวให้พลเอกเปรมออกมาอีกแล้ว นี่คือการจำลองเหตุการณ์ก่อน 19 กันยา 2549 บอกได้เลยว่าการนองเลือดยังต้องเกิดขึ้นอีก คงต้องตัดสินกันด้วยการนองเลือด แต่พวกเราไม่กลัว เพราะถ้าไม่มีผู้เสียสละแบบ 14 ตุลา 2516 6 ตุลา 2519 และ 17 พฤษภา 2535 พวกเราก็จะไม่รู้จักว่าคุณทักษิณคือใคร รัฐธรรมนูญ 2540 คืออะไร เมื่อเรารับไม้ต่อมา และไม่สามารถรักษาระบอบประชาธิปไตยไว้ได้ เราก็คงไม่มีหน้าไปพบวีรชน 14 ตุลาที่อุตส่าห์เสียสละชีวิตเพื่อพวกเรา

รัฐบาลสมัครอยู่มาได้สี่เดือนโดยมีโครงการเมกกะโปรเจคท์มากมายในอีกหกเดือนข้างหน้า แต่บางคนก็ทนไม่ได้ต้องตั้งกลุ่มพันธมิตรขึ้นมาโดยมีพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลังและตอนนี้มันได้ขึ้นอยู่อยู่เบื้องหน้าเวทีแล้ว วันนี้ได้เวลาสะสางแล้ว เราจะปล่อยให้คนส่วนน้อยเพียงหยิบมือเดียวมาเป็นใหญ่ในบ้านเมืองต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เราเตรียมตัวไว้ได้เลย วันที่ 2 สิงหาคม 2551 นี้ ที่สะพานมัฆวาน
แม้ว่าเลือกตั้งเสร็จแล้วก็ยังต้องเจอปัญหาแบบเดิมอีก เราจึงคงต้องล้างกันด้วยเลือดเพื่อให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติแม้ว่าเราจะไม่อยากให้เกิดความรุนแรง ไม่อยากให้มีการสูญเสีย แต่เราก็ต้องเตรียมใจให้พร้อมเพื่อการต่อสู้ครั้งสุดท้าย

เป็นการทำหน้าที่ของพลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่...เป็นการพูดเตือนสติผู้มีบารมีที่ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินให้ความสำนึก

แทนที่จะได้สำนึกแต่กลับใช้อำนาจบาตรใหญ่โดยไม่มีความเมตตาปรานีใดๆ ทั้งสิ้น อย่างที่ได้พยายามสร้างภาพมาโดยตลอด
.......................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น