ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/fG8ycMae/The_Royal_Legend_020_.html
หรือที่ : http://www.mediafire.com/?4lb3lu7d374mq3m
หรือที่ : http://www.mediafire.com/?4lb3lu7d374mq3m
\..............








เรื่องราวในวังสมัยอยุธยา เป็นเรื่องที่โกลาหลวุ่นวาย และเต็มไปด้วยการนองเลือด ช่วงชิงราชบัลลังก์ การลอบปลงพระชนม์ เป็นสิ่งที่เขย่าขวัญและเกิดขึ้นบ่อย จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา ระหว่างกษัตริย์กับเจ้าฟ้าและราชินี มีหลายครั้งที่มีการกบฏจากคนนอกราชวงศ์



พระเจ้าตากสินซึ่งเป็นเจ้าเมืองตากเชื้อสายจีน ได้รวบรวมผู้คนขับไล่พม่าออกไป แล้วตั้งเมืองใหม่ที่กรุงธนบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปีพ.ศ.2311 โดยมีฐานสนับสนุน เป็นกลุ่มพ่อค้าคนจีน และกลุ่มขุนนางที่เหลือรอดตายจากอยุธยา





รัชกาลที่ 1 ได้รื้อฟื้นราชสำนักและระบบราชการ ตามแบบอยุธยา และระบอบศักดินา ทำการกวาดล้างพระสงฆ์ที่อยู่ฝ่ายพระเจ้าตากสินโดยอ้างว่าเป็นการยกเครื่อง หรือสังคายนาวงการสงฆ์ที่กำลังเสื่อมถอย เพื่อให้หันมาจงรักภักดีต่อกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์จักรี


แต่พอวังหน้า (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท บุญมา) ซึ่งเป็นน้องชายสวรรคต พวกวังหน้าตั้งกองฝึกอาวุธเตรียมกบฏ มีพระองค์เจ้าลำดวนและอินทปัตโอรสของวังหน้าเป็นหัวหน้า แต่รัชกาลที่ 1 ทรงทราบจึงสั่งจับประหารชีวิตทั้งหมดทั้งๆที่เป็นหลานของตนเอง


โดยอ้างว่ามีอีกาคาบรายชื่อผู้คิดก่อการกบฎ โดยให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ (เจ้าชายทับ / เจษฎาบดินทร์) เป็นคนชำระความ ทำการประหารชีวิตทั้งหมดเพื่อขุดรากถอนโคนเชื้อสายพระเจ้าตากสิน

รัชกาลที่ 2 ครองราชย์ปี 2352-2367 รวม 15 ปี เพื่อความปลอดภัยของบัลลังก์ ทรงมอบตำแหน่งสูงๆให้แก่ญาติๆและได้จัดสรรให้ลูกๆทุกคน รวมทั้งหมด 73 คน

รัชกาลที่ 2 ทรงประชวรอยู่นาน เจ้าจอมมารดาเรียม หรือสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนี แม่ของเจษฏาบดินทร์ โอรสที่เกิดนอกเศวตฉัตร ได้ถวายยาทำให้รัชกาลที่ 2 มีอาการทรุดลง

กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ให้ทหารล้อมวัง ปล่อยให้รัชกาลที่ 2 พระราชบิดาสวรรคต เพื่อยึดราชสมบัติเป็นของตน

เจ้าฟ้ามงกุฏพระราชโอรส ที่เกิดจากพระมเหสีสุริเยนทรามาศซึ่งมีอายุได้ 20 ปีเห็นท่าไม่ค่อยดี ต้องออกบวชไม่กี่เดือนก่อนรัชกาลที่2 สวรรคต และเจ้าฟ้ามงกุฏก็จำใจต้องบวชต่อไป เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของตน





แต่เอกสารของชาวตะวันตก บันทึกว่ารัชกาลที่4 เป็นแค่พวกหัวโบราณที่กลับไปกลับมา ไม่มีวินัย เป็นพวกมักมากและหมกมุ่นในกามคุณ เป็นคนโทสะร้ายและใจคออำมหิต ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับยุคสมัย


เพื่อลบล้างการดูถูกของพวกยุโรป ที่มองว่าประเพณีแบบฮินดูและการนับถือผีของสยาม เป็นเรื่องงมงายล้าหลัง จึงได้พยายามปรับเปลี่ยนพระราชกรณียกิจ และพิธีกรรมต่างๆให้มีความเป็นพุทธมากขึ้น โดยปกปิดบังอำพรางพิธีกรรมของพวกพราหมณ์ฮินดู ที่นับถือเทพเจ้าและลัทธินับถือผีของสยาม


สร้างพระสยามเทวาธิราช ให้เป็นเทวดาทำหน้าที่ปกปักรักษาพระราชอาณาจักร


กำหนดให้วันพระราชสมภพ และวันขึ้นครองราชย์เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่มีการเฉลิมฉลองตามอย่างยุโรป เป็นการยกสถาบันกษัตริย์ให้ศักดิ์สิทธิ์เทียบเท่าเทพเจ้าและพระพุทธเจ้า ซึ่งแม้แต่คนในราชวงศ์ก็ยังรู้สึกว่าชักจะมากเกินไปแล้ว


แต่อำนาจและมันสมองที่แท้จริง คือเสนาบดีช่วง บุนนาค (เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ) ชาวต่างชาติถือว่าเป็นกษัตริย์ตัวจริง ที่เจรจาต่อรองประประนีประนอมจนทำให้สยามรอดจากการเป็นอาณานิคม



รัชกาลที่ 4 มีพระสนมคนโปรด ชื่อ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ซึ่งมีลูกสาวสามคน และทั้งสามคนนี้ก็ได้เป็นมเหสีของรัชกาลที่ 5 และหนึ่งในนั้น คือพระนางเจ้าสว่างวัฒนาซึ่งเป็นย่าของรัชกาลที่ 9


พอเวลาผ่านไป พรรคพวกตระกูลบุนนาคก็ทยอยเสียชีวิตไป โดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์อสัญกรรมในปี 2426 ในขณะที่รัชกาลที่ 5 ก็ค่อยๆ แต่งตั้งเชื้อพระวงศ์ที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือลูกๆ ของรัชกาลที่ 4 ที่มีถึง 82 คน








กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระราชโอรสรัชกาลที่ 4 รับหน้าที่เป็นหัวหน้างานด้านวัฒนธรรมคนสำคัญ โดยอ้างหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ว่าราชวงศ์จักรีนั้นสืบทอดมาจากพ่อขุนรามคำแหง ธรรมราชาแห่งกรุงสุโขทัย




เจ้าฟ้าวชิราวุธ เป็นกษัตริย์สยามองค์แรกที่ผ่านการศึกษาจากตะวันตก จบจากออกฟอร์ดอังกฤษแล้วเข้าเรียนวิชาการทหารที่แซนเฮิร์ส ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6 เมื่อปี 2453

จึงได้พยายามปลูกฝังเรื่องความรักชาติ มีวินัย แต่ที่จริงก็คือ มุ่งเน้นให้ประชาชนจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เท่านั้นเอง

ทรงสร้างอุดมการณ์แห่งชาติขึ้นมาใหม่ คือ ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ให้เป็นสถาบันหลักที่คนไทยทุกคนต้องรักษาและรับใช้ โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงกำหนดวันหยุดนักขัตฤกษ์ขึ้นอีกสองวัน คือ วันจักรีและวันมหาจุฬาลงกรณ์ (วันปิยะมหาราช)



และบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
โดยมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่





รัชกาลที่ 6 ทรงชอบเก็บตัวไม่ค่อยได้ใกล้ชิดกับเชื้อพระวงศ์ที่ช่วยค้ำราชบัลลังก์ และชอบคลุกคลีกับพวกหนุ่มๆที่เป็นสามัญชน โดยมักหลีกเลี่ยงการว่าราชการงานเมือง ไปเพลิดเพลินอยู่กับวรรณคดีการละคร และขบวนแห่แหนทางทหาร

ในต้นปี 2355 มีนายทหารหนุ่มหลายสิบคนวางแผนยึดอำนาจเปลี่ยนการปกครอง เรียกว่ากบฏ ร.ศ. 130

แต่ทำไม่สำเร็จเพราะแผนการรั่วไหลไปถึงพระอนุชาธิราช จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสียก่อน


แต่รัชกาลที่ 6 ยืนยันเป็นคำขาด ว่าเป็นพระราชอำนาจของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว ที่จะตัดสินพระทัยในนโยบายใดๆของรัฐก็ตาม โดยไม่มีใครกล้าโต้แย้ง เมื่อรัชกาลที่ 6 สวรรคต เจ้าฟ้าประชาธิปกจึงได้สืบราชบัลลังก์เพราะเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดา

เจ้าฟ้าประชาธิปก เป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าองค์สุดท้องของรัชกาลที่ 5 กับพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พอหลังจากพระเชษฐาทั้งสามพระองค์สิ้นพระชนม์เจ้าฟ้าประชาธิปก ก็ได้ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 7 ทรงตัดงบค่าใช้จ่ายของราชสำนัก ปลดข้าราชการออกจำนวนมาก และลดเงินใช้จ่ายของกษัตริย์ลงไปครึ่งหนึ่ง







ตั้งแต่โบราณ กษัตริย์จะทำอะไร ก็แทบไม่เคยได้รับการตั้งคำถาม... กษัตริย์ได้รับการเคารพอย่างแท้จริง และพูดอะไรก็เป็นกฎหมาย... ในรัชสมัยที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้น สิ่งต่างๆย่ำแย่ลงมาก... ข้าราชการทุกคนน่าสงสัยว่าจะยักยอกเงินหลวง หรือไม่ก็เล่นพวกพ้องกัน โชคดีว่าบรรดาเชื้อพระวงศ์ยังเป็นที่เคารพ ว่าเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต


แต่รัชกาลที่ 7 ก็ยังคงคัดค้านการปฏิรูป ทรงยืนยันว่าระบอบรัฐสภาแบบยุโรปนั้นไม่เหมาะกับคนเอเชีย และชาวสยามยังไม่พร้อมสำหรับรัฐบาลที่มาจากตัวแทนประชาชน


ทรงเสนอให้มีการแต่งตั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพี่อดูแลงานของเสนาบดี แต่สภาสูงสุดคัดค้านอย่างหนัก โดย กรมพระยาดำรงราชานุภาพโต้แย้ง ว่ามันเสี่ยงต่อการที่ราษฎรจะเข้าใจว่ากษัตริย์ไม่ได้ปกครองประเทศนี้อีกต่อไปแล้ว

รัชกาลที่ 7 ทรงแต่งตั้งองค์กรฝึกหัดทางนิติบัญญัติขึ้นมา เรียกว่าสภากรรมการองคมนตรี องค์กรนี้ไม่มีอำนาจ แต่มีหน้าที่อภิปรายถกเถียงเรื่องนโยบายสาธารณะ ได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ ส่วนใหญ่เป็นราชนิกูล แต่พวกเชื้อพระวงศ์รุ่นใหญ่ก็ยังคัดค้านอีก




ปลายปี 2473 เกิดวิกฤติทางการเงินของสหรัฐฯ ส่งผลไปทั่วโลกรวมทั้งสยาม รายได้หลักของรัฐคือภาษีจากสินค้าส่งออกและนำเข้าลดฮวบ รัชกาลที่ 7 และอภิรัฐมนตรีสภาต้องเร่งแก้ไขกันอย่างเต็มที่ เป็นเวลากว่า 18 เดือน ทรงเสนอให้จัดเก็บภาษีรายได้ทั่วไปและภาษีทรัพย์สิน




ตุลาคม 2474 รัชกาลที่ 7 ทรงให้มีคณะกรรมการจัดทำร่างรัฐบาลแบบประชาธิปไตยและระบอบกษัตริย์ที่มีรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยเสนาบดีการต่างประเทศ พระองค์เจ้าเทววงศ์วโรปการ








การยื่นคำขาดนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้ราชสำนักตกตะลึงเท่านั้น บางคนในคณะราษฎรเองก็ยังตะลึงงันไปด้วยเนื่องจากไม่สามารถคาดคิดว่าถ้าสยามไม่มีกษัตริย์แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร












รัฐบาลใหม่ไม่ได้ตัดบรรดาเจ้าออกไป มีแต่เชื้อพระวงศ์รุ่นใหญ่เท่านั้นที่ถูกกันออกไป มีเพียงรายเดียวที่ถูกเนรเทศ นั่นคือ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธ์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพ ที่มีสิทธิขึ้นครองราชย์ ข้าราชการที่จงรักภักดีจำนวนมากยังคงทำงานกับรัฐบาล

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ผู้พิพากษาอาวุโสได้เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งๆที่เคยเป็นสมาชิกสภาองคมนตรี ของรัชกาลที่ 7 และภรรยาก็ทำงานรับใช้พระราชินีรำไพพรรณี พระยาศรีวิสารวาจา ผู้นิยมเจ้าอย่างเข้มข้น ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ







แม้ในอีกหลายสิบปีต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 9 ก็ยังมีการอ้างว่าระบอบประชาธิปไตยของไทยไม่ได้มาจากการปฏิวัติ หากแต่ได้รับการพระราชทานมาจากรัชกาลที่ 7 ทำให้ความสำเร็จของคณะราษฎรจะถูกลบหายไป

หนึ่งเดือนหลังจากนั้น รัชกาลที่ 7 ก็ได้โอกาสสร้างความขัดแย้งในคณะราษฎร ขณะเศรษฐกิจถดถอยอย่างต่อเนื่อง นายปรีดึ ได้ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจที่เสนอให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมปัจจัยการผลิต ที่ดินและเงินทุนส่วนใหญู่ของประเทศ





12 ตุลาคม 2476 พระองค์เจ้าบวรเดช ผู้บัญชาการทหารเชื้อสายเจ้าสมัยก่อน2475 ได้นำนายทหารฝ่ายนิยมเจ้า ทำการรัฐประหารในนามของวัง



สองสามสัปดาห์หลังการก่อกบฏ รัชกาลที่ 7ทรงประกาศแผนการเดินทางไปต่างประเทศ อ้างว่าเพื่อไปรักษาพระเนตร วันที่ 12มกราคม 2477 พระองค์ได้เสด็จไปอังกฤษพร้อมข้าราชบริพารจำนวนมากโดย ให้กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ โอรสอายุ 70 ปีของรัชกาลที่ 4 เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

รัชกาลที่ 7 ทรงยื่นคำขาดจากกรุงลอนดอน เพื่อแลกกับการกลับประเทศ โดยพระองค์ต้องการอำนาจตามรัฐธรรมนูญมากขึ้น เช่น สิทธิในการเลือกสมาชิกครึ่งหนึ่งของสภา การควบคุมงบประมาณของกษัตริย์ และอำนาจการยับยั้งที่จะไม่เป็นผลก็ต่อเมื่อสภายืนยันด้วยเสียง 3 ใน 4



ขณะสละราชสมบัติ รัชกาลที่ 7 ได้ทรงทิ้งประโยคทองที่ยืนยันความสูงส่งของพระองค์ไว้เป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งมันไม่ได้ช่วยอะไรพระองค์เลย แต่มันได้กลายเป็นประโยคหากิน หรือวาทกรรมอมตะ ที่ใช้อ้างกันเป็นประจำในสมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นหลานลุงของรัชกาลที่ 7

...ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองที่ไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้บุคคลใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้


..........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น