หรือที่ : http://www.mediafire.com/?1kmf63kwurvta15
ตำนานๆ 009015 : เทียบรัศมี แข่งพระบารมี
............




เช่น นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์

นายวิชิต สุรพงษ์ชัย

และนายยศ เอื้อชูเกียรติ
พวกเขาเป็นนักปฏิบัติ แกร่งและตั้งใจกันวังออกจากการวิวาทอันเอิกเกริกอย่างที่กลุ่มธุรกิจไทยอื่นๆ มีกับเจ้าหนี้


แต่ธนาคารไทยพาณิชย์ไม่สามารถจะแบ่งขายได้ เพราะเครือซีเมนต์ไทยกับบริษัทลูกเกือบทั้งหมดมีมูลค่าติดลบอย่างรุนแรง ธนาคารไทยอื่นๆ มีทางเลือกเดียว คือให้ต่างชาติเทคโอเวอร์หรือยึดกิจการ






















ความเกินพอเพียงและเกินพอดีนี้ คงไม่ใช่ความผิดของวังไปเสียทั้งหมด พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมักจะทรงอนุญาตให้คนยกย่องสรรเสริญสดุดีพระองค์อย่างไรก็ได้ ตามแต่พวกเขาต้องการ แต่ที่น่าสนใจก็คือ บรรดาข้าราชบริพารของพระองค์ต่างแข่งกันแสดงความประจบสอพลอให้สอดคล้องกับพระราชอัธยาศัยของพระองค์



ระหว่างนั้น นายชุมพล ณ ลำเลียง กรรมการผู้จัดการเครือซีเมนต์ไทยผู้ใกล้ชิดวังได้อธิบายให้นักข่าวต่างชาติฟัง ถึงความสุดยอดของการปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่เหนือกว่ารัฐบาลว่า “ เมื่อไหร่ที่เกิดหายนภัย พระเจ้าอยู่หัวไม่จำเป็นต้องทรงดูว่ามีงบประมาณหรือข้อจำกัดของไอเอ็มเอฟ IMF หรือไม่ ”



หนังเสร็จล่าช้า งบสร้างบานปลายถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่าสี่ร้อยล้านบาท ราวห้าเท่าของหนังไทยเรื่องที่แพงที่สุด เมื่อออกฉายในเดือนสิงหาคม 2544 วังก็ลากบรรษัทยักษ์ใหญ่ของไทยมาร่วมแบกรับต้นทุน













แต่ภาพที่ออกมากลับเป็นการตรวจสอบวิเคราะห์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงจะยังแสดงความเคารพเทิดทูนและพยายามพูดในแง่ดี แต่ก็ยังกล้าตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของวัง พร้อมทั้งไปสัมภาษณ์นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักวิจารณ์เจ้าขาประจำ


เป็นเวลาหลายสิบปีที่พระราชวังของไทยได้ปฏิเสธงานเขียนของเธอว่าเป็นเรื่องแต่งหรือเป็นเรื่องโกหกทั้งสิ้น เพราะนางเลียวโนเวนส์ไม่ได้ยกย่องสดุดีเทิดพระเกียรติรัชกาลที่สี่ให้เจิดจ้าสมกับเป็นพระมหากษัตริย์ของไทย




เมื่อภาพยนต์ออกฉายปลายปี 2542 ก็ถูกห้ามฉายในไทย ด้วยเหตุผลหยุมหยิมไร้สาระอ้างปัญหาสารพัด ทั้งๆที่มิได้ล่วงเกินสถาบันพระมหากษัตริย์จนน่าเกลียดและมีคุณภาพปานกลางพอชมได้ แต่มันก็กระตุ้นความเห็นต่อประเด็นจริงๆ คือ ประวัติศาสตร์ไทยฉบับไหนกันแน่ที่ถูกต้อง ของวังหรือของคนอื่นๆ

ดร. ธงชัย วินิจจะกูล อดีตนักศึกษาผู้เคยร่วมเหตุการณ์หกตุลาและสอนในมหาวิทยาลัยที่สหรัฐฯ ได้เขียนไว้ว่าประวัติศาสตร์ของทางการไทยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานความจริงพอๆกับของฮอลลีวูด

ดร.ธงชัยชี้ว่ารัชกาลที่สี่ในหนังแอนนาแอนด์เดอะคิงนั้นหล่อมากซึ่งตรงข้ามกับพระองค์จริงของรัชกาลที่สี่ที่ค่อนข้างชราและไม่ได้ทรงหล่อเหลาแม้แต่สักนิด



ปี 2543 เป็นปีครบรอบร้อยปีชาตกาลของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สนับสนุนนายปรีดีต้องการใช้โอกาสนี้ฟื้นฟูชื่อเสียงเกียรติคุณนายปรีดี


เมื่อข้าราชบริพารในวังได้พบเห็นเข้า พวกเขาหาทางสกัดด้วยการจองที่จองทางทั้งปีเพื่อจัดงานใหญ่สำหรับพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และเสนอชื่อพระราชชนนีถึงองค์การยูเนสโก ทั้งๆที่พระราชชนนีแทบไม่เป็นที่รู้จักนอกราชอาณาจักรไทย

แต่วังกลับมองว่าเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของประเทศไทย เพราะประเทศไทยก็เคยเสนอชื่อไปในครั้งก่อนต่อยูเนสโกในปี 2535 ซึ่งก็ไม่เป็นที่รู้จักเสียยิ่งกว่าพระราชชนนี นั่นคือ สมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลนั่นเอง




ทำให้ชื่อเสียงและเกียรติคุณที่ได้รับการชำระตรวจสอบแล้วของนายปรีดีถูกจำกัดให้รับรู้แต่ในเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางและชั้นสูงในเมืองที่มีการศึกษาที่ได้อ่านสื่อสิ่งพิมพ์ในกรุงเทพฯเท่านั้น ส่วนประชาชนที่เป็นฐานเสียงสำคัญของวัง นักเรียนและชาวบ้านต่างจังหวัดก็จะรู้จักอยู่แต่บุคคลสำคัญที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น




วังเริ่มเตรียมการสืบราชบัลลังก์ เพราะตระหนักดีว่าชื่อเสียงอันฉาวโฉ่ของฟ้าชายวชิราลงกรณ์อาจนำไปสู่ปัญหายุ่งยากได้ วังจึงต้องกำกับดูแลทิศทางเพื่อควบคุมกระบวนการนี้ให้แน่ใจว่ากลุ่มกำลังฝักฝ่ายอื่นๆในวงราชการและกองทัพ นักการเมืองและสาธารณชนทั่วไปจะไม่มีทางเข้ามาแทรกแซงได้ และรัชทายาทยังคงเป็นฟ้าชายวชิราลงกรณ์







สำนักพระราชวังเริ่มโหมงานโฆษณาพระราชวงศ์รุ่นใหม่คือรุ่นพระเจ้าหลานเธอในภาพลักษณ์สมัยใหม่ พระราชวงศ์องค์สำคัญๆต่างต้องมีการสืบสานกับเส้นสายกองทัพ โดยฟ้าชายวชิราลงกรณ์ต้องทรงร่วมงานพิธีของกองทัพมากขึ้น และยังดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชากองทหารราชองครักษ์ที่รักษาพระราชวัง

ฟ้าหญิงสิรินธรทรงเป็นพระอาจารย์บรรยายที่โรงเรียนนายร้อยจปร. และทรงเป็นประธานในพิธีจบการศึกษา

กิจกรรมต่างๆ ของพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาผู้อาวุโสที่สุดในรุ่นพระเจ้าหลานก็ยังต้องเกี่ยวพันกับกองทัพและยังมีแฟนเป็นทหารอีกด้วย



แม้แต่นายปราโมทย์ ไม้กลัดที่ถูกปลดจากตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทานก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นวุฒิสมาชิกในเดือนมีนาคม 2543 ด้วยคะแนนมากเป็นอันดับหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

















พตท.ทักษิณยังช่วยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้กุมสื่อไปด้วย แหล่งเงินกู้ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นผู้ถือหุ้นสำคัญของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีคือธนาคารไทยพาณิชย์ และแปซิฟิคคอมมิวนิเคชันส์ของแม่ทัพด้านการประชาสัมพันธ์ของวังคือนายปีย์ มาลากุลถือหุ้นอยู่จำนวนมาก


แทนที่พตท.ทักษิณจะตั้งสถานีโทรทัศน์ของตนเองขึ้นใหม่ได้ง่ายๆ แต่เขากลับจ่ายให้ธนาคารไทยพาณิชย์ 60 ล้านเหรียญหรือกว่าสองพันห้าร้อยล้านบาทซื้อหุ้นไอทีวี นั่นคือพตท.ทักษิณได้ช่วยเหลือธนาคารไทยพาณิชย์กับวัง โดยแทบจะไม่มีโอกาสถอนทุนคืน

พตท.ทักษิณได้ใช้ไอทีวีเป็นฐานสนับสนุนการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์อ้อมๆว่าวังสนับสนุนพตท.ทักษิณจากการขายไอทีวีให้ นายปีย์ มาลากุลก็วิจารณ์การใช้ประโยชน์จากการเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ของพตท.ทักษิณ ด้วยเช่นกัน

พตท.ทักษิณจึงบีบนายปีย์และบริวารคนอื่นๆ ของวังเช่น ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล ออกไปจากไอทีวี เรื่องไอทีวีนี้แสดงให้เห็นว่าพตท.ทักษิณจะสนองความต้องการของวังตราบเท่าที่วังยังตอบสนองความต้องการของเขา แต่หากผลประโยชน์สองฝ่ายไม่ลงตัวหรือผลประโยชน์ขัดกันแล้วคุณทักษิณก็ไม่ถือเป็นธุระที่จะต้องรับใช้วัง








ด้วยการที่พระเจ้าอยู่หัวกึ่งๆที่จะทรงเกษียณและพลเอกเปรมก็ไม่ได้กุมราชการเเละกองทัพอีกเเล้ว นายกทักษิณจึงทำอะไรก็ได้ตามที่ตนต้องการ ทั้งๆที่ถูกพระเจ้าอยู่หัวทรงแขวะเอาอยู่หลายครั้งในช่วงสี่ปีแรก และถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริตไม่แพ้รัฐบาลก่อนๆ




ยิ่งกว่านั้น แนวร่วมนิยมกษัตริย์ของคนเมืองสวมเสื้อเหลืองที่อ้างว่า เราจะสู้เพื่อในหลวง ถูกนำโดยคนสองคนที่เอาแน่นอนไม่ได้ ชนิดที่วังเองก็ไม่อยากจะข้องแวะด้วย คือ นายสนธิ ลิ้มทองกุลและพลตรีจำลอง ศรีเมือง









ทำให้ประเทศตกอยู่ในสูญญากาศ การเมืองไม่มีเสถียรภาพ และในหลวงภูมิพลก็ไม่มีตัวเลือกที่ดีที่จะมาแทนนายกทักษิณเพื่อรับผิดชอบต่อสูญญากาศนี้










มันเป็นสถานการณ์ที่ในหลวงภูมิพลทรงตระหนักและตรัสแก่ผู้มาเยือนในปี 2535 ว่าจักรพรรดิอากิฮิโต Akihito ของญี่ปุ่นทรงอึดอัดกับการเป็นแค่สัญลักษณ์ที่จำกัดอยู่แต่งานพิธีกรรม ไม่มีบทบาททางการเมือง แม้กระทั่งการให้คำปรึกษาหารือแก่รัฐบาล
ยังไม่มีอะไรบ่งชี้ว่ารัชทายาทของในหลวงภูมิพลจะเป็นแบบเดียวกับ พระจักรพรรดิอากิฮิโต Akihito

แต่กลับเป็นว่าสถาบันกษัตริย์ไทยกำลังมุ่งไปในทิศทางที่ตรงข้าม ขณะที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย อันเป็นแหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ได้ช่วยโฆษณาพระบรมมหาราชวังให้เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญมานาน และพิธีกรรมต่าง ๆ ของวังก็ได้รับการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างดีโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย




ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์อุปถัมภ์การวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

พระนัดดาหรือหลานๆ ของในหลวงภูมิพลมีการเปิดงานการกุศล มันเป็นชีวิตหรืออาชีพของพวกเขาหลังจากเติบโตเป็นผู้ใหญ่










.............
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น