...............

เมื่อรัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติ เรื่องการสืบราชสมบัติก็ไม่น่ามีปัญหา เพราะทราบกันแล้วว่าพระองค์เจ้าอานันทมหิดลจะได้สืบราชสมบัติ และพระชนนีศรีสังวาลย์ก็ได้ตอบตกลงให้พระโอรสของตนรับตำแหน่ง

แต่รัชกาลที่ 7 กลับไม่เสนอรัชทายาทอย่างเป็นทางการ โดยทรงมีสาส์นไปถึงนายกรัฐมนตรีพระยาพหล ให้รัฐบาลเป็นผู้เลือกรัชทายาท

คณะรัฐมนตรีของพระยาพหลก็ไม่รู้จะจัดการอย่างไรเพราะไม่มีใครรู้เรื่องกฎมณเฑียรบาล แต่เป็นเรื่องแปลกที่นายปรีดี พนมยงศ์กลับเป็นคนที่รู้เรื่องกฎมณเฑียรบาล




















เมื่อรัชกาลที่ 7 ปฏิเสธข้อเรียกร้องที่จะให้คืนทรัพย์สินทั้งหมด รัฐบาลจึงยึดทรัพย์สินส่วนใหญ่ของราชวงศ์ที่ยังเหลืออยู่ในกรุงเทพฯ ทำให้ประธานคณะผู้สำเร็จราชการฯ พระองค์เจ้าออสการ์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ฆ่าตัวตาย ในเดือนสิงหาคม 2478 เพราะทนไม่ไหวต่อแรงกดดันจากทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนิยมเจ้า ตำแหน่งจึงตกไปอยู่กับพระองค์เจ้าอาทิตย์

จอมพลป.พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารบกที่พุ่งแรง จากผลงานปราบกบฏบวรเดช กลายเป็นกำลังหนุนสำคัญของพระยาพหล เขาจบจากวิทยาลัยฟอนเทนเบลอ ของฝรั่งเศส เป็นคนมีความทะเยอทะยานสูง ชื่นชมในลัทธิชาตินิยมทหารของเยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น



ในช่วงนี้ รัฐบาลยืนกรานให้รัชกาลที่ 8 กลับจากสวิตเซอร์แลนด์ อย่างน้อยก็เป็นการชั่วคราว เพื่อทำพิธีราชาภิเษก ส่วนที่โลซานน์พระชนนีก็ยังไม่ยอมโอนอ่อน โดยขู่จะให้รัชกาลที่ 8 สละราชย์ทุกครั้งที่มีการกดดัน


พระชนนีตั้งมั่น ที่จะให้ในหลวงอานันทมีชีวิตวัยเด็กตามปกติและจบการศึกษาในยุโรป และด้วยสถานการณ์ที่อาจเกิดความรุนแรงได้ทุกเมื่อ พระชนนีก็มีเหตุอันควร ให้ต้องกลัวว่ากรุงเทพฯจะไม่ปลอดภัย สำหรับรัชกาลที่ 8



พสกนิกรชาวสยามนับแสน พากันน้อมคำนับและส่งเสียงโห่ร้องเบียดเสียดกันตามถนนและสองฝั่งแม่น้ำ เพื่อต้อนรับพระองค์


การเสด็จนิวัติพระนครครั้งนี้เต็มไปด้วยพิธีกรรม ในหลวงอานันท์ได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์แห่งสยาม และพระชนนีได้รับสถานะให้เป็นสมเด็จพระราชชนนี แต่ไม่มีพิธีราชาภิเษกที่วางไว้แต่เดิม กล่าวกันว่าในหลวงอานันท์ยังไม่ได้เรียนรู้ภาษาไทย หรือบาลีดีพอที่จะท่องคำสวด และคำสัตย์สาบานสำหรับพิธีกรรม ที่กินเวลาเกินหนึ่งสัปดาห์ ราชสกุลมหิดลเสด็จลงเรือกลับยุโรปวันที่ 13 มกราคม 2482

สงครามระหว่างจอมพล.ป และฝ่ายเจ้าก็กำลังดุเดือด หนึ่งสัปดาห์ก่อนราชสกุลมหิดลจะมาถึง จอมพลป.รอดชีวิตจากการพยายามลอบสังหารอีกครั้งหนึ่ง เขาหมดความอดทนและบีบให้พระยาพหลลาออก แล้วจอมพลป.ก็เป็นนายกรัฐมนตรีเอง

ไม่นานหลังจากพระราชวงศ์เสด็จกลับสวิสแล้ว จอมพลป.ก็จัดการกวาดล้าง จับกุมเจ้า ขุนนางและทหาร 5 คนที่อยู่ฝ่ายพระยาทรงสุรเดช คู่แข่งของตนในคณะราษฎร ด้วยข้อหาวางแผนโค่นล้มจอมพล ป. บางคนถูกประหารชีวิตทันที ที่เหลือถูกไต่สวนข้อหาทรยศ สมคบคิดโค่นล้มรัฐบาลของในหลวงอานันท์ เพื่อจะนำรัชกาลที่ 7 กลับมาเป็นกษัตริย์อีก

ผู้ที่ถูกจับประกอบด้วยเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงหลายคน ที่สำคัญคือ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ โอรสรัชกาลที่ 5 ที่กำพร้าแม่ ซึ่งเป็นลูกเลี้ยงของพระนางเจ้าสว่างวัฒนา ที่ดูแลในหลวงอานันท์และพระราชวงศ์ตลอดการมาเยือน พระองค์เจ้ารังสิตถูกจับเข้าคุก ถูกถอดยศลดชั้น และถูกพิพากษาประหารชีวิต



จอมพลป. พยายามริดรอนอำนาจและบารมีของกษัตริย์ พวกเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงถูกจำกัดกรอบในการเดินทาง และทำกิจกรรมต่างๆ วังและทรัพย์สินที่กรุงเทพฯ ของรัชกาลที่ 7 ถูกยึด หน่วยราชการถูกสั่งห้ามแขวนภาพรัชกาลที่ 7 ให้แขวนแต่ภาพของจอมพลป.แทน และไม่ใช่ภาพของในหลวงอานันท์

เมื่อวไลยอลงกรณ์ พระราชธิดาของพระนางเจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี) เสียชีวิตในปี 2482 รัฐบาลจอมพลป. ปฏิเสธที่จะจ่ายค่าทำพิธีฌาปนกิจให้

และเมื่อรัชกาลที่ 7 สวรรคตจากหัวใจล้มเหลว ที่ประเทศอังกฤษในปี 2484 ไม่มีแม้กระทั่งการเดินเรื่อง เพื่อจัดนำพระบรมศพกลับมาประกอบพิธี เอกอัครราชทูตส่งแต่เพียงหรีด ในนามของในหลวงอานันท์ ไม่ใช่จากรัฐบาล

หนึ่งปีผ่านไป จอมพลป. หมดความยำเกรงในคำขู่ของพระราชชนนีแล้ว โดยแสดงชัดว่าพร้อมจะหนุนให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาผู้สำเร็จราชการฯ ขึ้นนั่งราชบัลลังก์แทน และเริ่มฉวยอำนาจและสัญลักษณ์ทางประเพณีของกษัตริย์มาเป็นของตัวเอง เปลี่ยนคาถาของรัชกาลที่ 6 มาเป็น ชาติ ศาสน์ รัฐธรรมนูญ และกษัตริย์

ประกาศให้รัชกาลที่ 6 เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งสยาม และสร้างอนุสาวรีย์ให้ ที่สวนลุมพินี ในปี 2482

ประกาศให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ มีการเฉลิมฉลองใหญ่โตเพื่อแสดงชัยชนะเหนือราชวงศ์จักรี

ในวันเดียวกัน จอมพลป.ได้ประกาศนโยบายรัฐนิยม เสมือนพระราชโองการจากกษัตริย์ เปลี่ยนชื่อประเทศให้ฟังดูทันสมัยขึ้นจากสยามเป็นไทยแลนด์ บ่งบอกความแตกหักกับราชวงศ์เดิม

สั่งให้ประชาชนแสดง ความเคารพ ต่อเพลงชาติ
และธงชาติ แต่ไม่ใช่ต่อกษัตริย์

จอมพลป.ได้ขจัดความเป็นเจ้าอย่างอื่นๆอีก โดยการยกเลิกบรรดาศักดิ์ต่างๆ เช่น หลวง พระยา เจ้าพระยา ตัดการเชื่อมโยงของวังกับสามัญชนและข้าราชการที่มีอิทธิพล สั่งปรับภาษาไทยให้ง่ายขึ้นด้วยการเลิกใช้พยัญชนะที่มักจะใช้กับชื่อและศัพท์ที่เกี่ยวกับเจ้าอย่างเลิศหรู







จอมพลป.มองตนเองเป็นนักชาตินิยมผู้สร้างชาติที่แข็งแกร่งและน่าภาคภูมิใจเหมือนอิตาลีและญี่ปุ่น เขาไม่ปฏิเสธหากฝ่ายเจ้าจะเชื่อว่าเขาอยากจะตีตนเสมอเจ้า เขาเปรียบตนเองเป็นเหมือนรัชกาลที่ 6




คนที่ขึ้นมาแทน คือ นายควง อภัยวงศ์ นักการเมืองหัวเสรี หนึ่งในผู้ก่อการ 2475 พระองค์เจ้าอาทิตย์ ผู้สำเร็จราชการฯ ก็ลาออกด้วย ปล่อยให้นายปรีดีที่เคยเป็นตัวน่าชิงชังสำหรับรัชกาลที่ 7 กลายเป็นผู้สำเร็จราชการฯ แทน

นายปรีดีปล่อยผู้ที่ถูกจำคุกจากคดีกบฏ 2482 ออกมาทั้งหมด รวมถึงพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ด้วย เพื่อแสดงให้ฝ่ายเจ้าเห็นว่า เขาได้ปรับลดความเป็นศัตรูต่อสถาบันกษัตริย์ลงมาแล้ว โดยทำในนามของในหลวงอานันท์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของในหลวงอานันท์และรัชกาลที่ห้า ในวันที่ 20 กันยายน 2487

เพื่อเริ่มรัชสมัยที่แปดอย่างเป็นทางการ


พระราชวงศ์เสด็จถึงประเทศเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2488 โดยได้รับการต้อนรับอย่างน่าชื่นใจ ที่สนามบินดอนเมือง นายปรีดีที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คุกเข่าถวายการต้อนรับ ข้างหลังตัวเขา คือนายกรัฐมนตรีคนใหม่มรว.เสนีย์ ปราโมช และเหล่านายทหารระดับสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ร่วมก่อการ 2475
ตลอดการเดินทางเสด็จเข้าเมืองระยะทางยี่สิบกิโลเมตรโดยรถไฟ สองข้างทางเต็มไปด้วยประชาชนส่งเสียงโห่ร้องและแสดงความเคารพ เมื่อถึงสถานีวังจิตรลดา ก็มีการต้อนรับอย่างเป็นทางการอีกเป็นครั้งที่สอง คราวนี้นำโดยพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ พร้อมเชื้อพระวงศ์อื่นๆ ข้าราชการระดับสูง นักการทูต และนายปรีดี ซึ่งเป็นผู้ถวายพระราชลัญจกรหรือตราแผ่นดิน เป็นการคืนราชบัลลังก์ให้นายหลวงอานันท์อย่างเป็นทางการ





ขณะนั้นนายปรีดีก็ยังมีอำนาจและได้รับการยอมรับมากกว่ากลุ่มอื่นๆ กลุ่มเลือดน้ำเงินแท้หรือพวกนิยมเจ้านำโดยพระองค์เจ้าธานีนิวัติ (กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร) พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ และพระองค์เจ้าภานุพันธ์ ยุคล รวมถึงพระยาศรีวิศาลวาจา เป็นแกนสำคัญในการฟื้นฟูของอำนาจของเจ้า


วันถัดมา ในหลวงอานันท์ทรงสวมมงกุฎและประทับบัลลังก์ท่ามกลางพราหมณ์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ และเชื้อพระวงศ์ในพิธีราชาภิเษกขนาดเล็ก

สองวันถัดมา ในหลวงอานันท์และพระอนุชาทรงทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บูรพกษัตริย์ ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ทรงบาตรในฐานะที่เป็นองค์อุปถัมภ์ของพระพุทธศาสนา









พระราชชนนีทรงเชื้อเชิญชนชั้นสูง และเชื้อพระวงศ์เข้าร่วมเสวยอาหารกับราชวงศ์ และมีการพบปะสังสรรค์เรื่อยๆ ภายนอกพระบรมมหาราชวัง โดยเฉพาะที่วังสระปทุมอันเป็นที่พำนักของพระนางเจ้าสว่างวัฒนาผู้เป็นย่าของทั้งสองพระองค์















ทางวังยังคงต้องพึ่งพารัฐบาลอยู่ในเรื่องการเงิน และข้าราชบริพาร และข้อเสนอของทางวังที่จะมีคณะที่ปรึกษาถาวรสำหรับกษัตริย์ โดยเป็นอิสระจากรัฐบาลถูกปฏิเสธ ในหลวงอานันท์จึงไม่มีคณะที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการ



ในหลวงอานันท์ลงพระนามให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2489

ทันทีที่เปิดสภาในเดือนมกราคม 2489 การขับเคี่ยวก็เป็นไปอย่างถึงดุเดือด คนของนายปรีดีตรวจสอบรัฐบาลตลอดเวลา กลุ่มของมรว.เสนีย์ก็พยายามใส่ร้ายป้ายสีนายปรีดี


นายควง อภัยวงศ์ลาออกตำแหน่งนายรัฐมนตรีในเดือนมีนาคม 2489 หลังจากพ่ายแพ้การลงมติในร่างกฎหมายฉบับหนึ่ง





พระองค์เจ้ารังสิตยุในหลวงอานันท์และพระชนนีเปลี่ยนตัวนายเฉลียว ปทุมรสราชเลขาธิการและเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช ราชองครักษ์ ในเดือนพฤษภาคม 2489









ไม่ว่าจะอย่างไร พระอนุชาภูมิพลแทบไม่มีทางเลือกอื่น การสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์จักรี จะต้องดำเนินต่อไป พระองค์เจ้ารังสิต พระราชชนนีศรีสังวาลย์และเชื้อพระวงศ์ระดับสูงคนอื่นๆ ล้วนต้องการให้พระอนุชาภูมิพลสืบราชสมบัติ และหลังจากมีการประชุมสภาในวาระฉุกเฉิน ก็มีการจัดพิธีราชาภิเษกอย่างเร่งรีบพร้อมด้วยพระและพราหมณ์ พระองค์เจ้ารังสิตได้ถวายมงกุฎแด่เจ้าฟ้าภูมิพล

........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น