..........
ตำนานๆ 009004 : กำเนิดจักรีและคดีสวรรคต
กรณี พระเจ้าตากสิน
ถูกสั่งประหารคาผ้าเหลือง





ข้าราชการที่ยังจงรักภักดีในพระเจ้าตากสิน และเชื่อในพระปรีชาสามารถของพระองค์ ก็ยืนยันว่าควรไปกราบทูลให้ลาผนวชออกมาครองราชสมบัติบริหารราชการแผ่นดินโดยด่วน หรือไม่ก็ควรยกราชสมบัติให้รัชทายาทของพระองค์แทน พวกข้าราชการพวกที่กล้าพูดเช่นนั้น ก็ถูกคุมตัวไปประหารชีวิตทั้งหมด

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราชไว้ในหนังสือ”การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี” หน้า 575 ว่า " ( พระพุทธยอดฟ้าฯ) จึงมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุม ก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ เจ้าตากสินจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้ว ช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการ จะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ครั้น ( พระพุทธยอดฟ้าฯ)ได้ทอดพระเนตร จึ่งโบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า ผู้คุมแลเพชฌฆาตก็ให้หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ (ริมแม่น้ำเจ้าพระยาปากคลองบางกอกใหญ่ที่ตั้งกองทัพเรือติดวัดอรุณหรือพระราชวังสมัยกรุงธนบุรี) ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสีย ถึงแก่พิราลัย จึ่งรับสั่งให้เอาศพไปฝัง ณ วัดบางยี่เรือใต้"

ฝ่ายพระราชวงศ์ของพระเจ้าตากสินที่ยังเหลือ ถ้าเป็นเจ้าชายที่โตแล้วก็ถูกจับปลงพระชนม์หมด เอาไว้แต่ที่ยังเป็นเด็ก ส่วนเจ้าหญิงก็ถูกถอดพระยศออกแล้วเรียกว่าหม่อม แม้แต่สมเด็จพระราชินี และสมเด็จพระน้านาง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ฝ่ายเจ้าพระยาอินทวงศาเสนาบดีฝ่ายกลาโหม ขณะบัญชาการทัพใกล้เมืองถลาง ก็ฆ่าตัวตายตามพระเจ้าตากสิน และไทยต้องช่วยองค์เชียงสือรบกับพวกราชวงศ์เล้หรือกบฎไตเซิน 2 ครั้ง ต้องช่วยอาวุธยุทธภัณฑ์อีกนับไม่ถ้วน ตามข้อตกลงลับที่ได้ช่วยกันล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าตากสิน รวมทั้งต้องเสียเมืองพุทไธมาศแก่ญวนเมื่อญวนตั้งราชวงศ์องเชียงสือสำเร็จมีอำนาจมากขึ้น
การสืบราชสมบัติของราชวงศ์จักรี
พระยาจักรีผู้สถาปนาราชวงศ์
ด้วยชีวิตของกษัตริย์ผู้กู้ชาติ



กรมพระราชวังบวรฯ ( บุญมา ) น้องชายรัชกาลที่ 1 เคยถูกพระเจ้าตากสินโบยถึง 60 ที เพราะคลานเข้าถึงตัวพระเจ้าตากสินขณะที่พระองค์ทรงนั่งกรรมฐานอยู่ที่ตำหนักแพ ส่วนพระยาจักรี ก็เคยถูกพระเจ้าตากสินโบยถึง 2 ครั้ง เพราะพระยาจักรี รบกับเจ้าพระฝางด้วยความย่อหย่อนจึงถูกโบย 30 ที และถูกโบยอีก 50 ที เพราะบกพร่องในการทำเมรุเผาพระชนนี(แม่)


สมัยพระเจ้าตากสินได้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนาหลังภาวะสงครามครั้งใหญ่ ทรงส่งเสริมการปฏิบัติธรรมอย่างกว้างขวาง ทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐาน พระสงฆ์จึงอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด แต่รัชกาลที่ 1 ต้องการควบคุมพุทธศาสนา โดยกล่าวหาคณะสงฆ์ไทยว่าไม่รักษาศีล ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เพื่อหาเรื่องเข้าไปควบคุมศาสนจักร ให้รับใช้ราชวงศ์ใหม่ ถึงกับให้ตำรวจวังไปเอาสมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ พระอาจารย์วิปัสสนาของพระเจ้าตากสินให้สึกออกแล้วลงพระราชอาญาเฆี่ยน 100 ที และให้ประหารชีวิต เพราะแค้นที่พระเคยทูลให้พระเจ้าตากสินลงโทษพระองค์ แต่ฟ้าฉิมทรงทูลขอให้ไว้ชีวิตอาจารย์ของตนไว้ รัชกาลที่1 ให้กรมสังฆการีปกครองสงฆ์และแต่งตั้งสมณะศักดิ์ และตัดสินปัญหาที่พระสงฆ์ต้องอธิกรณ์(ถูกลงโทษ) มีการตั้งกรมหลวงรักษ์รณเรศ โอรสของรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นพวกลักเพศ ชอบมั่วสุมกับเด็กหนุ่มๆ ให้บังคับบัญชากรมสังฆการี





นอกนั้นเป็นชั้นผู้น้อย รวมผู้ต้องหาในคดีนี้ 40 คน กับพระราชวงศ์อีก 3 พระองค์ เจ้าพระยาพลเทพ เมื่อครั้งยังเป็นนายบุนนาค อยู่บ้านแม่ลา แขวงกรุงเก่า เป็นต้นคิดโค่นราชบัลลังก์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อถวายราชสมบัติแก่พระยาจักรี จึงได้เป็นเจ้าพระยาไชยวิชิต รักษากรุงเก่า และต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาพลเทพ สังกัดกรมนา และเป็นแม่ทัพไปปราบกบฏที่เมืองยิริง หัวเมืองฝ่ายใต้ พอปีรุ่งขึ้นรัชกาลที่ 1 ก็เสด็จสวรรคต จงรักภักดีต่อรัชกาลที่ 1มาตลอด แต่อาจเป็นการฆ่าปิดปากผู้ร่วมก่อการกบฏโค่นล้มพระเจ้าตาก เจ้าชายทับ ชี้มูลผู้ร่วมก่อการกบฏรวมกับข้าในกรมเจ้าฟ้าเหม็นอีก 30 คน ถูกสั่งประหารทั้งหมด ใช้เวลาสอบสวนทั้งสิ้น 4 วัน เป็นอันสิ้นสุดการฆ่าล้างโคตรเพื่อกำจัดเชื้อสายของพระเจ้าตากสิน ชนิดขุดรากถอนโคน ที่เรียกว่า ตัดหวายอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก

กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
ผู้ถูกกล่าวหา
ว่าฆ่าพระราชบิดา


แต่พระองค์เจ้าไกรสรกรมหลวงรักษ์รณเรศ กำกับกรมวัง โอรสรัชกาลที่ 1 เริ่มสะสมไพร่พลมากขึ้น จนรัชกาลที่ 3 ทนไม่ได้ จึงด่ากรมหลวงรณเรศ แล้วจึงให้จับยัดเข้าถุงแดงใช้ไม้ทุบจนตาย
เจ้าฟ้ามงกุฎ
อดีตสมภารผู้มากภรรยา



ในที่สุดภิกษุวชิรญาณก็เล่นการเมืองเต็มที่ ด้วยการคบหากับขุนนางตระกูลบุนนาค ( เจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ - ดิศ บุนนาค ) ขณะที่ยังอยู่ในสมณเพศ เมื่อจวนสิ้นรัชกาลที่ 3 พวกบุนนาคอยากให้ภิกษุวชิรญาณเป็นกษัตริย์ จึงปฏิสังขรณ์วัดบุปผารามเป็นวัดธรรมยุติ เมื่อรัชกาลที่ 3 มีอาการทรุด พวกบุนนาคจึงเชิญภิกษุวชิรญาณเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์ ซึ่งทรงตกลงทันทีด้วยความยินดี โดยไม่ได้อาลัยอาวรณ์ผ้ากาสาวพัสตร์และตำแหน่งประมุขแห่งธรรมยุตินิกายแม้แต่น้อย ขณะพระชนมายุ 47 พรรษา



สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังยอดสงฆ์ฝ่ายมหานิกายผู้สมถะเคยเดินถือไต้ดวงใหญ่ เข้าวังหลวงในเวลาเที่ยงวัน ปากก็บ่นว่า “มืดนัก ในนี้มืดนัก มืดนัก”

รัชกาลที่ 4 ไม่พอใจที่มีคนว่าพระองค์“ชรา คร่ำเคร่ง ผอมโซ ทำงานไม่เก่ง ไม่แข็งแรง โง่เขลา” จึงออกกฎหมาย ห้ามประชาชนวิพากษ์วิจารณ์พระกายของกษัตริย์ว่า ในขณะที่มีคนพูดยกย่องพระปิ่นเกล้า ว่าเป็นหนุ่มแข็งแรง เก่งการทหารมาก มีวิทยาอาคมดี และเวลาไปไหนก็ “ได้ลูกสาวเจ้าบ้านผ่านเมืองมาทุกที” แต่พระองค์ไม่ได้บ้างเลย จึงริษยา และบ่นว่าตนไปไหนมันก็ว่า ชรา ไม่มีใครให้ลูกสาวเลย

เมื่อ ร.4 สวรรคต ถึงยุค
ขุนนางตั้งกษัตริย์กันเอง


เมื่อรัชกาลที่ 5 มีพระชนมพรรษา ใกล้ 20 พรรษา ในขณะที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินใกล้ที่จะหมดวาระ พระองค์จึงพยายามรวมศูนย์ ดึงเอาอำนาจในการเก็บภาษีอากร มาไว้ที่หอรัษฎากรพิพัฒน์ซึ่งพระองค์ทรงควบคุม ทรงสร้างทางรถไฟ เพื่อส่งกองทัพไปควบคุมขุนนางตามหัวเมืองทำให้มีภาษีอากรหลั่งไหลเข้าท้องพระคลังมากกว่าเดิม






ชาวนาภาคกลางต้องเสียภาษี ดอกเบี้ยและค่าเช่า รวมถึง 3/5 หรือ 60% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนชาวนาในภาคอื่นนั้น ที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ ชาวอิสานต้องเร่ร่อนไปยังที่ต่างๆเพื่อหาอาหาร ในปี 2433 และ 2452 ชาวนาที่ขัดสนรวมตัวกันยื่นฎีกา ขอกู้เงินหลวงเพื่อนำไปซื้ออาหาร แต่รัชกาลที่ 5 ปฏิเสธ ทั้งๆที่พระองค์ยอมปล่อยเงินกู้ให้พ่อค้าจีน เพราะได้ดอกเบี้ยงาม เศรษฐกิจแย่ลงข้าวราคาตก ราษฎรคับแค้น อับจน ไม่มีทางออก
วชิราวุธ กษัตริย์ผู้หลงไหล
อยู่กับวรรณกรรมและการละคร

พระราชโอรสองค์ถัดมาของพระมเหสีเอก พระนางเจ้าสว่างวัฒนา (หรือแม่กลาง) น่าจะได้รับตำแหน่งต่อซึ่งมีอยู่ 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย (2425-2442) และเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช (2434-2472) แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำรัสว่าลูกแม่กลางกับลูกแม่เล็ก (คือเสาวภาผ่องศรี) ให้เหมือนแม่เดียวกัน เรียงตามอายุในการสืบสันตติวงศ์ จึงสถาปนาสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่ คือเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และยกให้พระราชมารดาขึ้นเป็นพระมเหสีเอก คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรียกขึ้นเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทร พระพันปีหลวง มีเจ้าฟ้าขึ้นเป็นกษัตริย์ 2 พระองค์ต่อกัน คือรัชกาลที่ 6 และที่ 7

ประชาธิปก กษัตริย์
ผู้ไม่อาจรั้งประชาธิปไตย


แต่พระองค์ก็มิได้ทรงผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองเลวร้ายลง จนเกิดกรณีการเปลี่ยนแปลงในปี 2475
อานันทมหิดลกษัตริย์หนุ่ม
ผู้เป็นเหยื่อของความทะเยอทะยาน


แล้วสิ่งที่ไม่มีใครคาดฝันก็ได้เกิดขึ้น เมื่อเวลา 9.30 น. ของวันที่ 9 มิถุนายน 2489....มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด
จากห้องบรรทม
ชั้นบนของพระที่นั่งบรมพิมาน
แพทย์สรุปตรงกันว่า....
เกิดการลอบปลงพระชนม์
และยังมีข้อมูลที่น่าสังเกต ดังนี้


-ทุกคนที่อยู่ในพระที่นั่งได้ยินเสียงปืนดังสนั่น ทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีแต่พระอนุชาและพระชนนีเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงปืน
-พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ นักเรียนพยาบาลรุ่นเดียวกับพระชนนี ให้การว่า ตนอยู่ในห้องพระอนุชา 20 นาที ก่อนมีเสียงปืน และไม่พบพระอนุชาในห้องนั้นเลย
-พระอนุชา บอกให้พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ฟังว่า ขณะที่ผู้ร้ายยิงปืนนั้น ตนเองอยู่ในห้องของตน ขัดแย้งกับคำให้การของพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ซึ่งอยู่ในห้องของพระองค์ในขณะนั้น
- นายเวศน์ สุนทรวัฒน์ มหาดเล็กหน้าห้องพระอนุชา ให้การว่า แม้ห้องนอนของพระอนุชา มีประตูติดกับห้องเครื่องเล่น แต่ประตูนี้ปิดตายตลอดเวลา ถ้าพระอนุชา ต้องการจะเข้าห้องเครื่องเล่น จะต้องเข้าทางประตูด้านหน้าของห้องเครื่องเล่น มิใช่เข้าทางประตูด้านหลังซึ่งติดต่อกับห้องของพระอนุชา

โดยปกติเมื่อ กินข้าวเช้าอิ่ม ท่านจะเดินเข้าไปห้องบรรทมของในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนเสียงปืนไม่นานนัก โดยที่นายชิตและบุศย์มิได้ห้ามปราม เพราะปกติพี่น้องคู่นี้นั้น ถ้าใครตื่นก่อน มักจะเข้าไปยั่วอีกคนให้ตื่น ฉะนั้นนายชิตและบุศย์ จึงไม่สงสัยถ้าพระอนุชาเดินเข้าไปในห้องในหลวง
และไม่น่าเป็นอุบัติเหตุ ถ้าล้อเล่นก็ไม่น่าจะถึงกับเอาปืนจ่อกระชับที่หน้าผาก และน่าจะรู้ว่าปืนนั้นไกอ่อน
คำให้การของนายฉลาด เทียมงามสัจที่เฝ้าเครื่องเสวยอยู่มุขหน้า ว่าไม่เห็นผู้ร้ายวิ่งออกจากห้องบรรทมเป็นการโกหกชัดๆ เพราะเมื่อปลงพระชนม์แล้ว ผู้ร้ายจะต้องวิ่งหนีออกจากห้องพระบรรทม นายฉลาดยอมรับในศาลว่า ตั้งแต่ถูกเรียกตัวไปสอบสวนก็ได้เบี้ยเลี้ยงจากสันติบาลวันละ 3 บาท หลังจากที่ถูกปลดจากสำนักราชวัง ก็ยังได้รับการบรรจุเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสนับสนุนของพนักงานสอบสวน

4.เมื่อหลักฐานพยานแวดล้อมผูกมัดตัวผู้ต้องสงสัย ศาลควรต้องสอบสวนอย่างจริงจังโดยไม่มีการยกเว้น แต่มีอำนาจมืดจากการรัฐประหารที่ปกป้องพวกเดียวกัน และโยนบาปไปให้พวกของนายปรีดี เช่น
-มีการสร้างพยานเท็จว่านายปรีดีและพวก ปรึกษากันว่าจะฆ่ารัชกาลที่ 8 ที่บ้านพระยาศรยุทธเสนี โดยมีนายตี๋ ศรีสุวรรณ รู้ความลับนี้ ในภายหลัง นายตี๋ ยอมรับว่าตนให้การเท็จ
ยังมีนายวงศ์ เชาวนะกวี ให้การว่าได้ยินนายปรีดีพูดกับตนว่า ต่อไปนี้นายปรีดีจะไม่ป้องกันราชบัลลังก์ ทั้งที่นายวงศ์มิใช่ผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับนายปรีดี
-มีการทำลายหลักฐานต่างๆ เช่น การสั่งให้พระพี่เลี้ยงเนื่องทำความสะอาดพระศพ ให้หมอนิตย์เย็บบาดแผล มีการผลัดเสื้อผ้าพระศพ หมอนถูกนำไปฝัง มีการย้ายพระศพและยกเอาไปไว้บนเก้าอี้โซฟา การแตะต้องพระบรมศพนั้น มิใช่ว่าจะกระทำได้ง่ายๆ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้านายผู้ใหญ่ก่อนเท่านั้น

-มีเพียงสองคนเท่านั้น ที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ คือ พระอนุชาและพระชนนี เมื่อนายตำรวจคนหนึ่งเสนอให้ทำการพิสูจน์ด้วย กลับถูกสั่งปลดออกจากราชการ
-ศาลไม่ซักค้านพยาน ต่อหน้าจำเลย แต่กลับสืบผู้ต้องสงสัยบางราย ที่สวิสเซอร์แลนด์ คือพระอนุชาและพระชนนี ในวันที่ 12 และ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดย ไม่ยอมให้จำเลยและทนายไปซักค้าน แม้ผู้ต้องสงสัย ให้การสับสน ทนายจำเลยก็ซักค้านไม่ได้
มีผู้ที่น่าสงสัยที่สุดที่ได้รับประโยชน์จากการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 แต่อัยการกลับซักถามเพียงไม่กี่คำ และเลี่ยงที่จะไต่ถามในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ คดีสวรรคตเป็นคดีสำคัญ แต่มีผู้พิพากษา 5 คนเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคดี โดยที่คณะศาลฎีกาไม่ยอมเอาคดีนำขึ้นสู่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ก็เพราะไม่อยากให้มีผู้ที่จับได้ไล่ทัน และทำการคัดค้าน
- เพื่อให้ความผิดพ้นจากตัวผู้ต้องสงสัยบางราย ศาลฎีกาถึงกับประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์อย่าง นายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า เกี่ยวข้องกับการสวรรคตอย่างไร ศาลวินิจฉัยไม่ได้ว่าใครเป็นฆาตรกรตัวจริง แต่กลับพิพากษาให้ประหารชีวิตนายเฉลียวเพียงเพราะนายเฉลียวใกล้ชิดกับนายปรีดี

ขณะเกิดเหตุปลงพระชนม์ คุณเฉลียว ปทุมรสอยู่ไกลจุดเกิดเหตุนับสิบกิโลเมตร และได้ออกจากราชการไปแล้ว ส่วนคุณชิต-คุณบุศย์นั่งอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องพระบรรทม ถ้ามีผู้เข้าไปปลงพระชนม์ก็จะต้องเห็นอย่างแน่นอน คุณฟัก ณ สงขลา ทนายความของสามจำเลย เคยสอบถามคุณชิต-คุณบุศย์ว่า ใครเข้าไปปลงพระชนม์ในหลวง คุณชิต-คุณบุศย์ ไม่ยอมพูด แต่ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีมหาดไทยและอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธานควบคุมการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ทั้งสามได้มีโอกาสพูดคุยตามลำพังได้ทำบันทึกคำสนทนากับผู้ต้องโทษประหารชีวิตทั้งสามคนในเช้าวันนั้น แล้วเสนอจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี เมื่ออ่านแล้วได้สั่งให้เก็บไว้ในแฟ้มลับสุดยอด


"พ่อขุนรามคำแหง...ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้าจึงให้ช่างฟันขดานหิน ตั้งกลางไม้ตาลนี้...พ่อขุนรามคำแหง...ขึ้นนั่งเหนือขดานหินให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง...ขดานหินนี้ชื่อมนังศิลาบาตรสถาบกไว้นี่ จึ่งทั้งหลายเห็น"

.......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น