วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เรื่องหลังบ้านท่านรัฐบุรุษอาวุโส Senior Statesmans Backyard




ฟังเสียง  : http://www.4shared.com/mp3/i2wtp-dU/Senior_Statesmans_Backyard02.html
หรือที่ :  http://www.mediafire.com/?ll3r4rttc58cete





เรื่องหลังบ้านท่านรัฐบุรุษอาวุโส
Senior Statesman’s Backyard

พูนศุข พนมยงค์ 
สตรีผู้ไม่ขอรับเกียรติยศ ใด ๆทั้งสิ้น

หวนรำลึก พูนศุข พนมยงค์
ทายาทท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า ในวันพฤหัสบดีที่
10 พฤษภาคม 2550 ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยารัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 มีอาการทางโรคหัวใจ จึงได้เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมาในค่ำวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันปรีดี พนมยงค์ อาการของท่านผู้หญิงได้ทรุดหนักลงโดยลำดับ กระทั่งได้ถึงแก่อนิจกรรมโดยสงบ เมื่อเวลา 2.00 น. ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริอายุ 95 ปี 4 เดือน 9 วัน
ในการจัดพิธีศพท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ทายาทจะปฏิบัติตาม คำสั่งถึงลูก ที่ท่านผู้หญิงได้เขียนไว้ด้วยลายมือ เมื่อวันที่
1 ตุลาคม 2541 ความว่า
เมื่อแม่สิ้นชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแน่แล้ว
1.ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น
2.ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจ้งข่าวให้ญาติมิตรทราบ
3.ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องมาร่วมงาน
4.มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือแสดงธรรมกถา (เช่นเดียวกับที่จัดให้ปาล) และทำบัตรสำหรับหนังสือที่ระลึก
5.ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้หรือเงินช่วยทำบุญ
6.เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย
7.ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่ปากน้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสถานที่ที่แม่เกิด
8.หากมีเงินบ้าง ก็ขอให้บริจาคเป็นทานแก่มูลนิธิต่าง ๆ ที่ทำสาธารณกุศล
9.ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นผู้หวังดีทั้งหลาย ลูก ๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งแม่จงมีความสุขความเจริญ


ฌาปนกิจ 14 ธค.2551 วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
คำว่าไม่ขอรับเกียรติยศใดๆทั้งสิ้น ก็คือ ไม่ขอรับพระราชทานน้ำอาบศพและการพระราชทานเพลิงศพหรือเกียรติยศจากทางวังใดๆทั้งสิ้น เพราะท่านผู้หญิงพูนศุขต้องการให้เกิดความสบายใจด้วยกันทุกๆฝ่าย เนื่องจากท่านเป็นภริยาของนายปรีดี พนมยงค์ ผู้ไม่เคยได้รับเมตตาจิตจากกษัตริย์ภูมิพล
แม้แต่จะขอกลับเข้าประเทศในบั้นปลายของชีวิตก็ยังไม่ได้รับอนุญาต เมื่อนายปรีดีเสียชีวิต ก็ไม่ได้รับเกียรติยศใดๆแม้แต่น้อย

พูนศุข ณ ป้อมเพชร์ ในวัยเด็ก
พูนศุข พนมยงค์ เป็นลูกพระยา เกิดในตระกูลชนชั้นสูงในสังคม แต่งงานกับนายปรีดี พนมยงค์ ลูกชาวนา ดอกเตอร์หนุ่มจากฝรั่งเศสซึ่งภายหลังกลายมาเป็นผู้ก่อการอภิวัฒน์
2475 เป็นภรรยารัฐมนตรี ภรรยาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ภรรยานายกรัฐมนตรี เป็นท่านผู้หญิงอายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง 28 ปี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย ต่อสู้ลับ ๆ กับกองทัพญี่ปุ่น ช่วยให้ประเทศไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจ แต่ภายหลังสามีถูกใส่ร้ายว่ามีส่วนพัวพันในกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ถูกทหารยิงปืนกลกราดเข้ามาในบ้านเมื่อเกิดรัฐประหาร 2490 ต่อมาถูกจองจำในข้อหากบฏ ลูกชายถูกจับติดคุก จนกระทั่งต้องหนีตามสามีลี้ภัยไปอยู่ต่างแดนด้วยความขมขื่นใจ สุดท้ายกลับมาใช้ชีวิตบั้นปลายในเมืองไทยด้วยความสงบ ให้อภัยกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต ดำรงตนเป็นแบบอย่างให้แก่ชนรุ่นหลังได้กราบไหว้ด้วยความสนิทใจ แม้กระทั่งคำสั่งเสียในวาระสุดท้ายของชีวิต ที่ไม่ขอรับเกียรติยศใด ๆ ทั้งสิ้น

สมาชิกบ้านป้อมเพชร ถนนสีลม 2474
พูนศุข ณ ป้อมเพชร์ เป็นบุตรคนที่ 3 ของคุณหญิงเพ็ง (สุวรรณศร) และพระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) เจ้าเมืองสมุทรปราการ เกิดในจวนเจ้าเมือง เมื่อวันที่ 2 มกราคม  2455  พออายุได้ 4 ขวบ บิดาได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ มาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรก พอย่างเข้า 6 ขวบ ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

คุณหญิงเพ็ง สุวรรณศร และพระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา
ช่วงเวลาที่เรียนอยู่นี้ คุณพ่อคุณแม่ได้ย้ายบ้านจากคลองสานมาอยู่ถนนสีลม  มีคนรับใช้ใกล้ชิด เพราะมีพ่อเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ จนเมื่อเรียนจบชั้นเกรด 7 ก็ได้ลาออกจากโรงเรียนมาแต่งงานกับนายปรีดี พนมยงค์ เป็นลูกชาวนา พ่อชื่อนายเสียง แม่ชื่อนางลูกจันทน์ พ่อของทั้งสองคนนับถือเป็นญาติกันเพราะมีบรรพบุรุษเดียวกัน จึงฝากฝังลูกชายให้มาเรียนกฎหมายในกรุงเทพ โดยให้นายปรีดีมาอยู่ที่บ้าน จึงรู้จักกันตั้งแต่คุณพูนศุขอายุเก้าขวบ
พูนศุข- ปรีดี แรกเริ่มสมรส


พอนายปรีดีเรียนจบเป็นเนติบัณฑิต ก็ได้ทุนไปเรียนต่อกฎหมายที่ฝรั่งเศส 7 ปี นายปรีดีกลับมาถึงเมืองไทยปี 2470 และแต่งงานกันเมื่อปี 2471 ตอนนั้นนายปรีดีเพิ่งได้เป็นหลวงประดิษฐ์มนูธรรม โดยหมั้นกันก่อนประมาณหกเดือน เพื่อรอเรือนหอที่คุณพ่อคุณแม่สร้างให้เป็นของขวัญ ซึ่งอยู่ในบ้านป้อมเพชร์ ถนนสีลม ปัจจุบันโดนรื้อกลายเป็นถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ตรงหัวมุมถนนสีลม

เริ่มต้นบันทึกจากหลังบ้าน
ชีวิตการแต่งงานในตอนแรกนั้น ฉันคิดเพียงว่าจะต้องมาทำหน้าที่เป็นแม่บ้านของข้าราชการธรรมดาสามัญคนหนึ่งที่มีความก้าวหน้าในตำแหน่งการเมืองตามจังหวะและโอกาส มีความเป็นอยู่ที่สุขสงบไปตามประสา แต่เมื่อทางเดินของชีวิตนั้นมันพลิกผันเกินกว่าที่คาดคิดไว้ ก็มีอยู่ทางเดียว คือต้องยอมรับและเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้ฝ่าฟันอุปสรรคที่เข้ามาในชีวิตคู่ของเราทั้งสองด้วยความเข้มแข็งและอดทนไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม และฉันได้ยึดถือปฏิบัติดังนี้เสมอมา


สี่ทหารเสือผู่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
ชะตากรรมของฉันภายหลังการแต่งงานแล้วนั้น จึงต้องเป็นไปตามชะตากรรมของนายปรีดี ส่วนชะตากรรมของนายปรีดีก็ขึ้นอยู่กับผลของการทำงานอภิวัฒน์ที่รับใช้ประเทศชาติและราษฎรไทย เพื่อที่จะก้าวหน้าไปตามแนวทางแห่งการกู้อิสรภาพของมนุษย์ให้พ้นจากการถูกเบียดเบียน และเพื่อให้ชาติไทยมีเอกราชและประชาธิปไตยสมบูรณ์
นายปรีดี และครอบครัว ที่หัวหิน 2475
ภายหลังออกเรือนมาเป็นแม่บ้าน ฉันได้ใช้เวลาว่างไปเรียนภาษาฝรั่งเศส และช่วยงานตรวจปรู๊ฟหนังสือในโรงพิมพ์นิติสาส์นของนายปรีดี ที่ตั้งขึ้นมาพิมพ์ตำรากฎหมายเป็นรายได้ทางหนึ่งหลังแต่งงานปีครึ่งก็มีลูกคนแรก ฉันมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่สมาคมฝรั่งเศส ถนนสาทร อยู่หลายคน เช่น คุณจำกัด พลางกูร คุณกนต์ธีร์ ศุภมงคล คุณป๋วย อึ๊งภากรณ์

เมื่อรัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์ในปลายปี 2468 ในช่วงภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำอย่างรุนแรง   และประเทศสยามก็ได้รับผลกระทบกระเทือนด้วยอย่างมาก รัชกาลที่ 7 จึงแก้ปัญหาด้วยการประหยัดรายจ่ายของประเทศ เช่นตัดงบประมาณของพระองค์เองลงส่วนหนึ่งและอีกทางคือการตัดทอน ยุบกรมกองและปลดข้าราชการ เพื่อทำงบประมาณแผ่นดินให้เข้าสู่ดุลยภาพ สำหรับคนที่ถูกปลดนั้นจะเรียกกันว่า ถูกดุล คุณพ่อก็เป็นผู้หนึ่งที่ถูกดุลด้วย ขณะที่มีอายุราว 46 ปี  เมื่อก่อนนั้นราชการจะเกษียณที่อายุ 55 ปี ซึ่งสมัยนั้นถือว่าแก่มากแล้ว คุณพ่อได้เงินบำนาญเดือนละห้าร้อยกว่าบาท จากเงินเดือนเดิม 1350
บาท

ชีวิตเริ่มผลิกผัน


จนกระทั่งก่อนหน้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ตอนนั้นฉันอายุ 20 นายปรีดีได้บอกว่าวันที่ 23 จะไปหาบิดามารดาที่อยุธยาเพื่อขอลาบวช วันนั้นฉันนั่งรถไปส่งพร้อมลูกตัวเล็กๆ ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง โดยไม่ได้มีอะไรผิดสังเกต
กระจายกำลังคุมเข้าวังปารุสกวัน
ย่ำรุ่งของวันที่
24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรอันประกอบด้วยทหารและพลเรือน 115 นาย มากกว่าครึ่งอายุน้อยกว่า 30 ปี โดยมีพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะราษฎร และนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้นำฝ่ายพลเรือน ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสายฟ้าแลบ


พระรูปทรงม้า
ด้วยการลวงทหารจากกรมกองต่างๆ ให้มาชุมนุมพร้อมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า แล้วถือโอกาสประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองทันที และกำลังอีกส่วนหนึ่งไปเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์มาเป็นตัวประกันจากวังที่ประทับ ไปควบคุมไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม

กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
บริพัตรสุขุมพันธ์
วังบางขุนพรหม
พระองค์เจ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
จากวังบางขุนพรหม ซึ่งเวลานั้นทำหน้าที่เป็นผู้รักษาพระนครแทนรัชกาลที่
7 ที่เสด็จแปรพระราชฐานอยู่ที่วังไกลกังวล ประจวบคีรีขันธ์
นายปรีดีจำเป็นต้องพูดปดกับฉันเพื่อรักษาความลับ เขาไม่ได้ไปอยุธยา แต่ไปลอยเรืออยู่ในคลองโอ่งอ่าง แจกแถลงการณ์ประกาศคณะราษฎร ที่พิมพ์จากโรงพิมพ์นิติสาส์นของตนเอง


ทหารแจกแถลงการณ์คณะราษฏร
มีรถทหารและทหารหลายคนมาอยู่ที่หน้าโรงพิมพ์ พอสักครู่คนที่โรงพิมพ์ก็วิ่งหน้าตื่นมาบอกว่า ทหารมาให้พิมพ์ใบปลิว คุณพ่อจึงสั่งว่าทหารจะให้พิมพ์อะไรก็ทำให้หมด ตอนหลังจึงรู้ว่ามีการเรียงพิมพ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว เพราะทหารมาถึงก็พิมพ์เลย


พระที่นั่งอนันตสมาคม กองบัญชากรคณะราษฎร
คืนนั้นนายปรีดีให้คนมาส่งข่าว บอกว่าตอนนี้อยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นกองบัญชาการของคณะราษฎร ไม่ได้กลับบ้านเลย ให้ช่วยส่งอาหารไปให้ นับแต่วันนั้นฉันก็ต้องจัดอาหารให้คนนำไปส่งนายปรีดีที่พระที่นั่งอนันตฯ จนกระทั่งวันที่ 3 กรกฎาคม นายปรีดีจึงมีจดหมายมาถึงฉัน ขอโทษที่ไม่ได้เล่าความจริงให้ฟัง เพราะถ้าเล่าให้ฟังก็เกรงจะทำการไม่สำเร็จ ฉันอายุยังน้อยกลัวว่าจะไม่รักษาความลับ และที่บ้านก็คุ้นเคยเจ้านายหลายวัง
จดหมายของนายปรีดีมีความตอนหนึ่งว่า..
การที่ทำอะไรไปทั้งนี้ก็เพื่อเห็นแก่ชาติและราษฎรเป็นส่วนมาก เห็นว่าเกิดมาครั้งเดียว เมื่อมีโอกาสทำได้ก็ควรทำ ไม่ควรบำเพ็ญตนให้เป็นคนหนักโลกขอให้คิดถึงชาติและราษฎรให้มากๆ การทั้งหลายฉันได้เริ่มมาแต่ปารีส เมื่อมุ่งทางนี้อยู่แล้วและจะสละเกียรติยศทิ้งเสียอย่างไรได้ การเมืองก็การเมือง การส่วนตัวก็ส่วนตัว

กำลังทหารเข้ายึดวังปารุสกวัน
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชา ธิปไตย เมื่อวันที่
24 มิถุนายน  2475 นายปรีดีเป็นผู้นำฝ่ายพลเรือนเป็นผู้ร่างแถลงการณ์และร่างธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม 27 มิถุนายน 2475 เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้แทนราษฎรชั่วคราวในจำนวน 70 คน พระยามโนปกรณ์นิติธาดา อธิบดีศาลอุทธรณ์ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ประกอบด้วยคณะกรรมการราษฎร หรือคณะรัฐมนตรี  15 คนโดยมีนายปรีดีร่วมอยู่ด้วย


ปรีดี ผู้ประศาสน์การธรรมศาตร์และการเมือง

สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่าง พรบ. จัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง 2476 ตามคำเสนอของนายปรีดี โดยนายปรีดีเป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย วางหลักสูตร จัดหาบุคลากรสถานที่ ผู้บรรยาย เปิดโอกาสให้ประชาชนจำนวนมากที่สุด ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาหาความรู้  เพื่อปูพื้นฐานความคิดทางการเมือง  ในปีแรกมีผู้มาสมัครเข้าศึกษาถึง 7,094 คน โดยให้สิทธิข้าราชการเข้าเรียนได้ในฐานะตลาดวิชา ค่าเล่าเรียนเพียงปีละ 20 บาท ในขณะที่จุฬาลงกรณ์เก็บปีละ 80 บาท


หนังสือเค้าโครงการเศรษฐกิจ
คณะกรรมการราษฎรยังได้มอบหมายให้นายปรีดีเป็นผู้ร่างหลักการเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติหรือสมุดปกเหลือง และเสนอต่อคณะกรรมการราษฎรในวันที่ 12 มีนาคม 2476 โดยมีหลักการให้รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจเองเป็นส่วนใหญ่ และให้รัฐบาลประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎร แต่มีกระแสต่อต้านนโยบายเศรษฐกิจฉบับนี้โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง เพราะกลัวว่าจะมีการยึดที่ดินและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจซึ่งเจ้าและขุนนางยังกุมอำนาจอยู่ รัชกาลที่ 7 ได้มีข้อวินิจฉัยว่า เป็นแนวคิดที่ลอกเลียนแบบบอลเชวิคของโซเวียตซึ่งเป็นพวกคอมมิวนิสต์

เดินทางต่างประเทศครั้งแรก
วันที่ 1 เมษายน 2476 พระยามโนปกรณ์ฯ ร่วมมือกับทหารบางกลุ่มสั่งปิดสภาผู้แทนราษฎร งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และได้ออกพรบ.คอมมิวนิสต์ 2476 โดยกล่าวหาว่านายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ และบีบให้เดินทางออกนอกประเทศทันที เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2476 ฉันจึงต้องออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับนายปรีดี โดยฝากลูกลลิตา อายุ 3 ขวบ กับ ปาล อายุขวบเศษ ให้อยู่ในความดูแลของคุณแม่ 
จากนั้นไม่นาน พันเอกพระยาพหลฯ เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล และเชิญนายปรีดีกลับประเทศ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิสูจน์แนวคิดและการกระทำของนายปรีดีซึ่งคณะกรรมการมีมติเอกฉันท์ว่า หลวงประดิษฐ์ไม่มีมลทินเป็นคอมมิวนิสต์ดังที่ถูกกล่าวหา ส่วนพระยามโนปกรณ์ถูกเชิญให้เดินทางออกไปอยู่ปีนังจนถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา

กบฏบวรเดช

และการสละราชสมบัติ
ของรัชกาลที่
7




พระองค์เจ้าบวรเดช

พระยาศรีสิทธิสงคราม ดิ่น ท่าราบ
วันที่ 11 ตุลาคม 2476 พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกลาโหมในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายท่านรวมทั้ง พ.อ. พระยาศรีสิทธิสงคราม หรือนายดิ่น ท่าราบ คุณตาของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นแม่ทัพ ร่วมกับกองทหารจากหัวเมืองภาคอิสานเรียกตัวเองว่าคณะกู้บ้านกู้เมืองยกทัพจากโคราชมาตั้งรอที่ดอนเมืองวางแผนให้ทหารจากหัวเมืองต่างๆเข้าล้อมกรุงเทพ  ส่วนรัฐบาลตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วังปารุสกวัน ทั้งสองฝ่ายได้เปิดเจรจากันก่อนแต่ไม่สำเร็จ ข้อเรียกร้องสำคัญของฝ่ายบวรเดช คือ ต้องให้กษัตริย์เป็นประมุขไปชั่วกัลปาวสาน ให้กษัตริย์เป็นผู้เลือกสส.ประเภทแต่งตั้งแต่เพียงผู้เดียวอย่างแท้จริงและให้รัฐบาลประกาศนิรโทษกรรมแก่พวกตน สรุปก็คือ เรียกร้องทวงคืนพระราชอำนาจให้กษัตริย์



กาจ กาจสงคราม
พ.ต.หลวงพิบูลสงครามในตำแหน่งผู้บังคับกองผสมได้อาสาออกปราบปรามโดยมี พ.ต. หลวงกาจสงคราม (กาจ เก่งระดมยิง) เป็นแม่ทัพคนสำคัญ เกิดการสู้รบกันขึ้นหลายแห่ง ที่สำคัญคือแถวดอนเมือง มีเครื่องบินของฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชบินเข้ามาโปรยใบปลิวทั่วกรุงเทพ ทางรัฐบาลก็ออกใบปลิวโต้ตอบ การสู้รบในพระนครกินเวลาถึง 5 วัน โดยฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชพ่ายแพ้ ถอยร่นกลับไปโคราช และสูญเสียนายทหารคนสำคัญคือพ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม

ชาวพระนครต้อนรับทหารปราบกบฏ 25 พย.2476
ราษฎรและทหารของทั้งสองฝ่ายล้มตายไปหลายคน หลวงพิบูลสงครามได้รับการยกย่องอย่างมาก ได้จัดให้มีศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดี มีการจับกุมผู้เกี่ยวข้องกว่า 300 คน ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์และข้าราชการในราชสำนัก และถูกตัดสินให้เนรเทศไปอยู่เกาะตะรุเตาเป็นจำนวนมาก ฝ่ายรัฐบาลได้มีผู้เสียชีวิตจากการปกป้องประชาธิปไตยครั้งนี้ 17 คน ที่สำคัญก็คือ พ.ต.หลวงอำนวยสงคราม ( ถม เกษะโกมล) ซึ่งเป็นผู้ก่อการคณะราษฎร และเป็นเพื่อนของหลวงพิบูลสงคราม


พิธีศพวีรชนที่สนามหลวง
รัฐบาลคณะราษฎรถือว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 17 คนเป็นวีรบุรุษผู้เสียสละเพื่อประชา ธิปไตย จึงได้มีการจัดงานศพอย่างยิ่งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการทำศพสามัญชนที่สนามหลวง แม้ว่ารัชกาลที่ 7 จะได้บอกว่าพระองค์ไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าสนามหลวงเป็นที่ทำศพเฉพาะเชื้อพระวงศ์ระดับเจ้านาย


อนุสาวรีย์ปราบกบฏ หลักสี่
คณะราษฎรได้ตั้งชื่อถนนอำนวยสงคราม และสะพานเกษะโกมล เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงอำนวยสงคราม และได้สร้างอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏที่หลักสี่ถนนพหลโยธินเพื่อบรรจุอัฐิของวีรชนทั้ง
17 คนภายหลังได้มีหลักฐานทางทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ว่า รัชกาลที่ 7 ได้ สั่งจ่ายเงิน 200000 บาท เพื่อสนับสนุนทางการเงินให้กบฎบวรเดช ตรงกับบันทึกของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
ก่อนกบฎไม่นาน ยังหนีภัยไปประทับในพระที่นั่งไกลกังวล และจ่ายเงิน ร่วม 6000 บาทสำหรับซื้อเสบียงอาหารเพื่อกักตุนไว้ จากนั้นยังเสด็จด้วยเรือเร็วย้ายราชสำนักไปยังสงขลา ซึ่งอยู่ใกล้พรมแดนมลายูเป็นเวลาถึงสองเดือน พอเหตุการณ์สงบลง รัฐบาลจึงให้เสด็จกลับพระนคร พร้อมกับมีการเจรจาเรื่องสำคัญหลายเรื่อง เช่น เรื่องการชำระโทษผู้คิดก่อการกบฏต่อหน้าพระที่นั่ง เมื่อทรงไม่สามารถเจรจาให้เป็นไปตามพระประสงค์ได้ จึงให้เจ้านายและขุนนางที่อาจโดนภัยจากรัฐบาลเดินทางออกนอกประเทศก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับพระนคร


เลือกตั้งครั้งแรก 15 พย. 2476 ที่อีสาน
ภายหลังบ้านเมืองกลับคืนสู่ความสงบแล้ว ทางรัฐบาลได้จัดเตรียมการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2476 เป็นการเลือกตั้งแบบสองชั้น คือให้ราษฎรเลือกตั้งผู้แทนตำบลชั้นหนึ่งก่อน แล้วผู้แทนตำบลจะเป็นผู้เลือกตั้งคนที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรอีกครั้ง เรียกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 1 ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 นั้น รัฐบาลและคณะราษฎรจะแต่งตั้งบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมมาทำหน้าที่ในสภา
หลังจากเสด็จกลับจากสงขลาเพียงเดือนเดียวรัชกาลที่
7 ก็เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองในเดือนมกราคม 2477 โดยมีกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และใช้เวลาขณะประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษทรงต่อรองขอเพิ่มพระราชอำนาจ แต่เมื่อรัฐบาลไม่สามารถตอบสนองจนเป็นที่พอพระทัยได้พระองค์จึงมีพระราชประสงค์ที่จะสละราชสมบัติ รัฐบาลรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมากต่อการที่พระองค์จะสละราชสมบัติจึงส่ง คณะผู้แทนไปเจรจาแต่ไม่เป็นผล 



พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม
23 กุมภาพันธ์ 2477 พ.อ. หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีกลาโหม ถูกลอบยิงบาดเจ็บสาหัส ที่ท้องสนามหลวง โดย นายพุ่ม ทับสายทอง ขณะที่เป็นประธานพิธีการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษ
รัชกาลที่ 7 ไม่ได้ทรงยินยอมร่วมมือหรือเห็นชอบกับรัฐบาลคณะราษฎรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ตกค้างจากระบอบเก่า เพื่อสร้างความเป็นสมัยใหม่และสร้างความเสมอภาคให้กับพลเมืองของรัฐประชาธิปไตย การไม่ลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติหลายฉบับที่ลิดรอนอำนาจความเป็นเจ้าชีวิต และพระราชทรัพย์ไปจากพระองค์ ทรงต้องการรักษาอำนาจการพระราชทานอภัยโทษ และทรงต่อต้านการออกกฎหมายภาษีมรดก รัชกาลที่ 7
ได้ยื่นข้อเรียกร้องมากขึ้นตามลำดับ และท้ายที่สุดพระองค์ก็โจมตีว่าคณะราษฎรนั้นเป็นเผด็จการรวบอำนาจ เพื่อแต่งตั้งสมาชิกประเภท 2


พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
แต่รัฐบาลจอมพล ป. ได้แถลงต่อรัฐสภาว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคมร่างขึ้นโดยพวกของกษัตริย์และพระยามโนปกรณ์ โดยมีการขู่เข็ญให้คณะราษฎรต้องยอมรับ ความต้องการให้ส.ส.ที่แต่งตั้งโดยกษัตริย์ถึง 10 ปีก็เป็นความต้องการของรัชกาลที่ 7 เอง  พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีได้เคยแถลงต่อสภาผู้แทนว่า ข้อเรียกร้องต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ที่ยื่นต่อรัฐบาลและสภานั้นเป็นการขัดต่อระบอบรัฐธรรมนูญ


ความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎร
กับรัชกาลที่
7


พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)
ในช่วงเดือนกันยายน 2477 รัชกาลที่ 7 มีบันทึกถึงพระยาราชวังสันผู้เสนอตัวเป็นคนกลางทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยระหว่างรัชกาลที่ 7 กับคณะรัฐบาล แจ้งว่า พระองค์ได้ข่าวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกระทรวงวังให้เหมือนราชสำนักอังกฤษ ต้องขอให้รัฐบาลเลิกล้มความคิด หรือมิฉะนั้นต้องส่งโครงการณ์นี้ให้พระองค์ทราบเสียก่อน มิฉะนั้นพระองค์จะไม่เสด็จกลับพระนคร  ทรงย้ำไว้ในหลายที่ว่า พระองค์จะไม่ยอมให้รัฐบาลมาทำให้พระองค์อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกษัตริย์อังกฤษด้วยการดึงเอากรมพระคลังข้างที่ไปจากพระองค์
ร.ท.ทองคำ คล้ายโอภาส สส.ปราจีนบุรีได้อภิปรายในสภาว่า พระองค์ต้องการการปกครองอย่างอังกฤษ แต่พระองค์ไม่อยากจะเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ เพราะฉะนั้นก็เหลือที่จะทนทานเหมือนกัน

รัชกาลที่ 7 เสด็จออกพื้นที่
รัชกาลที่
7 ทรงระแวงเรื่องการถูกยึดทรัพย์มาตั้งแต่วันแรกๆ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินแล้ว เพราะมีข่าวลือว่ารัฐบาลจะริบทรัพย์เจ้า ประกาศของคณะราษฎรที่ว่าเมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้าน มาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่นนับเป็นเรื่องที่น่าพรั่นพรึงเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อตัวแทนของคณะราษฎรเข้าเฝ้าในวันที่ 30 มิถุนายน 2475 ได้ทรงมีพระราชปรารภว่า "



รัชกาลที่ 7 และมเหสี
ได้ทรงทราบข่าวเรื่องจะยึดเงินไม่ทราบว่าจะทำจริงหรือไม่เพียงไร ถ้าจะริบทรงขอลาออกเสียก่อน เพราะจะให้พระองค์ยอมเป็นหัวหน้าบอลเชวิคหรือคอมมิวนิสต์ไปริบทรัพย์ของพระญาติพระวงศ์คงไม่ได้ ยอมตายดีกว่า ..ขอบอกว่าเมืองไทยไม่เหมือนประเทศอื่น ถ้ามายึดทรัพย์กัน พวกฝรั่งคงเอาเรือรบจากประเทศใกล้เคียงเข้ามาแน่ ทรงขอให้ยืนยันว่าคณะราษฎรได้คิดดังนั้นจริงหรือไม่..

พระยามโนปกรณ์ฯ กราบบังคมทูลว่า คณะราษฎรไม่ได้คิดดังนั้นเลย คิดจะหาเงินโดยทางภาษีกับทางการกู้ยืมภายในประเทศเท่านั้น
จึงตรัสว่า เมื่อได้รับคำยืนยันว่าไม่ริบทรัพย์ จะจัดทางภาษีและทางกู้เงินในประเทศจะทรงช่วยได้ พระคลังข้างที่มีอยู่ 6
ล้านบาทจะยอมให้

รัชกาลที่ 7 และพระนางรำไพพรรณี
แต่หลังจากนั้นไม่นาน รัชกาลที่
7 ก็ได้โอนเงินที่ฝากไว้ในต่างประเทศในนามกรมพระคลังข้างที่เข้าบัญชีส่วนพระองค์เป็นระยะๆ 
1 มีนาคม 2476 มีจดหมายส่วนพระองค์ ถึงพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต โอรสบุญธรรม ทรงเล่าถึงข่าวลือต่างๆ ที่กำลังแพร่สะพัด ว่าจะจับพระองค์ในงานฉัตรมงคล ให้เซ็นมอบอำนาจทั้งหมดให้คณะราษฎร ให้พระองค์ยกพระคลังข้างที่ให้แก่รัฐบาลทั้งหมด แล้วให้สละราชสมบัติ ประกาศเป็นสาธารณรัฐ และจะจับพวกเจ้าและพระองค์ขังไว้เป็นตัวประกัน บ้างก็ว่าจะจับพวกเจ้าฆ่าให้หมด แต่ถ้าทำอย่างนั้นฝรั่งก็คงบุกเข้ามาแน่ พวกเจ้ากลัวกันมาก เลยพากันหนีจากกรุงเทพรวมทั้งข้าราชการบางส่วน พระองค์ก็ทรงเดือดดาลมาก ไม่รู้ว่าคณะราษฎรจะเล่นบ้าอะไร แต่ก็กลัวว่าพวกเจ้าจะถูกเชือดคอ พระองค์เองก็คิดแผนการสารพัดจนสับสนวุ่นวาย แต่เรื่องแผนการต่างๆจะไม่เล่าเพราะกลัวมีคนอื่นเห็นจดหมาย


กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
วันที่ 27 ตุลาคม 2477 รัชกาลที่ 7 มีโทรเลขถึงกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงยกเรื่องที่พระองค์ทนต่อไปมิได้  คือ เรื่องพรบ.ภาษีมรดก ทรงเห็นว่ารัฐบาลหลอกให้พระองค์เซ็นชื่อ พระองค์ได้ขอให้สภาฯพิจารณายกเว้นการเก็บภาษีมรดกจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ กับเรื่องคดีพระพิบูลย์ไอศวรรย์ฟ้องร้องพระคลังข้างที่ ซึ่งทรงกล่าวว่า ถ้าพระคลังข้างที่แพ้คดี พระองค์ก็จะสละราชสมบัติ ทั้งๆที่เป็นเรื่องของศาลที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล


พระยาพหลพลพยุหเสนา
31 มกราคม 2478  ก่อนสละราชสมบัติหนึ่งเดือน ในการประชุมสภาสมัยที่ 2  พระยาพหลฯ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึงกับกล่าว ว่า เราอยากจะให้ท่านแน่พระทัยว่า กูอยากจะเอาอะไรที่มันไม่ขัดรัฐธรรมนูญแล้วมันก็ให้ ’  นี่เราแสดงใจนักเลงอย่างนี้แหละ
ในปี  2478 รัฐบาลได้เสนอร่างกฎหมายและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่  15 มิถุนายน  2479 คือ พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2479 เพื่อแบ่งเอาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของกษัตริย์ไปเป็นของแผ่นดิน โดยแยกทรัพย์สินส่วนพระองค์  ส่วนสาธารณะสมบัติ และส่วนพระมหากษัตริย์ออกจากกัน  มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน พบว่ารัชกาลที่ 7  ได้สั่งจ่ายเงินตั้งแต่ครั้งยังไม่ทรงสละราชสมบัติ

เสด็จต่างประเทศ ก่อนสวรรคต
17 กรกฎาคม 2482 อัยการยื่นฟ้องรัชกาลที่ 7 เป็นจำเลยที่ 1 ขณะเสวยราชสมบัติ และพระนางรำไพพรรณีเป็นจำเลยที่ 2 ขณะเป็นพระราชินี ว่าจำเลยได้โอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นชื่อของจำเลยทั้งสองโดยจำเลยไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามรัฐธรรมนูญ รวม 10 ครั้ง ทั้งหมดรวมเป็นเงิน 6 ล้านบาทเศษ  จำเลยยังได้มีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินในประเทศอีกด้วย

สำราญพระอริยาบท
รัชกาลที่
7 ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องในระหว่างที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ ซึ่ง
รัฐธรรมนูญห้ามฟ้องร้องกษัตริย์  อีกทั้งพระองค์ได้ครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี จึงย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามกฎหมายแล้ว
คดีนี้ใช้เวลาสองปีเศษ ศาลแพ่งชั้นต้นยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์
ในที่สุดศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษาวันที่  30 กันยายน  2484  ให้รัชกาลที่ 7 ซึ่งขณะนั้นสวรรคตไป
 แล้วต้องคืนเงิน
 
วังศุโขทัย
จำนวน
6 ล้านบาทเศษให้กระทรวงการคลัง
  หลวงกาจสงคราม (เทียน เก่งระดมยิง) รัฐมนตรีและกรรมการตรวจรับงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้นำเจ้าหน้าที่เข้าวังศุโขทัย เพื่ออายัดผลประโยชน์ของรัชกาลที่ 7 โดยคำสั่งศาล โดยตีราคาวังศุโขทัยไว้ 3 ล้านบาท และยึดทรัพย์อื่นๆ มีประกาศขายทอดตลาดโดยกองบังคับคดี ลงหนังสือพิมพ์ ข่าวภาพ ศรีกรุง และ ประชาชาติ แต่ต่อมาก็ประกาศงดการขายทอดตลาด อาจเป็นเพราะเป็นช่วงเกิดสงคราม ต่อมา วันที่ 26 พฤศจิกายน 2489  รัฐบาลหลวงธำรง ของนายปรีดีได้มีสัญญาประนีประนอมประนอมให้เลิกแล้วต่อกัน ทั้งจะคืนวังศุโขทัยให้พระนางรำไพพรรณีและจะเชิญอัฐิของรัชกาลที่ 7 กลับคืนประเทศไทย นายปรีดียังปรารถนาให้พระนางรำไพพรรณีมาเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คณะใหม่ด้วย
รัชกาลที่ 7 เสด็จยุโรป
รัชกาลที่
7 ได้ประกาศสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งในการต่อรองขอเพิ่มพระราชอำนาจมากเกินกว่าคณะราษฎรจะยอมได้

พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
 



รัชกาลที่ 7 ไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นรัชทายาท แต่ทรงมีจดหมายผ่านทูตสยามประจำปารีสให้ทางเลือกไว้สองทาง คือ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลตามกฎมณเฑียรบาล แต่ยังเป็นเด็ก ซึ่งอาจเป็นเรื่องดี เพราะถ้ามีอะไรผิดพลาดไป ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงตัวกษัตริย์


พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
อีกตัวเลือกหนึ่งคือพระองค์เจ้าจุลจักรพงศ์ ผู้มีความคิดเห็นหลายอย่างในทางที่จะทำให้กษัตริย์กับคณะราษฎรหมดข้อบาดหมางกันได้ และจะเป็นที่พอใจของคณะราษฎร เช่น จะยกสมบัติพระคลังข้างที่ให้กับรัฐบาลและขอเงินก้อนประจำปีแทน เลิกทหารรักษาวัง และยอมให้รัฐบาลตั้งข้าราชการในราชสำนักเอง ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่รัชกาลที่ 7 ยอมไม่ได้ และจะต้องทะเลาะกับรัฐบาลต่อไป

การแต่งตั้งรัชกาลที่ 8


รัฐบาลได้ปรึกษาหารือกันโดยมีแต่เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิศรเสนา ) รัฐมนตรีกระทรวงวังที่รู้เรื่องกฎมณเทียรบาล เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 6-7 มีนาคม 2478 เพื่อพิจารณาเรื่องการลาออกจากราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 และการเลือกกษัตริย์พระองค์ใหม่ มีส.ส.อภิปรายได้น่าสนใจ เช่น

ยู่เกียจ ทองลงยา สส.กาญจนบุรี
นายดาบยู่เกียจ ทองลงยา ส.ส.กาญจนบุรี อภิปรายว่า ..กฎ มณเฑียรบาลนั้นวางขึ้นโดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นกฎหนึ่งแห่งครอบครัวเท่านั้น จึงไม่สามารถจะบังคับสภาผู้แทนราษฎรให้จำต้องปฏิบัติตามกฎมณเฑียรบาลนั้น ได้..
แต่ประธานสภาฯแย้งว่า ถ้ากฎหมายใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ใช้ไม่ได้ แต่รัฐธรรมนูญให้ใช้กฎมณเฑียรบาล



ทองคำ คล้ายโอภาส สส.ปราจีนบุรี
ร.ท.ทองคำ คล้ายโอภาส ส.ส.ปราจีนบุรี อภิปรายว่า แม้ว่ากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญมีพระราชอำนาจน้อยกว่ากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็ยังทรงมีอิทธิพล จึงต้องมีหลักประกันให้กษัตริย์ รัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ให้เกิดความขัดแย้งวุ่นวาย การเลือกตั้งกษัตริย์จึงควรต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยโดยให้สภาผู้แทนราษฎรทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงกว่ากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ 2467 สภาผู้แทนราษฎรควรเลือกเจ้านายที่ทรงเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตย ต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะมิให้มีการรื้อฟื้นระบอบเผด็จการกษัตริย์ และทรงต้องเป็นผู้มีความรอบรู้ทางประวัติศาสตร์และการปกครอง ต้องเป็นเจ้านายที่รักชาติ รักประเทศ และรักราษฎรในเวลาที่ราษฎรกำลังคับขัน

ที่ประชุมสภาได้อภิปรายกันต่อไปพอสมควร โดยมากจะถกเถียงกันว่าควรจะปฏิบัติตามกฎมณเฑียรบาลโดยเคร่งครัดหรือไม่

กษัตริย์อานันทมหิดลในวัยเยาว์
หลวงธำรงได้แถลงผลการไปเข้าเฝ้าพระองค์เจ้าอานันท์ที่สวิทเซอร์แลนด์ ซึ่งพระองค์ท่านบอกว่าไม่อยากเป็นกษัตริย์ด้วยเหตุผล
6 หรือ 7 ประการ แต่ไม่ให้มีการบันทึกในรายงานการประชุม
แต่ตามบันทึกของพระพี่นางกัลยาณิวัฒนาในปี 2530 ระบุว่าพระองค์เจ้าอานันท์ไม่เต็มใจรับราชบัลลังก์และได้เขียนเหตุผลที่พระองค์ไม่ต้องการเป็นกษัตริย์ปกครองสยามไว้ 6 ข้อคือ -พระองค์เป็นแค่เด็ก -พระองค์ไม่รู้อะไรเลย -พระองค์เกียจคร้าน -เก้าอี้ (บัลลังก์) สูงเกินไป และพระองค์นั่งนิ่งๆไม่ได้ คงต้องตกลงมาแน่ -เวลาเสด็จต้องอยู่ใต้ร่มขนาดใหญ่ที่เรียกว่ากลด แต่พระองค์ชอบผึ่งแดด -มีคนห้อมล้อมหน้าหลัง ทำให้พระองค์วิ่งเล่นไม่ได้


พระองค์เจ้าอานันทขึ้นเป็นรัชกาลที่ 8
หลังจากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติรับรองพระองค์เจ้าอานันทมหิดล โดยมีผู้ยืนรับรอง 127 นาย และมีผู้ไม่ยืนรับรอง 2 นาย
เป็นอันว่าสภาฯ ได้ให้ความเห็นชอบรับรองพระองค์เจ้าอานัทมหิดล ขณะประทับอยู่สวิตเซอร์แลนด์ ขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 8




วไลยอลงกรณ์ สว่างวัฒนา และเจ้าฟ้ามหิดล
วันที่ 3 มีนาคม 2478 พ.อ.พระยาพหล นายกรัฐมนตรีได้ขอเข้าเฝ้าพระนางสว่างวัฒนาซึ่งเป็นสมเด็จย่า ณ วังสระปทุม พระนางสว่างวัฒนาตอบเพียงว่าสุดแล้วแต่รัชกาลที่ 7 แต่เป็นการทำกรรมให้กับเด็ก เพราะลูกแดง ( คือเจ้าฟ้ามหิดล พ่อของพระองค์เจ้าอานันท ) ไม่ได้มุ่งหวังที่จะให้ลูกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อยากให้หัดเป็นคนธรรมดา เป็นพลเมืองช่วยบ้านเมือง

รัชกาลที่่ 7 พบฮิตเลอร์  6 กค. 2477
ต่อมารัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ให้ประชาชนทราบถึงสาเหตุที่รัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติว่า ...ทรงขอร้องต่อรัฐบาลหลายประการ ในประการที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็ได้จัดสนองพระราชประสงค์เท่าที่จะจัดถวายได้ ในส่วนที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอันนอกเหนืออำนาจที่รัฐบาลจะจัดถวายได้ตามพระราชประสงค์ ...รัฐบาลได้พยายามทุกทางจนสุดความสามารถที่จะทานทัดขัดพระราชประสงค์มิให้ทรงสละราชสมบัติ แต่ก็หาสมตามความมุ่งหมายไม่

กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์


12 สิงหาคม 2478 กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ (หม่อมเจ้าออศคาร์นุทิศ ) ประธานผู้สำเร็จราชการ ได้ยิงตัวตาย เนื่องจากคับแค้นใจที่ถูกรัฐบาลบีบคั้นกดดันและฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อริบทรัพย์ของรัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงสละราชสมบัติไปก่อนหน้านั้น




ปรีดี กับพระยาพหล หัวหน้าคณะราษฎร
ในช่วงนั้น นายปรีดียังเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปกรุงลอนดอนเพื่อเจรจาต่อรองดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จากร้อยละ 6 เหลือเป็นร้อยละ 4 ต่อปี ช่วยให้ประเทศไทยได้ลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลงไปมาก ในขณะที่การเมืองของโลกกำลังตึงเครียดจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดีก็ได้ใช้โอกาสในคราวเดียวกันนี้ เดินทางไปเยือนประเทศมหาอำนาจตะวันตก เพื่อเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาที่สยามเสียเปรียบ โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่มีมาตั้งแต่ปี 2398 สมัยรัชกาลที่ 4 จนเป็นผลสำเร็จ

ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม
9 พฤศจิกายน 2481 นายลี บุญตา คนรับใช้ที่สนิทได้บุกยิงพ.อ.หลวงพิบูลในบ้านพักกรมทหารบางซื่อ ขณะที่หลวงพิบูลสงครามกำลังจะแต่งกายไปร่วมงานเลี้ยง แต่หลวงพิบูลไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด  และวางยาพิษ 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปีเดียวกัน ขณะรับประทานอาหารกลางวันร่วมกับครอบครัว ท่านผู้หญิงละเอียด ต้องเข้าโรงพยาบาล ทั้งสองท่านต้องงดการกินอาหารและน้ำนอกบ้านอยู่ระยะหนึ่ง
15 พฤศจิกายน 2481 รัชกาลที่ 8 เสด็จกลับมาเยี่ยมประเทศไทยครั้งแรกพร้อมด้วยพระราชชนนี พระพี่นางเธอและพระเจ้าน้องยาเธอภูมิพล ประทับอยู่ที่ตำหนักจิตรลดาประมาณ 2 เดือน จึงเสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์เพื่อศึกษาวิชานิติศาสตร์และการปกครอง

กบฏพระยาสุรเดช


พระยาทรงสุรเดช
ในระหว่างที่พระยาพหลฯเป็นนายกรัฐมนตรี มีเหตุการณ์พยายามลอบสังหารหลวงพิบูลสงครามถึง 3 ครั้ง หลังจากหลวงพิบูล ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2481 พระยาทรงสุรเดช ได้ถูกคำสั่งให้พ้นจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ และบีบให้เดินทางออกนอกประเทศ ไปเขมรทันที จากนั้น ในช่วงเช้ามืดวันที่ 29 มกราคม 2482 จึงมีการกวาดล้างผู้ที่ต้องสงสัยว่าคิดจะทำการยึดอำนาจจากรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามเดิม และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความพยายามลอบสังหารหลวงพิบูลฯ โดยพันเอกหลวงอดุลยเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีมหาดไทย จับตายนายทหารสายพระยาทรงสุรเดช 3 คน จับกุมผู้ที่ต้องสงสัย  51 คน ฐานดำเนินการเพื่อคิดการกบฏและวางแผนประทุษร้ายชีวิตบุคคลในคณะรัฐบาลที่เรียกว่า กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ ในบรรดาผู้ถูกจับกุมครั้งนั้น มีพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์รวมอยู่ด้วย โดยตำรวจสันติบาลได้เชิญพระองค์จากลำปางเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2482 ซึ่งทำให้เจ้านายและประชาชนทั่วไปประหลาดใจมาก เพราะทรงเป็นพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่

หลวงพรหมโยธี (มังกร พรหมโยธี)
20 พฤศจิกายน 2482 ศาลพิเศษซึ่งมีพันเอกหลวงพรหมโยธีเป็นประธาน ตัดสินว่า มีการเตรียมการยึดอำนาจโดยพันเอกพระยาทรงสุรเดชเป็นผู้นำ ให้ปล่อยตัวพ้นข้อหา 7 คน จำคุกตลอดชีวิต 25 คน ส่วนโทษประหารชีวิต  21 คน ให้เว้นการประหาร เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต 3 คน เนื่องจากเคยประกอบคุณงามความดีให้กับประเทศชาติ คือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร หรือพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ โอรสองค์สุดท้ายของรัชกาลที่ 5 ที่ยังมีชีวิตอยู่ พลโทพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พันเอกหลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์) หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร และเป็นผู้อ่านประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร์ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อมทั้งให้ถอดจากฐานันดรศักดิ์ลงมาเป็นสามัญชน
นักโทษการเมืองทั้งหมดถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำบางขวาง จากนั้นนักโทษประหารชีวิตถูกทยอยนำตัวออกมาประหารด้วยการยิงเป้าวันละ 4 คน จนครบ จำนวน 18 คน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ กบฏ 18 ศพ นักโทษถูกจำคุกที่บางขวางและเนรเทศไปเกาะเต่า สมทบกับบรรดานักโทษสมัยกบฏบวรเดช 2476 ที่ย้ายมาจากเกาะตะรุเตา

เงาทะมึนของสงครามโลก
ตั้งแต่แต่งงานมา นายปรีดีมอบเงินเดือนให้ฉันหมดเลย เมื่อต้องการอะไรก็ให้ฉันหาให้ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเรามีรายได้จากโรงพิมพ์นิติสาส์นที่นายปรีดีก่อตั้ง พิมพ์นิติสาส์นรายเดือน และหนังสือชุดประชุมกฎหมายไทย เพื่อเผยแพร่ มีคนสั่งจองซื้อมาก และมีรายได้อีกทางจากค่าสอนที่โรงเรียนกฎหมาย ชั่วโมงละ 10 บาท

ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์และการเมือง
พอเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยกให้เป็นโรงพิมพ์ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พร้อมทั้งพนักงาน จึงไม่มีรายได้จากโรงพิมพ์ต่อไปอีก ตอนเป็นรัฐมนตรีมีรายได้เดือนละ 1500 บาทก็ให้เลขานำเงินมาส่งให้ฉันเลย  ตอนรับตำแหน่งผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองก็มีเงินประจำตำแหน่ง แต่ยกให้เป็นเงินสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลน


ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
ตอนนั้นฉันอายุเพียง 28 ปี ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นท่านผู้หญิง เมื่อรัชกาลที่ 8 ให้เครื่องราชทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 20 กันยายน 2482 พร้อมกับคุณละเอียด พิบูลสงคราม ภรรยาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น
แม้ว่าฉันจะได้เป็นท่านผู้หญิงอายุน้อยที่สุดคนหนึ่ง เป็นภรรยารัฐมนตรี ภรรยาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ภรรยานายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา แต่ฉันยังใช้ชีวิตเหมือนเดิมทุกประการ ไม่เคยก้าวก่ายงานราชการของสามี ทำหน้าที่เป็นแม่บ้าน จ่ายกับข้าวเอง เลี้ยงลูกทั้งหกคนเอง ทำอาหารให้ครอบครัวเหมือนชาวบ้านทั่วไปไม่เคยเปลี่ยนแปลง ฉันไม่เคยแต่งชุดท่านผู้หญิงถ่ายรูปไว้โชว์

รัฐนิยม

: เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย


จอมพล ป ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
พ.อ.หลวงพิบูลสงครามได้เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2481 นายปรีดีได้เป็นรัฐมนตรีการคลัง ประเทศตกอยู่ท่ามกลางภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งคุกรุ่นในยุโรปมาตั้งแต่เมื่อปี 2480 เริ่มรุนแรงและขยายวงมากขึ้น ในทวีปยุโรป กองทัพเยอรมนีและอิตาลีประกาศสงครามกับฝรั่งเศสและอังกฤษ ขณะที่ในเอเชีย กองทัพญี่ปุ่นบุกประเทศจีน เมฆหมอกแห่งสงครามปกคลุมไปทั่วโลก


การแต่งกายตามรัฐนิยม
รัฐบาลจึงออกนโยบายป้องกันภัยล่วงหน้าคือ รัฐนิยม 12 ฉบับรวมทั้งกฎหมายวัฒนธรรมต่างๆ ให้ประชาชนถือปฏิบัติในยามที่ประเทศไทยถูกคุกคามจากภัยสงคราม เช่น ให้เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย เมื่อวันที่ 28 กันยายน  2482  ไม่ให้คนไทยประพฤติตนเป็นตัวแทนของต่างชาติ และไม่ให้ขายที่ดินให้ต่างชาติ ให้เรียกคนในประเทศว่าคนไทยทั้งหมดไม่ว่าจะมีเชื้อสายอื่นใด เพื่อความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้เคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ใช้ของที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย ต้องอ่านและเขียนภาษาไทยได้
โปสเตอร์โฆษณารัฐนิยม สมัยจอมพล ป
ให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน ให้สวมกางเกงขายาวแบบสากล สวมรองเท้าและถุงเท้า  ยกเลิกบรรดาศักดิ์ และยศข้าราชการพลเรือน
  จัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นเมื่อปี 2485 เพื่อจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ เช่น สั่งห้ามประชาชนกินหมาก
โดยเด็ดขาด ให้ผู้หญิงนุ่งกระโปรงแทนผ้าถุงและโจงกระเบน ให้สวมหมวก สวมรองเท้า ไม่ส่งเสริมศิลปะและดนตรีไทยเดิมแต่ส่งเสริมดนตรีสากล


มาลานำไทยสู่มหาอำนาจ
ผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกจะถูกตำรวจจับและปรับ วางระเบียบการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตรฐาน เช่น ฉัน ท่าน เรา มีคำสั่งให้ข้าราชการกล่าวคำว่า สวัสดี ในโอกาสแรกที่พบกัน มีการตัดตัวอักษรที่ออกเสียงซ้ำกัน เช่น ตัด ฃ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ และฬ ออกไปเลย ตัดสระ ใ ฤ ฤา ฦ ฦา ออก  ยกเลิกตัวเลขไทยและนำเลขอารบิกมาใช้แทน เมื่อจอมพล ป.  หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมที่สังคมไทยเริ่มรับมาจากตะวันตกหลายรูปแบบในขณะนั้น ยังคงอยู่ต่อมาและได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่


พิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 24 มิย. 2483
ในโอกาสเดียวกันนี้ ได้มีการเฉลิมฉลองการทำสนธิสัญญากับนานาประเทศใหม่ เป็นการประกาศเอกราชของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์พร้อมกับวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตรงถนนราชดำเนินเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะของประชาชนเหนือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

สงครามอินโดจีน


นักศึกษาเรียกร้องดินแดนมณฑลบูรพา
8 ตุลาคม 2483 นักศึกษามหา วิทยาลัย ธรรม ศาสตร์และการเมือง  และนิสิตจุฬา ราว 8000 คน เดินขบวนครั้งใหญ่สนับสนุนรัฐบาลไทยในการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส

ประชาชนเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส
12 ตุลาคม 2483 ประชา ชนกว่า 50 , 000  คนเดินขบวนและรวมตัวกันที่สนามหลวงสนับสนุนให้รัฐบาลพลตรีหลวงพิบูลสงครามเอาดินแดนที่เสียไปคืนมา


หลวงพิบูลปราศรัย 8 ตค. 2483
รัฐบาลหลวงพิบูลเห็นด้วยกับประชาชน และเรียกร้องให้ฝรั่งเศสคืนดินแดน จากเหตุการณ์ รศ. 112 เช่น เสียมราฐ พระตะบอง จำปาศักดิ์   ในขณะนั้นเป็นช่วงเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สองที่ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายแพ้สงครามต่อเยอรมัน แต่ฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะคืนดินแดนโดยอ้างสนธิสัญญาฝรั่งเศส - สยามลงวันที่ 23 มีนาคม 2450



กองทัพไทยเข้ายึดพระตะบอง 2484
25 พฤศจิกายน 2483 รัฐบาลไทยจัดตั้งกองทัพเตรียมรับมือฝรั่งเศส
28 พฤศจิกายน 2483 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดนครพนม กองทัพไทยส่งเครื่องบินเข้าตอบโต้
กองทัพบกฝรั่งเศสยกทัพประชิดชายแดนด้านจังหวัดสุรินทร์ อุบลและหนองคาย กองทัพไทยจากแนวชายแดนด้านลาวและกัมพูชาเข้าจู่โจมสู้รบกองทัพฝรั่งเศส



หลวงพิบูลตรวจกำลังพลศึกอินโดจีน
6 มกราคม 2484 กองทัพไทยทำการรบกับฝรั่งเศสโดยบุกเข้าทางกัมพูชา จำปาศักดิ์ เวียงจันทน์ สุวรรณเขต หลังจากนั้นฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของไทย
17 มกราคม 2484
ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดนครพนม

กองทัพอากาศไทยโจมตีเมืองศรีโสภณ
ไทยส่งเครื่องบินเข้าป้องกันและทิ้งระเบิดฐานที่มั่นของฝรั่งเศส
พลตรีหลวงพิบูล นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุด 
ได้ปลุกกระแสชาตินิยมอย่างเต็มที่ เกิดการสู้รบระหว่างทหารไทยและฝรั่งเศสอย่างหนัก





ทหารไทยคุมทหารเชลยฝรั่งเศส
ทหารไทยสามารถจับทหารโมร็อกโกที่เป็นประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสมาได้ และได้นำเชลยศึกเหล่านั้นมาแสดงให้ประชาชนได้ชมที่สวนสัตว์เขาดินวนา

กองทัพไทยสวนสนาม ประกาศชัยชนะ 2483

ไทยยืนยันให้ใช้ร่องน้ำลึกแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนซึ่งอยู่ในครอบครองฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 
แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมตกลง





เปรียบทียบขนาดเรือ ลามอตต์ปิเกต์ใหญ่กว่าถึงสามเท่า
กลางเดือนมกราคม 2484  กองทัพฝรั่งเศสได้เคลื่อนขบวนเรือรบ 7 ลำ เข้ามาในน่านไทย กองทัพไทยส่งเรือหลวงธนบุรี ชลบุรีและสงขลาออกมาต้านทาน ที่เกาะช้าง จังหวัดตราด เข้าต่อสู้กับเรือรบลามอตต์ปิเกต์ ( La Motte Picquet ) ของฝรั่งเศสที่ใหญ่กว่าถึงสามเท่าทั้งยังได้เปรียบกว่าด้านเทคโนโลยีและกำลังพล

หลวงพร้อมวีระพันธ์

ในที่สุดเรือรบหลวงธนบุรีโดยการบังคับบัญชาของ นาวาโทหลวงพร้อมวีระพันธ์  ก็ได้ถูกยิงจมลงพร้อมทั้งเรือหลวงชลบุรีและสงขลา นายทหารบนเรือเสียชีวิตรวม 36 นาย รวมทั้งตัวหลวงพร้อมวีระพันธ์ แต่ก็ยังสามารถสร้างความเสียหายให้แก่เรือรบลามอตต์ปิเกต์ จนฝ่ายฝรั่งเศสไม่กล้าส่งเรือรบมาลาดตระเวนในน่านน้ำอ่าวไทยอีกเลย เหตุการณ์นี้ได้ถูกเรียกขานในเวลาต่อมาว่ายุทธนาวีเกาะช้าง


หลวงพิบูลบัญชาการรบศึกอินโดจีน
ญี่ปุ่นได้เสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ย มีการส่งผู้แทนไปลงนามอนุ สัญญา โตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม  ในครั้งนั้นไทยได้ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลับคืนมา 4 เมือง คือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และจำปาศักดิ์ รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 24,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจังหวัดดังกล่าวนี้ ไทยได้ปกครองเรื่อยมาจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 2488


จอมพล ป พิบูลสงคราม ผบ.สูงสุด
หลวงพิบูลได้ขอพระราชทานยศจอมพลแห่งกองทัพไทยให้กับตนเองเพราะต้องการทำสงครามจิตวิทยากับทางกองทัพญี่ปุ่นพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา  ได้เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ  เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงชัยชนะของไทยต่อฝรั่งเศสในวันที่ 24 มิถุนายน 2484  และ 1 ปีต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485





ญี่ปุ่นบุกประเทศไทย


แต่แล้วสงครามก็เดินทางมาถึงเมืองไทย



เกือบเที่ยงคืนของวันที่ 7 ธันวาคม 2484 ระหว่างที่ฉันนั่งรถกลับมายังบ้านสีลม เห็นผู้คนมากมายเดินกันเป็นกลุ่มๆตามท้องถนนในความมืด ตอนนั้นฉันคิดว่าคงเป็นผู้คนที่กลับจากการไปชมไฟประดับและไม่มีรถรางจะขึ้น เพราะหมดเวลารถวิ่งแล้ว
วังสวนกุหลาบ ถนนศรีอยุธยา
พอฉันเข้าบ้านก็ได้รับโทรศัพท์จากวังสวนกุหลาบให้ปลุกนายปรีดีมารับสาย แล้วนายปรีดีก็รีบแต่งตัวออกจากบ้านเพื่อไปประชุมคณะรัฐมนตรีที่สำนักนายกรัฐมนตรีในวังสวนกุหลาบมุมถนนราชสีมาเป็นการด่วน
สักครู่ใหญ่ๆ คนที่ติดตามนายปรีดีกลับมาบอกว่า ท่านสั่งให้พาลูกๆลงมาชั้นล่างและให้ดับไฟด้วย เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายขึ้น ฉันรู้สึกกังวลสับสนยิ่งนัก พลางเปิดวิทยุฟังข่าว หมุนไปหมุนมาอยู่จนไปเจอสถานีหนึ่ง

ญี่ปุ่นถล่มเพิรล์ฮาร์เบอร์ Pearl Harbor 7 ธค. 2484
รายงานข่าวเป็นภาษาอังกฤษว่าญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ( Pearl Harbor ) ของสหรัฐแล้ว พร้อมกับยกพลขึ้นบกในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ฉันรีบไปแจ้งข่าวให้คุณพ่อคุณแม่และญาติๆที่บ้านป้อมเพชร์ ไม่ได้นอนเลยทั้งคืน



ชาวญี่ปุ่นในไทยโบกธงต้อนรับ 9 ธค. 2488
ฉันมาทราบภายหลังว่ากลุ่มคนที่ฉันเห็นตอนกลางคืนนั้น ที่แท้ก็คือชาวญี่ปุ่นที่ปลอมตัวเข้ามาประกอบอาชีพต่างๆในประเทศไทยกันมากมาย เมื่อได้รับคำสั่งให้เคลื่อนไหว จึงมีทหารญี่ปุ่นปรากฏตัวขึ้นทันทีทั่วประเทศไทย

ญีปุ่นบุกไทยพร้อมกัน 7 จุด  8 ธค. 2488
ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกพร้อมกันทีเดียวถึง 7 จุด คือ สงขลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์และบางปู คนไทยผู้รักชาติต่างจับอาวุธต่อสู้ด้วยความกล้าหาญ บริเวณประตูน้ำ ถนนราชดำริ เรื่อยมาจนถึงศาลาแดงซึ่งอยู่ใกล้ๆบ้านของฉัน หากพื้นที่ใดรกร้าง จะถูกทหารญี่ปุ่นเข้าจับจองปลูกสร้างเป็นค่ายพัก
มีการประชุมคณะรัฐมนตรีฉุกเฉินคืนนั้น ในช่วงที่จอมพล ป. นายกรัฐมนตรีไปราชการต่างจังหวัด พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส รักษาการนายกรัฐมนตรีได้ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ขณะนั้นนายปรีดีเป็นรัฐมนตรีการคลัง คณะรัฐมนตรีมีความเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งไม่สู้ญี่ปุ่น กับอีกฝ่ายหนึ่งคือนายปรีดี ต้องการสู้เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตย


ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกสงขลา 8 ธค. 2484
แต่เมื่อนายกรัฐมนตรีกลับมาถึงที่ประชุมในตอนเช้า ได้สั่งให้ผู้ที่ต่อสู้วางอาวุธ อ้างว่าราษฎรได้ตายไปเป็นอันมากและมีมติให้ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทย โดยตกค่ำวันนั้นวิทยุมีประกาศให้ยุติการสู้รบทั่วประเทศ เพราะประเทศไทยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยไปยังพม่าและมลายูได้ สามวันต่อมารัฐบาลไทยตกลงทำสัญญาทางการทหารร่วมรบกับญี่ปุ่น กองทัพญี่ปุ่นได้หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย


จอมพล ป และนายพลโตโจ
ก่อนหน้านั้นมีข่าวว่าทูตทหารเยอรมันประจำประเทศไทย ได้แจ้งให้จอมพล ป ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยทราบเป็นการลับเฉพาะล่วงหน้า 2 เดือนว่า ญี่ปุ่นจะบุกอินโดจีนผ่านประเทศไทยทางด้านอรัญประเทศ เพื่อมุ่งไปโจมตีพม่า ทั้งมีความเห็นว่าควรจะหลีกเลี่ยงการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น เพราะจะทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนัก และประเทศไทยจะหวังพึ่งชาติอื่นไม่ได้เลย โดยย้ำว่าอย่าได้แจ้งรัฐบาลประเทศใดทราบ
เครื่องบินทิ้งระเบิดของญี่ปุ่นบนเรือบรรทุกเครื่องบิน
พอญี่ปุ่นบุกเข้ามา ก็มาเจอการต่อต้านของฝ่ายไทย ทูตญี่ปุ่นจึงเดินทางมาพบนายกรัฐมนตรีในเช้าวันเดียวกัน พร้อมกับขู่ว่า ญี่ปุ่นได้เตรียมเครื่องบินทิ้งระเบิดไว้ 250 ลำที่ไซ่ง่อนเพื่อจะมาทิ้งระเบิดกรุงเทพให้สิ้นซาก ถ้าไทยไม่ยอมให้ผ่าน  รัฐบาลไทยจึงต้องยอมจำนนต่อกองทัพญี่ปุ่น

ปรีดี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
วันที่ 16 ธันวาคม 2484 สภาผู้แทนราษฎรลงมติแต่งตั้ง นายปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แทนเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งถึงแก่อสัญกรรม ทำให้นายปรีดีพ้นสถานะรัฐมนตรีซึ่งเป็นที่พอใจของฝ่ายญี่ปุ่น
โปสเตอร์ของรัฐบาลช่วงสงครามโลก
ต่อมาในวันที่
21 ธันวาคม 2484 รัฐบาลได้ทำสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น และในวันที่ 25 มกราคม 2485 รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ คือ ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลีอย่างเต็มที่


รถถังญี่ปุ่นขนาดเบา ในกรุงเทพ ธค. 2484
ในเวลานั้น ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากได้เข้าสู่พระนครเต็มไปหมด และได้ใช้สถานที่ทางราชการบางแห่งเป็นที่ทำการ รัฐบาลได้ประกาศให้ญี่ปุ่นเป็นมหามิตร ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนกับทางญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ การกระทำใดๆที่เป็นปรปักษ์มีโทษถึงประหารชีวิต 




ช่วงที่นายปรีดีได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ฉันคิดว่าคงจะมีเวลาว่างมากขึ้น ตลอดเวลาที่นายปรีดีเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆนั้นมีหน้าที่ภารกิจมากมาย ฉันจึงต้องเป็นคนดูแลและรับผิดชอบเรื่องในครอบครัวทั้งหมด
กองกำลังเสรีไทยในพื้นที่ปฏิบัติการ
แต่พอนายปรีดีได้มาเป็นผู้สำเร็จราชการกลับมีภาระหน้าที่สำคัญใหญ่หลวงรออยู่เบื้องหน้าในการรวบรวมบรรดาผู้รักชาติ ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ทำการต่อต้านญี่ปุ่นผู้รุกรานอย่างลับๆ เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ และติดต่อกับสัมพันธมิตรนอกประเทศ คือสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เพื่อให้รู้ว่าประเทศไทยมีขบวนการใต้ดินที่ต่อสู้กับญี่ปุ่นเพื่อเอกราช ภายใต้ชื่อ ขบวนการเสรีไทย โดยนายปรีดีเป็นหัวหน้าเสรีไทย มีชื่อรหัสว่า รูธ (Ruth)มีเป้าหมายสูงสุดคือทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับว่า ประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วยกับการทำสงคราม และการประกาศสงครามของรัฐบาลในวันที่ 25 มกราคมนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญและยากมาก


อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร เชิงสะพานท่านางสังข์ จังหวัดชุมพร
เมื่อทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกตามจุดต่างๆ ในประเทศ ความรู้สึกของฉันก็เหมือนกับคนไทย 14 ล้านคนในขณะนั้น คือเศร้าสลดที่เอกราชของชาติไทยเราถูกย่ำยี โดยปกติแล้วฉันกับนายปรีดีพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง เรื่องเสรีไทยนายปรีดีก็ไม่ได้ปกปิดฉัน เพราะปฏิบัติการของขบวนการเสรีไทยไม่ใช่เป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง หากเป็นหน้าที่รับใช้ชาติของคนไทยทุกคน



ทหารญี่ปุ่นและทหารไทยเป็นพันธมิตรกัน
บรรยากาศ ในพระนครเวลานั้น ทุกหนแห่งเต็มไปด้วยทหารญี่ปุ่น เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิดสลับกับเสียงปืนต่อสู้อากาศยานของ ทหารญี่ปุ่นเป็นประจำทำเนียบท่าช้างบนถนนพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นบ้านพักผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กลายเป็นที่ทำงานของขบวนการเสรีไทยอย่างลับๆ ส่วนการติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรในต่างประเทศมีเสรีไทยสายอังกฤษและสายอเมริกาเป็นตัวเชื่อม โดยบางคนลักลอบเข้ามาทางเรือดำน้ำแล้วขึ้นฝั่งแถวเพชรบุรี - ประจวบคีรีขันธ์ บางคนแอบกระโดดร่มเข้ามาอย่างนายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทำให้เสรีไทยในประเทศและสัมพันธมิตรนอกประเทศสามารถติดต่อกันได้

ทำเนียบท่าช้าง ถนนพระอาทิตย์
ตอนแรกฉันอยู่ที่ทำเนียบท่าช้างหรือวังถนนพระอาทิตย์ ซึ่งรัฐบาลให้เป็นบ้านพักรับรองของนายปรีดี ผู้สำเร็จราชการฯ เราไม่ได้ขุดหลุมหลบภัย ทำเนียบท่าช้างมีสามชั้น ก็เอากระสอบทรายมากองสูงท่วมหัวที่ชั้นล่าง
ปลายเดือนกรกฎาคม
2487 รัฐบาลจอมพล ป ลาออกเนื่องจากสภาไม่ผ่านร่างพรบ.จัดระเบียบนครบาลเพชรบูรณ์ขึ้นเป็นนครหลวงสำรองและร่างพรบ.จัดสร้างพุทธบุรีมณฑลในเขตจังหวัดนครปฐม พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาลาออกจากประธานคณะผู้สำเร็จราชการ เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธินผู้สำเร็จราชการอีกท่านหนึ่งก็เพิ่งอสัญกรรมไปก่อนหน้านั้นไม่นาน

ควง อภัยวงศ์ และคณะรัฐมนตรี 2487-2488
วันที่
1 สิงหาคม 2487 สภาผู้แทนจึงมีมติให้นายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว และในวันเดียวกันนั้นนายควง อภัยวงศ์ก็เข้าเป็นนายกรัฐมนตรี ทันทีที่เข้าบริหารก็มีคำสั่งย้ายหน่วยราชการที่ไปประจำอยู่เพชรบูรณ์กลับกรุงเทพ พร้อมทั้งประกาศยกเลิกการใช้ธนบัตรใบละพันบาทและรัฐนิยมต่างๆ  รวมทั้งออกพรบ.นิรโทษกรรมแก่นักโทษการเมืองทุกคนทุกรุ่นตั้งแต่ปี 2476 เป็นต้นมา นักโทษบางส่วนที่ถูกเนรเทศไปเกาะเต่าและถูกจำคุกในบางขวางที่ยังมีชีวิตอยู่จึงกลับคืนสู่อิสรภาพอีกครั้ง พร้อมทั้งคืนยศฐานันดาศักดิ์ให้ตามเดิมรวมทั้งบุคคลสำคัญ คือพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์


หัวลำโพงถูกโจมตีทางอากาศ  12 มค. 2487
พอถึงปี 2488 ช่วงปลายสงคราม เครื่องบินกลับมาทิ้งระเบิดหนักขึ้นอีก ทั้งกลางคืนและกลางวัน ตึกรามบ้านช่องพังพินาศจำนวนมาก ต้องวิ่งหลบหนีกัน เด็กเล็กลูกคนอื่นที่มาเรียนกับลูกเราด้วยก็จะไม่ปลอดภัย


นายปรีดีเชิญพระนางเจ้าสว่างวัฒนาซึ่งเป็นย่าของกษัตริย์ ไปอยู่ที่วังบางปะอินเพื่อความปลอดภัย และเราก็อพยพตามไปรับใช้ด้วย นายปรีดีได้ติดต่อกับสัมพันธมิตรให้ทราบว่าบางปะอินเป็นที่ประทับของเจ้านาย อย่ามาทิ้งระเบิด รวมทั้งบริเวณพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญของชาติ

สัมพันธมิตรทิ้งระเบิดสะพานพระรามหก 2 มค. 2488
แต่บริเวณทำเนียบท่าช้างยังทิ้งระเบิดกัน เพราะเป้าหมายการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร คือ ทำลายสนามบิน ชุมทางรถไฟ ท่าเรือ สะพาน เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงของญี่ปุ่น เช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง บางกอกน้อย ช่องนนทรีย์ บางซื่อ 
มักกะสัน โรงไฟฟ้าวัดเลียบ โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ สะพานพุทธยอดฟ้า สะพานพระราม 6 ท่าเรือคลองเตย สนามบินดินเมือง สถานทูตญี่ปุ่น  สนามเป้า

บริเวณสะพานพระรามหก ถูกทิ้งระเบิด
เนื่องจากทำเนียบท่าช้างอยู่เยื้องสถานีรถไฟบางกอก น้อย ลูก ระเบิดเลยมาลงบ่อย แต่นายปรีดีก็ยังอยู่ประจำที่ทำเนียบท่าช้าง เวลาเสียงหวอมา ชาวบ้านแถวนั้นต้องรีบอุ้มลูกจูงหลานเข้ามาหมอบหลบอยู่หลังเนินกระสอบเต็มไปหมด เพราะเชื่อว่าเครื่องบินคงไม่ทิ้งระเบิดลงค่ายเชลยในธรรมศาสตร์ที่อยู่ติดกัน ถ้าเป็นกลางคืนก็มีการสั่งให้ประชาชนพรางไฟ คือใช้ผ้าขนหนู หรือผ้าขาวม้า ปิดบังแสงไฟในบ้าน

สภาพบ้านเรือนในพระนครที่ถูกทิ้งระบิด
ฉันช่วยนายปรีดีติดตามสถานการณ์ข่าวสารการสู้รบในสมรภูมิต่างๆทั่วโลกจากการฟังวิทยุ ทั้งที่ทางการห้ามราษฎรฟังวิทยุของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่นายปรีดีในฐานะผู้สำเร็จราชการฯ มีสิทธิพิเศษมีใบอนุญาตให้ฟังได้ และคอยอำนวยความสะดวกแก่เสรีไทยที่มาประชุมกันที่ทำเนียบท่าช้าง บางครั้งฉันก็ช่วยเขียนรหัสด้วยลายมือภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ก่อนที่จะนำไปเข้าเป็นโค้ดลับ ถ้าใช้พิมพ์ดีดก็กลัวพวกญี่ปุ่นจับได้ เพราะสมัยนั้นตรวจสอบได้ไม่ยากว่าเป็นพิมพ์ดีดจากที่ไหน


นายพลโตโจ นายกญี่ปุ่น มาไทย 2486
มีอยู่วันหนึ่งที่นายพลโตโจ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางมาไทย และต้องมาลงนามแสดงความเคารพผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่ทำเนียบท่าช้าง แต่พวกญี่ปุ่นก็มิได้ระแคะระคายแต่อย่างใด

จำกัด พลางกูร
ภารกิจเพื่อประเทศและมนุษยชาติ


แม้ฝ่ายอักษะจะสำแดงเดชได้เหนือกว่าในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทว่า เมื่อถึงต้นปี 2486
ฝ่ายอักษะเริ่มประสบกับความพ่ายแพ้ อังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้ชัยชนะติดต่อกัน โจมตีเยอรมนีจนถอยร่นในแอฟริกาเหนือ ส่วนญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามทางเรือที่หมู่เกาะโซโลมอน และตัดสินใจถอนทหารออกมา ขณะที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ทูตไทยประจำสหรัฐประกาศไม่ยอมรับการกระทำของรัฐบาลจอมพล ป และสหรัฐก็ยังคงรับรองสถานทูตไทยในวอชิงตัน
นายปรีดีกับคณะจึงคิดหนีออกนอกประเทศไปร่วมมือกับ ม.ร.ว.เสนีย์ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในดินแดนสัมพันธมิตร โดยได้พยายามส่งคนจากทางภาคเหนือเข้าไปติดต่อกับรัฐบาลคณะชาติของจีนที่จุงกิง (ฉงชิ่ง) ถึงสองครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ


จำกัด พลางกูร
นายปรีดีได้เชิญนายจำกัด พลางกูรมาพบ เพื่อถามความสมัครใจในภารกิจที่เสี่ยงอันตรายไปให้ถึงนครจุงกิงเพื่อแจ้งข่าวและเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะนายจำกัดมีความมุ่งมั่นและรู้เรื่องของคณะเสรีไทยดี คุณจำกัดเกิดปี 2457 จบอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์และได้ทุนไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ ได้ปริญญาตรีเกียรตินิยม หลังกลับไทยในปี 2481 รับราชการกระทรวงศึกษาธิการ และถูกให้ออกราชการเพราะมีทัศนคติต่อต้านรัฐบาลเผด็จการของจอมพลป. พิบูลสงคราม โดยได้เขียนบทความโจมตีจอมพลป.เรื่องการตั้งศาลพิเศษขึ้นมาประหัตประหารปฏิปักษ์ทางการเมือง จากนั้นมาเปิดโรงเรียนเอกชนดรุโณทยานในปี 2483 บ้านของเขาที่กรุงเทพฯ ในซอยร่วมฤดีอยู่ใกล้กับบ้านของ ม.ร.ว.เสนีย์ นายจำกัดยังมีน้องชายสองคนเป็นเสรีไทยร่วมงานกับสัมพันธมิตร คนหนึ่งอยู่วอชิงตัน อีกคนหนึ่งอยู่ลอนดอน จึงน่าจะพิสูจน์ตัวเองกับสัมพันธมิตรได้ง่าย เขาไม่ได้รับราชการ ถ้าเขาหายตัวไปจากกรุงเทพฯ ก็จะไม่เป็นที่สงสัย  นายจำกัดไปรับประทานอาหารเย็นและลานายปรีดีในคืนก่อนวันออกเดินทาง ที่ทำเนียบท่าช้าง ถนนพระอาทิตย์ นายปรีดีได้มอบธนบัตรจุงกิงมูลค่า 13,000 เหรียญ และทองคำให้สำหรับไปขายกลางทางเมื่อขัดสน นายปรีดีกล่าวลาว่า เพื่อชาติ เพื่อมนุษยชาติ นะคุณ เคราะห์ดีที่สุด อีก 45 วัน ก็ได้พบกัน เคราะห์ไม่ดีนักอย่างช้าอีกสองปี ก็ได้พบกัน และเคราะห์ร้ายที่สุด ก็ได้ชื่อว่า สละชีพเพื่อชาติไป

จำกัด -ฉลบชลัยย์ พลางกูร
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2486 นายจำกัดในวัย 29 ปี ออกเดินทางด้วยรถไฟพร้อมกับนายไพศาล ตระกูลลี้ ซึ่งไปเป็นล่ามภาษาจีน โดยมีคุณฉลบชลัยย์ ภริยาที่แต่งงานกันได้เพียง 4 ปี เดินทางไปส่งถึงชายแดนไทย-ลาว ที่จังหวัดขอนแก่น


เตียง ศิริขันธ์ ในชุดเสรีไทย กับสัมพันธมิตร
นายเตียง ศิริขันธ์ได้จัดรถมารับพาไปส่งที่นครพนมเพื่อลงเรือข้ามโขงไปยังฝั่งท่าแขก ประเทศลาว นายเตียงให้คุณนิวาศน์ผู้เป็นภรรยาถอดเครื่องประดับทั้งหมด มี กำไล สร้อยข้อมือ และสร้อยคอรวมทั้งแหวนนามสกุลของเขาเองให้คุณจำกัดไว้ใช้ยามจำเป็น
ตอนนั้นนายเตียง ศิริขันธ์เจ้าของฉายาขุนพลภูพาน เป็นแม่ทัพใหญ่ในการฝึกหัดเสรีไทยนับพันคนหลายรุ่นทั่วเขตงานป่าเขาในภาคอีสาน มีกองกำลังจรยุทธ์และค่ายเสรีไทยหลายแห่ง รวมทั้งสนามบินลับและพร้อมรบทันทีเมื่อประกาศวันดีเดย์หรือวันยกพลของฝ่ายสัมพันธมิตรใกล้เข้ามา


เสันทางการเดินทางของคุณจำกัด
นายจำกัดต้องเดินทางผ่านความทุรกันดาร เป็นเวลาถึง 53 วัน เสี่ยงต่อการถูกทหารญี่ปุ่นจับในข้อหาจารชน ผ่านลาว-เวียดนาม กระทั่งได้เข้าสู่จีนทางชายแดนมณฑลกว่างซี ถูกกักตัวที่กุ้ยหลินนานถึง 14 วัน กว่าจะได้รับอนุญาตให้เดินทางไปนครจุงกิง ที่ตั้งของรัฐบาลเจียงไคเช็คในวันที่ 21 เมษายน 2484 เมื่อเดินทางไปถึงจุงกิง ภารกิจของนายจำกัดมิได้ราบรื่นนัก แม้จอมพลเจียงไคเช็คมีความสนใจปฏิบัติการของนายจำกัด แต่จีนติดพันสงครามต้านญี่ปุ่น และไม่ปรารถนาให้นายจำกัดพบกับฝ่ายอังกฤษหรือสหรัฐโดยตรง เพราะจีนก็ต้องการมีอิทธิพลต่อคณะเสรีไทย จึงถ่วงเวลาไว้กว่านายจำกัดจะได้เข้าพบเจียงไคเช็คก็ล่วงเลยไปแล้วกว่า 2 เดือน

มรว.เสนีย์ ปราโมช ทูตไทยประจำสหรัฐ
ขณะที่นายจำกัดพยายามทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าเสรีไทยสายอเมริกา กับ พ.ต. ม.จ. ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์หรือท่านชิ้น ผู้นำเสรีไทยสายอังกฤษ ซึ่งเป็นพี่ชายของพระนางเจ้ารำไพพรรณี
วันที่ 25 พฤษภาคม 2484 รัฐบาลอังกฤษบอกผ่านรัฐบาลจีนว่า ไม่ยอมรับแผนการและไม่รับรองคณะเสรีไทย รวมทั้งไม่ปล่อยเงินของรัฐบาลไทยที่อังกฤษกักยึดไว้
นายจำกัดวิตกกังวลมาก และเริ่มมีอาการป่วย เงินติดตัวก็ร่อยหรอลงมากจนต้องขายของมีค่าที่นายเตียงให้มา จนกระทั่งตอนสายของวันที่ 28 มิถุนายน 2484 จอมพลเจียงไคเช็คอนุญาตให้นายจำกัดเข้าพบราว 30
นาที เพื่ออธิบายทำความเข้าใจและชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลอังกฤษมีจุดหมายแบบจักรวรรดินิยม จึงไม่สนับสนุนคณะเสรีไทย จีนได้รับรองคณะเสรีไทยของนายปรีดี และยินดีช่วยเหลือไทยให้ได้รับเอกราชกลับคืนมา

มจ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ท่านชิ้น
ในที่สุด ม.จ.ศุภสวัสดิ์ฯ ได้บินจากอินเดียไปพบกับนายจำกัดที่จุงกิงระหว่างวันที่ 5 - 11 สิงหาคม 2486 เพื่อวางแนวทางปฏิบัติการของเสรีไทยร่วมกัน ผลักดันให้สถานทูตไทยในสหรัฐฯอนุโลมตาม ทำให้ขบวนการเสรีไทยทั้งหมดมีเอกภาพ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
การได้เจรจากับทั้งเจียงไคเช็คและม.จ.ศุภสวัสดิ์ฯ ทำให้จีนกับอังกฤษมีท่าทีที่ดีขึ้นกับคุณจำกัด การกินอยู่ของเขาเริ่มดีขึ้น แต่อาการป่วยของคุณจำกัดกลับรุนแรงขึ้น หลังจากกินอยู่ลำบากมา 4 เดือนเต็ม ต่อมาเจียงไคเช็คยอมให้คุณจำกัดเดินทางไปยังอเมริกา เพียงแต่รอประสานเรื่องเครื่องบิน

นายสงวน ตุลารักษ์

ต้นเดือนกันยายน 2486 นายปรีดีส่งคณะของนายสงวน ตุลารักษ์ เป็นคณะที่สองเดินทางมาจีนเพราะเห็นนายจำกัดเงียบหายขาดการติดต่อ นายจำกัดได้พบกับนายสงวนในวันที่ 2 กันยายน และเริ่มป่วยหนักตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน จึงให้นายสงวนเป็นผู้สานงานต่อ ทั้งการเดินทางไปสหรัฐฯและอังกฤษ หลังจากวันที่ 17 กันยายน อาการของเขาทรุดลงอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถกินอะไรได้ และจากไปในวันที่ 7 ตุลาคม 2486 พร้อมลมหายใจสุดท้ายที่ยึดมั่นในปณิธาน เพื่อประเทศ เพื่อมนุษยชาติ
การพบกันของนายจำกัดกับเจียงไคเช็ค มีส่วนทำให้เกิดการจับขั้วกันระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ช่วยถ่วงดุลอิทธิพลของอังกฤษในไทย และทำให้อังกฤษไม่อาจคิดเรียกร้องไทยได้เต็มที่ และไม่กล้าเอาไทยเป็นรัฐในอารักขาเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2


กำแพงเบอร์ลิน 13 สค.2504 -9 พย.2532 ปิดกั้นการหนีเข้าตะวันตก

และถ้าหากตกลงกันไม่ได้ ก็มีโอกาสสูงที่หลังสงครามไทยจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเทศ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับประเทศเวียตนาม เกาหลี และเยอรมนี ความสำเร็จของคุณจำกัดคือ เป็นเสรีไทยคนแรกที่ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบว่า ที่ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกานั้นไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญของไทย ทั้งแจ้งให้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทราบว่ามีขบวนการต่อต้านญี่ปุ่น หรือขบวนการเสรีไทยเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย

ปรีดี ประกาศแถลงสันติภาพ 16 สค. 2488
โดยที่ฝ่ายอังกฤษและสหรัฐอเมริกาทราบก่อนวันที่ยุติสงคราม ในเดือนสิงหาคม 2486 ว่าหัวหน้าเสรีไทยในประเทศคือ ดร. ปรีดี พนมยงค์ และฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มขวนขวายหาหนทางที่จะติดต่อสนับสนุนหัวหน้าขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่สัมพันธมิตรให้การรับรองรัฐบาลไทยในประกาศสันติภาพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2486

เจียงไคเช็ค รูสเวลท์ เชอร์ชิล เปิดการเจรจาเรื่องเอกราชของไทย
ที่กรุงไคโร อียิปต์  23-25 พย. 2486
ทั้งนี้ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะสิ้นสุดลง ฝ่ายสัมพันธมิตรเคยตกลงกันว่าให้ดินแดนไทยและอินโดจีนเหนือเส้นขนานที่ 16 ประมาณจังหวัดพิจิตรขึ้นไป เป็นเขตยุทธภูมิหรือเขตปฏิบัติการทางทหารของจีน และใต้เส้นขนานที่ 16 ลงมาเป็นเขตยุทธภูมิของอังกฤษ
เมื่อสงครามสิ้นสุดลงอย่างกะทันหันในกลางเดือนสิงหาคม 2488 แม้จีนมีท่าทีจะเคลื่อนพลลงมาทางภาคเหนือของไทย แต่นายปรีดีได้แจ้งไปยังสหรัฐฯว่าไม่ปรารถนาและเป็นการไม่จำเป็นที่จีนจะ ต้องเข้ามาในดินแดนไทย เพราะรัฐบาลคณะเสรีไทยสามารถดูแลจัดการได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งทหารอังกฤษที่เข้ามาช่วยปลดอาวุธเป็นการชั่วคราวในไทยนั้น ถือว่าเพียงพอแล้ว เป็นการย้ำว่าไทยมีเอกภาพและกำลังพอที่จะรักษาบูรณภาพเหนือดินแดนไว้ได้ด้วยตนเอง อันธำรงค์ไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยของชาติไว้ได้ตราบจนทุกวันนี้


ทหารญี่ปุ่น เตรียมตัวกลับประเทศ
คุณฉลบชลัยย์เพิ่งทราบข่าวสามีเสียชีวิตเมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว ก่อนหน้านั้นทุกอย่างเป็นความลับ คุณจำกัดได้รับพระราชทานยศพันตรี และกว่าเถ้าอัฐิของคุณจำกัดจะได้กลับเมืองไทยก็ล่วงเข้าสู่วันที่ 6 กันยายน 2488 เธอได้นำเถ้ากระดูกของคุณจำกัดไปลอยอังคารที่อ่าวไทย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2529 ณ ที่เดียวกันและเวลาเดียวกันตามหลังเถ้ากระดูกของนายปรีดี พนมยงค์กับนายปาล พนมยงค์


คุณฉลบชลัยย์(คนกลาง) 13 ธค. 2551
ภาพถ่ายนายจำกัดยังคงตั้งอยู่ในห้องนั่งเล่นของนางฉลบชลัยย์ในวัย 94 ( 2555 ) ตราบจนทุกวันนี้ ส่วนจิตวิญญาณของเขาคงจะอยู่กับเธอ เพราะชีวิตของเขานั้นได้เต็มใจสละแล้วเพื่อประเทศชาติ ดังคำสั่งเสียที่กล่าวกับภริยาสุดที่รักว่า ฉลบจ๋า เธอจงอยู่ไปดีๆนะ เธอจงคิดว่า ได้อุทิศฉันให้แก่ประเทศชาติไปแล้ว ก็แล้วกัน



สิ้นสุดสงครามโลก


สภาพเมืองฮิโรชิมาหลังจากถูกระเบิดปรมาณู
สงครามโลกครั้งที่สองดำเนินอยู่ 4 ปีจึงยุติลง เมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคม 2488 หลังจากที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งสาส์นด่วนถึงนายปรีดีให้รีบประกาศว่า การประกาศสงครามของไทยเป็นโมฆะ
บริเวณสะพานพระรามหกที่ถูกทิ้งระเบิด
ประเทศไทยถูกโจมตีทางอากาศจากฝ่ายสัมพันธมิตร ประมาณ 250 ครั้ง  2,490 เที่ยวบิน ทิ้งลูกระเบิดประมาณ 18,600 ลูก ระเบิดเพลิง 6,100 ลูก ทุ่นระเบิด 250 ลูก มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,900 คน บาดเจ็บประมาณ 3,000 คน อาคารถูกทำลายประมาณ 9,600 หลัง

ปรีดี 9 พ.ค. 2489
ตอนสายของวันที่
16 สิงหาคม 2488 จึงได้มีเสียงจากวิทยุโดยนายปรีดีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในนามของรัชกาล 8 ประกาศสันติภาพ โดยมีเนื้อหาสำคัญว่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระเจ้าอยู่หัว ขอประกาศโดยเปิดเผยแทนประชาชนชาวไทยว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ เป็นโมฆะไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย
จากคำประกาศสันติภาพและการมีอยู่ของขบวนการเสรีไทย ทำให้ประเทศสัมพันธมิตรยอมรับสถานะเดิมของประเทศไทยที่มีเอกราชและอธิปไตยโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องตกเป็นประเทศแพ้สงครามเหมือนญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี
ฉันดีใจและโล่งใจยิ่งกว่าวันที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้เสียอีก เพราะการประกาศสันติภาพเท่ากับเป็นการรับรองสถานะว่าประเทศไทยยังคงดำรงเอกราชและอธิปไตย

คดีอาชญากรสงคราม
มรว.เสนีย์ ปราโมช
นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากนายกรัฐมนตรี เปิดทางให้ผู้ที่มีความเหมาะสมในการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร นายทวี บุณยเกตุได้รับ
หน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว 17 วันเพื่อรอ มรว.  เสนีย์ ปราโมชทูตไทยประจำสหรัฐและผู้นำเสรีไทยสายอเมริกาเดินทางกลับมารับตำแหน่ง หลังจาก มรว.เสนีย์ จัดตั้งรัฐบาลแล้ว ก็ได้ออกพรบ. อาชญากรสงคราม 2488 จับกุมบรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประกาศสงครามเมื่อปี 2485 รวม 13 คน เช่น จอมพล ป นายสังข์ พัฒโนทัย ( เจ้าของนามปากกานายมั่นนายคง )  พล.ต. ประยูร ภมรมนตรี หลวงวิจิตรวาทการ ฯลฯ
ศาลอาชญากรสงคราม โตเกียว 2491
นายปรีดีคัดค้านไม่ให้ส่งตัวจอมพล ป. กับพวกไปให้ศาลอาชญากรสงครามระหว่างประเทศที่สัมพันธมิตรตั้งขึ้นที่โตเกียว มิเช่นนั้นจอมพล ป. อาจถูกตัดสินประหารชีวิตหรือถูกจองจำเป็นเวลานาน ในฐานะอาชญากรสงครามคนหนึ่ง รัฐบาลจึงได้ตั้งศาลอาชญากรสงครามขึ้นในประเทศไทย พิจารณาตัดสินคนไทยด้วยกันเอง
โจทก์ฟ้องว่าจอมพล ป.และพวก นิยมลัทธิการปกครองแบบเผด็จการ และลัทธิชาตินิยมอย่างรุนแรง ร่วมกับญี่ปุ่นทำสงครามรุกราน มีการกระทำเป็นภัยอันตรายร้ายแรงต่อความสงบของโลกเฉพาะประเทศไทย ประชาชนต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินไปจำนวนมหาศาล โจทก์ขอให้ลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตและขอศาลให้ริบทรัพย์จำเลยทั้งหมด


พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน )
ตอนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2489 ผู้พิพากษาศาลฎีกาคือพระมนูภาณวิมลศาสตร์ ( ชม จามรมาน ) ได้ลาออกจากตำแหน่งราชการ และได้มาเป็นทนายความแก้ต่างให้กับจอมพล ป. มีพยานจำเลยคนสำคัญคือนายพล อาเคโตะ นากามูระ ( Aketo Nakamura ) ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ให้การว่า กองทหารไทยไม่เคยบุกเข้าไปในประเทศจีนและประเทศพม่าด้วยตนเอง



นายพลอาเคโตธนากามูระ  Aketo  Nakamura
จอมพล ป. ได้ให้ความร่วมมือตามการเรียกร้องของทหารญี่ปุ่นภายใต้ขอบเขตที่จำเป็นตามหลักของสัมพันธมิตรเท่านั้น และได้ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เพชรบูรณ์ เริ่มสร้างเมืองหลวงใหม่เป็นการขัดขวาง และขัดต่อกับข้อเรียกร้องของฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งต้องการวัสดุก่อสร้างจำนวนมาก เพื่อไปสร้างและซ่อมถนน แต่จอมพล ป ไม่ได้ให้ความร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นอย่างแข็งขันเลย คือ ไม่ได้ยุติการก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ท่านนายพลนากามูระมีความเชื่อมั่นว่าการที่ จอมพล ป. เข้าร่วมเป็นสัมพันธมิตรกับญี่ปุ่นเพราะว่าท่านรักเมืองไทย ท่านพยายามรักษาเอกราชของเมืองไทยและท่านไม่มีเจตนาที่จะสู้รบกับฝ่ายสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ

อมพล ป เร่งย้ายเมืองหลวงไปเพชรบูรณ์เพราะกลัวกรุงเทพโดนระเบิดถล่ม
จอมพล ป. ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกองทัพญี่ปุ่นเฉพาะภายในขอบเขตหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติในฐานะเป็นกองทัพสัมพันธมิตรเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารญี่ปุ่นปฏิบัติแบบที่กระทำอยู่ในประเทศอินโดจีน - ฝรั่งเศส นับว่าเป็นความสามารถของจอมพล ป ที่ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ในฐานะผู้ที่รักชาติ ที่คนไทยน่าจะรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ แต่ต้องมารับเคราะห์กรรม ถูกกล่าวหาว่าร้ายจากฝ่ายสหรัฐและอังกฤษ โดยลำพังเพียงคนเดียว เหตุที่จอมพล ป.ไม่สู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น ก็เพื่อช่วยรักษาสภาพประเทศไทยไม่ให้ถูกเผาทำลาย สามารถรักษาเอกราชของไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ ท่านเป็นบุคคลที่น่ายกย่องและเป็นผู้ที่สามารถคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรักษาเอกราชของไทย

หลังจาก มรว. เสนีย์เป็นนายกรัฐมนตรีได้
3 เดือนก็สั่งยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่


พรบ.อาชญากรสงคราม
23 มีนาคม 2489 ศาลฏีกาได้ยกฟ้องจำเลยคดีอาชญากรสงครามทั้งหมดเพราะเป็นการกระทำก่อนวันที่ 11 ตุลาคม 2488 อันเป็นวันประกาศใช้ พรบ. อาชญากรสงคราม ถือเป็นการออกกฎหมายเอาโทษย้อนหลังซึ่งขัดรัฐธรรมนูญ จอมพล ป กับพวกที่ถูกจับจึงได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ นักประวัติศาสตร์บางท่านวิเคราะห์ว่า การออก พรบ. อาชญากรสงคราม และการจับจอมพล ป. เป็นแผนที่นายปรีดีต้องการช่วยให้ จอมพล ป. พ้นจากข้อหาอาชญากรสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร ระหว่างเวลาที่อยู่ในคุก จอมพล ป. เขียนจดหมาย ขอให้นายปรีดีเพื่อนร่วมคณะราษฎรเห็นใจ ให้ความช่วยเหลือ ทั้งบอกว่า เข็ดแล้วการเมือง จะกลับไปทำไร่ทำนา จอมพล ป. ติดคุกถึง 159 วัน

หลังสงครามโลกสงบลง แต่บ้านเมืองยังดวุ่นวาย ถูกรุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ และการเมืองที่ฝ่ายทหารไม่พอใจรัฐบาลพลเรือนที่มาลดบทบาทของพวกตน

นายปรีดีได้ทูลเชิญรัชกาลที่ 8 เสด็จกลับพระนครเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2488 และได้ลาออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อถวายพระราชอำนาจคืน ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายปรีดีเป็นรัฐบุรุษอาวุโส มีหน้าที่ปรึกษาราชการแผ่นดินสืบไป

หลังการเลือกตั้งเดือนมกราคม
2489 นายควงกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกได้ราวเดือนเศษก็ลาออกเพราะแพ้มติในสภาเรื่องพรบ.คุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในสภาวะคับขัน สภามีมติให้นายปรีดีเป็นนายกรัฐมนตรีเพราะยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจหลังสงครามและเรื่องการเจรจาความกับต่างประเทศ นายปรีดีดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2489 จึงลาออกเนื่องจากได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนพฤษภาคม สภามีมติให้นายปรีดีเป็นนายกต่ออีกสมัยหนึ่งในวันเดียวกัน

รัชกาลที่
8 โดนยิงสิ้นพระชนม์

พระที่นั่งบรมพิมานสถานเกิดเหตุที่สวรรคต
แต่พอเช้าวันที่
9 มิถุนายน 2489 ขณะที่นายปรีดี กำลังปรึกษาราชการกับแขกคนหนึ่งที่ทำเนียบท่าช้าง มีเจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังมารายงานว่ามีเสียงปืนดังขึ้นบนพระที่นั่ง นายปรีดีสั่งการทุกอย่างกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแล้วรีบออกจากบ้านเพื่อไปพระบรมมหาราชวังทันที  ฉันนิ่งอึ้งด้วยความตกตลึง ตกเย็นมีประกาศจากสำนักพระราชวังแถลงทางวิทยุว่ารัชกาลที่ 8 ถูกปืนยิงสิ้นพระชนม์ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง
พรรคการเมืองที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายปรีดี ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ได้ถือโอกาสใส่ร้ายป้ายสี กล่าวหาว่านายปรีดีมีส่วนพัวพันการสวรรคต ถึงกับจ้างคนไปตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า ปรีดีฆ่าในหลวง นายปรีดีได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม และ พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ในเวลานั้นนายปรีดีเห็นเป็นโอกาสอันสมควรที่จะเดินทางไปเยือนมิตรประเทศตามคำเชิญของแต่ละประเทศตั้งแต่ครั้งสงครามยุติใหม่ๆ นายปรีดีและฉันจึงได้เดินทางไปเยือนมิตรประเทศ 9 ประเทศในเอเชีย ยุโรปและอเมริกาตามคำเชิญ เป็นเวลานาน 3 เดือน แม้ว่าเวลานั้น  นายปรีดี  จะไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายปรีดีกลับเป็นผู้นำที่โดดเด่นและมีบารมีมากที่สุดคนหนึ่งในเอเชีย โดยเฉพาะบทบาทหัวหน้าเสรีไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ต่างประเทศจึงให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ
ไปเยือนจีนพบประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค
เริ่มจากไปเยือนประเทศจีนที่กรุงนานกิง ได้รับการเลี้ยงรับรองจากประธานา ธิบดี เจียง  ไคเช็ค ต่อเครื่องบินมากรุงมะนิลา ประธานาธิบดีโรซาสแห่งฟิลิปปินส์ให้การต้อนรับ จากนั้นข้ามไปเยือนสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีทรูแมนเปิดทำเนียบขาวต้อนรับอย่างดี

พบประธานาธิบดีลีอองบรัม Leo Brum ของฝรั่งเศส
แล้วข้ามทะเลไปประเทศอังกฤษ มีโอกาสได้ร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวันกับพระเจ้ายอร์ชที่ 6 พระราชินี เจ้าฟ้าหญิงเอลิซาเบธ เจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ต และลอร์ดหลุยส์ เมาน์ทแบตเตน ผู้บัญชาการสูงสุดของสัมพันธมิตรในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ณ พระราชวังบักกิงแฮม ส่วนที่กรุงปารีส ประธานาธิบดีลิออง บรัม แห่งฝรั่งเศสได้เลี้ยงรับรองที่กระทรวงต่างประเทศ

ปรีดีกลับไทย ประชาชนต้อนรับ
นอกจากนั้นยังมีโอกาสเข้าเฝ้ากษัตริย์ภูมิพลและพระราชชนนีศรีสังวาลย์ที่อยู่สวิตเซอร์แลนด์ และเดินทางต่อไปยังประเทศเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์เป็นประเทศสุดท้าย ก่อนจะนั่งเครื่องบินกลับประเทศไทย มาลงที่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือคลองเตย และได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลามจากพี่น้องชาวไทย


ถวัลย์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์
เมื่อรัฐบาลพรรคแนวรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคสหชีพเข้าบริหารประเทศ พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการจัดตั้งองค์การสรรพาหาร มาจากสรรพ+อาหาร หรือซุปเป้อร์มาร์เก็ต ซื้อของแพงมาจำหน่ายในราคาถูกเพื่อตรึงราคาสินค้า แต่รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีกลับถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นในการส่งข้าวชั้นดีออกขายนอกประเทศ เหลือแต่เพียงข้าวหักสำหรับเลี้ยงสัตว์ไว้ให้ประชาชนบริโภคในประเทศ



ควง อภัยวงศ์หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ฝ่ายค้านโดยพรรคประชาธิปัตย์เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ติดต่อกัน คือระหว่างวันที่ 19 - 26 พฤษภาคม 2490 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุ แม้ว่ารัฐบาลจะได้รับความไว้วางใจ แต่กระแสกดดันที่รุนแรงทั้งในและนอกสภาฯ ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น และได้รับเลือกกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อทันทีในวันถัดมา จากความแตกแยกกันเองในหมู่นักการเมืองและประชาชนหลังเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8 ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ ทำให้มีข่าวลือหนาหูว่าจะมีการรัฐประหาร
นายปรีดีได้กลับมาเมืองไทยในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองตกต่ำสุดขีด


อดุล อดุลเดชจรัส
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2490 หลวงอดุลฯ หรือ พล.อ. อดุล อดุลเดชจรัส ผู้บัญชาการทหารบก ได้มาหานายปรีดีที่บ้านพักทำเนียบท่าช้างเพื่อแจ้งข่าวว่าจะมีการทำรัฐประหาร ในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน แต่หลวงอดุลฯ ได้จัดการเรียบร้อยแล้ว โดยมีคำสั่งเรียกให้นายทหารทุกชั้นเข้ามารายงานตัว โดยไม่รู้ว่าคณะรัฐประหารได้ร่นเวลาเริ่มปฏิบัติการให้เร็วขึ้น ตั้งแต่เวลา 23.00 น. ของคืนวันที่ 7  กองกำลังรถถังส่วนหนึ่งบุกเข้าไปที่ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เข้าควบคุมตัว หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรถถังอีกส่วนหนึ่งบุกเข้าไปประตูทำเนียบท่าช้างวังหลวงเพื่อควบคุมตัว นายปรีดี พนมยงค์
วันนั้นหลวงอดุลย์ กับหลวงธำรงมารับประทานอาหารเย็น ฉันเข้านอนก่อนเพราะเป็นไข้ ต่อมาประมาณเที่ยงคืนฉันเห็นแสงไฟสาดเข้ามาในห้องนอน ทีหลังถึงรู้ว่าเป็นไฟจากรถถังที่จอดอยู่หน้าธรรมศาสตร์ แสงไฟจ้ามาก ฉันแปลกใจ รีบลงไปชั้นล่าง พบเด็กที่อยู่กับเรายืนอยู่กับตำรวจที่เป็นยามประจำบ้าน ฉันถามว่านายปรีดีอยู่ไหน เด็กบอกว่าท่านไปแล้ว

ไม่ทันขาดคำ ทหารยิงเข้ามาในบ้าน เสียงปืนแผดสนั่นขึ้นกราวใหญ่ที่บริเวณชั้นบนของบ้านด้านริมถนน ลูกปาลวิ่งออกมาจากห้องนอนด้วยความตกใจและฉุดฉันขึ้นมานอนหมอบราบในห้องนอนของลูกๆผู้หญิงที่อยู่ด้านริมแม่น้ำและคอยถามว่าแม่เป็นอย่างไรบ่าง เพราะพวกเราปิดไฟอยู่ในความมืด ทุกคนตัวสั่นด้วยความตกใจกลัว
ฉันละล่ำละลักตะโกนสวนออกไปท่ามกลางเสียงห่ากระสุนที่ยังกึกก้องคำรามอย่างบ้าคลั่งว่า ..
ที่นี่มีแต่เด็กกับผู้หญิง อย่ายิง..
สักครู่เสียงปืนจึงสงบลง แล้วดังขึ้นที่ประตูรั้วหน้าบ้านอีกครั้ง พร้อมกับทหารกลุ่มหนึ่งราว
4-5 คนบุกเข้ามา ฉันรอเสียงปืนเงียบจนแน่ใจจึงเดินลงมาเผชิญหน้า
ทหารคนหนึ่งพูดว่า ที่มานี่ เราจะมาเปลี่ยนรัฐบาล
ฉันย้อนถามกลับไปว่า ทำไมมาเปลี่ยนที่นี่ ทำไมไม่ไปเปลี่ยนกันที่สภาล่ะ
แล้วทั้งหมดก็เดินขึ้นมาค้นบ้าน เมื่อไม่พบอะไรที่พวกเขาต้องการ ก็พากันกลับ
ประมาณตีสี่ หลวงอดุลฯ มาหาฉัน บอกว่าได้ไล่ทหารพวกนั้นให้ไปอยู่ที่ป้อมพระสุเมรุ ไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามาอีก สักครู่ พล.ต. วีรวัฒน์ วีรวัฒน์โยธิน ผู้บัญชาการกองพลที่
1
มาเยี่ยม แล้วถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ปรีดีไปไหน ฉันก็ตอบไปเท่าที่ทราบในตอนนั้น
ผิน ชุณหะวัณ
พอเช้าวันถัดมา
8 พฤศจิกายน 2490  จึงทราบว่าคณะรัฐประหารมีพล.ท. ผิน ชุณหะวัณ อดีตนายทหารนอกราชการ พ.อ.กาจ กาจสงคราม พ.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.อ.ถนอม กิตติขจร พท.ประภาส จารุเสถียร พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวช ร.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ฯลฯ เข้ายึดอำนาจการปกครองและยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2489 หลังจากนั้นได้เชิญนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว ก่อนที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
พอตอนสาย ๆ ร.อ. สมบูรณ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นชาติชาย ชุณหะวัณ) นำกำลังทหารพร้อมรถถังบุกมาประตูหน้าทำเนียบท่าช้าง
 เพื่อนสนิทของฉัน คุณฉลบชลัยย์ (ภรรยาคุณจำกัด พลางกูร) วิ่งออกไปยืนขวางพวกทหาร ไม่ให้เข้ามาใกล้บริเวณโรงรถเพราะเกรงว่าจะเอาสิ่งของต้องห้ามมาใส่ จึงให้คนในบ้านร่วมเป็นพยานการตรวจค้น ซึ่งก็ไม่มีอะไร



พล.ร.ต. ทหาร ขำหิรัญ
วันรุ่งขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์นายปรีดีได้ฝากคนมาแจ้งให้ฉันทราบว่าไม่ต้องเป็นห่วง ตอนนี้นายปรีดีหลบไปอยู่กับพวกทหารเรือที่กรมสรรพาวุธ บางนา ต่อจากนั้นไม่นานพล.ร.ต. ทหาร ขำหิรัญ อดีตผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และผู้บัญชาการกรมนาวิกโยธิน ได้ช่วยนายปรีดีหลบภัยไปอยู่ที่กรมนาวิกโยธิน สัตหีบ มีเสรีไทยหลายคนเดินทางมาปรึกษาหารือกับนายปรีดี จนเมื่อฝ่ายรัฐประหารสืบทราบว่านายปรีดีหลบอยู่ในฐานทัพเรือ จึงมีหนังสือมาขอตัว นายปรีดีไม่อยากทำให้ทหารเรือเดือดร้อน จึงตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองไทย โดยลักลอบออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ ไปขึ้นเรือบรรทุกน้ำมันของอังกฤษมุ่งหน้าไปสิงคโปร์

จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์
ทันทีที่การรัฐประหารเสร็จสิ้นลงโดยปราศจากการต่อต้าน คณะรัฐประหารนำโดยนาวาอากาศเอกกาจ ได้ให้มจ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ ผู้เป็นบุตรเขย พาคณะรัฐประหารเข้าเฝ้ากรมพระยาชัยนาทนเรนทรรังสิตประยูรศักดิ์หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการให้ทรงลงนามประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ 2490 (ฉบับชั่วคราว) แต่เพียงพระองค์เดียว


พระยามานวราชเสวี

ในขณะที่พระยามานวราชเสวี ผู้สำเร็จราชการอีกคนนั้น ไม่ยอมลงนาม ทำให้การประกาศรัฐธรรมนูญใช้มีผลไม่สมบูรณ์เนื่องจากคณะผู้สำเร็จฯลงนามไม่ครบ แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกประกาศใช้สำเร็จในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 โดยมีผู้สำเร็จราชการฯลงนามเพียงคนเดียว
ในพระบรมราชโองการอ้างว่า
ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤตกาล ประชาชนพลเมืองได้รับความลำบากเดือดร้อนเพราะขาดอาหารขาดเครื่องนุ่งห่ม และขาดแคลนสิ่งอื่นๆ นานัปปการ เครื่องบริโภคและอุปโภคทุกอย่างมีราคาสูงขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมทรามในศีลธรรมอย่างไม่เคยมีมาก่อน รัฐบาลและสภาไม่อาจแก้ไขให้เป็นปกติได้แม้แต่น้อย ประชาชนทั้งประเทศผิดหวัง ประเทศชาติทรุดโทรมลง ถ้าปล่อยไว้ก็จะทำความหายนะแก่ประเทศชาติอย่างไม่มีสุดสิ้น จะไม่อาจดำรงความเป็นไทยต่อไปอีกได้ ราษฎรไทยส่วนมากผู้สนใจเรื่องนี้พร้อมด้วยทหารของชาติได้พร้อมใจกันนำความขึ้นกราบบังคมทูล ขอให้เลิกใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่อันจะเป็นวิถีทางจรรโลงประเทศชาติให้วัฒนาถาวร อีกทั้งจะเป็นทางบำบัดยุคเข็ญของประชาชนทั้งปวงให้เข้าสู่ภาวะปกติได้สืบต่อไป
กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
กรมพระยาชัยนาทนเรนทรรังสิตประยูรศักดิ์ผู้สำเร็จราชการฯได้กล่าวรับรองการรัฐประหารครั้งนี้กับสหรัฐฯว่า การรัฐประหารครั้งนี้มีความชอบธรรมเนื่องจากไม่มีการนองเลือด จากนั้นคณะรัฐประหารได้ส่ง มจ.จักรพันธ์เพ็ญศิริจักรพันธ์ 
เป็นผู้แทนเดินทางไปรายงานให้กษัตริย์ภูมิพลทรงทราบที่สวิสเซอร์แลนด์ โดยกษัตริย์ภูมิพลได้ส่งจดหมายจากเมืองโลซานน์แสดงความชื่นชมยินดีถึงจอมพล ป.


รัฐประหาร 2490 คือการฟื้นคืนสมบูรณาญาสิทธิราชย์
รัฐธรรมนูญ
2490 ที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม
โดยมีสาระสำคัญคือเปลี่ยนแปลงจากหลักการของรัฐธรรมนูญหลังการปฏิวัติ2475 ที่จำกัดอำนาจกษัตริย์ให้ กลายเป็นรัฐธรรมนูญที่ถวายอำนาจให้กษัตริย์เป็นอย่างมาก เช่น ให้กษัตริย์มีอำนาจมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจปลดนายกรัฐมนตรี โดยให้ประธานอภิรัฐมนตรีเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ ทั้งนี้อภิรัฐมนตรีก็ได้รับการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ 

พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์
ประธานอภิรัฐมนตรี 2490
กษัตริย์มีอำนาจเลือกวุฒิสภา มีอำนาจในการตราพรบ.ในกรณีฉุกเฉินและกรณีการเงิน ส่งผลให้การกระทำของกษัตริย์ไม่ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และขัดต่อหลักการที่กษัตริย์อยู่ในฐานะที่ละเมิดมิได้ มีการรื้อฟื้นองค์กรทางการเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คืออภิรัฐมนตรี ที่รัฐธรรมนูญฉบับต่อๆมา เรียกเป็น องคมนตรี  เป็นต้น



กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
อภิรัฐมนตรี 2490
กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เรียกบรรยากาศทางการเมืองหลังการรัฐประหารว่า วันใหม่ของชาติ ในขณะที่ พลเรือตรีถวัลย์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกโค่นล้ม วิจารณ์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2490 เป็นเรื่องถอยหลังเข้าคลอง เพราะอำนาจสิทธิ์ขาดไปอยู่ที่กษัตริย์ ผิดหลักการของประชาธิปไตย เป็นการทำลายเจตนารมณ์ของการปฏิวัติ 2475 โดยสิ้นเชิง



หญิงเหล็กกับมรสุมทางการเมือง

หญิงเหล็ก ฝ่ามรสุมชีวิต
เมฆหมอกแห่งเผด็จการทหารได้ปกคลุมประเทศอีกครั้งหนึ่ง คณะรัฐประหารประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ฉีกรัฐธรรมนูญปี
2489 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีการลอบสังหาร จับกุมคุมขังฝ่ายตรงข้าม คือพรรคพวกของนายปรีดีจำนวนมาก ช่วงนั้นคณะรัฐประหารใช้วิธี จับผัวไม่ได้ก็จับเอาเมียไปขังแทน คือเมื่อจับตัวไม่ได้ก็ไปจับคนในครอบครัวและญาติมิตรแทน ภรรยาของเรือเอกวัชรชัยก็ถูกจับไปราวกลางเดือนธันวาคม 2490
ฉันจึงตัดสินใจอพยพลูกๆหลบไปอยู่บ้านพักในค่ายดงตาลสัตหีบ ที่นายปรีดีเคยมาอยู่ ซึ่งพล.ร.ต.ทหาร ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี พวกเราพักที่นั่นราวสองเดือนเศษ
พอเหตุการณ์ผ่านไปสักระยะ ฉันจึงกลับมาอยู่บ้านและย้ายจากทำเนียบท่าช้างมาอยู่ที่บ้านป้อมเพชร์ ถนนสีลม พยายามใช้ชีวิตตามปกติ จัดการให้ดุษฎีและวาณีลูกสาว
2 คนเล็กเป็นนักเรียนประจำ และสุดาเป็นนักเรียนไปกลับเซ็นโยเซฟ ศุขปรีดาลูกชายคนที่ 2 เรียนที่กรุงเทพคริสเตียน ส่วนปาลบุตรคนโตเรียนชั้นเตรียมธรรมศาสตร์และการเมือง
เดือนกุมภาพันธ์
2491 ฉันเดินทางไปพบนายปรีดีตามลำพังที่เกาะเซนต์จอห์นอยู่ทางใต้ของสิงคโปร์ ซึ่งข้าหลวงของอังกฤษที่สิงคโปร์ได้จัดบ้านพักไว้รับรอง

ต่อมานายปรีดีลี้ภัยจากสิงคโปร์ไปอยู่ฮ่องกงและข้ามไปเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ในยุคสมัยเจียงไคเช็คนายปรีดีต้องการลี้ภัยไปประเทศเม็กซิโก แต่รองกงสุลอเมริกันที่เซี่ยงไฮ้ซึ่งเป็นพวกซีไอเอ ขีดฆ่าวีซ่าผ่านแดนอเมริกา ทำให้นายปรีดีไม่สามารถไปเม็กซิโกได้ รองกงสุลอเมริกันคนนี้คือนายนอร์แมน ฮันนา (
Norman Hannah ) ต่อมาเป็นทูตสหรัฐประจำประเทศไทย


7 สิงหาคม 2491 รัฐบาลได้ดำเนินการฟ้องร้องนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมศิรินทร์ ในคดีสวรรคต และตัดเงินบำนาญของนายปรีดีในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโส ทำให้เรามีเพียงรายได้จากค่าเช่าบ้านสีลมซึ่งเป็นจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น  ทางรัฐบาลได้ส่งตำรวจมาคอยประกบติดตามตัวฉัน โดยเอารถมาจอดเฝ้าที่ร้านกาแฟฝั่งตรงข้ามบ้านป้อมเพชร์ ทำให้ฉันรูสึกอึดอัดมาก พอออกจากบ้านก็ถูกสะกดรอยตลอดจากบุคคลลักษณะ ชายแปลกหน้า ใส่หมวก สวมแว่นตาดำ และคอยขับรถสะกดรอยตาม

กบฏวังหลวง

มรสุมลูกใหญ่กว่าเดิม
นายปรีดี และคุณพูนศุข
นายปรีดีติดตามรับฟังข่าวสารจากเมืองไทยเป็นระยะ และมีความคิดเสมอว่าจะกลับไปฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทยอีกครั้ง จนเมื่อพลพรรคในประเทศได้แจ้งข่าวมาว่าสถานการณ์พร้อมแล้ว จึงได้ลักลอบเข้าไทย โดยมีทหารเรือเป็นกำลังสำคัญในการสู้รบกับฝ่ายรัฐประหาร ใช้ชื่อเรียกว่า ขบวนการประชาธิปไตย นายปรีดีได้แอบเดินทางกลับมาโดยปลอมตัวเป็นทหารเรือและติดหนวดปลอมปะปนเข้ามาพร้อมกับกลุ่มกบฏ แต่มีผู้พบเห็นและจำได้
เป้าหมายการก่อการในครั้งนี้ เพื่อต้องการเข้ามาเพื่อเจรจา โดยการเคลื่อนกำลังที่เหนือกว่าเข้าควบคุมสถานการณ์และเปิดการเจรจาให้จอมพล ป. กับคณะรัฐประหารยอมรับเงื่อนไขโดยสันติวิธี แต่ฝ่ายรัฐบาลก็รู้ตัวก่อนแล้ว เพราะจอมพล ป. ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 
เตรียมรับสถานการณ์ ในวันที่  23 กุมภาพันธ์ 2492 ก่อนเกิดเหตุถึง 3 วัน รวมทั้งได้มีการฝึกซ้อมรบด้วยกระสุนจริงของทหารบกที่ตำบลทุ่งเชียงรากจังหวัดปทุมธานี
นายปรีดีได้กลับมาเยี่ยมบ้านเพียงชั่วครู่ในตอนค่ำของวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2492 ฉันคัดค้านแผนการของเขาด้วยความห่วงใยเพราะทราบดีว่าสถานการณ์ครั้งนี้ต้องเดิมพันด้วยชีวิตและมีความเสี่ยงสูงมาก แต่นายปรีดียืนกรานที่จะกระทำการครั้งนี้ โดยวางแผนจะยึดอำนาจรัฐกลับคืนมาให้สำเร็จและฟื้นฟูประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่
เวลาสามทุ่มของวันที่
26 กุมภาพันธ์ 2492 นายปรีดีพร้อมด้วยมิตรร่วมรบได้มุ่งหน้าจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง บุกเข้าไปปลดอาวุธทหารรักษาพระบรมมหาราชวัง ใช้เวลาไม่นานก็สามารถตั้งกองบัญชาการที่วัดพระแก้วได้สำเร็จ และยึดสถานีวิทยุของกรมโฆษณาการพญาไทไว้ได้ ประกาศแต่งตั้งนายดิเรก ชัยนาม เป็นนายกรัฐมนตรี  พล.ร.ต.ทหาร ขำหิรัญ ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน เป็นรัฐมนตรีกลาโหม ตั้งกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยโดยมีพล.ร.ท.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นแม่ทัพใหญ่ สั่งปลดข้าราชการ 5
คน คือ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ผบ.ทบ. พล.ท.กาจ กาจสงคราม รองผบ.ทบ. พ.ต.ท.ละม้าย อุทยานนท์ ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล พล.ต.ท.หลวงชาติ ตระการโกศล อธิบดีกรมตำรวจ และพล.ต.ต.เผ่า ศรียานนท์ รองอธิบดีกรมตำรวจ มีการต่อสู้กันประปรายระหว่างสองฝ่าย


สังวร สุวรรณชีพ
จนกระทั่งเวลา 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น กำลังนาวิกโยธินจากสัตหีบที่นำโดยพล.ร.ต. ทหาร ขำหิรัญและพล.ร.ต. สังวร สุวรรณชีพ ซึ่งจะต้องเป็นกำลังหลักเข้ายึดและควบคุมตามสถานที่สำคัญนั้นมาไม่ทันตามกำหนดนัดหมาย เนื่องจากยกกำลังมาแล้วมาติดน้ำลงที่ท่าข้ามแม่น้ำบางปะกง   ต้องรอเวลาน้ำขึ้น ทำให้ข้ามฝั่งแม่น้ำมาได้ไม่ทันเวลา


พล.ต.สฤษดิ์ สั่งยิงถล่มประตูวัดพระแก้ว
พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้อำนวยการปราบปรามกบฏได้สั่งยิงปืนใหญ่ถล่มประตูพระบรมมหาราชวัง มีการต่อสู้อย่างรุนแรงระหว่างทหารบกกับทหารเรือตลอดแนวถนนราชปรารภ มักกะสัน ถนนเพชรบุรี เมื่อนายปรีดีเห็นว่ากำลังสนับสนุนเดินทางมาไม่ทันเวลา และเพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายสถานที่อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัตถุล้ำค่าของชาติในพระบรมมหาราชวัง นายปรีดีจึงสั่งการให้กองกำลังถอยร่นมาอยู่ในกองบัญชาการทหารเรือที่พระราชวังเดิมปากคลองบางกอกใหญ่ใกล้วัดอรุณระหว่างนั้น กองกำลังของฝ่ายรัฐบาลควบคุมพระนครไว้ได้ทั้งหมดแล้ว การก่อการเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ของนายปรีดีจึงประสบความล้มเหลว ต่อมาเรียกกันว่ากบฏวังหลวง
คืนนั้นคนสนิทได้พานายปรีดีหนีการไล่ล่าไปหลบซ่อนตามบ้านญาติหลายแห่ง จนในที่สุดนายสุธี โอบอ้อม ก็ได้พามาหลบอยู่ที่บ้านสวนฉางเกลือ ของบริษัทเกลือไทย ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี ของคุณอุดร รักษมณี เป็นเวลากว่า
5
เดือน เจ้าของบ้านกับภรรยาให้คนรับใช้ลาออกเพื่อรักษาความลับและได้คอยรับใช้และดูแลความปลอดภัยให้ด้วยตนเอง  ฉันคอยหลบตำรวจไปพบนายปรีดีที่บ้านหลังนั้น ขณะที่รัฐบาลเผด็จการทหารได้ตีพิมพ์หมายจับรูปนายปรีดีติดประกาศไปทั่ว และทำการปราบปรามฝ่ายนายปรีดีอย่างเหี้ยมโหด

โผน อินทรทัต
มีการจับกุมคุมขัง และลอบสังหารอดีตเสรีไทย นักศึกษาธรรมศาสตร์ ทหารเรือ และนักการเมืองเป็นจำนวนมาก นายปรีดีรับฟังข่าวคราวการสูญเสียมิตรสหายด้วยความเจ็บปวด  พ.ท.โผน อินทรทัต ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบและอดีตเสรีไทยถูกตำรวจยิงเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 



บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข
พ.ต.อ. บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการสันติบาลซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ก็ถูกตำรวจสังหารที่บ้าน และต่อมาในวันที่ 4 มีนาคม 2492 เกิดการสังหารสี่อดีตรัฐมนตรีและ ส.ส. อีสาน คือ คุณทองอินทร์ ภูริพัฒน์ คุณถวิล อุดล คุณจำลอง ดาวเรือง และคุณทองเปลว ชลภูมิ โดยยิงทิ้งอย่างโหดร้ายทารุณ แต่ตำรวจออกข่าวว่ามีโจรมลายูชิงตัวผู้ต้องหาระหว่างทาง ส่วนนายทวี ตะเวทิกุลอดีตรัฐมนตรี ถูกตำรวจยิงเสียชีวิตหน้าวัด ธรรมนิมิตร จังหวัดสมุทรสาคร
ความเจ็บปวดครั้งนี้ถึงกับทำให้นายปรีดีระบายออกมาด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า ฉันไม่อยากจะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป จะอยู่ไปทำไม เราทำให้คนอื่นพลอยเดือดร้อน
ต้องตาย
ฉันได้แต่ปลอบประโลมเตือนสติให้มีชีวิตอยู่ต่อไป เพราะความตายคือการยอมรับความพ่ายแพ้
ตลอดคืนนั้นเราปรึกษากันถึงหนทางที่จะต้องทำต่อไปในอนาคตข้างหน้าทั้งของตัวนายปรีดีและครอบครัวของเรา ในภาวะเช่นนี้ ฉันต้องทำใจให้เข้มแข็ง ไม่ตีโพยตีพาย เพราะถ้าฉันแสดงความอ่อนแอออกมา ทุกสิ่งทุกอย่างคงจะยิ่งเลวร้ายลงไปมากกว่านี้

ในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตาย ฉันอายุ
37 ปี เป็นแค่ผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่ถูกสะกดรอยทุกฝีก้าว และต้องเลี้ยงลูกทั้ง 6 คน ต้องตั้งสติให้มั่นคง มีจิตใจเข้มแข็ง คิดวางแผนจะช่วยสามีให้รอดปลอดภัยให้ได้ สุดท้ายฉันเองต้องเป็นคนวางแผนให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศได้อย่างปลอดภัย
ฉันลงเรือกลับออกมาจากบ้านหลังนั้นตอนตีสี่ มาขึ้นที่ตลาดบางรัก แล้วเดินเลี่ยงเข้ามาทางป่าช้าสีลมที่สงบเงียบวังเวงเพียงคนเดียว ด้วยเกรงว่าหากนั่งรถรางหรือมาทางถนนใหญ่แล้วจะต้องพบกับคนที่รู้จัก เพราะขณะนั้นทุกคนในย่านสีลมต่างทราบดีว่าฉันเป็นใครและกำลังอยู่ในฐานะอะไร
นับแต่วันนั้นฉันไม่ได้ไปพบนายปรีดีอีก เพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายกับนายปรีดีและพรรคพวก แต่ในสมองของฉันนั้นครุ่นคิดถึงแผนการที่จะนำบุคคลทั้งหมดออกนอกประเทศให้ได้
ฉันใช้เวลากว่า
5
เดือนในการติดต่อหาเรือประมงและกัปตันเรือที่ไว้ใจได้ เพื่อพานายปรีดีและผู้ติดตามออกนอกประเทศ แต่ฉันไม่เคยคิดว่า การเดินทางออกนอกประเทศของนายปรีดีในครั้งนี้จะเป็นการอำลาจากผืนแผ่นดินไทยไปชั่วชีวิต

แผนการเริ่มต้นด้วยการให้ลูกปาลขับรถออกมาจากบ้าน ไปจอดในบ้านพี่สาวที่ถนนสุรวงศ์ แล้วแอบออกทางหลังบ้านขึ้นรถสามล้อมาที่สวนลุมพบคนที่นัดไว้ 


มิ่ง เลาห์เรณู สส.ประจวบคีรีขันธ์
พอตอนเย็นวันที่ 6 สิงหาคม 2492 เรือประมงที่ฉันได้ยืมมาจากคุณมิ่ง เลาห์เรณู ส.ส. ประจวบคีรีขันธ์ ได้แล่นทวนน้ำมารับนายปรีดีที่ท่าเรือบ้านสวนฉางเกลือ คณะทั้งหมดปลอมตัวกันเป็นชาวประมง โดยมีเรือตรี อมฤต วิสุทธิธรรม เป็นกัปตันเรือ  กะเวลาให้เรือถึงด่านศุลกากรที่ปากน้ำตอนค่ำก่อนด่านปิดไม่กี่นาที เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจค้นอย่างละเอียด เรือประมงลำเล็กไปถึงป้อมพระจุลฯได้ทันเวลาพอดี และผ่านออกไปได้  โดยต้องเดินทางลัดเลาะเลียบชายฝั่ง เพื่อเลี่ยงคลื่นลมพายุกลางทะเล มุ่งลงใต้
เรือประมงที่นายปรีดีใช้หนีออกนอกประเทศ
เรือประมงไปส่งนายปรีดีที่สิงคโปร์ นายปรีดีได้หลบลงเรือทะเลไปเกาะฮ่องกง ก่อนจะขึ้นเรือเดินทางไปที่เมืองชิงเต่า
( Tsingtao ) บนแผ่นดินใหญ่ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2492 เพื่อขอลี้ภัยทางการเมืองในประเทศจีนซึ่งขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์เพิ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลเจียงไคเช็ค นายปรีดีได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี เพราะรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีมาตราหนึ่งบัญญัติไว้ว่าบุคคลชาวต่างประเทศผู้ที่ได้ต่อสู้เพื่อความถูกต้องเป็นธรรม และถูกข่มเหงกลั่นแกล้งจากฝ่ายอธรรม จนไม่อาจจะพำนักอยู่ในประเทศของตนได้ ทางประเทศจีนถือว่าบุคคลผู้นั้นเป็นอาคันตุกะของประเทศ



กบฏแมนฮัตตัน

นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้จี้จับตัวจอมพล ป.
หลังจากนายปรีดีลี้ภัยไปอยู่เมืองจีน ฉันต้องทำหน้าที่ทั้งพ่อและแม่เลี้ยงลูกทั้ง 6 คน หารายได้มาจุนเจือครอบครัวด้วยการทำขนมเค้กขาย และติดตามข่าวสารบ้านเมืองทั้งในและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด ฉันเลี้ยงลูกทั้ง 6 คนเอง โดยมีพี่เลี้ยงเป็นผู้ช่วย ฉันให้นมลูกคนละประมาณ 1 ถึง 3 เดือน พอไม่มีน้ำนมก็ให้นมผง แล้วก็เสริมอาหารประเภทน้ำข้าว กล้วยน้ำว้า มะละกอลูกฉันทั้ง 6 คน เว้นคนโต คือลลิตา ซึ่งสมองไม่พัฒนา ทุกคนมีการมีงานที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและต่อสังคม แค่นี้สำหรับผู้เป็นแม่ก็พอใจแล้ว
ประมาณต้นปี
2494 ฉันพาลูกสุดาซึ่งจบม. 8 แล้วไปเข้าเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศสด้านดนตรี ให้เป็นวิชาชีพต่อไป โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส


กบฏแมนฮัตตัน 29 มิย. 2494
ช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์วันที่
29 มิถุนายน 2494 มีทหารเรือกลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่ากลุ่มกู้ชาติ เข้าจี้จับตัวจอมพล ป ในขณะที่กำลังมีพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนแมนฮัตตันซึ่งรัฐบาลสหรัฐมอบให้เป็นของขวัญที่ท่าราชวรดิฐ ไปควบคุมไว้ในเรือหลวงศรีอยุธยา มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินใส่เรือหลวงศรีอยุธยา
กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จอมพล ป ต้องว่ายน้ำหลบหนีออกมา 

พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน

ต่อมา พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ ต้องโทษตัดสินจำคุก 3 ปี และมีการปรับลดอัตรากำลังพลของกองทัพเรือลงมาก เพราะถือเป็นความพยายามก่อรัฐประหารเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันของทหารเรือ ต่อจากกบฏวังหลวง  ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นเพียง 2 ปี    ย้ายกองสัญญาณทหารเรือที่ถนนวิทยุ  ต่อมาเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหาร และสวนลุมไนท์บาซาร์
กบฏสันติภาพ


เส้นขนานที่ 38 แบ่งเกาหลีเหนือ-ใต้

คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่น
ปกครองตั้งแต่ปี 2453 กระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง หลังการยอมจำนนของญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 2488 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรเกาหลีตามเส้นขนานที่ 38 ( Parallel  38 ) โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ 







กองทัพเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลี 2493-2496
ต่อมาเมื่อเวลา
4.00 น. ของวันที่ 25 มิถุนายน 2493 กองทัพเกาหลีเหนือประมาณ 60,000 คน ได้เคลื่อนกำลังผ่านเส้นขนานที่ 38 ลงมายังสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) อย่างจู่โจมโดยที่เกาหลีใต้ไม่ทันรู้ตัว สามวันต่อมา ฝ่ายเกาหลีเหนือก็ยึดกรุงโซล นครหลวงของเกาหลีใต้ไว้ได้

คณะมนตรีความมั่นคงลงมติให้เกาหลีเหนือถอนทหารทันที
คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ได้เปิดประชุมเป็นการฉุกเฉิน เมื่อ 25 มิถุนายน 2493 เวลา 14.00 น. ที่นครนิวยอร์ค ประณามการกระทำของเกาหลีเหนือ ว่าเป็นการทำลายสันติภาพ และได้มีมติให้ทั้งสองฝ่ายหยุดรบทันที  ให้ฝ่ายเกาหลีเหนือถอนกำลังกลับไปอยู่เหนือเส้นขนานที่ 38 ให้บรรดาประเทศสมาชิกของสหประชาชาติสนับสนุนมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ในเรื่องนี้ แต่สหภาพโซเวียตไม่เข้าร่วมประชุม
ทหารสหรัฐและเกาหลีใต้รุกไล่ตอบโต้ที่กรุงโซล
สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารราว
88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับไล่ทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนาน ที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ส่งทหาร 200,000 คนเข้ารบช่วยเกาหลีเหนือ ทำให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง

ไทยส่งทหารช่วยรบในสงครามเกาหลี
รัฐสภาไทยให้ความเห็นชอบตามคำเสนอของรัฐบาล เมื่อวันที่
22 กรกฎาคม 2493  ส่งกำลังทหาร 1 กรมผสม มีกำลังพลประมาณ 4000 คน ไปร่วมรบกับสหประชาชาติในเกาหลี  มีทหารไทยพลีชีพไป 136 นาย  การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2496  เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก 
ใช้เส้นขนานที่ 38 เป็นแนวกันชน


ประชาชนเกาหลีนับล้านคนอพยพหนีภัยสงคราม
ปัญญาชนหลายคนในเมืองไทยได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะกรรมการสันติภาพสากลแห่งประเทศไทย เพื่อเรียกร้องสันติภาพและต่อต้านการใช้ระเบิดปรมาณู มีการล่ารายชื่อผู้ที่เห็นด้วยกับสันติภาพ แต่ก็ถูกรัฐบาลทหารกวาดจับ ข้อหาฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ถึง 104 คน

ในวันที่
10 พฤศจิกายน 2495
 โดยกรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ว่า ด้วยปรากฏจากการสอบสวนของกรมตำรวจว่า มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมาย ด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย เพื่อก่อให้เกิดการแตกแยก เกิดการทำลายกันเอง โดยใช้อุบายต่างๆ เช่น ปลุกปั่นแบ่งชั้น เป็นชนชั้นนายทุนบ้าง ชนชั้นกรรมกรบ้าง ชักชวนให้เกลียดชังชาวต่างประเทศที่เป็นมิตรของประเทศบ้าง อันเป็นการที่อาจจะทำให้เสื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ ให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยการชักจูงชาวต่างประเทศเข้าร่วมทำการยึดครองประเทศไทย...จากนั้นยังได้ทะยอยจับกุมประชาชนเพิ่มเป็นระยะๆ

ผู้ต้องหาคดีกบฏสันติภาพ

รัฐบาลได้จับกุมนักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง ทนายความ เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์  เปลื้อง วรรณศรี อุทธรณ์ พลกุล  สุวัฒน์ วรดิลก มารุต บุญนาค สุพจน์ ด่านตระกูล ปาล พนมยงค์ ในข้อหายุยงให้เกิดความแตกแยกไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง ทั้งหมดถูกตั้งข้อหา กบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร ที่เรียกกันว่า กบฏสันติภาพ
พูนศุขถูกคุมตัวข้อหากบฏ พ.ย. 2495
ตอนนั้นลูกปาลถูกเกณฑ์ทหารและอยู่ระหว่างลาป่วยมาพักผ่อนที่บ้านสาทร ตำรวจก็มาจับตัวถึงในบ้านไปขังไว้ที่สถานีตำรวจสามยอด
สองวันต่อมา ฉันเป็นเถ้าแก่หมั้นคุณศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ (หรือ เสนีย์ เสาวพงศ์ เจ้าของบทประพันธ์เรื่องปีศาจ และความรักของวัลยา ) ตำรวจก็มาจับฉันในงาน และนำตัวฉันไปตรวจค้นที่บ้าน ระหว่างทางฉันแวะรับลูกดุษฎีและวาณีที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ และคืนนั้นต้องพาลูกสาวไปนอนในคุกที่สันติบาลด้วยกันเพราะที่บ้านไม่มีใครดูแล

พระพินิจชนคดี (พินิจ อินทรทูต)
นายตำรวจที่ทำหน้าที่สอบสวนฉันคือพระพินิจชนคดี พี่เขยของ ม.ร.ว. เสนีย์ และ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เชี่ยวชาญในการสร้างพยานเท็จกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 เขาถามฉันว่ารู้จัก พลเรือตรี ทหาร ขำหิรัญ ผู้บัญชาการนาวิกโยธิน ที่ทางการกำลังล่าตัวอยู่ไหม เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่น่าวางใจ มีการติดตามจับกุมผู้เกี่ยวข้อง หากจับสามีไม่ได้ก็มาจับภรรยาไปแทน ฉันจึงไปอาศัยบ้านพักคุณทหารที่สัตหีบเกือบสามเดือน

ตำรวจเชิญคุณพูนศุขขึ้นรถไปสอบปากคำ
หลังจากนั้นตำรวจจับฉันขัง 12 วัน แล้วก็พาไปศาลอาญาเพื่อขออำนาจฝากขังต่อ และทุก 12 วันฉันก็ต้องถูกนำมาฝากขังต่อ โดยอ้างว่าพยานที่รู้เห็นการกระทำของฉันอยู่ต่างประเทศ มาให้การไม่ได้
หลังจากติดคุกได้
84 วัน ตำรวจก็เสนอสำนวนสอบสวนไปกรมอัยการเพื่อให้ฟ้องฉันข้อหากบฏ แต่กรมอัยการพิจารณาแล้วไม่สั่งฟ้องเพราะหลักฐานไม่เพียงพอ ขณะที่ปาลและพวกถูกอัยการสั่งฟ้องในข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร พอศาลตัดสินแล้วจะเอาลูกขึ้นรถไปเรือนจำลหุโทษ ฉันกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับลูก ฉันก็ขึ้นรถไปส่งลูกชายคนโตเดินเข้าเรือนจำด้วยความสะเทือนใจ ลูกติดคุก สามีก็หายไป ไม่รู้เป็นตายร้ายดีประการใด เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับครอบครัวครั้งแล้วครั้งเล่า บีบคั้นทั้งร่างกายและจิตใจของฉันเกินกว่าที่ฉันจะอยู่เมืองไทยซึ่งไม่มีใครรับประกันความปลอดภัยได้ น้ำหนักตัวฉันลดฮวบลงเหลือเพียง 42 กิโลกรัม ฉันได้รับการปล่อยตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2496

พูนศุขและวาณี ดอนเมือง 2496
ในเดือนเมษายน
2496 ฉันจึงตัดสินใจเดินทางไปหาลูกสุดาที่เรียนอยู่ที่ฝรั่งเศส ซึ่งคุณแม่และญาติๆล้วนเข้าใจถึงความจำเป็นที่บีบคั้นอยู่ ฉันจำต้องทิ้งลูก 3 คน ไว้กับคุณแม่และน้องๆให้ช่วยดูแล คือ ลูกลลิตาที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ ลูกศุขปรีดาที่กำลังเรียนหนังสือ และลูกปาลที่อยู่ในคุก ส่วนลูกดุษฎีและวาณียังเด็กอยู่ ฉันจึงตัดสินใจพาไปด้วย เกรงว่าถ้าฝากไว้ทางนี้จะเป็นภาระแก่ญาติพี่น้องเกินไป ฉันได้หาโอกาสไปเยี่ยมลูกปาลที่ห้องพิจารณาคดีพิเศษของศาลอาญาสำหรับคดีทางการเมืองในสมัยนั้น เพื่อบอกเล่าถึงความจำเป็นในการตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศ พร้อมกับเอ่ยเตือนให้ลูกปาลมีจิตใจเข้มแข็งอดทนต่อสภาพการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ฉันกับลูกเล็กทั้งสองจึงเตรียมตัวออกเดินทาง
ในเวลานั้น ฉันเองก็ไม่ทราบว่าการเดินทางครั้งนั้นเป็นการไปใช้ชีวิตในต่างแดนยาวนานถึง
34 ปี

ชีวิตในต่างแดน

เราสามแม่ลูกมาถึงกรุงอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์ จากนั้นโดยสารเครื่องบินขนาดเล็กมุ่งหน้าสู่กรุงปารีสไปพักกับลูกสุดาซึ่งมาเรียนอยู่ที่ปารีสอยู่ก่อนแล้ว
หลายเดือนผ่านไป ฉันยังมองไม่เห็นหนทางใดเลยว่าจะทำอย่างไรต่อจากนี้ อนาคตข้างหน้าดูมืดมนนัก เงินทองที่รวบรวมติดตัวมา ก็ร่อยหรอลงทุกวัน

วันหนึ่งในเดือนสิงหาคม
2496 มีจดหมายของนายปรีดี ซึ่งกำลังลี้ภัยอยู่ปักกิ่ง บอกให้ฉันเดินทางไปสวีเดน ติดต่อสำนักผู้แทนการทูตจีน เพื่อเดินทางเข้าประเทศจีน การเดินทางไปประเทศจีนซึ่งปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้นเป็นเรื่องอันตรายและเป็นไปได้ยาก จึงต้องเก็บเป็นความลับสุดยอด ฉันตัดสินใจพาดุษฎีและวาณีเดินทางไปอยู่กับนายปรีดีที่ปักกิ่งและให้ลูกสุดาเรียนต่อไปที่ปารีสจนกว่าจะจบ

ฉันกับลูกเล็กสองคนออกเดินทางจากปารีสวันที่
13 พฤศจิกายน 2496 ไปยังกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เพื่อพบทูตจีนรับตั๋วเครื่องบินเดินทางไปกรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เพื่อข้ามไปทางสหภาพโซเวียต
เมื่อมาถึงเฮลซิงกิ เราก็นั่งเครื่องบินแอโรฟอตของสหภาพโซเวียต ซึ่งในสมัยนั้นค่อนข้างแย่ พอเครื่องบินจอดแวะที่เลนินกราดก่อนจะไปมอสโค ฉันเลือกเดินทางโดยรถไฟสายทรานไซบีเรียที่ยาวที่สุดในโลก ตลอดเส้นทาง
8 วัน 8
คืน ที่ส่วนใหญ่เห็นแต่หิมะขาวโพลนสุดสายตา บ้านเรือนในแถบไซบีเรียดูเวิ้งว้าง สงบเงียบท่ามกลางความหนาวเย็น

ปรีดี หน้าจตุรัสเทียนอันเหมิน ปักกิ่ง 2492
ฉันได้พบนายปรีดีกับคณะที่ชายแดนแมนจูเรีย และพากันโดยสารรถไฟออกจากแมนจูเรียใช้เวลาข้ามคืนจึงถึงกรุงปักกิ่ง บ้านหลังแรกที่ฉันไปพักเป็นตึกชั้นเดียวแบบตะวันตกซึ่งนายปรีดีอยู่มาก่อน ต่อมาในปี 2497 ทางการจีนได้จัดที่พักให้เราแห่งใหม่ใกล้พระราชวังจงหนานไห่ซึ่งเป็นที่พักของเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของประเทศ เป็นบ้านทรงจีนโบราณหลังใหญ่ มีบริเวณ กำแพงรอบสี่ทิศ

ระหว่างนั้นได้ทราบข่าวจากวิทยุอินเดียรายงานข่าวว่าปาลถูกศาลตัดสินจำคุก
20 ปี แต่เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้ หวังเพียงว่าความเข้มแข็งของลูกปาลคงจะปกปักรักษาตัวได้อย่างปลอดภัยในระหว่างที่ถูกจำคุก  ต่อมาลูกปาลกับผู้ต้องหาคดีกบฏสันติภาพก็ได้รับการพระราชทานนิรโทษกรรม เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกึ่งพุทธกาลในปี 2500 หลังจากถูกขังอยู่เกือบ 5
ปี


ช่วงลี้ภัยในต่้างแดน
ประมาณเดือนมิถุนายน 2499 นายปรีดีทำเรื่องขอความอนุเคราะห์จากจีนในการจัดสถานที่ให้อยู่ในเขตอบอุ่น เนื่องจากนายปรีดีและฉันเริ่มมีอายุ ไม่สามารถทนสภาพอากาศหนาวจัดในปักกิ่งที่อุณหภูมิติดลบ 15 องศาตลอดช่วงฤดูหนาว  ทางการจีนได้จัดหาสถานที่พำนักแห่งหนึ่งให้ ณ เมืองกวางโจว เมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้ง ทางภาคใต้ที่มีอากาศอบอุ่นกว่ามาก
การเดินทางย้ายจากนครปักกิ่งมาในครั้งนั้น ต้องโดยสารรถไฟเป็นระยะทางร่วม
2500 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 วัน 2 คืนจึงมาถึงเมืองอู่ฮั่น ซึ่งต้องข้ามแม่น้ำแยงซีเกียง รถไฟทั้งขบวนต้องลงแพขนานยนต์ข้ามแม่น้ำ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีสะพานข้าม เจ้าภาพได้จัดที่พักให้ ณ เรือนรับรองของมณฑลกวางตุ้ง ต่อมาให้ย้ายมาอยู่บ้านใหม่ซึ่งเดิมเป็นสถานกงสุลฝรั่งเศส ลูกๆของเราก็เข้าเรียนที่นี่ ความเป็นอยู่ที่กวางโจวนั้นเรียบง่ายและสงบสุขไปตามประสา สภาพอากาศก็คล้ายคลึงกับประเทศไทย ฉันใช้ชีวิตความเป็นแม่บ้านเต็มที่  ส่วนนายปรีดีทำงานศึกษาตำรับตำราวิชาการต่างๆ ซึ่งในจีนนั้นมีหนังสือนานาชนิดสำหรับการค้นคว้าอย่างพรั่งพร้อมทุกภาษา ญาติมิตรทางประเทศไทย ต้องแอบติดต่อกัน เพราะทางการไทยเพ่งเล็งเรื่องลัทธิการปกครอง
พอปี
2500
ฉันได้รับข่าวจากกรุงเทพ ว่าคุณแม่ล้มป่วยลงด้วยโรคชรา ฉันตัดสินใจเดินทางกลับเข้ามาเพื่อปฏิบัติภาระหน้าที่สำคัญของลูก ฉันนั่งรถไฟจากกวางโจวเพื่อมาขึ้นเครื่องบินที่เกาลูน การขออนุญาตกลับเข้ามาค่อนข้างลำบาก เพราะประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน มีเพียงกงสุลไทยที่ฮ่องกง ฉันต้องขออนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศเป็นกรณีพิเศษ บังเอิญว่าฉันรู้จักกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ท่านเป็นรัฐมนตรีจึงได้รับอนุมัติ

ปาล พนมยงค์ พ้นโทษ
ฉันกลับมาบ้านป้อมเพชร์ในเดือนเมษายนได้พบลูกปาลที่เพิ่งออกจากคุก ฉันปรนนิบัติดูแลคุณแม่ได้เดือนเศษ หลังจากมีงานฉลองกึ่งพุทธกาลราวกลางเดือนพฤษภาคม
2500 ไปแล้วไม่กี่วัน คุณแม่ก็ถึงแก่กรรมลงอย่างสงบ ระหว่างนั้นสภาพการเมืองไทยก็ยังคงวกวนกลับเข้าสู่วงจรแห่งความวุ่นวายอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลจอม ป ถูกจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจ จนต้องลี้ภัยไปญี่ปุ่น มีการแต่งตั้งนายพจน์ สารสินให้มาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราวราว 3 เดือน หลังการเลือกตั้งแล้วมีการแต่งตั้งจอมพลถนอมให้เป็นนายกท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง จอมพลสฤษดิ์จึงทำการยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่งในเดือนกันยายน 2501 หลังจากนั้นไม่กี่วันฉันก็เตรียมตัวเดินทางกลับประเทศจีนเพราะเห็นว่าสถานการณ์ในเมืองไทยกลับมาสู่เผด็จการที่โหดเหี้ยมเหมือนเดิม

กวางโจว 2503 ปาล(นั่งซ้าย) วาณี สุดา ดุษฎี ศุขปรีดา
ฉันกลับมาอยู่ที่กวางโจวอีกครั้งในปลายปี
2501 พร้อมกับลูกปาลที่มาเยี่ยมนายปรีดีหลังจากที่พ่อลูกไม่ได้พบกันมานานเกือบสิบปี ลูกปาลกับศุขปรีดาได้เดินทางกลับออกมา และไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศสในภายหลัง


พบประธานเหมาเจ๋อตง ปักกิ่ง 2508
เราทั้งสองใช้ชีวิตครอบครัวอย่างสงบสุขที่กวางเจาเหมือนคู่สามีภรรยาทั่วไป มีบางครั้งที่ทางการจีนเชิญเราเข้าร่วมงานพิธีในฐานะเป็นแขกของรัฐบาลจีนคนหนึ่งอย่างสมเกียรติ นายปรีดีและฉันมักจะได้รับเชิญให้ไปร่วมงานฉลองวันชาติจีน
1 ตุลาคมเกือบทุกปี และเข้าร่วมงานเลี้ยงที่มหาศาลาประชาคมเทียนอันเหมิน ลูกๆของเราของเราก็เรียนรู้ภาษาจีนเป็นอย่างดี ฉันก็พอรู้บ้าง แต่นายปรีดีนั้นไม่ได้เลย ต้องมีล่ามติดตามด้วยเสมอ

เติ้งเสี่ยวผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เลขาธิการพรรคในตอนนั้น คือ เติ้งเสี่ยวผิง ท่านมีความเกื้อกูลต่อครอบครัวของเรามาก ตอนที่ท่านเดินทางมาตรวจราชการที่มณฑลกวางตุ้งได้แวะเยี่ยมเราที่บ้านพักในกวางโจว แล้วเชิญไปเลี้ยงอาหารกลางวัน ณ โรงแรมแห่งหนึ่ง พอท่านกลับไป ทางกวางตุ้งรีบมาบอกให้เราย้ายบ้านจากเดิมที่เป็นสถานกงสุลฝรั่งเศส ให้มาอยู่บ้านใหม่ที่เคยเป็นสถานกงสุลของอังกฤษ เป็นตึกหลังใหญ่กว่าเดิมมีบริเวณกว้างขวาง มีสนามหญ้าหน้าบ้าน ใกล้ๆเป็นลำน้ำจูเจียงที่สวยงาม
ในตอนนั้นการติดต่อคมนาคมข่าวสารในกวางโจวสะดวกกว่าที่ปักกิ่ง เพราะวิทยุสามารถรับคลื่นจากสถานีทั่วโลกได้มากกว่า และมีคนคอยส่งหนังสือพิมพ์ของไทยมาให้อ่าน มีญาติมิตรจากเมืองไทยที่แอบเดินทางมาเยี่ยมเยียน

นายปรีดีกับกรณีสวรรคต

สามผู้บริสุทธิ์คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8
12 ตุลาคม 2497 ศาลฎีกาพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลยผู้บริสุทธิ์ทั้งสามคนในคดีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 จำเลยได้ทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษจากกษัตริย์ภูมิพล แต่กษัตริย์ภูมิพลปฏิเสธ
ประหารสามผู้บริสุทธิ์คดีสวรรคต

สี่เดือนต่อมา ในเช้ามืดของวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 จำเลยผู้บริสุทธิ์ทั้งสามคนได้ถูกนำตัวไปประหารชีวิต เป็นที่รู้กันในภายหลังว่า  พล.ต.อ.เผ่า  ศรียานนท์  อธิบบดีกรมตำรวจ ได้ทำบันทึกคำสนทนากับผู้ต้องโทษประหารชีวิตทั้งสามคนในเช้าวันนั้น เสนอต่อจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี  จอมพล ป.  อ่านแล้ว แทงกลับไปว่าให้เก็บไว้ในแฟ้มลับสุดยอด

สังข์ พัธโนทัย พบเติ้งอิ่งเชาภริยานายกโจวเอินไหล 2498
ต่อมาจอมพล ป. ดำริจะรื้อฟื้นคดีสวรรคตขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกประหารชีวิตทั้งสามคนและนายปรีดี แต่การรื้อฟื้นคดีสวรรคตที่ศาลฎีกาตัดสินแล้ว ขึ้นมาพิจารณาใหม่ ต้องมีกฎหมายรองรับ  จอมพลป.จึงเตรียมการที่จะเสนอต่อสภาเพื่อออกกฎหมายดังกล่าว และได้บอกคุณสังข์  พัธโนทัย คนสนิทไปแจ้งนายปรีดีซึ่งขณะนั้นพักอยู่ที่จีน นายปรีดีได้มีจดหมายตอบคุณสังข์  พัธโนทัย ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2499 แสดงความยินดีที่ได้ทราบว่า  จอมพล ป. มิได้คิดเป็นศัตรู และอยากให้นายปรีดีกลับประเทศ   นายปรีดีมีความซาบซึ้งที่ได้รับทราบถึงบันทึกที่คุณเผ่าได้สอบถามปากคำคุณเฉลียว ชิต บุศย์ ก่อนถูกยิงเป้า ที่ยืนยันว่าผู้บริสุทธิ์ทั้งสามรวมทั้งนายปรีดีมิได้มีส่วนพัวพันในกรณีสรรคต จึงขอแสดงความขอบคุณและอวยพรให้คุณคุณสังข์  พัธโนทัย ต่อมานายวรรณไว  พัธโนทัย ลูกชายของคุณสังข์ ได้มอบจดหมายฉบับนี้ให้หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ นำไปเปิดเผยในฉบับวันที่ 24 มิถุนายน 2542


พระอนุชาภูมิพลชอบซ้อมยิงปืนสั้น

นายปรีดีเอง จะไม่ยอมพูดถึงกรณีสวรรคตโดยเด็ดขาด ไม่ว่ากับใคร ก็คงเหมือนกับจำเลยผู้บริสุทธิ์ทั้งสามคน เพราะพูดไปก็ไม่มีประโยชน์ และมีแต่จะนำภัยมาสู่ครอบครัวอีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่า นายปรีดีเป็นผู้ปกป้องราชบัลลังก์ และยอมเสียสละตัวเองอย่างสูง คือ


นายปรีดีและคุณพูนศุข ระหว่างลี้ภัยในจีน
นายปรีดีรู้ความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต แต่ไม่ยอมเปิดเผยออกไป เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ ทั้งๆที่ตัวเองต้องได้รับผลร้ายจากการไม่พูดนี้ แม้ว่านายปรีดีจะไม่ใช่พยานรู้เห็นในที่เกิดเหตุ เหมือนคุณชิต และคุณบุศย์ ก็จริง คุณเฉลียวเองก็ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคตเลย แต่ถูกลากเข้าไปเป็นจำเลย เพื่อเป็นข้ออ้างเชื่อมโยงปรักปรำนายปรีดีเท่านั้น เพราะคุณเฉลียวก็ไม่ได้อยู่บริเวณพระที่นั่งบรมพิมาณ
หลังกรณีสวรรคตไม่นาน
แต่กรณีสวรรคตมีผลกระทบต่อชีวิตของนายปรีดีโดยตรงอย่างมหาศาล รวมไปถึงผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่นายปรีดีมีบทบาทสำคัญอยู่ด้วย ดังนั้นนายปรีดีจะต้องคิดและพยายามหาคำอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะหลังจากเขาถูกรัฐประหารหมดอำนาจไปโดยข้ออ้างกรณีสวรรคตด้วย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า นายปรีดีจะต้องมีข้อสรุป หรืออย่างน้อยที่สุดคือ ทฤษฎีหรือสมมุติฐานเกี่ยวกับกรณีสวรรคตอย่างแน่นอน

กษัตริย์ภูมิพลช่วงหลบคดีสวรรคตไปอยู่สวิส 2489-2493
อันที่จริงการอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นในกรณีสวรรคตนั้น มิใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนแต่อย่างใด ปริศนาที่แท้จริงของกรณีสวรรคตนี้ ไมใช่อยู่ที่การอธิบายไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่อยู่ที่ว่าทำไมการอธิบายที่ไม่ได้ยากเย็นอะไรนัก จึงไม่ได้รับการนำเสนออย่างตรงไปตรงมาตั้งแต่ต้น หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้ซึ่งนายปรีดีไว้วางใจให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากเขา ได้เคยระบุอย่างชัดเจนว่า หลักฐานที่ได้จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ในสมัยที่เขาเป็นรัฐบาล บ่งบอกชัดเจนว่าใครคือผู้ต้องสงสัยแท้จริงในกรณีสวรรคต  แน่นอนว่าไม่ใช่สามท่านที่ตกเป็นจำเลยหลังรัฐประหาร ที่สำคัญ การระบุของหลวงธำรงนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นเอง คือหลังรัฐประหารเพียงไม่กี่เดือน หรือหลังกรณีสวรรคตไม่ถึง 2 ปี
กษัตริย์ภูมิพลผู้ทราบเรื่องสวรรคตดีที่สุด
กล่าวโดยสรุปก็คือ หลังการสวรรคตไม่นาน และก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร
8 พฤศจิ กายน  2490 หลวงธำรงและตัวนายปรีดีเอง ต่างก็มีข้อสรุปอยู่แล้วว่าใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง
ฉันเองก็เคยให้สัมภาษณ์นสพ.ดิออบเซิรฟเวอร์  The Observer ของอังกฤษ เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2500 ว่า  หากต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ก็ควรไปถามพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งก็คือกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง

บั้นปลายในฝรั่งเศส
บันทึกหน้าสุดท้าย

ฉันอยู่ที่กวางโจวจนถึงปี
2510 จึงออกเดินทางไปฝรั่งเศสพร้อมกับลูกสุดาซึ่งมาเยี่ยมพ่อตั้งแต่ปี 2502 แต่กลับเข้าประเทศไทยไม่ได้ เพราะรัฐบาลไทยกวดขันเรื่องภัยคอมมิวนิสต์
กับนายกโจวเอินไหล ปักกิ่ง 2506
นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ได้พยายามถามไถ่ทุกข์สุขของนายปรีดีอยู่เสมอตลอดมา ต้นเดือนพฤษภาคม
 2513 ท่านได้อำนวยความสะดวกให้นายปรีดีเดินทางจากประเทศจีนไปยังกรุงปารีส เพื่อให้บุตรหลานและญาติมิตรร่วมฉลองอายุครบรอบปีที่ 70  นายปรีดีได้ยื่นคำร้องต่อสถานทูตไทยประจำกรุงปารีส เพื่อให้รับรองสถานะและใบมอบฉันทะให้ญาติเบิกรับบำนาญแทน แต่ทางสถานทูตไทยปฏิเสธ นายปรีดีจึงฟ้องรัฐมนตรีวต่างประเทศ และทูตไทยประจำกรุงปารีสเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2513  ในข้อหาละเมิดสิทธิ อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และฝ่าฝืนสิทธิมนุษยชนสากล อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ได้ช่วยไกล่เกลี่ยให้ยอมความ โดยสถานทูตไทยในปารีสได้ออกหนังสือเดินทางให้นายปรีดีด้วย

นายปรีดี พบปะมิตรสหายที่บ้านพักกรุงปารีส
กรุงปารีสเป็นเมืองที่นายปรีดีคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ 40 กว่าปีก่อน เขาเคยมาศึกษาระดับปริญญาเอกนานถึง 8 ปี เมื่อนายปรีดีอพยพครอบครัวมาอยู่ที่นี่อีกครั้งจึงได้มีโอกาสพบปะสนทนากับญาติสนิทมิตรสหาย ลูกศิษย์ลูกหา นักศึกษาที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนสม่ำเสมอ และใช้เวลาเขียนสำนวนคดีฟ้องหมิ่นประมาทผู้ที่กล่าวหาว่าเขาพัวพันในกรณีสวรรคต ซึ่งทุกคดีที่นายปรีดีเป็นโจทก์ฟ้อง ศาลตัดสินให้ชนะคดีทั้งหมด
ปรีดีในวัยชรา
แต่การย้ายมาอยู่ที่ฝรั่งเศส ครอบครัวเราต้องประหยัดมัธยัสถ์อย่างมาก เนื่องจากค่าครองชีพสูง ต้องเลี้ยงตนเอง เพราะเราไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ลี้ภัยแล้ว รัฐบาลฝรั่งเศสจึงไม่ได้ออกค่าใช้จ่ายให้ เราได้เงินบำนาญของนายปรีดีเพียงเดือนละสี่พันกว่าบาท และค่าเช่าบ้านที่กรุงเทพฯซึ่งไม่มาก  ลูกๆทุกคนจึงต้องทำงานทุกอย่าง ทั้งทำงานในร้านอาหาร และรับจ้างทำความสะอาดตามบ้าน  ช่วงแรกครอบครัวเราต้องไปเช่าห้องเล็กๆของอพาร์ทเม้นท์แห่งหนึ่ง ต่อมาจึงได้ไปซื้อบ้านอองโตนีซึ่งเป็นบ้านขนาดกลางย่านชานเมืองไม่ห่างจากรุงปารีสมากนักด้วยเงินที่ได้จากการขายบ้านสีลมและสาทร พร้อมกับเงินบำนาญของนายปรีดีในฐานะรัฐบุรุษอาวุโสและอดีตนายกรัฐมนตรีหลังจากถูกตัดไปตั้งแต่ปี
2491
ฉันเดินทางกลับประเทศไทยในเดือนมกราคม
2518 หลังจากไม่ได้กลับมาถึง 18
ปี เพราะเห็นว่าเริ่มมีความปลอดภัยมากขึ้น และต้องเตรียมลู่ทางประกอบอาชีพ เพราะเราไม่ได้มีรายได้อะไรที่มั่นคงถาวรในฝรั่งเศส ฉันได้ซื้อบ้านหลังหนึ่งจากกองมรดกของคุณแม่ที่ซอยสวนพลูเผื่อไว้ให้ลูกๆกลับมาอาศัยประกอบอาชีพอย่างถาวรต่อไป

ฉากสุดท้าย

ปรีดี วัยชรา ศึกษาค้นคว้า
เดือนกันยายน 2524 เราก็ต้องประสบความสะเทือนใจครั้งใหญ่ เมื่อปาลบุตรชายคนโตได้จากไปด้วยโรคมะเร็งในวัย 50 ปี สองปีต่อมา ในตอนสายของวันที่  2 พฤษภาคม 2526 นายปรีดีก็ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบในบ้านอองโตนี ด้วยวัย 83 ปี ฉันจำได้ว่า วันนั้นนายปรีดีนั่งเขียนหนังสือ พอเขียนเสร็จ ก็วานให้ฉันไปตามลูกสุดาให้มาช่วยตรวจทานอีกครั้ง พอฉันกลับเข้ามา ก็เห็นนายปรีดีถอดแว่น พูดอะไรสองสามคำ แล้วเอนตัวลงพิงพนักเก้าอี้คอพับแล้วนิ่งไป ฉันก็รีบไปหยิบยาฉุกเฉิน โทรศัพท์เรียกรถพยาบาล แต่นายปรีดีได้สิ้นใจอย่างสงบ สีหน้าเรียบ ไม่มีร่องรอยของความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานปรากฏให้เห็น

ปัญญานันทภิกขุ ประธานงานศพนายปรีดี
ร่างของนายปรีดีนอนอยู่ที่บ้านเหมือนคนนอนหลับ ไม่ได้ใส่หีบตั้งห้าวันถึงได้ลงหีบ  มีคนไทยจากที่ต่างๆ มาเยี่ยมเคารพ ท่านทูตเดินทางมาส่วนตัว เพราะว่ารัฐบาลพลเอกเปรมของกษัตริย์ภูมิพลทำเฉยเมย โดยไม่สั่งการอะไรเลย ท่านทูตก็เลยทำอะไรไม่ได้

ปัญญานันทภิขุ งานศพนายปรีดี
เราเลยขอความช่วยเหลือจากท่านทูตเป็นการส่วนตัว พอดีท่านปัญญานันทภิกขุอยู่ที่อังกฤษ พอท่านรู้ข่าว ท่านก็โทรศัพท์มาแสดงความเสียใจ เราจึงนิมนต์ท่านมาเป็นประธานประชุมเพลิง มีพระจากอังกฤษอีกสามรูปมาสวดให้ เอาผ้าไตรมาช่วย เดินทางมาเอง แล้วมีพระในฝรั่งเศสอีก มีคนไทยในฝรั่งเศสและในยุโรปไปเผากันหลายคน

พิธีเผาศพนายปรีดี
หีบศพสีน้ำตาลอ่อนรูปทรงแบบฝรั่งที่บรรจุร่างของนายปรีดีมีธงชาติไทยผืนน้อยคลุมอยู่เบื้องบน วางเด่นอยู่เบื้องหน้าเพื่อรอรับการเคารพจากแขกผู้ให้เกียรติมาร่วมไว้อาลัย.. พร้อมกับเสียงร่ำไห้ดังขึ้นเบาๆ เมื่อหีบไม้ค่อยๆเคลื่อนสู่เตาเพลิง


นำอัฐินายปรีดีกลับประเทศไทย
เมื่อจัดการศพนายปรีดีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฉันจึงตัดสินใจขายบ้านในฝรั่งเศสแล้วย้ายกลับมาอยู่ที่เมืองไทยเป็นการถาวรในปี 2530 ใช้ชีวิตอย่างสงบในบ้านพักย่านถนนสวนพลู และช่วยงานสังคมเป็นระยะโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับนายปรีดี ฉันถือว่าเป็นหน้าที่ที่พึงกระทำในฐานะภรรยาของสามี และมารดาของบุตร ฉันเชื่อเสมอว่าครอบครัวยังคงเป็นสถาบันที่สำคัญในชีวิตของมนุษย์ แม้ว่าเราจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆที่บีบบังคับเสียจนบ้านแตกสาแหรกขาด หากครอบครัวของเรายังคงอยู่ลูกๆทุกคนได้ร่วมกันต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคเคียงข้างฉันและนายปรีดีอย่างเข้มแข็งและอดทนมาโดยตลอด นั่นคือความภูมิใจที่สุดในชีวิตของฉันแล้ว ฉันเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกย่อมเปลี่ยนผันไปตามกรรม

วันที่
11 พฤษภาคม 2550 คุณพูนศุข พนมยงค์ มีอาการทางโรคหัวใจทรุดหนักลง กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมโดยสงบเมื่อเวลา 2.00 น. ย่ำรุ่งของวันที่ 12 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว อายุ 95  ปี 4 เดือน 9 วัน
......