วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เปิดตำนานเจ้าพ่อเอ็นจีโอ : ไม่โง่ไม่บ้าแต่ว่าจมปลักดักดาน NGO Conspiracy


ฟังเสียง : http://www.4shared.com/mp3/igjuwFY8/NGO_Conspiracy_.html
 http://www.mediafire.com/listen/ls651wwj1u6laid/NGO_Conspiracy_.mp3
http://www.youtube.com/watch?v=mehn0FREv3o&feature=youtu.be


เปิดตำนานเจ้าพ่อเอ็นจีโอ
: ไม่โง่ไม่บ้าแต่ว่าจมปลักดักดาน NGO Conspiracy
ที่มาและที่ไปของเอ็นจีโอ

กาชาดช่วยเชลยสงครามชาวโปแลนด์ เม.ย.2488
องค์กร พัฒนา เอกชน (อพช.) หรือ เอ็นจีโอ ( NGO : Non Govern mental Organization ) ถือกำเนิดจากองค์กรของคริสเตียนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ยามทุกข์ยากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเอ็นจีโอจากประเทศอุตสาหกรรมได้ขยายตัวสู่บทบาททางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งแนวทางการพัฒนาถูกกำหนดโดยธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบายของกลุ่มจีเจ็ด  G- 7 ( มี สหรัฐ อังกฤษ แคนาดา เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และญี่ปุ่น )



ร้านอ๊อกแฟม Oxfam Shop ขายของบริจาค
เพื่อนำเงินไปใช้ในการกุศล
เอ็นจีโอใหญ่ ๆ ได้เงินสนับสนุนส่วนใหญ่ได้จากรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น องค์กรพัฒนาเอกชนสากลออกซ์แฟม (
Oxfam ) และองค์กรบรรเทาทุกข์แคร์ ( CARE  Relief Agency )
แต่เดิมสหรัฐไม่ค่อยให้ความสนใจต่อกลุ่มเอ็นจีโอในประเทศด้อยพัฒนานัก


องค์กรบรรเทาทุกข์แคร์ CARE Relief Agency
เพราะถือว่ารัฐบาลของประเทศด้อยพัฒนาต่างๆ มักรับฟังคำแนะนำของรัฐบาลสหรัฐเป็นอย่างดี ต่อมามีการเคลื่อนไหวของเอ็นจีโอในอเมริกาใต้ที่ร่วมมือกับวาติกัน และบางครั้งร่วมมือกับขบวนการต่อต้านรัฐบาลที่สหรัฐสนับสนุนอยู่ ทำให้สหรัฐจำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายเอ็นจีโอ โดยเฉพาะนับตั้งแต่ปี 2533 หลังจากกำแพงเบอร์ลินพังทลายลง สหรัฐและธนาคารโลก จึงหันมาใช้เอ็นจีโอเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งเพื่อการยึดครองตลาดการค้า และครอบงำทัศนคติของผู้คนในประเทศต่างๆ ตามมติของวอชิงตัน  โดยองค์กรเอกชนที่ไม่ขึ้นต่อรัฐบาล


เด็กกำพร้าในค่ายเขมรอพยพ 2522
เอ็นจีโอไทยรุ่งเรืองมากในยุคเขมรอพยพ ได้เงินฝรั่งมาทำงานกันคึกคักทางอีสานใต้ พอป่าแตก พรรคคอมมิวนิสต์เลิกกิจการ ก็ได้พวกที่ออกจากป่าเข้ามาร่วมขบวนเอ็นจีโอยุคนั้นกันมากมาย สายธารนักปฏิวัติได้คลี่คลายแปรเปลี่ยนไปเป็นเอ็นจีโอภาคประชาชนที่เริ่มต้นจากงานมนุษยธรรมด้วยการช่วยเหลือเขมรอพยพในช่วงปี
2521 และเมื่อหมดยุคเขมรอพยพ ก็ค่อยหันมาทำงานพัฒนาชุมชนในชนบททั่วประเทศ แต่ต่อมาพวกฝรั่งก็ค่อยๆลดการสนับสนุน เพราะมองว่าเมืองไทยเริ่มพัฒนาแล้ว เอ็นจีโอแทบจะตกงาน ก็พอดีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกฯพระราชทานภาคสอง กลางปี 2535 ได้ให้เงินช่วยเอ็นจีโอมีทำงานทำเป็นเรื่องเป็นราว กลายเป็นบุญคุณที่พันผูกกันมา


ป๋วย ก่อตั้งมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย 2510
ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ก็เป็นผู้จุดประกายเอ็นจีโอไทยคนสำคัญ โดยในปี 2510 ดร. ป๋วยได้ร่วมกับเพื่อนๆร่วมก่อตั้ง มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ถือเป็นโครงการพัฒนาชนบทแห่งแรกขององค์กรพัฒนาเอกชน โดยใช้หลักการไปหาชาวบ้าน อยู่กับเขา เรียนรู้จากเขา วางแผนและทำงานร่วมกับชาวบ้าน โดยดำเนินการอยู่ในเขตจังหวัดชัยนาทเป็นหลัก เพราะชาวบ้านที่ชัยนาทเคยช่วยชีวิต ดร. ป๋วย เมื่อครั้งเป็นเสรีไทย
ลูกศิษย์ของดร.ป๋วยรุ่นแรกๆก็ยังวนเวียนอยู่และเป็นใหญ่เป็นโตในวงการเอ็นจีโอหลายคน เช่น บำรุง บุญปัญญา นักพัฒนาอาวุโส เจ้าของสมญาราชสีห์อีสาน พิศิษฐ์ ชาญเสนาะ เจ้าพ่อเอ็นจีโอปักษ์ใต้ ประธานมูลนิธิหยาดฝน จ.ตรัง ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการอนุรักษ์ป่าชายเลนโลก เตือนใจ ดีเทศน์ เจ้าแม่เอ็นจีโอทางเหนือ ผู้ต่อสู้เรียกร้องเพื่อชาวเขา ที่ต่อมาได้เป็น สว.ลากตั้งโดยคมช.  แต่เอ็นจีโอในรุ่นต่อๆมาได้ย้ายจุดยืนไปเป็นขุนนางตัวใหม่ที่ดูหมิ่นดูแคลนคนรากหญ้า


อุดมคติของเอ็นจีโอ

ลักษณะทั่วไป ของคนในขบวนการเอ็นจีโอ ก็คือ

โกมล คีมทอง ต้นแบบครูชนบท 
2489- 2514
-เป็นคนแน่วแน่ในอุดมคติที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่น เมื่อก่อนไม่ค่อยได้รับทุนจากภาครัฐ จึงมักต้องขอทุนสนับสนุนจากต่างประเทศ พวกองค์การสาธารณกุศล หรือองค์การด้านศาสนาพวกโบสถ์คริสเตียน หรือองค์กรด้านแรงงาน ดังนั้นขบวนการเอ็นจีโอจึงต้องเคร่งครัดเข้มงวดมักน้อย ได้เงินเดือนแค่พอยังชีพ แต่ต้องอุทิศตัวเสียสละอย่างสูง จะคิดหวังเอาความสะดวกสบายหรือหวังยึดเป็นอาชีพเพื่อสร้างฐานะไม่ได้เลย แล้วยิ่งหวังว่าจะตั้งตัวได้ก็อย่าหวัง กลายเป็นว่าต้องไปหาเอาคนที่มีฐานะทางบ้านดีหน่อยหรือไม่เป็นภาระต้องเลี้ยงดูมากนักเพราะไม่ค่อยมีเงินจ้าง

บำรุง บุญปัญญา ราชสีห์อิสาน
-พวกเอ็นจีโอมีวิธีคิดที่ด้านเดียวตายตัวสุดโต่ง มองทุกสิ่งเป็นดำเป็นขาวไปเลย ไม่พัฒนา ไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไม่ยืดหยุ่น คือทำตัวเคร่งครัดยิ่งกว่าพระ เป็นพวกปฏิเสธและออกจะชิงชังสังคมบริโภคนิยม ทุนนิยม และต่อต้านโลกาภิวัตน์  เช่น ลูกของ ส.ศิวลักษณ์ ต้องไปดูทีวีที่ข้างบ้าน เพราะที่บ้านไม่มีทีวีให้ดู  ญัค อภิชาต ทองอยู่ นักกิจกรรมจิตอาสาและเป็นคอลัมนิสต์ไทยโพสต์ ก็ชอบนอนในบ้านปั้นดินเหนียวแล้วจุดไต้หรือตะเกียงแทนไฟฟ้า ส่วนเปี๊ยก - บำรุง บุญปัญญา ฉายาราชสีห์อิสานผู้ไว้หนวดเครายาวเฟื้อย ก็รณรงค์เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้าน ต่อต้านทุนนิยมทุกรูปแบบ อย่างเอาการเอางาน

บำรุง คะโยธา เครือข่ายองค์กรชุมชน
เพื่อการปฏิรูป
เปี๊ยกหรือ พิภพ ธงไชย ที่หมู่บ้านเด็กเมืองกาญจนบุรี ก็อบรมเด็ก ไม่ให้ปรับตัวไปตามสังคมภายนอกที่มันเป็นจริง ขณะที่ โย - บำรุง คะโยธา ในหมู่บ้านที่กาฬสินธุ์ ก็จะหั่นมันสำปะหลังเลี้ยงหมู เพราะเขาต่อต้านรำข้าวจากโรงสีที่ใช้ไฟฟ้า
-พวกเอ็นจีโอมักจะรณรงค์ให้ประชาชนกลับไปใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิม ต่อต้านกระแสทุนสมัยใหม่ที่กำลังมาแรงขึ้นทุกที ดังนั้นเขื่อนทุกเขื่อนจึงเป็นเรื่องที่ต้องต่อต้าน เพราะไฟฟ้าไปสู่เมืองและไปสู่โรงงานอุตสาหกรรมของกลุ่มทุน หรือบรรษัทข้ามชาติ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ก็รณรงค์ตั้งสหกรณ์ครูและชาวนาให้เป็นเกียรติแก่ครูที่เสียสละในการต่อสู้กับกลุ่มทุนท้องถิ่น อภิชาต ทองอยู่ เขียนหนังสือ คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน บำรุง บุญปัญญา รณรงค์ให้ชาวนาทำเกษตรผสมผสานแบบทำอยู่ทำกิน ที่ต่อมากลายเป็นเศรษฐกิจพอเพียง พิศิษฐ์ ชาญเสนาะ ประธานมูลนิธิหยาดฝน จ.ตรัง นักอนุรักษ์ก็พาชาวมุสลิมในสิเกาชายฝั่งอันดามันจังหวัดตรังฟื้นฟูป่าชายเลน


สืบ นาคะเสถียร ( 2492 - 2533 )
-พวกเอ็นจีโอไม่ได้ค่อยสนใจการต่อสู้ในเชิงโครงสร้าง หรือการแข่งขันทางการเมือง และออกจะปฏิเสธวิถีทางการเมือง เพราะได้เห็นมาแล้วว่าภาคประชาชนสายปฏิวัติเคยทำล้มเหลวมาแล้วตั้งแต่สมัยป่าแตก แต่อำนาจรัฐก็บุกมารังควานภาคประชาชนสายปฏิรูป เช่น การที่รัฐจะสร้างเขื่อนน้ำโจน จนสืบ นาคะเสถียร ต้องพลีชีพเพื่อปกป้องป่าผืนนั้น กรณีที่รัฐใช้ความรุนแรงกับชาวนาเจ้าของพื้นที่กรณีเขื่อนปากมูล รัฐและทุนเข้าไปทำลายพื้นที่นาข้าว
3 จังหวัดอีสานด้วยการหนุนกลุ่มทุนท้องถิ่นทำอุตสาหกรรมเกลือสินเธาว์  การไล่ชาวนาออกจากพื้นที่เพื่อให้ทหารปลูกไม้ยูคาลิปตัส  การรุกไล่ที่ชาวบ้านในกรณีท่อก๊าซเมืองกาญจน์ เหมืองแม่เมาะลำปาง โรงไฟฟ้าจากถ่านหินที่บ่อนอกและหินกรูดประจวบคีรีขันธ์ และท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ฯลฯ


ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
เมื่อชาวนาเดือดร้อนอยู่ไม่เป็นสุข บรรดาเอ็นจีโอที่ทำเกษตรผสมผสาน เกษตรพออยู่พอกิน ฟอกย้อมหม่อนไหมด้วยสีธรรมชาติ  รักษากันด้วยสมุนไพรที่ผลิตขึ้นเอง จุดตะเกียงแทนแสงนีออน ที่ต่อต้านการบริโภคนิยม ต่อต้านโลกาภิวัตน์ ก็จำต้องเข้าเป็นแกนนำการต่อสู้ให้ชาวบ้านผู้เดือดร้อน
จนกระทั่งมีการเลือกตั้งสว. ทั่วประเทศครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2543 บรรดาเอ็นจีโอผู้มีชื่อเสียงก็ลงสมัครสว.และได้รับเลือกตั้งกันหลายคน ทั้งครูประทีปแห่งสลัมคลองเตย  ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์นักพัฒนาด้านชาวเขา


จอน อึ๊งภากรณ์ ลูกชายดร.ป๋วย
อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์
ผู้รณรงค์ต่อต้านเอดส์ อาจารย์เจิมศักดิ์  ครูสุชน ชาลีเครือ  ครูหยุย วัลลภ ตังคณานุรักษ์  ครูยุ่น มนตรี สินธวิชัย และใครต่อใครจึงพาเหรดเข้าสภาสูงในยุคเริ่มต้นของรัฐบาลทักษิณ
ส่วนภูมิธรรม เวชยชัย ที่เคยอยู่สายเอ็นจีโอคุมมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ที่จุฬา เพื่อปลุกปั้นคนรุ่นใหม่ออกไปเป็นอาสาสมัครในชนบท ก็หันมาทำงานให้นายทุนชาติที่ชื่อทักษิณ แล้วก็พาพรรคพวกจากจุฬาฯอย่างสุธรรม แสงปทุม เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ พินิจ จารุสมบัติ  อดิศร เพียงเกษ ไอ้ก้านยาว ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว และยังมีรองประธานบริหารเครือชินแซทเทิลไลท์ หมอมิ้ง พรหมินทร์  รวมทั้งจาตุรนต์ ฉายแสงจากพรรคความหวังใหม่ เป็นภาคประชาชนสายปฏิวัติในอดีตที่มาร่วมงานกับนายทุนชาติเจ้าพ่อธุรกิจสื่อสารให้ผสมกลมกลืนเป็นอัศวินควายดำที่ยึดแนวทางตาดูดาวเท้าติดดิน ด้วยการแปลงภูมิปัญญาของเอ็นจีโอ ให้เป็นนโยบาย
30 บาททุกโรค พักหนี้เกษตรกร  ธนาคารคนจน และ OTOP
แต่ฝ่ายประชาชนสายปฎิรูปหรือพวกเอ็นจีโออาชีพยังคงเดินหน้าต่อต้านโลกาภิวัตน์อย่างแข็งขืน และยืนท้าทายกระแสบริโภคนิยมอย่างทรนง มีบ้างบางส่วนที่เข้ามาเป็นสว.ภาคประชาชน ซึ่งก็ยืนตรงข้ามกับทักษิณทั้งนั้น


สนธิลิ้ม นำพันธมารเคลื่อนพลล้มล้างการปกครอง
เมื่อพลังหลักของสังคมไทย เปิดไฟเขียวเต็มที่ให้สนธิลิ้มเดินหน้าโค่นล้มทักษิณด้วยข้อหาว่าเป็นทุนสามานย์ พวกเอ็นจีโอและภาคประชาชนสายปฏิรูปเกือบทั้งหมดต่างเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มพันธมารในการเคลื่อนไหวโค่นล้มทักษิณในบริบทที่แตกต่างกันไป เนื่องจากพวกสายปฏิรูปหรือเอ็นจีโอรังเกียจกระแสบริโภคนิยม-ทุนนิยม-ทุนข้ามชาติ ที่พวกเขาเรียกว่าทุนสามานย์ และพยายามหลอกตนเองว่าการล้มล้างระบอบทักษิณนั้นมิใช่ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยนั้นถูกล้มล้างไปก่อนแล้วโดยระบอบทักษิณ 



ใจ อึ๊งภากรณ์ ประท้วงการรัฐประหาร
หน้าสยามพาราก้อน 22 กย. 2549
แต่ก็มีพวกเอ็นจีโอบางคนที่เริ่มสับสนและไม่แน่ใจกับบทบาทของตนเอง โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรัฐประหาร
19 กันยา 2549 ที่เป็นเผด็จการชัดเจน จึงได้ออกโรงกลับลำมาต่อต้านผู้ยึดอำนาจทำรัฐประหารอย่างมากบ้างน้อยบ้าง  ส่วนพวกที่หลงเข้าไปเต็มตัวกลับลำไม่ได้ ก็จำต้องเลือกยืนข้างเผด็จการโบราณ พร้อมทั้งหลอกตนเองต่อไปว่าเผด็จการทหารก็แค่ชั่วคราว เดี๋ยวก็เลือกตั้งแล้ว ยังไงก็ยังดีกว่าทุนสามานย์อย่างระบอบทักษิณ




ศยามล ไกยูรวงศ์ ตรัง
โดยมีแกนนำเอ็นจีโอหลายคนเสนอตัวเป็นสว.ลากตั้งรับใช้เผด็จการคมช.
เช่น
ศยามล ไกยูรวงศ์  นักต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินจากจังหวัดตรัง



วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ -ฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ นักต่อต้านเขื่อนและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์








เรวดี ประเสริฐเจริญสุข
การพัฒนาที่ยั่งยืน

เรวดี ประเสริฐเจริญสุข
อดีตประธาน คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน 




บรรจง นะแส ทรัพยาการชายฝั่งภาคใต้
บรรจง นะแส
นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย





นิมิตร์ เทียนอุดม
รวมทั้งนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์
เอ็นจีโอเหล่านี้ได้ขึ้นพูดเวทีพันธมารกล่าวหาว่าผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณเป็นพวกที่ขาดข้อมูลซึ่งเป็นทัศนะที่ดูถูกคนจนและให้ความชอบธรรมกับรัฐประหาร
แต่พอไปเสนอตัวเป็นสว.ลากตั้ง ก็ถูกเปรมิกาปฏิเสธอย่างไม่สนใจใยดี  โดยเปรมิกาหันไปตั้งพวกสื่อแทน เช่น สมชาย แสวงการ ที่เคยเป็นนายกสมาคมนักข่าววิทยุทีวี หรือคำนูณ สิทธิสมาน และประสาร มฤคพิทักษ์
เอ็นจีโอพวกนี้ก็ไม่เคยสำนึกตัวว่าจะต้องเคารพต่อเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ แต่กลับไปร่วมมือกับพันธมารอย่างเต็มที่ ทำการเลวร้ายสารพัดทั้งยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสถานีโทรทัศน์ช่อง
11 เอ็นบีที  ล้อมสภา บุกกองบัญชาการตำรวจนครบาล ยึดสนามบิน

ทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี สมัชชาอิสาน
ประณามสมัครปราบพันธมาร  2 กย.2551
ที่ชัดเจนไปกว่านั้นก็คือ พวกเอ็นจีโอที่เข้าร่วมกับสื่อและนักวิชาการยังพร้อมใจกันออกมาประณามรัฐบาลสมัคร และเรียกร้องให้ สมัคร ลาออกและยกเลิกประกาศ พรก.ฉุกเฉิน
แต่พอเสื้อแดงชุมนุมให้รัฐบาลมาร์คแมลงสาบที่แพ้เลือกตั้งให้ยุบสภา ในตอนเมษาเลือด 2552
แล้วรัฐบาลออกประกาศพรก.ฉุกเฉิน ทหารถืออาวุธมาเต็มที่กราดยิงพวกเสื้อแดงระนาว



สารี อ๋องสมหวัง กับ นิมิตร์ เทียนอุดม
แต่พวกเอ็นจีโอก็ออกแถลง การณ์ไปคนละเรื่องเลย มีองค์กรด้านเอดส์ของนิมิตร์ เทียนอุดม ไปลงชื่อด้วย ตอนนั้นจับมือกับสารี อ๋องสมหวัง ที่จบพยาบาลจุฬา เป็นผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ใกล้ชิดกับรสนา โตสิตระกูล พากันออกแถลงการณ์บอกว่า ขอให้คุณทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเคารพกฎหมาย และต่อสู้ภายใต้กรอบกระบวนการยุติธรรม ยุติการอ้างประชาธิปไตยและใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาผลประโยชน์ของตนเอง ส่วนกลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต้องชุมนุมโดยสงบ และไม่สร้างเงื่อนไขยั่วยุให้มีการใช้ความรุนแรง  โดยแถลงการณ์นี้ออกดักหน้าตั้งแต่การชุมนุมกันหน้าทำเนียบวันที่
8 เมษายน 2552


ทหารพร้อมอาวุธร้ายแรงเข้าปราบคนเสื้อแดง
ช่วงสงกรานต์ 2552
และพอทหารเริ่มปราบปรามประชา ชนเสื้อแดงในวันที่
13 เมษายน 2552 แทนที่เอ็นจีโอพวกนี้จะออกแถลงการณ์คัดค้านการออกประกาศพรก.ฉุกเฉิน และห้ามทำร้ายผู้ชุมนุมแบบที่เคยทำตอนที่พันธมารทำสิ่งเลวร้ายสารพัด กลับไปร่วมมือกับสมาคมนักข่าวออกแถลงการณ์ว่า ผู้ชุมนุมอย่ารุนแรง แถมออกบัตรเชิญให้มีการปราบปรามด้วยคำสวยหรูว่า หากรัฐบาลจะควบคุมสถานการณ์ก็ให้ทำเท่าที่จำเป็นอย่าให้บาดเจ็บล้มตาย


10 มีค.2553 เครือข่ายหยุดทำร้ายประเทศไทย
ออกแถลงการณ์
ในปีต่อมาก่อนการนัดชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดง น.ส. สารี อ๋องสมหวัง  นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ แห่งมูลนิธิสุขภาพไทย และ นายนิมิตร์ เทียนอุดม ในนามเครือข่าย “หยุดทำร้ายประเทศไทยหยุดใช้ความรุนแรงออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการที่นปช. จะจัดชุมนุมในกรุงเทพในวันที่ 14  มีนาคม 2553  โดยอ้างว่าเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ทั้งยังอาจจะนำไปสู่ความรุนแรงด้วย   โดยพยายามเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันแสดงพลังของสังคมไทยในการระงับยับยั้งความรุนแรงด้วยการใช้สัญลักษณ์ เช่น ธงชาติ หรือใช้ สีขาว ใส่เสื้อขาว ทั้งนี้ก็เพื่อสกัดกั้นกระแสการเรียกร้องมาร์คแมลงสาบที่จัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารให้รีบคืนอำนาจให้แก่ประชาชน

ศึกษาข้อเรียกร้อง
ของเอ็นจีโอไทย

- ต่อต้านโรงไฟฟ้า
และไม่ให้วางท่อก็าซ

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ลำปาง ใช้ถ่านหินลิกไนท์
เอ็นจีโอจะรณรงค์ต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในทุกพื้นที่โดยกล่าวหาว่า ถ่านหินเป็นตัวทำลายสภาพแวดล้อม แม้กระทั่งโรงไฟฟ้าลิกไนต์ที่ลำปางที่ได้มีการปรับปรุงระบบมาแล้วกว่า 20 ปี ก็ยังถูกโจมตีไม่เลิก ทั้งๆที่มีการตรวจวัดสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเป็นประจำอยู่ทุกวัน และที่เห็นเป็นควันขาวออกจากปล่องก็เป็นเพียงละอองน้ำไม่ใช่ควันแต่อย่างใด แต่ยังถูกหยิบยกเอามาต่อต้านมาโจมตีไม่สิ้นสุด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตก็เลยต้องจัดมหกรรมเที่ยวโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้ได้ชมกันอย่างเต็มที่เลย แต่ก็ยังมีความพยายามเสนอข่าวทางโทรทัศน์

เทศกาลท่องเที่ยวโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ลำปาง
โดยออกสัม ภาษณ์ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบอยู่เป็นระยะ เพื่อตอกย้ำความล้มเหลวจากโรงไฟฟ้าของรัฐ กล่าวหาว่ามีผู้เจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจอันเป็นผลมาจากการมีโรงไฟฟ้าลิกไนต์ตั้งอยู่ ทั้งๆที่บริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะจังหวัดลำปางนั้น มีคนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทำงานอยู่กว่า 3,000 คน และก็พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ด้วย เขาอยู่กันได้อย่างไรหากโรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นโรงไฟฟ้ามรณะอย่างที่เอ็นจีโอกล่าวหา



รถบรรทุกก๊าซขนาดใหญ่ที่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
และค่าใช้จ่ายสูง
กลุ่มเอ็นจีโอยังได้ต่อต้านการวางท่อก๊าซธรรม ชาติขึ้นเหนือ สุดท้ายก็ไม่ได้ดำเนินการวางท่อต่อไปได้ ทำให้ต้องขนถ่ายก๊าซผ่านระบบขนส่งทางรถยนต์มาหลายปีแล้ว แต่ละวันต้องขนส่งก๊าซขึ้นเหนือเป็นร้อยๆ เที่ยว ขนก๊าซราคาถังละไม่กี่ร้อยบาท แต่ค่าขนส่งกลับแพงกว่าค่าก๊าซที่นำส่งเสียอีก ทั้งๆที่ท่อก๊าซส่วนใหญ่ก็จัดวางเคียงข้างถนน แล้วจะมีอะไรเสียหายกันนักหนา เป็นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจได้โดยง่ายว่าท่อส่งก๊าซเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงและประหยัดกว่าการขนส่งทางรถบรรทุกซึ่งมีอันตรายมากกว่าหลายเท่าและมีต้นทุนที่สูงกว่าอย่างมากมาย ในประเทศที่เจริญ แม้แต่ในปักกิ่งก็ใช้ระบบท่อส่งก๊าซเข้าตามครัวเรือนเช่นเดียวกับระบบน้ำประปา และเรียกเก็บเงินตามมิเตอร์เป็นรายเดือนเช่นเดียวกัน


การชุมนุมคัดค้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์
ใกล้โรงแรมเจบีหาดใหญ่ 20 ธค. 2545
พวกเอ็นจีโอคัดค้านการพัฒนาได้ทุกเรื่อง ไม่ให้สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติก็ไม่เอา โรงงานไฟฟ้าถ่านหินก็ไม่เอา โรงไฟฟ้าพลังน้ำก็ไม่เอา โรงไฟฟ้าชีวมวลก็ไม่เอา แล้วจะเอาอะไร จะเอาไฟฟ้าจากพลังลม หรือจะเอาไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ ซึ่งมันไม่แน่นอน ไม่เพียงพอและแพงมหาศาล ทั้งๆที่ยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก สามารถบำบัดของเสียได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกรดกำมะถัน สารตกค้าง หรือคุณภาพน้ำ แต่พวกเอนจีโอก็ไม่ยอมเข้าใจ จะดึงดันดื้อด้านขัดขวางท่าเดียว

- เขื่อนปากมูล
การเรียกร้องที่ไม่รู้จบ



เขื่อนปากมูล อ.โขงเจียม อุบลราชธานี
แม่น้ำมูลเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบ มีปริมาณน้ำไหลเฉลี่ยปีละ 24,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือเท่ากับ 740 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม อุบลราชธานี โดยไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
จึงได้มีการสร้างเขื่อนปากมูลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากการสนับสนุนของธนาคารโลก  สร้างเสร็จในปี 
2531 ด้วยเงิน 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 7,000
ล้านบาท

ขื่อนปากมูล  กั้นน้ำที่ไหลเชี่ยวเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
มีลักษณะคล้ายฝายน้ำล้น สูง 17  เมตร มีช่องทางระบายน้ำ 8 ช่อง ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า  4 เครื่อง ผลิตพลังงานไฟฟ้าปีละ 280 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง มีการเปิดประตูเขื่อน สุดบาน ปีละ 4 เดือนในฤดูปลาวางไข่
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้จ่ายเงินเป็นค่าเวนคืนมากกว่า
1,500 ล้านบาท รวมทั้งชดเชยค่าสูญเสียรายได้จากการประมงอีกกว่า 500
ล้านบาท แต่ก็ยังมีปัญหาที่อ้างว่าชาวบ้านได้รับเงินชดเชยไม่ครบถ้วน มีการเรียกร้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่จบไม่สิ้น รวมทั้งการอ้างค่าชดเชยสารพัดจากการสูญเสียอาชีพประมงและการจับปลาได้น้อยลง บางรายได้ค่าชดเชยหลายครั้งเป็นเงินหลายแสนบาทหรือถึงล้านบาทก็มี  การต่อสู้เรียกร้องจึงยืดเยื้อต่อมาในนามของสมัชชาคนจน โดยเปลี่ยนมาเป็นเรื่องผลกระทบต่อระบบนิเวศและการฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชน ให้ยุติการใช้เขื่อนปากมูลด้วยการเปิดประตูระบายน้ำทั้งหมดให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรงเหมือนก่อนที่มีเขื่อน อ้างว่าเพื่อให้ปลาจากแม่น้ำโขงสามารถขึ้นมาวางไข่เหนือเขื่อนและคืนสภาพความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติให้กลับคืนมา


เขื่อนปากมูลช่วงเปิดประตูให้หาปลา
สิ่งที่พวกเอ็นจีโอมักมานำอ้างกันเป็นประจำก็คือ เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านสังคมและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ โดยใช้วาทกรรมว่าผลกระทบต่อการดำเนินวิถีชิวิตเดิมซึ่งเป็นเรื่องปกติของการเปลี่ยนแปลงตามการพัฒนา  อีกทั้งยังต้องให้คนในชุมชนทุกคนทุกฝ่ายเห็นด้วย ซึ่งก็คือ การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงพัฒนาในทุกรูปแบบนั่นเอง

ทำไมเอ็นจีโอไทย
จึงเปลี่ยนไป
พิภพ ธงไชย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
สนธิลิ้ม และสมศักดิ์ โกสัยสุข
เหตุที่เอ็นจีโอไทย เปลี่ยนจุดยืนมาอยู่กับฝ่ายเผด็จการดักดาน ก็เพราะในองค์กรเอ็นจีโอเองขาดความโปร่งใสและไม่มีประชาธิปไตยภายในองค์กร  เอ็นจีโอไทยไม่ใช่องค์กรมวลชนที่มีสมาชิกจำนวนมากเข้ามามีส่วนร่วม และเอ็นจีโอก็ไม่สนใจว่ารัฐบาลจะเป็นใคร มาจากการเลือกตั้งหรือไม่ เอ็นจีโอหวังแต่เพียงจะใช้โอกาสชักชวนกดดันรัฐบาล ไม่วาจะเป็นรัฐบาลทักษิณ หรือรัฐบาลเผด็จการ คมช. รวมทั้งรัฐบาลมาร์คแมลงสาบจากค่ายทหาร   เอ็นจีโอไทยจึงมุ่งที่เจรจากับคนที่มีอำนาจแทนที่จะรณรงค์สร้างมวลชนขึ้นมา คนอย่าง พิภพ ธงไชย และสมศักดิ์ โกศัยสุข จึงต้องวิ่งเข้าไปหาอำนาจเก่า เพราะตนเองไม่มีพลังมวลชน และห่างเหินจากคนรากหญ้ามานาน

พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม
พวกเอ็นจีโอเคยตื่นเต้นกับชัยชนะของพรรคไทยรักไทย ในช่วงเริ่มต้น แต่ในไม่ช้าก็ผิดหวังและโกรธแค้นรัฐบาลทักษิณ เพราะนโยบายที่เป็นรูปธรรมของรัฐบาลไทยรักไทย ทำให้ฐานมวลชนของเอ็นจีโอหดลง เพราะประชาชนเห็นว่าพรรคการเมืองทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าโครงการของเอ็นจีโอหลายเท่า เอ็นจีโอไม่ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เพราะเอ็นจีโอหากินกับลัทธิชุมชนเป็นใหญ่ที่หันหลังให้รัฐบาล

ไฮ ขันจันทาขอบคุณนายกทักษิณ
คืนที่ 62 ไร่ 21 ตค. 2547
เอ็นจีโอโกรธแค้นที่ชาวบ้านเลือกพรรคไทยรักไทย และเปลี่ยนจุดยืนมาดูถูกชาวบ้านว่า เข้าไม่ถึงข้อมูล คือโง่ และ ถูกหลอกโดยพรรคไทยรักไทย เพราะพวกเอ็นจีโอมีความคิดความเชื่อว่ามีแต่พวกตนเท่านั้นที่เป็นผู้นำหรือแกนนำของชาวบ้านได้ เอ็นจีโอไทยทำตัวเป็นพี่เลี้ยงหรือผู้ชี้นำสอนสั่งชาวบ้านแบบถาวรตลอดกาล โดยดูถูกชาวบ้านว่าไม่มีความสามารถในการนำด้วยตนเอง เอ็นจีโอวิเคราะห์ไม่ออกว่าทำไมคนจนถึงเลือกพรรคไทยรักไทย อย่างน้อยที่สุด เอ็นจีโอควรจะต้านรัฐประหารและทำตัวเป็นกลางไม่เลือกข้างใคร แต่เอ็นจีโอกลับเข้าข้างพันธมารเสื้อเหลือง นักเคลื่อนไหวเอ็นจีโอหรือพวกนายหน้าค้าความจนยิ่งเกรงกลัวการตื่นตัวและการจัดตั้งกันเองของมวลชนคนเสื้อแดงที่มีมากขึ้นทุกที

รสนา นำขบวนต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
โดยอ้างว่าเป็นการขายชาติ
ลักษณะของเอ็นจีโอไทยจะจับเฉพาะประเด็นใดประเด็นหนึ่งในท้องถิ่น เป็นประเด็นที่ให้ประโยชน์แก่ตนเอง และอาจไม่เชื่อมโยงปัญหาในเชิงโครงสร้างทั้งหมด โดยเน้นไปที่การต่อรองกับรัฐเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้แตะต้องปัญหาเชิงโครงสร้างในเรื่องการกระจายความเท่าเทียม หรือการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในเชิงโครงสร้าง อีกทั้งไม่เคยคิดที่จะเกาะกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เพื่อผลักดันให้เป็นแนวนโยบายระดับประเทศได้
เอ็นจีโอพาชาวบ้านเข้าพบนายกทักษิณ ปี 2544
เอ็นจีโอแต่ละภาคส่วนจะทำงานโดยเน้นการต่อรองเพื่อตนเองมากกว่า ถ้าองค์กรไหนมีอำนาจในการโน้มน้าวต่อรองเก่งกว่าก็จะได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่ถ้าเอ็นจีโอนั้นไม่เข้มแข็งหรือมีศักยภาพไม่พอ ก็ต่อรองไม่ได้  ซึ่งเอ็นจีโอแต่ละแห่งก็มีอำนาจไม่เท่ากัน จึงไม่มีหลักประกันว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว เพราะว่าถึงที่สุดแล้วการแก้ไขปัญหาก็ขึ้นอยู่กับการต่อรองเป็นครั้งๆไป โดยที่เอ็นจีโอกลายเป็นตัวขัดขวางแนวทางนโยบายของรัฐในระดับประเทศ  แทนที่จะให้ประชาชนเข้าไปมีบทบาทต่อรองอำนาจรัฐโดยผ่านทางกระบวนการเลือกตั้ง หรือการกดดันผ่านตัวแทนของตนเองในระบบรัฐสภา 
เอ็นจีโอจึงกลายเป็นพวกนักอุดมคติที่แปลกแยกแตกต่างไปจากวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป  ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วบรรดาเจ้าพ่อและเจ้าแม่เอ็นจีโอทั้งหลายก็มีอำนาจในการต่อรองมากกว่าคนทั่วๆไปและหลายคนก็ได้รับการแต่งตั้งให้มีตำแหน่งหน้าที่จนกลายเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง


บ้านพักพล.อ.สุรยุทธ์ ในเขตป่าสงวน
เขายายเที่ยง นครราชสีมา
อาจกล่าวได้ว่าเอ็นจีโอและเครือข่ายภาคประชาชนเก่าในประเทศไทยแทบจะหมดสภาพของการเป็นขบวนการภาคประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรม คนที่รักประชาธิปไตยและอยู่ข้างคนจนในไทยไม่สามารถทำงานกับเอ็นจีโอกระแสหลักได้ จนกว่าจะมีการทบทวนบทบาท
เพราะมีกรณีมากมายที่ไม่ชอบธรรม ตั้งแต่การรัฐประหารปล้นอำนาจของประชาชน การยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบิน สุรายึดสร้างบ้านพักบนเขายายเที่ยง




สนามกอล์ฟสอยดาวไฮแลนด์ กอล์ฟคลับ
แอนด์ รีสอร์ท เขาดาวใต้ จันทบุรี

สนามกอล์ฟบนป่าสงวนเขาสอยดาวที่เจ้าของธนาคารกรุงเทพถือหุ้นใหญ่โดยมีเปรมิกาเป็นประธานที่ปรึกษา แต่พวกเอ็นจีโอไม่เคยออกมากดดัน หรือเรียกร้องเรื่องคุณธรรมหรือจริยธรรมเลย คนทั่วไปจึงมองเอ็นจีโอในทางลบ แม้ว่าเอ็นจีโอจะอ้างว่าพวกตนอยากให้สังคมดีขึ้น และอยากให้รัฐบาลมีความโปร่งใส สุจริต ถูกตรวจสอบและเปิดเผยตลอดเวลา  แต่คนไม่น้อยเริ่มมีความเห็นว่าเอ็นจีโอก็เป็นได้แค่พวกคับแคบดื้อด้านและดักดานที่หลงตัวเอง ที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศในทุกๆเรื่องเท่านั้นเอง

อานันท์ ปันยารชุน : เจ้าพ่อเอ็นจีโอ



อานันท์ ปันยารชุน ขวัญใจคนชั้นกลาง
นายอานันท์ถือได้ว่าเป็นผู้อำนวยการและประสานงานคนสำคัญของเอ็นจีโอไทย
อานันท์เคยเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายกกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ ของเครือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีผลงานงานด้านสังคมสงเคราะห์ ทั้งในองค์กรของไทยและนานาชาติหลายองค์กร รวมทั้งเคยเป็นประธานทีดีอาร์ไอหรือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และได้รางวัลแมกไซไซ ในปี 2540

นายอานันท์ยังเป็นที่ปรึกษาบริษัทประกันชีวิตยักษ์ใหญ่เอไอจี บริษัทคาร์ไลล์ กรุ๊ป ( The Carlyle Group ) ที่เป็นบริษัทเงินทุนระดับโลก เป็นสมาชิกของคณะกรรมการไตรภาคีหรือ Trilateral Commission ที่ก่อตั้งโดยมหาเศรษฐีสหรัฐ David Rockefeller เป็นองค์กรเอกชนเพื่อกระชับความร่วมมือในอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในเครือข่ายองค์กรใต้ดินของสหรัฐ

อานันท์และภรรยา มรว.สดศรี จักรพันธุ์
นายอานันท์เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 12 คน ของพระยาปรีชานุสาสน์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและนายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์คนแรกของไทย มีภรรยาชื่อ ม.ร.ว.สดศรี จักรพันธุ์ พี่สาวคนโตของนายอานันท์คือสุธีรา เกษมศรี เป็นแม่ของมล.พีระพงศ์ เกษมศรี อดีตราชเลขาธิการ
ญาติๆและลูกๆของนายอานันท์ก็แต่งงานกับตระกูลผู้ดีใหญ่ๆหลายตระกูล จึงมีคนให้ฉายานายอานันท์ว่าผู้ดีรัตนโกสินทร์

อานันท์ นายกพระราชทานสองสมัย
นายอานันท์เป็นคนดีและคนเก่งในสายตาคนชั้นกลางที่นิยมชมชอบกันว่าเป็นผู้บริหารประเทศที่ซื่อสัตย์โปร่งใสที่สูงส่งยิ่งกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเสียอีก
ส่วนเครือข่ายอำนาจรัฐโบราณก็ยกย่องนายอานันท์เป็นตัวแทนของพวกตนถึงขนาดให้เป็นนายกพระราชทานสองครั้ง ในขณะที่กลุ่มนักเก็งกำไรจากตะวันตกก็ถือว่านายอานันท์ เป็นตัวแทนหรือหุ้นส่วนถาวรของพวกตน

นายอานันท์
และทีดีอาร์ไอ


ทีดีอาร์ไอก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี  2527 ในสมัยนายกเปรมิกาจากความช่วยเหลือของรัฐบาลแคนาดา (CIDA) และของสหรัฐ (USAID) รวมทั้งภาคเอกชนในรูปของมูลนิธิ
นายอานันท์เคยเป็นทูตไทยประจำแแคนาดา สหรัฐ เป็นผู้แทนไทยประจำสหประชาชาติ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และในปี 2522 ได้ลาออกมาเป็นรองประธานและเป็นประธานกรรมการบริษัท สหยูเนี่ยน และเป็นกรรมการบริษัทต่างๆรวมทั้งบริษัทข้ามชาติหลายบริษัท เคยเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  เป็นประธานสภามหาวิทยาลัยเอไอที หรือเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นประธานทีดีอาร์ไอ ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ฯลฯ ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญในอดีตอีกมากมาย เป็นนายกรัฐมนตรีสองสมัย เป็นประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ 2540 นายอานันท์มักอ้างว่าตนมีธรรมาภิบาลสูง เป็นคนซื่อสัตย์และทันสมัย พร้อมทั้งชอบดูถูกและกล่าวหาว่านักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งไม่มีธรรมาภิบาล ไม่โปร่งใส เอาแต่โกงกิน


อานันท์ และอัมมาร งาน โปร่งใสยามบ่าย:
คนไทยไม่โกง 13 ธค. 2555

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2555 นายอานันท์ ในฐานะประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสกล่าวปาฐกถาว่าการคอร์รัปชันในประเทศไทยทะยานขึ้นสูงมาก ปี 2555 ที่ตนอายุครบ 80 เป็นปีแรกที่ตนมีความห่วงใยเรื่องคอร์รัปชันในเมืองไทยมากที่สุดตั้งแต่เกิดมา ทั้งๆที่เป็นยุคของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มาจากการเลือกตั้งและมีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อคนรากหญ้า ซึ่งต่างจากรัฐบาลของนายอานันท์ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ครั้งแรกมาจากการยึดอำนาจของรสช. ครั้งที่สองเป็นนายกพระราชทานของกษัตริย์ภูมิพล ซึ่งหาความชอบธรรมไม่ได้เลย ความโปร่งใสหรือธรรมาภิบาลที่นายอานันท์ชอบยกขึ้นมาอ้าง จึงเป็นเพียงเรื่องโกหกที่ไม่เคยมีอยู่จริง

อัมมาร สยามวาลา และ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
ส่วนบทบาทของทีดีอาร์ไอทั้งนายอานันท์ นายอัมมาร สยามวาลา รวมทั้งนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ก็เป็นเพียงพวกนักวิชาการลวงโลก โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ โจมตีรัฐบาลของฝ่ายประชาธิปไตยโดยอ้างอิงหลักการและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์

เกษม จาติกวณิช ( 2467 - 2553 )
แต่กลับปล่อยปละละเลยที่จะวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ในช่วงรัฐบาลอานันท์
2 ได้เร่งขายโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง ให้กับบ.ไทยออยล์ ของนายเกษม จาติกวณิช ในราคาเพียง 8,764 ล้านบาท ด้วยการรับเช็คส่วนตัว ในวันเซ็นสัญญา ทั้ง ๆ ที่มีหลายฝ่ายคัดค้าน ในขณะที่นายอานันท์ เป็นเพียงรัฐบาลรักษาการหลังวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่ ปี 2540  ได้มีการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือปรส. ของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท  เพื่อแยกหนี้ดี-หนี้เสียออกจากกัน แล้วค่อยประมูลขาย แต่รัฐบาลนายชวนกลับนำสินทรัพย์ทั้งหมดไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท โดยโกล์ดแมนแซคส์ ( Goldman Sachs Group Inc.) ร่วมกับจีอีแคปิตอล ( GE Capital Corporation) ที่นายอานันท์ไปนั่งเป็นประธานที่ปรึกษา เข้าประมูลซื้อสินทรัพย์ปรส.หนึ่งในสามด้วยเงิน 23,600 ล้านบาทหรือ 645 ล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 21% ของมูลค่าทรัพย์สินซึ่งส่วนใหญ่มีอสังหาริมทรัพย์ค้ำประกัน จากลูกหนี้ 13000 รายในมูลหนี้ 384,000 ล้านบาท โดยปฏิเสธที่จะเจรจาต่อรองกับลูกหนี้ ขณะที่เลแมนบราเธอร์ Lehman Brothers Holding ซื้อทรัพย์สินปรส.มูลค่า 24,600 ล้านบาทที่ราคา 11,500 ล้านบาท

อมเรศ ศิลาอ่อน และ วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ
ต่อมานายอมเรศ ศิลาอ่อนประธานปรส. อดีตรัฐมนตรีพาณิชย์สมัยรัฐบาลนายอานันท์ และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการเลขาธิการปรส.ถูกศาลอาญาตัดสินจำคุก 2 ปีข้อหาทุจริตช่วยเหลือเลแมนเลี่ยงการเสียภาษีซื้อขายทรัพย์สินจากปรส. แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาสามปี

อานันท์เป็นห่วงธรรมาภิบาลภาครัฐอ่อนแอ 26 มิย. 2556
นายอานันท์จึงนับว่าเป็นคนที่บทบาทสำคัญในการเชื้อเชิญพวกบริษัทยักษ์ใหญ่ทางการเงินของต่างชาติ เข้ามารุมทึ้งทรัพย์สินคนไทยในราคาถูกสุด และขายกลับให้เจ้าของคนไทยเดิม ในราคาแพงสุด ฝรั่งพวกนี้ต่างก็นับถือนายอานันท์ว่าเป็นผู้มีฝีมือที่ทำงานได้ผลและแนบเนียนที่สุด


โสภณ สุภาพงษ์

โสภณ สุภาพงษ์
โสภณ สุภาพงษ์ จบวิศวะจุฬา ทำงานด้านน้ำมันครั้งแรกที่บริษัทเอสโซ่ 13 ปีก็ลาออกไปทำงานที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) จนได้เป็นรองผู้ว่าการ ปตท. ปี 2538 ได้ทำงานที่บางจากปิโตรเลียม ตามคำเชิญของนายกเปรมิกา ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติในปี 2539  และได้รางวัลแมกไซไซปี 2541 ภายหลังโสภณพยายามต่อสู้พยายามผลักดันเสนอขายหุ้นบางจากให้ประชาชนแต่ไม่สำเร็จ จึงลาออกในปี 2542 ออกมาเป็นนักพัฒนาชุมชนเต็มตัว
โสภณ สุภาพงษ์  ตอนเป็นผู้บริหารอยู่บางจาก  นำงบประชาสัมพันธ์ของบริษัทมาใช้โฆษณาเผยแพร่ตนเองจนคนส่วนใหญ่รู้จักนายโสภณมากกว่าบางจาก  แต่นายโสภณคงทนไม่ได้ ที่เห็น ปตท. เติบโตไปได้เรื่อยๆส่วนบางจากยังไปไม่ถึงไหนเลย  ราคาหุ้นบางจากก็มีแต่ตกลง จนต้องดึงมือการเงินจาก ปตท.มาปรับโครงสร้างหนี้ครั้งใหญ่ เพราะความผิดพลาดในการบริหารที่ต่อต้านการลงทุนเพื่อสร้างโรงแคร็กเกอร์เพื่อเพิ่มปริมาณเบนซินและดีเซล แต่นายโสภณกลับเอาเงินไปหว่านกับสหกรณ์และโครงการโฆษณาตัวเอง โรงกลั่นบางจากมีแต่น้ำมันเตาราคาถูกเต็มไปหมด เลยไม่มีเงินใช้หนี้ โสภณคิดจะกระจายหุ้นเพิ่มเพื่อหาเงินล้างหนี้ โดยไปหลอกตั้งชมรมคนรักบางจาก อ้างว่าจะให้บางจากเป็นของคนไทย
นายกทักษิณ เคยพูดในที่ประชุมครม.เมื่อวันที่
25 พ.ค. 2549 ว่านายโสภณ เคยชวนไปกินข้าวที่บ้านแล้วขอเงินตั้งกองทุน 10,000 ล้านบาท แต่นายกทักษิณไม่ให้ จึงทำให้นายโสภณไม่พอใจ และออกมาโจมตีนายกทักษิณเรื่อยมารวมทั้งการกุข่าวเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์


โสภณ สุภาพงษ์ เมื่อเป็นส.ว.
โสภณเป็นต้นตำรับนักเล่านิยายพลังงาน ที่เคียดแค้นเอาเป็นเอาตายกับปตท.มาก ทำทุกทางเพื่อให้ปตท.กลับคืนเป็นรัฐวิสาหกิจ และเอาปตท.ออกจากตลาดหุ้นให้ได้ทุกรูปแบบ โดยไม่สนใจข้อเท็จจริง โสภณยืนอยู่แถวหน้าสุดในการรณรงค์ถอดถอนปตท.ออกจากการแปรรูป เคยเขียนบทความส่งไปลงหนังสือพิมพ์รายวันเรียกร้องให้คณะปฏิกูลและนายกเขายายเที่ยงรีบถอดปตท.ออกจากตลาดหลักทรัพย์  โสภณคือต้นตำรับข้อมูลทางด้านพลังงานที่เป็นเท็จที่เผยแพร่สู่ภาคประชาสังคม และเอ็นจีโอทั้งหลาย

มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักเล่านิทานพลังงานและรสนา
จนสืบทอดมาถึงรุ่น มล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี เลขานุการคณะกรรมาธิการ การเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาที่มีรสนาเป็นประธาน โดยเดินสายเล่านิทานพลังงานเรื่อยมาเป็นระยะ  ตั้งแต่เมื่อปี
2548 ที่รสนากับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟ้องเพิกถอนการแปรรูป ปตท. ทั้งๆที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ของปตท. ก็คือกระทรวงคลังและกองทุนวายุภักษ์ซึ่งถือหุ้นราว 68% ในปี 2548  รสนาและพวกพยายามโพทนาว่ามีนักการเมืองไม่กี่คนถือหุ้นใหญ่ในปตท.  ทั้งๆที่ในปลายปี 2544 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นำที่ดินสวนมิสกวัน และคุรุสภา มาแลกหุ้น ปตท. ที่ราคาหุ้นละ 35บาท ได้มากกว่า 34 ล้านหุ้น หรือ 1.22% ซึ่งมากกว่าหุ้นของนักการเมืองทั้งหมด โดยกำหนดโอนเมื่อครบ 1 ปี ถ้าราคาหุ้น ปตท. สูงกว่า 35 ให้โอนในราคา 35 บาท แต่ถ้าราคาหุ้น ปตท.ต่ำกว่า 35 บาท ก็ให้โอนในราคาตลาด
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ซีอีโอยอดเยี่ยม
30 มค.2555
พวกนักเล่านิทานพยายามโจมตีว่าปตท.เป็นบริษัทที่ชั่วช้าสามานย์ไม่มีอะไรดี ทั้งๆที่ปตท.ได้รับรางวัลสุดยอดผู้นำธุรกิจยอดเยี่ยมแห่งปี 2548 รวมทั้ง Best CEO หรือซีอีโอที่ดีที่สุด ให้แก่คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ที่สำคัญคือปตท.ยังได้รางวัลการประกอบการยอดเยี่ยม มีผลการดำเนินงานดีเด่นในปี 2547 รวมทั้งรางวัลโดดเด่นในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี แต่ในวันถัดมา นายโสภณ สุภาพงษ์ ก็ออกมาให้ข่าวว่า เจ้าหน้าที่รัฐ โดยกระทรวงพลังงานมีส่วนรู้เห็นกับนักการเมืองในการเอาเปรียบ กำหนดราคาน้ำมันดีเซลสูงกว่าต้นทุนจริง 3 บาทต่อลิตร ทำให้โรงกลั่นทั้งสี่ของ ปตท.ซึ่งเคยมีกำไรรวมกัน 4,090 ล้านบาทในปี 2545 มีกำไรเพิ่มเป็น 45,917 ล้านบาทในปี 2547 ซึ่งเป็นเรื่องโกหก เพราะในขณะนั้นนายโสภณ เป็นสมาชิกวุฒิสภา สามารถนำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาได้ทันทีแทนที่จะกล่าวหาอย่างเลื่อนลอยผ่านทางสื่อมวลชน

กรกสิวัฒน์ เดินสายเล่านิทานพลังานแบบโสภณ สุภาพงษ์
นายโสภณพูดให้คนดูรายการทีวีเข้าใจว่า น้ำมันราคาแค่ ลิตรละ 27 บาท แต่ ปตท. ขาย 40 บาท ได้กำไร 13 บาท ซึ่งที่จริงแล้ว 27 บาทต่อลิตร คือราคาน้ำมันดิบ ส่วนกำไร แสนล้านบาทของ ปตท. มาจากการขายน้ำมันแค่ 3-4 พันล้านบาท หรือไม่ถึง 10% ของรายได้ทั้งหมด เพราะรายได้หลักของ ปตท. มาจากการขายก๊าซธรรมชาติ และ ปิโตรเคมี ดังนั้น ปตท. จะแปรรูปหรือไม่แปรรูปราคาขายน้ำมันหน้าปั้มก็จะไม่ต่างกันมากนัก เพราะยุครัฐบาลเปรมิกาน้ำมันดิบแค่ 20 ดอลลาร์/บาเรล ขายหน้าปั้มยังลิตรละ 9-10 บาท แต่ตอนปี
2548-2549 น้ำมันดิบขึ้นถึง 132 ต่างกัน 6 เท่าตัว แต่ราคาขายหน้าปั้ม 40 บาท ต่างกันแค่ 4 เท่าตัว เพราะเทคโนโลยีทันสมัยขึ้นจึงทำให้ต้นทุนถูกลง
โสภณ สนช.2550 หนุนคุณธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง
โสภณ เป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์เอ็นจีโอกับบ้านสี่เสา เป็นคนที่จริงจังเคร่งเครียดกับคนยากจนคนด้อยโอกาสทางสังคม  แต่โสภณก็ไม่เคยมองปัญหาในเชิงระบบโครงสร้าง เพราะโสภณก็เป็นคนที่เปรมิกาส่งไปคุมบริษัทน้ำมันบางจากมาหลายปี แต่มาหลุดจากตำแหน่งสมัยรัฐบาลทักษิณ คนพวกนี้จึงต้องมาร่วมกับเครือข่ายพันธมารเพื่อถล่มรัฐบาลทักษิณให้สิ้นซาก


ประเวศ วะสี
: ราษฎรโกโรโกโส

ประเวศ วะสี ดร.มนุษยพันธุศาสตร์สหรัฐ
หมอประเวศเป็นประธานและรองประธานหรือกรรมการขององค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศรวมกว่า 60 ชุด เป็นประธานมูลนิธิไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง  เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์
เป็นเสาหลักของวงการปัญญาชน นักวิชาการ เอ็นจีโอ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายระบอบกษัตริย์
เป็นคนธรรมะธรรมโม เป็นคนดีตามแบบแผน อยากช่วยบ้านเมือง แต่ก็ต้องเป็นบ้านเมืองที่แกเห็นว่าดี คือในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี แต่บังเอิญแกมองไปว่านักการเมืองทุกคนดันเลวทั้งหมดในสายตาของแก
แกจึงเห็นว่าทางที่ดีควรยกบ้านเมืองกลับไปให้พระเจ้าอยู่หัวท่านดูแลจัดการจะดีกว่า เพราะในหลวงองค์นี้ท่านดีเลิศแต่ผู้เดียว
หมอประกิต โครงการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
ความไม่พอใจของหมอประเวศส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ที่ใช้เงินจากภาษีสรรพสามิตสุราและยาสูบร้อยละ 2 เป็นเงินราว 1600 ล้านบาทในตอนนั้น ถูกตรวจพบว่ามีการทุจริตโดยหมอประเวศและหมอประกิต วาทีสาธกกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ นายกทักษิณได้มอบหมายให้ รตอ. ปุระชัย รองนายกในฐานะประธานสสส. ดำเนินการสอบสวน โดยปุระชัยได้สั่งปลดหมอประกิตออกจากรองประธานสสส. เป็นเหตุให้หมอประเวศและบรรดาเอ็นจีโอที่หากินกับสสส. ไม่พอใจกันมาก

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ข้าดีคนเดียว
ว่าไปแล้วรตอ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นคนที่สร้างภาพได้เก่งมาก เมื่อเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยได้จัดระเบียบสังคมเข้มงวดกับสถานบริการบันเทิงจนได้ฉายาว่ามือปราบสายเดี่ยว แต่มักชอบมีเรื่องขัดแย้งแบบไม่เลือกหน้าทั้งกับพวกสถานบันเทิง รวมถึงมีเรื่องกับหมอประกิต วาทีสาธกกิจ และหมอพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ซึ่งเรียกกันว่าสงครามคนดี โดยยกย่องตนเองว่าเป็นคนดีไม่มีเสื่อม  แต่หลังการรัฐประหารในปี 2549 กลับได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติของโจรคมช. แม้ว่าปุระชัยจะได้รับฉายาว่ามิสเตอร์ไม้บรรทัด แต่เมื่อ 19 ก.พ.2549 ได้แสดงบัญชีทรัพย์สินต่อปปช.ทั้งปุระชัย และภรรยา มีทรัพย์สินรวมกันกว่า 300 ล้านบาท
ปุระชัย สนช.ของโจร คมช.

ทั้งๆที่ปุระชัยเป็นเพื่อนร่วมรุ่นของคุณทักษิณ ที่เคยร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยชินวัตรและพรรคไทยรักไทยและเป็นเลขาธิการพรรคไทยรักไทยคนแรก และถนัดในสร้างภาพว่าเป็นคนซื่อสัตย์ที่ยอมหักไม่ยอมงอ แต่ในที่สุดก็ยอมทำงานเป็นสนช.ให้โจรคมช.เหมือนกับเอ็นจีโอและพวกนักสร้างภาพทั่วไป รวมทั้งการทำหน้าที่เป็นศัตรูกับฝ่ายประชาธิปไตยโดยได้ยืนยันว่าคุณทักษิณต้องรับโทษตามกฎหมู่ของพวกโจรคมช.ก่อน ถึงจะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับการอภัยโทษ

หมอประเวศ
กับชมรมแพทย์ชนบท


หมอประเวศ ราษฎรอาวุโส
ชมรมแพทย์ชนบท เกิดจากการรวมตัวกันของแพทย์เพื่อทำประโยชน์ให้คนชนบท ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 
2523 และได้จัดตั้งมูลนิธิแพทย์ชนบทขึ้นมาในปี 2525 โดยมีที่ปรึกษาคนสำคัญคือ หมอประเวศ วะสี ซึ่งได้ก่อตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ โดยโอนงานมาจากคณะกรรมการระบาดวิทยาที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์แห่งสหรัฐ


หมอประเวศ ประธานกลุ่มสามพราน เม.ย. 2553
กลุ่มคนเหล่านี้มีการประชุมกันเป็นประจำที่สวนสามพราน  มีความคิดจะพัฒนาระบบสาธารณสุขโดยจัดตั้งองค์กรที่ไม่อยู่ในภาคราชการ แต่มีงบประมาณแผ่นดินมาใช้ในการทำงานตามแนวคิดของพวกตน โดยอาศัยทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูขา หรือบันได 3 ขั้น ของหมอประเวศ คือ
1.อ้างผลการวิจัย จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สวรส. ที่จัดตั้งสมัยนายกอานันท์ โดยมีหมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธานคณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์การวิจัย
2.การออกมาทำให้คนในสังคมตื่นตระหนก โดยหมอประเวศ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ


สสส.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
แหล่งหากินสำคัญ
3.ผลักดันรัฐบาลออกฎหมาย เพื่อให้มีเงินกองทุนมาบริหารงานตามกฎเกณฑ์ที่พวกตนต้องการ
โดยการดึงเอาการทำงานไปไว้ในองค์กรอิสระนอกเหนือการควบคุมของกระทรวงสาธารณสุข เช่น จัดตั้งสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) สมัยรัฐบาลชวนสอง แล้วมาแตกแขนงเป็นสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมัยทักษิณ

หมอมงคล ณ สงขลา
รมต.สาธารณสุขของโจร คมช
.
ในช่วงรัฐบาลคมช.สุรยุทธ์ได้จัดตั้งสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โดยมีหมอมงคล ณ สงขลาเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุขและได้สั่งให้เลิกจ่าย 30 บาท เพื่อลบภาพของคุณทักษิณออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หมอมงคลยังได้เพิ่มอำนาจการสั่งจ่ายเงินของเลขาธิการสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ถึงครั้งละ 1,000 ล้านบาท และได้ร่วมกับ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขานุการรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลโจรสุรยุทธ์ผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติในปี 2550



หมออำพล จินดาวัฒนะ
เลขาธิการสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ
โดยหมออำพลได้เป็นเลขา ธิการ สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ ( สช. ) คนแรก  และผลักดันให้รัฐบาลมาร์คแมลงสาบตั้งสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (สพคส.) ในปี
2553 เพื่อรวมกองทุนสุขภาพทั้ง 3 กองทุนเข้าเป็นกองทุนเดียวกัน โดยผู้ที่ไปมีอำนาจในการบริหารองค์กรดังกล่าว ล้วนเป็นคนที่ใกล้ชิดกับชมรมแพทย์ชนบท และพวกเอ็นจีโอสาธารณสุขที่ใกล้ชิดกัน



อำพล จินดาวัฒนะ สนช.2550 สนับสนุนองค์กรชุมชน
พวกเขาจะกำหนดกฎระเบียบในการบริหารและใช้จ่ายเงินกองทุน ที่ให้ค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารกองทุนในอัตราที่สูงมาก และยังโยกเอาเงินงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวไปจัดสรรเป็นกองทุนย่อย จนทำให้ไม่มีเงินจ่ายให้โรงพยาบาลตามภารกิจที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลจึงขาดเงินงบประมาณในการดูแลรักษาประชาชน โดยที่นักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยไม่ค่อยรู้เท่าทันคนพวกนี้ เพราะนักการเมืองมีอำนาจในการบริหารไม่นาน แต่คนกลุ่มนี้อยู่กับระบบราชการมานานหลายสมัย


อานันท์และประเวศ แถลงเรื่องปฏิรูปประเทศ 8 กค. 2553
คนพวกนี้ยังได้พยายามที่จะปฏิรูปประเทศไทยในขอบข่ายที่สูงยิ่งขึ้นไปอีก โดยให้นายกมาร์คแมลงสาบแต่งตั้งคณะทำงานปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ ให้รัฐบาลจ่ายเงินงบประมาณครั้งแรก
600 ล้านบาทเพื่อใช้ดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 19 คนมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ส่วนคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป 27 คน มีหมอประเวศ เป็นประธาน




หมอวิชัย โชควิวัฒน์
หมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ
ทั้งสองคณะมีหมอวิชัย โชควิวัฒน์เป็นเลขานุการ มีหมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธานสมัชชาปฏิรูปประเทศ แล้วส่งต่อให้สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ที่ มี หมออำพล จินดาวัฒนะ เป็นเลขาธิการ รับช่วงจัดทำ สมัชชาปฏิรูปประเทศ ให้ครบทุกจังหวัดในปี 2555 โดยนายอานันท์บอกว่าจะอยู่ทำงาน 3 ปี ทั้งๆรัฐบาลมาร์คแมลงสาบที่เป็นผู้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมามีอำนาจเหลืออยู่เพียงแค่หนึ่งปีครึ่ง และต้องใช้งบประมาณถึง 600 ล้านบาทในการปฏิรูปประเทศ แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 คณะกรรมการปฎิรูปก็ต้องประกาศยุบตัวเองเมื่อ 15 พฤษภาคม 2554 เพราะพรรคแมลงสาบที่ตั้งคนพวกนี้ขึ้นมาได้พ่ายแพ้การเลือกตั้งอย่างผิดคาด

เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ไล่่ล่าหมอประดิษฐ์ สินธวณรงค์
เมื่อเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ของพรรคเพื่อไทย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชุดใหม่แทนชุดเดิมที่ครบวาระ แต่ไม่มีรายชื่อคนจากชมรมแพทย์ชนบทและเอ็นจีโอหน้าเก่าๆในจำนวนที่มากเหมือนเดิม ทำให้คนกลุ่มนี้พากันออกมาโจมตีการแต่งตั้งกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง

สารี อ๋องสมหวังและวิฑูรย์ เอี่ยมจำรูญ
แถลงพบสารตกค้างในข้าวถุง 16 กค. 2556
มีการประท้วงของกรรมการในกลุ่มเอ็นจีโอโดยการไม่เข้าประชุมบ้าง และชมรมแพทย์ชนบทได้ออกแถลงการณ์ว่ามีคนจ้องจะล้มหลักประกันสุขภาพเป็นระยะๆ เช่น หมอเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ หมอวิชัย โชควิวัฒน์ หมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นายอัมมาร สยามวาลา น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ฯลฯ ซึ่งต่างก็เป็นอนุกรรมการคนละ 1- 4 คณะ ในขณะที่เป็นกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ - สปสช. ด้วย

31 มี.ค. 2556 หมอเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ
ประธานชมรมแพทย์ชนบท
เคลื่อนไหวขับไล่หมอประดิษฐ์ สินธวณรงค์
พวกชมรมแพทย์ชนบทของหมอประเวศจะเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐมนตรีสาธารณสุขของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยตั้งแต่สมัยนายวิทยา บุรณศิริมาจนถึงสมัยหมอประดิษฐ สินธวณรงค์เพราะไปรู้ทันการทำมาหากินของพวกแพทย์ชนบทและเอ็นจีโอที่มีหมอประเวศเป็นหัวเรือใหญ่ จากการพยายามเข้าไปคุมการบริหารงบประมาณด้านสาธารณสุขนับแสนล้านบาทในองค์กรที่พวกเขาช่วยกันผลักดันขึ้นมา รวมทั้งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ
หมอประดิษฐ์ สินธวณรงค์
รมต.สาธารณสุข พรรคเพื่อไทย
โดยที่กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เคยผ่านการเลือกตั้งตามระบอบประชา ธิปไตย ไม่ได้เป็นผู้แทน ปวงชน ชาวไทย แต่เข้ามาใช้อำนาจรัฐโดยการตกลงกับนักการเมืองที่ไม่รู้เท่าทันแผนการของพวกเขาที่ได้สร้างและขยายเครือข่ายจากชมรมแพทย์ชนบท ไปประสานกับเอ็นจีโอและนักการเมืองได้อย่างกลมกลืน ถ้ารัฐมนตรีสาธารณสุขคนใดยอมร่วมมือด้วย ก็จะไม่ถูกโจมตี แต่ถ้ารัฐมนตรีคนใด ไม่ทำตามความต้องการของพวกเขา ก็จะถูกเปิดโปงความทุจริตทั้งที่เป็นจริงหรือไม่จริงก็ได้
ลักษณะที่คนกลุ่มนี้ผลักดันให้มีการออกกฎหมายเพื่อตั้งองค์กรอิสระที่ไม่ขึ้นต่อรัฐบาล และพรรคพวกของตนเข้าไปผูกขาดดำเนินงานก็คงไม่ต่างจากขบวนการตุลาโกงวิบัติที่มาในนามพวกองค์กรอิสระหรือองค์กรขยะ เช่น พวก กกต. ปปช. ศาลโปกคลอง ศาลรัดทำมะนวย หรืออาจรวมถึงพวก กสทช. โดยคนพวกนี้มาในนามของคนดี คนมีคุณธรรม เป็นกลาง มีความเป็นอิสระ อยากจะทำอะไรก็ได้ ต่างจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่มักถูกกล่าวหาถูกโจมตีทั้งๆที่มีการตรวจสอบสารพัดมากมาย

อานันท์ และ ประเวศ สองเจ้าพ่อเอ็นจีโอไทย
สมัยที่คุณทักษิณเป็นนายกฯใหม่ๆ พวกหมอประเวศ หมอเสมก็เห็นว่าทักษิณเป็นความหวัง เพราะเป็นเศรษฐีมาทำงานให้คนจน คงจะได้คนดีใจบุญขอกันกินได้ง่ายๆแบบพระเวสสันดร แต่ต่อมาก็เริ่มเห็นกันว่าคุณทักษิณไม่ใช่หมูอย่างที่คิด แถมโดนคุณทักษิณด่าอีกว่า พวกของหมอประเวศเป็นพวกแผ่นเสียงตกร่อง เป็นนายหน้าค้าความจน ต่อไปนี้รัฐบาลทักษิณจะทำงานถึงลูกถึงคนกับคนจนเอง ไม่ต้องผ่านนายหน้าแบบพวกหมอประเวศ พวกนายอานันท์ เมื่อหมอประเวศถูกแทงใจดำ ก็เลยถึงจุดแตกหัก จากแรกๆที่เคยเชียร์ ก็ค่อยๆผิดหวัง สะสมจากความไม่พอใจจนกลายเป็นศัตรู จนถึงขั้นขอนายกฯพระราชทานมาตรา 7 และยังไปรับงานในสภาปฏิรูปประเทศของรัฐบาลมาร์คแมลงสาบ

ส. ศิวรักษ์ : ปัญญาชนสยอง
ส. ศิวลักษณ์ ปัญญาชนสยาม
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นนักเขียนและนักวิชาการอิสระ มีสมญานามว่า ปัญญาชนสยาม มีชื่อเสียงมากในการวิจารณ์อย่างไม่เกรงใจใคร แม้แต่กษัตริย์ภูมิพล  จนได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพถึงสองครั้ง
ส.ศิวลักษณ์ เป็นบรรณาธิการคนแรกของวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ในปี 2505  ซึ่งมีส่วนสำคัญทางความคิดที่นำไปสู่กรณี 14 ตุลาคม 2516 จากทัศนะที่ต่อต้านระบอบทหาร แต่มีจุดยืนอนุรักษ์นิยมที่ชื่นชมชนชั้นเจ้าและขุนนาง รวมถึงการต่อต้านนายปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎร เพราะถือว่าเป็นพวกเผด็จการทหาร รวมทั้งต่อต้านจีนและพวกคอมมิวนิสต์ แต่ชมชอบทะไลลามะ


ส. ศิวลักษณ์ ลอกคราบอานันท์
ส.ศิวรักษ์ เริ่มเปลี่ยนความเชื่อเรื่องนายปรีดี และคณะราษฎร รวมทั้งขบวนการประชาธิปไตยหลังกรณี 6 ตุลาคม 2519  โดย ส.ยอมรับว่า การประเมินปรีดี พนมยงค์ในอดีตของตนนั้นเป็นเรื่องผิดพลาด ปรีดี เป็นคนดีที่ทำเพื่อชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง  และเริ่มมีท่าทีวิพากษ์สถาบันกษัตริย์มากขึ้น ทำให้ถูกจับดำเนินคดีตามมาตรา 112
หลังกรณีรัฐประหาร รสช. 2534 ได้ปาฐกถาวิพากษ์ รสช.และลอกคราบนายอานันท์ ปัณยารชุน จึงถูก พล.อ.สุจินดา ฟ้องในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส.ได้โจมตีการคลานเข่าและหมอบกราบ ปฏิเสธบทบาทของจอมพลสฤษดิ์  และ วิพากษ์ พรบ.คณะสงฆ์ 2505 โจมตีความไม่เสมอภาคทางชนชั้นและยกย่องคนระดับล่าง โดยเฉพาะการวิพากษ์ศักดินา ถึงขนาดลอกคราบเสด็จพ่อ ร.5 

ส. ศิวลักษณ์ นักต่อสู้เรียกร้องของคนจน
ส.กลายมาเป็นนักต่อสู้ของชนชั้นล่าง และผู้สนับสนุนเอ็นจีโอคนสำคัญ ได้ร่วมต่อสู้กับเอ็นจีโอในแทบทุกกรณี เช่น การต่อต้านเขื่อนน้ำโจนที่ทุ่งใหญ่นเรศวรกาญจนบุรี  สนับสนุนชาวบ้านบ่อนอกและหินกรูดต่อต้านการสร้างโรงงานไฟฟ้าใช้ถ่านหินที่ประจวบคีรีขันธ์ สนับสนุนสมัชชาคนจนเรื่องปากมูลอุบลราชธานี เป็นผู้นำต่อต้านกรณีท่อก๊าซเมืองกาญจนบุรี จนส.กลายเป็นผู้รังเกียจนักการเมือง เห็นว่านักการเมืองทั้งหลายจะต้องทุจริต ทำลายบ้านเมืองอยู่เสมอ เมื่อเอ็นจีโอทั้งหลายเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ตั้งแต่ปี 2547 

ส.ศิวลักษณ์ รู้ทันประเทศไทย  เอเอสทีวี
โจมตีระบอบทักษิณ 26 มิย. 2549
ส. ศิวรักษ์ ก็ได้เข้าร่วมตั้งแต่เริ่มแรก โดยปาฐกถาเรื่อง ขจัดทักษิณ : ธนาธิปไตย  เขาเสนอว่ารัฐบาลทักษิณเป็นศัตรูของประชาธิปไตย จึงเสนอคำขวัญว่า เอาทักษิณคืนไป เอาประชาธิปไตยคืนมา โจมตีทักษิณว่าเป็นเครื่องมือของโลกาภิวัตน์ รับใช้ต่างชาติ ทำลายพุทธศาสนา และต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ความเกลียดชังที่มีต่อทักษิณ กลายเป็นอคติฝังใจ จนถึงกับออกมาสนับสนุนให้เลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่ากทม.ในปี 2556 ทั้งๆที่รู้ดีว่าสุขุมพันธ์เป็นคนไม่เอาไหน โดยอ้างว่า ทักษิณเลวกว่าพรรคแมลงสาบ
แม้ว่าส.ศิวรักษ์จะได้เคยสร้างคุณูปการให้กับสังคมไทยหลายเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องการวิพากษ์ระบอบศักดินา แต่การที่ ส. มีอคติต่อทักษิณ ถึงขั้นใส่ร้ายป้ายสีเกินจริง หาว่าล้มเจ้า ทำให้ส.กลายเป็นคนที่มีมิจฉาทิฏฐิมาก มีเหตุผลน้อยลง ขาดหลักวิชาการ อนุรักษ์สุดขั้วยิ่งกว่าพรรคแมลงสาบ ไม่ก้าวหน้า และไม่สอดคล้องกับยุคสมัยแม้แต่น้อย


พิภพ ธงไช ยลูกศิษย์ ส. ศิวลักษณ์
ส่วนพิภพ ธงชัย ได้พบกับ ส. ศิวรักษ์ในปี 2509  และถูกชักชวนมาทำกิจกรรมนอกสถาบัน ตั้งกลุ่มปริทัศน์เสวนา ร่วมก่อตั้งมูลนิธิโกมลคีมทอง ทำหนังสือสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ปาจารยสาร ประชาชาติรายสัปดาห์ จัตุรัสรายสัปดาห์ ร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญสมัยรัฐบาลถนอม  รณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น ต่อต้านฐานทัพอเมริกา ต่อต้านสงครามเวียดนาม และต่อต้านเผด็จการทหาร จนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ก่อตั้งมูลนิธิเด็กกับหมอประเวศ เป็นกรรมการมูลนิธิหมอชาวบ้าน  เป็นรองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)  เป็นกรรมการมูลนิธิปรีดี พนมยงค์  เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับสมัชชาคนจน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านกรูด-บ่อนอกต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้า และกลุ่มจะนะ ที่จังหวัดสงขลาที่ต่อต้านการวางท่อก๊าซไทย-มาเลย์เซีย เคลื่อนไหวสนับสนุนรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนในปี  2540 เข้าร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์กาญจนบุรี เคลื่อนไหวต่อต้านการวางท่อก๊าซไทย-พม่า ในรัฐบาลชวน 2 แล้วลากยาวมาถึงรัฐบาลทักษิณที่ยืนยันว่าต้องซื้อก๊าซจากพม่ามาพัฒนาประเทศ  แต่พิภพ ธงไชยและส.ศิวลักษณ์ เป็นพวกต่อต้านทุนนิยม ต่อต้านโลกาภิวัตน์ และมองว่าทักษิณเอาใจเผด็จการทหารพม่า มารังแกพวกอองซานซูจีที่เป็นฝ่ายประชาธิปไตย เพราะไปสนับสนุนการซื้อก๊าซจากรัฐบาลทหารพม่าและยังไปปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือรัฐบาลพม่า แบบมีผลประโยชน์ทับซ้อน

พิภพ และ ภรรยา รัชนี ธงไชย
พิภพ ธงไชย มีภรรยาชื่อรัชนี ธงไชย เป็นครูใหญ่โรงเรียนหมู่บ้านเด็กที่กาญจนบุรี ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2521 เป็นการจัดการศึกษาทางเลือก เป็นต้นแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือโฮมสคูลที่ให้สอนลูกหลานกันเอาเองที่บ้านเป็นแห่งแรกของไทย รัชนีได้เป็นคณะกรรมการปฏิรูปที่ตั้งขึ้นในสมัยมาร์คแมลงสาบที่มีนายอานันท์ ปันยารชุนเป็นประธาน เมื่อกลางปี
2553
ส่วน ส. ศิวลักษณ์โดนคดีท่อก๊าซสมัยรัฐบาลชวนตั้งแต่ปี
2541 ผ่านมายุคทักษิณก็ไปขอให้ทักษิณช่วย แต่ทักษิณไม่ได้ช่วย พอ ส. ขึ้นเวทีพันธมารด่าทักษิณ ก็ไปโดนคดีหมิ่น 112 ที่ขอนแก่นแล้วโดนตำรวจตามมาเล่นงาน ทำให้ ส.เข้าใจว่าทักษิณสั่งเล่นงาน จึงผูกใจเจ็บ หวังจะแก้แค้นเอาคืน ส. ศิวลักษณ์เป็นพวกต่อต้านทุนนิยมแบบสุดขั้วอยู่แล้ว ขนาดลูกชายของแกต้องหนีไปดูทีวีข้างบ้าน เพราะบ้านแกไม่มีทีวี  แกอ้างว่าไม่อยากโดนมอมเมาโดยทีวี บางทีก็โดนภรรยาด่าบ่อยๆเรื่องไม่ยอมให้มีทีวีในบ้าน

รสนา โตสิตระกูล


รสนา และ สันติสุข โสภณศิริ
รสนาเป็นสาวกเอกฝ่ายหญิงของส. ศิวรักษ์ มีสามีคือสันติสุข โสภณศิริ สาวกเอกฝ่ายชายของส.ศิวลักษณ์ รสนาเป็นนักรณรงค์ด้านสุขภาพและสิทธิผู้บริโภค มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงขบวนการทุจริตกรณีการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ในกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี  2541 เคลื่อนไหวยับยั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อ ปี 2548 ศาลปกครองจึงได้โอกาสเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาการแปรรูป กฟผ. ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตต้องเสียโอกาสการระดมทุนเพื่อประกันการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการ 
สค. 2549 รสนา-สารี อ๋องสมหวัง
ยื่นศาลปกครอง
เพิกถอนการแปรรูป ปตท.
รสนาเป็นเลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย กรรมการอิสระ อสมท. กรรมการผู้จัดการมูลนิธิโกมลคีมทอง แกนนำเครือข่าย 30 องค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อผู้บริโภค กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ รวมทั้งเป็นหนึ่งในแกนนำฟ้องร้องให้ถอนปตท.ออกจากตลาดหลักทรัพย์ รสนาเข้าร่วมกับพันธมารเรียกร้องให้นายกทักษิณลาออกตั้งแต่ปี 2548 เรื่อยมาจนเมื่อได้เป็น สว.กรุงเทพ ในปี 2551  ก็เคลื่อนไหวในนาม กลุ่ม 40 สว. ที่ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้งของโจรคมช.

ศาลปกครองยกเลิกการแปรรูปกฟผ. 15 พย. 2548
รสนามีแนวคิดที่ปิดกั้นและขัดขวางกฎหมายที่สนับสนุนธุรกิจและการลงทุน มีบทบาทที่พยายามนำความล่มสลายมาสู่บริษัท ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศไทย อันเป็นความภาคภูมิใจและความยินดีของนักลงทุนทั้งไทยและเทศ รสนามีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องให้ยกเลิกการเข้าตลาดหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่ชัดเจนในการต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อการแข่งขันที่เสรี หรือปฏิเสธเศรษฐกิจทุนนิยม ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในความเป็นจริงแต่อย่างใด


รสนา และกลุ่ม 40 สว. แถลงปกป้อง
การแก้รัดทำมะนวย 2550 ของโจร คมช
.
แต่รสนาก็อ้างว่าตนกำลังทำสงครามในนามของผู้บริโภค  ทั้งๆที่เวียตนาม ลาว เขมร พยายามปรับเข้าสู่กระบวนการเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ให้เกิดความสะดวก ความอยู่ดีกินดี แก่ประชาชนให้มากที่สุดพฤติการณ์และการแสดงออกของรสนาจึงยืนอยู่ข้างฝ่ายทุนเก่าที่ไม่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงของโลก หรือขอให้ค่อยเป็นค่อยไปและต้องให้ฝ่ายตนได้ประโยชน์ ขณะที่รสนาโจมตีรัฐบาลทักษิณที่มาจากการเลือกตั้งด้วยข้อหาทุจริตและไม่มีธรรมาภิบาล โดยไม่อาจพิสูจน์ความจริงข้อใดได้เลย แต่พอมีการรัฐประหารยึดอำนาจ รสนากลับไม่เคยทวงถามเรื่องความชอบธรรมหรือธรรมาภิบาลของพวกคณะรัฐประหารที่ปล้นอำนาจของประชาชน ทั้งในระหว่างที่เผด็จการคมช.ปกครองประเทศ ก็มีการกระทำหลายอย่างที่ไม่โปร่งใส และไม่มีการตรวจสอบ ทำให้ประเทศชาติเสียหายทั้งในทางเกียรติภูมิ และในทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และ ปตท.ที่รสนาอ้างว่าประเทศชาติเสียหายและนำไปฟ้องร้องหลายเท่า แต่รสนาก็ไม่เคยลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ให้ประชาชนพ้นจากวงจรอุบาทว์ของการรัฐประหารที่ทำให้ประเทศชาติเสียหายอย่างหนักหนาสาหัส

รสนาในงานศพร่มเกล้า2ปี 11เมย. 2555 กล่าวว่า
คมช..ผิดพลาดที่ไม่รีบกำจัดทักษิณให้สิ้นซาก
รสนา เห็นว่า พื้นฐานเศรษฐกิจควรเป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทุนนิยมแบบอยู่ภายใต้การเมืองการครอบงำของทุนศักดินาเก่าที่มีธรรมาภิบาล ซึ่งธรรมาภิบาลก็ไม่เคยมีอยู่จริงในการเมืองและเศรษฐกิจแบบทุนศักดินาเก่า แต่รสนาเลือกทำลายบางทุนบางบริษัทบางประเด็น แล้วกลับสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจแบบทุนศักดินาเก่า โดยไม่ได้ต่อสู้กับปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่กลับไปขานรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มทุนศักดินาเก่ามาโดยตลอด การเคลื่อนทางการเมืองภาคประชาชนของรสนาจึงเป็นได้แค่การสร้างภาพที่ไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของเอ็นจีโอไทยทั่วๆไป

จำลองและสันติอโศก

โพธิรักษ์ หรือ รัก รักพงษ์

ในปี 2532 สังฆราช (วาสน์ วาสโน) มีคำสั่งให้โพธิรักษ์สึก แต่โพธิรักษ์อ้างว่าได้ประกาศแยกตัวไม่ขึ้นกับคณะสงฆ์ไทย ที่เรียกว่านานาสังวาส คือ ต่างคนต่างปฏิบัติตามความเชื่อของตนก่อนหน้าแล้วตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2518  และได้ไปตั้งอาศรมสันติอโศก ที่แขวงคลองกุ่ม กรุงเทพ , อาศรมศรีษะอโศก ที่ศรีสะเกษ, อาศรมศาลีอโศก ที่นครสวรรค์ และอาศรมปฐมอโศก ที่นครปฐม  อาศรมทั้งสี่มีโบสถ์ ศาลา กุฏิเหมือนวัดไทย สำนักสันติอโศกรับบวชคน ตามกฎระเบียบของชาวอโศก

ต่อมาในเดือนมิถุนายน
2532 พิศาล มูลศาสตร์สาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทยสั่งให้จับกุมโพธิรักษ์และพวกทั้งหมด รวม 105 คน ในวันที่ 8 สิงหาคม 2532 อัยการได้ยื่นฟ้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน โดยศาลฎีกาวินิจฉัยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2541 ว่า ให้จำคุกโพธิรักษ์ 54 เดือน โดยให้รอลงอาญามีกำหนด 2
ปี


พลตรี จำลอง ศรีเมือง ยุคก่อตั้งพรรคพลังธรรม
สำนักสันติอโศก ของโพธิรักษ์ ได้ส่งจำลอง ศรีเมือง ศิษย์เอก ในตำแหน่งประธานกองทัพธรรมมูลนิธิ ก่อตั้งพรรคพลังธรรม ต่อมาได้เชิญคุณทักษิณเข้าร่วมรัฐบาล เมื่อคุณทักษิณตั้งพรรคไทยรักไทย ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากจำลองและสันติอโศก จำลองได้สร้างโรงเรียนผู้นำที่กาญจนบุรี ตั้งแต่ปี  2538 โดยฝึกการใช้ชีวิตกับธรรมชาติ ทำปุ๋ย ปลูกผักกินเอง  ใช้เวลาฝึกอบรม 4 วัน 3 คืน นายกทักษิณได้เดินทางไปร่วมกิจกรรม เพื่อให้เกียรติแก่จำลอง และแต่งตั้งจำลองเป็นที่ปรึกษานายกแผนกทรัพยากรมนุษย์
ต่อมาในวันที่
18 มิถุนายน 2547 นายกทักษิณ ลงนามประกาศจัดตั้ง ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม เป็นหน่วยงานอิสระ โดยมีจำลอง เป็นผู้อำนวยการคนแรก พร้อมทั้งให้ดูแลการจัดงานวิสาขบูชาโลก ในเดือนพฤษภาคม 2548 โดยจำลองได้ดึงเอาสันติอโศกมาร่วมจัดงาน

ผลงานของจำลองในอดีต

- ต่อต้านการแก้ไขกฎหมายทำแท้ง


การทำแท้งเถื่อนเป็นอันตรายต่อมารดาสูงมาก
ประเทศไทยมีกฎหมายที่ระบุเรื่องการทำแท้งคือ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 ซึ่งระบุว่าการทำแท้งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ยกเว้นเป็นการท้องจากการถูกข่มขืน หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เป็นแม่ เงื่อนไขนี้ทำให้ผู้หญิงที่ท้องจากสาเหตุอื่นๆ ไม่สามารถทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมาย ต้องทำแท้งเถื่อนกันมากมาย
มีการเสนอแก้มาตรา 305 โดยเพิ่มข้อยกเว้นให้ทำแท้งได้ถูกกฎหมายอีก 2 อย่างหรือสองกรณี คือหากทารกในครรภ์คลอดออกมาจะพิการทางกายหรือทางจิต หรือ เมื่อการคุมกำเนิดซึ่งได้รับบริการจากแพทย์แล้วไม่ได้ผล โดยกฎหมายผ่านสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2524 ด้วยเสียงเกือบเป็นเอกฉันท์คือ 174 เสียงต่อ 2 เสียง

 
พ.อ.จำลอง คัดค้านการแก้ไข
กฎหมายทำแท้ง
แต่ก็เกิดขบวนการที่ไม่เห็นด้วยโดยมีผู้นำขบวนการ คือ พ.อ. จำลอง ศรีเมืองเลขาธิการนายกเปรมิกาและเป็นวุฒิสมาชิกด้วย จำลองประกาศต่อต้านการแก้กฎหมายทำแท้งด้วยการลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการนายกฯ แล้วมาตั้งขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อล้มกฎหมายนี้ในขั้นวุฒิสภา โดยการสร้างวาทกรรมว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ทำแท้งเสรีและจะเปิดทางให้สังคมไทยเป็นสังคมฟรีเซ็กส์ ซึ่งเป็นกลยุทธที่ได้ผลสำหรับสังคมตอแหลแบบไทยๆ เพราะสามารถดึงเสียงสนับสนุนได้ท่วมท้น 

พบศพทารกรวมกว่าสองพันศพที่วัดไผ่เงิน 19 พย. 2553
ในที่สุดร่างกฎหมายขอขยายเงื่อนไขการทำแท้งก็ตกไปในระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ โดยวุฒิสมาชิกในสมัยนั้น ลงมติตรงกันข้ามกับสภาผู้แทน คือไม่เห็นด้วย 147 เสียง และเห็นด้วยเพียง 1 เสียง หลังจากนั้นมีความพยายามแก้กฎหมายนี้อีกหลายครั้ง แต่อยู่ในระดับแค่การพูดคุยโดยไม่ได้เสนอเป็นร่างกฎหมายต่อสภาแต่อย่างใด เมื่อการทำแท้งเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทย ทำให้ผู้หญิงไทยที่ท้องโดยไม่พร้อม ต้องหันไปพึ่งร้านขายยาเพื่อซื้อขับประจำเดือนหรือคลีนิคทำแท้งเถื่อนซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพของมารดา
พลตรีจำลอง ประธานมูลนิธิกองทัพธรรม ยังมีบทบาทในการอ้างศาสนาและคุณธรรมหลายครั้ง เช่น  ต่อต้านการนำโรงกลั่นน้ำมันบางจากเข้าตลาดหลักทรัพย์ทั้งๆที่มันเป็นการระดมทุนเพื่อแก้ปัญหาการขาดทุนของบางจาก


- ต่อต้านเบียร์ช้าง
เข้าตลาดหลักทรัพย์


จำลอง คัดค้านการจดทะเบียนขายหุ้นบมจ.ไทยเบเวอเรจ
ผลงานที่จำลอง ศรีเมืองทำสำเร็จคือต่อต้านเบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2548 จำลองในฐานะประธานกองทัพธรรม และประธานศูนย์คุณธรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณของรัฐบาลทักษิณเป็นเงินจำนวนมาก สามารถหาแนวร่วมมีผู้เข้ามาร่วมชุมนุมนับหมื่นคน ต่อต้านการนำเอาบริษัทไทยเบฟเวอเรจผู้ผลิตเบียร์ช้างมิให้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยอ้างว่าเป็นการมอมเมาประชาชน ให้ผิดศีลข้อ 5 โดยผู้คัดค้านได้ตั้งเวทีปราศรัย และขึ้นป้ายข้อความเรียกร้อง ใช้พื้นที่เต็ม 4 ช่องทางของถนนวิทยุหน้าสำนักงานใหญ่ตลาดหลักทรัพย์  ทำให้รถไม่สามารถสัญจรผ่านได้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ต้องยอมแพ้ต่อจำลองโดยได้มีมติให้บริษัทไทยเบฟเวอเรจไปจดทะเบียนซื้อขายหุ้นในต่างประเทศได้ ทั้งๆที่เป็นบริษัทของคนไทยแท้ๆ แต่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่ได้ ต้องไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ทำให้สิงคโปร์ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบทางสังคม กลับตกอยู่ที่คนไทยเช่นเดิม เพราะเบียร์ช้างก็ยังได้เงินก้อนใหญ่จากการระดมทุนในตลาดหุ้นสิงคโปร์ นำมาขยายธุรกิจโรงเหล้าโรงเบียร์ในประเทศไทยได้เหมือนเดิม  แต่ประเทศไทยกลับต้องสูญเสียมูลค่าหุ้นทางเศรษฐกิจก้อนใหญ่ 2 - 300,000 ล้านบาท สูญเสียภาษีเงินได้อีกปีละมากมายมหาศาล บริษัทหลักทรัพย์ก็สูญเสียรายได้จากการซื้อขาย ไม่ต่ำกว่าปีละ 500 ล้านบาท

จำลอง ปรึกษาหารือสนธิลิ้ม ช่วงชุมนุมของพันธมาร
สามปีต่อมาบริษัทไทยเบฟเวอเรจได้หวนกลับมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยเพื่อเสนอขายหุ้น 80 ล้านหุ้น ในปลายปี 2551 หลังจากที่จำลองหันมาเข้าร่วมเป็นแกนนำพันธมารของสนธิลิ้ม แต่จำลองอ้างว่า พันธมารมีภารกิจหลักในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล โดยไม่ยอมรับความจริงว่าเบียร์ช้างได้มาเป็นผู้สนับสนุนหลักในการเคลื่อนไหวของพันธมาร แล้วจำลองจะกล้าไปประท้วงคนที่เป็นท่อน้ำเลี้ยงได้อย่างไร เพราะการชุมนุมของพันธมารใช้เวลาหลายเดือนต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล

- จำลองขอเงินทักษิณ
แค่ 2.6 หมื่นล้านบาทช่วยคนจน


จำลองปราศรัยโจมตีนายกทักษิณ
31 มกราคม 2549  จำลองอดีตที่ปรึกษานายกทักษิณ ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกทักษิณให้เจียดเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท จากเงิน 73,000 ล้านบาท ที่ได้จากการขายหุ้นให้เทมาเส็กบริจาคช่วยคนจน เพราะตนเคยคัดค้านรัฐบาลที่แล้ว ไม่ให้ขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ เช่น หุ้นบางจากให้ต่างชาติ หากจะขายขอให้ขายให้คนไทย เพราะคนไทยมีกำลังซื้อ เช่น หุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรี ขายหมดภาย 17 นาทีเศษ หุ้นปตท. ก็ขายหมดใน 1 นาทีเศษ หากนายกทักษิณขายหุ้นชินคอร์ปให้คนไทย รับรองขายหมดแน่นอน แม้การขายหุ้นครั้งนี้จะกระทำการถูกต้องตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ คือไม่ต้องเสียภาษี 37% หรือ 26,000 ล้านบาทเศษ หากนายกทักษิณนำไปช่วยคนจนในจำนวน 26,000 ล้านบาท กะเหลือเงินอีกถึง 46,000 ล้านบาทเศษ กินใช้ 1,000 ชาติก็ไม่หมด

ภูมิพลเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
หลายปีซ้อน
จำลองพูดเองเออเอง ทั้งๆที่มันเป็นเงินของคุณทักษิณที่หามาได้เองจากการลงทุนที่ต้องเสี่ยงต้องใช้ความรู้ความสามารถและการบริหารในธุรกิจที่เติบโตสอดคล้องกับความต้องการของตลาดสมัยใหม่ ที่จริงเศรษฐีไทยก็มีหลายคนโดยเฉพาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งมีทรัพย์สินมากกว่ามหาเศรษฐีไทยสิบอันดับแรกมารวมกันเสียอีก  ส่วนบริษัทบางจากก็มีปัญหาขาดทุนหนักจากการบริหารของนายโสภณ สุภาพงษ์จนต้องระดมทุนจากต่างชาติให้มาช่วยฟื้นกิจการ จำลองเองก็ดีแต่พูดพล่อยๆว่าคนไทยจะซื้อหุ้นได้   ซึ่งที่จริงคุณทักษิณเป็นเจ้าของกิจการดาวเทียมเพียงคนเดียวในประเทศไทยและต้องขายให้สิงคโปร์ซึ่งมีศักยภาพด้านกิจการดาวเทียมทั้งความรู้เครือข่ายและเงินทุนที่สูงกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ ส่วนจำลองก็เป็นได้แค่พวกที่เคร่งครัดในลัทธิความเชื่อที่คับแคบและดื้อด้านที่ไม่เคยทำธุรกิจเป็นเรื่องเป็นราวอะไรเลย

งานรับกลดที่ปฐมอโศก ผู้ผ่านอบรมผู้นำเยาวชน 2547
ความขัดแย้งหรือความไม่พอใจที่พลตรีจำลองมีต่อนายกทักษิณ มีสาเหตุมาจากเรื่องการสนับสนุนโครงการยุวชนที่จำลองต้องการของบประมาณทำโครงการแบบผูกพันเป็นรายปีๆละ
150 ล้านบาท นายกทักษิณได้เอาเงินแบ่งจากกำไรหวยบนดินให้จำลอง 150 ล้านบาท แต่จำลองไม่พอใจมากโดยอ้างว่าเป็นเงินสกปรกจากการพนัน และนำเช็ค 150 ล้านบาทไปคืนนายกทักษิณ

จำลองในโรงเรียนผู้นำ ต.พุประดู่ อ.เมือง กาญจนบุรี
แต่เรื่องที่หนักกว่านั้นก็คือจำลองขอที่ดินในเขตจังหวัดกาญจนบุรีเชื่อมต่อกับอำเภออู่ทองสุพรรณบุรีเป็นเนื้อที่นับพันไร่โดยอ้างว่าเป็นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อนำมาเปิดเป็นค่ายอบรมเยาวชนจากการที่นายกทักษิณเคยให้ทุนส่งเยาวชนไปอบรมที่โรงเรียนชาวนาในเกาหลีใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2544  แต่กลับตรวจพบว่าเป็นเขตป่าสมบูรณ์ที่มีถนนตัดผ่านและถูกกรมป่าไม้ฟ้องดำเนินคดีฐานบุกรุกป่าสงวน เมื่อนายกทักษิณไม่สามารถเอาที่ดินดังกล่าวให้พลตรีจำลองได้ ทำให้จำลองโกรธมาก หาว่านายกทักษิณไม่ยอมช่วยเหลือ ตั้งแต่นั้นมาจำลองก็หันมาเป็นศัตรูตามจองล้างจองผลาญนายกทักษิณตลอดมา สาเหตุก็คล้ายกับที่สนธิลิ้มขัดแย้งกับนายกทักษิณ แต่จำลองมักอ้างว่าที่ตนต้องต้องโจมตีทักษิณเป็นเพราะนายกทักษิณเป็นคนไม่ดี มีผลประโยชน์ทับซ้อน

…………….