วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้ทันเจ้าของคอกม้า ตอน คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า C2 St 09




ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/At2pd-nT/See_Through_Stable_Owner_09.html
หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?q21a87bi58qa9my
รู้ทันเจ้าของคอกม้า
ตอน คณะปฏิกูลการปกครอง
อันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า


ที่มาของคณะปฏิกูลการปกครอง


กษัตริย์ภูมิพลและราชินีสิริกิติ์ให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และ พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข เข้าเฝ้า ถวายรายงานสถานการณ์ เหตุการปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า เมื่อเวลา 00.19 น. วันพุธ ที่ 20 กันยายน 2549 ตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต


พลเอกสนธิ หัวหน้าคณะปฏิกูลการปกครองได้ ถวายรายงานว่า การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลนายกทักษิณ ได้ก่อให้เกิดปัญหา ความขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้รักสามัคคีของคนในชาติ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ต่างฝ่ายต่างมุ่งหวังเอาชนะ ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ และมีแนวโน้มนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยประชาชนที่กษัตริย์ภูมิพลหนุนหลังพยายามสร้างสถานการณ์หาเรื่องโจมตี กล่าวหารัฐบาลทักษิณที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริต ประพฤติมิชอบ อย่างกว้างขวาง


หน่วยงานขยะ ที่เป็นเครือข่ายของกษัตริย์ภูมิพลก็ไม่สามารถหาเรื่องเอาผิดนายกทักษิณได้ จนต้องให้นายสนธิ ลิ้มทองกุลปลุกปั่นสร้างความวุ่นวาย รวมทั้งเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อให้ทหารของกษัตริย์ภูมิพลใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ายึดอำนาจ


จากนั้นคณะปฏิกูลการปกครองก็ได้ออกประกาศจำนวน 36 ฉบับเพื่อวางรากฐานอำนาจเผด็จการโดยมีประกาศฉบับที่สำคัญดังนี้ ในการปล้นอำนาจครั้งนี้ กษัตริย์ภูมิพลได้ลงทุนเปิดเผยตนเองโดยเรียกพวกทหารโจรเข้าเฝ้าเพื่อประกาศยืนยันให้ประชาชนไทยและนานาชาติได้เห็นว่าพระองค์ให้การสนับสนุนการปล้นอำนาจในครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพื่อสยบยั้งการต่อต้านจากทุกฝ่ายโดยเด็ดขาดในทันที รวมทั้งได้หลอกนายกทักษิณว่าเหตุการณ์จะกลับสู่สภาพปกติในเวลาไม่นานนัก  ขอให้ยอมศิโรราบไปก่อน




ประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 3
ตามที่คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า ได้ทำการปล้นอำนาจของปวงชนและยึดอำนาจปกครองประเทศไว้เรียบร้อยแล้วนั้น เพื่อความสงบราบคาบในการปล้นประเทศ คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้าจึงให้มีประกาศดังต่อไปนี้

1. รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักร ไทย 2540 สิ้นสุดลง
2.วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ
3.องคมนตรีของกษัตริย์ภูมิพล คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่รักษาระบอบเผด็จการดักดานต่อไป
4.ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และตามประกาศคณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน 2549
ประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 7
เรื่อง การห้ามชุมนุมทางการเมือง
ตามที่ คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้าได้ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน  2549 เวลา 21.05 น.เป็นต้นไปแล้วนั้น
เพื่อมิให้เกิดปัญหา และอุปสรรคต่อการปล้นประเทศ ในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก
จึงห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือประชุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศ ณ วันที่ 20 กันยายน  2549 เวลา 10.48 น.

ประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 10
เรื่อง ขอความร่วมมือในการเสนอข่าวสาร
พลตรี ประพาศ ศกุนตนาค ผู้อ่านแถลงการณ์คณะปฎิกูลการปกครอง
ตามที่คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้าได้ปล้นอำนาจการปกครองไว้เรียบร้อยแล้วนั้น คณะปฏิกูลการปกครองจึงขอความร่วมมือ ร่วมใจ มายังสื่อมวลชนทุกคน ได้โปรดร่วมกันเสนอข่าวสารสนับสนุนการปล้นอำนาจ เพื่อให้เกิดความสงบราบคาบภายในชาติและทำให้ประเทศชาติกลับสู่ความล้าหลังถดถอยโดยเร็วที่สุด
คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้ามีความหวังอยู่แรงกล้าที่จะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านอย่างพร้อมเพรียงกัน ถ้าไม่อยากให้ต้องใช้กำลัง จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ประกาศ ณ วันที่
20 กันยายน 2549

ประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 12
นางจารุวรรณ เมณฑกาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
เรื่อง ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทั้งชุด พ้นจากตำแหน่ง แต่ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน คือคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา คงอยู่ในตำแหน่งต่อไป และมีอำนาจแทนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว
สั่ง ณ วันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549

ประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 13
เรื่อง พรบ.เลือกตั้ง


เพื่อให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น อยู่ในมือของเครือข่ายกษัตริย์ภูมิพลต่อไป อย่างต่อเนื่อง คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า จึงมีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย




(1) นายอภิชาต
สุขัคคานนท์
ประธานกรรมการ
(2)
นายประพันธ์
นัยโกวิท
กรรมการ
(3)
นางสดศรี
สัตยธรรม
กรรมการ
(4)
นายสมชัย
จึงประเสริฐ
กรรมการ
(5)
นายสุเมธ
อุปนิสากร
กรรมการ

ประกาศ ณ วันที่
20 กันยายน 2549
9 วันต่อมา คือวันที่ 29 กันยายน 2549 ก็ได้มีประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 26
ให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิกูลการปกครอง ฉบับที่ 13  ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบด้วยพรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2541 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี และมีอำนาจและหน้าที่เต็มที่ทุกประการ
ประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 16

เรื่อง ให้หัวหน้าคณะปฏิกูลการปกครองทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา
เพื่อประโยชน์ในการกินรวบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน ในระหว่างที่ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้าจึงมีประกาศให้หัวหน้าคณะปฏิกูลการปกครองมีอำนาจนิติบัญญัติแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ทั้งสองสภา
ประกาศ ณ วันที่ 21 กันยายน 2549


ประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 19

เรื่อง พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อให้แผนการกำจัดขุดรากถอนโคนนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า จึงให้มีประกาศดังต่อไปนี้
ให้พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการยัดเยียดข้อหาทุจริตคอรัปชั่นและวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
2542 มีผลใช้บังคับต่อไป
ให้คณะกรรมการยัดเยียดข้อหาทุจริตแห่งชาติ ตามพรบ.ปปช.
2542
ประกอบด้วย


(
1) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ
(
2) นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ
(
3) นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ
(
4) นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ
(
5) ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ กรรมการ
(
6) ศาสตราจารย์เมธี ครองแก้ว กรรมการ
(
7) นายวิชา มหาคุณ กรรมการ
(
8) นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ
(
9) นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ
ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน 2549
ต่อมาอีก 8 วัน คือในวันที่ 30 กันยายน  2549
ก็ได้มีประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่
31 ให้ถือว่าคณะกรรมการปปช.ที่คณะปฏิกูลการปกครองแต่งตั้งนี้ ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบตามพรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การยัดเยียดข้อหาทุจริตแห่งชาติ 2542 คือให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบ 9 ปี
พร้อมทั้งให้มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยโดยอ้างว่าเพิ่มขึ้นผิดปกติ 
ประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 23
เรื่อง การตั้งคณะกรรมการเพื่อหาทางยึดทรัพย์ของ พตท. ทักษิณ
เนื่องด้วยคณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า ต้องการทำลายล้างอำนาจของพตท.ทักษิณให้สิ้นซากโดยการหาเรื่องยึดทรัพย์ของพตท.ทักษิณ ด้วยการยัดเยียดว่าพตท.ทักษิณได้มีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ จึงให้มีคณะกรรมการหาเรื่องยึดทรัพย์ของพตท.ทักษิณ ประกอบด้วย
(
1) นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ
(
2) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งก็คือนางจารุวรรณ เมณฑกา  เป็นกรรมการ
(
3) อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
(
4) กรรมการปปช.หรือผู้แทน เป็นเลขาธิการคณะกรรมการ
(
5) กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือผู้แทน เป็นเลขาธิการคณะกรรมการ
(
6) เจ้ากรมพระธรรมนูญ หรือผู้แทนเป็นกรรมการ
(
7) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
(
8) เลขาธิการคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์หรือผู้แทน เป็นกรรมการ
ให้คณะกรรมการหาเรื่องยึดทรัพย์พตท.ทักษิณมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของพตท.ทักษิณรวมทั้งภรรยาและบุตรไว้ก่อนได้ พร้อมทั้งให้มีอำนาจตามกฎหมายสารพัดโดยใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ใช้อำนาจของปปช. และใช้อำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร ในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
โดยให้มีอำนาจเรียกสำนวนการสอบสวน ให้ปปช.หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ร่วมมือช่วยประสานงานกันเพื่อหาเรื่องยึดทรัพย์พตท.ทักษิณให้ได้
รวมทั้งมีอำนาจสั่งสถาบันการเงิน กรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ กรมที่ดิน กรมสรรพากร หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของพตท.ทักษิณ
ในกรณีที่พตท.ทักษิณ ไม่แจ้งข้อมูลหรือไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกยึด หรือยักย้าย จำหน่าย จ่ายโอนทรัพย์สินที่ถูกอายัด ให้ถือว่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบ
เมื่อคณะกรรมการหาเรื่องยึดทรัพย์มีมติว่าพตท. ทักษิณทุจริตต่อหน้าที่ ให้ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้อัยการสูงสุดส่งฟ้องต่อศาลฎีกาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน 2549
ต่อมาอีก
6 วัน คือในวันที่ 30 กันยายน 2549 ก็ได้มีประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 30
ยกเลิกกรรมการชุดนี้ และให้แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ โดยระบุชื่อเป็นตัวบุคคลที่แสดงตนเป็นศัตรูต่อพตท. ทักษิณ มาแล้วอย่างชัดเจน
จำนวน
12
คน ประกอบด้วย
(1)
นายกล้าณรงค์
จักทิก

(2)
นายแก้วสรร
อติโพธิ

(3)
คุณหญิงจารุวรรณ
เมณฑกา

(4)
นายจิรนิติ
หะวานนท์

(5)
นายนาม
ยิ้มแย้ม

(6)
นายบรรเจิด
สิงคะเนติ

(7)
นายวิโรจน์
เลาหะพันธ์

(8)
นายสวัสดิ์
โชติพานิจ

(9)
นายสัก
กอแสงเรือง

(10)
นางเสาวนีย์
อัศวโรจน์

(11)
นายอุดม
เฟื่องฟุ้ง

(12)
นายอำนวย
ธันธรา

ประกาศ คณะปฏิกูลการปกครองฉบับที่ 27

เรื่อง การออกกฎหมายกำหนดความผิดย้อนหลัง
เพื่อทำลายนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย



คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบ
คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้าให้ประกาศว่า ในกรณีที่ศาลรัดทำมะนวยหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัดทำมะนวยมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยของ พตท. ทักษิณ ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนด 5 ปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง
ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549

การประกาศใช้ รัดทำมะนวย

1 ตุลาคม  2549 คณะปฏิกูลการปกครองได้ประกาศใช้ รัดทำมะนวยฉบับชั่วคราว  2549  มีการนิรโทษกรรมให้ตนเองรวมถึงเรื่องที่สืบเนื่องมาภายหลัง ตาม มาตรา 36 ให้ประกาศและคำสั่งของคณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่า ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งก่อนและหลังการประกาศใช้รัดทำมะนวย
และมี มาตรา 37 ให้การกระทำที่สืบเนื่องในการปล้นอำนาจ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
  
มาตรา 5 ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสมาชิก 250 คน ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภาโดยประธานคณะปฎิกูลการปกครองเป็นคนเสนอชื่อสมาชิกสภาต่อกษัตริย์ภูมิพล
  
มาตรา 19
ให้มีสภาร่างรัดทำมะนวย ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 100 คน โดยประธานคณะปฏิกูลการปกครองป็นคนเสนอรายชื่อสมาชิกสภาร่างต่อกษัตริย์ภูมิพล

นรนิติ เศรษฐบุตร และ ประสงค์ สุ่นศิริ
โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร  เป็นประธานสภาร่างรัดทำมะนวย
นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ  เป็นประธานคณะกรรมาธิการร่างรัดทำมะนวย
มีการประกาศใช้รัดทำมะนวย
2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 โดยมีมาตรา 309  ให้รับรองการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัดทำมะนวย ฉบับชั่วคราว 2549 รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัดทำมะนวย ให้ถือว่าการนั้นชอบด้วยรัดทำมะนวย โดยนายมีชัย  ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้เสนอต่อกษัตริย์ภูมิพล หลังจากการลงประชามติ โดยข่มขู่ประชาชนว่าถ้าไม่รับรัดทำมะนวย 2550 คณะปฏิกูลการปกครองอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้าสามารถหยิบยกเอารัดทำมะนวยฉบับใดมาประกาศใช้ก็ได้

กฎหมาย หรือ กฎหมู่

รัฐประหารเพื่อการปฏิกูลประเทศอันมีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นกฎหมู่ หรือไม่
คณะรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 แล้วประกาศใช้รัดทำมะนวยชั่วคราว 2549 เป็นกฎหมู่ หรือไม่
คณะรัฐประหารรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำ ของตนเองและการกระทำต่อเนื่อง ตามมาตรา 36 ของรัดทำมะนวย 2549 เป็นกฎหมู่ หรือไม่
คณะรัฐประหารนิรโทษกรรมตนเองและพรรคพวกตามมาตรา 37 ของรัดทำมะนวย 2549 เป็นกฎหมู่ หรือไม่
คณะรัฐประหารออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ที่กำหนดโทษย้อนหลังโดยเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัดทำมะนวยสั่งยุบพรรคมีกำหนด 5 ปีนั้น เป็น กฎหมู่ หรือไม่
บรรดากฎหมายที่เกิดจากน้ำมือของคณะรัฐประหาร เป็นกฎหมู่หรือไม่
ที่มาและเนื้อหาของรัดทำมะนวย 2550 เป็นกฎหมู่ หรือไม่
มาตรา 309 ของรัดทำมะนวย 2550 ที่ให้รับรองรัดทำมะนวย 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่อง ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัดทำมะนวย 2550 เป็นกฎหมู่ หรือไม่
กระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือจนนำมาสู่การยุบพรรคการเมืองหลายพรรค ตัดสิทธินักการเมืองหลายคน เป็นกฎหมู่ หรือไม่
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารเป็นกฎหมู่ หรือไม่
ขบวนการตุลาโกงวิบัติ เป็นกฎหมู่หรือไม่



กษัตริย์ภูมิพล สั่งศาลปกครองให้ยกเลิกการเลือกตั้ง
บางคนกล่าวหาว่าในสมัยรัฐบาลทักษิณมีการใช้อำนาจเงินใช้อำนาจ
การเมืองครอบงำสื่อ ครอบงำองค์กรอิสระ เป็นการใช้กฎหมู่ ถ้ามันเป็นการใช้กฎหมู่ตามที่กล่าวหากันจริง มันก็คงก็คงมิได้มีเพียงแต่กฎหมู่ของตระกูลชินวัตรเท่านั้น แต่ยังมีกฎหมู่อีกหลายตระกูล โดยเฉพาะกฎหมู่ของฝ่ายกษัตริย์ภูมิพลที่ได้ทำลายระบอบประชาธิปไตย ตัดตอนแช่แข็งประชาธิปไตยตามอุดมการณ์ของคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475  และได้สร้างความเสียหายต่อประเทศอย่างมหาศาล

บรรดาประธานศาลทั้งหลายนัดประชุม เพื่อทำตามคำสั่งของกษัตริย์ภูมิพล
ขณะที่ชนชั้นนำรวมทั้งนักกฎหมายและตุลาการไทย ก็เป็นแค่เครื่องมือทางการเมืองของพวกนิยมระบอบเผด็จการที่ดักดานล้าหลัง แบ่งข้างแบ่งขั้วโดยไม่สนใจหลักนิติรัฐประชาธิปไตยใดๆ ที่ปลูกฝังความคิดความเชื่อให้ฝังลงลึกเข้าไปในจิตสำนึกว่าพวกทักษิณมันผิด มันโกง มันชั่ว ข้าขออาสาเข้ามาจัดการมันเอง เมื่อจัดการมันแล้วได้ผลสำเร็จมาบางส่วน ก็จะตามราวีมันต่อ เพื่อเดินหน้าไปให้ถึงจุดหมาย ส่วนพวกนิยมเผด็จการดักดานที่สู้เพื่อในหลวงก็ล้วนแต่เป็นคนดีที่น่ายกย่อง และไม่มีความผิดทางกฎหมายไม่ว่าจะกระทำการใดๆ ก็ถือว่าเป็นความจำเป็นและเป็นการทำเพื่อพระเจ้าแผ่นดิน รวมไปถึงการทำรัฐประหารปล้นอำนาจของประชาชน ก็เพื่อถวายพระราชอำนาจคืนให้แก่กษัตริย์ภูมิพลเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์เป็นข้าของแผ่นดินที่แท้จริง
 
นายแก้สรรค์ อติโพธิ ได้ปกป้องการกระทำของ คตส. ในแง่ที่มาของ คตส. ทำนองอย่าเอาการเมืองมารังแกกฎหมายว่า
ถามว่ากระบวนการดำเนินคดีของ คตส. ตรงไหนที่ไม่ถูกต้อง ส่วนที่บอกว่าคตส. ตั้งโดยคมช. ถามว่าคตส.เอากระบวนการไหนมากล่าวโทษทักษิณ คมช.ไม่ได้เขียนอำนาจอะไรเป็นพิเศษ เขาให้เราใช้อำนาจตามกระบวนการกฎหมายปกติ และมีมาตรฐานไม่เคยขัดรัฐธรรมนูญ พอขึ้นศาลคมช. ก็ไม่ได้เขียนอำนาจการพิจารณาคดีของศาลใหม่ เป็นการพิจารณาแบบเดียวกับคดีของนายรักเกียรติ เป็นมาตรฐานเดียวกับพ.ต.ท. ทักษิณ ยืนยันว่า คตส.ตั้งโดยมาตรฐานเดียวกับป.ป.ช. และคดีที่คตส. เข้าไปตรวจสอบก็ไม่ใช่คดีใหม่ มีอยู่แล้วที่ปปช. สตง. เราเอาคดีนี้มาแล้วก็ใช้อำนาจกฎหมายตามปกติ มันจึงไม่ใช่เหตุผลที่จะมาบอกว่ากระบวนการดำเนินคดีไม่ชอบ ทางฝ่ายนักกฎหมายทักษิณก็บอกว่าทฤษฎีต้นไม้พิษ ผลก็ต้องเป็นพิษ ตรงนี้ไปจำใครมาก็ไม่รู้ เพราะทฤษฎีตรงนี้มาจากศาลสูงของสหรัฐว่าหากกระบวนการดำเนินคดีใดเป็นไปโดยมิชอบ เช่นเอาหลักฐานจากการลักลอบดักฟังโทรศัพท์จำเลย มาลงโทษจำเลย ศาลทั่วไปในสากลก็จะชี้ว่าทำไม่ได้ และผลผลิตที่ได้คือคำพิพากษาลงโทษจำเลยนั้น ก็จะต้องถูกปฏิเสธตามไปด้วย ซึ่งสภาพความไม่ชอบด้วยกระบวนการเช่นนี้ หาได้เกิดขึ้นในคดี คตส.เลย


แต่กระบวนการยุติธรรมนั้นสำคัญทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการสืบสวนสอบสวนอันเป็นต้นธาร จนถึงคำพิพากษาที่เป็นปลายธาร เพราะหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม  และหลักกระบวนการทางกฎหมายที่ดี ถือเป็นหลักการพื้นฐานในนิติรัฐ - ประชาธิปไตย เมื่อกระบวนการทางกฎหมายไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการนั้นก็ย่อมไม่ถูกต้องไปด้วย แม้จะมีการกล่าวอ้างกันว่ากระบวนการยุติธรรมในคดีนี้ ไม่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในชั้นของ คตส. แต่ยังต้องดำเนินต่อไปยังชั้นอัยการสูงสุด และสุดท้ายเป็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ทำหน้าที่ พิพากษา ถือเป็นกระบวนการที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาโต้แย้งคัดค้านได้เต็มที่ และการพิจารณาคดีโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ก็มีความเป็นกลางและอิสระ เป็นหลักประกันความยุติธรรมอยู่แล้ว
แต่ต้นธาร ของกระบวน การ ยุติธรรมในคดีนี้ เริ่มต้น จากรัฐประหาร ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง คตส. เป็นที่มาของการให้อำนาจมากมายในการตรวจสอบทรัพย์สินแก่ คตส. และเป็นที่มาของการแต่งตั้งบุคคลไปดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.

เมื่อ คปค. ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และการรัฐประหารก็เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดทางอาญา มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต และเป็นสิ่งแปลกปลอมในรัฐเสรีประชาธิปไตย คดีที่ คตส.เลือกขึ้นมาพิจารณาก็ล้วนแล้วแต่เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลทักษิณ ข้อเท็จจริงเหล่านี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในคดีนี้เริ่มต้นจากความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน



หากแม้นยอมเชื่อกันตามประเพณีของระบบกฎหมายไทยที่ว่า เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เมื่อนั้นคณะรัฐประหารก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ มีอำนาจออกรัฐธรรมนูญใหม่หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญเก่า ตลอดจนสามารถออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมายได้ตามใจชอบ


แต่เมื่อบ้านเมืองได้กลับสู่สภาวะปกติที่มีรัฐธรรมนูญ องค์กรผู้ใช้บังคับกฎหมายทั้งหลาย ก็ต้องพิจารณาใช้และตีความผลิตผลทางกฎหมายของคณะรัฐประหารเสียใหม่ ให้เป็นไปในทางที่เป็นธรรม โดยที่องค์กรผู้บังคับใช้กฎหมายทั้งปวงควรจะต้องปฏิเสธรัฐประหารและผลผลิตของคณะรัฐประหาร ด้วยการไม่นำประกาศ คปค. มาใช้บังคับ และไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมที่ริเริ่มจากคณะรัฐประหาร
ทั้งยังต้องคำนึงถึงหลักความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่อันเป็นหลักของกฎหมายทั่วไป เพื่อให้กระบวนการพิจารณาคดีมีความเป็นธรรม คู่กรณีต้องได้รับการประกันว่าเรื่องของตนจะถูกพิจารณาโดยบุคคลที่มีความเป็นกลาง หากพบว่ามีบุคคลที่ไม่เป็นกลางในการพิจารณาเรื่องใด บุคคลนั้นต้องถอนตัวออกจากการพิจารณา และคำสั่งที่เกิดจากการพิจารณาโดยบุคคลที่ไม่เป็นกลางย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่เป็นกลางปรากฏได้ใน 2
ลักษณะ คือ จากสภาพภายนอก เช่น เป็นคู่กรณีเสียเอง เป็นคู่สมรส เป็นบุตร เป็นพี่น้อง เป็นญาติ และจากสภาพภายในหรือความคิดอุดมการณ์ซึ่งเกิดจาก ทัศนคติ ความเชื่อส่วนบุคคล  เช่น มีทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคู่กรณีที่แสดงให้เห็นอย่างประจักษ์ชัด ที่แสดงเห็นได้ว่าอาจทำให้การพิจารณาไม่เป็นกลางได้

ในระบบกฎหมายสากลได้ยึดถือหลักความเป็นกลางอย่างเคร่งครัดทั้งกับเจ้าหน้าที่ และผู้พิพากษา ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้วางหลักไว้ว่า บุคคลที่มีทัศนคติหรือเคยแสดงความคิดเห็นไปในทางที่เป็นปฏิปักษ์ในเรื่อง หนึ่ง เมื่อมีโอกาสพิจารณาเรื่องทำนองเดียวกัน ย่อมถือว่าบุคคลนั้นมีสภาพไม่เป็นกลางในการพิจารณาเรื่องนั้น เช่น เจ้าหน้าที่หรือผู้พิพากษาเคยแสดงความเห็นไปในทางเหยียดผิว ต่อมามีโอกาสพิจารณาเรื่องหรือคดีที่จำเลยเป็นคนผิวสี หรือ เจ้าหน้าที่หรือผู้พิพากษาได้ให้ความเห็นผ่านทางสื่อสาธารณะว่าคู่กรณีหรือ จำเลยมีความผิด ต่อมาเจ้าหน้าที่หรือผู้พิพากษามีโอกาสพิจารณาเรื่องนั้น หรือนายกเทศมนตรีเคยให้ความเห็นไว้ว่าตำแหน่งเลขานุการประจำเทศบาลไม่เหมาะ กับเพศหญิง ต่อมานายกเทศมนตรีได้เป็นประธานกรรมการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง เลขานุการประจำเทศบาล  เป็นต้น ก็ต้องถือว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีความเป็นกลาง
Martial Court หรือ ศาลทหาร
คำวินิจฉัยของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปยังได้เคยวางหลักไว้ว่า ถ้าพลเรือนต้องถูกดำเนินคดีอาญาในศาลทหารซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาซึ่งแต่ง ตั้งโดยทหารเอง ย่อมถือได้ว่าศาลลักษณะนี้ไม่เป็นกลางและไม่เป็นอิสระ นานาอารยประเทศให้ความสำคัญและเคร่งครัดต่อหลักความเป็นกลางเป็นอย่างมาก เพราะกระบวนการยุติธรรมต้องสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีและสาธารณชนว่าพวกเขาจะได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการดังกล่าว


กรณีคดีที่ดินรัชดา
กับการยัดเยียดข้อหาจำคุก
2 ปี



ในช่วงรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีรอบที่สอง ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทเงินทุนต่างๆ ขาดสภาพคล่อง รัฐบาลประชาธิปัตย์จึงได้ทุ่มเทเงินจากภาษีของประชาชนเข้าช่วยเหลืออุ้มชูบริษัทเงินทุนเหล่านั้นไว้

วันที่ 24 สิงหาคม 2538 กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษกของบริษัทเงินทุนเอราวัณทรัสต์ จำกัด 2 แปลง 31 โฉนด เนื้อที่รวม 121
ไร่
าพถ่ายบริเวณแปลงที่ดินรัชดาที่เป็นคดี
ต่อมาเมื่อวันที่
22 กรกฎาคม 2546 กองทุนฟื้นฟูฯ นำที่ดินแปลงที่ 2 ออกประมูลขายทางอินเตอร์เน็ต โดยกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ที่ 870 ล้านบาท มีผู้ประสงค์จะซื้อ 8 ราย แต่เมื่อถึงกำหนดต้องเสนอราคาปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดเสนอราคาประมูล กองทุนฟื้นฟูได้ดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงที่ 2 ออกเป็น 4 โฉนดโดยแบ่งหักส่วนที่เป็นสาธารณะประโยชน์ออกไป เหลือเนื้อที่ 22 ไร่  แล้วประกาศขายที่ดินนี้อีกครั้งโดยวิธีประกวดราคา มีผู้เสนอราคา 3 ราย คือบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 730 ล้านบาท บริษัท โนเบิลดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 750 ล้านบาท และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 เสนอราคา 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นผู้ให้ราคาสูงสุด และสูงกว่าราคาที่ดินที่ปรับแล้วคือ 754,500,000 บาท กองทุนฟื้นฟูจึงประชุมกันและอนุมัติให้คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ชนะการประกวดราคา คุณหญิงพจมานได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับกองทุนฟื้นฟูฯ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2546 และชำระราคาครบถ้วนในเวลาต่อมา


ก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขาย และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกันในวันที่ 30 ธันวาคม 2546 โดยพตท. ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมแก่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซึ่งเป็นภรรยา โดยมอบหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประเภทข้าราชการการเมือง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประกอบการทำสัญญาด้วย
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ คือ อัยการสูงสุด และสำนวนการตรวจสอบไต่สวนของ คตส. ที่คณะปฏิกูลการปกครองตั้งขึ้นมาหาเรื่องพตท. ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 นั้น สามารถอ้างเอาพรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
2542 มาตรา 100 และมาตรา 122 มายัดเยียด ว่าพตท. ทักษิณจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและพิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอการลงอาญา ส่วนคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2 ไม่ได้กระทำผิดเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการประมูลซื้อที่ดินเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ สรุปคือคนซื้อไม่ผิด แต่สามีที่รับรองเอกสารให้ภรรยามีความผิด
พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญ 2542 ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
มาตรา 100 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่กำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี....   

มาตรา 122 บัญญัติว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 100 มาตรา 101 หรือมาตรา 103 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏคือ พตท. ทักษิณ จำเลยที่
1 ไม่ได้ร่วมเสนอราคาในการประมูลซื้อที่ดินพิพาทกับคุณหญิงพจมาน ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แต่เป็นการดำเนินการของคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว และเมื่อการกระทำของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดเพราะเป็นการเข้าประมูลประกวดราคาซื้อที่ดินโดยสุจริตและเปิดเผย และเงินที่ชำระราคาที่ดินที่ประมูลได้ก็ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำความผิด ต้องคืนแก่คุณหญิงพจมานจำเลยที่ 2  เช่นนี้ จึงไม่อาจจะนำเอาการกระทำที่ไม่เป็นความผิดของคุณหญิงพจมานไปเป็นการกระทำที่เป็นความผิดเพื่อลงโทษพตท. ทักษิณ จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้กระทำหรือลงมือกระทำใด ๆ ดังกล่าวแล้วได้
นอกจากนั้น ตามมาตรา 122 วรรคสองยังบัญญัติว่า กรณีความผิดตามมาตรา 100 วรรคสาม หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด พิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยในการที่คู่สมรส
ของตนดำเนินกิจการตามมาตรา 100 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีความผิด
ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรับฟัง เป็นยุติมาแต่แรกแล้วว่า การดำเนินการของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 เป็นการดำเนินการด้วยตนเองตามลำพังเพียงคนเดียว ตั้งแต่ต้น โดยที่พตท.ทักษิณ จำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือประสงค์จะมีเจตนาร่วมซื้อที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 2 ด้วย อีกทั้งเป็นเรื่องปกติในการทำธุรกิจซื้อขายประมูลที่ดิน ไม่ผิดวิสัยที่ครอบครัวที่ร่ำรวยมั่งคั่งมีทรัพย์นับหมื่นล้านบาท อย่างเช่นจำเลยที่ 1 และ จำเลยที่ 2 จะทำเช่นนั้น การที่ศาลฎีกาฯวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใดมาพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยในการที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการตามมาตรา 100 นั้น ย่อมเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 นำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองอยู่แล้ว ทั้งศาลก็ได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นยุติมาแต่แรกแล้ว ยิ่งกว่านั้นรัดทำมะนวย 2550 มาตรา 39 บัญญัติว่า
บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้... ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 บัญญัติว่า ให้ศาลใช้ดุลพินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา
184 ยังได้บัญญัติว่า ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคนให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมากถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย หรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไปจะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษา ซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า

ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในคดีนี้ มีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะ 9 คน ในชั้นที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนทำหน้าที่ประธานสอบถามความเห็นผู้พิพากษา อีก 8 คนนั้น มีผู้พิพากษา 4 คนเห็นว่าจำเลยที่ 1 มีความผิด แต่ผู้พิพากษาอีก 4 คนเห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดคะแนนเสียงจึงเป็น 4 ต่อ 4 เท่ากันในกรณีเช่นนี้ ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดและกรณียังเป็นที่สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริงหรือไม่เพราะมีคะแนนเสียงเท่ากัน ย่อมต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 ที่บัญญัติว่า
ถ้าปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า

ดังนั้นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีนี้ ซึ่งเป็นประธานและต้องออกเสียงเป็นคนสุดท้ายจึงต้องถูกผูกมัด และถูกบังคับด้วยบทกฎหมายที่บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งดังกล่าว ให้จำต้องลงมติว่าจำเลยที่
1 ไม่มีความผิดเพราะเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า แม้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะมีความเห็นขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดก็ตาม เหตุนี้คะแนนเสียงของผู้พิพากษาคดีนี้ ที่พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 จึงเท่ากับว่าผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัดทำมะนวย 2550 มาตรา 39 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227  ที่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
 
นายทองหล่อ โฉมงาน 
เจ้าของสำนวนคดีที่ดินรัชดา
และมาตรา
184 ที่ให้ถือความเห็นที่เป็นผลร้ายต่อจำเลยน้อยกว่าในกรณีที่มีคะแนนเสียงแย้งเท่ากัน จึงมีข้อพิจารณาว่าเป็นการลงมติที่ถูกต้องหรือไม่ และพตท. ทักษิณ จำเลยที่ 1 ควรต้องรับโทษในทางอาญาหรือไม่  ดังนั้นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีนี้ ซึ่งเป็นประธานและต้องออกเสียงเป็นคนสุดท้ายจึงต้องถูกผูกมัด และถูกบังคับด้วยบทกฎหมายที่บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งดังกล่าว ให้จำต้องลงมติว่าจำเลยที่ จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดเพราะเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า แม้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะมีความเห็นขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดก็ตาม เหตุนี้คะแนนเสียงของผู้พิพากษาคดีนี้ ที่พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 จึงเท่ากับว่าผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัดทำมะนวย 2550 มาตรา 39 วรรคสอง



และประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 227 บัญญัติว่า ให้ศาลใช้ดุลพินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา
184 ยังได้บัญญัติว่า ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคนให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมากถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย หรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไปจะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษา ซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า

ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในคดีนี้ มีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะ 9 คน ในชั้นที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนทำหน้าที่ประธานสอบถามความเห็นผู้พิพากษา อีก 8 คนนั้น มีผู้พิพากษา 4 คนเห็นว่าจำเลยที่ 1 มีความผิด แต่ผู้พิพากษาอีก 4 คนเห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดคะแนนเสียงจึงเป็น 4 ต่อ 4 เท่ากันในกรณีเช่นนี้ ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดและกรณียังเป็นที่สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริงหรือไม่เพราะมีคะแนนเสียงเท่ากัน ย่อมต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 ที่บัญญัติว่า
ถ้าปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า



คดียึดทรัพย์ พตท. ทักษิณ

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์พตท. ทักษิณเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 โดยอ้างประกาศคำสั่งของคณะรัฐประหาร ตามการสร้างเรื่องของคตส. ในฐานะเป็นองค์กรที่แต่งตั้งโดยคณะปฏิกูลการปกครองเพื่อหาเรื่องยัดเยียดความผิดให้ พตท. ทักษิณ ว่ามีการกระทำที่เอื้อประโยชน์แก่ตนเองและพรรคพวก

ลงท้ายด้วยการพิพากษาให้ยึดทรัพย์ จำนวนเงิน
46,000 ล้านบาทของพตท.ทักษิณ ตามด้วยการนำแต่ละส่วน แต่ละตอนของคำพิพากษานี้มาขยายผล เพื่อไล่ต้อนพตท. ทักษิณให้จนมุมจนไม่อาจผยองได้อีก โดยอ้างว่าที่กระทำไปนั้น ไม่ได้คิดแก้แค้น ไม่ได้คิดมุ่งร้าย แต่ต้องทำไปตามกฎหมาย ทั้งๆที่คำพิพากษาในคดีนี้ มีจุดกำเนิดมาจากความไม่ปกติ  และเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องที่ขัดต่อหลักนิติรัฐประชาธิปไตยอย่างชัดเจน


เป็นที่ทราบกันดีว่า คตส. แต่งตั้งโดย คปค. ภายหลังจากที่ คปค.รัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณในครั้งแรก คปค. แต่งตั้ง คตส. ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 23  โดยมีนายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธาน และกรรมการอีก 7 คน ประกอบด้วยผู้ดำรงตำแหน่งตามหน่วยงานต่างๆ หลังจากนั้นหกวัน คปค. กลับออกประกาศยกเลิก คตส. ชุดดังกล่าว และแต่งตั้ง คตส. ชุดใหม่ โดยกำหนดชื่อตัวบุคคลเป็นกรรมการ คตส. รวม 12 คน ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30  เมื่อ คตส. กำเนิดจากการแต่งตั้งของ คปค. และ คปค.เป็นผู้ก่อการรัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ  ในขณะที่ คตส. เลือกพิจารณาตรวจสอบเฉพาะเรื่องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ย่อมแสดงถึงความไม่เป็นกลางของ คตส.
เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมและทัศนคติของคตส.และอนุกรรมการไต่สวนทั้งสามคน มี นายกล้านรงค์ จันทิก นายบรรเจิด สิงคะเนติ และนายแก้วสรร อติโพธิในแง่การให้ความเห็นเป็นปฏิปักษ์ต่อ พ.ต.ท. ทักษิณหลายครั้งทั้งก่อนและระหว่างดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ คตส. การร่วมชุมนุมและขึ้นเวทีอภิปรายกับกลุ่มพันธมิตรซึ่งต่อต้านพ.ต.ท. ทักษิณ

การอภิปรายและเขียนบทความวิจารณ์การดำเนินนโยบายของพ.ต.ท.ทักษิณ ในทางไม่เห็นด้วยและเห็นว่าน่าจะส่อทุจริตและใช้อำนาจโดยมิชอบ เช่นเอกสารในชื่อ หยุดระบอบทักษิณ ที่นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นหนึ่งในผู้จัดทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวข้อที่ว่าระบอบทักษิณ โกงกินชาติบ้านเมือง” การจัดงานเลี้ยงอำลาเนื่องในโอกาส คตส.หมดวาระ โดยจัดทำชื่อรายการอาหารล้อเลียนนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการตั้งคณะกรรมการมาหาเรื่องยัดเยียดความผิดให้พตท. ทักษิณ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก หากเพียงลองสมมติว่าถ้าตนเองถูกกระทำอย่างนั้นบ้าง ยังจะว่าเป็นความยุติธรรม ยังจะอ้างว่าเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายอีกหรือไม่


ลองสมมติว่า คณะรัฐประหารได้ตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งขึ้นมาเป็นการเฉพาะเพื่อสอบสวนคดีของนายแก้วสรร โดยที่กรรมการแต่ละคนล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่ไม่ชอบนายแก้วสรรทั้งสิ้น แม้ว่าคณะรัฐประหารจะกำหนดว่าเมื่อคณะกรรมการชุดนี้สอบสวนแล้วเสร็จให้ส่งเรื่องไปยังศาลเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปก็ตาม ถามว่านายแก้วสรรยังคิดว่ายุติธรรมหรือไม่

หรือลองสมมุติว่านายแก้วสรรถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยซึ่งประกอบไปด้วยกรรมการที่เคยทะเลาะเบาะแว้ง กับนายแก้วสรร ไม่ชอบนายแก้วสรร มีทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์กับนายแก้วสรรชัดเจน เช่นนี้ นายแก้วสรรจะว่ากระบวนการสอบสวนทางวินัยนี้มีความเป็นกลางและจะมอบความ ยุติธรรมให้นายแก้วสรรฯได้หรือไม่



เรื่องการนิรโทษกรรม

มีการพูดถึงการนิรโทษกรรมต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยลืมไปว่า การนิรโทษกรรม คือ มีการกระทำที่เป็นความผิดแล้วมีการตรากฎหมายในภายหลังเพื่อกำหนดว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดแล้ว แต่เมื่อเดินหน้าเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ การกระทำใดที่ถือเป็นความผิดอันเนื่องมาจากกฎหมายของคณะรัฐประหาร ก็ไม่ควรถือว่าเป็นความผิดอีกต่อไป  เมื่อไม่เป็นความผิด ย่อมไม่มีอะไรให้นิรโทษ ในขณะเดียวกันผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของอำนาจรัฐตลอดช่วงเวลาเกือบ 5 ปี ก็ต้องได้รับการเยียวยา

ประเด็นสำคัญที่ต้องชี้ให้ชัดก็คือ การประกาศให้ชัดเจนว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และ ผลิตผลของคณะรัฐประหาร เป็นการกระทำที่เป็นโมฆะ หรือเป็นการกระทำที่ไม่เคยปรากฏขึ้น โดยยึดถือหลักการที่สำคัญที่ต้องประกาศให้เป็นสัญลักษณ์ว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่ถูกต้อง ไม่ควรให้ดำรงอยู่ต่อไปในระบบกฎหมาย แม้ว่าไม่อาจลบล้างเรื่องต่างๆได้ครบถ้วน แต่ก็สามารถกำหนดความสมบูรณ์ให้แก่เรื่องนั้นๆได้เป็นรายกรณี

หากต้องการให้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยสูง ก็อาจจัดให้มีการออกเสียงลงประชามติว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการประกาศให้การรัฐประหารเป็นโมฆะ และควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในส่วนรัฐบาลต้องชดใช้เยียวยาจ่ายค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนตลอด 5 ปีหลังการรัฐประหาร 2549 โดยไม่ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นถือเป็นความผิดหรือไม่
ในส่วนความผิดอาญา ก็ต้องสืบสอบสวนนำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาดำเนินคดี ต่อเมื่อสังคมต้องการ ให้อภัย เพื่อยุติความขัดแย้งและเดินหน้าไปสู่ความปรองดองได้ โดยไม่ต้องระแวงซึ่งกันและกันอีกต่อไป จึงค่อยตรากฎหมายนิรโทษกรรม หรือใช้วิธีการประกาศยอมรับว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดทางอาญา แต่ขาดอายุความไปแล้ว


ประชาชนที่ถูกคุมขังเนื่องในการชุมนุมทางการเมือง
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา

แต่ต้องไม่ใช่นิรโทษกรรมต่อคดีต่างๆที่เป็นผลต่อเนื่อง หรือ เป็นเจตจำนงของคณะรัฐประหาร เพราะคดีเหล่านั้นเริ่มต้นจากคณะรัฐประหารซึ่งเป็นสิ่งผิด คดีเหล่านั้นจึงไม่มีผล ความผิดในสมัยรัฐประหารต้องไม่ถือเป็นความผิดในสมัยประชาธิปไตย เมื่อไม่ผิด ก็ไม่ต้องนิรโทษ ตรงกันข้าม ถ้าหากจะมีนิรโทษกรรม นั่นคือเป็นเรื่องของนโยบายเพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไปได้ เป็นการให้อภัยกัน โดยการประกาศว่าการกระทำของรัฐและบุคคลต่างๆในการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษา และ 19 พ.ค. 2553 เป็นความผิด แต่มีการให้อภัย จึงมีการนิรโทษกรรมให้
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำลายหลักนิติรัฐ - ประชาธิปไตย และยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน 

จึงต้องให้มีการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร
19 กันยายน 2549 ดังต่อไปนี้

1. ประกาศให้รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และการกระทำใด ๆ ที่มุ่งต่อผลในทางกฎหมายของคปค.ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2549 เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น และไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
2. ประกาศให้รัดทำมะนวย ฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 และมาตรา 37 ที่รับรองประกาศคำสั่งและการกระทำที่เกี่ยวเนื่องของคณะรัฐประหาร ให้ถือว่าเสียเปล่าและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
3. ประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัดทำมะนวย คำวินิจฉัยของศาลรัดทำมะนวย และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง ที่อาศัยอำนาจตามประกาศของคปค. และที่เป็นผลต่อเนื่องจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ให้ถือว่าเสียเปล่าและถือว่าไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย

คณะรัฐประหารคมช. ได้ทำการนิรโทษกรรมความผิดของตนเองโดยบัญญัติไว้ในรัดทำมะนวยชั่วคราว 2549 มาตรา 36 และ 37  เมื่อใช้รัดทำมะนวย 2550 ก็ได้เขียนไว้ในมาตรา 309 โดยให้บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะรัฐประหาร และการกระทำที่เกี่ยวเนื่องทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจ ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัดทำมะนวยนี้ ให้ถือว่าชอบด้วยรัดทำมะนวยนี้

การใช้กฎหมายเป็นกลไกในการป้องกันการรัฐประหารนั้น จะทำได้ต่อเมื่อต้องทำลายล้างความชอบธรรมของคณะรัฐประหารที่เปรียบเสมือนเกราะกำบังทางกฎหมาย ที่คณะรัฐประหารสร้างไว้ในรัดทำมะนวยเสียก่อน จากนั้นจึงดำเนินการโดยเขียนรัฐธรรมนูญโดยอำนาจของประชาชน ซึ่งจะต้องกำหนดหมวดว่าด้วยการลงโทษผู้กระทำการรัฐประหารเอาไว้ด้วย




ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝ่ายรัฐประหารหวาดกลัว เพราะการรัฐประหารที่ผ่านมา คมช.ไม่ได้ใช้อำนาจโดยตรง แต่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ เช่น การยุบพรรคการเมือง ซึ่งเมื่อก่อนคณะรัฐประหารจะประกาศยุบพรรคการเมืองด้วยอำนาจของตนเองทันทีที่ยึดอำนาจได้สำเร็จ
ตุลาการศาลรัดทำมะนวยที่มี นายชัช ชลวร เป็นประธาน
แต่พวกคมช. นั้นการทำการยุบพรรคโดยการตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่ในรัดทำมะนวยฉบับชั่วคราว 2549 คือใช้อำนาจของตุลาการรัดทำมะนวยทำแทน โดยคณะรัฐประหารได้ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือมากขึ้นเพื่อให้เกิดการยอมรับในนามของกฎหมายและศาล ดังนั้นเมื่อประชาชนมีอำนาจ จำต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และมีหมวดว่าด้วยการลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร ซึ่งต้องลบล้างกฎหมาย คำสั่ง ที่เป็นผลพวงจากการรัฐประหาร จากนั้นจึงไปยกเลิกการนิรโทษกรรมในรัดทำมะนวยชั่วคราว 2549 มาตรา 36 , 37  และรัดทำมะนวย 2550 มาตรา 309 โดยให้ผ่านการทำประชามติ ซึ่งเป็นกระบวนการประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะการปฏิรูปทางการเมืองนั้น จำต้องทำผ่านอำนาจของรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมือง

วัฒนธรรมการเมืองไทย


วัฒนธรรมการเมืองไทยในทุกวันนี้ มักอ้างกฎหมายกันเป็นสรณะ หากต้องการเสริมสร้างความชอบธรรมให้แก่การกระทำของตนก็ต้องอ้างกฎหมาย ในทำนองเดียวกันหากต้องการทำลายความชอบธรรมของการกระทำของศัตรูก็ต้องอ้างว่าการกระทำนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จากการที่ประชาชนทั่วไปถูกสอนให้ต้องเคารพกฎหมายและมีความเคารพนับถือศาลและตุลาการผู้พิพากษาว่าเป็นรักษากฎหมายรักษาความยุติธรรม ประกอบกับสังคมโลกต่างก็ยึดมั่นอุดมการณ์ประชาธิปไตย – เสรีนิยม - นิติรัฐ จึงทำให้กฎหมายและนักกฎหมายเข้ามามีผูกขาดอำนาจครอบงำสังคมไทยมากขึ้นทุกที

วสันต์ สร้อยพิสุทธฺ์ และ จรัล ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัดทำมะนวย

เราจึงพบเห็นบุคคลจำนวนมากหยิบยกคำใหญ่ๆโตๆเช่น  นิติรัฐ  นิติธรรม  เคารพกฎหมาย กฎหมายเป็นใหญ่  ปกครองโดยกฎหมาย  ศาลตัดสินแล้วเป็นที่สุด ทุกคนต้องยอมรับ เพื่ออ้าง กฎหมาย – กระบวนการยุติธรรม - คำพิพากษา ไว้อุดปากฝ่ายตรงข้าม และสร้างความชอบธรรมให้ฝ่ายตนเอง


โดยจงใจไม่พูดถึงที่มาอันไม่ชอบธรรมของกฎหมาย ปัจจัยรอบด้านของกฎหมาย เนื้อหาของกฎหมายที่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่อนาทรร้อนใจต่อการใช้กฎหมายแบบไม่เสมอภาค
การแสดงออกของคนจำนวนมากว่าไม่ยอมรับกระบวนการทางกฎหมายที่เกิดขึ้นจากคณะ รัฐประหาร ไม่ใช่เรื่องการเมืองมารังแกกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องกฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่คนจำนวนมากต้องการตอบโต้สิ่งที่พวกฝักใฝ่เผด็จการอ้างว่าเป็นกฎหมายนั้น เป็นกฎหมายจริงหรือ หรือมันเป็นกฎหมู่ที่แปลงร่างเป็นกฎหมาย
หรือว่าที่แท้แล้ว คนพวกนี้ก็คือพวกที่รู้ทั้งรู้ แต่ทำเป็นว่าไม่รู้ถูกรู้ผิด เป็นพวกลวงโลก ตีสองหน้า หรือตอแหลนั่นเอง

……..
……..