วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
รู้ทันชั้น16/08 : ตัวตนของกษัตริย์ภูมิพล C2 1608
หรือที่ : http://www.4shared.com/mp3/ABamROOA/See_Thru_Floor_16_-1608_.html
โปรดทราบ : ไฟล์เสียงที่เคยdownloadไม่ได้ บัดนี้ได้แก้ไขแล้ว
โปรดลองเข้าที่linkใหม่ ..........
..........
ตัวตนของกษัตริย์ภูมิพล
ความจริงใจของในหลวง
ได้มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 ก่อนการยุบพรรคไทยรักไทย 5 วันว่า
....ข้าพเจ้าเองไม่มีสิทธิ์ใดๆ ที่จะบอกว่าถ้าเขาจะทำถูกหรือไม่ถูก แต่ในใจก็ต้องรู้ได้ว่าจะทำถูกหรือไม่ถูก ถ้าเขาทำไม่ถูกตัดสินว่าจะเป็นพรรคการเมือง จะมีอยู่หรือไม่มี ก็เดือดร้อนทั้งนั้น ข้าพเจ้าเองก็ในใจมีคำตัดสินอยู่ แต่บอกท่านไม่ได้ เพราะไม่มีสิทธิ์ที่จะบอก ท่านเองก็ไม่มีสิทธิ์
แต่ท่านต้องมีการตัดสินอยู่ในใจว่าที่เขา เพื่อนของศาลรัฐธรรมนูญเขาจะตัดสินถูกหรือไม่ถูก ต้องมีอยู่ในใจ แต่ว่า เขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม เดือดร้อนทั้งนั้น เสียหายทั้งนั้น คำตัดสินของเขาจะเดือดร้อน และเสียหายสำหรับท่านเองทั้งนั้น ข้าพเจ้าก็เดือดร้อน แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าเดือดร้อน ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก แต่รู้ในใจว่า เขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม รู้ในใจว่าเขาทำถูกหรือผิด ส่วนใหญ่ก็นึกว่าคงต้องทำผิดแน่ เมื่อเขารู้สึกว่าถ้าเขาทำผิดเรามีหน้าที่ที่จะวิจารณ์ในใจ แต่ละท่านต้องวิจารณ์ว่า ที่เพื่อนศาลอื่นทำถูกหรือผิดต้องมี ต้องวิจารณ์ อย่างน้อยในใจของท่าน หรือนอกจากนั้นก็มีความเห็นบ้าง ……
พระราชดำรัสนี้ได้หายไปจากหน้าเวปไซท์กาญจนาภิเษก ทั้งๆ ที่เคยมีอยู่เมื่อช่วงแรกๆ ในช่วงที่กระแสเสื้อเหลือง หรือ เราสู้เพื่อในหลวงกำลังมาแรง พระเจ้าอยู่หัวคงนึกว่าจะตรัสจะว่าอะไรก็มีแต่คนน้อมรับกันเป็นทอดๆ อ้างว่าต้องสนองพระบรมราโชวาทและทำตามพระราชดำริ แต่พอเวลาผ่านไป ผู้คนก็เริ่มได้สติ ชักมองเห็นว่ามันเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ไม่ควรทำ ก็เลยร้อนตัวต้องรีบลบออก ไม่ให้เหลือไว้เป็นหลักฐานประจานกษัตริย์ไทย ก็คงเหมือนพระบรมราชโองการที่ออกมาสนับสนุนการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ นั่นแหละที่ต้องรีบเก็บออกไปให้คนเห็นน้อยที่สุดได้เป็นดี สมัยที่เริ่มมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งออกมาใหม่ ๆ มีเสียงบันทึกพระราชดำรัสนี้ให้ได้ฟังกันด้วย แต่เดี๋ยวนี้ลบทิ้งหมด
พระเจ้าอยู่หัวฯ สอนให้ผู้พิพากษาต้องเป็นกลางอีกแล้ว
20 มิ.ย.2554 พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ณ ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ให้ นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่ง โดยให้โอวาทมีใจความว่า ท่านก็จะต้องทำหน้าที่เพื่อความยุติธรรม เพื่อความสงบสุขของประเทศชาติ ฉะนั้น ถ้าท่านปฏิบัติดี ก็ทำให้ประเทศชาติ มีความสงบได้ เพราะว่าคนก็ต้องมีการขัดแย้งกัน ท่านต้องเป็นกลางในทุกกรณี ทั้งเวลาท่านอยู่ในโรงศาล และนอกโรงศาล ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านได้รักษาคำปฏิญาณที่ท่านได้เปล่งด้วยความเข้มแข็งนี้ รักษาเอาไว้ทุกเมื่อ และถือว่าเป็นหน้าที่ในชีวิต ก็ขอให้ท่านได้ปฏิบัติงานด้วยความสามารถ มีความเข้มแข็ง และจะเป็นความดีของท่าน จะเป็นความสงบของประเทศชาติ ก็ขอให้ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งตามที่ท่านได้กล่าว และสามารถจะปฏิบัติตาม
จากนั้นได้ให้ พล.อ.เปรม ประธานองคมนตรี นำ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่
การที่กษัตริย์ภูมิชอบให้โอวาทผู้พิพากษาให้วางตัวเป็นกลาง กล้าตัดสินใจ และผลที่ออกมาก็คือพิพากษาคดีที่ขัดกับหลักนิติธรรมและหลักการในระบอบประชาธิปไตย
ก่อนหน้านี้ไม่นาน ในต้นเดือน มิ.ย. 2554 ได้มีการประชุมด่วนระหว่างนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐรรมนูญ และ นายปีย์ มาลากุล พระสหายสนิทของกษัตริย์ภูมิพล เพื่อหาทางดำเนินการยุบพรรคเพื่อไทยตามคำบัญชาของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล เหมือนเมื่อครั้งยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน
การให้โอวาทแก่ผู้พิพากษาของกษัตริย์ภูมิพลก็เหมือนกับพวกอาชญากรที่ออกมาข่มขู่ให้คนอื่นทำตามที่พวกตนต้องการ ทั้งๆที่กษัตริย์ภูมิพลมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นกบฏล้มล้างรัฐธรรมนูญ และสนับสนุนรับรองการรัฐประหารซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต แต่ยังมีหน้ามาให้โอวาทผู้พิพากษาในเชิงสำทับข่มขู่ให้ทำในสิ่งที่ตนต้องการ ซึ่งขัดหลักการและเหตุผลเพราะผู้พิพากษาย่อมมีวุฒิภาวะพอ และไม่ควรที่จะให้หัวหน้าอาชญากรมาสั่งสอนให้โอวาท กษัตริย์ภูมิพลน่าจะได้สำนึกรู้จักผิดชอบชั่วดีมีความละอายในสิ่งที่ตนได้กระทำ มิใช่สำคัญตนว่าเป็นศาสดาผู้บริสุทธิ์ที่จะสั่งสอนใครอย่างไรก็ได้ โดยไม่เคยดูการกระทำของตนเอง เท่ากับเป็นทำลายสถาบันศาลและทำลายสถาบันกษัตริย์ไปพร้อมๆกัน การที่กษัตริย์ภูมิพลแต่งตั้งพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุขเป็นองคมนตรีก็เพื่อเป็นการตอบแทนที่เข้าร่วมการยึดอำนาจและมีบทบาทสำคัญในการพยายามทำความเสียหายแก่สนามบินสุวรรณภูมิด้วยการปล่อยให้มีน้ำท่วมขังรวมทั้งการวื่งเต้นจัดซิ้อเครื่องบินกริฟเพนจากสวีเดนซึ่งมีข่าวว่าราชวงศ์จักรีได้ผลประโยชน์ด้วย
แทบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบัน ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ อย่างบทบาทในทางการเมือง ทั้งในอดีตและในเรื่องความขัดแย้งการเมืองปัจจุบันในระยะ 4-5 ปีนี้ ซึ่งสถาบันกษัตริย์เกี่ยวข้องโดยตรง มาจนถึงเรื่องในชีวิตประจำวัน อย่างข่าวสองทุ่ม การประชาสัมพันธ์ด้านเดียวต่างๆ ที่เรียกว่า พระราชกรณียกิจ การรับบริจาค โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธาศรัย พิธีกรรม งานเฉลิมฉลองต่างๆ ฯลฯ ล้วนแต่เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ขัดแย้งหลักการประชาธิปไตย และหลักการใช้อำนาจในสังคมสมัยใหม่ ที่ว่าเมื่อมีอำนาจก็ต้องคู่กับการตรวจสอบเอาผิดได้ เป็นสิ่งที่ทุกคน โดยเฉพาะผู้มีการศึกษา ปัญญาชน นักวิชาการทั้งหลาย ต่างก็รู้กันดี แต่ก็คงต้องปิดปากเงียบไม่มีปากเสียงซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติ ที่วิปริตเป็นอย่างยิ่งในสังคมเสรีประชาธิปไตยที่ต้องอยู่กันอย่างมีเหตุมีผล ที่สามารถพูด เมื่อเห็นความไม่ถูกต้องได้
นักเขียนฝรั่งริปเล่ย์ (Ripley) เจ้าของรายการท่านเชื่อหรือไม่ ยังเขียนลงในรายการของเขาเมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2550 ว่าท่านเชื่อหรือไม่ว่าในรัชสมัยกษัตริย์ภูมิพลทรงผ่านการรัฐประหารมากถึง 18 ครั้ง โดยที่พระองค์ยังครองราชย์ติดต่อกันมาถึง 60 ปี.....ซึ่งที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้ารู้ความจริงว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้เห็นชอบหรือสั่งการการรัฐประหารเอง ในขณะที่ไม่มีประมุขของประเทศใดกล้าทำเช่นนั้น
กษัตริย์ภูมิพลยังได้รับการจัดอันดับให้ร่ำรวยที่สุดในบรรดาราชวงศ์ทั่วโลก เหนือกว่ากษัตริย์ซาอุ และสุลต่านบรูไน ที่ร่ำรวยน้ำมัน และประชาชนรวยกันทั้งประเทศ แต่น่าแปลกใจที่ รัฐบาลนิยมเจ้า ไม่โฆษณาจัดงานเทิดพระเกียรติถวายในความร่ำรวยมั่งคงที่สุดในโลกของในหลวง รวมทั้งการเป็นประมุขที่มีการรัฐประหารมากที่สุดในโลก เพราะมันขัดกับการโฆษณาชวนเชื่อที่พยายามทำให้ประชาชนเชื่อว่าพระองค์ทรงประหยัดแม้แต่การขยันบีบหลอดยาสีฟันที่ไม่มีสาระ หรือการที่ทรงสวมสูทลงเกี่ยวข้าวเพียงเพื่อการสร้างภาพให้คนหลงศรัทธาไปเรื่อยๆเท่านั้นเอง
แทนที่ผู้ทรงภูมิรู้ทั้งหลายในสังคมไทยจะยอมรับความจริงว่ากษัตริย์ภูมิพลทรงสนับสนุนเผด็จการมาโดยตลอดอย่างที่เห็นกันอยู่ แต่กลับทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ทั้งยังกล้าสดุดียกย่องให้เป็นกษัตริย์นักประชาธิปไตย โดยเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554 วุฒิสภาได้แถลงเป็นเจ้าภาพเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 จัดประกวดภาพจิตรกรรมในหัวข้อ 84 พรรษา ธรรมราชา ประชาธิปไตย
โดยอ้างว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้หลักคุณธรรม ควบคู่ไปกับ หลักประชาธิปไตยในการปกครองประเทศ อย่างเท่าเทียม ทรงส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและมีประชาธิปไตยที่มั่นคง นับเป็นการประจบสอพลอที่น่าเกลียดมาก เพราะมีนัยยะที่ยุ่งเกี่ยวการเมืองการปกครอง อีกทั้งที่ผ่านมากษัตริย์ภูมิพลไม่ได้ทรงปกป้องประชาธิปไตยแต่อย่างใด เห็นได้จากการปฏิวัติรัฐประหาร ที่พระองค์ไม่เคยออกมาต่อต้านหรือปฏิเสธ หนำซ้ำกลับยอมให้คณะรัฐประหารหลายคณะเอาพระนามไปอ้าง ทรงยอมรับลงพระปรมาภิไธยรับรองคณะรัฐประหาร พร้อมทั้งเรียกเข้าเฝ้าแสดงความสนับสนุนให้เห็น อย่างนี้แล้วถ้าจะกล่าวว่า ธรรมราชาประชาธิปไตย เห็นจะเป็นการไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงแม้แต่น้อย
ผลงานของในหลวง
ที่ทำให้ประชาชนเสียโอกาส
วันที่ 5 พฤษภาคม 2553 นายอภิสิทธิ์นายกรัฐมนตรีของกษัตริย์ภูมิพลออกมาสดุดีในหลวงว่าทรงมีโครงการในพระราชดำริมากกว่า 3000 โครงการ เพื่อโฆษณาว่าในหลวงเหน็ดเหนื่อยเพื่อประชาชนไทยมาโดยตลอด ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กษัตริย์ภูมิพลมีอำนาจทำโครงการเพราะเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารคือรัฐบาลที่ต้องเสนอนโยบายต่อประชาชนในการเลือกตั้ง ทั้งต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการซักถามตรวจสอบ และเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ
ในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายบริหารประเทศ ส่วนกษัตริย์มีไว้เป็นสัญลักษณ์ไม่มีหน้าที่และไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศ
การที่กษัตริย์ภูมิพลมาแย่งอำนาจบริหารของรัฐบาลโดยที่ประชาชนไม่ได้เลือก และไม่ได้แถลงชี้แจงการใช้งบประมาณต่อสภา อีกทั้งห้ามการประเมินผล ตรวจสอบการใช้งบประมาณและการประเมินผลงาน ย่อมถือเป็นการแทรกแซงทางการเมืองแย่งอำนาจบริหารจากรัฐบาลที่ขัดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้กษัตริย์ภูมิพลยังมีพฤติกรรมแทรกแซงการใช้อำนาจตุลาการอย่างเปิดเผยหลายครั้ง การอ้างว่าพระเจ้าอยู่หัวมีเจตนาดีอยากให้ประชาชนเป็นสุข แต่ในเมื่อในหลวงไปทำโครงการทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจและยังห้ามการตรวจสอบ ถือว่าเป็นการแทรกแซงและทำลายหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถ้าปล่อยให้รัฐบาล จ้ดการเอง หากทำไม่ดี สภาและสื่อ ตลอดจนประชาชนยังมีโอกาสตรวจสอบท้วงติงได้ แต่ถ้าเป็นโครงการหลวงก็ไม่มีใครกล้าออกมาวิจารณ์เพราะกลัวกฎหมายปิดปากที่ห้ามวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัว การที่กษัตริย์ภูมิพลสร้างโครงการสารพัดมากมาย ทำให้รัฐบาลต้องมาช่วยดูแลเพื่อเอาใจในหลวงจนไม่สามารถสร้างโครงการระยะยาวที่มีความสำคัญและความจำเป็นจริงๆ ทั้งๆที่โครงการหลวงเป็นแค่การโฆษณาสร้างบารมีที่ไม่มีสาระประโยชน์ที่แท้จริง
การที่โฆษณาเป็นประจำว่าในหลวงทำงานหนัก ต้องถามว่าท่านทรงงานอะไร ท่านได้กำหนดแนวทางนโยบายอะไรให้ประเทศ และที่ท่านทำมันมีผลดีจริงๆอย่างไร ทำไมประเทศไทยยังเจริญช้ากว่าประเทศอื่นๆ ประชาชนไทยส่วนใหญ่ก็ยังลำบากขาดหลักประกันขาดโอกาสที่ดี ถือได้ว่ากษัตริย์ภูมิพลล้มเหลว ดีแต่โฆษณาด้านเดียวและปิดปากประชาชนเท่านั้น
ฝนหลวงได้ผลดีจริงหรือ
วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันบิดาแห่งฝนหลวง
กษัตริย์ภูมิพล ผู้อ้างว่าเป็นต้นกำเนิด โครงการฝนหลวง และยังได้โฆษณาว่าโครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร จากการที่ได้ทรงศึกษาค้นคว้า จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรจนถึงปี 2512 ทรงโปรดให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 เลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก
ที่จริงคนคิดเรื่องฝนเทียมคนแรกชื่อวินเซนท์ เชฟเฟอร์ Vincent Schaefer ในปี 2489 เป็นชาวสหรัฐเมื่อมีการตั้งโครงการทดลองภายใต้ชื่อสกายวอเตอร์ Sky water หรือน้ำจากฟ้า เพื่อวิจัยเรื่องฝนเทียม ระหว่างปี 2507-2531 โดยมีการทดลองในหลายรัฐ รวมถึงต่างประเทศอีกสองประเทศคือ ไทย และ โมรอคโค โดยไม่พูดถึงโครงการฝนเทียมในประเทศไทยที่อ้างว่าเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกเป็นประเทศแรกและไม่ได้กล่าวถึงมีการทำฝนเทียมในไทยมากนัก ต่อมามีการพูดถึงการทำฝนเทียมเพื่อป้องกันไม่ให้ฝนตกในกีฬาโอลิมปิค 2008 ที่จีน ในปี 2551
มีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวที่โหมโฆษณาคุณูปการของโครงการฝนหลวง ว่าสามารถแก้ภัยแล้งอย่างได้ผล เหมือนเป็นการหาเสียงของพระเจ้าอยู่หัวกันเป็นประจำทั้งๆที่มีหน่วยทำฝนเทียมของรัฐบาลรับหน้าที่ไปแล้ว
แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ต้องลงมาแสดงเหมือนจะมาหาความดีความชอบเองเป็นประจำ ถ้าการทำฝนเทียมของไทยได้ผลมาก ก็น่าจะรับทำให้ลาว กัมพูชา เป็นรายได้เข้าประเทศไปเลย เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวของไทยทรงมีความสามารถพิเศษในเรื่องทำฝนเทียม ทั้งๆที่สหรัฐซึ่งเป็นประเทศต้นคิดก็ยังบอกว่า ไม่ค่อยจะได้ผล แต่ทำไมประเทศไทยจึงโฆษณาว่าได้ผลมาก ประเทศสหรัฐก็มีพื้นที่แห้งแล้งอยู่ไม่น้อย แต่เขาก็ไม่ทำฝนเทียมซึ่งมีการใช้สารเคมีและไม่ค่อยมีความแน่นอน มีแต่กษัตริย์ภูมิพลเท่านั้นที่เอาเรื่องฝนเทียมมาทำโฆษณาว่าตนบังคับฟ้าฝนได้ เพราะเคยไปคุยนางเมขลา ถ้าว่าฝนหลวงได้ผลเกินคาดชนิดที่ว่าโปรยตรงไหน ตกตรงนั้น โปรยเมื่อไหร่ ได้เมื่อนั้น แล้วจะมีเขื่อนไปทำไม มีกรมชลประทานไว้ทำอะไร
ถ้าฝนหลวงได้ผลจริง ทำไมเกษตรกรยังต้องเผชิญกับภัยแล้ง ทำไมไม่ทำฝนหลวงทั้งปีไปเลย ชาวนาจะได้ทำนาทำสวนได้ตลอด ไม่ใช่ไปทำเอาตอนต้นหน้าฝน พอฝนตกก็บอกว่าเป็นฝนหลวง ที่เห็นๆกันอยู่เป็นประจำก็คือเดี๋ยวก็น้ำท่วม เดี๋ยวก็แล้ง ไม่ต่างจากประเทศที่ไม่มีโครงการฝนหลวงเลย ชาวนาชาวไร่ต้องประสบแต่ปัญหาทั้งปี แต่ก็ยังมีหน้ามาโฆษณาโครงการโดยไม่ยอมรับความจริง ประเทศที่ไม่มีโครงการฝนหลวงเขายังแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า เพราะงบจากภาษีประชาชนไม่ต้องแบ่งให้โครงการพระราชดำริที่ซ้ำซ้อนแถมตรวจสอบไม่ได้เขื่อนก็แล้ว แก้มลิงก็แล้ว ไหนจะฝนเทียม ไหนจะคุยกับเมขลาได้ แต่อีสานก็ยังแล้งอยู่วันยังค่ำ สรุปว่าฝนหลวงเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด หนำซ้ำอาจเป็นการเพิ่มสารเคมีลงไปในดินในน้ำในอากาศ ก็คงมีแต่พระเจ้าอยู่หัวคนเดียวเท่านั้นที่ได้หน้าและบารมี
กังหันชัยพัฒนาแก้ปัญหาน้ำเสียได้แค่ไหน
หลักการของการบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไปก็คือการเติมออกซิเจนลงไปมากๆ เพื่อเร่งการย่อยของเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ถ้าน้ำขาดออกซิเจน พวกจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้ออกซเจน จะทำงานแทน ทำให้เกิดคือก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือก๊าซไข่เน่าทำให้น้ำเหม็นและเป็นพิษ การเติมอากาศก็คือการหาวิธีทำให้น้ำได้มีโอกาสสัมผัสกับอากาศได้มากๆ ปกติใช้วิธีฉีดน้ำเป็นฝอย ขึ้นไปในอากาศ แต่การใช้กังหันชัยพัฒนาเป็นแค่การหมุนเวียนอากาศลงน้ำเพียงระดับผิวน้ำ ซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ปัญหามาก เพราะน้ำด้านล่างยังขังนิ่งเหมือนเดิม
โดยที่บ่อน้ำ และอ่างเก็บน้ำเป็นระบบปิด น้ำนิ่งไม่มีการไหลหมุนเวียน อย่างมากก็มีแค่ลมโกรกบางๆสร้างระลอกเฉพาะบริเวณผิวน้ำเท่านั้น ถึงแม้จะติดตั้งกังหันชัยพัฒนา น้ำส่วนที่อยู่ลึกลงไป ก็ยังคงอยู่นิ่งเหมือนเดิม สังเกตจากการเติมออกซิเจนในตู้ปลา ที่ต้องเริ่มจากด้านล่างขึ้นมาทั้งนั้น การหมุนกังหันแบบวิดน้ำก็กินไฟฟ้าและเปลืองพลังงานมาก จึงไม่มีประสิทธิภาพ
โครงการหลวงหรือโครงการในพระราชดำริส่วนใหญ่ก็ทุ่มงบประมาณมากไว้ก่อนเพื่อหวังสร้างชื่อว่าประสบผลสำเร็จโดยไม่คิดถึงความคุ้มค่าและการประหยัดอย่างที่โฆษณาแอบอ้าง เคยมีการตรวจพบสารพิษตกค้างในผักปลอดสารพิษ โครงการหลวงดอยคำ แต่ไม่มีใครกล้าพูดถึง
ฝรั่งก็มีกังหันแบบนี้ขายมานานแล้ว แต่เป็นกังหันหมุนเร็วกว่านี้ซึ่งก่อปัญหาเรื่องการทำลายสัตว์น้ำเล็กๆ กังหันชัยพัฒนาเป็นแค่การปรับปรุงคุณลักษณะบางอย่างแล้วเอาไปจดลิขสิทธิ์ แต่มันไม่ได้เป็นการประดิษฐ์ก้องโลกอย่างที่พยายามมีการโหมโฆษณา ถ้ากังหันชัยพัฒนาดีจริง ก็ควรจะส่งเสริมให้ใช้กันอย่างแพร่หลายไปทุกหนทุกแห่ง
การเติมอากาศลงน้ำก็ใช้พลังงานไม่มาก ปั้มอากาศกินไฟไม่มาก เพราะใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อทำให้ลูกยางสั่น ทำให้เกิดการอัดอากาศ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า การใช้กังหันชัยพัฒนาที่เป็นแค่ควักน้ำขึ้นมาสัมผัสอากาศ จึงได้ผลน้อยกว่าหรือใช้ปั้มอากาศหรือพ่นน้ำเป็นน้ำพุ ซึ่งดีกว่าและสวยงามด้วย การบำบัดน้ำอาจต้องมีการเติมเชื้อจุลินทรีย์ กังหันน้ำชัยพัฒนามีหลายรุ่น แต่ไม่คุ้มค่าคุ้มราคาสักรุ่น เปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ ทั้งงบในการวิจัย และงบในการผลิตเพิ่มไปทดลองใช้ ทำให้การคิดค้นโครงการหรืออุปกรณ์อย่างอื่นต้องพลอยล่าช้า หรือชะงักไปด้วย ทั้งๆที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่าไม่คุ้ม แต่กลับถูกนำไปโฆษณายกย่องให้พระเจ้าอยู่หัวเป็นบิดาแห่งการประดิษฐ์โลก มีการอ้างว่าโครงการพระราชดำริต่างๆมีการจัดการใช้งบประมาณ ใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างคุ้มค่าสูงสุด แต่พอปฎิบัติจริง กลับตรงกันข้ามกับคำว่าพอเพียงโดยสิ้นเชิง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง เป็นแค่ความคิดความเข้าใจของกษัตริย์ภูมิพลที่ยังไม่มีการวิเคราะห์วิจัยใดๆเลย แถมยังไม่มีใครกล้าวิจารณ์ ถกเถียง โต้แย้งด้วย แล้วยังยกย่องประหนึ่งเป็นทฤษฎีต้นตำรับที่ยังไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน
ถ้าคิดทฤษฎีใหม่ที่เห็นผลได้จริง ก็น่าจะได้รับรางวัลโนเบลแบบ จอห์น แนช จูเนียร์ (John Nash) นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่สร้างทฤษฎีดุลยภาพซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐศาสตร์แผนใหม่จนได้รับรางวัลโนเบลในปี 2537 ที่จริงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงก็เป็นแค่การโฆษณาเทิดพระเกียรติยกย่องกษัตริย์ผู้มิพลให้มีความเป็นอัจฉริยะที่เลอเลิศตามพระราชประสงค์เท่านั้นเอง
ทั้งๆที่กษัตริย์ภูมิพลได้แสดงให้เห็นถึงความคับแคบไม่อยากให้มีรัฐบาลที่มีความเก่งกล้าสามารถเพราะกลัวว่าจะมาเป็นคู่แข่งกับตนถึงกับทำการบ่อนทำลายโค่นล้มรัฐบาลที่ดีที่สุดที่มาจากการเลือกตั้งของคนส่วนใหญ่ และยังตามไล่ล่าทำลายอย่างไม่หยุดยั้ง กษัตริย์ภูมิพลมีความร่ำรวยมั่งคั่งกว่ากษัตริย์ราชวงศ์ใดในโลกแต่ยังอาศัยเกาะกินงบประมาณทั้งโดยตรงและโดยอ้อมรวมทั้งการออกรับบริจาคสารพัด โครงการพระราชดำริจึงเป็นเพียงเรื่องเอาหน้าที่ฉาบฉวยไม่ใช่การพัฒนาแบบยั่งยืนในระบอบประชาธิปไตย
เรื่องการผลิตใช้ในประเทศให้พอก่อนส่งออกนอกก็เป็นกฏพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์อยู่แล้วไม่ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย เรื่องการใช้สารเคมีเร่งการผลิตก็เคยมีการศึกษาวิจัยกันมานับสิบปีแล้ว ไม่ใชเรื่องที่เพิ่งจะมาคิดเอาได้ตอนนี้ การปลูกพืชหมุนเวียน ไร่น่าสวนผสมก็มีการสอนกันมาในตำราตั้งแต่ชั้นประถมมานานาแล้ว ไมใชเพิ่งออกมาจากพระอัจฉริยภาพ ใครๆก็รู้ แต่พอกษัตริย์ภูมิพลเอามาพูดเลยได้โอกาสโฆษณาหลอกคน จนเป็นเรื่องใหญ่โต ยกตนเองเป็นปราชญ์ ทั้งๆที่เป็นหลักพื้นฐานของกคำว่าพอเพียง
ที่มีการโฆษณากันเอิกเกริก ในช่วงแรกๆ คือการพยายามสร้างภาพให้คนประหยัดอดออม เช่น ภาพหลอดยาสีฟันและโฆษณามากมายเกี่ยวกับการใช้พระราชวังทดลองโครงการปลูกไร่ทำสวนต่างๆ ซึ่งมันขัดกับภาพของพระราชวงศ์ที่ปรากฏออกมาโดยเฉพาะเรื่องความมั่งคั่งร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีซ้อนและการใช้งบประมาณเลี้ยงดูและสนับสนุนราชวงศ์จักรีอย่างมากมายมหาศาล เรื่องพอเพียงไม่มีอะไรแปลกใหม่ก็แค่สอนให้ประหยัดเท่านั้น แต่พากันไปยกย่องเกินเหตุว่าแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ก็เลยถึงทางตัน เพราะมันแก้ปัญหาไม่ได้ โดยที่รัชกาลที่ 9 เองก็ได้แสดงความฟุ้งเฟ้อจัดงานโฆษณาเฉลิมฉลองให้ตนเองและราชวงศ์เป็นประจำมาโดยตลอด
ศ. ดร. เควิน ฮิววิสัน ( Dr.Kevin Hewison ) ผู้อำนวยการศูนย์เอเซียศุกษา มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ได้วิจารณ์รายงานของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ( UNDP ) ที่ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่า รายงานฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาแทบทั้งหมดเป็นการเทิดพระเกียรติ และเป็นเพียงเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อภายในประเทศ
ส่วนนายแฮคกัน บอร์กแมน (Hakan Bjorkman)รักษาการผู้อำนวยการ UNDP กล่าวว่า "UNDP ต้องการให้มีการอภิปรายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แต่เป็นไปไม่ได้ เพราะเสี่ยงต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษถึงจำคุก"
กษัตริย์ภูมิพลสร้างประโยชน์อะไร
ให้ประชาชนบ้าง
กษัตริย์ภูมิพลสร้างความสงบ และความมั่นคง ให้กับสังคมไทยจริงหกษัตริย์ภูมิพลรักประชาชนและต้องการสร้างความสงบร่มเย็นจริงหรือไม่ ก็คงเห็นได้จากการที่ทหารรักษาพระองค์และทหารเสือพระราชินีได้ปฏิบัติการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อ 10 เมษายนและ 19 พฤษภาคม 2553 แต่กษัตริย์ภูมิพลกลับนิ่งเฉย แบบเดียวกับกรณีที่กษัตริย์ภูมิพลทราบดีว่ารัชกาลที่ 8 พี่ชายของตนตายอย่างไร แต่กลับเงียบและปิดคดีด้วยการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์สามคนและปล่อยให้กลายเป็นข้ออ้างในการขับไล่นายปรีดี คนดีของสังคมไทยออกจากประเทศไทย กษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้สนับสนุนความรุนแรงในเหตุการณ์เข่นฆ่านักศึกษาเมื่อ 6 ตุลา 2519 และสนับสนุนยกย่องผู้ที่เข้าร่วมการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 แทนที่จะต้องออกมาแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้องระบอบประชาธิปไตยและการยึดอำนาจของหทาร รวมถึงการใช้กฎหมายหมิ่นกษัตริย์มาปิดปากและเล่นงานประชาชน
สรุปแล้วกษัตริย์ภูมิพลไม่เคยแสดงความกล้าหาญที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง ไม่กล้าวิจารณ์ความไม่ถูกต้องในสังคมทั้งๆ ที่เป็นประมุข และไม่มีอุดมการณ์เพื่อประเทศชาติและปะชาชน มีแต่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น
มีการโฆษณากันมาตลอดว่า ถ้าสิ้นกษัตริย์ภูมิพลแล้ว สังคมไทยจะปั่นป่วน ทั้งๆที่สังคมมันปั่นป่วนอยู่แล้วโดยตัวต้นเหตุที่สำคัญก็คือกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง วิกฤตการเมืองในสมัยนายกทักษิณที่เริ่มต้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของพันธมิตรเสื้อเหลืองและตามด้วยการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 เป็นวิกฤตการณ์ที่กษัตริย์ที่ภูมิพลมีส่วนสนับสนุนอย่างเต็มที่โดยแสร้งทำเป็นนิ่งเฉยในเชิงเห็นด้วยโดยปริยายและออกมาแสดงความชื่นชมยินดีเป็นระยะๆ พร้อมทั้งใช้ทหารและศาลเป็นเครื่องมือทำลายระบอบประชาธิปไตยมาโดยตลอด
กษัตริย์ภูมิพลส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคม
ผ่านโครงการหลวงต่างๆ จริงหรือ
โครงการหลวงของกษัตริย์ภูมิพลไม่มีการตรวจสอบและห้ามการวิจารณ์ โดยบังคับให้ทุกคนต้องยกย่องสดุดีแต่เพียงด้านเดียว โดยหน่วนงานทั้งรัฐและเอกชนต้องให้การสนับสนุนเต็มที่เพื่อเอาใจสถาบันกษัตริย์ที่มีอิทธิพลครอบงำทุกอย่างในสังคมไทย จึงเปิดโอกาสให้มีการทุจริตกันโดยไม่มีใครกล้าตรวจสอบ พบว่าโครงการหลวงมีผลต่อการพัฒนาชีวิตของประชาชนน้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับโครงการของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กษัตริย์ภูมิพลไม่พอใจมากจนต้องสั่งการบ่อนทำลายและล้มล้างรัฐบาลทักษิณ
กษัตริย์ภูมิพลร่ำรวยมั่งคั่งเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีสระว่ายน้ำให้สุนัขของตนเอง มีรถมายบัคราคาคันละหลายสิบล้าน มีเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งใหม่เอี่ยมบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 19 คน ซื้อจากสหรัฐลำละ 1166 ล้านบาทถึง 3 ลำ แต่ก็ไม่ละอายใจเลยที่จะสั่งสอนประชาชนให้พอเพียงสร้างภาพว่าใช้ดินสอจนกุดและรีดหลอดยาสีฟันจนแบน โดยโฆษณาแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่คัดค้านการกระจายรายได้ และสอนให้คนจนพึงพอใจในชีวิตยากลำบากและถูกเอารัดเอาเปรียบต่อไป ให้ประชาชนจมอยู่กับความยากจชาชนและดักดานต่อไปบนความเหลื่อมล้ำที่มีมากขึ้นไปทุกที ถ้าใครวิจารณ์ก็จะโดนคดีหมิ่นกษัตริย์
กษัตริย์ภูมิพลร่ำรวยมากจริงๆ หรือไม่จริง
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ให้สัมภาษณ์กรณีเว็บไซต์แวนคูเวอร์ซัน ของแคนาดา รายงานพระมหากษัตริย์ไทยครองอันดับหนึ่งผู้นำที่รวยที่สุดในโลก ว่าคนที่แพร่ข่าวมีเจตนาอะไรแน่ ฝรั่งโง่ก็เยอะ คำว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของหลวง หมายความว่า เป็นของรัฐ แต่ฝรั่งมาเห็นตราครุฑก็เลยคิดว่าเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ที่จริงกระทรวงการคลังดูแล ประธานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไม่ใช่สมบัติของพระองค์ มันเป็นของสถาบันกษัตริย์ มีการตั้งคณะกรรมการ มีอะไรต่างๆที่ต้องขยายความ แต่นำไปเผยแพร่ไปต่างๆ นานา น่าจะรู้อยู่แก่ใจว่าอะไรเป็นอะไร ต้องดูที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นของพระองค์จริงๆ ที่สืบทอดราชสมบัติกันมา เหมือนมรดกตกทอดมาถึงลูกถึงหลาน
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ของในหลวง ให้ไปดูสิบ้านช่องหรือวังของท่าน อย่าว่าแต่มหาเศรษฐีต่างประเทศเลย มหาเศรษฐีในเมืองไทยยังรวยกว่าพระเจ้าอยู่หัวเยอะ แล้วบอกว่าในหลวงรวยที่สุดในโลกได้อย่างไร สติไม่ดี.. จากที่ตนได้มีโอกาสถวายงานส่วนพระองค์ ก็เห็นอยู่ว่าทรงใช้จ่ายน้อยที่สุด แล้วเวลาพูดถึงเรื่องประหยัด อะไรต่ออะไร เราก็นึกและพูดถึงท่านกันทุกที
แปลกนะ กับข่าวที่บอกว่าพระองค์รวยที่สุด ดูชีวิตพระองค์ท่านสิ ท่านอยู่วังเล็กๆ ใช้ของประหยัด กลายเป็นต้นแบบความพอเพียง ข่าวสองข่าวมันขัดกันในตัวเองอยู่แล้ว อันนี้ก็ต้องฝากสื่อไปเหมือนกัน สื่อเข้าใจบทบาทของตัวเองผิด ข่าวเป็นอย่างนี้ก็สื่อกันไป ในเมืองไทยข้อมูลก็รู้อยู่แก่ใจ ตนไม่เชื่อว่าสื่อเป็นคนโง่ เพราะถ้าโง่จะเป็นสื่อมวลชนไม่ได้
กรณีที่มีคนนำเรื่องสถาบันมาพูดวิพากษ์วิจารณ์ตามที่สาธารณะมากขึ้น โดยเฉพาะทางสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อย่างเปิดเผยและโจ่งแจ้งมากขึ้นนั้น ดร.สุเมธกล่าวว่า "ไอ้พวกนี้มีตัวตนที่ไหน อยากด่าใครก็ด่า เพราะฉะนั้น ในโลกออนไลน์จะสื่ออะไรก็ได้ทั้งนั้น ขืนเราเอามาเป็นสาระ ผมว่ารกสมอง"ดร.สุเมธกล่าวว่า ได้เข้าเฝ้าในหลวงเมื่อสองเดือนที่แล้ว ท่านก็ทรงพระเกษมสำราญดี แต่อาจจะมีพระอาการของหลังที่ยังคงไม่ปกติ ทำให้เดินไม่สะดวก แต่ก็ยังทรงงานอยู่ตลอด มิเคยได้หยุด เรื่องน้ำ ดิน อากาศ และทุกข์สุขของประชาชน
ข้อสังเกตจากการที่นายสุเมธต้องออกมาโต้ข่าวความร่ำรวยมั่งคั่งที่สุดของกษัตริย์ภูมิพล แทนที่จะไปชี้แจงต่อฟอร์บสที่เป็นต้นตอการจัดอันดับความร่ำรวยของราชวงศ์ทั่วโลกเพื่อสื่อต่างประเทศอื่นๆจะได้ไม่นำข้อมูลจากฟอร์บไปใช้ต่อ แต่นายสุเมธกลับมาชี้แจงผ่านสื่อไทยซึ่งสื่อในประเทศก็ไม่กล้าออกข่าวความร่ำรวยของพระเจ้าอย่หัวอยู่แล้ว ถ้าสงสัยก็น่าจะไปถามกันเงียบๆ ที่ต่างประเทศ ไปถามสื่อที่ให้ข่าว แต่กลับมาโต้แย้งผ่านสื่อในประเทศ ทำให้คนในประเทศได้รู้กันมากขึ้นว่าสื่อต่างประเทศเขาจัดลำดับให้
ในหลวงเป็นกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลกในหลวงที่โดนพูดพาดพิงถึง นั่งรถมายบัคราคาคันละไม่ต่ำกว่า 75 ล้านบาท ส่วนนายสุเมธก็ขับรถฟอร์รารี่ราคาหลายสิบล้านบาท ที่ต้องรีบออกมาตอบโต้แบบข้างๆคูๆก็เพราะได้โฆษณาหลอกลวงประชาชนไว้มากว่าในหลวงทรงประหยัดมาก ท่านคงจนมาก น่าสงสารท่านมาก
พอมีข่าวโด่งดังว่าเป็นกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลกสามปีซ้อนโดยรวยกว่ากษัตริย์บรูไนและซาอุซึ่งมีบ่อน้ำมันมหาศาล ทำให้เกิดอาการร้อนตัว ต้องออกมาโต้แย้งแบบข้างๆคูๆเป็นข่าวเอิกเกริกในประเทศโดยไม่จำเป็น
ถ้านายสุเมธไปเข้าเฝ้าบ่อย ก็น่าจะลองเสนอให้ในหลวงช่วยป้องกันความสับสนของสังคมไทยและสังคมโลก โดยยุบเลิกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แล้วโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับชอบดูแล เงินของทรัพย์สินก็ยกให้เป็นงบประมาณแผ่นดินหรือเป็นเงินคงคลังอย่างที่หลวงบัวบริจาคทองคำเข้าคลังหลวง หุ้นก็ยกให้กระทรวงการคลังเอาไปบริหารจัดการ มีกำไรก็เอาเข้ารัฐ ที่ดินก็ยกให้กรมธนารักษ์เอาไปหารายได้เข้าแผ่นดิน
เวลาเสด็จไปงานไหนก็พูดพร่ำสอนให้ประหยัด สมถะ พอเพียง แล้วจะเก็บเอาทรัพย์สมบัติไว้ทำไมกันนักหนา ทั้งเงิน ทั้งหุ้น ทั้งที่ดิน แค่เงินเดือนที่รัฐจัดสรรให้ปีละสองพันกว่าล้านบาทก็น่าจะเกินพอแล้ว ถ้ามันมากเกินไปก็บอกรัฐบาลไป เขาจะได้ปรับลดให้สมกับความประหยัด ความสมถะ เห็นบอกว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของหลวงของแผ่นดิน ก็ทำให้มันเป็นของแผ่นดินให้ชัดเจนแบบไร้ข้อกังขาไม่ได้หรือ
การที่สื่อนอกเขาจัดลำดับให้กษัตริย์ภูมิพลรวยที่สุดในโลก เขาอาจมีเจตนาจะบอกให้ชาวโลกรู้สถานทางเศรษฐกิจ มีทรัพย์สินและสินทรัพย์ที่ร่ำรวยมากกว่ากษัตริย์ประเทศอื่นๆ ส่วนใครจะคิดต่อหรือสงสัยต่อว่า ทำไมในหลวงถึงได้รวยมากมายขนาดนั้น รวยมาจากไหน รวยแล้วทำไมยังของบจากรัฐบาลเพิ่มขึ้นทุกปี ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง นายสุเมธคงโกรธที่ตัวเองอุตส่าห์เป็นตัวตั้งตัวตีโฆษณาเรื่องของความประหยัดพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว แต่สื่อฝรั่งก็รู้จนได้ว่าในหลวงร่ำรวยมั่งคั่งจริงๆ ไม่ใช่รวยเล่นๆ พอโต้แย้งเขาไม่ได้ เลยพาลไปว่าเขาโง่
ถ้าทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของรัฐ เป็นของหลวง แล้วใครที่เป็นคนมีอำนาจอนุญาตให้ใช้สมบัติเหล่านั้น เป็นเรื่องชัดเจนที่บัญญัติไว้ในพรบ.สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว ขณะที่เงินงบประมาณจากภาษีอากรของประชาชนก็ล้วนแต่นำไปช่วยสร้างความเจริญมั่งคั่งให้สำนักงานทรัพย์สินฯมาโดยตลอดทั้งถนนหนทางและสาธารณูปโภคต่างๆที่ต้องทุ่มเทลงไปโดยเฉพาะในบริเวณที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินของพระเจ้าอยู่หัว
นายสุเมธแก้ตัวว่าประธานของผู้ดูแลสนง. ทรัพย์สิน คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพราะทรงอำนาจมากทำให้ไม่มีใครกล้าตรวจสอบ แต่จงใจที่จะไม่บอกว่า กรรมการอีก 4 คน กษัตริย์เป็นคนแต่งตั้งล้วนๆ ข้อยืนยันว่าใครมีอำนาจจัดการหรือสั่งจ่ายทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ก็คือ พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2479 ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2491หลังการยึดอำนาจของพลโทผิน ชุณหะวัณ ที่มีสาระสำคัญ คือ
มาตรา 4 ตรี ให้มีคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีก ไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง และในจำนวนนี้ จะได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 1 คน
มาตรา 6 รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่จะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน ..เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น รายได้ซึ่งได้หักรายจ่าย ..จะจำหน่าย ใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีบทกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น
มาตรา 8 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน...
จึงเห็นได้ชัดว่าพระมหากษัตริย์ คือผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่แท้จริงแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ต้องเสียภาษีเพราะอ้างว่าเป็นของสาธารณะ กลายเป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของปวงชนชาวไทย แต่กษัตริย์เป็นผู้ใช้ทรัพย์สินนั้นแต่ผู้เดียว แบบเดียวกับที่เขียนในรัฐธรรมนูญว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจทั้งหมดเพียงคนเดียว
ในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา จึงมีปัญหาให้ต้องตีความกฎหมายหลายครั้ง จากปี 2518 เป็นต้นมา ประเด็นที่สถานภาพของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา ถึง 5 ครั้ง ซึ่งทุกครั้ง ยกเว้นครั้งสุดท้ายครั้งเดียว ได้ข้อสรุปออกมาว่า ไมใช่หน่วยงานของรัฐ หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาสหกิจ และไม่อยู่ในการควบคุมหรือกำกับใดๆของรัฐบาล แม้แต่ครั้งสุดท้ายที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเปลี่ยนมาตีความว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นหน่วยงานของรัฐ ก็ยังยืนยันว่า สำนักงานทรัพย์สินฯมิได้ขึ้นอยู่ในกำกับของคณะรัฐมนตรีหรือกระทรวงทบวงกรมใด
เป็นความจริงที่ว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ในการกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์โดยเด็ดขาด และไม่มีใครหรือหน่วยงานใดควบคุมตรวจสอบได้นั้น เป็นเรื่องที่รู้กันดีมานานแล้วในแทบทุกวงการ ทั้งวงการธุรกิจ วงการรัฐบาล และแม้แต่ประชาชนจำนวนมาก
การที่รายงานประจำปี 2553 ของสำนักงานทรัพย์สินฯพยายามบิดเบือนว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นเรื่องไม่จริง ตามหลักการแล้วทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินของรัฐในประเทศที่ปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราช โดยต้องเป็นทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนและสามารถตรวจสอบควบคุมโดยสาธารณะได้อย่างเต็มที่ทุกประการ เช่นเดียวกับทรัพย์สินของรัฐอื่นๆ แต่ที่สถานะของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของไทยมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อ 60 กว่าปีก่อน สมัยรัฐบาลนิยมเจ้าของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการรัฐประหารโค่น คณะราษฎรรัฐบาลหลวงธำรงค์ของนายปรีดีลงไป ได้ออกพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงอำนาจการควบคุมทรัพย์สินของรัฐส่วนนี้ ให้กลับไปเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชอีก คือ ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการ จำหน่ายใช้สอย ผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินส่วนนี้ ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใดๆ ผลก็คือทำให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่มีลักษณะเป็นทรัพย์สินของรัฐ กลายมาเป็นทรัพย์สินที่มีลักษณะ ส่วนพระองค์ ไปโดยปริยายไป คือให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยเหมือนกัน
ในหลวงภูมิพลใจบุญมากใช่หรือไม่-ในหลวงรับสั่งคนมีมาก ควรที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันคนไม่มี ส่วนผู้ไม่มี ไม่ควรรอช่วยเหลือต้องพยายาม
วันที่ 27 กันยายน 2553 พระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ให้ พล.อ.เปรม ประธานองคมนตรี นำคณะองคมนตรี และภริยา เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ โดยมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับหลักการที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุขว่า "บุคคลที่นับได้ว่า มีสิ่งต่างๆ มากกว่าผู้อื่น สมควรที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หรือแบ่งปันแก่ผู้ไม่มี อย่างพอเหมาะพอสม และตนเองไม่เดือดร้อน ส่วนผู้ที่ไม่มี ก็ควรพยายาม ไม่ควรรอคอยแต่ความช่วยเหลือ หรือคิดว่าตนเองไม่มีความสามารถ หากช่วยเหลือกันดังนี้แล้ว บ้านเมืองก็จะสงบสุข ... " คือสอนให้คนที่มั่งมีช่วยคนที่ไม่มีไปก่อน ส่วนคนไม่มีก็อย่ารอแต่ความช่วยเหลือทั้งๆที่ในหลวงเองทรงมั่งคั่งร่ำรวยกว่าใครทั้งหมดแต่ก็ยังใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินมากกว่ากษัตริย์ในประเทศที่เจริญกว่า แล้วยังเปิดรับบริจาคเพื่อนำไปใช้จ่ายตามใจชอบตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาโดยไม่ว่างเว้น
ขณะที่เมื่อวันที่ 28 ก.ย.2553 นายบิล เกตส์ (Bill Gate) ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ และอภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของสหรัฐ ได้เรียกร้องให้ทางการรัฐแคลิฟอร์เนียที่เขาอาศัยอยู่ เพิ่มภาษีบุคคลที่มีรายได้สูงเพื่อช่วยเหลือชนชั้นกลาง และนำเงินไปสนับสนุนกองทุนสร้างโรงเรียนที่ขาดแคลนเงินทุน นายบิลเก็ต พูดไปบริจาคไป ต่างจากกษัตริย์ภูมิพลที่ได้แต่พูดแถมยังขอรับการบริจาคอีกต่างหาก
วันที่ 5 กันยายน 2553 นายเฉิน กวงเปียว ( Chen Guang biao ) มหาเศรษฐีของจีนเจ้าของกิจการรีไซเคิลรายใหญ่ ได้เขียนจดหมายถึงนายบิลเกตเพื่อแสดงเจตจำนงว่าจะบริจาคทรัพย์สินทั้งหมดมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านหยวน หรือราว 250,000 ล้านบาทแก่การกุศลหลังจากตนเองเสียชีวิต
นายบิล เกตส์ และวอร์เรน บัพเฟตต์ (Warren Buffet ) ประธานบริษัทไมโครซอฟท์ มีแผนเดินทางมายังจีน เพื่อเชิญชวนมหาเศรษฐีจีน 50 ราย เข้าร่วมโครงการกุศลที่มีเศรษฐีอเมริกัน 40 คนแสดงเจตจำนงบริจาคเงินแล้วร่วม 125,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราว 4.75 ล้านล้านบาท นายเฉิน วัย 42 ปี ระบุว่าเป็นเจตน์จำนงค์ของตนเอง เพื่อตอบสนองความมุ่งมั่นของบิลเกตส์ และว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะได้ตอบแทนสังคมด้วยการบริจาคทรัพย์สินทั้งหมดที่ได้มาจากสังคมคืนให้กลับไป ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นายเฉินได้บริจาคเงินให้กับการกุศลมาแล้วประมาณ 1,340 ล้านหยวน หรือราว 6,700 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือประชาชนกว่า 700,000 คน ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเศรษฐีใจบุญต่างประเทศเขาช่วยเหลือมนุษยชาติโดยไม่แบ่งแยกว่าชาติไหนเป็นชาติไหน เขาบริจาคกันหลายพันล้านดอลล่าร์
แต่มหาเศรษฐีไทยที่รวยติดอันดับหนึ่งเหนือกษัตริย์ทั่วโลกกลับทำตัวขวางความเจริญด้วยจิตใจที่คับแคบ ขนาดว่าน้ำท่วมประเทศที่ตนเองก็อาศัยอยู่ คงจำใจช่วยด้วยเงินแค่หลักสิบล้านบาท ซึ่งก็คงแค่เจียดจากเงินงบประมาณหรือเงินบริจาคของประชาชนนั่นแหละ
ถ้าไม่มีสถาบันกษัตริย์
คนไทยจะอยู่อย่างไร
สถาบันกษัตริย์ไม่เคยมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่เลย เช่น เรื่องการประกอบอาชีพ เลี้ยงดูครอบครัว การเรียนหนังสือ หรือการผ่อนคลายพักผ่อน เพราะสถาบันกษัตริย์ไม่ได้ช่วยอะไรเลย และไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีจริงแต่อย่างใด
นิตยสารฟอร์บส ระบุว่ากษัตริย์ภูมิพลมีทรัพย์สินเท่าที่รวบรวมได้ถึง 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่าหนึ่งล้านล้านบาท) ทำให้ในหลวงเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกอันดับที่ 8 และเป็นกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลกอันดับที่หนึ่งมาหลายปีติดต่อกันโดยมีทรัพย์สินมากกว่ากษัตริย์บรูไนเจ้าของบ่อน้ำมันใหญ่ที่มี 20 พันล้านเหรียญสหรัฐที่รวยเป็นอันดับสอง และเป็นคนที่รวยที่สุดในประเทศไทยตัวจริง ขณะที่เศรษฐีไทย 40 อันดับแรก มีทรัพย์สินรวมกัน 25 พันล้านเหรียญสหรัฐ น้อยกว่ากษัตริย์ภูมิพลคนเดียวถึง10พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3 แสนล้านบาท
แต่พวกนิยมกษัตริย์ก็มักอ้างว่าวังสวนจิตรลดายังเล็กกว่าบ้านของเศรษฐีไทยหลายคน กษัตริย์ภูมิพลกินอยู่แบบประหยัดมัธยัสถ์มากที่สุดยิ่งกว่าคนไทยทั่วไป โดยโฆษณาว่าช่างซ่อมรองเท้าเล่าว่ากษัตริย์ภูมิพลส่งรองเท้าเก่ามาให้ซ่อมตลอดจนซ่อมไม่ไหว สมาคมทันตแพทย์ไทยก็ไปเข้าเฝ้าขอหลอดยาสีฟันเก่า ที่กษัตริย์ภูมิพลใช้ยาสีฟันได้จนหยดสุดท้าย โดยรีดจนหลอดแบนเป็นกระดาษ โดยนำไปตั้งแสดงที่สมาคมทันตแพทย์ไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไร้สาระเอามากๆ
ขณะที่อ้างว่าทรัพย์สินมูลค่ามากมายมหาศาลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตรย์ถูกยึดมาเป็นของรัฐ ตั้งแต่หลังการปฎิวัติ 2475 แล้วจึงไม่ต้องเสียภาษี ทั้งที่ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายที่แท้จริงก็คือกษัตริย์ภูมิพล
ในขณะที่กษัตริย์ภูมิพลเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด แต่ประชาชนไทยทั้งประเทศต้องออกเงินภาษีเพื่อหนุนกิจกรรมของราชวงศ์เป็นพันๆ ล้านบาท เช่นหลังการทำรัฐประหาร 19 กันยา 2549 มีการเพิ่มงบประมาณแก่สำนักพระราชวัง จาก 1,137 ล้านบาท เป็น 2,086 ล้านบาท และในปี 2551 ยังอนุมัติงบประมาณซื้อเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง อีกร่วม 3500 ล้านบาท ยอดเงินที่ประชาชนคนยากคนจนต้องจ่ายเพื่ออุ้มเจ้า สูงเกือบถึง 6 พันล้านบาท
ในปี 2554 รัฐบาลอภิสิทธิ์อนุมัติงบประมาณที่ใช้ในการเชิดชูความจงรักภักดี และโครงการหลวงสูงถึง 1,781 ล้านบาท การมีสถาบันกษัตริย์ราคาแพงแบบนี้จึงไม่คุ้มค่า เพราะไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง แต่สถาบันกษัตริย์ไทยแสดงบทบาทหลักที่เป็นประโยชน์ต่อนายทหาร ข้าราชการชั้นสูง นักการเมือง และนายทุนเครือข่ายกษัตริย์ โดยพวกนายทหารและกลุ่มที่คุมอำนาจรัฐมักอ้างว่าทำทุกอย่างเพื่อในหลวง ดังนั้นไม่ว่าเขาจะทำรัฐประหาร โกงกิน คุกคามปราบปรามประชาชน ก็จะอ้างว่าทำเพื่อปกป้องกษัตริย์ และถ้าใครกล้าวิจารณ์กษัตริย์ก็จะโดนกฏหมายหมิ่น มาตรา 112 และกฏหมายอื่นๆ
ถ้าประเทศไทยไม่มีกษัตริย์
เราจะอยู่กันอย่างไร
ถ้าประเทศไทยไม่มีกษัตริย์ สังคมก็น่าจะดีขึ้นเพราะ
เราจะประหยัดงบประมาณมหาศาลที่จะนำมาพัฒนาชีวิตประชาชนทุกคน เพราะเรายกเลิกสถาบันที่เสียค่าใช้จ่ายทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่แพงมหาศาลแต่ไม่มีประโยชน์ต่อประชาชน
ทหารจะไม่สามารถนำสถาบันกษัตริย์มาบังหน้าเพื่อทำลายประชาธิปไตย
เราจะเริ่มสร้างรูปการ จิตสำนึกในระบอบประชาธิปไตย และในขบวนการยุติธรรมได้ เพราะเราสามารถสร้างวัฒนธรรมการเป็นพลเมืองที่ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีการหมอบคลานหรือต้องถูกบังคับให้เคารพบูชาใคร
-เราจะมีเสรีภาพในการใช้ปัญญา การแสดงออก และร่วมกันคิดเพื่อสร้างสังคมใหม่
ประชาชนจะไม่ยากลำบากจากการปิดถนนอันเนื่องมาจากขบวนเสด็จที่มีมากมายเป็นประจำ
เราสามารถนำวังต่างๆ มาใช้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
ระบอบประธานาธิบดี
ไม่ดีตรงไหน
เครือข่ายภูมิพลมักกล่าวหาว่าคุณทักษิณอยากเป็นประธานาธิบดี ทั้งๆที่หลายประเทศก็มีประธานาธิบดี
รูปแบบของการปกครองในระบอบประธานาธิบดีหรือ President เกิดขึ้นแห่งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหลักการดังนี้
มีการแบ่งแยกอำนาจ ได้แก่การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติอย่างชัดเจน โดยฝ่ายบริหารเป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐสภา รัฐสภาไม่มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจประธานาธิบดีหรือรัฐบาล ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนจะเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีรับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดีเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ดังนั้นรัฐมนตรีจึงไม่ต้องไปร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อตอบกระทู้ถามจากรัฐสภาแต่อย่างใด และรัฐมนตรีจะไม่สามารถเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ (ยกเว้นรองประธานาธิบดีที่จะเป็นประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง)
ใช้หลักการคานอำนาจ เนื่องจากทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาต่างได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน ดังนั้น จึงมีการแบ่งแยกอำนาจกันอย่างเด็ดขาดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยใช้วิธีตรวจสอบและคานอำนาจซึ่งกันและกัน เพื่อมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจมากเกินไป เช่น ประธานาธิบดีมีอำนาจในการใช้สิทธิยับยั้ง (Veto)โดยการไม่ลงนามในกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ในขณะที่รัฐสภามีอำนาจลบล้างสิทธิยับยั้งดังกล่าวของประธานาธิบดีได้ด้วยการลงคะแนนรอบสอง ซึ่งหากคะแนนเสียงของสมาชิกสภาทั้งสองยืนยันด้วยคะแนน 2 ใน 3 ก็จะถือว่ากฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้ได้
รัฐสภา (Congress) มีอำนาจในการกล่าวโทษประธานาธิบดี โดยต้องมีคะแนน 2 ใน 3 ของรัฐสภา และขั้นตอนสุดท้ายวุฒิสภาจะเป็นผู้ปลดประธานาธิบดีด้วยเสียง 2 ใน 3 ของวุฒิสภา
วุฒิสภา (Senate) มีอำนาจในการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (เป็นรายบุคคล) เช่นรัฐมนตรี หรือเอกอัครราชทูตตามที่ประธานาธิบดีเสนอมา หากวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบก็จะดำรงตำแหน่งไม่ได้
การเข้าสู่ตำแหน่งของตุลาการ สำหรับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลสูง (Supreme Court) ที่อยู่ได้จนตลอดชีวิตนั้น อำนาจในการแต่งตั้งเป็นของประธานาธิบดี โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ส่วนผู้พิพากษาอื่นล้วนมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งศาลสูงในระบอบประธานาธิบดีมีอำนาจชี้ขาดว่ากฎหมายฉบับใดที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกมานั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งหากกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัตินั้นขัดรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นเป็นอันตกไป
ประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นคนๆ เดียวกัน เพราะประธานาธิบดีเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนทั้งประเทศ ทำให้ประธานาธิบดีมีอำนาจในการบริหารประเทศอย่างมากมายและได้รับการยอมรับจากประชาชนในฐานะประมุขของประเทศอีกด้วยซึ่งแตกต่างจากระบอบรัฐสภาที่ประมุขของประเทศกับหัวหน้าฝ่ายบริหารจะเป็นคนละคนกัน
ในการปกครองระบอบรัฐสภา เช่น อังกฤษ อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ นั้น ประมุขของประเทศอาจเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี (ในกรณีที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์ เช่น อินเดีย เป็นต้น) ก็ได้ แต่กษัตริย์หรือประธานาธิบดีในระบอบนี้เป็นเพียงประมุขของประเทศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศแต่อย่างใด หัวหน้าฝ่ายบริหารในการปกครองระบอบรัฐสภาคือนายกรัฐมนตรีเท่านั้น โดยประชาชนจะเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรแล้วผู้แทนฯนั้นไปตั้งรัฐบาลอีกทีหนึ่ง คือหัวหน้ารัฐบาลในระบอบรัฐสภามาจากสภา แต่หัวหน้ารัฐบาลในระบอบประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยเฉพาะ
เมื่อดูตามหลักการในระบอบประชาธิปไตยรวมทั้งผลที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะต้นแบบคือ สหรัฐอเมริกาลูกพี่ใหญ่ของรัชกาลที่ 9 แล้ว จะเห็นได้ว่าระบอบประธานาธิบดีก็น่าจะดีกว่าระบอบราชาธิปไตยของไทยด้วยประการทั้งปวง เพราะประชาชนสามารถเลือกผู้บริหารประเทศที่แท้จริงได้โดยตรงโดยมีการแบ่งแยกอำนาจและตรวจสอบถ่วงดุลย์อำนาจโดยมีวาระที่แน่นอนสี่ปีหรือห้าปี ไม่ใช่ยึดครองอำนาจไปเรื่อยๆตลอดชีวิตแถมยังสืบทอดไปสู่ลูกหลานเหมือนเป็นสมบัติส่วนตัว โดยตรวจสอบหรือวิจารณ์ไม่ได้แม้แต่น้อย แถมยังทำตัวเป็นกบฎล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาตลอด จึงไม่มีคุณค่าที่ประชาชนไทยจะต้องไปปกป้องรักษา แต่เป็นหน้าที่ของพลเมืองที่รักชาติต้องทำลายระบอบที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตยและขัดขวางความเจริญของประเทศชาติและสันติสุขของสังคมไทย
ระบอบสาธารณรัฐ Republic หรือรัฐของปวงชน คือ ประเทศที่อำนาจทางการเมืองทั้งหมดอยู่ในการควบคุมของประชาชน ส่วนใหญ่ เรียกประมุขของรัฐว่าประธานาธิบดี มาจากคนธรรมดา ที่มาจากการการเลือกตั้ง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี บางแห่งมีการกำหนดด้วยว่า จะเป็นได้ไม่เกินกี่สมัย
ส่วนราชอาณาจักร Kingdom คือ รัฐหรือประเทศที่ประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ ที่สืบทอดการเป็นประมุขทางสายโลหิต ปัจจุบัน ระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมีสองรูปแบบ คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่กษัตริย์มีอำนาจในการเมืองการปกครองโดยสมบูรณ์ คือเป็นทั้งประมุขของประเทศและเป็นประมุขของรัฐบาลด้วย
แบบที่สองคือระบอบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยกำหนดสิทธิและนาจของกษัตริย์ไว้โดยรัฐธรรมนูญ ทิ่และมาจากการร่างของประชาชนผ่านตัวแทนคือสภา
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากแล้ว ได้แก่ บรูไน โอมาน ซาอุดีอาระเบีย และนครวาติกัน ส่วนประเทศอื่นๆ ที่เคยเป็นต่างก็พากันมุ่งไปสู่ระบอบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เช่น มอร็อกโก ภูฏาน ในขณะที่ประเทศไทยใช้รูปแบบระบบรัฐสภาแต่แต่เนื้อหาเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยกษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว
ข้อเสนอแนะการปรับ
โครงสร้างสถาบันกษัตริย์
ในเบื้องต้น โดยนักวิชาการมีดังนี้
ยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 8 เพิ่มบทบัญญัติให้สภาพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้
ยกเลิก ประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ยกเลิก องคมนตรี
ยกเลิก พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 รวมทั้งให้มีการเปิดเผยและตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของกษัตริย์ และงบประมาณที่จ่ายให้พระราชวัง
ยกเลิก การประชาสัมพันธ์ด้านเดียวรวมทั้งการให้การศึกษาแบบด้านเดียวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ทั้งหมด
ยกเลิก พระราชอำนาจในการแสดงความเห็นทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งยกเลิกอำนาจลงพระปรมาภิไธยหรือลายเซ็นในกฏหมายต่างๆ รวมทั้งการเซ็นแต่งตั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ตุลาการ องค์กรอิสระ คือยกเลิกการให้กษัตริย์เซ็นแต่งตั้งข้าราชการการเมืองทั้งหมด ในเมื่อไม่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้ว
ที่ประเทศญี่ปุ่นกับอังกฤษยึดหลักว่าพระราชดำรัสส่วนพระองค์ต้องเป็นความลับและห้ามนำไปอ้างอิง สำหรับพระราชดำรัสที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณะจะต้องให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ร่าง การมีพระราชดำรัสโดยสาธารณะถูกจัดให้เป็นเพียงพิธีกรรมเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น เพราะว่าการมีพระราชดำรัสในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มักก่อให้เกิดประโยชน์ได้เสียทางใดทางหนึ่ง อาจถูกมองว่ามิได้ทรงวางตัวเป็นกลาง หรือพ้นจากการเมือง แต่ทรงฝักใฝ่ทางการเมืองและอาจมีการนำไปใช้ในทางมิชอบ
ยกเลิก พระราชอำนาจ ในเรื่องโครงการหลวง โครงการพระราชดำริทั้งหมด เพราะการบริหารประเทศเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยต้องมีการรณรงค์หาเสียงให้ประชาชนตัดสินใจ ทั้งยังต้องแถลงนโยบายให้รัฐสภารับรองและมีการตรวจสอบจากสภาและประชาชนทั่วไป
ยกเลิก การบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพราะข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองทุกคนไม่สามารถรับสิ่งของที่มูลค่าเกิน 3 พันบาท การที่กษัตริย์รับบริจาคก็เหมือนกับการที่ข้าราชการรับสินบน การเอาเงินไปถวายกษัตริย์เป็นแสนเป็นล้านบาทแล้วให้กษัตริย์เอาไปทำบุญตามใจชอบโดยที่กษัตริย์มีอำนาจในการให้คุณให้โทษก็เหมือนการให้สินบนแก่ข้าราชการหรือนักการเมือง จะอ้างว่าที่ให้เพราะเป็นความชอบส่วนตัวก็คงไม่ได้
พระมหากษัตริย์และราชวงศ์ ตามหลักการทางกฎหมายสมัยใหม่ของรัฐประชาธิปไตย ต้องถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะได้เงินเดือนเป็นรายปี และได้ค่าตอบแทนต่างๆมากมายมหาศาลจากรัฐ แต่กลับอ้างว่ากษัตริย์เป็นเจ้าของประเทศ ทั้งๆที่ประชาชนเป็นผู้จ่ายภาษีเลี้ยงดูกษัตริย์
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า จะทรงเอาไปใช้สอยอย่างไร ใช้เพื่อส่วนรวมหรือไม่ เพราะถ้าเรายอมรับการปฏิบัติเช่นนี้ได้ ก็ต้องยอมรับการปฏิบัติแบบเดียวกันกับเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ตั้งแต่รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง จนถึงข้าราชการธรมมดาทุกคน ให้สามารถรับการบริจาคจากใครก็ได้ โดยให้เหตุผลว่า เป็นการบริจาคให้ไปทำบุญ หรือทำเพื่อสาธารณะ ต่อให้เอาไปทำบุญจริง ก็ยังไม่ได้ เพราะในทางปฏิบัติ จะทราบได้อย่างไร ตรวจสอบได้อย่างไรว่า เจ้าหน้าที่คนไหน เอาไปใช้ทางใด ในเมื่อเป็นการให้เพื่อเอาไปใช้ตามใจชอบหรือตามพระราชอัธยาศรัย และเป็นการได้มาเพราะเป็นกษัตริย์ ที่ได้ค่าตอบแทนตามปกติอยู่แล้ว
การบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย เกิดขึ้น จากการทุ่มทุนสาธารณะจำนวนมหาศาล ในการโฆษณาสถาบันกษัตริย์ในลักษณะที่ขัดต่อหลักการในระบอบประชาธิปไตย จึงควรต้องรีบยุติทันที
ถ้าจะมีการบริจาคใดๆให้แก่บุคคลากรของรัฐ ก็ต้องเป็นการบริจาคเข้ารัฐ และให้รัฐซึ่งก็คือรัฐบาลที่มาจากประชาชนจัดการทั้งหมด ซึ่งต้องตรวจสอบได้ ไม่ใช่ให้ในลักษณะ ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย แปลว่าให้ใช้ได้ตามใจชอบ ไม่ต้องแสดงบัญชีและไม่สามารถตรวจสอบได้เลย
แม้ว่าในประเทศยุโรปบางประเทศ มีบางราชวงศ์ที่มีมูลนิธิการกุศล ที่คนทั่วไปบริจาคเหมือนกัน แต่ก็เป็นองค์กรสาธารณะที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยต้องแจ้งบัญชีงบประมาณ มีการตรวจสอบได้ตลอดเวลาและเอาผิดได้
ต้องยกเลิกการถวายพระเกียรติ
ในฐานะจอมทัพไทย
รัฐธรรมนูญเมจิของญี่ปุ่น เคยบัญญัติเรื่องนี้ก่อนการยุติของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีข้อความว่า พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพบกและกองทัพเรือ ซึ่งทำให้เกิดการตีความไขว้เขวเป็นอันมาก ทางฝ่ายกองทัพบก กองทัพเรือ เข้าใจว่า ตนขึ้นต่อพระจักรพรรดิโดยตรง ไม่ใช่ขึ้นต่อคณะรัฐมนตรี เพราะผู้บัญชาการทหารบก และทหารเรือ ก็คัดเลือกมาจากนายทหารชั้นสูง ไม่ใช่รัฐมนตรีเลือกจริงๆ ในสมัยนั้นฝ่ายทหารของญี่ปุ่นถึงกับเชื่อว่า ผู้บัญชาการทหารบกและทหารเรือ มีสิทธิกราบทูลพระจักรพรรดิในเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารได้โดยตรงไม่ต้องผ่านคณะรัฐมนตรี ดังนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นจึงไม่บัญญัติพระราชอำนาจอันคลุมเครือนี้ และไม่ทำให้ยุ่งเหยิงต่ออำนาจอธิปไตยได้
แต่รัฐธรรมนูญไทย ยังบัญญัติในหลวงเป็นจอมทัพ ทำให้กองทัพเข้าใจว่าตนขึ้นต่อพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง ไม่ใช่ขึ้นต่อคณะรัฐมนตรี เพราะในหลวงเป็นคนเซ็นชื่อแต่งตั้งแม่ทัพนายกองทุกเหล่าทัพ หลังการรัฐประหารแต่ละครั้งของไทยจะมีการเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์ภูมิพลทุกครั้ง ซึ่งขัดต่อระบอบประชาธิปไตยและจำเป็นต้องยกเลิก
รัฐธรรมนูญของไทยต้องมีบทบัญญัติมีบัญญัติให้กษัตริย์มีหน้าที่ต้องปกป้องและรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เหมือนรัฐธรรมนูญในประเทศประชาธิปไตยหลายๆประเทศ การที่กษัตริย์ไปสนับสนุนการยึดอำนาจถือว่าเป็นการกบฏทรยศต่อชาติอย่างร้ายแรงและต้องถูกพิจารณาโทษโดยไม่มีการยกเว้น
ยังมีข้อเสนออีกมากมายต่อการดำเนินชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยของพระราชวงศ์และวัฒนธรรมของเจ้าที่ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของประชาชน และดูถูกประชาชน รัฐสภาของประชาชนจะต้องเปิดอภิปรายเรื่องการจัดวางตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ของสถาบันกษัตริย์อย่างจริงจัง เพื่อเป็นหลักประกันในสิทธเสรีภาพและความเสมอภาคที่เป็นพื้นฐานสำคัญในระบอบประชาธิปไตย
ในเมื่อพระบรมวงศานุวงศ์อ้างว่าได้รับความรักจากประชาชน จึงไม่จำเป็นต้องมีกองทหารรักษาพระองค์ถึง 30,000 นาย รัฐสภาต้องรีบหาทางยุบเลิกกองกำลังทหารรักษาพระองค์ โดยรัฐบาลต้องมีมาตรการจัดสร้างอาชีพทางเศรษฐกิจทดแทนให้คนที่ถูกปลดประจำการนี้
พร้อมทั้งต้องพิจารณาถึงการนำสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กลับมาสู่การดูแลของรัฐ เพราะประเทศไทยได้ผ่านยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์สามารถสร้างความมั่งคั่งผ่านทางอำนาจที่มีล้นฟ้าเหนือประชาชนทั้งประเทศ ถึงเวลาที่ประชาชนทั้งประเทศจะได้บริหารทรัพยากรในชาติร่วมกันโดยผ่านตัวแทนของประชาชนเอง พวกข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่กินเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินประมาณ 2.6 ล้านคน ต้องปลูกฝังให้มีจิตสำนึกรับใช้เจ้าของประเทศคือประชาชน ไม่ใช่มุ่งรับใช้แต่พวกราชวงศ์จักรี หรืออ้างว่าตนเป็นข้าราชการในพระเจ้าอยู่หัว
ต้องเปิดพื้นที่รับฟังความเห็นเกี่ยวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์ การพยายามปิดกั้นปิดปากโดยเอากฎหมายอาญามาตรา 112 มาเล่นงานประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง การแก้ปัญหาสถาบันกษัตริย์ต้องอาศัยการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาภายใต้หลักการประชาธิปไตย การจับคนนั้นคนนี้เข้าคุก เป็นเรื่องไม่มีเหตุมีผล และจะนำไปสู่การปะทะกัน การแก้ไขปรับปรุงสถาบันกษัตริย์จะทำให้สถาบันกษัตริย์มีความมั่นคงภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเหมือนในประเทศที่เจริญ แทนที่จะให้ข้อมูลด้านเดียวตลอดเวลา หรือให้ทหารออกมาตบเท้าบังคับให้ทุกคนต้องเงียบ เป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ สถาบันกษัตริย์ใช้เงินงบประมาณเหมือนข้าราชการอื่นๆ สถาบันกษัตริย์ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และพัฒนาการของโลกสมัยใหม่
สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์ เป็นสิทธิอันชอบธรรมและได้รับการรับรองตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล การแก้ปัญหาวิกฤตบ้านเมืองหลังการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 และ สถานการณ์ที่น่าวิตกที่เป็นมานาน ต้องแก้ที่สาเหตุอย่างแท้จริง คือที่ตัวสถาบันกษัตริย์ มิใช่แก้ด้วยการปราบปรามคนที่พูดความจริง แต่การจะแก้ปัญหาได้อย่างจริงจังก็อยู่ที่ประชาชนที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันเปลี่ยนการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยมาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง
..........
..........
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น