วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องหลังบ้าน 008/2 : กฎหมู่เพื่อปกป้องลุงสมชาย SS 08

( เรื่องหลังบ้าน 008: กฎหมู่ของวงศ์จักรกาลีและเรื่องหลังบ้าน 008/2 : กฎหมู่เพื่อปกป้องลุงสมชาย ใช้ไฟล์เสียงรวมอันเดียวกัน)

.............


กฎหมู่เพื่อปกป้องลุงสมชาย
พระบรมเดชานุภาพ
ในระบอบประชาธิปไตยคำว่าพระบรม เดชานุภาพหมายถึงอำนาจของพระราชาที่ยิ่งใหญ่ แผ่ไปทั่ว เป็นอานุภาพที่จะลงโทษ และขู่ให้กลัว ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของระบอบเผด็จการโบราณ เคยเป็นชื่อกฎหมายเก่าสมัยยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่กฎหมายนี้ ได้ยกเลิกไปแล้วหลัง 2475 ดังนั้นพระบรมเดชานุภาพจะมีความหมายจริงในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น
จึงเป็นหลักความคิดที่ผิดยุคผิดสมัยขัดกับระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง ถ้ายอมรับคำว่าพระบรมเดชานุภาพให้มีผลในทางกฎหมาย ก็เท่ากับยอมรับระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์ ที่แย่มากคือสังคมไทยเริ่มใช้คำนี้ในความหมายเดียวกับเมื่อสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลายเป็นเรื่องที่พูดกันเหมือนเรื่องปกติ และไม่มีใครคัดค้าน
นักกฎหมายที่ไม่เห็นด้วยก็ไม่กล้าวิจารณ์โต้แย้ง แม้ว่าลุงสมชายจะทำชั่วทำผิดอย่างไรก็วิจารณ์หรือพูดถึงมิได้ เพราะต้องเคารพสักการะอย่างเดียวเท่านั้น การที่อ้างว่าพระบรมเดชานุภาพของลุงสมชายมาจากความเมตตากรุณาที่มีต่อคนไทยก็คงเป็นแค่เรื่องโฆษณาชวนเชื่อที่เอาแต่พูดด้านเดียวมาตลอดเท่านั้นเอง

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย
การลุกขึ้นต่อต้านแนวนโยบายการรวมศูนย์ประเทศสยามของเจ้ารามาที่ 5 ทำให้พระราชาต้องออกกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปรากฏครั้งแรก ปี 2443 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน1500 บาท ในปี 2452 มีการปรับกฎหมายให้เป็นมาตรฐานแบบตะวันตกเพิ่มโทษสูงสุดเป็น 7 ปี และปรับไม่กิน 5,000 บาท
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ได้มีการแก้ไขมาตรา 104 (1) ว่าผู้ใดกระทำการให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย...
ก) ให้เกิดความดูหมิ่นต่อพระราชา หรือรัฐบาล หรือข้าราชการแผ่นดิน
ข) ..........ค) ..........ง) .......... ผู้นั้นมีความผิดจำคุกไม่เกินกว่า 7 ปี และให้ปรับไม่เกินสองพันบาท โดยถือว่าพระราชา รัฐบาลและข้าราชการ มีฐานะเท่ากัน



แต่ถ้ากระทำไปภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต หรือติชมตามปกติวิสัย ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด


แต่ต่อมาในปี 2499 สมัยจอมพลป. เป็นนายกได้ตัดเอาส่วนการยกเว้นโทษของการดูหมิ่นพระราชาออก และแก้ไขใหม่ว่า
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายลุงสมชาย เมีย ลูกชายคนโต หรือตัวแทนลุงสมชาย ต้องจำคุกไม่เกินเจ็ดปี โดยเติมคำว่าดูหมิ่นเข้าไป เป็นการขยายขอบเขตของความผิดให้กว้างขวางขึ้นอีกมาก เพราะการหมิ่นประมาทเป็นการใส่ความ ซึ่งทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง หรือคนทั้งหลายดูถูกหรือเกลียดชัง แต่การดูหมิ่น หมายถึงการดูถูกเหยียดหยามทั่วๆไปซึ่งกว้างขวางมาก  โดยไม่มีการยกเว้นความผิดในกรณีใดๆ ในการดูหมิ่นลุงสมชาย ไม่ว่าจะกระทำบนเหตุผลใดก็ตาม กรณี ดาว ตอร์ปิโดตั้งข้อสังเกตว่าลุงสมชายรับรองการรัฐประหารล้มล้างการปกครองก็ถือว่าคุณดาวมีความผิด แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริงและมีเจตนาปกป้องระบอบประชาธิปไตยก็ตาม
ต่อมาได้มีการเพิ่มโทษจากจำคุก เป็นจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี โดยคำสั่งของคณะปฏิสังขรณ์การปกครอง 2519 หลังการเข่นฆ่านักศึกษาเมื่อ 6 ตุลาคม 2519
ในการลงโทษคนที่พูดความจริงพาดพิงลุงสมชาย มักมีการอ้างมาตรา 8 ของรัดทำมะนวย ที่บัญญัติว่า “ลุงสมชายเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้”

ตามหลักการประชาธิปไตยถือว่ามาตรา 8 มีไว้เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ลุงสมชายเท่านั้น เพราะลุงสมชายไม่ได้ทำอะไรเลย โดยมีคนอื่นทำหน้าที่รับผิดชอบแทนจึงไม่มีใครมาละเมิดได้ คำว่าเคารพสักการะ ไม่ใช่การบังคับหรือคาดโทษแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในระบอบประชาธิปไตยการที่ใครจะเคารพสักการะใครหรือไม่ย่อมเป็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่ไม่สามารถบังคับได้

  

เอกสิทธิ์และความคุ้มกันต่างๆที่มอบให้ลุงสมชายเป็นการมอบให้ในฐานะตำแหน่งที่เป็นประธานของประเทศ ไม่ได้มอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ผูกขาดติดตัวตลอดไป หากลุงสมชายปฏิบัติหน้าที่ผิดรัฐธรรมนูญและหลักการประชาธิปไตย ก็จะไม่มีเอกสิทธิ์และความคุ้มครองอีกต่อไป แบบเดียวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้เอกสิทธิ์คุ้มครองในการปฏิบัติราชการ แต่ถ้าทำผิดต่อหน้าที่ ก็ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองแถมยังมีโทษหนักกว่าคนทั่วไป ต้องถือว่าลุงสมชายเป็นคนของรัฐ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่รัฐต้องเลี้ยงดู และต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน
ดังนั้นถ้าลุงสมชายไปสมรู้ร่วมคิดในการเป็นกบฏล้มล้างการปกครอง ก็ต้องถือว่าไม่ได้เป็นพระราชาแล้ว และไม่ได้รับความคุ้มครองในฐานะพระราชาอีกต่อไป แต่ต้องถูกนำมาลงโทษสถานหนักเพราะเท่ากับทุจจริตต่อหน้าที่และทรยศต่อชาติ โดยตระบัดสัตย์ผิดคำสาบานที่ได้ให้ไว้ต่อประชาชนที่ชอบนำมาสดุดีกันว่า เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
กฎหมายอาญามาตรา 113 บัญญัติว่า ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ
(2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ
(3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ลุงสมชายในฐานประธานของประเทศและจอมทัพจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบและมีความผิดฐานเป็นกบฏทรยศต่อชาติ ซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิตและคงต้องริบทรัพย์สินที่ฉ้อฉลไปจากประชาชนไทย

ปัญหาของกฎหมาย
หมิ่นประมาทลุงสมชาย



-มาตรา 112 คุ้มครองลุงสมชาย เมีย ลูกชายคนโต และตัวแทนลุงสมชาย แต่ตำแหน่งซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่รัฐธรรมนูญกำหนดสถานะไว้เป็นพิเศษ มีตำแหน่งเดียว คือ ตำแหน่งพระราชาเท่านั้น การที่กฎหมายไทยบัญญัติคุ้มครองทั้งเมีย ลูกชายคนโตและตัวแทนลุงสมชาย ทั้งๆที่ไม่ใช่ประมุขของรัฐ ย่อมไม่มีเหตุผลและไม่มีความจำเป็น
-อัตราโทษจำคุกตั้งแต่สามถึงสิบห้าปี ตามคำสั่งคณะปฏิสังขรณ์การปกครองฉบับที่ 41 ลงวันที่ 23 ตุลาคม 2519 หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ขาดความชอบธรรมเพราะมาจากคณะรัฐประหาร เมื่อเปรียบเทียบกับความผิดฐานหมิ่นพระราชา 2443 สมัยเจ้ารามาที่ 5 ที่มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินกว่า 1500 บาท โดยไม่กำหนดโทษขั้นต่ำ แต่โทษหมิ่นพระราชาในระบอบประชาธิปไตย กลับกำหนดไว้สูงสุดถึงสิบห้าปี โดยกำหนดโทษขั้นต่ำไว้ด้วยว่าต้องจำคุกไม่ต่ำกว่าสามปี

-การไม่มีข้อยกเว้นความผิดในกรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมในเรื่องที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน การรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ หรือประโยชน์สาธารณะอื่นๆ ซึ่งประชาชนในระบอบประชาธิปไตยต้องสามารถกระทำได้ ถือเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ ปัญหาสำคัญและแก้ไขยากคือการที่ศาลตีความกฎหมายหมิ่นลุงสมชายโดยไม่ได้ยึดหลักการของระบอบประชาธิปไตย โดยที่ศาลและอัยการรวมทั้งตำรวจมักตีความว่าการไม่แสดงความเคารพสักการะถือว่าเข้าข่ายมีความผิดหมิ่นลุงสมชาย เช่น การไม่ยืนตรงเคารพเพลงสรรเสริญลุงสมชาย ถือว่าเป็นการตีความกฎหมายเอาเอง ซึ่งไม่สามารถกระทำได้ เป็นการใช้กฎหมายตามหลักการหรืออุดมการณ์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว

การเสนอให้
ยกเลิกกฎหมายห้ามหมิ่นลุงสมชาย

-เนื่องจากมีบทลงโทษที่เกินสมควรแก่เหตุ เพราะการพูด ไม่เคยทำให้ใครตาย หรือเจ็บตัว โทษจำคุกขั้นต่ำ 3 ปี ถึงอัตราขั้นสูง15 ปี ต่อความผิด 1 ครั้ง จึงไม่สมเหตุสมผล
ในทางปฏิบัติ ศาลตีความครอบคลุมถึงการกระทำที่กระทบกระเทือนส่งผลไม่ดีต่อลุงสมชายและครอบครัว เช่น คำวิจารณ์ในทางตำหนิลุงสมชาย แม้จะเป็นการติชมเพื่อความเป็นธรรมตามวิสัยของประชาชนก็ตาม ซึ่งปกติเป็นข้อยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งๆที่ข้อยกเว้นดังกล่าว เป็นไปเพื่อคุ้มครองความสุจริตในการสื่อสารของรัฐประชาธิปไตย เมื่อศาลตีความเช่นนี้จึงต้องยกเลิกมาตรานี้ทั้งหมดโดยเด็ดขาด

-ศาลไม่เคยให้เหตุผลในคำพิพากษาว่า ข้อความของจำเลย ส่วนใดเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ศาลจะพิจารณารวบรัดว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นลุงสมชายเสมอไปในทุกคดี จึงไม่มีประโยชน์ในการแก้ไขตัวบท เพราะศาลไม่เคยพิจารณาตัวบทจริง และไม่เคยให้เหตุผลประกอบคำพิพากษา โดยไม่มีความแน่นอนชัดเจนของความผิด ประชาชนไม่สามารถคาดผลของการกระทำของตนได้เลย

  
-การให้บุคคลทั่วไปกล่าวโทษได้ ทั้งๆที่ไม่ใช่ผู้เสียหาย ควรให้สำนักเลขาธิการของลุงสมชายทำหน้าที่ปกป้องชื่อเสียงของลุงสมชายเอง ไม่ควรให้คนทั่วไปนำไปฟ้องร้องกันเรื่อยเปื่อย
ระหว่างปี 2548 - 2552 มีคดีหมิ่นลุงสมชาย 547 คดีที่ถูกนำส่งฟ้องศาล และมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในข่ายเฝ้าจับตาของตำรวจและอัยการเพื่อหาหลักฐานสำหรับดำเนินคดี


นักโทษคดีหมิ่นลุงสมชายต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่านักโทษทั่วไป เช่น มักจะถูกจับกุมโดยไม่มีการเตือน ไม่มีการออกหมายจับล่วงหน้าหรือถูกตัดสินล่วงหน้าแล้วว่ามีความผิด การไม่รักลุงสมชายถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง ขณะที่รัฐบาลและเครือข่ายลุงสมชายก็สนับสนุนและรณรงค์อย่างเต็มที่ให้รักและปกป้องลุงสมชาย เหยื่อคดีหมิ่นลุงสมชายจะถูกกล่าวหาด้วยเหตุผลสารพัดครอบจักรวาล ข้อมูลเกี่ยวกับคดีก็ถูกเก็บเป็นความลับโดยอ้างว่าจะเป็นการหมิ่นซ้ำ ผู้ที่อ้างคำพูดหรือข้อเขียนก็มีความผิดเช่นกัน
และยังมีการสร้างกระแสของขบวนการชาตินิยมที่นำโดยคนที่มีลักษณะคลั่งระบอบพระราชา เช่นพลเอกปรายึด ที่ออกมาข่มขู่กล่าวหาผู้อื่น ทำตนเป็นผู้ปกป้องลุงสมชาย เครือข่ายลุงสมชายก็พยายามโหมกระแสเรารักลุงสมชายให้เข้มข้นมากขึ้น โดยย้ำว่ามีประชาชนเพียง 1 % เท่านั้นที่ไม่รักลุงสมชาย เป็นการเอาใจและปกป้องลุงสมชายกับป้าสมจิตที่แต่งตั้งให้พวกตนได้มีตำแหน่งใหญ่โต
นับตั้งแต่ปี 2549 จนถึงต้นปี 2554 มีการปิดกั้นเวบมากกว่า 425,000 เวบภายใต้คำขวัญปกป้องลุงสมชาย โดยรัฐบาลอภิเสกใช้เงิน 72 ล้านบาท เพื่อคอยติดตามสอดส่องการใช้อินเตอร์เนตและทำการปิดกั้นเวบไซด์ เมล และเฟสบุ๊ค  มีคดีละเมิดพรบ. คอมพิวเตอร์ 185 คดี และมีประชาชนจำนวนมากที่กำลังถูกจับตาและถูกหมายหัวด้วยคดีหมิ่นลุงสมชาย หรือต้องทนทุกข์อยู่ในห้องขังโดยที่คดียังไม่ได้ถูกตัดสิน

การรณรงค์
ยกเลิกกฎหมายหมิ่นลุงสมชาย

1.ในคำพิพากษาของศาล มักจะอ้างมาตรา 8 ของรัดทำมะนวยที่ว่าทุกคนต้องเคารพสักการะลุงสมชายและห้ามล่วงละเมิด ควบคู่ไปกับกฎหมายห้ามหมิ่นลุงสมชาย
จึงต้องเสนอให้ยกเลิกทั้งมาตรา 8 พร้อมกับมีการตีความเรื่องอำนาจและสถานะของลุงสมชายที่ขัดต่อหลักการในระบอบประชาธิปไตย
2.การตัดสินคดีความหมิ่นลุงสมชายมักพิจารณาโดยลับซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักการพิจารณาคดีทั่วไป เพราะมันไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือเป็นเรื่องศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นความลับอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศ เหตุผลที่แท้จริงคือต้องการให้ประชาชนได้เห็นแค่ด้านดีของลุงสมชาย จะได้นำไปอ้างได้ว่าคนไทยทุกคนรักลุงสมชาย เพราะไม่เคยเห็นใครวิจารณ์ลุงสมชายในแง่ลบ ทั้งๆที่ลุงสมชายมีพฤติกรรมขัดขวางและล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเข้าข่ายเป็นกบฏหลายครั้งหลายหนรวมทั้งการมีส่วนร่วมในการสั่งการสังหารหมู่ประชาชนทั้งที่ราชประสงค์และถนนราชดำเนินในปี 2553 และในธรรมศาสตร์ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 รวมถึงกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 และการประหารผู้บริสุทธิ์ 3 คน

ถ้ายอมให้มีการถ่ายทอดการพิจารณาคดีหมิ่นลุงสมชาย อาจมีคนเห็นด้วยกับจำเลย เครือข่ายลุงสมชายจึงไม่ยอมให้มีการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย สื่อทั่วโลกมองว่ากฎหมายห้ามหมิ่นลุงสมชายเป็นกฎหมายเผด็จการที่ล้าหลังและรุนแรงเกินกว่าเหตุ ถ้าเปิดให้มีการพิจารณาคดีกันอย่างเปิดเผยก็เท่ากับเป็นการประจานความเป็นเผด็จการที่ล้าหลังและเหี้ยมโหดของขบวนการกฎหมายและศาลไทยที่อยู่ในอำนาจของลุงสมชายนั่นเอง
แม้ว่าประเทศอื่นๆที่เป็นประชาธิปไตยก็มีกฎหมายว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทประธานของประเทศ แต่ไม่เคยนำมาใช้หรือใช้น้อยมาก บางประเทศอาจนำมาใช้เป็นครั้งคราว แต่ก็เพียงลงโทษปรับ และกำหนดโทษต่ำกว่าของไทยมาก
บางคนอ้างว่าลุงสมชายได้รับความเคารพอย่างสูง ทำงานหนักเพื่อประชาชนไทยมาโดยตลอด และคนไทยล้วนแล้วแต่รักภักดี มากกว่าพระราชาของประเทศอื่น ถ้าเป็นอย่างที่อ้างจริง ก็ยิ่งไม่มีความจำเป็นที่กำหนดโทษให้สูง ในเมื่อยืนยันว่าลุงสมชายได้รับความเคารพอย่างสูงและคนไทยรักภักดีอย่างถึงที่สุดอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายลงโทษที่รุนแรงเหมือนเป็นวัวสันหลังหวะที่กลัวคนจะเปิดโปงความชั่วของตน

ในเมื่อลุงสมชายเชื่อมั่นว่าตนเองไม่ได้ทำผิดหรือทำชั่ว และโฆษณาตลอดเวลาว่าประชาชนไทยทุกคนรักลุงสมชาย แล้วทำไมต้องใช้การลงโทษที่เด็ดขาดรุนแรงต่อคนที่พาดพิงถึงตน ถึงขนาดจำคุก 3 ปี ถึง 15 ปี รวมทั้งการจัดกฎหมายห้ามหมิ่นลุงสมชายเข้าไว้ในหมวดความมั่นคงของชาติ ซึ่งที่จริงไม่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติเลย ถ้าลุงสมชายเป็นคนดีจริงๆ คนไทยก็ยังคงรักและเคารพสักการะลุงสมชายเหมือนเดิมไม่ว่าจะมีใครกล่าวหาลุงสมชายว่าอย่างไร ยกเว้นว่าลุงสมชายเป็นคนไม่ดีและกลัวคนอื่นจะเปิดเผยความจริงเท่านั้น จึงต้องใช้กฎหมายปิดปากที่มีโทษรุนแรง
กฎหมายห้ามหมิ่นลุงสมชายเป็นกฎหมายในระบอบเผด็จการราชาธิปไตยโดยแท้ ไม่มีประโยชน์และขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงต้องรีบยกเลิกทันที


เรื่องกฎหมายห้ามหมิ่นลุงสมชายจะไม่มีการพูดในสื่อสาธารณะหลัก พรรคการเมืองก็ไม่สนใจประเด็นเหล่านี้ เพราะกลัวถูกกล่าวหาว่าไม่รักภักดีต่อลุงสมชาย เมื่อพูดถึงคดีหมิ่นลุงสมชาย เราจะไม่รู้เลยว่าขั้นตอนไปถึงไหนแล้ว สื่อไม่รายงาน เจ้าหน้าที่ไม่เปิดเผย คนที่โดนกล่าวหาเกือบทั้งหมดไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ไม่ให้มีการประกันตัว แสดงให้เห็นว่าหลักความคิดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ครอบงำสังคมทั้งหมดรวมทั้งแวดวงกระบวนการยุติธรรม ไม่มีใครกล้าพูดเรื่องลุงสมชาย เพราะกลัวโดนข้อหาล้มเจ้า กลัวไม่ได้เป็นรัฐบาล กฎหมายห้ามหมิ่นลุงสมชายขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรง และควรต้องรีบหยิบยกประเด็นลุงสมชายให้เป็นประเด็นสาธารณะ เปิดโอกาสให้ทุกคนพูดโดยไม่ต้องกลัว ให้มีการปฏิรูปสถาบันลุงสมชายอย่างตรงไปตรงมา ต้องยึดหลักว่าสถาบันสูงสุดที่ต้องปกป้องก็คือสถาบันประชาชนที่มีสภาเป็นตัวแทนเท่านั้น มิใช่ตัวบุคคลอย่างลุงสมชายดังที่เป็นอยู่ เพราะเราปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ถือว่าประชาชนเป็นใหญ่ ไม่ใช่ระบอบราชาธิปไตยที่ถือว่าลุงสมชายเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียว
ผู้ต้องหาหมิ่นลุงสมชาย

ลุงบัณฑิต อารยา ถูกกล่าวหาว่าแจกเอกสารในงานสัมมนาแห่งหนึ่งเมื่อปี 2546 โดยเนื้อหาของเอกสารระบุถึงความเป็นกลางของศาลที่ไม่ควรนำรูปของบุคคลใดมาแขวนไว้ ซึ่งน่าจะหมายถึงรูปของลุงสมชาย ศาลชั้นต้นได้พิพากษาจำคุก 4 ปี แต่เห็นว่าจำเลยป่วยด้วยโรคจิตเภทและไม่เคยได้รับโทษมาก่อน จึงให้รอลงอาญา แต่ลุงสมชายให้อัยการสูงสุดยื่นอุทธรณ์โดยไม่ให้รอการลงอาญา ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ปัจจุบันคดีนี้อยู่ในชั้นศาลฎีกาและการประกันตัว ระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ลุงบัณฑิตถูกเจ้าหน้าที่ในเรือนจำด่าทอและจะเข้าทำร้าย จำเลยลำบากมากเพราะยากจนและมีปัญหาสุขภาพ

-ดาว ทอร์นาโด ดาว ทอร์นาโดปราศรัยที่สนามหลวงระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551 โดยทวงถามว่าทำไมลุงสมชายไปเซ็นรับรองการยึดอำนาจซึ่งเป็นความผิดฐานกบฏ ศาลของลุงสมชายตัดสินลงโทษจำคุก 3 กระทงๆละ 6 ปี รวมโทษจำคุก 18 ปี เพื่อไม่ให้ใครเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เป็นการปิดปากประชาชนไม่ให้วิจารณ์หัวหน้ากบฏตัวจริงที่ปล้นอำนาจของประชาชน และห้ามประกันตัวโดยเด็ดขาด

  

โดยเวบไซต์เอเอสเอสทีวี ผู้จัดกวนออนไลน์ วันที่ 28 สิงหาคม 2552 ได้รายงานข่าวนี้ว่า "ระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย.2551 เวลากลางคืน ดาว ทอร์นาโดขึ้นปราศรัยบนเวทีเสียงประชาชน ณ ท้องสนามหลวง ทางเครื่องขยายเสียง ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังหลายคน โดยกล่าวคำพูดจาบจ้วง ล่วงเกิน ถึงลุงสมชายและป้าสมจิต ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าสองคนผัวเมีย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรเพื่อลุงสมชาย เพื่อจะล้มล้างรัฐบาล และการรัฐประหาร ที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสองคนผัวเมีย ทำให้ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง โดยเจตนาจะทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะลุงสมชายและป้าสมจิต

โดยมีตำรวจ สน.แพ้สงคราม 3 นาย เบิกความว่าเป็นสายสืบฟังการปราศรัย ได้บันทึกเสียง แล้วนำมาถอดเทป และจำเลยยังขึ้นปราศรัยกล่าวดูหมิ่นอีกในวันที่ 7 และ 13 มิ.ย.2551 ซึ่งได้บันทึกเสียงไว้ พบว่า แม้จะไม่ระบุตัวบุคคลที่ถูกกล่าวถึงอย่างชัดแจ้ง แต่ถ้อยคำที่กล่าวถึง เช่น สัญลักษณ์สีเหลือง สีฟ้า ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมาร ซึ่งสีเหลืองเป็นสีประจำวันจันทร์ที่เป็นวันเกิดลุงสมชายส่วนสีฟ้าเป็นสีประจำวันศุกร์ซึ่งเป็นวันเกิดของป้าสมจิต ทำให้เห็นว่า ดาว ทอร์นาโดกระทำการจาบจ้วงล่วงเกิน โดยทำให้ประชาชนเข้าใจว่าทั้งสองผัวเมียสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมาร ทำให้ทั้งสองผัวเมียต้องเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง
รวมทั้งการกล่าวถึงการรัฐประหาร โดยกล่าวถ้อยคำถึงมือที่มองไม่เห็น หลังสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งประชาชนรับรู้อยู่แล้วว่าสี่เสาเทเวศร์ คือบ้านพักของเปรมิกา ประธานที่ปรึกษาที่ลุงสมชายเป็นผู้แต่งตั้ง ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าลุงสมชายสนับสนุนเปรมิกา ในการยึดอำนาจจากประชาชน ซึ่งล้วนเป็นเท็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 3 กระทงๆ 6 ปี รวมจำคุก 18 ปี นี่คือผลตอบแทนแก่ ดาว ทอร์นาโด ผู้ที่แน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด
ทั้งๆที่นายธิลิ้มก็สวมเสื้อเหลืองที่มีตัวหนังสือโฆษณาว่าเราสู้เพื่อลุงสมชายและผูกผ้าพันคอสีฟ้าที่อ้างว่าเป็นของป้าสมจิต ทั้งยังเคยปราศรัยว่าตนสนิทกับสองผัวเมียมาก ถ้าไม่เป็นความจริงลุงสมชายและป้าสมจิตก็ควรต้องออกมาปฏิเสธ แต่ป้าสมจิตกลับไปงานศพของพวกพันธมารเสื้อเหลืองและเอาเงินไปให้สองแสนบาทโดยบอกว่าเป็นเงินของลุงสมชายที่ฝากมาให้ เพราะช่วยปกป้องบัลลังก์ทอง
ดังนั้นคนที่ทำผิดกฎหมายความมั่นคงที่แท้จริงก็คือลุงสมชายและป้าสมจิตนั่นเอง แต่กลับลอยนวล และคุกคามข่มขู่ปิดปากประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตย
-สุรชาติ บ้านบางไทร ปราศรัยที่สนามหลวงหนึ่งวันหลังจากที่ป้าสมจิตไปงานศพน้องเบลอพันธมารเสื้อเหลืองกลุ่มนายธิลิ้มที่ลุงสมชายและครอบครัวสนับสนุน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551 โดยไม่สนใจความรู้สึกของประชาชน คุณสุรชาติได้ระบายความอัดอั้นตันใจที่ครอบครัวลุงสมชายให้ท้ายพวกพันธมารที่ก่อกวนล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่เกรงใจประชาชน ทำให้ถูกออกหมายจับและถูกจับกุมในเวลาต่อมา
โดยที่คุณสุรชาติทราบดีว่ากลไกอำนาจรัฐและกระบวนการยุติธรรมของไทยขึ้นกับลุงสมชายและต้องการเอาใจลุงสมชาย จึงไม่ต่อสู้คดีและไม่ตั้งทนาย ศาลตัดสินจำคุก 3 ปี ฐานแสดงความไม่พอใจต่อการที่วงศ์จักรกาลีที่เข้าข้างและสนับสนุนพวกก่อกวนล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
-จักรภาพ เดือนเพ็ญ จากการบรรยายให้สมาคมผู้สื่อขาวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550โดยมีการพูดถึงระบอบอุปถัมถ์หรือระบบเล่นพรรคเล่นพวกที่มีการปลูกฝังกันมานาน พูดเหมือนนักวิชาการทั่วไป ทั้งๆที่มีคนพูดถึงระบบอุปถัมภ์ เหมือนคุณจักรภาพแต่ไม่โดนดคี



แต่คุณจักรภาพเป็นนักปราศรัยและนักเขียนที่มีบทบาทมากของฝ่ายประชาธิปไตย จึงมีการหาเรื่องเล่นงานเต็มที่เพราะถือว่าเป็นพวกคุณรักสินแทนที่จะมาทำงานรับใช้ลุงสมชาย







-ประทะนาน หรือเจ๊แดง
7 เมษายน 2552 คุณประทะนาน แกนนำกลุ่มคนของแผ่นดินลูกหลานย่าโม และเครือข่ายนปซ.โคราช ซึ่งชุมนุมประท้วงเปรมิกา บริเวณลานข้างอนุสาวรีย์ย่าโม โคราช


โดยทำการเผาโลงศพจำลองมีข้อความว่า พระองค์ท่าน... เปรมิกา พันธมาร รัฐบาลโจร ด้านข้างโลงศพมีรูปของเปรมิกาติดอยู่ด้วย กลุ่มพันธมาร และทหารโคราช ได้แจ้งความให้ดำเนินคดี ต่อมาวันที่ 16 ธันวาคม 2553 ศาลโคราชตัดสินจำคุก 3 ปี โดยศาลอ้างว่าพระองค์เจ้าหมายถึงลุงสมชาย



-นาท สัตยาบริสุทธิ์ อายุ 28 ปี อาชีพการตลาดอิเลคทรอนิค มีความรู้เรื่องอินเตอร์เนท ได้อ่านเและร่วมแสดงความคิดเห็นในเว็บคนไม่เหมือนกัน ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552 ในข้อหาดูหมิ่นลุงสมชายและนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพราะเขาได้แนะนำเว็บไซต์ที่มีข้อความหมิ่นลุงสมชาย เขารับสารภาพโดยไม่มีทนายความ วันที่ 14 ธันวาคม 2552 ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี 8 เดือน ที่เรือนกรุงเทพฯ โดยไม่มีญาติมิตรมาเยี่ยมเยียน จนกลายเป็นคนเงียบขรึม เริ่มมีอาการทางประสาท เขาหวังว่าจะได้รับการอภัยโทษจากลุงสมชาย เพื่อให้ได้รับอิสรภาพและจะได้กลับไปใช้ชีวิตเป็นพลเมืองที่รักภักดีอีกคนหนึ่ง


-อำพัน นพกุล หรือก๋ง อายุ 61 ปี วันที่ 4 สิงหาคม 2553 คุณอำพันถูกตำรวจกว่า 15 นาย พร้อมกองทัพนักข่าวเข้าค้นบ้านพักและจับกุมตัว โดยอ้างว่าเขาส่งข้อความเอสเอมเอสซึ่งมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นลุงสมชายไปยังโทรศัพท์มือถือของเลขานุการนายอภิเสก คุณอำพันปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยยืนยันว่าไม่เคยส่งเอสเอมเอส เพราะส่งไม่เป็น เขาใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับโทรเข้าออกเท่านั้น

  

อัยการเชื่อว่าจะมีผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เพราะคุณอำพันเป็นกลุ่มคนเสื้อแดงหัวรุนแรงที่สำโรงสมุทรปราการ ที่ กอ.รมน. ขึ้นบัญชีดำไว้แล้ว จึงต้องเล่นงานให้หนัก อัยการสั่งฟ้องและศาลไม่ให้ประกันตัวโดยอ้างว่าเป็นเรื่องร้ายแรงและกระทบความรู้สึกของปวงชนชาวไทย เกรงว่าจะหลบหนี แม้ว่าก่อนหน้านี้เขาได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน โดยที่เขาป่วยเป็นมะเร็งช่องปาก และต้องช่วยภรรยาเลี้ยงดูหลาน 3 - 4 คนแทนลูกๆของเขาซึ่งต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ ลูกชายก็ต้องออกจากงานเนื่องจากถูกที่ทำงานกดดัน

-สุริยนต์ บกเปือย อายุ 29 ปี เป็นลูกมือช่วยพ่อซ่อมรองเท้าอยู่ย่านสนามเป้า ถูกจับกุมเมื่อ 4 ตุลาคม 2553 ศาลตัดสินจำคุก 6 ปี 1 เดือน สารภาพเหลือ 3 ปี 15 วัน
จากการโทรศัพท์จากตู้สาธารณะไปยัง 191 ข่มขู่จะวางระเบิดโรงหมอสีหราช

-อาวุธ วโรดม หรืออินทรีแดง นักออกแบบเว็บไซด์ 15 มีนาคม 2554 ศาลอาญาพิพากษาจำคุกคุณอาวุธ 13 ปี ฐานหมิ่นลุงสมชาย 10 ปี และความผิดพรบ.คอมพิวเตอร์อีก 3 ปี โดยศาลชี้ว่า จำเลยไม่ได้นำสืบว่าหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไม่ได้เป็นของจำเลย โดยศาลของลุงสมชายตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยผิดอยู่แล้ว ยกเว้นว่าจะหาหลักฐานมาพิสูจน์ว่าไม่ได้ทำผิด แต่ศาลก็คงไม่เชื่อ เพราะจำเลยเป็นพวกเชียร์รักสินซึ่งเป็นศัตรูตัวสำคัญของลุงสมชาย

-สุรชา วัฒนานุสรณ์ ได้เดินสายปราศรัยชี้ให้เห็นว่าลุงสมชายต้องรีบปรับปรุงเปลี่ยนแปลง โดยต้องไม่เข้ามาแทรกแซงหรือคุมอำนาจบงการเรื่องทางการเมือง ตำรวจสน.โชคชนะพร้อมอาวุธได้บุกเข้าล้อมจับคุณสุรชาที่สำนักงานแดงสยองนนทบุรี เวลาตีสอง วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 โดยศาลไม่ให้ประกันตัวทั้งๆที่คุณสุรชาก็เคลื่อนไหวเป็นปกติและไปรายงานตัวทุกครั้งที่มีหมายเรียก


คุณสุรชาให้ข้อมูลว่ามีผู้แจ้งความดำเนินคดีหมิ่น 3 เรื่องคือ กรณีลุงสมชายสั่งสอนศาลปกครองก่อนมีการตัดสินคดีสำคัญ กรณีตนไปตั้งคำถามว่าลุงสมชายหายไปไหนในวันที่ 4 ธันวาคม 2551 ถึงไม่ลงมาสังสรรค์สมาคม อบรมสั่งสอนประชาชนตามที่เคยทำเป็นปกติทุกปี และกรณีเซ็นชื่อแต่งตั้งนายอภิเสก เป็นนายก แบบรวดเร็วในวันเดียว
-ทรงยศ เกษมสุข ถูกออกหมายจับโดยไม่รู้ตัว เจ้าหน้าที่ไม่เคยแจ้งให้ทราบ โดยถูกจับที่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือ ตม.เมื่อจะเดินทางเข้าเขมร โดยไม่ให้ประกันตัว เพราะศาลมองว่าจะหลบหนี ทั้งๆที่คุณทรงยศถูกออกหมายจับตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.2554 และเมื่อวันที่ 20-22 ก.พ.2554 เขายังนำคณะทัวร์ไปเขมร และยังขึ้นเวทีปราศรัย แถลงข่าว เคลื่อนไหว อยู่ตามปกติ กระทั่งจะนำคณะทัวร์ไปเขมรอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 เม.ย.2554 จึงถูกจับ

-วีรนุช ชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาชนไท
วันที่ 6 มี.ค.2552 ตำรวจได้บุกจับกุมคุณวีรนุช เพราะมีผู้โพสต์ข้อความในเว็บมีเนื้อหาหมิ่นลุงสมชาย แม้ข้อความถูกลบไปแล้วหลายเดือน ต่อมาอัยการได้ยื่นฟ้องคุณวีรนุชในฐานความผิดเป็นผู้ให้บริการ จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิดโดยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ต่อมาวันที่ 24 ก.ย.2553 คุณวีรนุช ถูกควบคุมตัวที่สนามบินสุวรรณภูมิหลังกลับจากการประชุม เรื่องเสรีภาพทางอินเตอร์เนท 2010 ที่ประเทศฮังการี ถูกนำตัวไปสอบสวนที่ สภอ.ขอนแก่นในข้อหาหมิ่นลุงสมชายตั้งแต่ปี 2551 จากกรณีที่มีผู้โพสต์ความคิดเห็นท้ายข่าวในเว็บไซต์ประชาชนไท ที่มีการรื้อฟื้นหาเรื่องข่มขู่คุกคามคุณวีรนุชก็เพื่อต้องการปิดปากเวปประชาชนไทยที่มักจะเสนอข่าวสารและข้อเท็จจริงที่ส่งเสริมรูปการจิตสำนึกในระบอบประชาธิปไตยซึ่งไม่เป็นผลดีต่อระบอบเผด็จการราชาธิปไตยที่มีลุงสมชายเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดดังที่เป็นอยู่

-จิตรี คชาเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานเสื้อชั้นใน
วันที่ 24 เมษายน 2551 เวลา 23.00 น. คุณจิตรีได้รับเชิญให้ไปออกรายการของสถานีโทรทัศน์เอนบีทีช่อง 11 เดิม หัวข้อ “ทำท้อง ทำแท้ง” โดยเธอได้ใส่เสื้อยืดสีดำ มีข้อความว่า “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร คิดต่างไม่ใช่อาชญากรรม” ซึ่งเป็นเสื้อรณรงค์กรณีที่นักศึกษาคนหนึ่งที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นลุงสมชายจากการที่ไม่ยืนในโรงหนังขณะมีเพลงสรรเสริญลุงสมชาย


ต่อมาวันที่ 28 เมษายน 2551 เวปไซท์ผู้จัดกวนออนไลน์ ได้ลงข่าวว่าคุณจิตรี ใส่เสื้อตัวดังกล่าว เป็นแนวร่วมโค่นล้มคมช. ของลุงสมชาย และเป็นแนวร่วมกับนปก. ต่อมาบนเวทีพันธมารมีการกล่าวหาคุณจิตรีสนิทกับระบอบรักสิน ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับเว็บประชาชนไท นิตรสารคนละฟ้า ซึ่งเป็นกลุ่มที่จงใจลบหลู่ลุงสมชายอย่างชัดเจน มีการประกาศให้ร่วมกันต่อต้านสินค้าจากบริษัทเสื้อชั้นใน นายคำมะนูณ สิทธิสมร สมาชิกวุฒิสภาลากตั้งของคณะโจรกบฏคมซ. และหนังสือพิมพ์ผู้จัดกวนโจมตีว่าเธออยู่ในขบวนการล้มล้างลุงสมชาย
บริษัทเสื้อชั้นใน จึงขออำนาจศาลเลิกจ้างคุณจิตรี โดยให้เหตุผลว่า คุณจิตรีสร้างสถานการณ์ให้แตกสามัคคี ทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง ซึ่งต่อมาศาลแรงงานมีคำสั่งเลิกจ้างคือไล่คุณจิตรีออกจากงานได้ โดยระบุว่า …ประชาชนไทยให้ความเคารพยกย่องเทิดทูนลุงสมชาย ใครบังอาจดูหมิ่น เหยียดหยามไม่ได้ การที่คุณจิตรี ใส่เสื้อยืดดังกล่าวออกรายการโทรทัศน์อาจส่งผลกระทบต่อชาติ และมีผู้เรียกร้องให้ประชาชนเลิกซื้อเสื้อชั้นใน…ทำให้นายจ้างเสียหายและอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ จึงอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างคุณจิตรา โดยที่เธอไม่ได้รับเงินค่าชดเชยใดๆ เป็นการสั่งสอนคนที่บังอาจมีปัญหาเรื่องความซาบซึ้งในตัวลุงสมชาย
จตุพันธุ์ พรหมพร วันที่ 12 พ.ค.2554 ศาลอาญามีคำสั่งถอนประกัน 2 แกนนำเสื้อแดง คือนายจตุพันธุ์ พรหมพร และนายพิสิต สินธุไกร ฐานละเมิดคำสั่งศาลจากการขึ้นเวทีปราศรัยหมิ่นลุงสมชายและเมีย อาจส่อไปให้เกิดความวุ่นวายต่อบ้านเมือง


คืนวันที่10 เม.ย. 2554 ในการชุมนุมครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยคุณจตุพันธุ์ได้ขึ้นปราศรัยมีใจความว่า: แค่เรียกร้องให้มีการยุบสภา เพราะรัฐบาลนายอภิเสกได้มาจากการปล้น เริ่มต้นจากศาลรัดทำมะนวย จนไปจัดตั้งรัฐบาลในกรมทหารราบคาบที่ 1 รักษาลุงสมชาย ผมเคยบอกว่าคุณจะเอาหน่วยไหนมาฆ่าผม ใช้งบประมาณ 6,000 ล้านบาท พวกผมยังไม่เจ็บปวด ยกเว้นสองหน่วยอย่าเอามาฆ่าได้ไหม คือ หนึ่ง ทหารรักษาลุงสมชาย และสอง ทหารเสือป้าสมจิต เพราะพวกเรามีความเจ็บปวด ประชาชนมันเจ็บใจ.....ผมก็อยากให้ตู๊ดดี้เชิญนายจตุพันธุ์ หรือนางเยาว์ หากฮาดไปออกรายการบ้าง เพราะเราไม่ได้เกิดมาคุย แต่เกิดมาตาย..


ซึ่งศาลเห็นว่าคำปราศรัยดังกล่าวเป็นการพาดพิงลุงสมชายและเมีย จึงต้องสั่งสอนไม่ให้ใครเอาเป็นเยี่ยงอย่าง โดยศาลไม่ให้ประกันตัวทั้งๆที่คุณจตุพันธุ์ก็เป็นผู้สมัครส.ส.บัญชีและเป็นผู้ปราศรัยหาเสียงคนสำคัญของพรรคเพื่อนไทยที่เป็นคู่แข่งสำคัญของพรรคราชาธิปัตย์ของลุงสมชาย จึงเท่ากับเป็นการตัดกำลังพรรคคู่แข่ง แต่ก็ยังแพ้หลุดหลุ่ยอยู่ดี เพราะประชาชนตาสว่างและไม่เอาลุงสมชายมากขึ้นทุกที
ดร.สมควรศักดิ์ ธีรสกุล อาจารย์มหาลัยท่าพระจันทร์ ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นลุงสมชาย ตามหมายเรียก ที่ สน.ยายเลิ้งเมื่อวันที่ 11 พ.ค.2554 ตามที่กองทัพโบกเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ จากกรณีที่อ.สมควรศักดิ์ได้เขียนบทความการให้สัมภาษณ์ขององค์หญิงจุฬาพอง ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ โดยในชั้นนี้ยังไม่ต้องมีการประกันตัว

เบื้องต้นอาจารย์สมควรศักดิ์ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาและพร้อมต่อสู้คดี โดยตั้งข้อสังเกตว่า การออกหมายเรียกเกิดจากกองทัพออกมาพูดโจมตีคนที่พวกเขามองว่าหมิ่นลุงสมชาย ถ้าใครพูดอะไรเกี่ยวกับลุงสมชายและครอบครัวโดยไม่สรรเสริญสดุดีแบบซาบซึ้ง ก็จะถูกหาว่าหมิ่นลุงสมชายได้ทันที

การฟ้องคดีหมิ่นลุงสมชายอย่างครอบจักรวาลในหลายกรณีทำให้ผู้คนหวาดกลัวที่จะพูด เพราะรัฐบาลของลุงสมชายใช้ข้อหานี้อย่างพร่ำเพรื่อ มีหลายรายที่ไม่ได้รับการประกันตัวเลย ทั้งที่เป็นแค่การกล่าวหา เป็นการละเมิดสิทธิในการประกันตัวซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในทางสากล

  

นอกจากนี้รัฐบาลลุงสมชายยังขยายการใช้กฎหมายหมิ่นลุงสมชายไปยังประเทศต่างๆ คล้ายกับจะทำให้เรื่องการวิจารณ์ลุงสมชายกลายเป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างมากและคอยสอดส่องอย่างเข้มงวดต่อการแสดงความคิดเห็นที่พาดพิงถึงลุงสมชายโดยควบคุมนักวิชาการทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยอ้างว่าการถกเถียงเรื่องลุงสมชายเป็นภัยต่อความมั่นคง สถานทูตไทยทั่วโลกได้รับคำสั่งให้เฝ้าระวังผู้ไม่ซาบซึ้งในลุงสมชาย และให้ใช้กลไกระหว่างรัฐ กดดันสถาบันและนักวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์ลุงสมชายในต่างประเทศด้วย โดยมองว่าบุคคลเหล่านี้เป็นศัตรูของประเทศไทย ทั้งๆที่รัฐบาลไทยไม่มีอำนาจเหนืออธิปไตยในประเทศอื่นๆนอกแผ่นดินไทย

-เอก กังวาน วันที่ 23 พ.ค.2554 พนักงานอัยการ ได้เรียกตัวนายเอก อายุ 35 ปี
ผู้ต้องหาคดีหมิ่นลุงสมชายไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญา หลังจากที่ตำรวจได้ล่อซื้อวีซีดีที่เขาขายแผ่นละ 20 บาทเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2554 บริเวณอนุสาวรีย์ทหารอาสาข้างสนามหลวงแล้วแจ้งข้อหาคดีหมิ่นลุงสมชาย เป็นวีซีดีของสำนักข่าว เอบีซี ออสเตรเลีย

ซึ่งมีฉากคลิ้ปริมสระน้ำ ปรากฏภาพเสี่ยอู และรัศมีจันทร์เปลือยหน้าอก รวมทั้งเอกสารวิกิลีกที่มีข้อความที่เปรมิกา นายอานนท์ ปัญญาฉุนและพลอากาศสิทธิ์ เดชศิลาแสดงความเห็นไม่เชื่อมั่นเสี่ยอูถ้าขึ้นนั่งบัลลังก์เป็นการรายงานตัวให้ทูตมะกันซึ่งเป็นลูกพี่ใหญ่ค้ำจุนราชวงศ์จักรกาลีได้รับทราบความห่วงกังวลของพวกตน แต่ถ้าเป็นฝ่ายอื่นนำมาเผยแพร่ก็จะโดนข้อหาหมิ่นลุงสมชายทันที พวกแกนนำนปซ.บางคนก็จะเอากฎหมายหมิ่นลุงสมชายไปเล่นงานเครือข่ายของลุงสมชายซึ่งเป็นเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระ เพราะกฎหมายเผด็จการนี้เขามีไว้เล่นงานฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น นายเอกโดนข้อหาหมิ่นกษัตริย์รวมทั้งได้ประกอบธุรกิจจำหน่ายแผ่นวีซีดีโดยไม่มีใบอนุญาต ศาลตัดสินเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2554 ให้จำคุก 3 ปี และปรับ 5 หมื่นบาท

-เลิศพงษ์ คำมาตย์ ตำรวจจากกรมสอบสวนคดีพิสดาร(ดีเอสอู) นำตัวคุณเลิศพงษ์ อายุ 55 ปี หรือ มิสเตอร์เจ ดอน อดีตนักศึกษาเทคนิคโคราช ชายไทยถือพาสปอร์ตอเมริกัน ผู้ต้องหาคดีดูหมิ่นลุงสมชาย มาขออำนาจศาลฝากขังที่เรือนจำกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 หลังถูกตำรวจของดีเอสไอนำหมายจับและหมายค้นบุกเข้าจับกุมตัวที่บ้านพักในโคราช

ผู้ต้องหารายนี้เคยอยู่สหรัฐนาน 30 ปี และกลับมาอยู่ไทยเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเก๊าท์ประมาณ 1 ปีแล้ว โดยดีเอสอูกล่าวหาว่าระหว่างอยู่ในประเทศไทย ได้เขียนบทความและนำข้อความโพสต์ลงในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเข้าข่ายหมิ่นลุงสมชาย ทนายความและญาติคุณเลิศพงษ์ ได้ขอประกันตัว โดยอ้างถึงสิทธิพลเมืองของสหรัฐ และเหตุจากความเจ็บป่วย แต่ศาลของลุงสมชายไม่ให้ประกันตัวได้โดยอ้างว่าผู้ต้องหานำมาซึ่งความเสื่อมเสียสู่ลุงสมชายอันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ หากให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

  

มีการเผยแพร่ข่าวนี้ในสำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่ง เนื่องจากคุณเลิศพงษ์ ถือสัญชาติอเมริกันและใช้หนังสือเดินทางของสหรัฐในการเดินทางเข้าประเทศไทย ขณะที่องค์กรนานาชาติด้านสิทธิเสรีภาพฟรีดอมเฮาส์ได้แถลงเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวคุณเลิศพงษ์ และยืนยันว่าประเทศไทยต้องให้ประชาชนสามารถวิจารณ์รัฐบาลได้อย่างเปิดเผยและไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกลงโทษจากกฎหมายหมิ่นลุงสมชายและกฎหมายคอมพิวเตอร์

การวิพากษ์วิจารณ์ลุงสมชาย


ไม่ใช่เรื่องแปลก
ในฐานะพลเมืองของประเทศซึ่งปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่อนุญาตให้ลุงสมชายเป็นประธานโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ การตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ หรือหาข้อพิสูจน์ เกี่ยวกับลุงสมชาย ต้องถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องเปิดให้พลเมืองสามารถตรวจสอบสถาบันทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ ตามสิทธิและเสรีภาพ โดยไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลในสถาบันทางการเมือง เช่น ลุงสมชาย ย่อมต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อการวิพากษ์วิจารณ์ให้สูงขึ้นกว่าพลเมืองธรรมดาทั่วไปเสียอีก เนื่องจากบทบาทหน้าที่ของลุงสมชาย ย่อมเกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเมืองอย่างขาดเสียมิได้


คุณงามความดี หรือกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ทั้งหลายที่โฆษณากันทุกวี่ทุกวัน ไม่ว่าจะทำมามากเพียงใด ก็ไม่สามารถนำมาอ้างการห้ามวิพากษ์วิจารณ์ลุงสมชายและครอบครัวได้ เพราะประชาชนต้องจ่ายภาษีเลี้ยงดูลุงสมชายและครอบครัวปีละหลายพันล้านบาท ลุงสมชายและครอบครัวย่อมไม่มีเอกสิทธิ์พ้นการตรวจสอบ ด้วยข้ออ้างว่าทำงานหนัก หรือเป็นที่เคารพสักการะของพลเมือง


หลักการที่ห้ามละเมิดลุงสมชายก็เพราะถือว่าลุงสมชายต้องอยู่นอกเหนือการเมืองและไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำสิ่งใดโดยตนเองตามลำพัง โดยต้องได้รับการอนุญาตจากคณะรัฐมนตรี หรือประธานสภา เป็นผู้ลงนามรับผิดชอบแทน แต่เมื่อลุงสมชายและลูกเมียไปแสดงพฤติกรรมเข้าข้างพวกพันธมารเสื้อเหลือง พวกทหารที่ยึดอำนาจและศาลที่จ้องเล่นงานฝ่ายประชาธิปไตย รวมทั้งการสนับสนุนพรรคราชาธิปัตย์ ลุงสมชายจึงไม่อาจเป็นตัวแทนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติได้ และต้องถูกวิจารณ์ หรือกระทั่งต้องพิจารณาตนเองเพราะได้บกพร่องต่อการทำหน้าที่

ในระบอบประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีพระราชาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่ใช่พลเมืองที่จะต้องระวังคำพูดของตนมิให้กระทบกระเทือนลุงสมชาย แต่เป็นหน้าที่ของลุงสมชายที่จะต้องระมัดระวังตนให้ดำรงอยู่ในความเป็นกลางทางการเมือง การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่เป็นกลางหรือคัดค้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นธรรมดา สังคมไทยจึงควรส่งเสริมสนับสนุนการตรวจสอบการปฏิบัติตนของลุงสมชายและครอบครัว ไม่ใช่เอาแต่จับตาเฝ้าคอยสอดส่องจ้องจับประชาชนที่วิพากษณ์วิจารณ์ลุงสมชายและครอบครัว

ในโลกประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่เห็นคุณค่าของสิทธิมนุษยชนมากกว่าสิทธิของอภิสิทธิ์ชน ทำไมจึงยอมรับให้มีอภิสิทธิ์ชนแบบลุงสมชายที่อยู่เหนือกฎหมายและห้ามวิพากษ์วิจารณ์ มีสิทธิที่จะแทรกแซงการเมือง และ สิทธิที่จะทำอะไรก็ได้โดยไม่ผิด เมื่อลุงสมชายและครอบครัวยังคงดื้อด้านทำตัวบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยและปิดปากประชาชนไม่ให้พูดความจริง ประชาชนก็คงไม่มีทางเลือกที่จะยอมให้ลุงสมชายและครอบครัวกดขี่และเอาเปรียบรังแกประชาชนอีกต่อไป...
ศัตรูของประชาชนเป็นคนเลือกชะตากรรมของพวกมันเอง
ว่าจะยอมปรับปรุงตนเองเหมือนประเทศประชาธิปไตยที่เจริญแล้วทั้งหลาย
หรือจะให้ประชาชนกระชากพวกมันลงมาเอง
........

ไม่มีความคิดเห็น: