วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องหลังบ้าน 008: กฎหมู่ของวงศ์จักรกาลี SS 08

ฟังเสียง : http://www.mediafire.com/?b4crx0x6ohtti76
หรือทาง :
http://www.4shared.com/mp3/TLH7rOCq/Stable_Story_008_.html


( เรื่องหลังบ้าน 008: กฎหมู่ของวงศ์จักรกาลี และ เรื่องหลังบ้าน 008/2 : กฎหมู่เพื่อปกป้องลุงสมชาย ใช้ไฟล์เสียงรวมอันเดียวกัน)

กฎหมู่ของวงศ์จักรกาลี
นิติรัฐ กับ นิติธรรม (Rule of Law)


นิติรัฐ คือ รัฐที่ยอมอยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย ใช้อำนาจโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย การตรากฎหมายขององค์กรนิติบัญญัติก็ต้องเป็นไปตามกรอบและเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ กฎหมายต้องมีเนื้อหาที่แน่นอนชัดเจน ไม่มีโทษย้อนหลัง ได้สัดส่วน มีความเป็นธรรมและเสมอภาค

หลักนิติธรรมหรือ Rule of Law หรือกฎของกฎหมาย หมายถึงกฎหมายที่เป็นธรรม โดยถือหลักว่า บุคคลจะถูกลงโทษก็ต่อเมื่อกระทำผิดกฎหมายที่ตราขึ้นตามปกติโดยศาลปกติเป็นผู้วินิจฉัย ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีสิทธิและเสรีภาพอย่างแท้จริง กฎหมายต้องมีผลไปข้างหน้า ไม่มีผลย้อนหลัง ต้องมีความมั่นคงและแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย มีกฎเกณฑ์และกระบวนการในการตรากฎหมายที่ชัดเจนแน่นอน


มีหลักประกันความเป็นอิสระขององค์กรตุลา มีกระบวนการพิจารณาที่เป็นธรรม และการฟังความจากทุกฝ่าย องค์กรตุลาการมีอำนาจแค่ควบคุมการกระทำขององค์กรอื่นให้อยู่ในกรอบของกฎหมายเท่านั้น ประชาชนมีสิทธิ์วิพากษณ์วิจารณ์องค์กรตุลาการ ศาลไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจ เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดให้ใช้ดุลยพินิจได้ ตุลาการจะต้องตัดสินตามกฎหมาย ต้องดำรงตนอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ ต้องให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ผู้พิพากษาต้องถอนตัวถ้ามีส่วนได้เสียกับประเด็นแห่งคดี ต้องไม่เข้าไปเล่นการเมืองด้วยการไปดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ไปร่างรัฐธรรมนูญ ไปร่างกฎหมาย หากเข้าไปแล้วก็ไม่ควรกลับมาเป็นผู้พิพากษาอีก คำพิพากษาต้องไม่เกิดจากการตั้งเป้าไว้ล่วงหน้าแล้วค่อยหาเหตุผลไปอ้างทีหลัง ตัวคำพิพากษาต้องมีเหตุผลสามารถทำให้บุคคลที่ไม่พอใจก็ยังคงยอมรับนับถือ และบุคคลสามารถคาดการณ์ได้ว่าการกระทำของตนและผู้อื่นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การพิพากษาของศาลมิใช่กระทำได้อย่างพร่ำเพรื่อหรือปราศจากกฎเกณฑ์ โดยต้องคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจและการรักษาดุลย์อำนาจ องค์กรตุลาการอาจเข้าไปควบคุมได้แต่เพียงเฉพาะเรื่องความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่อาจเข้าไปก้าวล่วงถึงความเหมาะสมของนโยบาย

แต่ศาลไทยที่มีมากมายหลายชื่อก็ใช้อำนาจตัดสินแบบไม่มีขอบเขต ทำตัวเป็นเครื่องมือของระบอบเผด็จการราชาธิปไตยอย่างเดียวโดยไม่สนใจกลักนิติรัฐหรือนิติธรรมใดๆทั้งสิ้น รัฐไทยที่มีลุงสมชายผูกขาดการใช้อำนาจ ได้นำหลักนิติรัฐมาเป็นวาทกรรมหรือข้ออ้างทางการเมือง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และต้องการให้นานาอารายประเทศยอมรับเท่านั้น


กฎหมายและศาลถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมากขึ้น ให้ทุกอย่างสิ้นสุดชี้ขาดที่ศาล ศาลถูกต้องเสมอและห้ามผู้ใดวิจารณ์ กกต. ปปช.และศาลต่างๆ มีอำนาจสารพัดเหนือการเมืองและเหนือเจตนารมณ์ของประชาชน ศาลมีความชอบธรรมในการปลดนักการเมืองออกจากตำแหน่ง ศาลสามารถล้มกฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาศาลมีอำนาจไปล้มโครงการและขัดขวางอำนาจบริหารที่มีฐานความชอบธรรมมาจากประชาชน

ศาลไทยยอมรับคำสั่งของคณะรัฐประหารว่าเป็นกฎหมายทั้งๆที่มีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรมซึ่งเท่ากับว่าประเทศไทยไม่ใช่นิติรัฐมาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว เพราะนิติรัฐต้องไม่ยอมรับอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร วงการกฎหมายหรือศาลไทยจึงเป็นได้แค่ใช้กฎหมู่ภายใต้ระบอบราชาธิปไตยของวงศ์จักรกาลี นิติรัฐจึงกลายเป็นเพียงข้ออ้าง เพื่อครอบงำสังคม การใช้และการตีความกฎหมายที่พยายามทำให้เป็นหลักวิชาการ แต่ในทางปฏิบัติกลับเป็นการกระทำตามความต้องการของลุงสมชายผู้กุมอำนาจที่แท้จริงเท่านั้น บทบัญญัติของรัดทำมะนวย 2550 ไม่มีความเป็นนิติรัฐหรือนิติธรรมแม้แต่น้อย จึงเป็นได้แค่กฎหมู่ที่ขัดต่อหลักนิติธรรม


เช่น การให้คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.มีอำนาจวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลก่อนประกาศผลการเลือกตั้งและให้คำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด ซึ่งเท่ากับให้อำนาจองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการการเลือกตั้งเป็นศาลได้ในตัวเอง
ให้การกระทำความผิดของบุคคลคนเดียวนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองทั้งพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลที่เป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย แม้บุคคลนั้นจะไม่ได้กระทำความผิดก็ตาม เท่ากับเป็นการทำลายสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล
การที่มีบทบัญญัติให้รับรองการกระทำที่เกี่ยวเนื่องของของคณะรัฐประหารแม้จะกระทำต่อไปในอนาคตว่าชอบด้วยรัดทำมะนวยเท่ากับเป็นการทำลายความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ


ประเทศไทยยึดหลักการให้ลุงสมชายผูกขาดการใช้อำนาจ ให้ทุกอย่างสิ้นสุดชี้ขาดที่ศาลและองค์กรอิสระซึ่งเป็นเครือข่ายที่ขึ้นกับลุงสมชาย โดยอ้างว่าศาลของลุงสมชายถูกต้องเสมอและห้ามผู้ใดวิจารณ์ กกต. ปปช.และศาลต่างๆของลุงสมชาย มีอำนาจสารพัดเหนือการเมืองและเหนือเจตนารมณ์ของประชาชน ศาลมีอำนาจปลดนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนออกจากตำแหน่ง ล้มกฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชน ล้มโครงการและขัดขวางอำนาจบริหารที่มีฐานความชอบธรรมมาจากประชาชน

นิติรัฐจึงกลายเป็นเพียงข้ออ้าง เพื่อครอบงำสังคม แต่ในทางปฏิบัติกลับเป็นการกระทำตามความต้องการของระบอบราชาธิปไตยที่มีลุงสมชายเป็นผู้กุมอำนาจสูงสุดเท่านั้น กฎหมายได้กลายเป็นข้ออ้างของความชอบธรรมเท่านั้นเอง กล่าวคือเมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจได้สำเร็จ ก็ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และเขียนรัดทำมะนวยเพื่อรับรองความชอบด้วยกฎหมายของการรัฐประหาร เพื่อลบล้างความผิดของตน เพื่อเปลี่ยนอำนาจปืนให้กลายเป็นอำนาจตามรัดทำมะนวย ตรากฎหมายต่างๆ และแต่งตั้งบุคคลให้มารับใช้พวกตนและเพื่อกำจัดรัฐบาลเดิม


สร้างกลไกปราบปรามให้มีความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้นในรูปของกฎหมายซึ่งที่จริงก็คือกฎหมู่นั่นเอง มีการเขียนกฎหมายกำหนดโทษให้แรงขึ้นและให้มีผลย้อนหลัง เขียนกฎหมายแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆเพื่อทำหน้าที่ทำลายรัฐบาลเดิม และปราบปรามฝ่ายตรงข้ามโดยใช้องค์กรตุลาการ ในนามของตุลาการภิวัฒน์ คือให้ตุลาการมีอำนาจมากกว่ากว่าฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร โดยสร้างความเชื่อว่านักการเมืองเป็นคนเลว การเลือกตั้งเป็นเรื่องสกปรก แต่องค์กรตุลาการเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความเป็นกลาง ปราศจากผลประโยชน์ จึงต้องให้อำนาจองค์กรตุลาการควบคุมนักการเมือง และขยายบทบาทของตุลาการไปคุมการเมือง
การยืมมือองค์กรตุลาการในการปราบปรามฝ่ายตรงข้าม นับเป็นอุบายที่แนบเนียน เพราะอำนาจนอกรัฐธรรมนูญสามารถอ้างได้ว่าตนเป็นนิติรัฐต้องเคารพกฎหมายและคำตัดสินของศาล โดยมีกฎหมายห้ามหมิ่นห้ามวิจารณ์ศาลและห้ามพาดพิงลุงสมชายซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายราชาธิปไตย

การควบคุมองค์กรตุลาการ


กฎหมายคือตัวกำหนดหรือตัวควบคุมคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาต้องยึดหลักความเป็นธรรมของกฎหมายหรือกฎของกฎหมาย เนื่องจากองค์กรตุลาการเป็นองค์กรปิด และมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชนน้อยกว่าองค์กรของรัฐอื่นๆ จึงจำเป็นต้องเปิดให้มีการวิจารณ์คำพิพากษาเพื่อประกันความเป็นอิสระ ความโปร่งใสและตรวจสอบชี้แจงได้ มิใช่ลำพองใจว่าตนปฏิบัติหน้าที่ในนามของพระราชา ตนมีลุงสมชายสนับสนุนและให้กำลังใจ การเปิดโอกาสให้มีการวิจารณ์ถกเถียงอย่างสร้างสรรค์จึงจะทำให้คำพิพากษาและศาลได้รับการยอมรับนับถือ ช่วยสร้างกระบวนการประชาธิปไตยให้เข้มแข็งและลึกซึ้งขึ้น



การข่มขู่ว่าจะใช้ข้อหาหมิ่นศาล หรือ ละเมิดอำนาจศาล ต่อคนที่วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา จึงขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เพราะอำนาจและความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการนั้น มีไว้ใช้ปกป้องนิติรัฐและประชาธิปไตย มิใช่ใช้ทำลายนิติรัฐและประชาธิปไตย องค์กรตุลาการต้องสำนึกอยู่เสมอว่าตนเป็นส่วนหนึ่งในประชาธิปไตยและมีหน้าที่พิทักษ์รักษาระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม มิใช่ไปรักษาปกป้องระบอบราชาธิปไตยแล้วมาทำลายหลักนิติธรรมและระบอบประชาธิปไตย


รูปการจิตสำนึกหรืออุดมการณ์ราชาธิปไตยครอบงำอำนาจตุลาการของไทยมานานโดยปลูกฝังให้ตุลาการต้องขึ้นต่อและตัดสินตามความต้องการของลุงสมชายแต่เพียงผู้เดียว ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่รัฐต่างก็มีอุดมการณ์ราชาธิปไตย โดยฝ่ายราชาธิปไตยเป็นผู้แต่งตั้งให้ตัดสินคดีโดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมหรือหลักการทางประชาธิปไตย ดังนั้น ศาลมักจะตัดสินลงโทษรุนแรงต่อจำเลยในคดีความผิดฐานหมิ่นประมาทลุงสมชาย รวมทั้งพวกที่ชุมนุมต่อต้านระบอบราชาธิปไตยโดยไม่อนุญาตให้ประกันตัว


สมาชิกรัฐสภาของไทยในระบอบราชาธิปไตยก็ไม่เคยคิดจะเสนอร่างแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายห้ามหมิ่นลุงสมชาย คณะรัฐมนตรีไม่มีวันเสนอแผนตัดลดงบประมาณของสำนักงานลุงสมชาย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญย่อมไม่กล้าเสนอปฏิรูปเรื่องของสถานะและอำนาจลุงสมชาย  ศาลจะไม่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งประกาศใช้เพื่อจัดการกลุ่มคนที่ตรงกันข้ามกับฝ่ายราชาธิปไตย เรื่องการเอาผิดผู้สั่งการสังหารหมู่ประชาชน 91 ศพก็คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในระบอบราชาธิปไตย นอกจากจะต้องปฏิรูประบบยุติธรรม โดยต้องยกเลิกระบอบและอุดมการณ์ราชาธิปไตยเสียก่อน จึงจะสามารถเอาผิดและลงโทษผู้สั่งการสังหารหมู่ 91 ศพได้ ไม่ว่าจะระดับนายอภิเสก-นายสุเทือก-พลเอกอนุพันธุ์-พลเอกปรายึด-พลเอกดาวพอง หรือระดับสมาชิกวงศ์จักรกาลี เพราะศาลไทยตัดสินในนามของลุงสมชายภายใต้อุดมการณ์ราชาธิปไตย และถ้าไม่มีอุดมการณ์ราชาธิปไตย ไม่มีสถานะและอำนาจของลุงสมชายอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็จะไม่มีขบวนการตุลาโกงภิวัฒน์ที่เข้ามาทำลายระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่แรก
ปัจจุบันยังไม่มีกลุ่มการเมืองรวมทั้งพรรคเพื่อนไทยและ นปช. ที่มีนโยบายยกเลิกอุดมการณ์ราชาธิปไตย และยกเลิกสถานะและอำนาจของลุงสมชายอย่างที่เป็นอยู่ อนาคตของ 91 ศพ ก็จะเป็นแบบเดียวกับหลายๆศพ ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519, 17 พฤษภา 2535 ที่หาตัวคนผิดหรือคนที่ต้องรับผิดชอบไม่ได้ตามเคย


หากต้องการให้สังคมเป็นประชาธิปไตย เป็นรัฐที่เคารพกฎหมายจริงๆ มีความเสมอภาคและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ก็จำเป็นต้องปลูกฝังอุดมการณ์ที่เคารพกฎหมายและเป็นประชาธิปไตยจริงๆให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางกฎหมายแทนที่ระบอบราชาธิปไตย หรือใช้ศาลอื่นที่ไม่ได้ขึ้นกับระบอบราชาธิปไตย เช่น ศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งในสมัยรัฐบาลรักสินได้มีมติจะให้สัตยาบรรณต่อกฎบัตรธรรมนูญกรุงโรม แต่ลุงสมชายสั่งห้ามไว้ เพราะตามธรรมนูญกรุงโรม ลุงสมชายจะไม่ได้รับเอกสิทธิคุ้มครองไม่ถูกดำเนินคดี ไม่เหมือนศาลไทยที่มีกฎหมายที่ห้ามผู้ใดกล่าวโทษฟ้องร้องลุงสมชาย
ดังนั้นถ้ารัฐบาลพรรคเพื่อนไทยลงนามให้สัตยาบรรณและนำเรื่องการสังหารหมู่ประชาชนเมื่อวันที่ 10 เมษายนและ 19 พฤษภาคม 2553 เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ หากการสอบสวนของศาลอาญาระหว่างประเทศพบว่าลุงสมชายและครอบครัวมีส่วนรู้เห็น สนับสนุนหรือสั่งการ ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ลุงสมชายและครอบครัวก็ต้องรับผิดชอบและรับโทษโดยไม่มีการยกเว้น นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ระบอบราชาธิปไตยต้องสกัดกั้นไม่ให้พรรคเพื่อนไทยได้เป็นรัฐบาลหรือต้องหาทางทำลายรํฐบาลพรรคเพื่อนไทยทุกวิถีทาง เพราะจะเป็นอันตรายต่อลุงสมชาย หัวหน้าอาชญากรและหัวหน้ากบฏทรยศชาติตัวจริง นั่นเอง
ความเสมอภาคคือรากฐานสำคัญของระบอบประชาธิปไตย จะไม่มีใครบังคับประชาชนให้เคารพนับถือบุคคลใดได้ มนุษย์ย่อมเสมอภาคกันคือมีฐานะเท่าเทียมกัน จะผิดกันก็แต่ตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่ทุกคนย่อมเสมอภาคกันในทางกฎหมาย และให้ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่มีใครมีสิทธิพิเศษมากกว่าคนอื่น ไม่ใช่ระบบการเมืองที่ปัญญาชนหรือคนกรุงจะมีสิทธิ์มากกว่ากว่าคนในชนบท หรือมีลุงสมชายที่ฉลาดไปทุกเรื่อง ทำถูกทำดีไปทุกอย่างแต่เพียงผู้เดียว หรืออวดอ้างว่าพวกตนเป็นคนดีมีจริยธรรมอยู่เพียงฝ่ายเดียว
หลักกฎหมาย หลักนิติรัฐ ความยุติธรรม มิได้มีไว้เพื่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการใช้เทศนาสั่งสอนผู้อื่น หากมีไว้ใช้กับบรรดาผู้พิพากษาและตุลาการทุกระดับชั้นให้มีสำนึกอยู่เสมอ
สถานภาพของคณะรัฐประหารพวกเนติบริกรและนักรัฐศาสตร์บริการมักอ้างว่า เมื่อทหารยึดอำนาจได้แล้ว ย่อมมีอำนาจสูงสุดหมายได้เอง โดยไม่สามารถเอาผิดคณะรัฐประหารได้ มิหนำซ้ำยังยอมรับประกาศหรือคำสั่งและรัดทำมะนวยที่คณะรัฐประหารเหล่านั้นตราออกมา ซึ่งผิดหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ไม่อาจยอมรับการรัฐประหาร และกฎหมายหรือผลพวงของคณะรัฐประหาร

  

คำว่ารัฏฐาธิปัตย์ (sovereign) ในทางรัฐศาสตร์หมายถึงผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินที่มีอำนาจสูงสุด ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย ถือว่าปวงชนหรือตัวแทนของปวงชนเท่านั้นที่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และมาจากประชาชนโดยผ่านทางสภา ไม่มีใครมีอำนาจสูงสุดด้วยตนเอง โดยที่ประชาชนตกลงยินยอมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนตามเจตจำนงของประชาชน หากผู้ปกครองละเมิดเจตจำนงของประชาชน ประชาชนมีสิทธิถอดผู้ปกครองได้ตามวิถีทางประชาธิปไตย หลักการประชาธิปไตยย่อมปฏิเสธการแย่งชิงอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชนโดยการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจแล้วออกกฎหมายมาบังคับเอากับประชาชน

แต่นักกฎหมายหรือศาลไทยกลับยอมรับว่าคณะรัฐประหารเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ตามพิพากษาฎีกาที่ 1662/2505 ที่มีว่าเมื่อคณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชน ก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย และได้ถือเป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายที่เชื่อถือสืบต่อกันมาจนปัจจุบันว่าศาลไทยยอมรับการเป็นกบฏ และยอมเชื่อฟังศิโรราบต่อคำสั่งของกบฏทั้งๆที่เป็นอาชญากรรมร้ายแรง
อย่างไรก็ตาม นายเกียรติ กาญจนา ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีทางการเมือง ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตนปฏิเสธการรัฐประหารเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2552 ว่า “การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย โดยความไม่ยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ เท่ากับเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย การรัฐประหารเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมายอาญา มาตรา 113 ฐานเป็นกบฏ...หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลที่ทำการรัฐประหารว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เท่ากับศาลไปรับใช้คณะรัฐประหารที่ใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปักรักษาประชาธิปไตย ทั้งเป็นการละเลยหลักยุติธรรมที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จากความฉ้อฉลหรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์อยู่เรื่อยไป ยิ่งกว่านั้นยังเป็นช่องทางให้คณะรัฐประหารยืมมือกฎหมายเข้ามาจัดการสิ่งต่างๆ….คปค. เป็นคณะบุคคลที่ทำรัฐประหาร เป็นความผิดฐานกบฏตามกฎหมายอาญามาตรา 113 ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ย่อมไม่มีอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำการใดอย่างรัฏฐาธิปัตย์……
ฉะนั้น ผู้ที่กำลังคิดที่จะทำรัฐประหารจะต้องพึงสำเนียกว่ามีผู้พิพากษาบางท่านได้วินิจฉัยแล้วว่าคณะรัฐประหารไม่ใช่รัฐฏาธิปัตย์แต่เป็นเพียงโจราธิปัตย์ที่มีความผิดฐานเป็นกบฏที่มีโทษถึงประหารชีวิต

กฎหมู่ของวงศ์จักรกาลี
ความหมายของกฎหมายในมาตรา 6 ของคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 (พศ.2332) บัญญัติว่า กฎหมายคือเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชน พลเมืองทุกคนมีสิทธิออกกฎหมายโดยตนเองเข้ามีส่วนร่วมโดยตรงหรือผ่านผู้แทน กฎหมายต้องเป็นสิ่งที่เหมือนกันสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองหรือลงโทษ พลเมืองทุกคนย่อมเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย..... ประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหาร ที่ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจการปกครอง ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ที่มิได้มาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน และมิได้ผ่านกระบวนการในทางนิติบัญญัติแต่อย่างใด จึงไม่ควรค่าแก่การนับถือว่าเป็นกฎหมาย เป็นได้แค่กฎโจรหรือกฎหมู่ กฎหมายต้องเป็นเครื่องมือสร้างความยุติธรรม โดยถือเอาความเห็นของบุคคลธรรมดาทั่วไปเป็นเกณฑ์ บางประเทศจึงใช้ระบบลูกขุนในการตัดสินคดี กฎหมายต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ความเป็นธรรม และมีเหตุผลที่ยอมรับกันได้



แต่วงการกฎหมายไทยกลับสอนกันว่ากฎหมายคือ คำสั่ง คำบัญชาของผู้กุมอำนาจ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ โดยอ้างคำพิพากษาฎีกาทั้งๆที่ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญฉบับใดเลยที่รับรองความเป็นกฎหมายของประกาศ หรือคำสั่งของคณะรัฐประหาร กลายเป็นว่าคำพิพากษาศาลฎีกาที่ไม่เคารพกฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์กว่ากฎหมาย คือ เอากฎหมู่ของพวกกบฏมาอยู่เหนือกฎหมาย


แม้แต่คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกการเมืองในคดียึดทรัพย์คุณรักสิน ก็ได้นำประกาศ คปค. มาใช้บังคับ ทั้งๆที่ไม่มีคุณลักษณะที่เป็นกฎหมายแต่อย่างใด เพราะมิได้มาจากของสภานิติบัญญัติที่เป็นตัวแทนของปวงชน จึงไม่ได้เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน ทั้งยังเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิอาจกลายเป็นความชอบด้วยกฎหมายได้ ตามหลักที่ว่า อำนาจหรือสิทธิย่อมไม่บังเกิดขึ้นจากการกระทำผิด ประเทศประชาธิปไตยจึงต้องไม่ยอมรับว่าประกาศ หรือคำสั่งของคณะรัฐประหารเป็นกฎหมาย เพราะการรัฐประหารเป็นศัตรูกับประชาธิปไตย และทำให้การบังคับใช้กฎหมาย ขัดหลักนิติธรรมตั้งแต่เริ่มแรก
แต่ยังมีคำวินิจฉัยส่วนตนของนายธรรมนิศ เกศพิทักษ์ ตุลาการรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยในคดียุบพรรคไทยรักไทย ที่เห็นว่ากฎหมายต้องไม่มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นโทษได้ ดังนี้
“...บรรดาคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองที่มีลุงสมชายเป็นประมุข ก็ต้องอยู่ภายใต้กรอบหรือหลักเกณฑ์แห่งกฎของกฎหมาย หรือ Rule of Law หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองที่มีลุงสมชายเป็นประมุขจะออกกฎหมายมาบังคับแก่ประชาชนตามอำเภอใจ โดยไม่คำนึงถึงกฎของกฎหมาย หรือ Rule of Law ไม่ได้ ....... เช่นตีความยอมรับรองให้คณะปฏิรูปออกกฎหมายย้อนหลังไปเป็นผลร้ายแก่บุคคล... เช่นนี้แล้ว เราจะไม่มีหลักประกันว่าในอนาคตจะไม่มีการยึดอำนาจซ้ำซ้อนขึ้นมาอีกและคณะรัฐประหารซึ่งเป็นรัฏฐาธิปัตย์คนใหม่จะไม่ออกกฎหมายย้อนหลังมาเพื่อแก้แค้นเอาคืนบ้าง เข้าลักษณะทีใครทีมัน อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรความไม่สงบสุขในจากการใช้กฎหมายข่มเหงรังแกกันไม่มีที่สิ้นสุด...ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองที่มีลุงสมชายเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ที่ให้เพิกถอนสิทธิของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนด 5 ปี จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อกฎของกฎหมายหรือ Rule of Law จึงไม่มีผลใช้บังคับ...



อีกตัวอย่างหนึ่งในคดีของนายยุทธ เตียวไพรัช จงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ซึ่งนายเกียรติ กาญจนา ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อย ได้วินิจฉัยปฏิเสธการได้มาซึ่งอำนาจโดยการรัฐประหาร โดยมีคำวินิจฉัยว่า..


ผู้ร้องคือคตส.พวกนายแก้วสวรรค์ประกอบด้วยคณะกรรมการที่เป็นผลพวงของคณะปฏิรูปการปกครองที่มีลุงสมชายเป็นประมุข(คปค.) แต่ คปค.เป็นคณะบุคคลที่ทำการรัฐประหาร เป็นกบฏตามกฎหมายอาญามาตรา 113... ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ย่อมไม่มีอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำการใดอย่างรัฏฐาธิปัตย์ ผู้ร้องคือคตส.ก็เป็นผลพวงของ คปค. ย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่... ด้วยเช่นกัน ผู้ร้อง จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ...ปัญหาว่าผู้ผู้ถูกกล่าวหาจงใจยื่นแสดงรายการทรัพย์สินเป็นเท็จหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย จึงวินิจฉัยให้ ยกคำร้องของผู้ร้อง

คำวินิจฉัยส่วนตนของท่านผู้พิพากษาท่านนี้นับเป็นคำวินิจฉัยเดียวในประเทศไทยในขณะนี้ที่ไม่ยอมรับอำนาจของคณะรัฐประหาร ว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้จะเป็นคำวินิจฉัยที่เป็นเสียงข้างน้อย แต่ก็เป็นเสียงข้างน้อยทิ่ยึดหลักการในระบอบประชาธิปไตย และหลักนิติรัฐนิติธรรมที่แท้จริง

ประชาชนไทยคงไม่หวังให้ฝ่ายตุลาการหรือนักกฎหมายไทยต่อสู้หรือตอบโต้การรัฐประหาร แต่เมื่อคณะรัฐประหารพ้นจากอำนาจไปแล้ว ก็ต้องฟื้นคืนหลักนิติรัฐนิติธรรมให้กลับคืนมา โดยต้องยืนยันว่าประกาศ หรือคำสั่งของคณะรัฐประหารเป็นเพียงเศษกระดาษหรือเป็นแค่กฎหมู่ของผู้ถืออาวุธเท่านั้น ไม่ได้มีคุณค่าเป็นกฎหมายที่ควรยอมรับ เพราะกฎหมายเป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนในสังคมไม่ใช่คำสั่งของพวกยึดอำนาจ

องค์กรอิสระ
กับหลักการประชาธิปไตย

ระบอบประชาธิปไตยมีการแบ่งแยกอำนาจให้องค์กรนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา องค์กรบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี และองค์กรตุลาการ คือ ศาลยุติธรรม(และศาลทหาร) แต่รัฐธรรมนูญ 2540 ได้มีการจัดตั้งองค์กรต่างๆขึ้นใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาแต่เดิมหลายองค์กร


ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา



ทั้งๆที่ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ จึงต้องถือเป็นองค์กรของรัฐประเภทศาล ไม่ใช่องค์กรอิสระ สำหรับองค์กรอิสระที่เหลืออีก 6 องค์กรนั้นใช้อำนาจของรัฐในลักษณะที่ไม่แบ่งแยกชัดเจน


เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยว่า กกต. สามารถใช้อำนาจเสมือนดังอำนาจตุลาการได้ คำวินิจฉัยของ กกต.เกี่ยวกับการเลือกตั้งถือเป็นที่สุด ไม่สามารถฟ้องร้องโต้แย้งต่อศาลได้ ศาลฎีกาแผนกการเมืองเองก็เคยวินิจฉัยว่า ปปช.ใช้อำนาจกึ่งนิติบัญญัติ กึ่งบริหาร กึ่งตุลาการ รวมอยู่ในองค์กรเดียว องค์กรอิสระบางองค์กร เข้าใจว่าอำนาจของตนเป็นอำนาจอิสระ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบของใครทั้งสิ้น ซึ่งขัดหลักการในระบอบประชาธิปไตย
ตามหลักแล้วองค์กรตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริงย่อมได้แก่ พระราชา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นองค์กรอิสระอื่นๆตามรัฐธรรมนูญ 2540 คือ กกต. ปปช. คตง. กสม. และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั้น เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจบริหารทางปกครอง ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นองค์กรผู้ช่วยรัฐสภา องค์กรเหล่านี้จึงมิใช่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้มีภารกิจหรือใช้อำนาจที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐนำโดยตรง เฉพาะศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยตรง
แต่รัดทำมะนวย 2550 ที่เป็นผลพวงมาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กลับสร้างองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ไม่ถูกหลักการเพิ่มขึ้นอีกตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ เช่น อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ในการเพิกถอนสิทธิเลือกก่อนประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกส.ส.และส.ว. ซึ่งรัดทำมะนวย 2550 มาตรา 239 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เป็นที่สุด และศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าผู้ที่ถูก กกต. เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถฟ้องร้องต่อศาลโต้แย้งได้

เท่ากับว่า กกต.ใช้อำนาจวินิจฉัยเสมือนว่าตนเองเป็นศาลได้ ทั้งๆที่มีอำนาจในการออกกฎระเบียบ และบริหารจัดการการเลือกตั้งได้ด้วย และ กกต. ไม่ใช่องค์กรที่อยู่ในหมวดศาล ทั้งยังมีอำนาจในการประกาศผลการเลือกตั้ง แม้ว่าจะทราบผลการลงคะแนนของประชาชนแล้ว กกต.จะยังมีอำนาจไม่ประกาศผล และอาจสั่งให้เลือกตั้งใหม่ได้



เท่ากับว่า กกต. สามารถหน่วงเจตจำนงหรือแม้แต่ปฏิเสธเจตจำนงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้โดยอ้างว่าต้องการให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์และยุติธรรม ทั้งๆที่การแก้ปัญหาดังกล่าวควรจะเป็นการดำเนินคดีกับผู้ที่ทุจริตการเลือกตั้งในเวลาต่อมาหากปรากฏว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งจริง



บุคคลในองค์กรอิสระหลายองค์กรไม่ได้มาตามวิถีทางประชาธิปไตย เพียงแค่อ้างการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหาซึ่งแทบจะไม่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาซึ่งมีความชอบธรรมเพียงครึ่งเดียวเพราะวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งราวครึ่งหนึ่ง

องค์กรตามรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งมีแนวโน้มที่จะกลายระบบราชการขึ้นใหม่ ที่จะมีขนาดใหญ่โต เนื่องจากอาจจะกระจายไปในทุกจังหวัด องค์กรอิสระจึงใช้อำนาจที่ขัดขัดหลักการตามระบอบประชาธิปไตย จึงต้องยุบเลิกหรือถอดรื้อองค์กรเหล่านี้ออกจากรัฐธรรมนูญ
ถ้าต้องการให้มีองค์กรที่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร เช่น การตรวจเงินแผ่นดิน ก็สามารถบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้เป็นองค์กรอิสระในทางปกครอง แต่การได้มาซึ่งบุคคลในองค์กรเหล่านี้ ต้องมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตย และอำนาจหน้าที่ขององค์กรเหล่านี้จะต้องสอดคล้องกับหลักการถ่วงดุลย์อำนาจ
รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยของไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างขององค์กรตุลาการและกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ การปฏิรูปกองทัพ การปฏิรูปโครงสร้างขององค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งหมายถึงการยกเลิก การยุบรวม ที่สำคัญคือสถาบันพระราชาเพื่อไปให้พ้นจากระบอบราชาธิปไตยแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

กฎหมู่ของเครือข่ายจักรกาลี


วัฒนธรรมการเมืองไทยปัจจุบัน มักอ้างกฎหมายกันเป็นสรณะ หากต้องการเสริมสร้างความชอบธรรมให้แก่การกระทำของตน ก็ต้องอ้างว่าทำตามกฎหมาย เช่นการอ้างพรบ.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หากต้องการทำลายความชอบธรรมของการกระทำของศัตรู ก็ต้องอ้างว่าการกระทำนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นอ้างว่าคุณรักสินเป็นนักโทษหนีคดี ต้องกลับมาติดคุกก่อน

ชอบหยิบยกคำใหญ่ๆโตๆ เช่น นิติรัฐ นิติธรรม เคารพกฎหมาย กฎหมายเป็นใหญ่ ปกครองโดยกฎหมาย ศาลตัดสินแล้วเป็นที่สุด ทุกคนต้องยอมรับ อ้างกฎหมายห้ามหมิ่นลุงสมชายไว้ปิดปากฝ่ายตรงข้าม และสร้างความชอบธรรมให้ฝ่ายตนเอง โดยจงใจไม่พูดถึงที่มาอันไม่ชอบธรรมของกฎหมาย ปัจจัยรอบด้านของกฎหมาย เนื้อหาของกฎหมาย ไม่สนใจต่อการใช้กฎหมายแบบไม่เสมอภาค



การที่มีคนจำนวนมากไม่ยอมรับกระบวนการทางกฎหมายที่เกิดจากคณะรัฐประหาร ไม่ใช่เรื่องการเมืองมารังแกกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องกฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนต้องการโต้แย้งว่าสิ่งที่อ้างว่าเป็นกฎหมายนั้น ที่แท้มันคือกฎหมู่ที่มาในร่างของกฎหมาย คือเอากฎโจรมาเป็นกฎหมาย การรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองที่มีลุงสมชายเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นกฎหมู่ หรือกฎโจร ที่ผิดกฎหมายชัดเจน คณะรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 แล้วประกาศใช้รัดทำมะนวยชั่วคราว 2549 เป็นกฎหมู่แน่นอน เป็นอย่างอื่นไม่ได้
คณะรัฐประหารรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของตนเองและการกระทำต่อเนื่อง ตามมาตรา 36 ของรัดทำมะนวย 2549 อันนี้เป็นกฎหมู่ที่ขัดหลักการประชาธิปไตยและขัดหลักนิติรัฐนิติธรรมอย่างชัดเจนที่สุด


คณะรัฐประหารนิรโทษกรรมตนเองและพรรคพวกทั้งที่ผ่านมาและในอนาคตตามมาตรา 37 ของรัดทำมะนวย 2549 เป็นกฎโจรที่ชัดเจนมาก  คณะรัฐประหารออกประกาศ คปค ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ที่เอาผิดย้อนหลังให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบเป็นเวลา 5 ปี อันนี้เป็นการใช้กฎหมู่เพื่อทำลายผู้อื่น

กฎหมายทั้งหลายที่เกิดจากน้ำมือของคณะรัฐประหาร ก็ล้วนเป็นกฎหมู่ทั้งสิ้นที่มาและเนื้อหาของรัดทำมะนวย 2550 เป็นแค่กฎของโจรที่มาจากการใช้อาวุธเข้ายึดอำนาจของประชาชนแล้วอาศัยการโฆษณาว่าเป็นประชามติทั้งๆที่ไม่มีทางให้เลือกอย่างเสรี
มาตรา 309 ของรัดทำมะนวย 2550 ที่ให้รับรองรัดทำมะนวยชั่วคราว 2549 ของคณะรัฐประหาร เป็นการใช้กฎหมู่เพื่อรับรองกฎหมู่อีกชั้นหนึ่ง
กระบวนการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือจนนำมาสู่การยุบพรรคการเมืองหลายพรรค ตัดสิทธินักการเมืองหลายคน เป็นการใช้กฎหมู่ตามแผนการเพื่อทำลายพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เกิดขึ้นจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร เป็นเพียงแค่องค์กรของโจรที่ใช้ตามล่าทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ขบวนการตุลาโกงภิวัฒน์ เป็นเพียงเครื่องมือของพวกเผด็จการราชาธิปไตยที่ใช้ทำลายองค์กรและบุคคลากรในระบอบประชาธิปไตย ....ทุกคนก็คงได้เห็นได้รู้กันอยู่ ตลอดระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่กฎหมายถูกนำมาใช้อย่างฉ้อฉล ทั้งการบัญญัติตัวบทกฎหมาย การใช้และการตีความที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่การรัฐประหาร 19 กันยา 2549 โดยไม่มีมาตรฐาน ไม่มีความเป็นธรรม บางเรื่องอ้างนิติรัฐเต็มที่ แต่บางเรื่องกลับไม่พูดถึงนิติรัฐเลย

คนพวกนี้นิ่งเฉยต่อการต้านรัฐประหาร เพิกเฉยต่อกระบวนการทางกฎหมายที่ฉ้อฉลมาตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา 2549 ไม่มีจิตสำนึกของความผิดชอบชั่วดีแม้แต่น้อย มีการอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีการเมือง 26 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ให้ยึดทรัพย์ ราว 46,000 ล้านบาทของคุณรักสิน โดยบางคนพยายามนำคำพิพากษานี้มาขยายผล โดยอ้างว่าต้องทำตามนิติรัฐ ทั้งๆที่คำพิพากษานี้มีจุดกำเนิดมาจากการรัฐประหารที่ผิดกฎหมาย เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง หากต้องการนำคำพิพากษานี้มาใช้ คงใช้ได้แต่เพียงการศึกษาและวิจารณ์ถึงความไม่ถูกต้องตามหลักวิชาคือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเท่านั้น รวมทั้งกรณีที่ดินรัชดีที่มีการตัดสินจำคุกคุณรักสินสองปี โดยคุณรักสินถูกพิพากษาว่าผิดฐานมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะภรรยาไปประมูลซื้อที่ดินจากกองทุนฟื้นฟู



แต่ในขณะเดียวกันกลับไม่มีการตั้งคำถามในคำพิพากษาว่าทหารผู้ก่อรัฐประหารซึ่งเป็นศัตรูกับคุณรักสินจะมีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ในเมื่อพวกเขาเป็นคนแต่งตั้งคตส.ทุกคน รวมถึงคนอย่างนายแก้วสวรรค์ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเคยขึ้นเวทีพันธมิตรฯ และต่อต้านคุณรักสินอย่างชัดเจน หลักฐานที่ใช้เอาผิดคุณรักสินคือการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาคุณรักสินมีผู้รู้จักจำนวนมาก ประกอบกับข้าราชการมีค่านิยมจำนนต่อผู้มีบารมีสูง นอกจากนั้น ยังอาจให้คุณให้โทษทางราชการได้ ผู้ร่วมแข่งขันประมูลอีกสองบริษัท รู้ว่าต้องแข่งขันกับภริยานายกรัฐมนตรี จึงไม่กล้าสู้ราคา... ทั้งหมดที่ศาลอ้างเป็นเพียงเรื่องของความเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่หลักฐานที่จะเอาผิดได้


กระบวนการยุติธรรมมีความสำคัญทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการสืบสวนสอบสวน จนถึงคำพิพากษา เมื่อกระบวนการทางกฎหมายไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการนั้นก็ย่อมไม่ถูกต้องไปด้วย ต้นทางในคดีนี้เริ่มต้นจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นที่มาของการแต่งตั้ง คตส.และการให้อำนาจมากมายในการตรวจสอบทรัพย์สินแก่ คตส. เป็นที่มาของการแต่งตั้งบุคคลไปดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อ คปค.ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ และการรัฐประหารก็เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดทางอาญา มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต และเป็นสิ่งแปลกปลอมในรัฐเสรีประชาธิปไตย คดีที่ คตส.เลือกขึ้นมาพิจารณาก็ล้วนแล้วแต่เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับคุณรักสิน และรัฐบาลรักสิน ข้อเท็จจริงเหล่านี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในคดีนี้เริ่มต้นจากความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
หากยอมเชื่อกันว่า เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เมื่อนั้นคณะรัฐประหารก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ มีอำนาจยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้วออกรัดทำมะนวยใหม่ ตลอดจนการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมายได้ แต่เมื่อมีการจัดตั้งระบบกฎหมายชุดใหม่ผ่านการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ องค์กรผู้ใช้บังคับกฎหมายทั้งหลาย ก็ต้องพิจารณาใช้และตีความกฎหมายของคณะรัฐประหารเสียใหม่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โดยต้องปฏิเสธรัฐประหารและผลผลิตของคณะรัฐประหารด้วยการไม่นำประกาศ คปค.มาใช้บังคับและไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมที่มาจากคณะรัฐประหาร
คำพิพากษาของศาลฎีกาทางการเมืองยังขัดหลักความเป็นกลางขององค์กรที่ทำหน้าที่ไต่สวน ที่ห้ามคู่กรณีเป็นผู้พิจารณาคดี คตส.แต่งตั้งโดย คปค.ที่โค่นล้มรัฐบาลรักสิน

ในครั้งแรก คปค. แต่งตั้ง คตส. (ตามประกาศที่ 23) โดยมีนายสวาท โชพานิช เป็นประธาน และกรรมการอีก 7 คนตามตำแหน่งหน่วยงานต่างๆ แต่ 6 วันต่อมา คปค. กลับออกประกาศยกเลิก คตส. ชุดดังกล่าว และแต่งตั้ง คตส. ชุดใหม่ โดยกำหนดชื่อตัวบุคคลเป็นกรรมการ คตส. รวม 12 คน (ตามประกาศที่ 30) เป็นการเฉพาะเจาะจง เป็น คตส. ชุดใหม่ เมื่อ คตส. กำเนิดจากการแต่งตั้งของ คปค. และ คปค.เป็นผู้ก่อการรัฐประหารล้มรัฐบาลรักสิน ในขณะที่ คตส. เลือกพิจารณาตรวจสอบเฉพาะเรื่องของคุณรักสิน ย่อมแสดงถึงความไม่เป็นกลางของ คตส. ต่อการพิจารณาเรื่องของคุณรักสิน
พฤติกรรมและทัศนคติของคตส.และอนุกรรมการไต่สวนทั้งสามคน ได้เคยให้ความเห็นเป็นปฏิปักษ์กับคุณรักสินหลายครั้งทั้งก่อนและระหว่างดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ คตส.

หลักการนิรโทษกรรม


การนิรโทษกรรม คือ มีการกระทำที่เป็นความผิดแล้วมีการตรากฎหมายในภายหลังให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดแล้ว ในเมื่อเดินหน้าเข้าสู่ประชาธิปไตยอย่างแล้ว ก็ไม่ควรยอมรับอำนาจและผลพวงของการรัฐประหารอีกต่อไป การกระทำใดที่ถือเป็นความผิดตามกฎหมู่ของคณะรัฐประหาร ก็ต้องไม่ถือว่าเป็นความผิดอีกต่อไป เมื่อไม่เป็นความผิด ย่อมไม่มีอะไรให้นิรโทษ



ในขณะที่ผู้เสียหายจากการกระทำของคณะรัฐประหารต้องได้รับการเยียวยาและฟื้นฟู ต้องตั้งบรรทัดฐานว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และผลิตผล ของคณะรัฐประหาร เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นโมฆะ แม้จะส่งผลต่อเนื่องเป็นกระทบคนจำนวนมากและ คงไม่อาจลบล้างเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นแล้วได้ครบถ้วน แต่ก็สามารถกำหนดได้เป็นรายกรณี แต่หลักการสำคัญคือต้องประกาศให้เป็นหลักการชัดเจนว่ารัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ต้องไม่ให้การรัฐปรหารดำรงอยู่ต่อไปในระบบกฎหมายที่อ้างว่าเป็นนิติรัฐนิติธรรม
คดีความต่างๆที่เริ่มต้นหรือเป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหาร 19 กันยา 2549 เป็นสิ่งที่ขัดหลักนิติรัฐนิติธรรมและหลักประชาธิปไตย คดีเหล่านี้จึงไม่มีผล ความผิดในสมัยรัฐประหาร ไม่ถือเป็นความผิดในสมัยประชาธิปไตย เมื่อไม่ผิด ก็ไม่ต้องนิรโทษ
การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ไม่ใช่วิธีการเดียวในการนำประเทศไทยออกจากวิกฤตความขัดแย้งและเดินหน้าเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ แต่ยังมีภาระที่ต้องทำอีกมากมายหลายประการ เช่น การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปกองทัพ การปฏิรูปสถาบันลุงสมชายให้ทันสมัยสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย การพิจารณาสอบสวนเหตุการณ์ที่ผ่านมาว่าใครเป็นผู้สั่งทหารให้ยึดอำนาจ ใครสั่งศาลให้ตัดสินแบบไม่เป็นธรรม ใครสั่งสังหารหมู่ประชาชน เป็นต้น

การเลือกตั้งครั้งนี้อย่างน้อยเป็นโอกาสอันดีของบุคคลที่ต้องการแสดงออกว่า ไม่เอารัฐประหาร 19 กันยา 2549 ไม่เอาคณะรัฐประหาร ไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 ไม่เอาขบวนการตุลาโกงภิวัฒน์ ไม่เอาอำนาจมืดของระบอบราชาธิปไตย ไม่เอาการสังหารหมู่กลางกรุงเทพเมื่อ 10 เมษาและ 19 พฤษภา 2553 และมีจำนวนมากที่ไม่เอาระบอบที่มีลุงสมชายอยู่เหนือกฎหมายและอยู่เหนือความถูกต้องทั้งปวง ประชาชนได้แสดงออกอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อการไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวด้วยการไม่ลงคะแนนให้พรรคการเมืองที่สนับสนุนอำนาจนอกระบอบประชาธิปไตยที่มีลุงสมชายเป็นเสาหลักผู้อยู่เบื้องหลัง

ผลการเลือกตั้งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคเพื่อนไทยที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยและเชื่อมันคุณรักสิน แต่ไม่เชื่อมั่นและไม่ศรัทธาลุงสมชายและวงศ์จักรกาลีอีกต่อไปแล้ว ย่อมเป็นการส่งสัญญาณกระตุ้นเตือนให้บุคคลบางกลุ่มได้ฉุกคิดว่า หากปรารถนาให้สังคมนี้เดินหน้าต่อไปข้างหน้าได้ ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ก็ต้องรีบปรับปรุงตัวเอง แต่ถ้าเครือข่ายของลุงสมชายยังคงดึงดันคิดใช้วิธีแบบเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็คงจะต้องเกิดวิกฤติที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจริงๆ

.................

ไม่มีความคิดเห็น: