วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รู้ทันชั้น 16/05 : พรรคจักรี C2 1605



ฟังเสียง http://www.mediafire.com/?g83c7xvxfwr7f6u
หรือที่  :  http://www.4shared.com/mp3/-d7lpdPd/See_Thru_Floor_16_-1605_.html
.........

ภาคที่ 3 : พรรคจักรี

อีกด้านหนึ่งของราชวงศ์จักรี


ที่มาของราชวงศ์จักรี เริ่มจากปฐมวงศ์ ชื่อ นายทองดี (พระอักษรสุนทร) รับราชการอยู่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นขุนนางของพระเจ้าเอกทัศน์ พอกรุงแตกนายทองดีหนีไปรับราชการอยู่กับพระยาพิษณุโลกที่เป็นขุนนางเก่า ส่วนลูกของทองดี คือ ทองด้วง กับ บุญมา 2 คนมาอยู่กับพระเจ้าตาก


ในช่วงที่กรุงแตกที่วุ่นวายไม่รู้ว่าใครจะชนะ นายทองดีจึงถือหางทั้งสองฝ่าย พอพระเจ้าตากชนะ ลูกทั้ง 2 คนจึงไปรับพ่อกลับมาอยู่กับพระเจ้าตาก แต่นายทองดีก็ไม่รับตำแหน่งขุนนางใหญ่โต เพราะเคยไปอยู่กับพระยาพิษณุโลกมาก่อน
นายทองดีมีภรรยาชื่อหยก มีลูก 5 คน คนโตเป็นผู้หญิง ชื่อสา คนที่ 2 เป็น ชาย ชื่อรามณรงค์แต่ตายไปก่อน คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ แก้ว คนที่ 4 คือทองด้วง คนที่ 5 คือบุญมา ทองดียังมีภรรยาอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีลูก 2 คน ชื่อ กุ กับชื่อ ลา เมื่อนายทองด้วงได้เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 1 ในตอนแรกไม่มีเชื้อพระวงศ์ จึงได้สถาปนาญาติพี่น้องของตนทั้งหมดขึ้นเป็นเจ้า

นายทองด้วง เกิดในราวปี 2279 เป็นขุนนาง รับราชการได้เป็นยกกระบัตร เมืองราชบุรี ต่อมาในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ออกไปอยู่นอกราชการ ไปอยู่แถวอัมพวา เพราะนายทองด้วงไปอยู่ฝ่ายพระเจ้าอุทุมพรซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ แต่พระเจ้าตากอยู่ฝ่ายพระเจ้าเอกทัศน์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะ ตอนนั้นพระเจ้าตากได้เป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองตาก

ในปี 2310 กองทัพพม่าได้บุกเข้ายึดและเผาทำลายกรุงศรีอยุธยาที่อ่อนแอจนเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง อนาคตบ้านเมืองในขณะนั้นขึ้นอยู่กับโชคชะตาของพระยาตากเจ้าเมืองกำแพงเพชร ผู้เกิดมาในตระกูลสามัญชนที่ได้รวบรวมกำลังพลขับไล่กองกำลังพม่า ปราบปรามเหล่าขุนนางศักดินาที่ตั้งตัวเป็นก๊กเป็นเหล่า และรวบรวมชนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยให้เข้ามาอยู่ร่วมกันภายใต้การปกครองของสยามอีกครั้งหลังจากกองทัพใหญ่ของพม่าถอนกำลังจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อกลับไปจัดการปัญหาในบ้านเมืองของตัวเอง โดยทิ้งกองกำลังรักษาการณ์ไว้จำนวนหนึ่ง ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน พระเจ้าตากสินก็ตีกองกำลังพม่าที่เหลืออยู่จนแตกพ่าย และจัดการรวบรวมขุนนางที่แตกเป็นก๊กเป็นเหล่าให้มาอยู่ใต้การบังคับบัญชาได้อีกครั้ง ในปี 2311 ด้วยพระชนม์เพียง 34 ปี เจ้าตากก็สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี มีกรุงธนบรีเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับศูนย์กลางการค้าขายที่เรียกกันว่าบางมะกอก

น้องของนายทองด้วงคือนายบุญมา ตำแหน่งนายสุจินดามหาดเล็กหุ้มแพร ตอนที่กรุงแตก นายบุญมาหนีไปเป็นทหารของพระเจ้าตาก ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากรบชนะและตั้งตนเป็นกษัตริย์ บุญมาจึงได้พานายทองด้วงพี่ชายของตนมาถวายตัวรับราชการ ต่อมาบุญมาได้เลื่อนยศ ตัวพี่คือทองด้วงจะมียศต่ำกว่าเสมอ
โดยมากเมื่อบุญมาเลื่อนยศขึ้นไปก็เอาทองด้วงสวมตำแหน่งแทน เมื่อบุญมาได้เลื่อนจากพระยายมราช เป็น เจ้าพระยาสุรสีห์ ทองด้วงก็ได้เป็นพระยายมราชแทน ทำให้ทองด้วงจะเริ่มมีอำนาจมากขึ้น เพราะบุญมาได้ตำแหน่งเป็นพระยาสุรสีห์ต้องไปปกครองเมืองพิษณุโลก ไปอยู่กับเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นหัวเมืองเอกทางเหนือ ทองด้วงได้ตำแหน่งเป็นพระยมราช คือ ตำแหน่งกรมวังที่อยู่ในเมือง

ต่อมาเจ้าพระยาจักรีซึ่งเป็นตำแหน่งสมุหนายกตาย พระเจ้าตากจึงเลื่อนทองด้วงขึ้นมาเป็นเจ้าพระยาจักรีตำแหน่งสมุหนายก ต่อมาอำนาจของเจ้าพระยาจักรีมีความมั่นคงมากขึ้น เนื่องจากทองด้วงถวายลูกสาวแก่พระเจ้าตากชื่อ ฉิมใหญ่ และเมื่อถวายลูกสาวให้เป็นมเหสีแล้ว ตัวพระยาจักรี ( ทองด้วง ) ก็กลายเป็นพระเจ้าตา ทำให้สถานะทางการเมืองมั่นคงขึ้นเพราะลูกสาวเป็นที่โปรดปราน ต่อมาเจ้าฟ้าฉิมใหญ่ก็มีลูกกับพระเจ้าตาก ชื่อเจ้าฟ้าเหม็น หรือ กรมขุนกษัตรานุชิต

พระเจ้าตากมีทหารที่มีฝีมืออยู่ 2 คน คือ คนหนึ่ง คือบุญมา อีกคน คือ เจ้าพระยาสวรรคโลก ซึ่งเป็นแม่ทัพที่รบเก่งมาก เคยรบเคียงคู่กับพระเจ้าตากมาโดยตลอด ซึ่งตำแหน่งเจ้าพระยาสวรรคโลกเทียบเท่ากับตำแหน่งพระยาสุรสีห์ ต่อมาเจ้าพระยาสวรรคโลกทูลขอธิดาของพระเจ้าตาก ชื่อปรางค์ ใน พ.ศ.2319 ถือเป็นการอาจเอื้อม พระเจ้าตากจึงสั่งประหารเจ้าพระยาสวรรคโลก ทำให้ 2 คนพี่น้อง คือ เจ้าพระยาสุรสีห์ และเจ้าพระยาจักรี มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งตอนหลังพระเจ้าตากหันไปฝักใฝ่ทางศาสนามากขึ้นอำนาจทางการเมืองก็ตกอยู่ในมือสองพี่น้องมากขึ้นทุกที

จนกระทั่งเหตุการณ์สำคัญที่จะนำมาสู่การแย่งชิงอำนาจ และสถาปนาเป็นราชวงศ์จักรี ในปี 2324 เกิดการจลาจลในเขมร

พระเจ้าตากได้ส่งกองทัพไปปราบจลาจล โดยแต่งตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ หรือ เจ้าฟ้าจุ้ยพระราชโอรสองค์โต ให้เป็นแม่ทัพ และให้สองพี่น้องกำกับทัพไปด้วย หลังจากที่เจ้าฟ้าจุ้ยยกกองทัพออกจากกรุงธนบุรี ได้ 2 เดือน กรุงธนบุรีก็เกิดการจลาจล

เจ้าฟ้าจุ้ยยกกองทัพมาถึงกรุงพนมเปญแล้ว เจ้าพระยาสุรสีห์และเจ้าพระยาจักรีเดินทางมาพร้อมกัน เพิ่งมาถึงแค่เมืองเสียมราฐ เจ้าพระยาสุริยอภัยเดินทัพมาถึงแค่โคราชโดยเจ้าพระยาจักรีให้เจ้าพระยาสุริยอภัยเป็นเจ้าเมืองโคราช และให้เจ้าเมืองโคราชเดินทัพต่อไป การเดินทัพล่าที่ช้ามาก ทำให้ทัพญวน 3 หมื่นคนและทัพเขมร 8,000 คน ล้อมทัพกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้

หลังจากที่กองทัพทั้งหมดเดินทางออกไปแล้ว ก็เกิดกบฏในกรุงธนบุรี ขณะที่พระเจ้าตากไม่มีกำลังเหลืออยู่เลย คนที่นำการกบฏ คือ นายบุนนาค บ้านแม่ลา หลวงชนะ หลวงสุระ ที่เป็นคนของเจ้าพระยาจักรี ซึ่งภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางในสมัยราชกาลที่ 1 ทั้งหมด หลวงสุระได้เป็นพระยาสีหราชเดโชชัย ซึ่งเป็นตำแหน่งเสนาธิการกองทัพ และนายบุนนาค บ้านแม่ลา ได้รับตำแหน่งพระยาพลเทพเท่ากับเป็นเสนาบดีเกษตร

พระเจ้าตากได้ส่งพระยาสรรค์ ซึ่งเป็นแม่ทัพรองไปปราบกบฏ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าข้างกบฏ กลายเป็นหัวหน้ากบฏแทน เข้ากรุงธนบุรีจับพระเจ้าตากขังไว้ และจับพวกญาติวงศ์ไว้ โดยตั้งใจว่าจะขึ้นเป็นกษัตริย์เอง แต่พระยาสุริยะอภัยได้ยกกองทัพจากโคราชกลับมากรุงธนบุรีโดยใช้เวลาเพียง 10 วันเข้าปราบพระยาสรรค์จนพ่ายแพ้ แต่คนของเจ้าพระยาจักรีเข้ามาอยู่ในกรุงธนบุรีเต็มไปหมด ทั้งหลวงสรวิชิตนายด่านอุทัยธานี และเจ้ารจนาจากเชียงใหม่ พระยาสุริยะอภัยได้จับพระยาสรรค์ขังไว้

จ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ก็ยกทัพกลับมาทันที แต่เจ้าฟ้าจุ้ยกลับไม่ได้เพราะถูกทัพญวนล้อมไว้ การจลาจลที่เขมรก็เป็นแค่การจัดฉาก โดยมีการตกลงกับญวนให้ช่วยล้อมกองทัพของเจ้าฟ้าจุ้ยไว้ หลังจากที่เจ้าพระยาจักรีเดินทางมาถึงกรุงธนบุรีก็ได้รับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ หลังจากที่ขึ้นเป็นกษัตริย์แล้ว ก็สั่งประหารพระเจ้าตากและพระยาสรรค์

โดยพระเจ้าตากสินถูกใส่ขื่อลากออกมาจากวัดทั้งจีวร และตัดพระศอที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงปากคลองบางกอกใหญ่ รวมทั้งประหารชีวิตขุนนางและครอบครัวที่จงรักภักดีต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีอีกหลายสิบชีวิต รวมทั้งญาติวงศ์และโอรสของพระเจ้าตากทั้งหมดที่เป็นชาย ที่อายุเกิน 18 ปีขึ้นไป และประหารขุนนางฝ่ายพระเจ้าตากอีก 39 คนรวมทั้งพระยาพิชัยดาบหัก

พอเจ้าพระยาสุรสีห์กลับมาถึง ก็ให้ประหารขุนนางกับญาติวงศ์ของพระเจ้าตากอีก 80 คน รวมทั้งพระมเหสีพระเจ้าตาก และพระเจ้าน้า รวมทั้งญาติวงศ์ของพระเจ้าตาก เมื่อกรมขุนอินทรพิทักษ์กลับมาก็จับประหารเสียพร้อมกับพระยากำแหงสงคราม การเปลี่ยนราชวงศ์ของพระเจ้าตากมาเป็นราชวงศ์จักรีนั้น เจ้าเมืองทั้งหมดที่เป็นคนของพระเจ้าตากโดนเปลี่ยนทั้งหมด และเอาคนของตนเป็นเจ้าเมืองแทน หลังจากนั้นนายทองด้วงก็แต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ตั้งเมืองหลวงที่บางมะกอก ในปี 2325 และเป็นกษัตริย์ต้นราชวงศ์จักรี

ราชวงศ์จักรีได้สร้างความชอบธรรมให้กับชาติกำเนิดของตนที่เป็นแค่สามัญชน โดยได้เริ่มราชขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีรีตรองอันมากมาย โดยการหยิบยืมจากราชวงศ์ต่างๆ ตั้งแต่ราชสำนักทั้งอยุธยา นครวัดนครธมของเขมร ผสมผสานกับลัทธิพราหมณ์ และลัทธิขงจื้อ โดยนำมาจากทุกที่ รวมทั้งพัฒนาภาษาแห่งราชสำนักจนกลายเป็น ราชาศัพท์ สำหรับใช้พูดต่อกษัตริย์กับพระบรมวงศานุวงศ์

ความเป็นศักดินาของราชอาณาจักรสยามเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย พอถึงปี 2413 ทาสและลูกทาสทั้งหลายก็มีจำนวนมากถึงหนึ่งในสามของประชากรสยาม ไพร่ชายที่มีอายุตั้งแต่ 20-60 ปีทุกคนต้องทำงานรับใช้เจ้านายปีละ 6 เดือน ไพร่สามารถซื้ออิสระภาพได้ด้วยการจ่ายเงินหรือส่งผลผลิตทดแทนให้เจ้านาย ถ้ามีลูกชายทำหน้าที่ให้เจ้านายอยู่แล้วสามคนผู้เป็นพ่อจึงจะสามารถปลดประจำการได้อย่างถาวร

เจ้าพระยาสุรสีห์ได้รับการแต่งตั้งเป็นวังหน้า ซึ่งเป็นอันดับสองรองจากกษัตริย์ พระยาสุริยะอภัยได้รับการแต่งตั้งเป็นวังหลัง รัชกาลที่ 1ไม่ได้เก่งเรื่องการรบอย่างที่พยายามเขียนไว้ในประวัติศาสตร์ ตอนที่นายทองด้วงมารับราชการใหม่ๆ ยกทัพล้อมเจ้าฟ้าฝาง แต่เจ้าฟ้าฝางหนีวงล้อมไปได้ในด้านที่ทองด้วงเป็นแม่ทัพ ทำให้พระเจ้าตากโกรธมาก และคาดโทษเอาไว้

ต่อมารบกับอะแซหวุ่นกี้ ไปช่วยป้องกันเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาจักรีรบแพ้ ต้องถอนกำลังออกจากเมือง เสียพิษณุโลกแก่พม่า จนกระทั่งพระเจ้าตากยกทัพมาจึงสามารถยกทัพตีอะแซหวุ่นกี้แตกกลับไปได้ โดยไม่เคยมีตำแหน่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและไม่มีเรื่องที่อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัว ตามที่ราชวงศ์จักรีอุปโลกน์ขึ้นมา

หลังจากที่ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ครองราชย์แล้ว รัชกาลที่ 1 มิเคยออกรบด้วยพระองค์เองเลย โดยมากจะแต่งตั้งวังหน้าออกรบเสมอ พระองค์จะเป็นกองเสริม วังหน้ามักจะรบชนะเสมอ พระองค์เลยไม่ค่อยได้รบ มีอยู่ครั้งหนึ่งไปตีเมืองทวาย ในปี พ.ศ. 2340 รัชกาลที่ 1 เป็นแม่ทัพบก วังหน้าเป็นแม่ทัพเรือ แต่รัชกาลที่ 1 เดินทัพผิด เอาช้างม้ากลุ่มใหญ่ขนขึ้นไปบนภูเขาเดินต่อไม่ได้ต้องเอาทิ้งเหวมากมาย ทำให้การเดินทางไปถึงเมืองทวายช้ากว่ากำหนดถึง 3 เดือน วังหน้าไปถึงก่อน 3 เดือน แต่วังหลวงยังมาไม่ถึง วังหน้าพูดเสียดสีมากมายว่าวังหลวงเดินทัพไม่เป็น ทำให้ต้องเสียเมืองทวาย ตะนาวศรี ให้พม่าไปโดยปริยาย

ในตอนต้น รัชกาลที่ 1 กับวังหน้าความสัมพันธ์ยังดีอยู่ เพราะต้องรบพม่าด้วยกัน แต่ในระยะหลัง เริ่มมีความขัดแย้งกันหลายเรื่อง หลังจากที่สร้างอำนาจมั่นคงแล้ว พวกประเทศราชต่าง ๆ เช่น เมืองเวียงจันทร์ ต้องส่งบรรณาการให้กรุงเทพฯ โดยต้องส่ง 2 ชุด ส่งดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง 2 ชุด ให้วังหลวงชุดหนึ่งให้วังหน้าชุดหนึ่ง ทุกครั้งต้องทำอย่างนี้หมด จึงน่าจะมีปัญหาว่าใครจะขึ้นเป็นกษัตริย์คนต่อไปกันแน่ ยังมีการพูดกันทั่วไปว่าบุญมาหรือวังหน้าเก่งกว่า เพราะฉะนั้นหัวเมืองทั่วไปจึงมีความเคารพวังหน้ามากกว่าวังหลวงหรือรัชกาลที่ 1

วังหน้าเริ่มทะเลาะกับวังหลวงเนื่องจากทางวังหน้าไม่พอใจที่วังหลวงจัดเงินให้น้อยไป จึงขอเงินเพิ่ม วังหลวงบอกว่าทางวังหลวงก็ฝืดเคืองเต็มที ทำให้มีการขัดแย้งกันเรื่องเงิน จนกระทั่งมีการจัดงานสมโภชน์พระนคร ก็มีการแสดงโขนที่สนามหลวง ทางวังหลวงเล่นเป็นฝ่ายพระราม ทางวังหน้าเล่นเป็นฝ่ายทศกัณฑ์ ปรากฏว่าพอเล่นโขนไปเกิดการตีกันจริงๆขึ้นมา ทั้ง 2 ฝ่ายตั้งปืนเข้าหากัน ทำท่าจะเปิดสงครามกลางเมือง บังเอิญ พี่สาว 2 คน คือ ท่านหญิงสา กับท่านหญิงแก้วมาห้าม แล้วเรียกทั้ง 2 คนมารำพันถึงความยากลำบากกว่าจะชิงอำนาจมาได้ ทั้ง 2 ฝ่ายจึงตกลงกันได้ แต่หลังจากนั้นมา วังหลวงกับวังหน้าก็ไม่ได้ไปมาหาสู่กันอีกเลยเป็นเวลาอีกหลายปี จนกระทั่งวังหน้าตายในปี 2346 วังหลวงก็ยึดวังหน้า โดยกล่าวหาว่าโอรสทั้ง 2 พระองค์ของวังหน้า คือพระองค์เจ้าลำดวน และพระองค์เจ้าอินทรปัตร ซ่องสุมกำลังคิดกบฏ จึงให้ประหารโอรสทั้ง 2 พระองค์ซึ่งเป็นหลานของตัวเอง แล้วให้ลูกชายของตน คือ เจ้าฟ้าฉิม มาเป็นวังหน้าแทน

นายทองด้วงตอนที่เป็นสามัญชน มีภรรยาชื่อนาค ลูกสาวคหบดีตำบลอัมพวา สมุทรสงครามเป็นคนขี้หึง ไม่ยอมให้นายทองด้วงมีเมียน้อย จนได้มาเป็นเจ้าพระยาจักรี ไปได้นางบัวตองหรือคำแว่นมาจากเวียงจันทน์ ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าจอมแว่น หลังจากที่พานางบัวตองกลับมา นางนาคเมียหลวงได้คว้าดาบไล่ฟัน ทำให้พระยาจักรีโกรธมาก ตั้งแต่นั้นมาก็เลยแตกกัน เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์แล้วไม่ได้ตั้งเมียคนแรกให้เป็นมเหสี และไม่ให้เข้ามาอยู่ในวัง แต่ให้อยู่บ้านเดิมแถววัดกระสัง ที่อัมพวา

ต่อมาพวกขุนนางก็เอาลูกสาวมาถวาย จนมี สนมและเจ้าจอมทั้งหมด 34 คน มีลูก 46 คน เป็นผู้ชาย16 คน ส่วนเจ้าฟ้าเหม็นซึ่งเป็นหลานชายเป็นคนที่รัชกาลที่1 โปรดมาก ให้ติดตามไปไหนมาไหนด้วยตลอด มีอยู่วันหนึ่งพระยาจักรีเกือบจะตกบันได แล้วเจ้าฟ้าเหม็นรีบเข้าไปประคอง ทำให้เจ้าฟ้าเหม็นเป็นที่โปรดมากยิ่งขึ้น จึงมีข่าวลือมากมายว่าเจ้าฟ้าเหม็นจะเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป เพราะว่าเจ้าฟ้าเหม็นได้ชื่อว่า มีเชื้อสายกษัตริย์ทั้งสองทาง คือ พ่อก็คือพระเจ้าตาก แม่ก็คือเชื้อสายของรัชกาลที่1

พอรัชกาลที่1 สวรรคตในปี 2452 ก็เกิดคดีกาคาบข่าว คือ มีบัตรสนเท่ไปติดไว้หน้าวังว่าเจ้าฟ้าเหม็นก่อการกบฏ เจ้าฟ้าฉิมจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน จนในที่ถูกเจ้าฟ้าเหม็นถูกไต่สวนและถูกประหารชีวิต รวมทั้งบุตรของพระเจ้าตากที่โตขึ้นมา โดยการเอาไปล่มเรือเสียและทหารอีก 40 คนถูกประหารชีวิตทั้งหมด รวมทั้งเจ้าจอมสำลีวรรณ ทั้งที่เป็นผู้หญิง เป็นธิดาพระเจ้าตากและแต่งงานกับวังหน้าสมัยรัชกาลที่2 คือเจ้ากรมพระราชวังบวรเสนานุรักษ์ มีลูกกัน 6 คน รัชกาลที่2 ก็สั่งให้นำมาประหารด้วย แต่ประหารเฉพาะแม่ แม้กระทั่งโอรส ธิดาของเจ้าฟ้าเหม็นหลายพระองค์ ซึ่งยังอายุน้อย รัชกาลที่ 2 จับลงเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วล่มเรือเสีย อ้างว่าตัดเชื้อต้องอย่าไว้หน่อ ไม่ปล่อยให้เป็นเสี้ยนหนาม สมัยรัชกาลที่ 1 ยังประหารเฉพาะเชื้อสายที่มีอายุเกิน 18 แต่รัชกาลที่ 2 สั่งประหารทั้งหมด เชื้อสายของเจ้าฟ้าเหม็นจึงไม่มีเหลือเลย

รัชกาลที่ 2 มีมเหสีทั้งหมด 44 คน คนที่สำคัญ คือ เจ้าฟ้าบุญรอด ซึ่งเป็นธิดาของท่านหญิงแก้วพี่สาวของรัชกาลที่ 1 เจ้าฟ้าบุญรอดกับรัชกาลที่ 2 เกิดได้เสียกันและท้องขึ้นมา รัชกาลที่1 โกรธมาก เพราะเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน รัชกาลที่ 2 ได้แก้ตัวในภายหลังว่า ถ้าไม่แต่งงานในหมู่ญาติวงศ์แล้วจะแต่งกับใคร และยังได้แต่งวรรณคดีอิเหนาซึ่งคนในญาติวงศ์ได้แต่งงานกันเองหมด

รัชกาลที่ 2 ขึ้นครองราชย์ปี 2352 อีก 8 ปีต่อมา คือปี 2360 ไปเจอเจ้าฟ้าหญิงกษัตรีสวยงามมาก เป็นลูกรัชกาลที่ 1 เหมือนกัน รัชกาลที่2 หลงรักและขอแต่งงานด้วย เจ้าฟ้ากษัตรีไม่ยอม และยังด่าว่าทำไมจะเอาน้องเป็นเมีย รัชกาลที่2 โกรธมาก จึงสั่งประหารชีวิต

ต่อมารัชกาลที่ 2 ขอเจ้าฟ้ากุณฑลอายุ18 ปี ซึ่งเป็นลูกรัชกาลที่ 1 เช่นกัน เจ้าฟ้ากุณฑลต้องยอมเป็นเมีย ทั้งๆที่มีอายุอ่อนกว่าถึง 31 ปี เจ้าฟ้ากุณฑลเป็นคนโปรดมากถึงกับเปรียบเป็นนางบุษบาในเรื่องอิเหนา ทำให้เกิดความขัดแย้งกับเจ้าฟ้าบุญรอด เพราะรัชกาลที่ 2 สถาปนาเจ้าฟ้ากุณฑลขึ้นมาเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย เนื่องจากมียศเป็นเจ้าฟ้าเหมือนกัน เจ้าฟ้าบุญรอดโกรธมากจึงออกจากวังหลวงไปอยู่กับลูกชายที่อยู่ฝั่งศิริราช ต่อมา คือ พระปิ่นเกล้า



หลังจากที่เจ้าฟ้าบุญรอดออกจากวัง ทำให้อำนาจวังในตกไปอยู่กับ เจ้าจอมมารดาเรียม(62) ซึ่งมีพระโอรสองค์หนึ่ง ชื่อ เจ้าชายทับ (รัชกาลที่ 3) หรือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์





รัชกาลที่ 2 ไม่ชอบการบริหารราชการบ้านเมือง โดยให้วังหน้า คือ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ซึ่งเป็นน้องชายว่าราชการแทนในตำแหน่งมหาอุปราช ส่วนพระองค์ส่วนใหญ่ก็จะแต่งวรรณคดีอิเหนาแทน หลังจากที่กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์บริหารบ้านเมืองประมาณ 8 ปี ก็สิ้นพระชนม์



ใน 3 ปีสุดท้ายก่อนที่รัชกาลที่ 2 จะสวรรคตได้ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นลูกชายคนโตเป็นผู้ว่าราชการแทน แต่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นแค่พระองค์เจ้าซึ่งศักดิ์ต่ำกว่าเจ้าฟ้า เจ้าฟ้ามงกุฎมีศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าที่เกิดจากพระมเหสีเอก แต่เจ้าฟ้ามงกุฎยังเด็ก กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงว่าราชการแทนพ่อต่อไป จนกระทั่งเจ้าฟ้ามงกุฎอายุ 20 ปี

เจ้าฟ้ามงกุฎทรงบวช หลังจากที่เจ้าฟ้ามงกุฎบวชได้ 7 วัน รัชกาลที่ 2 ก็ประชวรหนักและสวรรคตแบบกระทันหัน ว่ากันว่า เจ้าจอมมารดาเรียมซึ่งเป็นคนดูแลฝ่ายในเป็นคนวางยา เจ้ามงกุฎจึงรีบเสด็จเข้าวัง เมื่อมาถึงวังในหรือวัดพระแก้ว ก็ถูกปิดประตูขังซึ่งอยู่ในวัดพระแก้ว ไม่สามารถเข้าไปเยี่ยมรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นพระบิดาได้ โดยถูกขังอยู่ 7 วันก็มีคนมาเปิดประตู บอกว่าพระบิดาสวรรคตแล้ว ขอให้ไปเคารพศพพระบิดาได้ เจ้าฟ้ามงกุฎเดินเข้าไปในท้องพระโรงซึ่งเป็นที่ตั้งพระศพของรัชกาลที่ 2 เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎเดินเข้าไปในท้องพระโรงก็เห็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์นั่งอยู่บนที่สูง มีกรมหลวงรักษ์รณเรศ(ต้นราชสกุลพึ่งบุญ) และกรมต่างๆยืนอยู่ข้างๆเต็มไปหมด โดยมองไม่เห็นพวกของตัวเองเลย ยกเว้น กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งเป็น คนสนิท และอีกคน คือ กรมเดชาดิศร ซึ่งเป็นเจ้าเสมียนตรา

เมื่อเห็นดังนี้เจ้าฟ้ามงกุฎตกใจมากซึ่งคิดว่าตัวเองไม่รอดแน่จนปัสสาวะราดจีวรเปียก ตามบันทึกของนายโหมด ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยาประสารธิโกศล กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เมื่อเห็นดังนั้น จึงพูดออกมาหนึ่งคำว่าไม่เป็นไรเราพี่น้องกัน ทำให้เจ้าฟ้ามงกุฎรอดตาย จากนั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก็ถามว่า ตอนนี้พระบิดาก็สวรรคตแล้ว น้องจะว่าอย่างไร เจ้าฟ้ามงกุฎก็ตอบว่า น้องก็ไม่ปรารถนาในทรัพย์สมบัติ ปรารถนาแต่ผ้ากาสาวพัตร กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก็เลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นดีแล้ว พี่จะรักษาแผ่นดินไปพลางก่อน หลังจากนั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ก็รักษาแผ่นดินต่อไป

หลังจากรัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์แล้วก็มีการปูนบำเหน็จ ให้กรมศักดิพลเสพย์ขึ้นมาเป็นวังหน้า ให้กรมหลวงรักษ์รณเรศเป็นกำลังสำคัญช่วยว่าราชการ
รัชกาลที่ 3 เป็นกษัตริย์ที่ขยันและบริหารบ้านเมืองจริงจังมาก ออกว่าราชการเอง ตรวจราชการเองจนกระทั่งดึกดื่น แต่ด้วยความที่มีใจนักเลงจึงมีขุนนางเป็นนักเลงอันธพาลหัวไม้หลายคน ขุนนางที่อยู่ใกล้ชิดมีแต่กดขี่ข่มเหงราฏษรและใช้อำนาจตามอำเภอใจ และก็ไม่มีใครกล้าฟ้อง


ทำให้รัชกาลที่ 3 ร่ำรวย ฐานะประเทศค่อนข้างมั่นคง พระองค์เป็นนักรบที่โหดเหี้ยม บรรดาสุลต่านของปัตตานีได้ต่อต่านการล่าอาณานิคมของราชอาณาจักรสยามเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วและไม่เคยยินยอมพร้อมใจที่จะเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา เมื่ออยุธยาล่มสุลต่านภาคใต้ต่างก็ผ่อนคลายได้บ้างว่าสามารถเป็นอิสระจากการบังคับให้เป็นทาสได้สักช่วงระยะเวลาหนึ่ง


แต่ราชวงศ์จักรีก็มีความกระหายและมุ่งมั่นไม่น้อยไปกว่าบรรพบุรุษของพวกเขาที่จะยึดเอาปัตตานีซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญมาไว้ในครอบครอง หลังจากล้มเหลวจากการยึดครองภาคใต้อย่างเบ็ดเสร็จมาแล้วหลายครั้ง ในปี 2374 รัชกาลที่ 3 ได้รวบรวมไพร่พลกว่า 300,000 คนไปยึดครองภาคใต้ การบุกเข้าตีภาคใต้ครั้งนี้กระทำอย่างป่าเถื่อนยิ่งนัก เมืองท่าปัตตานีถูกทำลายราบเป็นหน้ากลองและไม่สามารถฟื้นคืนสู่ยุคทองได้อีกตลอดกาล การกวาดล้างสิ้นสุดลงด้วยการจับเชลยจากปัตตานีกว่า 4,000 คน ผูกเอ็นร้อยหวายคือเอาหวายผูกเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องและส้นเท้าร้อยโยงติดกันหลายคนเพื่อกันไม่ให้หลบหนี แล้วให้เดินทางเป็นระยะทางร่วมพันกิโลเมตรมายังบางกอกที่สนามควายหรือถนนหลานหลวงในปัจจุบัน

รัชกาลที่ 3 มีโอรสหลายองค์ โอรสที่มีความรู้ ความสามารถ ชื่อ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ แต่สิ้นพระชนม์ในปี 2381 โอรสวังหน้าก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน พระองค์เจ้าอรรณพซึ่งเป็นพระโอรสองค์ต่อมาแต่ไม่เก่งและไม่มีความสามารถ กำลังจ่อตำแหน่งรัชทายาท เจ้าฟ้าจุฑามณีซึ่งเป็นน้องของเจ้าฟ้ามงกุฎก็พยายามที่จะสร้างตัวขึ้นมา ศึกษาความรู้สมัยใหม่จากตะวันตกเพื่อให้ตนเองเด่นขึ้นมา


และอีกคนหนึ่ง คือ เจ้าฟ้ามงกุฎหรือพระวชิรญาณเถระที่สร้างบารมีหลายอย่าง มีการตั้งธรรมยุตินิกาย ขณะที่บวชอยู่ที่เพชรบุรีอ้างว่าได้ศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวังโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372

ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ อ้างว่าเพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ซึ่งเป็นแค่ข้ออ้างเพื่อสร้างนิกายของตนเองขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นฐานทางการเมืองส่วนตัว โดยตั้งตนเป็นประมุข หรือเป็นศาสดาของนิกายใหม่ เริ่มสอนลูกศิษย์และเริ่มเผยแพร่อย่างรวดเร็ว พระส่วนใหญ่มีความเห็นว่าเป็นการสร้างความแตกแยกแก่คณะสงฆ์ไทย

นอกจากนี้ยังชอบโอ้อวดอภินิหารสารพัดเพื่อสร้างเสริมบารมี รวมทั้งการการค้นพบหลักศิลาจารึกหลักที่1 ที่อ้างว่าเป็นหลักศิลาพ่อขุนรามคำแหง พบพระปฐมเจดีย์ อ้างว่าเป็นเจดีย์แห่งแรกในสยาม ต่อมาก็สร้างเจดีย์ใหญ่ที่เห็นกันในปัจจุบัน ด้วยการโหมโฆษณาสารพัดทำให้ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏโดดเด่นมากจนคนเชื่อกันว่าพระองค์คงไม่สึกแล้วเพราะทรงมีศรัทธาในพระศาสนาแก่กล้ามากในปี 2369 สยามได้เซ็นปฏิญญาว่าด้วยพระราชไมตรีและพาณิชย์กับอังกฤษหรือสนธิสัญญาเบอร์นี (Burney Treaty) ถือว่าเป็นการทำข้อตกลงทางการค้ากับอำนาจตะวันตกเป็นครั้งแรกของสยาม พร้อมกับนำมาซึ่งอาวุธที่ทันสมัย ความมั่งคั่ง และการเพิ่มขึ้นของชาวตะวันตกในบางกอกได้ส่งผลต่อสยามในระยะยาว

ในปี 2370 กองทัพสยามได้บุกตีทำลายกรุงเวียงจันทน์ ทำให้ลาวแตกเป็นหัวเมืองย่อยๆ พร้อมทั้งขนเชลยจากลาวกลับมายังสยามและให้ตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณโขงตอนใต้ ที่ราบสูงโคราชหรือนำมาเป็นทาสที่บางกอก และกระจายไปอีกมากมาย

เมื่อรัชกาลที่ 3 ประชวร ทำให้เชื้อพระวงศ์เกิดความปั่นป่วน พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศซึ่งเป็นมือขวาของรัชกาลที่ 3 และเป็นศัตรูคู่อาฆาตของเจ้าฟ้ามงกุฎ ได้กราบทูลอยู่หลายครั้งว่าให้ประหารเจ้าฟ้ามงกุฎ เพราะไว้ใจไม่ได้ แต่รัชกาลที่ 3 ก็ไม่เชื่อและปล่อยไว้เรื่อยมา รัชกาลที่ 3 เรียกกรมหลวงรักษ์รณเรศเข้าไปพบเพื่อถามว่าทำไมถึงได้ซ่องสุมกำลังคน กรมหลวงรักษ์รณเรศตอบว่า ถ้าพระองค์หาไม่แล้ว กระหม่อมก็จะไม่เป็นข้าใคร ก็เหมือนคิดการกบฏ รัชกาลที่ 3 จึงตัดสินใจสั่งประหารกรมหลวงรักษ์รณเรศด้วยท่อนจันทร์ที่วัดปทุมคงคาเขตสัมพันธวงศ์ หลังจากถูกถอดยศเป็นหม่อมไกรสร

วันที่กรมหลวงรักษ์รณเรศถูกประหารนั้น เจ้าฟ้ามงกุฎดีพระทัยมาก สวดมนต์ตั้งแต่เช้าจนบ่าย วันนั้นมีญาติโยมเอาพระมาถวาย พระองค์ตั้งพระนามว่าไพรีพินาศ และได้สร้างเจดีย์ ชื่อ ไพรีพินาศ อยู่ในวัดบวรนิเวศน์ หลังจากนั้นการบริหารราชการจึงตกไปอยู่กับสองพี่น้องตระกูลบุญนาค คนพี่ คือ เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ บุนนาค) ส่วนน้อง คือ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์(ทัต บุนนาค)
ตอนปลายรัชกาลเมื่อรัชกาลที่ 3 ประชวร โดยอยากให้พระโอรส คือ พระองค์เจ้าอรรณพขึ้นเป็นกษัตริย์ถึงแม้จะไม่เก่งในการบริหารราชการก็ตาม โดยได้มอบแหวนพรณรงค์ ให้ แต่พวกบุนนาคได้ยกกำลังทหารเข้าล้อมวัง และอัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎรีบสึกทันทีแล้วนุ่งขาวเข้าวังมาเป็นกษัตริย์ เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎถึงหน้าวัง รัชกาลที่ 3 จึงสวรรคต

เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นมาเป็นรัชกาลที่ 4 แล้ว แทนที่จะเคร่งในพระธรรม ไม่ยุ่งกับกิเลสตัณหา เพราะบวชมานานถึง 27 ปี แต่เมื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ตอนอายุ 47 ปี พระองค์รีบมีชายาจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ก่อนขึ้นครองราชย์พระองค์เคยมีมเหสีแล้วและมีลูก 2 คน หลังจากนั้นจึงบวช พอกลับมาเป็นกษัตริย์มีชายา 50 พระองค์ มีโอรส 82 พระองค์ เป็นกษัตริย์ที่มีโอรส ธิดามากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ในเวลาอันรวดเร็ว


ทรงโปรดมากที่ขุนนางหรือราษฎรเอาผู้หญิงมาถวาย ได้มีบันทึกว่า ถ้าเป็นลูกขุนนางพระองค์เอา ถ้าเป็นลูกไพร่บ้านนอกคอกนาตัวดำ พระองค์ไม่เอาเป็นเมีย แต่ก็ยังมีคนชอบเอามาถวาย และยังมีการบอกด้วยว่าการที่ใครเอาลูกสาวมาถวายพระองค์นั้น ได้บุญเหมือนขนทรายเข้าวัด คราวที่เสด็จเมืองตราด เจ้าเมืองตราดได้เอาผู้หญิงมาถวาย 3 คนพี่น้อง พระองค์ได้พาทั้ง 3 นางเข้าวัง แต่พ่อแม่ของผู้หญิงทั้ง 3 คนไม่ยอม มาร้องเรียนถวายฎีกา ว่าเจ้าเมืองตราดนั้นเอาลูกสาว 3 คนมาถวาย รัชกาลที่ 4 ทรงวินิจฉัยเรื่องนี้ว่า พ่อแม่ของเด็กเป็นคนบ้านนอกคอกนาที่ไม่รู้ขนบธรรมเนียม ที่จริงเจ้าเมืองตราดมีเมตตาจึงได้นำเด็กทั้ง 3 คนนี้มาถวาย

รัชกาลที่ 4 ต้องการที่แข่งบารมีกับพระปิ่นเกล้าน้องชายแท้ๆของพระองค์เอง เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้วก็ยกน้องชายเป็นวังหน้า คือเจ้าฟ้าจุฑามณี โดยตั้งมาเป็นกษัตริย์คู่กัน คือ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 1 องค์ที่ 2 ซึ่งพระองค์ คือ พระจอมเกล้า และวังหน้า คือ พระปิ่นเกล้า แต่พระองค์ไม่เคยให้อำนาจแก่พระปิ่นเกล้าเลย แค่ตั้งขึ้นมาเฉยๆ พระปิ่นเกล้าสนใจในการทหารตะวันตก แต่รัชกาลที่ 4 ไม่เคยมอบอำนาจทางการทหารให้เลย ตอนนั้นมีศึกเมืองเชียงตุง รัชกาลที่ 4 ไม่ตั้งวังหน้าเป็นแม่ทัพ แต่ตั้งกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเป็นแม่ทัพใหญ่ ทั้งๆที่เป็นเจ้ากรมแพทย์ ไม่มีความรู้ทางการทหารเลย หลังจากที่ออกไปตีเมืองเชียงตุงเลยแพ้พม่ามา 2 ครั้ง พระปิ่นเกล้าไม่มีอะไรทำเลยเสด็จออกนอกวัง ไปตั้งกองอยู่ที่เสียงสีทา แก่งคอย เป็นหมู่บ้านลาว แต่ผิวขาวสวยทั้งหมู่บ้าน จึงได้มีภรรยาเกือบทั้งหมู่บ้าน เพราะมีผู้คนชอบเอาลูกสาวมาถวายให้พระปิ่นเกล้า ตอนหลังพระปิ่นเกล้าป่วยตาย มีข่าวถูกวางยาในปี 2408 โดยมีสนม กำนัล ที่เป็นทางการถึง 120 คน

ร.4 ได้เริ่มจัดกองทัพตามรูปแบบตะวันตก เพื่อรักษาราชอาณาจักรสยามที่ยิ่งใหญ่ ที่มีอาณาเขตมากกว่าความสามารถที่จะดูแลได้ทั่วถึง แต่ก็ไม่รอดพ้นจากเงื้อมมือมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมตะวันตกที่แผ่เข้ามาได้ การฑูตเรือปืนกล ของอังกฤษ ได้บีบให้สยามต้องเซ็นสนธิสัญญาเบาริงห์ ( Bowring Treaty ) ในปี2398 ซึ่งเป็นการทำข้อตกลงการค้าเสรีที่ให้สิทธิพิเศษแก่อังกฤษมากมาย โดยเฉพาะการเข้าถึงการค้าไม้และสินค้าเกษตร พอถึงสิ้นปี 2399 สยามจำต้องเซ็นสนธิสัญญาแบบเดียวกันนี้กับประเทศชาติตะวันตกอื่นๆ รวมทั้งรัสเซียและญี่ปุ่น



รัชกาลที่ 4 สรรคตเพราะเป็นเพราะมาลาเรียหรือไข้ป่าจากการเสด็จดูสุริยุปราคาที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นพระโอรสองค์โต ได้ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ แต่อำนาจในตอนแรกนั้นตกอยู่ที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทน





และได้แต่งตั้งกรมพระะราชวังบวรวิไชยชาญโอรสของพระปิ่นเกล้าขึ้นเป็นวังหน้า รัชกาลที่ 5 กับวังหน้าไม่ได้เป็นพี่น้องกันโดยตรง ความสัมพันธ์ระหว่างวังหลวงกับวังหน้าไม่ดีเลย เกิดความแตกแยกกัน ในปีหนึ่งเกิดไฟไหม้ในวังหลวง พวกวังหลวงกล่าวหาว่าพวกวังหน้าวางเพลิง เกิดปัญหาทั้งสองวังตั้งป้อมปืนจะยิงกัน รัชกาลที่ 5 ต้องเรียกพระยาศรีสุริยวงศ์เข้ามาไกล่เกลี่ย แต่วังหน้ากลัวว่าจะถูกเรียกไปฆ่า จึงหนีไปอยู่กับกงสุลอังกฤษ และขอให้อังกฤษนั้นเข้ามาช่วย อังกฤษก็จะมีโครงการแบ่งประเทศสยามออกเป็นสามส่วน ก็คือ ให้วังหน้าปกครองส่วนหนึ่ง วังหลวงปกครองส่วนหนึ่ง และพระยาศรีสุริยวงศ์ปกครองส่วนหนึ่ง ทำให้ทั้ง 3 องค์ต้องยอมตกลงกัน โดยที่รัชกาลที่ 5 นั้นยอมให้วังหน้ามีอิสสริยยศเหมือนเดิม หลังจากนั้นแล้ววังหน้าก็อยู่ต่อมาอีกประมาณ 10 ปีก็สิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปประเทศ

ช่วงรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ อ้ายโตซึ่งเคยชอบพอกับเจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ตอนบวชพระที่วัดราชประดิษฐ์ ได้ปีนรั้วเข้ามาในวังมีความสัมพันธ์กับพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์อัครราชสุดาพี่สาวคนโต จนเกิดท้องขึ้นมา แต่นึกว่าเป็นโรคท้องมาน พอคลอดออกมาจึงเอาลูกไปทิ้งในถัง ปรากฏว่าถูกจับได้ อ้ายโต พี่เลี้ยงและเจ้ายิ่งถูกเฆี่ยนคนละสามยก 90 ที แล้วให้เอาอ้ายโตไปประหารที่วัดพลับพลาไชย หรือวัดโคกข้างวัดเทพศิรินทร์ ส่วนพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ถูกจับขังคุกตลอดชีวิต ช่วงนั้นฝรั่งเข้ามาในเมืองไทยและบันทึกเรื่องนี้ไว้


รัชกาลที่ 5
ขึ้นครองราชย์ เมื่ออายุ 15 ปี มีลูกทั้งหมด 77 คน มีเมียอีกมากมาย และมีพี่สาวอายุมากกว่า 1 ปี เป็นเมียชื่อพระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี พอคลอดลูกคนโตลูกก็ตายในวันที่คลอด พระองค์เจ้าทักษิณชาเสียใจมากจนวิกลจริตเลยต้องถูกขังเอาไว้ตลอดชีวิต

พระองค์ยังได้สร้างความเข้มแข็งแห่งลัทธิกษัตริย์นิยม โดยทรงสนับสนุนลัทธิชาตินิยม รวมทั้งการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นให้กับท้องพระคลัง ด้วยการทำให้ประชาชนที่อยู่ในเขตแดนสยามต้องขึ้นอยู่กับคำสั่งโดยตรงจากพระองค์เพียงผู้เดียวเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธราชย์คืออำนาจทั้งหมดรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ผู้เดียว

โดยการส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ไปควบคุมหัวเมืองต่างๆ ที่ในอดีตปกครองกันดัวยความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ ที่มีกฎระเบียบและรูปแบบการบริหารโดยเจ้าเมืองท้องถิ่นที่เรียกว่าประเทศราช คือมีหลายแคว้นปกครองตนเองคล้ายระบบสาธารณรัฐ นอกจากพื้นที่รอบเมืองหลวงแล้ว ประชาชนในพื้นที่รอบนอกต่างก็รู้สึกไม่พอใจ และต่อต้านความพยายามของราชวงศ์จักรีที่จะเพิ่มระดับของการรีดนาทาเร้น ที่พวกเขาจำต้องทนแบกรับอยู่ก่อนแล้วให้มากยิ่งขึ้นไปอีก

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้พยายามบังคับให้ปัตตานีจ่ายภาษีตรงมายังท้องพระคลัง โดยใช้กองกำลังและความรุนแรงเพื่อบีบบังคับให้ชาวปัตตานีต้องปฎิบัติตาม เช่นเดียวกับที่เคยทำในอดีต แบบเดียวกับแนวนโยบายการจัดการกับภาคใต้ของผู้ปกครองคนต่อๆมา การที่ส่วนกลางไม่เคยไว้วางใจชาวมุสลิมมาเลย์ที่พูดภาษายาวี ได้นำมาสู่ความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าของความพยายามอย่างบ้าคลั่งที่จะอัดฉีดโครงการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นไทยให้พวกเขาเหล่านั้น มากกว่าการอัดฉีดเงินลงไปเพื่อการพัฒนาภาคใต้อย่างแท้จริง

ประชาชนชาวอิสานก็เคยต่อสู้กับการกดขี่ของราชวงศ์จักรีที่เรียกว่า กบฏผู้มีบุญอีสาน ช่วง 2444-2445 โดยมีผู้ตั้งตัวเป็น "ผู้มีบุญ" ถึง 60 คน กระจายอยู่ถึง 13จังหวัด การลุกขึ้นสู้ของชาวร้อยเอ็ดหรือกบฏร้อยเอ็ดในปี 2444 ที่นักสู้อิสานได้จับมีดจับพร้าลุกขึ้นสู้กับกองกำลังของรัชกาลที่ 5 ในครั้งนั้นผู้กล้าชาวอิสานหลายร้อยคนต้องถูกสังหาร แกนนำหลายคนถูกตัดหัวและเสียบประจานที่ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สงครามเพื่อขยายราชอาณาจักรของราชวงศ์จักรี ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมและภาษาไทย รวมทั้งการส่งเสริมพุทธศาสนาแค่เปลือกนอกเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ศูนย์รวมจิตใจของประชาชน

รัชกาลที่ 5 ไม่ได้เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถอย่างร่ำลือกัน เมื่อไหร่ที่มีเรื่องของตนเอง พระองค์จะหยุดบริหารบ้านเมืองทันที บางครั้งก็หยุดไปเป็นเดือน งานกองคั่งค้าง ให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพสะสางแทน เช่น ถ้ามีเหตุพระโอรสหรือพระมเหสีสิ้นพระชนน์ พระองค์จะหยุดบริหารบ้านเมือง หรือถ้ามีพระมเหสีป่วยพระองค์ก็จะหยุดว่าราชการ ซึ่งพระโอรสกับพระมเหสีของพระองค์มีเป็นร้อยพระองค์

บางทีต้นพยอมออกดอกทั่วทั้งวังก็ให้หยุดว่าราชการทันที วังสมัยรัชการที่ 5 จึงเป็นวังที่สนุกสนานรื่นเริงเสมอ พระองค์ส่งแต่พระโอรสและพระญาติพระวงศ์ทั้งนั้นให้ไปเรียนนอก โดยเกือบไม่มีสามัญชนที่จะมีโอกาสได้ไปศึกษา จนกระทั่งปลายรัชกาลจึงเริ่มให้เด็กนักเรียนที่สอบได้ที่ 1 ของประเทศ 2 คนได้ไป พระโอรสที่พระองค์ส่งไปเรียนที่เมืองนอกทั้งหมดก็ให้เรียนวิชาทหารเท่านั้นห้ามเรียนวิชาอื่น หรือใครจะเรียนวิชาอื่นก็ได้แต่ต้องเรียนวิชาทหารก่อน ยกเว้นพระองค์เจ้าราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ที่ได้เรียนวิชากฎหมาย

สมัยรัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าประเทศไทยกับญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาพร้อมกัน แต่ประเทศญี่ปุ่นนำเงินไปพัฒนาประเทศ พัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาอู่ต่อเรือ ญี่ปุ่นส่งคนไปนอกเพื่อพัฒนาความรู้ด้านต่างๆ ให้เก่ง แต่ ร. 5 ปรารภว่าพระโอรสทุกพระองค์เมื่ออายุครบ 18 จะต้องมีวังได้อาศัย

เพราะฉะนั้นงบทั้งหมดจึงหมดไปกับการสร้างวังเป็นจำนวนมาก โดยย้ายจากวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวังจากวัดพระแก้วมาอยู่ที่พระราชวังดุสิตโดยมีจุดเด่นคือพระที่นั่งอนันตสมาคมที่สร้างจากหินอ่อนที่นำเข้าจากอิตาลี

และพระองค์เจ้าทุกพระองค์ต้องมีเบี้ยหวัดเงินปี เป็นเงินมากพอใช้ได้อย่างสบาย ทุกพระองค์รวยทั้งนั้น แล้วจะเอาเงินภาษีอากรที่ไหนไปพัฒนาประเทศ
เพราะฉะนั้นในรัชกาลที่ 6 และรัชกาล ที่ 7 จะเห็นว่าในกรุงเทพมีวังทุกหัวถนนเต็มไปหมด

ที่สนามหลวงมีวังหน้า (พุทไธ ศวรรย์) ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ


เลี้ยวไปถนนราชสีมาก็มีวังสวนสุนันทา ที่สร้างเพราะพระราชวังดุสิตมีผู้คนพลุกพล่านขาดความเป็นส่วนตัว

วังปารุสกวัน มุมถนนพิษณุโลก ตัดกับถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิตสร้างเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ ในวโรกาสที่สำเร็จการศึกษาวิชาการทหาร จากรัสเซีย ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล


วังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หรือ วังนางเลิ้ง ริมถนนลูกหลวง ปากคลองเปรมประชากรใกล้ทำเนีบรัฐบาล ต่อมาใช้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนพณิชยการพระนคร ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร







เลี้ยวไปถนนสามเสนก็เจอวังศุโขทัยที่สร้างให้เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์(รัชกาลที่ 7)






เลี้ยวไปอีกเป็นวังลดา วัลย์ ให้เป็นที่ประทับของเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร(ต้นราชสกุลยุคล)เมื่อคราวใกล้จะสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของรัชกาลที่ 9

มาทางถนนราชวิถีก็มีวังพญาไท ที่สร้างใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์

วังสะพาน ขาว ริมถนนหลานหลวงตัดกับถนนกรุงเกษม สร้างให้พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากประเทศอังกฤษ เคยเป็นที่ทำการกรมประชาสงเคราะห์ ปัจจุบันเป็นกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วังมหานาค อยู่ริมคลองมหานาค ใกล้สะพานกษัตริย์ศึก สร้างพระราชทานแก่พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช หลังเสด็จกลับจากการศึกษาวิชาการทหารที่ประเทศ เดนมาร์ก ต่อมาวังนี้ก็ถูกตัดแบ่งขาย ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของตลาดมหานาค โรมแรมปริ๊นซ์พาเลช และโบ๊เบ้ทาวเวอร์

วังบูรพาภิรมย์หรือวังบูรพา สร้างพระราชทานเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ น้องสุดท้องของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ต่อมาได้ขายให้เอกชน มีการรื้อวังออก สร้างเป็นศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์คิงส์ ควีนส์ และแกรนด์ รวมกับตลาดมิ่งเมือง ปัจจุบัน คือ ดิโอลด์สยามและโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง

วังจักรพงษ์หรือวังท่าเตียน ของพระองค์เจ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ....มีวังทุกหัวถนน เป็นเหตุให้ต้องมีการปฏิวัติ 2475 เพราะประชาชนจะลำบากแค่ไหนแต่วังทุกวังจะต้องสนุกสนาน


และวังบางวังใหญ่โตมาก มีวังบางขุนพรม ของเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ( ต้นราชสกุลบริพัตร ) ซึ่งพระองค์ร่ำรวยมาก ไม่รู้ว่าร่ำรวยมาจากไหน มีวงดนตรีส่วนพระองค์ มีทั้งวงดนตรีไทย วงดนตรีสากล จะเสวยอาหารก็ต้องมีดนตรี จะบรรทมก็ต้องมีวงดนตรีกล่อม

เรื่องที่ประกาศเลิกทาสเหมือนเป็นคุณงามความดีที่ ร.5 ได้เป็นมหาราช แต่ประเทศไทยเลิกทาสเป็นอันดับสุดท้ายของโลก ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เนเธอร์แลนด์ ทุกประเทศเลิกทาสก่อนประเทศไทยหมด
ซึ่งการเลิกทาสมันต้องเลิกอยู่ แต่ออก พรบ. เกษียณอายุลูกทาสในปี 2417 ให้ทาสที่เกิดตั้งแต่ปีที่ขึ้นครองราชย์ ยังเป็นทาสต่อไปจนอายุครบ 21 ปี ถึงจะเลิกเป็นทาส และออกพรบ.เลิกทาสในปี 2448 เพราะว่ารัชกาลที่ 5 เกรงใจขุนนาง ขณะที่เศรษฐกิจเริ่มเป็นแบบสมัยใหม่แล้ว การปลูกข้าวเพื่อส่งออก ก็ต้องการชาวนา เริ่มมีอุตสาหกรรม มีโรงเลื่อยไม้ โรงสีข้าว ซึ่งต้องการกรรมกร

แต่ประชาชน กลับตกเป็นเป้าแห่งการรีดนาทาเร้นจากราชวงศ์จักรีมากขึ้นกว่าเดิม และภาษีกว่า 80% ที่เก็บได้ ถูกดูดเข้ามายังคลังหลวงเพื่อหล่อเลี้ยงกรุงเทพเท่านั้น กระบวนการจัดเก็บภาษีของราชวงศ์จักรี ส่งผลให้มีการต่อต้านการรวมศูนย์อำนาจที่สั่งการจากเบื้องบนอย่างต่อเนื่องและการใช้มาตราการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อประชาชนในเมืองที่ห่างไกล ที่ต้องทนกับการถูกขูดรีดภาษีจนไม่เหลืออะไรไว้สำหรับการดำรงชีวิตของตัวเองและครอบครัว จนจำต้องลุกขึ้นมาต่อสู้

ราชวงศ์จักรีเก่งในการปราบปรามประชาชนแต่ไม่เคยคิดสู้กับฝรั่งต่างชาติเลย และไทยก็เป็นประเทศเดียวในโลกนี้ที่ยอมเสียดินแดนให้พวกฝรั่งโดยไม่ต้องมีการรบเลย บ้านเมืองอื่นฝรั่งอยากได้ดินแดนต้องรบเอาอย่างเดียวเท่านั้น แต่เมืองไทยยกให้เลย แล้วยังอ้างว่าเป็นพระปรีชาสามารถ ซึ่งที่จริงแล้วนี่เป็นนโยบายที่โง่ที่สุด
บางดินแดนฝรั่งไม่ได้ขอแต่กษัตริย์ไทยกลับยกให้เอง เช่น ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะริด ทั้ง 4 แคว้นนี้ ฝรั่งไม่ได้ขอ แต่รัชกาลที่ 5 ยกให้ฝรั่งเอง เนื่องจากในราวปี 2440 รัชกาลที่ 5 ได้ทำสัญญาลับกับอังกฤษ ยอมให้อังกฤษได้สัมปทานแร่ดีบุกของภาคใต้เพียงผู้เดียวและสัมปทานป่าไม้ภาคเหนือ โดยห้ามยกสัมปทานนี้ให้ประเทศอื่น หลังจากนั้นเยอรมันมาขอสัมปทานการรถไฟในภาคใต้ รัฐบาลสยามจึงไปขอเจรจาแก้สัญญากับอังกฤษ แต่อังกฤษไม่ยอม จึงต้องยกดินแดน เช่น ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะริด ให้อังกฤษอีก อังกฤษจึงยอมแก้สัญญา โดย ร.5 อธิบายว่า ขืนเอาไว้ก็รักษามิได้ ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ไม่มีเหตุผล

เมื่อฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้ จึงเข้าไปเจรจากับฝรั่งเศสขอให้ถอนกำลังจากเมืองจันทบุรี และจะยกพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณให้ ซึ่งเป็นการแลกที่เสียเปรียบ และยังเอาจำปาศักดิ์ไปแลกกับเมืองตราด ซึ่งจำปาศักดิ์เป็นเมืองเอก แต่เมืองตราดมีพื้นที่เพียงนิดเดียว คนไทยไม่เคยรู้เลยว่านโยบายในช่วงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผิดพลาดเสียหายมากขนาดไหน

ทางรถไฟที่สร้างเป็นสายแรก คือสายปากน้ำ เพื่อให้เจ้านายที่เดินเรือจากต่างประเทศได้นั่งรถไฟเข้ามากรุงเทพเท่านั้น

ทางรถไฟที่สร้างไปหัวหินเพราะเจ้านายที่กลับมาจากต่างประเทศนั้นจะได้ไปตากอากาศที่ชายทะเล ก็เลยสร้างที่หัวหิน ที่จริงแล้วทางรถไฟส่วนใหญ่มาสร้างสมัยจอมพล ป.

สร้างโรงพยาบาลเพราะเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์พระราชโอรสป่วยและตายตั้งแต่เด็ก ทรงเสียพระทัยมากจึงสร้างโรงพยาบาลศิริราชตามชื่อพระโอรส


สร้างโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยเก็บเงินค่าการศึกษา 24 บาทซึ่งแพงมากสำหรับราษฎรทั่วไปในสมัยนั้น โดยอ้างว่าต้องการให้เป็นที่ศึกษาของกุลบุตรผู้มีสกุล พวกไพร่เลวจะได้ไม่สามารถเข้ามาเรียนได้

พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระชนนีของรัชกาลที่ 6 อยากเปิดโรงเรียนเสาวภาเพื่อให้สตรีเข้ามาศึกษาการเป็นกุลสตรี จะได้เป็นเมียที่ดีของพวกขุนนาง จนพัฒนามาเป็นสถานเสาวภากาชาดไทย


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ 5 เลย ที่จริงแล้วถูกตั้งขึ้นในรัชกาลที่ 6 โดยเอาเงินที่เหลือจากการสร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าไปสร้างจุฬา การสร้างจุฬาเกิดจากการผลักดันของพระยาสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นอาจารย์ของรัชกาลที่ 6 ซึ่งรัชกาลที่ 6 ก็ไม่ได้เห็นด้วยเลย แต่เนื่องจากว่าเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นผู้ดูแลและเป็นอาจารย์ของร.6 ตั้งแต่ตอนที่อยู่อังกฤษก็เลยยอม

พระองค์ต้องการสร้างโรงเรียนวชิราวุธซึ่งเป็นโรงเรียนของคนชั้นสูง แต่กระเบื้องที่มุงหลังคาของโรงเรียนวชิราวุธมีไม่พอ พระองค์จึงสั่งให้เอากระเบื้องจากจุฬาลงกรณ์ไปมุงแทน และให้จุฬาลงกรณ์ใช้หลังคามุงจาก


รัชกาลที่ 6 เป็นกษัตริย์ที่ไม่มีมเหสีเลย ข้าราชบริวารที่ใกล้ชิดพระองค์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายทั้งนั้น ที่เป็นที่โปรดปราณ ก็คือ 2 คนพี่น้อง คนพี่ชื่อ เฟ้อ พึ่งบุญ คนน้องชื่อ ฟื้น พึ่งบุญ ในตระกูลของกรมหลวงรักษ์รณเรศ(โอรสรัชกาลที่ 1 ที่ถูกประหารสมัยรัชกาลที่ 3 ข้อหาซ่องสุมเตรียมการกบฏ) รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดพี่น้อง 2 คนนี้มาก เป็นพระเอกละครที่หล่อมาก
คนพี่เล่นเป็นเป็นพระราม จึงได้ชื่อว่าพระยารามราฆพ
คนน้องเล่นเป็นพระอนุชา จึงตั้งชื่อเป็นพระอนิรุธเทวา
จึงได้เป็นพระยาทั้งสองคน





ร. 6 ทรงเล่นละครด้วย พระยารามาฆพเล่นเป็นพระราม พระองค์ก็เล่นเป็นหนุมานมั่งเป็นตัวอื่นมั่ง



ในเรื่องพระร่วง เจ้าพระยารามาฆพเล่นเป็นพระร่วง ร.6 ก็เล่นเป็นนายมั่นปืนยาว ในละครนั้น ร.6 ต้องมีการถวายบังคมพระยารามราฆพ ซึ่งก็เล่นไปตามท้องเรื่อง ทำให้เชื้อพระวงศ์ไม่พอใจรับไม่ได้ ว่าเป็นกษัตริย์แล้วมาถวายบังคมพวกไพร่ได้อย่างไร เจ้าพระยารามราฆพเป็นที่ทรงโปรดมาก เข้านอกออกในห้องบรรทมได้ตลอดเวลา ได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายใน ร. 6 ไม่ทรงโปรดการบริหารบ้านเมือง ส่วนใหญ่จะให้ให้เจ้าพระยารามราฆพว่าราชการและเซ็นหนังสือแทน ส่วนใหญ่จะชอบแต่งนิยาย เห็นได้ว่าหนังสือราชการหลายเรื่องจะออกมาจากพระยารามราฆพ

มีเรื่องเล่าว่า บางวันพระองค์ออกว่าราชการ พระองค์ก็แต่งใส่เสื้อสีแดง นุ่งโจงกระเบนเสื้อลายดอก ประแป้ง จูงมือออกมากับเจ้าพระยารามราฆพ ส่วนพระยารามราฆพแต่งชุดทหาร เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์อยู่ท่ามกลางหนุ่มๆ และไม่มีพระมเหสีเลย จึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ ครหามากมายอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อพระองค์ครองราชย์ไประยะหนึ่งแล้ว(เริ่มปี 2453)พระองค์จึงตัดสินใจที่จะมีแฟนเป็นผู้หญิง


องค์แรกที่ออกเดทและเป็นคู่หมั้น คือหม่อมเจ้าวรรณวิมล(พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี)ซึ่งเป็นบุตรของกรมพระนราธิปประพันธพงศ์ พอต่อมาไม่ทรงโปรด จึงเกิดการทะเลาะกัน และมีการเขียนเพลงยาวด่ากัน รัชกาลที่ 6 โกรธมาก จึงสั่งจับขัง






ต่อมารัชกาลที่ 6 ก็มีภรรยา 4 คน แต่มีลูกเพียงแค่คนเดียวที่เกิดจาก
พระนางเจ้าสุวัทนา ชื่อ เจ้าฟ้าหญิงเพชรรัตนราชสุดา





ร.6 จะทำงานแค่วันจันทร์ ถึงศุกร์ โดยไม่มีการบริหารบ้านเมืองวันเสาร์ อาทิตย์ ไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรก็ตาม พอถึงวันเสาร์พระองค์ก็จะให้ข้าราชการต่างๆ แบ่งทีมกันเพื่อเตะฟุตบอล






ร.6 ขัดแย้งกับขุนนางผู้ใหญ่จำนวนมากโดยเฉพาะกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จบมาจากนอก รับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ร. 6 เห็นว่ามีความสามารถหลายด้านเลยย้ายจากเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมไปเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตร กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ บอกว่าไม่สามารถทำงานได้เพราะไม่มีความรู้ด้านการเกษตร จึงลาออกจากราชการ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นไปกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กลายเป็นศัตรูกันตลอด ไม่ถูกกันตลอดรัชกาล

ยังมีกรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นกระทรวงที่ใหญ่ที่สุด กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีเสมียนที่มีฝีมือดีคนหนึ่งชื่อ นายปั้น ต่อมา นายปั้นได้ขึ้นเป็น พระยายมราช ร. 6 ย้ายกรมพระยาดำรงราชานุภาพไปเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษา) และ ย้ายพระยายมราช ขึ้นมาเป็นเสนาบดีมหาดไทยแทน แถมยังให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้อำนวยการหอสมุด

การขึ้นมาครองราชย์ของ ร.6 เพราะ เป็นลูกของแม่เล็ก หรือ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ เพราะทายาทองค์เดิมนั้นคือเจ้าฟ้าวชิรุณหิศลูกของพระนางเจ้าสว่างวัฒนาเสียชีวิตก่อน ร. 6 จึงได้เป็นรัชทายาทแทน

แต่ ร. 5 ทรงโปรด ลูกคนถัดมา คือ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาถ ซึ่งเป็นคนที่มีบุคลิกดี หน้าตาดี ขณะที่เจ้าฟ้าวชิราวุธนี้ อ้วนเตี้ย หัวล้าน คนหนึ่งหล่อ อัธยาศัยดี ตามใจพ่อ แต่อีกคนอ้วนเตี้ย ไม่น่ารัก เอาแต่ใจตนเอง ซึ่ง ร. 5 ไม่ทรงโปรดเลย แต่เป็นคนโปรดของแม่ ร. 5 จึงทำอะไรไม่ได้ ที่จริง ร. 6 เป็นคนที่มีความสามารถ และใฝ่เรียน เรียนจบอ๊อกฟอร์ด เป็นคนที่อ่านหนังสือเยอะมาก แต่ที่หลายคนไม่ทราบ คือ พระองค์เรียนไม่จบ เพราะพระองค์จะไม่สนใจในวิชาที่เรียนมากนัก พระองค์เป็นคนเก่ง มีความสามารถ แต่พระองค์ไม่ได้สนใจเรื่องการบ้านการเมืองมากนัก เพราะสนใจเรื่องงานเขียน งานวรรณกรรม ซึ่งพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถมาก และเป็นที่ยอมรับ

ร.5 ทรงโปรด เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาถ มากจึงส่งไปเรียนการทหารที่รัสเซีย แต่ได้เมียแหม่มสาวคือ หม่อมคัทลินกลับมาด้วย พอ ร.6 ขึ้นครองราชย์ จึงให้ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาถ เป็นเสนาธิการทางทหาร แต่พระองค์ก็ทรงไม่ไว้ใจนัก จนกระทั่ง ปี 2460 พระองค์วางกฎระเบียบใหม่ ในตอนนั้นมีกฎมณเฑียรบาล คือ เจ้าฟ้าคนไหนที่มีภรรยาเป็นนางต่างด้าว จะไม่มีสิทธิเป็นรัชทายาท

ในตอนนั้นเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาถ มีสิทธิเป็นรัชทายาท เนื่องจาก ร.6 ไม่มีพระโอรส ทำให้เจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนาถ หย่ากับหม่อมคัทลินทันที หลังจากที่หย่าแล้วก็แต่งงานใหม่ทันทีกับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส รพีพัฒน์ธิดาของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ แต่ ร.6 ไม่อนุญาตให้สมรส จึงต้องร่วมชีวิตกันเองโดยไม่มีพิธีสมรส และได้ขอลาออกจากราชการแต่รัชกาลที่ 6 ก็ไม่อนุญาต ต่อมาจึงขอลาไปพักผ่อนหลังและทิวงคตด้วยโรคปอดบวมระหว่างเดินทาง โดยมีข่าวว่าถูกวางยา และทำให้พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีโกรธมาก ไม่ทรงตรัสกับรัชกาลที่ 6 อีกเลย

ได้เกิดการพยายามลุกขึ้นเรียกร้องรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครั้งแรกของไทยเริ่มต้นโดยกลุ่มทหารหนุ่มเมื่อปี 2455 ที่เรียกว่ากบฏ ร.ศ.130 ซึ่งเป็นช่วงแรกแห่งการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 6 ทางการได้เข้าจับกุมกลุ่มนายทหารหนุ่มประมาณ 150 คน ด้วยการใช้ข้ออ้างว่าจะวางแผนปลงพระชนม์ แกนนำ 25 คน ถูกตัดสินจำคุก 12 ปี

เห็นได้ว่า ร.6 ไม่ค่อยถูกกับเจ้านายในราชวงศ์ ส่วนใหญ่จะถูกปลดจากราชการ หรือลาออกจากราชการ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ออกจากราชการในเวลาต่อมา หลังจากที่ออกจากราชการแล้วก็ไม่มีอะไรทำก็ไปรวมตัวกันที่หัวหิน ร. 6 จึงไม่ค่อยชอบไปหัวหิน จึงสร้างหาดส่วนตัวขึ้นมา คือ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน หรือหาดเจ้าสำราญ แต่พวกเจ้าที่หัวหินเรียกว่า หาดขี้เหล้า และสังเกตว่าที่ไหนก็ตามที่มีวังของ ร. 6 ต้องมีบ้านของเจ้าพระยารามราฆพ ที่หาดมฤคทายวัน ก็มีบ้านของเจ้าพระยารามราฆพ ที่วังสนามจันทร์ก็ยังมีบ้านของเจ้าพระยารามราฆพ

ซึ่งต่อมาในสมัย ร.8 เจ้าพระยารามราฆพ รักษาไว้ไม่ไหว จึงต้องขายบ้านนรสิงห์ให้รัฐบาล ซึ่งกลายเป็นทำเนียบรัฐบาล ตึกไทยคู่ฟ้าในปัจจุบัน






บ้านเจ้าพระยา อนิรุทธเทวาก็คือ
บ้านพิษณุโลกหรือบ้านบรรทมสินธุ์ เนื้อที่ 50 ไร่ตรงข้ามสนามม้านางเลิ้ง โดยสถาปนิกอิตาเลียนซึ่งว่างจากงานก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นผู้ออกแบบ




พระราชทานบ้านมนังคศิลา ถนนหลานหลวง แก่ พระยาอุดมราชภักดี ( โถ สุจริตกุล ) อดีตอธิบดีกรมชาวที่ ผู้มีหน้าที่ดูแลพระราชฐานที่ประทับทั้งหมดแต่ละบ้านแต่ละหลังสร้างให้ขุนนางทั้งนั้น


จะเห็นว่าในร.6 ขุนนางเป็นที่โปรดปราน และเป็นที่แปลกใจเมื่อ ร.7 ขึ้นครองราชย์งานชิ้นแรกที่ ร.7 ต้องทำ คือ การปลดขุนนาง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพระยายมราช เจ้าพระยารามราฆพ



ร.6 ไม่มีโอรสเลย และพระองค์ปรารถนาที่จะมีโอรส เมื่อล้มป่วย และพระมเหสีกำลังจะคลอด และในตอนนั้น เทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้าจึงไม่รู้ว่าลูกที่เกิดมาจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ตามราชประเพณี ถ้าเป็นลูกชายข้าราชบริพารจะประโคมกันด้วยแตรสังข์ ถ้าเป็นผู้หญิงจะเป็นวงมโหรี ขณะที่นอนป่วยอยู่ ร. 7 ก็อยู่ข้างๆ พอ ร.6 ได้ยินเสียงมโหรีก็น้ำตาไหลพราก เพราะรู้ว่าลูกของตนเองนั้นเป็นผู้หญิง ซึ่งร.7 ตั้งชื่อให้ว่าเพชรัตนราชสุดา


พอรัชกาลที่ 6 สิ้นพระชนม์ ร.7 ก็ได้เป็นกษัตริย์แทน หลังจากที่ ร. 7 ขึ้นครองราชย์ คนที่มีอำนาจมากที่สุดในตอนนั้นคือ
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีทหารเรือ ร. 7 ไม่กล้าขึ้นครองราชย์






จนกระทั่งมีการตกลงกัน ว่าในกรณีที่ ร. 7 ไม่มีลูก ก็จะยอมให้
พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตโอรสองค์โตของกรมพระนครสวรรค์วรพินิตขึ้นครองราชย์แทน เนื่องจาก ร. 7 เป็นกษัตริย์องค์แรกที่มีมเหสีองค์เดียว



โดยในตอนแรก ร.7 เป็นน้องสุดท้อง ไม่มีทีท่าว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ พวกพี่ๆจึงเสนอให้ไปบวชและเอาดีทางศาสนา แต่ร.7 อ้างว่ามีคู่รักแล้ว จึงแต่งงานกับพระองค์เจ้ารำไพพรรณี แต่ไม่มีแนวโน้มว่าจะมีพระโอรสเป็นรัชทายาท
สมัย ร.7 พระองค์ทรงฟื้นอำนาจพวกเจ้านาย แต่ใครพูดอะไรพระองค์ก็มีแนวโน้มไปอย่างนั้นเสมอ เพราะพระองค์ไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นกษัตริย์


จึงไม่มีความรู้ทางด้านการทหารเลย เขียนภาษาไทยก็ไม่ได้ พูดได้อย่างเดียว เพราะตอนนั้นนิยมแต่ภาษาอังกฤษ เนื่องจากพระองค์เป็นน้องคนเล็กสุด จะทำอะไรก็เกรงใจคนอื่นไปหมด พระองค์เป็นกษัตริย์ที่บริหารราชการแบบไม่มีหลักการ และเชื่อฟังเชื้อพระวงศ์มากไป ทำให้ระบบการบริหารไม่ประสบความสำเร็จ นำมาสู่การปฏิวัติ 2475

หลังการปฏิวัติ 2475 ก็เกิดความขัดแย้งกันมาก ร.7 ถึงกับสละราชสมบัติ มีสาเหตุจากหลายเรื่อง เช่น เรื่องกบฏบวรเดช พวกคณะราษฎรต้องการที่จะประหารตัวกบฏแต่พระองค์ไม่เห็นด้วย แต่เรื่องที่สำคัญ คือ คณะราษฎรเสนอเก็บภาษีมรดก แต่ ร.7 ขอให้ยกเลิก ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้นให้ยกเว้น แต่คณะราษฎรไม่ยอม ทำให้พระองค์นั้นน้อยพระทัยเลยสละราชสมบัติ รวมทั้งการที่ ร.7 ขอคัดเลือกแต่งตั้ง สส.ประเภท 2 เอง กฎหมายบางฉบับที่ผ่านสภาแต่ ร.7 ไม่เซ็น คือ ให้ตกไปเลย

รัชกาลที่ 7 ยังถูกรัฐบาลฟ้องร้องให้ยึดทรัพย์ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีดำที่ 197/2482 คดีแดงที่ 278/2482 ความแพ่งโดยกระทรวงการคลังเป็นโจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯรัชกาลที่ 7 และ พระนางเจ้ารำไพพรรณีเป็นจำเลย โดยศาลมีคำพิพากษาให้ยึดหรืออายัดทรัพย์ของรัชกาลที่ 7 เพราะการที่รัชกาลที่ 7 โอนเงินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปยังต่างประเทศ เป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากรัชกาลที่ 7 ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนั้น

การที่รัชกาลที่ 7 โอนขาย อสังหาริมทรัพย์ โดยสมรู้ กับคู่สัญญา เพื่อจำหน่ายทรัพย์สินของตนให้พ้นอำนาจศาล ซึ่งอาจบังคับเอาแก่จำเลยและเพื่อฉ้อโกงโจทก์ การกระทำของรัชกาลที่ 7 ไม่เป็นไปโดยสุจริตและเป็นเสียหายแก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยให้อายัดหรือยึดทรัพย์จำเลยทั้งหมดรวมทั้งทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยไปพลางก่อน และเงินวางศาลเพื่อประกันสำหรับค่าสินไหมทดแทน ให้จำเลยเป็นฝ่ายเสีย



เมื่อ ร.7 สละราชสมบัติแล้ว คณะราษฎรจึงเลือกรัชกาลที่ 8 ขึ้นมาครองราชย์แทนคือ
พระองค์เจ้าอานันท์ เพราะยังเด็ก คุมง่ายกว่า และ ร .8 ไม่เกี่ยวข้องกับ ร. 7 เป็นการข้ามสายเลย จึงเป็นกษัตริย์องค์แรกที่เลือกจากสภา





หลังจากที่ครองราชย์มาได้ 10 กว่าปี ในช่วงที่ครองราชย์นั้นส่วนใหญ่ ร. 8 อยู่ต่างประเทศ เพราะเกิดสงครามโลกพอดี ส่วนใหญ่ราชวงศ์ทั้งหลายจะลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศ หลังจากที่สงครามสงบ ร. 8 ก็ถูกเชิญกลับมาอยู่ประเทศไทย ในปี 2488

จนถึง 2489 เกิดคดีสวรรคตและคนที่น่าสงสัยมากที่สุด ก็คือน้องชาย อาจเป็นเรื่องการแย่งชิงราชสมบัติ เพราะเก้าอี้มีแค่ตัวเดียว การที่เป็นกษัตริย์กับน้องของกษัตริย์มันต่างกันมาก เพราะขณะที่ ร. 8 เสด็จไปตามที่ต่างๆ น้องเป็นได้แค่คนถือกล้องตามถ่ายรูปเท่านั้น



แม้จะมีหลักฐานพยานแวดล้อมมากมายแต่ก็ไม่มีความหมาย เพราะน้องชายได้เป็นกษัตริย์ไปแล้วในคืนวันที่พี่ชายถูกยิงเสียชีวิต โดยมีบุคคลที่ไม่ได้ถูกแตะต้อง ไม่ได้ถูกสอบถามมีเพียง 2 คน เท่านั้น คือ น้องชาย กับ แม่


โดยหลักฐานทั้งหมดถูกทำลายตั้งแต่ในที่เกิดเหตุ ร.8 ถูกยิงตอน 09.20 น.ในช่วงเช้าตอนที่หมอนิตย์ เวชวิศิษฐ์ ที่เป็นอธิบดีกรมการแพทย์ถึงห้องพระบรรทม เมื่อตอน 10.00 น. ปรากฏว่าศพถูกล้างทำความสะอาดหมดแล้ว ท่าทางถูกจัดใหม่ ปืนถูกเก็บเข้าลิ้นชัก ห้องนอนถูกเช็ด กระบวนการทั้งหมดนี้ทำโดยแม่หรือพระราชชนนี ซึ่งเป็นพยาบาลและมีความรู้ทางพยาบาล ทั้งๆที่รู้ดีว่า ในกรณีเช่นนี้ต้องคงหลักฐานให้มากที่สุด เพื่อการชันสูตร แต่พระชนนีทำตรงกันข้าม

เพราะฉะนั้นเมื่ออธิบดีกรมการแพทย์ไปถึงนั้น ปรากฏว่า ทุกอย่างสะอาดเอี่ยม ผ้าปูที่นอนเปลี่ยนใหม่หมด ผ้าปูที่นอนชุดเดิมถูกเอาไปฝังหมดที่สนามกอล์ฟ ซึ่งพระชนนีให้คำตอบว่าสงสารลูกเพราะภาพมันอุจจาดนัก ไม่รู้ว่าฟังขึ้นหรือเปล่า และวันนั้น คือวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ไม่มีการชันสูตรศพเลย หมอได้แต่ยืนดู จะทำมากกว่านั้นไม่ได้เพราะเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ไม่ยอม คือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร บอกว่าเป็นการลบหลู่พระเกียรติยศ จึงได้ดูแต่คร่าวๆว่า ชีพจรยังเต้นรึเปล่าเพราะฉะนั้นจึงไม่มีหลักฐานเหลืออยู่ แต่มีการกล่าวร้ายว่าปรีดีฆ่าในหลวงเพื่อเป็นการป้ายความผิดให้กับศัตรูเก่าที่ได้โค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

หลักฐานที่ว่าปรีดี ฆ่าในหลวงเวลาต่อมาเป็นหลักฐานเท็จ เพราะฉะนั้นคดีนี้เป็นคดีที่ลึกลับ เพราะหลักฐานนั้นถูกทำลายตั้งแต่ต้น พยานต่อมาคนที่เห็นเหตุการณ์ก็ถูกยิงเป้าหมดทั้ง 3 คน คือ นายชิต นายบุศย์ นาย เฉลียว เพราะฉะนั้นการกระทำอย่างนี้ใครทำได้ เพราะคนที่อยู่ในวังตอนนั้น ก็คือ มหาดเล็ก พระราชชนนี ร.8 และ ร.9 จะมีคนร้ายที่ไหนลอยนวล เดินเข้าไปยิง ร.8 แล้วเดินออกมาโดยที่ไม่มีใครรู้ ซึ่งมันก็อธิบายได้ไม่ยากเพราะมันเกิดขึ้นเกือบทุกรัชกาล เหมือนกรณีเนปาลหรือกรณีอื่นๆ

คนที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมด ได้ยินเสียงปืนทุกคนยกเว้นพระอนุชา(ร.9) พระอนุชารู้ว่ามีเหตุการณ์เพราะเห็นคนวิ่ง จึงวิ่งตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่มีพิรุธมาก และที่น่าแปลกอีกอย่าง คือ ทุกคนที่อยู่ในวังสามารถระบุได้ว่าตอนนั้นตนเองอยู่ตรงไหน มีคนเดียวที่ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน คือ พระอนุชา ซึ่งพระอนุชา ให้การว่า พระองค์อยู่ในห้องนั่งเล่นคนเดียว ซึ่งคดีนี้มีพิรุธมากมาย วิทยุบีบีซีเคยไปถามในหลวงภูมิพลว่าอะไรเกิดขึ้นในกรณีปลงพระชนน์ใน ร. 8 เหตุการณ์เป็นอย่างไร ร. 9 ก็ตอบว่า ในสมัยนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ทุกเรื่องก็เป็นการเมือง และพระองค์พูดอีกคำว่า คดีนี้หมดอายุความแล้ว ไม่ต้องมาถามแล้ว สรุปว่าไม่ได้ตอบอะไรเลย

เรื่องที่มีคนเล่าต่อมาว่าเรื่องที่ปืนลั่นโดนพี่ตาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก เพราะใครจะเล่นเอาปืนจี้หัวกัน และอีกอย่างวันนั้น ร.8 ไม่สบายนอนป่วยอยู่ คงไม่น่าจะลุกขึ้นมาเล่นปืนกับน้อง กรณีที่มีคนสงสัยว่าแม่เป็นคนยิงหรือเปล่านั้นไม่น่าจะใช่ เพราะตอนที่เกิดเหตุก็มีคนเห็นแม่อยู่ที่อื่น แต่แม่อาจจะร่วมในการทำลายหลักฐาน เพื่อให้คดีนี้มันสอบสวนไม่ได้ เพราะเหตุการณ์มันเกิดขึ้นแล้ว แล้วจะทำอย่างไร จะเอาไว้คนหนึ่ง หรือเสียทั้งคู่ (ตอนนั้น ร.8 อายุ 21 ร.9 อายุ 19)

เรื่องที่บอกว่า ร.8 ฝักใฝ่ประชาธิปไตยนั้น ไม่น่าจะใช่ เพราะกษัตริย์ที่เกิดและโตในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นจะเอาความคิดที่ไหนมาฝักใฝ่ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่มีเรื่องเล่าว่ารัชกาลที่ 8 นั้นมีแฟน ซึ่งแฟนนั้นเป็นคนต่างด้าวและเป็นคนที่แม่ไม่ชอบเลย และถ้ามีภรรยาต่างด้าวจะถูกปลดจากตำแหน่ง

มีข่าวลือว่ายุคสมัยนั้นคนน้องสนิทกับแม่มากกว่า เพราะคนพี่นั้นเอาแต่ใจตนเอง และเกิดการทะเลาะกับแม่ เพราะแม่เป็นม่ายตั้งแต่ยังสาว จึงมีความสัมพันธ์กับชายอื่น ซึ่ง ร.8 รับไม่ได้ จึงมีปัญหากันเสมอ แต่ ร.9 ไม่ทรงขัดขวางเพราะนั่น คือ ความสุขกับแม่ หลายคนก็มีข่าวว่ามีความสัมพันธ์กับแม่ เช่น นายเฉลียวที่ถูกประหาร อาจมาจากสาเหตุนี้เหมือนกัน เพราะนายเฉลียวเมื่อมีความสัมพันธ์กับพระราชชนนีและเมื่อกินเหล้าจึงชอบเอาไปพูดกับคนอื่นๆ แต่นายชิต กับนายบุศย์ ก็ต้องถูกประหารเพื่อปิดปากเพราะเป็นคนเห็นพระอนุชาอยู่ในห้องพระบรรทมตอนที่มีเสียงปืนดัง

คดีสวรรคตเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ไม่ยาก พยายนหลักฐานต่างๆค่อนข้างชี้ชัด คนในยุคนั้นเชื่อกันว่าพระอนุชาคงไม่รอดแน่ ถึงกับมีข่าวว่าฝ่ายเจ้าเตรียมให้พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นเป็นพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ พระอนุชาและพระชนนี จึงจำต้องเสด็จออกจากปรเทศ เพื่อหลบเรื่องคดี..จนกระทั่ง เครือข่ายกษัตริย์ได้ชำระสะสางปิดคดีด้วยการพิพากษาประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์สามคน จึงได้มีการเสด็จนิวัติกลับพระนครในอีกสี่ปีต่อมา

...........
...........

ไม่มีความคิดเห็น: