วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ Thai Prehistory

ฟังเสียง : http://www.4shared.com/mp3/7NAyteaT/Thai_Prehistory__.html
หรือทาง : http://www.mediafire.com/?xqkrmcyfa5omubr

.................


สังคมศาสตร์ฉบับราษฎร ปี 2555
ตอนที่ 01 ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์

ประวัติศาสตร์ไทยฉบับล่าเมืองขึ้น


ประวัติศาสตร์ไทยที่เรียนๆกันมา คือประวัติศาสตร์ฉบับล่าเมืองขึ้น ที่เขียนขึ้นโดยนักล่าอาณานิคมชาวตะวันตกที่เข้ามาครอบงำสังคมไทย เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสในการปล้นแผ่นดินไทยและสร้างความแตกแยกให้ชนชาติไทยขึ้นในดินแดนแหลมทอง ชาติตะวันตกได้แฝงตัวเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เช่น การเข้าครอบครองดินแดนในเกษียรสมุทร(ดินแดนแถบอินโดนีเซีย) แล้วอพยพชนชาติอาเจะห์จากเกาะสุมาตราหลายระลอกเข้ามาตั้งรกรากในแหลมมลายูจากนั้นก็เขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ให้กับอาณานิคมของตนเอง และใช้เป็นเครื่องมือในการเข้ายึดแผ่นดินไทยในสมัยต่อมา


ในปีพ.ศ.2439 อังกฤษและฝรั่งเศสได้แอบทำสัญญาลับยอมรับอธิปไตยในดินแดนของไทยมาถึงแค่แม่น้ำเพชรบุรีเท่านั้น คนไทยซึ่งเป็นเจ้าของดินแดนมาลายูมาแต่ดั้งเดิมถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้รุกรานที่ยึดดินแดนมาจากชนชาติมลายูทั้งๆที่ชนชาติมลายูเป็นพวกที่อพยพตามมาทีหลัง การบิดเบือนทางประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ชี้ให้เห็นถึงทัศนะของผู้ปกครองไทยในอดีตที่ยอมจำนนต่อมหาอำนาจตะวันตก เป็นการครอบงำองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์เพื่อสร้างเหตุผลเป็นข้ออ้างและความชอบธรรม ตัดเฉือนดินแดน ออกเป็นอาณานิคม สร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ โดยผู้ปกครองของไทยก็ยินยอมรับสภาพแบบยอมจำนน เพื่อรักษาอำนาจของตนเอาไว้แต่ไม่รักษาดินแดนแล้วก็ยอมเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของไทย กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ทำให้เราไม่ได้รับรู้ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชนชาติไทยที่แท้จริง


กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บิดานักประวัติศาสตร์ไทยฉบับเมืองขึ้นได้แบ่งยุคประวัติศาตร์ไทยเป็น 3 ยุค คือ ยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา และยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้รัฐหรือราชธานีเป็นศูนย์กลาง โดยอ้างว่าต้องยึดเอาภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ จากจุดเริ่มต้นคือการประดิษฐ์อักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช




แต่มีการพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น โครงกระดูก ขวานหิน เครื่องมือสำริด เครื่องปั้นดินเผา ที่ยืนยันว่า ชนชาติไทยอาศัยอยู่ในดินแดน ที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน มาเป็นเวลานานกว่า 4,000 ปีมาแล้ว จึงเป็นดินแดนเก่าแก่ ที่มีความเจริญสืบเนื่องตั้งแต่ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่ และยุคโลหะ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ยังมิได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
จากการนำหลักฐานจากทางประวัติศาสตร์ เช่น ปูมบันทึกโบราณชาติต่างๆเช่น จีน ลังกา อินเดีย อาหรับ กรีก และตำนานบ้านวังพวกราชวงศ์ ที่บ้านร้อยเรือน ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

รวมทั้งการขุดพบรูปท้าวกุเวร เนื้อกระเบื้องดินเผา ในวัดถ้ำคูหาภิมุข จ.ยะลา เมื่อ พ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันถึงการดำรงอยู่ของจักรพรรดิท้าวกุเวร(พญาแถน) กรุงพรหมทัศน์แห่งสหราชอาณาจักรเทียน ช่วงพ.ศ. 297-337 แต่นักประวัติศาสตร์ไทยสายเจ้าพยายามปกปิดข้อเท็จจริง ถึงกับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชเผาทำลายเอกสารและหลักทางโบราณคดีที่ขัดแย้งกับแนวความคิดตะวันตกในวัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช แล้วกลับยกย่องประวัติศาสตร์ไทยฉบับเมืองขึ้น



ทฤษฎีที่ว่าคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ก็มิได้มีการสืบค้นอะไรมากนัก เพียงแต่ขุนวิจิตรมาตราได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อหลักไทย มีเนื้อหาที่เอ่ยถึงเพียงเล็กน้อยว่า”คนไทยเป็นชาติเก่าแก่กว่าสี่พันปี มีเชื้อสายมาจากมองโกล อาศัยอยู่แถบเทือกเขาอัลไต”



ซึ่งขุนวิจิตรมาตราคงเอามาจากหนังสือของสาธุคุณวิลเลี่ยม คริสตันด็อดด์ หมอสอนศานาที่เข้ามาอาศัยอยู่ที่เชียงรายช่วงปี พ.ศ. 2429-2461 และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับคนที่พูดภาษาตระกูลไต โดยเขียนไว้กว้างๆว่าคนไทยมีเชื้อสายมองโกลอาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน แล้วขุนวิจิตรมาตราก็เอาข้อมูลนี้ไปขยายความเอาเอง


ต่อมาหลวงวิจิตรวาทการซึ่งกำลังรับใช้นโยบายชาตินิยมของจอมพล ป. ก็เลยเอามาใช้เป็นบทละคร เอามาแต่งเป็นเพลงเผยแพร่ออกอากาศ แล้วเอาไปทำเป็นตำราเรียน กลายเป็นประวัติศาสตร์แบบมักง่าย ไม่ได้ศึกษาความเป็นมาอย่างแท้จริง คนไทยก็เลยต้องหลงอยู่นาน คิดว่าตนเป็นพวกมองโกลที่ต้องถวิลหาเทือกเขาอัลไตที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งและหิมะที่หนาวเย็นยะเยือก

มีหลักฐานปรากฎในจดหมายเหตุปโตเลมีที่กล่าวถึงชื่อเมืองต่างๆของสหราชอาณาจักรเทียนสนที่เชื่อมต่อกับสมัยของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ระหว่าง พ.ศ. 753-1224 โดยมีการระบุที่ตั้งเป็นเส้นรุ้งเส้นแวง ตรวจสอบกันได้ เริ่มจากบันทึกการเดินเรือของพ่อค้าชื่อ อเล็กซานเดอร์ ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิของสหราชอาณาจักรเทียนสนระหว่าง พ.ศ. 693-715 หรือมากกว่า 1800 ปีที่แล้วมา

จากนั้นอีก 100 ปีถัดมา ชาวกรีกเมืองไทร์ชื่อมารีนัส ได้รวบรวมบันทึกของพวกพ่อค้าที่เดินทางค้าขายทั่วโลก สุดท้ายชาวกรีกเมือง อเล็กซานเดรียชื่อ คลอดิอุส
ปโตเลมี(Cladius Ptolemy) ก็เอาข้อมูลทั้งหมดนำมาใช้สร้างเป็นแผนที่โลก จากการวิเคราะห์ชื่อ ตำแหน่งที่ตั้ง ตรวจสอบกับตำนานหลักฐานต่างๆ ชื่อท้องถิ่น ช่วงเวลาการกำเนิดของแต่ละเมืองในดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้สรุปได้ว่าหนังสือที่อเล็กซานเดอร์เขียนบันทึกเอาไว้ล้วนเป็นชื่อเมืองภายในการปกครองของสหราชอาณาจักรเทียนสนที่เชื่อมโยงกับสหราชอาณาจักรคีรีรัฐแทบทั้งสิ้น โดยเขาเรียกดินแดนสุวรรณภูมิในความหมายว่า แหลมทอง

ยังมีอีกบันทึกของพระถังซำจั๋ง (Xuan Zang) ที่เดินทางจากจีนไปมหาวิทยาลัยนาลันทาของอินเดีย ใน พ.ศ. 1148 หรือกว่า 1400 ปีก่อน ท่านได้บันทึกเรื่องราว กล่าวถึงที่ตั้งประเทศในดินแดนสุวรรณภูมิ 6 ประเทศ ได้แก่ ชี-ลี-ชา-ตอ-ลอ (สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู) ตุย-ลอ-ปอ-ตี่ (สหราชอาณาจักรทวาราวดี) อี-ขัง-นา-ปู-ลอ (สหราชอาณาจักรอิสานปุระ) กาม-ลัง-กา (สหราชอาณาจักรคามลังกา) มอ-ฮอ-จอม-ปา (สหราชอาณาจักรมหาจามปา) เยี่ยม-วอ-นา-เจา (สหราชอาณาจักรชวาทวีป/สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ)

การจัดรูปแบบการปกครอง
ปกครองแบบสหราชอาณาจักร


การปกครองของชนชาติอ้ายไตในสมัยสหราชอาณาจักรเทียนถึงสหราชอาณาศรีโพธิ์ ยึดถือตามแบบอินเดีย ใช้รูปแบบ -สหราชอาณาจักร -อาณาจักร –แคว้น -เมือง มีการเปลี่ยนเมืองหลวงบ่อยตามชื่อเมืองหรืออาณาจักรที่กษัตริย์นั้นขึ้นดำรงตำแหน่งมหาจักรพรรดิ แตกต่างจากจีนที่ปกครองในรูปแบบมหาอาณาจักรที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนเมืองหลวง
ตำแหน่งกษัตริย์ในรัฐไทยโบราณ มี 4 ลำดับ คือ


-มหาจักรพรรดิ เป็นผู้ปกครองสูงสุดในสหราชอาณาจักรและมีกองทัพขึ้นต่อมหาจักรพรรดิ มี นายก หรือ สหราชนายก ช่วยเหลือราชการแผ่นดินของมหาจักรพรรดิ
-จักรพรรดิ ทำหน้าที่ควบคุมกองทัพประจำการ เป็นทหารหลักทั้งทางบกและทางน้ำ ทำการรักษาดินแดน และปราบปรามผู้รุกรานแทนมหาจักรพรรดิ
-มหาราชา ปกครองแว่นแคว้นอาณาจักรอีกทอดหนึ่ง โดยมีมหาอุปราช ช่วยงานมหาราชาอีก
-ราชา ปกครองเมืองหรือแว่นแคว้น
นอกจากนี้ยังมีสภาปุโรหิต ดูแลงานพิธีการต่างๆ สภาองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา สมุหกลาโหม สมุหนายก ช่วยงานในแต่ละอาณาจักร
เมืองนครหลวงหรือศูนย์กลางอำนาจของรัฐ จะย้ายไปตามอาณาจักร หรือเมืองที่กษัตริย์นั้นขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิ

นอกจากนี้ยังมีกฏมณเฑียรบาลในการขึ้นดำรงค์ตำแหน่งสำคัญ เช่น จักรพรรดิ และมหาจักรพรรดิต้องเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ขอม -ไต คือ ราชวงศ์โคตมะที่มีเชื้อสายอ้ายไตและต้องนับถือศาสนาพุทธ เมื่อพระชนม์ครบ 80 ชันษาหรือสุขภาพไม่แข็งแรงจะต้องสละราชสมบัติ โดยผ่านการพิจารณาของสภาองคมนตรี ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร กรุงพรหมทัศน์ สหราชอาณาจักรเทียน(แถนก๊ก) ตั้งแต่พ.ศ.297 จนถึง พ.ศ.1165 ในสมัยจักรพรรดิท้าวอุเทน กรุงธารา (เขาดอก) สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นระยะเวลา 870 ปี จึงได้แก้ไขกฎมนเทียรบาลนี้ให้เหมาะกับกาลสมัย โดยยอมให้เชื้อสายราชวงศ์อ้ายไตที่มีเชื้อสายอื่นปะปน เช่น ราชวงศ์มอญและทมิฬ แต่ทั้งนี้จะต้องผ่านการพิสูจน์ตัวเองก่อน

สภาพภูมิประเทศของสุวรรณภูมิ
ใน 2500 ปีที่ผ่านมา


มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ไปตามธรรมชาติ ทั้งจากฤดูกาลและภัยทางธรรมชาติ มีทั้งแผ่นดินที่งอกออกมาและแผ่นดินที่หายไป เช่น ช่องแคบพรหมทัศน์หรือโพธิ์นารายณ์ ในแคว้นสุธรรม(อ.ทุ่งส่ง จ.นครศรีธรรมราช) ที่อยู่ในรัฐนาคน้ำ ของอาณาจักรสุวรรณภูมิ เชื่อมฝั่งทะเลตะวันออกกับฝั่งตะวันตกที่ อ.กันตัง จ.ตรัง พื้นที่ครึ่งหนึ่งของอาณาจักรสุวรรณภูมิเป็นเกาะจากนครศรีธรรมราชถึงแหลมมาลายู ในพระไตรปิฎก ก็ได้กล่าวถึงเกาะสุวรรณภูมินี้ด้วย ทำให้สามารถควบคุมช่องแคบทั้งสองฝั่งได้ทั้งด้านการค้าและด้านยุทธศาสตร์ สร้างความมั่งคั่งและมั่นคงขึ้นในอาณาจักรสุวรรณภูมิของสหราชอาณาจักรเทียน

ต่อมาช่องแคบพรหมทัศน์หรือช่องแคบโพธิ์นารายณ์ เกิดการตื้นเขินตอนปลายของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 เพราะไม่ได้มีการกล่าวถึงช่องแคบนี้อีกเลย ประเทศไทยเคยคิดจะขุดช่องแคบนี้ขึ้นใหม่ สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ไปขัดผลประโยชน์ของพวกฝรั่งที่คุมช่องแคบมะละกาและมลายู
ในประวัติศาสตร์โบราณเมื่อถูกจีนรุกราน อาณาจักรหนันเจ้าก็จะขอความช่วยเหลือมายังอาณาจักรเทียนหรือคีรีรัฐ ซึ่งจะส่งกำลังพลเข้าร่วมทำสงครามขับไล่จีน แว่นแคว้นไหนที่ถูกจีนยึดครองก็จะมีการอพยพประชาชนและราชวงศ์มาสร้างบ้านแปลงใหม่ในดินแดนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนอาณาจักรหนันเจ้าถูกจีนทำลายอย่างเบ็ดเสร็จในเวลาต่อมา
อาณาจักรนาคน้ำ นาคฟ้าและนาคดินมหาอาณาจักรเทียนประกอบด้วย อาณาจักรนาคน้ำ นาคฟ้าและนาคดิน

อาณาจักรนาคน้ำ มีอาณาเขตตั้งแต่ช่องแคบโพธิ์นารายณ์(ยะลา) ไปจนจรดแหลมมลายู
แคว้นพรหมทัศน์บริเวณพื้นที่ยะลาเป็นจุดกำเนิดของรัฐชนชาติอ้ายไตในดินแดนสุวรรณภูมิ แต่มีการพบแหล่งทองคำขนาดใหญ่ ที่ คลองหิต (ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี) ทำให้ท้าวไชยทัศน์ ใช้แคว้นคลองหิตเป็นนครหลวงของอาณาจักรสุวรรณภูมิแต่ยังขึ้นต่อหนันเจ้า ต่อเนื่องมาถึงมหาราชาท้าวโกศลได้ประกาศเอกราชแยกออกจากหนันเจ้าสืบต่อมาจนเกิดเป็น สหราชอาณาจักรเทียน ประกอบด้วย อาณาจักรนาคน้ำ นาคฟ้า และนาคดิน โดยมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร แห่งรัฐนาคน้ำได้เป็นรัฐกาลที่ 1 นครหลวงคือแคว้นพรหมทัศน์ อาณาจักรนาคน้ำตั้งอยู่ระหว่างช่องแคบมะละกากับช่องแคบพรหมทัศน์หรือโพธิ์นารายณ์(ยะลา) มีสภาพเป็นเกาะ คุมการคมนาคมทางเรือทั้งสองฝั่งมหาสมุทร เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ครอบคลุมทั้งการค้าและการทหาร สันนิษฐานว่า อาณาจักรนาคน้ำ ได้แก่แคว้นพรหมทัศน์ (ยะลา) แคว้นกลิงค์ตัน (กะลันตัน) แคว้นตาโกลา (ตรัง) เป็นต้น

ส่วนดินแดนอาณาจักรเกษียรสมุทร คือ หมู่เกาะชวา สุมาตรา และบาหลี ล้วนเป็นเมืองขึ้นของอินเดียมานานแล้ว ภายหลังชนชาติกลิงค์และชนชาติทมิฬ อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก อาณาจักรนาคฟ้า ตั้งแต่ช่องแคบโพธิ์นารายณ์(ยะลา) ขึ้นไปทางเหนือจนจรดอาณาจักรหนันเจ้า


อาณาจักรนาคฟ้า มีความรุ่งเรืองมาก่อนอาณาจักรนาคน้ำ ประกอบด้วย แคว้นสุธรรม(ทุ่งสง) แคว้นกลิงค์พัง (กระบี่) แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) แคว้นรามัน (ระนอง) แคว้นมิถิลา (ไชยา) แคว้นชวากะรัฐ (คันธุลี) แคว้นนาลองกา (ทับสะแก) แคว้นกิมหลิน(ราชบุรี) แคว้นคามลังกา (จันทบุรี) แคว้นนที (อยุธยา) แคว้นอภัยสาลี (ศรีเทพ) แคว้นพิชัย (อุตรดิตถ์) แคว้นตาคลี (นครสวรรค์) แคว้นสองแคว(พิษณุโลก) เป็นต้น

กรุงราชคฤห์ (โพธาราม) แคว้นกิมหลิน มามีความสำคัญเพิ่มขึ้นเมื่อมหาจักรพรรดิเจ้าหารคำใช้เป็นนครหลวงของสหราชอาณาจักรเทียนและเป็นฐานเผยแพร่พุทธศาสนา อาณาจักรนาคฟ้าได้ขยายดินแดนออกไปกว้างใหญ่ไพศาลทางด้านตะวันออก เพื่อป้องกันไม่ให้ชนชาติกลิงค์และทมิฬเข้ามายึดครอง จนเป็นอาณาจักรคามลังกาหรือ อาณาจักรขอม ซึ่งหลายส่วนเป็นกัมพูชาและลาว เป็นช่วงเหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 337-358


อาณาจักรนาคดิน เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอิสานของไทย เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเจ้ามรรคขุน โอรสของท้าวชัยทัศน์กับพระนางนาคดิน และพระนางนกหยก ธิดาของท้าวชัยทัศน์ กับพระนางมะหยุง ทั้งหมดเรียกว่าราชวงศ์นาคดิน สร้างแคว้นครั้งแรกที่เมืองลับแล (อุตรดิตถ์) รวมทั้ง แคว้นทองแสนขัน ต่อมาเจ้าอ้ายไตได้อพยพมาครอบครองแทน ราชวงศ์นาคดินได้โยกย้ายเข้าไปตั้งดินแดนขึ้นใหม่แถบอุดรธานีและสกลนคร จากนั้นก็ขยายเป็นหลายแคว้น อาณาจักรนาคดินในสมัยของมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร ประกอบด้วย แคว้นศรีโคตรบูรณ์ แคว้นอุดร (อุดรธานี) แคว้นหนองหาร (สกลนคร), แคว้นหนองคาย แคว้นพิมาย (นครราชสีมา) แคว้นสุวรรณเขต (เมืองสุวรรณเขต) แคว้นจุลนี (ไซ่ง่อน) แคว้นอินทปัต (เมืองพระนคร) แคว้นตาแก้ว (เมืองตาแก้ว) แคว้นออกแก้ว (เมืองออกแก้ว) แคว้นโพธิสัตว์ (เมืองโพธิสัตว์)

ปลายสมัยของมหาจักรพรรดิเจ้าหารคำมีการแยกบางแคว้นออกมาให้ขึ้นกับอาณาจักรนาคฟ้า ได้แก่ แคว้นสุวรรณเขต (หรือ สะหวันนะเขต Savanakhet ) แคว้นจุลนี แคว้นอินทปัต แคว้นตาแก้ว แคว้นออกแก้ว เมื่อราวพ.ศ.322 เนื่องมาแต่สมัยพุทธกาล เคยเกิดกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างอาณาจักรหนันเจ้าและอาณาจักรสุวรรณภูมิ จึงผลักดันให้เกิดแคว้นสุวรรณเขต และ แคว้นจุลนี ในดินแดนของ อาณาจักรนาคดิน เพื่อให้เป็นแนวเขตแดนที่ชัดเจนระหว่างอาณาจักรหนันเจ้าและสุวรรณภูมิแคว้นสุวรรณเขต มีพื้นที่กว้างใหญ่มาก ครอบคลุมทั้งกัมพูชาและลาว สำหรับแคว้นจุลนี (หลินยี่) เป็นดินแดนในเวียดนามภาคใต้ โดยทั้งสองแว่นแคว้น คือ สุวรรณเขตและจุลนี แม้จะมีพื้นที่กว้างใหญ่แต่ส่วนมากรกร้างเป็นป่าเขาส่วนใหญ่

สงครามระหว่าง
ชนชาติอ้ายไตกับชนชาติจีน


ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ - เกษียรสมุทร สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ ที่เคยครองความยิ่งใหญ่ในอาณาจักรหนันเจ้า ในประเทศจีนยุคโบราณ ก่อน พ.ศ.187 เชื้อสายราชวงศ์อ้ายไตได้เติบใหญ่ ถึง 7 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์หยาง (แคว้นเสฉวน) ราชวงศ์แมนสม (แคว้น แมนจูเจ้า) ราชวงศ์แมนสรวง (ไต้หวัน) ราชวงศ์อ้ายไต (ยูนนาน) ราชวงศ์หนานเจ้า (หนองแส) ราชวงศ์ตาจิว (ไตจ้วง) และ ราชวงศ์ตาโก (ไหหลำ) ขณะที่ชาติจีนหรือฮั่นยังแตกแยกย่อยออกเป็นอาณาจักรต่าง ๆ ทำสงครามแย่งยึดครองแผ่นดินของกันและกันสลับสับเปลี่ยนไปมา
ราชวงศ์เจ้าอ้ายไตต้องการให้ชนชาติอ้ายไตแยกอาณาจักรหนันเจ้าออกมาจากอาณาจักรเจ็ค แล้วทำสงครามแย่งดินแดนกลับคืน แต่บางส่วนคิดที่จะรวมกัน แล้วหวังแย่งอำนาจจากราชวงศ์โจวตะวันออก เพื่อยึดครองดินแดนทั้งหมดของประเทศจีน

อาณาจักรหนันเจ้า
หรือหนานเจ้า
( Nanchao or  Nanzhoa )
 
เป็นดินแดนดั้งเดิมของชนชาติอ้ายไตโบราณ จีนเรียกว่าหนานก๊กหรือหนานเย่ก๊ก แปลว่าดินแดนทางใต้ คำว่า ไต ในภาษาจีนโบราณ แปลว่าคุ้ยเขี่ย หรือ ชนเผ่าที่แสวงหาแหล่งทำกินใหม่ๆโดยอพยพลงทางใต้ คำว่า ไต ในภาษาไทยโบราณ มีความหมายว่า ทิศใต้
รัฐของชนชาติอ้ายไตในแดนสุวรรณภูมิมีจุดกำเนิดอยู่ที่แคว้นพรหมทัศน์บริเวณพื้นที่ยะลาเป็น แต่ตอนนั้นมีการพบแหล่งทองคำขนาดใหญ่ ที่ คลองหิต ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี ท้าวไชยทัศน์ จึงใช้แคว้นคลองหิต เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุวรรณภูมิ มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อมาถึงรัชสมัยของท้าวโกศลจึงได้ประกาศเอกราชแยกออกจากอาณาจักรหนันเจ้า มีเมืองหลวงชื่อเมืองคลองหิต หรือครหิ มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อมาจนเป็นสหราชอาณาจักรเทียน (แถน)ประกอบด้วย อาณาจักรนาคน้ำ นาคฟ้า และนาคดิน โดยมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร แห่งรัฐนาคน้ำได้เป็นรัฐกาลที่ 1 ของสหราชอาณาจักรเทียน นครหลวงคือแคว้นพรหมทัศน์ อาณาจักรนาคน้ำตั้งอยู่ระหว่างช่องแคบมะละกากับช่องแคบพรหมทัศน์หรือโพธิ์นารายณ์(ยะลา) มีสภาพเป็นเกาะ คุมการคมนาคมทางเรือทั้งสองฝั่งมหาสมุทร

แต่อาณาจักรหนันเจ้าและอาณาจักรสุวรรณภูมิแล้วก็ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะดินแดนสุวรรณภูมิเป็นเสมือนแหล่งลี้ภัยสงคราม ของชนชาติอ้ายไตจากหนันเจ้า หลายครั้งที่รัฐอ้ายไตต้องคอยช่วยเหลือสนับสนุน ส่งกองทัพตลอดจนเสบียงอาวุธต่างๆไปหนุนช่วยอาณาจักรหนันเจ้าที่ต้องทำศึกสงครามกับจีน จึงเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่ต้องเกื้อหนุนกัน มหาจักรพรรดิท้าวกุเวรยังได้ส่งคณะราชทูต พระธรรมทูต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาและเสนอรูปแบบการปกครองแบบสหราชอาณาจักรให้อาณาจักรหนันเจ้า ซึ่งก็มีการยอมรับนำไปใช้เช่นกัน ชนชาติอ้ายไตได้ผสมเผ่าพันธุ์กับชนพื้นเมืองไปเย่วมาก่อนตั้งอาณาจักรหนันเจ้า และตั้งรกรากในตอนใต้ รวมทั้งทางภาคกลาง ตะวันออกและตะวันตก ของอาณาจักรเจ็กซึ่งหมายถึงจีนในขณะนั้น

ชนชาติอ้ายไตมีความสามารถในการนำสำริด (ทองแดงผสมดีบุก)มาใช้เป็นอาวุธ เสริมสร้างแสนยานุภาพขยายดินแดนออกไปทางเหนือ สร้างอาณาจักรแมนจูเจ้าหรืออาณาจักรแมนสรวง เข้าทำสงครามกับอาณาจักรเจ็ก(จีน) ของราชวงศ์เป่ยเว่ย ผลัดกันแพ้ชนะเป็นเวลายาวนาน จนถึงช่วงปลายของราชวงศ์เป่ยเว่ย (Wei) ยุคสามก๊ก แห่งอาณาจักรเจ็กสามารถเข้ายึดครองดินแดนต่างๆของชนชาติอ้ายไต แต่ก็ยังเหลือดินแดนของชนชาติอ้ายไตอยู่ไม่น้อย เช่น แคว้นแมนจูเจ้า แคว้นไต้หวัน (แมนสรวง) แคว้นฉู่ (เสฉวน) แคว้นสู่ (เสฉวนตะวันตก) แคว้นอู๋ (อาณาจักรเสี่ยงให้) แคว้นเย่ (อาณาจักรไตจ้วง) แคว้นเก้าเจ้า (อาณาจักรอันหนำ) แคว้นหูหลำ (อาณาจักรไหหลำ) แคว้นยืนนาน (อาณาจักรหนานเย่) แคว้นฉาน (อาณาจักรไตใหญ่) เป็นเชื้อสายอ้ายไตที่ต่างต้องการยึดครองอำนาจจากอาณาจักรเจ็กแห่งราชวงศ์เป่ยเว่ยของจีนในยุคนั้น


ปี พ.ศ.  205-227 เป็นช่วงการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดซึ่งชนชาติอ้ายไตจากดินแดนจีนเข้าสู่สุวรรณภูมิ เนื่องจากเจ้าแคว้นฉิน ( Qin ) ได้เข้าโจมตีแคว้นปาและแคว้นสู่ของพวกอ้ายไต แล้วผนวกดินแดนที่เหลือของแคว้นปาและแคว้นสู่เข้ากับแคว้นฉินตั้งแต่ พ.ศ.227 เป็นต้นมา

ปี พ.ศ.264 เกิดสงครามระหว่างแคว้นฉีกับแคว้นเจี๋ยน เป็นสงครามยืดเยื้อร่วม 35 ปี ทำให้แคว้นฉินฉวยโอกาสจากความอ่อนล้าของแคว้นฉีและแคว้นเจี๋ยน เข้าโจมตีแคว้นฉู่ ( Shu หรือเสฉวน สมัยเล่าปี่และขงเบ้ง) ของชนชาติอ้ายไต พวกอ้ายไตจึงต้องอพยพลงมาทางใต้อีกเป็นครั้งใหญ่ เกิดแคว้นใหม่ๆในสุวรรณภูมิ ทั้งแคว้นตาโกลา(ตรัง) แคว้นตาโกปา(ตะกั่วปา) แคว้นมิถิลา(ไชยา) แคว้นกิมหลิน (ราชบุรี)
ปี พ.ศ.288 เกิดสงครามระหว่างอาณาจักรหนันเจ้ากับอาณาจักรเจ็คแห่งราชวงศ์โจวตะวันออก ฮ่องเต้จวงเซียงหวาง แห่งแคว้นฉิน ส่งกองทัพใหญ่ทำลายราชวงศ์โจวตะวันออกล่มสลาย ต่อมาพระราชโอรส คือ ฮ่องเต้หวางเจิ้ง สามารถปราบทั้ง 6 ก๊กจนราบคาบ
ในพ.ศ.299 แคว้นฉู่ หรือเสฉวนของชนชาติอ้ายไต ถูกแคว้นฉินเข้าครอบครอง ในขณะที่แคว้นฉี กับ แคว้นเอี๋ยนกำลังอ่อนเปลี้ยจากสงคราม 35 ปี ชนชาติอ้ายไตต้องอพยพอีกระลอกใหญ่ลงใต้สู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ได้เกิดแคว้นใหม่ๆ เช่น แคว้นตาโกลา (ตรัง) แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) แคว้นมิถิลา (ไชยา) แคว้นกิมหลิน (ราชบุรี) โดยใช้เส้นทางเดินเรืออพยพลงมา ไปตั้งถิ่นฐาน ณ ชายฝังทะเลตะวันตก เกิดเป็นแคว้นใหม่เข้ารวมกับอาณาจักรนาคน้ำ และได้ร่วมกันทำสงครามขับไล่ชนชาติกลิงค์และชนชาติทมิฬออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ

ช่วงปลายรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวกุเวรแห่งสหราชอาณาจักรเทียน ประวัติศาสตร์จีนบันทึกว่า ฉินซีฮ่องเต้ (Qin Shi Huangdi)ทำสงครามยึดครองแคว้นฉีได้สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 322 แล้วส่งกองทัพร่วม 500,000 นาย เข้ารุกดินแดนตอนกลางและตอนใต้ของชนชาติอ้ายไต เข้ายึดได้หลายแคว้นของสหราชอาณาจักรหนันเจ้า เช่น อาณาจักรไตจ้วง หรือ หงิงหนาน คือแคว้นกวางตุ้ง-กวางสี

ชนชาติอ้ายไตและไตเย่ ที่เป็นเชื้อชาติผสมของอ้ายไตกับพวกไปเย่ ถูกฉินซีกวาดต้อนเป็นเชลยแรงงานทาสในการสร้างกำแพงเมืองจีนยาวที่ 1,500 ไมล์หรือ 2,400 กิโลเมตร ฉินซีฮ่องเต้ยึดครองแคว้นกวางสี และเปลี่ยนชื่อเป็นกุ้ยหลิน แคว้นกวางตุ้งเปลี่ยนเป็นหนำไห่ (หนานหาย) รวมทั้งแคว้นตาเกี๋ยเปลี่ยนเป็น แคว้นเสี้ยง รวบรวมดินแดนเป็นอาณาจักรจีนเดียวกัน ใช้ภาษาหนังสือฮั่นเดียวกัน


ตำนานของแคว้นแมนจูเจ้าหรือมะละกาที่ปลายแหลมมลายู สอดคล้องกับประวัติศาสตร์จีนเมื่อครั้งฉินซีฮ่องเต้ส่งกองทัพเข้ายึดครองดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือของราชวงศ์เเมนสมแห่งชนชาติอ้ายไต พระพี่นางของเจ้าตาโกลา(จังหวัดตรัง) ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าในสายราชวงศ์แมนสม ที่สิ้นพระชนม์กลางสมรภูมิ ที่เหลืออพยพไปเกาะไต้หวันหรือไตวัน ต่อมามหาจักรพรรดิท้าวกุเวรไปรับตัวพระพี่นางโดยให้ประทับอยู่ที่แคว้นโพธิ์นารายณ์และแต่งตั้งเป็นพระชายา พาไปพำนักที่เกาะพี่นาง ต่อมาเรียกเป็นปีนัง ( Penang ) ราว พ.ศ. 323 ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นแคว้นไทรบุรี

ส่วนเจ้าตาโกลาแห่งแคว้นตาโกลา (ตรัง) มีมเหสีและชายาหลายองค์ โอรสแต่ละองค์มีชื่อขึ้นต้นว่า โกลา ต่างไปสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมากมาย เช่น โกลากัง (กัวลากังซาร์) โกลาอำเภอ (กัวลาลัมเปอร์) โกลาบารัง (กัวลาบารัง) โกลาการาล (กัวลากราล) โกลาตารัง (กัวลาตรัง) โดยขยายตัวมากในสมัยมหาจักรพรรดิเจ้าหารคำ เนื่องจากฉินซีได้รุกไล่ทำให้กลุ่มเจ้าอ้ายไตต้องอพยพเข้าดินแดนสุวรรณภูมิ รวมกับเชื้อสายอ้ายไตที่ได้อยู่ก่อนมานานแล้ว

ฉินซีฮ่องเต้ใช้แผนกลืนชาติ โดยอพยพประชาชนจากทางเหนือของอาณาจักรเจ็คเข้ามาตั้งรกรากปนกับพวกอ้ายไต แล้วเกณฑ์แรงงานขุดคลองเชื่อมแม่น้ำหลายสาย ที่เรียกว่าคลองจักรพรรดิ หรือ Grand Canals เช่น แม่น้ำเชียงเจียง แม่น้ำหลีเจียง แม่น้ำจูเจียง และแม่น้ำแยงซีเจียง ( Yangzi Jiang ) เพื่อใช้ลำเลียงทหารลงสู่ดินแดนตอนใต้ จึงเป็นอีกช่วงเวลาที่พวกอ้ายไตอพยพเข้าสู่สหราชอาณาจักรเทียน โดยส่วนใหญ่จะตั้งรกรากของตนในอาณาจักรนาคน้ำ
หนันเจ้าเป็นอาณาจักรของชนชาติอ้ายไตอีกอาณาจักรหนึ่ง ก่อนเกิดสงครามเหล็กพวกเชื้อสายอ้ายไตและที่ผสมรวมกับพวกพื้นเมืองไปเย่ ตั้งถิ่นฐานกระจายไปทั่วในดินแดนทางใต้ ภาคกลาง ตะวันออกและตะวันตกของอาณาจักรเจ็ค หลังจากพวกชนชาติอ้ายไตค้นคิดแร่เหล็กประกอบเป็นอาวุธได้ ทำให้สามารถขยายดินแดนยึดครองทางเหนือของจีนเป็นอาณาจักรแมนจูเจ้าหรืออาณาจักรแมนสรวง ทำสงครามผลัดกันแพ้และชนะกับฝ่ายอาณาจักรเจ็ค

ในสมัยราชวงศ์เป่ยเว่ย(Beiwei หรือเว่ยเหนือ ) ในราวยุคสามก๊ก ของอาณาจักรเจ็ค สามารถยึดครองดินแดนของชาวอ้ายไตได้เป็นจำนวนมาก พวกอ้ายไตที่เหลืออยู่รวมตัวเป็นแคว้นเพื่อตีโต้หวังยึดอำนาจคืน ได้แก่ แคว้นแมนจูเจ้า (อาณาจักรแมนสม) แคว้นไตหวัน (อาณาจักรแมนสรวง) แคว้นฉู่ (อาณาจักรเสฉวน) แคว้นสู่ (เสฉวนตะวันตก) แคว้นอู๋ (อาณาจักรเสี่ยงให้) แคว้นเย่ (อาณาจักรไตจ้วง) แคว้นเก้าเจ้า (อาณาจักรอันหนำ) แคว้นหูหลำ (อาณาจักรไหหลำ) แคว้นยืนนาน (อาณาจักรหนานเย่) และแคว้นฉาน (อาณาจักรไตใหญ่) โดยเข้าเป็นพันธมิตรทางสหราชอาณาจักรเทียน อาศัยความสัมพันธ์ด้านเชื้อชาติดั้งเดิม

พ.ศ.333 ฉินซีฮ่องเต้สวรรคต สหราชอาณาจักรเทียนได้นำพระพุทธศาสนาสู่ดินแดนหนันเจ้า เกิดการปกครองระบบใหม่เปลี่ยนเป็นระบบสหราชอาณาจักร
เมื่อ พ.ศ.386 ฮ่องเต้ฮุ่ยตี้สวรรคต ได้ฮ่องเต้องค์ใหม่ คือ ฮั่นจิงตี้ ( Emperor Jing of Han) ครองราชระหว่าง พ.ศ.386-402 ได้เกิดกบฏ 7 หวังหรือกบฏ 7 แคว้น มีสงครามแย่งชิงดินแดนหนันเจ้าจากฝ่ายจีน สหราชอาณาจักรเทียนต้องส่งกองทัพเข้าหนุนช่วยหนันเจ้า เกิดสงครามกลางเมืองในจีนร่วม 8 ปี


สืบเนื่องมาจากเมื่อ พ.ศ.342 กองทัพของอาณาจักรมองโกเลียหรือชนชาติซ่งหนู ปิดล้อมเมือง ฮ่องเต้ฮั่นเกาตี้ยอมจำนนขอเป็นพันธมิตรโดยยกราชธิดาให้แก่มหาราชาของมองโกเลีย และใช้พวกซ่งหนูไปทำสงครามปราบหนันเจ้า แต่เกิดความไม่สงบในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ตระกูลเจ้าแซ่หลิวเข้ายึดอำนาจ สถาปนาฮ่องเต้ฮั่นเหวินตี้ (Han Wendi )



มาปี พ.ศ.367 พวกซงหนู หรือ เซียงหนู ( Xiongnu ) ที่เป็นชนเผ่าเร่ร่อนทางเหนือของจีนที่ชำนาญการขี่ม้าและยิงธนู ได้ร่วมมือกับจีนทำสงครามใหญ่บุกหนันเจ้า สังหารมหาจักรพรรดิของหนันเจ้า ชนเชื้อสายอ้ายไตลุกขึ้นต่อสู้ การสู้รบขยายไปทั่ว สหราชอาณาจักรเทียนส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ ทางหนันเจ้าสามารถยึดดินแดนกลับคืนมาได้หลายเมือง เช่น กุ้ยหลิน(กวางสี) หนำไห่(กวางตุ้ง) แคว้นเสียง (เซียงไฮ้)

ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้หรือฮั่นฮวงหมิง ครองอำนาจระหว่าง พ.ศ.403 ถึง456 ทรงทำสงครามหนักกับอาณาจักรมองโกล ( Xiongnu Empire ) ช่วงเวลาที่ฮั่นบู่ตี้ติดพันทำสงครามกับมองโกล สหราชอาณาจักรหนันเจ้าได้สร้างเสริมความเข้มแข็งโดยเฉพาะการนำพุทธศาสนาจากสหราชอาณาจักรเทียนเข้าไปเผยแพร่อย่างรวดเร็ว

พอหมดศึกมองโกล ฮั่นบู่ตี้ก็หันเข้ามาจัดการกับชนชาติอ้ายไตอย่างจริงจัง โดยเปิดฉากทำสงครามตีชิงแคว้นต่างๆของอ้ายไต พุทธศาสนาได้ตั้งหลักปักฐานในอาณาจักรหนันเจ้าเดิม รวมถึงบางแคว้นของอาณาจักรจีน ทำให้ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้วิตกว่าศาสนาพุทธจะเป็นภัยสั่นคลอนความมั่นคงและแสนยานุภาพของจีน จึงใช้ขุนนางไปสืบจนทราบความว่าสหราชอาณาจักรเทียนเป็นผู้นำเอาระบบการปกครองใหม่และพุทธศาสนาเข้าไปหนันเจ้า ทำให้เกิดความเป็นปีกแผ่นมั่นคงขึ้นเรื่อยมา ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ถึงกับตราพระราชบัญญัติลอกเลียนแบบเมื่อ พ.ศ.416 ให้ทายาทคนหัวปีของเจ้าผู้ครองนคร แบ่งอำนาจการปกครองจากบิดาได้เพียงครึ่งเดียว ส่วนที่เหลือต้องแบ่งให้น้องชายคนอื่นๆไปปกครอง เป็นเหตุให้เกิดการสร้างบ้านแปลงเมือง ขยายเมืองออกไปเรื่อยๆ หลายชั่วคน เป็นการขัดขวางหรือกีดกันการขยายดินแดนของชนชาติอ้ายไตในเวลานั้น

ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้จัดการกับสหราชอาณาจักรหนันเจ้าและกำจัดอำนาจของสหราชอาณาจักรเทียนไปพร้อมๆกัน โดยพยายามสานไมตรีกับดินแดนฟากตะวันตก แม้กระทั่งอินเดียหรือสหราชอาณาจักรภารตะ และกับอิหร่านหรือรัฐปักเตรีย เพราะสหราชอาณาจักรเทียนนำสินค้าจากหนันเจ้า ไปค้าขายกับอินเดียทางเรือโดยส่งสินค้ากันที่เมืองหนำหาย ( Namhai Guandong ) หรือ กวางตุ้ง


สหราชอาณาจักรหนันเจ้าได้ถูกยึดครองอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่ พ.ศ.421 ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้สั่งสังหารล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติอ้ายไตที่เกือบทั้งหมดเป็นชาวพุทธ ในพ.ศ.433-435 เกิดการอพยพอีกครั้งใหญ่ของชนชาติอ้ายไตจากหนันเจ้าเข้าสุวรรณภูมิจำนวนมากประมาณถึงวันละ 2,000 ครัวอย่างต่อเนื่องร่วม 3 ปี สหราชอาณาจักรเทียนต้องรับรองผู้อพยพและต้องจัดส่งกองทัพเข้าไปช่วยในการสู้รบที่ติดพันกันหลายครั้ง ดินแดนที่เหลือของหนันเจ้าก็เข้ามารวมอยู่กับสหราชอาณาจักรเทียนในฐานะรัฐหนันเจ้า ตั้งแต่ปี 436 เช่น อาณาจักรหนันเย่(เจ้อเจียงและเจียงซู) อาณาจักรไทยใหญ่ (ฉานก๊ก) อาณาจักรอ้ายลาว (ลาว) อาณาจักรแมนสรวง (ไต้หวัน) อาณาจักรเก้าเจ้า (เวียดนามตอนเหนือ) และอาณาจักรหูหลำ (ไหหลำ)


พระเจ้าอโศกมหาราช
และดินแดนสุวรรณภูมิ


ประวัติศาสตร์อินเดียและกรีก ระบุตรงกันว่า เมื่อ พ.ศ.277 พระเจ้าอโศกมหาราช ทำสงครามใหญ่ที่เรียกว่าสงครามกลิงค์ (Kalinga War) เพื่อรวบรวมดินแดนของ อินเดียเข้าด้วยกัน เป็นผลให้ชนชาติกลิงค์รัฐจากอินเดียตอนใต้จำนวน 200,000 คน อพยพลงมาสู่ดินแดนเกษียรสมุทร ที่ครอบคลุมเกาะชวา สุมาตราและ บาหลี จนซึมแทรกเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นชนชาติทมิฬอีกไม่ตํ่ากว่า 200,000 คนก็หลั่งไหลตามเข้ามา


ต่อมาเกิดการสู้รบของสองชนชาตินี้ในดินแดนเกษียรสมุทร (ชวา สุมาตรา บาหลี) ทำให้พวกกลิงค์ถอยเข้ามาตั้งรกรากในสุวรรณภูมิ ระยะนั้นชนชาติกลิงค์จากหมู่เกาะพระกฤต(เกาะชวา) ก็ยกทัพเข้าปราบพวกทมิฬที่เกาะกาละ(สุมาตรา) จึงมีพวกทมิฬหนีการสู้รบเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิเช่นกัน ชนชาติกลิงค์ได้เปิดฉากยึดครองแคว้นชัยเทศ (กลันตัน) ราชวงศ์ชัยเทศ หลบหนีไปร่วม กับแคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) และแคว้นสุธรรม (ทุ่งสง) เข้าตีโต้พวกกลิงค์ ปิดล้อมจนได้รับชัยชนะมีการเปลี่ยนชื่อแคว้นชัยเทศเป็นแคว้นกลิงค์ตัน (กลันตัน) ตันคือปิดล้อม ในราวพ.ศ.297

ขณะที่ชนชาติกลิงค์จากเกาะพระกฤต(เกาะชวา)บุกเข้ายึดแคว้นตาโกนา เจ้าอ้ายไตสายราชวงศ์จิว หลบหนีเข้าไปร่วมกับแคว้นตาโกลา(ตรัง)และแคว้นตาโกป่า (ตะกั่วป่า) เข้าโต้ตอบกองทัพของกลิงค์จนเสียชีวิตเกือบทั้งหมด เปลี่ยนชื่อแคว้นตาโกนาเป็นแคว้นกลิงค์พัง พังหมายถึงพินาศย่อยยับ คือบริเวณจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน


ราว พ.ศ.297 พวกกลิงค์ยังเข้าไปยึดครองแคว้นคลองหิต (คันธุลี Khanthuli อ.ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี) นครหลวงของอาณาจักรสุวรรณภูมิ ท้าวอินทปัตสวรรคตในสมรภูมิ พวกกลิงค์เปลี่ยนชื่อเป็นกลิงค์รัฐ มหาอุปราชท้าว หมึง(ท้าวคำบาง)ได้นำโอรสฝาแฝดคือเจ้าชายตาแก้ว(มหารัตนกุมาร)และเจ้าชายออกแก้ว (จุลรัตนกุมาร)หลบหนีภัยสงครามของชนชาติกลิงค์มุ่งไปยังดินแดนสุวรรณเขต ท้าวหมึงได้สร้างเมืองสุวรรณเขตหรือเมืองอินทปัตจะให้เป็นนครหลวงใหม่ของอาณาจักรสุวรรณภูมิ แต่ท้าวหมึงไม่ได้ทำสงครามขับไล่กลิงค์และทมิฬที่เข้ารุกรานดินแดนสุวรรณภูมิ

มหาราชาท้าวกูจึงต้องกอบกู้แทน อาณาจักรสุวรรณภูมิจึงแบ่งเป็นพวกมึง กับ พวกกู มหาราชาท้าวหมึงไม่ได้รับการยอมรับจนต้องเปลี่ยนชื่อแคว้นที่สร้างใหม่เป็นแคว้นอินทปัต และเปลี่ยนพระนามเป็นท้าวคำบาง เมื่อเจ้าชายฝาแฝดทั้งสองจำเริญวัยขึ้น เจ้าชายออกแก้วกับเจ้าชายตาแก้วก็ได้ไปสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นเป็นแคว้นในอาณาจักรนาคดิน ดังตำนานอุรังคธาตุหรือตำนานเกิดพระธาตุพนม

พระเจ้าอโศกมหาราช
กับพุทธศาสนา



พระเจ้าอโศกมหาราชเกิดความเบื่อหน่ายสังเวชสลดใจจากการศึกทำสงครามที่นองเลือด หลังจากได้สนทนาธรรมกับพระภิกษุอุปคุปต์ พระองค์ทรงเลื่อมใสพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ.277 ได้เปลี่ยนจากศาสนาพราหมณ์มาเป็นพุทธ ระหว่าง พ.ศ.290-297 ทรงเดินทางไปจาริกแสวงบุญในหลายแห่ง สันนิษฐานว่าในพ.ศ.296-297 ได้เสด็จเยือนแคว้นมิถิลาแห่งสหราชอาณาจักรเทียน พระเจ้าอโศกทรงเชื่อคำทำนายว่าดินแดนสุวรรณภูมิ ( Suvanaphum ) จะเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พุทธศาสนาต่อไปภายหน้าถึง 5,000 ปี จึงได้เสด็จสุวรรณภูมิ ทำให้มหาราชาท้าวกูและโอรสคือมหาอุปราชท้าวกุเวร รวมทั้งเจ้าโกแมนสม ได้ฟังคำสอนจากพระอุปคุปต์ (พระบัวเข็ม) ที่ตามเสด็จมา จนกษัตริย์อ้ายไตทั้งสามพระองค์เกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนา เป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกๆที่ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา

ก่อนหน้านั้นนับพันปีก่อนพุทธกาล ชนชาติอ้ายไตในสุวรรณภูมิยึดถือศาสนาพราหมณ์ที่พระกฤษณะ ( Krishna ) นำมาเผยแผ่ในแคว้นสุวรรณภูมิ ประชาชนในสุวรรณภูมิยุคโบราณมีความเชื่อและหวังพึ่งดวงวิญญาณพระกฤษณะและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพลังอิทธิพลที่อยู่เหนือการกระทำและความสามารถของมนุษย์ โดยไม่พยายามที่จะใช้ศักยภาพหรือพลังสติปัญญาของตนเอง จนกระทั่งพระเจ้าอโศกมหาราชได้นำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่อย่างจริงจังในดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยของมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร ศาสนาพุทธจึงได้ลงหลักปักฐานในดินแดนสุวรรณภูมิสืบต่อมา


ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงแนะนำวิธีการปกครองที่จะสร้างความมั่นคงให้แก่ดินแดนสุวรรณภูมิ และได้เข้าร่วมพิธีมหาบรมราชาภิเษกของมหาจักรพรรดิท้าวกุเวรแล้วเปลี่ยนชื่อจากอาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นสหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ พ.ศ.297 เปลี่ยนจากระบบอาณาจักรมาเป็นระบบสหราชอาณาจักร ซึ่งพระเจ้าอโศกได้ใช้ปกครองอินเดีย มีคณะที่ปรึกษาจากอินเดียช่วยจัดวางระบบ ภายหลังพระเจ้าอโศกได้ส่งพระเจ้าหลานคือพระเจ้าสุมิตรหรือท้าวหารคำ ให้เข้ามาร่วมให้คำปรึกษาและร่วมพัฒนาระบบอย่างใกล้ชิด มหาจักรพรรดิท้าวกุเวรได้ออกกฎมณเฑียรบาลให้มหาจักรพรรดิหรือจักรพรรดิต้องนับถือศาสนาพุทธ และถ้าสุขภาพไม่ดีหรืออายุถึง 80 ปี ให้สละราชสมบัติ ออกผนวชหรือ พักผ่อน เป็นที่ปรึกษาอย่างหนึ่งอย่างใด

พระเจ้าสุมิตร (หารคำ)เป็นพระราชโอรสของพระอัคนิพราหมณ์ และ พระนางสังฆมิตร (Sanghamitta) ราชธิดาของอโศกมหาราช ประสูติเมื่อ พ.ศ.278 หลังจากทรงออกผนวช ก็ได้เป็นกษัตริย์ในแคว้นหนึ่งในศรีลังกา พระเจ้าอโศกส่งพระเจ้าสุมิตร พร้อมพระสมณฑูตสายสุวรรณภูมิ (พระโสณะเถระ-พระอุตตระเถระ Sona - Uttara ) ร่วมเดินทางสู่สหราชอาณาจักรเทียน ได้รับแต่งตั้งจากมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร เป็นนายกสหราชอาณาจักร ประจำกรุงพรหมทัศน์(ยะลา)แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นเจ้าหารคำ ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเชียงเม่งกุ้ย ธิดาของมหาราชาโกแมนสมแห่งแคว้นมิถิลา(ไชยา)


ได้วางรากฐานการปกครองและพุทธศาสนาให้มีรากฐานเข้มแข็งในแดนสุวรรณภูมิ รวมทั้งพัฒนาด้านการค้าต่างประเทศจนมีความมั่งคั่ง เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาการคล้องช้าง เลี้ยงช้าง การดูลักษณะช้างเพื่อคัดเลือกเอามาเป็นช้างศึกใช้ในการสงครามและใช้งานได้ กลายเป็นกองทัพช้างที่ใช้ทำสงครามป้องกันตนเองจากกองทัพจีน รวมทั้งกลิงค์และทมิฬ ต่อมาได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิท้าวหารคำ ต่อมามหาจักรพรรดิท้าวกุเวร สละราชสมบัติออกบวชใน พ.ศ. 337 หลังครองราชย์ได้ 40 ปี จักรพรรดิหารคำพระชนมายุ 59 พรรษาได้เป็นมหาจักรพรรดิท้าวหารคำ นครหลวงของสหราชอาณาจักรเทียน เปลี่ยนจากกรุงพรหมทัศน์(ยะลา)เป็นกรุงมิถิลา (ไชยา) เจ้านกหยก พระราชโอรสองค์ที่ 2 ของมหาจักรพรรดิท้าวหารคำ จากแคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ขึ้นเป็นจักรพรรดิเจ้านกหยก

สำหรับมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร ซึ่งออกบวช ณ ถํ้าคูหา (วัดถ้ำคูหาภิมุข ยะลา) ได้ปฏิบัติกรรมฐานปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดแล้วสวรรคตเมื่อพระชนม์ 89 พรรษา นับเป็นกษัตริย์ราชวงศ์อ้ายไตองค์แรกที่เชื่อกันว่าบรรลุญาณ จึงได้มีการสร้างพระพิมพ์ดินเผา 86,000 องค์ แจกจ่ายไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ ทั่วสหราชอาณาจักรเทียน มีผู้ขุดพบภายในวัดถ้ำคูหาภิมุขหรือวัดหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา เมื่อ พ.ศ.2492 ซึ่งด้านหลังมีคำว่าเยธัมมาฯ ที่แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด ที่เป็นหลักของเหตุและผล ที่ยึดถือกันในสมัยนั้น


ความเป็นมาของขอม :

เดิมเชื่อกันว่าพวกขอมเป็นบรรพบุรุษของชาวเขมร เป็นมหาอำนาจในยุคก่อนสุโขทัยที่ยึดครองดินแดนของประเทศไทย บางคนอ้างไปถึงโบราณสถานตั้งแต่นครธม นครวัด ยันปราสาทพระวิหาร ไปจนถึงตะวันตกตรงชายแดนไทยในกาญจนบุรี ได้แก่หลักฐานของปราสาทเมืองสิงห์
พระเจ้าสุมิตรที่ได้ขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิเจ้าหารคำคือต้นราชวงศ์ขอม-ไทย โดยส่งพระราชโอรสคือเจ้าชายนกหยกไปสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นในบริเวณปัตตานีเมื่อประมาณพ.ศ.327 เป็นต้นกำเนิดของ แคว้นลังกาสุกะของอาณาจักรนาคน้ำ มีการสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบพระราชวังหลวง ป้องกันการรุกรานของชนชาติกลิงค์และทมิฬ ถือเป็นสายราชวงศ์โคตมะที่หลงเหลือจากการกวาดล้างทำลายของพระเจ้าวิฑูฑภะที่ได้ยกกองทัพไปตีเมืองกบิลพัสดุ์ กำจัดพวกศากยวงศ์ ทำลายเมืองกบิลพัสดุ์ราบไปในปีสุดท้ายก่อนที่พระพุทธเจ้าปรินิพาน อาณาจักรคามลังกานี้ ซึ่งหลายส่วนเป็นกัมพูชาและลาว รวมทั้งในไทย แคว้นคามลังกาหมายถึงเมืองจันทบุรี

ส่วนอาณาจักรคามลังกาเรียกอีกชื่อว่าอาณาจักรขอม หรือเจนละ ( Jen La ) ของราชวงศ์ขอม-ไต ประกอบด้วยแคว้นสุวรรณเขต(ขณะนั้นครอบคลุมทั้งลาวและกัมพูชา) แคว้นจุลนี(หรือหลินหยี่ในเวียตนามใต้แถวไซ่ง่อน) แคว้นออกแก้ว(ในฟูนันปากแม่น้ำโขงของเวียตนาม) แคว้นอินทปัต(บริเวณยะลาหรือนาคน้ำ) แคว้นตาแก้ว (ตะวันออกเฉียงใต้ของกัมพูชาเลียบอ่าวไทย) แคว้นโพธิสัตว์(เมืองโพธิสัตว์ทางตะวันตกของกัมพูชา)

ต่อมามีการอพยพของชนชาติอ้ายไตจากหนันเจ้า จักรพรรดิเจ้าหารคำให้เจ้าม้าทองอพยพไพร่พลจากเมืองสมุทร (สมุทรสงคราม) บางส่วน ไปสร้างเมืองใหม่ที่จันทบุรีโดยเริ่มแรกส่วนใหญ่เป็นชาวลังกาที่นับถือพุทธ จึงเรียกกันว่าคามลังกา (เมืองลังกา) และเรียกเป็นราชวงศ์ขอมไต หรือ ขอมไทย สันนิษฐานคำว่า ขอม น่าจะหมายถึง พวกก่อ-ล้อม คือการสร้างกำแพงเมืองรอบพระราชวังหลวง และคำว่า ขอม อาจหมายถึง โคตมะซึ่งเป็นวงศ์ตระกูลของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น โคมะ แล้วลงท้ายเป็น ขอม

การสร้างมหาวิทยาลัย
โพธิ์นารายณ์ ในสุวรรณภูมิ
:

ในรัชกาลมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร เจ้าหารคำได้สร้างพระราชวังหลวงแห่งใหม่ ล้อมรอบพระราชวังหลวงของมหาจักรพรรดิท้าวกุเวรแห่งกรุงพรหมทัศน์ แต่ร่องรอยนี้ถูกขุดไถเพื่อสร้างสนามบินจังหวัดยะลา บริเวณบ้านท่าสาป ต่อมามหาจักรพรรดิท้าวหารคำทรงสร้างมหาวิทยาลัยแห่งแรกขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ บริเวณใกล้เคียงวัดถ้ำคูหา มีการเปลี่ยนชื่อแควันพรหมทัศน์เป็นแคว้นโพธิ์นารายณ์ ช่องแคบพรหมทัศน์เปลี่ยนเป็นช่องแคบโพธิ์นารายณ์ มีมหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ตามแบบมหาวิทยาลัยนาลันทาของอินเดีย มีหลายสาขาวิชา เป็นครั้งแรกที่มีการสร้างกลุ่มปัญญาชนขึ้นมาอย่างเป็นระบบในดินแดนสุวรรณภูมิ มีกษัตริย์หลายองค์สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์

มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ได้คิดสร้างภาษาขอมไทย โดยยืมตัวอักษรบาลีและสันสกฤต ระหว่าง พ.ศ. 337-354 เชื่อว่าเป็นรากฐานของภาษาไทย มีหลักฐานภาษาขอมดังกล่าวในไม้ไผ่ หรือ สมุดดำ สมุดขาว ในใบลาน เป็นข้อยืนยันว่าชนชาติไทยมีตัวหนังสือใช้มาตั้งแต่หลังการจัดตั้งมหาวิทยาลัยโพธินารายณ์
ชนชาติมอญ-รามัญ
(Mon-Raman)
:

ทั้งชนชาติทมิฬและกลิงค์อพยพเข้าสุวรรณภูมิตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.277 จากการทำสงครามรวบรวมดินแดนในอินเดียของพระเจ้าอโศกมหาราช มี 3 อาณาจักรที่เข้มแข็งมากและเป็นปัญหาได้แก่ อาณาจักรกัศมีร์ กลิงค์รัฐ และทมิฬ ศิลาจารึกหลักที่ 13 ของพระเจ้าอโศก กล่าวถึงการทำสงครามปราบกลิงค์รัฐ (Kalinga War ) ว่ามีชาวกลิงค์จำนวน 150,000 คน ถูกจับเป็นเชลย พลินีนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกได้สรุปว่าทหารและประชาชนกลิงค์รัฐต้องล้มตายไปถึง 200,000 คน

การอพยพทั้งของชาวกลิงค์ (Kaling) และทมิฬ (Tamil) ลงสู่อาณาจักรเกษียรสมุทร (สุมาตรา) ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอินเดียในสมัยนั้น รวมทั้งดินแดนสุวรรณภูมิ สร้างความยุ่งยากแก่เชื้อสายเจ้าอ้ายไต ซึ่งเข้ามาตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้วกว่าพันปี กลายเป็นภัยคุกคามใหม่ของอาณาจักรสุวรรณภูมิ ผู้อพยพชนชาติกลิงค์เหล่านี้เป็นต้นตระกูลของชนชาติมอญ ส่วนชนชาติทมิฬก็ตั้งรกรากบริเวณหมู่เกาะชวาตะวันตก(เกาะสุมาตรา) อีกส่วนหนึ่งกระจายเป็นประชาชนส่วนมากของกัมพูชาและพม่า ต่อมาทั้งทมิฬกับกลิงค์มักก่อสงครามระหว่างกันเอง ทำให้บางส่วนต้องอพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ บางส่วนกลับคืนสู่อินเดียบ้านเกิด มีบางส่วนหลบเข้ามาตั้งรกรากแถวจังหวัดระนอง รวมกับชนชาติกลิงค์กลายเป็นชนชาติรามัน

สงครามชวากะรัฐ
ช่วงพ.ศ. 280-297
ภายหลังที่ชนชาติกลิงค์ (Kalinga) เข้ายึดครองเมืองครหิ(คลองหิต) แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น กลิงค์รัฐ เป็นช่วงเวลาที่พระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาจาริกแสวงบุญในดินแดนสุวรรณภูมิ ระหว่าง พ.ศ. 296-297 ทำให้ชนชาติกลิงค์ยินยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อสหราชอาณาจักรเทียน โดยประสานงานผ่านคณะราชทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช เปลี่ยนชื่อกลิงค์รัฐเป็นแคว้นมอญกลิงค์ หรือแคว้นชวากะรัฐ ชนชาติทมิฬได้ผสมกับชนพื้นเมืองแขกดำชนเผ่าชวา เรียกว่าชนชาติมอญ (Mon)

แคว้นชวากะรัฐ (คันธุลี) ได้รวมเข้ากับสหราชอาณาจักรเทียน ภายหลังพระเจ้ากาแลงโอรสของพระเจ้ามอญขึ้นครองราชย์ ได้ร่วมสมคบกับชาวกลิงค์รัฐแห่งหมู่เกาะพระกฤต(ชวา) ลักลอบนำชนชาติกลิงค์เข้ามาเตรียมแข็งข้อต่อสหราชอาณาจักรเทียน เริ่มไม่ส่งภาษีจากทองคำที่ขุดได้จากเมืองคลองหิต เตรียมทำสงครามกับแคว้นมิถิลาซึ่งเป็นแคว้นนครหลวงของสหราชอาณาจักรเทียน ฝ่ายมหาจักรพรรดิเจ้าหารคำขณะประทับอยู่ที่แคว้นลังกาสุกะ ในวัย 80 พรรษา กำลังเตรียมสละราชสมบัติเพื่อออกบวชได้มอบให้จักรพรรดิเจ้าม้าทองขึ้นแทน ครั้นรับทราบเหตุการณ์จึงเสด็จสู่แคว้นมิถิลา

เมื่อทราบชัดเจนว่า ชนชาติมอญ แห่งชวากะรัฐ ได้ละเมิดสัญญาและกล้าประกาศตัวเป็นอิสระ จึงส่งคณะทูตไปเจรจาก่อน ณ สำนักสงฆ์ ภูเขาชวาลา แต่พระเจ้ากาแลงวางอุบายใช้กองเรือมอญเข้าล้อมเรือพระที่นั่ง กองทัพจากแคว้นมิถิลาและสหราชอาณาจักรเทียน ที่ทุ่งพนมแบกทราบข่าว จึงยกกำลังเข้าโจมตีแคว้นชวากะรัฐ พร้อมทั้งส่งกองทัพเรือเข้าช่วยเรือพระที่นั่งฝ่าวงล้อมสู่ชัยภูมิของเมืองสมุทร แห่งแคว้นราชคฤห์ (โพธาราม) พระเจ้ากาแลงนำกำลังกลิงค์-มอญ ติดตามไล่ล่ากระชั้นชิด เกิดการสู้รบหนักหน่วงที่ทะเลปากน้ำเมืองสมุทร พระเจ้ากาแลงสิ้นพระชนม์กลางสมรภูมิ เมืองสมุทรถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสมุทรสงคราม
แคว้นชวากะรัฐถูกยึดครองโดยสหราชอาณาจักรเทียน และทำการปราบปรามพวกกลิงค์รัฐที่อพยพมาจากเกาะพระกฤต รวมทั้งบรรดานักรบของชนชาติมอญ จนเหตุการณ์สงบราบคาบเบ็ดมหาราชาเชียงสงแห่งแคว้นมิถิลาของอาณาจักรนาคฟ้าทรงโปรดให้ พระเจ้าตาแลง ซึ่งมีเชื้อสายมอญและอ้ายไตขึ้นปกครองแคว้นชวากะรัฐ ในราว พ.ศ.358



กำเนิดอาณาจักรอิสานปุระ

ประมาณ พ.ศ. 678 เจ้า ชายมังเคร ชนชาติกลิงค์จากอาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา)ยกทัพตามการยุยงของมหาอาณาจักร จีนเข้ายึดแคว้นชวากะรัฐของสหราชอาณาจักรเทียนสนแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นแคว้น กลิงค์รัฐ จับพระเจ้ามอญประหารชีวิต
ต่อมาพ.ศ.691 ขุนเทียน หรือมหาจักรพรรดิท้าวพันตา ซึ่งต่อมาไม่นานได้ขึ้นเป็นรัชกาลที่ 1 ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำสงครามกวาดล้างพระเจ้ามังเครแห่งกลิงค์รัฐ ( แคว้นชวากะรัฐ ) หรือแคว้นกลิงค์มอญ พระเจ้ามังเครสิ้นพระชนม์ พระนางมอญมเหสีของพระเจ้ามังเครยอมสิโรราบยกไพร่พลจากแคว้นกลิงค์รัฐไปสร้างแคว้นอิสานปุระ(แคว้นกาละศีลหรือเจนละ) มีพระนางอิสานปกครอง ขุนเทียนได้พระนางอิสานมาเป็นชายาอีกพระองค์หนึ่ง พระนางอิสานมีโอรสกับขุนเทียน 4 พระองค์ คือ เจ้าชายอิสาน เจ้าชายฟ้าแดด เจ้าชายฟ้าสูงและเจ้าชายฟ้ายาง เจ้าชายฟ้าอิสานเป็นบรรพบุรุษของพระเจ้าจิตรเสน แต่ ราชวงศ์มอญ ที่ได้อพยพจากแคว้นชวากะรัฐไปตั้งแว่นแคว้นใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของขุนเทียน คือ แคว้นอิสานปุระ ในชั้นต่อๆมา ได้ก่อปัญหาต่อศูนย์กลางของอำนาจรัฐไทยโบราณหลายครั้ง เช่น ในปี พ.ศ. 1082 พระเจ้าภววรมัน มหาราชาแห่งแคว้นยโสธรของอาณาจักรอิสานปุระ ก่อกบฏยกทัพเข้ายึดครองอาณาจักรอ้ายลาวตีแคว้นเวียงจันทน์ และให้มหาอุปราชพระเจ้ายโสธรยกทัพอีกด้านเข้ายึดครองดินแดนของแคว้นอินทปัต ในอาณาจักรคามลังกา ต่อมามหาจักรพรรดิหยางจ้าวจูเหลียนแห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มอบให้ขุนหลวงจิวโต พระราชโอรสคือขุนหลวงจิว ใหญ่ นำทัพเข้าปราบในปี พ.ศ.1083 สามารถตีแคว้นเวียงจันทน์และอินทปัตกลับคืนมาได้ โดยฝ่ายอิสานปุระกลับมาสวามิภักดิ์ ธิดาของพระเจ้าศรีวรมันคือพระนางขอมอินทปัตได้เป็นชายาของขุนหลวงจิวใหญ่ มีโอรสด้วยกันสองพระองค์ คือ เจ้าชายมหาฤกษ์ (ต่อมาครองอาณาจักรละโว้) และเจ้าชายชัยฤทธิ์ซึ่งต่อมามีโอรสคือพระยากง

ใน พ.ศ. 1085 กองทัพขุนหลวงจิวใหญ่ยังร่วมกับท้าวอุเทนทำสงครามเอาอาณาจักรอ้ายลาวกลับคืน มาได้ แต่มหาอุปราชพระเจ้ายโสธรยังก่อสงครามที่เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้งและแคว้นสุริยะ (แถบเขาพระวิหาร) ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของแคว้นคามลังกา จนเกิดศึกหนัก ทำให้มหาราชาสุริยะของคามลังกาสิ้นพระชนม์ มหาอุปราชท้าวสมเดชะผู้เป็นพระราชโอรสต้องนำทัพขับไล่ข้าศึกจากอาณาจักรอิ สานปุระ และขึ้นเป็นมหาราชาแห่งอาณาจักรคามลังกา ใช้เมืองนางรองของแคว้นพนมรุ้ง(Phanomrung) เป็นเมืองหลวง แสดงให้เห็นถึงความกระด้างกระเดื่องของอาณาจักรอิสานปุระต่อสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
ลัทธิกล่าวหาใส่ความ
หรือวิชาทำตอแหล



กำเนิดลัทธิกล่าวหาใส่ความมีมาตั้งแต่สมัยรัฐไทยโบราณ ช่วง พ. ศ.
1129 - 1215 ที่กล่าวถึงพระแม่ธรณีบีบมวยผม หรือ พระนางอุษาซึ่งประทับบริเวณเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา ที่เป็นสัญลักษณ์ของการประปาและพรรคประชาธิปัตย์ที่สร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ มเหสีรัชกาลที่ 5 หรือ พระราชชนนีของรัชกาลที่ 6 และ 7 เพื่อจะแจกจ่ายน้ำดื่มสะอาดบริสุทธิ์ให้กับผู้คนทั่ว ๆ ไป เป็นสาธารณทานแก่ชาวกรุงเทพฯ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษาของพระองค์เมื่อ พ.ศ. 2456 เรื่องของแม่ธรณีตามคติความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู ถือว่าเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลก
แต่พระแม่ธรณีกรรแสง พระแม่ธรณีบีบมวยผมหรือพระแม่ธรณีแห่งแผ่นดิน ในตำนานทางปักษ์ใต้หมายถึงพระนางอุษาในยุคสหราชอาณาจักรคีรีรัฐตอนปลาย ราว  พ. ศ. 1200 เรียกตามตำนานเป็นพระแม่ธรณี เป็นผู้ให้กำเนิดวิชากล่าวหาใส่ความ จนแว่นแคว้นของรัฐไทยโบราณยุคนั้นแตกแยกกระจัดกระจาย ก่อนเข้าสู่ยุคศรีโพธิ์
รัฐของคนไทยโบราณสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษในอาณาจักรหนันเจ้า ซึ่งเป็นดินแดนในประเทศจีนปัจจุบัน มีตำนานที่ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี ก่อนสมัยพุทธกาล ว่าชาวไตหรืออ้ายไต ( Tai / Dai )ได้อพยพลงมา สู่ดินแดนที่ขึ้นต่อกับแผ่นดินแม่ของอาณาจักรหนันเจ้า จนได้แยกตัวก่อตั้งอาณาจักรสุวรรณภูมิ เมื่อสมัยของมหาราชาท้าวโกศล กระทั่งในราว พ.ศ.297 เข้าสู่ยุคสมัยของสหราชอาณาจักรเทียน มีมหาจักรพรรดิท้าวกุเวร พระราชโอรสของมหาราชาท้าวกู เป็นรัชกาลที่ 1 สืบทอดราชสมบัติจนถึงรัชกาลของมหาจักรพรรดิท้าวเทียนสน เมื่อ พ.ศ.623 จากได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหราชอาณาจักรเทียนสน มาสิ้นสุดลงเมื่อ พ.ศ.693 ยุคสมัยของขุนเทียน หรือมหาจักรพรรดิท้าวพันตาได้เปลี่ยนมาเป็นสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พระองค์เป็นรัชกาลที่ 1 แล้วสืบทอดการปกครองต่อมาอีกหลายรัชกาล กระทั่ง พ.ศ.1224 มีการเปลี่ยนชื่อเป็นสหราชอาณาจักรศรีโพธิ์ หรือสหราชอาณาจักรเสียมที่เราเข้าใจผิดเรียกเป็นศรีวิชัย

ความเป็นมาของพระแม่ธรณี
และวิชาทำตอแหล

เกิดขึ้นในช่วงปลายสหราชอาณาจักรคีรีรัฐระหว่างพ.ศ. 1129 - 1215 ในสมัยมหาจักรพรรดิ์หยางจ้าวหลีชุน รัชกาลที่ 37 ที่สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.1129 ในระหว่างสงครามกับอาณาจักรเวียตน้ำ(บอร์เนียว) พระราชวังสระทิ้งพระ (อ.สทิงพระ สงขลา) หรือกรุงพุทธทองถูกเผาทำลาย จักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศกแห่งแคว้นศรีโพธิ์อาณาจักรชวาทวีปขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิ์แทน ในตอนนั้นธิดา 5 นางต้องหลบหนีซ่อนตัวพร้อมขุนนางใกล้ชิดซึ่งเป็นขันทีในราชสำนักสองคน ชื่อ ตาตอและตาแหล พระยาเทพนิมิตรมหาราชาของอาณาจักรเทียนสน(นาคน้ำ)ได้ส่งทหารติดตามจนพบ ต่อมาได้รักกับพระนางอุษา แต่เมื่อมีการส่งตัวเจ้าสาวพระนางอุษาให้มหาราชาเทพนิมิตร ณ กรุงพุทธทอง ทุกวันนี้บรรดาคนเก่าแก่ที่สงขลา ยังคงเคารพพระเจ้าชุนผู้เป็นบรรพชน มีหลักฐานพิธีการส่งตัวพระนางอุษาไปให้แก่ ท้าวเทพนิมิตรจักรพรรดิอาณาจักรเทียนสุน เพื่ออภิเษกสมรสเป็นมเหสีเอกที่เรียกว่าพระแม่ธรณีแห่งแผ่นดิน คือมเหสีเอกขององค์จักรพรรดิและมหาจักรพรรดิ


พระเจ้าจิตรเสนแห่งราชวงศ์ขอม -มอญ -ทมิฬ วางกลอุบาย ให้พระยากง (ท้าวปรารพ) มหาราชาของแคว้นทวารวดี แห่งราชวงค์ขุนชัยฤทธิ์ ให้ลักพาตัวพระนางอุษา ไปยังเมืองกง บริเวณเทือกเขาภูพานไปพร้อมขุนนางขันทีคือ ตาตอและตาแหล ภายหลังจากที่พระนางอุษาได้อยู่กินในฐานะมเหสีรอง มีโอรสด้วยกัน 1 คน คือ เจ้าชายศรีธรนนท์

มหาจักรพรรดิ์ขุนหลวงไกลโศกจึงต้องส่งเจ้าหญิงศรีโพธิ์ หรือ พระนางแพรไหม (น้องสาวของพระนางอุษา)ไปอภิเสกสมรสแทน ในขณะที่มหาราชาเทพนิมิตรถูกวางตัวให้เป็นจักรพรรดิและมหาจักรพรรดิ ทั้งๆที่พระนางอุษาเป็นธิดาองค์โตของมหาจักรพรรดิจ้าวหลีชุนแห่งสหราช อาณาจักรคีรีรัฐจึงมีความชอบธรรมที่จะได้เป็นมเหสีของว่าที่มหาจักรพรรดิ์ ท้าวเทพนิมิตรและพระนางอุษาก็จะต้องได้เป็นพระแม่ธรณีแห่งดินแดนสุวรรณภูมิ จึงทำให้พระนางอุษามีความฝังใจที่จะต้องเป็นพระแม่ธรณีตามสิทธิ์ของนางแต่ เดิมให้จงได้ จึงได้ร่วมวางแผนการใหญ่กับตาตอและตาแหลเพื่อผลักดันให้พระยากงขึ้นเป็นมหา จักรพรรดิของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐให้จงได้

ขณะที่ท้าวเทพนิมิตรผู้ที่พระนางอุษาหมายปองไว้ก่อนก็ต้องทำการอภิเสกสมรสกับพระนางแพรไหมหลานของอดีตมหาจักรพรรดิเจ้าพระยาท่าข้ามเพราะมีกฎมณเฑียรบาลห้ามสตรีที่ถูกฉุดคร่า คือพระนางอุษาขึ้นเป็นราชินีหรือพระแม่ธรณีของแผ่นดินจากชีวิตอันร้าวรันทดและถูกข่มเหงทำให้เจ็บช้ำน้ำใจหลายครั้งหลายหนและจากความผิดหวังที่ทำให้พระนางอุษาซึ่งเป็นราชธิดาองค์โตของมหาจักรพรรดิไม่ได้เป็นพระมเหสีเอกของจักรพรรดิและมหาจักรพรรดิ ทำให้พระนางอุษาเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละคน ยอมตนเป็นเครื่องมือให้พระเจ้าจิตรเสน มหาราชาเชื้อสายมอญทมิฬผู้ครองแคว้นอีสานปุระซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐใช้เป็นเครื่องมือคิดในการสถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิ
พระเจ้าจิตรเสน ( หรือมเหนทรวรมัน ) ผู้มีเชื้อสายมอญและทมิฬ มีความจัดเจนในกลอุบายการเข้าแทรกเพื่อแบ่งแยกบ่อนทำลายศัตรู ได้เสี้ยมสอนวิชากล่าวหาใส่ความปลุกปั่นยุยงให้แก่พระนางอุษา เพื่อผลักดัน ขุนศรีทรนนท์พระโอรสองค์รองของพระนางอุษา ให้ขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิ เป็นการวางกลศึกเสี้ยมเขาควายให้ชนกัน สร้างความแตกแยกในศูนย์กลางอำนาจรัฐไทยอย่างลึกซึ้ง ใช้วิชาใส่ความกล่าวหาเพื่อบ่อนทำลายโดยการพูดความจริงผสมความเท็จแล้วหันเหสร้างประเด็นใหม่ให้ผู้คนไขว้เขวและเข้าใจผิด เป็นวิธีการโค่นล้มและทำลายฝ่ายตรงกันข้ามที่ได้ผลอย่างลึกซึ้งจนกลายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองที่เครือข่ายฟื้นฟูอำนาจกษัตริย์นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้สังคมไทยเกิดความแตกแยกและชิงชันกันอย่างลึกซึ้งและรุนแรงมา
เป็นช่วงกาลียุคโดยแท้จริง รัฐไทยวิวาทขัดแย้งแตกแยกออกเป็น 6 ก๊ก ทำสงครามทำลายล้างเข่นฆ่ากันเอง ล้มตายเป็นใบไม้ร่วง เพียงเพราะสตรีผู้หนึ่งที่ผิดหวังรุนแรงในความรัก แล้วต้องการสร้างทายาทของตัวเองให้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน คือเจ้าหญิงอุษา ผู้มีความคับแค้นที่แรงกล้า ภายใต้การกำกับของพระเจ้าจิตรเสน ร่วมกับพวกเจ้าเชื้อสายราชวงศ์มอญร่วมกันวางแผนการลับ ที่จะผลักดันฝ่ายเชื้อสายราชวงศ์ขอม-มอญ และทมิฬให้ขึ้นมีอำนาจเหนืออาณาจักรคามลังกา แทนที่เชื้อสายราชวงศ์อ้ายไต ซึ่งเป็นสายราชวงศ์จิว
กลิงค์ ( Kalinga ) คือชนชาติทางตอนใต้ของอินเดียที่หลบหนีศึกสงครามสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแล้วเข้ามาผสมกลมกลืนกับคนพื้นเมืองที่เรียกว่าแขกดำที่ต่อมาสืบเชื้อสายเป็นมอญ ส่วนทมิฬก็เป็นพวกชนชาติทางใต้ของอินเดียที่หนีภัยสงครามมาเช่นกัน ทั้งกลิงค์และทมิฬมีความรู้ความชำนาญเรื่องคุณไสยหรือมนต์ดำหลายขนานรวมทั้งความเหี้ยมโหด ส่วนชนชาติกลิงค์ก็มีความเก่งกล้าในด้านเล่ห์เหลี่ยม พระเจ้าจิตรเสนซึ่งมีเชื้อสายทั้งมอญและกลิงค์จึงพรั่งพร้อมไปด้วยวิทยยุทธ์กลศึกที่แพรวพราวที่เรียกกันว่าวิชาทำตอแหลเพื่อยุแหย่บั่นทอนบ่อนทำลายข้าศึก โดยใช้หลักพูดความจริงครึ่งหนึ่งและความเท็จครึ่งหนึ่งแตกต่างจากการใส่ความที่ใช้ความเท็จล้วนๆ
พระราชจิตรเสนเป็นตัวการหลัก ที่ชักใย เสี้ยมสอนกลอุบายวิชามารกล่าวหาใส่ความ บิดเบือนข้อเท็จจริง พูดจริงผสมเท็จ เพื่อยุแยกแตกทำลายบั่นทอนให้คู่สงครามอยู่ในภาวะระส่ำระสาย ไร้สามัคคี ทำลายกันเอง
ส่วนพระนางอุษา หรือ พระแม่ธรณีกรรแสงตามตำนานประวัติศาสตร์รัฐไทยโบราณ ถูกใช้เป็นเครื่องมือของวิชามารกล่าวหาใส่ความ ปล่อยข่าวทำลายสารพัด จนเกิดความแตกแยกกลายเป็นไฟสงครามลุกท่วมทั้งแผ่นดินสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำให้คนไทยต้องทำสงครามระหว่างกันเอง เพื่อต้องการให้ลูกชายของตนเองขึ้นครองราชย์ ใช้วิชามารในการกล่าวหาใส่ความเพื่อสร้างความแตกแยกสารพัดในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นความหายนะร้ายแรงที่คาดหมายไม่ถึงของวิชากล่าวหาใส่ความ จนทำให้ท้าวเทพนิมิตรที่เป็นคู่หมายปองเก่ายังทนไม่ไหวต้องยกทัพเข้าตีเมืองคลองวังของพระนางอุษาเมื่อปี พ. ศ. 1150 ทำให้พระนางต้องหลบจำศีลอยู่ในถ้ำใหญ่ที่ทุ่งล้านช้าง สุราษฎร์ธานี พระนางอุษายังได้พระนางอุษาได้กล่าวหาใส่ความว่าพระยากงได้สังหารพระบิดาของตนเองโดยปกปิดความจริงที่พระยาอุเทนเป็นผู้กระทำ จนเกิดศึกสงครามตามมาอีกหลายปี ทั้งสงครามแย่งนาง สงครามทุ่งไหหิน สงครามแย่งม้าและสงครามแย่งช้าง
ในช่วงนั้นพวกราชวงศ์มอญ-ขอม-ทมิฬที่มีพี่น้องสามกษัตริย์แห่งอาณาจักรอิสานปุระคือ พระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าศรีพาระและพระเจ้าศรีภววรมันต้องการยึดครองแคว้นคามลังการจากเจ้าอ้ายไตราชวงศ์จิว แต่ในปี พ. ศ. 1129 ท้าวอุเทนได้ตั้งพระยาจันทร์โอรสองค์ที่สามของท้าวเทพนิมิตรให้เป็นอุปราชปกครองอาณาจักรคามลัง(มีศูนย์กลางอยู่ที่จันทร์บูรณ์) ทำให้พวกพี่น้องสามกษัตริย์ไม่พอใจมาก จึงหาเรื่องสร้างความปั่นป่วน
พระนางสิยามเหสีฝ่ายซ้ายของมหาราชาพระยาพิชัยแห่งอาณาจักรอ้ายลาวได้ทราบข่าวระแคะระคายว่ากษัตริย์สามพี่น้องมีแผนมุ่งทำลายโอรสทั้งสามของมหาจักรพรรดิไกลโศกที่เกิดจากพระนางมาลัยมเหสีฝ่ายขวาแห่งราชวงศ์จิว กษัตริย์สามพี่น้องจึงหาทางกำจัดพระนางสิยาโดยใส่ความว่าพระนางสิยาและพระราชโอรสของท้าวเทพนิมิตรวางยาพิษพระนางขอมอินทปัตน้องสาวพระเจ้าศรีพาระแต่ได้นำไปให้สุนัขกินก่อน แล้วปล่อยข่าวว่าพระนางสิยาเป็นคนทำยาพิษโดยตั้งฉายาหรือเรียกชื่อให้ใหม่เป็นพระนางฤทธิ์เสกยา หรือพระนางริษยา
ทั้งนี้ก็เพียงเพื่อ ให้พระเจ้าศรีภววรมันแห่งเมืองโพธิสัตว์อ้างเรื่องวางยาพิษนำชนชาติมอญและทมิฬในอาณาจักรคามลังกา ก่อกบฏ ยกตนขึ้นเป็นราชาแห่งแคว้นคามลังกา พร้อมทั้งยกทัพเข้ายึดครองแคว้นอินทปัต ( เขมรโบราณ )ใช้เป็นนครหลวงแทนแคว้นพนมรุ้ง ในระหว่างนั้นพระเจ้าจิตรเสนและพระเจ้าศรีพาระได้ยกทัพจากอิสานปุระ เข้าปิดล้อมเมืองนางรองของแคว้นพนมรุ้งที่เจ้าชายจันทร์ปกครองในฐานะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรคามลังกา เจ้าชายไกรสรจากแคว้นจันทร์บูรณ์ต้องยกทัพเข้าช่วยแคว้นพนมรุ้ง เกิดเป็นสงคามที่เหี้ยมโหด เพราะเจ้าชายไกรสรโกรธแค้นที่มีการกล่าวหาใส่ร้ายพระนางสิยาซึ่งเป็นพระมารดาของพระองค์ จึงทำการสังหารแบบชนิดแทบล้างเผ่าพันธุ์มอญ-ทมิฬ กลายเป็นที่มาของเจ้าชายขุนโหด กษัตริย์สามพี่น้องพ่ายแพ้ต้องถอยกลับสู่แคว้นกาละศีล(กาฬสินธุ์) ของอาณาจักรอิสานปุระ เพื่อสมคบคิดสร้างแผนการใหม่


พ. ศ. 1133 มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศกสวรรคต จักรพรรดิท่าข้ามขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิรัชกาลที่ 39 เป็นมหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ แห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พระยาคูบัว (ท้าวสิกา) โอรสองค์ใหญ่ของมหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ ได้ตั้งขุนกงหลังลาสิกขาให้เป็นพระยากงอย่างเป็นทางการ แล้วยังยกเจ้าหญิงแก้วซึ่งเป็นราชธิดาให้อภิเสกสมรสด้วย โดยให้พระยากงเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นราชคฤห์ของอาณาจักรนาคฟ้า
เท่ากับพระยากงได้ทอดทิ้งพระนางอุษาให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ณ เมืองกงแห่งเทือกเขาภูพาน ตามตำนานเล่าว่าพระนางอุษาต้องร้องให้คร่ำครวญอยู่กลางพงไพร ขอให้ดวงวิญญาของพระแม่ธรณีพระนางสาที่เป็นราชมารดาได้มาช่วยเหลือ มีเนื้อหาตามบทกลอนกล่อมลูกที่ต่อมามีผู้ดัดแปลงเป็นเพลงธรณีกรรแสง ยิ่งกว่านั้นในพ.ศ. 1134 พระเจ้าจิตรเสนแห่งอาณาจักรอิสานปุระได้วางแผนสร้างความแตกแยกระหว่างสองพี่น้องอีกหน จึงสร้างอุบาย ให้พระนางอุษาถูกขุนศรีจง (พระยาหงสาวดี) ซึ่งเป็นน้องชายของพระยากงข่มขืนซ้ำสอง ในขณะที่พระยากงยังบวชอยู่

ทำให้พระนางเป็นได้แค่มเหสีรองเหมือนเดิม จนมีพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่งคือเจ้าพระยาศรีธรรมโศก ที่คนภาคใต้ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเป็นผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช แต่ผู้สร้างนครศรีธรรมราชตามหลักฐานน่าจะเป็นจักรพรรดิศรีไชยนารท เหตุการณ์นี้ทำให้พระยากงและขุนศรีจงต้องเป็นศัตรูกันตามแผนของสามกษัตริย์แห่งอิสานปุระ
พ. ศ. 1135 พระยากงได้อภิเสกสมรสกับเจ้าหญิงแก้วหรือหม่อมแก้วงาบเมือง ธิดาของพระยาคูบัวมหาราชาแห่งอาณาจักรนาคน้ำ มีโอรสคือเจ้าชายพาน
พระนางอุษาได้ติดสินบนให้โหรกุคำทำนายว่าเจ้าชายพานในอนาคตจะสังหารบิดาคือพระยากง พระยากงจึงรับสั่งให้ตาโหดนำเอาเจ้าชายพานไปประหาร พระนางแก้วงาบเมืองก็ได้ให้สินบนแก่ตาโหด ไม่ให้ฆ่าเจ้าชายพาน แล้วให้นางสนองพระโอษฐ์ คือยายหอม หรือนางสุวรรณมาลีลอบเอาตัวเจ้าชายพานไปฝากฝังไว้กับจักรพรรดิอุเทนและพระนางกลิ่นตานีอัครมเหสี ณ กรุงธารา ในอาณาจักรชวาทวีป ซึ่งท้าวอุเทนก็ไม่มีโอรสและธิดา


พ. ศ. 1142 มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำแห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เรียกพระยาคูบัว ( ท้าวสิกา ) เข้าเฝ้าและสั่งให้เนรเทศพระยากงและพระนางแก้วงาบเมืองออกไปเมืองราชคฤห์ ( ราชบุรี ) เพราะมีหลักฐานว่าพระยากงได้สมคบกับพระเจ้าจิตรเสนสร้างความวุ่นวายในสหราชอาณาจักรคีรีรัฐหลายครั้ง ในปีเดียวกัน พระเจ้าจิตรเสนใช้ทัพเรื่อบุกโจมตีเมืองโพธิสาร (พันพาน) เผาเมืองเรียบวอดวาย มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำถูกปิดล้อมบริเวณท่าข้ามแม่น้ำหลาว ( อำเภอพุนพิน สุราษฎร์ธานี )และถูกจระเข้กัดตาย


จักรพรรดิท้าวอุเทนได้ขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิรัชกาลที่ 40 มีกรุงธารา (ภูเขาดอก) เป็นนครหลวงในแคว้นชวาทวีป ท้าวเทพนิมิตรขึ้นเป็นจักรพรรดิ ท้าวคูบัวเป็นนายก แต่ต่อมาถูกพระยากงวางยาพิษ แล้วยึดกรุงราชคฤห์ ตั้งต้นเป็นนายกส่งกองทัพเข้าโจมตีแคว้นยะสิ่ว (สมุทรสาคร) พระยาสมุทรสาครสิ้นพระชนม์
พ. ศ. 1143 พระเจ้าจิตรเสนให้พระนางเม็งวางยาพิษท้าวลาวเงินแล้วเชิดขุนจอมชินโอรสองค์ใหญ่ขึ้นครองราชย์เปลี่ยนชื่ออาณาจักรเชียงแสนเป็นอาณาจักรเงินยางแล้วนำมารวมกันตั้งเป็นสหราชอาณาจักรอิสานปุระ
พ. ศ. 1143 พระยากงตั้งต้นเป็นมหาราชาท้าวปรารพเปลี่ยนชื่ออาณาจักรนาคฟ้าเป็นอาณาจักรทวาราวดี ประกอบด้วยแควันทวาย ราชคฤห์และหงสาวดี
พ. ศ. 1144 ท้าวปรารพ(พระยากง)ประกาศจัดตั้งสหราชอาณาจักรทวาราวดี มาจากคำว่า ทวาย-ราชคฤห์-หงสาวดี มีสภาโพธิอยู่ที่แคว้นหงสาวดี ตั้งตนเป็นมหาจักรพรรดิท้าวปรารพ มีนครหลวงอยู่ที่แคว้นราชคฤห์(ราชบุรี) มีการสร้างกฎมณเฑียรบาลขึ้นใหม่ ให้ราชวงศ์อ้ายไตที่ผสมกับเชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬมีสิทธิ์สืบทอดราชสมบัติเป็นจักรพรรดิและมหาจักรพรรดิได้ ส่วนพระนางอุษาหมายมั่นให้โฮรสของตนคือเจ้าชายศรีธรนนท์และเจ้าชายศรีธรรมโศกได้เป็นใหญ่ในสหราชอาณาจักรคีรีรัฐโดยให้แคว้นพะโคเป็นนครหลวง จึงได้มอบพระบรมสารีริกธาตุที่พระนางนำหลบซ่อนออกมาจากแคว้นสะทิ้งพระเมื่อครั้งถูกล้อมเผาเมืองในปีพ.ศ.1129 เพื่อนำมาสร้างพระบรมธาตุเจดีย์หงสาวดีและพระบรมธาตุปฐมเจดีย์(นครปฐม)เพื่อสนองตอบความต้องการของพระอาจารย์เถระรอดและพระยาศรีจง ในปีพ.ศ. 1143 พระยาศรีจงก็ได้สร้างมหาวิทยาลัยหงสาวดีเลียนแบบนาลันทาและมีการตั้งสภาโพธิขึ้นใหม่โดยไม่ยอมรับสภาโพธิดั้งเดิมของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
มหาจักรพรรดิท้าวปรารพได้ตั้งพระอนุชาคือพระยาศรีจงที่มีพระชาชยาคนเดียวกันคือพระนางอุษา ให้เป็นจักรพรรดิหงสาวดี ครองแคว้นหงสาวดี(พะโค) ให้พระเจ้าจิตรเสนนักวางแผนใหญ่ของราชวงศ์มอญ-ทมิฬให้เป็นเป็นนายกครองเมืองนายก(นครนายก) ให้พระเจ้าศรีพาระขึ้นเป็นมหาราชาของอาณาจักรอิสานปุระ โดยมีพระเจ้าศรีอิสานโอรสของนายกจิตรเสนเป็นมหาอุปราช
พระเจ้าจิตรเสนได้ฉวยโอกาสช่วงประกาศตั้งสหราชอาณาจักรทวาราวดีเข้ายึดแคว้นยะสิ่ว ( สมุทรสาคร ) และแคว้นจันทบูรณ์ ( จันทบุรี )
พ.ศ.1144 พระเจ้าจิตรเสนยกทัพจู่โจมแคว้นคามลังกา ยึดครองแคว้นพนมรุ้ง ท้าวปรารพ(พระยากง)ตามโจมตีกำลังพลของพระยาจันทร์และพระยาสาครที่ถอยร่นมาถึงเขตแดนอาณาจักรเทียนสน ที่ได้ส่งทหารเข้าต้านทานจนพระยากงพ่ายแพ้ยับเยินที่สมรภูมิเขาพระยากง(ภูเขากง จังหวัดนราธิวาส)
พ. ศ. 1145 พระเจ้าจิตเสนวางอุบายให้มหาจักรพรรดิท้าวปรารพเข้าไปลักลอบได้สียกับพระนางเมือง(พระนางละไม) มเหสีอุปราชเจ้าผาแม้วหลงจนตั้งครรภ์


พ.ศ.1146 อาณาจักรชาติตาลู (ปยู Pyu) อาณาจักรโกสมพี(ไทยใหญ่)และอาณาจักรพิง (ฝาง)ประกาศรวมกันเป็นสหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู (ต่อมาเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศพม่า) และเริ่มสร้างสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน
พ.ศ.
1147 อาณาจักรมหาจามปา (เวียตนามใต้) และอาณาจักรหลินยี่ (เวียตนามเหนือ) ประกาศตนเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
ฮ่องเต้หวินตี้(หยางเจียน)ส่งแม่ทัพเหลียวฟังเข้ายึดแคว้นตังเกี๋ย ขณะที่พระเจ้าศัมภุวรมันของอาณาจักรจามปาเข้ายึดแคว้นลินยี่ แต่กูถูกแม่ทัพเหลียวฟังเข้ายึดอาณาจักรจามปาอีกต่อหนึ่ง
พ. ศ. 1148 พระเจ้าจิตรเสนให้พระเจ้าศรีพาระเข้ายึดครองคามลังกาและให้เข้าโจมตีแคว้นจันทบูรณ์ แต่เจ้าชายไกรสรได้สู้รบต้านทานไว้เหนียวแน่น
ในปีเดียวกันพระเจ้าจิตรเสนยกทัพใหญ่เข้าตีแคว้นดอนเมืองของพระยาศรีจง เป็นเหตุให้มหาจักรพรรดิท้าวปรารพ(พระยากง)สั่งปลดพระเจ้าจิตรเสนออกจากตำแหน่งในสหราชอาณาจักรทวาราวดี จักรพรรดิพระยาศรีจงได้แจ้งให้มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนรับทราบเรื่องที่ชนชาติมอญ-ทมิฬพยายามก่อความวุ่นวายทั่วแผ่นดิน
มหาราชาท้าวชัยฤทธิ์นำอาณาจักรอ้ายลาวไปรวมกับอาณาจักรคามลังกาเป็นสหราชอาณาจักรคามลังกา ปกครองโดยท้าวชัยฤทธิ์
พระเจ้าจิตรเสนและพระเจ้าศรีพาระโจมตีเมืองโยธิกาที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโยธิกา(ระยอง) พระยาโยธิกาต้องทิ้งเมือง อพยพไปตั้งเมืองโยธิกาขึ้นใหม่ที่เกาะริมแม่น้ำนที (แม่น้ำเจ้าพระยา) และกลายเป็นกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา
พระเจ้าจิตรเสนส่งกองทัพมอญเข้ายึดครองแคว้นสุธรรม(สะเทิม)และแคว้นทวาย(ไกลลาศ) แล้วเข้าตีแคว้นหงสาวดีของขุนศรีธรนนท์(โอรสของพระนางอุษากับพระยากง) การรบยืดเยื้อถึงสองปี ขุนศรีธรนนท์ต้องทิ้งเมืองหลบหนีสู่อาณาจักรศรีชาติตาลู มหาจักรพรรดิผาแม้วหลงส่งทัพเข้ายึดหงสาวดีแล้วส่งมอบคืนแก่ขุนศรีธรนนท์
-พระเจ้าคัมภุวรมันผู้ปกครองใหม่ของสหราชอาณาจักรมหาจามหาส่งกองทัพเข้ายึดอาณาจักรโจฬะบก(เขมร) มหาราชาคำไตสายราชวงศ์เทียนสนต้องหลบหนีไปอยู่แคว้นอินทปัตของอาณาจักรอ้ายลาว

-รัฐไทยแตกเป็น 6 มหาอาณาจักร
หรือ
6  ก๊ก


ตามที่พระถังซำจั๋งได้บันทึกไว้ระหว่างเดินทางจากมหาอาณาจักรจีนเพื่อไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทาประเทศอืนเดีย เมื่อเดินทางไปถึงเมืองสมตฏะ ( เมืองจิตตากอง บังคลาเทศ ) เมื่อ พ. ศ.
1148 ได้บันทึกว่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปตามชายฝั่งทะเลข้ามภูเขาและหุบเขามีประเทศชี - ลา - ชา - ตอ - หลอ ( สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู ) ถัดไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตรงปากอ่าวก็เป็นประเทศกาม - ลัง - กา ( สหราชอาณาจักรคามลังกา ) ต่อไปทางตะวันออกเป็นประเทศตุย - ลอ - ปอ - ตี่ ( สหราชอาณาจักรทวาราวดี ) ถัดไปทางตะวันออก คือ อี - ขัง - นา - ปู - ลอ ( สหราชอาณาจักรอิสานปุระ ) ต่อจากนั้นก็เป็นดินแดนของประเทศ มอ - ฮอ - จอม - ปอ ( สหราชอาณาจักรมหาจามปา ) ทางทิศตะวันตกเป็นประเทศเยี่ยม - วอ - นา -เจา (ชวาทวีป หรือสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ )
บันทึกของม้าต้วนหลินเมื่อ พ. ศ. 1150 เมื่อฮ่องเต้หยางกวงส่งคณะทูตเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาราชาศรีอิสาน ได้บรรยายถึงอาณาจักรอิสานปุระไว้ว่า..พระเจ้าศรีอิสานประทับอยู่ในเมืองชื่ออิสาน ( เข้าใจว่าคือกาฬสินธ์ ) ประกอบด้วยครัวเรือนมากกว่า 20,000 ครอบครัว ยังมีเมืองภายใต้การปกครอง 30 แห่งแต่ละเมืองมีประชากรอยู่หลายพันครัวเรือน ทุกเมืองจะมีเจ้าเมืองปกครอง ตำแหน่งข้าราชบริพารของอาณาจักริสานปุระก็เหมือนกับอาณาจักรมหาจามปา...ท้องพระโรงของมหาราชาศรีอิสาน มีบัลลังก์ทำด้วยไม้หอม5ชนิดประดับด้วยวัตถุมีค่า 7 ประการ เหนือพระแท่นมีพลับพลา หลังคาตาดด้วยผ้าอย่างสวยงาม มีเสาทำด้วยไม้มีลายและฝาประดิษฐ์จากงาช้างประดับด้วยดอกไม้ทองคำ...ท้ายพลับพลามีจักรเป็นรัศมี มีรูปเปลวทำด้วยทองคำแขวนไว้ แบบเดียวกับพระราชวังหลวงแห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสะทิ้งพระ(เซี้ยโท้)
ดร. หวังกูหวู่นักประวัติศาสตร์จีนพบหลักฐานว่ามหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตรได้ส่งคณะราชทูตแคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี)ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฮ่องเต้หยางกวงเมื่อ พ. ศ. 1151 จากเมืองเกียโลหิตซึ่งก็คือคลองหิตหรือคันธุลี
พ. ศ. 1150 กองทัพมอญจากสะเทิมและทวายส่งทัพล้อมหงสาวดีอีก พร้อมๆกับการเกิดโรคระบาดทั่วหงสาวดี มหาจักรพรรดิท้าวปรารพ(พระยากง) แห่งสหราชอาณาจักรทวาราวดีสั่งให้ขุนศรีธรนนท์ทิ้งเมืองหงสาวดี อพยพไพร่พล 30,000 คน รอนแรมมาสามเดือนสู่เมืองคันธุลีขอลี้ภัยในอาณาจักรชวาทวีป สองพี่น้องลูกของพระนางอุษาที่ต่างบิดากันคือขุนศรีธรนนท์ได้เจอหน้าขุนศรีธรรมโศกเป็นครั้งแรกที่แคว้นคูหา(ระนอง) โดยมีล้อคเก้ตราชสกุลหยางจ้าวหลีชุนเป็นหลักฐานที่พระนางอุษาได้มอบไว้ให้ ทั้งสองพระองค์ต่างกอดกันร่ำไห้น้ำตาร่ำนอง จึงเป็นที่มาของแคว้นร่ำนองหรือระนองในเวลาต่อมา
-มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนแห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐรับสั่งให้จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตรจัดกำลังเข้าทำสงครามใหญ่กับกับกองทัพมอญของพระเจ้าจิตรเสน ทัพมอญต้องถอยกลับอิสานปุระ
-มหาจักรพรรดิท้าวปรารพส่งทหารเข้ายึดครองแหล่งแร่ทองคำในแคว้นนาลองกา(ทับสะแก)ของอาณาจักรชวาทวีปและประกาศสร้างเงินเหรียญทวาราวดีแทนเงินไพของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พร้อมทั้งส่งคณะราชทูตนำสาส์นไปมอบให้มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนขอให้สหราชอาณาจักรคีรีรัฐยอมสยบอยู่ใต้สหราชอาณาจักรทวาราวดี มิฉะนั้นจะส่งกองทัพเข้ายึดอาณาจักรชวาทวีป
ช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรชบาตะวันออก(ชวา)ประกาศแยกตัวเป็นอิสระนำตัวเองไปอยู่ภายใต้การคุ้มครองของมหาอาณาจักรจีน
ในปีเดียวกัน จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตรร่วมมือกับชนชาติกลิงค์ในอาณาจักรมาลัยรัฐ (เทียนสน) เข้ายึดแคว้นชบาตะวันออก (เกาะชวา) และชบาตะวันตก (สุมาตรา) ผลักดันให้ชนชาติทมิฬต้องอพยพครั้งใหญ่ เข้าไปตั้งรกราก ณ ดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันตกของอาณาจักรชวาทวีป ต่อมาจัดตั้งเป็นอาณาจักรผัวหม่า(พม่า)หรืออาณาจักรเวียตบก
ปี 1150 เกิดสงครามท่าชนะจักรพรรดิท้าวเทพนิมืตรยกทัพจากอาณาจักรมาลัยรัฐ (เทียนสน)เข้าโจมตีแคว้นคันธุลีที่เพิ่งก่อตั้งโดยขุนศรีธรนนท์รวมทั้งเมืองคลองวัง(อำเภอท่าชนะ สุราษฎร์ธานี)ของพระนางอุษาเนื่องจากไม่พอพระทัยพฤติกรรมของพระยากงและพระนางอุษาที่คอยชักใยยุแหย่ต่างๆนานา
พ. ศ. 1151 มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนสละราชสมบัติตามสัญญา ให้ท้าวเทพนิมิตรขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิ ย้ายนครหลวงจากสะทิ้งพระมาอยู่ที่เมืองคันธุลี บางตำราว่าเปลี่ยนชื่อเป็นสหราชอาณาจักรศรีพุทธิ ส่วนท้าวอุเทนยอมลดตำแหน่งเป็นจักรพรรดิ มีท้าวธานีเป็นนายกครองแคว้นธานี(ปัตตานี)ของอาณาจักรลัยรัฐ(เทียนสน)
ช่วงระหว่างพ. ศ. 1151 เป็นต้นไป จีนก็มีปัญหาของตนเองมาก ก่อนหน้านั้นจีนแพ้สงครามเกาหลีถึง 4 ครั้งระหว่างพ.ศ. 1151-1157 จีนได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีแคว้นโกคุรโย แต่พ่ายแพ้ย่อยยับกลับมาทุกครั้ง


พ.ศ. 1158 ทูลี่ก๊ก (อาณาจักรเติร์กตะวันออก) ยกทัพทำศึกกับจีนและยึดครองดินแดนจีนไปได้หลายแห่ง ทำให้ราชบัลลังก์ของฮ่องเต้หยางกวงเริ่มสั่นคลอน กลุ่มที่แยกไปมหาอาณาจักรคีรีรัฐจึงไม่อาจพึ่งพาอาศัยจีนได้มากนัก จดหมายเหตุจีนระบุว่า ในในปี พ.ศ.1151 ท้าวเทพนิมิตรส่งราชทูตไปจีน ที่จีนเรียกสหราชอาณาจักรคีรีรัฐว่าชีลีฮุกชีก๊ก ซึ่งเป็นประเทศที่ควบคุมช่องแคบมาลัยรัฐ(ช่องแคบมะละกา)เวียตนามตอนล่าง)ร่วมกับอาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว)และอาณาจักรเวียดน้ำ(ฟิลิปปินส์) ส่งกองทัพเข้ายึดครองอาณาจักรโจฬะบก(เขมร)ของมหาราชาเจ้าคำไตราชวงศ์อ้ายไต-เทียนสนที่สวรรคตในสนามรบ
พ. ศ. 1153 มหาราชาเจ้าอิสานแห่งอาณาจักรโจฬะบก (เขมร) ขับไล่กองทัพทมิฬออกจากอาณาจักรมหาจามปาแล้วขึ้นครองราชย์
พ. ศ. 1155 เจ้าชายพานอายุครบ 20 ปี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์และมหาวิทยาลัยนาลันทาของอินเดียได้รับโปรดเกล้าเป็นพระยาพานครองเมืองเกาะแก้วพิสดาร(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแคว้นเคียนชา)และเป็นแม่ทัพใหญ่ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
พ. ศ. 1156 พระเจ้าศรีอิสานหวังเข้ายึดดินแดนของสหราชอาณาจักรทวาราวดี พระยาศรีจงร้องขอความช่วยเหลือจากมหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร พระยาพานในฐานะแม่ทัพของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐเข้าช่วยพระยาศรีจงสกัดทัพอิสานปุระไว้ได้ มหาอุกษ์แห่งแคว้นละโว้ได้ยกธิดาคือเจ้าหญิงวงศ์จันทร์ให้พระยาพาน เป็นช่วงที่มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตรย้ายนครหลวงจากกรุงศรีพุทธิ ( คันธุลี )กลับไปยังแคว้นสะทิ้งพระของอาณาจักรมาลัยรัฐ ให้ขุนศรีธรนนท์ปกครองแคว้นศรีพุทธิของอาณาจักรชวาทวีปต่อไป
พระยากง ( ท้าวปรารพ ) ร่วมกับพระเจ้าศรีอิสานแห่งอิสานปุระและท้าวชินแห่งอาณาจักรเงินยาง ( เชียงแสน ) เคลื่อนทัพใหญ่ทางเรือเข้าโจมตีกรุงพุทธทองหรือกรุงทองของแคว้นสะทิ้งพระ
พ. ศ. 1156 มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตรวางแผนรับศึกพระยากง โดยแสร้งถอยทัพไปยังภูเขากง ( เข้าใจว่าเป็นบริเวณจังหวัดนราธิวาส ) โดยหวังจะให้ท้าวปรารพได้หวนรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตที่ท้าวเทพนิมิตรเคยปล่อยตัวไว้ชีวิตพระยากงมาแล้วครั้งหนึ่ง ณ สนามรบภูเขากงที่เดียวกันนี้ เพื่อหวังยุติความขัดแย้ง ให้ทุกฝ่ายหันกลับมาปรองดอง ช่วยกันฟื้นฟูสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แต่พระยากงกลับทำการสู้รบเด็ดขาดรุนแรงทำให้มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตรสวรรคตในสนามรบ เป็นการปิดฉากรัชกาลที่ 41 แห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นายกพระยาธานีแห่งแคว้นธานี ( ปัตตานี ) ต้องส่งกองทัพโจมตีพระยากงจนล่าถอยไป
พระยากงอ้างว่าตนเป็นผู้ชนะสงคราม ทั้งยังติดต่อรวมตัวกับอาณาจักรอิสานปุระและอาณาจักรหงสาวดี(พะโค)ตั้งขึ้นเป็นสหราชอาณาจักรทวาราวดีเหมือนอย่างที่เคยทำร่วมกับพระเจ้าจิตรเสนในอดีต

สงครามพระยากง-พระยาพาน

พ. ศ. 1156 ภายหลังมหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตรสวรรคตในสงครามต่อสู้พระยากง จักรพรรดิท้าวอุเทนขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นครหลวงอยู่ที่กรุงธารา (บ้านนาเดิม) ในอาณาจักรชวาทวีป ท้าวธานีเป็นจักรพรรดิว่าราชการอยู่ที่แคว้นธานี (ปัตตานี) อาณาจักรมาลัยรัฐ (เทียนสน) พระยามาลาโอรสอดีตมหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตรได้เป็นนายกว่าราชการที่แคว้นมาลายู(มะละกา) พระยาพานได้เป็นมหาราชาแห่งอาณาจักรชวาทวีปและได้รับมอบหมายเป็นแม่ทัพใหญ่ของมหาอาณาจักรคีรีรัฐ มีแม่ทัพไพศาลคุมกองทัพเรืออยู่ที่ท่าโรงช้าง (ท่าจูลี้) และบริเวณอ่าวศรีโพธิ์ (ไชยา สุราษฎร์ธานี) แม่ทัพหนาดูแลกองทัพบกมีกองกำลังประจำการที่เมืองคีรีรัฐ พระยายมบาคุมงานถลุงเหล็กและผลิตอาวุธที่แหลมศรีโพธิ์ (แหลมเขาถ่าน ท่าฉาง)
ตั้งแต่ พ. ศ. 1156 พระยากงยังคงไม่ลดละก่อการกำเริบเสิบสาน แม้ว่าสถานการณ์ภายในของสหราชอาณาจักรทวาราวดีเองก็ไม่ราบรื่นนัก เช่น การปฏิเสธของพ่อหงสาวดี (พระยาศรีจง)ที่ไม่ยอมรับตำแหน่งจักรพรรดิ เพราะพระยาจงมักขอความช่วยเหลือจากสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ที่ได้ส่งพระยาพานไปช่วยทั้งแคว้นละโว้ แคว้นศรีเทพ แคว้นโยธิการให้รอดพ้นจากการโจมตีของอิสานปุระ ภายหลังสงครามที่ภูเขากงพ.ศ.1156 ความแตกแยกของ6ก๊ก ได้เกาะกลุ่มใหม่เป็น3ก๊ก คือ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สหราชอาณาจักรทวาราวดีและสหราชอาณาจักรมหาจามปา
พ.ศ.
1157 พระยากงส่งกองทัพเข้ายึดครองแคว้นนาลองกาเป็นครั้งที่ 2 ขณะที่พระนางวงศ์จันทร์มเหสีพระยาพานให้กำเนิดเจ้าชายหะนิมิตร ณ แคว้นเวียงจันทร์


ปีรุ่งขึ้น พ.ศ.1158 พระยาพานส่งกองทัพเรือไปยึดเอาแคว้นนาลองกากลับคืนมาและเกณฑ์เชลยไปขุดหาทองคำที่เมืองกำเนิดนพคุณ ต่อมาเมืองนี้เปลี่ยนชื่อเป็นบางพานใหญ่และบางพานน้อย ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระยาพานได้ทองคำมา2ไหใหญ่
พระยากงหาเหตุทวงทองคำจากมหาจักรพรรดิท้าวอุเทนโดยอ้างว่าเป็นของสหราชอาณาจักรทวาราวดี ถ้าไม่คืนจะต้องเกิดสงคราม แต่มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนตอบว่าเป็นทองคำของอาณาจักรชวาทวีปที่พระยากงยกกองทัพเข้าไปยึดครองโดยมิชอบ พระยาพานยังได้ตอบพระยากงไปว่า ถ้าอยากได้ทองคำคืนก็ขอให้ส่งกองทัพเข้ามาแย่งยึดเอาเอง


พ.ศ.1159 เกิดสงครามพระยากง-พระยาพานครั้งแรก ณ สมรภูมิทะเลปากพานคูหา (ท่าฉาง สุราษฎร์ธานี) พระยากงพ่ายแพ้ยับเยิน ต้องปลอมตัวเป็นชาวประมงหลบหนีกลับกรุงราชคฤห์
พ.ศ.
1160 เกิดสงครามพระยากง-พระยาพานครั้งที่ 2 แถบภูเขาพระนารายณ์ (พุนพิน สุราษฎร์ธานี) ณ ท่าโรงช้าง แต่ถูกปิดล้อมไว้ที่ภูเขาพระนารายณ์ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนไม่ต้องการให้พ่อลูกต้องมาฆ่ากัน โดยที่ต่างฝ่ายก็ไม่ทราบความจริง พระองค์จึงเสด็จออกมาเปิดการเจรจา พระยากงจำต้องยอมรับข้อเสนอพระยาพานจึงยอมปล่อยตัวให้กลับไปกรุงราชคฤห์
พ. ศ. 1161 เกิดสงครามพระยากง-พระยาพานคั้งที่ 3 ณ สมรภูมิเมืองกงชิง เนื่องจากพระยากงไม่ปฏิบัติตามสัญญา พระยาพานได้รับชัยชนะและเตรียมอพยพไพร่พลไปตั้งหลักแหล่งที่เมืองกงชิง
แต่พอได้ทราบข่าวว่าราชวงศ์มอญทมิฬของอาณาจักรอิสานปุระและเงินยางได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับพระยากง พระยาพานจึงส่งแม่ทัพหมันเข้ายึดเมืองกงของอิสานปุระเพื่อสกัดกั้นอิสานปุระและเงินยาง เป็นการสู้รบครั้งที่ 4 เพื่อกดดันให้อิสานปุระถอนทัพจากการหนุนช่วยพระยากง
ขณะที่เปิดศึกกงชิงแต่พระยากงสามารถยึดเมืองกงชิงได้ พระยาพานต้องถอยทัพจนถึงบ้านน้ำดำเพื่อพักฟื้นหาเสบียง พระยากงได้ส่งกองทัพติดตาม เป็นการสู้รบครั้งที่ 5 พระยาพานต้องถอนทัพสู่อ่าวศรีโพธิ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ พระยาพานนำกองทัพเรือของแม่ทัพไพศาลมุ่งสู่แม่น้ำบางประกง เตรียมโจมตีฐานที่มั่นเกาะเทียน(เกาะกง) ซึ่งเป็นศูนย์ส่งกำลังบำรุงสำคัญของพระยากง เกิดการสู้รบทางเรือหนักหน่วง เป็นการสู้รบครั้งที่ 6 กองทัพเรือของพระยากงถูกโจมตีเผาทำลายอย่างหนักบริเวณปากแม่น้ำบางประกง ต้องถอยทัพไปตั้งหลักยังเกาะเทียน
แม่ทัพไพศาลได้รับบัญชาจากพระยาพานให้ตามไล่ล่า เกิดเป็นสงครามครั้งที่ 7 แต่ได้กำชับให้จับเป็นตามคำบัญชาของมหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ทั้งๆที่แม่ทัพไพศาลมีโอกาสสังหารพระยากงหลายต่อหลายครั้ง แต่เกรงจะขัดคำสั่งของมหาจักรพรรดิ จึงทำให้ท้าวปรารพหรือพระยากงจึงหลบหนีไปได้ โดยนำเรือรบไปขึ้นฝั่งอาณาจักรคามลังกาแล้วเดินบกหลบหนีกลับสู่กรุงราชคฤห์ กองทัพเรือของแม่ทัพไพศาลสามารถยึดเกาะเทียนไว้ได้และเปลี่ยนชื่อเป็นเกาะกงตั้งแต่ปีพ.ศ. 1162 เป็นต้นมา พระยาพานสามารถยึดเมืองสมุทรสงครามและตั้งแม่ทัพไพศาลเป็นผู้ปกครองเพื่อคุมน่านน้ำทะเลฝั่งตะวันออกคอยสกัดกั้นไม่ให้พระยากงเคลื่อนทัพจากแม่น้ำบางประกงได้อีก เท่ากับบีบให้พระยากงต้องทำสงครามทางบกเท่านั้น
พ. ศ. 1162 มหาราชาศัมภุวรมันจากสหราชอาณาจักรมหาจามปา ยกกองทัพเข้ายึดครองอาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ที่อยู่ใต้การปกครองของราชวงศ์ทมิฬ ขณะที่มหาอาณาจักรจีนเกิดการแตกแยกอย่างหนักเป็น 12 ก๊ก
สถานการณ์ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐคลี่คลายลงมาก เนื่องจากแม่ทัพไพศาลสามารถปิดล้อมแคว้นทวาราวดี (ราชบุรี) ได้อย่างแน่นหนา มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนยังได้มีราชสาส์นให้ท้าวเจ้าอิสานแห่งอาณาจักรโจฬะบก(เขมร) รวมทั้งท้าวไกรสรแห่งอาณาจักรคามลังกาและท้าวชัยฤทธิ์แห่งอาณาจักรอ้ายลาวให้วางตัวเป็นกลางในกรณีความขัดแย้งระหว่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐและทวาราวดี เป็นการโดดเดี่ยวทวาราวดี พระยาพานในฐานะราชบุตรเขยของท้าวมหาฤกษ์ผู้ครองแคว้นละโว้ (ลพบุรี) ก็ได้รวบรวมแว่นแคว้นรอบละโว้ขึ้นเป็นอาณาจักรละโว้แยกออกจากทวาราวดี และยังมุ่งปราบปรามอาณาจักรอิสานปุระและอาณาจักรเงินยางที่เป็นพันธมิตรกับพระยากง
พ. ศ. 1162 พระยาพานยกทัพสู้รบกับพระเจ้าอิสานราชวงศ์มอญทมิฬที่สนับสนุนสหราชอาณาจักรทวาราวดีที่สมรภูมิแคว้นกาละศีล (กาฬสินธุ์)ในอาณาจักรอิสานปุระ เป็นสงครามพ่อลูกครั้งที่ 8 พระเจ้าศรีอิสานสวรรคตในสงคราม อุปราชพระเจ้าสักกรดำต้องขอสงบศึกยอมขึ้นต่อสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
ปีเดียวกัน พระยาพานยกทัพไปตั้งมั่นที่เมืองกงแถบเทือกเขาภูพาน(เชื่อว่าเขาภูพานตั้งชื่อตามพระยาพาน) เพื่อเตรียมเข้าปราบอาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน)ที่เป็นพันธมิตรของพระยากง เกิดการสู้รบที่สมรภูมิเมืองกง-พานเป็นครั้งที่ 9
การสู้รบได้ขยายไปถึงเมืองพิชิต ( เมืองพิจิตร ) พระยาพานปล่อยข่าวว่ามีการพบทองคำจำนวนมากที่ภูเขาพนมยมบา ( เขาพนมพา ) มีการนำแร่ทองคำมาวางล่อไว้ในเมือง แล้วแสร้งถอยทัพ ปล่อยให้ท้าวปรารพ ( พระยากง ) รุกไล่ไปจนถึงเขตเมืองพิจิตร แล้ววางแผนซุ่มโจมตีหวังจับเป็น พระยากงถอยร่นเข้าไปในแคว้นละโว้ แต่ถูกท้าวมหาฤกษ์ขับไล่ ต้องหนีกลับไปแคว้นทวาราวดี
พ. ศ. 1163 พระยาพานเตรียมยึดอาณาจักรเงินยาง โดยยกทัพไปตั้งที่เมืองพานเตรียมยึดเมืองเชียงเครือ(เชียงราย)และเชียงแสน พอมหาราชาท้าวชินทราบข่าวศึก จึงส่งราชทูตพร้อมดอกไม้เงินดอกไม้ทองมาถวายพระยาพาน ขอขึ้นต่อสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
ในปีเดียวกันพระยาพานเตรียมแผนเผด็จศึก โดยระดมพลเต็มที่เข้าปิดล้อมกรุงทวาราวดี (ราชบุรี) แต่พระนางแก้วงาบเมืองขอให้พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด (ตาผ้าขาวรอด)มาเป็นคนกลาง ทำข้อตกลงกัน 5 ประการ พระยากงยินยอม พระยาพานจึงต้องยกทัพกลับ
พ. ศ. 1164 เกิดสงครามขึ้นอีกครั้ง ณ ทุ่งลานช้าง มหาจักรพรรดิท้าวปรารพหรือพระยากงถูกมหาจักรพรรดิท้าวอุเทนฟันด้วยพระแสงของ้าวสิ้นพระชนม์บนหลังช้างคอขาดสิ้นพระชนม์ในทันที ก่อนหน้านี้มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนพยายามให้โอกาสพระยากงหลายครั้ง เพื่อจะได้รู้สึกสำนึกตน เพราะเห็นว่าเป็นเครือญาติสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน และเป็นพ่อแท้ๆของพระยาพานซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของมหาจักรพรรดิท้าวอุเทนเอง อีกทั้งยังเคยเป็นพระสวามีของพระนางอุษาซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์เดียวกัน
มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนทรงสะเทือนพระทัยมากจากการที่ต้องสังหารพระยากง จึงสละราชสมบัติและออกบวชในปี พ. ศ. 1165 ท้าวธานีได้เป็นมหาจักรพรรดิปกครองสหราชอาณาจักรคีรีรัฐอยู่ที่แคว้นธานี (ปัตตานี) ของอาณาจักรมาลัยรัฐ ท้าวมาลาแห่งแคว้นมลายู (มะละกา) เป็นจักรพรรดิ พระยาพานได้เป็นนายกครอบครองแคว้นธารา (บ้านนาเดิม) ของอาณาจักรชวาทวีป ในปี พ. ศ. 1165 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาล ยอมให้เชื้อสายเจ้าอ้ายไตในราชวงศ์ต่างๆที่ไปผสมกับราชวงศ์มอญและทมิฬซึ่งได้พิสูจน์ความสามารถของตนแล้ว สามารถก้าวขึ้นครองราชสมัติเป็นมหาจักรพรรดิ จักรพรรดิและนายกได้
เมื่อพระยาพานได้ขึ้นครองราชเป็นสหราชนายกของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐและกฎมณเฑียรบาลเปิดโอกาสให้พระยาพานเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดได้ แต่พระนางอุษาต้อการสกัดกั้นพระยาพาน เพื่อให้พระโอรสของตนคือเจ้าชายศรีธรนนท์ที่เกิดกับพระยากงได้ครองราชย์แทน จึงปล่อยข่าวใส่ความว่าพระยาพานเป็นผู้สังหารพระยากงซึ่งเป็นพ่อแท้ๆ เป็นไปตามคำทำนายของโหราจารย์ในอดีต พระนางอุษาได้ดำเนินแผนการมานานแล้ว โดยอาศัยความมักใหญ่ใฝ่สูงของราชวงศ์มอญ-ทมิฬที่ต้องการขยายอำนาจ รวมทั้งพระยากงที่อยากเป็นมหาจักรพรรดิและตัวพระนางอุษาก็ต้องการเป็นมเหสีเอกของมหาจักรพรรดิที่เรียกกว่าพระแม่ธรณี ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่ความขัดแย้งในสหราชอาณาจักรคีรีรัฐตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ทั้งๆที่พระยางกง พระนางอุษาและกษัตริย์ของอาณาจักรอิสานปุระก็ล้วนสืบเชื้อสายเดียวกันจากราชวงศ์อ้ายไตนั่นเอง
พระนางอุษาใช้วิธีปล่อยข่าวว่าสหราชนายกพระยาพานสังหารพระยากงผู้เป็นพ่อแท้ๆ เป็นลูกทรพี กระทำปิตุฆาต แถมยังปล่อยข่าวต่อไปอีกว่าพระยาพานได้ทำการไต่สวนยายหอมหรือพระนางสุวรรณมาลี แต่เมื่อได้ทราบความจริงก็บันดาลโทสะสั่งประหารยายหอมที่เลี้ยงดูตนมาตั้งแต่เด็ก คือสร้างเรื่องโกหกซ้อนเข้าไปอีก และมีเรื่องเท็จขยายต่อไปอีกว่าพระยาพานสร้างพระปฐมเจดีย์เพื่อล้างบาปที่ได้สังหารบิดาของตนเอง
การปล่อยข่าวไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมินับว่าได้ผลมาก ทำให้พระยาพานเป็นที่ดูหมิ่นเกลียดชัง ไม่สามารถเสด็จสู่แว่นแคว้นหลายๆแห่งเพราะมีประชาชนต่อต้าน
พระยาพานได้เปลี่ยนชื่อเป็นท้าวอู่ทองในปีพ. ศ. 1167 และเสด็จไปเป็นมหาราชาที่อาณาจักรทวาราวดีพร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรอู่ทอง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงราชคฤห์ (ราชบุรี) พระอนุชาของท้าวอู่ทองคือพระยาจักรนารายณ์ได้บุกเบิกสร้างแคว้นจักรนารายณ์ในพื้นที่นครไชยศรี โดยมีขุนทรัพย์เป็นอุปราชร่วมสร้างเมืองประถมหรือนครปฐม
โอรสของพระนางอุษาทั้งสองพระองค์คือขุนศรีธรนนท์เป็นมหาราชาครองอาณาจักรชวาทวีป ณ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ส่วนพระยาธรรมโศกทำการรื้อฟื้นแคว้นศรีโพธิ์ขึ้นใหม่
สหราชนายกท้าวอู่ทองได้แต่งตั้งพระยาศรีจงเป็นมหาราชาของอาณาจักรอู่ทอง เป็นการสร้างแนวร่วมราชวงศ์เพื่อโดดเดี่ยวพระนางอุษาที่พยายามชักใยบุคคลต่างๆให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกทำลายกันเอง เมื่อศูนย์กลางอำนาจมีความเป็นเอกภาพสามัคคีกัน ก็สามารถต้านทานการปล่อยข่าวโจมตีของพระนางอุษาได้ รวมทั้งกฎมณเฑยรบาลใหม่ที่เปิดโอกาสให้สายราชวงศ์อ้ายไตที่มีเชื้อสายผสมกับราชวงศ์อื่นๆสามารถก้าวสู่ตำแหน่งสูงสุดได้
จีนและมหาจามปา (Champa)
พ.ศ.1168 สหราชอาณาจักรมหาจามปาของชนชาติทมิฬที่มีมหาอาณาจักรจีนคอยสนับสนุนได้ฉวยโอกาสช่วงที่รัฐไทยมีความแตกแยก โดยได้ขยายอาณาเขตออกไปถึง 7 อาณาจักร ประกอบด้วย อาณาจักรจามปา (เวียตนามใต้) อาณาจักรโจฬะบก (เขมร) อาณาจักรเวียดน้ำ (ฟิลิปปินส์) และอาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตราตะวันออก) ซึ่งหลายอาณาจักรนั้นสหราชอาณาจักรคีรีรัฐยังไม่สามารถกอบกู้คืนมาได้เลย
มหาจักรพรรดิท้าวศัมภุวรมันแห่งสหราชอาณาจักรจามปายกทัพใหญ่เข้าโจมตีแคว้นมาลายู(มะละกา) พร้อมกับแคว้นธานี(ปัตตานี)ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถยึดแคว้นมาลายู จักรพรรดิท้าวมาลาต้องหลบหนีไปยังแคว้นสะทิ้งพระ(สงขลา) ทำให้มหาอาณาจักรจีนสามารถมีอิทธิพลเหนือช่องแคบมะละกาอีกครั้งหนึ่ง
กองทัพชนชาติทมิฬยังยกเข้าโจมตีแคว้นธานีอย่างหนักหน่วง มหาจักรพรรดิท้าวธานีได้รับบาดเจ็บต้องหลบหนีเข้าไปซ่อนตัวกลางป่า กองทัพอาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา)ยังคงเข้ายึดครองภูเขาพระนารายณ์ของแคว้นพังงา
นายกท้าวอู่ทอง(พระยาพาน)มีบัญชาให้แม่ทัพหมันและแม่ทัพไพศาลนำทัพบกและทัพเรือเข้าโจมตีอาณาจักรผัวหม่า(พม่า) แต่กองทัพช้างของผัวหม่าเก่งกาจมาก จนต้องให้พระยาโยธิกานำกองทัพช้างเข้าตีทัพผัวหม่าพ่ายยับเยิน ชนชาติทมิฬต้องหลบหนีไปอาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) บางส่วนหลบหนีขึ้นขึ้นเหนือไปตั้งหลักที่หมู่เกาะแห่งหนึ่งเพื่อกันไม่ให้ทัพเรือของพระยาพานที่นำโดยแม่ทัพไพศาลได้รุกคืบไปไกลกว่านั้น เข้าใจว่าบริเวณหมู่เกาะเหล่านี้ถูกเรียกว่ากันตาพาน ทะเลฟากตะวันตกถูกเรียกเป็นทะเลกันตาพาน ต่อมาเพี้ยนเป็นอันดามัน
พ.ศ.1168 นายกพระยาพาน(ท้าวอู่ทอง)ยกทัพเข้ายึดครองแคว้นมาลายู(มะละกา)กลับคืนมา แล้วตั้งพระยามาลายูโอรสองค์โตของจักรพรรดิท้าวมาลาเป็นผู้ปกครอง จากนั้นนายกท้าวอู่ทองส่งกองทัพยึดแคว้นธานีกลับมาได้ พร้อมทั้งส่งไพร่พลออกตามหามหาจักรพรรดิท้าวธานีแต่ไม่พบ จึงตั้งพระราชโอรสของมหาจักรพรรดิท้าวธานีคือพระยาตานีให้ปกครองแคว้นธานีต่อไป
พระยาพานต้องขึ้นเป็นจักรพรรดิเพราะการสวรรคตของจักรพรรดิท้าวมาลา และเมื่อไม่พบร่องรอยของมหาจักรพรรดิท้าวธานี ทำให้มีการเชิญพระยาพานขึ้นครองราชย์เป็นมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มีกรุงอู่ทอง (ราชบุรี) เป็นแคว้นมหาจักรพรรดิของรัชกาลที่ 44 พร้อมกับการสถาปนาราชวงศ์อู่ทอง เปลี่ยนชื่ออาณาจักรทวาราวดีเป็นอาณาจักรอู่ทองเป็นศูนย์กลางของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยมีพระยาศรีจงหรือพ่อหงสาวดีเป็นนายก ว่าราชการแคว้นดอนเมือง
หลังการขึ้นครองราชย์ในปีเดียวกัน พ. ศ. 1168 มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองได้เสด็จยังแคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) มีการสร้างอู่เรือทองเพื่อทอดสมอเรือพระที่นั่งที่ใช้เป็นสถานที่เจรจากับพระเจ้านันทเสน ราชวงศ์มอญ ที่ยอมคืนอาณาจักรหงสาวดีแก่สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
ในปีเดียวกัน สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู ซึ่งประกอบด้วยอาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) อาณาจักรโกสมพี(แสนหวี)และอาณาจักรพิง(ฝาง) ทั้งหมดยินยอมกลับเข้าสู่การปกครองของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
ในรัชกาลที่ 44 ของมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองจึงกลับมามีเอกภาพใกล้เคียงกับก่อนสมัยแตกแยกเป็น6ก๊ก โดยมีอาณาจักรรวมทั้งสิ้น 12 อาณาจักร คือ อาณาจักรมาลัยรัฐ (เทียนสน) อาณาจักรชวาทวีป (ภาคใต้ตอนบน) อาณาจักรอู่ทอง (ทวาราวดี) อาณาจักรเงินยาง (เชียงแสน) อาณาจักรหงสาวดี (พะโค) อาณาจักรชาติตาลู (ปยู) อาณาจักรโกสมพี (แสนหวี) อาณาจักรพิง (ฝาง) และอาณาจักรคามลังกา (จันทบูรณ์) โดยมีพระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอดเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น เมื่อปีพ.ศ.1168 ตาผ้าขาวเถระรอดเป็นผู้เรียกร้องให้เชื้อสายราชวงศ์ต่างๆของลูกหลานอ้ายไตในดินแดนสุวรรณภูมิทั้งราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ราชวงศ์เทียนสน ราชวงศ์โคตะมะราชวงศ์เชียง ราชวงศ์หยาง ราชวงศ์ขอมไต ราชวงศ์ศรีชาติตาลู(พุกาม) ราชวงศ์ศรีชาติตาไล(โกสมพี) และราชวงศ์พิง ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อการสร้างพระแก้วมรกต ใช้เป็นพระพุทธรูปประจำสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งถือเป็นรัฐสำคัญทางพุทธศาสนาและเป็นจุดกำเนิดของพระแก้วมรกต
พ. ศ. 1172 นายกพระยาศรีจงยกทัพเข้ายึดครองทั้งอาณาจักรโจฬะบก(เขมร)และอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)สำเร็จ นำกลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองได้มอบหมายให้จักรพรรดิพระยามาลีเข้ากดดันดินแดนต่างๆในเกษียรสมุทร พร้อมทั้งให้ส่งกองทัพเข้ายึดครองอาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวาสุมาตราตะวันตก) เพื่อให้สหราชอาณาจักรคีรีรัฐสามารถกลับมาคุมดินแดนช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา)
แต่จักรพรรดิพระยามาลาขัดคำสั่งมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง โดยส่งกองทัพเข้าทำสงครามกับอาณาจักรเวียดน้ำ (ฟิลิปปินส์) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ (บอร์เนียว) ซึ่งเป็นของสหราชอาณาจักรมหาจามปา ทำให้สหราชอาณาจักรคีรีรัฐต้องสูญเสียอาณาจักรจามปาหลังจากที่นำกลับคืนมาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้มหาจักรพรรดิท้าวอุเทนต้องคาดโทษจักรพรรดิท้าวมาลา แต่ในปี พ. ศ. 1174 กองทัพของสหราชอาณาจักรคีรีฐก็สามารถกอบกู้เอาดินแดนอาณาจักรจามปากลับคืนมาได้อีกครั้ง ถือได้ว่ามหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองสามรถยึดคืนดินแดนสุวรรณภูมิกลับคืนมาได้ทั้งหมด
พ. ศ. 1180 มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นเตือนเชื้อสายอ้ายไตหันมาปรองดองกัน สาบานที่จะสร้างสุวรรณภูมิให้เป็นดินแดนของพุทธศาสนา กระทำการวางโทษและลงโทษผู้ที่ชอบโกหกใส่ความยุแหย่ตอแหลทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ถือว่าพฤติกรรมสร้างเรื่องให้ร้ายหรือการทำตอแหลเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและต้องถูกต่อต้านและลงโทษอย่างเด็ดขาดจริงจังในรัชกาลของมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง
แต่สภาพของบ้านเมืองบอบช้ำมาหนัก จึงยังไม่ได้มีความสงบหรือสันติสุขเต็มที่ ตลอดสมัยของมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองจึงยังต้องทำสงครามกอบกู้อีกมากมายนัก และสถานการณ์แก่งแย่งกันภายในยังมิได้ยุติลงโดยสิ้นเชิง รัชกาลมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองจึงยังต้องทำการกอบกู้บ้านเมืองอย่างหนักต่อเนื่องมาถึงรัชกาลอื่นๆทั้งมหาจักรพรรดิศรีธรรมโศกซึ่งขึ้นมารักษาการชั่วคราว มหาจักรพรรดิพระยาหะนิมิตรโดยยังต้องติดพันกับการแก้ปัญหาที่เป็นผลมาจากการกล่าวหาโจมตียุแหย่ทำลายล้างกัน กระทั่งเข้าสู่ยุคสหราชอาณาจักรศรีโพธิ์หรือสหราชอาณาจักรเสียม ที่มักเรียกกันผิดว่าสหราชอาณาจักรศรีวิชัย


พ. ศ. 1183 หลังจากมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองสั่งปลดจักรพรรดิพระยามาลาเนื่องจากขัดคำสั่ง เป็นเหตุให้เจ้าพระยาตานีแห่งกรุงลังกาสุกะ และเจ้าพระยามาลายูเชื้อสายท้าวเทพนิมิตร ไม่พอพระทัยมหาจักรพรรดิท้าวอุ่ทอง ประกาศตนเป็นกบฏ ตั้งสหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงลังกาสุกะ (นครปัตตานี Pattani )ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีหลักฐานการส่งคณะราชทูตไปผูกสัมพันธ์กับมหาอาณาจักรจีน


ในปีเดียวกัน พ.ศ.
1183 มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองรับสั่งให้ขุนศรีธรนนท์มหาราชากรุงคันธุลีแห่งอาณาจักรชวาทวีป ส่งกองทัพเข้าปราบปรามสหราชอาณาจักรศรีพุทธิที่กระด้างกระเดื่อง แต่พระนางอุษาซึ่งเป็นพระราชมารดาเข้าขวาง สั่งให้มหาราชาขุนศรีธรนนท์ถอยทัพกลับ ซ้ำยังเอาอาณาจักรชวาทวีปเข้าไปรวมกับสหราชอาณาจักรศรีพุทธิ
พ. ศ. 1184 มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องส่งกองทัพใหญ่เข้าปราบปรามเจ้าพระยาตานี เกิดเป็นสงครามปัตตานี จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจงต้องเจรจากับมหาราชาขุนศรีธรนนท์ให้ยอมจำนน นำอาณาจักรชวาทวีปกลับมาขึ้นต่อสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ
พ. ศ. 1185 พระยามาลายูประกาศจัดตั้งสหราชอาณาจักรศรีพุทธิขึ้นมาอีก ทุกฝ่ายต้องหาทางออกร่วมกันในปีพ.ศ.1188 โดยมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งบริหารของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐครั้งใหญ่ ให้พระนางอุษาเข้าร่วมในการเจรจาสำคัญครั้งนี้ เจ้าพระยาศรีธรรมโศกโอรสของพระนางอุษาขึ้นเป็นจักรพรรดิ เจ้าพระยามาลายูได้ขึ้นเป็นนายก ทำให้ความขัดแย้งภายในคลายตัวลงไปด้วยดีในระดับหนึ่ง แต่ต่อมามหาจักรพรรดิท้าวอู่ทองก็จำต้องยกทัพทำสงครามโจมตี สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ ในปีพ.ศ.1191


ความขัดแย้งวุ่นวายดังดำเนินต่อไปจนถึงปี พ.ศ.1207 พระนางอุษาหรือพระแม่ธรณีบีบมวยผมเกิดสำนึกตนในช่วงบั้นปลายของชีวิต พระนางได้มอบทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ให้พระเจ้าศรีธรรมโศกพระราชโอรส ใช้เป็นกองทุนในการก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์สองแห่ง ทั้งเจดีย์พระธาตุไชยาและเจดีย์พระธาตุนครศรีธรรมราช คล้ายเป็นการอุทิศส่วนกุศล เพื่อล้างบาปที่ตนเองได้กระทำการให้ร้ายยุแย่กระทำการตอแหลจนสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อบ้านเมือง เกิดความขัดแย้งไปทั่วแผ่นดินสุวรรณภูมิ
พ.ศ.
1215 พระยาศรีธรรมโศกประสบอุบัติเหตุระหว่างเร่งงานก่อสร้างพระบรมธาตุไชยา ถูกก้อนโลหะใหญ่ที่ทำลูกนิมิตรหล่นทับถึงบาดเจ็บสาหัส ทำให้พระนางอุษาเศร้าสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ตำนานเล่าว่าหลังจากเสด็จเยี่ยมพระราชโอรส พระนางได้กลับมานั่งสมาธิ ณ ถ้ำใหญ่ ทุ่งลานช้าง กระทั่งสิ้นพระชนม์ในท่านั่งสมาธิดังกล่าว
ในปีเดียวกันนั้น เจ้าพระยาศรีธรรมโศกได้สร้างรูปแม่ธรณีบีบมวยผม ไว้เตือนใจลูกหลายชนชาติอ้ายไต ให้ระลึกถึงเรื่องราวของพระแม่ธรณีบีบมวยผมตำนานไทย ผู้สร้างวิชากล่าวหายุแหย่ใส่ความที่เรียกว่า วิชาทำตอแหล จนชนชาติเดียวกันต้องขัดแย้งแตกแยกไม่มีความสงบสุข เพื่อเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังไม่ให้เอาป็นแบบอย่าง ถือเป็นบทเรียนที่ทำให้ชนชาติอ้ายไตในสุวรรณภูมิแทบจะไม่มีแผ่นดินอยู่ กลายเป็นตำนานที่เล่าขานมาจนถึงทุกวันนี้ เจ้าพระยาศรีธรรมโสกได้จัดสร้างเทวรูปแม่ธรณีบีบมวยผมกับเทวรูปแม่นางส่ง ไว้เป็นอนุสรณ์ที่ที่ถ้ำใหญ่เคียงคู่กับเทวรูปของขุนศรีจง (พ่อหงสาวดี) มีการจัดงานประเพณีขึ้นที่ถ้ำใหญ่ ประชาชนขึ้นไปกราบไหว้บวงสรวงดวงวิญญาณของแม่นางส่ง กลายเป็นประเพณีรดน้ำดำหัวในเวลาต่อมา ให้ดวงวิญญาณของแม่นางส่งไปสู่สุขคติ ซึ่งบรรดาผู้ที่เซ่นบวงสรวงเซ่นไหว้จะต้องให้สัตย์สาบานว่าจะไม่ขอทำการตอแหลใช้วิธีการกล่าวหายุแหย่เพื่อทำลายคนในชาติเดียวกันต่อไป


พระ นางอุษาหรือในชื่อใหม่ว่าแม่นางส่งสิ้นพระชนม์ในถ้ำใหญ่ของภูเขาแม่นางส่ง บริเวณทุ่งล้านช้าง อำเภอท่าชนะ สุราษฎร์ธานี เมื่อปีพ.ศ.1215 พระยาศรีธรรมโศกได้ สร้างรูปแม่ธรณีบีบมวยผมไว้เตือนใจบรรดาชนชาติอ้ายไตทั้งหลายจะได้รำลึกถึง พระนางอุษาผู้สร้างวิชากล่าวหาให้ร้ายใส่ความที่สร้างความหายแก่ชาติบ้าน เมืองอย่างหนักหนาสาหัส เพื่อคนรุ่นหลังจะได้ไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่าง มีการจัดประเพณีขึ้นถ้ำรดน้ำดำหัวให้ให้ดวงวิญญาณของพระนางอุษาหรือแม่นาง ส่งไปสู่สุขคติโดยให้ผู้ที่เข้าพิธีต้องตั้งจิตอธิษฐานว่าจะไม่โกหกใส่ความ ให้ร้ายใคร จากประเพณีขึ้นถ้ำใหญ่นี้ทำให้พระยากุลีได้ริเริ่มศักราชกลียุคขึ้นในพ.ศ. 1224 หลังจากที่ผ่านพ้นกลียุคมาแล้ว 9 ปี เพื่อเป็นการเตือนสติว่าการใส่วิชามารกล่าวหาให้ร้ายกันย่อมนำความวิบัติหายนะมาสู่ชาติบ้านเมือง
แต่การกล่าวหาใส่ความก็ยังคงครอบงำสังคมไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันและได้กลายเป็นยุทธศาสตร์หลักของพรรคการเมืองอนุรักษ์ระบอบโบราณของไทยที่ เน้นการกล่าวหารายวันโดยไม่ต้องการพิสูจน์ ที่ได้ระบาดหนักในช่วงขบวนการเสื้อเหลืองเพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้ง โดยมีการจัดตั้งสื่อทุกแขนงทุกประเภทเข้าสนับสนุนขบวนการกล่าวหาใส่ใส่ความ โดยพร้อมเพรียงกัน จนกลายเป็นอาวุธสำคัญของขุนนางข้าราชการ กลุ่มทุนการค้าจารีตนิยมและนักการเมืองปีกอนุรักษ์ซึ่งเชี่ยวชาญกฎหมายและ การใช้วาทศิลป์มานานระบบการกล่าวหาทำลายล้างกัน ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง ทำให้คนดีๆไม่อยากลงมาทำงานการเมือง ทำให้คนที่มีคุณภาพ ที่เข้าใจทุนเข้าใจเทคโนโลยี่ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับวงจรอำนาจที่ถูกครอบงำ ด้วยทุนอนุรักษ์ที่ล้าหลังมานานแล้ว ระบบกฎหมายของไทยก็ยังเป็นระบบกล่าวหาที่เอื้ออำนวยให้เหล่าขุนนางข้าราชการ ใช้แสวงหาประโยชน์รวมทั้งการส่งส่วยและทุจริตคอรัปชั่น

ไม่มีความคิดเห็น: