ฟังเสียง : อัดเสียงใหม่ เมื่อ 2 ก.พ. 2557
https://www.mediafire.com/?fit3pjy63cmpc4h
http://www.4shared.com/mp3/mdNmsFmZba/Siamese_Feudalism_Part_1_.html
.......................
https://www.mediafire.com/?fit3pjy63cmpc4h
http://www.4shared.com/mp3/mdNmsFmZba/Siamese_Feudalism_Part_1_.html
.......................
โฉมหน้าศักดินาไทย
ของ จิตร ภูมิศักดิ์
ตอนที่ 1
ตอนที่ 1
การจะพิจารณาว่าใครเป็นศักดินาหรือไม่นั้น ต้องดูที่ความสัมพันธ์ในการผลิต คือ ดูว่าเขามีความสัมพันธ์กับผู้อื่นในข่ายการผลิตอย่างไร ถ้าใครเป็นเจ้าของที่ดินให้คนอื่นเช่าทำนา ผู้นั้นก็เป็นศักดินา เพราะที่ดินถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำไร่และการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนในยุคศักดินา ความผาสุกของแต่ละคนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่า เขามีที่ดินมากหรือน้อยหรือไม่มีเลยเจ้าของที่ดินใหญ่มีไพร่มีเลก หรือผู้คนที่ทำงานภายใต้บังคับบัญชาก็ย่อมมีอิทธพลและอำนาจมากเป็นเงาตามตัว ทั้งนี้ก็เพราะเขากำเอาชะตาชีวิตของคนจำนวนมากไว้ในกำมือ คนที่ทำงานอยู่ภายใต้บารมีของเจ้าของที่ดินใหญ่ จะอด จะอิ่ม จะทุกข์ จะสุขขึ้นอยู่ที่ความพอใจของเจ้าของที่ดินเป็นเกณฑ์เจ้าของที่ดินทั้งปวงผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมยังได้พยายามสั่งสอนอบรมพวกไพร่พวกเลกให้มองเห็นว่า ตนเป็นผู้ประเสริฐ เป็นเจ้าของชีวิตตามประเพณีนิยมต่างๆ ของพวกตนเป็นสิ่งที่ไพร่และเลกควรถือเป็นแบบฉบับ ควรยกย่องและตามอย่าง ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ชุบย้อมจิตใจของพวกไพร่พวกเลกให้นิยมชมชอบพวกตน และยอมรับในสถาบันของพวกตนตลอดไป โดยถือว่าเป็นของถูกต้องและเป็นธรรม
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
ของระบบศักดินา
1) การถือกรรมสิทธิ์ปัจจัยแห่งการผลิตและการแสวงหาประโยชน์จากปัจจัยการผลิตนั้นได้แก่ ที่ดินและเครื่องมือจำเป็นอื่นๆ เช่น วัวควาย พันธุ์ข้าว ฯลฯส่วนใหญ่เป็นกรรมสิทธิ์ของพวกเจ้าขุนมูลนายหรือพวกเจ้าที่ดิน ประชาชนส่วนข้างมากอันเป็นพลังผลิตสำคัญของสังคมจึงต้องตกเป็นคนงานที่ทำการเพาะปลูกในที่ดินของพวกเจ้าขุนมูลนาย มีหน้าที่ทำงานบนที่ดินผืนหนึ่งๆ โยกย้ายไปไหนไม่ได้ เพราะพวกเจ้าขุนมูลนายได้ตระเวนออกสำรวจลงทะเบียนไว้เป็นคนในสังกัด เมื่อที่ดินผืนนั้นโอนไปเป็นของเจ้าขุนมูลนายคนใหม่ พวกทาสกสิกรรมเหล่านี้ก็ถูกโอนเป็นทาสติดที่ดินไปด้วย เรียกกันว่าเลกหรือไพร่ โดยต้องส่งผลผลิตเป็นส่วย ให้แก่เจ้าขุนมูลนายเป็นประจำตามอัตราที่กำหนดขึ้นตามความพอใจของเจ้าขุนมูลนาย อาจเป็น 50 หรือ 60 หรือ 70 หรือถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของผลิตผลทั้งหมด สุดแท้แต่เงื่อนไขที่ตกลงกัน อีกพวกหนึ่งเป็นเสรีชนหรือเป็นไท ซึ่งต้องเช่าที่ทางของพวกเจ้าที่ดินทำมาหากิน พวกนี้ต้องแบ่งผลิตผลส่งให้แก่เจ้าที่ดินเป็นค่าเช่าที่ อัตราไร่ละ 8 ถัง หรือ 10 ถัง หรือเป็นจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ของผลิตผลทั้งหมด อัตราค่าเช่าที่ใช้กันอยู่แพร่หลายก็คือ 50 เปอร์เซ็นต์ของผลิตผลที่ทำได้ ที่เรียกกันว่าทำนาแบ่งครึ่ง แต่พวกนี้อาจโยกย้ายที่อยู่ได้โดยอิสระ พวกที่สาม ได้แก่พวกที่มีที่ดินทำมาหากินเองเป็นชาวนารายย่อย โดยต้องแบ่งผลผลิตแก่เจ้าขุนมูลนายเป็นภาษี หรืออากรค่านา ไร่ละ 1 ถัง หรือถึง 6 ถัง แล้วแต่ชนชั้นปกครองซึ่งเป็นพวกเจ้าที่ดินใหญ่จะกำหนด
2) ระบบแรงงานเกณฑ์
นอกจากค่าเช่าที่ และภาษีที่พวกชาวนาจะต้องจ่ายแล้ว ชาวนาจักต้องช่วยไถนา ทำนา และทำงานอื่นๆ ให้แก่พวกเจ้าขุนมูลนายเป็นประจำทุกปีอีกด้วย ปีละสามเดือนจนถึงหกเดือน ในบางแห่งชาวนาจะต้องขนเอาวัวควายและเครื่องมือของตนเองไปช่วยทำนาให้แก่พวกเจ้าขุนมูลนายโดยที่พวกเจ้าขุนมูลนายลงทุนเฉพาะแค่ที่ดินและพันธุ์ข้าวเท่านั้น นอกจากการทำนาให้เจ้าขุนมูลนายแล้ว พวกชาวนายังต้องช่วยงานโยธาต่างๆ ทั้งของรัฐบาลศักดินาและทั้งของเจ้าขุนมูลนายของละแวกบ้านตน เรียกว่าแรงงานเกณฑ์ ที่ทุกคนจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นการทดแทนบุญคุณของพวกเจ้าขุนมูลนายที่อุตส่าห์สละเวลาอันมีค่ามาทำการปกครองพวกตน และที่กรุณาประทานที่ดินให้ได้ทำกิน ประทานน้ำในคลองให้ดื่ม และประทานอากาศให้หายใจ
นอกจากค่าเช่าที่ และภาษีที่พวกชาวนาจะต้องจ่ายแล้ว ชาวนาจักต้องช่วยไถนา ทำนา และทำงานอื่นๆ ให้แก่พวกเจ้าขุนมูลนายเป็นประจำทุกปีอีกด้วย ปีละสามเดือนจนถึงหกเดือน ในบางแห่งชาวนาจะต้องขนเอาวัวควายและเครื่องมือของตนเองไปช่วยทำนาให้แก่พวกเจ้าขุนมูลนายโดยที่พวกเจ้าขุนมูลนายลงทุนเฉพาะแค่ที่ดินและพันธุ์ข้าวเท่านั้น นอกจากการทำนาให้เจ้าขุนมูลนายแล้ว พวกชาวนายังต้องช่วยงานโยธาต่างๆ ทั้งของรัฐบาลศักดินาและทั้งของเจ้าขุนมูลนายของละแวกบ้านตน เรียกว่าแรงงานเกณฑ์ ที่ทุกคนจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นการทดแทนบุญคุณของพวกเจ้าขุนมูลนายที่อุตส่าห์สละเวลาอันมีค่ามาทำการปกครองพวกตน และที่กรุณาประทานที่ดินให้ได้ทำกิน ประทานน้ำในคลองให้ดื่ม และประทานอากาศให้หายใจ
1) สังคมของศักดินาแบ่งชนออกได้เป็นสองพวกคือ ชนชั้นผู้ขูดรีด ได้แก่ผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนมหาศาล อันได้แก่พวกเจ้าที่ดินและเจ้าขุนมูลนาย หรือชนชั้นศักดินา ส่วนผู้ถูกขูดรีดได้แก่ผู้ที่ไม่มีกรรมสิทธ์ในที่ดินทั้งมวล เรียกว่า ชนชั้นทาสกสิกรหรือไพร่ และชาวนาชนชั้นเจ้าที่ดินมีสิทธิอำนาจอย่างเด็ดขาดในที่ดิน อันอำนาจทางเศรษฐกิจ เท่ากับได้กุมชะตาชีวิตของชนชั้นทาสกสิกรไว้ในมือ จึงมีอำนาจเด็ดขาดในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของชนชั้นทาสกสิกรที่พึงมีในสังคม ได้เป็นชนชั้นปกครอง
สถาบันทางการเมืองของศักดินาทั้งมวลจึงมีสภาพเป็นสถาบันของพวกศักดินาที่ดูแล แสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นเจ้าที่ดินแต่ฝ่ายเดียว
สถาบันทางการเมืองของศักดินาทั้งมวลจึงมีสภาพเป็นสถาบันของพวกศักดินาที่ดูแล แสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นเจ้าที่ดินแต่ฝ่ายเดียว
รัฐบาลของศักดินาจึงเป็นคณะกรรมการรักษาผลประโยชน์ของพวกชนชั้นเจ้าที่ดินโดยตรง ประธานของคณะกรรมการรักษาผลประโยชน์แห่งชนชั้นเจ้าที่ดินก็คือผู้ที่มีอำนาจในที่ดินมากที่สุด ก็คือกษัตริย์ หรือพระเจ้าแผ่นดิน กษัตริย์ก็คือ ผู้ครอบครองผืนดิน มาจากคำว่า เกษตร หมายถึงที่ดินเพาะปลูก คำว่าขัตติยะ ก็มาจากคำว่า เขตต์ ซึ่งมีความหมายเดียวกัน คำว่าพระเจ้าแผ่นดินก็แปลได้ว่า พระผู้เป็นเจ้าของผืนแผ่นดินทั้งมวล กษัตริย์เป็นผู้กำเอาชะตาชีวิตของประชาชนทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าเจ้าชีวิต แปลว่าเจ้าของชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นตำแหน่งประธานของคณะกรรมการรักษาผลประโยชน์ของพวกชนชั้นเจ้าที่ดิน ทำให้เกิดมีการประกาศโอนที่ดินทั้งมวลเป็นของท่านประธานแต่ผู้เดียว กล่าวคือแผ่นดินทั้งมวล เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินประทานที่ให้คนอยู่อาศัย พระเจ้าแผ่นดินมีสิทธิ์ที่จะริบโอนเวนคืนคือเอากลับคืนไปได้ทุกขณะ รัฐหรือประเทศของสังคมศักดินาจึงเรียกกันว่า พระราชอาณาเขต ซึ่งแปลว่า ผืนที่ดินของพระราชา
ในภาษาอังกฤษซึ่งเรียกพระราชาว่า King ก็เรียกประเทศว่า Kingdom แปลว่าอาณาเขตของพระราชาเมื่อกษัตริย์มีอำนาจเหนือแผ่นดินและเหนือชีวิตของประชาชน กษัตริย์เป็นผู้ประทานชีวิตให้แก่ประชาชน ประชาชนจึงมีชีวิตอยู่ได้ กษัตริย์จะเวนคืนเอาชีวิตคือประหารเมื่อใดก็ได้ รัฐของศักดินาจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระราชอาณาจักร แปลว่า ผืนดินภายในเขตที่กงล้อแห่งอำนาจของพระราชาหมุนไปถึง (อาณาเป็นภาษาบาลี ตรงกับภาษาสันสกฤตว่าอาชญาหรืออาญา)การรวบอำนาจปกครองของสังคมศักดินาจึงเป็นการปกครองระบอบราชาธิปไตย คืออำนาจเป็นของพระราชา หรือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ คืออำนาจและสิทธิ์อันสมบูรณ์เป็นของพระราชา ด้วยการปกครองเช่นนี้ ชนชั้นเจ้าที่ดินจึงมีหลักประกันว่า ตนมีความมั่นคงในการกดขี่และขูดรีดแรงงานตลอดจนหาผลประโยชน์ต่างๆ ได้ตามใจชอบ
2) ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บรรดากษัตริย์และเจ้าขุนมูลนายที่เป็นชนชั้นพิเศษ ซึ่งมีอภิสิทธิ์เหนือประชาชนย่อมมีกมลสันดานอันไม่รู้จักอิ่มในสิทธิอำนาจและผลประโยชน์ เจ้าขุนมูลนายแต่ละคนต่างก็มีอำนาจเหนือที่ดินผืนใหญ่ๆ ด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะเข้าร่วมกันเป็นคณะกรรมการเพื่อรักษาผลประโยชน์และการปกครอง จึงจำเป็นต้องมีเงื่อนไขการแบ่งปันอำนาจให้พอเหมาะกับขนาดและปริมาณที่ดินของตน บางครั้งเจ้าขุนมูลนายที่สูญเสียผลประโยชน์ก็จะแข็งข้อลุกขึ้นต่อสู้กับคณะกรรมการชุดเดิมที่ไม่ให้สิทธิ์ในการขูดรีดประชาชนเท่าเทียมกับผู้อื่น ทำให้ระบบการแบ่งปันอำนาจของพวกศักดินาต้องดำเนินไปโดยถือขนาดและปริมาณที่ดินเป็นบรรทัดฐาน อำนาจของพวกเจ้าขุนมูลนายจะน้อยหรือมากย่อมขึ้นอยู่กับผืนดินที่ตนครอบครอง เป็นเงื่อนไขมาตรฐานที่ใช้จนกระทั่งระบบศักดินาสลายไป
ในตอนต้นของยุคศักดินา กษัตริย์ยังไม่อาจรวบอำนาจไว้ในกำมือได้โดยเด็ดขาด จึงต้องยอมให้เจ้าขุนมูลนายแต่ละคนมีสิทธิอำนาจเหนือที่ดินของตนได้เต็มที่ เรียกกันว่าสามนตราช หรือ พระยามหานคร หรือเจ้าแคว้น/เจ้าประเทศราช กษัตริย์จะบัญชาก็ต้องปรึกษาหารือพวกนี้ก่อน พวกสามนตราชหรือพระยามหานครจะมีเมืองเล็กเมืองน้อยเป็นเมืองขึ้นอีกเท่าใด จะกดขี่ขูดรีดประชาชนอย่างไร จะออกกฏหมาย ออกเงินตรา ฯลฯ อย่างไรเป็นเรื่องของตนเอง กษัตริย์ยุ่งด้วยไม่ได้ อำนาจแท้จริงของกษัตริย์จะมีก็เพียงในหัวเมืองใหญ่น้อยที่ขึ้นตรงกับตนเท่านั้น ดังนั้น
กษัตริย์จึงพยายามล้มเลิกพระยามหานครหรือเจ้าประเทศราชผู้ครองแคว้นต่างๆ แล้วตั้งคนของตนขึ้นแทน เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่มีการทรยศเหมือนพวกชุดเก่าที่เคยเป็นมา การล้มเลิกกรุงสุโขทัยต้นสมัยอยุธยา การล้มเลิกกรุงเชียงใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 การล้มเลิกรัฐนครแพร่ ฯลฯ เหล่านี้ก็คือแผนการรวบอำนาจของกษัตริย์ทั้งสิ้น ขั้นสุดท้ายคือริบโอนเอาที่ดินทั้งมวลมาเป็นของกษัตริย์ ยกเลิกพวกเจ้าขุนมูลนายชุดเก่า แล้วจัดตั้งพวกเจ้าขุนมูลนายชุดใหม่ขึ้น จากวงศ์วานว่านเครือของพวกตน หรือจากข้าราชบริพารที่สัตย์ซื่อต่อตนเองแล้วส่งไปเป็นข้าหลวงดูแลหัวเมืองต่างๆโดยขึ้นตรงต่อกษัตริย์ เรียกว่าเจ้าเมือง เมื่อกษัตริย์โปรดปรานก็จะมอบอำนาจคือที่นาให้เป็นรางวัล โดยไม่เกินที่กฎหมายกำหนดเรียกว่าศักดินา
3) การต่อสู้ของชนชั้นชาวนาปรากฏออกมาในรูปการกบฏ หรือการลุกฮือขึ้นก่อการจลาจลของพวกชาวนา แต่ต้องประสบความพ่ายแพ้มาตลอด ทั้งพ่ายแพ้ต่อกฏหมายอันเป็นเครื่องมือรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นเจ้าที่ดิน และพ่ายแพ้ต่อกำลังปราบปรามของฝ่ายชนชั้นเจ้าที่ดินที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นระบบ เนื่องมาจากสภาพทางเศรษฐกิจ ระบบผลิตอันกระจัดกระจายแยกกันอยู่แยกกันกินคนละแหล่งคนละที่ ทำให้ชาวนาไม่อยู่ในวิสัยที่จะจัดตั้งรวมศูนย์ขึ้นอย่างมีระเบียบและมีพลังพร้อมเพรียงได้ รวมทั้งปรัชญาชีวิตหรือรูปการจิตสำนึกที่พวกชนชั้นศักดินามอมเมาชาวนาว่ามนุษย์ไม่อาจขัดขืนบุญวาสนาได้ ชีวิตขึ้นอยู่กับบุญกรรมและพรหมลิขิตทำให้ชาวนาส่วนมากที่ไม่มีการจัดตั้งเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเกิดความท้อแท้ทอดอาลัยงอมืองอเท้า การลุกฮือขึ้นต่อสู้ของชาวนาจึงเป็นไปในรูปของการจลาจลหรือฝูงชน (Mob) อันขาดพลังที่เหนียวแน่นพร้อมเพรียงและขาดการจัดตั้ง และการนำอันถูกต้อง กลายเป็นเครื่องมือของพวกชนชั้นเจ้าที่ดินที่ขัดแย้งกับอำนาจการปกครองเดิม นำไปใช้เป็นประโยชน์ เช่นเสนอตัวเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ที่จะให้ความเป็นธรรมแก่ชาวนา
ลักษณะทางวัฒนธรรม
หรือวิถีชีวิตในสังคมศักดินา
หรือวิถีชีวิตในสังคมศักดินา
คือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมถือตามชาติกำเนิด และอำนาจที่มีเหนือที่ดินระบอบศักดินาใช้การสืบสันตติวงศ์และสืบสกุลของพวกชนชั้นเจ้าที่ดิน โดยยกย่องเป็นเทวดา เป็น เจ้าฟ้า เป็น พระเจ้า เป็นพระพุทธเจ้า เป็นโอรสสวรรค์ คือ เป็นเทวดาลงมาเกิดหรือเป็นพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด ชนชั้นนี้จึงได้รับความนับถือ และมีอำนาจกดขี่พวกไพร่ตามอำนาจหรือจำนวนที่ดินที่ครอบครอง พวกศักดินาที่ล้มละลายจะกลายเป็นผู้ดีตกยาก พวกผู้ดีขนานแท้เรียกว่าผู้ดีแปดสาแหรก คือบิดามารดาของปู่และย่า กับบิดามารดาของตาและยาย รวมเป็น 8 คน ต้องเป็นผู้ดีทั้งหมด ผู้ดีตีนแดงตะแคงตีนเดิน คือพวกที่ทำงานหนักไม่ได้หรือเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อทำอะไรไม่เป็น ต้องกลายเป็นคนสามัญไปในที่สุด สถาบันศักดินาจะคงอยู่ได้ก็โดยอำนาจในที่ดินที่ตนยังคงมีอยู่เท่านั้น พวกเจ้าที่ดินใหม่ที่เพิ่งมีที่ดิน ก็จะเริ่มมีอำนาจเป็นผู้มีบุญวาสนา เป็นผู้มีข้าทาสบริวาร และกลายเป็นพวกผู้ดีในที่สุด
สำหรับพวกสามัญชนที่ไม่มีที่ดิน หรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อยพอทำามาหากินลุ่มๆ ดอนๆ ไปได้ จะถูกเหยียดหยามลงเป็นพวกไพร่ราบ เป็นพวกมิจฉาทิฐิ ต้องทนรับใช้เวรกรรม เป็นคนชั้นต่ำ ที่พระผู้เป็นเจ้าและเทวดาไม่โปรด การคบหาสมาคมระหว่างชนชั้นทั้งสองเป็นไปได้ยาก หรือชนชั้นไพร่ต้องเป็นผู้เสียเปรียบ เป็นลูกจ๊อก การแต่งงานระหว่างชนสองชั้นเป็นไปได้ยากถ้าผัวเป็นผู้ดี ได้เมียเป็นไพร่ทาส เมียก็จะถูกเหยียดหยามว่าเป็นเมียไพร่ แต่ถ้าผู้หญิงเป็นผู้ดี ผู้ชายเป็นไพร่ ถ้าแต่งงานกันแล้วมีลูก ลูกจะต้องรับกรรมเป็นคนชั่วช้า ต้องทำงานบ่าวไพร่ชั้นต่ำเพราะเป็นลูกของแม่ที่แหกชนชั้น
2) ในสังคมศักดินายังคงมีระบบทาสเหลืออยู่
2) ในสังคมศักดินายังคงมีระบบทาสเหลืออยู่
ผู้ที่ขายตัวเป็นคนรับใช้หรือคนที่นายเงินไถ่ตัวมาเรียกว่า ทาสน้ำเงิน บรรดาลูกของทาสน้ำเงินเรียกว่าทาสในเรือนเบี้ย ที่ซื้อขายกันได้ชนชั้นเจ้าที่ดินยังคงทารุณโหดร้ายต่อทาสในเรือนเบี้ยของตนได้ตามความพอใจ แม้ปลายสมัยศักดินาจะได้มีการปลดปล่อยทาส แต่ทาสก็ยังคงต้องถูกกดขี่ต่อไป เพราะไม่มีที่ดินทำกิน ในที่สุดก็จะกลายมาเป็นกรรมกรขายแรงงาน3) มีการเหยียดหยามเชื้อชาติ หรือชนชาติต่างๆที่ด้อยกว่า เพราะที่ดินทั้งหมดของชนชาติเหล่านั้นตกเป็นของกษัตริย์โดยสิ้นเชิง ผู้อาศัยแผ่นดินท่านจึงเป็นเสมือนพวกข้าทาส เป็นพวกขี้ข้าในหัวเมืองประเทศราชที่ไม่มีคุณงามความดีแต่อย่างใด
4) สตรีในสังคมศักดินาจะถูกกดขี่เหยียดหยามลงเป็นมนุษย์ที่ต่ำกว่าเพศชาย ผ้านุ่งผ้าถุงของสตรีก็เป็นของสกปรกต่ำช้าที่ผู้ชายแตะต้องไม่ได้ พวกเจ้าที่ดินใช้สตรีเป็นเสมือนวัตถุระบายความใคร่ มีระบบฮาเร็มหรือนางสนมกำนัลในในราชสำนักและในบ้านผู้ดีฐานะของเด็กในสังคมศักดินาเป็นฐานะที่ต่ำต้อย เพราะเด็กเกิดมาในฐานะเป็นผลพลอยได้จากความสนุกสนานทางกามารมณ์ของชนชั้นศักดินา คุณค่าของเด็กจึงไม่มี และพวกเจ้าขุนมูลนายปราถนาจะปราบเด็กให้อยู่มือแต่ยังเล็กเพื่อความมั่นคงของสถาบันตน เด็กจึงถูกกดขี่อย่างหนัก
5) ขนบธรรมเนียมที่เป็นประโยชน์ต่อศักดินาจะได้รับการยกย่องเชิดชู เช่น เอ็งอาศัยแผ่นดินของข้าทำมาหากิน เอ็งต้องเป็นหนี้บุญคุณข้า ราชสำนักจะเป็นศูนย์กลางแห่งขนบประเพณีทั้งปวง แล้วถ่ายทอดลงมายังสำนักผู้ดี สำนักผู้ดีจึงถ่ายทอดลงมาสู่พวกลิ่วล้อ แล้วพวกลิ่วล้อถ่ายทอดลงมายังไพร่ราบอีกทอดหนึ่ง พวกไพร่ที่ปราศจากความสำนึกในชนชั้น เมื่อปรารถนาจะได้เข้าสู่วงสังคมโดยไม่เคอะเขินก็ต้องปฏิบัติตามขนบประเพณีของพวกผู้ดี ใครที่มีตีนโตเพราะเหยียบดินทำงาน ก็ต้องหมั่นชะล้างผูกรัดให้ตีนเล็กลงให้มีสีแดงอมเลือดอันเป็นสัญลักษณ์ของผู้ดีที่ไม่ทำงานที่เรียกว่าผู้ดีตีนแดง แต่ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกิดขึ้นในหมู่ไพร่ราบ ก็จะถูกเหยียดหยามว่าเป็นของต่ำทราม
6) ศิลปะและวรรณคดีในราชสำนักที่รับใช้ชนชั้นศักดินาเท่านั้นที่ได้รับการส่งเสริมยกย่องเป็นแบบฉบับ โดยถูกผูกขาดจากชนชั้นศักดินาฝ่ายเดียว กรอบของขนบประเพณีและชีวิตทางเศรษฐกิจการเมืองจะบีบศิลปินไว้ในแวดวงของชนชั้นศักดินาทั้งสิ้น ศิลปะของประชาชนจะถูกเหยียบย่ำเป็นของต่ำ ส่วนศิลปะและวรรณคดีของพวกชนชั้นกลางก็จะเตลิดเข้ารกเข้าพงกลายเป็นศิลปะเพื่อศิลปะ ที่อิสระแบบเพ้อฝัน ไม่ผูกพันกับชีวิตในสังคม
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาประวัติศาสตร์ไทย |
8) ศาสนา ศาสนากับศักดินามีความขัดแย้งกันอย่างหนักหน่วงในต้นยุคศักดินา เพราะศาสนาซึ่งเคยเป็นใหญ่เหนือชะตาชีวิตของมวลชนได้ดิ้นรนเต็มที่ที่จะรักษาอำนาจและความสำคัญของตนไว้ ในยุโรปปรากฏบ่อยว่าสังฆราชประกาศคว่ำบาตรกษัตริย์และกษัตริย์ประกาศยุบสังฆราช แต่อำนาจทางเศรษฐกิจเป็นตัวชี้ขาดที่ทำให้ศักดินาได้รับชัยชนะในที่สุด เพราะศักดินาได้ยึดเอาปัจจัยการผลิตเป็นของตนโดยเด็ดขาดความพ่ายแพ้ของศาสนาทำให้ศาสนากลายเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างบารมีของกษัตริย์ โดยต้องยอมรับว่ากษัตริย์คือสมมติเทพ คือเทวดาบนดิน คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารลงมา คือ พระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด และก็คือผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนศาสนา โดยศักดินาแบ่งปันที่ดินให้แก่ทางศาสนา แบ่งปันข้าทาสให้แก่วัดวาอาราม ยกย่องนักบวชขึ้นเป็นขุนนางมีลำดับยศ มีเบี้ยหวัดเงินปีเงินเดือน ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นทั่วไปทั้งในต่างประเทศและในไทยเมื่อถึงขั้นนี้แล้วศาสนาก็มีหน้าที่อบรมสั่งสอนให้ผู้คนเคารพยำเกรงกษัตริย์ พวกนักบวชเป็นครู อาจารย์ ที่ให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดา ตามความปรารถนาของศักดินา ศาสนาได้กลายเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างเจ้าขุนมูลนายด้วยกันเอง พวกนักบวชที่ตั้งตนเป็นอาจารย์จะซ่องสุมผู้คนเพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมือง หรือเพื่อสนับสนุนเจ้าขุนมูลนายที่อุปการะตน โดยการเผยแพร่วิทยาคมไสยศาสตร์ ใช้ศาสนาเป็นช่องทางให้ประชาชนด่าทอสาปแช่งผู้ปกครองเก่า และหันมาสนับสนุนพึ่งพาบารมีของผู้กำลังจะเป็นเจ้าคนใหม่
กำเนิดของระบอบศักดินา
เป็นระบบผลิตของสังคมที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากระบอบทาสที่มนุษย์ทำมาหากินด้วยการเลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์ ทำการกสิกรรมและหัตถกรรม ปัจจัยสำคัญในการผลิตของมนุษย์ก็คือ ทาส เป็นอันดับหนึ่ง และที่ดินเป็นอันดับสอง เพราะนายทาสเป็นกลุ่มชนที่ไม่ทำการผลิตด้วยตนเอง ทาสเท่านั้นที่เป็นผู้ผลิต คือเป็นผู้ทำงานบนผืนดิน โดยทาสเป็นสมบัติของนายทาสโดยสมบูรณ์ การเป็นทาสมิได้เป็นโดยการขายตัวเหมือนทาสสมัยศักดินา หากเป็นทาสจากการสู้รบถูกจับเป็นเชลยถูกกดลงเป็นทาส กลายเป็นสมบัติของผู้ชนะ แทนการประหารที่เคยทำมาในสมัยปลายยุคบุพกาล พวกเชลยที่ถูกกดลงเป็นทาสเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินของฝ่ายผู้ชนะเหล่านี้จะไม่มีวันกลับคืนเป็นไทได้อีกเลย ลูกเต้าทั้งหญิงชายที่เกิดใหม่ก็ตกเป็นสมบัติของนายทาสเหมือนลูกวัวลูกควายที่นายทาสเลี้ยงไว้ นายทาสมีสิทธิ์ที่จะทำอะไรกับทาสได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะขายหรือฆ่า การเป็นทาสจึงเป็นโดยทางชนชั้น โดยการสืบสกุล จะเปลี่ยนชนชั้นไม่ได้ผลิตผลทั้งหมดที่พวกทาสทำได้บนผืนดินตกเป็นของนายทาสโดยสิ้นเชิง นายทาสจะตั้งโรงเลี้ยงเพื่อหุงหาให้ทาสกินเป็นรายมื้อเหมือนให้อาหารสัตว์ หรือไม่ก็แจกข้าวปลาให้พวกทาสได้กินพอยังชีพเท่านั้น พวกทาสไม่มีสิทธิ์อื่นใดนอกจากสิทธิในการกินให้มีแรงเท่านั้น พวกทาสไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวเลยแม้แต่น้อย
สังคมของนายทาสเป็นสังคมที่หรูหรา ฟุ่มเฟือย คุกรุ่นไปด้วยกามารมณ์ เพราะไม่ต้องทำอะไรเลยจริงๆ มีเวลาแต่งโคลงกลอน ถกเถียงปัญหาทางปรัชญา ได้อย่างเต็มที่ ความเจริญทางปัญญาของมนุษย์ตั้งอยู่บนความทุกข์ยากและการทำงานเหมือนวัวควายของพวกทาส ในประเทศกรีซ ยุคทอง (Golden Age) ประมาณ 600 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เสรีชนในกรุงเอเธนส์คนหนึ่ง มีทาสทำงานในบังคับเฉลี่ย 18 คน ถ้าเป็นครอบครัวใหญ่มีผู้ชาย10 คน ก็มีทาสเฉลี่ยถึง 180 คน สกุลกรีกที่มีอำนาจอาจจะมีทาสเป็นพันๆคน ในกรุงโรมสมัยก่อนคริสต์ศักราชก็มีทาสอย่างคับคั่ง ทำงานแทนนายทั้งหมดนับตั้งแต่งานในไร่นา งานหัตถกรรม งานในบ้าน จนถึงการฟ้อนรำ ประลองอาวุธ สู้กับวัวกระทิง สู้กับสิงโต ให้นายดู
นายทาสที่มีบรรดาศักดิ์คนหนึ่งๆ มีทาสอย่างน้อย 200 คน เวลาไปไหนมาไหนก็เกณฑ์พวกทาสติดตามแห่แหนเป็นขบวน เพื่ออวดเกียรติยศอานุภาพกัน
พวกขุนนางเวลาจะไปไหนมาไหนก็มีเจ้าหน้าที่ 12 คนคอยคุ้มกันให้ความสะดวก พวกให้ความคุ้มกันนี้ถือมัดหวายแสดงอาญาสิทธิ์ในการโบยตีทำโทษผู้กีดขวางทาง ถ้าหากออกนอกกรุง ก็จะเอาขวานเสียบมัดหวายไปด้วย เป็นเครื่องแสดงอาญาสิทธิ์ที่จะประหารใครก็ได้ มัดหวายนี้เรียกกันว่าฟัสซิสต์ ( Fasces ) อันเป็นเครื่องหมายและที่มาของคำว่าลัทธิฟัสซิสต์( Fascism ) ของมุสโสลินีในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
การขูดรีดในสังคมทาสเป็นการขูดรีดโดยสิ้นเชิง คือ ทั้งตัวทาส ทั้งผลิตผลที่ทาสทำได้ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายทาสโดยสิ้นเชิง นายทาสมิได้เหลืออะไรไว้ให้เป็นสมบัติส่วนตัวของทาสเลยแม้แต่ตัวของทาสเอง
การขูดรีดในสังคมทาสเป็นการขูดรีดโดยสิ้นเชิง คือ ทั้งตัวทาส ทั้งผลิตผลที่ทาสทำได้ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายทาสโดยสิ้นเชิง นายทาสมิได้เหลืออะไรไว้ให้เป็นสมบัติส่วนตัวของทาสเลยแม้แต่ตัวของทาสเอง
ระบอบศักดินาได้ถือกำเนิดขึ้นจากความขัดแย้งขั้นแตกหัก ระหว่างนายทาสกับทาส ที่เพิ่มขึ้นถึงขีดสุด แรงงานทาสจำนวนมหาศาลถูกระดมและบังคับให้ทำงานเพื่อรับใช้นายทาสจำนวนไม่กี่คน และยังต้องรับใช้นายทาสใหญ่ผู้เป็นประมุขของรัฐ หรือเป็นประธานคณะกรรมการดูแลจัดสรรผลประโยชน์ของพวกนายทาส
สวนลอยบาบิโลน อยู่ทางตอนใต้กรุงแบกแดด ประเทศอิรัค |
ปราสาทนครวัด เมืองเสียมเรียบ กัมพูชา |
ภาพวาดการสู้รบที่ห้าวหาญของสปาร์ตาคัส |
การล่มสลายระบอบทาสในยุโรปเกิดจากการรุกรานของพวกเยอรมันกับพวกสแกนดิเนเวียนครั้งใหญ่เมื่อราว ค.ศ. 1000 ที่เรียกว่าพวกอนารยชน หรือพวกคนเถื่อนทางเหนือของยุโรปโดยเฉพาะพวกเยอรมัน (Germanic) หรือ ติวตัน (Teuton) ที่ได้ทำลายรัฐทาสลงได้โดยเด็ดขาด เพราะพวกนายทาสมัวเมาระเริงสุขอยู่กับชีวิตอันฟุ้งเฟ้อเหลวแหลกจนกำลังสู้รบลดถอยลง พวกทาสก็ไม่ปกป้องรัฐของนายทาสที่เอาแต่ขูดรีดพวกตน เช่นเดียวกับการพังทลายของอาณาจักรขอม เมื่อ พ.ศ. 1895 จากการโจมตีของกองทัพไทยที่ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่านครธมซึ่งมีกำแพงศิลาสูงตระหง่านล้อมรอบด้านละ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ภายในกำแพงเมืองถึง 16 ตารางกิโลเมตร ต้องพังทลายมิใช่ด้วยฝีมือกองทัพไทยฝ่ายเดียว หากเป็นเพราะฝีมือพวกทาสและประชาชนเขมรที่ถูกกดขี่โดยชนชั้นปกครองขอมมานานและต้องการปลดแอกตนเอง
สังคมไทยกับระบอบทาส
ระบอบศักดินาของไทยเกิดขึ้นโดยมีระบอบทาสเป็นพื้นฐานมาก่อน แต่นักประวัติศาสตร์ฝ่ายศักดินาอ้างว่า สังคมไทยแต่เดิมก่อนสุโขทัยไม่เคยมีระบอบทาส โดยอ้างว่าชื่อชนชาติที่เรียกว่า ไทยแสดงอยู่แล้วว่าเป็นเสรีชน ตรงกับคำว่าไท การมีทาสในยุคศักดินาของไทยมีขึ้นเมื่อมาคบกับเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เห็นว่าเป็นของดีก็เลยยืมมาใช้เล่นโก้ๆ ตามคำอธิบายของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ แล้วสอนกันว่าสมัยสุโขทัยไม่มีทาส
แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์สากลทั่วโลกพบว่าระบอบศักดินาล้วนเกิดขึ้นจากการพัฒนาจากระบอบทาส สังคมมนุษย์เริ่มแรกจากยุคชุมชนบุพกาลหรือยุคหินที่ทุกคนเป็นเสรีชน ต่างคนต่างช่วยกันทำแบ่งกันกิน มีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้นำของกลุ่ม มีกำลังไม่มาก ต้องรบพุ่งแย่งชิงอาหาร แย่งที่ทำกินกัน เมื่อชาติกุลหนึ่งชนะอีกชาติกุลหนึ่งก็ฆ่าทิ้งเสียทั้งหมดเพื่อให้สิ้นเสี้ยนหนาม ต่อมาภายหลังเกิดความคิดที่จะเก็บเอาพวกเชลยศึกไว้ใช้งานเพื่อให้ทำการผลิตแทนตน เกิดนายทาสกับทาส นายทาสต่อนายทาสเกิดรบพุ่งชิงที่ทำกินและชิงทาสกันอีกนาน จนเกิดนายทาสขนาดใหญ่ เกิด กลุ่มนายทาส เกิดรัฐทาส ซึ่งทาสในรัฐทาสนี้แหละจะกลายมาเป็นเลกไพร่ของยุคศักดินาเมื่อรัฐทาสทลายลงหลักฐานที่แสดงว่ายุคสุโขทัยก็มีทาสคือศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ตอนหนึ่งบรรยายถึงลักษณะการสืบมรดกว่า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใด เกิดล้มหายตายจากลง สมบัติของพ่อไม่ว่าจะเป็นเหย้าเรือนก็ดี ช้างก็ดี ขอสับหัวช้างก็ดี ลูกเมียก็ดี ฉางข้าวก็ดี ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมาก ป่าพลู ก็ย่อมตกทอดไปเป็นสมบัติของลูกทั้งสิ้นคำว่าไพร่ฟ้า ในที่นี้มิได้แปลว่าประชาชนเพราะศิลาจารึกเล่าอวดไว้ว่า พ่อมันตายก็ยก ไพร่ฟ้า ของพ่อมันให้ลูกมันรับมรดกไป ไพร่ฟ้าในที่นี้ก็คือพวกไพร่สม ไพร่หลวง หรือพวกเลกสักสมกำลังในสังกัดของพ่อ เมื่อพ่อตาย เลก ก็ต้องโอนไปเข้าสังกัดของลูกมันตามธรรมเนียม
ศิลาจารึกยังได้เล่าถึงการรบระหว่างขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ตอนหนึ่งได้กล่าวถึงขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาตีเมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย (คือโอบเข้าทางปีกซ้าย) ขุนสามชนขับเข้ามาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า (คือกระจายกำลังล้อมเข้ามา) พ่อกูหนีญะญ่ายไพร่ฟ้าหน้าใสพ่ายจะแจ (คือหนีกระจัดกระจาย) ในที่นี้ ไพร่ฟ้าหน้าใส ก็คือ ไพร่หลวง หรือทหาร ในระบบศักดินานั่นเอง ไม่ได้แปลว่าประชาชนอย่างในภาษาไทยปัจจุบัน ในกฏหมายลักษณะลักพาสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1899 ) ก็เรียกพวกนี้ว่า ไพร่ฟ้าข้าหลวง หรือ ไพร่ฟ้าข้าคนหลวง อันหมายถึงพวกไพร่ พวกเลกที่สักข้อมือลงสังกัดเป็นคนของหลวง
เป็นข้อพิสูจน์ทางภาษาที่แสดงถึงระบอบศักดินาของสุโขทัยร่องรอยของการมีทาสอยู่ที่คำว่า ข้าไทพ่อขุนรามคำแหงเล่าอวดไว้ว่า พ่อมันตายก็ต้องยก ไพร่ฟ้าข้าไท ให้ลูกมันไป ไพร่ฟ้า ก็คือไพร่ของฟ้า และแน่นอน ข้าไท ก็คือ ข้าของไท นั่นก็คือ ทาส นั่นเอง ข้าไท ก็คือ ทาสของเสรีชนหลักฐานอีกอันหนึ่ง ก็คือศิลาจารึกกฏหมายลักษณะโจรสมัยสุโขทัย เข้าใจว่าจารึกในปี พ.ศ. 1916 มีตอนหนึ่งว่าด้วยการยักยอก ข้า ไว้ดังนี้ครั้นรู้ว่า ข้า ท่านไปสู่ตนวันนั้นจวนค่ำและบ่ทันส่งคืนข้า ท่าน...บ่เร่งเอาไปเวน (=คืน) แก่จ่าข้า ในรุ่งนั้นจ่าข้าสุภาบดีท่านหากรู้ (จงติดตาม) ไปหา (ข้า) ให้แก่เจ้าข้า หากละเมิดและไว้ ข้า ท่านพ้นสามวัน... ท่านจักให้ปรับไหมวันละหมื่นพัน...
ตามที่ปรากฏในกฏหมายนี้ ข้า ก็คือ ทาส อย่างไม่ต้องสงสัย จ่าข้า ก็คือผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลทาส และ เจ้าข้า ก็คือ เจ้าทาส กฏหมายตอนนี้ก็คือกฏหมายว่าด้วยการละเมิดทรัพย์สิน นั่นก็คือการยักยอกทาสนั่นเองศิลาจารึกสุโขทัยที่เพิ่งพบใหม่ เป็นจารึกเมื่อ พ.ศ. 1935 ตอนหนึ่งในจารึกนั้นมีว่า ผิ (=แม้ว่า) ไพร่ ไท ช้าง ม้า ข้า... ( จารึกลบ... )
ประโยคนี้บอกเราว่าในสุโขทัยมีทั้งไพร่ทั้งข้าสองอย่าง และอย่างที่สามคือ ไท ( เสรีชน ) ไพร่นั้นต้องเป็นคนละอย่างกับข้า เมื่อไพร่ก็คือเลก ข้าก็ต้องเป็นทาสจะเป็นอื่นไปไม่ได้ พิสูจน์เห็นว่าภาษาสมัยสุโขทัยนั้น ไพร่กับข้าแปลผิดกันเมืองสุโขทัยที่นักวิชาการฝ่ายศักดินาอวดอ้างว่ามีแต่ไทนั้น ที่จริงก็มีทาสอยู่ด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ข้าก็คือทาสและทาสก็คือข้า ข้าเป็นภาษาไทย ทาสเป็นภาษาบาลี เดี๋ยวนี้เราก็ยังพูดกันว่า ข้าทาสบริวาร
ข้า ก็คือ ทาส หรือขี้ข้าผู้ต่ำต้อย |
การจะพูดกันอย่างเพื่อนสนิทว่ากูว่ามึงก็เกรงใจกัน เพราะไม่รู้ว่าคนที่พูดด้วยนั้นเป็นใครแน่ ถ้ารู้แน่ว่าเป็นชนชั้นทาสด้วยกัน ก็พูดกันด้วยคำกูคำมึงอย่างไม่มีปัญหา ส่วนคำตอบรับว่าเจ้าข้า พระเจ้าข้า (ซึ่งกลายมาเป็นค่ะ เจ้าค่ะ พะยะค่ะ ) ก็แปลได้ว่า นายทาสนั่นเอง เช่นพูดว่า ไม่กินเจ้าข้า ก็เท่ากับ ไม่กินดอกท่านนายทาส
คำว่าเจ้าข้า มีอยู่ในกฏหมายลักษณะลักพา(พ.ศ.1899)ความหมายตรงกับคำว่าเจ้าทาส (เจ้าของทาส) ในภาษาลาวเรียกทาสว่า ข้อย เช่น ข้อยพาของเจ้ามันลักหนีข้อยก็คือทาส และเจ้าก็คือนายทาส ประชาชนลาวก็นิยมเรียกตัวเองว่าข้อย เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยว่าเจ้า
พวกเขมรเรียกตัวเองว่า ขญม ซึ่งก็แปลว่าทาส แม้ในศิลาจารึกสมัยสังคมทาสของเขมรเมื่อพันปีก่อนก็เรียกพวกทาสว่าขญมข้อความในจารึกวัดป่ามะม่วงเล่าสรรเสริญคุณงามความกรุณาของพญาลือไท (หลานพ่อขุนรามคำาแหง) ไว้ว่า ได้ข้าศึกข้าเสือหัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่า บ่ตี ย่อมเอามาเลี้ยงมาขุน บ่ให้ถึงที่ฉิบที่หาย ที่เอามาคุยอวดถึงการไม่ฆ่าเชลยศึกเป็นหลักคิดที่เกิดขึ้นในปลายยุคชุมชนบุพกาลต่อยุคทาส ที่เอาเชลยศึกมาเลี้ยงมาขุน มิให้ถึงแก่ฉิบหายตายโหงลงไปคามือนี้ย่อมเกิดขึ้นในสมัยสังคมทาสของไทยนั่นเอง
การก่อสร้างปราสาทหินของเขมรได้ใช้พวกทาสเชลยจากแคว้นต่างๆ จำนวนมากมายมหาศาล เช่น ปราสาทหินพระขันเหนือเมืองนครธมซึ่งสร้างในสมัยชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 ถึงหลัง 1744) มีคำจารึกของชัยวรมันว่า ได้ใช้ทาสเชลยทั้งชายหญิงจากประเทศจาม ญวน พุกาม และมอญ เป็นจำนวนถึง 306,372 คน พวกไทยในแคว้นมอญคงรวมอยู่ในจำนวนทาสเหล่านี้ ครั้นพอพวกประเทศจามตั้งตัวติด ก็ยกพวกมาชิงทาสไปจากเขมรบ้าง เป็นสงครามชิงทาสระหว่างรัฐทาส พวกทาสเชลยไทยทั้งปวงก็ถูกต้อนไปเป็นทาสสำหรับงานโยธา สร้างเทวสถานศิลาในเมืองจามอีกทอดหนึ่ง มีศิลาจารึกจามเล่าถึงการอุทิศถวายทาสให้เป็นผู้ทำงานรับใช้ในวัด (เทวสถานศิลา)ของจาม ระบุว่ามีทาสสยาม ที่จามได้ไปโดยการทำสงครามชิงทาสและจับเป็นเชลยศึก เพราะพวกสยามต้องถูกเกณฑ์ให้จัดกองทัพไปช่วยเขมรรบ
ที่นครวัตมีภาพสลักนูน บนผนังระเบียงนครวัต ตอนหนึ่งเป็นภาพการยกทัพของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ( Surya varman II ) พ.ศ. 1657 - 1688 ผู้สร้างนครวัต ในขบวนทัพนั้นกองหน้าสุดเป็นพวกทหารเลวที่ตายก่อนก็คือพวกสยาม มีหนังสือเขียนบรรยายภาพไว้อย่างชัดเจนถึงสองแห่ง ถัดมาเป็นอันดับที่สองคือตายที่สองก็คือพวกไพร่พลเมืองละโว้ มีคำจารึกบรรยายภาพไว้ด้วยเหมือนกันการต่อสู้เพื่อช่วงชิงแหล่งทำมาหากินที่ไทยต้องทำกับชนพื้นเมืองเดิมและการต่อสู้ช่วงชิงทาสระหว่างไทยกับรัฐทาสของเขมรทำให้สังคมไทยพัฒนาไปสู่ระบบทาส ทั้งนี้เพราะแต่ละครัวหรือสกุล ต่างมีทาสเชลยเป็นพลังการผลิต จึงอาศัยการขูดรีดแรงงานทาส แต่ก็ยังคงมีลักษณะของการปกครองแบบพ่อครัวหรือพ่อบ้านที่ไทยพวกนี้เคยใช้มาแต่ยุคชุมชนบุพกาล
ไทยพวกนี้ยังคงเรียกประมุขว่าพ่อ ที่ได้ตกทอดมาจนถึงสมัยสุโขทัย ที่เรียกประมุขของรัฐว่าพ่อขุน และพวกข้ารัฐการ ว่า ลูกขุน คือร่องรอยของระบบชุมชนยุคบุพกาลที่ตกทอดผ่านลงมาในสังคมทาส ในที่สุดก็มาหมดหายไปตอนที่สังคมได้กลายเป็นระบอบศักดินาอย่างเต็มที่ และในยุคทาสนี้เอง ที่สรรพนามกูและมึงถูกรังเกียจ เกิดชนชั้นทางภาษา กูและมึงใช้ได้เฉพาะกับผู้ที่เสมอกัน หรือผู้ที่มีอำนาจกว่าใช้กับผู้น้อย ถ้าเป็นทาสกับเจ้าทาสหรือข้ากับเจ้าข้าแล้ว พวกทาสต้องเรียกตัวเองว่าข้า เรียกนายว่าเจ้า และเวลาตอบรับก็ต้องใช้คำว่าเจ้าข้า จะใช้คำว่า เออ อย่างสนิทสนมเท่าเทียมกันแบบเดิมไม่ได้แล้ว เชื่อว่าสังคมไทยได้ผ่านยุคทาสมาแล้ว อย่างน้อยราว 400 ปี และได้เริ่มคืบคลานไปสู่ระบอบศักดินาในราวยุคสุโขทัย แต่รัฐทาสของไทยตกเป็นเมืองขึ้นของรัฐทาสเขมร และผู้ครองรัฐทาสของไทยในครั้งนั้นได้ต่อสู้กับรัฐทาสของเขมรอย่างหนัก และได้อำนาจอิสระคืนมาในช่วงที่อาณาจักรเขมรถูกพวกจามรุกรานใน พ.ศ. 1720 ในครั้งนั้นกองทัพจามบุกเข้าทำลายเมืองหลวงของเขมรจนย่อยยับไม่ผิดอะไรกับการปล้นสะดม รัฐทาสของเขมรแตกกระจัดกระจายหมดสิ้นอำนาจไปกว่า 10 ปี ในระหว่างนี้พวกนายทาสของไทยคงคุมกันตั้งเป็นรัฐต่างๆ ได้สำเร็จ แต่อยู่ได้เพียงสิบปีเศษ
พวกเขมรคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ( Jayavarman VII พศ. 1724 - หลัง 1744 ) ก็กลับตั้งข้อแข็งเมืองต่อพวกจามได้สำเร็จ กษัตริย์เขมรองค์นี้เข้มแข็งมาก บุกเข้าไปจนถึงเมืองหลวงจาม ถอดพระเจ้าแผ่นดินจาม ตั้งคนของตนขึ้นแทน แล้วก็หันมาเล่นงานรัฐทาสต่างๆ ของไทย บุกเข้ายึดได้ลพบุรี ถอดเจ้าทาสไทยลพบุรี แล้วตั้งลูกชายคือ อินทรวรมัน ขึ้นเป็นเจ้าทาสแทน ทางเหนือรุกไล่ขึ้นไปจนถึงสุโขทัย ตั้งโขลนลำพงหรือโขลนลำพังขึ้นเป็นผู้ครองรัฐ แล้วรุกเลยขึ้นไปจนถึงอาณาจักรพุกาม รัฐทาสของไทยจึงถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ พวกชุมชนของไทยทางเหนือ (อาณาจักรไชยปราการของท้าวมหาพรหม) ยังถูกพวกมอญรุกรานจนแตกกระเจิงลงมาอยู่เมืองแปป (ในกำแพงเพชร) เมื่อราว พ.ศ. 1731 รัฐทาสของไทยจึงระส่ำระสายและพังทลายลงอย่างไม่มีชิ้นดี เมื่อพวกเจ้าทาสถูกจับถูกฆ่าถูกถอดโดยฝีมือเขมร พวกทาสก็หลุดพ้นออกเป็นไท และชุมนุมกันอยู่เป็นแห่งๆ ทำนองเดียวกับที่ยุโรปเคยเป็นมาในสมัยเมื่อพวกอนารยชนรุกราน พวกเสรีชนเหล่านี้ต่างเข้าพึ่งพาผู้ที่มีกำลังเหนือกว่า และรวมกันอยู่เป็นกลุ่มๆ
ชุมนุมของไทยทั้งหลายนี้ต้องถูกเขมรกดขี่รุกรานบังคับให้ส่งส่วยสาอากรเอาตามอำเภอใจ มีความเคลื่อนไหวของประชาชนไทยที่ขึ้นชื่อก็คือ การปลดแอกภายใต้การนำของ นายร่วงหรือพระร่วง ลูกชายของ นายคงเครา หัวหน้าชุมชนไทยที่เมืองลพบุรี ที่ต้องถูกนายทาสเขมรบังคับให้ส่งส่วยประหลาด คือ ส่วยน้ำ เพราะพวกเจ้าทาสใหญ่เมืองเขมรพยายามยกตนขึ้นเป็นเทวดา ที่เรียกกันว่าลัทธิเทวราช ฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไร จะต้องให้ศักดิ์สิทธิ์เหมือนเทวดา เช่น จะอาบน้ำ กินน้ำ ก็ต้องสร้างสระอาบน้ำให้มีรูปเหมือนทะเลน้ำนม (คือเกษียรสมุทร) ตรงกลางสระก็ทำเป็นรูปพญาอนันตนาคราชขดตัวให้เป็นที่นอนของพระนารายณ์ มีเทวรูปพระนารายณ์ ตามตำราของพวกพราหมณ์ที่ว่าพระนารายณ์นอนหลับบนหลังนาคในสะดือทะเลน้ำนม เมื่อจะสรงน้ำในงานพิธี ก็ต้องใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์ จากทะเลสาบชุบศรที่เชื่อกันว่าพระนารายณ์ลงมาตั้งพิธีชุบศรให้มีฤทธิ์ที่อยู่ในเมืองลพบุรี เจ้าทาสใหญ่จึงเกณฑ์พวกทาสไทยให้ขนน้ำไปถวายเป็นรายปีทุกปีในเดือนสี่ พวกชุมชนไทยจึงต้องช่วยกันบรรทุกน้ำด้วยโอ่งไหใส่เกวียนรอนแรมไปเมืองเขมร บุกกันไปเป็นเดือนๆ ขากลับก็ต้องกินเวลาอีกนับเป็นเดือน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่อบดขยี้รัฐต่างๆ ของไทยลงราบเรียบแล้ว ก็ตั้งเจ้าเขมรบ้าง นายทหารเขมรบ้าง นายทาสไทยที่ซื่อสัตย์ต่อเขมรบ้าง ขึ้นเป็นเจ้าทาสครองเมืองเพื่อประกันความซื่อสัตย์ต่อตน
ชัยวรมันที่ 7 มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นหลายองค์ให้มีหน้าตาของชัยวรมันที่ 7 ส่งให้เจ้าทาสทั้งหลายตั้งบูชาไว้กลางเมืองในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่กรุงเทพฯก็มีองค์หนึ่ง ทำด้วยศิลาขนาดโตกว่าตัวจริง หน้าตาเป็นเขมรไว้เปียตามคติพราหมณ์ ได้มาจากพิมาย ชาวบ้านเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต เพราะรู้ว่าชัยวรมันหลอกว่าเป็นพระพุทธรูป พอถึงเดือนสี่จะมีการสรงน้ำทำพิธีไล่ซวยปีเก่า (ไม่ต้อนรับปี ใหม่) ชัยวรมันที่ 7 ก็เตรียมงานพิธีใหญ่ที่ปราสาทหินพระขัน (ยุคนั้นเรียกว่านครชัยศรี) เหนือเมืองนครธม เกณฑ์น้ำสรงจากทะเลสาบชุบศรเมืองลพบุรีและยังเกณฑ์ให้พวกเจ้าทาสเจ้าเมืองต่างๆ ยกขบวนแห่แหนพระพุทธรูปพิสดารนั้นมายังเมืองนครธม เพื่อเข้าร่วมพิธีสรงน้ำด้วย หัวเมืองที่อยู่ไกลแสนไกลอย่างเมืองพิมาย เมืองเพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สุพรรณภูมิ (อู่ทอง) สิงห์บุรี (เมืองสิงห์ในจังหวัดกาญจนบุรี) ต้องระดมข้าทาสแห่แหนรูปของชัยวรมันที่ 7 ไปยังนครธม ถ้าไม่แห่แหนไป ก็ต้องข้อหากบฏแข็งข้อ พวกไทยในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องถูกเจ้าทาสเขมรทารุณกรรมอย่างแสนสาหัส ปีหนึ่งๆ ไม่ต้องทำอะไร เพียงแต่ยุ่งอยู่กับแห่พระไปแห่พระกลับก็เกือบหมดปีแล้ว การทารุณกดขี่ของเจ้าเขมรที่กระทำต่อไทย ทำให้ความขัดแย้งไปสู่ขั้นแตกหัก ชุมชนไทยจึงรวมกันเพื่อสลัดแอกจากเจ้าเขมร
ขณะนั้นนายร่วงหรือพระร่วง ลูกชายสมองดีของนายคงเครา หัวหน้ากองจัดส่วยน้ำ ได้หาวิธีผ่อนคลายความทารุณได้สำเร็จ คือ สานภาชนะด้วยไม้ไผ่แล้วยาด้วยชันกับน้ำมันยาง บรรจุน้ำได้ไม่รั่วซึม ที่ชาวไทยทางภาคเหนือและอีสานยังใช้อยู่เรียกว่าครุ (อ่านว่าคุ)ถือเป็นเครื่องมือทันสมัยที่สุดแห่งยุคทีเดียว เจ้าเขมรเองก็ไม่เคยคิดไม่เคยรู้จัก การคิดสร้างครุขึ้นสำเร็จทำให้เบาแรงในการขนส่งน้ำขึ้นมากมาย การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ได้ใหม่ในยุคทาสนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ถือว่ามหัศจรรย์อย่างยิ่งยวดของยุค ประชาชนร่ำลือกันว่านายร่วงมีวาจาสิทธิ์เอาชะลอมใส่น้ำได้ เล่าลือไปถึงชุมชนไทยทุกถิ่น พวกเสรีชนที่กระจัดกระจายจึงพากันเข้ามารวมอยู่ภายใต้การนำของนายร่วง ลูกชายของชัยวรมันที่ 7 คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 (หรือพระเจ้าประทุมสุริยวงศ์ หลัง พ.ศ.1744-1786 )ได้ข่าวการประดิษฐ์ครุของนายร่วงและการรวมตัวของพวกเจ้าขุนมูลนายและเสรีชนไทย ก็ตกใจใหญ่ ยกกองทัพมาปราบปราม แต่เขมรต้องทำศึกสองด้าน คือต้องหันไปปราบพวกจามที่ตั้งแข็งข้อขึ้นใหม่เมื่อปี 1763 และปราบไม่ได้ พวกทาสในเมืองเขมรเองก็ระอานายทาสเต็มทนอยู่แล้ว ความมั่นคงภายในของเขมรจึงเป็นภาระรีบด่วนของกษัตริย์เขมร มิใช่ภาระที่ปราบปรามไทย ทัพเขมรจึงถูกไทยตีโต้ถอยกระเจิงออกไป
ตามพงศาวดารกล่าวว่านายร่วงรุกเข้าไปถึงเมืองนครธม แต่ไปหลงกลนารีพิฆาตของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 คือนโยบายเอามาเป็นเขย ซึ่งใช้มาตั้งแต่ชัยวรมันที่ 7 อินทรวรมันที่ 2 ลูกชายก็ได้รับเอานโยบายนี้มาใช้เป็นการใหญ่ คือ ยกลูกสาวให้พวกเจ้าเมืองไทยที่กำลังทำท่าจะแข็งข้อ เจ้าเมืองไทยคนหนึ่งชื่อ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ทำท่าจะเก่งเกินไป อินทรวรมันที่ 2 ก็ยกลูกสาวให้คนหนึ่ง คือ พระนางสีขรมหาเทวี แล้วยังตั้งยศให้เป็นพระยาพานทอง ยกขึ้นเป็นกัมรเดงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ แถมประทานพระแสงขรรค์อาญาสิทธิ์ชื่อพระขรรค์ชัยศรี เพื่อให้พ่อขุนผาเมืองหลงใหลเคลิบเคลิ้มรักเจ้าเขมรกดขี่ไทยด้วยกันเองต่อไป และกลายเป็นเป็นแกะดำในหมู่เจ้าขุนมูลนายไทยที่เพิ่งรวมกันติด แต่เจ้าเขมรก็ผิดหวัง การตื่นตัวของประชาชนไทยสูงมากถึงขนาดที่เขมรไม่อาจซื้อได้ พ่อขุนผาเมืองได้นำกำลังของเสรีชนไทยในเมืองราดเข้าร่วมกับกำลังของประชาชนในเมืองบางยาง
ภายใต้การนำของพ่อขุนบางกลางทาว ประชาชนของทั้งสองเมืองได้ร่วมกันปลดแอกเจ้าเขมรอันหนักอึ้งออกไปได้โดยการเข้าขับไล่นายทาสเขมรที่สุโขทัยคือ โขลนลำพัง ต่อมานายร่วงนักต่อสู้ของประชาชนไทยก็หายหน้าไป อาจจะไปโดนเล่ห์กลของเจ้าทาสเขมร นักพงศาวดารเลยทึกทักเอาพระร่วงเข้าไปรวมเป็นคนเดียวกับพ่อขุนบางกลางทาวเจ้าเมืองบางยาง เมื่อประชาชนไทยจากเมืองราด เมืองบางยางร่วมกับเมืองสุโขทัยรวมกำลังกันขับไล่นายทาสเขมรออกไปแล้ว พ่อขุนผาเมืองก็ยกสหายของตนขึ้นเป็นกษัตริย์ ทำพิธีราชาภิเษกให้แล้วยังยกราชทินนามของตนที่ได้รับมาจากเจ้าเขมรให้แก่พ่อขุนบางกลางทาวให้เป็นกษัตริย์ชื่อว่าพ่อขุนศรีอินทรบดินทราทิตย์ ภายหลังตัดเหลือเพียง ศรีอินทราทิตย์ พร้อมตั้งรัฐสุโขทัย ประชาชนไทยอีกหลายแห่งก็ได้ลุกฮือขึ้นสลัดอำนาจของเจ้าเขมร เช่น รัฐเชียงใหม่ ( พญาเมงราย) รัฐพะเยา (พญางำเมือง) รัฐฉอด (ขุนสามชน) รัฐสุพรรณภูมิ (อู่ทอง) รัฐอีจาน(ในดงอีจานใต้นครราชสีมาและสุรินทร์)ฯลฯ รัฐไทยเหล่านี้เป็นเจ้าที่ดินใหญ่มีป้อมปราการมั่นคง เป็นจุดรวมตัวของเสรีชนและเจ้าขุนมูลนายย่อย
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เล่าไว้ว่า คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่วยเหลือเฟื้อกู้มัน (คือช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกอบกู้มัน) บ่มีช้าง บ่มีม้า บ่มีปั่ว (บ่าว) บ่มีนาง บ่มีเงือน (เงิน) บ่มีทอง ให้แก่มัน ช่วยมันตวง (ตั้ง) เป็นบ้านเป็นเมือง การขี่ช้างมาหาพาเมืองมาสู่นี้ เป็นการเข้ามาสามิภักดิ์ของพวกเจ้าขุนมูลนายที่เข้ามาขอพึ่งต่อเจ้าที่ดินใหญ่ ส่วนการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อประทานช้างม้าบ่าวไพร่ชายหญิงเงินทองให้ช่วยจัดตั้งให้เป็นบ้านเป็นเมืองขึ้น เป็นการช่วยเหลือที่ฝ่ายเจ้าที่ดินใหญ่ให้แก่พวกเจ้าที่ดินย่อยที่มาขอพึ่งสมัยสุโขทัยคงเป็นรอยต่อระหว่างระบอบทาสที่พังทลายกับระบอบศักดินาที่กำลังพัฒนาขึ้นแทนที่ จากศิลาจารึกที่คุยอวดไว้ว่า ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ (ลาง – ขนุน) หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน แสดงว่าเป็นคนละแบบคือเมื่อก่อน ใครสร้างไว้ไม่ได้แก่คนนั้นแต่ไปได้แก่คนอื่น คือ ทาสสร้างได้ไว้แก่นายทาส แสดงว่าก่อนยุคนั้นพวกทาสยังมีสมบัติส่วนตัวไม่ได้ ทำอะไรได้เท่าไหร่ต้องตกเป็นของเจ้าทาสหมด พวกทาสเริ่มมามีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวอันเกิดจากน้ำพักน้ำแรงของตนก็เมื่อปลายยุคทาสต่อกับยุคศักดินาซึ่งทาสกำลังกลายเป็นเลกหรือไพร่ การเปลี่ยนแปลงเรื่องกรรมสิทธิ์เช่นนี้นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสังคม ศิลาจารึกจึงอดไม่ได้ที่จะเก็บมาคุยอวดไว้ให้คนทั้งหลายฟัง หากเป็นเรื่องปกติธรรมดาอยู่นานแล้วจะต้องเก็บมาคุยอวดทำไม เจ้าที่ดินใหญ่หรือพ่อขุนของสุโขทัยคงเป็นเจ้าที่ดินหน้าใหม่ ยังไม่มีที่ดินใหญ่โตมากมายหรือมีอำนาจมากมายนัก
พอตั้งรัฐสุโขทัยได้ไม่นาน รัฐฉอด(ที่อำเภอแม่สอด)ของขุนสามชนก็ยกเข้ามารุกรานสุโขทัยจากเมืองตาก ขุนจัง กับท้าวอีจานก็รุกรานเมืองราด เจ้าที่ดินใหญ่ของสุโขทัยก็พยายามต่อสู้และชักจูงให้รัฐอื่นเข้ามาสามิภักดิ์ พร้อมทั้งออกทำสงครามแย่งชิง พ่อขุนรามคำแหงเล่าอวดไว้ในศิลาจารึกว่า กูไปท่(ตี) บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่ว(บ่าว) ได้นาง ได้เงิน ได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู แต่สุโขทัยก็ไม่อาจขยายดินแดนออกไปได้กว้างขวางนัก เพราะรัฐไทยส่วนมากมีความเข้มแข็งพอๆกับสุโขทัย เจ้าที่ดินใหญ่ของแต่ละรัฐจึงคบกับสุโขทัยในฐานะเป็นเพื่อนน้ำมิตร เช่น รัฐเชียงใหม่ของพญาเมงราย รัฐพะเยาของพญางำเมือง รัฐหริภุญชัย (ลำพูน)ของพญาญี่บา อาณาเขตของสุโขทัยจึงสะดุดลงที่เขตแดนของรัฐเหล่านี้ โดยเมืองหน้าด่านสำคัญสี่ทิศ (เมืองลูกหลวง) ของสุโขทัย อยู่ใกล้ๆ ตัวกรุงสุโขทัยทั้งสิ้น สวรรคโลก (สัชชนาลัย) อยู่ด้านเหนือ พิษณุโลก(สองแคว)อยู่ด้านตะวันออก พิจิตร(สระหลวง)อยู่ด้านใต้ และกำแพงเพชร (ชากังราว) อยู่ด้านตะวันตก ทั้งสี่เมืองมีระยะทางห่างจากสุโขทัยเพียงระยะทางเดินสองวันทั้งสิ้น เมืองที่อยู่ภายในวงนี้เท่านั้นที่อยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัยโดยตรง นอกจากนั้นไม่ว่าจะเป็นหงสาวดี หลวงพระบาง สุพรรณภูมิ (อู่ทอง) เพชรบุรี นครศรีธรรมราช ล้วนเป็นเพียงเมืองประเทศราชที่ยังมีอำนาจมากอยู่ทั้งนั้น พวกรัฐเล็กรัฐและรัฐใหญ่เหล่านี้จะแข็งข้อได้ทุกขณะถ้าเกิดผลประโยชน์ขัดกัน ที่ชัดเจนคือ รัฐสุพรรณภูมิของพระเจ้าอู่ทองซึ่งได้ย้ายมาตั้งมั่นอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา ในสมัยสุโขทัยได้มีการแบ่งปันที่นากันแล้วตามศักดิ์ของแต่ละคน ลูกหลานพ่อขุนก็ได้มาก ลูกขุนข้าราชการก็ได้น้อยลงมา
กฏหมายลักษณะโจรของกรุงสุโขทัย ราวปีพศ. 1916 ได้กล่าวถึงการปรับไหมตามศักดินาของแต่ละคนอย่างเดียวกับสมัยอยุธยา ตามกฏหมายกรมศักดิ์ เจ้าเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงเป็นขุน เช่น ขุนสามชน ราชะใหญ่คือ กษัตริย์ เป็นพ่อขุน กษัตริย์สุโขทัยที่เป็นพ่อขุนมีเพียง2-3 องค์เท่านั้น เช่น พ่อขุนผาเมือง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนรามคำแหง แล้วกษัตริย์ก็กลายมาเป็นพญา อย่างพญาเลอไทย แล้วก็ขยับเข้าสู่ขั้นเจ้าพญา ถัดจากนั้นก็ขอยืมคำเขมรมาเสริมเป็นสมเด็จเจ้าพญา ท้ายที่สุดก็เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ดังปรากฏอยู่ในกฏหมายลักษณะโจร แสดงถึงการพยายามรวบอำนาจเหนือที่ดินของกษัตริย์สุโขทัย ตั้งแต่รัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จนบรรลุผลสำเร็จสามารถรวบอำนาจในที่ดิน ยกตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน หลังจากนั้น ศักดินาสุโขทัยได้ถูกศักดินาอยุธยาช่วงชิงผืนดิน ในที่สุดผืนดินทั้งมวลของสุโขทัยก็ตกเป็นของพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาโดยสิ้นเชิงเมื่อปี พ.ศ. 1981
ระบบศักดินาของอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงเมื่อ พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทองได้พาประชาชนอพยพหนีโรคระบาดจากความกันดารน้ำเพราะกระแสน้ำเปลี่ยนทางเดิน ลงมาช่วยกันสร้างบ้านสร้างเมืองหักร้างถางพงเป็นไร่นา ก่อนนั้นรวมกันอยู่ที่เมืองอู่ทอง (ในสุพรรณบุรี) เป็นเมืองประเทศราชของสุโขทัย กษัตริย์ในแคว้นสุพรรณภูมิได้แบบอย่างจากเขมรที่ถือว่ากษัตริย์คือเทวะ พระเจ้าอู่ทองได้ตั้งชื่อตัวเองเต็มยศอย่างกษัตริย์เขมรว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี ศรีวิสุทธิวงศ์ องคบุริโสดม บรมจักรพรรดิราชาธิราชตรี ภูวนาธิเบศ บรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว แปลว่า พระเจ้ารามาธิบดี ผู้มีชาติกำาเนิดในโคตรตระกูลอันสูงส่ง เป็นบุรุษผู้สูงสุด เป็นพระเจ้าจักรพรรดิคือผู้มีเมืองขึ้นโดยรอบ เป็นพระราชาแห่งราชาทั้งปวง และเป็นพระพุทธเจ้านั่งอยู่เหนือหัวของทวยราษฎร์ การปกครองของแคว้นสุพรรณภูมิหรืออู่ทองเป็นไปโดยมีระเบียบแบบแผนสมบูรณ์ ตามกฏหมายลักษณะเบ็ดเสร็จว่าด้วยการพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน ที่ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ.1886 ก่อนสร้างอยุธยา 8 ปี และกฏหมายลักษณะทาส ซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ.1890 ก่อนสร้างอยุธยา 4 ปี ภายหลังจากที่ได้อพยพย้ายครัวมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว
ฐานะของกษัตริย์ปรากฏชัดว่า เป็นเจ้าของผืนแผ่นดินทั้งมวลในอาณาจักร เห็นได้จากคำปรารภของกฏหมายเบ็ดเสร็จซึ่งพระเจ้าอู่ทองได้ตราขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1903 หลังจากการสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้ว 10 ปี มีว่า จึ่งพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสีหนาท ดำรัสตรัสแก่เจ้าขุนหลวงสพฤๅแลมุขมนตรีทั้งหลายว่า ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยามหาดิลกนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ เป็นที่แห่งพระเจ้าอยู่หัว หากให้ราษฎรทั้งหลายผู้เป็นข้าแผ่นดินอยู่ จะได้เป็นที่ราษฎรหามิได้
เป็นอันว่าฐานะของกษัตริย์ตอนต้นอยุธยาได้ถูกประกาศอย่างกึกก้องเต็มปากโดยไม่ต้องเกรงกลัวใครแล้วว่า กษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดิน และกษัตริย์ได้ทรงพระกรุณาประทานที่ให้ราษฎรทำมาหากิน เมื่อที่ดินทั้งมวลเป็นของกษัตริย์ ประชาชนก็ย่อมไม่มีสิทธิ์ในที่ดิน มีหลักฐานปรากฏชัดว่าประชาชนจะขายจะซื้อที่ดินกันได้ก็เพียงแต่ในบริเวณตัวเมืองหลวงเท่านั้น นอกเมืองหลวงออกไปแล้วที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของกษัตริย์โดยเด็ดขาดจะซื้อขายกันไม่ได้ ตามข้อความในมาตรา 1 ของกฏหมายลักษณะเบ็ดเสร็จส่วนที่ 2 (เพิ่มเติม) มีความว่าถ้าที่นอกเมืองหลวง อันเป็นแว่นแคว้นกรุงศรีอยุธยาใช่ที่ราษฎร อย่าให้ซื้อขายแก่กัน...
คือประชาชนมีกรรมสิทธิ์ที่ดินในตัวเมืองหลวงเท่านั้น ประชาชนผู้ที่อยู่นอกเมืองหลวงออกไป จนถึงปลายอาณาเขตศรีอยุธยาไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของที่ดินเลยแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ประชาชนมีหน้าที่อาศัยผืนแผ่นดินของกษัตริย์ และเสียภาษีอากร เป็นการตอบแทน แบบเดียวกับศักดินาใหญ่ของประเทศลาวในสมัยโบราณ ซึ่งบาทหลวงบูรเลต์ ( Bourlet ) กล่าวไว้ว่าในเมืองหัวพันทั้งหกนั้น ชาวบ้านไม่รู้จักกรรมสิทธิ์ที่ดิน อาณาเขตเป็นของเจ้าชีวิต หรือพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบาง ประชาชนเป็นแต่ผู้เก็บกินหรือผู้ทำ ก่อนที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองประเทศนี้ ชาวบ้านชำระภาษีอากรทุกปีเพื่อเป็นค่าอาศัยที่ดินของเจ้าชีวิต เมื่อที่ดินทั้งหมดเป็นของกษัตริย์แต่ผู้เดียว
คือประชาชนมีกรรมสิทธิ์ที่ดินในตัวเมืองหลวงเท่านั้น ประชาชนผู้ที่อยู่นอกเมืองหลวงออกไป จนถึงปลายอาณาเขตศรีอยุธยาไม่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของที่ดินเลยแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ประชาชนมีหน้าที่อาศัยผืนแผ่นดินของกษัตริย์ และเสียภาษีอากร เป็นการตอบแทน แบบเดียวกับศักดินาใหญ่ของประเทศลาวในสมัยโบราณ ซึ่งบาทหลวงบูรเลต์ ( Bourlet ) กล่าวไว้ว่าในเมืองหัวพันทั้งหกนั้น ชาวบ้านไม่รู้จักกรรมสิทธิ์ที่ดิน อาณาเขตเป็นของเจ้าชีวิต หรือพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบาง ประชาชนเป็นแต่ผู้เก็บกินหรือผู้ทำ ก่อนที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองประเทศนี้ ชาวบ้านชำระภาษีอากรทุกปีเพื่อเป็นค่าอาศัยที่ดินของเจ้าชีวิต เมื่อที่ดินทั้งหมดเป็นของกษัตริย์แต่ผู้เดียว
ฐานะของประชาชนในระบบศักดินายุคต้นของอยุธยาก็คือเป็นผู้ทำงานบนผืนดินส่งส่วยสาอากรแก่เจ้าที่ดิน การที่จะทำงานบนผืนที่ดินนั้นโดยที่ตนมิได้มีกรรมสิทธิ์เป็นเหตุให้การทำางานอืดอาดไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะไม่มีแก่ใจ กษัตริย์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน และผู้เสวยผลประโยชน์จึงต้องออกกฏหมายบังคับไว้ว่าที่ดินในรัฐทุกแห่ง อย่าละไว้ให้เป็นทำเลเปล่า แลให้นายบ้านนายอำเภอร้อยแขวงและนายอากรจัดคนเข้าไปอยู่ในที่นั้น และเพื่อเป็นกำลังใจแก่ประชาชนที่จะทำการผลิต จึงบอกไว้ว่า อนึ่ง ที่นอกเมืองชำรุดอยู่นานก็ดี แลมันผู้หนึ่งล้อมเอาไว้เป็นไร่เป็นสวนมัน มันได้ปลูกต้นไม้สรรพอัญมณี (= ของกินได้) ในที่นั้นไว้ ให้ลดอากรไว้แก่มันปีหนึ่ง พ้นกว่านั้นเป็นอากรของหลวงแล คือลดภาษีอากรเป็นกำลังใจแก่ผู้ก่นสร้างที่ดิน
กฏหมายยังระบุว่า หัวป่าแลที่มีเจ้าของสืบสร้าง แลผู้นั้นตาย ได้แก่ลูกหลาน แบบเดียวกับที่คุยอวดไว้ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่าป่าหมากป่าพลูทั้งมวล ใครสร้างได้ไว้แก่มัน และพอมันตายลง พ่อมันก็ไว้แก่ลูกมันสิ้น แต่ลูกหลานมิได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน หากได้เพียงกรรมสิทธิ์ผลประโยชน์บนผืนดินเท่านั้นเอง ถ้าหากทอดทิ้งที่ดินนั้นไปเสียเก้าปี สิบปี กฏหมายระบุให้แขวงจัดคนที่ไม่มีที่อยู่เข้าทำกินต่อไปเป็นเจ้าของใหม่ ถ้าหากต้นไม้และผลประโยชน์อื่นมีติดที่ดินอยู่ ก็ให้ผู้มาอยู่ใหม่คิดเป็นราคาชดใช้ให้พอสมควร
กฏหมายยังระบุว่า หัวป่าแลที่มีเจ้าของสืบสร้าง แลผู้นั้นตาย ได้แก่ลูกหลาน แบบเดียวกับที่คุยอวดไว้ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่าป่าหมากป่าพลูทั้งมวล ใครสร้างได้ไว้แก่มัน และพอมันตายลง พ่อมันก็ไว้แก่ลูกมันสิ้น แต่ลูกหลานมิได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน หากได้เพียงกรรมสิทธิ์ผลประโยชน์บนผืนดินเท่านั้นเอง ถ้าหากทอดทิ้งที่ดินนั้นไปเสียเก้าปี สิบปี กฏหมายระบุให้แขวงจัดคนที่ไม่มีที่อยู่เข้าทำกินต่อไปเป็นเจ้าของใหม่ ถ้าหากต้นไม้และผลประโยชน์อื่นมีติดที่ดินอยู่ ก็ให้ผู้มาอยู่ใหม่คิดเป็นราคาชดใช้ให้พอสมควร
ส่วนที่นั้นมิให้ซื้อขายแก่กันเลย คือประชาชนมิได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตนทำมาหากิน ที่ดินยังคงเป็นของกษัตริย์ ประชาชนมีสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้ครอบครองเพื่อทำการผลิตและแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่กษัตริย์เท่านั้น กษัตริย์ยังคงมีสิทธิ์สมบูรณ์เหนือที่ดิน จะริบจะโอนอย่างไรก็ได้ทั้งสิ้น เห็นได้จากกฏหมายเบ็ดเสร็จ ที่ระบุว่า กษัตริย์มีสิทธิ์สมบูรณ์ในการจะยกที่ดินให้ใคร ก็ได้ แม้ที่ดินนั้นจะมีผู้ครอบครองทำมาหากินอยู่ก่อนแล้ว ใครจะมาโต้เถียงคัดค้านสิทธิ์ของผู้ที่ได้รับพระราชทานไม่ได้ ถ้าคัดค้านโต้เถียงก็เป็นการขัดขืนพระราชโองการ ประชาชนใช้สิทธิ์ในการครอบครองที่ดินโต้แย้งกันเองได้ แต่จะโต้แย้งต่อกษัตริย์ไม่ได้ การที่พระเจ้าอู่ทองประกาศว่าที่ดินทั้งมวลเป็นของตนแต่ผู้เดียวนั้น มีผลเฉพาะในหมู่ไพร่เท่านั้น แต่ไม่มีน้ำหนักมากนักในหมู่เจ้าขุนมูลนาย
พระเจ้าอู่ทองรวบที่ดินในรัฐอยุธยาไว้ได้เด็ดขาดจริง แต่รัฐเล็กรัฐน้อยของพวกเจ้าขุนมูลต่างก็เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ทั้งนั้น รัฐสุพรรณภูมิของขุนหลวงพะงั่ว ที่แข็งแรงใหญ่โตก็ตั้งตนเป็นเจ้าครอบครองที่ดินแทนหลังจากพระเจ้าอู่ทองอพยพมาอยุธยา พอพระเจ้าอู่ทองสวรรคต ขุนหลวงพะงั่วก็ช่วงชิงราชบัลลังก์อยุธยาไปเป็นของตน อยุธยายังต้องเผชิญกับการแข็งข้อของเจ้าขุนมูลนายอีกหลายรัฐต้องปราบปรามอยู่หลายสิบปี และท้ายที่สุดก็พยายามรวบอาณาจักรสุโขทัยอยู่นาน มีการรบกันหลายครั้งจนรบชนะ แต่สุโขทัยยังเข้มแข็งพอที่จะรักษาอำนาจเหนือที่ดินของตนในฐานะเจ้าประเทศราช เจ้าที่ดินใหญ่อยุธยาต้องใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครองโดยยุยงให้พญาบาลเมือง (ผู้พี่) พญารามคำแหง(ผู้น้อง) ลูกเจ้ากรุงสุโขทัย(ทั้งสองเป็นเหลนของพ่อขุนรามคำแหง) แก่งแย่งผลประโยชน์รบกันเป็นสงครามกลางเมืองผู้คนล้มตายกันมากมาย เพื่อแย่งราชบัลลังก์กัน
แล้วกษัตริย์อยุธยาจัดการแบ่งอาณาเขตให้ทั้งสองฝ่ายปกครองเป็นสุโขทัยตะวันออกให้พญาบาลเมืองครอบครองตั้งเมืองหลวงที่พิษณุโลก ส่วนพญารามคำแหงให้ครองสุโขทัยตะวันตกตั้งเมืองหลวงที่ กำแพงเพชร พอถึง พ.ศ. 1981 พญาบาลเมืองที่ครองพิษณุโลกสิ้นพระชนม์ กษัตริย์อยุธยาก็ประกาศล้มเลิกอาณาจักรสุโขทัย ริบเอาที่ดินของพญาบาลเมืองและพญารามคำแหงมาเป็นของตน พวกเจ้าขุนมูลนายเดิมของสุโขทัยหันไปพึ่งกำลังของท้าวลก (พระเจ้าติโลกราช)เจ้าเชียงใหม่ให้ช่วย แต่กำลังของอยุธยาเข้มแข็งกว่ามาก ที่ดินทั้งหมดของรัฐสุโขทัยจึงตกเป็นของกษัตริย์อยุธยาโดยตรง แล้วออกกฏหมายศักดินาเรียกว่า พระอัยการตำแหน่งนาทหารและพลเรือน เมื่อปี พ.ศ. 1998 เป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาสถาบันของชนชั้นศักดินาไทยให้ยืนยาวอยู่ได้จนกระทั่งถูกโค่นอำนาจทางการเมืองโดยการปฏิวัติของชนชั้นกลางที่เรียกว่าคณะราษฎร ในปี พ.ศ. 2475
แล้วกษัตริย์อยุธยาจัดการแบ่งอาณาเขตให้ทั้งสองฝ่ายปกครองเป็นสุโขทัยตะวันออกให้พญาบาลเมืองครอบครองตั้งเมืองหลวงที่พิษณุโลก ส่วนพญารามคำแหงให้ครองสุโขทัยตะวันตกตั้งเมืองหลวงที่ กำแพงเพชร พอถึง พ.ศ. 1981 พญาบาลเมืองที่ครองพิษณุโลกสิ้นพระชนม์ กษัตริย์อยุธยาก็ประกาศล้มเลิกอาณาจักรสุโขทัย ริบเอาที่ดินของพญาบาลเมืองและพญารามคำแหงมาเป็นของตน พวกเจ้าขุนมูลนายเดิมของสุโขทัยหันไปพึ่งกำลังของท้าวลก (พระเจ้าติโลกราช)เจ้าเชียงใหม่ให้ช่วย แต่กำลังของอยุธยาเข้มแข็งกว่ามาก ที่ดินทั้งหมดของรัฐสุโขทัยจึงตกเป็นของกษัตริย์อยุธยาโดยตรง แล้วออกกฏหมายศักดินาเรียกว่า พระอัยการตำแหน่งนาทหารและพลเรือน เมื่อปี พ.ศ. 1998 เป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาสถาบันของชนชั้นศักดินาไทยให้ยืนยาวอยู่ได้จนกระทั่งถูกโค่นอำนาจทางการเมืองโดยการปฏิวัติของชนชั้นกลางที่เรียกว่าคณะราษฎร ในปี พ.ศ. 2475
ระบบศักดินาในประเทศไทย มีการเคลื่อนไหวของชนชั้นศักดินาไทยครั้งใหญ่เพื่อรวบที่ดินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนโดยสิ้นเชิง โดยพระบรมไตรโลกนาถเป็นผู้นำเมื่อ พ.ศ. 1998 หลังจากต่อสู้กับพวกเจ้าขุนมูลนายต่างๆ ทางแคว้นสุโขทัย, สุวรรณภูมิ, นครสวรรค์, ฉะเชิงเทรา ฯลฯ จนได้ชัยชนะเด็ดขาด ประกาศโอนเอาที่ดินทั่วอาณาจักรเข้าไว้เป็นของกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวแล้วจัดการแบ่งสรรปันส่วนที่ดินอย่างขนานใหญ่ในหมู่ชนชั้นศักดินาและพวกเจ้าขุนมูลนายที่ได้เข้าร่วมแผ่ขยายอาณาจักร โดยจะต้องส่งส่วยสาอากรถวายเป็นการตอบแทนตามที่ตกลงกันการออกกฏหมายจำกัดขนาดของที่ดิน เป็นการจำกัดอำนาจทางการเมืองของพวกเจ้าขุนมูลนายอย่างได้ผล โดยให้ขุนวัง เป็นผู้กำกับดูแลและได้รับส่วนแบ่งที่ดินหนึ่งหมื่นไร่ อันเป็นส่วนที่สูงที่สุดเท่าที่ข้าราชการได้รับ มีการประกาศใช้พระอัยการตำแหน่งนาทหารและพลเรือน เมื่อ พ.ศ. 1998 เรียกขานกษัตริย์ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนายกดิลกผู้เป็นเจ้าเกล้าภูวมณฑลสกลอาณาจักร ฯลฯ เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดทั่วราชอาณาจักรแล้วจึงได้ประทานที่ดินให้แก่พวกวงศ์วานว่านเครือของตนและข้าราชบริพารไปทำมาหากินอีกทอดหนึ่ง พอสรุปตัวอย่าง ได้ ดังนี้
พระบรมวงศานุวงศ์รวมทั้งข้าราชการฝ่ายใน :พระอนุชาธิราชหรือมหาอุปราช ได้ศักดินา 100,000 ไร่พระอนุชาที่ทรงกรมแล้ว ศักดินา 50,000 ไร่ ยังมิได้ทรงกรม 20,000 ไร่พระเจ้าลูกเธอที่ทรงกรมแล้ว ศักดินา 40,000 ไร่ ยังมิได้ทรงกรม 15,000 ไร่สมเด็จหลานเธอ ที่ทรงกรมแล้ว ศักดินา 11,000 ไร่ ยังมิได้ทรงกรม 4,000 ไร่หม่อมเจ้า ศักดินา 2,500 ไร่หม่อมราชวงศ์ ศักดินา 500 ไร่
ทรงกรม คือเจ้านายที่โตพอที่จะบังคับบัญชาไพร่พลได้ ก็ได้รับอนุญาตให้ตั้งกรมขึ้นในบังคับบัญชา กรมที่ตั้งนี้มี เจ้ากรม ปลัดกรม และ สมุห์บัญชี ตระเวนออกสำรวจผู้คนในที่ดินของตน แล้วลงทะเบียนชายฉกรรจ์ทุกคนเข้าบัญชีไว้ใช้สอย โดยจดชื่อลงบัญชีกระดาษยาวเหมือนหางว่าว เรียกว่า บัญชีหางว่าว แล้วเอาน้ำหมึกสักเลขหมายหมู่กรมกองลงบนข้อมือหรือท้องแขนของชายฉกรรจ์นั้นเพื่อใช้เหมือนบัตรประจำตัวและกันการหลบหนี คนที่ลงทะเบียนสักเลขแล้วนี้เรียกว่าเลข หรือ เลก ซึ่งจะต้องเข้าเวรทำงานให้แก่เจ้าขุนมูลนายของตัวเอง
ยังมีพวกเจ้านายอีกมากมายที่ได้รับบรรดาศักดิ์ ( เรียกว่าเจ้ามีชื่อ ) และรับราชการในตำแหน่งต่างๆ สำหรับขี่ช้างขี่ม้า ประดับยศบารมี และเป็นกองกำลังรักษาโขลงกระบือหรือฝูงควายส่วนพระองค์ พวกนี้มีศักดินา 1,000 ไร่ 800 ไร่ และ 500 ไร่ ตามลำดับ มีทั้งสิ้น 20 ตำแหน่ง
พวกเมียเล็กเมียน้อยของกษัตริย์ คือ พวกสาวสวรรค์กำนัลใน ที่รับใช้ทั้งการบ้านการครัว มีอัตราศักดินาดังนี้ :พระพี่เลี้ยง (ท้าววรจันทร์) ศักดินา 1,000 ไร่นางท้าวพระสนมเอกทั้ง 4 (คือ ท้าวอินทรสุเรนทร์, ท้าวศรีสุดาจันทร์, ท้าวอินทรเทวี, ท้าวศรีจุฬาลักษณ์) ศักดินา 1,000 ไร่แม่เจ้า แม่นาง ศักดินา 1,000 ไร่นักพฤฒิชราฉลองพระโอษฐ์ทั้ง 4 (คือ ท้าวสมศักดิ์, ท้าวโสภา, ท้าวศรีสัจจา และท้าวอินทรสุริยา) ศักดินา 1,000 ไร่นางสนม นางกำนัล ศักดินา 800 ไร่นางกำนัลแต่งเครื่องวิเสท (คือทำเครื่องเสวย) ศักดินา 600 ไร่พระสนมและพระพี่เลี้ยงของพระอนุชา, พระราชกุมาร, พระราชบุตรี ศักดินา 400 ไร่นางสนมและพระพี่เลี้ยงของราชบุตร, ราชนัดดา ศักดินา 200 ไร่สาวใช้ต่างกรม ศักดินา 100 ไร่สรุปว่า พวกผู้หญิงที่รับราชการทั้งที่เป็นเมียและไม่ได้เป็นเมีย ถ้าอยู่ในวังแล้วจะได้รับอัตราที่ดินทุกคน
(2) อัตราของข้าราชการทั่วไป อัตราขั้นสูงสุดข้าราชการมีหมื่นไร่ บรรดาศักดิ์เป็นพระยา เรียกว่าพระยานาหมื่น ได้แก่ เจ้าพระยามหาอุปราช เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์(สมุหนายก) พระยายมราช (นครบาล)พระยาธรรมาธิบดี (วัง) พระยาศรีธรรมาธิราช (คลัง) พระยาพลเทพ (นา)พระมหาราชครู (พราหมณ์โหร) พระมหาราชครู (พราหมณ์ปุโรหิต)พระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี(การศาสนา)เจ้าพระยามหาเสนาบดี (ฝ่ายทหาร)พระยาสีหราชเดโชชัย : ประจำกรุงพระยาท้ายน้ำ : ประจำกรุงเจ้าพระยาสุรสีห์ : กินเมืองพิษณุโลกเจ้าพระยาศรีธรรมราช : กินเมืองนครศรีธรรมราชพระยาเกษตรสงคราม : กินเมืองสวรรคโลกพระยารามรณรงค์ : กินเมืองกำแพงเพชรพระยาศรีธรรมาโศกราช : กินเมืองสุโขทัยพระยาเพชรรัตนสงคราม : กินเมืองเพชรบูรณ์พระยากำแหงสงคราม : กินเมืองนครราชสีมาพระยาไชยาธิบดี : กินเมืองตะนาวศรี
พวกพระยานาหมื่นยังมีข้าราชการในบังคับบัญชาอีกมากมาย มีศักดินาตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไปจนถึง 5,000 ไร่ แต่ละเมืองก็ยังมีเมืองเล็กเมืองน้อยเป็นเมืองขึ้น พวกข้าราชการเหล่านี้ล้วนมีศักดินาเป็นอัตราตายตัวกำหนดไว้ยังมีพระยาพระหลวงอีกมากมายที่ส่งออกไปกินเมืองตรี เมืองจัตวา พวกนี้มีศักดินาตั้งแต่ 5,000 ไร่ ลงไป ส่วนพวกเมียของพระยาพระหลวงทั้งหลาย ต่างได้รับส่วนแบ่งและศักดินาดังนี้เมียพระราชทาน และเมียหลวง ศักดินาครึ่งหนึ่งของศักดินาผัวเมียน้อยทั้งปวง ศักดินาครึ่งหนึ่งของศักดินาเมียหลวงเมียที่เป็นทาส ถ้ามีลูก ศักดินาเท่าเมียน้อย
(3) อัตราสำหรับภิกษุสงฆ์ และนักบวช :พระครูรู้ธรรม (สอบได้เปรียญ) เสมอนา 2,400 ไร่ พระครูไม่รู้ธรรม เสมอนา 1,000 ไร่
พระภิกษุรู้ธรรม เสมอนา 600 ไร่
พระภิกษุไม่รู้ธรรม เสมอนา 400 ไร่ สามเณรรู้ธรรม เสมอนา 300ไร่สามเณรไม่รู้ธรรม เสมอนา 200 ไร่
พราหมณ์รู้ศิลปศาสตร์ เสมอนา 400 ไร่ พราหมณ์มัธยม เสมอนา 200 ไร่
ตาปะขาว(นักบวชนุ่งขาว)รู้ธรรม เสมอนา 200 ไร่ ตาปะขาวมิได้รู้ธรรม เสมอนา 100 ไร่
พระภิกษุไม่รู้ธรรม เสมอนา 400 ไร่ สามเณรรู้ธรรม เสมอนา 300ไร่สามเณรไม่รู้ธรรม เสมอนา 200 ไร่
พราหมณ์รู้ศิลปศาสตร์ เสมอนา 400 ไร่ พราหมณ์มัธยม เสมอนา 200 ไร่
ตาปะขาว(นักบวชนุ่งขาว)รู้ธรรม เสมอนา 200 ไร่ ตาปะขาวมิได้รู้ธรรม เสมอนา 100 ไร่
(4) อัตราสำหรับไพร่หรือประชาชนในพระอัยการเบ็ดเสร็จ สมัยพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีที่ 1 (พ.ศ.1903) ประกาศไว้ชัดแจ้งว่า ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยาฯเป็นที่ของพระเจ้าอยู่หัว ราษฎรจึงเป็นแค่ผู้อาศัยแผ่นดินท่านอยู่ โดยมีอัตราดังนี้ไพร่ที่เป็นหัวหน้างาน มีศักดินา 25 ไร่ไพร่ที่มีครัวอพยพในความควบคุม มีศักดินา 20 ไร่ไพร่ราบ(พวกไพร่ธรรมดารวมทั้งพลเมืองทั่วไปที่เป็นคนงานธรรมดา)มีศักดินา 15 ไร่ ไพร่เลว(คนรับใช้ของคนอื่น) มีศักดินา 10 ไร่ ยาจก (คนจนที่อดมื้อกินมื้อ) มีศักดินา 5 ไร่ วณิพก (ขอทาน) มีศักดินา 5 ไร่ ทาสและลูกทาส มีศักดินา 5 ไร่
พวกนักพงศาวดารของศักดินามักจะอ้างว่า สามัญชนมีนาได้ 25 ไร่ แต่พระอัยการตำแหน่งนาทหารและพลเรือน พ.ศ.1998 ปรากฏว่าสามัญชนมีนาได้อย่างสูงสุดก็เพียง 15 ไร่ คือในอัตราของไพร่ราบ ถ้าหากเป็นคนยากจนอันเป็นคนส่วนข้างมากแล้ว ก็มีได้เพียง 5 ไร่เท่ากับทาส อย่างดีถ้าไปสมัครเป็นไพร่เลว (คนรับใช้) ของเจ้าขุนมูลนายเข้าก็มีนาได้เพียง 10 ไร่เท่านั้นระบบการแบ่งปันที่ดินสมัยพระบรมไตรโลกนาถจำเป็นต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อใช้ที่ดินเข้าผูกใจข้าราชบริพารที่ร่วมงานกันมา เพื่อป้องกันการกบฏจลาจล คือ จำกัดอำนาจทางการเมืองโดยการควบคุมอำนาจทางเศรษฐกิจ พระบรมไตรโลกนาถไม่มีทาสจำนวนมหาศาลเหมือนกษัตริย์ในยุคทาส จึงต้องแจกจ่ายที่ดินให้ข้าราชบริพารไปทำการผลิตแล้วส่งส่วนแบ่งคืนมาเป็นส่วยสาอากรในชั้นหลังๆ แม้ว่าพวกขุนนางจะไม่มีที่ดินพระราชทานจริงๆ แต่ส่วนมากก็มักมีที่ดินเป็นทุนเดิมสืบสกุลอยู่แล้วทั้งสิ้น
ตำแหน่งราชการล้วนผูกขาดไว้สำหรับลูกหลานพวกศักดินาทั้งนั้น พวกไพร่ และพวกชาววัดแม้จะมีความรู้ความชำนาญยิ่งกว่าพวกผู้ดี แต่มีน้อยคนที่จะได้เป็นขุนนาง เห็นได้จาก ประกาศพระสงฆ์ที่จะสึกมารับราชการ ของรัชกาลที่ 4 ซึ่งประกาศเมื่อ พ.ศ.2397 มีความตอนหนึ่งว่า: ต้องพระราชประสงค์ แต่คนที่มีชาติตระกูลเป็นบุตรขุนนางในตำแหน่งกรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมท่า ไม่ต้องพระประสงค์คนชาววัดเป็นพระยา พระหลวง ขุน หมื่นในกรมมหาดไทย ฯลฯ กษัตริย์ทุกรัชกาลยังคงถืออำนาจเป็นเจ้าของที่ดินทั้งมวล มีสิทธิที่จะจับจอง หรือยกผืนดินให้ใครก็ได้ตามความพอใจ
ตำแหน่งราชการล้วนผูกขาดไว้สำหรับลูกหลานพวกศักดินาทั้งนั้น พวกไพร่ และพวกชาววัดแม้จะมีความรู้ความชำนาญยิ่งกว่าพวกผู้ดี แต่มีน้อยคนที่จะได้เป็นขุนนาง เห็นได้จาก ประกาศพระสงฆ์ที่จะสึกมารับราชการ ของรัชกาลที่ 4 ซึ่งประกาศเมื่อ พ.ศ.2397 มีความตอนหนึ่งว่า: ต้องพระราชประสงค์ แต่คนที่มีชาติตระกูลเป็นบุตรขุนนางในตำแหน่งกรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม กรมท่า ไม่ต้องพระประสงค์คนชาววัดเป็นพระยา พระหลวง ขุน หมื่นในกรมมหาดไทย ฯลฯ กษัตริย์ทุกรัชกาลยังคงถืออำนาจเป็นเจ้าของที่ดินทั้งมวล มีสิทธิที่จะจับจอง หรือยกผืนดินให้ใครก็ได้ตามความพอใจ
เห็นได้จาก ประกาศร่างพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระเจ้าลูกเธอ ของรัชกาลที่ 4 เมี่อ พ.ศ. 2404 :ประกาศจับจองท้องทุ่งริมคลองขุดใหม่แขวงเมืองนนทบุรี นครไชยศรีรวมเป็นที่นา 16,200 ไร่ แบ่งให้พระราชโอรสของพระองค์โดยอ้างว่าตนได้ขุดคลองพบที่ดินว่างเปล่าจึงจับจอง แท้ที่จริงก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ร้าง จึงส่งแม่กองออกไปขุดคลอง ซึ่งจุดประสงค์ในการขุดก็มิใช่เพื่อระบายน้ำให้ประชาชนผู้ทำนาอื่นๆ ทั่วไป แต่เพื่อระบายน้ำเข้าที่นาให้มีค่าและทำนาได้ พอขุดเสร็จ รัชกาลที่ 4 ก็รีบจับจองแบ่งสรรปันส่วนแก่บรรดาพระญาติพระวงศ์ของพระองค์ สรุปแล้วที่ดินดีมีคลองระบายน้ำก็ตกเป็นของพวกศักดินาทั้งหมดไม่มีเหลือไว้สำหรับราษฎรในประกาศนั้นยังบอกว่า นาที่ยกให้ลูกๆนี้เป็นนาจับจองใหม่ อยู่นอกข่ายการเก็บค่านา ถ้านารายนี้ยังเป็นของลูก ยังไม่ขายอยู่ตราบใดก็ขอยกค่านาให้แก่พระโอรสผู้เป็นเจ้าของนา จะเก็บค่านาตรงนั้นได้ก็ต่อเมื่อเปลี่ยนมือซื้อขายทำตราแดง (โฉนด) ใหม่สมัยอยุธยาตอนต้น ได้ขยายอาณาเขตแย่งชิงที่ดินจากพวกเขมรที่ครอบครองอยู่แต่เดิม มีพื้นที่ดินกว้างใหญ่ไพศาล พลเมืองก็ยังมีไม่มาก ปัญหาสำคัญคือไม่มีคนจะทำนา นาต้องทิ้งว่างเปล่าๆ จึงต้องมีการตั้งบำนาญให้แก่ผู้ที่ชักชวนคนเข้าทำมาหากิน กฏหมายลักษณะเบ็ดเสร็จสมัยพระเจ้าอู่ทอง ก็บังคับให้นายบ้านคอยจัดหาคนเข้าอยู่ทำประโยชน์ ในการสงครามสมัยศักดินาแต่ละครั้งจะจบลงด้วยการกวาดต้อนครอบครัวข้าศึกเข้ามาสำหรับใช้เป็นกำลังผลิต พอกวาดเข้ามาได้แล้ว ก็มักประทานที่ให้อยู่เป็นแห่งๆ เพื่อรองรับครอบครัวที่กวาดต้อนมา เขมรและพม่าก็มีแอบเข้ามากวาดต้อนครอบครัวไทยไปดื้อๆ
รัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดระเบียบศักดินาใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2423 เรียกว่าพระราชกำหนดตำแหน่งศักดินาบรมวงศานุวงศ์ ได้รวบที่ดินไว้เป็นอภิสิทธิ์ของพระญาติพระวงศ์มากขึ้นกว่าในสมัยอยุธยาหลายเท่า เช่นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชดำรงศักดินา 100,000 ไร่
สมเด็จพระเจ้าปัยกาเธอ (ปู่ทวด/ตาทวด) สมเด็จพระอัยกาเธอ (ปู่/ตา) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามีกรมแล้ว ทรงศักดินา 50,000 ไร่ ยังไม่มีกรม 30,000 ไร่
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ(ลูกชาย) มีกรมแล้ว 40,000 ยังไม่มีกรม 20,000 ไร่
พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระเจ้าน้องยาเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามีกรมแล้ว 30,000 ไร่ ยังไม่มีกรม 15,000 ไร่
พระเจ้าปัยกาเธอ พระเจ้าอัยกาเธอ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าราชวงศ์เธอ พระเจ้าน้องยาเธอ พระอัยยิกาเธอ(ย่า/ยาย) พระราชวีรวงศ์เธอ และพระเจ้าน้องนางเธอมีกรมแล้ว 15,000 ยังไม่มีกรม 7,000 ไร่
พระเจ้าลูกเธอมีกรมแล้ว 15,000 ไร่ ยังไม่มีกรม 6,000 ไร่
พระอัครชายาเธอ มีกรมแล้ว 20,000 ไร่ ไม่มีกรม 6,000 ไร่
พระเจ้าหลานเธอ พระเจ้าบรมวงศ์เธอและพระวรวงศ์เธอมีกรมแล้ว 11,000 ยังไม่มีกรม 4,000
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระประพันธวงศ์เธอ และพระวรวงศ์เธอมีกรมแล้ว 11,000ยังไม่มีกรม 3,000 พระวรวงศ์เธอ 2,000
ส่วนข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยก็ยังคงมีศักดินาอย่างต่ำ 25ไร่ จนถึง 5,000ไร่แต่ก็ยังอ้างว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเพราะที่ดินทั้งหมดเป็นของพระเจ้าแผ่นดินประชาชนทุกคนที่เจริญวัยแล้ว แต่ละคนจะต้องมีที่ดินไว้สำหรับทำมาหาเลี้ยงชีพแต่จะต้องส่งเงินหรือสินค้าถวายต่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นภาษีหรือส่วย หรือต้องใช้แรงรับใช้รัฐซึ่งมีกษัตริย์เป็นประมุข ถือเป็นความรับผิดชอบที่ประชาชนต้องมีต่อรัฐ เป็นพระเดชพระคุณที่กษัตริย์กลัวประชาชนจะอดตาย จึงพยายามแจกจ่ายที่ดินให้ทุกคนเมื่อเติบโตแล้ว แต่ให้แก่คนยากจนเพียงคนละ 5 ไร่ ซึ่งไม่พอกิน และยังอ้างว่าการที่ประชาชนได้ครอบครองที่ดินทำกินนี้ถือเป็นอภิสิทธิ์ จึงต้องส่งส่วยแก่กษัตริย์เพื่อตอบแทน
อภิสิทธิ์นี้ นักวิชาการศักดินาอ้างว่าคนจะมีที่ดินมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบที่มีต่อรัฐ แต่พวกศักดินาที่นั่งกินนอนกินกลับมีที่ดินนับพันนับหมื่นไร่ แม้พวกศักดินาจะอ้างว่าการทำราชการสำคัญกว่าการไถนา แต่พวกสาวสวรรค์กำนัลในที่มีเป็นร้อยๆ ในวังของกษัตริย์นั้น พวกเมียเล็กเมียน้อยของขุนนางทั้งหลายนั้น มีความรับผิดชอบต่อรัฐตรงไหน ทุกนางจึงได้มีศักดินากันมากกว่าพวกไพร่ทั้งมวล ทุกคนรู้กันดีว่าถ้าไม่มีพวกไพร่ สังคมก็จะต้องพังทลายครืนเพราะไม่มีผู้ผลิต ไม่มีข้าวกินกันทั้งเมือง แต่การไม่มีพวกนางสนมกรมใน และเมียเล็กเมียน้อย มิได้ทำให้รัฐต้องฉิบหายหรือพังทลายลงเลย ตรงกันข้าม กลับจะเหลวแหลกน้อยลงและเจริญขึ้นเสียด้วยซ้ำ ข้ออ้างของฝ่ายศักดินาที่ว่า ใครจะมีที่ดินมากหรือน้อย สุดแท้แต่หน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐนั้น คงเป็นเพียงข้ออ้าง ความจริงก็คือ ใครจะได้ที่ดินมากน้อย อยู่ที่ว่ารับใช้กษัตริย์ได้ใกล้ชิดถึงอกถึงใจกว่ากันต่างหาก
...................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น