วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตำนานรวมชุด 1005 : ตาดูดาว เท้าสะดุดวัง ตอนที่ 5 ตอนสุดท้าย LS 05

ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ  : http://www.4shared.com/mp3/GyP5MKOH/Look_For_a_Star_05.html
หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?wogulk2rbh4q5ah

..............

..............

ช่วงที่คุณทักษิณดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีสมัยแรก

พระเจ้าอยู่หัวได้เคยมีพระราชดำรัสหลายครั้ง ราวกับจะชื่มชมความเก่งกาจความกล้าตัดสินใจและความสามารถของนายกทักษิณ บางคนเข้าใจว่าในหลวงทรงชื่นชมการบริหารประเทศในลักษณะซีอีโอ ( CEO) ของนายกทักษิณ นโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่โดดเด่น และการเร่งระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว

แต่คนที่รับใช้ใกล้ชิดในหลวง อย่างพลเอกเปรม และนายปีย์ มาลากุล นั้นรู้ดีว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลรู้สึกจริงๆ ต่อนายกทักษิณอย่างไร หลังจากที่คุณทักษิณเป็นนายกอีกสมัยหนึ่งได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการใช้อำนาจเพื่อแสวงประโยชน์ส่วนตัวและการทุจริตคอรัปชั่นเป็นประจำ 


แต่ไม่สามารถล้มรัฐบาลทักษิณได้จนกระทั่งนายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าพ่อวงการสื่อได้ออกโรงเปิดฉากโจมตีนายกทักษิณ ว่าไม่จงรักภักดีต่อในหลวง ทำให้นายกทักษิณโกรธจนไม่อาจนั่งเฉยอยู่ได้อีกต่อไป รีบฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เป็นเงินราว 800 ล้านบาท ประเทศไทยนั้นถือกันว่าพระมหากษัตริย์ หรือพระเจ้าอยู่หัวมีความศักดิ์สิทธิ์สูงกว่าพระพุทธเจ้าหรือเทพเจ้าเสียอีก และห้ามล่วงละเมิดหรือวิจารณ์ หรือแม้แต่ตีเสมอโดยเด็ดขาด 

เหมือนในยุคสมัยไพร่ทาสโบราณ เป็นวัฒนธรรมและค่านิยม ที่จงใจสร้างอย่างเป็นระบบให้ซึมซ่านเข้าไปในสายเลือดของคนไทย ในทุกรูปแบบและยังบัญญัติไว้อย่างเข้มงวดกวดขัน ทั้งในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญาอย่างถาวร ห้ามผู้ใดกล่าววิจารณ์ในหลวง พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการในทุกๆรูปแบบ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกจำคุก 3 ถึง 15 ปี หรืออาจถูกหาเรื่องลงโทษที่หนักกว่า โดยไม่จำเป็นต้องมีการสอบสวนโต้แย้ง เพราะผู้พิพากษาก็มีหน้าที่ต้องเคารพสักการะพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกัน ใครที่เคยมีคดีเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะส่งผลให้ชีวิตทางการเมืองของผู้นั้นต้องจบสิ้นลง

เดือนกรกฎาคม 2529 นายวีระ มุสิกพงศ์ รัฐมนตรีช่วยมหาดไทยวัย 38 ปีได้ปราศรัยขณะหาเสียงเลือกตั้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า“ผมถ้าเลือกเกิดเองได้ ผมจะไปเลือกเกิดทำไม เป็นลูกชาวนาจังหวัดสงขลา จะไปเลือกเกิดอย่างนั้นทำไม ถ้าเลือกเกิดได้ก็เลือกเกิดมันใจกลางพระบรมมหาราชวังนั่น ออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระซะก็หมดเรื่อง ไม่จำเป็นจะต้องออกมายืนตากแดดพูดให้พี่น้องฟัง เวลาอย่างนี้เที่ยงๆ ก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทมไปแล้ว ตื่นอีกทีบ่ายสามโมง ที่มายืนกลางแดดอยู่ทุกวันนี้ก็มันเลือกเกิดไม่ได้” อันเป็นการพูดโฆษณาเปรียบเทียบละเมิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ศาลชั้นต้นยกฟ้องเพราะเห็นว่าไม่มีเจตนา แต่ทางวังไม่ยอม ศาลฎีกาต้องพิพากษาจำคุกนายวีระ 4 ปี สนองพระราชประสงค์

ปี 2544 ภาพยนตร์เรื่องแอนนาแอนด์เดอะคิง Anna and the King ” ก็ถูกห้ามฉายเพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่าภาพยนตร์ดังกล่าวดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ที่ชาวไทยเทิดทูน โดยพรรณนาถึงกษัตริย์ไทยเป็นคาวบอยบนหลังช้าง บทภาพยนตร์ยังยกย่องแอนนาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จบางส่วนของประเทศไทย และทำให้คนทั่วไปเห็นว่านางเป็นชนชั้นสูง และประการสุดท้ายหากต้องลบฉากกษัตริย์ ที่ต้องอับอายขายหน้าออก ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเหลือไม่ถึง 20 นาที คือต้องยกย่องสรรเสริญกษัตริย์ไทยอย่างเดียว


เดือนมีนาคม 2545 นิตยสารฟาร์อีสเทิร์นอีคอนอมิครีวิว Far Eastern Economic Review ตีพิมพ์บทความ ขนาดความยาว 12,000 ตัวอักษร และต้องถูกลงโทษเนื่องจาก มีข้อความ 2 ประโยคพาดพิงถึงพระราชวงศ์อย่างไม่เหมาะสม มีประโยคหนึ่งกล่าวว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกฎราชกุมารได้รับการเทิดทูนจากประชาชนไม่เท่ากับพระราชบิดา
เสียงซุบซิบนินทาใน กรุงเทพมักจะกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯประโยคที่สอง กล่าวว่า พระบารมีของพระมหากษัตริย์จะค่อยๆลดลงภายหลังการเสด็จสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่นั่นก็อาจไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายแต่อย่างไร นาย McBride ผู้เขียนบทความดังกล่าวและนาย Peter Bakker ผู้จัดการส่วนภูมิภาคของ Far Eastern Economic Review ถูกเนรเทศออกนอกประเทศไทย แม้ผู้เขียนจะกล่าวว่าตนมิได้มีเจตนาที่จะโจมตีพระราชวงศ์แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการพรรณนาด้านต่างๆในชีวิตของชาวไทย หากไม่กล่าวถึงพระราชวงศ์ก็คงเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด แต่การพาดพิงพระราชวงศ์เป็นความผิดที่ไม่อาจให้อภัยได้

ในหลวงก็คงทรงเตือนให้รัฐบาลผ่อนปรนบ้าง จึงไม่มีการฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ข่าวชาวต่างประเทศ เพียงถูกยกเลิกวีซ่าเข้าประเทศเท่านั้น เพราะคงกลัวต่างชาติจะดูถูกเอาว่าทำไมเป็นเผด็จการล้าหลังขนาดนี้ ในตอนนั้นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้คือรัฐบาลทักษิณ เมื่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้อ้างเหตุเกี่ยวกับพระองค์ในการโจมตีทักษิณหลายครั้ง ทั้งนายกทักษิณและฝ่ายทหารต้องออกประกาศเตือนเป็นครั้งสุดท้าย


ผบ. สูงสุด พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ กล่าวเตือนนายสนธิให้หยุดนำพระราชวงศ์มาใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ตัวเอง และกล่าวว่าความอดทนของฝ่ายทหารมีจำกัดทุกคนค่างมีวิธีการของตนเอง ในการรักชาติ รักประชาชน และเทิดทูนพระราชวงศ์ ตนก็เคารพวิธีการที่ต่างกันของแต่ละคน แต่ต้องไม่สร้างความเสียหายให้กับพระองค์และก็ไม่ควรนำพระราชวงศ์เข้าเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทของพวกเขา นายสนธิจึงต้องหลบภัยไปอยู่ที่ยูนานของจีนชั่วคราว แต่ในที่สุดฝ่ายทหารก็ใช้ข้อกล่าวหาหมิ่พระบรมเดชานุภาพในการทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณจนได้


สองเดือนแรกของการเปิดโปงกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป ( Shin Corp ) เมื่อเผชิญกับการกดดันอย่างหนักจากกลุ่มต่อต้าน นายกทักษิณยืนหยัดที่จะไม่ยอมแพ้และย้ำว่า “ไม่มีใครจะเรียกร้องให้ผมลาออกได้ ยกเว้นในหลวง ขอเพียงรับสั่งเท่านั้นผมพร้อมลาออกทันที ” แต่ในหลวงก็ฉลาดพอที่จะไม่มีทางแสดงท่าทีทางการเมืองทำนองนี้อย่างง่ายๆ


จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน 2549 คุณทักษิณได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้งหนึ่ง แต่กลับต้องลาออกหลังการประกาศผลเลือกตั้งแล้ว 2 วัน เขาอธิบายเหตุผลของการลาออกว่า “เหตุผลสำคัญที่ผมลาออกก็คือปีนี้เป็นปีพิเศษสำหรับในหลวง ผมหวังว่าคนไทยทุกคนจะสามัคคีกัน

ค่ำวันที่ 25 เมษายน 2549 หลังจากที่กลุ่มการเมืองต่างๆ โต้เถียงติดต่อกันหลายวันเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน เม.ย. ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งและมีการ ดำเนินผิดระเบียบขั้นตอนกฎหมายหรือไม่ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงปรากฎขึ้นบนจอโทรทัศน์ทั่วประเทศ ด้วยพระพักต์เคร่งขรึม โปรดเกล้าฯให้ให้ตุลาการศาลปกครองสูงสุดเข้าเฝ้าและให้ช่วยแก้ไขปัญหาชะงักงันทางการเมือง มีพระราชดำรัสแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ..


หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ ศาลได้ตัดสินว่าผลการเลือกตั้งเดือนเมษายนเป็นโมฆะเป็นไปตามคำสั่งหรือการสำทับของในหลวงทุกประการ




เดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน เป็นบรรยากาศของการเฉลิมฉลองพระราชพิธี 60 ปีครองราชย์ ของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล กลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านนายกทักษิณหยุดพักรบชั่วคราว ในช่วงเฉลิมฉลองที่ได้เปิดฉากขึ้น เช่น การยิงพลุดอกไม้เพลิง คอนเสิร์ต นิทรรศการ และการแข่งเรือพาย

ตามท้องถนนทั่วทุกหนแห่งในกรุงเทพมีการประดับและแขวนรูปภาพถ่าย พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิศลักษณ์ ภาพวาด ขนาดใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินี
ทุกบ้าน จะติดรูปของในหลวง ตามสถานีรถไฟใต้ดิน แม้ในชั่วโมงเร่งด่วน ช่วงเข้างานและเลิกงานผู้คนจำนวนมากเมื่อเดินผ่านพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ก็จะหยุดแสดงความเคารพ ในการชุมนุมของมวลชนหรือก่อนการฉายภาพยนตร์ตามโรงภาพยนตร์ ผู้คนจะลุกขึ้นยืนทุกคนพร้อมกับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อแสดงความเคารพ และถวายพระพรจงทรงพระเจริญ

รัฐบาลยังได้จัดทำห่วงข้อมือ หรือ Wrist Band สีเหลืองเรารักในหลวง ซึ่งกลายเป็นของที่ระลึก ที่ขายดีมากในกรุงเทพ คนไทยทุกคนต่างแสดงความจงรักภักดีตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงไปจนถึงประชาชนทั่วไป 


 
วันที่ 26 พ.ค.2549 นายโคฟี อานัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมากรุงเทพ เพื่อทูลเกล้าฯถวายรางวัล Human Development Lifetime Achievment Award ของ UNDP หรือรางวัลความสำเร็จในการพัฒนามนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ แด่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการสดุดีต่อการที่พระองค์ได้ทรงสร้างคุณูปการต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยตลอดช่วงการครองราชย์เป็นเวลา60 ปี


วันที่ 9 มิถุนายน 2549 ทางการของไทยกำหนดเป็นวันฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่รัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นพระเชษฐาถูกปลงพระชนม์ในตอนเช้า

ในหลวงพร้อมด้วยพระราชินีในชุดฉลองพระองค์ตามพระราชพิธีทรงปรากฎพระองค์บนระเบียงของพระบรมมหาราชวัง ฝูงชนในชุดเสื้อสีเหลืองจำนวน 300,000 คนที่รอคอยบริเวณลานกว้างเป็นเวลานานหลายชั่วโมง พร้อมใจกันเปล่งเสียงกึกก้องว่าทรงพระเจริญ

แม้แต่สื่อชาวต่างประเทศ หลายสำนักที่เดินทางมาทำข่าวพระราชพิธีเฉลิมฉลองต่างรู้สึกซาบซึ้งใจยิ่งนัก ต่อบรรยากาศของฝูงชนดังกล่าว สถานีโทรทัศน์ CNN ได้เสนอข่าวพร้อมบรรยายว่าประชาชนจำนวนมากเงยหน้าขึ้นมองพระองค์บนระเบียง ตื้นตันใจถึงกับน้ำตาไหล

ในบรรดาราษฎรที่ร่วมฉลองพระราชพิธี มีนายกทักษิณรวมอยู่ด้วยนายกทักษิณได้กล่าวในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราวว่า ช่วง 60 ปี ที่ผ่านมาทุกครั้งที่บ้านเมือง ประสบวิกฤตการณ์ พระมหากษัตริย์ของไทยก็จะปรากฎพระองค์เพื่อแก้ไขความยากลำบากของชาวไทย นับว่าคนไทยโชคดีมากที่เรามีพระมหากษัตริย์เช่นนี้
วันที่ 12 มิถุนายน 2549 กษัตริย์และผู้แทนกษัตริย์จาก 26 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมพระราชทานพิธีเฉลิมฉลองในวโรกาสทรงครองราชย์ ครบ60 ปี โดยมาชุมนุมที่ท้องพระโรงใหญ่ภายในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพ ประทับนั่งบนเก้าอี้เรียงกันเป็นครึ่งวงกลมบนพื้นพรมสีแดงโดยมีในหลวงภูมิพลประทับนั่งตรงกลางสุด

กษัตริย์ทั่วโลกอาจนึกอิจฉากษัตริย์ไทยที่ทรงพระบรมเดชานุภาพไม่มีผู้ใดเสมือเหมือน ต่างจากพระมหากษัตริย์ในประเทศที่เจริญแล้ว ที่การดำรงอยู่ของกษัตริย์และพระราชวงศ์เป็นเพียงแค่ พิพิธภัณฑ์ของวัฒนธรรมดั้งเดิม เป็นเพียงแค่สัญญลักษณ์ที่ไม่ได้มีบทบาทหรือพระบรมเดชานุภาพแต่อย่างใด

แต่สำหรับประเทศไทยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระเจ้าที่มีชีวิต เป็นกษัตริย์บนหลังช้าง ที่สูงส่งกว่ากษัตริย์ทั้งปวงอย่างไม่อาจเปรียบได้อย่างที่มีป้ายเขียนไว้ในห้องแสดงผลงานของในหลวงภูมิพลว่า King of Kings หรือทรงเป็นพระราชาในหมู่พระราชา มีนัยยะว่ากษัตริย์ประเทศอื่นก็เป็นแค่เจ้าประเทศราชหรือเมืองขึ้นของไทยเท่านั้นเอง เป็นการส่อแสดงถึงความไม่มีมรรยาทไม่ให้เกียรติและดูถูกบรรดากษัตริย์และตัวแทนที่ได้รับเชิญมา อาจเป็นเพราะความหลงลำพองเหมือนกบในกะลาของกษัตริย์ในประเทศหลงยุคที่ยึดมั่นในระบอบที่กษัตริย์หรือพระเจ้าอยู่หัวยังคงเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน

บ่ายวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ประชาชนในชุดเสื้อเหลืองหลายร้อยคนน้ำตารินไหล นั่งคุกเข่าอยู่หน้าประตูทางเข้าโรงพยาบาลศิริราชในกรุงเทพเฝ้ารอการเสด็จของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลซึ่งมีพระชนมายุ 79 พรรษา ทรงเริ่มชราพระวรกายไม่แข็งแรงเหมือนที่ผ่านมา


ค่ำวันนั้นจะทรงเข้ารับการผ่าตัดเส้นประสาทที่เอว ตามข่าวตั้งแต่คืนวันก่อนหน้า ชาวบ้านจากภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศได้รวมตัวกันที่วัดเพื่อสวดมนต์ภาวนา ขอให้พระองค์ทรงปลอดภัยจากการผ่าตัดและทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน คณะแพทย์ทั้งหมดของโรงพยาบาลศิริราชต่างสวมเสื้อเชิ้ตเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์พระองค์เพื่อแสดงความจงรักภักดี มีเจ้าหน้าที่ตำรวจไปถวายการอารักขาความปลอดภัยที่โรงพยาบาลจำนวน 3,000 นาย

วันที่ 4 สิงหาคม 2549 ในหลวงทรงมีสุขภาพแข็งแรงดีขึ้นและเสด็จออกจากโรงพยาบาล โดยมีนายกทักษิณนำคณะรัฐมนตรีเฝ้ารับเสด็จ ข่าวโทรทัศน์ในขณะนั้น ได้เห็นนายกทักษิณนั่งคุกเข่าอยู่บริเวณทางเดินในโรงพยาบาลพนมมือทั้งสองถวายการเคารพด้วยการก้มหัวขณะที่ในหลวงภูมิพลประทับนั่งบนรถเข็นค่อยๆเคลื่อนผ่านไป

ภายหลังการเข้ายึดอำนาจของคณะรัฐประหาร สื่อมวลชนต่างประเทศได้วิจารณ์ว่า ผู้ที่สั่งการให้มีการทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลทักษิณมิใช่พรรคฝ่ายค้าน หรือผู้นำระดับสูงในกองทัพที่กุมขุมกำลัง แต่คือพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลที่เพิ่งผ่านพระราชพิธีเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีนั่นเอง


เที่ยงคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 พลเอกเปรมได้นำพลเอกสนธิผบ.ทบ.ผู้นำในการรัฐประหารเข้าเฝ้า ในหลวงภูมิพลทรงโปรดเกล้าฯ รับรองการยึดอำนาจอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้น 3 วัน รัฐบาลชั่วคราว(คปค.)ได้เลือกผู้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขณะที่คุณทักษิณลุกจากเก้าอี้พร้อมหันมาทางลูกน้องว่า“ดีแล้วทุกอย่างจบ ตอนนี้เรามาเริ่มคุยกัน เราจะไปที่ไหนกันดี
ตอนตีสามเศษมีข่าวว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ( คปค.) ได้ควบคุมตัวน.พ. พรหมินทร์ เลิศสุริยเดช อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม
นายยงยุทธ ติยะไพรัชรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มากักตัวไว้ที่ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด






สถานีวิทยุกองทัพบกช่อง 5 ยังคงอ่านแถลงการณ์ของ คปค.
: ประกาศใช้กฎอัยการศึกตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2549 ห้ามการเคลื่อนย้ายกำลังทหาร และห้ามไม่ให้ออกจากเคหสถานในช่วงประกาศใช้กฎอัยการศึก ในช่วงที่ยังไม่มีนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศ

ขอประกาศมอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดินให้แก่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ และขอประกาศให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง และมอบหมายให้ปลัดกระทรวงฯปฏิบัติหน้าที่แทน
: ประกาศให้วันที่ 20 กันยายน 2549 เป็นวันหยุดราชการและธนาคาร วันหยุดการเรียนการสอนและให้ตลาดหุ้นปิดทำการเป็นเวลา 1 วันข้าราชการต้องกลับไปรายงานตั้งยังต้นสังกัด


คณะรัฐมนตรีชุดที่แล้วจะต้องไปรายงานตัว ณ กองบัญชาการทหารสูงสุดเพื่อรับทราบนโยบายใหม่ ให้แม่ทัพภาคที่ 1 แม่ทัพภาคที่ 2 แม่ทัพภาคที่ 3 และแม่ทัพภาคที่ 4 เป็น ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่แต่ละกองทัพภาคผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด


ผู้บริหารส่วนราชการ ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องรายงานแก่แม่ทัพภาคให้ข้าราชการระดับสูง อธิการบดี หัวหน้าฝ่ายรัฐวิสาหกิจระดับกรมที่ตั้งในกทม.และจังหวัดใกล้เคียงมารายงานตัวที่กองบัญชาการกองทัพบก ในวันที่ 20 กันยายน เวลา 09.00 น. สำหรับในพื้นที่อื่นให้ไปรายงานตัวยังกองทัพภาคในพื้นที่

ภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอคือภาพของกองกำลังทหารที่เข้ายึดอำนาจได้รับการต้อนรับยกย่องจากประชาชน ที่มามอบพวงมาลัย ดอกกุหลาบ น้ำ อาหารและผลไม้ให้กับทหารที่มาร่วมการยึดอำนาจ โพล์สำรวจความเห็นของชาวกรุงเทพอ้างว่า ร้อยละ 80 ขึ้นไป สนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้ สถานการณ์จึงกลับเข้าสู่ความสงบอย่างรวดเร็วเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ชาวบ้านบางคนให้สัมภาษณ์ว่าการรัฐประหารในครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยจะยิ่งดีขึ้น ต่อๆไป บางคนบอกว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับประเทศเพราะ พตท.ทักษิณควรพ้นจากตำแหน่งเร็วกว่านี้ ถ้ายังไม่มีการยึดอำนาจ ประเทศไทยก็ถูกเขาเอาไปขายทั้งประเทศแล้ว มีคนกล่าวว่าเรารักในหลวงของเรา เราสนับสนุนกองทัพของพระเจ้าอยู่หัว


แพทย์คนหนึ่งที่ต่อต้านนายกทักษิณกล่าวว่า “เราก็หวังอย่างแน่นอนว่าเราสามารถโค่นรัฐบาลทักษิณได้โดยวิธีประชาธิปไตยแต่เราเหนื่อยเกินไปที่ไปเดินขบวนประท้วงทุกวัน เรารู้สึกดีใจมากที่กองทัพได้ช่วยเราได้มากในแก้ไขปัญหานี้ ไม่ว่าอย่างไรก็ตามนายกทักษิณก็ถูกขับไล่ออกไปแล้วจริง ๆ ”


นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวกับผู้สื่อข่าว AP ว่านายกทักษิณนั่นแหละที่บีบบังคับให้กองทัพต้องทำแบบนี้ “เราเป็นนักการเมืองเราก็ไม่เห็นชอบไม่สนับสนุนการรัฐประหาร ไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ แต่ 5 ปีที่ผ่านมาปัญหาที่รัฐบาลทักษิณได้สร้างขึ้นได้บีบบังคับให้กองทัพต้องก่อรัฐประหารขึ้นมา


นายสนธิ ลิ้มทองกุลซึ่งมีชื่อเสียงมากในวงการสื่อมวลชนขบวนการต่อต้านนายกทักษิณได้กล่าวว่า “ พตท. ทักษิณ ได้สร้างวิกฤตการณ์ ให้กับประเทศชาติ ในหลักการเราก็ไม่เห็นชอบกับรัฐประหาร แต่เราก็รู้สึกพอใจกับผลจากการปฏิวัติ ในครั้งนี้”



วันที่ 20 กันยายน 2549 เวลา 9.16 น. ของประเทศไทย พลเอกสนธิ บุณยะรัตกลิน ผบ.ทบ.หัวหน้าคณะรัฐประหาร ครั้งที่ 18 ของประเทศไทย ได้ปรากฏตัว ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก โดยได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการก่อรัฐประหารทางโทรทัศน์โดยมี พลเอกเรืองโรจน์มหาศรานนท์ ผบ.สส.พล.ร.อ. สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผบ.ทร. พล.อ.อ. ชลิต พุกผาสุขผบ.ทอ.และพลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ ผบ.ตช.เข้าร่วม

โดยบุคคลทั้ง 5 ดังกล่าวข้างต้นได้แต่งกายในเครื่องแบบ ยืนตัวตรงอยู่เบื้องหลังโพเดียมโดยพลเอกสนธิฯ ยืนอยู่ตรงกลางโดยมี ไมโครโฟนอยู่ข้างหน้าด้านหลังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลและสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ โดยมีธงชาติไทย คั่นระหว่างพระบรมฉายาลักษณ์ของสองพระองค์ ยังมีสัญลักษณ์นารายณ์ทรงสุบรรณ บุคคลทั้ง 5 ดังกล่าว ได้พนมมือก้มลงไหว้ผู้ที่รับชมการถ่ายทอดทางโทรทัศน์อย่างพร้อมเพรียงกัน

โดยพลเอกสนธิได้อ่านแถลงการณ์มีความว่า
ขอให้ประชาชนอยู่ในความสงบ และสนับสนุนการปฏิบัติการของพวกเรา.....เนื่องด้วยพวกเราอันประกอบด้วย ผบ.สส. และผู้บัญชาการทหาร 3 เหล่าทัพ รวมทั้ง ผบ.ตร. ได้รวมตัวจัดตั้งเป็นคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) และได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


สมาชิก คปค. ทุกคนต่างตระหนักว่า พตท. ทักษิณ ชินวัตร ทำการปกครองแบบเผด็จการความผิดพลาดของ พตท.ทักษิณได้ ทำให้ประเทศเกิดความแตกแยก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย...... การปกครองของ รัฐบาลเกิดปรากฏการณ์การคอรัปชั่น และการเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคพวกของตนเอง.....โดยสถานการณ์ ดังกล่าวข้างต้นจะยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงและการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ.....ซึ่งก่อให้เกิดบาดแผล และจำต้องรีบทำให้เกิดความสงบอย่างรวดเร็วคปค.

จึงมี ความเห็นว่า จำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองของประเทศเพื่อการแก้ไขปัญหา..... การก่อรัฐประหารก็เพื่อให้ สมานแผลให้กับสังคมที่แตกแยกของไทย และเป็นการหยุดกระบวนการขององค์กรประชาธิปไตยของไทยซึ่งถูกกัดกร่อน......เพื่อจะได้เริ่มต้นกระบวนการแก้ไขใหม่ต่อไป พวกเราไม่ได้มีความพยายามที่จะเข้ามาปกครองประเทศ คปค. ยืนยันว่าจะทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยและคืนอำนาจการปกครอง ให้กับประชาชนอย่างรวดเร็วที่สุด.....”

หลังจากนั้นไม่กี่วัน พลเอกสนธิฯได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์ โดยอธิบายสาเหตุการก่อ รัฐประหารว่า มีจุดมุ่งหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ วางแผนที่จะรวมตัวชุมนุมกันเดินขบวนต่อต้านนายกทักษิณ ในวันที่ 20 กันยายน 2549

โดยนายกทักษิณได้วางแผนที่จะให้ผู้ช่วยของตน 2 คน ได้แก่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระดมคนฝ่ายสนับสนุนจำนวน 800 คนเป็นทีมปกป้องป่าไม้ที่มีอาวุธปืนครบมือจากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมายังกรุงเทพ เพื่อเดินขบวนให้การสนับสนุนนายกทักษิณซึ่งอาจจะนำไปสู่การปะทะและการนองเลือดขึ้นระหว่างกลุ่มเดินขบวนสองกลุ่มนี้

เดิมที พลเอกเรืองโรจน์ผบ.สส.จะนำกำลังเข้าปราบปราม และจะฉวยโอกาสเข้าครอบครองกองกำลังทหารที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ รวมทั้ง สนับสนุนกำลังทหารของตน


โดยที่นายกทักษิณจะบินจากนครนิวยอร์กกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 21 กันยายน 2549 และจะประกาศภาวะฉุกเฉินโดยด่วนแต่โชคดีที่พลเอกสนธิได้ดำเนินการอย่างฉับไวและเฉียบแหลม โดยใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจก่อนเพื่อทำลายแผนการของนายกทักษิณ ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการปะทะนองเลือดได้
นายกทักษิณกล่าวว่าตนรู้สึกขบขันกับข่าวลือดังกล่าวที่เป็นเรื่องโกหกทั้งสิ้น


หลายเดือนต่อมาผู้สื่อข่าวจากนิตยสารไทม์ของสหรัฐฯ ได้เข้าสัมภาษณ์พลเอกสนธิ ว่าเหตุใดผู้นำทางทหารซึ่งได้ให้คำมั่นสัญญาหลายต่อหลายครั้งว่าจะไม่เข้ามาเล่นการเมือง และภายหลังจากนั้นแค่เพียงคืนเดียว ก็กลับกลืนคำพูดของตนเอง ทำให้นานาชาติรู้สึกไม่แน่ใจไม่มีความเชื่อมั่นพลเอกสนธิ ได้กล่าวว่า วันเวลาจะช่วยพิสูจน์การกระทำทั้งหมดของตน

และย้ำว่าประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวถูกทำลาย เพราะรัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลเผด็จการ และมีการทุจริตในการเลือกตั้งซึ่งทำให้ประชาชนชาวไทยไม่อาจยอมรับได้ ดังนั้นแม้ว่าพวกเราจะก่อการรัฐประหาร แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อการพิทักษ์ไว้ซึ่งประชาธิปไตย
และจากร่องรอยหลายประการได้แสดงให้เห็นว่านายกทักษิณมิได้มีมารยาทต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมไปถึงต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประชาชนชาวไทยไม่อาจทนได้ หากมีผู้ใดไม่ให้ความเคารพต่อพระราชวงศ์ แม้การรัฐประหารจะเป็นการก้าวถอยหลังของประชาธิปไตยในไทย แต่ถ้าหากทางเดินข้างหน้ามีอุปสรรคอยู่ข้างหน้า ทางที่ดีที่สุด ก็คือหยุดอยู่กับที่ และเดินไปทางอ้อมก่อน ประชาชนชาวไทยรักชอบคนคนหนึ่งอย่างง่ายดาย และจะรู้สึกเบื่อหน่ายคนคนหนึ่งอย่างรวดเร็วเช่นกันการจะตัดสินคนคนหนึ่ง ดังนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาและเวลาก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์การกระทำของพวกเรา


ช่วงเช้าวันที่ 20 กันยายน 2549 หลังจากที่พลเอกสนธิได้กล่าวแถลงการณ์เสร็จ รายการทางโทรทัศน์ทุกช่องได้กลับเข้าสู่ปกติ มีเพียงสัญญาณข่าวจาก CNN และ BBC ที่ยังถูกควบคุมการออกอากาศอยู่

ช่วงสาย สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ได้ออกอากาศการแถลงการณ์อีกครั้งหนึ่ง ไม่อนุญาตให้มีการชุมนุมของพรรคการเมือง รวมถึงการประกอบกิจกรรมทางการเมืองใด ๆขึ้น การชุมนุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ก็ไม่ได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนจะถูกคุมขังเป็นเวลา 6 เดือน และถูกปรับ 1 หมื่นบาท จนกว่าสถานการณ์จะกลับคืนสู่สภาวะปกติ และมอบอำนาจให้กระทรวงไอซีที ควบคุมการเสนอข่าวสาร และให้มีการควบคุมสื่อและเว็บไซด์ที่มีการอภิปรายแสดงความเห็น 5 วันต่อมา มีสถานีวิทยุชุมชนที่ให้การสนับสนุนคุณทักษิณ ในชนบทถูกปิดทำการไป 300 แห่ง


การก่อรัฐประหารในครั้งนี้คือความล้าหลัง ทำไมเมื่อประชาธิปไตยของไทยได้ก้าวมายังจุดนี้ได้ ยังคงต้องแสวงหาอำนาจนอกระบอบโดยอาศัยพระมหากษัตริย์ และกองกำลังทหารโดยอ้างการแสวงหาประชาธิปไตยโดยวิธีการที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ประเทศตะวันตกต่างมีท่าทีร่วมกันในการประณามเหตุการณ์รัฐประหารของไทยซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงชั่วข้ามคืน



โคฟี่ อันนาน Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าววา: สหประชาชาติสนับสนุนระบบการปกครองตามขั้นตอนแบบประชาธิปไตยโดยผ่านการเลือกตั้งที่เป็นธรรม การก่อรัฐประหารเช่นนี้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ





นาง Cathy Mc Morris Rodgers ผู้แทนโฆษกรัฐบาลสหรัฐกล่าว่า : เรารู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง ต่อเหตุการณ์รัฐประหารของไทย ประชาธิปไตยของไทยกำลังอยู่ภาวะถอยหลัง

Margaret Beckett รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษกล่าวว่า : ประเทศอังกฤษแต่ไรมา ไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังทหารก่อรัฐประหารล้มโค่นล้มรัฐบาล...



Matti Vanhanen นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์กล่าวว่า : เรารู้สึกเสียดาย ต่อเหตุการณ์การล้มอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยกองกำลังทหารของไทย ประเทศไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว.....




Helen Clark นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์กล่าว่า : พฤติกรรมทุกประการที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและไม่เป็นประชาธิปไตย ที่นำมาควํ่าระบบการปกครองที่มีอยู่ย่อมต้องถูกประณามทั้งสิ้น.....

Alexander Downer รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียกล่าว่า : พฤติกรรมที่กองกำลังทหารไทยควํ่ารัฐบาลเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เรารู้สึกกังวล……
ท่าทีของประเทศสำคัญ ๆในกลุ่มอาเซียนและในทวีปเอเชียต่อการเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในไทยยังไม่ค่อยชัดเจน นอกจากความรู้สึกตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ยังคงแสดงท่าทียืนยันและ ยึดมั่นในหลักการไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในประเทศของประเทศอื่นใด

Arroyo ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการก่อรัฐประหารบ่อยครั้งเหมือนไทยกล่าวว่า“เราได้ติดตาม เหตุการณ์ด้วยความสนใจและเรามีความเชื่อมั่นว่ากองกำลังทหารในฟิลิปปินส์จะไม่ปฏิบัติตาม


Abdullah Ahmad Badawi นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวว่า “รู้สึกตกใจเป็นอย่างยิ่งโดยที่คาดไม่ถึงว่า รัฐประหารจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศบ้านใกล้เมืองเคียงของประเทศไทย เราหวังเป็นอย่าง ยิ่งว่าระบอบประชาธิปไตยของไทยจะได้รับความฟื้นฟูเร็วที่สุด เท่าที่จะกระทำได้”

Manmohan Singh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย กล่าวว่า“รัฐบาลอินเดีย ติดตามพัฒนาการของเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดในฐานะที่เป็นประเทศในเอเซีย รัฐบาลอินเดีย หวังว่า หลักการประชาธิปไตยจะยังคงอยู่ประเทศไทยต่อไปอย่างเข้มแข็ง”



Taro Aso
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า“เราแสดงความเสียดายต่อเหตุการณ์ รัฐประหารของไทย และเชื่อด้วยความจริงใจว่าประเทศไทยจะต้องรีบฟื้นฟูประชาธิปไตยกลับคืนมาโดยเร็ว”


โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ กล่าวว่า“พวกเราหวังว่าประเทศไทยจะฟื้นฟูสันติภาพและความสงบ อย่างรวดเร็วโดยตามกระบวนการทางกฎหมาย

Qin Gang โฆษก กระทรวง การต่างประเทศจีน กล่าวว่า“ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในของไทยเป็นกิจการภายในของประเทศไทยรัฐบาลจีนยึดมั่นในหลักการแห่งการไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการของประเทศอื่นซึ่ง เป็นหลักการที่ได้ดำเนินมาโดยสมํ่าเสมอ”


ประเทศสิงคโปร์มีท่าทีสลับซับซ้อนที่สุดเนื่องจากครอบครัวของพ.ต.ท.ทักษิณได้ขายหุ้นของบริษัทในเครือชินวัตรให้กับกลุ่มเทมาเส็กของสิงคโปร์เมื่อต้นปี2549 มีผลต่อสถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ ประจำประเทศไทย พอเริ่มมีข่าวการรัฐประหารรัฐบาลสิงคโปร์ประกาศไม่ให้ประชาชนของตนเดินทางไปไทยละหากจำเป็นจะต้องลงทะเบียนในเว็บของกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ก่อนเพื่อจะได้เตรียมการให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ทันที

แต่สื่อมวลชนของประเทศตะวันตก มีปฏิกิริยาที่รุนแรงกว่าคณะผู้แทนทางการทูตจากกระทรวงการต่างประเทศในประเทศตะวันตก

The Times ของอังกฤษ ว่า : คณะรัฐประหารควรแสดงหลักฐานที่น่าเชื่อถือออกมาโดยเร็ว เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาอยากจะฟื้นฟูรัฐบาลแห่งประชาธิปไตยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้...... แม้ว่ารัฐประหารจะไม่มีการนองเลือด แม้ว่านายกรัฐมนตรีของคณะรัฐประหารยังไม่เข้าดำรงตำแหน่งแต่รัฐประหารครั้งนี้ก็ยังคงเป็นวิธีการที่ผิดที่ขับไล่ผู้นำที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามา

The Independent ของอังกฤษว่า : ถึงแม้ว่ารัฐประหารครั้งนี้ทำได้อย่างรวดเร็วและเรียบร้อยดี แต่ในความเป็นจริง ก็คือการหลอกลวงมาโดยตลอดให้เชื่อว่าถึงแม้ว่าระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้นจะอ่อนแอก็ตาม แต่ยังสามารถคงอยู่ต่อไป แล้วทำไมยังต้องทำการรัฐประหารกันอีก


The Daily Telegraph ของอังกฤษว่า : เศรษฐีคนนี้ได้กลายเป็นคนที่โอหังอวดดีอย่างอันตราย ซึ่งให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อคนยากไร้ หลังเข้าดำรงตำแหน่งการเมือง โดยมีนักการเมืองหลายคนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งจากการเลือกตั้งจากประชาชน ถ้าอยากไล่เขาออกจากตำแหน่ง ต้องโดยวิธีการลงคะแนนเลือกตั้ง ไม่ใช่ใช้คำสั่งของทหารที่ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ภูมิพล

The Guardian ของอังกฤษว่า :ถึงแม้ว่าการปกครองของ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ค่อยตอบสนองความ ต้องการของประเทศ แต่การที่เขาถูกขับไล่ออกจากตำแหน่งได้ทำลายชื่อเสียงของไทย ที่เคยได้รับกล่าวขานว่า เป็นประเทศประชาธิปไตย องค์กรประชาธิปไตยรวมทั้งรัฐสภา ศาล และรัฐธรรมนูญ โดยพื้นฐานล้วนอ่อนแอทั้งสิ้น และถูกมองข้าม ถูกทำลายโดยรถถังและกองกำลังทหารซึ่งอยู่ในกรุงเทพ...ไทยมีความจำเป็นต้องสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงเพื่อให้การรับรองว่าการก่อรัฐประหารในครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 18 จะเป็นการก่อรัฐประหารเป็นครั้งสุดท้าย

Financial Times ของอังกฤษ ว่า : รัฐประหารไม่เคยมีที่อะไรดีๆ เกิดขึ้นเลย เรื่องนี้ดูจากปากีสถานหรือพม่าก็ได้ ประเทศไทยควรถอยกลับไปก้าวหนึ่งและตรวจสอบตนเอง แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีกษัตริย์อยู่ได้สบายแล้ว แต่ก็จำเป็นต้องมีการสร้างสรรค์และดูแลระบบแบบใหม่ให้มั่นคง

รายงานของสำนักข่าว BBC ของอังกฤษ ต่อการเกิดรัฐประหารว่า : ถึงแม้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในชนบทรูปแบบการเป็นผู้นำและการที่เป็นผู้มีทรัพย์สมบัติมหาศาล ก็ได้นำพาศัตรูมาได้เช่นกันจนส่งผลให้ประเทศเกิดความแตกแยก...


แต่เขาก็ยังได้รับชัยชนะอย่างสบายๆในการเลือกตั้ง เนื่องจากทรัพย์สินและความสามารถทางการเมืองของคุณทักษิณ ที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลไม่สามารถเอาชนะได้ ดังนั้นรัฐประหารจึงกลายเป็นวิธีเดียว ที่จะขับให้เขาพ้นจากตำแหน่งผู้สื่อข่าว BBC ได้สัมภาษณ์เกษตรกรบางคนในพื้นที่ชนบทของประเทศ ที่ส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุน ที่ซื่อตรงที่สุดของ พตท.ทักษิณ พวกเขาเชื่อว่าถ้ายังมีการเลือกตั้งครั้งหน้า เขาจะยังคงเลือกพตท.ทักษิณอีก โดยหวังว่าคุณทักษิณจะกลับมาช่วยพวกเขาอีก

ชีวิตบางคนเหน็ดเหนื่อยมากต้องตื่นนอนตีห้าทุกวัน เมื่อรีดนมวัวแล้วต้องนำไปขายที่ตลาดยามเช้า จากนั้นตั้งแต่เช้าจนถึงบ่ายสามโมงก็กลับไปทำนาต่อ เสร็จแล้วจึงกลับไปรีดนมวัวเพื่อนำไปขายอีกครั้ง กว่าจะทำงานเสร็จก็ถึงเวลากลางคืนแล้ว นายกทักษิณเคยบอกว่าเดือนหน้าเป็นต้นไป ราคานมวัวจะสูงขึ้น แต่ไม่รู้ว่าเมื่อเขาพ้นจากตำแหน่ง สัญญาที่ให้ไว้จะเป็นไปตามนั้นหรือไม่

เกษตรกรบางคนรู้สึกขอบคุณนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างยิ่ง เพราะโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของนายกทักษิณ ที่ทำให้เขามีเงินจ่ายค่ารักษาโรคได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมีรัฐบาลชุดใดเลยที่จะให้หลักประกันการรักษาพยาบาลแก่พวกเขามีเพียงคนในเมืองที่ทำงานมีเงินเดือนเท่านั้นที่ได้รับหลักประกันสุขภาพ

นายกทักษิณยังมีโครงการกู้ยืมเงิน ให้แก่พวกเขาคนยากคนจนอีกด้วย บางคนได้กู้ยืมเงินมา 3 หมื่นบาท ใช้เงินพัฒนากิจการนมวัว ตามนโยบายของ นายกทักษิณทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น การปลูกพืชผักผลไม้ การทำฟาร์มปศุสัตว์นอกเหนือจากการปลูกข้าว

หลายคนรู้สึกเสียใจมาก เรื่องนี้ไม่ยุติธรรมกับคุณทักษิณเลย โครงการที่มีประโยชน์ต่อประชาชนของพตท.ทักษิณเพิ่งเริ่มต้นขึ้น คนที่ขับไล่พตท.ทักษิณออกไปก็เกรงว่าอาจจะไม่สานต่อนโยบายของพตท.ทักษิณต่อไป พวกเขาไม่เห็นด้วยว่า พทต.ทักษิณสมควรได้รับการลงโทษเช่นนี้ และพวกเขาก็ไม่เชื่อว่า พตท.ทักษิณได้ทำผิดกฎหมายจริง ๆ

การต่อต้านการก่อรัฐประหารได้เกิดขึ้น อีกไม่กี่วันต่อมาหลังจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหารได้ 3 วัน นักศึกษาเป็นกลุ่มแรกสุด ในนามเครือข่ายต้านรัฐประหาร 19 กันยายน พร้อมกับอาจารย์ใจ อึ้งภากรณ์ ที่ได้ชุมนุมประท้วง มี นักศึกษาประมาณ 20 คน นั่งชุมนุมกันอย่างสงบที่หน้าศูนย์การค้าสยามพาราก้อนโดยเขียนที่ป้ายประท้วง มีข้อความว่า “นี่ไม่ใช่การปฎิรูป นี่คือรัฐประหาร”
หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งตีพิมพ์จดหมายจากผู้อ่านที่ประท้วงการก่อรัฐประหารว่า การใช้วิธีการมองข้าม ผลการเลือกตั้งที่เป็นไปตามกฎหมายนั้นทำให้คะแนนเลือกตั้งของคนส่วนใหญ่ไม่มีค่าใดๆเลย

นี่เป็นประชาธิปไตยหรือนี่มีความเป็นธรรมหรือ ทักษิณไม่ได้รับการยอมรับจากพรรคฝ่ายค้านก็จริงอยู่ แต่เขาได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก บางคนอาจโต้แย้งว่าที่เรียกว่าคะแนนเสียงส่วนมากนั้นก็เป็นเพียงตัวเลขจำนวนหนึ่ง แต่ประชาธิปไตยมิใช่เป็นการพิจารณาจากตัวเลขส่วนใหญ่หรือ การที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งส่วนมากก็คือประชาชนในชนบท ต้องมาเชื่อฟังผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนน้อยที่เป็นชั้นกลาง และชนชั้นสูงนั้นเป็นธรรมแล้วหรือ วิธีการที่ผิดหลักการอย่างนี้จะกลายเป็นตัวอย่างของการเมืองในวันหลังหรือไม่ ประชาธิปไตยคือความคิดเห็นที่แตกต่างและตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่ แล้วใครที่เป็นคนดีใครที่จะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้ดีกว่าพตท.ทักษิณ ใครที่จะ ช่วยเหลือคนจนเหมือนที่ พตท.ทักษิณช่วยเหลือ ใครที่จะดึงดูดการลงทุนให้ประเทศมากมายอย่างนี้ ใครที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน อย่าเก่งแต่พูด ถ้าใครคิดว่าจะทำได้ดีอย่างพตท.ทักษิณ ทำไมไม่ไปเสนอตัวให้ประชาชนเลือก

พตท.ทักษิณได้มีคุณูปการต่อการพัฒนาประเทศ คนที่คัดค้านหรือประท้วงพตท.ทักษิณเหล่านั้นได้ทำคุณูปการใดๆให้แก่ประเทศนี้บ้าง หลายคนที่โจมตีกล่าวหานายกทักษิณก็เป็นบุคคลล้มละลายที่ฉ้อโกงรัฐและประชาชนโดยที่ไม่เคยทำประโยชน์อะไรเลย บางคนแย้งว่ารัฐบาลของพตท.ทักษิณเหลิงอำนาจ ทำให้ประเทศแตกแยก ไม่สามารถสมัครสมานสามัคคีต่อไปได้อีก จนนำไปสู่การรัฐประหาร ก็ต้องดูข้อเท็จจริงว่า มันมีขบวนการที่จ้องทำลายรัฐบาลทักษิณ โดยเครือข่ายของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลคอยสนับสนุนอย่างเต็มที่

เห็นได้ชัดว่าพตท.ทักษิณได้ทำงานเพื่อคนยากจนเป็นอย่างมาก เช่น การซ่อมแซมถนนของชนบท เพิ่มราคาของข้าวสารให้สูงขึ้น ปล่อยกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรและดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพ คำกล่าวประณามกล่าวหาโดยคณะยึดอำนาจที่มีในหลวงเป็นหัวหน้าเป็นแค่ข้ออ้างอย่างหน้าด้านๆเท่านั้นเอง

การกล่าวหาว่าพตท.ทักษิณทุจริต ก็มีกระบวนการตรวจสอบอยู่แล้ว ทำไมกลุ่มคนที่ถืออาวุธในมือจึงต้องใช้กำลังอาวุธไปบังคับให้ผู้คนเชื่อว่าพวกตนเป็นวีรบุรุษ แต่ให้มองว่า พตท.ทักษิณเป็นคนร้าย คนพวกนี้ไม่เคยให้ความสนใจแก่ความสุขของประชาชน เป็นแค่พวกเห็นแก่ตัวที่เป็นเพียงเครื่องมือของระบอบกษัตริย์ที่ใช้ทำลายคู่แข่งพระบารมี และเข้ามาปล้นสดมภ์โกงกินประเทศเท่านั้นเอง 


ถ้าใช้กำลังอาวุธมาบังคับ แล้วอ้างว่าจะมาปฎิรูประบอบประชาธิปไตย เป็นแค่เรื่องของคนหน้าด้าน ที่คิดเอาเองว่าคนไทยนั้นโง่เหมือนวัวเหมือนควาย ทั้งๆที่ทหารของในหลวงเป็นแค่พวกเผด็จการล้าหลัง ต้องมาควบคุมตรวจสอบสื่อมวลชน จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน กลัวว่าประชาชนจะไม่สนับสนุน ใช้วิธีการปล้นแล้วอ้างว่าจะนำมาซึ่งความชอบธรรม ทหารโจรของในหลวงก็ดีแต่อาศัยอาวุธของประชาชนมารังแกประชาชน ไม่ได้มีอะไรดีไปกว่าพวกโจรผู้ร้ายแต่อย่างใด หลายคนอยากร้องไห้ ที่ทหารโจรของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลได้ทำลายพตท.ทักษิณซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดของประเทศไทยน้ำพระทัยจากในหลวง


ลองมาตรวจสอบดูบทบาทและท่าที ของในหลวงภูมิพลที่มีผลต่อชีวิตของนายกทักษิณ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ได้มีพระราชดำรัส แก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 ว่า....ที่ได้ปฏิญาณนั้นมีความสำคัญมาก เพราะว่ากว้างขวาง หน้าที่ของผู้พิพากษา หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง มีหน้าที่กว้างขวางมาก ซึ่งเกรงว่า ท่านอาจจะนึกว่า หน้าที่ของผู้ที่เป็นศาลปกครอง มีขอบข่ายที่ไม่กว้างขวาง ที่จริงกว้างขวางมาก ในเวลานี้อาจจะไม่ควรพูด

แต่อย่างเมื่อเช้านี้เอง ได้ยินเขาพูดเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และโดยเฉพาะเรื่องเลือกตั้งของ ผู้ที่ได้คะแนน ได้แต้มไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาเลือกตั้งอยู่คนเดียว ซึ่งมีความสำคัญ เพราะว่าถ้าไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบสมบูรณ์ ไม่ทราบว่า เกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งพอ ก็กลายเป็นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตย ดำเนินการไม่ได้ แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่านได้ปฏิญาณเมื่อตะกี้นี้ ก็เป็นหมัน ถึงบอกว่าจะต้องทำทุกอย่าง เพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตย ต้องดำเนินการไปได้ ท่านก็เลยทำงานไม่ได้ และถ้าท่านทำงานไม่ได้ ก็มีทางหนึ่ง ท่านอาจจะต้องลาออก เพราะไม่ได้มีการแก้ไขปัญหา ไม่ได้แก้ปัญหาที่มีอยู่ ต้องหาทางแก้ไขได้

เขาอาจจะบอกว่า ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็บอก ไม่ใช่เรื่องของตัว ศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นการร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จแล้วก็ไม่เกี่ยวข้อง เลยขอร้องว่า ท่านอย่าไปทอดทิ้งความปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบที่ จะทำให้บ้านเมืองดำเนินการผ่านออกไปได้ แล้วก็อีกข้อหนึ่ง การที่จะ ที่บอกว่า มีการยุบสภา และต้อง ต้องเลือกตั้งภายใน 30 วัน ถูกต้องหรือไม่ ไม่พูดเลย ไม่พูดกันเลย ถ้าไม่ถูก ก็จะต้องแก้ไข แต่ก็อาจจะให้การเลือกตั้งนี้ เป็นโมฆะ หรือเป็นอะไร ซึ่งท่านจะมี จะมีสิทธิ ที่จะบอกว่า อะไรที่ควร ที่ไม่ควร ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดู มันเป็นไปไม่ได้ คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียว คนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป ทั่วแต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้

ไม่ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็พูดกันเองว่า ท่านต้องดูเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองให้ดี ตรงนี้ขอฝาก อย่างดีที่สุดถ้าเกิดท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ถ้าทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านไปศึกษาว่า เกี่ยวข้องอย่างไร ท่านเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ถ้าท่านไม่เกี่ยวข้อง ท่านก็ลาออกดีกว่า ท่านผู้ที่เป็นผู้ที่ได้รับหน้าที่ ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นผู้ที่ต้องทำให้บ้านเมืองดำเนินได้ หรือมิฉะนั้น ก็ต้องไปปรึกษากับท่านผู้พิพากษาที่จะเข้ามาต่อมา ท่านผู้พิพากษาศาลฎีกา ท่านผู้นี้ก็คงเกี่ยวข้องเหมือนกัน ก็ปรึกษากันสี่คน ก็ท่านปรึกษากับผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะเข้ามาใหม่ ปรึกษากับท่าน ก็เป็นจำนวนหลายคน ที่มีความรู้ ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ที่มีความและมีหน้าที่ ที่จะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป ฉะนั้นก็ขอฝาก คุณอักขราทร ก็ต้องไปพูดกับสมาชิกอื่นๆ ด้วย ก็จะขอบใจมาก เดี๋ยวนี้ยุ่ง เพราะถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่ทางจะปกครองแบบประชาธิปไตย มีของ เรามีศาลหลายชนิดมากมาย แล้วมีสภาหลายแบบ และก็ทุกแบบนี่จะต้องเข้ากัน ปรองดองกัน และคิดทางที่จะแก้ไขได้

ฟังมาถึงตอนนี้ก็คงตีความได้ชัดๆว่า ในหลวงสั่งให้ตุลาการศาลรีบไปรวมหัวกันหาทางยกเลิกการเลือกตั้ง ให้การเมืองมันระส่ำระสายตามพระราชประสงค์ของพระองค์นั่นเอง และที่ต้องพูดในที่สาธารณะ ก็เพื่อตอกย้ำให้สอดรับกับการสั่งการลับผ่านตัวแทนของพระองค์พร้อมทั้งเท่ากับเป็นการใช้พระบรมเดชานุภาพ รับประกันความศักดิ์ของศาลที่รับใช้พระองค์อีกชั้นหนึ่ง

พระราชดำรัสท่อนต่อมาที่มักมีคนเอามาอ้างว่าในหลวงไม่เอานายกพระราชทาน ก็คือ....

นี่พูดเรื่องนี้ ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย ที่ขอร้องอย่างนี้ แล้วก็ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้องทำมาตรา 7 มาตรา 7 ของ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยัน ยืนยันว่ามาตรา 7 นั้นไม่ได้หมายถึง ให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจ ที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่ มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครอง แบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่า ให้พระมหากษัตริย์ตัดสินใจ ทำได้ทุกอย่าง
ถ้าทำเขาจะต้องว่าพระมหากษัตริย์ ทำเกินหน้าที่ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเกิน ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย เขาอ้างถึงเมื่อครั้งก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่ได้ทำเกินอำนาจพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นมีสภา สภามีอยู่ ประธานสภา รองประธานสภามี่อยู่ แล้วก็รองประธานสภาทำหน้าที่ แล้วมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ ตามรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น ไม่ ไม่ได้หมายความว่า ที่ทำครั้งนั้นผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ ตอนนั้นเขาไม่ใช่นายกฯ พระราชทาน นายกฯ พระราชทานหมายความว่า ตั้งนายกฯ โดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย ตอนนั้นมีกฏเกณฑ์..

ในหลวงยกตนว่าไม่เคยทำผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ยอมรับแม้แต่นายกพระราชทาน แต่ข้อเท็จจริงก็คือท่านยอมรับการล้มล้างปกครองมาหลายครั้ง รวมทั้งเป็นผู้สั่งการและอำนวยการในการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งรวมทั้งการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่มีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า

วันเดียวกันในเวลาต่อมา ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ ได้พระราชทานพระราชดำรัสในทำนองเดียวกันว่า



ถ้าจะปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาศาลฎีกา ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เมื่อตะกี้พูดกับผู้พิพากษาศาลปกครอง ก็ต้องขอให้ เดี๋ยวไปไปปรึกษากับท่าน เพราะว่าสำคัญที่ผู้พิพากษาทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายที่เป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกา เพราะประธานศาลฏีกาเป็นโดยเฉพาะ …..ในปัจจุบันนี้มีปัญหาด้านกฏหมายที่สำคัญมาก คือว่าถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามที่ท่านได้ปฏิญาณว่าจะทำให้ประเทศชาติปกครองได้โดยแบบประชาธิปไตย คือเวลานี้มีการเลือกตั้ง เพื่อให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยนั่นเอง แต่ถ้าไม่มีสภาที่ครบถ้วน ก็ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย

ฉะนั้นก็ขอให้ไปปรึกษากัน ผู้ที่มีหน้าที่ในทางศาลปกครอง ในทางศาลอย่างที่มา เมื่อตะกี้ เพื่อที่จะเป็นครบ เป็น เป็นสิ่งที่ครบ แต่ก่อนนี้มีแค่อย่างเดียว มีศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา ศาลแพ่ง เดี๋ยวนี้มีศาลหลายอย่างอันนันไม่ถูก ก็เมื่อมีก็ต้องให้ไปดำเนินการด้วยดี ดังนั้นก็ขอให้ไปปรึกษากับศาลอื่น ๆ ด้วย จะทำให้บ้านเมือง ปกครองแบบประชาธิปไตยได้

อย่าไปคอยที่จะให้ขอนายกพระราชทาน เพราะขอนายกพระราชทานไม่ได้เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทาน นายกพระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย ...ถ้าไปอ้างมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการอ้างที่ผิด มันอ้างไม่ได้ มาตรา 7 มี 2 บรรทัด ว่าอะไรที่ไม่ ไม่มีระบุในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณี หรือตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากจะได้นายกพระราชทาน เป็นต้น

จะขอนายกพระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องของการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ พูดแบบมั่ว แบบไม่ ไม่ ไม่มีเหตุมีผล สำคัญอยู่ที่ ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่ ที่แจ่มใส สามารถ ควรจะสามารถที่จะไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ คือ ปกครองต้องมี ต้องมีสภา สภาที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนเขาว่าไม่ได้ แต่ก็เขา แต่อาจจะ หาวิธีที่จะ ที่จะตั้งสภาที่ให้ครบถ้วน และทำงาน ทำงานได้ ก็รู้สึกว่ามั่ว อย่างที่ว่า ต้องขอโทษอีกทีนะ ใช้คำว่ามั่ว ไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว แต่ว่าปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดอะไรแบบ แบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จๆ ไป ถ้าไม่ได้ เขาก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอย่างอื่น เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ ไม่มีหน้าที่ที่จะไปมั่ว ก็เลยต้องขอร้องฝ่ายศาลให้คิดให้ช่วยกันคิด

เดี๋ยวนี้ประชาชน ประชาชนทั่วไป เขาหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา ศาลอื่น ๆ เขายังบอกว่าศาล ขึ้นชื่อว่าเป็นศาลดี ยังมีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผลและมีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา และพิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดี ๆ ประเทศชาติจึงจะรอดพ้นได้ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมายหลักของการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่มี ไม่มีสมาชิกสภาถึง 500 คน ทำงานไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาดูว่า จะทำอย่างไร สำหรับให้ทำงานได้ จะมาขอให้พระมหากษัติย์เป็นผู้ตัดสิน เขาอาจจะว่ารัฐธรรมนูญนี่พระมหากษัตริย์เป็นคนลงพระปรมาภิไธย จริงแต่ลงพระปรมาภิไธย ก็เดือดร้อน แต่ว่าในมาตรา 7 นั้นไม่ได้บอกว่า พระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลอง ลองไปดูมาตรา 7 เขาเขียนว่า ไม่มีการบทบัญญัติแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์ที่จะมาสั่งการได้

แล้วก็ขอยืนยันว่า ไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่เขาขอบอกว่า ขอให้มี ให้พระราชทาน นายกพระราชทาน ไม่เคย ไม่เคยมีข้อนี้ มีนายก แบบมีการรับสนองพระบรมราชโองการ อย่างถูกต้องทุกครั้ง มีคนเขาก็อาจจะมามาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 เนี่ย ทำตามใจชอบ ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ตั้งแต่เป็นมา มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ แล้วก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ ถ้าทำตามใจชอบเนี่ย ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมมานานแล้ว แต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจชอบ แล้วเวลาถ้าเขา ถ้าทำตามที่เขาขอ เขาก็จะต้อง ต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ ว่าทำตามใจชอบ ซึ่งไม่ใช่กลัว ถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่ว่ามันไม่ต้องทำ ต้องวันนี้ น่ะอยู่ที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็น เป็นสำคัญ จะบอกได้ ศาลอื่น ๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอะไร ไม่มีข้อที่จะอ้างได้มากกว่าศาลฎีกา เพราะว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะมีสิทธิที่จะพูดที่จะตัดสิน

ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านได้พิจารณากันดู กลับไปพิจารณา ไปปรึกษากับผู้พิพากษาศาลอะไร อื่น ๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าควรจะทำอะไร แล้วต้องรีบทำ ไม่งั้นบ้านเมืองล่มจม พอดี
ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน 2549 ศาลปกครองมีคำสั่งให้ระงับการเลือกตั้ง ส.ส. 9 จังหวัด ภาคใต้ ใน 14 เขต ในวันเสาร์ที่ 29 เม.ย. ไว้ชั่วคราว 

ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้มีคำวินิจฉัย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 กรณี การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คือเป็นโมฆะ ทั้งในประเด็น การจัดคูหาเลือกตั้งทำให้การลงคะแนนไม่เป็นไปโดยลับ การกำหนดวันเลือกตั้งเร็วเกินไป ทำให้พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลรักษาการมีความได้เปรียบพรรคอื่น ซึ่งขัดกับหลักความยุติธรรม การว่าจ้างพรรคเล็กให้ลงสมัครเพื่อไม่ต้องแข่งกับคะแนนร้อยละ 20 ของพรรคใหญ่ ตลอดจนการมีมติ ออกประกาศ คำสั่งของ กกต.ไม่ได้มีการประชุมร่วมกัน

ปีต่อมา 24 พฤษภาคม 2550 พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณพระตำหนักจิตรลดา ให้นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด (ซึ่งเป็นรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ) พร้อมด้วยคณะตุลาการศาลปกครอง และข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เข้าเฝ้าถวายเสื้อครุยตุลาการศาลปกครอง

ได้มีพระบรมราโชวาทว่า “ เดี๋ยวนี้ เวลานี้ อีกไม่กี่วันจะมีการตัดสินเกี่ยวข้องกับศาลอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ศาลปกครอง กล่าวคือ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่าโดยเรื่องของอำนาจ หรือของการที่จะเป็นการเมือง ท่านก็พูดไม่ได้เพราะท่านไม่เกี่ยว แต่ว่าพรรคการเมืองเกี่ยวข้องกับการปกครองโดยตรงเหมือนกัน แต่ท่านไม่มีอำนาจ ข้าพเจ้าจะพูดถึงพรรคการเมืองที่จะมีหรือไม่ ที่จะตั้งหรือไม่ตั้ง ที่จะล้มหรือไม่ล้มนั้นก็พูดไม่ได้..แต่ว่าถ้านึกถึงว่าจะมีการตัดสินเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง จะเป็นการตัดสินที่สำคัญมาก และท่านเองก็จะเดือดร้อน เพราะว่าถ้ามีพรรคการเมืองหรือไม่มีพรรคการเมืองก็ตาม ท่านเดือดร้อนเพราะว่าพรรคการเมืองต้องมี

และถ้าบอกว่ามีพรรคการเมืองไม่ได้อยู่ในอำนาจของท่าน ท่านจะเดือดร้อน ข้าพเจ้าก็จะเดือดร้อนใหญ่ ฉะนั้นก็ค่อยมาต่อว่าท่านว่าทำไมท่านต้องมาวันนี้ ซึ่งไม่กี่วันจะมีปัญหาได้เกิดขึ้น แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ท่านเป็นผู้ใหญ่ เป็นตุลาการมาหลายปีแล้ว และท่านก็ต้องมีความรับผิดชอบที่จะตัดสิน ไม่ใช่ตัดสินบนบัลลังก์ แต่ตัดสินในใจว่าที่ผู้ที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญจะได้ปฏิบัติหรือจะได้ตัดสินถูกต้องหรือไม่ ท่านเองท่านก็รับผิดชอบ และท่านมีหน้าที่ที่จะพิจารณ์ว่า เขาทำถูกหรือไม่ถูก ข้าพเจ้าเองไม่มีสิทธิ์ใดๆ ที่จะบอกว่าถ้าเขาจะทำถูกหรือไม่ถูก แต่ในใจก็ต้องรู้ได้ว่าจะทำถูกหรือไม่ถูก ถ้าเขาทำไม่ถูกตัดสินว่าจะเป็นพรรคการเมือง จะมีอยู่หรือไม่มี ก็เดือดร้อนทั้งนั้น

ข้าพเจ้าเองก็ในใจมีคำตัดสินอยู่ แต่บอกท่านไม่ได้ เพราะไม่มีสิทธิ์ที่จะบอก ท่านเองก็ไม่มีสิทธิ์ แต่ท่านต้องมีการตัดสินอยู่ในใจว่าที่เขา เพื่อนของศาลรัฐธรรมนูญเขาจะตัดสินถูกหรือไม่ถูก ต้องมีอยู่ในใจ แต่ว่า เขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม เดือดร้อนทั้งนั้น เสียหายทั้งนั้น คำตัดสินของเขาจะเดือดร้อน และเสียหายสำหรับท่านเองทั้งนั้น ข้าพเจ้าก็เดือดร้อน แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าเดือดร้อน ไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก แต่รู้ในใจว่า เขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม รู้ในใจว่าเขาทำถูกหรือผิด ส่วนใหญ่ก็นึกว่าคงต้องทำผิดแน่ เมื่อเขารู้สึกว่าถ้าเขาทำผิดเรามีหน้าที่ที่จะวิจารณ์ในใจ แต่ละท่านต้องวิจารณ์ว่า ที่เพื่อนศาลอื่นทำถูกหรือผิดต้องมี ต้องวิจารณ์ อย่างน้อยในใจของท่าน หรือนอกจากนั้นก็มีความเห็นบ้าง เพราะถ้าหากว่าเขาตัดสินมาอย่างไร จะเสื่อมเสียกับบ้านเมืองทั้งนั้น จะตัดสินทางไหนก็ตาม ก็เป็นคำตัดสินที่จะผิด ผิดพลาดทั้งนั้น ฉะนั้นจะต้องมีการวิจารณ์ แต่ท่านวิจารณ์เป็นทางการไม่ได้ ท่านต้องวิจารณ์เป็นส่วนตัว อาจจะไม่เปล่งออกมาท่านเอาเสื้อครุยมาให้แล้ว เอาความเดือดร้อนมาให้ เพราะว่าเอาเสื้อครุยมาให้ก็หมายความว่า ข้าพเจ้าก็มีหน้าที่ผู้พิพากษาศาลปกครองเหมือนกัน แต่ตัดสินอะไร พิพากษาอะไรไม่ได้ ท่านเองก็ตัดสินอะไรไม่ได้ เพราะว่าท่านไม่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิ์ที่จะพิจารณาอะไร แต่โดยที่ได้ชื่อว่าเขาเป็นศาลรัฐธรรมนูญเขาก็มีสิทธิ์ยุ่งหมด ถ้าฟังวิทยุ ท่านคงต้องฟังวิทยุทั้งวัน ทั้งคืน สองวันสองคืนนี้มีการวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับศาล

ท่านต้องคิดวิธีที่จะป้องกันตัวแทนเพื่อนผู้พิพากษาศาลต่างๆ ทั้งหมด แล้วทั้งหมด ก็บอกแล้วว่า ศาลฎีกาไม่มีสิทธิ์ ศาลฎีกาซึ่งท่านก็เคยได้ดำรงหน้าที่ศาลฎีกาบ้าง แต่ว่าท่านทำอะไรไม่ได้ เพราะว่าเขาบอกศาลฎีกาไม่มีสิทธิ์ ถึงขอพูดอย่างนี้ ท่านไปตีความเอาเอง ผู้พิพากษาศาลอะไรก็ตามต้องตีความ แล้วก็ต้องตีความให้ถูก ไม่อย่างนั้นบ้านเมืองพัง...อีกไม่กี่วันก็ยุ่งต่อไป ท่านเตรียมตัวดีๆ ที่จะให้ พร้อมที่จะมีการวิจารณ์บ้างไม่ใช่ในฐานะศาล ในฐานะส่วนตัว หรือในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ในฐานะผู้มีความรู้ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้บ้านเมืองล่มจม อย่างคราวที่แล้วบอกว่า เราไม่ทำอะไร ไม่พยายามแก้ไขจะล่มจม เราก็เกือบล่มจม ตอนนี้ก็เกือบล่มจมต่อไป ฉะนั้นท่านมีความรับผิดชอบที่จะทำให้บ้านเมืองไม่ล่มจม หรือตักเตือนประชาชนที่มีความรู้ ให้มีความรู้มากขึ้น และแม้ประชาชนที่ไม่มีความรู้ให้เกิดความรู้ขึ้นมา ว่าบ้านเมืองควรจะไปทางไหน ท่านทำได้ ท่านพูดได้ ท่านคิดได้ เพราะท่านมีความรู้ เพราะฉะนั้น ขอร้องให้ท่านพยายามจะแก้ไขสถานการณ์ต่อไปเพราะว่าสถานการณ์เดี๋ยวนี้ไม่ดีเลย ...

ที่กษัตริย์ภูมิพลว่าตัดสินทางใดก็เดือดร้อนมันจะมีเหตุผลอย่างไรเพราะศาลต้องตัดสินตามหลักของกฎหมายในระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว หรือต้องการให้ตัดสินอย่างไรก็ได้ตามที่พระเจ้าอยู่หัวต้องการโดยไม่ต้องสนใจความเดือดร้อนของใครทั้งสิ้น ข้อเท็จจริง คือตุลาการรัฐธรรมนูญตั้งขึ้นโดยทหารโจรของในหลวง ตามมาตรา 35 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว 2549 โดยประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน-ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธาน -ผู้พิพากษาในศาลฎีกา เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา 5 คน -ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เลือกโดยทีประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด 2 คน คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดล้วนมาจากตุลาการในศาลฎีกาและศาลปกครองตามคำสั่งของทหารโจรที่มีในหลวงเป็นหัวหน้านั่นเอง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยกลางในช่วงบ่ายจนถึงเกือบเที่ยงคืน โดยมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุตลอดการอ่านคำวินิจฉัย สรุปว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหา ส่วนอีก 4 พรรคมีความผิดจริง

จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย รวมทั้งให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้ง 4 พรรค มีกำหนด 5 ปีตามข้อกล่าวหาของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ที่ร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า พรรคไทยรักไทยได้จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหนีเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังได้ปลอมแปลงเอกสารฐานข้อมูลสมาชิกพรรค พรรคไทยรักไทยร้องเรียนกลับ ว่าถูกพรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคเล็กใส่ร้ายพรรคตน ทั้งๆที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง และพยานก็ออกมายอมรับว่าเป็นพยานเท็จที่พรรคประชาธิปัตย์ได้จ้างวานมา

วันที่ 11 มิถุนายน 2550 คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ( คตส. ) ที่ตั้งโดยคณะทหารโจรที่มีในหลวงเป็นประมุขได้มีมติ ให้อายัดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวก ด้วยข้อหาทุจริตประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สินโดยมิสมควรจากการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นเหตุให้ได้ประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม ดังนี้

พฤติการณ์ทุจริตประพฤติมิชอบ 5 คดี ดังนี้
1.การทุจริตโครงการจัดซื้อที่ดิน มูลค่าตามสัญญา 772 ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ศาลตัดสินจำคุกคุณทักษิณ 2 ปี)
2.การจัดซื้อกล้ายาง มูลค่าตามสัญญา 1,440 ล้านบาท ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


3.การทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 รัฐเสียหายประมาณ 1,500 ล้านบาท
4.โครงการออกสลากพิเศษ แบบเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รัฐเสียหายประมาณ 37,790 ล้านบาท
5.การให้เงินกู้โดยทุจริตของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รัฐเสียหายประมาณ 5,185 ล้านบาท

พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

มีพยานหลักฐานเชื่อได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภริยา ยังคงถือไว้ซึ่งหุ้นธุรกิจสัมปทานของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นต้นมา แต่ได้ให้บุตร ญาติ หรือบุคคลผู้ใกล้ชิด เป็นผู้ถือหุ้นเอาไว้แทน และยังได้ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการชินคอร์ปหลายประการ ดังนี้

1.แก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า (Prepaid) เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ ตลอดอายุสัมปทาน เป็นเงินประมาณ 71,667 ล้านบาท
2.แก้ไขสัญญาข้อตกลงปรับเกณฑ์การตัดส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหายประมาณ 700 ล้านบาท

3.ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ทำให้วิสาหกิจของรัฐเสียหายประมาณ 30,667 ล้านบาท
 4.ให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เช่าและลงทุนระบบคลื่นความถี่ดาวเทียมของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) โดยไม่จำเป็น เป็นเหตุให้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) รัฐเสียหายเป็นจำนวนเงินประมาณ 700 ล้านบาท
5.สั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิม แบงก์) ให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงิน เพื่อซื้อสินค้าและบริการของบริษัทชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในจำนวนเงินกู้ประมาณ 1,000 ล้านบาท

6.อาศัยการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำผลประโยชน์ของชาติแลกเปลี่ยนบุกเบิกตลาดธุรกิจดาวเทียม ให้แก่สายธุรกิจดาวเทียมในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพิ่มมูลค่าธุรกิจดาวเทียมของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) เป็นอันมาก ใช้อำนาจหน้าที่ผลักดันให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 โดยเพิ่มเติมให้บุคคลต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทด้านกิจการโทรคมนาคม จากเดิมไม่เกินร้อยละ 25 เป็นไม่เกินร้อยละ 50 พร้อมๆ กับการเจรจาเพื่อขายหุ้นที่มีชื่อครอบครัวและบริวารของตนเป็นเจ้าของอยู่ร้อยละ 49.2 ให้แก่กองทุนเทมาเซคของประเทศสิงคโปร์ เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ.2549 ก็ได้ดำเนินการขายหุ้นดังกล่าวให้แก่กองทุนเทมาเซค ในวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ.2549 ได้เงินจากการขายหุ้นทั้งหมด จำนวน 73,271 ล้านบาท

คำสั่งอายัดทรัพย์

เงินค่าขายหุ้นชินคอร์ปที่คงเหลืออยู่ในบัญชีประมาณ 52,884 ล้านบาท
พลเอกสุรยุทธ์นายกรัฐมนตรีของในหลวงได้กล่าวเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550 ว่าถ้าหากคุณทักษิณไม่ยอมรับการที่รัฐบาลอายัดทรัพย์สินของตน คุณทักษิณสามารถกลับมาจัดการเรื่องนี้ได้ พร้อมกับยังได้รับประกันความปลอดภัยของทักษิณด้วย เหมือนจะล่อหลอกให้คุณทักษิณกลับมาสู้คดีในศาลไทยที่เป็นเพียงแค่เครื่องมือของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล นายกเถื่อนของในหลวงภูมิพลกล่าวว่าด้วยเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีอายัดทรัพย์สิน คุณทักษิณควรจะกลับมาไทยเ พื่อจัดการปัญหานี้......เขามีเวลา 60 วันที่จะจัดการ

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณจึงได้ตัดสินใจจดทะเบียนหย่ากับคุณหญิงพจมาน ที่สถานกงสุลใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง หลังจากสมรสและอยู่ด้วยกันมานานกว่า 32 ปี ทั้งนี้เพราะไม่ต้องการให้คุณหญิงพจมานต้องมารับเคราะห์กรรม จากพระราชอาชญาที่ทรงตามจ้องล้างจองผลาญคุณทักษิณ อย่างไม่ยอมเลิกรา



25 มกราคม 2553 พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล เสด็จออก ณ ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ให้นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำ ตุลาการศาลปกครองสูงสุดและตุลาการศาลปกครองกลาง เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ในการปฏิญาณนั้นคนรักษา คือคนที่ต้องตัดสินอะไรที่ควรไม่ควร ที่ดี ไม่ดี ท่าน ที่ปฏิญาณมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ท่านต้องจัดการปัญหาในการปกครองของประเทศให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และท่านมีอำนาจที่จะตัดสิน ที่จะพิพากษา ซึ่งหมายความว่าท่านจะต้องชี้แจงว่าอะไรควร อะไรไม่ควร เป็นงานที่ท่านต้องทำด้วยความละเอียดรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อให้ประเทศชาติมีความเป็นธรรม

ความเป็นธรรมนี้ก็หมายความว่า ทำอะไรที่เป็นจริง ที่เรียบร้อย ที่จะทำให้ผู้ได้มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพราะฉะนั้นงานของท่านก็มีความสำคัญไม่น้อย การพิพากษาเป็นงานของผู้เป็นสมาชิกของศาล จะต้องพิพากษาเพื่อความเป็นธรรม หมายความว่าเป็นอะไรที่เรียบร้อยที่ถูกต้อง ที่ทำให้ทุกสิ่ง ทุกอย่างดำเนินได้ด้วยดี
เพราะฉะนั้นท่านต้องมีหน้าที่สำคัญ และจะต้องทำตามคำพิพากษา คำปฏิญาณที่ท่านได้กล่าว ในหน้าที่ของท่านต้องจำว่าท่านได้ปฏิญาณตนว่าจะทำ ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความเป็นธรรม อะไรที่เรียบร้อย ซึ่งเป็นการปฏิบัติไม่ใช่ง่าย เพราะแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่าง การมีความคิดแตกต่างก็มีการตัดสินคดี เพราะการมีคดี คือ เป็นเรื่องของคนที่มีความคิดแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นท่านต้องมาพิจารณาว่า อะไรที่มีความคิดแตกต่างกัน และให้เห็นว่าอะไรที่ควรจะทำ ที่เป็นกลาง ที่เป็นความจริง ที่เป็นความยุติธรรม
ความยุติธรรมนี้หมายความว่า คน มียุติ ใน ธรรม ตัดสินว่าอะไรเป็นธรรม อะไรไม่เป็นธรรม บางเรื่องตัดสินไม่ง่าย เพราะแต่ละคนมีความคิดของตัว ถ้าใครมีทิฐิในทางของตัว ความยุติธรรมแท้จริงไม่ง่าย เพราะแต่ละคนมีความดีหรือที่เรียกว่ายุติธรรมแก่ตัวแท้จริงความยุติธรรมนั้นไม่ได้มีอันหนึ่งอันเดียว มีหลาย แล้วแต่ความต้องการ มีของแต่ละคน แต่ความต้องการของแต่ละคนต้องต่างกัน แต่ท่านจะต้องอยู่ตรงกลาง บางทีท่านอาจถูกว่าถูกกล่าวว่าเป็นคนที่ไม่ดี เพราะ ว่า ไปตัดสินในสิ่งที่ไม่เป็นที่พอใจของอีกฝ่าย แต่ถ้าเราอยู่ตรงกลาง อันนี้คือข้อสำคัญของคนที่ทำหน้าที่รักษาความยุติธรรม ต้องเป็นกลาง ความเป็นกลางนี้ยากมาก เพราะว่าต้องมีความที่เป็นกลางนั้นเอง ท่านต้องไม่ลืมความเป็นกลาง ไม่ลืมความยุติธรรม

ถ้าท่านทั้งหลายได้ทำหน้าที่ของท่าน แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็เท่ากับท่านทรยศต่อความยุติธรรม การทรยศ ไม่มีใครอยากจะทำ ท่านอาจถูกมองทำ เป็นความไม่ดี เป็นความน่าเกลียด ฉะนั้นก็ต้องพิจารณาว่า ท่านปฏิญาณว่าจะรักษาความยุติธรรม ก็ต้องทราบว่า ความยุติธรรมนั้นเป็นอย่างไร แต่ละคดีก็มีความยุติธรรมของคดีนั้น ซึ่งถ้าท่านพิจารณา แล้วควรคิดว่าอะไรที่ยุติธรรม อะไรที่เป็นกลาง ท่านก็จะชนะในความจริง ฉะนั้นท่านต้องรักษาความยุติธรรมนี้และปฏิบัติด้วยความกล้าหาญ เหนียวแน่น แต่ถ้าท่านไม่มีความกล้าหาญ ไม่ว่าจะประการใดก็ตาม จะเป็นเรื่องของความไม่ยุติธรรมในตัวท่าน หรือมีความโง่เขลา ควรทำด้วยความฉลาดและทำให้เป็นกลางแท้ๆ อย่างนี้ท่านก็จะได้ทำตามหน้าที่ที่ท่านได้เป็นผู้พิพากษาให้ศาล

ขอให้ท่านพิจารณาให้ดี ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ได้พิจารณา ตามที่ท่านได้ประสาทวิชาของท่าน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านได้ตั้งใจปฏิญาณ ต้องให้ทำตรงๆ จะเป็นทางที่ได้ทำหน้าที่แท้จริงของท่าน ก็ ขอให้ท่านปฏิบัติงานของท่านต่อไป ด้วยความซื่อสัตย์ ด้วยความฉลาด ด้วยความสามารถที่จะรักษาความยุติธรรม ก็ ขอให้ท่านมีความสำเร็จในการงาน ตลอดที่ท่านทำงานและทุกเวลา ทุกเมื่อ จนกระทั่งจะสิ้นชีวิต ต้อง รักษาความยุติธรรม ก็ ขอให้สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นการดีของแต่ละท่านและเป็นการดีของประเทศชาติ ทำให้ประเทศชาติมีความสงบสุขได้ ขอให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสำเร็จ ตลอดไป อดทนในหน้าที่ของท่าน ทุกเมื่อจะต้องมีความยุติธรรมอยู่ในตัว ก็ขอให้ความยุติธรรมนี้นำท่านสู่ความสำเร็จ

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำแหน่งตำแหน่งทางการเมืองได้อาศัยความถูกต้องชอบธรรมของคณะรัฐประหารที่มีพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเป็นหัวหน้า ตัดสินตามพระราชประสงค์ ให้ยึดทรัพย์ในเบื้องต้นราว 60% หรือ คือยึด 46,373 ล้านบาท คืนให้ 30,247 ล้านบาท ซึ่งอาจตามด้วยการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง การฟ้องแพ่ง ฟ้องอาญาจากบุคคลและหน่วยงานอีกสารพัด รวมทั้งข้อกล่าวหาและคดีความต่างๆอีกมากมาย

จะสังเกตได้ว่า กษัตริย์ภูมิพลจะออกมาให้โอวาทตุลาการผู้พิพากษาแทบทุกครั้งที่มีการตัดสินคดีทางการเมือง ในทำนองให้มีความกล้าหาญให้มีความเป็นธรรม ทั้งๆที่พระองค์สนับสนุนและรับรองการปล้นอำนาจของประชาชนมาโดยตลอด และคงเป็นประเทศเดียวในโลกที่พระมหากษัตริย์ออกมาตักเตือนสั่งสอนและสำทับขมขู่ผู้พิพากษาเป็นประจำ แล้วก็จะตามมาด้วยการวินิจฉัยพิพากษาไปในทิศทางที่ทำลายระบอบประชาธิปไตยทำลายพรรคการเมืองที่ประชาส่วนใหญ่สนับสนุน

การออกมาให้โอวาทของในหลวงภูมิพล น่าจะเป็นการสำทับให้ตุลาการตัดสินตามคำสั่งของเครือข่ายของพระองค์ โดยทรงเสนอหน้าเอาศรัทธาบารมีและพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ออกมาประทับรับรอง ต่อสาธารณชนอีกชั้นหนึ่ง ว่าตุลาการพวกนี้ ก็คือคนของรัชกาลที่เก้านั่นเอง นี่คือการใช้ศรัทธาและพระบารมีอย่างตรงไปตรงมาเพราะไม่มีใครกล้าพูดหรือวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวอยู่แล้ว ประชาชนไทยมีสิทธิ์เพียงแค่ต้องสงบนิ่งหรืออย่างมากก็แค่บ่นว่าตุลาการตีความพระราชดำรัสไม่ถูกต้องตามพระราชประสงค์ คือ ต้องช่วยกันก้มหน้าก้มตาปกป้องพระเจ้าอยู่หัวกันต่อไปด้วยความจงรักภักดีโดยไม่มีเงื่อนไข

การยึดทรัพย์ในครั้งแรกนี้ อ้างแบบหาเรื่องว่ามีมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่มีจำนวนหุ้นเท่าเดิม ตามที่สำนักข่าวบลูมเบอร์กตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ตั้งแต่คุณทักษิณเป็นนายกเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 จนถึงวันที่ขายหุ้นคือ 23 มกราคม 2549 มีมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น 121% เทียบกับดัชนีตลาดหุ้นไทยโดยรวมช่วงเดียวกันขึ้น 128% ส่วนหุ้น SCC หรือปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯของในหลวง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ขึ้นมา 717% ในช่วงเดียวกัน

นาย William Millor แห่ง Bloomberg ซึ่งเป็นสำนักข่าสที่ใหญ่ที่สุดในโลกเรื่องทางเศรษฐกิจได้เคยตั้งข้อสังเกตว่า -เครือซิเมนต์ไทยของในหลวง ที่มีราคาหุ้นเพียง 17 บาท ในปี 2541 ขึ้นเป็น 272 บาท หรือ 16 เท่าในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 -ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 โดยในหลวงถือหุ้น 21% ในเจ็ดเดือนแรกของปี 2549 มีราคาหุ้นสูงขึ้น 41% -เทเวศน์ประกันภัยที่ในหลวงถือหุ้น 87% มีราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 5 เท่าจากปี 2541 มาถึงปี 2549 –พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ถือหุ้นมากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ คือ ไม่น้อยกว่า 7.5% ของทั้งหมด โดยในหลวงมีที่ดินไม่ต่ำกว่า 32,500 ไร่ เป็นที่ดินในเขตกรุงเทพและปริมณฑลราว 7,500 ไร่ บางแห่งราคาแพงมากถึงตารางวาละ 1 ล้านบาทโดยเฉพาะบริเวณที่ตั้งCentral World Plaza และ Siam Paragon,สวนลุมไนท์บาซาร์ ถนนราชดำเนิน โรงแรมโฟร์ซีซั่น และดุสิตธานี (ตามข้อมูลขอบริษัท CB Richard Ellis Group Inc ที่ทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์) ในหลวงยังถือหุ้น 87% ในเครือโรงแรม Kempinski ที่มีฐานอยู่ที่มิวนิคเยอรมันนี มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาทในปี 2548

-การกล่าวหาว่าคุณทักษิณใช้อำนาจในตำแหน่งนายกฯแก้ไขสัญญาสัมปทานลดส่วนแบ่งรายได้ให้ทศท. ทำให้รัฐสูญเสีย เป็นการโกงชาติก็เป็นเรื่องโกหก เพราะบริษัทDTACนั้นขอแก้ไขสัญญาลดส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐก่อน โดยจ่ายให้ 18% ทางAISจึงขอลดตรงนี้บ้าง โดยจ่ายให้รัฐ 20% ซึ่งก็ยังมากกว่า DTAC เมื่อลดค่าสัมปทานให้ทศท. ช่วยให้เอกชนมาลดค่าบริการลูกค้า ทำให้มีคนใช้บริการขยายตัวสูงขึ้น จึงทำให้AISสามารถจ่ายเข้ารัฐได้เพิ่มขึ้นทั้งในรูปของค่าสัมปทาน ภาษีสรรพสามิต ภาษีนิติบุคคลรวมเป็น 52,708ล้านบาท (สูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการลดค่าสัมปทาน)

การกล่าวหาว่าคุณทักษิณใช้อำนาจในตำแหน่งนายกทำให้ AIS สามารถมียอดขายสูงขึ้น และทำให้มีรายได้สูงมากขึ้น ก็ไม่จริงเพราะช่วงที่คุณทักษิณเป็นนายก ( 2544 - 2549 ) AIS มีผู้ใช้มือถือข่ายนี้เพิ่มขึ้นจริงคือ 524% หรือ 5 เท่าตัว แต่เครือข่ายอื่น (DTAC TRUE HUTCH TOT) ก็สูงขึ้นรวมกันถึง 1,403 % หรือ 14 เท่าตัว เนื่องจากเมื่อลดนำส่งรายได้เข้าทศท.แล้วทำให้ค่ายมือถือต่างๆหันมาโปรโมชั่นลดค่าบริการ ทำให้คนใช้มือถือเพิ่มมากขึ้น ส่วนรายได้นั้นพบว่าเฉลี่ยช่วงที่ทักษิณเป็นนายกฯ รายได้ของAIS กับ DTAC ที่เป็นคู่แข่งขันสำคัญเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกัน คือ AIS เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 19% DTAC 18%

ที่กล่าวหาว่าคุณทักษิณเอื้อผลประโยชน์ ทำให้AISผูกขาดมือถือไว้เพียงเจ้าเดียว คนอื่นแข่งขันไม่ได้ก็ไม่จริงเพราะระหว่างปีที่คุณทักษิณเป็นนายกอยู่ ส่วนแบ่งการตลาดลดลงด้วยซ้ำ เช่น ปี2549 AISมีส่วนแบ่งตลาดลดเหลือ49% จากปีก่อนมีส่วนแบ่ง54% เครือข่ายอื่นๆเพิ่มจาก46%เป็น51% ทั้งนี้การมีส่วนแบ่งการตลาดขึ้นกับคุณภาพ การบริการ และราคาเป็นหลัก เป็นไปตามกลไกตลาด
การกล่าวหาว่าคุณทักษิณใช้อิทธิพลการเป็นนายกฯ ทำให้บริษัทชินวัตรสามารถจ่ายปันผลได้ปีละถึง 40% ซึ่งเป็นนโยบายของแต่ละบริษัท บางบริษัทเช่นปูนซิเมนต์ไทยช่วงเวลาเดียวกันจ่ายเงินปันผลสูงถึง60%

การออกพรบ.สรรพสามิต เนื่องจากเดิมAISและบริษัทมือถือจ่ายค่าสัมปทานให้ ทศท.ทั้งหมด ต่อมาทศท.แปรสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชน มาทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชน จะให้เป็นเสือนอนกินรับค่าสัมปทานต่อย่อมไม่ได้ เป็นการเอาเปรียบธุรกิจเอกชน จึงออกกฎหมายจ่ายเข้าสรรพสามิตครึ่งหนึ่ง และจ่ายให้ทศท.เหลือเพียงครึ่งหนึ่งจากเดิม แต่เงินก็ยังเข้ารัฐเท่าเดิม

ข้อกล่าวหาว่าคุณทักษิณใช้อำนาจนายก ให้EXIM BANKปล่อยกู้พม่า5พันล้านบาททำโครงการ แล้วพม่าก็มาซื้อสินค้าจากชินแซทเทิลไลต์ (ดาวเทียมไทยคม) เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
เดิมEXIM BANKให้พม่ากู้4พันล้าน ต่อมาครม.ทักษิณให้กู้เพิ่มอีก1พันล้านบาท รวมเป็น5พันล้านบาท ความเสียหายก็ยังไม่เกิดขึ้น พม่าก็ไม่ได้ชักดาบไทย ไทยได้ประโยชน์อีกต่างหาก เช่น ปตท.ได้สัมปทานก๊าซจากพม่ามูลค่าหลายแสนล้านบาท ทำให้กิจการพลังงานไทยมั่นคง ความสัมพันธ์ไทย-พม่าก็ดี เมื่อพม่าได้เงินกู้จาก EXIM BANK ของไทย พม่าก็ต้องมาซื้อสินค้าจากบริษัทห้างร้านของไทย เป็นเงื่อนไขเหมือนเวลาไทยไปกู้ญี่ปุ่น เขาก็กำหนดว่าต้องซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น สรุปว่าเรื่องนี้ไทยมีแต่ได้กับได้ และเป็นสิทธิ์ของพม่าที่จะเลือกซื้อสินค้าของไทยจากบริษัทใดก็ได้ซึ่งไทยคมก็เป็นบริษัทรายเดียวของไทยที่มีบริการให้เช่าช่องสัญญาณผ่านดาวเทียม

ช่วงที่คุณทักษิณเป็นนายก เครือชินวัตรก็มิได้มีกำไรได้มากกว่าคนอื่น กล่าวคือ




-ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งในหลวงภูมิพลถือหุ้นใหญ่ มีอัตราผลตอบแทนสูงที่สุดคือ 48%








-รองลงมา ปตท. ซึ่งกระทรวงคลังถือหุ้นใหญ่ และในหลวงถือหุ้นอยู่ไม่น้อย มีอัตราผลตอบแทน 36%







-บริษัทนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ของนายวิกรม กรมดิษฐ์ มีอัตราผลตอบแทน 30%







-บริษัทซีเอ็ด ที่เป็นร้านหนังสือ 28%






-AIS เพียง 25%
-บริษัทชินวัตร เพียง 20%
-ชินแซทเทิลไลต์ เพียง 13%






ข้อกล่าวหาว่าทักษิณขายหุ้นชินวัตร
ให้สิงคโปร์ก็เท่ากับขายชาติ

คู่แข่งขันของ AIS คือ DTAC เขาอยากขายหุ้นให้บริษัทเทเลนอร์ (Telenor) จากนอร์เวย์เข้ามาถือหุ้นให้มากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าห้ามต่างชาติถือหุ้นกิจการโทรคมนาคมได้ไม่เกิน 25% โดยเคลื่อนไหวเรียกร้องมาตั้งแต่ปลายปี 2544 ต่อมา TRUE TT&T ก็เรียกร้องทำนองเดียวกัน




DTAC รอไม่ไหว ก็ขายหุ้นให้นอร์เวย์เข้ามาถือหุ้นถึง38% ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ก่อนที่กฎหมายให้ต่างชาติถือหุ้นกิจการโทรคมนาคมได้เกิน 25% มีผลบังคับใช้เมื่อ 21 มกราคม 2549

ทางชินวัตรค่อยขายให้สิงคโปร์ ในวันที่ 23 มกราคม 2549 คือ หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้

ต้องเข้าใจว่ากิจการโทรคมนาคมด้านดาวเทียมเป็นกิจการ ที่ใช้เงินลงทุนมหาศาล และต้องอาศัยเครือข่าย และการแข่งขันสูงมากอย่างน้อยต้องพัฒนาเทคนิค ต้องระดมทุนอีกหลายแสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มชินวัตรเองไม่มีทางรักษาสถานะที่ได้เปรียบต่อไปได้ การขายกิจการให้กองทุนต่างชาติที่มีเงินมหาศาล และมีเครือข่ายกิจการขนาดที่ใหญ่กว่ามาก จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อความอยู่รอดเป็นการขายกิจการในช่วงที่ได้ราคาดีที่สุด เพราะเทคโนโลยีของไทยคมกำลังจะล้าสมัยในไม่ช้า

การที่คตส.และศาลต้องเอาผิดคุณทักษิณให้ได้ก็เพราะ คตส.เป็นหน่วยงานที่คมช.ตั้งขึ้น หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นอกจากนำคนที่แสดงตนว่าเป็นปฏิปักษ์ทางการเมือง ของคุณทักษิณมาเป็นคณะกรรมการ อย่างนายนาม ยิ้มแย้ม นายสัก กอแสงเรือง นายแก้วสรร อติโพธิ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกาแล้ว ก็ยังต้องกล่าวอย่างถึงที่สุดด้วยว่า นี่เป็นองค์กร และกระบวนการซึ่งมีที่มาจากการทำรัฐประหาร 19 กันยา จึงไม่มีความชอบธรรมนับแต่ต้นอยู่แล้ว ไม่มีสิทธิเลยที่จะดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของทักษิณ เพราะมีแรงจูงใจจากการต้องการโค่นล้มทำลายล้างทางการเมืองเป็นสำคัญ ขบวนการตุลาการและศาลของในหลวงภูมิพลกษัตริย์ผู้รับรองการยึดอำนาจก็จำเป็นต้องตัดสินไปตามพระราชประสงค์เพื่อกำจัดเสี้ยนหนามหรือคู่แข่งบารมีของพระราชบัลลังก์

คดีนี้จึงเป็นโมฆะมาแต่ต้นแล้ว เพราะคณะรัฐประหารของในหลวง แต่งตั้งคตส.มาหาเรื่อง เพื่อโค่นล้มทำลายล้างทางการเมือง อัยการหรือศาลก็เป็นแค่ผู้รับสนองคำสั่งของในหลวง มันเป็นเรื่องของความไม่เป็นธรรมต่อคนๆหนึ่ง ซึ่งย่อมหมายถึงความไม่ยุติธรรม ต่อคนทั้งแผ่นดิน


 

 ความอยุติธรรมต่อทักษิณหมายถึงความอยุติธรรมต่อคนส่วนใหญ่ในประเทศที่เลือกทักษิณขึ้นไปบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตยด้วย เป็นความอยุติธรรมที่เกิดจากพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลที่ประชาชนจำต้องเคารพสักการะและล่วงละเมิดมิได้โดยเด็ดขาด

ในคืนวันเดียวกันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 เมื่อเวลา 20.20 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กล่าวผ่านโทรทัศน์ทางไกล โดยสวมชุดดำไว้ทุกข์ให้แก่ขบวนการยุติธรรมของในหลวงว่า ทรัพย์สินที่สั่งยึดนั้นศาลของในหลวงอ้างเป็นราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากการเป็นนายกฯได้มาด้วยการใช้อำนาจมิชอบ ในขณะที่ตนเป็นนายกแต่หุ้นขึ้นทั้งตลาด สรุปแล้วตนเป็นนายกรัฐมนตรีทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นไม่เห็นได้ส่วนแบ่ง แต่บริษัทครอบครัวธุรกิจดีขึ้น เครือข่ายของในหลวงออกมาบอกว่าตนโกงต้องยึดทรัพย์ มาบอกว่าตนเป็นนายกรัฐมนตรีมาโกงให้บริษัทตัวเอง แล้วหุ้นที่เหลือไม่ขึ้นหรือ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นธนาคารกรุงเทพ ยูคอม ทีพีไอ ยูคอม หรือปูนซิเมนต์ไทย

“วันนี้ผมแต่งชุดดำผูกไทดำไว้ทุกข์ ให้กับความดื้อของตัวเอง ทั้งที่คุณหญิงพจมานกับลูก ค้านไม่ให้เข้าการเมือง เขาบอกว่าชีวิตการเมืองวุ่น ให้ใช้ชีวิตเศรษฐีดีกว่า แต่ด้วยความเป็นนักเรียนนายร้อย แต่ลาออกมาประกอบธุรกิจ ก็มีความรู้สึกอยากทดแทนแผ่นดิน พ่อขอโทษด้วยนะลูกที่ดื้อ ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน ผมเดือดร้อนคนเดียวไม่เป็นไร....

วันนี้การเมืองดุมากและใจดำ ขอให้ผมเป็นเหยื่อการเมืองคนสุดท้าย ถ้าเมื่อไรประเทศได้ประเทศชาติที่แท้จริงและมีระบบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม คงไม่มีเหยื่ออย่างผมอีก แต่วันนี้ดุลทั้งหมดอยู่ที่อำมาตย์ที่กดปุ่มสั่งการให้อำนาจหนึ่งเหนืออำนาจหนึ่ง

กฎหมายไทยเหมือนเล่นติ๊ต่าง ถ้าเป็นพวกผม กฎหมายก็จะไม่ยุ่งกับคุณ ถ้าคุณไม่ใช่พวกผม กฎหมายเดินเร็ว ตีความให้คุณเดือดร้อน ขาดมาตรฐานสากลรุนแรง มีคนคนเดียวกระชากไทยถอยหลัง ผมเป็นเหยื่อที่ไม่ได้รับความยุติธรรมที่สุด คิดว่าวันนี้ต้องขอโทษผู้พิพากษาที่มีอุดมการณ์ ไม่อยากเห็นสถาบันนี้ต้องกลายเป็นแบบนี้ ขอโทษจริงๆ ที่เขาต้องจัดการผมโดยใช้สถาบันท่าน หวังว่าทุกอย่างคงดีขึ้น ถ้าเขาได้ทำถึงที่สุดแล้ว ต้องขอโทษผู้พิพากษาด้วย

ผมเคยกราบบังคมทูลฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะไม่รับตำแหน่ง และเคยประกาศหน้าทำเนียบฯ เมื่อเดือน เม.ย. 2546 จะไม่ขอรับตำแหน่งนายกฯ ซึ่งตอนหลังก็มีการยกเลิกเลือกตั้งครั้งนั้น แต่กว่าจะประกาศเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคม ถือว่านานมาก แต่ไม่ได้เลือกตั้ง เพราะรอไม่ไหว เกิดปฏิวัติเสียก่อน อย่างไรก็ตาม ก่อนการปฏิวัติก็มีความลอบฆ่าผมหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ

ส่วนนักธุรกิจ บทเรียนวันนี้บอกอย่าเล่นการเมืองเลย เพราะนักธุรกิจมีนิสัยทะลุทะลวงอยากทำงานให้สำเร็จ คนละวัฒนธรรมกับนักการเมือง ถ้ามีอะไรเข้ามา อาจโดนยึดทรัพย์ ถ้ารักบ้านเมือง ขายให้เกลี้ยง อย่าเอาอะไรเข้ามา อำมาตย์ไม่รังเกียจคนไม่ทุจริต แต่อย่าเป็นที่ ป๊อปปูล่าร์ ผมเป็นนายกฯ คนเดียวและคนแรก ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 แต่อำมาตย์ไม่อยากเห็นรัฐบาลป๊อปปูล่าร์มาก ผมจะแสวงหาความยุติธรรมไม่ว่าในนรก สวรรค์ ในประเทศหรือนอกประเทศ วันนี้ผมไม่ได้รับความยุติธรรม ผมจะแสวงหาความยุติธรรมต่อไป..สิ่งที่เกิดขึ้นบ้านเราไม่ปกติ คนที่ต้องการและรักษาความยุติธรรม ขอให้สู้ต่อไปสู้อย่างสันติ เพื่อประชาธิปไตยเฟื่องฟู ขอให้เป็นบทเรียนที่ดี ผมเจ็บคนเดียวไม่เป็นไร ขอให้สิ่งที่เกิดกับผมวันนี้นำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตย ขอบคุณทุกคนที่เป็นห่วง น้ำใจของท่านยิ่งใหญ่นัก และผมขอโทษลูกๆอีกครั้งที่ผมดันทุรังเข้าสู่การเมือง ผมเสียใจครับ "

คุณทักษิณโทษตนเองที่เข้ามาสู่การเมืองและทำให้ประชาชนชื่นชมเป็นที่นิยมรักใคร่ไปแย่งความรักที่ประชาชนมีต่อในหลวงภูมิพล ถือเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของระบอบที่ถือว่าพระเจ้าอยู่หัวคือเจ้าชีวิตของคนไทยแต่เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น ประชาชนทั่วประเทศได้เห็นถึงความไม่เป็นธรรม ต่างเห็นใจและเจ็บปวดแทนคุณทักษิณและครอบครัว ในขณะที่ได้เห็นถึงความชั่วร้ายอำมหิตของขบวนการและเครือข่ายที่มีพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงเป็นผู้อำนวยการสูงสุด


โดยข้อเท็จจริงผู้ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนมากที่สุดและเป็นนานแล้ว ก็คือพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเจ้ามหาชีวิตของประชาชนไทยทุกคนนั่นเอง ข้อกล่าวหาทั้งหลายที่นำมาใช้เล่นงานนายกทักษิณล้วนเป็นสิ่งที่พระองค์ก็ทรงประพฤติปฏิบัติเป็นปกติมาโดยตลอด และน่าจะทรงกระทำไม่ได้น้อยไปกว่าใครในแผ่นดิน แต่กลับทรงใช้เครือข่ายของพระองค์ กล่าวหาลงโทษและตามล้างตามผลาญนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดของประเทศไทย ไม่สมกับที่ได้เคยให้สัตย์ปฏิญญาณว่า”เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แม้แต่น้อย
...............

ไม่มีความคิดเห็น: