วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

ตำนานรวมชุด 0901 : เจ้าหรือโจร Medley 0901


ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ :  http://www.4shared.com/mp3/dIBo63-C/Medley_Royal_Legend_0901__.html
หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?527n53xttivsy6n
 
ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินเคยมีพระราชปณิธานแน่วแน่ว่า บุคคลผู้ใด เป็นอาทิ คือ เทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์ มากระทำ ให้ข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้ผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคให้แก่ผู้นั้นได้ ความกรุณาเป็นสัตย์ฉะนี้ กล่าวคือพระเจ้าตากสินมีความมุ่งมั่นตั้งพระทัยว่าใครก็ตามที่สามารถทำให้ประเทศชาติและประชาชนมีความสมบูรณ์พูนสุข ถ้าบุคคลผู้นั้นต้องการแขนของพระองค์ข้างหนึ่ง พระองค์ก็จะทรงยินดีตัดแขนให้ ดังนั้นในช่วงใกล้วาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ แม้ทหารที่จงรักภักดีจะพร้อมพลีชีพเพื่อพระองค์ เพื่อต่อสู้กับการการปล้นราชบัลลังก์โดยพระยาจักรี แต่ก็มีพระราชดำรัสว่า “สิ้นบุญพ่อแล้ว อย่าให้ยากแก่ไพร่เลย

พระองค์จึงถูกสำเร็จโทษเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325 พร้อมกับเชื้อพระวงศ์และขุนนางกว่า 150 คน รวมถึง พระยาพิชัยดาบหัก ถือเป็นการกวาดล้างทางการเมืองแบบนองเลือดมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย


ในการปราบดาภิเษกของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าขึ้นเป็นรัชกาลที่ 1 แห่งพระราชจักรีวงศ์นั้น สมเด็จพระอนุชาในรัชกาลที่ 1 หรือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้าพระยาเสือ) ทรงกราบทูลความตอนหนึ่งดังมีบันทึกไว้พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า บรรดาบุตรชายน้อยๆ ของเจ้าตากสิน จะรับพระราชทานเอาไปใส่เรือล่มน้ำเสียให้สิ้น คำบุราณกล่าวไว้ ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก ซึ่งจะเลี้ยงไว้นั้นหาประโยชน์ไม่ จะเป็นเสี้ยนหนามไปภายหน้า

อย่างไรก็ดี โอรสของพระเจ้าตากสินพระองค์หนึ่งเหลือรอดมาได้ คือเจ้าฟ้าเหม็น เพราะเป็นหลานของรัชกาลที่ 1 ซึ่งได้ขอเว้นชีวิตไว้ และโปรดสร้างวังท่าพระให้อยู่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ตรงข้ามวัดพระแก้ว แต่พอรัชกาลที่ 1 สวรรคตได้เพียง 7 วัน และผลัดแผ่นดินมาสู่รัชกาลที่ 2 พระราโชบายที่เคยมีมาแต่ต้นรัชกาลก็มาประสบผลโดยหาเหตุที่พิลึกพิลั่นว่า อีกาได้คาบข่าวมาบอกว่าเจ้าฟ้าเหม็นจะก่อการกบฎแย่งชิงราชบัลลังก์ ในที่สุดก็มีการตั้งตุลาการขึ้นชำระความ ซึ่งตุลาการสมัยโน้น ก็คงจะพอๆกับตุลาการภิวัฒน์ในสมัยรัชกาลที่ 9 คือหาพยานหลักฐานไม่พบแต่ก็หาเรื่องสำเร็จโทษจนได้ โดยมีความตอนหนึ่งว่าไว้ดังนี้
มีรับสั่งโปรดเกล้าฯ ว่า อ้ายเมืองให้การถึงหม่อมเหม็น ทั้งนี้ยังเลื่อนลอยอยู่เห็นหาจริงไม่ แต่ทะว่าเป็นความแผ่นดิน จึงให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ตริตรองชำระเอาความจริง ตุลาการศาลยุติธรรมในเวลานั้นตริตรองแล้ว ก็ชำระความออกมา ด้วยการที่เจ้าฟ้าเหม็นทรงถูกถอดยศเป็น "หม่อมเหม็น" นำไปสำเร็จโทษที่วัดปทุมคงคา ส่วนพระโอรส 6 พระองค์ของเจ้าฟ้าเหม็นก็ต้องโทษ ตัดหวายอย่า่ไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก คือ หม่อมเจ้าชายใหญ่ หม่อมเจ้าชายสุวรรณ หม่อมเจ้าชายหนูเผือก หม่อมเจ้าชายสวัสดิ์ หม่อมเจ้าชายเล็ก และ หม่อมเจ้าชายแดง ทรงถูกนำไป ถ่วงน้ำ ที่ปากอ่าว
โดยรัชกาลที่ 2 โปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ (หรือพระองค์เจ้าชายทับ ต่อมาคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ) ชำระความ มีขุนนางผู้ใหญ่เข้าร่วมก่อการกบฏด้วย คือ
เจ้าพระยาพลเทพ ( บุนนาค บ้านแม่ลา )ทั้งๆที่นายบุนนาคเคยเป็นคนวางแผนก่อการกบฏ โค่นล้มพระเจ้าตาก เพื่อให้พระยาจักรีได้เป็นกษัตรย์ พระยาเพ็ชรปาณี (กล่อม) พระยาราม (ทอง) พระอินทรเดช (กระต่าย) รวมผู้ต้องหาในคดีนี้ 40 คน กับพระราชวงศ์อีก 3 พระองค์ เจ้าฟ้าเหม็น เจ้าจอมมารดาสำลี พระองค์เจ้าชายอรนิภา หรือนายหนูดำ โดยถูกสั่งประหารทั้งหมด ใช้เวลาสอบสวนทั้งสิ้น 4 วัน

เป็นอันสิ้นสุดการฆ่าล้างโคตรเพื่อกำจัดเชื้อสายของพระเจ้าตากสิน ชนิดขุดรากถอนโคน ที่เรียกว่า ตัดหวายอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก เป็นอันว่าพระราโชบายที่กำหนดไว้ นับแต่ปราบดาภิเษก สถาปนาพระราชจักรีวงศ์ ก็มาบรรลุผลในตอนหลังรัชกาลที่ 1 สวรรคตลงเพียง 7 วันนั่นแล ส่วนเรื่องที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ทรงจงใจสละราชบัลลังก์เพื่อจะได้มิต้องชำระเงินกู้จากประเทศจีน เมื่อทรงได้รับการปล่อยตัวอย่างลับ ๆ แล้วจึงเสด็จลงเรือสำเภาไปประทับที่เขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช และเสด็จสวรรคตที่นั่นในปี พ.ศ.2368 ก็คงเป็นไปได้ยาก เพราะขนาดลูกหลานพระเจ้าตากทั้งตัวเล็กตัวน้อยก็ถูกสำเร็จโทษไม่มีเหลือแต่เหตุการณ์ปัจจุบัน ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลแห่งราชวงศ์จักรี ไม่ใช่ว่าทำลายล้างฆ่าให้ตายหมดทั้งโคตร แบบที่พระยาจักรีได้กระทำต่อพระเจ้าตากและรัชทายาท คือไม่ได้ฆ่าพ่อคือคุณทักษิณ แล้วจะตามไปล้างลูกๆของคุณทักษิณ เช่น คุณโอ๊ก คุณเอม คุณอุ๊งอิ๊ง แต่เป็นการเปรียบเปรยว่า ต้องกำจัดหน่อแนวแถวพันธุ์ ที่ยังสนับสนุนคุณทักษิณ ให้ราบเรียบชนิดขุดรากถอนโคนแบบเดียวกัน

เรื่องมีอยู่ว่า ก่อนจะมีการตัดสินคดียุบพรรคไทยรักไทยนั้น ได้มีข้อยุติตามความประสงค์ของเบื้องบนว่า ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก ในที่นี้ พ่อก็คือรัฐบาลทักษิณ ที่ถูกทหารของพระราชาทำรัฐประหารล้มล้างไป ลูกคือ พรรคไทยรักไทยจะต้องโดนยุบ และเมื่อไทยรักไทยโดนยุบ ก็คงเหลือหลาน คือพรรคพลังประชาชนก็ต้องตามไปฆ่าหลานอีกที และก็ต้องกวาดล้างไปถึงชั้นเหลนคือพรรคเพื่อไทย หรือประหารจนหมด 7 ชั่วโคตร หรือจนกว่าจะหมดเผ่าหมดพันธุ์ แต่แผนทำลายล้างคุณทักษิณอย่างขุดรากถอนโคนคงไม่จบลงง่ายๆ เหมือนการฆ่าลูกหลานพระเจ้าตากสินอย่างที่พวกเจ้าราชวงศ์จักรีคาดคิดไว้ก็ได้

ขณะที่พระเจ้าตากสินทรงยินดีที่จะตัดแขนของพระองค์ให้คนที่สามารถทำให้ประชาชนมีความสมบูรณ์พูนสุข แต่กษัตริย์ภูมิพลแห่งราชวงศ์จักรีกลับจ้องคิดทำลายนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดคนหนึ่ง ทั้งๆที่นายกรัฐมนตรีท่านนี้ไม่เคยคิดที่จะต่อสู้เพราะไม่อยากให้เกิดการเสียเลือดเนื้อของคนไทยด้วยกัน ....จะกล่าวได้ไหมว่าคุณทักษิณสืบทอดเจตนารมณ์ของพระเจ้าตากสินกษัตริย์ผู้กู้เอกราช ในขณะที่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงสืบทอดความคิดของพระยาจักรี หัวหน้ากบฏผู้วางแผนโค่นล้ม แย่งชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าตากสิน
กรณีพระเจ้าตากสิน
ถูกสั่งประหารคาผ้าเหลือง


หลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พระเจ้าตากสิน ได้นำทัพกอบกู้เอกราชให้แก่ไทย แล้วสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีใหม่ ทรงรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นแล้วปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2311 แม้จะมีเรื่องเล่าว่า พระเจ้าตากสินทรงกู้เงินจากจีนมาทำสงครามกู้เอกราชและคิดจะไม่จ่ายหนี้ จึงคิดอุบายหลบหนี้โดยให้พระยาจักรียึดอำนาจ และบางตำนานก็ว่าเพชฌฆาตใจอ่อน ปล่อยพระเจ้าตากหนีไปบวชอยู่ที่วัดเขาขุนพนม นครศรีธรรมราช แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า พระองค์ถูกพระยาจักรี สั่งประหารชีวิตเพื่อปราบดาภิเษก ราชวงศ์ใหม่ และมีการกำจัดขุดรากถอนโคนเชื้อสายพระเจ้าตากสินอีกหลายครั้ง
ชนวนมาจากความวุ่นวายทางการเมืองในเวียตนาม ที่องค์เชียงชุนและองค์เชียงสือพ่ายหนีพวกกบฏไตเซิน(หรือราชวงศ์เล้)ต้องถอยร่นลงมาทางใต้ หวังจะได้กำลังจากเขมร จึงเข้าไปคุมการเมืองในเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย

พระเจ้าตากสินได้ทรงแต่งตั้งนักองค์นนเป็นกษัตริย์กัมพูชา แต่ถูกเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) จับประหารในพ.ศ. 2322แล้วถวายราชสมบัติให้นักองค์เองพระชนม์ 7 พรรษาโดยตนเป็นมหาอุปราช ฝ่ายกรุงธนบุรีไม่ไว้ใจ จึงสั่งให้พระยาจักรี (ทองด้วง) เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) กรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าฟ้าจุ้ย) พระราชโอรสเป็นทัพหลวงยกทัพไป เมื่อรบชนะแล้วให้ตั้งกรมขุนอินทรพิทักษ์ครองกรุงกัมพูชาต่อไป ทัพหลวงพยายามจะรุดหน้าไป แต่ทัพรองชลอฟังเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรี ฝ่ายญวนได้ลอบแต่งทูตมาแอบเจรจากับแม่ทัพรองฝ่ายไทย แม่ทัพรองฝ่ายไทย ก็ให้ญวนล้อมกองทัพสมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ และทัพพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนรามภูเบศอย่างแน่นหนา มิให้เคลื่อนที่ได้ ส่วนพวกตนรีบเดินทัพย้อนกลับมากรุงธนบุรีโดยด่วน
ทางด้านกรุงธนบุรี มีผู้ปลุกปั่นยุยง และชักชวนทำการกบฏ รวบรวมคนตั้งเป็นกองรบเข้าทำร้ายผู้รักษากรุงเก่า แล้วเดินทางมายังกรุงธนบุรี ยิงเข้าพระนครโดยมีพวกกบฏในกรุงธนบุรี ก่อการจลาจลรับกับพวกกบฏที่ยกมาจากกรุงเก่า

ในตอนแรก พวกกบฏให้พระสงฆ์ไปทูลขอพระเจ้าตากสินผนวชเพื่อสะเดาะเคราะห์เมือง 3 เดือน สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรับคำทูล เพราะเห็นว่ากำลังจากภาคตะวันออกกลับมาไม่ทัน และราษฎรก็ถูกปลุกปั่น ให้เข้าใจผิดว่าพระเจ้าตากสินทรงมีสติวิปลาส จึงต้องยอมบวชไปก่อนที่วัดแจ้ง ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อทรงผนวช 12 วัน พระยาสุริยอภัย (ทองอิน) หลานเจ้าพระยาจักรี ยกทัพมาจากนครราชสีมา ร่วมกับพวกกบฏ พอเช้าวันที่ 6 เมษายน 2325 เจ้าพระยาจักรี รีบเดินทัพใหญ่มาถึงพระนคร มีการสอบถามความเห็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งส่วนมากเป็นพวกของพระยาจักรี ว่าควรทำอย่างไรต่อไป

ข้าราชการที่ยังจงรักภักดีในพระเจ้าตากสิน และเชื่อในพระปรีชาสามารถของพระองค์ ก็ยืนยันว่าควรไปกราบทูลให้ลาผนวชออกมาครองราชสมบัติ บริหารราชการแผ่นดินโดยด่วน หรือไม่ก็ควรยกราชสมบัติให้รัชทายาทของพระองค์แทน พวกข้าราชการพวกที่กล้าพูดเช่นนั้น ก็ถูกคุมตัวไปประหารชีวิตทั้งหมด


สมเด็จพระเจ้าตากสินถูกปลงพระชนม์ในวันนั้น ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) หลังจากทรงผนวช 28 วัน โหรจดไว้ว่าดับขันธ์ เพื่อยืนยันว่าพระเจ้าตากสินถูกปลงพระชนม์ขณะที่ทรงเพศเป็นพระภิกษุ เมื่อมีพระชนม์ 48 พรรษา




ศ. ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึงวาระสุดท้ายของพระเจ้าตากสินมหาราชไว้ในหนังสือ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี หน้า 575 ว่า " ( พระพุทธยอดฟ้าฯ) จึงมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุม ก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ เจ้าตากสินจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้ว ช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการ จะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา

ครั้น ( พระพุทธยอดฟ้าฯ)ได้ทอดพระเนตร จึ่งโบกพระหัตถ์ มิให้นำมาเฝ้า ผู้คุมแลเพชฌฆาตก็ให้หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ( ริมแม่น้ำเจ้าพระยาปากคลองบางกอกใหญ่ ที่ตั้งกองทัพเรือ ติดวัดอรุณหรือพระราชวังสมัยกรุงธนบุรี ) ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสีย ถึงแก่พิราลัย จึ่งรับสั่งให้เอาศพไปฝัง ณ วัดบางยี่เรือใต้ "


แล้วเชิญพระศพ ไปฝังไว้ที่วัดอินทาราม บางยี่เรือ ใกล้ตลาดพลู ( เวลานั้นเรียกวัดบางยี่เรือ ) บรรดาศพข้าราชการที่จงรักภักดีในพระองค์ เช่น เจ้าพระยานครราชสีมา ( บุญคง ต้นสกุลกาญจนาคม) พระยาสรรค์ (สกุลแพ่งสภา) พระยารามัญวงศ์ (สกุลศรีเพ็ญ) พระยาพิชัยดาบหัก (ทองดี ต้นสกุลวิชัยขัทคะ และพิชัยกุล) กว่า 50 นาย ถูกฝังเรียงรายใกล้พระศพพระเจ้าตากสิน


ฝ่ายพระราชวงศ์ของพระเจ้าตากสินที่ยังเหลือ ถ้าเป็นเจ้าชายที่โตแล้วก็ถูกจับปลงพระชนม์หมด เอาไว้แต่ที่ยังเป็นเด็ก ส่วนเจ้าหญิงก็ถูกถอดพระยศออกแล้วเรียกว่าหม่อม แม้แต่สมเด็จพระราชินี และสมเด็จพระน้านาง อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ฝ่ายเจ้าพระยาอินทวงศา เสนาบดีฝ่ายกลาโหม ขณะบัญชาการทัพใกล้เมืองถลาง ก็ฆ่าตัวตายตามพระเจ้าตากสิน
และไทยต้องช่วยองค์เชียงสือรบกับพวกราชวงศ์เล้ หรือกบฎไตเซิน 2 ครั้ง ต้องช่วยอาวุธยุทธภัณฑ์อีกนับไม่ถ้วน ตามข้อตกลงลับที่ได้ช่วยกันล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าตากสิน และไทยก็ต้องเสียเมืองพุทไธมาศแก่ญวนเมื่อญวนตั้งราชวงศ์องเชียงสือสำเร็จ

พระยาจักรีผู้สถาปนาราชวงศ์
ด้วยชีวิตของกษัตริย์ผู้กู้ชาติ

เมื่อรัชกาลที่ 1 ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงเทพแล้ว ก็พยายามทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าพระองค์เป็นเอกบุรุษที่สมบูรณ์ไปด้วยบุญญาบารมีและบริสุทธิ์กว่าผู้อื่นทั้งแผ่นดิน แต่จดหมายเหตุของกรมหลวงนรินทรเทวี น้องสาวรัชกาลที่ 1 บันทึกว่า อะแซหวุ่นกี้รบชนะเมืองพิษณุโลกที่มีพระยาจักรี เป็นแม่ทัพฝ่ายไทย แต่ก็ถูกกองทัพของพระเจ้าตากสินโจมตีจนแตกพ่ายยับเยิน ฝ่ายไทยสามารถจับแม่ทัพใหญ่ ได้พม่าหลายหมื่น พม่าแตกเลิกทัพหนีไป อะแซหวุ่นกี้ถูกกษัตริย์พม่าถอดยศ และเนรเทศไปอยู่ที่เมืองจักกาย ทั้งที่เคยได้รับการยกย่องในฐานะวีรบุรุษที่รบชนะกองทัพจีนมาแล้ว

รัชกาลที่ 1 จึงรู้สึกอับอาย ที่ตนต้องถอยทัพหนีพม่า และริษยาพระเจ้าตากสินที่สามารถปราบกองทัพพม่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงธนบุรี และ ปราบอะแซหวุ่นกี้ได้ จึงบังคับอาลักษณ์แก้ไขประวัติศาสตร์ทุกฉบับ ว่าอะแซหวุ่นกี้มิได้รบกับพระเจ้าตากสิน แต่ต้องถอยทัพไป เพราะกษัตริย์พม่า มีหมายเรียกตัวกลับ พงศาวดารฉบับพระนพรัตน์บันทึกเรื่องโกหกอย่างน่าขบขันว่าพระยาจักรีได้แต่งอุบายให้เอาพิณพาทย์ขึ้นตีบนกำแพงเมืองเพื่อลวงพม่าเหมือนขงเบ้ง ตีขิมลวงสุมาอี้ในเรื่องสามก๊ก แล้วรัชกาลที่ 1 ก็ชิงโอกาสตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลกหนีออกมาได้ และ แต่งเรื่องโกหก ที่อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี เพราะจะไม่เคยมีแม่ทัพชาติไหน ที่จะขอดูตัวแม่ทัพอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อสรรเสริญว่า เก่งกาจสามารถเป็นเยี่ยม เนื่องจากกฎมณเฑียรบาลที่ว่า ผู้ใดไปคบหาฝ่ายอริราชศัตรูหรือราชทูตของคู่สงครามเพื่อแอบเจรจาจะมีโทษถึงตาย

รัชกาลที่ 1 ยังเล่าเรื่องโกหก ให้เจ้าเวียงจันทร์กับพระยานครศรีธรรมราชฟังในวัดพระแก้ว ให้คนได้ยินกันหลายคน ว่าเคยมีซินแสหรือหมอดูจีนหัวร่อ ทำนายว่า พระยาจักรีกับพระยาตากสินจะได้เป็นกษัตริย์ทั้งคู่ เพื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า พระองค์มีพระปรีชาสามารถเป็นเลิศ มีบุญญาอภินิหารกว่าใครในแผ่นดินรวมทั้งพระเจ้าตากสินด้วย และหาเหตุผลมาสนับสนุนการล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าตากสิน

พระยาจักรี ได้ถวายบุตรสาวเป็นสนมของพระเจ้าตากสิน ซึ่งสนมพระเจ้าตากสินผู้หนึ่งที่ถูกประหารชีวิตเพราะมีชู้ น่าจะเป็นบุตรสาวของรัชกาลที่ 1 ทำให้รัชกาลที่ 1 เคียดแค้นพระเจ้าตากสินมาก พระเจ้าตากมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ไม่มีแม้แต่ปราสาทราชวังในสมัยกรุงธนบุรี มีแต่เพียงท้องพระโรงพระราชวังเดิมที่คล้ายโบสถ์หลังหนึ่งเท่านั้น

สมัยพระเจ้าตากสินได้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนาหลังภาวะสงครามครั้งใหญ่ ทรงส่งเสริมการปฏิบัติธรรมอย่างกว้างขวาง พระสงฆ์จึงอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด แต่รัชกาลที่ 1 ต้องการควบคุมพุทธศาสนา โดยกล่าวหาคณะสงฆ์ไทยว่าไม่รักษาศีล ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เพื่อหาเรื่องเข้าไปควบคุมศาสนจักร ให้รับใช้ราชวงศ์ใหม่ ถึงกับให้ตำรวจวังไปเอาสมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ พระอาจารย์วิปัสสนาของพระเจ้าตากสินให้สึกออกแล้วลงพระราชอาญา เฆี่ยน 100 ที และให้ประหารชีวิต เพราะแค้นที่สมเด็จพระวันรัตเคยทูล ให้พระเจ้าตากสินลงโทษพระองค์ แต่ฟ้าฉิมทรงทูลขอให้ไว้ชีวิตอาจารย์ของตนไว้ รัชกาลที่1 ยังให้กรมสังฆการีปกครองสงฆ์และแต่งตั้งสมณะศักดิ์ และตัดสินพระสงฆ์ต้องอธิกรณ์(ถูกลงโทษ) ตั้งกรมหลวงรักษ์รณเรศ โอรสซึ่งเป็นพวกลักเพศชอบมั่วสุมกับชายหนุ่ม ให้บังคับบัญชากรมสังฆการี

พอวังหน้าพระอนุชาสวรรคต พวกลูกๆ ก็ตั้งกองฝึกอาวุธเตรียมการกบฏ แต่รัชกาลที่ 1 ทรงทราบจึงให้จับประหารทั้งหมด
รัชกาลที่ 2 ขึ้นครองราชย์และทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้าบุญรอดเป็นพระมเหสี ต่อมาโปรดให้เจ้าฟ้ากุณฑล น้องสาวคนละแม่ของตน อายุ 18 - 19 ปี ขึ้นเป็นมเหสีข้างซ้าย อายุอ่อนกว่าเจ้าฟ้าบุญรอดถึง 30 ปี เจ้าฟ้าบุญรอดทนไม่ได้ จึงหนีออกจากวังหลวงไปอยู่ที่พระราชวังเดิมธนบุรีไม่ยอมเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 2 อีกเลย


กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
ผู้ถูกกล่าวหาว่าฆ่าพระราชบิดา


กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นโอรสเจ้าจอมมารดาเรียม และประสูตินอกเศวตฉัตร ตอนปลายรัชกาลที่ 2 ทรงหมกมุ่นกับการกวีและกามารมณ์ ปล่อยให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ คุมทั้งกรมท่าและกรมพระคลังมหาสมบัติ ทำงานแทนร่วม 20 ปี

ความจริงรัชกาลที่ 2 ไม่ได้ประชวรมากนัก แต่เพราะเสวยพระโอสถที่จัดถวายโดยเจ้าจอมมารดาเรียม แม่ของกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ พระอาการจึงทรุดหนักและสวรรคตโดยปัจจุบันทันด่วน โดยกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์สั่งให้ทหารล้อมวัง ห้ามเข้าออก รัชกาลที่ 2 จึงหมดโอกาสมอบบัลลังก์ให้เจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งมีพระชนม์ 20 ปี ขณะผนวชได้ 15 วัน รัชกาลที่ 2 สวรรคต จึงต้องผนวชต่อเพื่อไม่ให้ขัดขวางการครองราชย์ของรัชกาลที่ 3 ซึ่งคุมทั้งการปกครองและการเศรษฐกิจ โดยมีพระชนม์มากกว่า 17 ปี แต่พระองค์เจ้าไกรสรกรมหลวงรักษ์รณเรศ กำกับกรมวัง โอรสรัชกาลที่ 1 เริ่มสะสมไพร่พลมากขึ้น จนรัชกาลที่ 3 จึงให้จับยัดเข้าถุงแดงใช้ไม้ทุบจนตาย

เจ้าฟ้ามงกุฎ
อดีตสมภารผู้มากภรรยา


รัชกาลที่ 4 (สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระวชิรญาณเถระ)ได้บวชมานานมีสาวกมาก เป็นผู้ริเริ่มการเทศน์แบบปาฐกถาเร้าอารมณ์ หาเสียงด้วยวิธีที่แหวกแนว มีสาวกคอยช่วยโฆษณาชวนเชื่อกระพือข่าว ว่ามีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ต่างๆ หลอกให้คนเข้าใจว่าตนเป็นพระวิเศษ และบวชถึง 6 ครั้ง ทั้งๆที่ตนอยากเป็นกษัตริย์มากกว่าเป็นพระ แต่ทรงรู้ดีว่าถ้าสึกเมื่อใด ก็หัวขาดเมื่อนั้น จึงต้องทนสะสมกำลัง
พอบวชอยู่ที่วัดมหาธาตุได้ไม่ถึงปี ก็วิจารณ์พระสงฆ์ไทยว่าไม่น่าเลื่อมใส ตนต้องไปศึกษาพระธรรมวินัยกับพระมอญ และกล่าวหาว่าสงฆ์ในวัดมหาธาตุเต็มไปด้วยภิกษุลามกอลัชชี ตนจึงหนีไปตั้งธรรมยุตินิกายที่วัดสมอราย ทั้งๆที่ตนบวชไม่ถึง 12 เดือน ในที่สุดภิกษุวชิรญาณก็เล่นการเมืองเต็มที่ ด้วยการคบหากับขุนนางตระกูลบุนนาค ขณะที่ยังอยู่ในสมณเพศ เมื่อรัชกาลที่ 3 มีอาการทรุด พวกบุนนาคจึงเชิญภิกษุวชิรญาณเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นเป็นกษัตริย์ ซึ่งทรงตกลงทันทีด้วยความยินดี โดยไม่ได้อาลัยอาวรณ์ผ้ากาสาวพัสตร์และตำแหน่งประมุขแห่งธรรมยุตินิกายแม้แต่น้อย ขณะพระชนมายุ 47 พรรษา

พอเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ก็หลงใหลปลาบปลื้ม หมกมุ่นอยู่กับกามารมณ์ พวกขุนนางที่รู้ว่ากษัตริย์พอใจในเรื่องพรรค์นี้ ได้กวาดต้อนเอาผู้หญิงมาบำรุงบำเรอพระองค์เต็มที่ บางคนถึงกับฉุดคร่าเด็กสาวมากราบหรือถวายตัวกษัตริย์อดีตสมภารนักการเมือง รัชกาลที่ 4 ทรงสะสมสนมในวังมากมาย ทำให้ข้าราชการฝ่ายในมีจำนวนมาก จนแน่นวัง พระองค์เองก็หลงๆลืมๆ จำชื่อพระสนมไม่ได้หมด แม้พระองค์จะแก่ชราเต็มทีแต่ในเวลาสิบกว่าปี ทรงมีลูกถึง 82 คน

เช่น เจ้าจอมทับทิม ที่นางแอนนา ลีโอโนเวนส์ เขียนไว้ว่า ทับทิม (Tuptim) เป็นลูกชาวบ้านมีหน้าตางดงามมาก เมื่ออายุ 15 ปีได้เป็นผัวเมียกับนายแดง ต่อมาในปี 2408 อายุได้ 16 ปี ถูกเกณฑ์ไปเป็นคนงานก่อสร้างวัดราชประดิษฐ์ รัชกาลที่ 4 ทอดพระเนตรเห็นนางทับทิมในวันพระราชพิธีฝังลูกนิมิต จึงทรงตรัสถามข้าราชบริพาร และได้มีผู้นำนางทับทิมเข้าวังเป็นนางห้ามโดยปกปิดว่าเป็นเมียของนายแดง ฝ่ายนายแดงได้บวชเป็นพระที่วัดราชประดิษฐ์ จนได้เป็นพระครูใบฎีกา เรียกกันว่า พระครูปลัด (ฺBalat)

ต่อมาเจ้าจอมทับทิมได้หายตัวไป รัชกาลที่ 4 ทรงตั้งรางวัลนำจับ จนมีพระพบตัวเจ้าจอมทับทิม ซ่อนตัวอยู่ในกุฏิของพระครูปลัด โดยโกนศีรษะ โกนคิ้ว สวมจีวรปลอมตัวเป็นพระ และหลบออกมากับแถวพระภิกษุที่เข้าไปรับบิณฑบาตในวัง และได้เข้าไปอยู่ในวัดราชประดิษฐ์ ร่วมกุฏิกับพระครูปลัด โดยพระครูปลัดไม่ทราบว่าตนเป็นหญิง และเป็นเมียเก่า เจ้าจอมทับทิมถูกจับขังพร้อมกับพระครูปลัดและถูกประหารชีวิตในปี 2410 โดยถูกเฆี่ยนตี ทรมาน และเผาทั้งเป็น


ส่วนเจ้า
จอมที่มีอายุมากก็ถูกมองเป็นของเก่าแก่ ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง เช่น เจ้าจอมมารดาน้อยที่อยู่กินกับรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ขณะที่มิได้บวชเป็นพระ ไปทำให้รัชกาลที่ 4 โกรธให้จับเอาตัวไปขังไว้ในวังหลวง ต้องติดคุกสนมจนตาย โดยไม่คิดถึงคุณงามความดีแต่ก่อนเลย




รัชกาลที่ 4 ทรงระแวงที่พระปิ่นเกล้า หรือเจ้าฟ้าจุฑามณี พระอนุชามีผู้นิยมมาก และไม่ค่อยยำเกรง แต่พระองค์ต้องยกพระปิ่นเกล้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง เพราะมีผู้ยำเกรงพระปิ่นเกล้ากันมากและยังมีทหารในมือมาก ต่อมาพระปิ่นเกล้าสวรรคต ด้วยยาพิษโดยรัชกาลที่ 4 จ้างหมอให้ทำ



ตามบันทึกที่เขียนโดยนางแอนนาเลียวโนเวนส์เลขานุการของรัชกาลที่ 4 ว่า เป็นที่รู้เห็นกันทั่วไป พระเจ้ากรุงสยามเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายชั่วช้ามาก และมีความอาฆาต พยาบาทอย่างรุนแรง มีพระนิสัยอิจฉาริษยาอย่างมาก และหลังจากที่พระปิ่นเกล้าสวรรคต ทรงแก้แค้น โดยบังคับให้พระนางสุนาถวิสมิตรา มเหสีของพระปิ่นเกล้า ให้มาเป็นเจ้าจอมหรือภรรยาน้อยของตน แต่พระนางไม่ยอม จึงถูกจับกุมขังไว้ในวังหลวง แต่โชคดีที่หนีไปเมืองพม่าได้

รัชกาลที่ 4 ประชวรหนักด้วยโรคไข้ป่า (มาเลเรีย) พร้อมกับเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ จากการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อวันที่ 18สิงหาคม2411และ ในเวลาต่อมาสวรรคต

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)ได้ใช้สิทธิ์พิเศษ แต่งตั้งเจ้านาย 2 พระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พร้อมๆ กัน คือทั้งเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์รัชกาลที่ 5 และ พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ โอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้าโดยให้มีฐานะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สอง แต่อำนาจการสั่งราชการทั้งปวง ตกอยู่แก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เพียงผู้เดียวในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นระยะเวลานาน 5 ปี


เมื่อรัชกาลที่ 5 มีพระชนมพรรษาใกล้ 20 พรรษา ในขณะที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินใกล้ที่จะหมดวาระ พระองค์จึงพยายามรวมศูนย์ ดึงเอาอำนาจในการเก็บภาษีอากร มาไว้ที่
หอรัษฎากรพิพัฒน์ ซึ่งพระองค์ทรงควบคุม ทรงสร้างทางรถไฟ เพื่อส่งกองทัพไปควบคุมขุนนางตามหัวเมืองทำให้มีภาษีอากรหลั่งไหลเข้าท้องพระคลังมากกว่าเดิม



มีการเลิกทาสในปี 2417 และยกเลิกการเกณฑ์แรงงานไพร่ในปี 2421 เพื่อลดการซ่องสุมไพร่พลของขุนนางใหญ่ในกรุงและหัวเมือง โดยเฉพาะขุนนางตระกูลบุนนาค ประกอบกับไทยเริ่มผลิตข้าวส่งออก จึงต้องการแรงงานอิสระเพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพ

ทรงรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง หรือรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งพระราชวงศ์และขุนนางไม่พอใจพระองค์เป็นอย่างมาก การรวมศูนย์อำนาจ ทำให้กษัตริย์ได้ภาษีอากรมากกว่าเดิมมากมาย แต่ถูกนำไปใช้อย่างฟุ่มเฟือย พวกเจ้ามีชีวิตที่เหลวไหล มีการสร้างปราสาทราชวัง เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์มากที่สุด พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแบบวิกตอเรียขนาดใหญ่ พระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเป็นหินอ่อนอิตาลีทั้งหลัง มีการนำเอาภาษีอากรของประชาชนมาบำรุงบำเรอความสุขของพวกเจ้า



พระมเหสีใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย
สะสมเครื่องเพชร จับจ่ายซื้อหาอัญมณีชั้นยอดมากกว่าพระราชินีและกษัตริย์ทุกพระองค์ในย่านเอเซีย




รัชกาลที่ 5
มีพระมเหสี 9 พระองค์






1.สมเด็จพระนางเจ้า
สุนันทากุมารีรัตน์
(หรือพระนางเรือล่ม ) สวรรคตพร้อมพระธิดาเล็ก และพระโอรสในพระครรภ์ เป็นพระมเหสีองค์แรก









2.
สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา บรมราชเทวี หรือสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี (สมเด็จย่าของในหลวงรัชกาลที่ 8 และ 9)เป็นน้องสาวคนกลาง











3.
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี บรมราชินีนาถ หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระราชชนนีในรัชกาลที่ 6 และ 7) เป็นน้องสาวคนเล็ก ทั้งสามคนมีพ่อคือรัชกาลที่ 4 และมีแม่คือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม









4. สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี (ต้นสกุล บริพัตร)
















5.
พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี พระธิดารัชกาลที่ 4 กับเจ้าจอมมารดาจันทร์













6.พระอัครชายาเธอ
พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์











7.พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตน์นารีนาค กรมขุนอัคราชกัลยา















8.พระวิมาดาเธอ
พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ เป็นหลานรัชกาลที่ 3












9.พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ( รับการสถาปนาก่อนเสด็จกลับเชียงใหม่ หลังจากที่ล้านนารวมเข้ากับสยามประเทศ )








รัชกาลที่ 5 ยังมีพระสนมที่ปรากฏพระนามอีก 62 พระองค์ หลังปี 2475 ได้มีผู้พยายามนำเอาเครื่องเพชรเหล่านี้มาเก็บไว้เป็นของแผ่นดิน แต่ถูกพวกเจ้าคัดค้าน และพวกทายาทก็ได้รับการจัดแบ่งทรัพย์สมบัติเหล่านี้ไปจนหมดในสมัยรัชกาลที่ 9

ขณะที่กษัตริย์ และเหล่าราชนิกุลเสพย์สุขอยู่ในวัง และทะเลาะเบาะแว้งเรื่องไร้สาระ ประชาชนส่วนใหญ่กลับมีสภาพยากจน ในปี 2433 และ 2452 ชาวนาที่ขัดสนรวมตัวกันยื่นฎีกา ขอกู้เงินหลวงเพื่อนำไปซื้ออาหาร แต่รัชกาลที่ 5 ปฏิเสธ ทั้งๆที่พระองค์ยอมปล่อยเงินกู้ให้พ่อค้าจีน เพราะได้ดอกเบี้ยงาม เศรษฐกิจแย่ลงข้าวราคาตก ราษฎรคับแค้น อับจน ไม่มีทางออก



23 ตุลาคม 2453 รัชกาลที่ 5 สวรรคต

เจ้าฟ้าวชิราวุธได้ครองราชย์










เศรษฐกิจยิ่งแย่ลง พระองค์กลับใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้นในเรื่องโขนละคร ไม่ยอมแบ่งเงินไปพัฒนาประเทศ ประชาชนได้รับงบประมาณเพียงเล็กน้อยไม่ผิดกับสมัยรัชกาลที่ 5 จนมีหนี้ส่วนพระองค์หลายล้านบาท


ส่วนหนึ่งเกิดจากการซื้อเพชรพลอย แจกข้าราชบริพารคนโปรด ทรงสั่งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินแผ่นดินใช้หนี้ของพระองค์เพิ่มอีก 3 ล้านบาท มหาดเล็กคนโปรด คือ
เจ้าพระยารามราฆพ (มล.เฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้สำเร็จราชการกรมมหาดเล็ก และสมุหราชองครักษ์






คนพี่ได้บ้านบ้านนรสิงห์ ที่เป็นคฤหาสน์หินอ่อนสไตล์อิตาเลียน ซึ่งก็คือตึกไทยคู่ฟ้า คือ ทำเนียบรัฐบาลเป็นของขวัญ (แม่ของเจ้าพระยารามราฆพชื่อ พระนมทัด เป็นพระนมในรัชกาลที่ 6) ทรงโปรดปรานให้ใกล้ชิดพระองค์ โดยเฉพาะเจ้าคุณรามฯ ถึงทรงเรียกว่าลูก และโปรดให้ร่วมโต๊ะเสวยทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดรัชกาล และได้รับพระราชทานนามสกุล"พึ่งบุญ"

พระยาอนิรุทธเทวา (มล.ฟื้น พึ่งบุญ) อธิบดีกรมมหาดเล็ก สองพี่น้องตระกูลพึ่งบุญ สืบเชื้อสายมาจาก พระองค์เจ้าไกรสอน พระโอรสองค์ที่33 ของ ร.1กับเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ครั้งสุดท้ายทรงกรมเป็นกรมหลวงรักษ์รณเรศ ถึงรัชกาลที่3 ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ด้วยข้อหารับสินบน มีความประพฤติผิดเพศกับผู้ชายในวงละคร และซ่องสุมกำลังเตรียมก่อการกบฏ
พระยาอนิรุทธเทวาผู้น้องได้บ้านบรรทมสิงห์หรือบ้านพิษณุโลก ( เพราะตั้งอยู่บนถนนพิษณุโลก ข้างโรงพยาบาลมิชชั่น ) ซึ่งเป็นเรือนรับรองแขกเมืองของรัฐบาล ต่อมาเป็นบ้านพักประจำตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของไทย ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี เนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน แต่มีเรื่องลือว่าเป็นอาถรรพ์จนไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใดกล้าพักอาศัยและเคยใช้เป็นฉากภาพยนต์เรื่องบ้านทรายทอง

อีกคนหนึ่งคือพระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล)หนึ่งในสามของขุนนางผู้ใหญ่ที่ร่วมโต๊ะเสวยเย็นเป็นประจำ เป็นอธิบดีกรมชาวที่ ผู้มีหน้าที่ดูแลพระราชฐานที่ประทับทั้งหมด ได้บ้านมนังคศิลา ตรงถนนหลานหลวง สี่แยกมหานาคทำให้พระราชสำนักของพระองค์ตกเป็นที่เกลียดชังอย่างรุนแรงแม้ในหมู่เชื้อพระวงศ์เอง

รัชกาลที่ 6 ไม่มีพระราชโอรส ราชบัลลังก์จึงสืบทอดไปสู่พระอนุชาที่ร่วมพระชนนีเดียวกัน ที่ยังมีพระชนม์อยู่คือ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ พระองค์เดียวขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 7 โดยเห็นว่า ฐานะของพระเจ้าอยู่หัวกำลังตกอยู่ในสภาวะลำบาก ความเคลื่อนไหวทางความคิดในประเทศ ระบบอำนาจของคนๆเดียวเหลือเวลาน้อยเต็มที่ แต่พระองค์ก็มิได้ทรงผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองเลวร้ายลง
จนเกิดกรณีการเปลี่ยนแปลงในปี 2475 ของคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยการยึดอำนาจของข้าราชการที่มีการศึกษาสูง คณะราษฎรได้บุกยึดวัง และจับกุมเชื้อพระวงศ์ระดับหัวหน้า มีแกนนำคนสำคัญของคณะราษฎรคือนายปรีดี พนมยงค์ และพันตรีหลวงพิบูลสงคราม เริ่มต้นด้วยประกาศคณะราษฎรที่นายปรีดีเป็นผู้เขียนเอง โดยโจมตีกษัตริย์อย่างที่ไม่เคยมีใครกล้าทำมาก่อน เป็นการยื่นคำขาดว่าหากเจ้าไม่ยินยอม ก็คงต้องเป็นสาธารณรัฐ หรือมีประธานาธิบดีเท่านั้น

แถลงการณ์ของคณะราษฎร ได้โจมตีรัฐบาลของกษัตริย์ว่าได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส เป็นไพร่ เป็นขี้ข้า เป็นสัตว์เดรัจฉาน โดยไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ แทนที่จะช่วยราษฎรกลับพากันทำนาบนหลังราษฎร หักเอาภาษีอากรที่เก็บจากราษฎรไว้ใช้ส่วนตัว เป็นจำนวนหลายล้านบาท ส่วนราษฎรนั้นกว่าจะหาได้แต่เล็กน้อยเลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียภาษี ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือถูกเกณฑ์ใช้แรงงาน แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันอย่างสุขสบาย...
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ชาติให้ประเทศมีอิสรภาพ พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติไว้ตั้งหลายร้อยล้านบาท ด้วยวิธีทำนาบนหลังคน ...คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ไขความชั่วร้ายก็โดยทีจะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา ...ให้กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน


จะทำอะไรตามลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งเรื่องนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว และกำลังรอคำตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดเพราะความเห็นแก่ตัวว่าจะถูกลดอำนาจ ก็จะได้ชื่อว่า ทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย คือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญ คือไม่ต้องมีพระมหากษัตริย์อีกต่อไปแล้ว....

รัชกาลที่ 7 ได้ทรงปรึกษากับข้าราชบริพารว่าจะสู้ดีหรือไม่ หรือจะต้องหนีออกนอกประเทศ แต่เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงถูกจับกุมหมดแล้ว พระองค์จึงต้องยินยอมไปก่อน วันถัดมา แกนนำคณะราษฎรกล่าวขอโทษสำหรับการยึดอำนาจและการจาบจ้วงต่อราชบัลลังก์ รัชกาลที่เจ็ดจึงยอมลงนามในรัฐธรรมนูญูและการนิรโทษกรรม

และได้ทรงเติมคำว่าชั่วคราว ในพ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครอง 27 มิถุนายน 2475 บังคับให้คณะราษฎรต้องยอมร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยมีพวกเจ้าเข้าร่วมด้วย
พรบ.ธรรมนูญการปกครอง 2475 ได้บัญญัติว่า“ อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร” ผู้ที่ใช้อำนาจแทนราษฎรประกอบด้วย กษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร และศาลโดยเท่าเทียมกัน คณะกรรมการราษฎรเป็นผู้แต่งตั้งและกำกับการทำงานของนายกรัฐมนตรีเเละคณะรัฐมนตรี กษัตริย์ไม่สามารถสั่งการใดๆ ได้หากไม่มีการลงนามสนองจากคณะกรรมการราษฎร แม้ว่าจะไม่มีใครสามารถฟ้องร้องกษัตริย์ในศาลได้ แต่สภาสามารถไต่สวนและถอดถอนกษัตริย์ได้ และสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบต่อการสืบราชสมบัติ


วันที่ 12 ตุลาคม 2476
พระองค์เจ้าบวรเดช ได้นำนายทหารฝ่ายนิยมเจ้าทำการรัฐประหารในนามของวัง หรือคณะกู้บ้านเมือง โดยเข้ามาทางดอนเมือง จอมพลป.พิบูลสงครามบัญชาการปราบกบฏ จนได้รับชัยชนะ และพระองค์เจ้าบวรเดชก็หนีออกนอกประเทศ

รัชกาลที่ 7 ทรงยื่นคำขาดจากกรุงลอนดอน เพื่อแลกกับการเสด็จกลับประเทศ โดยพระองค์ต้องการอำนาจเพิ่มมากขึ้น และให้ปล่อยนักโทษในคดีกบฏบวรเดช หากไม่ตกลงก็จะสละราชสมบัติและขายทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งรวมถึงวัง วิหาร และพระแก้วมรกต
รัฐบาลไม่กลัวคำขู่ของรัชกาลที่ 7 จึงตอบปฏิเสธ ในต้นเดือนมีนาคม 2478 รัชกาลที่เจ็ดจึงต้องสละราชสมบัติ และทรงพำนักอยู่ในยุโรปตลอดพระชนม์ชีพ

และได้ทรงมีพระราชสาส์นแอบอ้างความสูงส่งของพระองค์ไว้เป็นครั้งสุดท้าย ว่า...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร

ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7ได้พยายามดิ้นรนต่อสู้ขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทำให้คำแถลงของพระองค์ไม่มีความหมายและเป็นแค่เพียงเรื่องโกหกเท่านั้นเอง
รัชกาลที่ 7 ไม่เสนอรัชทายาทอย่างเป็นทางการ โดยให้รัฐบาลเป็นผู้เลือกรัชทายาท คณะรัฐมนตรีสรุปให้พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเป็นกษัตริย์




รัชกาล ที่ 7 ได้นำทรัพย์สิน ออกไปเป็นจำนวนมาก
ทั้งเงินสดและอัญมณีที่สะสมกันมาหลายรัชกาล เมื่อพระองค์ปฏิเสธข้อเรียกร้องให้คืนทรัพย์สินทั้งหมด รัฐบาลจึงยึดทรัพย์สินส่วนใหญ่ของราชวงศ์ที่ยังเหลืออยู่ในกรุงเทพฯ




จอมพลป. สั่งให้มีการสร้างอนุสาวรีย์ใหญ่โต เพื่อฉลองรัฐธรรมนูญ ภายหลังเรียกว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลางถนนราชดำเนิน พวกเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงถูกจำกัดกรอบในการทำกิจกรรมต่างๆ วังและทรัพย์สินที่กรุงเทพฯ ของรัชกาลที่ 7 ถูกยึด


ในปี 2482 รัฐบาลจอมพลป.ได้
ประกาศให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ โดยมีการเฉลิมฉลองใหญ่โตเพื่อแสดงชัยชนะเหนือราชวงศ์จักรี เริ่มนโยบายรัฐนิยม เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทยแลนด์ ให้ประชาชนแสดงความเคารพต่อเพลงชาติและธงชาติ แต่ไม่ใช่ต่อกษัตริย์และยกเลิกบรรดาศักดิ์ต่างๆ เช่น ขุน หลวง พระยา เจ้าพระยา
หลังจากจอมพลป. ยอมให้ญี่ปุ่นยึดครองประเทศในปี 2484 เขาปลดนายปรีดีออกจากคณะรัฐมนตรีและแต่งตั้งนายปรีดีไว้ในคณะผู้สำเร็จราชการฯ ทีไม่มีอำนาจ แต่นายปรีดีได้ใช้ตำแหน่งนี้นำขบวนการเสรีไทยซึ่งเป็นขบวนการใต้ดินที่ต่อต้านญี่ปุ่นและจอมพลป.



เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง จอมพลป.และพรรคพวกถูกจับและสมาชิกขบวนการเสรีไทยขึ้นกุมอำนาจ นายปรีดีทูลเชิญในหลวงอานันท์ กลับประเทศ แล้วขึ้นครองราชย์เมื่ออายุบรรลุนิติภาวะในเดือนกันยายน 2488


วันที่ 23 ธันวาคม 2488 นายปรีดีพาทั้งสองพระองค์ไปเยือนค่ายเสรีไท ทั้งสองพระองค์ได้ยิงปืนเป็นร้อยนัด เสรีไทได้ถวายปืนให้ทั้งสองพระองค์ จากนั้นมาทั้งสองพระองค์ทรงโปรดการยิงปืนในวัง โดยทั้งสองพระองค์ก็สะสมปืน ไว้ในห้องพระบรรทม



ในหลวงอานันท์มีแววที่จะออกนอกลู่นอกทางของราชสำนัก ทรงตรัสกับหลายคนว่ามีความคิดที่จะมอบพระราชบัลลังก์ให้แก่พระอนุชา และลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชชนนียืนยันให้ทั้งสองพระองค์ได้จบการศึกษามหาวิทยาลัยที่โลซานน์ พระราชวงศ์จึงมีกำหนดเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 13 มิถุนายน 2489


ในคืนวันที่ 7 มิถุนายน ในหลวงอานันท์ได้โปรดเกล้าฯให้นายปรีดีเข้าเฝ้า เพื่อปรึกษาถึงการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการฯ




แต่ในวันที่ 9 มิถุนายน เวลาเก้าโมงเช้าเศษ พระองค์ก็สิ้นพระชนม์จากกระสุนปืนนัดเดียวตรงหน้าผาก ยิงในระยะเผาขน ปืนโคลท์ .45 ของกองทัพสหรัฐฯ วางอยู่บนเตียงข้างพระวรกาย เมื่อเวลา 9.30 น. ของวันที่ 9 มิถุนายน 2489....มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด จากห้องบรรทม ชั้นบนของพระที่นั่งบรมพิมาน ที่พระบรมศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) แพทย์สรุปตรงกันว่า เกิดการลอบปลงพระชนม์ และยังมีข้อมูลที่น่าสังเกตดังนี้

1. ผู้ที่ฆ่า คงมิใช่บุคคลอื่นที่อยู่นอกพระที่นั่งบรมพิมาน เพราะว่าได้มีการจัดทหาร ตำรวจวัง ล้อมรอบพระที่นั่งอย่างเข้มงวด ถ้าไม่ใช่คนในพระที่นั่งบรมพิมานจะปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ไม่ได้เลย เพราะไม่อาจเล็ดลอดยามจำนวนมากขึ้นไปบนพระที่นั่งและไม่สามารถหนีไปได้พ้นเมื่อยิงในหลวงแล้ว

นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ตรวจสอบบาดแผลพบว่า ตรงที่ถูกยิง มีรอยกดของกระบอกปืนเป็นวงกลม แสดงว่าผู้ยิงต้องเอาปืนกระชับยิงลงที่หน้าผาก ไม่ปรากฏว่ามุ้งมีรอยทะลุ แสดงว่าคนร้ายต้องเลิกมุ้งออก แล้วจึงเอาปืนจ่อยิงในหลวง โดยผู้ยิงต้องเป็นคนรูปร่างสูง แขนยาว เพราะจากขอบเตียงถึงบาดแผลห่างกันถึง 66 ซม. ถ้ารูปร่างเล็กแขนสั้นจะทำไม่ได้ (พวกเจ้ากล่าวหาว่า เรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช รูปร่างเล็กเป็นคนยิง) ถ้าผู้ร้ายเป็นบุคคลอื่น ซึ่งไม่สนิทสนมกับรัชกาลที่ 8 มาก จะทำไม่ได้ เพราะพระองค์ตื่นขึ้นมาและเข้านอนถึงสองครั้งย่อมหลับไม่สนิท ทรงรู้ตัวก่อนที่คนร้ายจะทำการได้



2. คำให้การ มีพิรุธมาก คือ

-ทุกคนที่อยู่ในพระที่นั่งได้ยินเสียงปืนดังสนั่น ทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีแต่พระอนุชาภูมิพล และพระชนนีศรีสังวาลย์เท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงปืน
-พระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุลย์ (2428-2517) นักเรียนพยาบาลรุ่นเดียวกับพระชนนี (ต่อมาได้เป็นท้าวอินทรสุริยา) ให้การว่า ตนอยู่ในห้องพระอนุชา 20 นาที กำลังเข้าไปเก็บพระที่ (ที่นอน)ในห้องบรรทมของสมเด็จพระอนุชาธิราชภูมิพลก่อนมีเสียงปืน และไม่พบพระอนุชาภูมิพลในห้องนั้นเลย

-พระอนุชาภูมิพล บอกให้พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ฟังว่า ขณะที่ผู้ร้ายยิงปืนนั้น ตนเองอยู่ในห้องของตน ขัดแย้งกับคำให้การของพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ซึ่งอยู่ในห้องของพระองค์ในขณะนั้น
- นายเวศน์ สุนทรวัฒน์ มหาดเล็กหน้าห้องพระอนุชา ให้การว่า แม้ห้องนอนของพระอนุชาภูมิพล มีประตูติดกับห้องเครื่องเล่น แต่ประตูนี้ปิดตายตลอดเวลา ถ้าพระอนุชาภูมิพล ต้องการจะเข้าห้องเครื่องเล่น จะต้องเข้าทางประตูด้านหน้าของห้องเครื่องเล่นเท่านั้น มิใช่เข้าทางประตูด้านหลังซึ่งติดต่อกับห้องของพระอนุชาภูมิพล

การที่พระอนุชาภูมิพลให้การว่า ตนเข้าๆ ออกๆระหว่างห้องเครื่องเล่นกับห้องนอนน่าจะเป็นเรื่องโกหก โดยปกติเมื่อ กินข้าวเช้าอิ่ม ท่านจะเดินเข้าไปห้องบรรทมของในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนเสียงปืนไม่นานนัก โดยที่นายชิตและบุศย์มิได้ห้ามปราม เพราะปกติพี่น้องคู่นี้นั้น ถ้าใครตื่นก่อน มักจะเข้าไปยั่วอีกคนให้ตื่น

ฉะนั้นนายชิตและบุศย์ จึงไม่สงสัย ถ้าพระอนุชาภูมิพลเดินเข้าไปในห้องในหลวงและไม่น่าเป็นอุบัติเหตุ ถ้าล้อเล่น ก็ไม่น่าจะถึงกับเอาปืนจ่อกระชับที่หน้าผาก และน่าจะรู้ว่าปืนนั้นไกอ่อน
คำให้การของนายฉลาด เทียมงามสัจ ที่เฝ้าเครื่องเสวยอยู่มุขหน้า ว่าไม่เห็นผู้ร้ายวิ่งออกจากห้องบรรทมเป็นการโกหกชัดๆ เพราะเมื่อปลงพระชนม์แล้ว ผู้ร้ายจะต้องวิ่งหนีออกจากห้องพระบรรทม นายฉลาดยอมรับในศาลว่า ตั้งแต่ถูกเรียกตัวไปสอบสวนก็ได้เบี้ยเลี้ยงจากสันติบาลวันละ 3 บาท หลังจากที่ถูกปลดจากสำนักราชวัง ก็ยังได้รับการบรรจุเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสนับสนุนของพนักงานสอบสวน
ส่วนนายชิตกับนายบุศย์ก็พูดมากไม่ได้ เพราะการฟ้องร้องคดีสวรรคตนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่พวกทหารก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลเลือกตั้ง ให้พระพินิจชนคดี ซึ่งเป็นพวกของฝ่ายเจ้าได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และดำเนินการสอบสวน นายชิตเองถูกฉีดยาให้เคลิบเคลิ้ม ถูกขู่เข็ญสารพัด ทั้งคู่รู้ดีว่า พวกเจ้าและพระพินิจฯ จะต้องเล่นงานพวกนายปรีดี พนมยงค์ให้ได้ โดยใช้กรณีสวรรคตเป็นเครื่องมือ ฉะนั้นถึงตนพูดความจริง ก็ไม่มีประโยชน์ ซ้ำจะเป็นอันตรายถึงครอบครัว เพราะทั้งคู่รู้ดีว่า มีการใช้อำนาจเผด็จการอย่างป่าเถื่อน เช่น ยิงทิ้ง จับกุมคุมขังและทรมานผู้บริสุทธิ์ จึงยอมปิดปาก หวังที่จะได้รับความเมตตาของศาล

และอย่างน้อยน่าจะได้รับคำความกรุณาจากในหลวง ถ้าศาลตัดสินประหารชีวิต น่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ไม่ต้องถูกประหารชีวิตและครอบครัวจะได้รับการเลี้ยงดู แต่หลังจากที่ทั้งคู่ถูกตัดสินประหารชีวิต แม้จะถวายฎีกา ก็ไม่ได้รับการพิจารณา จอมพล ป. ได้ขอพระราชทานอภัยโทษถึง 3 ครั้ง แต่รัชกาลที่ 9 ไม่ทรงโปรด แต่พวกเจ้าก็ส่งเงินอุดหนุนจุนเจือ ครอบครัวผู้ถูกประหารชีวิตเสมอมา เพื่อป้องกันมิให้โวยวาย




4.เมื่อหลักฐานพยานแวดล้อมผูกมัดตัวผู้ต้องสงสัย ศาลควรต้องสอบสวนอย่างจริงจังโดยไม่มีการยกเว้น แต่มีอำนาจมืดจากการรัฐประหารที่ปกป้องพวกเดียวกัน และโยนบาปไปให้พวกของนายปรีดี เช่น



-มีการสร้างพยานเท็จว่านายปรีดีและพวก ปรึกษากันว่าจะฆ่ารัชกาลที่ 8 ที่บ้านพระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรีกระแส ประวาหะนาวิน ประธานรัฐสภา) โดยมีนายตี๋ ศรีสุวรรณ รู้ความลับนี้ ในภายหลัง นายตี๋ ยอมรับว่าตนให้การเท็จ ยังมีนายวงศ์ เชาวนะกวี ให้การว่าได้ยินนายปรีดีพูดกับตนว่า ต่อไปนี้นายปรีดีจะไม่ป้องกันราชบัลลังก์ ทั้งที่นายวงศ์มิใช่ผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับนายปรีดี

-มีการทำลายหลักฐานต่างๆ เช่น การสั่งให้พระพี่เลี้ยงเนื่องทำความสะอาดพระศพ ให้ พ.ท.นายแพทย์หลวงนิตย์ เวชชวิศิษฏ์ (นายนิตย์ เปาวเวทย์) แพทย์ประจำพระองค์เย็บบาดแผล มีการผลัดเสื้อผ้าพระศพ หมอนถูกนำไปฝัง มีการย้ายพระศพ และยกเอาไปไว้บนเก้าอี้โซฟา การแตะต้องพระบรมศพนั้น มิใช่ว่าจะกระทำได้ง่ายๆ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้านายผู้ใหญ่ก่อนเท่านั้น
เมื่อรัฐบาลพลเรือนจะชันสูตรพระศพกลับถูกคัดค้านจากพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์และพระชนนี แม้แต่ศาลฎีกา ก็พยายามช่วยเหลือผู้ต้องสงสัยตัวจริง และโยนความผิดให้ผู้อื่น เช่น

-มีเพียงสองคนเท่านั้น ที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ คือ พระอนุชาและพระชนนี เมื่อนายตำรวจคนหนึ่งเสนอให้ทำการพิสูจน์ด้วย กลับถูกสั่งปลดออกจากราชการ

-ศาลไม่ซักค้านพยาน ต่อหน้าจำเลย แต่กลับสืบผู้ต้องสงสัยบางราย ที่สวิสเซอร์แลนด์ คือพระอนุชาภูมิพล และพระชนนีศรีสังวาลย์ ในวันที่ 12 และ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดย ไม่ยอมให้จำเลยและทนายไปซักค้าน แม้ผู้ต้องสงสัย ให้การสับสน ทนายจำเลยก็ซักค้านไม่ได้

มีผู้ที่น่าสงสัยที่สุดที่ได้รับประโยชน์จากการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 แต่อัยการกลับซักถามเพียงไม่กี่คำ และเลี่ยง ที่จะไต่ถามในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ คดีสวรรคตเป็นคดีสำคัญ แต่มีผู้พิพากษา 5 คนเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคดี โดยที่คณะศาลฎีกาไม่ยอมเอาคดีนำขึ้นสู่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ก็เพราะไม่อยากให้มีผู้ที่จับได้ไล่ทัน และทำการคัดค้าน

- เพื่อให้ความผิดพ้นจากตัวผู้ต้องสงสัยบางราย ศาลฎีกาถึงกับประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ อย่าง นายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า เกี่ยวข้องกับการสวรรคตอย่างไร ศาลวินิจฉัยไม่ได้ว่าใครเป็นฆาตรกรตัวจริง แต่กลับพิพากษาให้ประหารชีวิตนายเฉลียวเพียงเพราะนายเฉลียวใกล้ชิดกับนายปรีดี

การกำจัดรัชกาลที่ 8 นั้น นับว่าได้ผลสองต่อ คือ นอกจากจัดการกับรัชกาลที่ 8 แล้ว ยังได้กำจัดนายปรีดี ซึ่งเป็นศัตรูของพวกเจ้า อีกทั้งนายปรีดีรู้มากไปหน่อย สมควรที่จะถูกกำจัด นายปรีดีต้องลี้ภัยการเมืองตั้งแต่ปี 2491 และถึงแก่กรรมในต่างประเทศ ขณะเกิดเหตุปลงพระชนม์ นายเฉลียว ปทุมรสอยู่ไกลจุดเกิดเหตุนับสิบกิโลเมตร และได้ออกจากราชการไปแล้ว



ส่วนคุณชิต-คุณบุศย์นั่งอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องพระบรรทม ถ้ามีผู้เข้าไปปลงพระชนม์ก็จะต้องเห็นอย่างแน่นอน
คุณฟัก ณ สงขลา ทนายความของสามจำเลย เคยสอบถามคุณชิต-คุณบุศย์ว่า ใครเข้าไปปลงพระชนม์ในหลวง คุณชิต-คุณบุศย์ ไม่ยอมพูด

แต่ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีมหาดไทยและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นประธานควบคุมการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ทั้งสาม ได้มีโอกาสพูดคุยตามลำพัง ได้ทำบันทึกคำสนทนากับผู้ต้องโทษประหารชีวิตทั้งสามคนในเช้าวันนั้น แล้วเสนอจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี เมื่ออ่านแล้วได้สั่งให้เก็บไว้ในแฟ้มลับสุดยอด


ต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงคราม เตรียมออกกฎหมายให้อำนาจรื้อฟื้นคดีสวรรคตที่ศาลฎีกาตัดสินไปแล้ว เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกประหารชีวิตทั้งสามคนและนายปรีดี ทางวังจึงได้ผลักดันจอมพลสฤษดิ์ทำการโค่นล้มจอมพลป.และพล.ต.อ.เผ่า เพื่อมิให้มีการฟื้นคดีสวรรคตขึ้นมาอีก ใครฆ่าในหลวงอานันท์ จนถึงปัจจุบันคำตอบยังคงเป็นปริศนา ที่ราชวงศ์จักรีและรัชกาลที่ 9 ไม่อยากจะพูดถึงหรือทำให้เกิดความชัดเจนอย่างตรงไปตรงมา
ขณะที่เชื้อพระวงศ์และสองพี่น้องตระกูลปราโมชได้สร้างเรื่องใส่ร้ายนายปรีดีว่าเป็นผู้วางแผนปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ และจ้างคนปล่อยข่าวไปทั่วกรงเทพฯ่ บรรดาทูตและชาวต่างชาติส่วนใหญ่สรุปว่า ในหลวงอานันท์ยิงพระองค์เอง หรือไม่ก็พระอนุชาภูมิพลยิงโดยอุบัติเหตุ แต่ข้อสันนิษฐานที่ว่าพระอนุชาภูมิพลปลงพระชนม์พระเชษฐาหรือน้องฆ่าพี่ นั้นไม่เคยได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง หากจะมีการสอบสวนในประเด็นนี้ ก็จะเป็นการระคายเคือง ต่อความสูงส่งที่ไม่มีวันทำอะไรผิดของกษัตริย์ ทำให้สถาบันกษัตริย์ต้องเสื่อมเสีย หรืออาจล้มครืนไปเลย

ในเวลานั้น ที่ทั้งฝ่ายนิยมเจ้าและฝ่ายของจอมพลป. ต้องการทำลายนายปรีดี และราชตระกูลมหิดล ก็ต้องการเอาตัวรอดโดยการหาแพะมารับบาป เพื่อไม่ให้ประเด็นมุ่งไปสู่ในหลวงภูมิพล จึงต้องมีการขุดเอาผู้ต้องสงสัยรายอื่นขึ้นมาลงโทษให้ได้

ตลอดช่วงหกปีต่อมา บรรดาเชื้อพระวงศ์และพรรคการเมืองของนายควงและมรว.เสนีย์ที่ควบรวมกันเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ต่างพากันใช้กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ให้เป็นประโยชน์ในการแพร่ขยายอำนาจของพวกตน ขณะที่ในหลวงภูมิพลยังคงอยู่นอกความขัดแย้งเพราะเป็นเจ้าเหนือหัวของทุกคนที่ไม่มีใครกล้าล่วงละเมิด ภรรยาของมรว.เสนีย์บอกอุปทูตสหรัฐ ว่านายปรีดีเป็นผู้บงการฆ่าในหลวงอานันท์ เชื้อพระวงศ์อาวุโสคนอื่นๆ ก็บอกเอกอัครราชทูตอังกฤษอย่างเดียวกัน ส.ส.คนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ตะโกนในโรงหนังว่าปรีดีฆ่าในหลวง

กรณีสวรรคตมีเรื่องที่น่าสงสัยหลายอย่าง เริ่มด้วยพระราชชนนีศรีสังวาลย์ได้จัดการชำระล้างคราบเลือด และมีการเคลื่อนย้ายศพเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไปถึงและเริ่มการตรวจชันสูตร แต่พระองค์เจ้ารังสิตยืนกรานว่าเฉพาะนักบวชระดับสูงของราชสำนักบางคนเท่านั้น ที่จะสามารถแตะต้องร่างของกษัตริย์ได้ และจะรายงานต่อสาธารณะว่าเป็นการฆ่าตัวตายไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะเป็นเรื่องเสื่อมเสียพระเกียรติยศ นายปรีดีจึงไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากแถลงอย่างอ้ำอึ้งว่าเป็นอุบัติเหตุ นายปรีดีไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้

ฝ่ายนิยมเจ้าที่รวมตัวกันในนามพรรคประชาธิปัตย์ ก็นำการสวรรคตไปเป็นประเด็นหาเสียงในการเลือกตั้ง แต่พรรคที่สนับสนุนนายปรีดียังคงได้เสียงข้างมาก พอเปิดสภา มรว.เสนีย์กับนายควงก็โจมตีรัฐบาลด้วยเรื่องกรณีสวรรคต จนนายปรีดีต้องลาออก และหลบไปต่างประเทศหลายสัปดาห์และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์หนึ่งในคณะราษฎร ก็ได้เป็น นายกรัฐมนตรี

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ทหารทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลพลเรือตรีหลวงธำรง นายปรีดีต้องหนีไปต่างประเทศ คณะรัฐประหาร ที่นำโดยพลโทผิน ชุณหะวัน กับ พลโท หลวงกาจ กาจสงครามพันธมิตรของจอมพลป.ได้กล่าวหาว่ารัฐบาลนายปรีดี-หลวงธำรงไม่ให้ความเคารพชาติ ศาสนาและกษัตริย์ ดังนั้นทหารจึงจำต้องเข้ามาแทรกแซง เพื่อรักษาประเทศชาติและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และอ้างว่ามีหลักฐานชัดเจนว่านายปรีดีมีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีสวรรคต และยังวางแผนที่จะปลงพระชนม์รัชกาลที่ 9 เพื่อกำจัดสถาบันกษัตริย์ให้หมดสิ้นไป และเปลี่ยนประเทศเป็นคอมมิวนิสต์ พวกเขาจับกุมมหาดเล็กสองคน คือนายชิตและนายบุศย์ และอดีตราชเลขาธิการ นายเฉลียว ปทุมรส ด้วยข้อกล่าวหาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับนายปรีดี รวมทั้งอดีตราชองครักษ์เรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวชที่หนีไปต่างประเทศเช่นเดียวกับนายปรีดี

วังและทหารได้ร่วมมือกันปิดคดีสวรรคต โดยในเดือนกันยายน 2491 ชายสามคนที่ถูกจับข้อหาปลงพระชนม์ได้รับการไต่สวน เจ้าหน้าที่พยายามชี้ไปยังนายปรีดี โดยอ้างแรงจูงใจ คือ การถกเถียงระหว่างนายปรีดีและในหลวงอานันท์ในเรื่องคณะผู้สำเร็จราชการฯ ซึ่งทนายจำเลยสามารถต่อสู้ข้อกล่าวหานี้ได้

แต่อธิบดีกรมตำรวจ เผ่า ศรียานนท์ลงมือตอบโต้อย่างเหี้ยมโหด ในต้นปี 2492 ลูกน้องของเผ่า ศรียานนท์สังหารทนายจำเลยไปสองคนและพยานจำเลยอีกหลายคน โดยอำพรางว่าเป็นการปราบปรามคอมมิวนิสต์
ศาลชั้นต้นตัดสินครั้งแรกในวันที่ 27 กันยายน 2494 โดยยกฟ้องนายเฉลียว ปทุมรสราชเลขาธิการและนายบุศย์ ปัทมศรินทร์มหาดเล็ก ทำให้รัฐบาลและฝ่ายเจ้าต่างไม่พอใจ รัฐบาลจึงสั่งให้มีการไต่สวนใหม่

พล.ต.อ.เผ่าเจ้าของคำขวัญ ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ได้สร้างรัฐตำรวจ ก่อตั้งตำรวจรถถังและยานเกราะ ตำรวจกองปราบ,ตำรวจพลร่มและอื่นๆ เป็นนักอุ้มฆ่าที่ได้ทำการกวาดล้างเสี้ยนศัตรูทางการเมืองของจอมพล ป.อย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ตำรวจยุคนั้นได้มีส่วนในการเข่นฆ่า ขังลืม ขังห้องมืดนักโทษการเมืองรวมถึงสังหารโหดหลายครั้ง นักการเมืองจำนวนมากต้องลี้ภัยหนีตายและหลบไปกบดานอยู่ในชนบท

ขณะที่ทางวังพยายามผูกมิตรกับ พล.ต.อ.เผ่ามากเป็นพิเศษ ถึงขนาดที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปเป็นประธานในพิธีที่ พล.ต.อ.เผ่ามอบแหวนอัศวินแก่ลูกน้องตำรวจของตนเอง ซึ่งเป็นพวกมาเฟียที่ดูแลการค้ายาเสพติด และเรียกค่าคุ้มครองให้พล.ต.อ.เผ่า และทรงเน้นสร้างความสัมพันธ์กับตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์โดยมีศูนย์ฝึกอยู่ใกล้วังไกลกังวลที่หัวหิน

ในปี 2498 พล.ต.อ.เผ่าได้สร้างความดีความชอบแก่วังครั้งสำคัญที่สุด คือการปิดฉากคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8 แม้ว่าไม่แนบเนียนนักแต่ก็ต้องหาทางให้จบสิ้นให้ได้เพราะคดีสวรรคตได้ค้างคาศาลมานานแล้ว และเป็นหนามยอกอกของพระราชวงศ์เรื่อยมา จนกระทั่งในเดือนตุลาคม 2497 ศาลฎีกาก็ตัดสินว่านายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศรินทร์และนายเฉลียว ปทุมรสมีความผิดและให้ลงโทษประหารชีวิต



โดยพระเจ้าอยู่หัวไม่ยอมรับฎีกาขออภัยโทษ ที่จอมพลป. ได้กราบบังคมทูลขอไปถึงสามครั้งตลอดระยะเวลาสี่เดือน พอวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 พล.ต.อ.เผ่าก็จัดการประหารชีวิตทั้งสามคนอย่างเงียบๆ ด้วยการยิงเป้า
สรุปได้ว่า การสิ้นพระชนม์ของในหลวงอานันท์ ได้ทำให้สถาบันกษัตริย์กลับฟื้นคืนชีพและมีความสำคัญมากกว่าเดิม




ในปี 2495 พวกเจ้าปฏิเสธคำขอของจอมพลป.ที่จะเป็นองคมนตรีอีกครั้งหนึ่ง จอมพลป.ได้ตอบโต้พวกเจ้าด้วยการเสนอกฎหมายในปี 2495 เพื่อจำกัดการถือครองที่ดิน รายละไม่เกิน 50 ไร่สำหรับทำการเกษตร และ 10 ไร่สำหรับอุตสาหกรรม เจ้าที่ดินรายใหญ่จะมีเวลาเจ็ดปีที่จะผ่องถ่ายที่ดินส่วนเกินออกไป ชาวนาที่ทำกินมานานจะได้รับความช่วยเหลือในการออกโฉนดสำหรับไร่นาที่ตัวเองทำกิน ข้อเสนอนี้ทำให้ต้องสู้กันถึงสองปีกับทางวังซึ่งยืนยันว่าการกระจายการถือครองที่ดินนั้นไม่มีความจำเป็นเพราะที่ดินมีอยู่มหาศาลทั่วประเทศ แต่ที่ดินที่ว่านั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนของรัฐและชาวนาไม่สามารถถือครองได้ตามกฎหมาย ในที่สุด ปี 2497 กฎหมายก็ผ่านสภา แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยถึงสองครั้ง ในเดือนธันวาคม 2497 สภาก็ถวายร่างกฎหมายให้พระองค์อีกเป็นครั้งที่สาม และสภาอาจลงมติผ่านเป็นกฎหมายได้เลย พระเจ้าอยู่หัวจึงต้องยอมลงพระปรมาภิไธย โดยยังมีเวลาแก้ไขถึงเจ็ดปีก่อนที่กฎหมายจะบังคับใช้

หลังการเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2500 จอมพลป.ยังคงได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง แต่จอมพลสฤษดิ์ได้ประกาศว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก เกิดการประท้วงใหญ่

พอจอมพลป.แต่งตั้งตนเองเป็นประธานพิธีจัดงานฉลองกึ่งพุทธกาล 2,500 ปี ระหว่าง 12-18 พฤษภาคม 2500 ใช้งบกว่า 70 ล้านบาทโดยเชิญนายกรัฐมนตรีพม่าเป็นแขกพิเศษ ทูลเชิญกษัตริย์ภูมิพลเป็นประธานเปิดและปิดงาน แต่ทรงอ้างว่าประชวร และให้กรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากรมาแทน จอมพล ป.ได้มีคำสั่งให้เผยแพร่บันทึกเรื่องพระประชวรทำให้มจ.นิกรเทวัญ เทวกุล ราชเลขาธิการไม่พอใจมากและไม่มีการเสด็จร่วมงานเลย จนรัฐบาลจอมพล ป.ต้องออกมาชี้แจงว่ามิได้มีความขัดแย้งกับสถาบันกษัตริย์


พวกเจ้าพากันโจมตีว่า จอมพลป.กำลังช่วงชิงราชบัลลังก์
พรรคการเมืองฝั่งจอมพลสฤษดิ์ได้ร่วมเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยกล่าวหาจอมพลป. ว่าสนับสนุนการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หนังสือพิมพ์ที่พล.ต.อ.เผ่าควบคุมอยู่ก็ได้ทำการโจมตีเจ้าอย่างตรงๆ ฝ่ายเจ้าก็ปล่อยข่าวว่า พล.ต.อ.เผ่ากำลังวางแผนจับพระเจ้าอยู่หัว
จอมพลสฤษดิ์เรียกร้องให้จอมพลป. ปลดพล.ต.อ.เผ่า ไม่อย่างนั้นจะทำรัฐประหาร วันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลป.ต้องเข้าเฝ้าในหลวงเพื่อกราบบังคมทูลขอให้พระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนรัฐบาลของตน พระเจ้าอยู่หัวทรงบอกจอมพลป.ให้ลาออก แต่จอมพลป.ปฏิเสธและในคืนนั้นจอมพลสฤษดิ์ก็ยึดอำนาจ โดย ทั้งสฤษดิ์และพลโทถนอมรีบเข้าวัง แค่สองชั่วโมงหลังการประกาศรัฐประหาร พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งจอมพลสฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนคร โดยที่ไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลป.และพล.ต.อ.เผ่าก็ต้องหนีออกจากประเทศไทย

วันถัดมา มีแถลงการณ์ของพระราชวังว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเล็งเห็นว่า วัตถุประสงค์ของคณะปฏิวัติที่จะคุ้มครองประชาชน ดูแลสวัสดิภาพและผลประโยชน์ของชาติ และสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศนั้นเป็นสิ่งที่สูงส่ง เมื่อท่านมีเป้าหมายสูงส่ง ท่านก็ได้รับความคาดหมายให้ดำเนินการต่อไปด้วยความจงรักภักดีและความถูกต้อง โดยยึดถือผลประโยชน์แห่งชาติเหนืออื่นใด ท่านจะได้รับการอวยพรจากพระมหากษัตริย์หากทั้งหมดนี้สำเร็จลุล่วง

การรัฐประหารของสฤษดิ์สร้างความยินดีแก่วังเป็นที่สุด ทำให้คนที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คือ นายปรีดี และจอมพลป. พิบูลสงครามมีอันต้องหลบหนีออกจากประเทศ โดยไม่เคยได้กลับมาอีก สถาบันกษัตริย์ได้หวนคืนกลับขึ้นมา การรับรองจากพระเจ้าอยู่หัวมีความจำเป็นสำหรับการยึดอำนาจ ขณะที่พวกเจ้าเปลี่ยนมาต้อนรับพวกขุนศึกขุนทหาร และพระเจ้าอยู่หัวอุ่นพระทัยมากที่สุดกับเผด็จการทหารที่ส่วนใหญ่ยึดอำนาจด้วยการรัฐประหารที่พระองค์ทรงให้การรับรอง และพระราชวงศ์เองก็ไม่เอาระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกมานานแล้ว เพราะทั้งรัฐธรรมนูญและรัฐสภาไม่สำคัญและยังเป็นอุปสรรคต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ให้การสนับสนุนจอมพลสฤษดิ์เต็มที่เพราะจอมพลสฤษดิ์ได้ทำการยกเลิกทั้งรัฐธรรมนูญและรัฐสภา จอมพลสฤษดิ์เข้าใจดีว่าต้องเชิดชูกษัตริย์จึงจะได้อำนาจตามที่ตนต้องการ อันเป็นที่มาของ รัฐบาลและกองทัพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จอมพลสฤษดิ์ได้สนับสนุน การรื้อฟื้นพระราชพิธีต่างๆ ทั้งได้เพิ่มบทบาทของพระมหากษัตริย์ในฐานะจอมทัพ เพิ่มพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในทุกๆปี รวมทั้งการพระราชทานธงชัยเฉลิมพล แก่ทหารรักษาพระองค์และให้วังมีอำนาจควบคุมกรมทหารราบที่ 21 ที่เรียกกันว่าทหารเสือราชินี ในเดือนมกราคม 2502 จอมพลสฤษดิ์ได้ยกเลิกกฎหมายการปฏิรูปที่ดินปี 2497 ของจอมพลป. ทำให้พวกเจ้าไม่ต้องเสียการถือครองที่ดินไป โดยไม่มีการต่อต้านใดๆ

มีการจัดลำดับชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และคำนำหน้าว่า คุณหญิง หรือ ท่านผู้หญิง แก่ข้าราชการชั้นสูง นายพล นายทุนชั้นนำและผู้บริจาครายใหญ่นี้ มีการรื้อฟื้นราชาศัพท์ รวมทั้งประเพณีการหมอบกราบ ซึ่งได้ถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการถอยกลับเข้าสู่ยุคระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาก็ทำงานรับใช้วังอย่างถวายหัว โดยจัดบทเรียนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมให้มุ่งเน้นแต่การเทิดทูนพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี โดยลบเรื่องราวการปฏิวัติ 2475 ทิ้ง ศาสนาก็หวนกลับมาเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนส่งเสริมความคิดเทิดทูนพระเจ้าอยู่หัว เผด็จการสฤษดิ์ได้ดำเนินการกำจัดและจับนักการเมืองฝ่ายค้าน นักหนังสือพิมพ์และปัญญาชนนับร้อยๆคน มีการจับกุมและประหารชีวิตด้วยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 17 ด้วยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าคอมมิวนิสต์เลวร้ายกว่าเผด็จการทหาร ซึ่งก็คือบรรดาลูกสมุนของพระองค์นั่นเอง ทรงสวมบทบาทนักต่อต้านและนักปลุกผีคอมมิวนิสต์คนสำคัญ และทรงใช้เวลามากขึ้นกับกองทัพ

รัฐบาลจอมพลถนอม รับช่วงบริหารประเทศตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร 2502 สืบต่อจากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ตั้งแต่ปลายปี 2506 มาจนถึงปี 2511 จึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ กำหนดให้วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 เป็นวันเลือกตั้งส.ส. จอมพลถนอมได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยที่ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

ในขณะที่นักศึกษา ผู้ใช้แรงงานและนักการเมืองเริ่มไม่พอใจมากขึ้นทุกที ทำให้ในหลวงทรงวิตกว่าอาจจะเกิดความรุนแรงขึ้น จึงทรงมีพระบรมโชวาทเตือนนักศึกษาให้สะกดกั้น ระงับความร้อนแรง ไม่ให้ซ้ำรอยตามแบบอย่างที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และให้มีความอดทน ทรงเน้นว่าหน้าที่ของนักศึกษาคือต้องเรียนให้สำเร็จก่อน แล้วจึงค่อยเปลี่ยนแปลงสังคมในภายหลัง และนักศึกษาก็ควรปล่อยเรื่องของบ้านเมืองให้เป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจรับผิดชอบไป ทรงมีพระราชดำรัสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2513 ตำหนินักศึกษาที่จัดการชุมนุมประท้วงที่กระทรวงยุติธรรม โดยทรงปรามว่าเรื่องราวในกระทรวงยุติธรรมไม่ใช่หน้าที่ของนักศึกษา

ในปีถัดมา ได้ทรงต่อว่านักศึกษาที่ทำการประท้วงในมหาวิทยาลัย กรณีที่นิสิต และคณาจารย์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยกำลังต่อสู้กับจอมพลประภาสผู้เป็นอธิการบดี ที่ตกลงขายที่ดินบางส่วนของมหาวิทยาลัย ให้กับพวกพ้องในราคาถูก โดยทรงแนะว่าไม่ควรประท้วง แต่ควรนำเรื่องไปหารือกับนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม

จอมพลถนอมตัดสินใจ ปฏิวัติรัฐบาลของตนเองเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 โดยอ้างภัยจากต่างชาติที่เข้ามาแทรกแซงและ สถานการณ์ภายในประเทศเต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง จึงตัดสินใจปฏิวัติเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ของประเทศให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติเพื่อปกครองประเทศ โดยตนเอง ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีถูกยุบ มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก อำนาจทั้งหมดตกอยู่ในมือสภาบริหารคณะปฏิวัติ

จอมพลถนอมเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรีต่างประเทศ จอมพลประภาสเป็นรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีมหาดไทย อธิบดีกรมตำรวจ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และผู้อำนวยการกองอำนวยการปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอปค.) มีการต่ออายุราชการให้ตนเองขณะที่มีข่าวเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นที่ สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่ประชาชน

ชนวนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดขึ้นในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เมื่อเฮลิคอปเตอร์ทหาร เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ.บางเลน จ.นครปฐม ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์ป่า เป็นจำนวนมาก ที่ล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวร กาญจนบุรี นักศึกษารามคำแหงเก้าคน ได้รวมกลุ่มกันออกหนังสือของชมรมคนรุ่นใหม่มีข้อความว่า “ สภาสัตว์ป่าแห่งทุ่งใหญ่ฯ มีมติ ให้ต่ออายุสัตว์ป่าอีก 1 ปี เนื่องจากสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกไม่เป็นที่ไว้วางใจ



ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้สั่งลบชื่อ นักศึกษาจำนวนเก้าคนออก ที่ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัย รามคำแหงรวมตัวประท้วงคำสั่งของ ดร. ศักดิ์ ต่อมาได้มีการเรียกร้อง ให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองแก่ประชาชน และประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในหกเดือน

วันที่ 13 ตุลาคม ประชาชนราว 400,000 คนชุมนุมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรัฐสภา รัฐบาลได้ปล่อยผู้ต้องหาที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญทั้ง 13 คน ในเช้าวันนั้นเพื่อลดการเผชิญหน้า
บ่ายวันนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จอมพลถนอมและจอมพลประภาสเข้าเฝ้า และพวกเขารับปากว่าจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังจากนั้นก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ตัวแทนนักศึกษาทั้ง 13 คนเข้าเฝ้าในพระตำหนักจิตรดารโหฐาน นักศึกษาก็กลับออกมารายงานว่า คณะทหารยินยอมที่จะให้มีรัฐธรรมนูญภายใน 12 เดือน

พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร ผู้ใกล้ชิดในหลวง และเป็นผู้ประสานกับนักศึกษาได้บอกว่า พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้มีพระทัยให้กับข้อเรียกร้องของนักศึกษาเลย ทรงบอกพวกนักศึกษาว่ารัฐบาลใจกว้าง ให้มากกว่าที่พวกนักศึกษาขอแล้ว และพวกเขายังเด็ก ควรเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อาวุโส โดยได้ทรงอธิบายว่าทำไมนักศึกษาจึงไม่ควรประท้วงว่า “ กระทั่งลิงที่ฉลาดที่สุดก็ยังใช้เท้าเกาหัว มนุษย์ฉลาดกว่าลิง เพราะเราใช้มือเกาหัวและใช้เท้าเดิน ดังนั้นเวลาเรามีปัญหา เราควรใช้ปัญญาหาทางออก และไม่ควรใช้เท้า

แม้จะโดนพระเจ้าอยู่หัวตำหนิ กึ่งๆจะทรงดูแคลนถึงขนาดนั้น แต่ตัวแทนนักศึกษา ก็ยังฮึกเหิมเพราะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว พวกเขาออกจากสวนจิตร ประกาศชัยชนะ และบอกให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน แต่มีจำนวนไม่น้อย ที่ต้องการความชัดเจน เพราะระยะเวลาสิบสองเดือนนั้นนานเกินไป และสามทรราชก็ยังคงอยู่ในอำนาจ โดยผู้ชุมนุม 50,000 คนยังคงค้างคืนที่หน้าสวนจิตรดา ตัวแทนนักศึกษาสองคน ได้ขอเข้าวังเพื่อขอความชัดเจนจากพระเจ้าอยู่หัว และได้พบกับ พล.ต.อ. วสิษฐ และ มรว.ทองน้อย ทองใหญ่ ที่บอกตัวแทนนักศึกษาว่า ในหลวงไม่ให้พวกเขาเข้าเฝ้าอีกแล้ว พร้อมทั้งได้ย้ำต่อตัวแทนนักศึกษา ถึงข้อตกลงระหว่างพระเจ้าอยู่หัวกับถนอมและประภาส ...

โดยได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระเจ้าอยู่หัวมาอ่าน ความว่า “ คนที่เป็นผู้ใหญ่นั้นเขามีประสบการณ์ ส่วนคนหนุ่มสาวมีพลังแรงทั้งร่างกายและทั้งความคิด ถ้าหากมาปรองดองสมัครสมานกัน ทำงานอย่างพร้อมเพียงไม่ผิดใจแคลงใจกัน การบ้านการเมืองก็จะดำเนินไปได้ด้วยดี นิสิตนักศึกษาก็เป็นผู้ที่ผ่านการทดสอบเลือกเฟ้นมาเป็นที่แน่นอนแล้วว่า มีทั้งสติและปัญญาพร้อมมูล จึงควรจะได้รู้ถึง ความคิดผิดชอบชั่วดีทุกอย่าง เมื่อท่านนิสิตนักศึกษาได้ดำเนินการมาตรงเป้าหมาย และได้รับผลตามสมควรแล้ว ก็ขอให้กลับคืนสู่สภาพปรกติเพื่อยังความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่ประชาชนทั่วไป

เมื่อได้ฟังพระบรมราโชวาทแล้ว กรรรมการศูนย์นิสิตได้ขอให้ฝูงชนแยกย้ายกลับบ้าน จากนั้นฝูงชนก็เริ่มสลายตัว แต่พล.ต.ท. มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น สั่งให้ตำรวจปราบปรามจลาจลปิดแนวกั้นให้ประชาชนถอยกลับไปออกทางเดิม ผู้เดินขบวนหลายคนเริ่มขว้างปาสิ่งของใส่ตำรวจ เพื่อให้ตำรวจหลีกทางให้ แต่คอมมานโดใช้ไม้กระบองตีและดันกลุ่มผู้เดินขบวนให้ถอยไป ทำให้ประชาชนหันหน้ามารวมกำลังกันต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ นี่คือจุดเริ่มต้นของการนองเลือดและการจลาจล

จนกระทั่ง 19.40 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกรายการทางโทรทัศน์มีพระราชดำรัส ว่า วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันมหาวิปโยค

รัฐบาลจอมพลถนอมได้ลาออกแล้ว และทรงแต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เห็นได้ชัดเจนก็คือ พระเจ้าอยู่หัวทรงออกโรงสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการทหารมาโดยตลอดและแทบไม่เคยสนองข้อเรียก ร้องของนักศึกษาแต่อย่างใด ถนอมกับประภาสยังคงอยู่ในอำนาจ และมีการรับปากที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเวลาที่ยาวนานถึงหนึ่งปี

ชี้ให้เห็นว่าในหลวงไม่ได้ทรงมองว่าถนอมกับประภาสเป็นปัญหา และความพยายามของพระองค์ในการสยบนักศึกษาด้วยเงื่อนไขที่เลื่อนลอยก็มีส่วนที่นำไปสู่ความรุนแรง หลังจากกองทัพฆ่าผู้ชุมนุมไปแล้วหลายสิบคน พระองค์ถึงได้ขยับมาจัดการสามทรราชอย่างชัดเจน เพื่อยุติความวุ่นวายซึ่งเป็นความจำเป็นสำหรับการรักษาความสงบเรียบร้อย แต่มิได้ทรงสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด พระเจ้าอยู่หัวทรงเอาแต่ตำหนิติเตียนการต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ซึ่งพระองค์ทรงเชื่อว่าเป็นเรื่องวุ่นวายและไม่จำเป็น เพราะพระองค์มิได้มีปัญหากับเผด็จการทหาร แต่พระองค์มีปัญหากับการที่ประชาชนต้องการประชาธิปไตยมากกว่า

มาถึงรัฐบาลมรว.คึกฤทธิ์ ที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป โดยริเริ่มนโยบายทางสังคมที่ก้าวหน้า คล้ายกับจะแข่งกับโครงการพระราชดำริ โดยประกาศสนับสนุนการกระจายความมั่งคั่งด้วยการแก้ไขระบบภาษีปรับปรุงการบริหารงานของรัฐบาลและการศึกษา และประกาศว่าการปฏิรูปที่ดินเป็นสิ่งจำเป็นในการแก้ปัญหาชนบท การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของคนในชนบท จะทำให้คนออกจากป่า มีการประกาศค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มงบประมาณสำหรับการพัฒนาชนบท การปฎิรูปที่ดินและที่อยู่อาศัย และเพิ่มการกระจายอำนาจ สร้างตำแหน่งผู้ว่าการกรุงเทพมหานครให้มีการบริหารดูแลท้องถิ่นด้วยตนเองและพยายามปฏิรูปที่ดิน

นายกคึกฤทธิ์กำหนดให้ถอนทหารสหรัฐฯ 25,000 นาย พร้อมเครื่องบินและเฮลิค็อปเตอร์ 350 ลำออกไปจากประเทศไทยภายในหนึ่งปี และยังได้เปิดสัมพันธไมตรีกับเวียตนามและจีน พร้อมทั้งประกาศ จะยกเลิกกฏหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่มักใช้ข่มเหงรังแกประชาชน

นโยบายของคึกฤทธิ์ได้รับความนิยม แต่กองทัพ ฝ่ายค้านในสภา พรรคร่วมรัฐบาลขวาจัดและวังไม่เอาด้วย ในหลวงทรงเห็นชอบให้คึกฤทธิ์ลาออกไปในต้นปี 2519 พระองค์เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตย คงไปไม่รอดใช้ไม่ได้ผล เพราะทรงเลือกอยู่ข้างฝ่ายอนุรักษ์นิยม พวกเผด็จการล้าหลัง ที่ปฏิเสธอำนาจของปวงชน พระองค์ได้เร่งสร้างสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น กับกลุ่มขวาจัดนิยมเผด็จการทหารในกองทัพ จัดตั้งขบวนการต่อต้านฝ่ายประชาธิปไตย ที่พวกขวาจัดมองว่าเป็นภัยต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์และเป็นสายจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเวียตนามเหนือ

องค์กรแรก คือลูกเสือชาวบ้าน โดยชาวบ้านถูกปลูกฝังให้เกลียดชังพวกคอมมิวนิสต์ และนายทุน ด้วยคาถาชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดยมีพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีเป็นพ่อและแม่ ของคนในชาติทุกคน โดยมีเครื่องแบบ คือผ้าพันคอพระราชทาน

มีการจัดตั้งมวลชนอีกสองกลุ่มคือ กระทิงแดง กับนวพล กระทิงแดงส่วนใหญ่เป็นอดีตทหาร ทหารรับจ้าง อดีตนักโทษและนักเรียนช่างกลก่อตั้งเมื่อต้นปี 2517 โดยเจ้าหน้าที่ กอรมน.พล.ต. สุตสาย หัสดิน เป็นกองกำลังปีกขวาปฏิบัติงานตามท้องถนน คอยก่อกวนการชุมนุมประท้วงและคุกคามผู้นำฝ่ายประชาธิปไตย โดยออกโรงปฏิบัติการครั้งแรกในการรายล้อมในหลวงขณะเสด็จประกอบพระราชพิธีรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 14 ตุลา ในวันที่ 14 ตุลาคม 2517 ที่ท้องสนามหลวง กลุ่มอันธพาลกระทิงแดงที่นำโดยพลตรีสุตสายได้เดินขบวนประกาศว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลกำลังทรงตกอยู่ในอันตรายจากการซุ่มยิงโดยนักศึกษาที่ซ่อนอยู่ในธรรมศาสตร์ศาสตร์โดยที่ในหลวงไม่ได้ทรงออกห่างจากพวกอันธพาลกระทิงแดงแต่อย่าง ใด ส่วนพวกนวพลโฆษณาตนเองว่าเป็นองค์กรต่อต้านคอมมิวนิสต์เพื่อธำรงไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยได้รับการสนับสนุนจากบางส่วนในกองทัพบกและกรมตำรวจ

พอถึงต้นปี 2519 นักศึกษาและประชาชนจึงเริ่มรู้และเห็นชัดว่าในหลวงท่านไม่ชอบประชาธิปไตยแม้แต่น้อย และพระเจ้าอยู่หัวเป็นพวกเดียวกับพวกเผด็จการทหารขวาจัด สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยจึงเป็นตัวขัดขวางระบอบประชาธิปไตยมาโดยตลอด เป็นตัวแทนของความล้าหลังที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

จุดที่ทำให้พระเจ้าอยู่หัวไม่สามารถทนต่อไปได้ คือการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในลาวโดยขบวนการประเทศลาว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2518 สามวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 48 ชันษา ทำให้พระราชวงศ์ต่างพากันหวาดกลัว เพราะไทยมองสถาบันกษัตริย์ลาวเป็นประเทศน้องที่มีประเพณีและสายลือดร่วมกัน ทำให้ในหลวงต้องรีบใช้เผด็จการทหารขวาจัดเพื่อสกัดกั้นภัยจากคอมมิวนิสต์ที่พระองค์หวาดกลัวยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด

ปี 2519 กลุ่มอันธพาลการเมืองเริ่มก่อกวนหนักขึ้น นายกคึกฤทธิ์กำหนดเส้นตาย ให้สหรัฐฯ ถอนกำลังที่เหลือ 7,000นาย ออกจากประเทศไทยและเริ่มคืนการควบคุมฐานทัพให้แก่ไทย สหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกับปีกขวาไทยสร้างหลักฐานว่าเวียตนามกำลังวางแผนจะบุกไทย และกองทัพก็เคลื่อนพลขู่รัฐบาล ในวันที่ 11 มกราคม 2519 กองทัพยื่นคำขาดให้ นายกคึกฤทธิ์ลาออก และยุบสภา ไม่อย่างนั้นจะทำรัฐประหาร วันถัดมาคึกฤทธิ์ยอมตาม และในหลวงก็ได้ทรงเห็นชอบต่อการยุบสภา และกำหนดการเลือกตั้งในวันที่ 14 เมษายน 2519 พวกกระทิงแดงและนวพลได้สร้างความรุนแรงในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งปี 2519
กิตติวุฒโฑประกาศว่าการฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป และได้บุญด้วยซ้ำ แต่ทั้งสองพระองค์ยังคงเสด็จพบกับกิตติวุฒโทและเสด็จร่วมงานพิธีของพวกกระทิงแดงกับค่ายฝึกอบรมที่ในหลวงทรงทดสอบยิงปืนของพวกกระทิงแดงอย่างเปิดเผย ลูกเสือชาวบ้านบางหน่วยเข้ารับการฝึกอบรมการปฏิบัติการสร้างความรุนแรงที่ค่ายนเรศวรของตชด.ใกล้วังไกลกังวลที่หัวหิน

วันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอมเดินทางกลับจากสิงคโปร์โดยลงมาจากเครื่องบิน ในชุดของสามเณร มีนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ไปรอต้อนรับ แล้วตรงไปยังวัดบวรนิเวศน์ ทำการบวชแบบส่วนตัว เป็นการประกาศว่าในหลวงทรงสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะวัดบวรฯ เป็นวัดประจำราชวงศ์จักรี มาตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้ามงกุฎก่อนเป็นรัชกาลที่ 4 นายสมัครประกาศว่าพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีได้ทรงเห็นชอบต่อการกลับมาของจอมพลถนอม และเกิดการชุมนุมประท้วงให้ดำเนินคดีจอมพลถนอมที่สั่งสังหารประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา

วันที่ 22 กันยายน 2519 สภาลงมติให้ขับจอมพลถนอมออกนอกประเทศ ทั้งสองพระองค์รีบเสด็จกลับกรุงเทพฯ เยี่ยมเณรถนอมที่วัดบวรอย่างเปิดเผยในชุดทหาร ติดตามด้วยบรรดาผู้นำของขบวนการนวพล เป็นการประกาศสนับสนุนจอมพลถนอมและพวกนวพลต่อต้านมติของสภา คณะรัฐมนตรีและประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ทรงพร้อมจะปะทะขั้นแตกหัก
วันที่ 23 กันยายน 2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะคาดไม่ถึงว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงออกศึกท้าชนตรงๆ แต่สภาปฏิเสธการลาออก นายกเสนีย์ จึงต้องกลับมาปรับคณะรัฐมนตรี มีการเสนอให้ปรับพรรคชาติไทยออกและนำพรรคกิจสังคมของมรว.คึกฤทธิ์เข้ามาแทน แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงห้ามไม่ให้เอาพรรคชาติไทยออก

วันที่ 3 ตุลาคม 2519 นักศึกษาประกาศร่วมมือกับกรรมกรและกลุ่มอื่นๆ ในการไม่เข้าเรียนและหยุดงานประท้วงจนกว่าจอมพลถนอมจะออกไปนอกประเทศ พระเจ้าอยู่หัวทรงตอบโต้ด้วยการรับสั่งให้ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ งดการฝึกทหารที่ออสเตรเลียและให้รีบเสด็จกลับกรุงเทพในชุดทหาร และตรงไปยังวัดบวรนิเวศน์เพื่อเยี่ยมพระถนอม

4 ตุลาคม 2519 ม.ร.ว.เสนีย์ นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า มีตำรวจกลุ่มหนึ่งเป็นผู้สังหารโหดพนักงานการไฟฟ้านครปฐมที่ต่อต้านจอมพลถนอมขณะที่นักศึกษาในธรรมศาสตร์ แสดงละครล้อเลียนการฆ่าแขวนคอพนักงานไฟฟ้านครปฐม ได้ปรากฏภาพนักศึกษาที่เล่นเป็นผู้ถูกแขวนคอคนหนึ่งมีหน้าคล้ายฟ้าชายวชิราลงกรณ์

5 ตุลาคม 2519 หนังสือพิมพ์ดาวสยาม ตีพิมพ์ภาพถ่ายของละครล้อเลียนการแขวนคอลงบนหน้าหนึ่ง พร้อมประกาศอย่างโกรธแค้นว่านักศึกษาแขวนคอฟ้าชายวชิราลงกรณ์ สถานีวิทยุของทหารโดยพ.อ.อุทาร สนิทวงศ์ ประกาศว่า การชุมนุมที่ธรรมศาสตร์เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเรียกร้องให้ลูกเสือชาวบ้านกับนวพลออกมาชุมนุมและจัดการพวกนักศึกษา ทั้งยังกล่าวหาว่านักศึกษาวางแผนที่จะบุกวังและวัดบวร วิทยุยานเกราะประกาศให้ฆ่ามัน ฆ่าพวกคอมมิวนิสต์ มีการเตรียมการวางแผนปลุกระดมเพื่อพร้อมปฏิบัติการขั้นเด็ดขาด

ก่อนรุ่งสางของวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ฝ่ายขวาจัดที่บ้าคลั่งเริ่มเปิดฉากระดมยิงเข้าไปในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งปืนใหญ่ไร้แรงสะท้อน มีทั้งลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง ตำรวจท้องที่และคอมมานโดของตชด.จากค่ายนเรศวรที่หัวหิน

นักศึกษาถูกปิดล้อม ไม่ให้เล็ดลอดออกจากมหาวิทยาลัยและไม่สามารถนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล โดยมีกองกำลังตชด.ของพระเจ้าอยู่หัวเป็นกองทัพหน้าในการบุกโจมตี จวบจนมืดค่ำ ผู้บัญชาการตชด.กับฟ้าชายวชิราลงกรณ์ก็ได้มาขอบคุณและบอกให้พวกเขากลับบ้าน

คณะทหารได้ทำการยึดอำนาจโดยเรียกตัวเองว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วยการรับรองจากพระเจ้าอยู่หัว สองสามวันต่อมา นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลใหม่เริ่มงานด้วยการให้ความชอบธรรมกับการโจมตีเข่นฆ่านักศึกษาว่าเป็นการปกป้องสถาบันกษัตริย์ และประเทศชาติจากพวกก่อความวุ่นวายที่ได้รับการหนุนหลังจากเวียตนาม


เหตุการณ์ 6 ตุลาคมเป็นรูปแบบปกติของการทำรัฐประหาร คือสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรง แล้วก็ให้กองทัพเคลื่อนกำลังเข้ามายึดอำนาจ โดยการอ้างว่าต้องเข้ามาแก้ไขให้เกิดความสงบ
การสังหารหมู่ 6 ตุลาทำให้กองทัพมีข้ออ้างในการยึดอำนาจ โดยที่พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทำการปลุกปั่นยุยงมาตลอด รวมทั้งได้ทรงแทรกแซงขัดขวางรัฐบาล




ที่น่าเกลียด คือ พระเจ้าอยู่หัวทรงประทับเคียงข้างพวกกระทิงแดงและทรงเร่งให้เกิดความรุนแรงด้วยการนำจอมพลถนอมกลับประเทศ ทำให้รัฐบาลไม่มีทางควบคุมสถานการณ์ และเมื่อนักศึกษาประท้วงจอมพลถนอม ในหลวงก็ไม่ทรงยับยั้งหรือห้ามปรามคนอย่างพ.อ.อุทารที่เอาแต่ปลุกระดมให้เกิดการสังหารโหดนักศึกษา

การใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสำหรับการแสดงละครของนักศึกษาเพื่อเป็นข้ออ้างสำหรับการใช้ความรุนแรงถึงขั้นเอาชีวิตกันเป็นเรื่องที่โหดเหี้ยมเหมือนในยุคโบราณที่ถือกษัตริย์เป็นเจ้าชีวิต ถึงกับต้องสังหารคนที่ดูหมิ่นกษัตริย์ ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ก็ปรากฎพระองค์ อยู่ที่ธรรมศาสตร์ช่วงวันที่ 5 และ 6 พร้อมกับตำรวจและลูกเสือชาวบ้านในชุดทหารออกรบ และทรงเสด็จเป็นประธานในพิธีมอบธงและรางวัลให้กับลูกเสือชาวบ้านที่ลพบุรีและสิงห์บุรี ที่ได้มาร่วมกันก่อการสังหารหมู่นักศึกษา

ตอนเย็นวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ในหลวงทรงรับสั่งให้ นายธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพ และผู้นำประชาธิปัตย์ปีกขวาเข้าเฝ้า ทรงแสดงความห่วงใยที่ลูกเสือชาวบ้านเหล่านั้นจะได้รับความลำบาก เรื่องที่พักและอาหาร หลังจากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้ทรงเสด็จมาพบลูกเสือชาวบ้านที่ทำเนียบรัฐบาล และได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า ขอให้ทุกคนสลายตัวเสีย ถือว่าให้ของขวัญกับข้าพเจ้า ท่านเหนื่อยกันมามากแล้ว ขอให้กลับไปหลับนอนเสียให้สบาย ทุกคนโปรดทราบว่า สองล้นเกล้าฯทรงเป็นห่วง ไม่มีอะไรที่สองล้นเกล้าฯจะเสียใจเท่ากับพวกเราฆ่ากันเอง ขอให้ทุกคนโชคดี

วันที่ 7 ตุลาคม 2519 ฟ้าหญิงสิรินธรและฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จไปยังโรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลวชิระ เพื่อทรงเยี่ยมตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการการกวาดล้างที่ธรรมศาสตร์และพระราชทานเงินของมูลนิธิสายใจไทย ให้ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บทุกคน ในวันที่ 20 ตุลาคม 2519 มีพิธีบำเพ็ญกุศลศพ นายเสมอ อ้นจรูญ ลูกเสือชาวบ้านที่บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยในเช้าวันที่ 6 และเสียชีวิต โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ เสด็จพระดำเนินในฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ดำ ทรงสดุดีวีรกรรมว่าสมควรแก่การเชิดชูเป็นแบบอย่างในด้านมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์



ต่อมาพลโท
สำราญ แพทยกุล ผู้นำกลุ่มนวพลเข้าเข่นฆ่ากวาดล้างนักศึกษาในธรรมศาสตร์ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯให้เป็นองคมนตรี





จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายทหารพิเศษรักษาพระองค์ในปี 2542 ฆาตกรในเหตุการณ์ทั้งหมด รวมถึงสมาชิกกลุ่มกระทิงแดง นวพล และตำรวจ ที่ฆ่า เผา และข่มขืนนักศึกษา ทั้งหมดได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ตำรวจ สมาชิกกลุ่มกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และนวพล ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติการฆ่าโหดนักศึกษาได้รับกระเช้าเยี่ยมพระราชทาน




แกนนำนักศึกษา
ที่รอดตายจากการโดนล้อมฆ่า ต้องโดนจำคุกเป็นเวลาสามปี

อนุสาวรีย์เหตุการณ์เดือนตุลาฯ ใช้เวลาเกือบ 30 ปี จึงต่อรองขอเช่าที่ดินบริเวณของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ

ดร.สรรพสิริ วิรยสิริ ผู้อำนวยการช่อง 9 อสมท.ถูกปลดออกจากตำแหน่งหลังจากแพร่ภาพเหตุการณ์สังหารหมู่ที่น่าสยดสยองในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกสู่สาธารณะดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องลี้ภัยการเมืองจากประเทศไทย ตราบจนท่านถึงแก่กรรม
..................

ไม่มีความคิดเห็น: