ฟังเสียงอัดใหม่พร้อมดนตรีประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/wrUD6Ol0/The_Royal_Legend_037.html
หรือที่ : http://www.mediafire.com/?vdrvrr1kcxnlmai
โปรดทราบ : ไฟล์เสียงที่เคยdownloadไม่ได้ บัดนี้ได้แก้ไขแล้ว
โปรดลองเข้าที่linkใหม่
.........
ในปี 2539 พระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุย่าง 69 ชันษาอันเป็นวัยที่คนส่วนใหญ่ต้องเกษียณอายุ เป็นวัยที่ควรพักผ่อนหรือหันหน้าเข้าวัด หากเป็นข้าราชการก็ถือว่าได้ปลดเกษียณมาเก้าปีแล้ว ถ้าเป็นกษัตริย์ก็น่าจะวางมือประทับสบายๆในหอพระเกียรติยศ แต่หนังสือพระมหาชนกฉบับพระราชนิพนธ์กลับสะท้อนพระราชประสงค์ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์ยังไม่เสร็จสิ้น
ปลายปี 2539เศรษฐกิจไทยเริ่มทรุดฮวบ เงินทุนสำรองของประเทศ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯหรือกว่าหนึ่งล้านล้านบาทได้ลดต่ำลงมาก ต้องลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 วันแรกจาก 25 บาทลงไปเป็น 32 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าที่สุดเมื่อเดือนมกราคม 2541 ลงไปถึง 56 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ธุรกิจต้องล้มกันระเนระนาด โดยเฉพาะคนที่กู้เงินดอลลาร์มาดอลลาร์ละ 25 บาท แต่ใช้หนี้ดอลลาร์ละ 56 บาท คนทั้งประเทศรวมทั้งวังอยู่ในอาการช็อคเมื่อเศรษฐกิจพังพาบในปีถัดมา ธนาคารขาดสภาพคล่องไม่มีเงินให้กู้ บริษัทนับพันแห่งล้มละลาย เศรษฐกิจพังพินาศ เกิดพิษต้มยำกุ้งระบาดไปทั่วโลก
สะท้อนถึงการบริหารงานที่ผิดพลาด เเละการใช้เส้นสายที่ทุจริตฉ้อฉลมาหลายปี โดยไม่สนใจคำเตือนจากนักเศรษฐศาสตร์ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีทั้งนักการเมือง ข้าราชการระดับสูงและนายธนาคารที่ได้ใช้ระบบการเงินเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง รวมถึงพวกเจ้า ข้าราชการในวัง และธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์
เครือซีเมนต์ไทยกู้เงินต่างประเทศเกือบ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่าสองแสนล้านบาทและได้ล้มละลายไปแล้วในทางบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ในเครือของพระมหากษัตริย์ก็กู้เงินต่างประเทศจำนวนมหาศาล เช่นเดียวกับลูกค้ารายใหญ่ ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่ประเมินราคาสูงเกินจริงอย่างมาก ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็พังทลาย ขายไม่ออก มูลค่าลดลงมาก ราคาเหลือไม่ถึงครึ่ง
ปัญหาของธนาคารไทยพาณิชย์พันกันเป็นงูกินหางหรือล้มละลายกันเป็นลูกโซ่ เพราะธนาคารปล่อยกู้แก่บริษัทพัฒนาที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยใช้ผู้รับเหมาที่กู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เช่นกัน และซื้อวัสดุก่อสร้างจากเครือซีเมนต์ไทยที่กู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เหมือนกัน และขายให้กับลูกค้าที่จำนองหลักทรัพย์ไว้กับธนาคารไทยพาณิชย์หรือบริษัทลูก พอเกิดวิกฤต กระแสเงินที่หมุนเวียนของโครงการก็ต้องหยุดชะงัก แต่ละขั้นก็เกิดหนี้เสียขึ้นมาเรื่อยๆ ธนาคารจึงไม่เหลืออะไรที่จะยึดฉวยไว้ได้เลย มันเป็นสูตรหายนะที่ธนาคารไทยส่วนใหญ่ประสบ
แต่ธนาคารไทยพาณิชย์ดูจะถลำลึกไปไกลกว่าธนาคารอื่นๆเพราะผูกโยงกันไปหมด แทบไม่เหลืออะไรเลย รายได้ของวังหายไปหมด จากเดิมในระดับสองสามพันล้านบาทต่อปี ก็ไม่มีเงินปันผล เพราะขาดทุน ผู้เช่าที่ดินจำนวนมากก็หยุดจ่ายค่าเช่า วังไม่มีทุนที่จะไปอุ้มกิจการที่สำคัญๆของตน รายได้จากเงินการกุศลก็ลดน้อยลง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เสนอให้เงินกู้ฉุกเฉินกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่าหกแสนล้านบาท โดยมีเงื่อนไขเข้มงวดสำหรับการปฏิรูประบบการเงินและการบริหารเศรษฐกิจ ต้องยอมให้ธุรกิจใหญ่ๆล้ม และลงโทษผู้กระทำผิด ธุรกิจใหญ่หลายรายจ่อคิวล้มละลาย และต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของตนเอง
หลังจากลดค่าเงินบาท รัฐบาลพลเอกชวลิตถูกกดดันอย่างหนักจากบรรดาชนชั้นนำไทยเพื่อให้ปฏิเสธแผนของไอเอ็มเอฟ แต่เงินบาทกับเศรษฐกิจยิ่งร่วงหนักลงไปอีก พรรคประชาธิปัตย์ที่สนับสนุนแนวทางของไอเอ็มเอฟโจมตีรัฐบาลว่าไร้ความสามารถ และไม่มีผลงานโดยหวังจะไล่รัฐบาลพลเอกชวลิตออกไป แล้วขึ้นเป็นรัฐบาลแทน แต่กลุ่มนักอุตสาหกรรมขอให้พลเอกเปรมเข้ามาปกป้องรัฐบาล
รัฐบาลพลเอกชวลิตก็ซื้อเวลาด้วยการยอมรับเงื่อนไขของ ไอเอ็มเอฟ และ เสนอชื่อนายวีระพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษาของพลเอกเปรมมาเป็นผู้แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ พลเอกชวลิตกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวปรากฏตัวร่วมกับผบ.สามเหล่าทัพ โดยมีพลเอกเปรม ตัวแทนของในหลวงเป็นผู้ประสานงาน เป็นการขัดจังหวะกระบวนการทางรัฐสภา เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ของนายชวนประกาศตัวว่าสามารถบริหารประเทศอย่างมีความรับผิดชอบมากกว่า และก็เป็นไปตามคาดคือเศรษฐกิจทรุดหนักลงไปอีกจนเอาไม่อยู่ แต่ในงานวันเกิด 25 สิงหาคม พลเอกเปรมได้เรียกร้องให้มีความร่วมมือและความสามัคคี ตามสำนวนของพระเจ้าอยู่หัว
แต่มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร สส.ประชาธิปัตย์ ตอบโต้ว่าองคมนตรีต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง นายสุรินทร์ พิศสุวรรณส.ส.ประชาธิปัตย์ชี้ว่าทหารกำลังปกครองประเทศ เป็นการทิ่มแทงไปที่พลเอกเปรม และแถมไปถึงพระเจ้าอยู่หัวด้วยเช่นเดียวกันเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จตอนปลายเดือนสิงหาคมในช่วงกลางวิกฤต พรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิตต่อสู้เพื่อล้มร่างรัฐธรรมนูญนี้ โดยกล่าวหาว่ารัฐธรรมนูญนี้ลดอำนาจของพระมหากษัตริย์และกองทัพ พลเอกชวลิตพยายามบีบให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
แต่วิกฤตเศรษฐกิจทำให้ในหลวงทรงหลีกเลี่ยงไม่กล้าซ้ำเติมสถานการณ์ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว จึงทรงมีรับสั่งให้นายสุเมธ ตันติเวชกุลออกมาพูดว่า วังไม่มีปัญหากับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีกฎหมายใดที่จะสามารถสั่นคลอนความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวได้ ทำให้พลเอกชวลิตต้องรับรองร่างรัฐธรรมนูญและกราบบังคมทูลถวายพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 11 ตุลาคม 2540
วันที่ 6 ตุลาคม พลเอกเปรมได้เรียกบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชั้นนำของประเทศ มาพบที่บ้านสี่เสาและบอกว่าฝ่ายค้านในสภาควรเห็นชอบกับการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ที่เป็นเอกภาพไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่ใช่นักการเมือง มีผู้นำที่เป็นอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวพลเอกเปรม หรือตัวแทนของเปรม ไม่มีวาระซ่อนเร้น พลเอกเปรมพูดแบบเดียวกับในหลวงว่า สภาไม่มีประโยชน์ โดยชี้ว่ารัฐบาลแห่งชาติ คือพลเมืองไทยที่ดีที่สุด ได้เอ่ยชื่อพวกของตนว่าเป็นมือดีที่สุด สำหรับแก้ปัญหาของเศรษฐกิจ คือ
รองนายกรัฐมนตรีนายวีระพงษ์ รามางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายทนง พิทยะ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายไชยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และการสนับสนุนคนเหล่านี้ เท่ากับเป็นการรักชาติ โดยที่พลเอกเปรมเป็นประธานองคมนตรี ที่ปฏิบัติตามพระประสงค์ ของในหลวงนั่นเอง
มรว. สุขุม พันธ์ บริพัตร เขียนลงในหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ว่าแนวคิดเรื่องรัฐบาลเเห่งชาติ มีความเป็นประชาธิปไตยน้อย เป็นแค่การชูรัฐบาลเทคโนแครต ของนายอานันท์ ปัญญารชุนในสมัย รสช. ให้เป็นอุดมคติที่เลอเลิศ ขณะที่ประเทศไทยก็มีทั้งรัฐธรรมนูญและรัฐสภาอยู่แล้วแต่พลเอกเปรมทำเกินหน้าที่ เพราะเป็นองคมนตรีต้องไม่ข้องเกี่ยวกับการเมือง หรือว่าพลเอกเปรมกำลังเตรียมตัวจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก โดยไม่น่าเชื่อว่ารัฐบาลแห่งชาติจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดีกว่ารัฐบาลอื่น การที่อ้างว่าสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษ ได้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติในปี 2474 เพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกเพราะได้รับการเห็นชอบจากสภามาก่อนแล้ว คือต้องให้รัฐสภาได้ข้อยุติก่อน ซึ่งในหลวงและพลเอกเปรมไม่เคยมีความอดทนดังกล่าวเลย
ในที่สุดพระเจ้าอยู่หัวจำต้องเปิดทางให้รัฐบาลนายชวน รัฐธรรมนูญใหม่และการปฏิรูปตามใบสั่งของไอเอ็มเอฟที่เข้มงวด ดูเหมือนพระองค์ทรงได้ทราบบทเรียนที่เกิดสมัยรัชกาลที่ 7 และทรงต้องเลือกเส้นทางปฏิรูปเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงแบบสมัย 2475
พอวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 พลเอกชวลิตก็ลาออก เสียงเรียกร้องให้มีรัฐบาลพระราชทานของพลเอกเปรมก็เงียบหายไป เปิดทางให้นายชวนเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจได้แผ่ลามขยายไปทั่วเอเชีย และหนักหนาสาหัสเกินจะเยียวยาได้ในเวลาอันสั้น รัฐบาลนายชวนต้องกระเสือกกระสน และหัวทิ่มหัวตำไม่เป็นท่า ในขณะที่ในหลวงทรงใช้โอกาสวิพากษ์วิจารณ์โดยวางพระองค์เสมือนผู้ทรงพระปรีชาญาณและพระปัญญาที่ล้ำเลิศ
โดยยังทรงเล่นบทเดิมๆอีกเช่นเคย คือ มูลนิธิต่างๆในพระบรมราชูปถัมถ์ต่างก็รับเอาชื่อเสียงและความดีความชอบไปเกือบทั้งหมด เมื่อโรงงานเริ่มลอยแพคนงานจำนวนมาก ทางวังก็ประกาศว่า มูลนิธิชัยพัฒนาของพระเจ้าอยู่หัว จะประสานหน่วยงานราชการกับภาคเอกชน เพื่อหางานให้ใหม่ ทั้งๆที่ไม่มีตำแหน่งงานเหลืออีกแล้ว และต้นเหตุคือการขาดการจัดระบบประกันสังคม แต่วังทำเป็นห่วงคนตกงาน มากกว่ารัฐบาลเสียอีก
รัฐบาลชวนทำงานไปได้เพียงเดือนเดียว พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาโดยสรุปว่า บอกแล้วไม่ฟัง ทรงโจมตีผู้นำทางการเมืองที่นำพาประเทศไทยไปบนเส้นทางทุนนิยมและการบริโภคนิยมที่เสรีและไม่มีการยับยั้งชั่งใจ ถ้ายอมรับแนวพระราชดำริว่าด้วยเรื่องสังคมที่เรียบง่าย ก็จะหลีกเลี่ยงวิกฤตไปได้ ทรงเปรียบเทียบประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมของโครงการพระราชดำริโดยทรงหยามหยันงานของรัฐบาล ทรงโจมตีทุนนิยม และตลาดโลกสมัยใหม่
ทรงตำหนิความอยากได้ใคร่มีในทางวัตถุมากเกินไป ทรงตรัสว่า การกู้เงิน ที่นำมาใช้ในสิ่งที่ไม่ทำรายได้นั้นไม่ดี อันนี้เป็นข้อสำคัญ เพราะว่าถ้ากู้เงิน และทำให้มีรายได้ ก็เท่ากับ จะใช้หนี้ได้ ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ ..อย่างคนที่สร้างโรงงานใหญ่โตขณะที่โรงงานเล็กๆ ก็พอเพียงแล้ว..ความจริง เคยพูดเสมอ ในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง อันนี้ก็เคยบอกว่า
ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัว จะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้น มันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียง พอสมควร บางสิ่งบางอย่าง ที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก ..
แต่ถ้าทำแบบที่เคยมีนโยบายมา คือผลิตสิ่งของทางอุตสาหกรรมมากเกินไปก็จะไม่สำเร็จ โดยที่ในเมืองไทยตลาดมีน้อยลงเพราะคนมีเงินน้อยลง แต่ข้อสำคัญ นักเศรษฐกิจบอกว่า ให้ส่งออก ส่งออกไปประเทศอื่นๆ ซึ่งก็เดือดร้อนเหมือนกัน เขาก็ไม่ซื้อ ถ้าทำผลิตผลทางอุตสาหกรรม และไม่มีผู้ซื้อ ก็เป็นหมันเหมือนกัน..ต้องถอยหลังเข้าคลอง จะต้องอยู่อย่าง ระมัดระวัง และต้องกลับไปทำกิจการที่อาจจะไม่ค่อยซับซ้อนนัก คือใช้เครื่องมืออะไร ที่ไม่หรูหรา...
แต่ก็ อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นที่จะถอยหลัง เพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไป ถ้าไม่ทำอย่างที่ว่านี้ ก็จะแก้วิกฤตการณ์นี้ยาก แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไปทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด แม้แค่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากคนก็ใจร้อน เพราะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าทำ ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ก็สามารถที่จะแก้ไขได้
เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัวยังคงเป็นเครื่องมือโฆษณาสร้างภาพจนถึงกับได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารที่มีพระเจ้าอยู่หัวเป็นประมุขที่เรียกชื่อย่อว่า คปค.และคงจะยังอยู่ต่อไปอีกนานจนกว่าประเทศไทยพ้นจากการปกครองระบอบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของอำนาจเหนือประชาชนทั้งประเทศ ทั้งๆที่ไม่ปรากฎเป็นทฤษฎีหรืออยู่ในตำราเศรษฐศาสตร์ใดมาก่อน แต่ถูกนำมาขยายความตามความต้องการของนักการเมืองและนักวิชาการที่ต้องการเอาใจพระเจ้าอยู่หัว และใช้โจมตีคู่แข่งทางการเมืองเท่านั้น
การอนุมัติเงินงบประมาณนับหมื่นนับแสนล้านบาทของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นเรื่องที่สิ้นเปลือง สูญเปล่า หรือผักชีโรยหน้า ที่ปิดบังอำพรางความเหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม สร้างแนวความคิดให้คนยากจนยอมจำนนต่อระบบสังคมโดยมองเฉพาะการดำเนินชีวิตของแต่ละคน ผู้ที่ออกมายัดเยียดความคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นล้วนแล้วแต่เป็นพวกที่ร่ำรวยเป็นอภิสิทธิ์ชนในสังคมทั้งสิ้น ลักษณะมือถือสาก ปากถือศีล เป็นข้ออ้างของทุนแบบจารีตนิยมที่อาศัยอิทธิพลทางการเมืองและระบบอุปถัมภ์ ที่พยายามเสนอหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อต่อต้านการทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ และใช้ครอบงำสังคมเพื่อรักษาเศรษฐกิจทุนนิยมแบบจารีต ทั้งๆที่เป็นแนวความคิดล้าหลังและ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง
แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ในพระราชดำริได้เป็นหัวข้อที่เผยแพร่ตลอดปีถัดไปตามสื่อต่างๆ แม้แต่กัณฑ์เทศน์ตามวัด การปราศรัยทางการเมือง บรรดาผู้ต่อต้านโลกาภิวัฒน์ต่างพากันอ้างพระเจ้าอยู่หัว นักเรียนนักศึกษาต้องศึกษาแนวพระราชดำริ กองทัพพยายามหาหนทางนำมาปฏิบัติ เช่นปลูกผักกินเอง
พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่าทรงโปรดเสวยข้าวกล้องเหมือนชาวนาที่ยากจนทั้งหลาย ทรงตรัสว่า กินข้าวกล้องทุกวันเพราะดีต่อสุขภาพ... บางคนบอกว่ามันเป็นข้าวของคนจน เราก็คนจนเหมือนกัน
แต่พระราชวงศ์ไม่ได้หวนกลับสู่ชีวิตที่เรียบง่ายตามพระราชดำรัสเลย คนของพระเจ้าอยู่หัวที่ทำงานอยู่เบื้องหลังธุรกิจของพระองค์ก็กำลังทำการกอบกู้ธุรกิจของวังที่ล้มลงไปอย่างขนานใหญ่ โดยใช้งบประมาณมหาศาลจากรัฐบาลที่กำลังแห้งเหือดอยู่แล้ว
นิตยสาร ฟอร์บ (Forbes) ประมาณว่าทรัพย์สินของพระเจ้า อยู่หัวมีอยู่ราว แปดหมื่น ล้านบาท โดยที่วังยังคงเหนียวแน่นกอดหุ้น 37 เปอร์เซ็นต์ ในเครือ ซีเมนต์ไทยไว้ กระทรวง การคลังถูกบีบให้อัดฉีดเงินกว่าสี่หมื่นล้านบาทให้ธนาคารไทยพาณิชย์ ทำให้รัฐบาลเสียเปรียบ แต่วังยังคงถือหุ้น 26 เปอร์เซ็นต์ กระทรวงการคลังที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็มอบอำนาจการบริหารให้วัง และยังต้องขายหุ้นคืนแก่สำนักงานทรัพย์สินฯในภายหลัง
นิตยสารฟอร์บส์ประเมินว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงมีทรัพย์สินในปี 2540 ราวหนึ่งแสนล้านบาท พอปี 2548 ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ ประเมินว่าทรงมีพระราชทรัพย์เพิ่มเป็น 1.4 ล้านล้านบาท พอๆกับงบประมาณของประเทศทั้งปี หรือมากกว่า พตท.ทักษิณที่มี 75,000 ล้านบาท ราว 20 เท่า สำนักข่าวบลูมเบิร์กที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องการลงทุนทั่วโลก ได้จัดให้ในหลวงภูมิพล ทรงครองตำแหน่งนักลงทุนอันดับ1 ในตลาดหุ้นของไทย ด้วยมูลค่าหุ้นมากกว่า 150,000 ล้านบาท เฉพาะแค่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มหาชน (SCC) ทรงถือหุ้น 360 ล้านหุ้นหรือร่วม 6 หมื่นล้านบาท และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน(SCB)ทรงถือหุ้นกว่า 723 ล้านหุ้น หรือกว่า 56,000 ล้านบาท
โดยมีการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัททุนลดาวัลย์ จัดการดูแลในการบริหารการลงทุนทั่วไป รวมทั้งให้บริษัทวังสินทรัพย์จัดการบริหารที่ดินและอสังหาริมทรัพย์โดยมีนายยศ เอื้อชูเกียรติ เป็นประธานกรรมการทั้งสองบริษัท
การกอบกู้สถานการณ์วิกฤตของธนาคารไทยพาณิชย์ ตามโครงการ 14 สิงหา ต้องเพิ่มทุนอีก 32,500 ล้านบาท
แต่สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้นำที่ดินย่านทุ่งพญาไท บริเวณถนนราชวิถี ซึ่งเป็นที่ดินให้หน่วยงานราชการเช่า จำนวน 484.5 ไร่ มูลค่าประมาณ 16,500 ล้านบาท แลกกับหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่ และในที่สุด สำนักงานทรัพย์สินฯก็กลับมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ราว 25% โดยกระทรวงการคลังต้องออกพันธบัตรดอกเบี้ย 4.25 % ต่อปี จนถึงปี 2552
เมื่อค่าเงินบาทไทยลดลงหลังวิกฤตการณ์ ปี 2540 ทำให้ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์เครือซิเมนต์ไทย ทั้งธุรกิจปิโตรเคมี ซีเมนต์ และกระดาษ ขยายตัวในระดับสูง มีการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ ทั้งใน กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย อิหร่าน และได้ขยายการลงทุนภายในประเทศ ขณะที่สำนักงานทรัพย์สินได้ลงทุนกับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี และกลุ่มพลังงานอื่นๆ เช่น ปตท.
แล้วยังมีความสัมพันธ์กับกลุ่มทุนชั้นนำคือกลุ่มทุนเทมาเส็ก (Temasek) ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยธนาคารไทยพาณิชย์ปล่อยเงินกู้ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นของชินคอร์ป กรรมการของธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีตัวแทนจากกลุ่มเทมาเส็กอยู่ด้วย คือนายปีเตอร์ เซียะ ลิมฮวท (Peter Seah Lim Huat) ธนาคารไทยพาณิชย์และทุนลดาวัลย์ร่วมทุนกับเครือ Capital Land ของเทมาเส็ก ตั้งบริษัท พรีมัส เข้ามาจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือทรัพย์สินฯรวมถึงธุรกิจอื่นๆ ด้วย
ในช่วงรัฐบาลทักษิณอัตราดอกเบี้ยต่ำ และราคาของหุ้นสูงขึ้น บริษัททุนลดาวัลย์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของกษัตริย์ภูมิพล มีกำไรจากการขายหลักทรัพย์สูงถึง 8,257 ล้านบาทในปี 2547 โดยมีรายได้ทั้งหมดกว่าสี่หมื่นล้านบาท
สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ปรับนโยบายค่าเช่า รวมทั้งการนำอสังหาริมทรัพย์มาแสวงหารายได้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น
ที่ดินบริเวณโรงเรียนเตรียม ทหารเดิม จำนวน 120ไร่ เป็นสวนลุม ไนท์ บาซาร์
และ โครงการ พัฒนา บริเวณถนน ราชดำเนิน กลางทำเป็นถนน ชองป์ส เอลิเซ่ส์ ( Champs Elysees ) ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส
ทำสัญญาให้บริษัท วังเพชร บูรณ์ของเตชะ ไพบูลย์ พัฒนาโครงการ เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์บนที่ดินของสำนักงาน ทรัพย์สินฯบริเวณ วังสระ ปทุม ต่อมามีปัญหาการเงินจนถูกถอดถอนสิทธิต้องจ่ายค่าเสียหายกว่า 6 พันล้านบาท
และได้เซ็นสัญญาใหม่กับ บมจ. เซ็นทรัล พัฒนา ( Central Pattana Plc ) ของจิรา ธิวัฒน์ อายุ สัญญา 30 ปีค่าเช่าระยะยาว 2,000 ล้านบาท พัฒนาให้เป็นคอมเพล็กซ์ สำนักงานให้เช่า 45 ชั้น ชื่อ เซนทรัลเวิร์ล พลาซ่า ( Central World Plaza ) มีการต่อสัญญาเช่าที่ดินโรงแรม ดุสิตธานีอีก 15 ปี มูลค่า 1,100 ล้านบาท
สำนักงานทรัพย์สินฯมีที่ดิน 8,835 ไร่ ในกรุงเทพ มหานครหรือ ราว 1 ใน 3 ของพื้นที่ ย่านธุรกิจ ในกรุงเทพ และ 31, 270 ไร่ใน ต่างจังหวัด มีผู้เช่าอยู่ในกรุงเทพฯ 22,000 ราย และผู้เช่าในเขตต่างจังหวัด 13,000 ราย ใน 9 จังหวัด คือ อยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร ลำปาง ราชบุรี เพชรบุรี และสงขลา มีชุมชนแออัดที่อยู่ในที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ 73 ชุมชน
ที่ดินของทรัพย์สินฯราว 30% ในกรุงเทพฯ ให้ราชการเช่าโดยค่าเช่าต่ำมากและมักอยู่ในทำเลย่านธุรกิจ เช่น
ถนนพระราม 6 ( บริเวณ องค์การ เภสัชกรรม ) ถนนราชวิถี ( ทุ่งพญาไท )
ถนนพระราม 1 (ที่ตั้งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติใกล้สยามสแควร์) ฯลฯ ส่งผลให้ผู้เช่าอยู่อย่างแออัด เนื่องจากได้ค่าเช่าราคาถูก เมื่อต้องการนำที่ดินมาทำธุรกิจ ก็ต้องไล่ที่ผู้เช่าหรือผู้อยู่อาศัยเดิม เช่น
บริเวณราชวิถีใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
เขตเทพประทาน คลองเตย
และชุมชนแออัด ตรงข้ามศูนย์ประชุม แห่งชาติสิริกิตต์
ทำให้การพัฒนาเมืองและการใช้ที่ดินเพื่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯถูกปล่อยไปตามยถากรรม และยังมีที่ดินกระจายไปในย่านธุรกิจทั่วกรุงเทพ เช่น
ย่านสะพานขาว
ย่านเฉลิมโลก ตรงข้ามศูนย์การค้าราชประสงค์
ถนนวรจักร แขวงจักรวรรดิ
ถนนพระราม4 แขวงสีลม
ถนนจักรพรรดิพงษ์
แขวงบ้านบาตรป้อมปราบ
ถนนเจริญกรุง
แขวงป้อมปราบ
ถนนสีลม
แขวงสีลม
ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต
แขวงลุมพินี
ถนนพิษณุโลก
แขวงสวนจิตรลดา
ซอยต้นสน
ถนนเพลินจิต
ซอยพิพัฒน์
ถนนสีลม
ซอย 3
ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์
บางขุนพรหม
ซอยสนามคลี หรือซอยโปโล
ถนนวิทยุ
ถนนสามเสน
แขวงวชิรพยาบาล
สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ถือหุ้นโรงแรมหลายแห่ง เช่น
รีเจนท์
สยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ( ปัจจุบันได้รื้อ และสร้างใหม่เป็นศูนย์การค้าสยามพาราก้อน )
ฮิลตัน (Hilton)
ถนนวิทยุ
โรยัล ปรินเซส (Royal Princess)
หลานหลวง
แอร์พอร์ต หรือ อมารีดอนเมือง
(Amari Airport)
รอยัลออคิดเชอราตัน
(Royal Orchid Sheraton)
บางกอกอินเตอร์ คอนติ เนน ตัล Inter conti nen tal Bangkok
โอเรียลเต็ล Oriental
โรงแรมดุสิตธานี (Dusit Thani)ได้ขยายกิจการทั้งในรูปของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเป็นกลุ่มดุสิตธานีและรีสอร์ท กลุ่มโรงแรมธานีและรีสอร์ท มีเครือข่าย Franchise และได้ร่วมทุนกับโรงแรมต่างประเทศและในประเทศ
เข้าซื้อกิจการโรงแรมเคมพินสกี้ Kempinski 23 แห่ง ในประเทศต่างๆ
ตั้งบริษัทฟิลลิปปินโฮเตลไลเออร์ Philippine Hotelier Inc.เป็นเจ้าของโรงแรมดุสิตธานีนิคโก้ที่มนิลา (Dusit Hotel Nikko Manila) ประเทศฟิลลิปปินส์ ถือหุ้นในดุสิตแปซิฟิค Dusit pacific NV
ถือหุ้นบริษัทโรงแรมเมลโรสที่อเมริกา Melrose USA
บริษัท ดีพีเอ็มเอ็น อินดัสตรี จำกัด ประกอบธุรกิจรับซักรีด
และบริษัท เวิลด์ คลาส เรนท์ อะคาร์ จำกัด ( World class Rent a Car หรือ Budget ) ให้ธุรกิจเช่ารถ
มีโครงการอาคารเช่า เช่น อาคารซิกโก้ (SICO บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรม จำกัด มหาชน The Siam Industrial Credit Public Company Limitedของธนาคารไทยพาณิชย์ ) หรือ สินธรทาวเวอร์ 2
เสริมมิตร ทาวเวอร์ Serm mit Tower
ถนน อโศก สุขุมวิท 21
สามยอดพลาซ่า
ย่านวังบูรพา เจริญกรุง
ชุมชนเทพประทาน ที่นายคีรี กาญจนพาสน์เจ้าของธนายง เมืองทองธานีและธนาซิตี้ ได้สิทธิ์พัฒนาที่ดินในเขตชุมชนเทพประทาน ย่านคลองเตย ถนนพระรามสี่จำนวน 53 ไร่ ตามโครงการ ดิเอกซ เช้นจ์สแควร์ The Exchange Square
ตลาดเจริญผล
ที่กลายมาเป็นเทสโก้โลตัส
สี่แยกเจริญผล
บางกอกบาร์ซาร์ ย่านราชดำริ
ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิรล์พลาซ่า ที่มีกำลังนอกเครื่องแบบไปข่มขู่เพื่อไล่ที่
เยาวราช
แพร่งสรรพศาสตร์
ถนนอัษฎางค์ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ
ถนนพระอาทิตย์
ในปี 2540 ประมาณว่าสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล ได้เข้าไปถือหุ้นโดยตรงของบริษัทต่างๆมากกว่า 70 บริษัท ซึ่งครอบคลุมในกิจการต่าง ๆ ที่สำคัญคือปูนซีเมนต์ ธนาคารพาณิชย์ โรงแรม พลังงาน เหมืองแร่ อสังหาริมทรัพย์ ประกันภัย/ประกันชีวิต ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้ลงทุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งสิ้นเกือบ 300 บริษัท โดย 43 บริษัท จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์
มีอุตสาหกรรม 37 แห่ง สถาบันการเงิน 11 แห่ง ประกันภัย/คลังสินค้า 8 แห่ง โรงแรม 8 แห่ง
พัฒนาที่ดิน/ก่อสร้าง 6 แห่ง ธุรกิจบริการ/สื่อสารมวลชน 9 แห่ง รายได้บริษัทปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือสูงเกินหลักแสนล้านบาทเป็นครั้งแรก ในปี 2538 และได้ร่วมลงทุนกับทุนต่างประเทศ
เช่น กลุ่มโอบายาชิบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น ในนามบริษัท นันทวัน หรือ ไทยโอบายาชิ ผู้สร้างตึกเอสซีปาร์ครัชโยธิน ธนาคารกรุงเทพสีลม สยามดิสคัพเวอรี่และรถไฟไฟ้ขนส่งมวลชน ในปี 2548 ได้ตั้ง บริษัทนันทวรรณมารูเซ่ โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานทรัพย์สิน และมารูเซ่ (ญี่ปุ่น)
ร่วมกับบริษัทเซโรกราฟฟิค ซิสเต็ม หรือไทยฟูจิ ซีรอค Fuji Xerox ขายเครื่องถ่ายเอกสารอุปกรณ์สำนักงาน
ลงทุนกับบริษัทไทยโอยาเล็นซ์
Hoya Lens ผลิตแว่นตา
สยามคูโบตาดีเซล
Siam Kubota Diesel
ผลิต เครื่องสูบน้ำ
รถไถนา รถแทรกเต้อร์
วาย เค เค ซิปเปอร์ ( YKK Zipper )
ไว เค เค เทรดดิ้ง
ผลิตซิป อุปกรณ์เครื่องแต่งกาย
ร่วมลงทุนกับกิจการขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงไทย ปิโตรเคมีแห่งชาติ ปุ๋ยแห่งชาติ ไทยออยส์ ที่ควบคุมปัจจัยการผลิตสำคัญของประเทศ และขยายตัวเร็วมาก เช่น บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ ปี 2519–2528 ช่วงที่ นายสมหมาย ฮุนตระกูล และนายจรัส ชูโตเป็นผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทย ได้มีการเข้าซื้อกิจการเป็นจำนวนมาก เช่น
บริษัทสยามคราฟท์ (Siam Craft)
ผู้ผลิตกระดาษ คราฟท์ รายแรกของไทย
ตั้งบริษัทโรยัล เซรามิค อุตสาหกรรม
และเข้าซื้อกิจการของโรยัลโมเสค
ซื้อกิจการบริษัท สยามบรรจุภัณฑ์
ซึ่งผลิตกระดาษลูกฟูก
บริษัท ยางไฟร์ สโตน ( ประเทศ ไทย )
บริษัทแพนด์สกรุ๊ป
ขนส่งสินค้าหรือโลจิสติกส์
อามิเกจแซงค์ (กรุงเทพฯ)
ผู้ผลิตสุขภัณฑ์ หรือ สยาม ซานิตารีแวร์
อินเตอร์เนชั่นแนลแอนยิเนียริ่ง(ไอ อี ซี)
จำหน่ายเครื่องจักรกล สื่อสารและโทรคมนาคม
บริษัทท่อซีเมนต์ใยหิน
(Asbestos Cement Pipe)
ไทยวนภัณฑ์
ซื้อกิจการไม้อัดจากศรีมหาราชา
และไทยทักษิณป่าไม้
กระเบื้องทิพย์
ผลิตกระเบื้องมุงหลังคา
ของบริษัทกระเบื้องซูเปอร์
กระดาษสหไทย
ผลิต กระดาษ พิมพ์เขียน
เอส พี แบตเตอรี
หรือ สยามฟูรูกาวา
ไทยอินดัสเตรียลฟอร์จจิงส์ผลิตอะไหล่มอเตอร์ไซต์ ฯลฯ
ในช่วง 2535 -2540 เครือซีเมนต์ไทยมีบริษัทร่วมลงทุนกว่า 130 บริษัท พนักงานกว่า 35,000 คน ประกาศการลงทุนในต่างประเทศ 27 โครงการ ต่อมาได้ลดเหลือ 3 โครงการเท่านั้น ธุรกิจในเครือซีเมนต์ไทยได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลมานาน ในทุกๆด้าน จึงไม่ต้องพัฒนาปรับปรุง และผูกขาดการขายในประเทศ ได้กำไรกว่าส่งออก คุณภาพก็ไม่จำเป็นต้องดีนัก และเข้าไปมีบทบาทสำคัญในกลุ่มสมาคมและสภาหอการค้าไทย มีการขยายตัวขนานใหญ่จากการกู้หนี้ต่างประเทศ ในปี 2539 บริษัทมีหนี้ต่างประเทศกว่า 60,000 ล้านบาท พอเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้ขาดทุนกว่า 50,000 ล้านบาท
ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ใหญ่เป็นอันดับ 4 ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ วิเทศธนกิจ ( BIBF ) เป็นแห่งแรกของไทย ขยายการเปิดสาขาของธนาคารในต่างประเทศ ขยายการลงทุนอย่างขนานใหญ่จำนวน 87 บริษัท วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ทำให้ขาดทุนมากกว่า 35,000 ล้านบาทในปี 2542
สำนักงานทรัพย์สินฯได้ขยายการลงทุนสู่ธุรกิจปิโตรเคมี ที่ไทยมีศักยภาพและความพร้อม สามารถสร้างผลกำไรได้เร็ว ขณะที่ธุรกิจปูนซิเมนต์เริ่มอิ่มตัวและมีคู่แข่งมากขึ้น โดยถือหุ้นร้อยละ 10 ของบริษัทบางจากปิโตรเลียม
ลงทุนวางท่อส่งแก๊สธรรมชาติ กับ ปตท. ลงทุนร่วมกับแทรคเทเบิ้ล ของเบลเยี่ยม Tractebel of Belgium และบริติชแก๊สของอังกฤษ British Gas (International Gas Report 1996) ร่วมทุนกับบริษัทสยามเคมิคัลในโครงการปิโตรเซนไทยแลนด์ Petro Chain (Thailand)
ถือหุ้นในบริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ (ทีพีซี)
ผลิต PVC รายแรกและใหญ่ที่สุดของไทย
ร่วมทุนกับMitsui Chemical ของญี่ปุ่น กับ Dow Chemical ของสหรัฐ และได้กลายเป็นธุรกิจหลัก หรือ Core Business ชื่อ SCG-DOW Group ในเวลาอันรวดเร็วโดยมีธุรกิจปิโตรเคมีในเครือทั้งหมด 27 บริษัท
สำนักงานทรัพย์สินฯ มีสินทรัพย์ในเครือเกือบ 500,000 ล้านบาท ในปี 2540 มีการร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจชั้นนำ ถือหุ้นไขว้กันระหว่างบริษัทในเครือ เช่น เยื่อกระดาษสยาม ไทยเศรษฐกิจประกันภัย อ่าวขามไทย
ทุ่งคา ฮาร์ เบอร์
ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส TIG
จำหน่ายแก๊สอุตสาหกรรม
เงินทุนหลักทรัพย์บุคคลัภย์ ธนสยาม (หลายกิจการถูกยุบเลิกไปแล้ว) เงินทุนสินอุตสาหกรรม (ซิกโก้ Sicco)
ยางสยาม (Siam Tyre)
ผลิตยางสยาม และ มิเชลลิน
อะโรเมติกส์เอทีซี
ต่อมาผสานการผลิตกับโรงกลั่นน้ำมันระยอง
อาร์อาร์ซีของปตท.
มีการเกาะกลุ่มกรรมการเพื่อรักษาอำนาจ สร้างสายสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจและตระกูลต่าง ๆ เช่น
ธนาคารกสิกรไทยของล่ำซำ
ธนาคารไทยทนุของทวีสิน
ธนาคารนครธนของหวั่งหลี
ธนาคารเอเซียของเอื้อชูเกียรติ/ภัทรประสิทธิ์
ธนาคารนครหลวงไทย ของ มหาดำรงกุล/กาญจนพาสน์
อิตัลไทยของกรรณสูต
บุญรอดบริวเวอรี ของภิรมย์ภักดี
ดุสิตธานีของปิยะอุย
สยามเฆมี/ฟินิกซ์ปิโตรเลียม ของรัตนรัตน์
อ่าวขามไทย ของชาญวีรกุล
ทุ่งคาร์ฮาเบอร์ ของกาญจนะวนิชย์
คริสเตียนีและนีลเส็น ของ อัศวโภคิน/เอื้อชูเกียรติ
แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ของอัศวโภคิน
ศุภาลัยของตั้งมติธรรม
สยามซินเทคคอนสตรัคชัน ของ ลีสวัสดิ์ตระกูล
ชินวัตรแซทเทลไลท์และชินวัตรคอมพิวเตอร์ ของชินวัตร
ทางด่วนกรุงเทพฯของ วิศวเวทย์
สามัคคีประกันภัย ของสารสิน ฯลฯ
กลุ่มธุรกิจเหล่านี้เติบโตภายใต้โครงสร้างที่เอื้อสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองทางกฎหมายจากนโยบายรัฐบาลที่โอบอุ้มคุ้มครองกันมาตลอด
กลุ่มทุนพันธมิตรของสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพลยังสามารถมีอำนาจการเมืองและการบริหารประเทศ เช่น
กรณีของนายพงษ์ สารสิน ตัวแทนจากกลุ่มไทยน้ำทิพย์
นายอานันท์ ปันยารชุน จากกลุ่มสหยูเนียน
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จากกลุ่มชินคอร์ป
ในส่วนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็มี พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ 2491 ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี ให้อำนาจพระมหากษัตริย์แต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินฯ ได้ตามพระราชอัธยาศัย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ยังดำรงตำแหน่งรองราชเลขาธิการ
ในขณะที่กฎหมายของไทยให้ความคุ้มครองพระมหากษัตริย์เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ เห็นว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่ควรตรวจสอบบัญชีของสำนักงานทรัพย์สินฯเพราะเป็นการหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งความคลุมเครือของสถานภาพของสำนักงานทรัพย์สินฯ
คือไม่อนุญาตให้มีการวิจารณ์หรือตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯยังคุ้มครองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ให้ตกไปสู่บุคคลอื่น เว้นแต่ได้รับพระบรมราชานุญาตเท่านั้น ดังนั้น หากสำนักงานทรัพย์สินฯ ถูกฟ้องหรือดำเนินคดี เจ้าหนี้ไม่สามารถยึดที่ดินและผู้ใดจะอ้างการครอบครองโดยปรปักษ์ไม่ได้ จะตกเป็นของสาธารณะก็ไม่ได้ การตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯต้องได้รับพระบรมราชานุญาตและต้องไม่กระทบพระราชอำนาจ
ปี 2544 สำนักงานทรัพย์สินฯ ใช้ที่ดิน บริเวณสวนมิสกวันและคุรุสภา ราว 35 ไร่ มูลค่าราว 1200 ล้านบาท แลกหุ้น ปตท. ของกระทรวงการคลังกว่า 34 ล้านหุ้น (หุ้นละ 35 บาท) ต้นปี 2547 ราคาหุ้นของ ปตท.ขึ้น 5 เท่าตัว อยู่ที่ 140–170 บาท ทำให้กำไรกว่า35,000 ล้านบาท
ในปี 2546 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้นำที่ดินบริเวณทุ่งพญาไท จำนวน 484.5 ไร่ (มูลค่า 16,500 ล้านบาท) แลกกับหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถือ เพื่อเพิ่มหุ้นจาก 11.8% เป็น 24.0 %ในปี 2549 ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายอนุญาต
พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ 2522 บังคับให้เอกชนถือหุ้นธนาคารไม่เกิน 5% ภายในวันที่ 7 มีนาคม 2527 ตอนนั้นสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล มีหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์ 36% แต่มีการตีความว่าการถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯของกษัตริย์ภูมิพล อยู่ในข้อยกเว้นของกฎหมาย เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐ สำนักงานทรัพย์สินฯจึงได้สิทธิ์พิเศษควบคุมธนาคารไทยพาณิชย์ไว้เหมือนเดิม
ที่น่าแปลก คือนอกจากพสกนิกรของพระองค์ทั้งที่ร่ำรวยและที่ร่วงโรยจะต้องร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลมิได้ขาดแล้ว ยังต้องจ่ายเงินภาษีเลี้ยงดูพระราชวงศ์ ให้ดำรงอยู่เป็นศักดิ์ศรีของชาติ มิให้น้อยหน้าพระราชวงศ์ใดๆในโลก ด้วยงบประมาณแผ่นดินที่ค่อนข้างสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชวงศ์ในอารยประเทศที่ประชาชนมีมาตรฐานการกินอยู่ที่ดีกว่าประชาชนไทยหลายเท่า
งบประมาณของสำนักพระราชวังที่ต้องจ่ายค่าบำรุงเลี้ยงดูพระราชวงศ์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆที่เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยในปี 2551 มีมากกว่า 2,000 ล้านบาท รวมทั้งงบอำนวยความสดวกที่จัดไว้ในหน่วยงานต่างๆรวมเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ยังมีงบแฝงอยู่ในกระทรวงต่างๆ อีก เช่น
ค่าจัดนิทรรศการเฉลิม พระเกียรติ
ค่ารับรอง งบเสด็จพระราชดำเนิน ต้อนรับประมุขต่างประเทศ 500 ล้านบาท งบสำนักพระราชวัง 2,086 ล้านบาท งบถวายอารักขา ถวายพระเกียรติโดยกองทัพบก 185 ล้านบาท
กรมราชองครักษ์ถวายความปลอดภัยถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์ 465 ล้านบาท งบสํานักงานตํารวจแห่งชาติถวายความปลอดภัย 349 ล้านบาท กองบัญชาการทหารสูงสุดถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ 120 ล้านบาท งบสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำหรับโรงเก็บเครื่องบินพระราชพาหนะ 2 โรง 381ล้านบาท
งบซื้อเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ 3 เครื่อง และโรงจอด 1,220 ล้านบาท งบค่าใช้จ่ายเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง 600ล้านบาท
ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำหรับพระราชวงศ์อังกฤษปีละ 2200 ล้านบาท งบค่าใช้จ่ายราชวงศ์ของไทยจึงแพงกว่าอังกฤษถึง 3เท่า ขณะที่ประเทศอังกฤษมีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงกว่าไทย ถึง 4 เท่า
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเพื่อให้สมฐานะองค์พระมหากษัตริย์ผู้สูงส่ง จากการที่พระเจ้าอยู่หัวทรงบ่น ว่าประทับรถพระที่นั่งโรลส์รอยส์ไม่สดวก ทรงปวดพระปฤษฎางค์(หลัง) เพราะรถพระที่นั่งไม่นิ่ม นายกทักษิณจึงได้ใช้เงินจากการขายหวยบนดิน ซื้อรถหรูหราทันสมัยถวายพระเจ้าอยู่หัว สนองพระราชประสงค์ คือ รถไมบาค MAYBACH ราคาคันละ 75 ล้านบาทยาว 7.5 เมตร ใช้วัสดุพิเศษจากเหล็กกล้าผสม เบามาก มีเกราะกันกระสุน เก้าอี้อัจฉริยะปรับนอนได้ เปลี่ยนห้องโดยสารเป็นห้องบันเทิงหรือห้องทำงานได้ ในหลวงมีมายบัคพระที่นั่ง 4 คัน คือ มายบัค 62 สีครีมร.ย.ล.1 และ 1ด-1992 สีน้ำเงิน-ทอง 1ด-1991 สีน้ำตาล-ทอง 1ด-1993
กองทัพอากาศจัดเครื่องบินโดยสารไว้ 2 ประเภทคือเครื่องบินพระที่นั่งและเครื่องบินสำรองสำหรับพระที่นั่ง
โดยไม่มีเครื่องบินสำหรับฝ่ายบริหารของประเทศ นายกทักษิณได้สั่งให้พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนาจัดหาเครื่องบิน ไว้ใช้ในราชการของฝ่ายบริหาร โดยแลกคืนเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งซุปเปอร์พูม่าที่เคยตกและผู้ติดตามพระราชินีเสียชีวิตทั้งลำทำให้พระราชินีไม่กล้าประทับอีกต่อไป โดยได้เครื่องบินแอร์บัสสำหรับนายกรัฐมนตรีใช้เดินทางไปราชการต่างประเทศ
แต่นายกทักษิณ เกรงว่ากองทัพอากาศจะเอาไปเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง เอาใจพระเจ้าอยู่หัวอีกตามเคย จึงติดชื่อไทยคู่ฟ้า ทำให้ในหลวงทรงขุ่นเคืองพระทัยไม่น้อยจนมีพระราชดำรัส เมื่อ 4 ธันวาคม 2548 ว่า...อาจจะมีความคิดที่จะสร้างโรงงานก๊าซโซฮอล์ และไบโอดีเซลสำเร็จแล้วก็ นายกฯก็ไม่เดือดร้อน เอาไบโอดีเซลใส่เครื่องบินได้ เครื่องบินเขาใช้ไบโอดีเซลได้แล้วสมัยนี้ แต่ลำไม่ใช่ลำโตๆ
แต่เวลานั้นอาจจะทำใส่ลำโตๆ สำหรับนายกฯได้ อาจจะสามารถที่จะมี แต่ว่าเฉพาะนายกฯ คนอื่นไม่สามารถที่จะมี ก็สองคนล่ะ พระเจ้าอยู่หัวกับนายกฯ มีเครื่องบินใช้ แล้วใช้ไบโอดีเซล...กษัตริย์ภูมิพลได้ส่งสัญญานไม่พอพระทัยว่านายกทักษิณได้บังอาจมีเครื่องบินเหมือนพระเจ้าอยู่หัว แต่นายกทักษิณยังคงเชื่อว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงล้อเล่นและไม่ได้ทรงมีพระประสงค์ร้ายแต่อย่างใด
การรณรงค์ ประชา สัมพันธ์ ฉลองพระชนม พรรษา ครบหกรอบหรือ 72 ชันษา ในปี 2542 ทั้งๆที่ รัฐบาลต้องประหยัด งบประมาณ อย่างเต็มที่ก็ตาม มีการจัดกิจกรรมต่างๆมากมายเพื่อการถวาย พระ เกียรติยศ จากกลางปี 2541 มีการพิมพ์หนังสือสดุดีพระเกียรติยศออกมาไม่ขาดสาย
วัดธรรมกายประกาศจัดบรรพชาพระ 100,000 รูปถวายเป็นพระราชกุศล กองทัพประกาศว่าจะสร้างพระมหาเจดีย์ถวายพระเจ้าอยู่หัวในภาคอีสาน การบินไทยที่ขาดทุนหนักก็ยังต้องสร้างวัดถวายพระเจ้าอยู่หัวที่เชียงราย เดือนธันวาคม 2540 วังได้เปิดเผยว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงทำสถิติรับปริญญาบัตรมากที่สุดในโลก136 ใบและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถวายปริญญาเอกรวดเดียว 10 ใบ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ(TDRI) ถูกสั่งให้เอาทฤษฎีใหม่ของพระเจ้าอยู่หัวกับเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหัวข้อในการประชุมประจำปี 2542
มีการจัดทำสารคดีเฉลิม พระเกียรติ 20 นาที ยัดเยียดให้ผู้โดยสาร การบินไทย ได้ชม จัดทำโฆษณา ทางโทรทัศน์เป็นภาพชาวนาบนท้องนาแห้งแล้งจากหยาดน้ำพระเนตรของพระเจ้าอยู่หัวได้ลงมาเป็นสายฝนคล้ายกับจะทรงเป็นเทพเจ้า ทรงเปิดใช้เขื่อนป่าสัก แม้แต่การการออกรางวัลสลากกินแบ่งก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2542 หรือ คศ. 1999 เลขท้ายสามตัวก็ยังออก 999 ถึงสองครั้ง สองปีต่อมากรม บางกรวยก็ถูกเปิดโปงว่าล้อคเลขสลากกินแบ่ง บรรดาข้าราชบริพารต่างแข่งกันประจบสอพลอให้สอดคล้องกับพระราชอัธยาศัยของพระองค์ โดยในการบรรยายอย่างเป็นทางการแก่คนต่างชาติครั้งหนึ่ง
ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะผู้รับใช้ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัว
ได้บรรยายว่าในหลวงทรงเป็นเทพเจ้าตามแบบของฮินดู
นายสุเมธ ตันติ เวชกุล เลขา ธิการมูลนิธิ ชัยพัฒนากล่าวว่ามีเพียงพระเจ้า อยู่หัว พระองค์ เดียว เท่านั้นที่ทรงช่วยประชาชน ไทยหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ปี 2539 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ทรงมอบหมายให้หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล สร้างหนังสมเด็จพระศรีสุริโยทัย เนื่องจากทรงเชื่อว่าตนเป็นพระสุริโยทัยที่กลับชาติมาเกิด ทรงเลือกมล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดีแสดงเป็นพระสุริโยทัยเพราะมีเชื้อเจ้า หนังเสร็จล่าช้าและงบบานปลายกว่า 400 ล้านบาท ออกฉายในเดือนสิงหาคม 2544 นานหลายสัปดาห์ในทุกโรงพร้อมกัน รวมทั้งโรงที่ปกติฉายแต่หนังฝรั่งสำหรับผู้ชมชาวต่างชาติ โดยเก็บราคาตั๋วแพงกว่าปกติ หนังยาวเกือบสี่ชั่วโมงและดูยาก ค่อนข้างสับสน แต่นักวิจารณ์พยายามเลี่ยงไปชื่นชมเครื่องแต่งกายกับฉากอลังการ วังยังจัดจำหน่ายภาพยนต์ไปทั่วโลกด้วยความช่วยเหลือจากฮอลลีวูด
วังได้หาทางฟื้นฟูรายได้หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจยังซบเซา ทำให้ผลกำไรและเงินปันผลที่วังได้รับมีไม่มาก สำนักงานทรัพย์สินฯจึงพยายามนำที่ดินที่ออกมาปล่อยให้เช่าและเพิ่มค่าเช่าที่ดิน ในปี 2543 สำนักงานทรัพย์สินฯวางแผนเพิ่มรายได้จากค่าเช่าจาก 300 ล้านบาทต่อปี เป็น1,000 ล้านบาทภายในห้าปี รวมถึงการเพิ่มค่าเช่าที่เก็บจากหน่วยงานของรัฐบาล
วังได้เสริมความเข้มแข็งงานการกุศลด้วยการปรับปรุงแนวการทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศล ในรายการข่าวในพระราชสำนักเกือบทุกคืนโดยมีภาพของบุคคล นักธุรกิจและผู้มีชื่อเสียงพากันทยอยเข้าถวายเงิน วังได้เร่งขยายการเรี่ยไรเงินจากคนไทยในต่างประเทศ โดยเน้นว่าประเทศกำลังเข้าตาจน เงินจากการเรี่ยไรได้ไหลเข้าสู่การกุศลตามพระราชอัธยาศัย มีการระดมทุนในรูปเเบบการขายเหรียญ ขายพระ เเละหนังสือที่ระลึก
ในปี 2541 พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัญลักษณ์ครุฑที่เรียกว่าครุฑพ่าห์หรือครุฑพาหนะแก่บริษัทใหญ่ๆ ที่ถวายเงินแด่พระองค์ หลังจากงดไปนับสิบปี
พฤษภาคม 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดประมูลธนบัตรรุ่นที่ระลึกการฉลองอภิเษกสมรสครบ 50 ปี หาเงินเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย บรรดามหาเศรษฐีต้องบริจาคเงินถึง 5 ล้านบาทเพื่อประมูลซื้อธนบัตรราคา 500,000 บาท
มหาเศรษฐีธุรกิจโทรคมนาคม และนักการเมืองระดับนำชื่อ พตท.ทักษิณ ชินวัตร ได้สร้างพรรคการเมืองขนาดใหญ่และได้เป็นนายกรัฐมนตรี ในเดือนมกราคม 2544 ได้เข้าแทรกการเมืองของกองทัพและของวัง พรรคไทยรักไทยของพตท.ทักษิณมีฐานมวลชนที่กว้างใหญ่มีสมาชิกพรรคถึง 11 ล้านคน พตท.ทักษิณใช้เงินซื้อใจวัง ทุ่มเงินบริจาคจนได้สิทธิ์เข้าไปอยู่ในแวดวงของพระราชินีสิริกิติ์และเข้าไปใกล้ชิดกับฟ้าหญิงอุบลรัตน์ และสนิทกับฟ้าชายวชิราลงกรณ์
จ่ายเงินก้อนใหญ่ให้ฟ้าชายวชิราลงกรณ์หลายครั้ง ทั้งการปรับปรุงวังศุโขทัยที่ฟ้าชายวชิราลงกรณ์ทรงย้ายเข้าประทับ
รวมถึงวังสระปทุมที่ฟ้าหญิงสิรินธรย้ายมาจากวังศุโขทัย
พตท.ทักษิณได้ช่วยซื้อสถานีโทรทัศน์ไอทีวีที่พวกวังถือหุ้นใหญ่ แต่นายปีย์ มาลากุลและพรรคพวก ก็โจมตีว่าเป็นการครอบงำสื่อ จึงโดนคุณทักษิณปลดออกจากไอทีวี โดยไม่ไว้หน้าวัง แถมมีท่าทีชักใยพระราชวงศ์ให้กระทบกระทั่งขัดแย้งกันเอง โดยเฉพาะฟ้าชายวชิราลงกรณ์กับพระราชินีสิริกิติ์เป็นฝ่ายหนึ่ง และพระเจ้าอยู่หัวกับฟ้าหญิงสิรินธร เป็นอีกฝ่ายหนึ่ง นายกทักษิณได้ไปไกลยิ่งกว่าพลเอกเกรียงศักดิ์กับพลเอกชาติชายที่ไม่อิงวัง
และได้ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ของวังกลายเป็นพรรคฝ่ายค้านตลอดกาลที่ไม่มีความหมายอีกต่อไปแล้ว โดยปล่อยให้วังอยู่กับพิธีกรรมและสัญลักษณ์ต่างๆเท่านั้น และพยายามกันวังออกจากงานเชิงการเมืองและงานด้านสังคมของตน นายกทักษิณแสดงถึงความขยันขันแข็งอย่างเต็มที่ เพราะพระเจ้าอยู่หัวทรงชราควรที่จะทรงเกษียณและพลเอกเปรมก็ไม่ได้กุมราชการเเละกองทัพอีกเเล้ว นายกทักษิณจึงทำอะไรก็ได้ตามที่ตนต้องการ ทั้งๆที่ถูกพระเจ้าอยู่หัวทรงแขวะเอาอยู่หลายครั้งในช่วงสี่ปีแรก
แม้รัฐบาลทักษิณจะถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริตแต่ก็ยังได้ชัยชนะถล่มทลายในการเลือกตั้งปี 2548 ขณะที่ในหลวงไม่ชอบคุณทักษิณเลย แต่นายกทักษิณได้รับการเลือกตั้งมาอย่างชอบธรรมและได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งในต่างจังหวัด ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาเป็นฐานเสียงของพระเจ้าอยู่หัว
แนวร่วมนิยมกษัตริย์ของคนเมือง สวมเสื้อเหลืองที่อ้างว่า เราจะสู้เพื่อในหลวง นำโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุลและ พลตรีจำลอง ศรีเมือง ได้รับหน้าที่เคลื่อนไหวขับไล่นายกทักษิณโดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายของในหลวงอย่างเต็มที่
แรงกดดันเพิ่มจนท่วมท้นในต้นปี 2549 นายกทักษิณประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าตนยังได้รับการสนับสนุนจากคนชนบท แต่หลังจากได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวและได้กลับออกมาแถลงด้วยน้ำตาคลอว่าเขาจะไม่ได้เป็นนายกฯอีกต่อไปแล้ว
การรุกของในหลวงภูมิพลครั้งนี้เป็นการสนับสนุนพวกที่ต้องการขับไล่นายกทักษิณและสร้างความชอบธรรมแก่การเรียกร้องของมวลชนบนท้องถนนที่เรียกร้องให้พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลใช้พระราชอำนาจซึ่งก็คือเป็นการหาทางบ่อนทำลายพรรคการเมืองที่เข้มแข็งในระบอบประชาธิปไตยตามพระราชประสงค์ ที่เป็นมาตลอดรัชกาลนั่นเอง
หนังสือชี้แจง กระทรวงการต่างประเทศตอบโต้นิตยสาร ฟอร์บส์วันที่ 20 สิงหาคม 2551 กรณีจัดอันดับ ให้ในหลวงภูมิพลรวยที่สุดในโลก และมีส่วนเกี่ยวข้องในการยึดอำนาจจากนายกทักษิณ
สำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ ชี้แจงว่า ทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้นมิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่น ไม่ใช่ของกษัตริย์ หากแต่เป็นของคนทั้งชาติ
รวมทั้งที่ดินในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่หน่วยงานราชการ องค์กรสาธารณะกุศลเป็นผู้ใช้ประโยชน์ และจัดให้ประชาชน ที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย รวมทั้งชุมชนอีกกว่าหนึ่งร้อยแห่ง เช่าในอัตราที่ต่ำ มีเพียงส่วนน้อยประมาณร้อยละ 7 ของที่ดิน ที่จัดให้เอกชนเช่าและจัดเก็บในอัตราเชิงพาณิชย์
กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเพิ่มเติมว่า พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ไม่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 การที่ในหลวงภูมิพลต้องแต่งตั้งประธานคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นเพียงหน้าที่ขององค์พระมหากษัตริย์ ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
.. พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงพยายามสอนให้ผู้อื่นรู้จักความพอเพียง ทั้งยังทรงโจมตีและประณามทุนนิยมสมัยใหม่ ในขณะที่ธุรกิจของพระองค์เอง ก็ถึงขั้นล้มละลาย เป็นหนี้สินมากมายมหาศาล แต่พระองค์ได้อาศัยสิทธิพิเศษ กอบกู้ธุรกิจของพระองค์ ให้พ้นสภาพความล่มจม โดยให้ประเทศชาติและประชาชนต้องเข้าแบกรับแทน ในขณะที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก แต่ประชาชนก็ยังคง ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูพระองค์ ที่แพงกว่านานาอารยประเทศ.. ขณะที่พระองค์ยังคงตอบแทนประชาชน ด้วยการบ่อนทำลายประชาธิปไตย และฉุดรั้งประเทศชาติ ให้จมปลักอยู่กับความล้าหลังต่อไป
.........
วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น