ฟังเสียงอัดใหม่พร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/JAMsaCrL/The_Royal_Legend_036_.html
หรือที่ : http://www.mediafire.com/?pftaqtf45fhtdtj
โปรดทราบ : ไฟล์เสียงที่เคยdownloadไม่ได้ บัดนี้ได้แก้ไขแล้ว
โปรดลองเข้าที่linkใหม่
......................
นายกอานันท์ ปันยารชุน ได้ย้ายบรรดานายพลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬไปไว้ในตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจ บรรดานักเขียนและปัญญาชนพากัน ถวายราชสดุดีแด่พระเจ้าอยู่หัวให้เป็นยอดวีรกษัตริย์ผู้ทรงพระอัจฉริยะเหนือการเมืองและความขัดแย้ง
ทรงสามารถไกล่เกลี่ยแก้สถานการณ์วิกฤตได้เป็นอย่างดีไม่มีที่ติ ด้วยการที่ทรงลดคุณค่าของเหตุการณ์ทั้งหมด ให้เป็นเพียงการขัดแย้งต่อสู้กันส่วนตัว ระหว่างคนมักใหญ่ใฝ่สูงสองคนแล้วก็ทรงสั่งยุติการต่อสู้เรียกร้อง ทรงหลีกเลี่ยงการประณามกองทัพที่เป็นเสมือนกองกำลังส่วนพระองค์ และยังทรงหลีกเลี่ยงประเด็นหลักจริงๆ คือเรื่องรัฐธรรมนูญอีกด้วย
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงบ่อนทำลายพัฒนาการของสถาบันอื่นๆ มาโดยตลอด โดยทรงมองว่า สถาบันทางการเมืองเป็นคู่แข่งบารมีกับพระองค์ แทนที่ทรงมองว่าสถาบันทางการเมืองช่วยให้สถาบันพระมหากษัตริย์รอดจากความขัดแย้ง การแทรกแซงการเมืองของในหลวง ยิ่งเป็นการซ้ำเติมเสถียรภาพของรัฐบาลและรัฐสภา ในหลวงทรงสรรหารัฐบาลเองโดยที่ทรงมีอคติต่อนักการเมือง ทรงมีความคิดล้าหลังทั้งๆที่มีนักการเมืองที่ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างพลตรีจำลองและนายกชาติชาย
แต่ในหลวงก็ยังทรงยึดมั่นเหนียวแน่นอยู่กับบรรดาเหล่านายพลของพระองค์ ซึ่งเป็นพวกทหารที่ทุจริตละโมบมักใหญ่ใฝ่สูงอย่างพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และ พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งล้วนผงาดขึ้นมาภายใต้บารมีของพลเอกเปรมผู้เป็นขุนพลคู่พระบารมี พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินียังทรงโปรดปรานพวกนายทหารทุจริตเหล่านี้มากกว่าพวกนักการเมืองมือสะอาดเสียด้วยซ้ำ เมื่อในหลวงภูมิพลทรงแสดงความโปรดปรานต่อทหารในเดือนธันวาคม 2533 ได้ทำให้พลเอกสุจินดามีข้ออ้างที่จะทำการยึดอำนาจ
บรรดาองครักษ์พิทักษ์เจ้ามักจะช่วยแก้ตัวว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่มีทางเลือก ต้องยอมรับการยึดอำนาจของรสช.ขณะเดียวกันก็ยังยืนยันว่า มันเป็นการรัฐประหารที่ประชาชนสนับสนุนซึ่งเป็นผลจากการกล่าวหาโจมตีของพระเจ้าอยู่หัวเอง ขณะที่ทรงเพิกเฉย ปฏิเสธการใช้พระราชอำนาจยุบสภาและกำหนดการเลือกตั้งใหม่ เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมือง อีกทั้งยังทรงเงียบเฉยต่อการเตรียมแผนไพรีพินาศ และการสั่งเปลี่ยนเส้นทางขบวนเสด็จของฟ้าหญิงสิรินธรเพื่อให้ร้ายฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตย
ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อของพวกรับใช้เจ้า อย่างนายปีย์ มาลากุล เพื่อกล่าวหาโจมตีกลุ่มของพลตรีจำลอง ในหลวงทรงมอบหมายให้พลเอกเปรมและองคมนตรีคนอื่นๆ ให้ติดตามสถานการณ์ โดยสื่อสารกับ รสช.รวมทั้งกลุ่มอื่นๆและคอยรายงานต่อพระองค์ จึงทรงรับรู้สถานการณ์เป็นอย่างดี
แต่ในหลวงทรงรักกองทัพมากกว่าประชาชน โดยทรงกล่าวโทษพลตรีจำลองเป็นส่วนใหญ่ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 พลตรีจำลองถูกตำหนิที่ไม่ฟังคำชี้แนะเรื่องรัฐธรรมนูญที่ทรงตรัสในเดือนธันวาคม แต่พลเอกสุจินดากลับได้รับคำชมจากในหลวง ที่ยอมตกลงว่าการแก้รัฐธรรมนูญทำได้ ทั้งๆที่พวกทหารได้ปิดทางแก้ไขแล้วและพลเอกสุจินดายังตระบัดสัตย์เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ในหลวงทรงปกป้องไม่ยอมรับว่ากองทัพไทยมีปัญหาใหญ่หลวงเชิงหลักการ แต่กลับทรงเล่นงานผู้ที่วิจารณ์กองทัพ ว่าไร้ความสามารถแต่เต็มไปด้วยนายพล ในเดือนธันวาคม 2535 พระเจ้าอยู่หัวทรงโทษพลตรีจำลอง พลเอกชวลิตและผู้ประท้วงอีกครั้ง โดยทรงเล่าความเรื่องเด็กคนที่กำลังเผชิญปัญหา แต่กลับไปยั่วยุช้างจนโกรธ หมายถึงขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย ที่หาเรื่องไปแหย่ทหารที่อยู่ดีๆ จนเกิดปัญหาใหญ่โต ในหลวงยังทรงปฏิเสธข้อสรุปของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่ว่า ความวุ่นวายเกิดขึ้นจากระบบการเมืองที่ไม่พัฒนา ต้องพึ่งพาสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพมากเกินไป
ผลการเลือกตั้งเดือนกันยายน 2535 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรสช.ได้รับชัยชนะจัดตั้งรัฐบาล นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ของนายชวน และพรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิต พระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มตำหนิรัฐบาลนาย ชวน ว่าทำงานผิดพลาดและเห็นแก่ตัว หลังการแก่งแย่งตำแหน่งกันกลางปี 2536 โดยมีพลเอกชวลิตเป็นหัวหน้าทีม
ได้รับสั่งแกนนำรัฐบาล ให้หยุดกัดกันเอง พูดอย่างนี้ก็คงพอเข้าใจว่าหมายถึงอะไร ไม่ใช่หมายถึงเรื่องอะไร…. ท่านถึงหัวเราะ หัวร่อหมายถึงท่านเองก็รู้ ว่าการเถียงกันอย่างข้างๆ คูๆ นี้ไม่ดี เดี๋ยวนี้ข้างคู ทำคูแล้ว ก็ต้องระบายน้ำออก เพราะถ้าขุดคูกลางถนนมันก็ไปไม่ได้ ไม่ถูก อันนี้ก็คงพอเข้าใจ ไม่ต้องพูดให้ยืดยาวเกินไป แต่ว่า ความสามัคคีหรือความปรองดองนั้น ก็ให้เหตุว่า อันไหนควรจะพูด อันไหนไม่ควรจะพูด พูดไปแล้วให้ยอมรับว่าพูดอย่างนั้น ไม่ถูกก็บอกว่าไม่ถูก ไม่ต้องมาหัวชนฝาว่าถูกๆๆ ลงท้าย ตัวเองก็รู้ว่าไม่ถูก…
ในหลวงยังทรงแทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยพลเอกเปรมคอยจัดการ การชนะเลือกตั้งของนายชวนในปี 2535 ทำให้นายชวนต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่วุฒิสภายังเต็มไปด้วยคนของรสช. เมื่อรัฐบาลนายชวนยืนยันแก้ไขรัฐธรรมนูญ พวกปีกขวาก็ออกมาข่มขู่แบบปี 2519 กล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองที่รัชกาลที่ห้าได้ทรงวางหลักเอาไว้
เป็นการ แสดงว่า สส. สามารถเป็นตัวแทนของประชา ชนได้ดีกว่าพระเจ้า อยู่หัว ทั้งๆที่สส.ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นสกปรกและทุจริตคอรัปชั่น ขณะที่การรัฐประหารยึดอำนาจเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มอภิรักษ์จักรีประกาศว่า ประเทศไทยต้องไม่ทิ้งระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ต้องไม่เป็นเหมือนสหรัฐฯ ฝรั่งเศส หรือประเทศคอมมิวนิสต์ ราชวงศ์จักรีไม่ใช่ไดโนเสาร์
เดือนธันวาคมรัฐบาลนายชวนได้ยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญชนิดที่อ่อนลงมา พลเอกชวลิตถอนพรรคจากการร่วมรัฐบาล โดยหวังว่ารัฐบาลคงจะล้ม และตนเองจะได้เป็นนายกฯคนต่อไปพร้อมด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ แต่พลเอกเปรมได้เกลี้ยกล่อมพลเอกชาติชายหัวหน้าพรรรคชาติพัฒนาให้เข้าร่วมรัฐบาลนายชวน และให้วุฒิสมาชิกสายทหารหันมาลงคะแนนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลนายชวนซึ่งเป็นเพียงประเด็นปลีกย่อย แสดงให้เห็นว่าวังไม่ไว้ใจพลเอกชวลิตมากกว่านายชวนเสียอีก
ในหลวงทรงเชื่อว่า จีน พม่าและเวียตนามคิดยึดครองไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะเวียตนาม ได้แผ่อิทธิพลครอบงำลาวและกัมพูชา จึงเป็นภัยคุกคามต่อราชอาณาจักรไทย ทรงแสดงออกในเรื่องนี้เป็นประจำ ต่อนักการทูตและนักวิชาการต่างประเทศ รวมทั้งผู้นำทหารของไทย
สมัยนั้นกองทัพไทยเป็นผู้กำหนดนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยคงความสัมพันธ์ร่วมมือกันอย่างดีกับ รัฐบาลทหารสล้อค Slorc ของพม่า
และสนับสนุนกองกำลังของเขมรแดงที่เคยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลฮุนเซนที่ได้รับการหนุนหลังจากเวียตนาม ความสัมพันธ์ที่ไม่จริงใจต่อประเทศเพื่อนบ้านเช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยเลย มีแต่พวกทหารระดับสูงของไทยไม่กี่คนที่ได้กอบโกยเงินหลายพันล้านบาทจากการตัดไม้ ขุดแร่อัญมณีและธุรกิจอื่นๆ ร่วมกับรัฐบาลทหารสล้อคของพม่าและกองกำลังเขมรแดง
เดือนกุมภาพันธ์ 2536 ผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ 8 คน มาเยือนประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดของพม่า
ในหลวงภูมิพลมีพระบรมราโชวาทแก่พวกเขาว่า อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ลูกสาวของนายพลอองซาน วีรบุรุษกู้อิสรภาพของพม่า ควรจะเลิกต่อสู้และกลับไปเลี้ยงลูกที่อังกฤษเสีย แล้วปล่อยให้สล้อคหรือรัฐบาลทหารพม่า ปกครองประเทศไป รัฐบาลทหารเหมาะกับประเทศกำลังพัฒนา
ทรงยืนยันว่าไม่ควรสนับสนุนฝ่ายค้านของพม่า ซูจีเป็นแค่ตัวสร้างปัญหา และยังได้ทรงชักชวนนักการทูตอเมริกันและนักวิชาการต่างชาติให้ยอมรับรัฐบาลทหารพม่า ว่าเป็นผู้สร้างเสถียรภาพแก่พม่า ทรงมีพระราชดำรัสไม่ต่างจากรัฐบาลทหารพม่าว่า ซูจีแต่งงานกับฝรั่ง นายไมเคิ้ล แอริส (Michael Aris) และร่ำเรียนที่เมืองนอก เธอไม่ได้เป็นตัวแทนคุณค่าดั้งเดิมของพม่า เธอควรกลับไปอยู่กับครอบครัวที่อังกฤษ
แต่นโยบายของรัฐบาลนายชวนที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งได้ให้การสนับสนุนขบวนการ เรียกร้องประชาธิปไตย ของอองซาน ซูจี และรัฐบาลนายชวนได้ร่วมกับนานาชาติสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของอองซานซูจี
และได้สั่งกองทัพไทย ตัดความสัมพันธ์กับเขมรแดง เพื่อนำนายพอลพตผู้นำเขมรแดง เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตามแรงกดดันของนานาชาติ ขณะที่สหประชาชาติกำลังเตรียมการเลือกตั้งในกัมพูชา และเขมรแดงก็ข่มขู่จะขัดขวางการเลือกตั้ง แต่กองทัพไทยปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงท่าทีทั้งสองกรณี คือ กองทัพไทยยังคงทำธุรกิจกับคณะรัฐบาลทหารพม่าต่อไป ขณะที่เขมรแดงยังปฏิบัติการโจมตีจากฐานที่มั่นในฝั่งไทยก่อนถึงวันเลือกตั้งในกัมพูชา ทำให้นานาชาติพากันประณามรัฐบาลไทย รัฐบาลนายชวนปฏิเสธว่า มันไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล
แต่พระเจ้า อยู่หัว ทรง ปกป้องกองทัพ ทรงกล่าวกับนักการทูตไทยว่า ประเทศไทยควรให้ความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน เช่นพวกเขมรแดง และไม่ควรใส่ใจกับตำรวจโลก ซึ่งทรงหมายถึงสหรัฐอเมริกา ทรงตรัสว่า พม่ากำลังถูกปฏิบัติเหมือนเป็นสิ่งปฏิกูล หากเราผูกมิตรกับคนอย่างนี้ ตำรวจก็ต้องจับเรา ดังนั้นเมื่อเราช่วยพม่า หรือติดต่อสัมพันธ์กับพม่า ประชาคมโลกก็จะปฏิบัติต่อเราเหมือนคนเลวไปด้วย...
หากเรายึดตามแนวคิดตะวันตก และเฮโลตามไปกับเขาด้วย โดยบอกว่าพม่าเลว เราก็จะมีเพื่อนบ้าน อย่างบอสเนีย - เฮอร์เซโกวินา ( Bosnia and Herzegovina ) ที่เกิดสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ภายในประเทศ
และยังตรัสว่า เขมรแดงควรมีส่วนแบ่งในอำนาจ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่แบบที่พวกยุโรปได้สร้างขึ้นที่บอสเนีย ที่เราต้องการให้เกิดน้อยที่สุด คือการที่กำลังของสหประชาชาติมาใช้ดินแดนของไทยเพื่อแทรกแซงทางการทหารในพม่า
กองทัพไทยยังคง ร่วมมือกับรัฐบาลทหารของพม่า และพวกเขมรแดงของพอลพตต่อไป ด้วยการสนับสนุนให้ท้ายของพระเจ้าอยู่หัว เดือนพฤษภาคม 2537
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยนายมอร์ตัน อับบราโมวิทช์ Morton Abramovitz ได้วิจารณ์ในหลวงภูมิพลในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ Washington Post ว่าไทยบ่อนทำลายเพื่อนบ้านและขัดขวางประชาคมโลก จะทำให้เกิดแรงกดดันต่อกองทัพ รวมถึงคนระดับสูงและพระมหากษัตริย์
การกล่าวพาดพิงถึงในหลวงไม่น่าจะเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะพระองค์ก็ได้ทรงประพฤติตามที่ถูกพาดพิงจริงๆ แต่อาจเป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ทำให้บางคนต้องแสดงอาการเดือดดาลเพื่อแสดงความจงรักภักดีโดยกล่าวหานายอับ บราโมวิทซ์ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและเรียกร้องให้เนรเทศออกนอกประเทศ ขณะที่กองบัญชาการทหารสูงสุดปฏิเสธว่ากองทัพไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเขมรแดง และแก้ตัวแทนพระเจ้าอยู่หัวว่าไม่ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่กระทรวงต่างประเทศของไทยออกแถลงการณ์เห็นด้วยกับอเมริกาทำให้เกิดแรงกดดันต่อกองทัพจนต้องถอนการสนับสนุนเขมรแดงตลอดปีต่อมา เป็นการตัดกำลังเขมรแดงที่สำคัญ
การแทรกแซงอีกอย่างหนึ่งของพระเจ้าอยู่หัวก็คือ การที่ทรงรื้อฟื้นโทษประหารชีวิต จากเดิมที่ นักโทษประหารแต่ละรายมีสิทธิถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษจากพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่ทรงดึงฎีกาไว้และยืดการประหารออกไป และก็จะพระราชทานลดโทษ มีน้อยครั้งมากที่จะทรงปล่อยให้มีการประหารชีวิตด้วยการคืนฎีกาคำร้องกลับไป ทำให้พระองค์ทรงมีภาพลักษณ์ของพระผู้ทรงพระเมตตามหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
แต่ประ เทศ ไทยก็ยังคงมีปัญหาอาชญา กรรมที่รุนแรง ซึ่งพระองค์ไม่เคยได้สนพระทัยในเรื่องนี้เลย ทรงอ้างหลักพุทธศาสนาว่าเป็นแค่บาปเฉพาะตัวของอาชญากร แต่ในปี 2538 มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นกรณีฆ่าคนตายและค้ายาเสพติดโดยในหลวงทรงปฏิเสธฎีกา และได้สร้างบรรทัดฐานแก่กระบวนการยุติธรรมโดยทั่วไป มีการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง คล้ายยุคเผด็จการสฤษดิ์
พระเจ้า อยู่หัว ภูมิพลทรง แสดงบทบาททาง โทรทัศน์บ่อยขึ้น มีพระบรมราโชวาทแก้ปัญหาจราจรแก่กทม. และตำรวจ ให้จัดการเดินรถทางเดียว โทรทัศน์แพร่ภาพข้าราชการนั่งพับเพียบฟังกระแสรับสั่งที่ทรงชี้บนแผนที่ตรงนั้นตรงนี้ ทั้งๆที่มีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศทำงานกันอยู่แล้ว
ภาพที่ปรากฏจึงเหมือนกับว่า มีแต่ พระเจ้า อยู่หัวเท่านั้นที่ทรงกำลังแก้ปัญหานี้ เดือนตุลาคม 2536 ในหลวงทรงมอบหมายงานให้อธิบดีกรมตำรวจเป็นรายการยาวเหยียด เช่น สร้างอุโมงค์ลอดทางแยก 23 แห่ง เพิ่มการขนส่งทางเรือ จัดหารถจักรยานยนต์ตำรวจ ปรับปรุงเฮลิค็อปเตอร์ตำรวจ ทรงสั่งการให้กทม. ทำตามแผนแม่บท ที่จัดทำโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสสาจูเซท หรือเอมไอที Massachusetts Institute of Technology
ทรงแสดงความไม่สบพระอารมณ์ เพราะมีคนมองว่าขบวนรถเสด็จของพระองค์ทำให้รถติด แต่มีการปล่อยข่าวว่าทรงแอบขับรถออกมาตอนรถติด และทรงสำรวจการจราจรบนเฮลิค็อปเตอร์ รวมทั้งรับสั่งพระโอรสพระธิดาไม่ให้ใช้ขบวนรถ ให้ทนสภาพรถติดเหมือนคนอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย ทรงพระราชทานเงินเก้าสิบล้านบาทเพื่อซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ตำรวจจราจร โดยโหมโฆษณาว่า เป็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาจราจรให้ได้
เดือนธันวาคม 2537 ทรงตรัสว่า เราต้องแก้ไขต้นทางไปปลายทางหมายความว่า จัดให้ต้นทางกับปลายทางอยู่ในระยะที่ใกล้ขึ้น ถ้าใกล้ขึ้นแล้ว การใช้ถนนก็จะน้อยลง การใช้ถนน จำนวนของถนนหรือความยาวของถนนที่ถูกใช้นั้นก็น้อยลง ก็เท่ากับถนนมีมากขึ้น และรถน้อยลง หมายความว่าให้บ้านและที่ทำงานอยู่ใกล้กัน ซึ่งฟังดูดีแต่ไม่ได้มีความหมาย เพราะส่วนใหญ่ซ้ำซ้อนกับสิ่งที่กำลังทำกันอยู่แล้ว ทรงให้ทำอุโมงค์ลอดทางแยกหลายแห่งขณะที่ทรงคัดค้านการขึ้นภาษีรถยนต์ แต่พระองค์ไม่เคยตรัสถึงปัญหาหลัก เช่นการก่อสร้างที่ไร้การวางผังควบคุม ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดี การเพิ่มจำนวนรถอย่างรวดเร็ว การที่ทรงนำเสนอสู่สาธารณะ ก็เพียงเพื่อเอาความดีความชอบเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
ต้นปี 2538 ทรงวิตกอาการประชวรของพระราชชนนี แต่ในหลวงเอง ก็หวุดหวิดแทบพระทัยวายต้องเสด็จรับการผ่าตัดขยายหลอดเลือดพระหทัย ในช่วงประทับโรงพยาบาลศิริราชกลับทรงปรากฏพระองค์ทางโทรทัศน์รับสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าเฝ้าในช่วงค่ำ และหลังเที่ยงคืน ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าพระองค์ทรงงานแก้ไขปัญหาทั้งวันทั้งคืน แต่มีน้อยคนที่รู้ว่าในหลวงมักจะบรรทมตอนเช้า และทำงานเฉพาะช่วงบ่ายและกลางคืน พระองค์บรรทมดึกและตื่นราวๆเที่ยงวัน
13 กรกฎาคม 2538 พรรคประชาธิปัตย์ถูกมรสุมเรื่องทุจริตสปก.4-01 และการอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาลนายชวนถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลผสม ที่นำโดยนายบรรหาร ศิลปอาชา โดยมีพรรคร่วมรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช พลเอกชวลิตและเศรษฐีรุ่นใหม่ พตท.ทักษิณ ชินวัตร
ในหลวงทรงออกหน้าจอโทรทัศน์ มีพระสุรเสียงที่หงุดหงิดต่อว่าเจ้าหน้าที่ กระทั่งพระราชชนนีสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 จึงได้เสด็จงานพระบรมศพเป็นเวลาหลายเดือนเกือบทุกวัน แต่ในเวลาที่พระสวดพระอภิธรรม จะเห็นในหลวงทรงศึกษารายงานการจราจรและร่วมประชุมอย่างคร่ำเครียดกับเจ้าหน้าที่ ทรงโปรดเกล้าฯให้นายกบรรหารเข้าเฝ้า 90 นาที เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาการจราจร
ขณะที่รองนายก รัฐมนตรี สมัคร กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ขัดแย้งกันเรื่องการแก้ปัญหาจราจร ในหลวงได้ช่องตำหนิรองนายกรัฐมนตรีทั้งสองคนว่าแก้ไขปัญหาจราจรไม่ได้เลยว่า ระหว่างสองฝ่าย มีแต่พูดพูดพูด และก็เถียงเถียงเถียง เป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ นายกบรรหารประกาศน้อมใส่เกล้าฯประสานรองนายกฯทั้งสอง โดยสี่วันต่อมาพวกเขาเข้าเฝ้าฯเป็นเวลาหลายชั่วโมง ไล่ดูแผนที่กรุงเทพฯ ลงรายละเอียดแต่ละพื้นที่ พตท.ทักษิณกล่าวยอมรับอย่างสิ้นสภาพว่าไม่เคยคิดในสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงให้การแนะนำมาก่อนเลย
พระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความเกรี้ยวกราด เหยียดหยามนักการเมืองว่าเป็นพวกไร้ความสามารถและไม่ใส่ใจประชาชน ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาและออกจะไม่งาม โดยทรงอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญในฐานะพลเมืองที่จะตำหนิผู้นำ มีพระราชดำรัสว่า..ที่พูดอย่างนี้ก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะเกือบจะเป็นการพูดเรื่องการเมือง และพวกเขาก็อาจไม่พอใจได้ว่า ทำไมกษัตริย์พูดเรื่องการเมือง ในความเป็นจริง กษัตริย์ก็มีสิทธิ ในความเป็นจริง กษัตริย์ก็เป็นพลเมืองไทยที่มีสิทธิและเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญ... ตามรัฐธรรมนูญ ทุกๆ คนมีสิทธิและเสรีภาพที่จะพูด ก็เลยขอใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่จะพูดอย่างนี้ ถ้าพวกเขาอยากจะหาความผิดทางกฎหมาย ก็เชิญ อยากได้ยินข้อหา .. เมื่อเสด็จเข้าโรงพยาบาลอีกครั้งเพื่อรักษาแผลที่กำเริบจากการผ่าตัด ผู้คนพากันพูดว่านายกบรรหารทำให้พระอาการโรคพระหทัยของพระองค์กำเริบ
ต้นเดือนกันยายน 2538 กรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วมหนัก พระเจ้า อยู่หัวที่ยังทรง อ่อน ระโหยจากการผ่าตัดได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าหน้าที่ กทม. และกรมชลประทานเข้าเฝ้าเป็นเวลาสามชั่วโมงซึ่งได้รับการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ ทรงชี้ไปที่แผนที่ที่กองเป็นตั้ง ทรงอยากรู้ว่าทำไมคนที่อยู่ชานกรุงเทพฯ จึงไม่ได้รับการป้องกันจากภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นโวหารที่ทรงสรรหาถ้อยคำมาเชือดเฉือนบ่อนทำลายรัฐบาลและนักการเมืองที่พระองค์ทรงปฏิบัติมาโดยตลอด
นายทุนใหม่ พันธมิตรใหม่ของวัง
ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจได้ทำให้มีนายทุนใหม่ๆที่มาจากสามัญชน กษัตริย์ในอดีตมักจะทรงสร้างความผูกพันธ์ความจงรักภักดีกับบรรดามหาเศรษฐีโดยใช้การแต่งงานและการลงทุนร่วมกัน แต่รัชกาลที่ 9 ทรงขาดแคลนพระโอรสและพระธิดา วังจึงต้องสร้างพันธมิตรกับพวกเศรษฐีใหม่ โดยการส่งตัวแทนเข้าไปร่วมบริหาร เช่น มหาเศรษฐีใหม่สองคน คือ
นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมาและนายธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพีที่มีทั้งธุรกิจการเกษตร การค้าปลีกและธุรกิจโทรคมนาคม มหาเศรษฐีทั้งทั้งสองคนจ่ายเงินให้นักการเมือง นายทหารและข้าราชการ สร้างความร่ำรวยหลายหมื่นล้านบาท
โดยได้เชิญ ตัวแทนของพระเจ้า อยู่หัวเข้าไปเป็นผู้ บริหารเพื่อแสดง ว่ามีผล ประโยชน์ร่วมกัน คือพลเอกเปรม และพล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลาเป็นกรรมการของบริษัทในเครือซีพี มีเงินเดือนสูง
พลเอกเปรมเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของเครือโรงแรมอิมพีเรียลหรือพลาซ่าเอทินี ( Plaza Ethenee Royal Bangkok) ของเสี่ยเจริญ มรว.สฤษดิคุณ กิติยากร ลูกพี่ลูกน้องของพระราชินีก็ได้เป็นประธานบริหารโรงแรม มรว. อดุลกิติ์ กิติยากร พี่ชายของพระราชินีและเป็นองคมนตรีได้เป็นประธานบริษัทเบียร์ช้างที่ตั้งขึ้นใหม่ เสี่ยเจริญกับภรรยาคือคุณวรรณาได้รับเครื่องราชฯชั้นสูงได้เป็นคุณหญิงในช่วงนั้นเอง
เสี่ยเจริญเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารมหานคร First Bangkok City Bank สำนักงานทรัพย์สินได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้นคราวเดียวถึง 15 เปอร์เซ็นต์ในปี 2539
วังได้สร้างสายสัมพันธ์กับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยให้พลเอกเปรม ซึ่งเป็นตัวแทนพระเจ้าอยู่หัวไปเป็นประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทกฤษดา มหานครที่ทำหมู่บ้านจัดสรรค์
เป็นประธานสายการบินพีบีแอร์ ที่ก่อตั้งโดย ดร. ปิยะ ภิรมย์ภักดี ประธานบริหาร บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่เจ้าของเบียร์สิงห์ โดยมีองคมนตรีอื่นๆนั่งเป็นกรรมการตามบริษัทต่างๆ ซึ่งมีรายได้ดี และทำให้มีความอุ่นใจได้ว่าธุรกิจพวกนั้นจะต้องเชื่อฟังวังและสนับสนุนพระราชกรณียกิจของวังอย่างเต็มที่ตลอดไป
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ระดมเอาบรรดามหาเศรษฐีใหม่เข้าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ด้วยเงินทุนมากมายและที่ดินอีกมหาศาลที่มีอยู่ รวมทั้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯเข้ามาร่วมด้วย โครงการต่างๆ เช่น โรงแรมหรูย่านราชประสงค์ เพรสิเด้นท์โกลเด้นแลนด์กรุ๊ป President-Golden Land group ของครอบครัวศรีวิกรม์
ร่วมกับนายปิ่น จักกะพาก พ่อมดทางการเงินแห่งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจ Finance One จับมือกับเครือแสนสิริพร็อพเพอร์ตี้กรุ๊ปทำโครงการหมู่บ้านจัดสรรค์ของตระกูลล่ำซำ กับจูตระกูล นายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของบริษัทค้าบ้านและที่ดินแลนด์แอนด์เฮ้าส์ลงทุนกับสยามสินธรซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และสำนักงานทรัพย์สิน
มีการลงทุนในธุรกิจด้านการศึกษาโดยสถาบันการศึกษาเอกชนร่วมกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ เช่น โรงเรียนมัธยมแฮโรว์ Harrow ของอังกฤษ วิทยาลัยดัลวิค Dulwich College ของลอนดอน และ โรงเรียนภาษาจีลอง Geelong Grammar School ที่ดอยตุง โรงเรียนเหล่านี้เป็นทั้งธุรกิจที่จะสร้างผลกำไรและเป็นหลักประกันว่าลูกหลานของพวกเขาเหล่านั้นจะได้รับการอบรมสั่งสอนในกรอบความคิดของวังและมีความยึดมั่นจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรี
มีการโหมโฆษณาสถาบันพระมหากษัตริย์ทางสื่อมวลชนอย่างมโหฬารตลอดเวลา โดยใช้เงินหลายพันล้านบาทยกย่องสรรเสริญสดุดีราชวงศ์จักรี ให้เข้ากับบรรยากาศของสื่อยุคใหม่ โดยใช้ทีมงานที่มีประสบการณ์ที่นำโดยนายปีย์ มาลากุล เจ้าของบริษัทแปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่นมีเดียกรุ๊ป Pacific Communications media groupที่ผลิตนิตยสารดิฉัน ของผู้หญิงชั้นนำ รวมทั้งสถานีวิทยุข่าวสารจราจร จส.100
และ ผลิตรายการให้สถานีโทรทัศน์โดยเฉพาะช่อง 5 ของทหาร ซึ่งมีพล.อ.แป้ง มาลากุล น้องชายของนายปีย์เป็นผู้อำนวยการสถานีช่วงปี 2538-2542
โดยได้รับการสนับสนุนจากทีมงานและมีเงินสนับสนุนมากมายจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและการบินไทย อาจารย์ธงทอง จันทรางศุ รวมทั้งพวกคลั่งเจ้ารุ่นใหม่ ที่เป็นโฆษกบรรยายงานพระราชพิธีต่างๆ
ทีมงานของวังได้ปรับโฉม งานสดุดีพระมหากษัตริย์ ให้โดดเด่นด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยขึ้น ให้เป็นภาพที่มีสีสันแบบฮอลลีวูด พร้อมดนตรีที่หรูหราทันสมัยกว่าเดิม ภาพยนตร์สารคดีพระราชกรณียกิจถูกนำออกอากาศเป็นชุดทางโทรทัศน์ ภาพยนต์การทรงดนตรีขององค์คีตะราชัน เข้าฉายในโรงภาพยนต์และเกณฑ์ให้เด็กนักเรียนมาดูกันเป็นคันรถบัส ให้พวกศิลปินเรียบเรียงเสียงประสานระดมกันปรับแต่งเพลงพระราชนิพนธ์ให้เป็นงานออเคสตราที่ยิ่งใหญ่อลังการ มีการจัดการแสดงละครหลากหลายรูปแบบเทิดพระเกียรติพระราชวงศ์ อาจารย์ธงทองบรรจงแต่งละครเรื่องแผ่นดินนี้มีกำลัง แสดงโดยกองทัพเรือ เทิดทูนกษัตริย์ยุคต้นรัตนโกสินทร์
การผลิตสื่อเพื่อโฆษณาสถาบันพระมหากษัตริย์นี้ต้องใช้เงินมหาศาล นอกจากใช้งบประมาณของรัฐบาลแล้ว บริษัทใหญ่ๆของพวกเศรษฐีใหม่ที่เพิ่งเข้าไปใกล้ชิดรั้ววัง ก็เต็มใจที่จะจ่ายให้ คีตะราชัน ที่รวบรวมศิลปินชั้นนำทั่วประเทศได้ทำเป็นอัลบั้มสองชุดมีการจัดคอนเสิร์ตหารายได้ทูลเกล้าถวายฯโดยได้เงินสนับสนุนจากเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี
บริษัทสหศินิม่าUnited Cinemaของสำนักงานทรัพย์สินผู้ผลิตภาพยนต์และเป็นเจ้าของโรงภาพยนต์ ได้ซื้อสำนักพิมพ์สยามเพรสและร่วมธุรกิจกับสื่อใหญ่อื่นๆ ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ที่เคยเป็นของมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ในปี 2537 ในช่วงเดียวกันได้เปิดหนังสือพิมพ์การเงินชื่อ สื่อธุรกิจ กับหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษชื่อบิวสิเนสเดย์ Business Dayหม่อมหลวง ตรีทศยุทธ เทวกุล ( Tridho sayuth Devakul ลูกชายคนโตของ มรว.เทพฤทธิ์ เทวกุลผู้เป็นเจ้าของโครงการควายเหล็กและฝนเทียม ) ลูกน้องใกล้ชิดของพลเอกเปรมได้ซื้อหนังสือพิมพ์สยามโพสต์ โดยนายปีย์ มาลากุลมารับช่วงต่อ
วังได้ลงทุนอย่างเปิดเผยในกิจการโทรทัศน์โดยชนะการประมูล ไอทีวี ได้รับใบอนุญาตในเดือนเมษายน 2538 สมัยรัฐบาลนายชวน จากกลุ่ม ที่นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ และสำนักงานทรัพย์สิน พร้อมด้วย บริษัทแปซิฟิคคอมมิวนิเคชั่น ของนายปีย์ และเครือเนชัน โดยวังได้วางเส้นสายเข้าควบคุมทั้งระบบ รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการ อสมท.ชุดใหม่โดยรัฐบาลนายบรรหารในเดือนพฤษภาคม 2539 ที่ดูแลสถานีโทรทัศน์สองแห่งกับคลื่นวิทยุอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสำนักข่าวของรัฐบาล โดยมีประธานคือพล.อ.มงคล อัมพรพิสิษฐ์ ลูกน้องเก่าของพลเอกเปรม และมีกรรมการอีกคนหนึ่งคือ นายธงทอง จันทรางศุ
ผลงานชิ้นเอกของการโฆษณา คือการเฉลิมฉลองที่ยาวนานถึง 24เดือน ในวโรกาสครองราชย์ 50 ปี ในปี 2539 เพิ่มความยิ่งใหญ่มโหฬาร ของกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมพระบารมีให้สูงขึ้นไปอีก ระดมทำกันตั้งแต่งานกิจกรรมจำนวนมากที่ไม่ต้องวางแผนไว้ก่อน ครั้งแรกเมื่อพระราชชนนี เสด็จเข้ารักษาอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราชในเดือนธันวาคม 2537 พระราชชนนีทรงมีปัญหาที่พระหทัยและพระนาภี ( หัวใจและท้องไส้ ) ไม่มากนัก แต่ในวัย 94 ชันษาก็ถือว่าวางใจไม่ได้ องค์กรทั้งเอกชนและรัฐบาลต่างจัดการสวดมนต์และทำบุญถวายเป็นพระราชกุศล
6 มีนาคม 2538 พระเจ้า อยู่หัวทรุด พระองค์ขณะทรงออกกำลังกาย ต้องเข้าโรงพยาบาลศิริราช ด้วยอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ มีข่าวลือว่าอาจสิ้นพระชนม์ ซึ่งเกินกว่าที่วังจะรับได้ เพราะไม่รู้ว่าใครจะได้เป็นพระเจ้าอยู่หัวองค์ต่อไป ต้องทรงประทับในโรงพยาบาลหลายสัปดาห์ หลังแพทย์ถวายการผ่าตัด แต่พระองค์ก็ยังทรงออกโทรทัศน์ทุกวัน
เสด็จเยี่ยมพระราชชนนี และทรงมีรับสั่งเรื่องการจราจรต่อเจ้าหน้าที่ แสดงถึงพระอุตสาหะวิริยะเหนือมนุษย์ของพระธรรมราชา ประชาชนราว 2,000 คน ได้ร่วมการอธิษฐานหมู่ที่สนามหลวงเพื่อให้ทั้งสองพระองค์หายจากประชวร พระสังฆราชทรงนำพระ 999 รูป สวดมนต์ถวายแด่พระเจ้าอยู่หัว สามสัปดาห์หลังเสด็จออกจากโรงพยาบาลเสด็จออกโทรทัศน์พร้อมกับพระราชวงศ์ ทรงอธิบายความเจ็บป่วย และทรงพระดำเนินไปรอบๆห้องโถงใหญ่ครบเจ็ดรอบ เท่ากับหนึ่งกิโลเมตร
ทรงอธิบายว่าการประชวรเป็นผลจากการติดเชื้อในปี 2525 จากการทรงพระโอสถมวน (สูบบุหรี่) ซึ่งทรงเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี 2530 และจากการเสวยน้ำจัณฑ์ (ดื่มเหล้า) ซึ่งตอนนี้พระองค์ทรงหันมาเสวยน้ำจัณฑ์อย่างพอเพียง (คงไม่ได้เป็นแบบหัวราน้ำอย่างแต่ก่อน) ซึ่งคนไทยไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ทรงอ้างว่าเป็นเพราะพระองค์ต้องทรงงานเป็นเวลาห้าถึงหกชั่วโมงในคราวเดียวโดยไม่มีการหยุดพัก พระองค์แทบไม่ได้ทรงออกกำลังกาย และทรงมีความเครียดสูง ซึ่งหมายความว่าอาการประชวรของพระองค์เป็นเพราะทรงแบกรับภารกิจ เพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของพสกนิกร ถือได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นอีกจนได้ แต่รับสั่งว่าแพทย์ประจำพระองค์ได้รับประกันกับพระองค์ว่า จะยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ต่อไปได้อีก 25 ปี ซึ่งนานพอที่จะทำให้โครงการพระราชดำริต่างๆได้บรรลุเสร็จสิ้น
ส่วนพระราชชนนีกลับมีพระอาการทรุดลง และสิ้นพระชนม์ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 แต่การสิ้นพระชนม์ของพระราชชนนีกลับทำให้ทรงมีความสำคัญยิ่งกว่าตอนมีพระชนมชีพเสียอีก
แม้จะทราบกันดีว่า พระราชชนนีศรีสังวาลย์ไม่ได้ทรงมีบทบาทต่อประชาชนนัก ทรงประทับที่สวิตเซอร์แลนด์จนสิ้นปี 2530 และหลังจากเสด็จมาประทับเมืองไทย ก็แทบจะไม่เคยเสด็จนอกพื้นที่ดอยตุงเลย แต่นิตยสารต่างๆก็ช่วยกันลงภาพพระราชชนนีปลูกไม้ดอกและเย็บปักถักร้อย และความคิดของพระองค์เรื่องพระพุทธศาสนา
ทางวังได้ถวายพระยศของพระราชชนนี เทียบชั้นสมเด็จพระนางเจ้า ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระราชสกุล ร่วมประทับบนหิ้งของสถาบันเจ้า พระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้มีการไว้ทุกข์พระบรมศพเป็นเวลา 100 วัน ข้าราชการถูกขอให้แต่งดำไว้ทุกข์ 15 วัน พระสังฆราชนำการทำบุญที่สนามหลวง พระสรีระของพระราชชนนีได้รับการสรงชำระตามแบบพราหมณ์ ในพระบรมมหาราชวัง ในหลวงและพระราชินีทรงพรมน้ำมนต์ ลงบนพระสรีระของพระราชชนนี และในหลวงทรงสวมชฎา บนพระเศียรของพระราชชนนี โกศประดับอัญมณีบรรจุพระบรมศพตั้งอยู่ในท้องพระโรงเพื่อรับการถวายความเคารพ พระโกศประดิษฐานภายใต้พระเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อันสงวนไว้สำหรับเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงสุด ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้นที่มีเก้าชั้น
ทางวังได้จัดมหกรรมการสดุดีสรรเสริญพระเกียรติคุณอย่างเต็มที่ หน่วยงานราชการได้จัดงานรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ สถานีตำรวจทุกแห่งถูกสั่งให้จัดพิธีทำบุญในวันครบเจ็ดวัน ห้าสิบวันและร้อยวัน ทางการตำรวจได้ถวายยศพลตำรวจเอกแด่พระราชชนนี ตำรวจตระเวนชายแดนเตรียมสร้างอนุสาวรีย์ของพระราชชนนีศรีสังวาลย์ในค่าย ตชด.ทุกแห่ง พระญาติพระวงศ์รับเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมพระศพในแต่ละวัน โดยรัฐบาลกระตุ้นกลุ่มอื่นๆช่วยผลัดกันเป็นเจ้าภาพในวันหลังๆ ต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาการไว้ทุกข์ออกไปอีกโดยไม่มีกำหนด ทำให้หน่วยงานราชการ บริษัทหัางร้านและกลุ่มสมาคมต่างๆ ต้องผลัดกันมาเป็นเจ้าภาพ โดยให้คนในสังกัดมานั่งร่วมพิธีเบื้องหน้าพระโกศ
พสกนิกรได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีได้อย่างใกล้ชิดและยาวนาน ขณะทรงกำลังสวดมนต์ หรืออาจเห็นในหลวงทรงคร่ำเคร่งกับการแก้ไขปัญหาจราจร งานพระบรมศพนี้ ได้ดำเนินไปตลอดทั้งปีที่เหลือ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์รายงานว่าในวันที่ 19 กรกฎาคม 2538 ก่อนพิธีรดน้ำศพ ท้องฟ้าที่มืดครึ้มก็มีฝนตกลงมา ราวกับจะบอกว่าเทพยดาฟ้าดินได้รับรู้การเสด็จจากไป ของพระราชชนนีและร่วมทุกข์โศกกับประชาชนด้วย
พระพิพิธธรรมสุนทรแห่งวัดสุทัศน์บอกว่า ท่านได้ยินมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าอยู่หัวเองว่าห้าปีก่อนสิ้นพระชนม์ พระราชชนนีตรัสว่าทรงรู้สึกเหนื่อยและพร้อมจะจากโลกนี้ไป ทำให้ในหลวงทรงหวนนึกถึงพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสต่อพระสาวกว่าพระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานภายในสามเดือน
พระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงขอนิมนต์ ให้พระราชชนนีได้ทรงพระชนมชีพต่อไป เพื่อเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่พระโอรสพระธิดาและพสกนิกรชาวไทยต่อไป และสมเด็จพระราชชนนีก็ทรงพระมหากรุณา อุตส่าห์ดำรงพระชนมชีพต่อมาอีกเป็นเวลาตั้งห้าปี ในหลวงยังได้ทรงเล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อพระราชชนนีสิ้นพระชนม์ ในหลวงกับเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาได้ทรงจับพระหัตถ์ของพระราชชนนีไว้ เมื่อพระองค์ทรงนึกถึงสิ่งที่ยังไม่ได้ทรงบอกกล่าวแก่พระราชชนนี เครื่องนั้นก็แสดงการเต้นของพระหทัยของพระราชชนนีอีกครั้งอย่างปาฏิหาริย์ เมื่อพระธิดาของเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาเข้ามาและจับพระหัตถ์ของพระราชชนนี ปรากฏว่าชีพจรของพระนางก็กลับมาเต้นอีกครั้ง เข้าใจว่า พระราชชนนีกำลังทรงกล่าวคำอำลา เป็นเรื่องปาฏิหารย์ประเภทผีสาง ที่พระพิพิธธรรมสุนทรอ้างว่าในหลวงทรงเล่าให้ท่านฟัง อาจจะเป็นการสดุดีว่าพระราชชนนีมิใช่คนธรรมดาสามัญ แม้สิ้นลมก็ยังทรงแสดงปาฏิหารย์ได้
ทางวังได้โหมการโฆษณา การรำลึกถึงพระราชชนนีอย่างชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นเวลาหลายเดือนทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ ในงานวันเฉลิมพระชนมพรรษาเดือนธันวาคมปีนั้น ทรงตรัสว่าคนไทยมองเห็นพระมหากรุณาธิคุณของพระราชชนนีที่ได้ทรงสร้างสมไว้มาก ทำให้ราชอาณาจักรไทยยังคงความสงบสันติสุขไว้ได้
ทรงตรัสว่า เมื่อพระชนนีสิ้นพระชนม์ ก็ได้เห็นความรักความนับถือที่คนทั้งชาติมีต่อพระชนนี ก็ปลื้มใจ ปลื้มใจว่ามีคนที่คนรักที่ถือว่าท่านเป็นสมเด็จย่า ซึ่งก็แปลกดีเหมือนกัน ถ้าใครต่อใครเรียกว่าสมเด็จย่า คนที่เรียกสมเด็จย่าก็เป็นหลานๆ ของเรา เป็นหลานเพราะว่าท่านเป็นแม่ และท่านเป็นย่าของคนทั่วๆ ไป และเป็นสมเด็จย่าของลูกๆ ที่อยู่ข้างหลังนี้
ฉะนั้นเราก็เป็นญาติกันทั้งหมดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็รู้สึกว่า มีความอาลัย และทำให้ประชาชนทั้งชาติได้มีโอกาสแสดงเป็นประโยชน์จะว่าครั้งสุดท้ายของท่าน ที่จริงไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะท่านยังเป็นประโยชน์ต่อไปชั่วกาลนิรันดร์ แต่ว่าเป็นประโยชน์เพราะว่าชาวต่างประเทศ ทุกชาติทุกภาษา เมื่อมาเห็นว่าเมืองไทยมีเหตุการณ์เช่นนี้แบบนี้ และการแสดงคารวะบุคคลที่ควรคารวะ
ต่างประเทศแม้จะไม่ชอบเมืองไทยเขาก็ต้องชอบ เขาจะต้องบอกว่าเมืองไทยนี้มีอะไรแปลก และเมืองไทยนี้แปลกจริงๆ ที่มีสภาพอย่างนี้ ....คงแปลกจริงๆอย่างที่พระองค์มีพระราชดำรัสและก็คงไม่มีชนชาติใด ที่จะเข้าใจความแปลกประหลาดของพสกนิกร ที่พระองค์ทรงภูมิใจเป็นนักเป็นหนานี้ได้
พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ มีขึ้นในวันที่ 10 มีนาคม 2539 ตามฤกษ์ที่นักดาราศาสตร์ของวังได้บอกว่าดาวหางยาคูเตคHyakutake จะปรากฏให้เห็นในหมู่ดาวราศีตุลย์ อันเป็นราศีเกิดของพระราชชนนี กรมการศาสนาได้รวบรวมคน มาบวชเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลได้ 34,604 คน เท่ากับจำนวนวันที่พระราชชนนีทรงมีพระชนมชีพ
ทางวังกับรัฐบาลได้ออกแผนพับยืดยาว อธิบายความหมายในเชิงจักรวาลของเครื่องแบบ การประดับประดา การจัดวางตำแหน่งและการเคลื่อนขบวนต่างๆ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ได้ร่วมกันถ่ายทอดสดตลอดงานพระราชพิธี โดยมีอาจารย์ธงทอง จันทรางศุ เป็นผู้บรรยายด้วยสุ้มเสียงอันแผ่วเบา ไม่มีสื่อใดได้รับอนุญาตให้เข้าใกล้ยกเว้นโทรทัศน์บีบีซี ซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำสารคดีที่หวังว่าจะช่วยเชิดชูพระราชชนนีให้เป็นที่ศรัทธาไปทั่วโลก
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศเป็นระดับสมเด็จพระบรมราชชนนี โดยโปรดให้บรรจุพระอังคาร (เถ้ากระดูก) ไว้ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอันเป็นที่สงวนไว้สำหรับเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงสุดเท่านั้น ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการระดมทุนหาเงินบริจาคในช่วงแปดเดือน ไม่ต่ำกว่าสามร้อยล้านบาท เพื่อสร้างโรงพยาบาลในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
รัฐบาลผลิตเหรียญกษาปณ์ ที่มีพระบรมฉายาลักษณ์พระราชชนนีศรีสังวาลย์ เพื่อระดมทุนตามเป้าไม่ต่ำกว่า 160 ล้านบาท ในวันพระราชทานเพลิงพระศพ กล่องบริจาคที่วางรอบสนามหลวงเก็บเงินได้ถึงกว่าสี่ล้านบาท กระทรวงศึกษายังระดมเงินบริจาคได้เพิ่มขึ้นอีกโดยไม่มีการรายงานยอดบริจาคเพียงแต่บอกว่าจะนำไปสร้างอนุสาวรีย์ถวายแด่พระราชชนนีทั่วประเทศ ตลอดสองสามปีถัดมา ได้มีการผลิตหนังสือ สารคดี ซีดีรอม และ เทปเทิดพระเกียรติออกจำหน่ายและจัดนิทรรศการ
หลังจากการโฆษณาปลุกเสกพระเกียรติยศพระเกียรติคุณของสมเด็จพระราชชนนีเสร็จสิ้นลง ทางวังก็รีบขยับ เข้าสู่การเฉลิมฉลองการเสด็จครองราชสมบัติครบ 50 พรรษา อย่างรวดเร็วทันที แทบทุกพระราชพิธีและกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง24 เดือนต่อมา ล้วนแล้วแต่เป็นการเทิดพระเกียรติเนื่องในวาระเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก
ฟ้าชายวชิรา ลงกรณ์ทรงรับหน้าที่ ดูแลโครงการสกัดหินเพื่อสร้างพระพุทธรูป ขนาดมหึมาที่หน้าผาเขาชีจัน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีโดยใช้แสงเลเซอร์
ฟ้าหญิงสิรินธรเสด็จเป็นประธานในการประชุมนานาชาติเรื่องหญู้าแฝกในพระบรมราชูปถัมถ์โดยที่วังมักอ้างว่าในหลวงทรงเป็นผู้ค้นพบว่าหญ้าแฝกเป็นประโยชน์ในการรักษาหน้าดิน พระสังฆราชญาณสังวรทรงดูแลโครงการปลูกต้นโพธิ์ในวัดทั่วประเทศ 30,000 แห่ง มีการทุ่มเงินมหาศาลทั้งจากงบประมาณและจากภาคธุรกิจ โดยไม่มีความโปร่งใสแต่อย่างใด
นักธุรกิจต้องจ่ายเงินของบริษัทเพื่อแสดงความจงรักภักดี วุฒิสมาชิกถูกหักเงินเดือนๆ ละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 8 ล้าน 7 แสนบาท สำหรับการเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และร่วมเสด็จพระราชกุศล นายกบรรหารได้ระดมเงิน 999 ล้านบาทสำหรับโครงการควบคุมน้ำท่วมในพระราชดำริโดยยืมเงินก้อนใหญ่มาจากธนาคารกรุงไทยที่เป็นของรัฐบาล จากภาวะเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู ตอนต้นปี 2539 ทำให้มีนักธุรกิจใหญ่ทยอยถวายเครื่องบรรณาการ อย่างมากมาย มหาศาล
พ่อค้าเพชรพลอยชื่อดังรายหนึ่งได้นำบุษราคัมสีน้ำเงินขนาดยักษ์ ( Giant Blue Sapphire ) น้ำหนัก 6.3 กิโลกรัมมาเจียรนัย 950 ด้าน (หมายถึง รัชกาลที่ 9 ปีที่50 ) ถวายพระเจ้าอยู่หัว กองทัพไทยใช้งบของรัฐบาลสร้างคทาที่ทำจากทองคำหนัก 700 กรัมกับเพชรพลอย 518 เม็ดถวายในหลวง
ของขวัญที่อลังการมูลค่าสูงสุดจากนักธุรกิจเชื้อสายจีนที่รวยที่สุด นำโดยนายชาตรี โสภณพานิชแห่งธนาคากรุงเทพ และอำนวยการโดยพลเอกเปรม ได้ซื้อเพชรก้อนใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่าเพชรกาญจนาภิเษก หรือ Golden Jubilee โดยไม่เปิดเผยราคา หนัก 546 กะรัตจากอัฟริกาใต้
ใหญ่กว่าเพชรคุลลินัน Cullinan Star of Africa ของราชินีอังกฤษที่หนัก 530.2 กะรัต หรือ106 กรัม โดยได้นำเพชรนี้ไปเข้าพิธีปลุกเสกโดย พระสังฆราช จุฬาราชมนตรี และสันตปาปา จอห์น ปอลที่สองแห่งกรุงโรม
มีการใช้งบประมาณและเงินบริจาคราวสองร้อยล้านบาท ในการจัดทำเสื้อคลุมทองคำประดับอัญมณีชุดใหม่ ให้พระแก้วมรกต
ในปี 2539 รัฐบาลได้ถวายพระยานาคทองคำประดับอัญมณีหนัก 2.5 กิโลกรัมแด่พระเจ้าอยู่หัว พร้อมถวายพระราชสมัญญาให้ทรงเป็น พระบิดา แห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ
มีการจัดพิมพ์หนังสือโฆษณาความสำเร็จของโครงการพระราชดำริเรื่องน้ำหลายพันเล่มโดยแจกจ่ายไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โทรทัศน์เต็มไปด้วยสารคดี ทอล์คโชว์ และแม้กระทั่งเกมโชว์เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
วันที่ 7 มิถุนายน 2539 สถานีโทรทัศน์และวิทยุทุกสถานีได้ถ่ายทอดงานระดมทุนโครงการในพระราชดำริ นายกบรรหาร กับคุณหญิงแจ่มใส ประเดิมบริจาคก่อน 10 ล้านบาท
ในเช้าวันที่ 9 มิถุนายน ช้างแต่งเต็มยศ 25 เชือก บรรทุกคน 50 คน มายังวัดหลวงแห่งหนึ่งเพื่อบวชถวายแด่พระเจ้าอยู่หัว ในค่ำวันนั้น ก่อนที่จะมีการจุดพลุดอกไม้ไฟ ได้มีการจุดเทียนหนึ่งล้านเล่มที่ปลุกเสกโดยพระสังฆราชโดยถูกจุดพร้อมกันในฤกษ์ยามเวลา 19.19 น.
วังยังคงโหมการโฆษณาสร้างบารมีตามกำหนดการที่เต็มแน่นด้วยงานการกุศล การเยี่ยมชนบท งานกาล่าดินเนอร์ Gala Dinner (การรับประทานอาหารค่ำที่มีการแสดงพิเศษ) การเสด็จประพาส มีงานบอลล์ (งานรื่นเริงที่มีการเต้นรำ) นักเรียนหญิงนับพันถูกเกณฑ์มาที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อนั่งสมาธิหมู่ถวายเป็นพระราชกุศล โดยแต่งชุดขาวเหมือนแม่ชีและถือเทียน มีการจัดสร้างพระเครื่องในพระนามพระราชินีจำหน่ายเพื่อเก็บเงินถวาย
ในงานวันเฉลิมพระ ชนม พรรษาพระราชินีปี 2535 บรรดาเศรษฐีใต้พระบรมโพธิ สมภาร เช่น นายบรรยงค์ ล่ำซำ แห่งธนาคารกสิกรไทย นายประยุทธ มหากิจศิริ (เจ้าของเนสกาแฟและโรงงานเหล็กสเตนเลส) เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าสัวธนินทร์ เจียรวนนท์และพตท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างตึกสิริกิติ์หรือตึกส.ก.ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยตั้งตระหง่านทัดเทียมตึกภปร. สยามสมาคมได้ระดมเงินบริจาคสามสิบล้านบาท สร้างพระพุทธบาทขนาดใหญ่ทำจากทองคำหนัก 30 กิโลกรัมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้ว
พระราชินีมีพระประสงค์ให้เป็นที่รู้กันว่า พระองค์คือสมเด็จพระสุริโยทัยที่กลับชาติมาเกิด โดยที่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเออออไม่อยากขัดคอพระราชินี โครงการอ่างเก็บน้ำและป้องกันน้ำท่วมที่อยุธยา จึงได้รับพระราชทานนามว่าสวนศรีสุริโยทัย และได้พระราชทานสวนแห่งนี้แด่พระราชินี ในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาพระราชินี 60 ชันษา
กองทัพจัดแสดงละครพระศรีสุริโยทัย ด้วยแสงสีเสียงมโหฬาร ถวายพระราชินีสิริกิติ์ ที่จังหวัดอยุธยา รัฐบาลสร้างพระพุทธรูปสุริโยทัย ค่ายทหารแห่งใหม่ที่หัวหินก็ใช้ชื่อเดียวกัน ตำนานสมเด็จพระศรีสุริโยทัยได้รับการเผยแพร่ทั่วไป พระราชินีเสด็จเยือนบริเวณที่เชื่อว่าเป็นสมรภูมิเพื่อทำการบวงสรวง มีการตั้งอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ของพระสุริโยทัย บนหลังช้างและพระราชินีได้เสด็จมาเปิด
นักโฆษณาสถาบันกษัตริย์
นักสดุดีพระมหากษัตริย์รายแรก เป็นผู้ดูแลโครงการส่วนพระองค์ คือดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้พูดสดุดีพระราชกรณียกิจในการพัฒนาชนบท ความเพียรพยายาม เสียสละอุทิศพระองค์เอาชนะความยากจน
ในหนังสือเล่มใหญ่ชื่อ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช:ประทีปนำทางของประเทศไทย King Bhumibol Adulyadej : Thailand’s Guiding Light พิมพ์ในวาระพระราชพิธีกาญจนาภิเษก 2539 บรรยายว่า ในหลวงทรงตรากตรำทำงานหนักเพื่อเอาชนะพลังความโลภ ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างนายทุน นักการเมืองและข้าราชการ มีบทเทิดพระเกียรติให้ทรงเป็นนักสิ่งแวดล้อมมีพระปรีชาสามารถในการที่ทรงสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทรงมีประสิทธิภาพในการทรงงานมากกว่าระบบราชการ เพราะทรงมองปัญหาทั้งระบบ ความผาสุกของประชาชนไม่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นตัวชี้วัด ทรงเสนอแนวทางแก้ไขไว้นานแล้วแต่ว่าไม่มีใครสนใจ
ประชาพิจารณ์ก็ไม่จำเป็น เพราะทรงทำประชาพิจารณ์มา 30 ปีแล้ว จากการเสด็จเยี่ยมพสกนิกรทั่วประเทศ เท่ากับมีการปรึกษาหารืออย่างมากมาก่อนแล้ว จึงเป็นเหตุผลรองรับการสร้างเขื่อนป่าสักและเขื่อนท่าด่าน ทรงใช้เวลาหลายชั่วโมงหลายครั้งพูดคุยกับชาวบ้าน จึงเป็นประชาพิจารณ์ที่บริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติ คือประชาธิปไตยที่แท้จริง
นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ย้ำว่าพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีรัชกาลที่ 9 ทรงรักษาประเทศและสร้างความเจริญ โดยเสด็จไปทั่วประเทศทำความรู้จักพระราชอาณาจักรและพสกนิกรของพระองค์ ทรงเป็นนักอ่านแผนที่ตัวฉกาจ หลังจากเสด็จเยือนต่างประเทศ ก็ได้ทรงชี้แจงให้รัฐบาลเริ่มจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกปี 2504 ขึ้นมา (ซึ่งที่จริงได้ร่างขึ้นตามการชี้นำของธนาคารโลกกับที่ปรึกษาจากสหรัฐฯ ก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก)
ทรงมีวินัยในพระองค์เองอย่างเข้มงวด ตอนที่พระองค์ผนวช ได้ทรงศึกษาธรรมอย่างลึกซึ้ง เข้าใจความจริงของชีวิต ทรงไม่มีอัตตา ทรงไม่หลงตัวเองทรงปล่อยวางไม่ยึดติดโดยสิ้นเชิง ทำเพื่อประโยชน์ของชุมชนและส่วนรวมเท่านั้น อาจมีแต่จักรพรรดิญี่ปุ่นเท่านั้นที่ได้รับการเทิดทูนจากประชาชนมากกว่านี้ แต่จักรพรรดิญี่ปุ่นประทับอยู่แต่ในวัง ต่างจากพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงใกล้ชิดกับประชาชนของพระองค์
ถึงแม้จะไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ คนก็ยังรู้ว่าเรามีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นที่รักของคนทั้งชาติ ทรงเป็นของแท้ที่ไม่มีวันผิดพลาด จากประสบการณ์ทางการเมืองที่มีต่อเนื่องยาวนานทำให้ทรงต้องเข้ามาแทรกแซงการเมืองบ่อยครั้ง เพราะทรงรับรู้ข้อมูลเป็นอย่างดีและทรงใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ ในฐานะกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ อำนาจถูกถวายให้เป็นของพระมหากษัตริย์ด้วยเจตจำนงของประชาชน
การแทรกแซงของในหลวงภูมิพล เกิดจากการร้องขอจากประชาชน โดยทรงทราบจังหวะเวลาเหมาะสมและประเทศชาติไม่สามารถทนต่อสถานการณ์ได้อีกต่อไป แล้วพระองค์ก็จะทรงลงมาแก้วิกฤตทั้งหมด สิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติ สาธารณชนก็ได้เห็นโดยทั่วกัน แม้ไม่ได้เป็นการตรวจสอบในทางกฎหมาย แต่เป็นความโปร่งใส ( คงเป็นความโปร่งใสที่ตรวจสอบไม่ได้และห้ามตรวจสอบโดยเด็ดขาด ) พระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปฏิบัติพระภารกิจมายาวนานที่สุด ทรงเป็นนักการเมืองที่ปฏิบัติหน้าที่มายาวนานที่สุด
รัฐบาลมาแล้วก็ไป ผบ.ทบ. มาแล้วก็ไป ไม่เหมือนกษัตริย์ภูมิพล ที่อยู่อย่างยั่งยืนถาวรตลอดมา กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในวิสัยปกติของพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากพระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติพระราชกรณียกิจเหล่านี้ เพื่อประโยชน์อันยั่งยืนของประชาชนไทย .. คนไทยทั่วไปจึงเต็มใจมอบความเชื่อมั่นต่อพระองค์ อย่างที่ไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ของเราหรือของทั้งโลกทรงเคยได้รับมาก่อน.. ทรงเป็นเหมือนไฟส่องนำทางสำหรับประชาชนในความมืด
ส่วนนักอธิบายความรายที่สาม ก็คือพระเจ้า อยู่หัว เอง ทรงมีคำอธิบาย ยุคสมัยรัชกาล ของพระองค์ หลายครั้งที่แตกต่างกันสำหรับกลุ่มผู้ฟังที่ต่างกัน พระนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ A Man Called Intrepid ของวิลเลียมสตีเวนสัน William Stevenson นักข่าวกรองชาวแคนาดาที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของฝ่ายพันธมิตร อ้างว่าเป็นเรื่องจริง ที่เขียนยกย่องตนเองเป็นวีรบุรุษที่เสี่ยงชีวิตปฏิบัติราชการลับเพื่อประเทศชาติ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องที่เกินจริงและคลาดเคลื่อนมาก แต่ในหลวงก็ทรงแปล เพราะมีพระประสงค์ให้ผู้อ่าน มองคนที่ทำงานหนักโดยไม่หวังผลตอบแทน เหมือนที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติ ทรงเล่าว่า ประธานาธิบดีรูสเวลท์ Roosevelt ของวอชิงตัน กับนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลและพระเจ้าจอร์จที่หกของลอนดอน ต้องแอบปราบพวกนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่ต่อต้านการลุกขึ้นต่อสู้กับพวกนาซี
นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลขาดอำนาจจากสภาจึงต้องอาศัยอำนาจจากกษัตริย์ ซึ่งเป็นอำนาจที่สูงกว่าที่เข้ามาแทรกแซงได้ในช่วงที่เกิดวิกฤต จึงมีการจัดสรรงบประมาณให้วัง นำมาใช้สนับสนุนผู้ทำราชการลับเพื่อปกป้องชาติ แบบลับๆ โดยกษัตริย์ต้องเก็บให้เป็นความลับจากประชาชน และต้องมีผู้นำพิเศษที่สูงกว่าผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่เสียสละอุทิศตนเมื่อเกิดปัญหาทางการเมือง โดยอ้างการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรอง และสืบราชการลับของอังกฤษ ที่ต้องได้รับการเห็นชอบจากกษัตริย์ ระบบพิเศษของอังกฤษนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำคัญของกษัตริย์ต่อความมั่นคงของชาติ พระราชนิพนธ์งานแปลนี้ได้รับการตีพิมพ์ในปี 2536 ถึง 100,000 เล่ม เป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น
นายกอานันท์ ปันยารชุน ได้ย้ายบรรดานายพลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬไปไว้ในตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจ บรรดานักเขียนและปัญญาชนพากัน ถวายราชสดุดีแด่พระเจ้าอยู่หัวให้เป็นยอดวีรกษัตริย์ผู้ทรงพระอัจฉริยะเหนือการเมืองและความขัดแย้ง
ทรงสามารถไกล่เกลี่ยแก้สถานการณ์วิกฤตได้เป็นอย่างดีไม่มีที่ติ ด้วยการที่ทรงลดคุณค่าของเหตุการณ์ทั้งหมด ให้เป็นเพียงการขัดแย้งต่อสู้กันส่วนตัว ระหว่างคนมักใหญ่ใฝ่สูงสองคนแล้วก็ทรงสั่งยุติการต่อสู้เรียกร้อง ทรงหลีกเลี่ยงการประณามกองทัพที่เป็นเสมือนกองกำลังส่วนพระองค์ และยังทรงหลีกเลี่ยงประเด็นหลักจริงๆ คือเรื่องรัฐธรรมนูญอีกด้วย
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงบ่อนทำลายพัฒนาการของสถาบันอื่นๆ มาโดยตลอด โดยทรงมองว่า สถาบันทางการเมืองเป็นคู่แข่งบารมีกับพระองค์ แทนที่ทรงมองว่าสถาบันทางการเมืองช่วยให้สถาบันพระมหากษัตริย์รอดจากความขัดแย้ง การแทรกแซงการเมืองของในหลวง ยิ่งเป็นการซ้ำเติมเสถียรภาพของรัฐบาลและรัฐสภา ในหลวงทรงสรรหารัฐบาลเองโดยที่ทรงมีอคติต่อนักการเมือง ทรงมีความคิดล้าหลังทั้งๆที่มีนักการเมืองที่ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างพลตรีจำลองและนายกชาติชาย
แต่ในหลวงก็ยังทรงยึดมั่นเหนียวแน่นอยู่กับบรรดาเหล่านายพลของพระองค์ ซึ่งเป็นพวกทหารที่ทุจริตละโมบมักใหญ่ใฝ่สูงอย่างพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และ พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งล้วนผงาดขึ้นมาภายใต้บารมีของพลเอกเปรมผู้เป็นขุนพลคู่พระบารมี พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินียังทรงโปรดปรานพวกนายทหารทุจริตเหล่านี้มากกว่าพวกนักการเมืองมือสะอาดเสียด้วยซ้ำ เมื่อในหลวงภูมิพลทรงแสดงความโปรดปรานต่อทหารในเดือนธันวาคม 2533 ได้ทำให้พลเอกสุจินดามีข้ออ้างที่จะทำการยึดอำนาจ
บรรดาองครักษ์พิทักษ์เจ้ามักจะช่วยแก้ตัวว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่มีทางเลือก ต้องยอมรับการยึดอำนาจของรสช.ขณะเดียวกันก็ยังยืนยันว่า มันเป็นการรัฐประหารที่ประชาชนสนับสนุนซึ่งเป็นผลจากการกล่าวหาโจมตีของพระเจ้าอยู่หัวเอง ขณะที่ทรงเพิกเฉย ปฏิเสธการใช้พระราชอำนาจยุบสภาและกำหนดการเลือกตั้งใหม่ เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมือง อีกทั้งยังทรงเงียบเฉยต่อการเตรียมแผนไพรีพินาศ และการสั่งเปลี่ยนเส้นทางขบวนเสด็จของฟ้าหญิงสิรินธรเพื่อให้ร้ายฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตย
ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อของพวกรับใช้เจ้า อย่างนายปีย์ มาลากุล เพื่อกล่าวหาโจมตีกลุ่มของพลตรีจำลอง ในหลวงทรงมอบหมายให้พลเอกเปรมและองคมนตรีคนอื่นๆ ให้ติดตามสถานการณ์ โดยสื่อสารกับ รสช.รวมทั้งกลุ่มอื่นๆและคอยรายงานต่อพระองค์ จึงทรงรับรู้สถานการณ์เป็นอย่างดี
แต่ในหลวงทรงรักกองทัพมากกว่าประชาชน โดยทรงกล่าวโทษพลตรีจำลองเป็นส่วนใหญ่ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 พลตรีจำลองถูกตำหนิที่ไม่ฟังคำชี้แนะเรื่องรัฐธรรมนูญที่ทรงตรัสในเดือนธันวาคม แต่พลเอกสุจินดากลับได้รับคำชมจากในหลวง ที่ยอมตกลงว่าการแก้รัฐธรรมนูญทำได้ ทั้งๆที่พวกทหารได้ปิดทางแก้ไขแล้วและพลเอกสุจินดายังตระบัดสัตย์เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ในหลวงทรงปกป้องไม่ยอมรับว่ากองทัพไทยมีปัญหาใหญ่หลวงเชิงหลักการ แต่กลับทรงเล่นงานผู้ที่วิจารณ์กองทัพ ว่าไร้ความสามารถแต่เต็มไปด้วยนายพล ในเดือนธันวาคม 2535 พระเจ้าอยู่หัวทรงโทษพลตรีจำลอง พลเอกชวลิตและผู้ประท้วงอีกครั้ง โดยทรงเล่าความเรื่องเด็กคนที่กำลังเผชิญปัญหา แต่กลับไปยั่วยุช้างจนโกรธ หมายถึงขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย ที่หาเรื่องไปแหย่ทหารที่อยู่ดีๆ จนเกิดปัญหาใหญ่โต ในหลวงยังทรงปฏิเสธข้อสรุปของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่ว่า ความวุ่นวายเกิดขึ้นจากระบบการเมืองที่ไม่พัฒนา ต้องพึ่งพาสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพมากเกินไป
ผลการเลือกตั้งเดือนกันยายน 2535 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรสช.ได้รับชัยชนะจัดตั้งรัฐบาล นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ของนายชวน และพรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิต พระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มตำหนิรัฐบาลนาย ชวน ว่าทำงานผิดพลาดและเห็นแก่ตัว หลังการแก่งแย่งตำแหน่งกันกลางปี 2536 โดยมีพลเอกชวลิตเป็นหัวหน้าทีม
ได้รับสั่งแกนนำรัฐบาล ให้หยุดกัดกันเอง พูดอย่างนี้ก็คงพอเข้าใจว่าหมายถึงอะไร ไม่ใช่หมายถึงเรื่องอะไร…. ท่านถึงหัวเราะ หัวร่อหมายถึงท่านเองก็รู้ ว่าการเถียงกันอย่างข้างๆ คูๆ นี้ไม่ดี เดี๋ยวนี้ข้างคู ทำคูแล้ว ก็ต้องระบายน้ำออก เพราะถ้าขุดคูกลางถนนมันก็ไปไม่ได้ ไม่ถูก อันนี้ก็คงพอเข้าใจ ไม่ต้องพูดให้ยืดยาวเกินไป แต่ว่า ความสามัคคีหรือความปรองดองนั้น ก็ให้เหตุว่า อันไหนควรจะพูด อันไหนไม่ควรจะพูด พูดไปแล้วให้ยอมรับว่าพูดอย่างนั้น ไม่ถูกก็บอกว่าไม่ถูก ไม่ต้องมาหัวชนฝาว่าถูกๆๆ ลงท้าย ตัวเองก็รู้ว่าไม่ถูก…
ในหลวงยังทรงแทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยพลเอกเปรมคอยจัดการ การชนะเลือกตั้งของนายชวนในปี 2535 ทำให้นายชวนต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่วุฒิสภายังเต็มไปด้วยคนของรสช. เมื่อรัฐบาลนายชวนยืนยันแก้ไขรัฐธรรมนูญ พวกปีกขวาก็ออกมาข่มขู่แบบปี 2519 กล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองที่รัชกาลที่ห้าได้ทรงวางหลักเอาไว้
เป็นการ แสดงว่า สส. สามารถเป็นตัวแทนของประชา ชนได้ดีกว่าพระเจ้า อยู่หัว ทั้งๆที่สส.ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นสกปรกและทุจริตคอรัปชั่น ขณะที่การรัฐประหารยึดอำนาจเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มอภิรักษ์จักรีประกาศว่า ประเทศไทยต้องไม่ทิ้งระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ต้องไม่เป็นเหมือนสหรัฐฯ ฝรั่งเศส หรือประเทศคอมมิวนิสต์ ราชวงศ์จักรีไม่ใช่ไดโนเสาร์
เดือนธันวาคมรัฐบาลนายชวนได้ยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญชนิดที่อ่อนลงมา พลเอกชวลิตถอนพรรคจากการร่วมรัฐบาล โดยหวังว่ารัฐบาลคงจะล้ม และตนเองจะได้เป็นนายกฯคนต่อไปพร้อมด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ แต่พลเอกเปรมได้เกลี้ยกล่อมพลเอกชาติชายหัวหน้าพรรรคชาติพัฒนาให้เข้าร่วมรัฐบาลนายชวน และให้วุฒิสมาชิกสายทหารหันมาลงคะแนนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลนายชวนซึ่งเป็นเพียงประเด็นปลีกย่อย แสดงให้เห็นว่าวังไม่ไว้ใจพลเอกชวลิตมากกว่านายชวนเสียอีก
ในหลวงทรงเชื่อว่า จีน พม่าและเวียตนามคิดยึดครองไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะเวียตนาม ได้แผ่อิทธิพลครอบงำลาวและกัมพูชา จึงเป็นภัยคุกคามต่อราชอาณาจักรไทย ทรงแสดงออกในเรื่องนี้เป็นประจำ ต่อนักการทูตและนักวิชาการต่างประเทศ รวมทั้งผู้นำทหารของไทย
สมัยนั้นกองทัพไทยเป็นผู้กำหนดนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยคงความสัมพันธ์ร่วมมือกันอย่างดีกับ รัฐบาลทหารสล้อค Slorc ของพม่า
และสนับสนุนกองกำลังของเขมรแดงที่เคยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลฮุนเซนที่ได้รับการหนุนหลังจากเวียตนาม ความสัมพันธ์ที่ไม่จริงใจต่อประเทศเพื่อนบ้านเช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยเลย มีแต่พวกทหารระดับสูงของไทยไม่กี่คนที่ได้กอบโกยเงินหลายพันล้านบาทจากการตัดไม้ ขุดแร่อัญมณีและธุรกิจอื่นๆ ร่วมกับรัฐบาลทหารสล้อคของพม่าและกองกำลังเขมรแดง
เดือนกุมภาพันธ์ 2536 ผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ 8 คน มาเยือนประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดของพม่า
ในหลวงภูมิพลมีพระบรมราโชวาทแก่พวกเขาว่า อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ลูกสาวของนายพลอองซาน วีรบุรุษกู้อิสรภาพของพม่า ควรจะเลิกต่อสู้และกลับไปเลี้ยงลูกที่อังกฤษเสีย แล้วปล่อยให้สล้อคหรือรัฐบาลทหารพม่า ปกครองประเทศไป รัฐบาลทหารเหมาะกับประเทศกำลังพัฒนา
ทรงยืนยันว่าไม่ควรสนับสนุนฝ่ายค้านของพม่า ซูจีเป็นแค่ตัวสร้างปัญหา และยังได้ทรงชักชวนนักการทูตอเมริกันและนักวิชาการต่างชาติให้ยอมรับรัฐบาลทหารพม่า ว่าเป็นผู้สร้างเสถียรภาพแก่พม่า ทรงมีพระราชดำรัสไม่ต่างจากรัฐบาลทหารพม่าว่า ซูจีแต่งงานกับฝรั่ง นายไมเคิ้ล แอริส (Michael Aris) และร่ำเรียนที่เมืองนอก เธอไม่ได้เป็นตัวแทนคุณค่าดั้งเดิมของพม่า เธอควรกลับไปอยู่กับครอบครัวที่อังกฤษ
แต่นโยบายของรัฐบาลนายชวนที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งได้ให้การสนับสนุนขบวนการ เรียกร้องประชาธิปไตย ของอองซาน ซูจี และรัฐบาลนายชวนได้ร่วมกับนานาชาติสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของอองซานซูจี
และได้สั่งกองทัพไทย ตัดความสัมพันธ์กับเขมรแดง เพื่อนำนายพอลพตผู้นำเขมรแดง เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตามแรงกดดันของนานาชาติ ขณะที่สหประชาชาติกำลังเตรียมการเลือกตั้งในกัมพูชา และเขมรแดงก็ข่มขู่จะขัดขวางการเลือกตั้ง แต่กองทัพไทยปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงท่าทีทั้งสองกรณี คือ กองทัพไทยยังคงทำธุรกิจกับคณะรัฐบาลทหารพม่าต่อไป ขณะที่เขมรแดงยังปฏิบัติการโจมตีจากฐานที่มั่นในฝั่งไทยก่อนถึงวันเลือกตั้งในกัมพูชา ทำให้นานาชาติพากันประณามรัฐบาลไทย รัฐบาลนายชวนปฏิเสธว่า มันไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล
แต่พระเจ้า อยู่หัว ทรง ปกป้องกองทัพ ทรงกล่าวกับนักการทูตไทยว่า ประเทศไทยควรให้ความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน เช่นพวกเขมรแดง และไม่ควรใส่ใจกับตำรวจโลก ซึ่งทรงหมายถึงสหรัฐอเมริกา ทรงตรัสว่า พม่ากำลังถูกปฏิบัติเหมือนเป็นสิ่งปฏิกูล หากเราผูกมิตรกับคนอย่างนี้ ตำรวจก็ต้องจับเรา ดังนั้นเมื่อเราช่วยพม่า หรือติดต่อสัมพันธ์กับพม่า ประชาคมโลกก็จะปฏิบัติต่อเราเหมือนคนเลวไปด้วย...
หากเรายึดตามแนวคิดตะวันตก และเฮโลตามไปกับเขาด้วย โดยบอกว่าพม่าเลว เราก็จะมีเพื่อนบ้าน อย่างบอสเนีย - เฮอร์เซโกวินา ( Bosnia and Herzegovina ) ที่เกิดสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ภายในประเทศ
และยังตรัสว่า เขมรแดงควรมีส่วนแบ่งในอำนาจ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่แบบที่พวกยุโรปได้สร้างขึ้นที่บอสเนีย ที่เราต้องการให้เกิดน้อยที่สุด คือการที่กำลังของสหประชาชาติมาใช้ดินแดนของไทยเพื่อแทรกแซงทางการทหารในพม่า
กองทัพไทยยังคง ร่วมมือกับรัฐบาลทหารของพม่า และพวกเขมรแดงของพอลพตต่อไป ด้วยการสนับสนุนให้ท้ายของพระเจ้าอยู่หัว เดือนพฤษภาคม 2537
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยนายมอร์ตัน อับบราโมวิทช์ Morton Abramovitz ได้วิจารณ์ในหลวงภูมิพลในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ Washington Post ว่าไทยบ่อนทำลายเพื่อนบ้านและขัดขวางประชาคมโลก จะทำให้เกิดแรงกดดันต่อกองทัพ รวมถึงคนระดับสูงและพระมหากษัตริย์
การกล่าวพาดพิงถึงในหลวงไม่น่าจะเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะพระองค์ก็ได้ทรงประพฤติตามที่ถูกพาดพิงจริงๆ แต่อาจเป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ทำให้บางคนต้องแสดงอาการเดือดดาลเพื่อแสดงความจงรักภักดีโดยกล่าวหานายอับ บราโมวิทซ์ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและเรียกร้องให้เนรเทศออกนอกประเทศ ขณะที่กองบัญชาการทหารสูงสุดปฏิเสธว่ากองทัพไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเขมรแดง และแก้ตัวแทนพระเจ้าอยู่หัวว่าไม่ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่กระทรวงต่างประเทศของไทยออกแถลงการณ์เห็นด้วยกับอเมริกาทำให้เกิดแรงกดดันต่อกองทัพจนต้องถอนการสนับสนุนเขมรแดงตลอดปีต่อมา เป็นการตัดกำลังเขมรแดงที่สำคัญ
การแทรกแซงอีกอย่างหนึ่งของพระเจ้าอยู่หัวก็คือ การที่ทรงรื้อฟื้นโทษประหารชีวิต จากเดิมที่ นักโทษประหารแต่ละรายมีสิทธิถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษจากพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่ทรงดึงฎีกาไว้และยืดการประหารออกไป และก็จะพระราชทานลดโทษ มีน้อยครั้งมากที่จะทรงปล่อยให้มีการประหารชีวิตด้วยการคืนฎีกาคำร้องกลับไป ทำให้พระองค์ทรงมีภาพลักษณ์ของพระผู้ทรงพระเมตตามหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
แต่ประ เทศ ไทยก็ยังคงมีปัญหาอาชญา กรรมที่รุนแรง ซึ่งพระองค์ไม่เคยได้สนพระทัยในเรื่องนี้เลย ทรงอ้างหลักพุทธศาสนาว่าเป็นแค่บาปเฉพาะตัวของอาชญากร แต่ในปี 2538 มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นกรณีฆ่าคนตายและค้ายาเสพติดโดยในหลวงทรงปฏิเสธฎีกา และได้สร้างบรรทัดฐานแก่กระบวนการยุติธรรมโดยทั่วไป มีการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง คล้ายยุคเผด็จการสฤษดิ์
พระเจ้า อยู่หัว ภูมิพลทรง แสดงบทบาททาง โทรทัศน์บ่อยขึ้น มีพระบรมราโชวาทแก้ปัญหาจราจรแก่กทม. และตำรวจ ให้จัดการเดินรถทางเดียว โทรทัศน์แพร่ภาพข้าราชการนั่งพับเพียบฟังกระแสรับสั่งที่ทรงชี้บนแผนที่ตรงนั้นตรงนี้ ทั้งๆที่มีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศทำงานกันอยู่แล้ว
ภาพที่ปรากฏจึงเหมือนกับว่า มีแต่ พระเจ้า อยู่หัวเท่านั้นที่ทรงกำลังแก้ปัญหานี้ เดือนตุลาคม 2536 ในหลวงทรงมอบหมายงานให้อธิบดีกรมตำรวจเป็นรายการยาวเหยียด เช่น สร้างอุโมงค์ลอดทางแยก 23 แห่ง เพิ่มการขนส่งทางเรือ จัดหารถจักรยานยนต์ตำรวจ ปรับปรุงเฮลิค็อปเตอร์ตำรวจ ทรงสั่งการให้กทม. ทำตามแผนแม่บท ที่จัดทำโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสสาจูเซท หรือเอมไอที Massachusetts Institute of Technology
ทรงแสดงความไม่สบพระอารมณ์ เพราะมีคนมองว่าขบวนรถเสด็จของพระองค์ทำให้รถติด แต่มีการปล่อยข่าวว่าทรงแอบขับรถออกมาตอนรถติด และทรงสำรวจการจราจรบนเฮลิค็อปเตอร์ รวมทั้งรับสั่งพระโอรสพระธิดาไม่ให้ใช้ขบวนรถ ให้ทนสภาพรถติดเหมือนคนอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย ทรงพระราชทานเงินเก้าสิบล้านบาทเพื่อซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ตำรวจจราจร โดยโหมโฆษณาว่า เป็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาจราจรให้ได้
เดือนธันวาคม 2537 ทรงตรัสว่า เราต้องแก้ไขต้นทางไปปลายทางหมายความว่า จัดให้ต้นทางกับปลายทางอยู่ในระยะที่ใกล้ขึ้น ถ้าใกล้ขึ้นแล้ว การใช้ถนนก็จะน้อยลง การใช้ถนน จำนวนของถนนหรือความยาวของถนนที่ถูกใช้นั้นก็น้อยลง ก็เท่ากับถนนมีมากขึ้น และรถน้อยลง หมายความว่าให้บ้านและที่ทำงานอยู่ใกล้กัน ซึ่งฟังดูดีแต่ไม่ได้มีความหมาย เพราะส่วนใหญ่ซ้ำซ้อนกับสิ่งที่กำลังทำกันอยู่แล้ว ทรงให้ทำอุโมงค์ลอดทางแยกหลายแห่งขณะที่ทรงคัดค้านการขึ้นภาษีรถยนต์ แต่พระองค์ไม่เคยตรัสถึงปัญหาหลัก เช่นการก่อสร้างที่ไร้การวางผังควบคุม ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดี การเพิ่มจำนวนรถอย่างรวดเร็ว การที่ทรงนำเสนอสู่สาธารณะ ก็เพียงเพื่อเอาความดีความชอบเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
ต้นปี 2538 ทรงวิตกอาการประชวรของพระราชชนนี แต่ในหลวงเอง ก็หวุดหวิดแทบพระทัยวายต้องเสด็จรับการผ่าตัดขยายหลอดเลือดพระหทัย ในช่วงประทับโรงพยาบาลศิริราชกลับทรงปรากฏพระองค์ทางโทรทัศน์รับสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าเฝ้าในช่วงค่ำ และหลังเที่ยงคืน ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าพระองค์ทรงงานแก้ไขปัญหาทั้งวันทั้งคืน แต่มีน้อยคนที่รู้ว่าในหลวงมักจะบรรทมตอนเช้า และทำงานเฉพาะช่วงบ่ายและกลางคืน พระองค์บรรทมดึกและตื่นราวๆเที่ยงวัน
13 กรกฎาคม 2538 พรรคประชาธิปัตย์ถูกมรสุมเรื่องทุจริตสปก.4-01 และการอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาลนายชวนถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลผสม ที่นำโดยนายบรรหาร ศิลปอาชา โดยมีพรรคร่วมรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช พลเอกชวลิตและเศรษฐีรุ่นใหม่ พตท.ทักษิณ ชินวัตร
ในหลวงทรงออกหน้าจอโทรทัศน์ มีพระสุรเสียงที่หงุดหงิดต่อว่าเจ้าหน้าที่ กระทั่งพระราชชนนีสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 จึงได้เสด็จงานพระบรมศพเป็นเวลาหลายเดือนเกือบทุกวัน แต่ในเวลาที่พระสวดพระอภิธรรม จะเห็นในหลวงทรงศึกษารายงานการจราจรและร่วมประชุมอย่างคร่ำเครียดกับเจ้าหน้าที่ ทรงโปรดเกล้าฯให้นายกบรรหารเข้าเฝ้า 90 นาที เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาการจราจร
ขณะที่รองนายก รัฐมนตรี สมัคร กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ขัดแย้งกันเรื่องการแก้ปัญหาจราจร ในหลวงได้ช่องตำหนิรองนายกรัฐมนตรีทั้งสองคนว่าแก้ไขปัญหาจราจรไม่ได้เลยว่า ระหว่างสองฝ่าย มีแต่พูดพูดพูด และก็เถียงเถียงเถียง เป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ นายกบรรหารประกาศน้อมใส่เกล้าฯประสานรองนายกฯทั้งสอง โดยสี่วันต่อมาพวกเขาเข้าเฝ้าฯเป็นเวลาหลายชั่วโมง ไล่ดูแผนที่กรุงเทพฯ ลงรายละเอียดแต่ละพื้นที่ พตท.ทักษิณกล่าวยอมรับอย่างสิ้นสภาพว่าไม่เคยคิดในสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงให้การแนะนำมาก่อนเลย
พระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความเกรี้ยวกราด เหยียดหยามนักการเมืองว่าเป็นพวกไร้ความสามารถและไม่ใส่ใจประชาชน ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาและออกจะไม่งาม โดยทรงอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญในฐานะพลเมืองที่จะตำหนิผู้นำ มีพระราชดำรัสว่า..ที่พูดอย่างนี้ก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะเกือบจะเป็นการพูดเรื่องการเมือง และพวกเขาก็อาจไม่พอใจได้ว่า ทำไมกษัตริย์พูดเรื่องการเมือง ในความเป็นจริง กษัตริย์ก็มีสิทธิ ในความเป็นจริง กษัตริย์ก็เป็นพลเมืองไทยที่มีสิทธิและเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญ... ตามรัฐธรรมนูญ ทุกๆ คนมีสิทธิและเสรีภาพที่จะพูด ก็เลยขอใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่จะพูดอย่างนี้ ถ้าพวกเขาอยากจะหาความผิดทางกฎหมาย ก็เชิญ อยากได้ยินข้อหา .. เมื่อเสด็จเข้าโรงพยาบาลอีกครั้งเพื่อรักษาแผลที่กำเริบจากการผ่าตัด ผู้คนพากันพูดว่านายกบรรหารทำให้พระอาการโรคพระหทัยของพระองค์กำเริบ
ต้นเดือนกันยายน 2538 กรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วมหนัก พระเจ้า อยู่หัวที่ยังทรง อ่อน ระโหยจากการผ่าตัดได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าหน้าที่ กทม. และกรมชลประทานเข้าเฝ้าเป็นเวลาสามชั่วโมงซึ่งได้รับการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ ทรงชี้ไปที่แผนที่ที่กองเป็นตั้ง ทรงอยากรู้ว่าทำไมคนที่อยู่ชานกรุงเทพฯ จึงไม่ได้รับการป้องกันจากภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นโวหารที่ทรงสรรหาถ้อยคำมาเชือดเฉือนบ่อนทำลายรัฐบาลและนักการเมืองที่พระองค์ทรงปฏิบัติมาโดยตลอด
นายทุนใหม่ พันธมิตรใหม่ของวัง
ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจได้ทำให้มีนายทุนใหม่ๆที่มาจากสามัญชน กษัตริย์ในอดีตมักจะทรงสร้างความผูกพันธ์ความจงรักภักดีกับบรรดามหาเศรษฐีโดยใช้การแต่งงานและการลงทุนร่วมกัน แต่รัชกาลที่ 9 ทรงขาดแคลนพระโอรสและพระธิดา วังจึงต้องสร้างพันธมิตรกับพวกเศรษฐีใหม่ โดยการส่งตัวแทนเข้าไปร่วมบริหาร เช่น มหาเศรษฐีใหม่สองคน คือ
นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมาและนายธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพีที่มีทั้งธุรกิจการเกษตร การค้าปลีกและธุรกิจโทรคมนาคม มหาเศรษฐีทั้งทั้งสองคนจ่ายเงินให้นักการเมือง นายทหารและข้าราชการ สร้างความร่ำรวยหลายหมื่นล้านบาท
โดยได้เชิญ ตัวแทนของพระเจ้า อยู่หัวเข้าไปเป็นผู้ บริหารเพื่อแสดง ว่ามีผล ประโยชน์ร่วมกัน คือพลเอกเปรม และพล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลาเป็นกรรมการของบริษัทในเครือซีพี มีเงินเดือนสูง
พลเอกเปรมเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของเครือโรงแรมอิมพีเรียลหรือพลาซ่าเอทินี ( Plaza Ethenee Royal Bangkok) ของเสี่ยเจริญ มรว.สฤษดิคุณ กิติยากร ลูกพี่ลูกน้องของพระราชินีก็ได้เป็นประธานบริหารโรงแรม มรว. อดุลกิติ์ กิติยากร พี่ชายของพระราชินีและเป็นองคมนตรีได้เป็นประธานบริษัทเบียร์ช้างที่ตั้งขึ้นใหม่ เสี่ยเจริญกับภรรยาคือคุณวรรณาได้รับเครื่องราชฯชั้นสูงได้เป็นคุณหญิงในช่วงนั้นเอง
เสี่ยเจริญเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารมหานคร First Bangkok City Bank สำนักงานทรัพย์สินได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้นคราวเดียวถึง 15 เปอร์เซ็นต์ในปี 2539
วังได้สร้างสายสัมพันธ์กับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยให้พลเอกเปรม ซึ่งเป็นตัวแทนพระเจ้าอยู่หัวไปเป็นประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทกฤษดา มหานครที่ทำหมู่บ้านจัดสรรค์
เป็นประธานสายการบินพีบีแอร์ ที่ก่อตั้งโดย ดร. ปิยะ ภิรมย์ภักดี ประธานบริหาร บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่เจ้าของเบียร์สิงห์ โดยมีองคมนตรีอื่นๆนั่งเป็นกรรมการตามบริษัทต่างๆ ซึ่งมีรายได้ดี และทำให้มีความอุ่นใจได้ว่าธุรกิจพวกนั้นจะต้องเชื่อฟังวังและสนับสนุนพระราชกรณียกิจของวังอย่างเต็มที่ตลอดไป
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ระดมเอาบรรดามหาเศรษฐีใหม่เข้าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ด้วยเงินทุนมากมายและที่ดินอีกมหาศาลที่มีอยู่ รวมทั้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯเข้ามาร่วมด้วย โครงการต่างๆ เช่น โรงแรมหรูย่านราชประสงค์ เพรสิเด้นท์โกลเด้นแลนด์กรุ๊ป President-Golden Land group ของครอบครัวศรีวิกรม์
ร่วมกับนายปิ่น จักกะพาก พ่อมดทางการเงินแห่งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจ Finance One จับมือกับเครือแสนสิริพร็อพเพอร์ตี้กรุ๊ปทำโครงการหมู่บ้านจัดสรรค์ของตระกูลล่ำซำ กับจูตระกูล นายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของบริษัทค้าบ้านและที่ดินแลนด์แอนด์เฮ้าส์ลงทุนกับสยามสินธรซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และสำนักงานทรัพย์สิน
มีการลงทุนในธุรกิจด้านการศึกษาโดยสถาบันการศึกษาเอกชนร่วมกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ เช่น โรงเรียนมัธยมแฮโรว์ Harrow ของอังกฤษ วิทยาลัยดัลวิค Dulwich College ของลอนดอน และ โรงเรียนภาษาจีลอง Geelong Grammar School ที่ดอยตุง โรงเรียนเหล่านี้เป็นทั้งธุรกิจที่จะสร้างผลกำไรและเป็นหลักประกันว่าลูกหลานของพวกเขาเหล่านั้นจะได้รับการอบรมสั่งสอนในกรอบความคิดของวังและมีความยึดมั่นจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรี
มีการโหมโฆษณาสถาบันพระมหากษัตริย์ทางสื่อมวลชนอย่างมโหฬารตลอดเวลา โดยใช้เงินหลายพันล้านบาทยกย่องสรรเสริญสดุดีราชวงศ์จักรี ให้เข้ากับบรรยากาศของสื่อยุคใหม่ โดยใช้ทีมงานที่มีประสบการณ์ที่นำโดยนายปีย์ มาลากุล เจ้าของบริษัทแปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่นมีเดียกรุ๊ป Pacific Communications media groupที่ผลิตนิตยสารดิฉัน ของผู้หญิงชั้นนำ รวมทั้งสถานีวิทยุข่าวสารจราจร จส.100
และ ผลิตรายการให้สถานีโทรทัศน์โดยเฉพาะช่อง 5 ของทหาร ซึ่งมีพล.อ.แป้ง มาลากุล น้องชายของนายปีย์เป็นผู้อำนวยการสถานีช่วงปี 2538-2542
โดยได้รับการสนับสนุนจากทีมงานและมีเงินสนับสนุนมากมายจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและการบินไทย อาจารย์ธงทอง จันทรางศุ รวมทั้งพวกคลั่งเจ้ารุ่นใหม่ ที่เป็นโฆษกบรรยายงานพระราชพิธีต่างๆ
ทีมงานของวังได้ปรับโฉม งานสดุดีพระมหากษัตริย์ ให้โดดเด่นด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยขึ้น ให้เป็นภาพที่มีสีสันแบบฮอลลีวูด พร้อมดนตรีที่หรูหราทันสมัยกว่าเดิม ภาพยนตร์สารคดีพระราชกรณียกิจถูกนำออกอากาศเป็นชุดทางโทรทัศน์ ภาพยนต์การทรงดนตรีขององค์คีตะราชัน เข้าฉายในโรงภาพยนต์และเกณฑ์ให้เด็กนักเรียนมาดูกันเป็นคันรถบัส ให้พวกศิลปินเรียบเรียงเสียงประสานระดมกันปรับแต่งเพลงพระราชนิพนธ์ให้เป็นงานออเคสตราที่ยิ่งใหญ่อลังการ มีการจัดการแสดงละครหลากหลายรูปแบบเทิดพระเกียรติพระราชวงศ์ อาจารย์ธงทองบรรจงแต่งละครเรื่องแผ่นดินนี้มีกำลัง แสดงโดยกองทัพเรือ เทิดทูนกษัตริย์ยุคต้นรัตนโกสินทร์
การผลิตสื่อเพื่อโฆษณาสถาบันพระมหากษัตริย์นี้ต้องใช้เงินมหาศาล นอกจากใช้งบประมาณของรัฐบาลแล้ว บริษัทใหญ่ๆของพวกเศรษฐีใหม่ที่เพิ่งเข้าไปใกล้ชิดรั้ววัง ก็เต็มใจที่จะจ่ายให้ คีตะราชัน ที่รวบรวมศิลปินชั้นนำทั่วประเทศได้ทำเป็นอัลบั้มสองชุดมีการจัดคอนเสิร์ตหารายได้ทูลเกล้าถวายฯโดยได้เงินสนับสนุนจากเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี
บริษัทสหศินิม่าUnited Cinemaของสำนักงานทรัพย์สินผู้ผลิตภาพยนต์และเป็นเจ้าของโรงภาพยนต์ ได้ซื้อสำนักพิมพ์สยามเพรสและร่วมธุรกิจกับสื่อใหญ่อื่นๆ ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ที่เคยเป็นของมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ในปี 2537 ในช่วงเดียวกันได้เปิดหนังสือพิมพ์การเงินชื่อ สื่อธุรกิจ กับหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษชื่อบิวสิเนสเดย์ Business Dayหม่อมหลวง ตรีทศยุทธ เทวกุล ( Tridho sayuth Devakul ลูกชายคนโตของ มรว.เทพฤทธิ์ เทวกุลผู้เป็นเจ้าของโครงการควายเหล็กและฝนเทียม ) ลูกน้องใกล้ชิดของพลเอกเปรมได้ซื้อหนังสือพิมพ์สยามโพสต์ โดยนายปีย์ มาลากุลมารับช่วงต่อ
วังได้ลงทุนอย่างเปิดเผยในกิจการโทรทัศน์โดยชนะการประมูล ไอทีวี ได้รับใบอนุญาตในเดือนเมษายน 2538 สมัยรัฐบาลนายชวน จากกลุ่ม ที่นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ และสำนักงานทรัพย์สิน พร้อมด้วย บริษัทแปซิฟิคคอมมิวนิเคชั่น ของนายปีย์ และเครือเนชัน โดยวังได้วางเส้นสายเข้าควบคุมทั้งระบบ รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการ อสมท.ชุดใหม่โดยรัฐบาลนายบรรหารในเดือนพฤษภาคม 2539 ที่ดูแลสถานีโทรทัศน์สองแห่งกับคลื่นวิทยุอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสำนักข่าวของรัฐบาล โดยมีประธานคือพล.อ.มงคล อัมพรพิสิษฐ์ ลูกน้องเก่าของพลเอกเปรม และมีกรรมการอีกคนหนึ่งคือ นายธงทอง จันทรางศุ
ผลงานชิ้นเอกของการโฆษณา คือการเฉลิมฉลองที่ยาวนานถึง 24เดือน ในวโรกาสครองราชย์ 50 ปี ในปี 2539 เพิ่มความยิ่งใหญ่มโหฬาร ของกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมพระบารมีให้สูงขึ้นไปอีก ระดมทำกันตั้งแต่งานกิจกรรมจำนวนมากที่ไม่ต้องวางแผนไว้ก่อน ครั้งแรกเมื่อพระราชชนนี เสด็จเข้ารักษาอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราชในเดือนธันวาคม 2537 พระราชชนนีทรงมีปัญหาที่พระหทัยและพระนาภี ( หัวใจและท้องไส้ ) ไม่มากนัก แต่ในวัย 94 ชันษาก็ถือว่าวางใจไม่ได้ องค์กรทั้งเอกชนและรัฐบาลต่างจัดการสวดมนต์และทำบุญถวายเป็นพระราชกุศล
6 มีนาคม 2538 พระเจ้า อยู่หัวทรุด พระองค์ขณะทรงออกกำลังกาย ต้องเข้าโรงพยาบาลศิริราช ด้วยอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ มีข่าวลือว่าอาจสิ้นพระชนม์ ซึ่งเกินกว่าที่วังจะรับได้ เพราะไม่รู้ว่าใครจะได้เป็นพระเจ้าอยู่หัวองค์ต่อไป ต้องทรงประทับในโรงพยาบาลหลายสัปดาห์ หลังแพทย์ถวายการผ่าตัด แต่พระองค์ก็ยังทรงออกโทรทัศน์ทุกวัน
เสด็จเยี่ยมพระราชชนนี และทรงมีรับสั่งเรื่องการจราจรต่อเจ้าหน้าที่ แสดงถึงพระอุตสาหะวิริยะเหนือมนุษย์ของพระธรรมราชา ประชาชนราว 2,000 คน ได้ร่วมการอธิษฐานหมู่ที่สนามหลวงเพื่อให้ทั้งสองพระองค์หายจากประชวร พระสังฆราชทรงนำพระ 999 รูป สวดมนต์ถวายแด่พระเจ้าอยู่หัว สามสัปดาห์หลังเสด็จออกจากโรงพยาบาลเสด็จออกโทรทัศน์พร้อมกับพระราชวงศ์ ทรงอธิบายความเจ็บป่วย และทรงพระดำเนินไปรอบๆห้องโถงใหญ่ครบเจ็ดรอบ เท่ากับหนึ่งกิโลเมตร
ทรงอธิบายว่าการประชวรเป็นผลจากการติดเชื้อในปี 2525 จากการทรงพระโอสถมวน (สูบบุหรี่) ซึ่งทรงเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี 2530 และจากการเสวยน้ำจัณฑ์ (ดื่มเหล้า) ซึ่งตอนนี้พระองค์ทรงหันมาเสวยน้ำจัณฑ์อย่างพอเพียง (คงไม่ได้เป็นแบบหัวราน้ำอย่างแต่ก่อน) ซึ่งคนไทยไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ทรงอ้างว่าเป็นเพราะพระองค์ต้องทรงงานเป็นเวลาห้าถึงหกชั่วโมงในคราวเดียวโดยไม่มีการหยุดพัก พระองค์แทบไม่ได้ทรงออกกำลังกาย และทรงมีความเครียดสูง ซึ่งหมายความว่าอาการประชวรของพระองค์เป็นเพราะทรงแบกรับภารกิจ เพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของพสกนิกร ถือได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นอีกจนได้ แต่รับสั่งว่าแพทย์ประจำพระองค์ได้รับประกันกับพระองค์ว่า จะยังทรงมีพระชนมชีพอยู่ต่อไปได้อีก 25 ปี ซึ่งนานพอที่จะทำให้โครงการพระราชดำริต่างๆได้บรรลุเสร็จสิ้น
ส่วนพระราชชนนีกลับมีพระอาการทรุดลง และสิ้นพระชนม์ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 แต่การสิ้นพระชนม์ของพระราชชนนีกลับทำให้ทรงมีความสำคัญยิ่งกว่าตอนมีพระชนมชีพเสียอีก
แม้จะทราบกันดีว่า พระราชชนนีศรีสังวาลย์ไม่ได้ทรงมีบทบาทต่อประชาชนนัก ทรงประทับที่สวิตเซอร์แลนด์จนสิ้นปี 2530 และหลังจากเสด็จมาประทับเมืองไทย ก็แทบจะไม่เคยเสด็จนอกพื้นที่ดอยตุงเลย แต่นิตยสารต่างๆก็ช่วยกันลงภาพพระราชชนนีปลูกไม้ดอกและเย็บปักถักร้อย และความคิดของพระองค์เรื่องพระพุทธศาสนา
ทางวังได้ถวายพระยศของพระราชชนนี เทียบชั้นสมเด็จพระนางเจ้า ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระราชสกุล ร่วมประทับบนหิ้งของสถาบันเจ้า พระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้มีการไว้ทุกข์พระบรมศพเป็นเวลา 100 วัน ข้าราชการถูกขอให้แต่งดำไว้ทุกข์ 15 วัน พระสังฆราชนำการทำบุญที่สนามหลวง พระสรีระของพระราชชนนีได้รับการสรงชำระตามแบบพราหมณ์ ในพระบรมมหาราชวัง ในหลวงและพระราชินีทรงพรมน้ำมนต์ ลงบนพระสรีระของพระราชชนนี และในหลวงทรงสวมชฎา บนพระเศียรของพระราชชนนี โกศประดับอัญมณีบรรจุพระบรมศพตั้งอยู่ในท้องพระโรงเพื่อรับการถวายความเคารพ พระโกศประดิษฐานภายใต้พระเศวตฉัตรเจ็ดชั้น อันสงวนไว้สำหรับเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงสุด ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้นที่มีเก้าชั้น
ทางวังได้จัดมหกรรมการสดุดีสรรเสริญพระเกียรติคุณอย่างเต็มที่ หน่วยงานราชการได้จัดงานรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ สถานีตำรวจทุกแห่งถูกสั่งให้จัดพิธีทำบุญในวันครบเจ็ดวัน ห้าสิบวันและร้อยวัน ทางการตำรวจได้ถวายยศพลตำรวจเอกแด่พระราชชนนี ตำรวจตระเวนชายแดนเตรียมสร้างอนุสาวรีย์ของพระราชชนนีศรีสังวาลย์ในค่าย ตชด.ทุกแห่ง พระญาติพระวงศ์รับเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมพระศพในแต่ละวัน โดยรัฐบาลกระตุ้นกลุ่มอื่นๆช่วยผลัดกันเป็นเจ้าภาพในวันหลังๆ ต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาการไว้ทุกข์ออกไปอีกโดยไม่มีกำหนด ทำให้หน่วยงานราชการ บริษัทหัางร้านและกลุ่มสมาคมต่างๆ ต้องผลัดกันมาเป็นเจ้าภาพ โดยให้คนในสังกัดมานั่งร่วมพิธีเบื้องหน้าพระโกศ
พสกนิกรได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีได้อย่างใกล้ชิดและยาวนาน ขณะทรงกำลังสวดมนต์ หรืออาจเห็นในหลวงทรงคร่ำเคร่งกับการแก้ไขปัญหาจราจร งานพระบรมศพนี้ ได้ดำเนินไปตลอดทั้งปีที่เหลือ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์รายงานว่าในวันที่ 19 กรกฎาคม 2538 ก่อนพิธีรดน้ำศพ ท้องฟ้าที่มืดครึ้มก็มีฝนตกลงมา ราวกับจะบอกว่าเทพยดาฟ้าดินได้รับรู้การเสด็จจากไป ของพระราชชนนีและร่วมทุกข์โศกกับประชาชนด้วย
พระพิพิธธรรมสุนทรแห่งวัดสุทัศน์บอกว่า ท่านได้ยินมาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าอยู่หัวเองว่าห้าปีก่อนสิ้นพระชนม์ พระราชชนนีตรัสว่าทรงรู้สึกเหนื่อยและพร้อมจะจากโลกนี้ไป ทำให้ในหลวงทรงหวนนึกถึงพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสต่อพระสาวกว่าพระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานภายในสามเดือน
พระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงขอนิมนต์ ให้พระราชชนนีได้ทรงพระชนมชีพต่อไป เพื่อเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่พระโอรสพระธิดาและพสกนิกรชาวไทยต่อไป และสมเด็จพระราชชนนีก็ทรงพระมหากรุณา อุตส่าห์ดำรงพระชนมชีพต่อมาอีกเป็นเวลาตั้งห้าปี ในหลวงยังได้ทรงเล่าให้ฟังอีกว่า เมื่อพระราชชนนีสิ้นพระชนม์ ในหลวงกับเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาได้ทรงจับพระหัตถ์ของพระราชชนนีไว้ เมื่อพระองค์ทรงนึกถึงสิ่งที่ยังไม่ได้ทรงบอกกล่าวแก่พระราชชนนี เครื่องนั้นก็แสดงการเต้นของพระหทัยของพระราชชนนีอีกครั้งอย่างปาฏิหาริย์ เมื่อพระธิดาของเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาเข้ามาและจับพระหัตถ์ของพระราชชนนี ปรากฏว่าชีพจรของพระนางก็กลับมาเต้นอีกครั้ง เข้าใจว่า พระราชชนนีกำลังทรงกล่าวคำอำลา เป็นเรื่องปาฏิหารย์ประเภทผีสาง ที่พระพิพิธธรรมสุนทรอ้างว่าในหลวงทรงเล่าให้ท่านฟัง อาจจะเป็นการสดุดีว่าพระราชชนนีมิใช่คนธรรมดาสามัญ แม้สิ้นลมก็ยังทรงแสดงปาฏิหารย์ได้
ทางวังได้โหมการโฆษณา การรำลึกถึงพระราชชนนีอย่างชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นเวลาหลายเดือนทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ ในงานวันเฉลิมพระชนมพรรษาเดือนธันวาคมปีนั้น ทรงตรัสว่าคนไทยมองเห็นพระมหากรุณาธิคุณของพระราชชนนีที่ได้ทรงสร้างสมไว้มาก ทำให้ราชอาณาจักรไทยยังคงความสงบสันติสุขไว้ได้
ทรงตรัสว่า เมื่อพระชนนีสิ้นพระชนม์ ก็ได้เห็นความรักความนับถือที่คนทั้งชาติมีต่อพระชนนี ก็ปลื้มใจ ปลื้มใจว่ามีคนที่คนรักที่ถือว่าท่านเป็นสมเด็จย่า ซึ่งก็แปลกดีเหมือนกัน ถ้าใครต่อใครเรียกว่าสมเด็จย่า คนที่เรียกสมเด็จย่าก็เป็นหลานๆ ของเรา เป็นหลานเพราะว่าท่านเป็นแม่ และท่านเป็นย่าของคนทั่วๆ ไป และเป็นสมเด็จย่าของลูกๆ ที่อยู่ข้างหลังนี้
ฉะนั้นเราก็เป็นญาติกันทั้งหมดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็รู้สึกว่า มีความอาลัย และทำให้ประชาชนทั้งชาติได้มีโอกาสแสดงเป็นประโยชน์จะว่าครั้งสุดท้ายของท่าน ที่จริงไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะท่านยังเป็นประโยชน์ต่อไปชั่วกาลนิรันดร์ แต่ว่าเป็นประโยชน์เพราะว่าชาวต่างประเทศ ทุกชาติทุกภาษา เมื่อมาเห็นว่าเมืองไทยมีเหตุการณ์เช่นนี้แบบนี้ และการแสดงคารวะบุคคลที่ควรคารวะ
ต่างประเทศแม้จะไม่ชอบเมืองไทยเขาก็ต้องชอบ เขาจะต้องบอกว่าเมืองไทยนี้มีอะไรแปลก และเมืองไทยนี้แปลกจริงๆ ที่มีสภาพอย่างนี้ ....คงแปลกจริงๆอย่างที่พระองค์มีพระราชดำรัสและก็คงไม่มีชนชาติใด ที่จะเข้าใจความแปลกประหลาดของพสกนิกร ที่พระองค์ทรงภูมิใจเป็นนักเป็นหนานี้ได้
พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ มีขึ้นในวันที่ 10 มีนาคม 2539 ตามฤกษ์ที่นักดาราศาสตร์ของวังได้บอกว่าดาวหางยาคูเตคHyakutake จะปรากฏให้เห็นในหมู่ดาวราศีตุลย์ อันเป็นราศีเกิดของพระราชชนนี กรมการศาสนาได้รวบรวมคน มาบวชเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลได้ 34,604 คน เท่ากับจำนวนวันที่พระราชชนนีทรงมีพระชนมชีพ
ทางวังกับรัฐบาลได้ออกแผนพับยืดยาว อธิบายความหมายในเชิงจักรวาลของเครื่องแบบ การประดับประดา การจัดวางตำแหน่งและการเคลื่อนขบวนต่างๆ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ได้ร่วมกันถ่ายทอดสดตลอดงานพระราชพิธี โดยมีอาจารย์ธงทอง จันทรางศุ เป็นผู้บรรยายด้วยสุ้มเสียงอันแผ่วเบา ไม่มีสื่อใดได้รับอนุญาตให้เข้าใกล้ยกเว้นโทรทัศน์บีบีซี ซึ่งได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำสารคดีที่หวังว่าจะช่วยเชิดชูพระราชชนนีให้เป็นที่ศรัทธาไปทั่วโลก
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศเป็นระดับสมเด็จพระบรมราชชนนี โดยโปรดให้บรรจุพระอังคาร (เถ้ากระดูก) ไว้ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอันเป็นที่สงวนไว้สำหรับเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงสุดเท่านั้น ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการระดมทุนหาเงินบริจาคในช่วงแปดเดือน ไม่ต่ำกว่าสามร้อยล้านบาท เพื่อสร้างโรงพยาบาลในพระนามสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
รัฐบาลผลิตเหรียญกษาปณ์ ที่มีพระบรมฉายาลักษณ์พระราชชนนีศรีสังวาลย์ เพื่อระดมทุนตามเป้าไม่ต่ำกว่า 160 ล้านบาท ในวันพระราชทานเพลิงพระศพ กล่องบริจาคที่วางรอบสนามหลวงเก็บเงินได้ถึงกว่าสี่ล้านบาท กระทรวงศึกษายังระดมเงินบริจาคได้เพิ่มขึ้นอีกโดยไม่มีการรายงานยอดบริจาคเพียงแต่บอกว่าจะนำไปสร้างอนุสาวรีย์ถวายแด่พระราชชนนีทั่วประเทศ ตลอดสองสามปีถัดมา ได้มีการผลิตหนังสือ สารคดี ซีดีรอม และ เทปเทิดพระเกียรติออกจำหน่ายและจัดนิทรรศการ
หลังจากการโฆษณาปลุกเสกพระเกียรติยศพระเกียรติคุณของสมเด็จพระราชชนนีเสร็จสิ้นลง ทางวังก็รีบขยับ เข้าสู่การเฉลิมฉลองการเสด็จครองราชสมบัติครบ 50 พรรษา อย่างรวดเร็วทันที แทบทุกพระราชพิธีและกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง24 เดือนต่อมา ล้วนแล้วแต่เป็นการเทิดพระเกียรติเนื่องในวาระเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก
ฟ้าชายวชิรา ลงกรณ์ทรงรับหน้าที่ ดูแลโครงการสกัดหินเพื่อสร้างพระพุทธรูป ขนาดมหึมาที่หน้าผาเขาชีจัน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีโดยใช้แสงเลเซอร์
ฟ้าหญิงสิรินธรเสด็จเป็นประธานในการประชุมนานาชาติเรื่องหญู้าแฝกในพระบรมราชูปถัมถ์โดยที่วังมักอ้างว่าในหลวงทรงเป็นผู้ค้นพบว่าหญ้าแฝกเป็นประโยชน์ในการรักษาหน้าดิน พระสังฆราชญาณสังวรทรงดูแลโครงการปลูกต้นโพธิ์ในวัดทั่วประเทศ 30,000 แห่ง มีการทุ่มเงินมหาศาลทั้งจากงบประมาณและจากภาคธุรกิจ โดยไม่มีความโปร่งใสแต่อย่างใด
นักธุรกิจต้องจ่ายเงินของบริษัทเพื่อแสดงความจงรักภักดี วุฒิสมาชิกถูกหักเงินเดือนๆ ละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 8 ล้าน 7 แสนบาท สำหรับการเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และร่วมเสด็จพระราชกุศล นายกบรรหารได้ระดมเงิน 999 ล้านบาทสำหรับโครงการควบคุมน้ำท่วมในพระราชดำริโดยยืมเงินก้อนใหญ่มาจากธนาคารกรุงไทยที่เป็นของรัฐบาล จากภาวะเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู ตอนต้นปี 2539 ทำให้มีนักธุรกิจใหญ่ทยอยถวายเครื่องบรรณาการ อย่างมากมาย มหาศาล
พ่อค้าเพชรพลอยชื่อดังรายหนึ่งได้นำบุษราคัมสีน้ำเงินขนาดยักษ์ ( Giant Blue Sapphire ) น้ำหนัก 6.3 กิโลกรัมมาเจียรนัย 950 ด้าน (หมายถึง รัชกาลที่ 9 ปีที่50 ) ถวายพระเจ้าอยู่หัว กองทัพไทยใช้งบของรัฐบาลสร้างคทาที่ทำจากทองคำหนัก 700 กรัมกับเพชรพลอย 518 เม็ดถวายในหลวง
ของขวัญที่อลังการมูลค่าสูงสุดจากนักธุรกิจเชื้อสายจีนที่รวยที่สุด นำโดยนายชาตรี โสภณพานิชแห่งธนาคากรุงเทพ และอำนวยการโดยพลเอกเปรม ได้ซื้อเพชรก้อนใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่าเพชรกาญจนาภิเษก หรือ Golden Jubilee โดยไม่เปิดเผยราคา หนัก 546 กะรัตจากอัฟริกาใต้
ใหญ่กว่าเพชรคุลลินัน Cullinan Star of Africa ของราชินีอังกฤษที่หนัก 530.2 กะรัต หรือ106 กรัม โดยได้นำเพชรนี้ไปเข้าพิธีปลุกเสกโดย พระสังฆราช จุฬาราชมนตรี และสันตปาปา จอห์น ปอลที่สองแห่งกรุงโรม
มีการใช้งบประมาณและเงินบริจาคราวสองร้อยล้านบาท ในการจัดทำเสื้อคลุมทองคำประดับอัญมณีชุดใหม่ ให้พระแก้วมรกต
ในปี 2539 รัฐบาลได้ถวายพระยานาคทองคำประดับอัญมณีหนัก 2.5 กิโลกรัมแด่พระเจ้าอยู่หัว พร้อมถวายพระราชสมัญญาให้ทรงเป็น พระบิดา แห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ
มีการจัดพิมพ์หนังสือโฆษณาความสำเร็จของโครงการพระราชดำริเรื่องน้ำหลายพันเล่มโดยแจกจ่ายไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โทรทัศน์เต็มไปด้วยสารคดี ทอล์คโชว์ และแม้กระทั่งเกมโชว์เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
วันที่ 7 มิถุนายน 2539 สถานีโทรทัศน์และวิทยุทุกสถานีได้ถ่ายทอดงานระดมทุนโครงการในพระราชดำริ นายกบรรหาร กับคุณหญิงแจ่มใส ประเดิมบริจาคก่อน 10 ล้านบาท
ในเช้าวันที่ 9 มิถุนายน ช้างแต่งเต็มยศ 25 เชือก บรรทุกคน 50 คน มายังวัดหลวงแห่งหนึ่งเพื่อบวชถวายแด่พระเจ้าอยู่หัว ในค่ำวันนั้น ก่อนที่จะมีการจุดพลุดอกไม้ไฟ ได้มีการจุดเทียนหนึ่งล้านเล่มที่ปลุกเสกโดยพระสังฆราชโดยถูกจุดพร้อมกันในฤกษ์ยามเวลา 19.19 น.
วังยังคงโหมการโฆษณาสร้างบารมีตามกำหนดการที่เต็มแน่นด้วยงานการกุศล การเยี่ยมชนบท งานกาล่าดินเนอร์ Gala Dinner (การรับประทานอาหารค่ำที่มีการแสดงพิเศษ) การเสด็จประพาส มีงานบอลล์ (งานรื่นเริงที่มีการเต้นรำ) นักเรียนหญิงนับพันถูกเกณฑ์มาที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเพื่อนั่งสมาธิหมู่ถวายเป็นพระราชกุศล โดยแต่งชุดขาวเหมือนแม่ชีและถือเทียน มีการจัดสร้างพระเครื่องในพระนามพระราชินีจำหน่ายเพื่อเก็บเงินถวาย
ในงานวันเฉลิมพระ ชนม พรรษาพระราชินีปี 2535 บรรดาเศรษฐีใต้พระบรมโพธิ สมภาร เช่น นายบรรยงค์ ล่ำซำ แห่งธนาคารกสิกรไทย นายประยุทธ มหากิจศิริ (เจ้าของเนสกาแฟและโรงงานเหล็กสเตนเลส) เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าสัวธนินทร์ เจียรวนนท์และพตท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างตึกสิริกิติ์หรือตึกส.ก.ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยตั้งตระหง่านทัดเทียมตึกภปร. สยามสมาคมได้ระดมเงินบริจาคสามสิบล้านบาท สร้างพระพุทธบาทขนาดใหญ่ทำจากทองคำหนัก 30 กิโลกรัมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้ว
พระราชินีมีพระประสงค์ให้เป็นที่รู้กันว่า พระองค์คือสมเด็จพระสุริโยทัยที่กลับชาติมาเกิด โดยที่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเออออไม่อยากขัดคอพระราชินี โครงการอ่างเก็บน้ำและป้องกันน้ำท่วมที่อยุธยา จึงได้รับพระราชทานนามว่าสวนศรีสุริโยทัย และได้พระราชทานสวนแห่งนี้แด่พระราชินี ในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาพระราชินี 60 ชันษา
กองทัพจัดแสดงละครพระศรีสุริโยทัย ด้วยแสงสีเสียงมโหฬาร ถวายพระราชินีสิริกิติ์ ที่จังหวัดอยุธยา รัฐบาลสร้างพระพุทธรูปสุริโยทัย ค่ายทหารแห่งใหม่ที่หัวหินก็ใช้ชื่อเดียวกัน ตำนานสมเด็จพระศรีสุริโยทัยได้รับการเผยแพร่ทั่วไป พระราชินีเสด็จเยือนบริเวณที่เชื่อว่าเป็นสมรภูมิเพื่อทำการบวงสรวง มีการตั้งอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ของพระสุริโยทัย บนหลังช้างและพระราชินีได้เสด็จมาเปิด
นักโฆษณาสถาบันกษัตริย์
นักสดุดีพระมหากษัตริย์รายแรก เป็นผู้ดูแลโครงการส่วนพระองค์ คือดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้พูดสดุดีพระราชกรณียกิจในการพัฒนาชนบท ความเพียรพยายาม เสียสละอุทิศพระองค์เอาชนะความยากจน
ในหนังสือเล่มใหญ่ชื่อ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช:ประทีปนำทางของประเทศไทย King Bhumibol Adulyadej : Thailand’s Guiding Light พิมพ์ในวาระพระราชพิธีกาญจนาภิเษก 2539 บรรยายว่า ในหลวงทรงตรากตรำทำงานหนักเพื่อเอาชนะพลังความโลภ ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างนายทุน นักการเมืองและข้าราชการ มีบทเทิดพระเกียรติให้ทรงเป็นนักสิ่งแวดล้อมมีพระปรีชาสามารถในการที่ทรงสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทรงมีประสิทธิภาพในการทรงงานมากกว่าระบบราชการ เพราะทรงมองปัญหาทั้งระบบ ความผาสุกของประชาชนไม่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นตัวชี้วัด ทรงเสนอแนวทางแก้ไขไว้นานแล้วแต่ว่าไม่มีใครสนใจ
ประชาพิจารณ์ก็ไม่จำเป็น เพราะทรงทำประชาพิจารณ์มา 30 ปีแล้ว จากการเสด็จเยี่ยมพสกนิกรทั่วประเทศ เท่ากับมีการปรึกษาหารืออย่างมากมาก่อนแล้ว จึงเป็นเหตุผลรองรับการสร้างเขื่อนป่าสักและเขื่อนท่าด่าน ทรงใช้เวลาหลายชั่วโมงหลายครั้งพูดคุยกับชาวบ้าน จึงเป็นประชาพิจารณ์ที่บริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติ คือประชาธิปไตยที่แท้จริง
นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ย้ำว่าพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีรัชกาลที่ 9 ทรงรักษาประเทศและสร้างความเจริญ โดยเสด็จไปทั่วประเทศทำความรู้จักพระราชอาณาจักรและพสกนิกรของพระองค์ ทรงเป็นนักอ่านแผนที่ตัวฉกาจ หลังจากเสด็จเยือนต่างประเทศ ก็ได้ทรงชี้แจงให้รัฐบาลเริ่มจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกปี 2504 ขึ้นมา (ซึ่งที่จริงได้ร่างขึ้นตามการชี้นำของธนาคารโลกกับที่ปรึกษาจากสหรัฐฯ ก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก)
ทรงมีวินัยในพระองค์เองอย่างเข้มงวด ตอนที่พระองค์ผนวช ได้ทรงศึกษาธรรมอย่างลึกซึ้ง เข้าใจความจริงของชีวิต ทรงไม่มีอัตตา ทรงไม่หลงตัวเองทรงปล่อยวางไม่ยึดติดโดยสิ้นเชิง ทำเพื่อประโยชน์ของชุมชนและส่วนรวมเท่านั้น อาจมีแต่จักรพรรดิญี่ปุ่นเท่านั้นที่ได้รับการเทิดทูนจากประชาชนมากกว่านี้ แต่จักรพรรดิญี่ปุ่นประทับอยู่แต่ในวัง ต่างจากพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงใกล้ชิดกับประชาชนของพระองค์
ถึงแม้จะไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ คนก็ยังรู้ว่าเรามีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นที่รักของคนทั้งชาติ ทรงเป็นของแท้ที่ไม่มีวันผิดพลาด จากประสบการณ์ทางการเมืองที่มีต่อเนื่องยาวนานทำให้ทรงต้องเข้ามาแทรกแซงการเมืองบ่อยครั้ง เพราะทรงรับรู้ข้อมูลเป็นอย่างดีและทรงใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ ในฐานะกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ อำนาจถูกถวายให้เป็นของพระมหากษัตริย์ด้วยเจตจำนงของประชาชน
การแทรกแซงของในหลวงภูมิพล เกิดจากการร้องขอจากประชาชน โดยทรงทราบจังหวะเวลาเหมาะสมและประเทศชาติไม่สามารถทนต่อสถานการณ์ได้อีกต่อไป แล้วพระองค์ก็จะทรงลงมาแก้วิกฤตทั้งหมด สิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติ สาธารณชนก็ได้เห็นโดยทั่วกัน แม้ไม่ได้เป็นการตรวจสอบในทางกฎหมาย แต่เป็นความโปร่งใส ( คงเป็นความโปร่งใสที่ตรวจสอบไม่ได้และห้ามตรวจสอบโดยเด็ดขาด ) พระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปฏิบัติพระภารกิจมายาวนานที่สุด ทรงเป็นนักการเมืองที่ปฏิบัติหน้าที่มายาวนานที่สุด
รัฐบาลมาแล้วก็ไป ผบ.ทบ. มาแล้วก็ไป ไม่เหมือนกษัตริย์ภูมิพล ที่อยู่อย่างยั่งยืนถาวรตลอดมา กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในวิสัยปกติของพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากพระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติพระราชกรณียกิจเหล่านี้ เพื่อประโยชน์อันยั่งยืนของประชาชนไทย .. คนไทยทั่วไปจึงเต็มใจมอบความเชื่อมั่นต่อพระองค์ อย่างที่ไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ของเราหรือของทั้งโลกทรงเคยได้รับมาก่อน.. ทรงเป็นเหมือนไฟส่องนำทางสำหรับประชาชนในความมืด
ส่วนนักอธิบายความรายที่สาม ก็คือพระเจ้า อยู่หัว เอง ทรงมีคำอธิบาย ยุคสมัยรัชกาล ของพระองค์ หลายครั้งที่แตกต่างกันสำหรับกลุ่มผู้ฟังที่ต่างกัน พระนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ A Man Called Intrepid ของวิลเลียมสตีเวนสัน William Stevenson นักข่าวกรองชาวแคนาดาที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของฝ่ายพันธมิตร อ้างว่าเป็นเรื่องจริง ที่เขียนยกย่องตนเองเป็นวีรบุรุษที่เสี่ยงชีวิตปฏิบัติราชการลับเพื่อประเทศชาติ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องที่เกินจริงและคลาดเคลื่อนมาก แต่ในหลวงก็ทรงแปล เพราะมีพระประสงค์ให้ผู้อ่าน มองคนที่ทำงานหนักโดยไม่หวังผลตอบแทน เหมือนที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติ ทรงเล่าว่า ประธานาธิบดีรูสเวลท์ Roosevelt ของวอชิงตัน กับนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลและพระเจ้าจอร์จที่หกของลอนดอน ต้องแอบปราบพวกนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่ต่อต้านการลุกขึ้นต่อสู้กับพวกนาซี
นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลขาดอำนาจจากสภาจึงต้องอาศัยอำนาจจากกษัตริย์ ซึ่งเป็นอำนาจที่สูงกว่าที่เข้ามาแทรกแซงได้ในช่วงที่เกิดวิกฤต จึงมีการจัดสรรงบประมาณให้วัง นำมาใช้สนับสนุนผู้ทำราชการลับเพื่อปกป้องชาติ แบบลับๆ โดยกษัตริย์ต้องเก็บให้เป็นความลับจากประชาชน และต้องมีผู้นำพิเศษที่สูงกว่าผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่เสียสละอุทิศตนเมื่อเกิดปัญหาทางการเมือง โดยอ้างการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรอง และสืบราชการลับของอังกฤษ ที่ต้องได้รับการเห็นชอบจากกษัตริย์ ระบบพิเศษของอังกฤษนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำคัญของกษัตริย์ต่อความมั่นคงของชาติ พระราชนิพนธ์งานแปลนี้ได้รับการตีพิมพ์ในปี 2536 ถึง 100,000 เล่ม เป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น
ประธานาธิบดี
มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ทั้งๆที่ท่านเป็นคอมมิวนิสต์ และเป็นผู้ล้มเลิกระบอบกษัตริย์
ปีถัดมาทรงโปรดฯ ให้มีการพิมพ์งานแปลเรื่องติโต เพราะทรงเห็นว่าติโตทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อความเจริญ
สันติภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ทรงชื่นชมติโตที่รักษาความเป็นปึกแผ่นและเอกราชของประเทศเป็นเวลาถึง 35 ปี
พระบรมราโชวาท ธันวาคมปี 2538 ตลอดสองชั่วโมงกว่าทรงบรรยายพระอัจฉริยภาพในการจัดการเรื่องน้ำ การพัฒนาเศรษฐกิจ ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นยอด เป็นนักบริหารที่อุทิศพระองค์และมีประสิทธิภาพ เป็นธรรมราชาผู้ปราดเปรื่องสารพัดเรื่อง หลังจากรับถวายพระราชสดุดีอย่างท่วมท้นพร้อมรับการถวายพระพุทธรูปทองคำจากนายกบรรหาร ทรงเริ่มพระราชทานพระบรมราโชวาทว่าคนควรจะเห็นคุณค่าของน้ำ
ทรงยกโครงการสุริโยทัยที่อยุธยา ทรงร่ายยาวตัวเลขต่างๆ ปริมาณน้ำ ระดับน้ำ อัตราการไหล ซึ่งฟังดูเหมือนว่าทรงเชี่ยวชาญมาก จากนั้นทรงโยงเข้าเรื่องทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรยั่งยืน ระบบจัดการไร่นาสวนผสม พึ่งตนเองขนาดเล็ก 15 ไร่ต่อครอบครัวจะมีผลิตผลที่พอเพียง มีชีวิตเป็นอิสระจากตลาด ทรงสถาปนาทฤษฎีใหม่ให้เป็นนโยบายแห่งชาติโดยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2538 มีการแจกจ่ายหนังสืออธิบายทฤษฎีใหม่แก่ผู้ฟัง
ทรงมีโครงการพระราชดำริสร้างแหล่งเก็บน้ำย่อยๆ เรียกว่าแก้มลิง (Monkey Cheek) จากที่ได้ทอดพระเนตรลิงเก็บกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มก่อนจะกินเข้าไป ทรงอ้างสถิติตัวเลขเรื่องน้ำปริมาณน้ำในแม่น้ำ อัตราการเกิดฝนและระดับน้ำท่วม ทรงใช้ตัวเลขเหล่านี้ เพื่อพิสูจน์ว่าเขื่อนป่าสักมีความจำเป็น และ น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ เพราะจะมีน้ำ 800 ล้านลูกบาศก์เมตรเก็บไว้ ทรงบรรยายแผนที่ แผนภูมิและสถิติต่างๆ แสดงให้เห็นว่าทรงรอบรู้ มีรายละเอียดน่าประทับใจ
ทรงเน้นถึงคุณค่าของโครงการแก้มลิง รับสั่งสารพัดให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ ทรงมีวิธีการเสนอที่ค่อนข้างวกวน และมักจะทรงสอดแทรกอารมณ์ขันนอกเรื่องนอกราวอยู่เรื่อยๆ มีทั้งวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ พสกนิกรต้องเชื่อ ต้องศรัทธาในพระองค์ ข้าราชการก็ต้องรีบเร่งทำโครงการทฤษฎีใหม่ หรือติดป้ายทฤษฎีใหม่ให้กับโครงการที่มีอยู่แล้ว แม้แต่โครงการที่ริเริ่มและสนับสนุนโดยหน่วยงานพัฒนาของต่างประเทศ
พระเจ้า อยู่หัวมีรับสั่ง ให้จัดพิมพ์ หนังสือ เล่มที่สาม ที่ทรงใช้นิทาน ชาดกเรื่อง พระ มหาชนกเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับแผ่นดินของพระองค์ โดยทรงปรับปรุงใหม่ในรูปนิทานสำหรับเด็ก วาดภาพประกอบโดยศิลปินชั้นนำของประเทศ เป็นเรื่องของเจ้าชายที่ราชบัลลังก์มิถิลาของพระราชบิดา ได้ถูกพระเจ้าอาผู้ชั่วร้ายแย่งชิงไป พระมหาชนกได้ออกเดินทางค้าขายเพื่อระดมทุนสร้างกองทัพทวงราชบัลลังก์คืน เมื่อเรือของพระองค์อับปาง ทรงรอดพระชนม์ด้วยพละกำลังและสติปัญญา หลังลอยคออยู่ในทะเลเจ็ดวัน ก็ได้รับการช่วยเหลือจากนางมณีเมขลาที่อุ้มพระองค์ไปส่งยังสวนในเมืองมิถิลา ขณะที่พระเจ้าอาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว พระมหาชนกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอาเป็นกษัตริย์ปกครองมิถิลานครเป็นเวลาเจ็ดพันปี จนได้บรรลุการรู้แจ้ง
ทรงพบต้นมะม่วงต้นหนึ่งไร้ผลแต่เขียวงาม อีกต้นออกผลมีรสหวานอร่อย แต่ถูกดึงถูกโค่นโดยคนที่มารุมแย่งชิงผลมะม่วง ทำให้ทรงระลึกว่าการมั่งมีทรัพย์มีแต่จะนำมาซึ่งความทุกข์ และการไม่มีทรัพย์กลับนำมาซึ่งความสุข พระองค์จึงสละราชสมบัติและพระมเหสี ทรงปลงพระเกศาเป็นนักพรต เร้นกายหายลับเข้าป่า ในหลวงได้เน้นถึงความเพียรพยายามของพระมหาชนกขณะทรงลอยคออยู่ในทะเลโดยทรงถือเป็นการปฏิบัติธรรม
แต่ในหลวงทรงดัดแปลงเรื่องพระมหาชนก ตอนที่ทรงเห็นต้นมะม่วง แทนที่พระมหาชนกจะออกบวชเป็นนักพรตตามต้นฉบับเดิม แต่พระมหาชนกฉบับในหลวง กลับทรงใช้เทคโนโลยีการเกษตรรักษาต้นมะม่วงเอาไว้และทรงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนด้วยการให้การศึกษา นับตั้งแต่อุปราชเสนาอำมาตย์ ถึงคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า มีมหาวิทยาลัยถ่ายทอดภูมิปัญญาของพระองค์ ทรงนำชีวิตและความเขียวขจี กลับคืนสู่ประเทศที่รกร้างถูกทำลาย ทำให้คนไทยต้องนึกถึงในหลวง ในบทบาทของพระมหาชนกที่ทรงปฏิเสธที่จะเกษียณ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น เนื่องจากพระองค์ยังไม่บรรลุเป้าหมาย หรือจุดสูงสุด คือต้องทรงบรรลุภารกิจทางโลกย์โดยสมบูรณ์ก่อน
วังสั่งพิมพ์หนังสือทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ และจัดงานเปิดตัวหนังสือสำหรับนักข่าวทั้งไทยและเทศ ครั้งแรกเป็นฉบับนักสะสมปกแข็งเล่มใหญ่ ขายเอาเงินสมทบทุนการกุศลราคา 2,000 และ 200 เหรียญสหรัฐ หรือเล่มละกว่าห้าหมื่นบาทและกว่าห้าพันบาท โดยแถมเหรียญทองคำและเหรียญเงินที่ปลุกเสกโดยพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร แต่พอทำยอดขายไม่ได้ ธนาคารแห่งชาติก็บีบให้ธนาคารของรัฐและเอกชน 15 แห่งขายทำยอดให้ได้ 15 ล้านบาท บางธนาคารต้องจ่ายเงินซื้อแจกลูกค้าชั้นดี
ปีถัดมาก็ออกฉบับปกอ่อนสี่สีราคา 250 บาท และถัดไปอีกปีก็เป็นหนังสือการ์ตูนราคาย่อมเยาว์ สำหรับเด็กเขียนภาพโดยชัย ราชวัตร (นายสมชัย กตัญญุตานันท์) บริษัทห้างร้านต่างๆ พากันเหมาซื้อไปแจก ได้ทั้งบุญได้ทั้งการลดหย่อนภาษี บางรายมอบให้วัดไปแจกต่อ กลายเป็นการทำบุญถวายเป็นพระราชกุศล
พระเจ้า อยู่หัว ภูมิพล ทรงยกเรื่อง พระ มหาชนกเพื่อสะท้อนถึงพระวิริยะ อุตสาหะของพระองค์ ที่ได้ทรงปฏิบัติเพื่อพสกนิกรมาโดยตลอด แต่ก็ยังทรงเถลไถล มิได้สำนึกว่าทรงใช้เวลาปกครองประเทศไทยมานานเต็มที จนได้รับการบันทึกว่านานที่สุดในโลก ...
ในหลวงภูมิพลทรงโอ้อวดมาตลอดถึงพระอัจฉริยภาพสารพัด ขณะที่ประเทศไทยก็ไม่ได้เจริญก้าวหน้าไปถึงไหน แต่ทรงเชื่อว่าพระองค์ยังต้องปกครองประเทศไทยต่อไปเพื่อบรรลุพระราชภารกิจที่สมบูรณ์ ในขณะที่ประเทศชาติมีแต่จะจมปลักลงไปทุกที ไม่ได้ดีเลิศอย่างที่ทรงอวดอ้างแต่อย่างใด
.................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น