ฟัง : http://www.4shared.com/mp3/RQODD_Nd/Section_112_The_Royal_Threat_0.html
หรือที่ : http://www.mediafire.com/?1zuc7ccq46ei02a
หรือที่ : http://www.mediafire.com/?1zuc7ccq46ei02a
112 สยองพระเกียรติ
ตอนที่ 7 : คนไทยไม่ได้กินหญ้า
จดหมายเปิดผนึกเรื่องความยุติธรรมตอนที่ 7 : คนไทยไม่ได้กินหญ้า
เรียน ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์
31 มีนาคม 2554
พระองค์ได้พระราชทานสัมภาษณ์ออกทีวีในรายการวู้ดดี้เกิดมาคุยตามที่มีรายงานข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ มีตอนหนึ่งว่า

เรื่องที่ทรงเรียกร้องความยุติธรรม ให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถนี้ ได้เป็นประเด็นหลักที่หนังสือพิมพ์ที่รายงานเรื่องการพระราชทานสัมภาษณ์นี้ นำไปพาดหัว




ความจริงเหตุผลหรือข้อโต้แย้งนี้ เป็นการให้เหตุผลแบบกลับหัวหลับหาง โดยเอาผลมาอ้างเป็นต้นเหตุ เพราะการที่มีผู้เรียกร้องให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบเกี่ยวกับพระราชวงศ์นั้น เริ่มมาจากการที่พระราชวงศ์ได้เข้ามามีบทบาททางสาธารณะในทุกด้านอย่างมหาศาล โดยมีระบบการประชาสัมพันธ์ด้านเดียวและการอบรมบ่มนิสัยด้านเดียว เป็นตัวส่งเสริมบทบาทเหล่านั้น ซึ่งตามบรรทัดฐานที่ยอมรับกันทั่วไปในโลกอารยะ รวมทั้งในประเทศไทยในกรณีอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ บทบาทสาธารณะทุกอย่างของบุคคลสาธารณะและการประชาสัมพันธ์และอบรมบ่มนิสัยที่เป็นสาธารณะในลักษณะนี้ จะต้องได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบโต้แย้งกระทั่งเสนอให้เอาผิดได้แต่แรก

พูดง่ายๆคือ ถ้าไม่ต้องการให้มีการเรียกร้องเรื่องความพร้อมให้ตรวจสอบของสาธารณะ ไม่ต้องการให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบพระราชวงศ์ ก็ต้องไม่มีบทบาทอันมหาศาลและระบบการประชาสัมพันธ์อบรมบ่มนิสัยด้านเดียวเกี่ยวกับพระราชวงศ์ตั้งแต่แรก
การมีสิ่งเหล่านี้แต่แรก แล้วเมื่อมีคนเรียกร้องเรื่องความพร้อมให้ตรวจสอบต่อสิ่งเหล่านี้ แล้วฝ่ายนิยมเจ้ากลับมาอ้างว่าห้ามไม่ให้ทำ เพราะพระราชวงศ์ไม่สามารถออกมาตอบโต้เองได้ จึงเป็นการอ้างที่ปลายเหตุ ที่เกิดจากการทำผิดหลักการเรื่องนี้แต่แรก

พวกนิยมเจ้าของไทยยอมให้มีการทำผิดหลักการเรื่องการมีบทบาทสาธารณะอย่างมหาศาลและประชาสัมพันธ์อบรมบ่มนิสัยด้านเดียวซึ่งเป็นเรื่องสาธารณะเกี่ยวกับพระราชวงศ์ โดยไม่มีความพร้อมให้ตรวจสอบแต่ต้น ซึ่งการยอมให้มีการปฏิบัติเช่นนี้ต้องถือเป็นความไม่ยุติธรรม แต่เมื่อมีคนเรียกร้องให้ปฏิบัติให้ถูกตามหลักการนี้ ให้ยุติภาวะไม่ยุติธรรมนี้ พวกเขาก็มาอ้างเรื่องพระราชวงศ์ตอบโต้ไม่ได้ ซึ่งเป็นการอ้างในลักษณะที่ต้องการรักษาความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นก่อน จึงไม่สามารถเอาเรื่องความยุติธรรมมาอ้างได้
ถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์เรื่องเผาบ้านเผาเมือง
5 เมษายน 255


แม้ฟ้าหญิงจะออกตัวว่าไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง แต่คำสัมภาษณ์นี้ มีลักษณะการเมืองอย่างชัดเจนและมากด้วย การที่พระราชทานสัมภาษณ์หรือมีพระดำรัสทางการเมืองแบบนี้ ในสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและสังคมปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่ยุติธรรมเลย ไม่มีหนังสือพิมพ์หรือทีวีใด จะกล้าแสดงความเห็นโต้แย้งหรือเผยแพร่ความเห็นโต้แย้ง







จดหมายถึงพระมหากษัตริย์
เนื่องในวันที่ 5 ธันวาคม 2553
จากปรวยหัวเข็ม
วิกฤติการเมืองไทย
5 ปีมานี้ บานปลายมาจนทหารไล่ยิงประชาชนกลางกรุงเทพตายไปมากกว่า 90 คน มีนักโทษการเมืองถูกจับกุมมากกว่า 200 คน
ศูนย์การค้ากลางกรุงถูกเผาทำลาย มันเริ่มต้นเมื่อปลายปี 2548 และเริ่มเข้าสู่วิกฤติเมื่อทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 ประเทศไทยจะไม่มีวันมาถึงจุดนี้ได้เลย ถ้าต้นเหตุส่วนหนึ่งไม่ได้เริ่มมาจากที่สถาบันกษัตริย์ลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ในประเทศไทย ความศรัทธาความจงรักภักดี ที่ประชาชน มอบให้สถาบันกษัตริย์ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา
ทำให้กษัตริย์ในประเทศไทยมีสถานะดั่งสมมุติเทพ สูงส่งจนไม่มีใครกล้าแตะต้อง
เป็นยิ่งกว่าพระเจ้า แต่ความศรัทธา ความจงรักภักดีที่ประชาชนมอบให้สถาบันกษัตริย์นั้น
ก็ไม่ได้มอบไว้เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ลงมาสั่งการและจัดการการเมือง โดยไม่ฟังเสียงประชาชน
แต่ 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ตัวกษัตริย์และราชินีเองกลับลงมายุ่งกับการเมืองหลายครั้งหลายคราว
รวมทั้งไม่มีการว่ากล่าวห้ามปรามคนใกล้ชิด เช่นองคมนตรีและทหารที่ลงมาจัดการทางการเมือง
โดยเอาสถาบันกษัตริย์มาอ้างเพื่อบังคับให้คนทั่วไปทำตามความต้องการของตน ทำให้คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่กล้าทักท้วงคัดค้าน
องค์กรที่มีหน้าที่รักษาความถูกต้องของกฏหมาย ก็พลอยเอนเอียงเข้าข้างกลุ่มคนที่อ้างสถาบันกษัตริย์
กฏระเบียบและเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเลยถูกบิดเบือน
แต่พอมีประชาชนลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์สิ่งเหล่านี้ พวกท่านกลับปิดปากประชาชนฝ่ายที่เห็นตรงข้ามกับสถาบันกษัตริย์และพรรคพวก ด้วยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเข้าจับกุม ซึ่งนั่นเท่ากับเป็นการใช้อำนาจที่มาจากความศรัทธาความจงรักภักดี ที่ประชาชนมอบให้สถาบันกษัตริย์ ย้อนกลับมาเป็นอำนาจเผด็จการเพื่อปิดปากประชาชนเสียเอง
ถ้าท่านเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรม ขอให้ท่านตักเตือนห้ามปรามคนใกล้ชิด
คนแวดล้อมของท่าน ไม่ให้ใช้สถาบันกษัตริย์และกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาริดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชน
เพื่อคืนความยุติธรรมและเสรีภาพในการแสดงออกให้กลับสู่ประเทศไทย เพื่อที่ประเทศไทยจะได้เดินหน้าต่อไปตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
ซึ่งเป็นเรื่องที่ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิไตยในสากลโลกพึงจะมี และให้สมกับที่พระมหากษัตริย์ของไทยได้เคยตรัสประโยคที่ยิ่งใหญ่
เมื่อวันที่ท่านได้สวมมงกุฏเสด็จขึ้นครองราชย์ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม หาไม่แล้ว
มงกุฏที่ท่านสวมเมื่อวันขึ้นครองราชย์ คงไม่ต่างอะไรกับกรงกักขังความคิด สิทธิ
และเสรีภาพของประชาชน
จดหมายถึง นิติพงษ์ ห่อนาค
เรื่อง เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัย
และงบประมาณสำหรับสถาบันกษัตริย์
1 สิงหาคม 2555
สวัสดีครับ พี่ดี้
เห็นพี่ดี้บ่นเรื่องว่า ไม่อยากจ่ายภาษีเพื่อเป็นเงินเดือนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ชอบตั้งคำถามกับสถาบันกษัตริย์ จากเฟซบุ๊ค Nitipong Honark ตามนี้
ของขึ้นยามดึก
...กราบเรียนปรึกษาท่านผู้รู้นะครับ..ถ้าหากกระผมเป็นคนไทยผู้เสียภาษีถูกต้อง...และโดยหลักการเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้กับข้าราชการ...ถ้าหากกระผมไม่ยินดีจะจ่ายเงินเดือนให้อาจารย์หอกหักในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มักจะกล่าวว่ามีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว...อันดูหมิ่นสถาบันอื่นโดยใช้เหตุ...เพื่อจะได้มาถามคำถามว่า”ในหลวงทำงานหนักตรงไหน”...กระผมควรจะไปร้องเรียนที่ใดครับ
ผมคิดว่าพี่ดี้ไม่ต้องกังวลเรื่องนั้นหรอกครับ ผมไม่ทราบว่านะครับปีนึงพี่ดี้จ่ายภาษีปีละเท่าไหร่แต่เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยและงบประมาณสถาบันกษัตริย์เราประชาชนธรรมดาๆไม่ได้เป็นนักวิชาการอะไร เราก็พอเสิร์ชหาได้ในอินเตอร์เนต พี่ดี้อาจจะไม่มีเวลา ผมเลยลองไปเสิร์ชช่วยหาดูครับ เว็บไซต์ที่ชาวบ้านๆทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายๆเลยครับ พันทิพ กดครั้งแรกก็เจอ ผมคิดว่าเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่เชื่อถือได้ พี่ลองกวาดตาดูตัวเลขคร่าวๆก็ได้ครับถ้าไม่มีเวลา
เงินเดือนอาจารย์จบปริญญาโทบางแห่งไม่ถึง 1 หมื่นบาท สูงสุดไม่เกิน 3 หมื่นบาท
(เงินเดือนอ.ปริญญาโท ราชภัฏพระนคร 9,700 บาท สำหรับม.ธรรมศาตร์ เงินเดือนอาจารย์ปริญญาโท 13,450 บาท ปริญญาเอก 19,230 บาท)
เอาละเราพักตรงนี้ไว้ก่อนที่นี้มาดูงบประมาณสถาบันกษัตริย์ สถาบันที่พี่เทิดทูนบูชา ใครตั้งคำถามใครแตะต้องไม่ได้ ลองเสิร์ชจากคำว่า งบประมาณสถาบันกษัตริย์ ในกูเกิ้ลเลยนะ กดโป๊ะไปมันก็โผล่มาเลย
ไม่เกินลำดับที่ 3 ที่ 4 เราก็เจอเลยพี่ดี้ ผมดูแล้วอันนี้น่าเชื่อถือสุด มีเชิงอรรถให้ค้นต่อได้ด้วยถ้ามีเวลาจากลิงค์ของวิกิลิกส์ http://www.wikileaks-forum.com/index.php?topic=9373.0
สำรวจตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 งบประมาณสำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ มีรายการดังต่อไปนี้

ในเรื่องแผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ กระจายไปตามหน่วยงานต่างๆ คือ
สำนักราชเลขาธิการ 525,512,600 บาท
สำนักพระราชวังมาตรา 2,794,957,000 บาท
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 603,516,900 บาท
ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2,300,000,000 บาท
เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 600,000,000 บาท
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 42,606,875 บาท
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 1,558,064,400 บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 65,018,200 บาท
กรมราชองครักษ์ 615,359,100 บาท
กองบัญชาการกองทัพไทย 260,000,000 บาท
กองทัพบก 320,000,000 บาท
กองทัพเรือ 12,246,100 บาท
กองทัพอากาศ 21,000,000 บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 30,200,000 บาท
กรมโยธาธิการและผังเมือง 1,010,092,000 บาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 450,227,800 บาท
รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสิ้น 11,208,800,975 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยแปดล้านแปดแสนเก้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท)
พี่คิดว่ายังไงครับ เราจ่ายงบประมาณให้สถาบันกษัตริย์ปีละ หมื่นกว่าล้านบาท แต่เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยที่จบปริญญาโทคนที่ต่ำสุดอยู่ที่ไม่ถึง
หนึ่งหมื่นบาท
ผมถึงบอกว่าพี่ไม่ต้องกังวลไงครับ เพราะถ้าดูจากข้อมูลนี้ เงินภาษีที่พี่จ่ายนั้นเจือจานไปถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยต่อคนนั้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับงบประมาณที่ประเทศนี้ทุ่มเทให้สถาบันกษัตริย์
ที่ผมบอกว่าเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้นน้อยนิด ผมไม่ได้พูดเองนะครับ เขาก็มีคนลองทำโพลในอินเตอร์เนตนี่แหละครับ ถามกันซื่อๆเลยว่าเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยประเทศนี้น้อยไปหรือเปล่า พี่ลองเข้าไปดูที่เว็บพันทิพนี้ได้http://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2012/02/B11764323/B11764323.html คนส่วนมากจากโพลบอกว่าน้อยไป ที่จริงไม่ต้องทำโพลก็น่าจะรู้ๆอยู่ว่าเงินเดือนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยประเทศนี้น้อยไปจริงๆ ที่สำคัญพี่ว่า เราจะสามารถทำโพลเพื่อถามประชาชนบ้างได้หรือเปล่าว่า งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ในแต่ละปีมันมากไปหรือเปล่า พี่ว่าเราจะทำโพลแบบนี้ได้ไหมครับ หรือว่าเพราะเป็นสถาบันกษัตริย์เราจึงไม่ควรตั้งคำถามแบบนี้
หวังว่าพี่อ่านจดหมายฉบับนี้แล้วพี่คงสบายใจได้ว่า ภาษีที่พี่จ่ายไปๆทุกปีนั้น มันถึงมืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่พี่ไม่ชอบน้อยมากๆ น้อยกว่าไปถึงมือสถาบันกษัตริย์อยู่แล้ว
รักษาสุขภาพด้วยนะครับพี่ดี้
จากน้องคนหนึ่ง
ปรวยหัวเข็ม Pruay Salty Head
ปล. เอ้อลืมถามพี่ไปอีกนิด พี่ว่าประเทศที่ให้เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยมากๆ กับประเทศที่ทุ่มเทงบประมาณให้สถาบันกษัตริย์มากๆ พี่ว่าสองประเทศนี้ ประเทศแบบไหนที่เราจะสามารถฝากอนาคตประเทศชาติและอนาคตลูกหลานของเราไว้ได้ มากกว่ากัน
หมายเหตุ นิติพงษ์ ห่อนาค (เกิด 2503 ชื่อเล่น: ดี้) นักแต่งเพลงชาวไทยที่มีชื่อเสียงของแกรมมี่
เป็นรองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจดนตรี ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อยู่ 27 ปี ปัจจุบัน
นิติพงษ์ก่อตั้ง บริษัท สหภาพดนตรี จำกัด
ร่วมกับ อัสนี โชติกุล, ชาตรี คงสุวรรณ, จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี และ วุฒินันท์ ภิรมย์ภักดี
เนื่องในวันที่ 5 ธันวาคม 2553
จากปรวยหัวเข็ม
![]() |


แต่พอมีประชาชนลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์สิ่งเหล่านี้ พวกท่านกลับปิดปากประชาชนฝ่ายที่เห็นตรงข้ามกับสถาบันกษัตริย์และพรรคพวก ด้วยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเข้าจับกุม ซึ่งนั่นเท่ากับเป็นการใช้อำนาจที่มาจากความศรัทธาความจงรักภักดี ที่ประชาชนมอบให้สถาบันกษัตริย์ ย้อนกลับมาเป็นอำนาจเผด็จการเพื่อปิดปากประชาชนเสียเอง

จดหมายถึง นิติพงษ์ ห่อนาค
เรื่อง เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัย
และงบประมาณสำหรับสถาบันกษัตริย์
1 สิงหาคม 2555
สวัสดีครับ พี่ดี้
เห็นพี่ดี้บ่นเรื่องว่า ไม่อยากจ่ายภาษีเพื่อเป็นเงินเดือนให้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ชอบตั้งคำถามกับสถาบันกษัตริย์ จากเฟซบุ๊ค Nitipong Honark ตามนี้

ผมคิดว่าพี่ดี้ไม่ต้องกังวลเรื่องนั้นหรอกครับ ผมไม่ทราบว่านะครับปีนึงพี่ดี้จ่ายภาษีปีละเท่าไหร่แต่เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยและงบประมาณสถาบันกษัตริย์เราประชาชนธรรมดาๆไม่ได้เป็นนักวิชาการอะไร เราก็พอเสิร์ชหาได้ในอินเตอร์เนต พี่ดี้อาจจะไม่มีเวลา ผมเลยลองไปเสิร์ชช่วยหาดูครับ เว็บไซต์ที่ชาวบ้านๆทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายๆเลยครับ พันทิพ กดครั้งแรกก็เจอ ผมคิดว่าเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่เชื่อถือได้ พี่ลองกวาดตาดูตัวเลขคร่าวๆก็ได้ครับถ้าไม่มีเวลา
เงินเดือนอาจารย์จบปริญญาโทบางแห่งไม่ถึง 1 หมื่นบาท สูงสุดไม่เกิน 3 หมื่นบาท
(เงินเดือนอ.ปริญญาโท ราชภัฏพระนคร 9,700 บาท สำหรับม.ธรรมศาตร์ เงินเดือนอาจารย์ปริญญาโท 13,450 บาท ปริญญาเอก 19,230 บาท)
เอาละเราพักตรงนี้ไว้ก่อนที่นี้มาดูงบประมาณสถาบันกษัตริย์ สถาบันที่พี่เทิดทูนบูชา ใครตั้งคำถามใครแตะต้องไม่ได้ ลองเสิร์ชจากคำว่า งบประมาณสถาบันกษัตริย์ ในกูเกิ้ลเลยนะ กดโป๊ะไปมันก็โผล่มาเลย
ไม่เกินลำดับที่ 3 ที่ 4 เราก็เจอเลยพี่ดี้ ผมดูแล้วอันนี้น่าเชื่อถือสุด มีเชิงอรรถให้ค้นต่อได้ด้วยถ้ามีเวลาจากลิงค์ของวิกิลิกส์ http://www.wikileaks-forum.com/index.php?topic=9373.0
สำรวจตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 งบประมาณสำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ มีรายการดังต่อไปนี้

ในเรื่องแผนงานเทิดทูน พิทักษ์ และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ กระจายไปตามหน่วยงานต่างๆ คือ
สำนักราชเลขาธิการ 525,512,600 บาท
สำนักพระราชวังมาตรา 2,794,957,000 บาท
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 603,516,900 บาท
ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2,300,000,000 บาท
เกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 600,000,000 บาท
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 42,606,875 บาท
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 1,558,064,400 บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 65,018,200 บาท
กรมราชองครักษ์ 615,359,100 บาท
กองบัญชาการกองทัพไทย 260,000,000 บาท
กองทัพบก 320,000,000 บาท
กองทัพเรือ 12,246,100 บาท
กองทัพอากาศ 21,000,000 บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 30,200,000 บาท
กรมโยธาธิการและผังเมือง 1,010,092,000 บาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 450,227,800 บาท
รวมจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 สำหรับรักษาพระเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสิ้น 11,208,800,975 บาท (หนึ่งหมื่นหนึ่งพันสองร้อยแปดล้านแปดแสนเก้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท)
![]() |
ผมถึงบอกว่าพี่ไม่ต้องกังวลไงครับ เพราะถ้าดูจากข้อมูลนี้ เงินภาษีที่พี่จ่ายนั้นเจือจานไปถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยต่อคนนั้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับงบประมาณที่ประเทศนี้ทุ่มเทให้สถาบันกษัตริย์
ที่ผมบอกว่าเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้นน้อยนิด ผมไม่ได้พูดเองนะครับ เขาก็มีคนลองทำโพลในอินเตอร์เนตนี่แหละครับ ถามกันซื่อๆเลยว่าเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยประเทศนี้น้อยไปหรือเปล่า พี่ลองเข้าไปดูที่เว็บพันทิพนี้ได้http://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2012/02/B11764323/B11764323.html คนส่วนมากจากโพลบอกว่าน้อยไป ที่จริงไม่ต้องทำโพลก็น่าจะรู้ๆอยู่ว่าเงินเดือนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยประเทศนี้น้อยไปจริงๆ ที่สำคัญพี่ว่า เราจะสามารถทำโพลเพื่อถามประชาชนบ้างได้หรือเปล่าว่า งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ในแต่ละปีมันมากไปหรือเปล่า พี่ว่าเราจะทำโพลแบบนี้ได้ไหมครับ หรือว่าเพราะเป็นสถาบันกษัตริย์เราจึงไม่ควรตั้งคำถามแบบนี้
หวังว่าพี่อ่านจดหมายฉบับนี้แล้วพี่คงสบายใจได้ว่า ภาษีที่พี่จ่ายไปๆทุกปีนั้น มันถึงมืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่พี่ไม่ชอบน้อยมากๆ น้อยกว่าไปถึงมือสถาบันกษัตริย์อยู่แล้ว
รักษาสุขภาพด้วยนะครับพี่ดี้
จากน้องคนหนึ่ง
ปรวยหัวเข็ม Pruay Salty Head
ปล. เอ้อลืมถามพี่ไปอีกนิด พี่ว่าประเทศที่ให้เงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัยมากๆ กับประเทศที่ทุ่มเทงบประมาณให้สถาบันกษัตริย์มากๆ พี่ว่าสองประเทศนี้ ประเทศแบบไหนที่เราจะสามารถฝากอนาคตประเทศชาติและอนาคตลูกหลานของเราไว้ได้ มากกว่ากัน

ในแง่ความสัมพันธ์ของกษัตริย์ต่อรัฐธรรมนูญของไทย นับว่ายังมีความคลุมเครืออยู่มาก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มาตรา 32 ให้กษัตริย์ต้องสาบานตนต่อสาธารณะว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือประเทศนอร์เวย์ มาตรา 19 กษัตริย์ต้องสาบานต่อรัฐสภาว่าจะปฏิบัติตามธรรมนูญของ ประเทศ ในขณะที่ในประเทศไทย ยังไม่มีการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ในเรื่องนี้อย่างชัดเจน

ในยุโรปมีการทำโพลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่ทำขึ้นอย่างแพร่หลาย และเป็นเรื่องปรกติ ในระยะสองปีเดนมาร์คได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อสถาบันกษัตริย์ของตนเองอย่างน้อยสิบครั้ง โดยมีคำถามเช่น ราชินีควรสละราชบัลลังค์หรือไม่ เมื่อไร ทรงงานดีเพียงใด ส่วนในสวีเดนก็มีการทำโพลเช่นกัน และถามคำถามที่หลากหลาย เช่น กษัตริย์ควรสละราชบัลลังค์ให้กับฟ้าชายเมื่อใด ใครในราชวงศ์ที่ชื่นชอบมากที่สุด ไปจนถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์
โดยในครั้งนั้นแบบสำรวจพบว่ามีชาวสวีเดนแสดงความไม่เชื่อมันในสถาบันกษัตริย์ถึงร้อยละ35 ในขณะที่มีผู้เชื่อมันร้อยละ 39 ประเทศในยุโรปที่มีสถาบันกษัตริย์ล้วนเคยทำโพลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเบลเยี่ยม สเปน เดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ นอรเวย์ สวีเดน อังกฤษ รวมทั้งญี่ปุ่น การทำแบบสำรวจเช่นนี้ ช่วยให้สถาบันกษัตริย์ได้ทราบว่าตนเองอยู่ตรงไหนในสังคม และทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนในประเทศไทย การทำสำรวจเช่นนี้ ยังคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมีกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์

ในเรื่องความโปร่งใสด้านงบประมาณในระยะที่ผ่านมา สถาบันกษัตริย์ในยุโรปก็มีแนวโน้มเปิดเผยมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเร็วๆ นี้ โฆษกของพระราชวังบักกิงแฮมก็ได้ออกมากล่าวว่า ราชวงศ์ของอังกฤษนั้นนับว่ามีราคาถูก โดยมีภาระด้านการเงินต่อประชาชนคิดเป็นหัวละ 66 เพนซ์หรือราว 30 บาทเท่านั้น จักรพรรดิญี่ปุ่นมีค่าใช้จ่ายที่ 60 บาทต่อประชากรหนึ่งคน ในขณะที่ไทย จะมีค่าเลี้ยงดูกษัตริย์ในปี 2555 ราว 11,208 ล้านบาท หรือต่อประชากรหัวละราว 170 บาทและยังมีงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทยส่วนมากที่ยังไม่ถูกเปิดเผย และอยู่กระจัดกระจายในหลายกระทรวงและหน่วยงาน อีกทั้งสถานะของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของในหลวงก็ยังมีความคลุมเครือในตัวเองด้วย


ในประเทศสวีเดน รัฐมองว่า การที่ประชาชนนิยมการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยและเป็นความใฝ่ฝันทางการเมืองมากกว่า รัฐบาลจะเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยถึงเรื่องนี้ได้ ข้อสังเกตที่แสดงให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์จะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ยาวนาน ก็คือ การไม่ทำอะไรที่ผิดเกินไป ควรทำให้สถาบันโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเอื้อให้เกิดเสรีภาพในการแสดงออก ดังจะเห็นจากหลายประเทศในยุโรปที่ประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ ติดลำดับประเทศที่มีเสรีภาพสื่อสูงมากที่สุดในโลก เช่น ในประเทศนอร์เวย์ สวีเดน และเนเธอร์แลนด์
ความยุติธรรมอยู่ที่อื่น ไม่ใช่ที่นี่
รัฐธรรมนูญไทยน่าจะใส่บทบัญญัติตามที่หลวงวิจิตรวาทการเคยเสนอไว้ว่า สยามจะต้องมีพระมหากษัตริย์ทรงราชย์และปกครองชั่วนิรันดร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการรักษาจารีตประเพณีของเราที่บังคับว่าเราจะเป็นสาธารณรัฐไม่ได้ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาถามว่าเอาเจ้าหรือไม่เอาเจ้า






![]() |
ต้องยกเลิกกฎหมาย
ที่หมิ่นมนุษยชาติและความจริง









การล้อเลียน - เสียดสีบุคคลลำดับสูงในสถาบันกษัตริย์ที่สร้างความเสื่อมเสียเกินขอบเขต ศาลในประเทศพัฒนาแล้วอาจลงโทษสถานเบาให้ปรับเงินจำนวนเล็กๆ น้อยๆ แต่ในประเทศที่ไม่ยอมพัฒนา ศาลยังคงตัดสินให้จำคุกหลายปี โดยเปิดช่องให้กับการแสดงพระราชอำนาจและพระราชบารมีในการพระราชทานอภัยโทษ




![]() |

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น