ฟัง : http://www.mediafire.com/?7s3tjjlr9f1jv4m
หรือ : http://www.4shared.com/mp3/0-zUATW9/Section_112_The_Royal_Threat_T.html
จดหมายจาก ลุงบัณฑิต
ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ
11 มกราคม 2555
เรียน ท่านเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ
11 มกราคม 2555
เรียน ท่านเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
![]() |
ข้าพเจ้าถูกดำเนินคดีในข้อหาข้างต้น เนื่องจากการเขียนหนังสือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง และการพูดแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในระหว่างการสัมมนาที่จัดโดยรัฐบาลไทย ถ้อยคำแสดงความคิดเห็นในหนังสือของข้าพเจ้าที่ถูกรัฐบาลไทยดำเนินคดี และศาลอุทธรณ์ของไทยพิพากษาจำคุก
![]() |
![]() |
การดูหมิ่นพระมหากษัตริย์

ข้อความอีกตอนหนึ่ง “คนบางคน คนบางครอบครัว และคนบางกลุ่ม เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือกองทัพ เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือกฎหมาย เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือคนทั้งประเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือฟ้า เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือสวรรค์ และเป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือพระผู้เป็นเจ้า แต่เราไม่ต้องการให้เขาเหล่านั้นมีอำนาจอยู่เหนือความเป็นธรรม ” ศาลไทยเห็นว่า ข้าพเจ้าต้องการสื่อความหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี รัชทายาทและพระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงดำรงพระองค์อยู่ในฐานะจอมทัพไทย ซึ่งมีพระราชอำนาจเหนือกองทัพ ข้าพเจ้าเขียนโดยมีความหมายทำนองว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงมีพระราชอำนาจและพระอำนาจเหนือบุคคลทั้งประเทศ เหนือฟ้า เหนือสวรรค์ และเหนือความเป็นธรรม ควรจะจำกัดขอบเขตมิให้ทรงมีพระราชอำนาจ ซึ่งความเป็นจริงแล้วพระมหากษัตริย์มิได้อยู่เหนือกฎหมาย โดยพระองค์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้ให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลในแผ่นดิน ไม่เคยทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ถ้อยคำดังกล่าวเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






นอกจากข้าพเจ้าแล้ว ยังมีประชาชนและนักเคลื่อนไหวอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกกักขังและลงโทษในความผิดเดียวกับข้าพเจ้าด้วย
ข้าพเจ้า ขอร้องเรียนมายังท่านโดยตรง ด้วยความเชื่อมั่นว่า หากท่านทราบถึงข้อเท็จจริงในชะตากรรมของข้าพเจ้าและนักโทษการเมืองอื่นๆใน ประเทศไทยแล้ว การดำเนิกการของท่าน ย่อมส่งผลต่อการปฏิบัติของรัฐบาลไทยและเจ้าหน้าที่ของไทยที่มีต่อนักโทษ การเมือง ท่านสามารถอธิบายและโน้มน้าวให้รัฐบาลไทยยุติการกักขังและทรมานนักโทษ การเมือง เช่นข้าพเจ้าหรือนักโทษการเมืองอื่นๆได้
![]() |
ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า
ในทุกเวที ในทุกสถานที่ ท่านซึ่งเคารพในสิทธิมนุษย์ชน
จะได้โปรดดำเนินตามที่ข้าพเจ้าร้องขอ
(นายบัณฑิต อานียา)
โปรดติดต่อข้าพเจ้าที่ (Contact Address)
XXX (52/1) หมู่ 6 ซอยเพชรเกษม 108 แยก 9 แขวงหนองค้างพลู
เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
โทร.083−(XXXXXXX) 0619237
(นายบัณฑิต อานียา)
โปรดติดต่อข้าพเจ้าที่ (Contact Address)
XXX (52/1) หมู่ 6 ซอยเพชรเกษม 108 แยก 9 แขวงหนองค้างพลู
เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
โทร.083−(XXXXXXX) 0619237
คดี ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี
-ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2521 

พิพากษายืน ว่า จำเลยมีความผิดตาม ม.112 ให้จำคุก 2 ปี




โชติศักดิ์เคยให้สัมภาษณ์ไว้ “แม้ว่าผมจะไม่ยืนแต่ผมก็เคารพสิทธิ์ของคนที่อยากจะยืนเหมือนกัน ผมให้เกียรติพิธีกรรมของเขาด้วยการเลือกที่จะนั่งอย่างสงบ” แม้เขาจะไม่ผิด แต่ด้วยข้อหาเช่นนี้ก็ทำให้ชีวิตเขาเปลี่ยนไปแล้วโดยสิ้นเชิง
สรุปได้ในขณะนี้ว่า การไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เปิดในโรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ หรือล่าสุดได้ขยายเข้าไปถึงก่อนการแข่งขันกีฬาแล้ว หากเป็นการ “ไม่ยืนโดยสงบ” นั้น ในปัจจุบันยังไม่เป็นความผิดตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือ ยังไม่พอฟังว่าเป็นความผิดฐานดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ดังนั้น การที่เห็นคนไม่ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีแม้จะยังฟังไม่ได้ว่าเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 แต่การกระทำดังกล่าวก็ถือเป็นกิริยาที่ไม่เหมาะสมและไม่อยู่ในบรรทัดฐานที่ประชาชนทั่วไปต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นตามธรรมดาของคนไทยทุกคนที่พบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวย่อมไม่พอใจและอาจตอบโต้หรือตักเตือนได้ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามของสังคมไทยสืบมา ที่แม้อาจจะมีพฤติกรรมอันรุนแรงไปบ้าง แต่ถ้าไม่ได้รุนแรงต่อร่างกายจนเกินไป หรือทรัพย์สินที่เสียหายเป็นทรัพย์ที่มีราคาน้อย ก็เป็นความไม่พอใจที่เข้าใจได้ เพราะเป็นเรื่องธรรมดาของคนไทยทุกคนที่พบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว และการตอบโต้คนไม่ยืนตามสมควรแก่กรณีหากไม่รุนแรงเกินไปนั้น กลไกกฎหมายอาญาของรัฐไม่ยื่นมือเข้าไปยุ่ง


เพลงสรรเสริญพระบารมี เริ่มเกิดขึ้นราวสมัย ร. 5 เพื่อให้ทัดเทียมกษัตริย์อารยประเทศ แต่เริ่มเอามาใช้กันเป็นล่ำเป็นสันในสมัยรัฐนิยม ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในช่วงนั้นมีประกาศออกมาหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเพลงชาติและเพลง สรรเสริญพระบารมี โดยมีฉบับหนึ่งระบุว่า“เมื่อได้เห็นผู้ใด ไม่แสดงความเคารพ....พึงช่วยกันตักเตือนชี้แจงให้เห็นความสำคัญแห่งการเคารพ ธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี.”
ประกาศมา ณ วันที่ 8 กันยายน พุทธศักราช 2482
พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี


ทนายจำเลยชี้ให้ศาลเห็นว่า ในทุกการชุมนุมของคนเสื้อแดงจะมีการจำหน่ายวีซีดีเป็นปกติ ซึ่งคนขายทั้งหมดไม่มีใครมีใบอนุญาตจำหน่ายวีซีดี แต่ตำรวจอนุโลมให้จำหน่ายได้ เนื่องจากเห็นว่า เนื้อหาในวีซีดีเหล่านั้นไม่ผิด กม. และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ส่วนเนื้อหาในวีซีดีที่ระบุว่า ฟ้าชายวชิราลงกรณ์และพระวรชายาจะได้เป็นกษัตริย์และราชินีพระองค์ถัดไป ก็เป็นเรื่องจริง รวมทั้งเนื้อหาในส่วนอื่นๆก็ล้วนเป็นเรื่องจริงที่รับรู้โดยทั่วกัน

บทสนทนาระหว่างผู้พิพากษากับทนาย
ผู้พิพากษาอภิสิทธิ์:
ถ้า [ม.112] ขัดรัฐธรรมนูญ ก็จบ ใช้ไม่ได้ แต่ถ้าไม่ คุณจะสู้คดีอย่างไร ยิ่งจริงยิ่งหมิ่น ฟังก่อน และถ้าไม่จริงก็โคตรหมิ่นเลย เพราะฉะนั้นการพิสูจน์ว่าจริงไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ต่อคุณเลย… ให้คุณพิจารณาเอาเอง มันไม่ได้เป็นผลดีต่อตัวคุณเลย…
ทนายอานนท์: ถ้า [ข้อมูลในวิดีโอและ WikiLeaks] เป็นความจริง เราก็สู้โดยสุจริต ปัญหาคือจะเรียนเชิญทั้งสอง [พลเอกเปรม กับ องคมนตรีสิทธิ] และขอหมายเรียก [จากศาล] มา 3 ครั้งแล้ว
ผู้พิพากษา: พยานไม่เป็นประโยชน์ต่อคดี
ทนายอานนท์: ผมเชื่อว่าท่านองคมนตรีจะพูดความจริง
ผู้พิพากษา: ถ้าคุณจะอ้างว่าผมจะพูดถึงใครก็ได้ อันนั้นก็อ้างรัฐธรรมนูญมา …แต่เรื่องข้อความทางกฎหมาย ยิ่งจริงยิ่งหมิ่น…เข้าใจเปล่า?... ถ้าไม่มีผลในคดีเท่าที่ควร ทำไปมันก็ไม่ได้อะไร มันได้แต่ความสะใจ
ทนายอานนท์: ท่านองคมนตรีเป็นหลักสังคม ท่านจะพูดความจริง
ผู้พิพากษา: ฝ่ายโจทก์ไม่ได้โต้เรื่อง WikiLeaks ไม่ได้โต้เนื้อหาว่าจริงไม่จริง เขาบอกข้อความเป็นการหมิ่น ศาลก็ไม่ได้คัดค้านอะไรคุณ แต่คุณลองคิดให้ดีก่อน [ถ้า] มาดูเอ๊ะ จะสู้แนวไหนกันแน่ มันจะเป็นผลดีกับตัวคุณเอง…
ทนายอานนท์: (บอกว่ากฎหมายคุ้มครองไม่ให้วิจารณ์องค์ประมุขเท่านั้น ไม่รวมพระราชินีหรือองค์รัชทายาท)
ผู้พิพากษา: ตีความเถียงอาจารย์ ก็สอบตก ไม่ได้เกรดเอ (A) … ศาลตีความให้ได้เลยว่าขัด [ม.112] ไม่ขัด อย่าเข้าใจผิดนะ ศาลเปิดโอกาสให้คุณสู้คดี เต็มที่เลย
ทนายอานนท์: ผมคิดว่าแนวทางการต่อสู้ค่อนข้างจะชัดเจนว่าข้อความเป็นความจริง เราก็ยืนยันว่าเราสู้แนวข้อเท็จจริง….
ผู้พิพากษา: ไม่มีธง…พูดแบบแฟร์ๆ
หลังจากนั้นก็ศาลก็ให้พักหารือ 20 นาที และมีการถกเถียงกันในกลุ่มของเอกชัยอย่างดุเดือดว่าจะเอาอย่างไรต่อ และข้อดีข้อเสียแต่แนวทางต่อสู้คดีแต่ละแบบเป็นอย่างไร
เอกชัยบอกผู้เขียนว่า ‘คดีผม สำคัญที่สุดต้องเอา […] 3 คนนี้มา […] ต่อให้สู้เรื่องเจตนา ผมก็ไม่รอด’
20 นาทีผ่านไป ศาลสองท่านขึ้นบัลลังก์ แล้วทนายอานนท์ก็ยังยืนยันว่าอยากจะพิสูจน์ความจริงของข้อมูลใน WikiLeaks และวิดีโอ ABC
ผู้พิพากษา: คืออย่างนี้ ศาลไม่ขัดขวาง ศาลพูดเป็นแนวทางเฉยๆ ไม่ได้บังคับ โจทก์ไม่ได้โต้เถียงเรื่องข่าว WikiLeaks เลยว่าไม่มีหรือไม่มีการพูด อ้างพยานเพิ่มเติมถ้ามีเหตุผลศาลให้อยู่แล้ว ศาลรู้และเข้าใจความเป็นกังวลของจำเลย [แต่] ถ้าสืบเรื่องข้อเท็จจริงอย่างเดียวจะเสียต่อคดี ศาลไม่ได้แนะนำ ไม่ได้มีอะไร ไม่ได้กลัวอะไร… ศาลบอกว่า คุณจะสู้แนวไหน
ทนายอานนท์: ในบันทึกการจับกุม [เอกชัย] จำเลยใช้คำว่า [ข้อมูล] เป็นคำพูดไม่เหมาะสม [ซึ่งอาจต่างจากคำพูดหมิ่น]
ผู้พิพากษา: จำเลยสู้ว่าไม่มีเจตนาหมิ่น เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญและสิทธิเสรีภาพก็ว่าไป เอาอย่างนี้ดีกว่า ศาลอธิบายนิดนึงนะ ศาลไม่ได้ปิดกั้นเรื่องพยาน
เรื่องนี้มันละเอียดอ่อน ศาลเป็นกลางจริงๆ ศาลไม่มีอะไรเลย ศาลก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง
พูดตรงๆเลย บางทีแพ้ทางเทคนิคมันเจ็บใจ… ศาลไม่ได้บอกแนว [ต่อสู้คดี] นะ ศาลถามแนวทางเพื่อให้คุณมีโอกาสเตรียมตัวสู้คดีอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญ [ว่า ม.112 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่] ศาลอนุญาตให้ส่งนะ
เรื่องหมายเรียก [ให้พลเอกเปรมกับ พลอากาศเอกสิทธิ] ของดไว้ก่อน ไม่ใช่งดเลย ศาลเข้าใจว่าคุณกังวล งดไว้ก่อนไม่ใช่ไม่ออกแล้ว

ถ้าเป็นคน สาธารณะ คนสถานะพิเศษ ยิ่งจริงยิ่งต้องคุ้มครองคนพูดและส่งเสริมคนให้พูด
เพราะการยอมให้พูดเป็นการสร้างกรอบสถานะ ที่จะทำให้มีการดำรงตนตามกรอบ ทำให้เกิดสถานะอันเป็นที่ยอมรับอย่างแท้จริง
การที่ศาลบอกว่า "ฝ่ายโจทก์ไม่ได้โต้เรื่อง WikiLeaks ไม่ได้โต้เนื้อหาว่าจริงไม่จริง" นั้นถือได้หรือไม่ว่า ศาลยกประโยชน์ให้จำเลย โดยถือว่า คดีนี้เนื้อหาที่จำเลยอัดใส่ CD จริง เพราะโจทก์ไม่ยกเป็นข้อกล่าวอ้าง ซึ่งโจทก์ไม่สามารถยกเรื่องที่ว่าเนื้อหานั้นไม่จริงมาใช้ได้อีก ดังนั้นประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลย ขณะนี้ จึงมีเพียง 2 ประเด็น คือ ข้อเท็จจริงที่พลเอกเปรมกับ พลอากาศเอกสิทธิ คุณอานันท์ ปันยารชุน และคุณสมัคร กล่าวเข้าข่ายหมิ่นตาม ม.112 หรือไม่ ประเด็นหนึ่ง และ จำเลยมีเจตนากระทำผิดตาม ม.112หรือไม่ อีกประเด็นหนึ่ง
ทีมทนายจำเลย ควรยืนยันให้ พลเอกเปรมกับ พลอากาศเอกสิทธิ และคุณอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นให้การในฐานะพยานจำเลย เพราะมีแต่ผู้ที่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงความเห็นดังกล่าวเท่านั้นที่ต้องพิสูจน์ว่าตนไม่เข้าข่ายหมิ่นตาม ม.112 หรือต้องถูกดำเนินคดีหมิ่นตาม ม.112 แล้ว
ทำไมฝ่ายโจทก์ ทั้งพนักงานสอบสวนและอัยการ จึงไม่เชิญพลเอกเปรมกับ พลอากาศเอกสิทธิ และคุณอานันท์ ปันยารชุน มาสอบสวน หาข้อเท็จจริง และหากเชื่อว่ามีการกล่าวจริงและเข้าข่าย ม. 112 ทำไมจึงไม่ดำเนินคดี แต่ถ้าฝ่ายโจทก์เชื่อมั่นโดยสุจริตว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบัน ข้อเท็จจริงที่กล่าวไม่เข้าข่าย ม.112 แต่เหตุใดจึงมุ่งดำเนินคดีกับจำเลยเพียงผู้เดียว ถ้าจำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องใน CD เป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบัน คงไม่กล่าวข้อเท็จจริงที่เข้าข่ายหมิ่น ตามม.112 จึงได้กอปปี้ CD ออกขายเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ประชาชนสนใจ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยรู้ข้อเท็จจริงว่า ถ้อยคำใน CD มีลักษณะที่เข้าข่ายหมิ่นตาม ม.112 ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีเจตนากระทำผิด ตาม ม.112 คดีนี้จึงมีหลักง่ายๆ ว่า
มีการพูดจริง และเข้าข่ายหมิ่นจริง หรือ มีการพูดจริง แต่ไม่เข้าข่ายหมิ่น
ในกรณีนี้ ถ้าผู้เอามาเผยแพร่ โดนคดีหมิ่น พลเอกเปรมกับพวก ซึ่งเป็นผู้พูดข้อความนั้นเอง ก็น่าจะโดนคดีหมิ่นด้วยเช่นกัน
รายงานลับของ WikiLeaks
เรื่องที่เปรม สิทธิ และ อานันท์
คิดยังไงกับราชวงศ์

คมนตรี) และ อานันท์ ปันยารชุน มีเนื้อหาย่อๆ ดังนี้เปรม บอกว่า วชิราลงกรณ์ ไม่ไปเยี่ยมพ่อที่โรงพยาบาลแม้แต่ครั้งเดียว และคงมีความสัมพันธ์กับทักษิณบ้าง เปรมมองว่าทักษิณคิดผิดที่จะไปมั่นใจพึ่งฟ้าชาย ด้วยเหตุที่เคยช่วยทางด้านเงินในอดีต ทั้งสามคนไม่ค่อยชอบฟ้าชายนัก แต่ทุกคนก็ยืนยันว่าฟ้าชายคงได้สืบราชบัลลังก์ แต่ทั้งสิทธิและอานันท์เสนอว่าถ้าให้คนอื่นเป็นน่าจะดีกว่า ขณะที่สิทธิชอบพระเทพมากกว่า อานันท์บอกว่ามีแต่ในหลวงเท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลงได้ แต่คงมีโอกาสน้อย




อย่าเอามาตรา 112
ไปใช้กล่าวหาฟ้องร้องใครเด็ดขาด
![]() |
ประเด็นสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ ความจริง เป็นประเด็นสาธารณะ ที่ประชาชนทุกคนควรต้องมีสิทธิและเสรีภาพที่จะอภิปรายได้อย่างตรงไปตรงมา นี่คือสิ่งที่ นปช ที่ต้องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยควรนำมาชี้ให้เห็นชัดถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ใช่ไปผลิตซ้ำข้อกล่าวหาเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นกฎหมายที่ขัดต่อหลักการในระบอบประชาธิปไตย โดยที่กฎหมายนี้ ถูกใช้เล่นงานคนเสื้อแดงอย่างหนัก แทนที่ อ.ธิดากับคณะ จะเรียกร้องให้ยุติการใช้กฎหมายนี้เล่นงานคนเสื้อแดงและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทั่วไป แต่กลับมาส่งเสริมการใช้กฎหมายนี้เพิ่มขึ้น อย่างคำพูดว่าหมิ่นเหม่ต่อการทำลายสถาบันเบื้องสูงของเรา ที่ อ.ธิดาและคณะใช้ในการแถลงข่าวนั้น เป็นวาทกรรม ประเภทเดียวกับที่กำลังใช้เล่นงานคนเสื้อแดงและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทั่วไปในตอนนี้ และจะยังคงใช้ต่อๆไปอีก เหตุใด อ.ธิดาและคณะจะมาส่งเสริมวาทกรรม ประเภทนี้อีกเล่า
ส่วนนายจตุพร ก็เคยแถลงข่าวที่พรรคเพื่อไทย เมื่อ 13 มกราคม 2552 กล่าวหา นายอภิสิทธิ์ กระทำการมิบังควร ตีตนเสมอพระเจ้าแผ่นดิน โดยนั่งเก้าอี้เทียบเสมอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการถวายรายงานราชการ จนโดนนายอภิสิทธิ์ ยื่นฟ้อง และ เมื่อ10 ก.ค. 2555 ศาลสั่งคุกนายจตุพร 6 เดือน พร้อมปรับเงินอีก 50,000 บาท โทษจำให้รอลงอาญา 2 ปี โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การจัดที่นั่งในการเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นหน้าที่ของสำนักพระราชวัง ที่เป็นผู้ดำเนินการว่าจะต้องมีการจัดเก้าอี้อย่างไร ที่จำเลยอ้างว่าไม่รู้ระเบียบของสำนักพระราชวังนั้น ประกอบกับไม่มีพยานปากใดยืนยันว่าการจัดการเข้าเฝ้าไม่อยู่ในความรับผิดชอบ ของรัฐบาล อีกทั้งพยานหลักฐาน อาทิ รูปถ่ายการเข้าเฝ้าของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เข้าเฝ้าถวายรายงานก็มีลักษะเดียวกัน ขณะเดียวกันนายจตุพร เป็น ส.ส.ที่เคยเข้าเฝ้าจึงน่าจะรู้วิธีการและขั้นตอน ดังนั้นการวิพากษ์วิจารณ์ของจำเลยเกินเลยไปกว่าฐานะ ส.ส. ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล แต่เป็นการกระทำที่ให้โจทก์เกิดความเสียหาย และมาผูกโยงกับการเมือง
นักต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยต้องกล้าที่จะยืนหยัดต่อต้านกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่เป็นเผด็จการที่ล้าหลังป่าเถื่อนและต้องไม่นำเอาหลักกฎหมายที่ไม่ชอบธรรมนี้มาใช่เล่นงานคนอื่น
หน้าหน้าศาล รธน.
ในสมัยกลางของยุโรป เมื่อคริสตศาสนายังคงเป็นความคิดอันครอบงำ ชนชั้นปกครองและพระชั้นสูงในสมัยนั้นรักษาอำนาจโดยการอ้างตนเองว่า เป็นผู้ศรัทธาต่อพระเจ้าอันแท้จริง และกล่าวหาคนที่คิดต่าง ว่าเป็นพวกแม่มด ต้องถูกลงโทษโดยการเผาทั้งเป็น ผลจากกรณีนี้ทำให้มีประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก ถูกสอบสวนและถูกลงโทษ เมื่อเวลาผ่านไป มาตราการล่าแม่มดเช่นนี้ ถือว่าเป็นมาตราการป่าเถื่อนจึงถูกยกเลิก เสรีภาพในด้านความคิดความเชื่อจึงเป็นที่ยอมรับ และชาวยุโรปก็จะเลิกบังคับให้คนคิดและศรัทธาในแบบเดียวกัน
แต่ในกรณีของประเทศไทย การล่าแม่มดยังคงดำเนินการอยู่ กรณีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัดทำมะนวยจะอ่านคำวินิจฉัยกรณีที่ศาลเองไปทำการละเมิดอำนาจนิติบัญญัติ ด้วยการใช้คำสั่งให้รัฐสภายุติการพิจารณาการแก้ไขเพิ่มเติมรัดทำมะนวยมาตรา 291 ที่จะต้องมีการลงมติในวาระที่สาม ในวันนั้น กลุ่มประชาชนฝ่ายขวาหลายกลุ่มที่ให้การสนับสนุนศาลรัดทำมะนวย โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชน ได้ไปชุมนุมกันที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานศาลรัดทำมะนวย ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ โดยอ้างเหตุผลว่าจะปกป้องศาล ซึ่งในที่สุด ศาลรัดทำมะนวยก็ได้เสนอข้อวินิจฉัยอันไร้สาระออกมาชุดหนึ่ง แต่ปัญหาของเหตุการณ์ไม่ได้อยู่ที่คำวินิจฉัย หากแต่อยู่เหตุการณ์หน้าศาล

เหตุการณ์นี้เองได้กลายเป็นที่มาของการล่าแม่มดครั้งใหม่ เพราะกลุ่มพลังฝ่ายขวาทั้งหลายได้ถือโอกาสนำมาเป็นเรื่องสร้างกระแสติดตามและสำแดงพลังคุกคาม โดยส่วนหนึ่งก็ได้นำเรื่องนี้มาโจมตีกล่าวหาฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ และโจมตีไปถึง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวหาว่า ไม่สนใจติดตามตัวคุณฐิตินันท์มาดำเนินคดี แม้ว่าจะมีรายงานข่าวว่า คุณฐิตินันท์เป็นบุคคลไม่ปกติ มีอาการทางประสาท ทั้งเป็นผู้สูงอายุแล้ว แต่กลุ่มฝ่ายขวาก็ยังคงไม่ละเว้น ยังคงกระเหี้ยนกระหือรือที่จะเล่นงานคุณฐิตินันท์ให้เป็นเหยื่อกรณี 112 อย่างปราศจากความเมตตา และยังโจมตีไปถึงสื่อกระแสหลัก เช่น ไทยรัฐ มติชน และ โทรทัศน์ช่องต่างๆ รวมไปถึงรายการของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ว่ามิได้อนาทรร้อนใจต่อพฤติกรรมมิบังควรของหญิงชรารายนี้



ก่อนหน้านี้ นายชวนนท์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ผบ.ตร.รีบดำเนินคดีต่อ นางฐิตินันท์ โดยเร็ว โดยกล่าวว่า ถ้ามีศักดิ์ศรี อย่าอยู่ภายใต้เงาของกลุ่มคนเสื้อแดง และอยู่ใต้เงาของน้องเขย ให้รีบดำเนินการจัดการเรื่องนี้โดยเร็ว อย่าให้เกิดเหตุการณ์ตะลุมบอนที่สนามบินสุวรรณภูมิ ตนไม่อยากเห็นความรุนแรง และขอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฏหมาย ขณะนี้ ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้ให้ทีมกฎหมายดูเรื่องดังกล่าวอยู่ หากมีการปล่อยปละละเลยให้ผู้หญิงคนนี้เดินทางออกประเทศ เรื่องนี้ ทางพรรคจะดำเนินการตามกฏหมายต่อเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 157 หรือประมวลกฎหมายอื่นๆ ที่ทุจริตต่อหน้าที่ และขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเอง อย่าปล่อยให้ผู้หญิงที่ทำเรื่องสะเทือนใจคนไทยออกนอกประเทศ
นพ.ศิริศักดิ์ ผอ.สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กล่าวถึงการรับตัวนางฐิตินันท์ เข้ารับการรักษาตัวไว้ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค. 2555 โดยพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง ควบคุมตัวและนำส่งที่สถาบัน เพราะว่าเข้าข่ายมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.สุขภาพจิต ซึ่งเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยต่อสังคมและตัวบุคคลนั้นเอง และจำเป็นต้องได้รับการประเมินวินิจฉัย ถ้าป่วยก็รักษาตามสิทธิผู้ป่วย

กรณีนี้คุณฐิตินันท์จึงตกเป็นเหยื่ออีกรายหนึ่งของมาตรา 112 ที่เริ่มต้นจากฝ่ายพันธมิตรประชาชนโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่อ้างเอาสีเหลืองของสถาบันกษัตริย์มาเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มตน เพื่ออ้างการผูกขาดความจงรักภักดี และใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องมือในการโจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและใส่ร้ายบุคคลที่มีความคิดต่าง และต่อมาในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ก็มีการขานรับการดำเนินการของฝ่ายเสื้อเหลือง โดยกวาดจับประชาชนจำนวนมากในข้อหาความผิดตามมาตรา 112
พร้อมกันนั้น สื่อมวลชนของฝ่ายเสื้อเหลืองและฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้ใช้วิธีปลุกระดมประชาชนให้เกิดความเคียดแค้นชิงชังผู้ที่มีความคิดต่าง โดยดึงเอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นข้ออ้างตลอดเวลา ที่ผ่านมาจึงมีผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก ต้องตกเป็นเหยื่อตามข้อกล่าวหาในมาตรานี้ ปัญหาคือ การเคลื่อนไหวปลุกเร้าประชาชนลักษณะนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดสติปัญญาแต่อย่างใด และยิ่งไม่เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์ แต่กลับยิ่งทำให้เกิดความงมงายคับแคบ คิดและศรัทธาแบบเดียวตายตัว เห็นคนที่คิดต่างเป็นศัตรูที่ต้องกวาดล้างทำลาย เหมือนเมื่อปี 2519 ที่กลุ่มฝ่ายขวาในสมัยนั้นที่ดำเนินการลักษณะเดียวกันในการปลุกปั่นให้เกิดความเข้าใจผิดและความเกลียดชังต่อขบวนการนักศึกษา โดยกล่าวหาว่าเป็นพวกที่ไม่จงรักภักดี และผลจากการเคลื่อนไหวปลุกกระแสเช่นนั้น ก็นำมาสู่การฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากในกรณี 6 ตุลาคม ซึ่งเป็นรอยมลทินครั้งใหญ่ประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน ถ้าคิดอย่างมีสติแล้ว สังคมไทยจะได้ประโยชน์อะไร ถ้าจะต้องจับผู้สูงอายุ เช่น คุณฐิตินันท์มาเป็นจำเลย หรือต้องถูกจำคุกต่อแถวอีกคนหนึ่ง ในจำนวนนักโทษการเมืองผู้บริสุทธิ์ที่ถูกดำเนินคดีอยู่ในขณะนี้

เปิดจดหมาย เรื่องเล่า
ชีวิตในเรือนจำ

ม่รู้และเป็นความยากลำบากที่คนในต้อง เผชิญเพียงลำพัง
พวกแกนนำ ปนช.ที่เคยถูกจองจำอยู่ จนกระทั่งปล่อยประกันออกไป จะได้รับการปฏิบัติดูแลที่ต่างกัน โดยที่แกนนำ นปช.จะได้รับสิทธิพิเศษมากกว่า ได้รับเกียรติมากกว่า ส่วนผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงรายอื่นๆ ได้รับการดูแลปฏิบัติเหมือนนักโทษทั่วไป ซ้ำร้ายไปกว่านั้น หลายรายถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจจากเจ้าหน้าที่ที่สนับสนุนฝ่ายตรงข้าม ถูกทำร้ายจากผู้ต้องขังด้วยกัน ทั้งจากการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่ และทั้งแบบลับหลังที่เจ้าหน้าที่ไม่รู้
ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเสื้อแดงไม่แตกต่างจากนักโทษคนอื่นๆ สิ่งที่ทำในแต่ละวัน เช่น การทำงาน, การกินอาหาร, การหลับนอน ก็เหมือนนักโทษทั่วไปทุกอย่าง ซึ่งพอจะแยกเป็นเรื่องๆ ได้ เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาจนตะวันตกดิน

ภายหลังจากเข้าแถวเคารพธงชาติแล้ว
ทุกคนจะแยกย้ายกันไปตามกองงานต่างๆ ที่ทุกคนจะได้รับมอบหมาย
ตอนเข้ามาอยู่ในแต่ละแดน มีกองงานอยู่หลายกองงานไม่ซ้ำกัน ทุกคนจะถูกบังคับให้ทำ
เช่น กองงานปั่นถ้วย เย็บรองเท้า ปลั๊กไฟ ฯลฯ ด้วยเหตุผลที่เจ้าหน้าที่อ้างว่า ต้องให้ผู้ต้องขังทำเพื่อจะได้ไม่ต้องคิดมาก
ในระหว่างวัน
ผู้ต้องขังที่มียอดงานจะต้องทำให้เสร็จและในวันธรรมดาอย่างนี้
ผู้ต้องขังทุกคนมีสิ่งที่เฝ้ารอที่จะได้รับ
นั่นคือ “การได้รับใบเยี่ยมญาติ”
ที่จะมีการประกาศชื่อผู้ที่มีญาติมาเยี่ยมอยู่ตลอดช่วงเวลาทำงาน การได้เยี่ยมญาติคือโอกาสในการได้ออกไปจากกำแพงสี่เหลี่ยมที่แสนจะอึดอัด
ไปชมโลกภายนอกบ้าง และนี่คือสิ่งที่มีความสุขที่สุดของผู้ต้องขังทุกคน
![]() |
เวลาประมาณ
11.00 น.
จะมีพักเบรกกินข้าวต้มหรือขนม ช่วงบ่ายก็ยังทำงานไปเรื่อยๆ
ใครทำเสร็จก็สามารถพักผ่านได้ตามอัธยาศัยได้ ไม่เสร็จก็ทำกันต่อไปจนกระทั่งหมดเวลาเยี่ยมญาติ
เวลา 15.00 น.โดยประมาณ ก็จะถึงเวลาอาบน้ำกันก่อนขึ้นนอนและจะมีอาหารเย็นให้กินอีกครั้งก็ประมาณ
เวลา 15.00 น. มื้อนี้เป็นมื้อหนัก คนจะกินกันเยอะเพราะต้องอยู่บนห้องนอนประมาณ
14 ชั่วโมง เมื่อกินข้าวเสร็จก็ได้เวลาขึ้นเรือนนอน 15.30
น. เราจะอยู่ในเรือนนอนกันแล้วใครจะดูหนัง อ่านหนังสือ ฯลฯ
ก็ทำกันไป ทีวีจะปิดตอนประมาณ 3 ทุ่มครึ่ง
ถือเป็นอันจบสิ้นทุกอย่างในวันนั้น
วันหยุดเสาร์อาทิตย์
หรือวันหยุดราชการ
ทุกอย่างตามตารางเวลาจะดำเนินไปตามปกติ
ตื่น 6 โมงเช้า
อาบน้ำ กินข้าวเช้า กลางวัน เย็น เหมือนวันปกติทุกอย่าง ที่แตกต่างก็คือ “ไม่มีเยี่ยมญาติ และไม่ต้องทำงาน” เท่านั้น จึงไม่มีใครชอบวันหยุด
โดยเฉพาะนักโทษ/ผู้ต้องขังที่คดียังไม่ถึงที่สุดเพราะไม่ได้พบทนาย ประกันตัววันหยุดไม่ได้
แต่ที่ทุกคนไม่ชอบวันหยุดเลยคือ “ไม่มีการเยี่ยมญาติ”
รายละเอียดกิจกรรมประจำวันที่น่าสนใจ
1.การอาบน้ำ/แปรงฟัน และภารกิจส่วนตัว
![]() |
![]() |
![]() |
บ่อยครั้งที่ตักน้ำขึ้นอาบ จะเกิดอาการคันขึ้นมาในทันที และถ้าคันแล้วไม่ฟอกสบู่ด้วยสบู่ยาหรือล้างอีกทีให้สะอาด หลังอาบน้ำเสร็จจะเกิดตุ่มขึ้นมาทันที เป็นเรื่องที่แย่มากๆ เลยจริงๆ
![]() |
ในเรื่องของการรักษาพยาบาล โรงพยาบาลประจำที่เรือนจำ มีแพทย์ประจำเพียงสองคน โดยแต่ละคนมีเวรการรักษาเพียงรอบละสองชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น ประกอบกับคุณภาพอาหารในเรือนจำมีคุณภาพต่ำ ทำให้นักโทษไม่ได้รับคุณค่าโภชนาการอย่างเพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักโทษเจ็บป่วยมากขึ้น
2.การกินอาหาร
![]() |
มีอาหารให้กินวันละ
3 มื้อ คือ
ข้าวเช้า ประมาณ 7.00 – 7.30 น. มื้อเที่ยงเป็นข้าวต้ม
ขนมหวาน เวลา 11.00 – 11.30 น. มื้อเย็นก็ประมาณ 15.00
น. เป็นแบบนี้ทุกวัน อาหารก็ถือว่าใช้ได้ ไม่ถึงกับว่าดีหรืออร่อย แต่สำหรับผู้ต้องขังที่ไม่เคยติดคุกมาก่อน
รับรองกินไม่ลงแน่ๆ มีข้าวสวยให้กิน ใครที่ไม่ชอบแกงหลวงสามารถซื้อกับข้าวจากร้านค้าสงเคราะห์ที่อยู่ภายในเรือน
จำต่างหากได้ โดยมื้อกลางวันจะเปิดให้กินเวลา 13.00 น. มื้อนี้เป็นมื้อสำหรับผู้ที่พอมีเงินซื้อ
ซึ่งจะต้องใช้ถ้วยชามของตัวเอง มื้อเช้าส่วนใหญ่จะเป็นแกงจืด ต้มจับฉ่าย
ประเภทอาหารที่ไม่เผ็ด มื้อกลางวันหลักๆ จะเป็นข้าวต้มกับกับข้าว เช่น ยำผักกาดดอง
กระเทียมดอง หัวไชโป๊วผัดไข่ ปลาเค็ม (ที่ไม่ค่อยน่ากินนัก) บางมื้อ
บางวัน จะมีพ่วงขนมหวาน เช่น ต้มถั่วแดง ต้มสาคู พอกินได้ แต่เหม็นสาบมากๆ มื้อเย็นส่วนใหญ่จะเป็นแกงเผ็ดที่เน้นหนักไปทางมะเขือเปราะ
มะละกอ แตงร้าน ต้มหัวปลา (เนื้อปลาไม่ค่อยมี) หมูไม่เป็นหมู ไก่ไม่เป็นไก่ เพราะจะสับให้มองไม่ออกว่าเป็นส่วนไหน
รวมๆ แล้วถือว่าพอกินประทังชีวิตได้
3.การซื้อของในเรือนจำ มีร้านค้าสงเคราะห์ อยู่ในทุกแดน แต่เดินหยิบซื้อเองไม่ได้
จะซื้อทีต้องเขียนใส่กระดาษแล้วไปต่อคิวซื้อเอา ซึ่งจะชุลมุนมากๆ อนุญาตให้ใช้ได้เต็มที่
วันละ 200 บาท เกินแม้แต่บาทเดียวก็ไม่ได้ ระบบจะไม่อนุมัติ การจ่ายเงินจะทำผ่านบัตรประจำตัวที่เรียกว่า
บัตรสมาร์ทการ์ด ลักษณะบัตรก็เหมือนบัตรเอทีเอ็ม ด้านหน้าบัตรจะมีรูปที่ถ่ายตอนเข้ามาในคุกใหม่ๆ
มีหมายเลขนักโทษ รายละเอียดต่างๆ แล้วก็ชื่อคดี ด้านหลังจะเป็นแถบแม่เหล็ก
อันต่อมา
คือการเบิกอาหารสำหรับคนที่พอมีเงินอยู่บ้าง ไม่อยากกินข้าวหลวงก็สามารถเลือกซื้ออาหารจากร้านค้าสงเคราะห์ได้
มีอาหารที่เลือกซื้อได้ถึง 4
ทางด้วยกัน และมีความแตกต่างกัน ได้แก่
ทางที่
1.การสั่งซื้ออาหารหน้าร้านค้า
อาหารที่ขายผ่านหน้าร้านคืออาหารที่ไม่ต้องจดเพื่อสั่งซื้อทางร้านค้า จะเอามากองให้เลือกซื้อกันสดๆ
เลย สนใจอันไหนก็หยิบแล้วรูดปื้ดได้เลย จุดเด่นของอาหารหน้าร้านคือ ไม่แพง ถุงละ 20
บาท แต่ถุงเล็กชะมัด มีแกงต่างๆ ขนมหวาน ขนมปัง ตามแต่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลร้านค้าจะวัดดวงเอามาขาย
อันนี้เป็นผลประโยชน์พิเศษของผู้คุมร้านค้าเพราะสินค้าจะแพงเป็นพิเศษ
อย่างโยเกิร์ตที่ที่เซเว่นข้างนอก 12 บาท หน้าร้านจะขาย 20
บาท ยาคูลท์ขาย 10 บาท
ใครอยากกินก็ต้องทนซื้อเอา เรียกร้องไม่ได้ โดยขายเกินราคามากๆ จุดเด่นของการซื้อของหน้าร้านคือ
สะดวก รวดเร็ว มีอาหารของกินแปลก แต่แพงมาก หมดแล้วหมดเลย เขาเอาเข้ามาจำกัดใครที่คิดจะซื้อกับข้าวแต่ไม่ได้สั่งล่วงหน้า
ถ้าพลาดสินค้าหน้าร้านแล้ว ก็ไม่มีอะไรกินเลย
ทางที่
2. การสั่งซื้อสินค้า
(อาหาร) ล่วงหน้าจากร้านค้าสงเคราะห์หรือที่เรียกกันว่าการสั่งออเดอร์ อาหารจากร้านสงเคราะห์มีมากมายหลายอย่าง
เกือบทั้งหมดจะราคา 25 บาท ได้ของเยอะกินได้จุใจ
แต่ต้องสั่งล่วงหน้าคือสั่งวันนี้ได้วันรุ่งขึ้น วิธีการคือ
ถ้าเราจะกินอะไรพรุ่งนี้ วันนี้เราจะต้องจดรายการอาหารที่เราต้องการใส่เศษกระดาษ แล้วเอาไปใส่ในกล่องรับใบออเดอร์
วันรุ่งขึ้นก็รอจ่ายเงินแล้วรอรับของ ซึ่งการซื้อของ รับของออเดอร์นี้วุ่นวายมากๆ
ใครไปรับของช้า ก็จะถูกคนอื่นที่มาก่อนเอาไป อาหารออเดอร์นี้ใช้ได้ แต่น่าเบื่อตรงกระบวนการซื้อและรับของเท่านั้นเอง
ทางที่
4 ทางสุดท้ายที่เรียกได้ว่าโลคลาสสุดๆ
คือการซื้ออาหารจากพ่อค้าซึ่งก็คือนักโทษด้วยกันเองที่สั่งสินค้ามาขายเองจากร้านค้าสงเคราะห์
ความจริงแล้วทางเรือนจำไม่สนับสนุนให้มีพ่อค้า บางแดนถ้าจับได้ถือว่ามีความผิดทางวินัยเลย
พ่อค้าที่ว่าจะสั่งซื้ออาหารที่คิดว่าขายดี มาไว้ จากนั้นนำมาวางเร่ขายโดยแลกกับนมหรือบุหรี่
ซึ่งจะบวกกำไรพอสมควร เหมาะสำหรับผู้ต้องขังที่ไม่มีเงินอยู่ในบัญชีที่ไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าด้วยวิธีธรรมดาได้
แต่อาจมีบุหรี่ นมที่ได้จากการรับจ้างบริการต่างๆ ก็สามารถนำของเหล่านั้นมาแลกเป็นอาหารกับพ่อค้าได้
![]() |
![]() |
นักโทษที่มีฐานะไม่ดี
จึงแทบไม่มีโอกาสได้กินอาหารดีๆเลย มาม่าจึงเป็นอาหารที่วิเศษสุดๆ รวมถึงปลากระป๋องด้วย
โครงการเลี้ยงอาหารกลางวันผู้ต้องขังที่ทางกลุ่มราษฎรประสงค์ร่วมกับพี่น้องเสื้อแดงหลายๆกลุ่มที่เห็นใจและห่วงใยผู้ต้องขังที่ทางกลุ่มฯซื้อให้ผู้ต้องขังเสื้อแดงนั้นคืออาหารในระดับสโมสร
และซึ่งนักโทษเสื้อแดงมีโอกาสได้กินอาหารอย่างนี้น้อยมาก
4.เรื่องการทำงานในเรือนจำ ผู้ต้องขังทุกคนจะถูกจำแนกไปตามกองงานต่างๆ แบ่งอย่างกว้างๆ
คือ กองงานที่มียอดงาน และไม่มียอดงาน ที่มียอดงานได้แก่ ปั่นถ้วยกระดาษ และเย็บรองเท้า
เป็นต้น กองงานถ้วยกระดาษ ถือเป็นกองงานที่ใช้ในการลงโทษก็ได้ เช่น ถ้ามีนักโทษทำผิดวินัยก็จะถูกย้ายไปลงกองงานปั่นถ้วย
นักโทษที่เด็ดขาดแล้วหรืออยู่ในระหว่างพิจารณาก็จะต้องทำงานเหมือนกัน พวกที่ยังหนุ่มยังแน่นมักถูกให้ทำหน้าที่ปั่น
ที่มีอายุหน่อยหรือพิการหรือป่วยเป็นโรคจะให้ทำด้านถอดเสียบ
ถ้วยกระดาษที่ว่าก็คือถ้วยกระดาษรูปกรวย
ผู้ต้องขังจะต้องปั่นถ้วยให้ได้อย่างน้อยวันละ 4-5 กิโลกรัม ถ้านับเป็นใบแล้วก็ประมาณ
2,000-2,500 ใบ (1 กิโลกรัม ประมาณ 500
ใบ) ทำไม่เสร็จจะโดนเฆี่ยน หรือต้องจ้างหรือตัดยอดงานกับนายที่เป็นหัวหน้ากองงานอยู่
โดยจ่ายเป็นรายเดือน เดือนละ 1,000 บาทโดยประมาณ หรือคิดเป็นบุหรี่ก็เดือนละ
2 แถว (20ซอง) จ่ายแล้วก็เดินเล่นได้เลย
ไม่มีการจี้ ไม่มีการเรียก หรือวุ่นวายใดๆ คนที่พอจะมีทุนทรัพย์อยู่บ้างก็ยินดีจ่าย
แทนที่จะต้องทนนั่งหลังขดหลังแข็งตั้งแต่เช้าทุกวัน เวลามีญาติหรือคนมาเยี่ยม
บางคนต้องรีบกลับไปปั่นงานต่อ เพราะถ้าออกมานานกลับไปไม่ทัน การเยี่ยมนักโทษก็ต้องอย่าลืมซื้อของฝาก
ไม่อย่างนั้นพอกลับแดนก็ต้องหานมไปจ่ายค่าปั่นงาน
![]() |
![]() |
สำหรับกองงานที่ไม่มียอดงาน
เช่น กองงานปลั๊กไฟ คือจัดเรียงกล่องปลั๊กไฟใส่กล่อง กองงานโรงเลี้ยง
กองงานพัฒนาแดน เป็นการใช้แรงงานอย่างเดียว แต่งานหนักไม่ใช่เล่น
การทำงานของผู้ต้องขังตามระเบียบของเรือนจำ โดยอ้างการให้ผู้ต้องขังมีอะไรทำบ้าง จะได้ไม่ต้องคิดมากเรื่องคดีความ แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับทำให้ผู้ต้องขังมีความเครียดเพิ่มเข้าไปอีก เหมือนเป็นการซ้ำเติมผู้ต้องขังที่ทุกข์ทรมานอยู่แล้วให้ทุกข์มากขึ้น ส่วนเรื่องผลตอบแทน ในการทำงาน ที่อ้างว่ามีเงินปันผลให้คนงานก็เป็นเงินที่เล็กน้อยจริงๆ กองงานเย็บรองเท้าเย็บวันละ 15 คู่ 1 เดือน 4 สัปดาห์ ก็ 300 คู่ หรือ600 ข้าง ถ้าทำได้ถึง ให้ค่าจ้างเดือนละ 95 บาท กองงานปั่นถ้วยปั่นวันละ 5 กิโล หรือ 2,500 ใบ 1 เดือน 4 สัปดาห์ได้ 100 กิโล หรือ 250,000 ใบ ถ้าทำได้ถึง จ่ายค่าจ้างให้ 90-120 บาท ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จึงตกเป็นของเจ้าหน้าที่ เงินที่ผู้ต้องขังได้รับจากการทำงานในแต่ละเดือน เขาเรียกว่าเงินปันผล
สุรชัยตัดสินใจ
รับสารภาพ 2 คดี
24 ม.ค.2555 ที่ห้องพิจารณาคดี 801 ศาลอาญา ถนนรัชดา นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ เป็นจำเลยในความผิดมาตรา 112
ได้กลับคำให้การเป็นรับสารภาพ เว็บไซต์ศาลอาญาระบุคำฟ้อง ว่า เมื่อวันที่
18 ธันวาคม พ.ศ.2553 จำเลยพูดกล่าวข้อความ ใส่ความ
ต่อประชาชนผู้มาฟังการชุมนุมปราศรัยรายการเสวนาตาสว่างกว่าเดิม ว่ากษัตริย์มีส่วนบงการหรืออยู่เบื้องหลังทางการเมือง
และเป็นเหตุให้เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองอย่างรุนแรง โดยจำเลยมีเจตนาที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปเสื่อมศรัทธา
ไม่เคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนคดีที่ดอยสะเก็ด นั้น
ระบุว่า วันที่ 11 กันยายน 2553 จำเลยได้หมิ่นประมาท
ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย ต่อสถาบันกษตริย์ และยังมีคดีอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนอีกอย่างน้อย
2 คดี
นายสุรชัย ได้เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมราชทัณฑ์กรณีที่ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯไม่ได้รับการพิจารณาให้ย้ายไปยังเรือนจำชั่วคราว เพราะพฤติการณ์การกระทำความผิด ก็เกิดจากการเปิดเวทีอภิปรายซึ่งเป็นการกล่าวอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นระบบ ไม่ได้ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อผู้ใด ส่วนสถานการณ์การเมืองหรือบริบทในเวลานั้นก็เห็นได้ชัดว่ามีการนำสถาบันมาเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ จึงสามารถสรุปได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ตามมาตรา 112 นั้นมีสถานภาพเป็นนักโทษการเมืองอย่างไม่มีทางปฏิเสธได้ ควรได้รับการควบคุมตัวในสถานที่ควบคุมตัวพิเศษ ไม่ว่าระหว่างการพิจารณาคดีหรือแม้แต่ส่วนที่ได้รับโทษเด็ดขาดแล้ว เพราะคดีนี้มีความอ่อนไหว มีแรงเสียดทานสูง ไม่มีความปลอดภัยเมื่ออยู่รวมกับผู้ต้องขังทั่วไป ที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีผู้ต้องขังคดีนี้หลายคนถูกทำร้าย แม้แต่ตนเองซึ่งนับว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์การติดคุกมานาน ก็ยังถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากเจ้าหน้าที่ที่มีความคิดตรงข้าม ทำให้ที่ผ่านมาตนประกาศจะอดข้าวไปแล้วครั้งหนึ่ง กรณีที่มีเจ้าหน้าที่โยนอาหารของตนลงกับพื้น จนผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องมาไกล่เกลี่ย การพิจารณาให้ย้ายไปเรือนจำใหม่ควรเป็นเรื่องของรัฐบาลและฝ่ายการเมืองแทนที่จะเป็นอำนาจของข้าราชการประจำที่กลัวแรงเสียดทานทางการเมือง
การทำงานของผู้ต้องขังตามระเบียบของเรือนจำ โดยอ้างการให้ผู้ต้องขังมีอะไรทำบ้าง จะได้ไม่ต้องคิดมากเรื่องคดีความ แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับทำให้ผู้ต้องขังมีความเครียดเพิ่มเข้าไปอีก เหมือนเป็นการซ้ำเติมผู้ต้องขังที่ทุกข์ทรมานอยู่แล้วให้ทุกข์มากขึ้น ส่วนเรื่องผลตอบแทน ในการทำงาน ที่อ้างว่ามีเงินปันผลให้คนงานก็เป็นเงินที่เล็กน้อยจริงๆ กองงานเย็บรองเท้าเย็บวันละ 15 คู่ 1 เดือน 4 สัปดาห์ ก็ 300 คู่ หรือ600 ข้าง ถ้าทำได้ถึง ให้ค่าจ้างเดือนละ 95 บาท กองงานปั่นถ้วยปั่นวันละ 5 กิโล หรือ 2,500 ใบ 1 เดือน 4 สัปดาห์ได้ 100 กิโล หรือ 250,000 ใบ ถ้าทำได้ถึง จ่ายค่าจ้างให้ 90-120 บาท ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จึงตกเป็นของเจ้าหน้าที่ เงินที่ผู้ต้องขังได้รับจากการทำงานในแต่ละเดือน เขาเรียกว่าเงินปันผล
สุรชัยตัดสินใจ
รับสารภาพ 2 คดี
![]() |
นายสุรชัย ได้เตรียมยื่นหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมราชทัณฑ์กรณีที่ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯไม่ได้รับการพิจารณาให้ย้ายไปยังเรือนจำชั่วคราว เพราะพฤติการณ์การกระทำความผิด ก็เกิดจากการเปิดเวทีอภิปรายซึ่งเป็นการกล่าวอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นระบบ ไม่ได้ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อผู้ใด ส่วนสถานการณ์การเมืองหรือบริบทในเวลานั้นก็เห็นได้ชัดว่ามีการนำสถาบันมาเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ จึงสามารถสรุปได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ตามมาตรา 112 นั้นมีสถานภาพเป็นนักโทษการเมืองอย่างไม่มีทางปฏิเสธได้ ควรได้รับการควบคุมตัวในสถานที่ควบคุมตัวพิเศษ ไม่ว่าระหว่างการพิจารณาคดีหรือแม้แต่ส่วนที่ได้รับโทษเด็ดขาดแล้ว เพราะคดีนี้มีความอ่อนไหว มีแรงเสียดทานสูง ไม่มีความปลอดภัยเมื่ออยู่รวมกับผู้ต้องขังทั่วไป ที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีผู้ต้องขังคดีนี้หลายคนถูกทำร้าย แม้แต่ตนเองซึ่งนับว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์การติดคุกมานาน ก็ยังถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากเจ้าหน้าที่ที่มีความคิดตรงข้าม ทำให้ที่ผ่านมาตนประกาศจะอดข้าวไปแล้วครั้งหนึ่ง กรณีที่มีเจ้าหน้าที่โยนอาหารของตนลงกับพื้น จนผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องมาไกล่เกลี่ย การพิจารณาให้ย้ายไปเรือนจำใหม่ควรเป็นเรื่องของรัฐบาลและฝ่ายการเมืองแทนที่จะเป็นอำนาจของข้าราชการประจำที่กลัวแรงเสียดทานทางการเมือง
หวังตั้งเครือข่ายผู้ต้องขัง
เดินเรื่องประกันเอง

![]() |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น