หรือที่ : http://www.mediafire.com/?m4mu5w7i6jz7m6b
112 สยองพระเกียรติ
ตอนที่ 8 : ความภูมิใจหรือน่าละอายกันแน่
สังคมลัทธิเทวราช


แต่สังคมลัทธินั้น สมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมลัทธิต่างค่อนข้างสุขีปรีดา ซึ้งซาบในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวและความมั่นคงกลมเกลียวของความเป็นสาวก ภายใต้การปกครองของผู้นำ ซึ่งมักได้รับการยกชูอยู่สูงจนมีสถานะเหนือมนุษย์ หรือมีภาพลักษณ์เป็นวีรชนไร้ผู้เทียมทาน



![]() |
นอกจากกรณีการกล่าวหา ใส่ร้าย ข่มเหง ฟ้องร้อง และลงโทษผู้คิดต่างอย่างเกินเลยหนักหน่วง ยังมีกรณีการเกิดรัฐประหารที่ขัดขวางการก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง มาหลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ จะมีก็เพียงผู้นิยมหลอกลวงตนเองอย่างล้ำลึก หรือสาวกคลั่งจัดในลัทธิเท่านั้นที่จะไม่สรุปว่าสังคมไทยก็มีคุณสมบัติที่มิเพียงละม้ายสังคมเผด็จการ มิเพียงคล้ายสังคมลัทธิ หากแต่ดูเหมือนจะมีส่วนผสมของสังคมทั้งสองประเภทอยู่อย่างกลมกลืนเช่นกัน
![]() |
![]() |
![]() |
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เวทีนาฏราช 6 พค.2553 |
![]() |
จรัญ ภักดีธนากุล และ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ แกนนำตุลาโกงรัดทำมะนวย |
![]() |
คุณฐิตินันท์ โดนรุม ฐานหมิ่นกษัตริย์ หน้าศาลรัดทำมะนวย 13 กค. 2555 |
![]() |
รายการตอบโจทย์ เรื่องสถาบันกษัตริย์ ทางทีพีบีเอส 15 มีค. 2556 ที่ถูกสั่งปิด |
![]() |
จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี รวมพลต่อต้านนิติราษฎร์ 28 มค. 2555 |
สังคมจิ้งจก
และมนุษย์ล่องหน

ปัจจุบัน คนจำนวนมากในสังคมไทยน่าจะเคยได้ยิน ได้ฟัง หรือผ่านตาเรื่องราวเกี่ยวกับมาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาบ้าง แต่การถกเถียงพูดถึงให้รอบด้านในประเด็นนี้ในเมืองไทยก็ยังทำได้อย่างจำกัด และต้องระแวดระวังสิ่งที่ตนเองจะพูด ขณะเดียวกันเราก็ไม่ทราบกันนักว่ามีใครบ้างที่โดนกล่าวหาในคดีนี้ ยกเว้นคนที่พอจะมีชื่อเสียงอยู่บ้าง อีกทั้งในทางสาธารณะ เราก็แทบไม่รู้ว่าข้อความหรือการแสดงออกซึ่งคนที่ถูกกล่าวหาในคดีพูดหรือทำอะไร และการนำคำพูดนั้นมาวิเคราะห์วิจารณ์ กล่าวซ้ำ หรือเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจอย่างมีเหตุมีผลสามารถทำได้หรือไม่ ถึงที่สุดเราแทบบอกไม่ได้เลยว่าเส้นแบ่งระหว่างการหมิ่นหรือไม่หมิ่นทางกฎหมายอยู่ตรงที่ใด เราสามารถเอ่ยถึงสถาบันในแบบใดได้บ้าง ทำให้ความเงียบล้อมรอบประเด็นเหล่านี้กลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ราวกับว่าข้อมูลในคดีนี้และเส้นแบ่งต่างๆ กลายเป็นสิ่งล่องหนอย่างหนึ่ง

เหตุที่กรณีมาตรา 112 จำนวนมากแทบไม่เป็นที่รู้จักเพราะ ตัวผู้ต้องคดีจำนวนมากเลือกที่จะทำตัวเองให้ล่องหนเสียเอง เพื่อไม่ให้ตนเองหรือครอบครัวต้องเผชิญกับความไม่ปลอดภัยหรือความรุนแรง การเลือกจะต่อสู้และเป็นข่าวโด่งดังกลับทำให้ยิ่งเป็นที่จับตาและเพ็งเล็งจาก อำนาจ กระบวนการยุติธรรม หรือกระบวนการทางสังคมมากยิ่งขึ้น และส่วนมากคนเหล่านี้จะเป็นคนเล็กคนน้อยที่ไม่มีชื่อเสียง ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่มีสถานะทางสังคม และโดยมากเป็นคนไม่มีฐานะนัก ทำให้การคุ้มครองจากสาธารณะแทบเป็นไปไม่ได้ ทนายความในคดีมาตรา 112 ของพวกเขามักย้ำหลายครั้งว่าต้องเงียบๆ อย่างเดียว ยิ่งตีมากยิ่งทำให้เขาโกรธแค้น และยิ่งสั่งลงมาแรง ยิ่งเงียบยิ่งมีโอกาสได้ประกันตัวในชั้นสืบสวน และรีบยอมรับสารภาพเพื่อให้เสร็จสิ้นกระบวนการโดยเร็ว ญาติของผู้ต้องหาคดี 112 ก็ขอเงียบๆ ไม่ส่งเสียงดัง เพราะไม่มีอะไรที่จะต่อสู้ เพราะเป็นสามัญชนไม่มีอะไรเลย ถ้าดังแล้ว เขาอาจจะหมั่นไส้ ยิ่งดิ้นเท่าไรก็ยิ่งรัดตัวผู้ต้องหาจำนวนมากจึงเลือกจะอยู่ในความเงียบ อยู่ในสถานะล่องหน และเผชิญกับกระบวนการยุติธรรมเองอย่างเงียบๆ ซึ่งต้องแลกมาด้วยการจำยอม รับสารภาพ และรอคอยการอภัยโทษหรือลดโทษในขั้นตอนต่างๆ ทำตัวนิ่งๆไม่ไหวติงและเงียบที่สุด เพื่อให้กลืนเข้ากับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด จนกระทั่งล่องหนหายไป...ไม่ต้องไปโต้แย้งเด็ดขาด ให้จำไว้และท่องไว้ตลอดเวลาว่าใครละเมิดกฎหมายก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย เพราะศาลพิจารณากฎหมายอย่างโดดๆ แยกขาดออกจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นอยู่ในสังคม ราวกับสิ่งอื่นๆไม่มีอยู่ มีแต่เพียงตัวกฎหมาย และผู้คนที่อยู่ดีๆ ก็ลุกขึ้นมากระทำการหมิ่นฯ หรือแม้แต่อยู่ๆ ก็จ้องล้มเจ้าอยู่เต็มไปหมด โดยไม่มีที่มาที่ไป เรื่องอื่นๆไม่ใช่สาระหรือประเด็นที่สำคัญ ศาลก็จะเลือกบันทึกเฉพาะประเด็นทางเทคนิคหรือการตีความข้อความที่ถูกกล่าวหาเท่านั้น โดยถือว่าประชาชนต้องเคารพสักการะเทิดทูนพระเจ้าอยู่หัวอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีอย่างอื่น โดยดูแต่เฉพาะข้อความที่พวกเขาถูกกล่าวหาหรือแสดงออก โดยไม่พิจารณาเหตุผลหรือสภาพแวดล้อมที่ทำให้พวกเขาทำเช่นนั้น
หลายคนเมื่อโดนคดี 112 ก็จะถูกญาติพี่น้องตัดขาด เพราะเป็นคดีที่ร้ายแรง ไม่มีใครอยากยุ่งเกี่ยวด้วย ช่วงถูกจับถูกคุมขัง ไม่มีญาติพี่น้องกล้าไปเยี่ยมหรือให้ความช่วยเหลือ ทำเหมือนไม่เคยรู้จักไม่เคยเกี่ยวข้องกัน ไม่มีการถามไถ่การกระทำ มุมมอง ความคิด จากจำเลยคดี112 เสียด้วยซ้ำ เพียงแค่รู้ว่าใครคนหนึ่งในครอบครัวโดนกล่าวหาด้วยกฎหมายมาตรานี้ ความเป็นมนุษย์ในด้านที่ดำรงอยู่ด้วยสายสัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจของครอบครัวเพื่อนฝูง กลับถูกทำลายขาดสะบั้นลงอย่างง่ายดายจนน่าตระหนก
ว่าไม่มีประชาธิปไตยเลย


ประเด็นที่สำคัญคือ เราต้องยุติของสถานะของสถาบันกษัตริย์ ที่มักถูกเอาไปอ้างกัน เพราะในประเทศอื่นๆ ไม่ว่าในประเทศญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ หรือเบลเยี่ยม ก็ไม่อ้างกันแล้ว แต่ที่ไทยยังอ้างอยู่ได้ ก็เป็นเพราะอุดมการณ์กษัตริย์นิยม และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ประกอบกันขึ้นมา
ต่อให้รณรงค์เรื่องแก้ไขมาตรา 112 ให้ตาย ตราบใดที่ยังมีข่าวสองทุ่ม มีโครงการหลวงอยู่ มันก็แก้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการแก้ 112 ก็ต้องแก้ทั้งชุด และต้องเสนอทั้งชุด เป็นไปไม่ได้ที่จะเสนอว่าเราต้องแก้ 112 ก่อน แล้วเราค่อยมาวิจารณ์มันไม่ได้ เพราะจริงๆ แล้ว คนที่ไม่รับเขาก็ไม่รับทั้งนั้น สำหรับคนที่รณรงค์ในเรื่องนี้อยู่ มันอาจจะดูน่าหดหู่ แต่มันก็ไม่มีทางเลือกอื่นแล้วนักวิชาการและปัญญาชนทั้งหลายที่เป็นประชาธิปไตย ต้องถือเป็นพันธะหรือภารกิจศักดิ์สิทธิ์ต้องผลักดันการเปลี่ยนประเทศไทย จากประเทศที่ต้องอาศัยสถาบันกษัตริย์ไม่ใช่ศูนย์กลางของชีวิตคนไทยอีกต่อไป กับทุกอย่างที่เราเห็น เช่น อย่างยาเสพติดเพื่อพ่อ ขับรถดีก็เพื่อพ่อ รัฐประหารเพื่อพ่อ ราชประสงค์เพื่อพ่อ การอ้างอย่างนี้ต้องหมดไป ตราบใดที่เราปฏิบัติกับสถาบันกษัตริย์แบบเดียวกับที่เราปฏิบัติกับนักการเมืองไม่ได้ การวิจารณ์มันก็ไม่มีความหมาย เพราะจะทำให้ชีวิตทางการเมืองของสังคมไม่มีความหมาย ถ้าเราไม่ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้ใช้บรรทัดฐานเดียวกับที่ใช้กับคนทั่วไปได้ เราก็ไม่มีประชาธิปไตย
ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลเหมือนกัน

คดีหมิ่น ตาม ม.112 นั้นศาลฎีกา วางแนวบรรทัดฐานว่า เป็นคดีที่อยู่คนละหมวดกับคดีหมิ่นปกติ ไม่สามารถนำข้อต่อสู้เกี่ยวกับ คดีหมิ่นปกติมาใช้ได้ เช่น การพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงที่กล่าวเป็นจริงหรือมีประโยชน์ต่อสาธารณะได้ การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์โดยแท้จริงแล้วไม่เกี่ยวกับความมั่นคง เพราะแค่ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียชื่อเสียงเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การกำหนดโทษหมิ่นพระมหากษัตริย์ให้สูงกว่าบุคคลทั่วไป เป็นสิ่งที่สามารถทำได้แต่ไม่ควรสูงมากเกินไป หรือมากเท่าปัจจุบัน ซึ่งในต่างประเทศก็มีกฎหมายในลักษณะเดียวกับมาตรา112 แต่มีโทษน้อยกว่า ที่สำคัญยังมีการยังมีการดำเนินคดีและลงโทษน้อยมาก อาจลงโทษแค่ปรับ ตัวกฎหมายนี้แม้ว่ามีอยู่แต่ก็เสมือนตายไปแล้ว ซ้ำเมื่อศาลมีคำพิพากษาก็ยังสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้
ส่วนมาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ทางใดๆมิได้
คำว่าเคารพสักการะเขียนขึ้นมาเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่ไว้บังคับให้ประชาชนทำ และละเมิดมิได้หมายถึง ห้ามฟ้องร้อง ไม่ใช่ห้ามวิพากษณ์วิจารณ์ในบทบาทสาธารณะ
พลเมืองสหรัฐฟ้องบริษัทเว็บโฮสติ้ง
ฐานส่งข้อมูลบุคคลของเขา
ไปให้รัฐบาลไทย
![]() |
องค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์สยูเอสเอ (World Organization for Human Rights USA) และ สำนักกฎหมายสเนลล์และวิลเมอร์ (Law Office of Snell & Wilmer) ยื่นต่อต่อศาลแขวงประจำแคลิฟอร์เนียกลาง กล่าวหาว่าการกระทำของบริษัทเน็ตเฟิร์มสดังกล่าว ผิดกฎหมายแคลิฟอร์เนีย รวมถึงผิดรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ นายชัยเป็นเจ้าของร้านคอมพิวเตอร์ในลองบีช แคลิฟอร์เนีย ที่ซึ่งตัวเขาและลูกค้าได้เข้าถึงและส่งความคิดเห็นโดยไม่เปิดเผยตัวตนลงในเว็บไซต์ภาษาไทยที่สนับสนุนประชาธิปไตย ชื่อ manusaya.com ซึ่งใช้บริการพื้นที่เว็บของบริษัทเน็ตเฟิร์มส ความคิดเห็นซึ่งไม่แสดงตัวตนจำนวนมากได้แสดงความกังวลต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไทย ซึ่งห้ามการแสดงออกในทางลบใดๆ ต่อสถาบันกษัตริย์ของไทย และมีบทลงโทษที่รุนแรง ซึ่งรวมถึงการจำคุกสูงสุด 15 ปี
สิทธิในความเป็นส่วนตัวของนายชัยถูกละเมิด เมื่อรัฐบาลไทยได้ร้องขอไปยังบริษัทเน็ตเฟิร์มสให้หยุดการให้บริการเว็บไซต์ manusaya.com และให้ส่งหมายเลขไอพีและที่อยู่อีเมลของนายชัยให้กับเจ้าหน้าที่ของไทย โดยไม่ได้ขออนุญาตหรือแจ้งให้นายชัยทราบก่อน จากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นความลับของนายชัยให้กับเจ้าหน้าที่ของไทยนี้ ทำให้เขาถูกกักขังที่สนามบินกรุงเทพในเวลาต่อมา และถูกนำตัวไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อสอบสวนเกี่ยวกับเว็บไซต์ดังกล่าว ในที่สุดหลังจากถูกปล่อยตัวจากการคุมตัวของตำรวจในกรุงเทพและกลับไปยังแคลิฟอร์เนียแล้ว นายชัยยังถูกเจ้าหน้าที่ของไทยสอบสวนต่อเป็นเวลาอีกสองวัน ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในฮอลลีวูด แคลิฟอร์เนีย นายชัยได้รับแจ้งในภายหลังจากเจ้าหน้าที่ของไทยว่า หากเขาเดินทางกลับมายังประเทศไทยอีก เขาจะถูกจับและฟ้องในข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
พฤษภาคม 2549
![]() |
17:00 น. ของวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ชัยถูกปล่อยตัว แต่ถูกเตือนว่าเขาอาจถูกจับได้อีกหากเดินทางกลับมาประเทศไทย เขาติดต่อครอบครัวเพื่อบอกเรื่องที่เกิดขึ้น และเดินทางกลับไปยังลองบีช แคลิฟอร์เนีย ที่ซึ่งเขาเปิดร้านขายและรับซ่อมคอมพิวเตอร์
![]() |
![]() |
ชัยถามว่าจะได้เครื่องคอมพิวเตอร์คืนหรือไม่ และได้รับคำตอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะอยู่กับเจ้าหน้าที่ไปจนตลอดการสอบสวน หลังจากนั้น ญาณพลได้เขียนไปหาชัยบอกให้เขากลับประเทศไทยเพื่อสอบถามเพิ่มเติม ถึงเวลาสำหรับคุณแล้ว ที่จะยอมมอบตัวอย่างเป็นทางการต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนของคดีนี้ คุณต้องมามอบตัวที่สำนักงานของเราในวันที่ 24 สิงหาคม 2549 เวลา 10:00 น.
โดยข้อเท็จจริง แอนโทนี ชัย ได้ใช้ที่อยู่อีเมลนิรนามของเขาโพสต์ความเห็นวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทยลงในเว็บไซต์ www.manusaya.com ซึ่งเจ้าหน้าที่ของไทยได้ประณามต่อสาธารณะว่าเว็บไซต์ดังกล่าวสนับสนุนให้ ผู้คนเสียศรัทธาและความรักต่อสถาบันกษัตริย์ รวมถึงเจ้าหญิงทุกพระองค์ เว็บไซต์ดังกล่าวถูกปิดในที่สุดโดยเน็ตเฟิร์ม ตามคำร้องขอของรัฐบาลไทย เน็ตเฟิร์มไม่ได้เพียงปิดเว็บไซต์แต่ยังได้มอบหมายเลขไอพีของชัยและที่อยู่อีเมลอีกสองอันซึ่งเชื่อมโยงกับหมายเลขไอพีดังกล่าวก่อนเดือนพฤษภาคม 2549 ตามคำร้องขอของรัฐบาลไทย โดยที่ชัยไม่ได้รับรู้หรือให้การยินยอม ทั้งไม่ได้ร้องขอคำสั่งศาล หมายศาล หรือใบอนุญาตใด ๆ จากเจ้าหน้าที่ของไทย และไม่ได้ติดต่อไปยังกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐเพื่อขอคำแนะนำ ชัยได้ฟ้องเน็ตเฟิร์มให้จ่ายค่าชดใช้และค่าเสียหายเป็นเงิน 75,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวสองล้านสองแสนห้าหมื่นบาท ด้วยความช่วยเหลือจากองค์กรสากลเพื่อสิทธิมนุษยชน ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงแคลิฟอร์เนียกลาง โดยกล่าวหาว่าเน็ตเฟิร์มได้ละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของแคนาดา มาตราที่ว่าด้วยความเป็นส่วนตัวในประมวลกฎหมายธุรกิจและวิชาชีพของแคลิฟอร์เนีย และคำประกาศสิทธิซึ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญของแคลิฟอร์เนีย
สงครามไฮเทคเพื่อพิทักษ์
สถาบันเก่าแก่จากคำดูหมิ่น
![]() |
![]() |
หน่วยราชการยืนยันว่าจะขยายผลการดำเนินงานของปฏิบัติการล้อมปราบทางอินเตอร์เน็ตครั้งนี้ต่อไปให้เข้มข้นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์จำนวน 10 นาย ภายใต้การบังคับการของนายสุรชัย นิลแสง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสารวัตรไซเบอร์ของกระทรวงไอซีที “เรามุ่งมั่นต่อหน้าที่ของเราตรงนี้ เพราะเรารักและเทิดทูนบูชาสถาบันพระมหากษัตริย์ ” นายสุรชัยกล่าวและได้พานักข่าวไปชมส่วนต่างๆในวอร์รูม รวมทั้งบริเวณสำหรับเก็บคอมพิวเตอร์ซึ่งทางหน่วยงานได้ยึดมาจากผู้ต้องสงสัย ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่อนุญาตให้บันทึกภาพแสดงให้เห็นระดับความใหญ่โตของศึกออนไลน์ระหว่าง รัฐบาลไทยและบรรดาผู้คิดต่างในประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และก็ได้แสดงถึงความคลุมเครือของมาตรฐานที่ใช้กำหนดว่า ข้อความหรือการกระทำใดบ้างที่ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นสถาบันกันแน่ ตามที่มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับปฏิบัติการดังกล่าวในประเทศไทยได้แสดงความเห็นว่า การไล่ล่าความผิดในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นนี้กำลังละเมิดสิทธิของพลเมือง รัฐบาลในหลายประเทศ โดยเฉพาะในจีนและสิงคโปร์ต่างก็พยายามควบคุมข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเช่นกัน แต่ไม่มีที่ใดที่มีการควบคุมอินเตอร์เน็ตอย่างออกนอกหน้าและตะบี้ตะบันแบบในประเทศไทย ทีมผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูมแห่งนี้ได้ปิดกั้นเว็บเพจเป็นจำนวนถึง 70,000 เพจในเวลาเพียง 4 ปี โดยส่วนใหญ่ – หรือประมาณ 60,000 เพจ ถูกบล็อกด้วยข้อหาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามที่เปิดเผยโดยนายสุรชัย (เว็บเพจอื่นๆส่วนมากถูกบล็อกคด้วยข้อหาอนาจาร) นายสุรชัยยังได้อธิบายด้วยว่า ทุกครั้งที่จะมีการบล็อกหน้าเว็บ หน่วยงานของเขาจะต้องขอคำสั่งจากศาลก่อนเสมอ และศาลก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะออกคำสั่งในการบล็อกเว็บเหล่านี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว เนื่องจากการอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศไทย และเป็นเรื่องที่คุยกันได้แต่ในระดับหลบๆซ่อนๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าจุดประสงค์ของข้อความโจมตีพระบรมวงศานุวงศ์ เหล่านั้นคืออะไรกันแน่ ไม่เคยมีการประท้วงในที่สาธารณะต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเลยตลอด เวลากว่า 60 ปีที่พระองค์ทรงครองราชย์ แม้แต่ผู้ประท้วงต่อต้านอำนาจในสังคมที่แข็งกร้าวที่สุดก็ยังไม่เรียกตนเองว่าเป็นผู้นิยมสาธารณรัฐหรือระบอบประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต ก็ได้กลายเป็นแนวปราการที่ป้องกันการดูหมิ่นเหยียดหยามสถาบัน ที่กำลังเผชิญหน้ากับการไร้ความยำเกรงและการออกนอกกรอบของคนที่เกิดมาในยุคสมัยของเฟซบุ๊ก ประชาชนไทยหลายคนอาจจะมีความเกรงกลัวมากเกินกว่าจะกบฏต่อปูชนียวาทกรรมหลักนี้ในที่สาธารณะ แต่พวกเขาสามารถเลือกที่จะแสดงข้อความจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหาพระมหากษัตริย์ อย่างไม่คณามือได้ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยความนิรนามของอินเตอร์เน็ตนั่นเอง สุรชัยกล่าวว่า จำนวนเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบัน เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหลังการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 การรัฐประหารดังกล่าวก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทยอย่างชัดเจน และยังเป็นจุดกำเนิดของคนเสื้อแดง ที่มีจุดยืนต่อต้านการแทรกแซงของทหารในการเมือง และสนับสนุนอดีตนายก ทักษิณ ชินวัตร
![]() |
![]() |
รัฐบาลได้เพิ่มงบประมาณวอร์รูมแห่งนี้แล้ว และในเร็วๆนี้จะมีการเพิ่มระดับผู้ปฏิบัติงานจนสามารถดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูมเปิดเผยว่า ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพส่วนใหญ่โพสต์กันในเวลาหลังเที่ยงคืนและช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนรุ่งสาง อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการปราบปรามข้อความหมิ่นฯเหล่านี้ได้ทำให้ประชาชนหลายคนในประเทศไทยวิตกกังวล ซึ่งพวกเขามองว่าการกระทำเช่นนี้ไม่ต่างจากการล่าแม่มด นอกจากนี้ยังมีบรรดานักเขียน นักวิชาการ และศิลปินกลุ่มต่างๆที่ชี้ว่า กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมืออย่างผิดๆได้ ในเดือนสิงหาคม 2554 คณาจารย์ทั้งไทยและต่างชาติจำนวน 112 คนได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกที่มีเนื้อหาชี้แจงว่า การกวาดล้างทางอินเตอร์เน็ตที่กำลังดำรงอยู่เป็นภัยต่ออนาคตประชาธิปไตยในประเทศไทย แก่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ใช้พื้นที่บทบรรณาธิการเมื่อเร็วๆ นี้แสดงความเห็นว่า พ.ร.บ. การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ กำลังถูกใช้อย่างไร้การควบคุมและพิจารณา โดยวิจารณ์ไว้ว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดหรือบล๊อกเว็บไซต์นับหมื่นๆเว็บโดยปราศจากหลักฐานที่ชี้ชัดถึงการกระทำผิด และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เว็บไซต์เหล่านั้นทั้งหมดจะทำผิดข้อหาหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพจริง
![]() |
วิกิลีกส์และรายงานลับของสถานทูตสหรัฐ
![]() |
![]() |
สำหรับงบประมาณอาศัยการบริจาคเป็นหลัก มีงบประมาณ 1.75 แสนปอนด์ต่อปี หรือราว 8 ล้านบาทเศษ และได้รับการสนับสนุนด้านกฎหมายจากสำนักข่าวชื่อดังหลายแห่ง
องค์กรแห่งนี้เรียกตัวเองว่า เป็นระบบปลอดเซ็นเซอร์สำหรับการแพร่งพรายเอกสารลับจำนวนมหาศาลแบบที่ไม่สามารถแกะรอยไปยังที่มาได้ เอกสารถูกเก็บอย่างดีในเซิร์ฟเวอร์หลักที่สวีเดน และอีกหลายประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองความลับสื่อ
ข้อมูลถูกเข้ารหัสป้องกันระดับเดียวกับกองทัพ เพื่อปกป้องแหล่งข่าว
และต่อต้านความพยายามบุกรุกของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนบริษัท และเหล่าแฮ็กเกอร์ที่อยากลองดี เป้าหมายของ วิกิลีกส์ คือการสร้างสำนักข่าวกรองของประชาชน
ยึดมั่นกับสิ่งที่เรียกว่า ความโปร่งใสสุดขั้ว ด้วยความเชื่อว่ายิ่งลับน้อยเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
ภายในปีเดียวนับจากเปิดตัวเว็บไซต์ วิกิลีกส์คุยว่าฐานข้อมูลของตนเก็บเอกสารแนวเปิดโปง 1.2 ล้านชิ้น และมีผู้ส่งเอกสารเข้าไปนับหมื่นชิ้นในแต่ละวัน
รายงานลับทางการทูตสหรัฐ
เกี่ยวกับไทย


บอยซ์ได้เริ่มต้นด้วยการถามสนธิเกี่ยว กับการเข้าเฝ้าลุงสมชายเมื่อคืนนี้ มีใครเข้าเฝ้าบ้าง สนธิกล่าวว่าประธานองคมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ได้นำเขา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เรืองโรจน์ และผู้บัญชาการทหารเรือ สถิรพันธุ์ เข้าเฝ้า สนธิเน้นว่า พวกเขาเป็นฝ่ายถูกเรียกเข้าไปในวัง เขาไม่ได้เป็นฝ่ายพยายามขอเข้าเฝ้า เขากล่าวว่าลุงสมชายทรงผ่อนคลายและมีความสุข ทรงยิ้มตลอดเวลาการเข้าเฝ้า สนธิมีท่าทีผ่อนคลายและสงบ เห็นได้ชัดว่าการเข้าเฝ้าเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์ จากท่าทีที่ต้องการต่อสู้และโต้ตอบของนายกทักษิณมาเป็นการยอมรับสภาพหรือยอมแพ้ โดยสิ้นเชิงเมื่อทักษิณได้รู้ข่าวการเข้าเฝ้า เพราะอากัปกริยาของลุงสมชายเป็นการบ่งบอกถึงการสนับสนุนคณะรัฐประหารอย่างชัดเจน
เกิดความแตกแยกที่ร้าวลึกขึ้นในหมู่ชนชั้นปกครองไทย กลุ่มธุรกิจและการเมืองดั้งเดิมที่รายรอบสถาบันกษัตริย์ กองทัพและกลไกรัฐ ต่างหันมาเป็นปฏิปักษ์ต่อนายกทักษิณมหาเศรษฐี ผู้นำรัฐบาลที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ ในเอเชีย ช่วง 2540-2541 ตามเงื่อนไขของไอเอมเอฟ
กลุ่มธุรกิจสายอนุรักษ์ได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นเพื่อโค่นล้ม รัฐบาลทักษิณ กลุ่มพันธมิตรฯ แสร้งวางตัวเป็นเสียงคัดค้านการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจของทักษิณ โดยจัดระดมมวลชนเสื้อเหลือง ประท้วงในกรุงเทพฯ เพื่อช่วยสร้างเงื่อนไขให้กองทัพเข้ามารัฐประหาร
![]() |


ทำเนียบขาวของรัฐบาลบุชทำทีท่าระงับความช่วยเหลือทางการทหารและการซ้อมรบร่วมกับประเทศไทย เพื่อแสดงความกังวล แต่ไม่นานก็รื้อฟื้นความสัมพันธ์ตามปรกติกับกองทัพไทย รัฐบาลทหารจัดการเลือกตั้งในปลายปี 2550 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พรรคพลังประชาชนที่สนับสนุนทักษิณก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ถึงแม้วอชิงตันจะชื่นชมผลการเลือกตั้งว่าเป็นการกลับไปสู่ประชาธิปไตย แต่รัฐบาลที่มาจากพรรคพลังประชาชนย่อมไม่ใช่ผลลัพธ์ที่สหรัฐคาดหวัง

![]() |
บันทึกความจำของสหรัฐฯ อีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ยืนยันว่า กลุ่มอำนาจได้มีการปรึกษาหารือที่จะมีการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ป้าสมจิตได้เสด็จงานเผาศพพันธมิตรเสื้อเหลืองคนหนึ่งที่เสียชีวิตจากการปะทะกับตำรวจระหว่างเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลของพวกทักษิณ แต่โทรเลขรายงานว่าลุงสมชายสั่งพลเอกอนุพงษ์อย่างชัดเจนไม่ให้ทำการรัฐประหารโดยอ้างคำพูดของที่ปรึกษาป้าสมจิต ซึ่งทางการสหรัฐก็ทราบเรื่องนี้และไม่ได้คัดค้าน
อีกเพียงหนึ่งเดือนต่อมา ในเดือนธันวาคม 2551 กลุ่มพันธมิตรฯยึดสนามบินสองแห่งในกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย พร้อมๆกับศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลังประชาชนด้วยข้อหาที่ปั้นแต่งขึ้นมาว่าโกงการเลือกตั้ง จากนั้นกองทัพก็เกลี้ยกล่อมพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ให้จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ของนายอภิสิทธิ์และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมารายงานทางการทูตยืนยันให้เห็นได้ชัดว่าการที่สหรัฐเพิกเฉยต่อการรัฐประหาร 2549 เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ที่มีสายสัมพันธ์ยาวนานกับกองทัพไทย ย้อนกลับไปตั้งแต่ทศวรรษ 2500 และ 2510 เมื่อวอชิงตันหนุนหลังระบอบเผด็จการทหารของไทย และใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพปฏิบัติการทางทหารช่วงสงครามเวียดนามสหรัฐฯจะประณามหรือจะประนีประนอมกับรัฐบาลทหาร ก็ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเท่านั้น สหรัฐฯ ยังคงคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อระบอบเผด็จการทหารพม่าที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยและวางท่าเป็นผู้ปกป้องสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของชาวพม่า แต่สิ่งที่วอชิงตันคัดค้านจริงๆ ไม่ใช่การละเมิดสิทธิประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน แต่เป็นเพราะไม่พอใจต่อความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับจีนต่างหาก เนื่องจากจีนเป็นคู่แข่งรายใหญ่ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้
การผลักดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ไม่ได้มาตามระบบการเลือกตั้งขึ้นสู่อำนาจ เป็นชนวนให้เกิดการประท้วงของมวลชนที่นำโดยแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ที่สนับสนุนทักษิณ ขบวนการเสื้อแดงนี้มีแนวโน้มที่จะขยายกลายเป็นขบวนการสังคมที่กว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้เพราะกลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักธุรกิจรายย่อยและแรงงานในเมืองเริ่มส่งเสียงแสดงความไม่พอใจจากปัญหาของตนเองเช่นกัน นายกอภิสิทธิ์ตอบโต้ด้วยการกดขี่ปราบปราม จนลงเอยด้วยการที่กองทัพเข้าสลายการชุมนุมอย่างนองเลือดในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งกองทหารติดอาวุธหนักยิงใส่ผู้ประท้วง มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 91 คนจากการปะทะในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 เช่นเดียวกับการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 ที่สหรัฐยังคงไม่ได้กล่าวประณามการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์หรือกองทัพไทยแม้แต่น้อย
![]() |

![]() |

![]() |
......................