วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เดอะคิงชื่อสมชาย ตอนที่ 1 : เก็บตกวงศ์จักราวี Xomxai 01



เดอะคิงชื่อสมชาย
จากเค้าโครงการศึกษาของนายพร แฮงดี
ตอนที่ 01 เก็บตกวงศ์จักราวี 
 
เรื่องราวในวังสมัยอยุธยา เป็นเรื่องที่โกลาหลวุ่นวาย และเต็มไปด้วยการนองเลือด ช่วงชิงราชบัลลังก์ การลอบปลงพระชนม์ เป็นสิ่งที่เขย่าขวัญและเกิดขึ้นบ่อย จนกลายเป็นเรื่องธรรมดา ของพวกกษัตริย์ มีหลายครั้งที่มีการกบฏจากคนนอกราชวงศ์ อาณาจักรอยุธยาก็อ่อนแอลง เพราะการแก่งแย่งอำนาจ และราชสมบัติ หลังจากถูกปิดล้อมหนึ่งปี ในเดือนเมษายน 2310 กองกำลังทหารพม่าก็ตีผ่านกำแพงเมืองอยุธยา เข้าทำลายปราสาท ราชวัง เจดีย์ วัดวาอาราม และชาวเมืองอยุธยาต่างพากันหนีกระจัดกระจายไปสู่ชนบท อาณาจักรอยุธยาได้ถึงวาระสิ้นสุดลง

ตากสินซึ่งเป็นเจ้าเมืองตากเชื้อสายจีน ได้รวบรวมผู้คนขับไล่พม่าออกไป แล้วตั้งเมืองใหม่ที่กรุงธนบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี 2311 โดยมีฐานสนับสนุน เป็นกลุ่มพ่อค้าคนจีน และกลุ่มขุนนางที่เหลือรอดตายจากอยุธยา
แต่หลังจากที่เจ้าตากได้ฟื้นฟูอาณาจักร ได้เป็นปึกแผ่นพอสมควรแล้ว ชนชั้นนำเก่าของอยุธยาได้หันมาต่อต้านเจ้าตาก นำโดยตระกูลบุนนาค ซึ่งเป็นขุนนางและพ่อค้าเชื้อสายเปอร์เซีย ที่มีอิทธิพลมากและเป็นคู่แข่งผลประโยชน์ทางการค้ากับพวกคนจีน ที่เป็นพรรคพวกของเจ้าตาก โดยโจมตีกล่าวหาว่าเจ้าตากมีสติฟั่นเฟือน หลงอำนาจ แตกแยกกับข้าราชการ
พวกขุนนางเก่าอยุธยาได้สนับสนุนแม่ทัพสองคน คือพระยาจักรี (ทองด้วง)  และพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ทำการโค่นล้มปลงพระชนม์แย่งชิงราชบัลลังก์จากเจ้าตากและตั้งตนเป็นกษัตริย์
 
ทองด้วง เดิมรับราชการได้เป็นยกกระบัตร เมืองราชบุรี ต่อมาในสมัยเจ้าเอกทัศน์ออกไปอยู่นอกราชการแถวอัมพวา เพราะทองด้วงไปอยู่ฝ่ายเจ้าอุทุมพร ตอนนั้นเจ้าตากได้เป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองตาก
ในปี 2310 กองทัพพม่าได้บุกเข้ายึดและเผาทำลายกรุงศรีอยุธยาที่อ่อนแอจนเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง พระยาตากเจ้าเมืองกำแพงเพชรผู้มาจากสามัญชนได้รวบรวมกำลังพลขับไล่กองกำลังพม่า ปราบปรามเหล่าขุนนางศักดินาที่ตั้งตัวเป็นก๊กเป็นเหล่า และรวบรวมชนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยให้เข้ามาอยู่ร่วมกันภายใต้การปกครองของสยามอีกครั้ง
หลังจากกองทัพใหญ่ของพม่าถอนกำลังจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อกลับไปจัดการปัญหาในบ้านเมืองของตนเอง โดยทิ้งกองกำลังรักษาการณ์ไว้จำนวนหนึ่ง 

ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน เจ้าตากสินก็ตีกองกำลังพม่าที่เหลืออยู่จนแตกพ่าย และจัดการรวบรวมขุนนางที่แตกเป็นก๊กเป็นเหล่าให้มาอยู่ใต้การบังคับบัญชาได้อีกครั้ง ในปี 2311 ด้วยอายุเพียง 34 ปี เจ้าตากก็ได้สถาปนาขึ้นเป็นเจ้ากรุงธนบุรี มีกรุงธนบรีเป็นเมืองหลวง บนฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับศูนย์กลางการค้าขายที่เรียกว่าบางมะกอก

น้องของทองด้วงคือบุญมา ตำแหน่งมหาดเล็ก ตอนที่กรุงแตก บุญมาหนีไปเป็นทหารของเจ้าตาก เมื่อเจ้าตากรบชนะและเป็นกษัตริย์ บุญมาจึงได้พาทองด้วงพี่ชายมารับราชการ ต่อมาเมื่อบุญมาเลื่อนยศขึ้นไปก็เอาทองด้วงมักสวมตำแหน่งแทน บุญมาได้เลื่อนจากพระยายมราช เป็น พระยาสุรสีห์ ทองด้วงก็ได้เป็นพระยายมราชแทน ทำให้ทองด้วงจะเริ่มมีอำนาจมากขึ้น เพราะบุญมาต้องไปครองเมืองพิษณุโลกหัวเมืองเอกทางเหนือ ทองด้วงได้เป็นพระยมราช คือ กรมวังที่อยู่ในเมือง
ต่อมาพระยาจักรีซึ่งเป็นสมุหนายกตาย เจ้าตากจึงเลื่อนทองด้วงขึ้นมาเป็นพระยาจักรีตำแหน่งสมุหนายก ทองด้วงยังได้ถวายลูกสาวแก่เจ้าตากชื่อ ฉิมใหญ่ให้เป็นมเหสี มีลูกกับเจ้าตาก ชื่อเจ้าฟ้าเหม็นหรือกรมขุนกษัตรานุชิต
เจ้าตากมีนายทหารใหญ่ที่มีฝีมืออยู่ 2 คน คือ คนหนึ่ง คือบุญมา อีกคน คือ พระยาสวรรคโลก เป็นแม่ทัพที่รบเก่งเคยรบเคียงคู่กับเจ้าตากมาตลอด ต่อมาพระยาสวรรคโลกทูลขอธิดาของเจ้าตาก ถือเป็นการอาจเอื้อม เจ้าตากจึงสั่งประหารพระยาสวรรคโลก ทำให้ 2 คนพี่น้อง คือ พระยาสุรสีห์ และพระยาจักรี มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งตอนหลังเจ้าตากหันไปสนใจศาสนามากขึ้นอำนาจทางการเมืองจึงตกอยู่ในมือสองพี่น้องมากขึ้นทุกที
จนกระทั่งในปี 2324 เกิดจลาจลในเขมร สาเหตุมาจากองค์เชียงชุนและองค์เชียงสือของเวียตนามที่พ่ายหนีพวกกบฏไตเซิน (หรือเล้) ถอยร่นลงมาทางใต้ หวังได้กำลังจากเขมร จึงเข้าไปคุมเขมร ซึ่งเป็นประเทศราชของไทย เจ้าตากได้แต่งตั้งนักองค์นนเป็นกษัตริย์กัมพูชา แต่ถูกเจ้าฟ้าทะละหะ (มู) จับประหารในพ.. 2322 แล้วให้นักองค์เองอายุ 7 ปีเป็นกษัตริย์โดยตนเป็นมหาอุปราช ฝ่ายกรุงธนบุรีไม่ไว้ใจ จึงสั่งให้พระยาจักรี พระยาสุรสีห์ กรมขุนอินทรพิทักษ์ ราชโอรสเป็นทัพหลวงยกไปถึงถึงพนมเปญ แต่ทัพรองเพิ่งไปถึงแค่เสียมราฐ  ทำให้ทัพญวน 3 หมื่นคนและทัพเขมร 8,000 คน ล้อมทัพหลวงไว้
ขณะที่เกิดกบฏในกรุงธนบุรีโดยคนของพระยาจักรี  มีผู้ปลุกปั่นยุยง และชักชวนทำการกบฏ ตั้งกองรบทำร้ายผู้รักษากรุงเก่า แล้วเดินทางมายังกรุงธนบุรี ยิงปืนเข้าพระนครโดยมีพวกกบฏในกรุงธนบุรีก่อการจลาจล สมทบกับกบฏที่ยกมาจากกรุงเก่าหรืออยุธยา
ขณะที่เจ้าตากไม่มีกำลังเหลืออยู่เลย พระยาจักรีและพระยาสุรสีห์ก็ยกทัพกลับมาทันที แต่เจ้าฟ้าจุ้ยกลับไม่ได้เพราะถูกทัพญวนล้อมไว้ การจลาจลที่เขมรก็เป็นแค่การสร้างเรื่อง โดยมีการตกลงกับญวนให้ช่วยล้อมทัพหลวงไว้
พวกกบฏให้พระไปขอให้เจ้าตากบวชเพื่อสะเดาะเคราะห์เมือง 3 เดือน เจ้าตากรับคำขอ เพราะเห็นว่าทัพหลวงที่ไปรบเขมรยังกลับมาไม่ทัน และราษฎรก็ถูกปลุกปั่นให้เข้าใจผิดว่าเจ้าตากเสียสติ จึงต้องยอมบวชไปก่อนที่วัดแจ้ง ในมหาราชวัง เมื่อบวชได้ 12 วัน ทองอินหลานพระยาจักรี ยกทัพมาจากโคราชสมทบกับพวกบฏ 
พอเช้าวันที่ 6 เมษายน 2325 พระยาจักรี รีบเดินทัพใหญ่มาถึงพระนคร มีการสอบถามความเห็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีข้าราชการที่ยังจงรักภักดีในเจ้าตาก และยืนยันให้ไปขอให้เจ้าตากสึกออกมาครองราชสมบัติหรือไม่ก็ควรยกราชสมบัติให้รัชทายาทของพระองค์ พวกข้าราชการที่กล้าพูดเช่นนั้นก็ถูกคุมตัวไปประหารชีวิตทั้งหมด

เจ้าตากถูกประหารในวันนั้น ณ พระวิหารที่ประทับในวัดแจ้ง หลังจากบวชได้ 28 วัน โหรจดไว้ว่าดับขันธ์ เพื่อยืนยันว่าเจ้าตากถูกประหารขณะที่เป็นพระ เมื่ออายุ 48 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึงวาระสุดท้ายของเจ้าตากในหนังสือ “การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า " ( พระพุทธยอดฟ้าฯ) จึงมีรับสั่งให้เอาไปประหารชีวิตสำเร็จโทษเสีย เพชฌฆาตกับผู้คุม ก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไปกับทั้งสังขลิกพันธนาการ เจ้าตากสินจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายแล้ว ช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการ จะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ครั้น ( พระพุทธยอดฟ้าฯ)ได้ทอดพระเนตร จึ่งโบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า ผู้คุมแลเพชฌฆาตก็ให้หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ( ที่ตั้งกองทัพเรือติดวัดอรุณ ) ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสีย ถึงแก่พิราลัย จึ่งรับสั่งให้เอาศพไปฝัง ณ วัดบางยี่เรือใต้ "

แล้วเชิญพระศพไปฝังไว้ที่วัดอินทารามหรือ วัดบางยี่เรือ บรรดาศพข้าราชการที่จงรักภักดีกว่า 50 นาย ถูกฝังเรียงรายใกล้ศพเจ้าตาก
ฝ่ายราชวงศ์ของเจ้าตากที่ยังเหลือ ถ้าเป็นเจ้าชายที่โตแล้วก็ถูกจับประหารหมด บรรดาบุตรชายน้อยๆ ของเจ้าตากสิน ให้เอาไปใส่เรือล่มน้ำเสียให้สิ้น ดังคำบุราณกล่าวไว้ ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก ซึ่งจะเลี้ยงไว้นั้นหาประโยชน์ไม่ จะเป็นเสี้ยนหนามไปภายหน้า ส่วนเจ้าหญิงก็ถูกถอดพระยศออกแล้วเรียกว่าหม่อม แม้แต่แม่และน้าของเจ้าตาก
และไทยต้องช่วยองค์เชียงสือรบกับพวกราชวงศ์เล้หรือกบฎไตเซิน 2 ครั้ง ต้องช่วยอาวุธยุทธภัณฑ์อีกมากตามข้อตกลงลับที่ได้ช่วยกันล้มบัลลังก์ของเจ้าตาก รวมทั้งต้องเสียเมืองพุทไธมาศแก่ญวน
หลังจากนั้นทองด้วงก็ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ ตั้งเมืองหลวงที่บางมะกอก ในปี 2325 และเป็นต้นวงศ์จักราวี
แม้จะมีคนแต่งเรื่องแก้ตัวให้ทองด้วง ว่า เจ้าตากสินกู้เงินจากจีนมาทำสงครามกู้เอกราชและคิดจะไม่จ่ายหนี้ จึงคิดอุบายหลบหนี้โดยให้พระยาจักรียึดอำนาจ และบางตำนานก็ว่าเพชฌฆาตใจอ่อนปล่อยเจ้าตากหนีไปบวชอยู่ที่วัดเขาขุนพนมนครศรีธรรมราช แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่าเจ้าตากถูกพระยาจักรี สั่งประหารชีวิตเพื่อปราบดาภิเษกตั้งราชวงศ์ใหม่ และมีการกำจัดขุดรากถอนโคนเชื้อสายเจ้าตากสินอีกหลายครั้ง
เมื่อทองด้วง ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงเทพแล้ว ก็พยายามทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นเอกบุรุษที่สมบูรณ์ไปด้วยบุญญาบารมีและบริสุทธิ์กว่าผู้อื่นทั้งแผ่นดิน  อะแซหวุ่นกี้รบชนะเมืองพิษณุโลกที่มีพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ แต่ก็ถูกกองทัพของเจ้าตากตีจนแตกพ่ายยับเยิน ทองด้วงรู้สึกอับอายที่ต้องถอยทัพหนีพม่า จึงบังคับอาลักษณ์แก้ไขประวัติศาสตร์ทุกฉบับ ว่าอะแซหวุ่นกี้มิได้รบกับเจ้าตาก แต่กษัตริย์พม่ามีหมายเรียกตัวกลับ และแต่งเรื่องโกหกว่าอะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวพระยาจักรี เพื่อสรรเสริญว่าเก่งกาจสามารถเป็นเยี่ยม ซึ่งเข้าข่ายมีความผิดอัยการสงครามมีโทษถึงตาย
ทองด้วงยังเล่าเรื่องโกหกว่าเคยมีหมอดูจีนทำนายว่า พระยาจักรีกับพระยาตากสินจะได้เป็นกษัตริย์ทั้งคู่ เพื่อทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ตนมีความสามารถเป็นเลิศ มีบุญญาอภินิหารกว่าใครในแผ่นดิน เพื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนการล้มบัลลังก์ของเจ้าตาก
หลังจากที่ขึ้นมาเป็นกษัตริย์แล้ว ทองด้วงไม่เคยออกรบด้วยตนเองเลย โดยมากจะแต่งตั้งวังหน้าออกรบเสมอ ตนจะเป็นกองเสริม วังหน้ามักจะรบชนะเสมอ ทองด้วงเลยไม่ค่อยได้รบ ตอนไปตีเมืองทวาย ในปี 2340 ทองด้วงเป็นแม่ทัพบก แต่เดินทัพผิดทำให้ถึงเมืองทวายช้ากว่าวังหน้าถึง 3 เดือน ทำให้ต้องเสียเมืองทวาย ตะนาวศรี ให้แก่พม่า
พวกประเทศราชต่างๆ มีการพูดกันทั่วไปว่าบุญมาหรือวังหน้าเก่งกว่าทองด้วง เพราะฉะนั้นหัวเมืองทั่วไปจึงมีความเคารพวังหน้ามากกว่าวังหลวง
วังหน้าไม่พอใจที่วังหลวงจัดเงินให้น้อยไป จึงขอเงินเพิ่ม วังหลวงอ้างว่าตนก็ฝืดเคือง จนกระทั่งมีการตีกันในการแสดงโขนงานสมโภชน์พระนคร ทั้ง 2 ฝ่ายตั้งปืนเข้าหากัน พี่สาวของทองด้วงและบุญมา เข้ามาห้ามโดยรำพันถึงความยากลำบากก่อนที่สองพี่น้องจะได้มาเป็นใหญ่ จึงตกลงกันได้ จนกระทั่งบุญมาตายในปี 2346 วังหลวงก็ยึดวังหน้า โดยกล่าวหาว่าโอรสทั้ง 2 คนของวังหน้า ซ่องสุมกำลังคิดกบฏ จึงให้ประหารหลานทั้งสอง แล้วให้ลูกชายของตน คือ ชายฉิม เป็นวังหน้าแทน
ทองด้วงมีสนมและเจ้าจอมทั้งหมด 34 คน มีลูก 46 คน เป็นผู้ชาย16 คน ส่วนฟ้าเหม็นลูกชายของเจ้าตากซึ่งเป็นหลานตาที่ทองด้วงรักมาก ก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและถูกประหารหลังจากทองด้วงถึงแก่กรรมไม่นาน 

ชายฉิมลูกคนโตของทองด้วงได้เป็นรามาที่ 2 ในปี 2352 มีมเหสีทั้งหมด 44 คน คนที่สำคัญ คือ เจ้าฟ้าบุญรอด ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวทองด้วง ที่เกิดได้เสียกันและท้องขึ้นมา ทำให้ทองด้วงโกรธมากเพราะเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เจ้าฉิมได้แก้ตัวในภายหลังว่า ถ้าไม่แต่งงานในหมู่ญาติวงศ์แล้วจะแต่งกับใคร และยังได้แต่งวรรณคดีอิเหนาซึ่งคนในญาติวงศ์ได้แต่งงานกันเองหมด
ปี 2360 เจ้าฉิมไปรักเจ้าฟ้ากษัตรีซึ่งเป็นลูกทองด้วงเหมือนกัน เจ้าฟ้ากษัตรีไม่ยอม และยังด่าว่าทำไมจะเอาน้องเป็นเมีย เจ้าฉิมโกรธมาก จึงสั่งประหารชีวิต

ต่อมาเจ้าฉิมขอเจ้าฟ้ากุณฑลอายุ18 ปี ซึ่งเป็นลูกของทองด้วงเช่นกัน เจ้าฟ้ากุณฑลต้องยอม ทั้งๆที่มีอายุอ่อนกว่าถึง 31 ปี เจ้าฟ้ากุณฑลเป็นคนโปรดมากถึงกับเปรียบเป็นนางบุษบาในเรื่องอิเหนา เจ้าฉิมตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย เนื่องจากมียศเป็นเจ้าฟ้าเหมือนกัน เจ้าฟ้าบุญรอดโกรธมากจึงออกจากวังหลวงไปอยู่กับลูกชายที่ฝั่งศิริราช ต่อมา คือ ปิ่นเกล้า
หลังจากที่เจ้าฟ้าบุญรอดออกจากวัง ทำให้อำนาจวังในตกไปอยู่กับ เจ้าจอมเรียม ซึ่งมีลูกชายชื่อ ชายทับ เจษฎาบดินทร์
เจ้าฉิมไม่ชอบการบริหารราชการบ้านเมือง โดยให้วังหน้า คือมหาเสนานุรักษ์ ซึ่งเป็นน้องชายว่าราชการแทนในตำแหน่งมหาอุปราช ส่วนเจ้าฉิมก็หมกมุ่นอยู่กับกวีและกามารมณ์เอาแต่แต่งวรรณคดี หลังจากที่มหาเสนานุรักษ์บริหารบ้านเมือง 8 ปี ก็สิ้นชีวิต

ใน 3 ปีสุดท้ายก่อนที่เจ้าฉิมจะเสียชีวิตได้ให้ชายทับ ลูกชายคนโตว่าราชการแทน แต่ชายทับไม่ใช่เจ้าฟ้าเพราะแม่เป็นแค่เจ้าจอม ขณะที่เจ้าฟ้ามังคุดที่เกิดจากมเหสีเอกยังเด็ก จนกระทั่งมังคุดอายุ 20 ปีได้บวช หลังจากบวชได้ 7 วัน เจ้าฉิมก็ถึงแก่กรรมแบบกระทันหัน ว่ากันว่า เจ้าจอมมารดาเรียมแม่ของชายทับซึ่งเป็นคนดูแลฝ่ายในเป็นคนวางยา เจ้าฟ้ามังคุดรีบเข้าวังหรือวัดพระแก้ว แต่ถูกปิดประตูขังอยู่ 7 วันก็มีคนมาเปิดประตู บอกว่าบิดาสวรรคตแล้ว เจ้าฟ้ามังคุดเดินเข้าไปในพระโรงที่ตั้งศพเห็นชายทับนั่งอยู่บนที่สูง มีแต่พวกของชายทับเต็มไปหมดก็ตกใจมาก คิดว่าตัวเองไม่รอดแน่จนปัสสาวะราดจีวรเปียก ชายทับจึงพูดปลอบใจว่าไม่เป็นไรเพราะเป็นพี่น้องกัน และถามว่า ตอนนี้บิดาก็สวรรคตแล้ว น้องจะว่าอย่างไร 

เจ้าฟ้ามังคุดก็ตอบว่า น้องก็ไม่ปรารถนาในทรัพย์สมบัติ ปรารถนาแต่ผ้ากาสาวพัตร ชายทับก็เลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้นดีแล้ว พี่จะรักษาแผ่นดินไปพลางก่อน หลังจากนั้นชายทับก็ขึ้นครองบัลลังก์ต่อไป เป็นเจ้าที่ขยันและบริหารบ้านเมืองจริงจังมาก ออกว่าราชการเอง ตรวจราชการเองจนกระทั่งดึกดื่น ทำให้เจ้าทับรามาที่ 3 ร่ำรวย ฐานะประเทศค่อนข้างมั่นคง ทั้งเป็นนักรบที่โหดเหี้ยม ชอบการรบพุ่ง
ในปี 2370 กองทัพสยามได้บุกตีทำลายกรุงเวียงจันทน์ เพราะทางหลวงพระบางแจ้งว่าเจ้าอนุวงศ์ขอความร่วมมือจะกู้เอกราชจากสยาม ทำให้ลาวแตกเป็นหัวเมืองย่อยๆ พร้อมทั้งขนเชลยจากลาวกลับมายังสยามและให้ตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณโขงตอนใต้ ที่ราบสูงโคราชหรือนำมาเป็นทาสขุดคลองที่บางกอก และกระจายไปอีกมากมาย
ในปี 2374 เจ้าทับได้รวบรวมไพร่พลกว่า 300,000 คนไปยึดครองภาคใต้ เมืองท่าปัตตานีถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง จับเชลยจากปัตตานีกว่า 4,000 คน ผูกเอ็นร้อยหวายร้อยโยงติดกันให้เดินทางร่วมพันกิโลเมตรมายังบางกอกที่สนามควายหรือถนนหลานหลวงในปัจจุบัน  

ฝ่ายเจ้าชายมังคุดหรือพระวชิรยางต้องบวชอยู่ถึง 27 ปี ใช้วิธีการซ่องสุมผู้คนและสะสมบารมีสารพัดทุกรูปแบบ มีสาวกมากมาย เป็นผู้ริเริ่มการเทศน์แบบปาฐกถาเหมือนการปราศรัยเร้าอารมณ์ โฆษณาด้วยวิธีที่แหวกแนว มีสาวกคอยช่วยโฆษณาชวนเชื่อ เช่น กระพือข่าวว่า ขณะที่บวชมีบรมธาตุพระปฐมเจดีย์แสดงปาฏิหาริย์ตามมาถึงกรุงเทพฯ ขณะธุดงค์ก็มีจระเข้ใหญ่ลอยขึ้นชมพระบุญญา เมื่อเข้าป่าก็พบเสือร้ายตัวใหญ่เท่าโค นอนชื่นชมบารมีโดยไม่ทำร้าย  มีปลาตะเพียนใหญ่กระโดดขึ้นตลิ่งแบบไม่มีสาเหตุ เมื่อไปสุโขทัยมีฝนตกใหญ่ 2 วันซ้อนในฤดูแล้ง มีแต่ปาฏิหาริย์ต่างๆมากมายที่จะสรรหามาโฆษณา พระวชิรยางหลอกให้คนเข้าใจว่าตนเป็นพระวิเศษและหาเรื่องบวชใหม่ถึง 6 ครั้ง ทั้งๆที่ตนอยากเป็นกษัตริย์มากกว่าเป็นพระ แต่รู้ดีว่าถ้าสึกเมื่อใด ก็หัวขาดเมื่อนั้น จึงต้องทนสะสมกำลัง 

พอบวชอยู่ที่วัดมหาธาตุได้ไม่ถึงปี ก็วิจารณ์พระสงฆ์ไทยว่าไม่น่าเลื่อมใส ตอบปัญหาไม่ได้ อธิบายไม่ชัดเจน ตนต้องไปศึกษาพระธรรมวินัยจากพระมอญ หลังจากนั้น 5 ปี ก็กล่าวหาว่าสงฆ์หลายร้อยรูปในวัดมหาธาตุที่พระสังฆราชเป็นเจ้าอาวาส และเป็นพระอุปัชฌาย์ของตน เต็มไปด้วยพระอลัชชีไม่มีศีล ตนจึงหนีไปตั้งธรรมยุตินิกายที่วัดสมอรายหรือวัดราชาธิวาส ในปี 2376 แล้วมาอยู่ที่วัดบวร ตั้งเป็นศูนย์กลางของธรรมยุติ แปลว่ายึดมั่นในธรรม โดยอ้างว่าเป็นนิกายที่มีความเคร่งครัดกว่า เป็นพุทธที่บริสุทธิ์กว่าและแท้จริงกว่า ยึดถือพิธีกรรมน้อยกว่า และได้ดูถูกเย้ยหยันนิกายเดิมหรือมหานิกาย ที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือกันอยู่ว่าเป็นนิกายที่โบราณคร่ำครึ ล้าสมัยงมงายไม่ใช้สติปัญญา ทั้งยังประกาศตนเป็นผู้นำพระสงฆ์ที่เหนือกว่าเจ้าทับรามา 3 โดยอ้างว่าเพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ซึ่งเป็นแค่ข้ออ้างเพื่อสร้างนิกายของตนเองขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นฐานทางการเมืองส่วนตัว โดยตั้งตนเป็นประมุขของนิกายใหม่ ซึ่งเป็นเพียงการอวดอ้างสร้างบารมีเพื่อเตรียมเป็นกษัตริย์ในวันหน้า นอกจากนี้ยังโอ้อวดอภินิหารสารพัดเพื่อสร้างเสริมบารมี รวมทั้งการค้นพบหลักศิลาจารึกหลักที่1 ที่อ้างว่าเป็นหลักศิลาพ่อขุนรามคำแหง พบพระปฐมเจดีย์ อ้างว่าเป็นเจดีย์แห่งแรก ให้สร้างศาลหลักเมืองเพื่อผูกชะตาดวงเมืองและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง สร้างสยามเทวาธิราช ให้เป็นเทวดาทำหน้าที่ปกปักรักษาราชอาณาจักร สร้างประเพณีให้เจ้าแต่งตั้งและมอบพัดยศแก่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

กำหนดให้วันเกิดของเจ้าและวันขึ้นครองบัลลังก์เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่มีการเฉลิมฉลองตามอย่างยุโรป เป็นการยกกษัตริย์ให้ศักดิ์สิทธิ์เทียบเท่าเทพเจ้าและพระพุทธเจ้า ซึ่งแม้แต่คนในราชวงศ์ก็ยังรู้สึกว่าชักจะมากเกินไปแล้ว ด้วยการโหมโฆษณาสารพัดทำให้วชิรยางหรือเจ้ามังคุดโดดเด่นมากจนคนเชื่อกันว่าคงไม่สึกแล้วเพราะมีศรัทธาในพระศาสนาแก่กล้ามาก
เมื่อเจ้าทับรามา 3 ป่วย ไกรสรรักษ์รณเรศซึ่งเป็นมือขวาของเจ้าทับ และเป็นศัตรูคู่อาฆาตของเจ้าชายมังคุด ได้เสนอให้ประหารเจ้าชายมังคุด เพราะไว้ใจไม่ได้ แต่เจ้าทับก็ไม่เชื่อและปล่อยไว้เรื่อยมา ทั้งเรียกรักษ์รณเรศเข้าพบเพื่อถามว่าทำไมถึงได้ซ่องสุมกำลังคน รักษ์รณเรศตอบว่า ตนจะไม่เป็นข้าใครนอกจากเจ้าทับ เจ้าทับจึงสั่งประหารรักษ์รณเรศด้วยท่อนจันทร์ที่วัดปทุมคงคาเขตสัมพันธวงศ์ ข้อหาซ่องสุมผู้คนเข้าข่ายเป็นกบฏ

 
วันที่รักษ์รณเรศถูกประหารนั้น เจ้าชายมังคุดดีใจมาก สวดมนต์ตั้งแต่เช้าจนบ่าย วันนั้นมีญาติโยมเอาพระมาให้ จึงตั้งชื่อว่าไพรีพินาศ และสร้างเจดีย์ ชื่อ ไพรีพินาศ อยู่ในวัดบวร หลังจากนั้นการบริหารราชการจึงตกไปอยู่กับสองพี่น้องตระกูลบุญนาค คนพี่ คือ เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ บุนนาค) ส่วนน้อง คือ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (ทัต บุนนาค)
ตอนปลายสมัย เมื่อเจ้าทับป่วยหนัก อยากให้ลูกคือเจ้าอรรณพขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่พวกบุนนาคได้ยกกำลังทหารเข้าล้อมวัง และเชิญเจ้าชายมังคุดรีบสึกทันทีแล้วนุ่งขาวเข้าวังมาเป็นกษัตริย์ เมื่อเจ้าชายมังคุดมาถึงหน้าวัง เจ้าทับจึงสวรรคต

 
เมื่อเจ้ามังคุดขึ้นเป็นรามา 4 แล้ว แทนที่จะเคร่งในธรรม เพราะบวชมานานถึง 27 ปี แต่เมื่อขึ้นครองบัลลังก์ตอนอายุ 47 ปี ก็รีบมีชายาจำนวนมากถึง 50 คน มีลูก 82 คน เป็นเจ้าที่มีลูกมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ในเวลาอันรวดเร็ว โดยชอบให้ขุนนางหรือราษฎรเอาผู้หญิงมาถวาย ถือว่าได้บุญเหมือนขนทรายเข้าวัด แม้ในบางครั้งมีเจ้าเมืองไปฉุดลูกสาวชาวบ้านมาถวายก็ตาม เจ้ามังคุดสะสมสนมในวังมากมายจนแน่นวัง แม้ตนจะแก่ชราเต็มที นางสนมทั้งหมดเพิ่งจะพ้นจากวัยเด็ก 



เจ้าจอมทับทิมในภาพยนต์เรื่อง Anna and the King
เช่น เจ้าจอมทับทิม ที่แอนนา ลีโอโนเวนส์ เขียนไว้ว่า ทับทิมเป็นลูกชาวบ้านมีหน้าตางดงาม เมื่ออายุ 15 ปีได้เป็นผัวเมียกับนายแดง เมื่ออายุได้ 16 ปี ถูกเกณฑ์ไปเป็นคนงานก่อสร้างวัดราชประดิษฐ์ เจ้ามังคุดเห็นนางทับทิมในวันฝังลูกนิมิต จึงให้เอานางทับทิมเข้าวังเป็นสนม ฝ่ายนายแดงได้บวชเป็นพระที่วัดราชประดิษฐ์ จนได้เป็นพระครูใบฎีกา หรือพระครูปลัด ต่อมาเจ้าจอมทับทิมได้หายตัวไป มังคุดตั้งรางวัลนำจับ จนมีพระพบตัวทับทิม ซ่อนตัวอยู่ในกุฏิของพระครูปลัด โดยโกนศีรษะ โกนคิ้ว สวมจีวรปลอมตัวเป็นพระ และหลบออกมากับแถวพระที่เข้าไปรับบิณฑบาตในวัง และได้เข้าไปอยู่ในวัดราชประดิษฐ์ ร่วมกุฏิกับพระครูปลัด โดยพระครูปลัดไม่ทราบว่าเป็นหญิง และเป็นเมียเก่า เจ้าจอมทับทิมถูกจับขังพร้อมกับพระครูปลัด ในปี 2410 โดยถูกเฆี่ยนตี ทรมาน และเผาทั้งเป็น 

ส่วนเจ้าจอมที่มีอายุมากก็ถูกมองเป็นของเก่าแก่ ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง เช่น เจ้าจอมมารดาน้อยที่อยู่กินกับมังคุดตั้งแต่ขณะที่มิได้บวชเป็นพระ ไปทำให้มังคุดโกรธให้จับเอาตัวไปขังไว้ในวังหลวง ต้องติดคุกสนมจนตาย โดยไม่คิดถึงคุณงามความดีแต่ก่อนเลย


มังคุดไม่ชอบปิ่นเกล้าซึ่งเป็นน้องชายแท้ๆของตน ซึ่งตนตั้งให้เป็นวังหน้าหรือจุฑามณี โดยไม่เคยให้อำนาจทั้งๆที่เป็นนายทหาร ตอนมีศึกเมืองเชียงตุง ก็ไปตั้งวงศาธิราชสนิทเจ้ากรมแพทย์เป็นแม่ทัพใหญ่ ทำให้แพ้พม่ามา 2 ครั้ง ต่อมาปิ่นเกล้าตายด้วยยาพิษโดยมังคุดจ้างหมอให้วางยาในปี 2408  ตามบันทึกที่ของแอนนาเลียวโนเวนส์เลขาของมังคุดที่ได้เล่าว่ามังคุดเป็นคนที่โหดร้ายชั่วช้า อาฆาต พยาบาทอิจฉาริษยารุนแรง แถมบังคับสุนาถวิสมิตรา มเหสีของปิ่นเกล้าให้มาเป็นเจ้าจอมของตน แต่นางหลบหนีไปเมืองพม่าได้




มังคุดล้มป่วยหนักเป็นไข้ป่า จากการไปดูสุริยุปราคา และสิ้นชีวิต ในวันที่
1 ตุลาคม 2411


จุฬาซึ่งรอดตายจากไข้มาเลเลียจากการร่วมเดินทางไปดูสุริยุปราคาที่หว้ากอยังไม่ได้สืบบัลลังก์เต็มที่เพราะมีอายุแค่ 15 ปี อำนาจส่วนใหญ่จึงอยู่กับศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)  ซึ่งได้ใช้สิทธิ์พิเศษ แต่งตั้งเจ้านาย 2 คนเป็นเจ้าพร้อมๆ กัน คือทั้งจุฬาและยอดยิ่งยศ บวรวิไชยชาญ ลูกของปิ่นเกล้า ขึ้นเป็นวังหน้า 


แต่อำนาจการสั่งราชการอยู่ที่ศรีสุริยวงศ์ในฐานะผู้สำเร็จราชการ เป็นเวลา 5 ปี  ตระกูลบุนนาคมีอำนาจและอิทธิพลสูงมาก ขนาดในปี 2414 จุฬา ต้องขอยืมเงิน 8 ล้านบาทจากศรีสุริยวงศ์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในราชสำนักและรัฐบาล พอเวลาผ่านไป พวกบุนนาคก็ทยอยเสียชีวิตไป โดยศรีสุริยวงศ์สิ้นชีวิตในปี 2426  
ในขณะที่จุฬาก็ค่อยๆ แต่งตั้งญาติพี่น้องของตนที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือลูกๆ ของมังคุด ที่มีถึง 82 คน เป็นการแทนที่อำนาจพวกบุนนาค ด้วยความสดใหม่ และการศึกษาที่ดีจากทางตะวันตก 


จุฬาแต่งตั้งน้องๆของตนเป็นสภาองคมนตรีและสภารัฐมนตรี ตามแบบอังกฤษ พยายามรวมศูนย์ ดึงอำนาจการเก็บภาษีอากรไว้ที่หอรัษฎากรซึ่งตนควบคุมอยู่ สร้างทางรถไฟ เพื่อส่งกองทัพไปควบคุมขุนนางตามหัวเมืองทำให้มีภาษีอากรเข้าท้องพระคลังมากกว่าเดิม ส่งลูกหลานญาติพี่น้องไปควบคุมหัวเมืองต่างๆ ที่ในอดีตปกครองกันโดยเจ้าเมืองท้องถิ่นที่เรียกว่าประเทศราช ประชาชนในพื้นที่รอบนอกต่างไม่พอใจ และต่อต้านวงศ์จักราวีที่จะเพิ่มการรีดนาทาเร้นยิ่งขึ้นไปอีก จุฬามีที่ปรึกษาชาวตะวันตก จัดการบริหารประเทศแบบสมัยใหม่ ก่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โรงเรียนทหารบกและทหารเรือ จัดสรรงบประมาณสำหรับกระทรวงและกรมต่างๆ รัฐมีรายได้มากขึ้นเพราะมีการเปิดตลาดการค้ามากขึ้น อิทธิพลของพวกขุนนางลดน้อยลงไปมาก
จุฬาจัดสรรสัมปทานและที่ดินให้สมาชิกวงศ์จักราวี ยกที่ดินจำนวนมหาศาลให้ญาติพี่น้อง เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ โดยอาศัยการเก็บค่าเช่าที่ดินในเมืองและค่าเช่านา เพื่อเป็นรายได้
มีการใกล้ชิดราษฎร ด้วยการปรากฏตามที่สาธารณะมากขึ้น ยกเลิกกฎที่ไพร่จะต้องหมอบกราบเวลาเข้าพบ ปรับปรุงการบริหารประเทศเพื่อรวมศูนย์อำนาจมาอยู่ที่ตนเอง หรือสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะนายทหารและข้าราชการระดับสูง ล้วนเป็นญาติพี่น้องที่จุฬาแต่งตั้งเองทั้งสิ้น
ยกฐานะนิกายธรรมยุติ ให้สูงกว่ามหานิกายโดยแต่งตั้งวชิรญาณเจ้าอาวาสวัดบวรหัวหน้าธรรมยุติ ให้เป็นสังฆราช มีการออกพรบ.สงฆ์ 2445ให้รัฐบาลรับผิดชอบกิจการสงฆ์ มีสมเด็จพระราชาคณะ และมีรองสมเด็จรวมเป็น 8 รูป ยกขึ้นเป็นมหาเถรสมาคมปกครองสงฆ์ และแต่งตั้งชั้นยศของสงฆ์ ทำให้เจ้ากลายเป็นประมุขสงฆ์ ให้วงการสงฆ์เป็นเครื่องมือเชิดชูและแผ่อำนาจของวงศ์จักราวี
มีการเลิกทาสในปี 2417 และยกเลิกการเกณฑ์แรงงานไพร่ในปี 2421 เพื่อลดการซ่องสุมไพร่พลของขุนนางใหญ่ในกรุงและหัวเมือง โดยเฉพาะตระกูลบุนนาค ประกอบกับสยามเริ่มผลิตข้าวส่งออก จึงต้องการแรงงานอิสระเพื่อการผลิต มีการรวมศูนย์อำนาจทำให้ขุนนางไม่พอใจมาก ทำให้จุฬาได้ภาษีอากรมากกว่าเดิมมากมาย แต่ถูกนำไปใช้อย่างฟุ่มเฟือย มีการสร้างปราสาทราชวังมากที่สุด พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแบบวิกตอเรียขนาดใหญ่ พระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเป็นหินอ่อนอิตาลีทั้งหลัง เจ้าและมเหสีใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย สะสมเครื่องเพชรอัญมณีชั้นยอดมากกว่าใครในย่านเอเซีย
จุฬามีลูกทั้งหมด
77 คน มีมเหสี 9 องค์ ที่เด่นๆ คือ สุนันทาเรือล่ม สว่าง เสาวภาหรือพัชริน ทั้งสามคนมีพ่อคือมังคุดและมีแม่คือเจ้าจอมเปี่ยม 


ขณะที่พวกเจ้าเสพย์สุขอยู่ในวัง ชาวไร่ชาวนาซึ่งเป็นคนกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ต้องยากจนขัดสน ต้องกู้เงินเสียดอกเบี้ยแพง ต้องรีบขายข้าวในราคาต่ำ แต่เจ้ากลับมิได้เหลียวแล เอาเงินของแผ่นดินไปใช้ส่วนตัว ทำให้ขาดงบประมาณที่ใช้พัฒนาบ้านเมือง ราชสำนักได้รับงบถึง 1/7  ขณะที่ประชาชนหลายล้านคนที่เสียภาษี กลับได้รับงบเพียง 1/6 หรือพอๆกับรายจ่ายสำหรับเจ้าเพียงคนเดียว
ชาวนาภาคกลางต้องเสียภาษี ดอกเบี้ยและค่าเช่า รวม 60% ส่วนชาวนาอิสานต้องเร่ร่อนไปหากินยังที่ต่างๆ ในปี 2433 และ 2452 ชาวนายื่นฎีกาขอกู้เงินหลวงเพื่อนำไปซื้ออาหาร แต่จุฬาปฏิเสธ ทั้งๆที่ยอมปล่อยเงินกู้ให้พ่อค้าจีน เพราะได้ดอกเบี้ยงาม
 
จุฬาไม่ได้เก่งกล้าสามารถอย่างที่ร่ำลือกัน เมื่อไหร่ที่มีเรื่องกระทบจิตใจ ก็จะหยุดบริหารบ้านเมืองทันที บางครั้งก็หยุดไปเป็นเดือน งานการคั่งค้าง ให้ดำรงสะสางแทน เช่น ถ้ามีเหตุลูกเมียตาย ก็จะหยุดบริหารบ้านเมือง หรือถ้าเมียป่วยก็จะหยุดว่าราชการ ซึ่งจุฬามีลูกเมียรวมกันเป็นร้อย
บางทีต้นพยอมออกดอกทั่วทั้งวังก็ให้หยุดว่าราชการทันที วังสมัยจุฬาจึงเป็นวังที่สนุกสนานรื่นเริงเสมอ จุฬาส่งแต่ลูกหลานและญาติๆของตนไปเรียนนอก เกือบไม่มีสามัญชนที่จะมีโอกาสได้ไปศึกษา จนกระทั่งปลายสมัยจึงเริ่มให้นักเรียนที่สอบได้ที่ 1 ของประเทศ 2 คนได้ไป ลูกๆที่ส่งไปเรียนที่เมืองนอกทั้งหมดก็ให้เรียนวิชาทหารเท่านั้น หรือต้องเรียนวิชาทหารก่อน ยกเว้นราชบุรีที่ได้เรียนวิชากฎหมาย
สมัยจุฬาถือได้ว่าประเทศไทยกับญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาพร้อมกัน แต่ญี่ปุ่นนำเงินไปพัฒนาประเทศ พัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาอู่ต่อเรือ ญี่ปุ่นส่งคนไปนอกเพื่อพัฒนาความรู้ด้านต่างๆให้เก่ง แต่จุฬา อยากให้ลูกของตนทุกคนต้องมีวังเป็นของตัวเองเมื่ออายุครบ 18 ปี งบประมาณจึงหมดไปกับการสร้างวังเป็นจำนวนมาก โดยย้ายจากมหาราชวังวัดพระแก้วมาอยู่ที่วังดุสิตโดยมีจุดเด่นคือวังอนันตสมาคมที่สร้างจากหินอ่อนที่นำเข้าจากอิตาลี
  
ลูกหลานของจุฬาทุกคนต้องมีเบี้ยหวัดเงินปีขั้นเศรษฐีกันทุกคน แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปพัฒนาประเทศ
ฉะนั้นในสมัยราวุธและธิปก จะเห็นวังทุกหัวถนนเต็มไปหมดในกรุงเทพ
ที่สนามหลวงมีวังหน้า (พุทไธศวรรย์) ของบวรสถาน ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
เลี้ยวไปถนนราชสีมามีวังสวนสุนันทา เพราะวังดุสิตเริ่มคับแคบ
วังปารุสกวัน มุมถนนพิษณุโลก ของจักรพงษ์เป็นของขวัญหลังเรียนจบการทหารจากรัสเซีย ปัจจุบันเป็นสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และบก.ตำรวจนครบาล
วังชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หรือ วังนางเลิ้ง ใกล้ทำเนียบรัฐบาล ต่อมาเป็นโรงเรียนพณิชยการพระนคร
วังศุโขทัยที่ถนนสามเสนสร้างให้ธิปก
เลี้ยวไปอีกเป็นวังลดาวัลย์ ให้เป็นที่อยู่ของยุคล เมื่อคราวใกล้จบจากเคมบริดจ์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานทรัพย์สินของลุงสมชาย
มาทางถนนราชวิถีก็มีวังพญาไท ใช้เป็นที่ชมการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์



วังสะพานขาว ริมถนนหลานหลวงตัดกับถนนกรุงเกษม สร้างให้วุฒิไชยเมื่อเรียนจบทหารเรือจากอังกฤษ เคยเป็นที่ทำการกรมประชาสงเคราะห์ ปัจจุบันเป็นกรมพัฒนาสังคม
วังมหานาค ริมคลองมหานาค ใกล้สะพานกษัตริย์ศึก สร้างให้จิรประวัติ หลังจบการทหารที่เดนมาร์ก ต่อมาวังนี้ถูกตัดแบ่งขาย เป็นตลาดมหานาค โรมแรมปริ๊นซ์พาเลช และโบ๊เบ้ทาวเวอร์
วังบูรพาภิรมย์หรือวังบูรพา สร้างให้ภาณุรังษีน้องสุดท้องของเทพศิรินทรา ต่อมาขายให้เอกชน มีการรื้อวังออก สร้างเป็นศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์คิงส์ ควีนส์ และแกรนด์ รวมกับตลาดมิ่งเมือง ปัจจุบัน คือ ดิโอลด์สยามและโรงหนังเฉลิมกรุง
วังจักรพงษ์หรือวังท่าเตียน ของจักรพงษ์
 
สมัยจุฬามีการสร้างวังทุกหัวถนน จนเป็นเหตุให้ต้องมีการปฏิวัติ 2475 เพราะประชาชนจะลำบากแค่ไหนแต่วังทุกวังจะต้องสนุกสนานเสมอ
และวังบางวังใหญ่โตมาก เช่น วังบางขุนพรม ของบริพัตรซึ่งร่ำรวยมาก มีวงดนตรีส่วนตัว มีทั้งวงดนตรีไทย วงดนตรีสากล จะกินอาหารก็ต้องมีดนตรีบรรเลง จะนอนก็ต้องมีวงดนตรีกล่อม

เรื่องการประกาศเลิกทาสเหมือนเป็นคุณงามความดีที่ทำให้จุฬาได้เป็นอัครมหาราชา แต่ประเทศไทยเลิกทาสเป็นอันดับสุดท้ายของโลก หลังจีน อินเดีย ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เนเธอร์แลนด์ ที่ทุกประเทศเลิกทาสก่อนประเทศไทยหมด
การเลิกทาสเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเลิกอยู่แล้ว แต่จุฬาออกพรบ. เกษียณอายุลูกทาสในปี 2417 ให้ทาสที่เกิดตั้งแต่ปีที่ตนขึ้นครองบัลลังก์ ยังเป็นทาสต่อไปอีกจนกว่าอายุครบ 21 ปี ถึงจะเลิกเป็นทาส และออกพรบ.เลิกทาสในปี 2448 เพราะว่าจุฬาเกรงใจขุนนาง ขณะที่เศรษฐกิจเริ่มเป็นแบบสมัยใหม่แล้ว การปลูกข้าวเพื่อส่งออกก็ต้องการชาวนา เริ่มมีอุตสาหกรรม มีโรงเลื่อยไม้ โรงสีข้าว ซึ่งต้องการกรรมกรที่เป็นแรงงานอิสระ
แต่ประชาชน กลับตกเป็นเป้าแห่งการรีดนาทาเร้นจากวงศ์จักราวีมากขึ้นกว่าเดิม และภาษีกว่า 80% ที่เก็บได้ ถูกดูดเข้ามายังคลังหลวงเพื่อหล่อเลี้ยงกรุงเทพเท่านั้น 

กระบวนการจัดเก็บภาษีของวงศ์จักราวี ส่งผลให้มีการต่อต้านการรวมศูนย์อำนาจที่สั่งการจากเบื้องบนอย่างต่อเนื่องและการใช้มาตราการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อประชาชนในเมืองที่ห่างไกล ที่ต้องทนกับการถูกขูดรีดภาษีจนไม่เหลืออะไรไว้สำหรับการดำรงชีวิตของตัวเองและครอบครัว จนจำต้องลุกขึ้นมาต่อสู้
จุฬาบังคับปัตตานีให้จ่ายภาษีตรงมายังท้องพระคลัง โดยใช้กองกำลังและความรุนแรงเพื่อบีบบังคับให้ชาวปัตตานีต้องปฎิบัติตาม เช่นเดียวกับที่เคยทำในอดีต โดยไม่เคยไว้วางใจชาวมุสลิมมาเลย์ที่พูดภาษายาวี ไม่สนใจพัฒนาภาคใต้อย่างแท้จริง
ประชาชนชาวอิสานก็ลุกขึ้นต่อสู้การกดขี่ของวงศ์จักราวีที่เรียกว่า กบฏผู้มีบุญอีสาน โดยมีผู้ตั้งตัวเป็นผู้มีบุญ ถึง 60 คน กระจายอยู่ถึง 13 จังหวัด การลุกขึ้นสู้ของกบฏร้อยเอ็ดในปี 2444 ที่นักสู้อิสานได้จับมีดพร้าลุกขึ้นสู้กับกองกำลังของจุฬา ในครั้งนั้นผู้กล้าชาวอิสานหลายร้อยคนต้องถูกสังหาร แกนนำหลายคนถูกตัดหัวเสียบประจานที่ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี สงครามเพื่อขยายราชอาณาจักรของวงศ์จักราวี ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมและภาษาไทย รวมทั้งการส่งเสริมพุทธศาสนาแค่เปลือกนอกเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ศูนย์รวมใจของประชาชน
วงศ์จักราวีเก่งในการปราบปรามประชาชนแต่ไม่เคยคิดสู้กับฝรั่งต่างชาติเลย และไทยก็เป็นประเทศเดียวในโลกนี้ที่ยอมเสียดินแดนให้พวกฝรั่งโดยไม่ต้องมีการต่อสู้เลย บ้านเมืองอื่นฝรั่งอยากได้ดินแดนต้องรบเอาอย่างเดียวเท่านั้น แต่เมืองไทยยกให้เลย แล้วยังอ้างว่าเป็นความปรีชาสามารถ ซึ่งที่จริงแล้วเป็นแค่นโยบายสิ้นคิดเท่านั้นเอง

บางดินแดนฝรั่งไม่ได้ขอแต่เจ้าไทยกลับยกให้เอง เช่น ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะริด ทั้ง 4 แคว้นนี้ จุฬายกให้ฝรั่งเอง เนื่องจากในราวปี 2440 จุฬาได้ทำสัญญาลับกับอังกฤษ ยอมให้อังกฤษได้สัมปทานแร่ดีบุกภาคใต้เพียงผู้เดียวและสัมปทานป่าไม้ภาคเหนือ  พอเยอรมันมาขอสัมปทานรถไฟในภาคใต้บ้าง  รัฐบาลสยามจึงไปขอเจรจาแก้สัญญากับอังกฤษ แต่อังกฤษไม่ยอม จึงต้องยกดินแดน เช่น ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะริด ให้อังกฤษอีก อังกฤษจึงยอมแก้สัญญา โดยจุฬาอธิบายว่า ขืนเอาไว้ก็รักษามิได้ ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ไม่มีเหตุผลแม้แต่น้อย
เมื่อฝรั่งเศสยึดจันทบุรี จุฬาไปเจรจาขอให้ฝรั่งเศสถอนกำลังจากจันทบุรี และจะยกพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณให้ ซึ่งเป็นการแลกที่เสียเปรียบ และยังเอาจำปาศักดิ์ไปแลกกับเมืองตราด ซึ่งจำปาศักดิ์เป็นเมืองเอกมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลจรดประเทศเขมร แต่เมืองตราดมีพื้นที่นิดเดียว

ทางรถไฟที่สร้างเป็นสายแรก คือสายปากน้ำ เพื่อให้เจ้านายที่เดินเรือจากต่างประเทศได้นั่งรถไฟเข้ามากรุงเทพเท่านั้นเอง ทางรถไฟที่สร้างไปหัวหินก็เพราะเจ้านายที่กลับมาจากต่างประเทศจะได้ไปตากอากาศที่ชายทะเลหัวหิน ที่จริงแล้วทางรถไฟส่วนใหญ่มาเริ่มสร้างสมัยจอมพล ป.
จุฬาสร้างโรงพยาบาลศิริราชเพราะลูกชายชื่อศิริราชป่วยและตายตั้งแต่เด็ก ทำให้เสียใจมากจึงสร้างโรงพยาบาลศิริราชตามชื่อลูกที่ตายไป
สร้างโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยเก็บเงินค่าการศึกษา 24 บาทซึ่งแพงมากสำหรับราษฎรสมัยนั้น โดยอ้างว่าต้องการให้เป็นที่ศึกษาของกุลบุตรผู้มีสกุล พวกไพร่เลวไม่สามารถเข้าเรียนได้
 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับจุฬาเลย ที่จริงถูกตั้งขึ้นสมัยราวุธโดยเอาเงินที่เหลือจากการสร้างอนุสาวรีย์ทรงม้าไปสร้างจุฬา จากการผลักดันของสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นอาจารย์ของราวุธซึ่งราวุธก็ไม่ได้เห็นด้วยเลย แต่เนื่องจากว่าสุรศักดิ์มนตรีเป็นผู้ดูแลและเป็นอาจารย์ตั้งแต่ตอนที่อยู่อังกฤษก็เลยยอม
ในตอนนั้นราวุธต้องการสร้างโรงเรียนวชิราวุธซึ่งเป็นโรงเรียนของคนชั้นสูง แต่กระเบื้องที่มุงหลังคามีไม่พอ จึงสั่งให้เอากระเบื้องจากจุฬาลงกรณ์ไปมุงแทน และให้จุฬาลงกรณ์ใช้หลังคามุงจาก ส่วนสถานเสาวภากาชาดไทยก็พัฒนามาจากโรงเรียนเสาวภาที่เสาวภาแม่ของราวุธเปิดเป็นโรงเรียนเพื่อให้สตรีเข้ามาศึกษาการเป็นกุลสตรี จะได้เป็นเมียที่ดีของพวกขุนนาง
จุฬาได้เตรียมการสืบทอดทายาทและสืบทอดอำนาจไว้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีลูกถึง 77 คน กับนางสนม 36 คน จากสนมทั้งหมด 92 คน โดยมีลูกกับพระมเหสีที่เป็นทางการ 18 คน รวมถึงมหิดรพ่อของพูมลำพอง โดยมเหสีทั้ง 3 ล้วนเป็นน้องสาวต่างแม่ คือ เป็นลูกของมังคุดเหมือนกัน เป็นการประกันความบริสุทธิ์ของสายเลือดวงศ์จักราวี คือ พี่น้องที่มีพ่อคนเดียวกันมาแต่งงานกันเองโดยไม่มีสายเลือดของสามัญชนเข้ามาเกี่ยวข้อง 

จุฬาได้ตั้งวชิรุณหิศ ลูกของสว่าง เป็นทายาท แต่อยู่ได้เพียง 8 ปี ก็เสียชีวิต ในปี 2437 อายุแค่ 16 ปี จุฬาให้ลูกสว่าง (หรือแม่กลาง) กับลูกแม่เล็ก (คือเสาวภา) ให้เหมือนแม่เดียวกัน เรียงตามอายุในการสืบบัลลังก์ จึงแต่งตั้งราวุธ และยกให้แม่เป็นมเหสีเอก คือเสาวภา ขึ้นเป็นศรีพัชรินทร มีลูกชายขึ้นเป็นเจ้า 2 คนต่อกัน คือราวุธและธิปก
23 ตุลาคม 2453 จุฬาสิ้นชีวิต ราวุธได้ครองบัลลังก์ โดยจบจากออกฟอร์ดแล้วเรียนทหารที่แซนเฮิร์ส ได้สร้างอุดมการณ์แห่งชาติขึ้นใหม่ คือ ชาติ ศาสนาและกษัตริย์ กำหนดวันจักราวีและวันจุฬาเป็นวันหยุด ก่อตั้งกองเสือป่าขึ้นตรงต่อราชสำนัก เพื่อปลูกฝังความรักภักดี ปรับปรุงกองทัพบกและกองทัพเรือด้วยยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ก่อตั้งธนาคารสยามกัมมาจล (ไทยพาณิชย์) เป็นธนาคารแห่งแรกของไทย และบริษัทปูนซิเมนต์ไทยโดยมีสำนักงานทรัพย์สินของเจ้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

แต่วงศ์จักราวีใหญ่โตมาก เพราะมังคุดและจุฬามีลูกหลานมาก รวมๆกันแล้วประมาณ 500 คน อยู่ใน 28 สกุลที่สืบเชื้อสายจากลูกของมังคุด นอกจากจุฬาที่มีลูกถึง 77 คนแล้วพี่น้องอีกคนหนึ่งในรุ่นเดียวกันก็มีลูกถึง 73 คน และหลายคนมีลูกคนละ 40-50 คน  ดำรงก็มีลูก 37 คน บรรดาลูกท่านหลานเธอเหล่านี้ เป็นภาระหนักอึ้งของท้องพระคลัง หรืองบประมาณแผ่นดิน สมัยจุฬาได้ลดภาระ โดยการไม่ให้ลูกสาวจำนวนมากแต่งงานอย่างเป็นทางการ
แต่ในสมัยราวุธพวกเชื้อเจ้าจำนวนมาก กลับใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนน่าตกใจ พากันออกท่องเที่ยวทั่วโลก และโยกย้ายเงินทองออกนอกประเทศ เพื่อเตรียมตัวหนีเผื่อมีการปฏิวัติล้มล้างระบอบเจ้า แบบที่เกิดในจีนและรัสเซีย ธิปกใช้การจำกัดชั้นเชื้อพระวงศ์ และให้ใช้นามสกุลแบบตะวันตก เพื่อให้ชัดเจนว่าใครเป็นใคร และประกาศนโยบายแห่งชาติให้มีผัวเดียวเมียเดียว แต่สมาชิกวงศ์จักราวีก็ยังมีมากมายอยู่ดี
เศรษฐกิจยิ่งแย่ลง แต่ราวุธกลับใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากขึ้นในเรื่องโขนละคร ไม่ยอมแบ่งเงินไปพัฒนาประเทศ ประชาชนได้รับงบประมาณเพียงเล็กน้อยไม่ผิดกับสมัยจุฬาจนมีหนี้ส่วนตัวหลายล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากการซื้อเพชรพลอย แจกข้าราชบริพารคนโปรด สั่งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินแผ่นดินใช้หนี้ของตนเพิ่มอีก 3 ล้านบาท

ราวุธไม่มีมเหสี คนรับใช้ใกล้ชิดส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายทั้งนั้น ที่โปรดปรานมาก ก็คือ 2 คนพี่น้อง คนพี่ชื่อ เฟ้อ พึ่งบุญ คนน้องชื่อ ฟื้น พึ่งบุญ ลูกหลานของรักษ์รณเรศ ลูกของทองด้วงที่ถูกประหารสมัยองค์ทับ 


คนพี่เล่นเป็นเป็นพระราม จึงได้ชื่อว่าพระยารามราฆพได้บ้านนรสิงห์หรือทำเนียบไทยคู่ฟ้า คนน้องเล่นเป็นพระอนุชาจึงตั้งชื่อเป็นอนิรุธเทวาได้บ้านพิษณุโลกหรือบ้านบรรทมสินธุ์ เนื้อที่ 50 ไร่ตรงข้ามสนามม้านางเลิ้ง โดยสถาปนิกอิตาเลียนซึ่งว่างจากงานก่อสร้างวังอนันตสมาคมเป็นผู้ออกแบบ อุดมราชภักดี (โถ สุจริตกุล) อดีตอธิบดีกรมชาวที่ได้บ้านมนังคศิลา ถนนหลานหลวง
ราวุธชอบรามราฆพมากให้เข้าออกห้องนอนได้ตลอดเวลา ส่วนใหญ่ราวุธจะให้รามราฆพว่าราชการและเซ็นหนังสือแทน เพราะราวุธหกชอบเขียนหนังสือและแต่งนิยายมากกว่างานราชการ บางวันราวุธหกสวมเสื้อสีแดงนุ่งโจงกระเบนเสื้อลายดอก ประแป้ง จูงมือรามราฆพออกว่าราชการ ส่วนรามราฆพแต่งชุดทหาร พฤติกรรมของราวุธที่อยู่ท่ามกลางหนุ่มๆ และไม่มีภรรยา จึงเป็นที่ครหา เมื่อครองบัลลังก์ไประยะหนึ่งแล้ว จึงตัดสินใจที่จะมีมเหสี
คนแรกที่เป็นคู่หมั้น คือวรรณวิมล หรือ วัลลภาเทวี ซึ่งเป็นลูกของนราธิป พอต่อมาเกิดวิวาทกัน และมีการเขียนเพลงยาวด่ากัน ราวุธโกรธมาก จึงสั่งจับขัง
 

ราวุธขัดแย้งกับขุนนางผู้ใหญ่จำนวนมากโดยเฉพาะราชบุรี ที่จบกฎหมายมาจากนอก เป็นเสนาบดียุติธรรม แต่ถูกราวุธแกล้งย้ายให้มาเป็นเสนาบดีเกษตร ราชบุรีจึงขอลาออกจากราชการ กลายเป็นศัตรูกันมาตลอด 




 


ดำรงซึ่งเป็นเสนาบดีมหาดไทย ถูกย้ายเป็นเสนาบดีธรรมการแล้วแต่งตั้งนายปั้นที่เคยเป็นเสมียนของดำรงให้เป็นพระยายมราช แล้วเป็นเสนาบดีมหาดไทยแทน 





เป็นที่รู้กันว่าจุฬารักลูกคนถัดมามากกว่า คือ จักรพงษ์ เป็นคนที่มีบุคลิกดีหน้าตาดี อัธยาศัยดี ตามใจพ่อ ขณะที่ราวุธ อ้วนเตี้ย หัวล้าน ไม่น่ารัก แถมเอาแต่ใจตนเอง ซึ่งจุฬาไม่ชอบเลย แต่เป็นลูกคนโปรดของแม่เล็ก  จุฬาจึงทำอะไรไม่ได้ 





จุฬารักจักรพงษ์มากจึงส่งไปเรียนการทหารที่รัสเซีย แต่ได้เมียรัสเซียคือคัทลินกลับมาด้วย พอราวุธ ขึ้นครองบัลลังก์ จึงให้จักรพงษ์เป็นเสนาธิการทหาร แต่ก็ไม่ไว้ใจนัก จนกระทั่ง ปี 2460 ราวุธ จึงออกกฎมณเฑียรบาล ห้ามเจ้าชายที่มีภรรยาเป็นคนต่างด้าวเป็นรัชทายาท
ในตอนนั้นจักรพงษ์มีสิทธิเป็นรัชทายาท เนื่องจาก ราวุธไม่มีลูกชาย จักรพงษ์ขอหย่ากับคัทลิน แล้วจะแต่งงานใหม่ทันทีกับชวลิตโอภาส ลูกสาวของราชบุรี แต่ราวุธไม่อนุญาตให้แต่งงาน จึงต้องร่วมชีวิตกันเองโดยไม่มีพิธีสมรส และได้ขอลาออกจากราชการแต่ราวุธก็ไม่อนุญาต ต่อมาจึงขอลาไปพักผ่อนหลังและเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมระหว่างเดินทาง โดยมีข่าวว่าถูกราวุธสั่งวางยา ทำให้เสาวภาโกรธมาก ไม่พูดกับราวุธอีกเลย
ได้มีความพยายามลุกขึ้นเรียกร้องรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยครั้งแรกของไทยโดยกลุ่มทหารหนุ่มเมื่อปี 2455 เรียกว่ากบฏ ร..130 ซึ่งเป็นช่วงแรกแห่งการขึ้นครองบัลลังก์ของราวุธ ทางการได้เข้าจับกุมกลุ่มนายทหารหนุ่มประมาณ 150 คน ด้วยข้อหาวางแผนสังหารราวุธ แกนนำ 25 คน ถูกตัดสินจำคุก 12 ปี
ราวุธไม่มีลูก ทั้งที่อยากจะมี  เมื่อล้มป่วยและมเหสีกำลังจะคลอด และในตอนนั้นถ้าได้ลูกชายจะประโคมแตรสังข์ ถ้าได้ลูกสาวจะเป็นมโหรี ขณะที่นอนป่วยอยู่ ธิปกก็อยู่ข้างๆ พอ ราวุธได้ยินเสียงมโหรีก็น้ำตาไหลพราก เพราะรู้ว่าลูกของตนเป็นผู้หญิง ซึ่งธิปกตั้งชื่อให้ว่าเพชรัตน
ราวุธไม่มีลูกชาย บัลลังก์จึงสืบทอดไปสู่น้องชายร่วมแม่เดียวกัน เริ่มจากจักรพงษ์แต่เสียชีวิตปี 2463 ถัดมา คืออัษฎางค์ก็เสียชีวิตในปี 2467  จุฑาธุชก็สิ้นชีพไปก่อนหน้าในปี 2466
จึงเหลือแต่ธิปกคนเดียวขึ้นครองบัลลังก์เป็นรามา 7
คนที่มีอำนาจมากที่สุดในตอนนั้นคือบริพัตร เสนาบดีทหารเรือ ทำให้ธิปกไม่กล้าขึ้นนั่งบัลลังก์ จนกระทั่งมีการตกลงกัน ว่าถ้าธิปกไม่มีลูก ก็จะยอมให้จุมภฏลูกชายคนโตของบริพัตรขึ้นครองบัลลังก์ เนื่องจากธิปกเป็นเจ้าองค์แรกที่มีมเหสีคนเดียว และเป็นน้องสุดท้อง ไม่มีทีท่าว่าจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ พวกพี่ๆจึงเสนอให้ไปบวชและเอาดีทางศาสนา แต่ธิปกอ้างว่ามีคู่รักแล้ว จึงแต่งงานกับรำไพพรรณี แต่ไม่มีแนวโน้มว่าจะมีลูกเป็นรัชทายาท
สมัยธิปกได้ฟื้นอำนาจพวกเจ้านายและทำการปลดขุนนาง แต่ธิปกไม่มีความคิดป็นของตนเอง เพราะไม่ได้เตรียมตัวที่จะเป็นเจ้า จึงไม่มีความรู้ทางด้านการทหารเลย เขียนภาษาไทยก็ไม่ได้ พูดได้อย่างเดียว เพราะตอนนั้นนิยมแต่ภาษาอังกฤษ เนื่องจากตนเป็นน้องคนเล็กสุด จะทำอะไรก็เกรงใจคนอื่นไปหมด จึงบริหารราชการแบบไม่มีหลักการ และเชื่อฟังญาติผู้ใหญ่มากไป 

ธิปกรู้ตัวดีว่าฐานะของตนกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และได้ถูกล้มล้างไปแล้วในหลายๆประเทศ ธิปกสั่งตัดงบค่าใช้จ่ายของราชสำนัก ปลดข้าราชการออกจำนวนมาก และลดเงินใช้จ่ายของตนลงไปครึ่งหนึ่ง ทำให้สถานะของรัฐบาลก็พลิกฟื้นขึ้นมาภายในปีเดียว และพยายามเข้าไปมีบทบาททางวิชาการ และการประชุมของต่างๆ มีการประทานปริญญาบัตร ประทานกระบี่แก่นักเรียนนายร้อย การถวายสัตย์ปฏิญาณตน มีการฟื้นพิธีกรรมหลายอย่าง เพื่อฟื้นฟูอำนาจและบารมีให้เหมือนจุฬา เช่น พิธีโกนจุก แรกนาขวัญ กฐินหลวงที่วัดอรุณที่มีพิธีขบวนเห่เรืออันใหญ่โต ธิปกเริ่มการบูรณะวัดเก่า บีบให้สื่อมวลชนสรรเสริญเจ้า ใครวิพากษ์วิจารณ์เจ้าก็จะถูกข่มขู่ ส่วนที่นิยมระบอบสาธารณรัฐหรือระบอบประธานาธิบดีก็จะถูกปิด
แต่ในสมัยราวุธที่เพิ่งผ่านพ้นไปนั้น สิ่งต่างๆย่ำแย่ลงมาก ข้าราชการทุกคนน่าสงสัยว่าจะเป็นพวกฉ้อฉลทุจริต ราชสำนักเป็นที่เกลียดชังและถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม 
ในปลายปี 2470 มีการเลื่อนชั้นของเชื้อสายจักราวีชั้นกลาง ให้ขึ้นมาอยู่ในชั้นเจ้า มีอานานลูกของมหิดร และพูมลำพองที่เกิดตามมา มหิดรเป็นทายาทลำดับหนึ่งในตอนนั้นเพราะธิปกยังไม่มีลูก ได้ถูกเรียกตัวกลับประเทศจากบอสตัน สหรัฐอเมริกา
ปลายปี 2473 เกิดวิกฤติทางการเงินของสหรัฐ ส่งผลไปทั่วโลกรวมทั้งสยาม รายได้หลักของรัฐคือภาษีจากสินค้าส่งออกและนำเข้าลดฮวบ ธิปกเสนอให้จัดเก็บภาษีรายได้ทั่วไปและภาษีทรัพย์สินแต่พวกเชื้อสายจักราวีปฏิเสธอย่างเด็ดขาด และบังคับให้มีการลดเงินเดือนและจำนวนข้าราชการลง ลดงบประมาณทางทหารด้วย เกิดความโกรธเคืองแก่ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มีกระแสการก่อกบฏ
และแล้วสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยาม ก็ต้องพ่ายแพ้แก่การปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยการยึดอำนาจครั้งนี้กระทำโดยชนชั้นนำ ข้าราชการที่มีการศึกษาสูง และนายทหาร แต่ไม่มีการลุกฮือของมวลชน ไม่มีคนจากชนบทมาเข้าร่วม
การปฏิวัติเกิดขึ้น ขณะที่ฝ่ายเจ้าไปพักผ่อนหน้าร้อนประจำปีที่หัวหิน ที่ธิปกได้สร้างวังริมชายหาดชื่อไกลกังวล เชื้อสายเจ้าถูกจับกุมโดยปราศจากความรุนแรง และการปฏิวัติสำเร็จในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ขณะที่ธิปกกำลังเล่นกอล์ฟกับรำไพพรรณีและนายหน้าค้าอาวุธชาวอังกฤษในตอนเช้าวันนั้น
24 มิถุนายน 2475 เป็นการยึดอำนาจโดยกองทัพบกและกองทัพเรือฝ่ายที่ไม่ใช่เจ้า และพันธมิตรที่เป็นข้าราชการพลเรือน
คณะราษฎรบุกยึดวังและจับกุมพวกเจ้าระดับหัวแถว และยื่นข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้แก่ธิปก ประกาศคณะราษฎรที่ดุดัน ซึ่งปรีดีเป็นผู้เขียนเองได้โจมตีรัฐบาลของกษัตริย์ว่าได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส เป็นไพร่ เป็นขี้ข้า เป็นสัตว์เดรัจฉาน โดยไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ แทนที่จะช่วยราษฎรกลับพากันทำนาบนหลังราษฎร หักเอาภาษีอากรที่เก็บจากราษฎรไว้ใช้ส่วนตัว เป็นจำนวนหลายล้านบาท ส่วนราษฎรนั้นกว่าจะหาได้แต่เล็กน้อยเลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียภาษี ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือถูกเกณฑ์ใช้แรงงาน แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันอย่างสุขสบาย...ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ชาติให้ประเทศมีอิสรภาพ พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติไว้ตั้งหลายร้อยล้านบาท ด้วยวิธีทำนาบนหลังคน

  ...คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ไขความชั่วร้ายก็โดยทีจะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา ...ให้กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรตามลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งเรื่องนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว และกำลังรอคำตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดเพราะความเห็นแก่ตัวว่าจะถูกลดอำนาจ ก็จะได้ชื่อว่า ทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย คือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญ คือไม่ต้องมีกษัตริย์อีกต่อไปแล้ว....


แต่ธิปกได้เติมคำว่าชั่วคราว ลงใน พ...ธรรมนูญการปกครอง 27 มิถุนายน 2475  เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ประกาศว่า อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร ผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรประกอบด้วย กษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎรและศาลโดยเท่าเทียมกัน กษัตริย์ไม่มีส่วนในการจัดตั้งรัฐบาล คณะราษฎรเป็นผู้แต่งตั้งสภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการราษฎรในครั้งแรก หลังจากนั้นจะมาจากการเลือกตั้ง 
แม้ว่าจะไม่มีใครสามารถฟ้องร้องกษัตริย์ในศาลได้ แต่สภาสามารถไต่สวนและถอดถอนกษัตริย์ใด้ และสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบต่อการสืบราชสมบัติ แม้จะมีกฎมณเฑียรบาล 2467 ก็ตาม

รัฐบาลใหม่ไม่ได้ตัดพวกเจ้าออกไป มีแต่บริพัตรอดีตผู้บัญชาการกองทัพ เพียงคนเดียวที่ถูกเนรเทศ  มโนปกรณ์อดีตองคมนตรีได้เป็นนายก ศรีวิสารผู้นิยมเจ้าได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ
30 มิถุนายน2475 สองวันหลังจากเปิดประชุมสภา ธิปกแจ้งต่อรัฐมนตรีใหม่ว่า ตนมีสุขภาพไม่ดี สายตาเเย่ และกำลังคิดจะสละบัลลังก์ เนื่องจากบริพัตรถูกรัฐบาลสั่งเนรเทศ ตนจึงเสนอชื่อทายาท เป็นลูกชายคนโตของมหิดร คืออานานวัย 6 ขวบ หากรัฐบาลกดดันมากไป ตนก็จะสละบัลลังก์ 
รัฐบาลคณะราษฎรพยายามหว่านล้อมธิปกแต่พวกขุนนางเก่า และพวกเจ้าคอยยุแหย่ ป้ายสีปรีดีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และแอบเจรจาหาการสนับสนุนจากอังกฤษและอเมริกา
เดือนกันยายน 2475 เจ้าระดับสูงได้ยกเรื่องสละบัลลังก์มาขู่อีกครั้ง รัฐธรรมนูญต้องเป็นที่พอใจของทางวัง มิเช่นนั้นอาจจะเกิดสงครามตามมาโดยมีมหาอำนาจต่างชาติเข้าร่วมด้วย รัฐธรรมนูญฉบับถาวรเดือนธันวาคมจึงยอมตามความต้องการส่วนใหญ่ของวัง เจ้าเป็นจอมทัพไทย ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ การสืบบัลลังก์เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลปี 2467 ของวงศ์จักราวี สายเลือดจุฬา
หนึ่งเดือนหลังจากนั้น ธิปกพร้อมด้วยมโนปกรณ์และศรีวิสารได้ฉวยโอกาสที่ปรีดีเสนอร่างเค้าโครงเศรษฐกิจให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมปัจจัยการผลิต ที่ดินและเงินทุน ประณามโจมตีปรีดีอย่างขนานใหญ่ ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ธิปกขู่จะสละบัลลังก์อีกครั้ง โดยอ้างแผนเค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดีเป็นต้นเหตุ และสั่งมโนปกรณ์ปลดผู้ก่อการออกจากรัฐมนตรี และห้ามข้าราชการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ขณะที่ครอบครัวมหิดรถูกส่งไปโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อความปลอดภัย คณะราษฎรตอบโต้ด้วยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เมื่อเห็นว่ามโนปกรณ์อาจแพ้โหวต ธิปกจึงปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 1 เมษายน 2476 ฝ่ายนิยมเจ้าได้เลื่อนตำแหน่งเข้าคุมอำนาจ ธิปกลงนามประกาศใช้กฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ บีบให้ปรีดีต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ
20 มิถุนายน 2476 คณะราษฎรแก้คืน ด้วยการทำรัฐประหารขับนายกมโนปกรณ์ นำโดยจอมพล ป. สองวันถัดมา สภาเลือกพหล ผู้นำการปฏิวัติ 2475 เป็นนายก พหลเชิญปรีดีกลับประเทศและเข้าร่วมสภาผู้แทนราษฎร โดยปรีดีต้องเลิกทัศนะซ้ายสุดโต่ง
ธิปกเชื่อว่าสามารถบีบคณะราษฎรด้วยการขู่สละบัลลังก์ แต่สมาชิกสภาตอบโต้ด้วยการยื่นญัติถอดถอนเจ้า และผู้นำแรงงานคนหนึ่งยื่นฟ้องธิปกข้อหาหมิ่นประมาทปรีดี

12 ตุลาคม 2476 บวรเดช ผบ.ทหารเชื้อสายเจ้านำทหารฝ่ายนิยมเจ้า ทำรัฐประหารในนามของวัง
.พิบูลสงครามบัญชาการสู้ศึก เกิดสงครามกลางเมือง เครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มกรุงเทพ และมีการสู้รบบนท้องถนนในหลายเมือง ธิปกอยู่ที่หัวหินวางท่าทีเป็นกลาง ครั้นเห็นบวรเดชเพลี่ยงพล้ำ ก็ถอยไปตั้งหลักที่พรมแดนมลายู ซึ่งอังกฤษควบคุมอยู่
หลังจากสู้รบอย่างดุเดือดสองสัปดาห์ ป.ก็ประกาศชัยชนะ ผู้นำกบฏเสียชีวิตไปหลายคน บวรเดชหนีออกนอกประเทศ คณะราษฎรหมดความสนใจที่จะร่วมงานกับวัง
สองสามสัปดาห์หลังการก่อกบฏ ธิปกประกาศแผนเดินทางไปต่างประเทศอ้างว่าไปรักษาตา ให้นริศราลูกของมังคุด อายุ 70 ปีเป็นผู้สำเร็จราชการ
ธิปกยื่นคำขาดจากลอนดอน ขออำนาจมากขึ้น เช่น ขอเลือกสมาชิกครึ่งสภา ขอคุมงบของเจ้า และอำนาจการยับยั้งที่ต้องใช้เสียง 3 ใน 4 ขออำนาจในการตัดสินคดีประหารชีวิต เพราะต้องการให้ปล่อยนักโทษกบฏบวรเดช หากไม่ตกลงก็จะสละบัลลังก์ และขายทรัพย์สินส่วนของตนที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งรวมถึงวัง วิหาร และพระแก้วมรกต
แต่รัฐบาลที่กรุงเทพไม่เกรงกลัวคำขู่อีกต่อไปแล้ว จึงปฏิเสธไปเกือบทุกข้อ
รวมทั้งการที่คณะราษฎรเสนอเก็บภาษีมรดก แต่ธิปกขอให้ยกเลิก ให้ยกเว้นทรัพย์สินของเจ้า แต่คณะราษฎรไม่ยอม
ธิปกยังถูกรัฐบาลฟ้องร้องให้ยึดทรัพย์ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์ของธิปกเพราะมีการโอนเงินทรัพย์สินของเจ้าไปต่างประเทศโดยมิชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากธิปกไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนนั้น การที่ธิปกโอนขายอสังหาริมทรัพย์ โดยสมรู้กับคู่สัญญา เพื่อจำหน่ายทรัพย์สินของตนให้พ้นอำนาจศาล ถือว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตและทำให้โจทก์คือรัฐบาลเสียหาย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยให้อายัดหรือยึดทรัพย์ของธิปกทั้งหมด
ต้นเดือนมีนาคม 2478 ธิปกจึงต้องสละบัลลังก์ โดยไม่มีอะไรเหลือนอกจากความเป็นศัตรู และต้องพำนักอยู่ในยุโรปตลอดชีวิตที่เหลือ
ขณะสละบัลลังก์ธิปกได้ทิ้งประโยคทองที่อวดอ้างความสูงส่งของตนไว้เป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งมันไม่ได้ช่วยอะไรเลย แต่มันได้กลายเป็นประโยคหากิน หรือวาทกรรมอมตะ ที่ใช้อ้างกันเป็นประจำในสมัยพูมลำพอง ซึ่งเป็นหลานอาของธิปก
....ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร...
แต่ข้อเท็จจริง คือทางวังได้พยายามดิ้นรนต่อสู้ขัดขวาง กระบวนการประชาธิปไตย มาโดยตลอด ซึ่งมันก็ตรงกันข้ามกับคำแถลงในการสละบัลลังก์ มันก็เลยทำให้คำแถลงของธิปกไม่มีความหมายและเป็นแค่เพียงเรื่องโกหกตอแหลเท่านั้นเอง ....

............................................

ไม่มีความคิดเห็น: