ฟังเสียง : http://www.mediafire.com/?nxsedibafa6oobt
หรือที่ : http://www.4shared.com/mp3/MCB9Ty40/The_Godfather_Named_Xomxai_04_.html
หรือที่ : http://www.4shared.com/mp3/MCB9Ty40/The_Godfather_Named_Xomxai_04_.html
เดอะคิงชื่อสมชาย
ตอนที่ 4 : เสด็จพ่อสมชายอัครมหาราชา
ตอนที่ 4 : เสด็จพ่อสมชายอัครมหาราชา
ปี 2519 รัฐมนตรีกลาโหมประมาณ
และกลุ่มทหารเก่าของถนอมและประภาส สนับสนุนให้กิตติวุฒโทนำนวพล 15,000 คน ไปร้องให้นายกคึกฤทธิ์มอบอำนาจให้ทหาร แต่พลเอกฤษณ์ ยังสนับสนุนคึกฤทธิ์เพราะกลัวนวพลมากกว่า
แต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ต้องเจอปัญหาคนตกงานที่มีถึงหนึ่งล้านคน พนักงานรัฐวิสาหกิจ
200,000 คน ประท้วงเรื่องค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น เมื่อคึกฤทธิ์ยอมตามข้อเรียกร้อง
กลับถูกโจมตีว่าอ่อนแอและเอียงซ้าย
ต่อมากฤษณ์ต้องถอยเมื่อคึกฤทธิ์กำหนดเส้นตาย
ให้สหรัฐฯ ถอนกำลัง
7,000 นายออกจากประเทศไทยและเริ่มคืนการควบคุมฐานทัพให้แก่ไทย ภายในวันที่
20 มีนาคม 2519 สหรัฐร่วมมือกับปีกขวาไทย สร้างหลักฐานว่าเวียตนามกำลังวางแผนจะบุกไทย และกองทัพก็เคลื่อนกำลังเข้าข่มขู่
ในที่สุดผู้นำกองทัพก็ยื่นคำขาด ให้คึกฤทธิ์ลาออกและยุบสภา ไม่อย่างนั้นจะทำรัฐประหาร
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2519 พอวันถัดมาคึกฤทธิ์ก็ลาออก โดยพูมลำพองเห็นชอบต่อการยุบสภา
และกำหนดการเลือกตั้งในวันที่ 14 เมษายน 2519
ในการหาเสียงเลือกตั้ง
พรรคส่วนใหญ่ต่างเน้นการถอนทหารสหรัฐฯ ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ การช่วยเหลือคนจน การควบคุมกำกับกอรมน. การยกเลิกธุรกิจผูกขาดที่ทุจริตคอรัปชั่นของกองทัพ
ฝ่ายขวาจัดโหมโจมตีว่าพวกพรรคเสรีนิยมทำงานให้พคท. กับเวียตนามที่จะบุกยึดไทยและทำลายศาสนาพุทธกับสถาบันกษัตริย์อย่างที่เกิดขึ้นในลาว
รายการประจำวันของสถานีวิทยุทหารโดยอุทาร สนิทวงศ์ อ้างชื่อพูมลำพองและสิริเกียรติโดยรายงานข่าวเท็จและปลุกระดมสร้างความเกลียดชังฝ่ายซ้าย และกล่าวหาคึกฤทธิ์ กับเสนีย์ว่าเป็นแนวร่วมของคอมมิวนิสต์ พูมลำพองและครอบครัวเปิดตัวสนับสนุนพวกขวาจัดและลูกเสือชาวบ้านกับกระทิงแดงเต็มที่ สิริเกียรติกล่าวประณามนักศึกษาฝ่ายซ้ายอย่างเปิดเผย และบอกว่าตนชอบตำรวจกับทหารมากกว่านักการเมือง พร้อมทั้งได้เรียกนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา ว่าเป็นพวกสร้างปัญหา พูมลำพองก็ได้แสดงการเลือกข้างอย่างชัดเจนและเปิดเผย เห็นได้จากการบีบนายกคึกฤทธิ์ออกจากตำแหน่ง ขณะที่สงัด ชลออยู่ ผบ.สูงสุด เสนอให้รัฐประหาร แต่พูมลำพองบอกสงัด ว่ายังไม่ถึงเวลา แต่ถ้ารัฐประหาร ก็ควรให้ธานินทร์ กรัยวิเชียร นักเชิดชูเจ้าเป็นนายก
รายการประจำวันของสถานีวิทยุทหารโดยอุทาร สนิทวงศ์ อ้างชื่อพูมลำพองและสิริเกียรติโดยรายงานข่าวเท็จและปลุกระดมสร้างความเกลียดชังฝ่ายซ้าย และกล่าวหาคึกฤทธิ์ กับเสนีย์ว่าเป็นแนวร่วมของคอมมิวนิสต์ พูมลำพองและครอบครัวเปิดตัวสนับสนุนพวกขวาจัดและลูกเสือชาวบ้านกับกระทิงแดงเต็มที่ สิริเกียรติกล่าวประณามนักศึกษาฝ่ายซ้ายอย่างเปิดเผย และบอกว่าตนชอบตำรวจกับทหารมากกว่านักการเมือง พร้อมทั้งได้เรียกนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา ว่าเป็นพวกสร้างปัญหา พูมลำพองก็ได้แสดงการเลือกข้างอย่างชัดเจนและเปิดเผย เห็นได้จากการบีบนายกคึกฤทธิ์ออกจากตำแหน่ง ขณะที่สงัด ชลออยู่ ผบ.สูงสุด เสนอให้รัฐประหาร แต่พูมลำพองบอกสงัด ว่ายังไม่ถึงเวลา แต่ถ้ารัฐประหาร ก็ควรให้ธานินทร์ กรัยวิเชียร นักเชิดชูเจ้าเป็นนายก
นายกรักษาการคึกฤทธิ์ได้ผลักดันให้สหรัฐถอนทหารออกทั้งหมด ภายในเดือนมีนาคม 2519 แต่เอกอัคราชทูตสหรัฐ ชารล์ส ไวท์เฮาส์ เดินทางไปเชียงใหม่ขอให้พูมลำพองช่วยเหลือ หลังจากนั้นไม่นานคึกฤทธิ์ก็จำต้องเลื่อนเส้นตายออกไปเป็นเดือนมิถุนายนหลังการเลือกตั้งโดยปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐบาลชุดใหม่ พูมลำพองได้หักหน้าคึกฤทธิ์ และมีส่วนทำให้คึกฤทธิ์แพ้การเลือกตั้ง
หลังจากที่ตำรวจบุกรุกทำลายข้าวของในบ้านคึกฤทธิ์
ในเดือนสิงหาคม
2518 คึกฤทธิ์สั่งจับกุมคนที่เป็นผู้นำ แต่ในเดือนเมษายน
2519 ก่อนเริ่มพิจารณาคดี ผู้ต้องหาได้รับอนุญาตให้บวชทั้งๆที่มีคดีติดตัว
โดยญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศน์ผู้เคยเป็นพระพี่เลี้ยงของพูมลำพองออกมาปกป้องว่าหลักฐานในคดีนี้ไม่มีน้ำหนัก
ช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง
เต็มไปด้วยการข่มขู่คุกคามเขย่าขวัญนักการเมืองฝ่ายเสรีนิยมให้ถอดใจ นวพลตั้งพรรคต่อต้านฝ่ายซ้าย สงัด ประกาศว่าพวกคอมมิวนิสต์นักก่อวินาศกรรมได้เข้ามาในกรุงเทพฯแล้ว
ประมาณที่สนิทกับกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านเริ่มการรณรงค์หาเสียงของพรรคชาติไทยด้วยคำขวัญ
ขวาพิฆาตซ้าย
15 กุมภาพันธ์
2519 กระทิงแดงพยายามวางระเบิดสำนักงานใหญ่ของพรรคพลังใหม่ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้าย
แต่ระเบิดทำงานก่อนเวลา ทำให้พิพัฒน์ กางกั้น เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และประจักษ์ เทพทอง
บาดเจ็บสาหัสจนต้องถูกตัดแขน พบบัตรสมาชิกกระทิงแดงในตัวของบุคคลทั้งสอง แต่ตำรวจไม่ได้ดำเนินการอย่างไรต่อกลุ่มกระทิงแดง
ประมาณรองนายกแถลงว่า น่าจะเป็นการสร้างสถานการณ์ของพรรคพลังใหม่เพื่อหาเสียง
21 มีนาคม 2519 มีการขว้างระเบิดใส่นักศึกษาและประชาชนที่เดินขบวน ต่อต้านฐานทัพสหรัฐหน้าโรงหนังสยาม
มีผู้เสียชีวิต 4 คน
จนถึงวันเลือกตั้งมีคนถูกฆ่าตายมากกว่า 30 คนทั่วประเทศเป็นพวกฝ่ายซ้าย
ทำให้หลายคนต้องถอนตัวจากการเลือกตั้ง ด้วยความกลัวภัยถึงชีวิต แต่ประชาชนก็ยังคงเลือกพรรคประชาธิปัตย์ของเสนีย์
มาเป็นอันดับหนึ่ง ได้ 114 จาก 279 ที่นั่ง
พรรคกิจสังคมของคึกฤทธิ์ได้ 45 ที่นั่ง แต่คึกฤทธิ์เองที่ลงเขตดุสิตที่เป็นพื้นที่ทหาร
แพ้นายสมัคร คนโปรดของสิริเกียรติและเป็นหัวหน้ากลุ่มขวาจัดในประชาธิปัตย์
เสนีย์กลับมาเป็นนายกอีกครั้งโดยตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคชาติไทย ของประมาณ และพรรคธรรมสังคมของทหารและธุรกิจอนุรักษ์ นโยบายของเสนีย์คล้ายคึกฤทธิ์แต่ลดการคุยโวโอ้อวดลง และประนีประนอมเรื่องการคงกำลังทหารของสหรัฐ ให้พลเอกกฤษณ์คุมกลาโหม เอาคนของประมาณช่วยกลาโหม
แต่หลังการแต่งตั้งไปได้ไม่กี่วัน
กฤษณ์ก็เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลว มีข่าวลือว่าถูกวางยาจากการกินข้าวเหนียวมะม่วงของพูมลำพอง
นายกเสนีย์จึงไม่มีนายทหารสายกลางที่จะยับยั้งพวกทหารขวาจัด ระหว่างนั้นลูกเสือชาวบ้านเติบโตอย่างรวดเร็ว
มีสมาชิกใหม่กว่าหนึ่งล้านคน ในปี 2519 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี
2519 ทั้งพูมลำพองและสิริเกียรติไปเป็นประธานในพิธีชุมนุมของลูกเสือชาวบ้านไม่ต่ำกว่า
19 ครั้ง โดยมักจะมีสิรินเทพและจุลาพองร่วมด้วย โดยพูมลำพองจะปราศรัยสั่งสอนให้ลูกเสือขาวบ้านมีความร่วมแรงร่วมใจ
มีวินัย และทำงานหนัก โดยที่ลูกเสือชาวบ้านต่างเข้าใจกันดีว่า นักศึกษา ชาวนาและกรรมกร
คือภัยของชาติ
ขณะที่พูมลำพองก็ทราบดีถึงกิจกรรมที่โหดร้ายป่าเถื่อน
ของพวกอันธพาลลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดงและนวพล เพราะมีรายงานข่าวทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์แทบทุกวันและทุกฉบับ
ถึงความรุนแรงในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งปี 2519 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นฝีมือของกระทิงแดงและนวพล
ยิ่งกว่านั้น กิตติวุฒโฑ
ยังได้ให้สัมภาษณ์ว่าการฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป เพราะใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสน์ กษัตริย์
เดรัจฉานเหล่านั้นไม่ใช่มนุษย์ แต่เป็นปีศาจ นี่เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน บาปนั้นเล็กน้อยมาก
แต่เป็นบุญมากสำหรับการปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เหมือนกับเวลาเราฆ่าปลาเพื่อแกงสำหรับถวายพระ
การฆ่าปลานั้นบาปแน่ แต่เราเอาไปใส่บาตรได้บุญมากกว่า
มีการเรียกร้องให้ลงโทษหรือสึกกิตติวุฒโฑออกจากพระ
มหาเถรสมาคมของพูมลำพอง โต้แย้งว่าไม่มีหลักฐานเอาผิด กิตติวุฒโฑยังพูดย้ำตามแบบเดิมอีก
ว่าการฆ่าคนไทยที่เป็นคอมมิวนิสต์ 50,000 คนจะเป็นบุญสำหรับคนไทยอีก
42 ล้านคนที่เหลือ พระที่เป็นสายของเจ้าก็พากันขานรับ ขณะที่พูมลำพองและสิริเกียรติก็ยังคงไปพบกิตติวุฒโทเป็นประจำ
พร้อมทั้งไปร่วมงานพิธีของพวกกระทิงแดง กับค่ายฝึกอบรมที่พูมลำพองได้ทดสอบยิงปืนของพวกกระทิงแดง
ซึ่งมีการรายงานข่าวอย่างเปิดเผย ลูกเสือชาวบ้านบางหน่วยเข้ารับการฝึกอบรมการปฏิบัติการสร้างความรุนแรงที่ค่ายนเรศวรของตชด.
ใกล้วังไกลกังวลที่หัวหิน ซึ่งพูมลำพองและวชิราพองไปซ้อมยิงปืนเป็นประจำ
ครึ่งหลังของปี 2519 พูมลำพองให้ท้ายขบวนการขวาพิฆาตซ้ายอย่างโจ่งแจ้งและดุเดือดรุนแรงเพราะความหวาดผวาตื่นกลัวคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเสนีย์เริ่มซวนเซ วิทยุและโทรทัศน์
ซึ่งส่วนใหญ่ควบคุมโดยกองทัพ โหมกระหน่ำโฆษณา ต่อต้านฝ่ายซ้ายและโจมตีรัฐบาลเสนีย์ ขณะที่มหาดไทย ใต้การสั่งการของประมาณและสมัคร
เริ่มจับกุมนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาจัดยังคงโหมเรื่องภัยของคอมมิวนิสต์ที่เกินจริงอยู่เช่นเดิม
การปฏิรูปสังคมและเศรษฐกิจของรัฐบาลเสนีย์ก็ไม่ได้ผลไม่คืบหน้าโดยที่พูมลำพองไม่เคยสนใจการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริง
ทั้งยังปฏิเสธความพยายามปฏิรูปของเสนีย์ เมื่อนายกเสนีย์นำร่างกฎหมายปี 2518 สมัยคึกฤทธิ์ที่จะขยายการเลือกตั้งลงสู่ระดับท้องถิ่น
กลับมาเสนอใหม่ในเดือนมิถุนายน 2519 สภาลงมติผ่านร่างกฎหมายด้วยเสียง
149 -19 แต่พูมลำพองปฏิเสธที่จะลงนามหรือแม้แต่จะส่งร่างกฎหมายกลับ ทั้งยังไม่สนับสนุนการทำข้อตกลงเรื่องถอนกำลังทหารสหรัฐ
โดยกองบก.สูงสุดปฏิเสธข้อเสนอของเสนีย์อย่างไม่ใยดี
เดือนสิงหาคม 2519 พูมลำพอง
กองทัพและนักการเมืองขวาจัดก็พาถนอมกับประภาสกลับเข้าประเทศ ทั้งๆที่รู้ว่าจะต้องเกิดการประท้วงวุ่นวายใหญ่โต
ประภาสกลับมาในวันที่ 17 สิงหาคม
ด้วยการคุ้มกันจากกองทัพโดยอ้างว่าจำเป็นต้องมารักษาตา นักศึกษาราว 20,000 คนชุมนุมประท้วงที่ธรรมศาสตร์สี่วัน จนเกิดการปะทะกับกระทิงแดงและนวพล ทำให้มีคนเสียชีวิตสี่คน
ประภาสได้เข้าพบพูมลำพอง แล้วก็กลับออกไปนอกประเทศ หลังจากนั้นจงกล ภรรยาของถนอม ก็ร้องขอรัฐบาล
เพื่อนำถนอมกลับมาเยี่ยมบิดาที่กำลังป่วย รัฐบาลนิ่งเฉย เพราะกลัวจะเกิดวุ่นวายหนักขึ้นไปอีก
ไม่ว่าจะให้ถนอมกลับมาหรือไม่ก็ตาม ก็คงต้องมีการประท้วงจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นายสมัครรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยและเป็นคนใกล้ชิดของสิริเกียรติไปสิงคโปร์
และบอกว่าพูมลำพองสนับสนุนให้ถนอมกลับเข้าประเทศ
19 กันยายน 2519 ถนอมเดินทางกลับไทยลงจากเครื่องบินในชุดสามเณรนุ่งจีวร จากสิงคโปร์ โดยมีนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไปรอต้อนรับ
พอมาถึงสนามบินก็ตรงไปยังวัดบวรเวลา10.00 น.ทำการบวชแบบส่วนตัว โดยไม่เปิดให้คนทั่วไปมีส่วนร่วม ทั้งๆที่ถนอมก็ยังมีคดีอาญาติดตัว
กลุ่มยุวสงฆ์เรียกร้องให้สังฆราชตรวจสอบญาณสังวร แต่สังฆราชตอบว่า การบวชนั้นถูกต้อง
และไม่ขอยุ่งเกี่ยวเรื่องทางการเมือง
วิทยุยานเกราะโดยอุทาร
สนิทวงศ์ โจมตีนักศึกษาที่ต่อต้านคัดค้าน ว่าเป็นพวกทำลายศาสนา โฆษกรัฐบาลแถลงว่าถนอม
เข้ามาบวชตามที่ได้ขอรัฐบาลไว้แล้ว และ น่าจะพิจารณาตัวเองได้หากเกิดความไม่สงบขึ้น การที่พูมลำพองอนุญาตให้ถนอมบวชและอยู่ที่วัดบวร
เท่ากับเป็นการประกาศสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะวัดบวรเป็นวัดประจำวงศ์จักราวีมาตั้งแต่สมัยมังคุด
ญาณสังวรเจ้าอาวาส ก็เป็นอาจารย์ของพูมลำพอง เมื่อถนอมมาถึง พวกกระทิงแดงก็มาปกป้องล้อมวัดบวรกันทั้งคืน
รัฐบาลเสนีย์รีบขอให้ถนอมออกไปนอกประเทศก่อนที่จะเกิดความวุ่นวาย
นายสมัครประกาศต่อคณะรัฐมนตรีว่า พูมลำพองและสิริกียรติเห็นชอบต่อการกลับมาของถนอม
และก็เกิดการชุมนุมประท้วงใหญ่โตตามคาด มีทั้งนักศึกษา กลุ่มองค์กรต่างๆเช่นสภาทนายความได้เรียกร้องตำรวจให้ดำเนินคดีถนอมที่สั่งการสังหารประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา
21 กันยายน 2519 สุรินทร์ มาศดิตถ์ รัฐมนตรีสำนักนายกแถลงว่ารัฐบาลมีมติจะให้ถนอม ออกนอกประเทศไปโดยเร็ว
22 กันยายน 2519 สมาชิกประชาธิปัตย์และฝ่ายค้าน ลงมติให้ขับถนอมออกนอกประเทศ พูมลำพองและสิริเกียรติรีบกลับจากภาคใต้ไปเยี่ยมเณรถนอมที่วัดบวร
อย่างเปิดเผยเป็นข่าวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ในชุดทหาร ติดตามด้วยบรรดาผู้นำของนวพล เป็นการประกาศตัวสนับสนุนถนอมและพวกอันธพาลนวพล
ต่อต้านมติของสภา คณะรัฐมนตรีและฝ่ายประชาธิปไตย และพร้อมปะทะขั้นแตกหักหลังจากที่เคยตีสองหน้ามาตลอด
23 กันยายน 2519 เสนีย์ ลาออกจากนายก เพราะคาดไม่ถึงว่าพูมลำพองจะออกมาท้าชนตรงๆ ในขณะที่ทหารเตรียมกำลังเต็มอัตราศึก และ สถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศให้ตำรวจจับนักศึกษาที่ติดโปสเตอร์ต่อต้านถนอม แต่สภาปฏิเสธการลาออก เสนีย์ต้องการปรับพรรคชาติไทยออกและนำกิจสังคมของคึกฤทธิ์เข้าแทน แต่พูมลำพองไม่ยอมให้เอาพรรคชาติไทยออก
เสนีย์ทำได้แค่เอานายสมัครกับสมบุญ ศิริธรรัฐมนตรีขวาจัดอีกคนหนึ่งออกจากครม. เสนีย์พยายามประคับประคองรัฐบาล ขณะที่สถานการณ์ทวีความตึงเครียดและรุนแรงขึ้นทุกที
24 กันยายน 2519 พนักงานการไฟฟ้านครปฐม 2 คน ที่เป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
ถูกสังหารและแขวนคออย่างโหดเหี้ยม
25 กันยายน 2519 เสนีย์ได้รับเป็นนายกอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่นักศึกษาเรียกร้องให้ขับถนอมออกนอกประเทศและเร่งจับฆาตรกรสังหารพนักงานการไฟฟ้าโดยเร็ว
30 กันยายน 2519 เสนีย์ ยืนยันว่ารัฐบาลขับถนอมออกนอกประเทศไม่ได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ มีนักศึกษาและกรรมกร
10,000 คนชุมนุมประท้วงที่สนามหลวง
3 ตุลาคม 2519 นักศึกษาประกาศร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ในการไม่เข้าเรียนและหยุดงานประท้วง จนกว่าถนอมจะออกไปนอกประเทศ
พูมลำพองตอบโต้ด้วยการสั่งให้วชิราพองงดการฝึกทหารที่ออสเตรเลีย และให้รีบกลับกรุงเทพในชุดทหาร
โดยตรงไปเยี่ยมถนอมที่วัดบวร สองวันถัดมา ทั้งพวกซ้ายและพวกขวาจัดการประท้วงในหลายที่
เกิดการปะทะกันแต่ไม่มาก
4 ตุลาคม 2519 เสนีย์ ยอมรับว่ามีตำรวจกลุ่มหนึ่งสังหารโหดพนักงานการไฟฟ้าที่ต่อต้านถนอม
ขณะที่นักศึกษาในธรรมศาสตร์ แสดงละครล้อเลียนการฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้าที่ลานโพธิ์ธรรมศาสตร์
ปรากฏภาพนักศึกษาที่เล่นเป็นผู้ถูกแขวนคอคนหนึ่งมีหน้าคล้ายวชิราพอง เพื่อใช้เป็นชนวนในการเข่นฆ่าใจกลางเมืองที่โหดร้ายป่าเถื่อนที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยยุคใหม่
5 ตุลาคม 2519 มีประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีนายสมัคร หนังสือพิมพ์ขวาตกขอบดาวสยาม
ตีพิมพ์ภาพถ่ายของละครล้อเลียนการแขวนคอลงหน้าหนึ่ง พร้อมประกาศอย่างโกรธแค้นว่านักศึกษาแขวนคอวชิราพอง
สถานีวิทยุยานเกราะโดยอุทาร สนิทวงศ์ ประกาศว่าการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์เป็นการหมิ่นเดชานุภาพวชิราพอง ขอให้รัฐบาลจัดการกับผู้ทรยศเหล่านี้โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการนองเลือดที่อาจจะเกิดขึ้น และเรียกร้องให้ลูกเสือชาวบ้านกับนวพล ออกมาชุมนุมและจัดการพวกนักศึกษา กล่าวหาว่านักศึกษาวางแผนที่จะบุกวังและวัดบวร วิทยุยานเกราะประกาศให้ฆ่ามัน ฆ่าพวกคอมมิวนิสต์ มีการเตรียมการวางแผนปลุกระดมลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดงกับนวพลให้มาชุมนุมเพื่อประท้วงครม.ชุดใหม่ของเสนีย์ และพร้อมปฏิบัติการขั้นเด็ดขาด
สถานีวิทยุยานเกราะโดยอุทาร สนิทวงศ์ ประกาศว่าการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์เป็นการหมิ่นเดชานุภาพวชิราพอง ขอให้รัฐบาลจัดการกับผู้ทรยศเหล่านี้โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการนองเลือดที่อาจจะเกิดขึ้น และเรียกร้องให้ลูกเสือชาวบ้านกับนวพล ออกมาชุมนุมและจัดการพวกนักศึกษา กล่าวหาว่านักศึกษาวางแผนที่จะบุกวังและวัดบวร วิทยุยานเกราะประกาศให้ฆ่ามัน ฆ่าพวกคอมมิวนิสต์ มีการเตรียมการวางแผนปลุกระดมลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดงกับนวพลให้มาชุมนุมเพื่อประท้วงครม.ชุดใหม่ของเสนีย์ และพร้อมปฏิบัติการขั้นเด็ดขาด
พรรคชาติไทยและนายสมัคร
ตอบโต้การแต่งตั้งครม.ชุดใหม่ด้วยการระดมลูกเสือชาวบ้านมาชุมนุมประท้วง เรียกร้องให้ปลดรัฐมนตรีประชาธิปัตย์ที่เป็นคอมมิวนิสต์
คือชวน หลีกภัย ดำรงค์ ลัทธพิพัฒน์ และสุรินทร์ มาศดิตถ์ โดยนำมวลชนขวาจัดราว 4,000 คน มาชุมนุมที่หน้าธรรมศาสตร์ ในคืนวันที่ 5 ตุลาคม
2519 ทั้งลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง ตำรวจท้องที่ และคอมมานโดตชด.จากค่ายนเรศวรที่หัวหินที่มาโดยเฮลิคอปเตอร์
5 ตุลาคม 2519 เวลา 21.30 น. ประยูร อัครบวร กรรมการศูนย์นิสิตนำนักศึกษา
2 คนที่แสดงเป็นพนักงานการไฟฟ้าที่ถูกแขวนคอ แถลงข่าวแสดงความบริสุทธิ์ใจ
ถัดมา 10 นาที 21.40 น.รัฐบาลออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ช่อง 9 ว่า การแสดงละครที่ธรรมศาสตร์
มีลักษณะเป็นการหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อรัชทายาท รัฐบาลได้สั่งการให้กรมตำรวจดำเนินการสอบสวนกรณีนี้โดยด่วนแล้ว
หลังจากนั้น สถานีวิทยุยานเกราะ
ก็ปลุกระดมมวลชนและลูกเสือชาวบ้านให้ไปรวมตัวกันที่ลานรูปทรงม้า เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจับกุมผู้กระทำการหมิ่นรัชทายาทมาลงโทษ
และ กล่าวหาว่านักศึกษาหมิ่นเดชานุภาพ ตลอดทั้งคืนจนถึงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม
2519
ก่อนรุ่งสางของวันที่ 6 ตุลาคม
2519 ฝ่ายขวาจัดที่บ้าคลั่งเริ่มเปิดฉากระดมยิงเข้าไปในธรรมศาสตร์ ด้วยปืนเอ็ม-16
คารไบน์ ปืนพก ปืนยิงระเบิด และกระทั่งปืนใหญ่ไร้แรงสะท้อน นักศึกษาถูกปิดล้อม
ไม่ให้เล็ดลอดออกจากมหาวิทยาลัย ไม่สามารถนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล นักศึกษาได้ประกาศวิงวอนร้องขอให้หยุดยิง
บรรดาผู้แสดงในละครแขวนคอได้เดินทางไปมอบตัวต่อเสนีย์ที่ทำเนียบ
เวลา 08.10 น.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ สั่งการให้ตชด. พร้อมอาวุธสงครามบุกเข้าธรรมศาสตร์
ซึ่งมีนักศึกษาชุมนุมกันอยู่ประมาณ 3,000 คน ตำรวจนครบาลได้ทำการระดมยิงทำให้ภายในธรรมศาสตร์กลายเป็นแดนสังหาร
ที่ถูกถล่มด้วยอาวุธนานาชนิด โดยมีกองกำลังตชด.ของพูมลำพองเป็นทัพหน้า
ธรรมศาสตร์ถูกล้อมปิดประตูทุกด้าน เพื่อการล้อมปราบและสังหารที่น่าสยดสยอง นักศึกษาที่โดดลงแม่น้ำเจ้าพระยาถูกเจ้าหน้าที่ยิง
คนที่ยอมจำนน นอนหมอบบนพื้นสนาม ถูกกระชากลากทุบตี หลายคนถึงแก่ความตาย บางคนถูกเผาทั้งเป็น
บางคนถูกแขวนคอบนต้นมะขามที่สนามหลวงและถูกทุบตีซ้ำ นักศึกษาหญิงถูกข่มขืนทั้งที่ยังมีชีวิตและเสียชีวิตไปแล้ว
โดยตำรวจและกระทิงแดง ความโหดร้ายป่าเถื่อนดำเนินไปเป็นเวลาหลายชั่วโมง และเลิกราไปต่อเมื่อเกิดพายุฝนในตอนเที่ยง
แต่ลูกเสือชาวบ้านนับหมื่นมาถึงกรุงเทพฯ
แล้วชุมนุมกันที่ลานรูปทรงม้ากับสนามม้านางเลิ้งโห่ร้องว่า ฆ่าพวกคอมมิวนิสต์ ฆ่ารัฐมนตรีหัวเอียงซ้ายสามคน
ปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พวกเขาถูกปลุกปั่นจนบ้าคลั่งพร้อมจะโจมตีอะไรก็ได้ตามที่ถูกชักจูงให้ทำ
จวบจนมืดค่ำ ผู้บัญชาการตชด. กับวชิราพอง
ก็ได้มาขอบคุณลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดงและนวพล และบอกให้พวกเขากลับบ้าน
คณะทหารได้ทำการยึดอำนาจ
โดยเรียกตัวเองว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยการรับรองของพูมลำพอง สองสามวันต่อมา
ธานินทร์ กรัยวิเชียร เพื่อนรักของพูมลำพองก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายก
ทุกวันนี้ ผู้ที่ร่วมในเหตุการณ์ 6 ตุลา
ยังคงต้องปิดปากเงียบไม่กล้าสืบหาข้อเท็จจริง ของที่มาที่ไปของเหตุการณ์ในวันนั้น ตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการมีแค่
46 ราย บาดเจ็บ 167 คน และถูกจับไปกว่า
3,000 คน แต่ผู้รอดชีวิตหลายคนอ้างว่ามีคนตายมากกว่า 100 คน
รัฐบาลใหม่เริ่มงาน ด้วยการให้ความชอบธรรมกับการโจมตีเข่นฆ่านักศึกษาว่าเป็นการปกป้องเจ้าและประเทศชาติ
จากพวกก่อความวุ่นวายในธรรมศาสตร์ที่หนุนหลังโดยเวียตนาม รัฐบาลแสดงภาพถ่ายศพชายคนหนึ่งทางโทรทัศน์
อ้างว่าเป็นหน่วยรบของเวียตนาม กองทัพอ้างว่าถูกยิงก่อนจากในธรรมศาสตร์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องโกหกทั้งสิ้น
มีความพยายามบิดเบือนว่าการโจมตีเข่นฆ่านักศึกษาในธรรมศาสตร์
ไม่ได้มีการวางแผนกันมาก่อน แต่เป็นเพราะความวุ่นวายจากการสร้างสถานการณ์เพื่อยึดอำนาจ
โดยที่พูมลำพองไม่ได้รู้มาก่อนและต้องตกกระไดพลอยโจนเพราะสถานการณ์พาไป แต่ก็คงเป็นเพียงเรื่องโกหกเพื่อแก้ตัวเท่านั้นเอง
เพราะเหตุการณ์ทั้งหมดมีการวางแผนอย่างชัดเจนแน่นอน มีการจัดตั้งมวลชนปีกขวาทั่วประเทศตลอดปีที่ผ่านมา
เพื่อเตรียมเพื่อการประหัตประหาร ตชด. ที่หัวหินได้ฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านเพื่อบุกจู่โจมเข่นฆ่านักศึกษา
ลูกเสือชาวบ้านที่นครปฐมทำกิจกรรมจำลองการทุบตี และแขวนคอนักศึกษาไม่นานก่อนที่นักเคลื่อนไหวสองคนถูกฆ่าแขวนคออย่างทารุณ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์อธิการบดีธรรมศาสตร์ได้เขียนว่า
ผู้บัญชาการตำรวจคงไม่กล้าสั่งยิงถ้าไม่รู้มาก่อนว่าเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อให้พวกทหารยึดอำนาจ
นั่นคือ การสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรง จนเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถควบคุมความรุนแรงไว้ได้
แล้วก็ให้กองทัพเคลื่อนกำลังเข้ามายึดอำนาจโดยการอ้างว่าต้องเข้ามาแก้ไขให้เกิดความสงบ
การสังหารหมู่
6 ตุลาทำให้กองทัพมีข้ออ้างในการยึดอำนาจ แต่หลังจากนั้นไม่เคยมีการสืบสวนหรือการตั้งข้อหาใดๆ
แม้จะมีผู้สมรู้ร่วมคิดเป็นจำนวนมาก และพูมลำพองได้ทิ้งรอยนิ้วมือไว้เต็มไปหมด แต่ก็ทำเป็นปล่อยปละละเลยไม่มีการสืบสวนหาข้อเท็จจริง
โดยที่พูมลำพองและครอบครัวนั่นแหละที่กำกับและลงมือเอง หลังจากที่ได้ทำการปลุกปั่นยุยงมาเป็นปี
รวมทั้งการที่เข้าแทรกแซงขัดขวางรัฐบาลในการปฏิบัติตามหน้าที่มาโดยตลอด
ที่น่าเกลียดที่สุดก็คือพูมลำพองได้ยืนเคียงข้างพวกกระทิงแดงมาตั้งแต่ต้นและเป็นคนเร่งให้เกิดความรุนแรงด้วยการนำถนอมกลับประเทศ
ทำให้รัฐบาลเสนีย์ไม่มีทางควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อนักศึกษาประท้วงถนอม พูมลำพองกลับไม่เคยยับยั้งหรือห้ามปรามคนอย่างอุทาร
สนิทวงศ์ที่เอาแต่ปลุกระดมให้เกิดการสังหารโหดนักศึกษา
การใช้ข้อหาหมิ่นเดชานุภาพ
ต่อการแสดงละครของนักศึกษาเพื่อเป็นข้ออ้างสำหรับการใช้ความรุนแรงถึงขั้นเอาชีวิตกัน
ก็เป็นเรื่องที่โหดเหี้ยม ที่แสนจะล้าหลัง วชิราพองเองก็ปรากฎตัวอยู่ที่ธรรมศาสตร์ช่วงวันที่ 5 และ 6 พร้อมกับตำรวจและลูกเสือชาวบ้านโดยหนังสือพิมพ์ได้ลงรูปในชุดทหารออกรบพร้อมพกปืนที่เอว
แวดล้อมด้วยลูกเสือชาวบ้านกระทิงแดง ตำรวจและทหาร
สี่วันถัดมาวชิราพองก็ไปเป็นประธานในพิธีมอบธงและรางวัลให้ลูกเสือชาวบ้าน
ที่ลพบุรีและสิงห์บุรี ที่ได้มาร่วมกันก่อการสังหารหมู่นักศึกษาในธรรมศาสตร์ ทหารที่ยึดอำนาจประกาศตามแบบฉบับว่า
การยึดอำนาจครั้งนี้ เป็นไปเพื่อปกปักรักษาเจ้า นักศึกษาและฝ่ายซ้ายถึง
10,000 คนต้องหนีเข้าป่าไปร่วมกับ พคท. ทำให้ขบวนต่อสู้ของพคท.มีขนาดเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าและนำประเทศชาติเข้าใกล้ภาวะสงครามกลางเมือง มีการล้มเลิกรัฐธรรมนูญและยุบเลิกรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและตั้งรัฐบาลเผด็จการธานินทร์ของพูมลำพองที่ไม่สามารถชี้แจงต่อประชาชนและต่างประเทศผู้ประณามความโหดร้ายป่าเถื่อนที่เกิดขึ้น
พูมลำพองไม่สามารถหลอกลวงให้ผู้คนเข้าใจว่าเป็นธรรมราชาที่เปี่ยมด้วยความกรุณาอีกต่อไปแล้ว
แต่เป็นได้แค่ศูนย์รวมของพวกขวาจัดที่บ้าคลั่งเท่านั้น
การรัฐประหาร 6 ตุลาคม
2519 ทำให้พูมลำพองได้ตั้งรัฐบาลเอง และปกครองอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
โดยมีหุ่นเชิดคือธานินทร์ เป็นนายก โดยมีแผนและเป้าหมายมุ่งเพิ่มพูนอำนาจให้พูมลำพองเพื่อรับมือความวุ่นวายและคอมมิวนิสต์
แต่เกิดการต่อต้านและคัดค้านรัฐบาลขวาตกขอบของธานินทร์ โดยพวกนายพลสายกลาง นักธุรกิจ
ข้าราชการและคนทั่วไป
เศรษฐกิจเริ่มตกต่ำจากการถอนตัวของนักลงทุน ขณะที่วอชิงตันก็ตัดความช่วยเหลือ พร้อมทั้งวิจารณ์รัฐบาลว่าไม่เป็นประชาธิปไตยและละเมิดสิทธิมนุษยชน
การที่ธานินทร์เป็นเหมือนตัวแทนพูมลำพองทำให้คณะรัฐประหารต้องคล้อยตามธานินทร์ในการปราบปรามฝ่ายซ้ายอย่างไม่ปรานี
ธานินทร์โอนคดีอาญาไปให้ศาลทหาร และตำรวจมีอำนาจจับกุมคุมขัง รัฐบาลยัดข้อหาประชาชนว่าเป็นคอมมิวนิสต์
และขังได้หกเดือนโดยไม่ต้องแจ้งข้อหา หลายพันคนถูกจับกุมในช่วงนั้น ในข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์วางแผนโค่นล้มรัฐบาลและเจ้า
กฎหมายหมิ่นเดชานุภาพถูกปรับให้โหดยิ่งขึ้น
จากจำคุกสูงสุดไม่เกินเจ็ดปี ให้มีโทษต่ำสุดจำคุกสามปีและสูงสุดไม่เกิน 15 ปี
การจับกุมข้อหาหมิ่น เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ธานินทร์ทำแบบสฤษดิ์ โดยสั่งประหารชีวิตอาชญากรอุกฉกรรจ์ไปสองสามคนเพื่อข่มขวัญ
กวดขันกับการนำเสนอข่าวของสื่ออย่างเข้มงวดและสั่งห้ามการประท้วงทั้งหมด
ตำรวจบุกค้นตามบ้านเรือน
โรงเรียนและสถานที่ทำงานต่างๆ เพื่อยึดหนังสือต้องห้าม ห้ามการพูดคุยความคิดทางการเมืองในสถานศึกษา
ตำราเรียนถูกเขียนใหม่และมีการสร้างภาพยนตร์เชิดชูความรักภักดีต่อเจ้า ต่อต้านคอมมิวนิสต์
การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในชนบททวีความรุนแรงจนเกือบถึงขั้นจะประกาศสงคราม ชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ถูกสังหารเป็นจำนวนมาก มีการทิ้งระเบิดนาปาล์มทำลายหมู่บ้านเรือกสวนไร่นาที่ภาคใต้ แต่ฐานกำลังของพคท. แทบไม่กระเทือน มีการดักซุ่มโจมตีมากขึ้นทำให้ฝ่ายรัฐบาลสูญเสียกว่า 550 นายในสามเดือนแรกของปี 2520
ธานินทร์ได้ยกเลิกการริเริ่มฟื้นฟูสัมพันธไมตรีกับจีนและเวียตนาม
ของนายกคึกฤทธิ์และเสนีย์ และประกาศเป็นศัตรูกับรัฐบาลทั้งสองประเทศอีกครั้ง ประเทศไทยเลยกลายเป็นนักเลงหาเรื่องพิพาทกับเพื่อนบ้าน
กลายเป็นเผด็จการทหารขวาจัดที่อันตราย และได้สร้างความแตกแยกแก่สังคมไทยส่วนใหญ่ เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลธานินทร์รับใช้พูมลำพองเพียงผู้เดียว
ส่วนพูมลำพองก็ประกาศว่าการรัฐประหาร 6 ตุลาเป็นความต้องการของประชาชนอย่างชัดเจน
รัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ที่วอชิงตันตำหนิไทยอย่างแข็งกร้าวที่ละทิ้งประชาธิปไตย
และพคท.ก็เรียกรัฐบาลว่าเป็นเผด็จการกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา
ระบอบธานินทร์และวังดิ้นรนประคองตัวท่ามกลางเสียงวิจารณ์อย่างหนักด้วยการอ้างว่าตนเองก็เป็นประชาธิปไตยตามแบบอังกฤษและเดนมาร์ก
โดยรัฐบาลจะจัดการเลือกตั้งและเคารพสิทธิ์ของประชาชน แต่ประชาชนต้องได้รับการศึกษาก่อนโดยใช้เวลา12 ปี เรียกว่า แผนจุฬาลงกรณ์
ธานินทร์โหมโฆษณาว่าสถาบันเจ้าอุปถัมภ์ค้ำชูประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง
ประชาธิปไตยเป็นการปกครองรูปแบบหนึ่งที่มีเจ้าเป็นประมุข พูมลำพองยังอธิบายว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีระเบียบวินัย
มีข่าวว่าธานินทร์วางแผนจะเปลี่ยนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่สร้างโดยจอมพลป. และเป็นที่นัดชุมนุมให้กลายเป็นอนุสาวรีย์ของธิปก
ที่ถูกคณะราษฎรยึดอำนาจ โดยธานินทร์จัดงบประมาณสร้างรูปหล่อขนาดใหญ่ของธิปก เพื่อเอาไว้บนยอดอนุสาวรีย์แทนที่รัฐธรรมนูญ
แต่มีปัญหาทางวิศวกรรม รัฐบาลจึงนำรูปหล่อไปไว้หน้ารัฐสภาแทน โดยมีคำจารึกเป็นวรรคทองของธิปก
ที่กล่าวสละราชสมบัติ เพื่ออวดอ้างตนเป็นบิดาแห่งระบอบรัฐสภาและรัฐธรรมนูญของไทยที่ว่า...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาด
และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร...
สำหรับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยของเดิมนั้น ธานินทร์ตัดสินใจจะทำลายทิ้ง
เพราะอนุสาวรีย์นี้ไม่ควรค่าแก่การรักษาไว้ เนื่องจากมันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสถาบันเจ้า
คึกฤทธิ์ ได้เย้ยหยันรัฐบาลธานินทร์ ที่เพิกเฉยต่อการแก้ปัญหาที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์ยากของประชาชนแต่กลับดำเนินการปราบปรามอย่างโหดร้าย
ประชาชนในภาคใต้ที่ถูกสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จะถูกจับกุมและหายตัวไปเลย
คึกฤทธิ์บอกเป็นนัยว่าตัวปัญหาที่แท้จริงคือสิริเกียรติที่เอาแต่ใจ
และเสนอทางออกให้พูมลำพอง แต่พูมลำพองกลับสนับสนุนวิธีการปราบคอมมิวนิสต์แบบเด็ดขาดของธานินทร์
เกรียงศักดิ์ เป็นผบ. สูงสุดในต้นเดือนตุลาคม
2520 ได้ร่วมกับกลุ่มทหารหนุ่มหรือยังเติร์กบีบให้ธานินทร์ปลดสมัครออก
แต่ธานินทร์ไม่ยอมโดยอ้างว่าตนเป็นรัฐบาลพระราชทาน พอวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ทหารหลายคันรถก็จัดการรัฐประหารโดยได้รับการยอมรับในหมู่ชนชั้นนำจำนวนมากแบบไม่มีการเสียเลือดเนื้อ
แต่การรัฐประหารของเกรียงศักดิ์ไม่ได้รับอนุมัติจากวัง และถือเป็นการลบหลู่อย่างใหญ่หลวงต่อความเป็นหนึ่งในสยามของพูมลำพอง
ทำให้พูมลำพองเสียศักดิ์ศรีไปไม่น้อย เครือข่ายวังได้เปิดเผยว่าพูมลำพองไม่พอใจมากเพราะเขายอมรับการเปลี่ยนรัฐบาลตามครรลองประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเท่านั้น
และตำหนิว่าการรัฐประหารของเกรียงศักดิ์ทำให้ประเทศไทยดูตกต่ำเหมือนสาธารณรัฐกล้วยหอม
คือประเทศในอเมริกาใต้ที่การเมืองไม่มั่นคง มีการยึดอำนาจกันเป็นประจำและมักมีผลผลิตหลักเป็นพืชผล
เช่น กล้วยหอม
นายกเกรียงศักดิ์สัญญาจะให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน
ยกเลิกกฎอัยการศึก และสานสัมพันธ์กับอินโดจีน จีนและโซเวียต แผนจุฬาลงกรณ์ของธานินทร์ที่จะคืนประชาธิปไตย
ภายใน 12 ปีนั้นนานเกินไป โดยเกรียงศักดิ์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
และจัดการเลือกตั้งภายในปี 2522
เกรียงศักดิ์ประกาศประนีประนอมกับพวกคอมมิวนิสต์
โดยให้หลักประกันความปลอดภัย และความยุติธรรมแก่นักศึกษาที่กลับออกมาจากป่า แต่พูมลำพองประชดโดยตั้งธานินทร์เป็นองคมนตรีอย่างเอิกเกริก
เพื่อชดเชยการร่วงลงจากอำนาจอย่างยับเยินหมดสภาพ และพยายามลดความสัมพันธ์กับเกรียงศักดิ์
ทั้งยังถ่วงการนิรโทษกรรมนักศึกษา 18 คนไปอีกหนึ่งปี
เพราะไม่สบอารมณ์ และคิดจะแต่งตั้งสมัครเป็นหัวหน้าสำนักงานทรัพย์สินของตน
เกรียงศักดิ์ปรามกลุ่มอันธพาลการเมืองที่เคยก่อความวุ่นวายในปี
2519 โดยเข้ากุม ตชด. ลดความสัมพันธ์ของตชด.กับลูกเสือชาวบ้าน นวพลหายไป กระทิงแดงถูกส่งไปสู้รบบริเวณชายแดนและเสียชีวิตไปหลายคน
เกรียงศักดิ์ลดระดับการสู้รบทางทหาร หันมาเน้นการเอาชนะใจพวกคอมมิวนิสต์ รัฐบาลประกาศนิรโทษกรรมแก่นักศึกษา
18 คนในเดือนกันยายน 2521 ประจวบเหมาะกับที่ พคท. เริ่มแตกกันเอง เกรียงศักดิ์ขอให้ฮานอย ปักกิ่งและเวียงจันทน์ลดการช่วยเหลือพคท. ไม่นานสมาชิกระดับสูงของพคท.บางส่วนก็ยอมแพ้และกลับมากรุงเทพ
การนิรโทษกรรมดึงคนออกจากป่าได้ราว 400 คนในปี 2521 นับเป็นจุดเริ่มต้นการเสื่อมสลายของ พคท.
เกรียงศักดิ์ต้องการให้วังเป็นกลางทางการเมือง
จึงจำกัดกิจกรรมลูกเสือชาวบ้าน พูมลำพองจึงต้องหวนกลับมาใช้วิธีเดิมเหมือนตอนแรกๆที่ขึ้นครองบัลลังก์
คือ เร่งขยายงานพิธีและกิจกรรมสร้างบุญบารมี และเสริมเครือข่ายพันธมิตรของวัง ด้วยการแจกเครื่องราชแก่ข้าราชการและทหารชั้นสูง
ซึ่งบรรดาภรรยาจะได้เป็นท่านผู้หญิงกับคุณหญิง เครื่องราชขึ้นกับจำนวนเงินที่บริจาคที่ขยายเติบโตจากการโฆษณาชวนเชื่อให้คนเกลียดกลัวภัยคอมมิวนิสต์หรือผกค. ในการออกงานที่วัดแห่งหนึ่งในเยาวราชย่านพ่อค้าชาวจีน ได้มีผู้บริจาค
120 คนรับพระราชทานพระเครื่ององค์ละ 20,000 บาท
การทํารัฐประหารของเกรียงศักดิ์ล้มรัฐบาลธานินทร์ที่เป็นตัวแทนของพูมลำพองในปี
2520 ทำให้พูมลำพองตระหนักว่าจำต้องมีขุนศึกเป็นมือเป็นเท้าสามารถกุมกองทัพไว้ในมือเพื่อสนองความต้องการของตนได้อย่างมั่นคงเต็มที่
บุคคลที่พูมลำพองเชื่อว่ามีคุณสมบัติเพียบพร้อมที่จะเป็นขุนศึกคู่บัลลังก์ของตนก็คือเปรมิกา
รัฐมนตรีคนหนึ่งของเกรียงศักดิ์ ซึ่งพูมลำพองจะต้องผลักดันเปรมิกาให้ได้เป็นนายกคนต่อไป
เปรมิกาเกิดเมื่อ 26
สิงหาคม 2463 แก่กว่าพูมลำพอง 7 ปี เป็นคนสงขลา เป็นทหารอาชีพ เป็นผู้บังคับบัญชาที่มีความเข้มงวดสูง เป็นสมาชิกสภาหลายสมัยติดต่อกัน
เป็นแม่ทัพภาคที่สองรับผิดชอบพื้นที่ภาคอิสาน ทำสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์โดยใช้การเมืองนำการทหาร
เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกอรมน.ที่มีเพื่อนเก่าคือสุตสายที่เป็นหัวหน้ากระทิงแดง
เปรมิกาเป็นคนพูดเบามากและเคารพระบบอาวุโสอย่างเข้มงวด สุภาพเรียบร้อยมาก หนักแน่น
และมีวินัย แต่ค่อนข้างเจ้าเล่ห์ ไม่ตรงไปตรงมา ถนัดเรื่องลับลวงพราง ชอบเล่นพรรคเล่นพวกและการประจบสอพลอจากผู้ใต้บังคับบัญชา
เป็นพวกเจ้ายศเจ้าอย่างที่ทำตัวยิ่งกว่าเจ้า
ในเดือนสิงหาคม
2521 เกรียงศักดิ์เตรียมเสนอชื่อเสริม ณ นคร ควบตำแหน่งผบ.สูงสุด และ ผบ.ทบ. แต่คึกฤทธิ์ได้เขียนลงสยามรัฐสนับสนุนเปรมิกา
เชื่อกันว่าเป็นการส่งสัญญาณจากวัง และเกรียงศักดิ์ก็เสนอชื่อเปรมิกาเป็นผบ.ทบ.จากผู้ช่วยผบ.ทบ.เพียงปีเดียว และเปรมิกายังได้ย้ายคนของตนเข้ากุมตำแหน่งสำคัญ เพิ่มอำนาจต่อรองในวุฒิสภา
เปรมิกาวิจารณ์โจมตีเกรียงศักดิ์อย่างหนัก
โดยเปรมิกาได้กล่าวปฎิญาณในวันที่ 3 มีนาคม 2523 ว่าตนเป็นรัฐบาลของพูมลำพอง เปรมิกาได้เปิดศักราชใหม่ของการประจบประแจงเทิดทูนวัง
ขณะที่พูมลำพองก็ทำการแทรกแซงอย่างไม่กระดากใจเป็นประจำ ส่วนเปรมิกาก็ไม่มีความเหนียมอายที่จะเอาหลังพิงวังจนเป็นที่ทราบกันดีว่า
เมื่อใดก็ตามที่เปรมิกามีปัญหา ก็จะตรงเข้าวังเพื่อรับการสนับสนุนแล้วกลับออกมาอย่างมีพลัง
แล้วบรรดาศัสตรูของเปรมิกาก็จะพากันหดหัวไปอย่างรวดเร็ว การบริหารราชการของเปรมิกาจึงมีแต่การเล่นพรรคเล่นพวกที่ประจบเอาใจวัง
ทำให้กองทัพเต็มไปด้วยการแบ่งพรรคแบ่งพวกกับความหย่อนยานทางวินัย รัฐบาลจึงไม่มีเสถียรภาพและมีหลายครั้งที่เกิดความเปั่นป่วนรุนแรง
เปรมิกาได้ขยายอำนาจทางทหารในรูปของคำสั่งนายกรัฐมนตรี
66/2523 และ 65/2525 เปลี่ยนนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ขนานใหญ่
ให้กองทัพมีอำนาจเหนือสภาและรัฐธรรมนูญเปรมิกาเป็นนายกในปี 2523 โดยควบตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมและ ผบ. ทบ. ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควร แต่พูมลำพองก็เห็นดีเห็นงาม
โดยอ้างว่าเปรมิกากำลังจะเกษียณราชการทหารเมื่ออายุ 60 ในเดือนตุลาคมปีนั้น
แต่พอปลายเดือนสิงหาคม 2523 อาทิตย์ กำลังเอก ดาวรุ่งคนโปรดของสิริเกียรติ
เรียกร้องให้ต่ออายุราชการแก่เปรมิกา ในวันที่ 1 กันยายน
2523 เปรมิกากลับออกมาจากการเข้าพบพูมลำพองและประกาศว่าพูมลำพองสนับสนุนการต่ออายุราชการให้ตน
เมื่อรัฐมนตรีต้องการข้อพิสูจน์ พวกเขาก็ถูกเรียกให้เข้าพบพูมลำพอง แล้วก็กลับออกมาประกาศสนับสนุนการต่ออายุราชการให้เปรมิกา
เศรษฐกิจตกต่ำหลังจากเปรมิกาเป็นรัฐบาลไม่ถึงปี
พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลก็เริ่มโวยวายแถมมีเรื่องทุจริตอื้อฉาวหลายกรณี ขณะที่เปรมิกาจะขอต่ออายุราชการ ผบ.ทบ. อีกปีหนึ่ง เมื่อต้นปี 2524 รัฐมนตรีหลายคนลาออก คึกฤทธิ์ก็ถอนพรรคกิจสังคมออกจากการร่วมรัฐบาล แต่เปรมิกาดึงพรรคการเมืองปีกขวาและทหารเข้ามาร่วมรัฐบาล
ให้สุตสาย หัสดิน เจ้าพ่อกระทิงแดงกับประจวบ สุนทรางกูรเป็นรัฐมนตรี
คืนวันที่ 31 มีนาคม
2524 นายทหารที่กุมกำลังของกองทัพพยายามก่อรัฐประหารเมษาฮาวาย เมื่อวันที่
1 - 3 เมษายน 2524 เพื่อยึดอำนาจการปกครองของเปรมิกา
ประกอบด้วยนายทหารจปร. รุ่น 7 หรือ รุ่นยังเติร์ก ได้แก่มนูญ
รูปขจร ประจักษ์ สว่างจิตร พัลลภ ปิ่นมณี โดยมี สัณห์ จิตรปฏิมา รองผบ.ทบ. เป็นหัวหน้า
ได้เริ่มก่อการเมื่อเวลา 2.00 น. ของวันที่
2 เมษายน โดยจับตัว เสริม ณ นคร ผบ.สูงสุด หาญ
ลีลานนท์ ชวลิต ยงใจยุทธ ไว้ที่หอประชุมกองทัพบก และออกแถลงการณ์คณะปฏิวัติ
เปรมิกาได้เชิญพูมลำพอง สิริเกียรติ และครอบครัวไปอยู่ที่กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี นครราชสีมา ตั้งกองบัญชาการตอบโต้ และปลดผู้ก่อการออกจากตำแหน่งทางทหาร
โดยได้กำลังสนับสนุนจากอาทิตย์ กำลังเอก รองแม่ทัพภาคที่ 2 การกบฏสิ้นสุดลงโดยไม่ได้มีการต่อสู้กัน
ผู้ก่อการเดินทางออกนอกประเทศ อาทิตย์ได้รับความไว้ใจจากเปรมิกา ได้เป็นแม่ทัพภาคที่
1 คุมกองกำลังรักษาพระนคร
เปรมิกามีอำนาจที่มั่นคงขึ้นจากท่าทีรับรองของพูมลำพองทั้งๆที่มีปัญหาเศรษฐกิจรุมเร้าไปทั่วประเทศ
ผู้นำทหารก็เพลิดเพลินไปกับการได้เข้าวัง เนื่องจากสิริเกียรติชอบการแวดล้อมด้วยนายตำรวจนายทหาร
และภรรยาของพวกเขา งานเลี้ยงของวังจะมีพวกนายทหาร เต้นรำกับสิริเกียรติและร้องเพลงกันโดยพูมลำพองเป็นคนเป่าแซ็กโซโฟน
ในเดือนมกราคม
2526 เปรมิกาต้องการต่ออายุบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ 2521 ให้ทหารควบตำแหน่งทางการเมืองได้ แต่เมื่อเผชิญการต่อต้านคัดค้าน พิจิตร กุลละวณิชย์
ลูกน้องของเปรมิกาก็ออกมาขู่ว่า อาจจะมีการตบเท้าสำแดงกำลัง หากกองทัพไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการพูมลำพองให้เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดยวุฒิสภาที่ส่วนใหญ่เป็นทหารสามารถผ่านวาระที่หนึ่งและสอง ที่ใช้เพียงเสียงข้างมากของรัฐสภา
วาระที่สามในวันที่ 16 มีนาคม 2526 ต้องใช้เสียงสองในสาม
และฝ่ายทหารก็แพ้ไปอย่างเฉียดฉิว แต่พูมลำพองรีบให้ยุบสภาในวันที่ 19 มีนาคม 2526 และให้เลือกตั้งวันที่ 18 เมษายน 2526 หรือแค่ 30 วัน เพื่อให้รัฐบาลใหม่ตั้งขื้นก่อนบทเฉพาะกาลสิ้นสุดลง
โดยใช้บทเฉพาะกาลต่อไปได้อีกสี่ปี
พรรคชาติไทยได้สส. มากที่สุดจากต่างจังหวัด นำโดยประมาณ ที่เป็นอันธพาลการเมืองปีกขวาในปี
2519 เปรมิกาใช้ประโยชน์จากความกลัวประมาณ บีบให้พรรคอื่นสนับสนุนตน
และเขี่ยชาติไทยไปเป็นฝ่ายค้าน โดยเลือกลูกน้องของตนมาเป็นรัฐมนตรีกว่าสิบคน พูมลำพองถือโอกาสสั่งสอนในงานฉลองวันเกิด
5 ธันวาคม 2526 ด้วยการดูถูกเหยียดหยามนักการเมืองและข้าราชการ
เรื่องความไม่เอาไหนในการแก้ปัญหาน้ำทวมกรุงเทพชั้นใน แทนที่จะระบายน้ำออกสู่ทะเล กลับให้ไปท่วมพื้นที่อื่นต่อๆกันไป
อย่างโง่ๆ ไร้ความสามารถ ไม่เหมือนกองทัพ
เปรมิการีบปกป้องเทิดทูนสถาบันเจ้า โดยทันทีที่เป็นนายกฯในปี
2523 ก็รีบฟื้นโครงการก่อสร้างอนุสาวรีย์ธิปก ที่รัฐสภา ซึ่งริเริ่มโดยรัฐบาลธานินทร์ในปี
2519 โดยมีพิธีแห่แหนอย่างเอิกเกริก ในการเปิดอนุสาวรีย์นี้ในวันรัฐธรรมนูญปี
2523 และได้ปลดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ออกจากรายการคุ้มครองมรดกแห่งชาติ
โดยคิดจะทุบทิ้งเพื่อลบภาพการปฏิวัติ 24 มิถุนา 2475
เปรมิการับภาระในการจัดการกับคนสองคนที่ยังเหลืออยู่คือปรีดี
และ พระพิมลธรรม
ขณะนั้นปรีดีอยู่ที่ปารีส อายุ 80 ปี อยากกลับบ้านหลังจากอยู่เมืองนอกมานานกว่า 30 ปี ครอบครัวและเพื่อนฝูงของปรีดี ได้ยื่นคำร้องขอต่อพูมลำพอง ขออนุญาตให้ปรีดีกลับไทย แต่พูมลำพองกลัวว่าปรีดีเป็นภัยคุกคามทางการเมือง เปรมิกาจึงออกอุบายรับมือแทน โดยรัฐบาลปล่อยข่าวว่าปรีดีสามารถกลับไทยได้ และวังไม่ได้ติดใจกรณีเสียชีวิตของอานาน แต่ก็ไม่เคยมีการอนุญาตเป็นทางการ ราวกับว่ามันไปติดขัดอยู่ตรงระเบียบขั้นตอนที่ไหนสักแห่งและไม่รู้ว่าใครรับผิดชอบ
จนกระทั่งปรีดีถึงแก่กรรม ที่ปารีสในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 ศพของปรีดีถูกนำกลับไทย แต่รัฐบาลเปรมิกาปฏิเสธที่จะจัดพิธีศพให้อย่างเป็นทางการ และพูมลำพองปฏิเสธที่จะประทานเพลิงศพ แสดงให้เห็นถึงความพยาบาทผูกใจเจ็บของพูมลำพองที่มีต่อปรีดีอย่างลึกซึ้ง ทั้งๆที่ปรีดีเป็นคนเสนอต่อรัฐสภาในวันที่อานานเสียชีวิต แต่งตั้งพูมลำพองนั่งบัลลังก์ ทำให้รอดจากการเป็นจำเลยคดีฆาตกรรมอานาน ไม่ต้องถูกประหารชีวิต
ขณะนั้นปรีดีอยู่ที่ปารีส อายุ 80 ปี อยากกลับบ้านหลังจากอยู่เมืองนอกมานานกว่า 30 ปี ครอบครัวและเพื่อนฝูงของปรีดี ได้ยื่นคำร้องขอต่อพูมลำพอง ขออนุญาตให้ปรีดีกลับไทย แต่พูมลำพองกลัวว่าปรีดีเป็นภัยคุกคามทางการเมือง เปรมิกาจึงออกอุบายรับมือแทน โดยรัฐบาลปล่อยข่าวว่าปรีดีสามารถกลับไทยได้ และวังไม่ได้ติดใจกรณีเสียชีวิตของอานาน แต่ก็ไม่เคยมีการอนุญาตเป็นทางการ ราวกับว่ามันไปติดขัดอยู่ตรงระเบียบขั้นตอนที่ไหนสักแห่งและไม่รู้ว่าใครรับผิดชอบ
จนกระทั่งปรีดีถึงแก่กรรม ที่ปารีสในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 ศพของปรีดีถูกนำกลับไทย แต่รัฐบาลเปรมิกาปฏิเสธที่จะจัดพิธีศพให้อย่างเป็นทางการ และพูมลำพองปฏิเสธที่จะประทานเพลิงศพ แสดงให้เห็นถึงความพยาบาทผูกใจเจ็บของพูมลำพองที่มีต่อปรีดีอย่างลึกซึ้ง ทั้งๆที่ปรีดีเป็นคนเสนอต่อรัฐสภาในวันที่อานานเสียชีวิต แต่งตั้งพูมลำพองนั่งบัลลังก์ ทำให้รอดจากการเป็นจำเลยคดีฆาตกรรมอานาน ไม่ต้องถูกประหารชีวิต
จนเวลาผ่านไปถึงเก้าเดือน มีการวิพากษ์วิจารณ์ และพระขู่เคลื่อนไหวประท้วง
แต่พูมลำพองไม่ยอมตั้งพระพิมลธรรมเป็นพระชั้นสมเด็จ ทั้งๆที่พระพิมลธรรมได้ขี้นชั้นรองสมเด็จในทศวรรษ
2490 แต่ถูกสฤษดิ์สั่งถอดยศ และเพิ่งได้คืนมาในปี 2518 ท่านจึงมีคุณสมบัติสมบูรณ์ที่จะเลื่อนชั้นเป็นสมเด็จ เมื่อสมเด็จหนึ่งในหกรูปมรณภาพในเดือนกรกฎาคม
2526 เกิดกระแสเรียกร้องให้พระพิมลธรรมเป็นสมเด็จ สภาสงฆ์อิสานลงคะแนนสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์
เปรมิกากับวังตอบโต้ด้วยการขุดข้อกล่าวหาว่า พระพิมลธรรมเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง
ของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ขึ้นมาใหม่ เพราะกลัวว่าพระพิมลธรรมเป็นผู้ชิงตำแหน่งสังฆราช
ซึ่งมีการเตรียมสมเด็จรุ่นน้องไว้แล้ว คือ ญาณสังวร พระพี่เลี้ยงของพูมลำพองนั่นเอง
วังและเปรมิกา ใช้วิธีหน่วงเหนี่ยวถ่วงเวลา แบบเดียวกับกรณีการขอกลับบ้านของปรีดี มหาเถรสมาคมทำเพิกเฉยในตอนแรก
พอวันที่ 20 พฤศจิกายน ก่อนวันเกิดพูมลำพองไม่กี่วัน เจ้าคณะภาคอีสานเสนอชื่อพระพิมลธรรมอย่างเป็นทางการ สังฆราชให้กรมการศาสนาบรรจุเรื่องนี้เข้าในวาระการประชุม แต่พอประชุมกลับไม่มีในวาระ โดยอ้างว่าหาคำสั่งของสังฆราชไม่เจอ และไม่มีการแต่งตั้งสมเด็จองค์ใหม่ในวันที่ 5 ธันวาคมปีนั้น พอกลางปี 2527 พระชั้นสมเด็จมรณภาพไปอีกหนึ่งราย ทำให้เหลือว่างสองตำแหน่ง แต่ก็ไม่มีการแต่งตั้งพระชั้นสมเด็จอีกปีหนึ่ง
จึงเป็นที่ชัดเจนว่า พูมลำพองปฏิเสธพระพิลธรรม
ที่อายุ 83 ปีแล้ว และวังก็เพียงแต่เฝ้ารอให้ท่านมรณภาพ เหมือนรอให้นายปรีดีถึงแก่กรรม
ปี 2528 ผ่านไปอีกโดยปราศจากการแต่งตั้ง เจ้าคณะจังหวัดภาคอิสาน
17 รูปขู่ว่าจะคืนสมณศักดิ์ และเครื่องราชย์ เป็นการประกาศแยกตัวจากมหาเถรสมาคม
วังทนถูกด่าต่อไปไม่ไหว จึงต้องให้พระพิมลธรรมเป็นสมเด็จ และท่านก็มรณภาพในอีกไม่กี่ปีต่อมา
ญาณสังวรก็ขึ้นเป็นสังฆราชตามความต้องการของพูมลำพอง
เมื่อได้จัดการกำจัดเสี้ยนหนาม ที่เป็นพยานคนสำคัญต่ออดีตอันน่าอัปยศของพูมลำพองไปเรียบร้อยแล้ว
เปรมิกาก็โหมการเทิดทูนพูมลำพอง และวัฒนธรรมคลั่งเจ้า เริ่มด้วยการฟื้นประเพณีหมอบกราบ
โดยเปรมิกาพยายามทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง โดยเข้าพบพูมลำพองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ด้วยลีลาที่เหมือนสมัยเมื่อร้อยปีก่อนคือการหมอบกราบและพูดกับพูมลำพองด้วยสุ้มเสียงกระซิบกระซาบแผ่วเบาอย่างเจียมเนื้อเจียมตัวต่อเมื่อพูมลำพองถามก่อนเท่านั้น
เปรมิกาสวมเสื้อไหมไทยคอตั้ง เรียกว่า ชุดราชประทาน
ซึ่งย้อนยุคไปถึงสมัยจุฬา ทำให้บรรดาข้าราชการ นักการเมือง และนักธุรกิจที่ต่างพากันแต่งชุดราชประทานเป็นชุดทำงาน
ไฮโซและพวกต้องการยกสถานะตนเองทางสังคมก็จะแข่งกันบริจาคเงินและเข้าร่วมงานพิธีต่างๆ
ที่เปรมิกาเป็นผู้ดูแลอุ้มชู และมีศูนย์กลางอยู่ที่โรงแรมดุสิตธานีซึ่งเป็นสถานที่ประจำสำหรับจัดงานลีลาศการกุศล
กลายเป็นสถานที่ ที่นักธุรกิจ นักการเมือง นายพลกับบรรดาภรรยาทั้งหลายมาออกงานและตกลงเรื่องธุรกิจ
การแต่งตั้งโยกย้ายเลื่อนตำแหน่ง การให้สัญญาและสัมปทานของรัฐตามใบสั่งของวัง
เปรมิกาใช้งบประมาณของประเทศในการสร้างวังหลายแห่ง
ให้กับครอบครัวของพูมลำพอง เช่น ชาเล่ตข์นาดใหญ่บนยอดเขาที่เชียงรายสำหรับสังวอนที่มาอยู่เมืองไทยเป็นการถาวรในช่วงปลายทศวรรษ
2520 สั่งให้การบินไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
จัดงบประมาณโฆษณาเทิดทูนเจ้าทุกวันสำคัญ มีการเผยแพร่งานต่างๆของวังตามโทรทัศน์และวิทยุอย่างเต็มที่
วันเกิดของพูมลำพองและสิริเกียรติ ถูกยกให้เป็นวันพ่อและวันแม่แห่งชาติ
เมื่อรำไพพรรณี ภรรยาของธิปก เสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม
2527 เปรมิกาได้ขยายเวลาไว้อาลัยจากปกติ 100 วันเป็น
11 เดือน (หรือราว 330 วัน)
และรัฐบาลเปรมิกาได้จัดพิธีประทานเพลิงศพอันยิ่งใหญ่สุดอลังการในเดือนเมษายน
2528 ใช้เงินหลายร้อยล้านบาท ท่ามกลางภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในขณะนั้น
มีเมรุประดับทองสูง 29 เมตร ขบวนแห่ยาวสามกิโลเมตร ประกอบด้วยราชรถสีแดงและสีทองนำศพที่บรรจุในโกศประดับอัญมณี
พร้อมด้วยทหารมือกลอง และพลเป่าแตรหนึ่งพันนายแต่งชุดจักรีโบราณ โทรทัศน์ทุกช่องถ่ายทอดสด
ครอบครัวมหิดรนำขบวนแห่ของเชื้อสายเจ้านับร้อย ท่ามกลางเสียงปืนใหญ่ที่ยิงสลุดดังอื้ออึง
เปรมิกาก็รีบสนองความต้องการของพูมลำพองด้วยการทุ่มเททั้งงบประมาณ
และกำลังคนของรัฐบาล โดยเฉพาะกำลังทหารสนับสนุนโครงการของเจ้า เป็นความสำคัญเร่งด่วนลำดับแรกเหนืองานราชการทั้งปวง
เปรมิกานั่งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานโครงการของเจ้า หรือ กปร. ทำหน้าที่เร่งรัดและทุ่มเททรัพยากรและสรรพกำลังทั้งหมดของรัฐบาลไว้รับใช้เจ้าเพื่อให้พูมลำพองได้รับเอาความดีความชอบแต่เพียงผู้เดียว
ผู้ดูแลโครงการราชดำริเป็นนักเศรษฐศาสตร์และเป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ชื่อสุเมธ ที่ปรึกษาคนสนิทของพูมลำพอง ได้ใช้งบประมาณเพิ่มจากเดิมเป็นสิบเท่า โดยส่วนใหญ่หักเงินเอาจากงบประมาณปกติของกระทรวงทบวงกรมต่างๆ
โครงการราชดำริส่วนใหญ่ทำเหมือนเดิมคือ วิจัยพันธุ์พืช แหล่งน้ำ ฝึกอบรมแพทย์และสาธารณสุข
กองทัพได้กลายมาเป็นกองงานส่วนตัวของพูมลำพอง
มีศูนย์พัฒนามูลค่าหลายสิบล้านบาทบนเนื้อที่ 13,000 ไร่ ที่วังภูพาน
สกลนคร และอีกหลายล้านไร่ที่ศูนย์พัฒนาเขาค้อ เพิ่มงบให้กองทัพนำไปใช้ในโครงการหลวง
โหมโฆษณาพร้อมงบประมาณมหาศาล ทำให้ประชาชนมองข้ามรัฐบาลและหวังพึ่งแต่โครงการหลวงของเจ้า
เปรมิกายังทำหน้าที่ควบคุมปราบปรามการวิพากษ์วิจารณ์วังด้วยการใช้กฎหมายหมิ่นเดชานุภาพโดยใช้ปกป้องวงศ์จักราวีทุกคนและเจ้าไทยทั้งหมด
เปรมิกาถือว่าเรื่องของเจ้าไม่ใช่เรื่องของไพร่ และห้ามวิจารณ์เจ้าโดยเด็ดขาด มีการข่มขู่สื่อว่าจะโดนปิด
คนที่ถูกจับได้ว่า ตีพิมพ์เอกสารวิพากษ์วิจารณ์วัง
จะถูกลงโทษรุนแรง ถูกตามล่าและถูกจับขังคุก นิตยสารนิวส์วีค ฉบับที่หน้าปกลงรูปเปรมิกาอยู่สูงกว่าพูมลำพอง
ในเดือนมกราคม 2525 ถูกสั่งห้ามขายรวมทั้งเอเชี่ยนวอลล์สตรีทเจอร์นัล
ที่ลงบทความว่ากษัตริย์พูมลำพองไม่ได้เป็นที่นิยมมาก อย่างที่เข้าใจกัน
วสิษฐให้สัมภาษณ์เนชั่น แก้ตัวแทนพูมลำพองและสิริเกียรติที่มักตื่นสายถึงเที่ยงทุกวัน
โดยอ้างว่าทั้งสองคนต้องหอบเอกสารเข้าไปอ่านในห้องทั้งคืน ทำให้ต้องออกจากห้องนอนตอนเที่ยงวันแล้ว
และยังต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกำหนดต่างๆที่แน่นไปหมด ซึ่งเป็นเรื่องโกหกรัฐบาลโหมการโฆษณาชวนเชื่อเทิดทูนเจ้าให้ถอยกลับไปสู่ยุคโบราณที่ถือเป็นเจ้าชีวิต
เป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่าง และอยู่บนหัวของราษฎร โดยไม่ให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญ
รัฐสภาและหลักกฎหมายโดยถือว่าเป็นของนำเข้าจากตะวันตก
คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ กลับหันไปเน้นความสำคัญ
ของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่หนึ่ง ที่มังคุดทำขึ้นมาเอง ว่าเป็นเหมือนสัญญาประชาธิปไตย
เพราะเจ้าไทยได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนโดยเอกฉันท์ ประชาชนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวภายใต้การปกครองของเจ้า
ให้พ้นจากภัยคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตกและดูแลทุกข์สุขให้ประชาชน ส่วนนักการเมืองมีความเห็นแก่เงินและบ้าอำนาจ
สื่อมวลชนก็พึ่งพาไม่ได้ มีแต่เจ้าเท่านั้นที่มีภูมิรู้
ประสบการณ์ ความรอบรู้และการเสียสละที่จะปกครองประเทศได้
คนไทยเข้าใจเรื่องนี้ดี เพราะเมื่อเจ้าป่วยทุกคนพากันตกใจ
แต่เวลาทหารยึดอำนาจ จะไม่สู้มีใครใส่ใจ เพราะรัฐบาลก็เป็นแค่สิ่งบันเทิง พูมลำพองให้สัมภาษณ์ปี
2525 ว่าตนควรจะเป็นผู้เลือกนายก เพราะตนฉลาดกว่าใคร และประชาชนศรัทธาเชื่อมั่นตน
สำหรับการรัฐประหารที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็เพราะทหารก็ต้องการประชาธิปไตยเหมือนกับประชาชนนั่นเอง
ในปี 2527 เศรษฐกิจตกต่ำทั้งภูมิภาค
และมีเรื่องอื้อฉาวที่ธนาคารหลายแห่งล้มละลาย เกิดความตื่นตระหนกไปทั่ว ในเดือนสิงหาคม
เปรมิกาล้มป่วยอย่างหนัก สิริเกียรติไปเยี่ยมเปรมิกาถึงข้างเตียงที่บ้านสองครั้ง เป็นข่าวครึกโครม
เปรมิกากลับมาเจอเศรษฐกิจที่ซวนเซ ต้องประกาศลดค่าเงินบาท
15% ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2527 จาก 23 บาท เป็น 27 บาท ต่อ
1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา แต่อาทิตย์ ผบ.สูงสุดและผบ.ทบ.ขอให้รัฐบาลทบทวนและขอให้ปรับครม.
คราวนี้พูมลำพองออกโรงช่วยเปรมิกาด้วยตนเอง
โดยให้เปรมิกาไปพักที่วังภูพานเป็นเวลาเก้าวัน สื่อเผยแพร่ภาพูมลำพอง สิริเกียรติ และวชิราพอง
เปรมิกากลับมาพร้อมวชิราพองและลีลายุทธ สามีของจุลาพอง เมื่ออาทิตย์บินไปเข้าวังภูพาน เปรมิกาก็ตามไป พวกเขาได้เข้าพบพูมลำพอง
จบลงด้วยการที่เปรมิกายังอยู่บนเก้าอี้นายก การลดค่าเงินบาทไม่ถูกยกเลิก อาทิตย์ได้รับการต่ออายุราชการและควบทั้งสองตำแหน่งไปจนถึงเดือนกันยายน
2529
เดือนกันยายน
2528 เปรมิกาไปเยือนอินโดนีเซีย อาทิตย์ไปยุโรป ครอบครัวมหิดรอยู่ต่างจังหวัด
พวกยังเติร์กพยายามยึดอำนาจอีก โดยอ้างความจงรักภักดี รถถังกับรถบรรทุกประดับรูปพูมลำพอง
สิริเกียรติและวชิราพอง แต่ทหารหลายหน่วยที่นัดกันไว้กลับไม่มา
เปรมิการีบกลับจากจาการ์ตา และเจรจาจนเรียบร้อย กลายเป็นว่ายังเติร์กถูกหลอกให้ออกมาเพื่อหาเรื่องเล่นงานคนบางคน
ในปี 2529 เปรมิกาเผชิญศึกหนักในสภา
จึงตั้งกลุ่มการเมืองของตนเอง โดยให้สิทธิ เศวตศิลา เข้ายึดพรรคกิจสังคมหลังจากคึกฤทธิ์วางมือ
และให้เทียนชัย สิริสัมพันธ์ ตั้งพรรคราษฎร สภาเตรียมเล่นงานเปรมิกาอีก อาทิตย์ขู่จะก่อรัฐประหาร
วังก็ให้วชิราพองไปเยี่ยมเปรมิกาที่บ้านอย่างเปิดเผย พูมลำพองให้ยศ พลเอกสามเหล่าทัพแก่เปรมิกา
ซึ่งปกติแล้วจะสงวนไว้สำหรับพวกเจ้าเท่านั้น ขณะที่เปรมิกาอยู่ในฐานที่มั่นที่นครราชสีมาก็ได้ประกาศปลดอาทิตย์
ออกจากผบ.ทบ.ซึ่งถือเป็นจุดจบทางการเมืองของอาทิตย์
การรณรงค์หาเสียงของนักการเมืองได้พุ่งเป้าโจมตีเปรมิกาที่ไม่ยอมลงสมัครรับเลือกตั้ง
รวมทั้งกองทัพที่มีการทุจริตอย่างกว้างขวางและเป็นทหารการเมือง แต่เปรมิกาไม่สะทกสะท้าน
เพราะเขาได้ยึดเอาพูมลำพองเป็นแบบอย่าง โดยอ้างว่าตนมีความเป็นกลางและอยู่เหนือการเมือง
ทั้งๆที่บริวารของเปรมิกาเข้าคุมพรรคการเมือง มีการปล่อยข่าวว่าพูมลำพองต้องการให้เปรมิกาเป็นนายก
อย่างน้อยจนกว่าจะผ่านงานฉลองวันเกิดครบ 60 ในปี
2530 และจากนั้นก็เป็นการฉลองการขึ้นครองบัลลังก์ที่ยาวนานกว่าเจ้าไทยทุกคนในปี
2531 โดยพูมลำพองจะครองบัลลังก์นานเท่ากับจุฬา ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2531
ผลการเลือกตั้ง 27
กรกฎาคม 2529 พรรคที่ได้ที่นั่งมากที่สุด
100 จาก 347 เสียง คือประชาธิปัตย์ แต่พิชัย รัตตกุลหัวหน้าพรรค
ยอมให้เปรมิกาเป็นนายก ทำให้คนในพรรคโกรธมาก เปรมิกาตั้งคนของตนเข้ามาในครม. อดีตผู้นำกระทิงแดงประจวบ
สุนทรางกูร ได้คุมมหาดไทย บรรหารผู้รับเหมาที่มีอิทธิพลในพื้นที่ภาคกลางได้คุมคมนาคมที่ให้ผลประโยชน์มากที่สุด
เปรมิกาทุ่มงบจัดงานฉลองวันเกิด 60
ปีให้พูมลำพอง ทั้งโปสเตอร์และป้ายโฆษณาผุดขึ้นทั่วประเทศและไม่ว่าใครจะขยับตัวทำอะไรก็ล้วนแต่เป็นการฉลองเกียรติแก่พูมลำพองไปหมด
หน่วยราชการผลิตหนังสือ และสารคดีโทรทัศน์ยืดยาวเชิดชูอัจฉริยภาพ ทศพิธราชธรรม ตลอดจนความยิ่งใหญ่ไร้ที่ติของเจ้าวงศ์จักราวี มหาวิทยาลัยจัดสัมมนาอภิปราย ออกบทความทางวิชาการสดุดีพูมลำพองกับเจ้าวงศ์จักราวี กัญญาวัฒนีเขียนเรื่องเจ้านายในปี
2539 เกี่ยวกับชีวิตวัยเด็กของอานานกับพูมลำพอง และกองทัพก็เอาไปตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือหนา
400 หน้า เต็มไปด้วยเรื่องราวความฉลาดปราดเปรื่องของพี่น้องทั้งสองคน
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับการบินไทยร่วมมือกันจัดโครงการณ์สนับสนุนการท่องเที่ยวประเทศไทย
(Visit Thailand Year) เน้นวาระครบรอบ 60 ปีพูมลำพอง
โดยจัดพิธีเห่เรือในเดือนตุลาคม
เดือนมีนาคม
2530 พูมลำพองประทานธงชัยเฉลิมพล แก่ทหารกรมกองต่างๆ ด้ามธงบรรจุด้วยเส้นผมของตน
กองทัพถางป่าสงวนบนยอดดอยอินทนนท์เพื่อสร้างเจดีย์ให้พูมลำพองและสิริเกียรติ คนละหนึ่งแห่ง
ปลายปี 2529 เปรมิกาประกาศมอบเกียรติยศให้พูมลำพองเป็น อัครศิลปิน กรมการศาสนาเตรียมสังคายนาพระไตรปิฎกเนื่องในโอกาสฉลองวันเกิด 60
ปีพูมลำพอง การสังคายนาพระไตรปิฎกถือเป็นงานใหญ่และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
วังและเปรมิกาพยายามสร้างระบอบให้กองทัพครอบงำการเมือง
โดยผ่านทางพลเอกชวลิตผบ.ทบ.คนใหม่ ผู้ร่างคำสั่งสำนักนายกที่
66/2523 เมื่อ 23 เมษายน 2523 เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ โดยใช้หลักการเมืองนำการทหาร ย้ำว่าเจ้าต้องการให้กองทัพเป็นกำลังหลักในการพัฒนาและแก้ปัญหาความยากจน
โดยมีที่ดิน แหล่งน้ำ แรงงานที่มีวินัยและอุปกรณ์เครื่องมือมหาศาล
ที่ใหญ่ที่สุด คือโครงการอีสานเขียว ที่จะพลิกแผ่นดินแห้งแล้งของอีสานให้เขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาให้ได้ ใช้งบประมาณกว่า 13,500 ล้านบาท แต่กองทัพถูกโจมตีว่าแย่งบทบาทการทำงานของรัฐบาลโดยใช้โครงการราชดำริเป็นข้ออ้างและถลุงเงินงบประมาณ นายทหารพากันร่ำรวยเป็นเศรษฐีใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยแสดงถึงการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร
ที่ใหญ่ที่สุด คือโครงการอีสานเขียว ที่จะพลิกแผ่นดินแห้งแล้งของอีสานให้เขียวชอุ่มอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาให้ได้ ใช้งบประมาณกว่า 13,500 ล้านบาท แต่กองทัพถูกโจมตีว่าแย่งบทบาทการทำงานของรัฐบาลโดยใช้โครงการราชดำริเป็นข้ออ้างและถลุงเงินงบประมาณ นายทหารพากันร่ำรวยเป็นเศรษฐีใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยแสดงถึงการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร
ฝ่ายค้านในสภาได้เตรียมยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเปรมิกาในเดือนเมษายน
2530 แต่เปรมิกาใช้เล่ห์กลและซื้อตัวสส.ทำให้ญัตติตกไปเพราะคะแนนเสียงไม่พอ
เดือนตุลาคม 2530 เปรมิกาเป็นประธานประชุมกอรมน.แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจแก่ฝ่ายบริหารและกองทัพโดยอ้างว่าเป็นการปฏิรูปประชาธิปไตยเพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติ
แต่บารมีของเปรมิกากำลังเสื่อมลงจากการทุจริตคอรัปชั่นสามเรื่องติดต่อกัน
กรณีจิรายุ รัฐมนตรีของวังถูกกล่าวหาว่าทุจริต
จนต้องลาออกแต่ได้ไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินของพูมลำพอง
บรรหารรัฐมนตรีคมนาคม ถูกกล่าวหาว่าโกงกินอย่างมโหฬารและซื้อเสียง
กรณีชวลิตและภรรยาจัดซื้อรถถังสติงเรย์ของอเมริกา ที่ราคาแพงและคุณภาพต่ำ
การทุจริตที่อื้อฉาวดังกล่าวทำให้ต้องยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปก่อน ชวลิต บ่นว่าประชาชนกำลังร้องขอให้ตนรัฐประหารเพื่อเปรมิกา
ในช่วงต้นเดือนธันวาคมก่อนวันเฉลิมวันเกิดครบ 60 ปี เปรมิกาก็ถวายนามมหาราชาแก่พูมลำพองอย่างเป็นทางการ ในนามเสด็จพ่อสมชายอัครมหาราชา หรือเรียกกันทั่วไปว่าลุงสมชาย และ พากันเรียกสิริเกียรติว่าป้าสมจิต ทั้งๆที่พูมลำพองยังไม่ทันเสียชีวิต โดยทำเหมือนกับว่าประชาชนไทยทั้ง 41 ล้านคนพร้อมใจกันมอบตำแหน่งอัครมหาราชาเพื่อยกระดับพูมลำพองให้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่กว่าใครในโลกหล้า
เปรมิการีบชิงยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม 2531 อย่างน้อยก็ทำให้เขายังได้เป็นประธานในงานฉลองการครองบัลลังก์ยาวนานที่สุดกว่าเจ้าไทยองค์ใด ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2531 และได้แสดงเจตนาจะเป็นนายกต่อไปโดยไม่ลงเลือกตั้งโดยทึกทักว่าการจัดงานเฉลิมเป็นเหตุผลเพียงพอแล้ว
แต่ในเดือนมิถุนายน นักวิชาการชั้นนำ 99
คนได้ลงชื่อถวายฎีกา ร้องเรียนไปยังลุงสมชาย กล่าวหาเปรมิกาว่าแอบอ้างวังและใช้กองทัพข่มขู่เพื่อรักษาอำนาจของตน
และเรียกร้องให้ลุงสมชายหยุดแทรกแซงและเลิกสนับสนุนเปรมิกา ผู้ประท้วงราวหนึ่งพันคนเดินขบวนไปที่หน้าบ้านเปรมิกา
ผู้นำพรรคการเมืองและคนอื่นๆ ก็เรียกร้องให้นายกมาจากสส.ที่ได้รับการเลือกตั้ง
ขณะที่ทั้งประเทศกำลังจดจ่อรอดูว่าลุงสมชายจะออกมาอุ้มเปรมิกาอีกหรือไม่ ในที่สุดเปรมิกาก็ตัดสินใจถอนตัว
ทำให้ลุงสมชายไม่ต้องเปลืองตัวอีกต่อไป ชาติชายหัวหน้าพรรคชาติไทยที่ได้ส.ส.มากที่สุดจึงได้เป็นนายกคนต่อไป
ประชาชนไม่ได้เห็นคุณค่าของรัฐบาลทหารพระราชทานของลุงสมชายอีกต่อไปแล้ว เพราะเปรมิกานั้นแทบไม่ทำอะไรเลยตลอดแปดปี
นอกจากปกป้องเก้าอี้ของตนและบัลลังก์ของลุงสมชาย รัฐบาลเปรมิกาได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่ได้เลวน้อยไปกว่ารัฐบาลพลเรือนเลย
ในเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น การใช้อำนาจบาตรใหญ่และการทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม
ปัญหาสังคมเลวร้ายยิ่งกว่าเดิม ความยากจนยังปรากฏอยู่ทั่วไปในชนบท อาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น มีการค้ายาเสพติดกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งๆที่ มีการโฆษณาชวนเชื่อว่าเปรมิกาเป็นคนมือสะอาด แต่ก็ต้องเลี้ยงสมุนและบริวาร ที่เอาแต่ทุจริตคอรัปชั่นเพื่อความอยู่รอดของตนเอง มีรัฐมนตรีจอมทุจริตอย่างบรรหาร
และยังให้สิทธิ เศวตศิลามือขวาด้านความมั่นคงของตนเข้ายึดพรรคกิจสังคม โดยไปเป็นพวกกับเจ้าพ่อชั้นนำสองคนคือ กำนั้นเป๊าะแห่งชลบุรี
กับ ชัช เตาปูน เจ้าของบ่อนเตาปูน ซึ่งมีตำแหน่งในพรรคทั้งคู่
อีกทั้งทำให้กองทัพเต็มไปด้วยบรรดานายทหารที่ทุจริตคอรัปชั่น พากันอิ่มหมีพีมันและย่อหย่อนความสามารถในการทหารสมัยใหม่ แทนที่กองทัพจะเล็กลงและเป็นมืออาชีพมากขึ้น ทหารเข้าแทรกแซงการเมือง วงการธุรกิจ และแม้แต่วงการอาชญากรรมมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ไม่มีใครกล้าตั้งคำถาม
หรือโต้แย้งลุงสมชาย ส่วนใหญ่ก็ต้องหมอบกราบแซ่ซร้องสดุดีอย่างเดียว บริวารใกล้ชิดบอกลุงสมชายว่า
พลังประชาธิปไตยเป็นเหมือนพคท. เป็นภัยคุกคามต่อชาติ ศาสน์
กษัตริย์ ซึ่งลุงสมชายก็เชื่อและยังคงให้ท้ายกองทัพใช้อำนาจครอบงำการเมืองต่อไป
............................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น