ฟังเสียง : http://www.mediafire.com/?2n7ryn5rup1dmp6
เดอะคิงชื่อสมชาย
ตอนที่ 2 กำเนิดพูมลำพอง
ตอนที่ 2 กำเนิดพูมลำพอง

พูมลำพองคะนองเดช หรือทารกสงขลา เกิดในฤดูกาลที่หนาบเหน็บในวันที่ 5 ธันวาคม 2470 ที่บรูคลิน ย่านของผู้มีอันจะกินชานเมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาจูเส็ตส์ สหรัฐอเมริกา ขณะที่ธิปกผู้เป็นอากำลังดิ้นรนต่อสู้กับกระแสการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

จักรพงษ์ ได้มีจดหมายถึงราวุธผู้เป็นพี่
เมื่อเดือนเมษายน
2460 เพื่อเตือนสติว่าการที่พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียถูกล้มล้างจากราชบัลลังก์
ก็เป็นเพราะไม่ยอมปรับตัวและให้ความร่วมมือกับกลุ่มก้าวหน้าต่างๆ ซึ่งกำลังมีอำนาจมากขึ้น
ในที่สุดพระเจ้าซาร์ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อฝ่ายก้าวหน้า
ธิปกยังพอมีเวลาที่จะคิดถึงทารกในบอสตันที่อยู่ห่างไกล
โดยได้ตั้งชี่อให้หลานที่เพิ่งเกิด ว่า พูมลำพอง คะนองเดช แปลว่า พลังใต้ดิน อำนาจนอกรัฐธรรมนูญ
หรือ มือที่มองไม่เห็น และเป็นเจ้าไทยเพียงหนึ่งเดียวที่เกิดในสหรัฐอเมริกา
มหิดร เกิดในปี 2435 แก่กว่าธิปกหนึ่งปี
เป็นลูกคนที่ 69 ของจุฬากับสว่าง เมียคนที่สอง มหิดรจบการศึกษานายร้อยทหารเรือจากเยอรมันและกลับไปรับตำแหน่งสูงในกองทัพเรือ
ในปี 2460 ไปศึกษาแพทย์ที่ฮาร์เวิร์ดและได้รักกับสังวอน นักศึกษาพยาบาล
สามัญชนเชื้อสายจีน เกิดที่ฝั่งธนบุรี ย่านวัดอนงคารามในครอบครัวยากจนเมื่อปี
2443 เมื่อกำพร้าได้ไม่กี่ปี ก็ถูกส่งตัวเข้าวังเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ
เพื่อไปรับใช้สว่างแม่ของมหิดร ซึ่งต่อมาได้ส่งหญิงสาวสมองดีคนนี้ไปเรียนที่วิทยาลัยซิมมอนส์
บอสตัน สหรัฐอเมริกา แล้วทั้งคู่ก็รักกันที่เมืองบอสตัน ทั้งๆที่ทางวังคัดค้านการแต่งงานอย่างเป็นทางการกับคนนอกวงศ์ที่ไม่ได้เป็นญาติกัน
แต่เนื่องจากสังวอนเป็นคนโปรดของสว่าง และมหิดรก็คงไม่มีโอกาสขึ้นครองบัลลังก์เพราะอยู่ถึงลำดับที่หก
ทั้งสองจึงได้แต่งงานกันอย่างเป็นทางการแล้วเธอได้รับฐานันดรที่แม้จะค่อนข้างต่ำแต่ก็เป็นที่เคารพนับถือพอสมควร
โดยเรียกว่าหม่อมสังวอน

มหิดรมักป่วยออดๆแอดๆ
เหมือนพี่น้องของตนส่วนใหญ่ อาจเป็นเพราะการแต่งงานกันเองในหมู่ญาติที่เชื้อสายใกล้ชิดกัน
เมียทั้งสามของจุฬาที่เรียกว่าแม่ใหญ่ แม่กลางและแม่เล็ก ก็ล้วนเป็นน้องสาวต่างแม่ของจุฬา
ลูกหลายคนต่างเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นเด็กหรืออายุยังไม่มาก
ในปี 2468 ครอบครัวมหิดรย้ายไปอยู่ที่ไฮเดลเบิร์ก
ประเทศเยอรมัน เพื่อให้มหิดรได้เข้ารับการรักษาตัว วันที่ 20 กันยายน 2468 สังวอนคลอดลูกชาย ชื่อว่า อานาน ในอีกสองเดือนต่อมา
เมื่อราวุธเสียชีวิตโดยไม่มีลูกชายเป็นทายาท ช่วงห้าปีก่อนหน้านั้น พี่ชายต่างมารดาของมหิดรที่เป็นลูกเจ้าก็เสียชีวิตไปถึงสามคน
ธิปกก็ไม่มีลูกชาย มหิดรจึงขยับมาอยู่ในลำดับที่สองของการสืบบัลลังก์
หลังจากพิธีฉลองบัลลังก์ของธิปก ในปี 2469 มหิดรก็กลับไปฮาร์เวิร์ด เพื่อเรียนแพทย์
เพราะอยากนำการแพทย์สมัยใหม่มาสู่สยาม
ปลายปี 2470 ธิปกประกาศให้ลูกชายทุกคนของพี่และน้องชายของตนได้เป็นองค์เจ้าและมีโอกาสขึ้นครองบัลลังก์
ไม่ว่าจะมีแม่เป็นใคร ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดของวงศ์จักราวี พี่น้องทั้งหกคนของมหิดรมีลูกชายเพียงแค่สองคน
ทั้งยังไม่ใช่เลือดแท้ของวงศ์จักราวี คือ จักรพงษ์ที่เสียชีวิตไปแล้วมีลูกชาย คือ จุลจักรพงษ์
ซึ่งมีแม่เป็นคนรัสเซีย
จุฑาธุชที่สิ้นชีวิตไปแล้ว ก็มีลูกชายคนเดียวคือวรานนท์ ซึ่งมีแม่เป็นหญิงรับใช้ และไม่ได้แต่งงานอย่างเป็นทางการ
ธิปกจึงต้องยกฐานะของบรรดาลูกเจ้าทั้งหลายเพื่อให้มีองค์เจ้า 11 คน
ซึ่งรวมถึงลูกชายทั้งสองของมหิดร
แต่มหิดรไม่อยากให้ลูกชายของตนเป็นเจ้า
เมื่อมหิดรป่วยหนักในปี
2471 ได้ขอร้องให้ฟรานซิส บีแซร์ช่วยกันไม่ให้ลูกต้องขึ้นเป็นกษัตริย์
มหิดรมีชีวิตอยู่จนจบจากฮาร์เวิร์ด และกลับมากรุงเทพฯ ผู้คนมองว่ามหิดรไม่หนักแน่น
มักจะป่วยอยู่บ่อยๆ แต่ยังมีผู้สนับสนุนจำนวนมาก เพราะไม่ชอบบริพัตรที่คุมกองทัพ
มหิดรป่วยหนักจึงกลับกรุงเทพฯ และเสียชีวิตในวันที่ 24 กันยายน
2472 ขณะมีอายุ 37 ปี


เดือนเมษายน 2476 ครอบครัวมหิดรก็เก็บข้าวของ
และย้ายไปอยู่เมืองโลซานสวิตเซอร์แลนด์เพื่อความปลอดภัย จนถึงปี 2488 เป็นเวลากว่าสิบปี
ธิปกได้มีจดหมายประกาศสละบัลลังก์
ลงวันที่
2 มีนาคม 2477 แต่ธิปกไม่ได้เสนอรัชทายาทอย่างเป็นทางการ
โดยให้รัฐบาลเป็นผู้เลือกเอง คณะรัฐมนตรีของพหลก็ไม่รู้จะจัดการอย่างไรเพราะไม่มีใครรู้เรื่องกฎมณเฑียรบาล
แต่ปรีดีกลับเป็นคนที่รู้เรื่องกฎมณเฑียรบาลและเสนอให้บัลลังก์ตกมาเป็นของลูกแม่กลางหรือสว่างคือมหิดร
แต่เสียชีวิตไปก่อน จึงเลื่อนมาสู่ลูกชาย คืออานาน ตอนนั้นยังมีวรานนท์ อายุ
12 ปี แต่แม่ของวรานนท์เป็นเพียงนางรับใช้ ที่มิได้แต่งงานกับจุฑาธุชอย่างเป็นทางการ
แต่การแต่งงานของมหิดรและสังวอน ได้รับความเห็นชอบจากวัง



ลูกชายทั้งสองมักจะอยู่ด้วยกัน
แต่อานานมีปัญหาสุขภาพ มักจะเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆอยู่เสมอ แต่พูมลำพองหรือเล็กแทบไม่เคยป่วยเลย
สังวอนต้องคอยเคี่ยวเข็ญอานานที่ไม่ใคร่เอาใจใส่การเรียน ขณะที่พูมลำพองเป็นเด็กขยันเข้าใจถึงความสำคัญของการศึกษา
สังวอนอ้างสิทธิ์ของความเป็นแม่ว่าอานานมีสุขภาพไม่แข็งแรงและไม่เหมาะกับอากาศร้อน
โดยส่งลูกเข้าโรงเรียนในสวิสที่มีชื่อเสียงและก้าวหน้าทันสมัย สอนภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ
ละติน และเยอรมัน โดยแทบไม่มีเวลาเรียนภาษาไทยที่บ้าน


แต่รัฐบาลที่กรุงเทพมีเสถียรภาพในทางการเมืองและเศรษฐกิจมากขึ้น
ฝ่ายนิยมเจ้าถูกปลดออกจากอำนาจ รัฐบาลได้ยกเลิกพิธีโกนจุกที่ยิ่งใหญ่ และพิธีแรกนาขวัญ
รัฐบาลเข้าควบคุมดูแลพระสงฆ์เองและสร้างวัดเพิ่ม และนำรัฐธรรมนูญเข้าไปเป็นสิ่งที่ต้องเคารพและปกป้อง

รัฐบาลจัดการย้ายโอนกิจราชสำนักเดิมมาไว้ในระบบราชการ
กรมพระคลังข้างที่ หรือกรมพระคลังมหาสมบัติถูกโอนไปสังกัดกระทรวงการคลัง แบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนกษัตริย์
ของรัฐ และของส่วนพระองค์
พวกเจ้าที่ฝากทรัพย์สินไว้กับกรมพระคลังข้างที่กับธนาคารไทยพาณิชย์ (แบ๊งค์สยามกัมมาจล)
กลัวว่าจะถูกรัฐบาลยึด ก็รีบพากันมาถอนคืนไป


มีประชาชนนับแสน พากันมาต้อนรับและส่งเสียงโห่ร้องเบียดเสียดกันตามถนนและสองฝั่งแม่น้ำ
เมื่อเทียบท่าที่มหาราชวัง
วัดพระแก้ว อานานได้รับการต้อนรับจากผู้นำรัฐบาลและราชสำนัก แต่ไม่มีพิธีครองบัลลังก์ที่ได้วางกำหนดไว้
เพราะอานานยังไม่รู้ภาษาไทยหรือบาลีดีพอที่จะท่องคำสวด และกล่าวคำสัตย์สาบานในพิธีกรรม
ที่ต้องใช้เวลาหลายวัน ครอบครัวมหิดร ลงเรือกลับยุโรปวันที่ 13 มกราคม
2482


รังสิตถูกจับเข้าคุก ถูกถอดยศลดชั้น และถูกพิพากษาประหารชีวิต แต่ได้รับการช่วยชีวิตไว้
โดยสังวอนขู่จะให้อานานสละบัลลังก์ ปลายปี 2482 รังสิตจึงได้รับการลดโทษ
ถูกส่งไปจำขังบนเกาะตะรุเตา พร้อมกับอีก 21 คน และมี 18
คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นผู้น้อยถูกประหารชีวิต ป. สั่งให้มีการสร้างอนุสาวรีย์ใหญ่โตเพื่อฉลองรัฐธรรมนูญ ต่อมาเรียกว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
บนใจกลางถนนราชดำเนิน
ป. พยายามริดรอนอำนาจและบารมีของเจ้า
โดยจำกัดกรอบในการเดินทาง และการทำกิจกรรมต่างๆ ยึดวังและทรัพย์สินที่กรุงเทพฯ ของธิปก
ห้ามหน่วยราชการแขวนภาพธิปก ให้แขวนแต่ภาพของ ป.แทน เมื่อวไลยอลงกรณ์
ลูกสาวของสว่างเสียชีวิตในปี 2482 รัฐบาลป. ปฏิเสธที่จะจ่ายเงินค่างานศพให้ และเมื่อธิปกเสียชีวิตจากอาการหัวใจล้มเหลว
ที่อังกฤษในปี 2484 ไม่มีแม้กระทั่งการนำศพกลับมาประกอบพิธี

ในวันเดียวกัน ป.ได้ประกาศนโยบายรัฐนิยม
เสมือนโองการจากเจ้า เปลี่ยนชื่อประเทศให้ฟังดูทันสมัยขึ้นจากสยามเป็นไทยแลนด์ บ่งบอกความแตกหักกับวงศ์จักราวี
สั่งให้ประชาชนแสดงความเคารพ
ต่อเพลงชาติและธงชาติ แต่ไม่ใช่ต่อกษัตริย์

และขจัดการใช้ภาษาที่แสดงความเหลื่อมล้ำต่ำสูง
สั่งเปลี่ยนคำที่ประชาชนเรียกจุฬา ว่า พระพุทธเจ้าหลวง เพราะจะทำให้จุฬายิ่งใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า

ในปี 2484 พระพุฒาจารย์
(แพ) ได้แก้ไขกฎหมายสงฆ์ปี 2445 ซึ่งให้อำนาจแก่วังในการควบคุมสงฆ์ โดยสังฆราชมีฐานะสูงสุด แต่ไม่มีอำนาจ
ให้อำนาจตกอยู่แก่สังฆนายก คล้ายนายกรัฐมนตรี สังฆนายกบริหารงานโดยผ่านคณะสงฆ์และสภาสงฆ์
อำนาจในการบริหารและเลื่อนชั้นแก่พระสงฆ์ถูกโอนจากวังมาอยู่ที่กระทรวงศึกษา เจ้าสามารถเลือกสังฆราช
แต่รัฐบาลเป็นผู้เลือกสังฆนายกและคณะผู้บริหาร


ป.มองตนเองว่าเป็นนักชาตินิยมผู้สร้างชาติที่แข็งแกร่งและน่าภาคภูมิใจเหมือนอิตาลีและญี่ปุ่น
เขาไม่ปฏิเสธที่จะตีตนเสมอเจ้า โดยเปรียบตนเองเป็นเหมือนราวุธ วิจิตรวาทการโฆษกส่วนตัวของ
ป. ก็ยกย่อง ป.เหมือนพ่อขุนรามคำแหง ป.สั่งอาทิตย์ผู้สำเร็จราชการมอบเครื่องราชย์ชั้นสูงสุดแก่ตน
และยังครอบครองคทาของราวุธ ไว้อีกด้วย

ต่อมาการสนับสนุนป. จากกองทัพและสภาเริ่มอ่อนลง
กลางปี 2487 ป. พยายามปิดฉากวงศ์จักราวีและเริ่มราชวงศ์ใหม่ของตนด้วยการเสนอย้ายเมืองหลวงไปเพชรบูรณ์
และย้ายมหาเถรสมาคมไปอยู่ที่ศูนย์พระพุทธศาสตร์แห่งชาติที่สระบุรี แต่ปรีดีได้รวบรวมกำลังในสภาล้มข้อเสนอของ
ป. และป.ถูกบีบให้ลาออก

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติ
ป.และพรรคพวกถูกจับ และสมาชิกขบวนการเสรีไทยขึ้นกุมอำนาจ ปรีดีเชิญอานานกลับประเทศ
แล้วขึ้นครองบัลลังก์เมื่อบรรลุนิติภาวะในเดือนกันยายน 2488 อานานพร้อมด้วยสังวอนและพูมลำพองเดินทางกลับมาถึงเมื่อวันที่
5 ธันวาคม 2488 วันครบรอบ 18 ปีของพูมลำพอง เพื่อเริ่มสมัยของรามา 8 อย่างเป็นทางการ
โดยได้รับการต้อนรับอย่างน่าชื่นใจ ที่สนามบินดอนเมือง

อานาน พูมลำพอง และสังวอนนั่งรถเปิดประทุนไปยังมหาราชวัง
วัดพระแก้ว อันเป็นที่พำนัก โดยมีประชาชนนับหมื่นขนาบสองฟากถนน ส่งเสียงไชโย แสดงความภักดี
แม้ว่าประเทศจะเสมือนว่าไม่มีเจ้ามาถึง 13 ปีแล้วก็ตาม
สถานการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ช่วยเสริมความสำคัญให้กับพวกเจ้า เพราะประเทศกำลังต้องการศูนย์รวมทางจิตใจ ป. เสื่อมอำนาจลงเพราะญี่ปุ่นแพ้สงคราม
จึงถูกแทนที่โดยขบวนการเสรีไทยที่แบ่งเป็นหลายพวก กลุ่มนิยมเจ้านำโดยธานี รังสิต และภานุพันธ์
รวมถึงศรีวิศาล เป็นแกนสำคัญในการฟื้นฟูอำนาจและวัฒนธรรมเจ้าโดยเน้นย้ำว่า พิธีกรรมคือทุกสิ่งทุกอย่าง
ต่อการดำรงอยู่ของเจ้า โดยต้องทำให้สังคมเชื่อในพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ถึงแม้จะต้องซื้อหามาในราคาที่แพง
และจะต้องคงรักษาไว้ให้ได้

7 ธันวาคม อานานต้อนรับนายก
ครม. และผบ.เหล่าทัพ ซึ่งคุกเข่ามอบยศและเครื่องแบบจอมพล และประกาศให้อานานเป็นจอมทัพไทย
สองวันถัดมา อานานและพูมลำพองทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
พร้อมทั้งถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ และตักบาตร

การเมืองในสภาหลังสงครามโลกมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมาก
อานานต้องเปิดประชุมสภาสองครั้ง แต่งตั้งนายกสามครั้งและประกาศรัฐธรรมนูญใหม่ในเวลาเพียงหกเดือน



หลังสงครามโลกยุติลง ควงลาออกจากนายก
ปรีดีเปิดทางให้เสนีย์ขึ้นเป็นนายก ในวันที่ 17 กันยายน 2488 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความขัดแย้ง แต่คนของปรีดียังคุมทั้งสภาและครม. ภายในไม่กี่สัปดาห์
เสนีย์จึงต้องยุบสภา และกำหนดการเลือกตั้งเป็นวันที่ 6 มกราคม
2489
ควงก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาเพื่อสู้กับฝ่ายปรีดี
โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายนิยมเจ้า เสนีย์และคึกฤทธิ์ตั้งพรรคก้าวหน้ารวมพวกที่เคยถูกป. จับขัง
ซึ่งต้องการแก้แค้นคณะราษฎร และฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ผลการเลือกตั้ง ฝ่ายปรีดีได้เสียงข้างมากในสภา
พรรคประชาธิปัตย์ของควงมาเป็นที่สอง พรรคก้าวหน้าของพี่น้องปราโมชได้ไม่กี่ที่นั่ง
ปรีดีปฏิเสธการเป็นนายก เพราะเป็นรัฐบุรุษอยู่แล้ว แต่เมื่อปรีดีเสนอชื่อคนของฝ่ายตน
สภากลับหันไปสนับสนุนควงเป็นนายก นับเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของฝ่ายเจ้า ควงได้แต่งตั้งพวกนิยมเจ้าหลายคนในตำแหน่งสำคัญๆ
ปรีดีได้เป็นประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ 2489 ที่อำนาจกษัตริย์ค่อนข้างจำกัดเช่นเดิม
ควงลาออกจากนายกในเดือนมีนาคม 2489 หลังจากพ่ายแพ้การลงมติในร่างพรบ.คุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนในภาวะคับขัน
หรือพรบ.ปักป้ายข้าวเหนียว
ปรีดีจำต้องยอมรับตำแหน่งนายก
ฝ่ายนิยมเจ้าก็ยิ่งโจมตีปรีดีอย่างดุเดือด โดยปล่อยข่าวว่าปรีดีเป็นผู้นิยมสาธารณรัฐหรือระบอบประธานาธิบดี
เป็นคอมมิวนิสต์ และฉ้อฉลคอรัปชั่น ปลายเดือนมีนาคม ศาลฎีกาได้ตัดสินให้ ป.พ้นผิดจากข้อหาอาชญากรสงคราม
เพราะได้กระทำการก่อนประกาศใช้พรบ.อาชญากรสงคราม หลังจากที่ ป. ต้องติดคุกอยู่ 159 วัน
ในระหว่างติดคุกได้เขียนจดหมายขอให้ปรีดีและเพื่อนคณะราษฎรช่วยเหลือทางคดี
โดยบอกว่าตนจะไม่ยุ่งเรื่องการเมืองอีกแล้ว และจะไปทำไร่ทำนา ฝ่ายนิยมเจ้าก็เดือดดาล
เพราะพวกเขาต้องการให้ ป. ได้รับโทษประหารชีวิต
ฝ่ายนิยมเจ้ายังคงบ่อนทำลายอิทธิพลของปรีดีในราชสำนัก
แม้ว่าปรีดีเคยเป็นผู้สำเร็จราชการ ที่ได้รับใช้ใกล้ชิดอานานและพูมลำพอง คนของปรีดีหลายคนทำงานในวัง
เช่น ราชเลขาธิการ เฉลียวและวัชรชัยราชองครักษ์คนสำคัญ
แต่รังสิตผู้มีบทบาทสูงในราชสำนัก
ร่วมกับเสนีย์และคึกฤทธิ์พยายามลดอิทธิพลของปรีดี และยุแหย่ให้เจ้าหันมาต่อต้านปรีดี
ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างปรีดีและสังวอนย่ำแย่ลง
รังสิตยุอานานและสังวอนให้เปลี่ยนตัวเฉลียว
ราชเลขาธิการและวัชรชัย ราชองครักษ์ ในเดือนพฤษภาคม 2489
สังวอนยืนกรานให้ลูกทั้งสองคนได้จบการศึกษามหาวิทยาลัยที่โลซานน์
ก่อนที่จะกลับมาปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง สิบห้าวันหลังจากอานานประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
สมาชิกสภาทำการเลือกตั้งพฤฒิสภา ซึ่งคาดว่าจะมีแต่คนของปรีดี

ในคืนวันที่ 7 มิถุนายน
อานานให้ปรีดีเข้าพบเพื่อปรึกษาเรื่องการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการ ระหว่างที่ตนไม่อยู่ประเทศไทย
โดยเสนอชื่อรังสิตและธานีตามคำแนะนำของสังวอน
แต่ปรีดีไม่เห็นด้วย
เพราะรังสิตเป็นศัตรูคู่อาฆาตสำคัญของคณะราษฏร ฝ่ายเจ้ากล่าวหาว่าปรีดีปฏิเสธอย่างไม่มีความเคารพและจากไปด้วยโทสะ

หลังจากมีการประชุมสภาในวาระฉุกเฉินในค่ำวันเดียวกันนั้น
ก็มีการจัดฉลองบัลลังก์อย่างเร่งรีบพร้อมด้วยพระและพราหมณ์ รังสิตได้มอบมงกุฎแก่พูมลำพอง
การเสียชีวิตของอานานมีข้อมูลที่น่าสังเกตหลายอย่าง

อานานถูกยิงเวลา 09.20 น.ในช่วงเช้าตอนที่หมอนิตย์ อธิบดีกรมการแพทย์ถึงห้องนอน
เมื่อตอน 10.00 น. ปรากฏว่าศพถูกล้างทำความสะอาดหมดแล้ว
ท่าทางถูกจัดใหม่ ปืนถูกเก็บเข้าลิ้นชัก ห้องนอนถูกเช็ด กระบวนการทั้งหมดนี้ทำโดยสังวอน
ซึ่งเป็นพยาบาลและมีความรู้ทางพยาบาล ทั้งๆที่รู้ดีว่า ในกรณีเช่นนี้ต้องคงหลักฐานไว้ให้มากที่สุด
เพื่อการชันสูตร แต่สังวอนกลับทำตรงกันข้าม

พวกเจ้าพยายามทำให้การสังหารอานานเป็นคดีที่ลึกลับ
เพราะหลักฐานถูกทำลายตั้งแต่ต้น พยานที่เห็นเหตุการณ์ก็ถูกยิงเป้าหมดทั้งสองคน คือ
นายชิต และนายบุศย์ คนที่อยู่ในที่เกิดเหตุ ก็คือ มหาดเล็ก สังวอนและพูมลำพอง
ไม่น่ามีคนร้ายที่ไหนลอยนวล เดินเข้าไปยิงอานาน แล้วเดินออกมาโดยที่ไม่มีใครรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่อธิบายได้ไม่ยาก
เพราะมันเป็นเรื่องการแย่งชิงบัลลังก์ที่เคยเกิดขึ้นมาหลายยุคหลายสมัยและในหลายๆประเทศ
และมีข้อพิรุธหลายอย่างคือ
1. ฆาตกรคงเป็นคนในวังบรมพิมาน
เพราะมีการจัดทหาร ตำรวจ ล้อมรอบวังอย่างเข้มงวด คนภายนอกไม่อาจเล็ดลอดยามจำนวนมากขึ้นไปชั้นบนและไม่สามารถหนีไปได้
สุด แสงวิเชียร ตรวจสอบบาดแผลพบรอยกดของกระบอกปืนเป็นวงกลม
แสดงว่าผู้ยิงต้องเอาปืนกระชับยิงลงที่หน้าผาก ไม่ปรากฏว่ามุ้งมีรอยทะลุ แสดงว่าคนร้ายต้องเลิกมุ้งออก
แล้วจึงเอาปืนจ่อยิง โดยผู้ยิงต้องเป็นคนรูปร่างสูง แขนยาว เพราะจากขอบเตียงถึงบาดแผลห่างกันถึง 66 ซม.หรือสองฟุต ถ้ารูปร่างเล็กแขนสั้นจะทำไม่ได้ (พวกเจ้ากล่าวหาว่าวัชรชัย
ซึ่งรูปร่างเล็กเป็นคนยิง) ผู้ร้ายต้องสนิทกับอานานมาก เพราะอานานตื่นขึ้นมาและเข้านอนถึงสองครั้งย่อมหลับไม่สนิท
จึงรู้ตัวก่อนแล้ว
2. คำให้การ มีพิรุธมาก คือ
-ทุกคนที่อยู่ในวังบรมพิมานได้ยินเสียงปืนดังสนั่น
ทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีแต่พูมลำพองและสังวอนเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงปืน
-พี่เลี้ยงเนื่องให้การว่า
ตนอยู่ในห้องพูมลำพอง 20 นาที กำลังเข้าไปเก็บที่นอน ก่อนมีเสียงปืน
และไม่พบพูมลำพองในห้องนั้นเลย
-พูมลำพองบอกรังสิต ว่า ขณะที่ผู้ร้ายยิงปืน
ตนเองอยู่ในห้องของตน ขัดแย้งกับคำให้การของพี่เลี้ยงเนื่อง ซึ่งอยู่ในห้องของพูมลำพองในขณะนั้น
- เวศน์ สุนทรวัฒน์ มหาดเล็กหน้าห้องพูมลำพอง
ให้การว่า แม้ห้องนอนของพูมลำพอง มีประตูติดกับห้องของเล่น แต่ประตูนี้ปิดตายตลอดเวลา
ถ้าพูมลำพองจะเข้าห้องของเล่น จะต้องเข้าทางประตูด้านหน้าเท่านั้น มิใช่เข้าทางประตูด้านหลังซึ่งติดต่อกับห้องของพูมลำพอง
การที่พูมลำพองให้การว่า ตนเข้าๆ ออกๆระหว่างห้องของเล่นกับห้องนอนน่าจะเป็นเรื่องโกหก
โดยปกติเมื่อกินข้าวเช้าอิ่ม พูมลำพองจะเดินเข้าไปห้องนอนของอานาน ก่อนเสียงปืนไม่นานนัก
โดยที่ชิตและบุศย์มิได้ห้ามปราม เพราะปกติพี่น้องคู่นี้ ถ้าใครตื่นก่อน มักจะเข้าไปยั่วอีกคนให้ตื่น
ฉะนั้นชิตและบุศย์ จึงไม่สงสัยถ้าพูมลำพองเดินเข้าไปในห้องของอานานและไม่น่าเป็นอุบัติเหตุ
ถ้าล้อเล่น ก็ไม่น่าจะถึงกับเอาปืนจ่อกระชับที่หน้าผาก และน่าจะรู้ว่าปืนกระบอกนั้นไกอ่อน

คำให้การของฉลาด เทียมงามสัจ ที่เฝ้าโต๊ะกินข้าวอยู่มุขหน้า ว่าไม่เห็นผู้ร้ายวิ่งออกจากห้องนอน น่าจะเป็นการโกหก เพราะเมื่อยิงอานานแล้ว ผู้ร้ายจะต้องวิ่งหนีออกจากห้องนอน ฉลาดยอมรับในศาลว่า ตั้งแต่ถูกเรียกตัวไปสอบสวนก็ได้เบี้ยเลี้ยงจากตำรวจสันติบาลวันละ 3 บาท ซึ่งเป็นเงินไม่น้อยในสมัยนั้น หลังจากที่ถูกปลดจากสำนักราชวัง ก็ยังได้รับเข้าทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความสนับสนุนของตำรวจที่สอบสวนคดี

แต่หลังจากที่ทั้งคู่ถูกตัดสินประหารชีวิต แม้จะถวายฎีกา ก็ไม่ได้รับการพิจารณา ป. ได้ขออภัยโทษถึง
3 ครั้ง แต่พูมลำพองก็ไม่ยอมให้ ขณะพวกเจ้าก็ส่งเงินอุดหนุนจุนเจือ ครอบครัวผู้ถูกประหารชีวิตเสมอมา
เพื่อป้องกันมิให้โวยวาย

-มีการสร้างพยานเท็จว่าปรีดีและพวก
ปรึกษากันว่าจะสังหารอานาน ที่บ้านศรยุทธเสนี โดยมีตี๋ ศรีสุวรรณ รู้ความลับนี้ ในภายหลัง
ตี๋ ยอมรับว่าตนให้การเท็จโดยพินิจชนคดีเป็นคนว่าจ้างตน
ยังมีวงศ์ เชาวนะกวี ให้การว่าได้ยินปรีดีพูดกับตนว่า
ต่อไปนี้ปรีดีจะไม่ป้องกันราชบัลลังก์ ทั้งที่วงศ์มิใช่ผู้ที่สนิทกับปรีดี

คำให้การของพูมลำพองไม่ได้มีประเด็นเกี่ยวโยงกับการฆาตกรรมแม้แต่น้อย
เป็นแค่การพยายามให้ร้ายปรีดี

เมื่อรัฐบาลพลเรือนจะชันสูตรศพกลับถูกคัดค้านจากรังสิตและสังวอนที่ยืนกรานว่าคนธรรมดาจะเแตะต้องตัวเจ้าไม่ได้
และจะรายงานต่อสาธารณะว่าเป็นการฆ่าตัวตายไม่ได้เด็ดขาด เพราะเป็นเรื่องเสื่อมเสียเกียรติยศ
ปรีดีจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากแถลงอย่างอ้ำอึ้งว่าเป็นอุบัติเหตุ ทำให้ปรีดีไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้
แม้แต่ศาลฎีกา ก็พยายามช่วยเหลือพูมลำพองที่เป็นผู้ต้องสงสัยตัวจริง
และโยนความผิดให้ผู้อื่น เช่น
-มีเพียงสองคนเท่านั้น ที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ
คือ พูมลำพองและสังวอน เมื่อนายตำรวจคนหนึ่งเสนอให้ทำการพิสูจน์ด้วย กลับถูกสั่งปลดออกจากราชการ

ผู้ที่น่าสงสัยที่สุดที่ได้รับประโยชน์จากการเสียชีวิตของอานานคือพูมลำพอง
แต่อัยการกลับซักถามเพียงไม่กี่คำ และเลี่ยงที่จะไต่ถามในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ คดีสวรรคตเป็นคดีสำคัญ
แต่มีผู้พิพากษา
5 คนเท่านั้น ที่เป็นผู้ตัดสินคดี โดยที่คณะศาลฎีกาไม่ยอมเอาคดีนำขึ้นสู่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
เพราะไม่อยากให้เป็นคดีใหญ่เนื่องจากจะคุมคดียาก อาจมีผู้จับได้ไล่ทัน และทำการคัดค้านได้
![]() |
เฉลียว บุศย์ และชิต เรียงตามลำดับ |
การกำจัดอานานนั้น นับว่าได้ผลสองต่อ
คือ นอกจากจัดการกับอานานแล้ว ยังได้กำจัดปรีดี ซึ่งเป็นศัตรูของพวกเจ้า อีกทั้งปรีดีรู้มากเกินไป
สมควรที่จะถูกกำจัด ปรีดีต้องลี้ภัยการเมืองตั้งแต่ปี 2491 และถึงแก่กรรมในต่างประเทศ
ส่วนชิตและบุศย์นั่งอยู่หน้าประตูทางเข้าห้องนอน
ถ้ามีผู้เข้าไปสังหารก็จะต้องเห็นอย่างแน่นอน ฟัก ณ สงขลา ทนายความของสามจำเลย เคยสอบถามชิตและบุศย์ว่า
ใครเข้าไปฆาตกรรมอานาน แต่ชิตและบุศย์ ไม่ยอมพูด
เผ่า รัฐมนตรีมหาดไทยและอธิบดีตำรวจ
เป็นประธานควบคุมการประหารจำเลยทั้งสาม ได้มีโอกาสพูดคุยตามลำพัง ได้ทำบันทึกคำสนทนากับผู้ต้องโทษประหารทั้งสามคนในเช้าวันนั้น
แล้วเสนอ ป.นายก เมื่ออ่านแล้วได้สั่งให้เก็บไว้ในแฟ้มลับสุดยอด
ต่อมาป. เตรียมออกกฎหมายให้รื้อฟื้นคดีสังหารอานานที่ศาลฎีกาตัดสินไปแล้ว
เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกประหารทั้งสามคนและปรีดี ทางวังจึงได้ผลักดันสฤษดิ์ทำการโค่นล้ม
ป.และเผ่า เพื่อมิให้มีการฟื้นคดีสังหารอานานขึ้นมาอีก
ใครฆ่าอานานจึงยังคงเป็นปริศนา ที่วงศ์จักราวีและพูมลำพองไม่อยากจะพูดถึงหรือทำให้เกิดความชัดเจนตรงไปตรงมา
ขณะที่พวกเจ้าและสองพี่น้องปราโมชได้สร้างเรื่องใส่ร้ายปรีดีว่าเป็นผู้วางแผนสังหารอานาน
และจ้างคนปล่อยข่าวไปทั่วกรงเทพ บรรดาทูตและชาวต่างชาติส่วนใหญ่สรุปว่า อานานยิงตัวเอง
หรือไม่ก็ถูกพูมลำพองยิงโดยอุบัติเหตุ แต่ข้อสันนิษฐานที่ว่าพูมลำพองยิงอานานหรือน้องฆ่าพี่นั้นไม่เคยได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง
หากจะมีการสอบสวนในประเด็นนี้ ก็จะเป็นการระคายเคืองต่อความสูงส่งที่ไม่มีวันทำอะไรผิดของพูมลำพอง
ทำให้เจ้าต้องเสื่อมเสีย หรืออาจล้มครืนไปเลย
ในเวลานั้น ที่ทั้งฝ่ายนิยมเจ้าและฝ่ายของป. ต้องการทำลายปรีดี
ขณะที่ครอบครัวมหิดรก็ต้องการเอาตัวรอดโดยการหาแพะมารับบาป เพื่อไม่ให้ประเด็นมุ่งไปสู่พูมลำพอง
จึงต้องมีการขุดเอาผู้ต้องสงสัยรายอื่นขึ้นมาลงโทษให้ได้

ตลอดช่วงหกปีต่อมา พวกเจ้าและพรรคการเมืองของควงและเสนีย์ที่ควบรวมกันเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ต่างพากันใช้กรณีเสียชีวิตของอานาน ให้เป็นประโยชน์ในการแพร่ขยายอำนาจของพวกตน โดยนำการเสียชีวิตไปเป็นประเด็นหาเสียงในการเลือกตั้ง แต่พรรคที่สนับสนุนปรีดียังคงได้เสียงข้างมาก พอเปิดสภาเสนีย์กับควงก็โจมตีรัฐบาลด้วยเรื่องกรณีเสียชีวิต จนปรีดีต้องลาออก และหลบไปต่างประเทศหลายสัปดาห์และหลวงธำรงหนึ่งในคณะราษฎร ก็ได้เป็นนายก ขณะที่พูมลำพองยังคงอยู่นอกความขัดแย้งเพราะเป็นเหนือหัวที่ไม่มีใครกล้าล่วงละเมิด
ภรรยาของเสนีย์บอกอุปทูตสหรัฐ ว่าปรีดีบงการฆ่าอานาน พวกเจ้าคนอื่นๆ ก็บอกเอกอัครราชทูตอังกฤษอย่างเดียวกัน
ส.ส. คนหนึ่งของประชาธิปัตย์ตะโกนในโรงหนังว่าปรีดีฆ่าอานาน



ศาลชั้นต้นตัดสินครั้งแรกในวันที่ 27 กันยายน
2494 โดยยกฟ้องเฉลียวและบุศย์ ทำให้รัฐบาลและฝ่ายเจ้าต่างไม่พอใจ รัฐบาลจึงสั่งให้มีการไต่สวนใหม่


สรุปได้ว่า การเสียชีวิตของอานานได้ทำให้เจ้ากลับฟื้นคืนชีพและมีความสำคัญมากกว่าเดิม
วิทยุบีบีซีเคยไปถามพูมลำพองว่าเกิดอะไรขึ้นในกรณีฆาตกรรมอานาน
เหตุการณ์เป็นอย่างไร พูมลำพองตอบว่า ในสมัยนั้นเรื่องที่เกิดขึ้น
ทุกเรื่องก็เป็นการเมือง และ คดีนี้หมดอายุความแล้ว ไม่ต้องมาถามแล้ว สรุปว่าพูมลำพองไม่ยอมตอบอะไรเลย
เรื่องที่มีคนเชื่อกันน่าจะเป็นการทำปืนลั่นโดนพี่ตายโดยอุบัติเหตุ
คงเป็นไปได้ยาก เพราะใครจะเล่นเอาปืนจี้หัวกัน และวันนั้นอานานไม่สบายนอนป่วยอยู่ คงไม่น่าจะลุกขึ้นมาเล่นปืนกับน้อง
มีบางคนสงสัยว่าแม่เป็นคนยิง ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะตอนที่เกิดเหตุก็มีคนเห็นแม่อยู่ที่อื่น
แต่แม่อาจจะร่วมในการทำลายหลักฐาน เพื่อให้คดีนี้มันสอบสวนไม่ได้ เพราะเหตุการณ์มันเกิดขึ้นแล้ว
คงต้องเอาลูกไว้คนหนึ่ง ดีกว่าเสียทั้งคู่
ตอนนั้น อานาน อายุ 21 ส่วนพูมลำพองอายุ
19 โดยที่คนน้องสนิทกับแม่มากกว่า เพราะคนพี่นั้นเอาแต่ใจตนเอง และทะเลาะกับแม่
เพราะแม่เป็นม่ายตั้งแต่ยังสาว จึงมีความสัมพันธ์กับชายอื่น ซึ่งอานานรับไม่ได้ จึงมีปัญหากันเสมอ
แต่พูมลำพองไม่ขัดขวางความสุขของแม่

คดีฆาตกรรมอานานเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ไม่ยาก
พยานหลักฐานต่างๆค่อนข้างชี้ชัด คนในสมัยนั้นเชื่อว่าพูมลำพองคงไม่รอดแน่ ถึงกับมีข่าวว่าฝ่ายเจ้าเตรียมให้จุมภฏขึ้นนั่งบัลลังก์แทน พูมลำพองกับสังวอนจึงจำต้องออกไปต่างประเทศเพื่อหลบเรื่องคดี
จนกระทั่งเครือข่ายเจ้าได้ชำระสะสางปิดคดีด้วยการพิพากษาประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์สามคน
จึงได้มีการเดินทางกลับกรุงเทพในอีกสี่ปีต่อมา

พูมลำพองได้รับการรายงานจากผู้สำเร็จราชการที่กรุงเทพเป็นประจำถึงการปฏิบัติราชการในนามของตน
โดยมีเลขาธิการคอยดูแล มีผู้มาเข้าพบอยู่บ่อยๆ ทำให้พูมลำพองได้รับรู้ความเป็นไปทางการเมืองที่กรุงเทพ
หลังการรัฐประหารโดยผิน
ในเดือนพฤศจิกายน
2490 พวกขุนศึกกดดันให้ครอบครัวมหิดรกลับมาทำพิธีเผาศพอานาน และทำพิธีฉลองบัลลังก์อย่างเป็นทางการ
แต่สังวอนปฏิเสธ ขณะที่ทั่วโลกมีกระแสข่าวการจบสิ้นของสถาบันกษัตริย์ยุคหลังสงครามโลกในหลายประเทศ
รวมทั้งกระแสชาตินิยมและคอมมิวนิสต์ที่ได้เกิดความรุนแรงในเอเชียหลายประเทศ ทั้งการขับไล่เจ้าอาณานิคมและพวกเจ้าออกไปพร้อมๆกัน
พลพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตงกำลังได้ชัยชนะในจีน และเชื่อว่าให้การสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์สายจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนทางฝั่งตะวันตกของไทย
แนวร่วมพม่าที่นำโดยนายพล อองซาน พ่อของอองซานซูจี ได้ขับไล่อังกฤษออกไปได้ในเดือนมกราคม 2491 และปฏิเสธที่จะฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์พม่า
ทางฝั่งตะวันออก เกิดความปั่นป่วนในลาวและกัมพูชาเป็นภัยคุกคามสถาบันกษัตริย์
ฝ่ายชาตินิยมของโฮจิมินห์ในเวียตนามกำลังต่อสู้กับจักรวรรดินิยมฝรั่งเศสที่พยายามนำจักรพรรดิเบ๋าได๋กลับคืนมา
บางกอกโพสต์รายงานข่าวจักรพรรดิเบ๋าได๋ ในเดือนกรกฎาคม 2492 ด้วยการพาดหัวว่า
เมื่ออินโดจีนไป ไทยก็ไปด้วย

หลังจากไปถึงโลซานน์ไม่นาน
รังสิตก็จัดเตรียมรายชื่อหญิงสาวที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ขณะที่พูมลำพองดูจะเต็มใจในภาระกิจหาคู่
คนแรกที่อยู่ในความสนใจคือ สุพิชชา ลูกสาวของธานี ที่ได้พบกันในปี 2489 และอีกครั้งตอนต้นปี
2491 เมื่อเธอและพ่อแวะมาโลซานน์ระหว่างทางไปอังกฤษ แต่ธานีต้องการให้สุพิชชาเรียนจบมหาวิทยาลัยก่อน

พ่อของนักขัตรคือกิติยากร
เป็นลูกนางสนมของจุฬา กิตติยากร มีลูก 25 คนจากภรรยา 5 คน ตระกูลกิติยากรค่อนข้างมีอิทธิพล เพราะมีการวางแผนให้ลูกๆได้แต่งงานกับสกุลใหญ่ๆ
นักขัตรมีเป้าหมายที่สูงขึ้นไปอีกสำหรับลูกสาวที่ชื่อสิริเกียรติ (เกิด 2475) และบุษบง (เกิด
2477) เขาพาลูกสาวทั้งสองไปยุโรปเพื่อชุบตัวให้เป็นสาวทันสมัยแบบยุโรป
และได้ใกล้ชิดพูมลำพอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเลยเพราะพูมลำพองมักไปเที่ยวปารีสบ่อยๆ



หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2492 ป.และพรรคพวกก็ทำทุกอย่างเพื่อเอาชนะการเลือกตั้ง โดยอธิบดีตำรวจเผ่า จัดการสังหารและข่มขู่นักการเมืองคู่แข่ง มีการซื้อตัวสส.ที่ไม่สังกัดพรรค กลุ่มของป.จึงได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แต่พรรคประชาธิปัตย์และฝ่ายเจ้ายังคุมวุฒิสภาอยู่ รังสิตผู้สำเร็จการยังคงปฏิเสธคำขอของ ป. ที่จะเป็นองคมนตรี
สหรัฐอเมริกามีนโยบายให้ไทยเป็นพันธมิตรแนวหน้าในสงครามเย็น
ในปี
2491 โดยหน่วยข่าวกรองของสหรัฐ หรือซีไอเอ เริ่มติดอาวุธและฝึกฝนตชด.ของเผ่า
โดยเฉพาะเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดอำนาจได้ในปี 2492 ทำให้นายพลของไทยต้องช่วยกันต่อต้านและปราบปรามคอมมิวนิสต์ตามนโยบายโฆษณาชวนเชื่อของสหรัฐ
กลางปี 2492 ทีมงานซีไอเอมาถึงกรุงเทพเพื่อฝึกตชด.สนับสนุนพรรคก๊กมินตั๋งสู้คอมมิวนิสต์จีนตามแนวชายแดนพม่า-จีน สหรัฐเร่งสนับสนุนอาวุธและการฝึกทางทหารแก่กองทัพไทย รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ
โดยสหรัฐให้พูมลำพองเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังในสงครามเย็นต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยมีสหรัฐเป็นผู้ค้ำจุนบัลลังก์


27 มีนาคม 2493 เริ่มพิธียกฉัตรเก้าชั้นเหนือเมรุเผาศพอานาน ที่สนามหลวง มีคำสั่งให้รังสิตออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ
มาเป็นประธานองคมนตรี โดยมีธานีเป็นรองประธาน

6 เมษายน 2493 เป็นวันจักรี สิริเกียรติและพูมลำพองไปเปิดงานกาชาด ไปร่วมงานสงกรานต์


ตามด้วยการเจิมโดยรังสิตในฐานะตัวแทนฝ่ายเจ้า
และสังฆราชวชิรญาณ จากนั้นพูมลำพองก็สวมชุดเจ้าและขึ้นนั่งบนบัลลังก์แปดด้านยกสูง พราหมณ์ให้พรแล้วหลั่งน้ำมนต์จากสถูปศักดิ์สิทธิ์ 18 แห่ง
ต่อมาพูมลำพองก็ย้ายไปนั่งบัลลังก์ใต้ฉัตรเก้าชั้น
พราหมณ์มอบเครื่องใช้ของเจ้า มี มงกุฎทองคำรูปกรวย ดาบและคทา แส้ทำจากขนหางช้างเผือก
พัด รองเท้าแตะทองคำ และแหวนสองวง พราหมณ์คุกเข่า สวดมนต์ภาษาสันสกฤต เชิญเทพเทวดาฮินดูให้ลงมาเข้าร่างของพูมลำพอง
พูมลำพองหลั่งน้ำมนต์จากคนโทเล็ก สวมมงกุฎ และกล่าวปฏิญาณที่จะครองแผ่นดินโดยธรรม พร้อมกับโปรยดอกไม้เงินดอกไม้ทองลงบนพื้น
เป็นสัญลักษณ์ของการแผ่ความดีงามไปทั่วอาณาจักร มีพิธีอ่านคำพยากรณ์และนอนบนเตียงเป็นเวลาสองชั่วโมงเพื่อชุบตัวให้เป็นเทวราชาโดยสมบูรณ์

ไปเปิดอนุสาวรีย์มหิดรที่โรงพยาบาลศิริราชในฐานะบิดาการแพทย์สมัยใหม่
งานพิธีสุดท้ายก่อนพูมลำพองกลับสวิส
คือเปิดสภาในวันที่
1 มิถุนายน 2493 ฝ่ายเจ้าให้พูมลำพองกลับไปสวิสเพื่อความปลอดภัย
โดยโหรเลือกวันที่ 6 มิถุนายนและรังสิตได้เป็นผู้สำเร็จราชการอีกครั้งหนึ่ง


ทวีวงศ์ ผู้จัดการการเงินของวัง
เริ่มโครงการพัฒนาที่ดินใหม่ๆ เช่น โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล บนที่ดินของของวังสระปทุม
สำนักงานทรัพย์สินของพูมลำพอง
ได้ตั้งบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตร่วมกับตระกูลล่ำซำ และยังได้ยึดเอาวังอนันตสมาคมคืนจากรัฐสภา
ขณะเดียวกัน ผิน เผ่า และ สฤษดิ์ ต่างแข่งกันกอบโกยความมั่งคั่ง
และสร้างอำนาจโดยอาศัยสหรัฐอเมริกาที่มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ

ขุนศึกและวังก็ยังคุมเชิงกันไม่เลิก
ขัดแย้งกันเรื่องเงินเดือนของครอบครัวเจ้า และการที่พูมลำพองและสิริเกียรติไม่ยอมกลับมาคลอดลูกที่ไทย
ฝ่ายเจ้าเสนอให้รื้อฟื้นพิธีถือน้ำสาบานสำหรับข้าราชการ และการฟื้นคืนบรรดาศักดิ์แก่ผู้สนับสนุนวัง
ที่ได้ถูกป. สั่งยกเลิกไป ขณะที่รังสิตก็ไม่ยอมให้ ป. เข้ามามีอิทธิพลในราชสำนัก
ที่จริงป. ยอมปฏิบัติตามระเบียบประเพณีของวัง
เป็นผู้นำการถวายความเคารพต่อเจ้าในวาระสำคัญต่างๆไม่ได้ขาด ทั้งได้ประกาศให้วันเกิดของพูมลำพองเป็นวันหยุดราชการสามวันในเดือนธันวาคมปี
2493 และในวันรัฐธรรมนูญก็ได้ยอมยกความดีความชอบเรื่องประชาธิปไตยให้กับธิปก



ราวกลางปี 2494 พวกขุนศึกต้องการเพิ่มอำนาจของตนให้เข้มแข็ง
จึงส่งเผ่าไปสวิสสองครั้ง เพื่อให้พูมลำพองยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจรัฐบาลในภาวะฉุกเฉิน
ในคราวแรกพูมลำพองยังไม่ยอม เผ่าได้เดินทางไปสวิสเป็นครั้งที่สองในเดือนตุลาคม คราวนี้ได้รับการปฏิเสธตรงๆ
จนทำให้พวกขุนศึกเริ่มหมดความอดทน
บรรยากาศในกรุงเทพก็ย่ำแย่ลงไปอีก เพราะคดีฆาตกรรมอานาน
หักมุมไปมา ศาลตัดสินครั้งแรกในวันที่ 27 กันยายน
2494 ให้ยกฟ้องเฉลียว และบุศย์ แต่พิพากษาชิตว่ามีความผิด เท่ากับว่าลบล้างข้อกล่าวหาต่อปรีดี
ทั้งรัฐบาล และฝ่ายเจ้าต่างไม่พอใจคำพิพากษาของศาลชั้นต้น รัฐบาลจึงสั่งให้มีการไต่สวนใหม่
ทำให้สถานการณ์ยังไม่เหมาะที่พูมลำพองจะกลับประเทศมาอยู่อย่างถาวรตามที่ได้วางแผนไว้แล้วในต้นเดือนธันวาคม
2494 ประกอบกับสถานการณ์โลกที่มีการล่มสลายของกษัตริย์หลายประเทศ


คณะรัฐประหารได้นำรัฐธรรมนูญ 2475 กลับมาประกาศใช้
และป.ก็แต่งตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ 123 คน
ซึ่ง 103 คนมาจากตำรวจและทหาร วันที่ 4 ธันวาคม 2494 ป. ขึ้นเป็นนายก ผิน
เป็นรอง สฤษดิ์ ดูแลกองทัพและเผ่าดูแลตำรวจ โดยที่พูมลำพองไม่มีส่วนร่วมในการแต่งตั้ง
พวกขุนศึกถือว่าพูมลำพองอยู่นอกประเทศขณะเกิดการรัฐประหาร
และผู้สำเร็จราชการ ซึ่งก็คือ ป.ได้ให้ความเห็นชอบ ส่วนข้ออ้างในการทำรัฐประหารก็คือ
รัฐสภาทุจริตคอรัปชั่นและหย่อนยาน ประเทศชาติเผชิญภัยจากคอมมิวนิสต์ ซึ่ง ป. อธิบายว่าเป็นการคุกคามชาติ
ศาสนา และกษัตริย์ของไทย สงครามเย็นต่อต้านคอมมิวนิสต์ของโลกเสรีทำให้สหรัฐและอังกฤษต้องรีบให้การยอมรับรัฐบาลใหม่
โดยอ้างว่าเนื่องจากยังคงเป็นเจ้าองค์เดิม
วันที่ 6 ธันวาคม
2494 ผินมอบกระบี่จอมทัพแก่พูมลำพอง พูมลำพองและสิริเกียรติได้ร่วมงานพิธีต้อนรับอย่างแกนๆ
วังประกาศฉลองวันเกิดพูมลำพองเป็นเวลาสี่วัน
ขณะที่ธานีและภานุพันธ์ให้คำแนะนำให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่เนิ่นๆ
แต่หลังจากที่ป. และเหล่าขุนศึกได้เข้าวังในวันที่ 6 - 7 ธันวาคมแล้ว
พูมลำพองก็ยอมลงนามโดยไม่มีการแก้ไข ดูเหมือนว่าจะโดนขู่ว่าจะหลุดจากบัลลังก์หากไม่ให้ความร่วมมือ
จากนั้นพูมลำพองก็แสดงความไม่พอใจอย่างเปิดเผยด้วยการไม่ไปเปิดงานรัฐธรรมนูญที่สวนดุสิต
และยกเลิกงานเลี้ยงวันรัฐธรรมนูญที่วังเป็นเจ้าภาพ

วันที่ 3 มกราคม
2495 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่นำโดยผิน เริ่มส่งร่างแก้ไขไปให้วัง
โดยที่วังแทบไม่กล้าโต้แย้งอะไรเลย ฝ่ายนิยมเจ้าตอบโต้อย่างเปิดเผยบนหน้าหนังสือพิมพ์ว่า
กองทัพได้ควบคุมจำกัดการเคลื่อนไหวของพูมลำพองอย่างแน่นหนา ประชาธิปัตย์ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนมีนาคม
2495

แต่พวกขุนศึกไม่มีอาการสะดุ้งสะเทือน คณะกรรมการของผินยังได้ส่งร่างรัฐธรรมนูญที่หนักข้อกว่าเดิมและปฏิเสธการแก้ไขของวัง
วันที่ 17 มกราคม 2495 พูมลำพองเสนอให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด
แต่ก็ถูกพวกขุนศึกปฏิเสธอีกเช่นเคย
วันที่ 24 มกราคม
2495 สภาที่คุมโดยกองทัพ ให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญ 2475 ฉบับแก้ไขอย่างเป็นเอกฉันท์ในวาระแรก หนึ่งเดือนจากนั้นรัฐธรรมนูญร่างสุดท้ายก็ผ่านสภา
โดยยังคงรักษาสถานะอันล่วงละเมิดมิได้ของเจ้าอยู่เช่นเดิม เจ้ามีอำนาจเต็มในเรื่องข้าราชบริพารและคณะองคมนตรี
9 คน ที่เหลือนอกนั้นก็เหมือนกับฉบับ 2475 ที่ล้มเลิกระบอบเจ้า
รัฐสภามาจากการเลือกตั้งและเป็นผู้แต่งตั้งนายก อำนาจยับยั้งของเจ้าถูกตีตกไปด้วยเสียงส่วนใหญ่ในสภา
พูมลำพองก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามปกติ โดยไปผักผ่อนที่วังไกลกังวลหัวหิน และกลับมากรุงเทพ
ช่วงสั้นๆ
พวกเจ้ายังคงใช้วิธีขู่ว่าพูมลำพองจะกลับสวิสและจะสละบัลลังก์
แต่ป. และพวกขุนศึกก็ตอบโต้อย่างไม่แยแส ว่าพวกเขาสามารถหาเจ้าองค์ใหม่ได้ โดยเอ่ยถึงจุมภฏพงษ์
พูมิลำพองไม่ยอมตอบรัฐบาลว่าจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อใด
ในขณะที่พูมลำพองกลับหัวหิน ครม.ได้กำหนดให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเช้าวันที่ 8 มีนาคม
พอถึงวันที่ 7 มีนาคม 2495 เป็นที่แน่ชัดว่าพูมลำพองจะไม่กลับกรุงเทพ
พิธีการก็คงต้องถูกยกเลิก วิทยุของรัฐประกาศแต่เพียงว่า พูมลำพองไม่อยากให้รีบร้อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แต่พอบ่ายวันนั้นเผ่าได้นำกำลังเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งไปหัวหิน
เพื่อเข้าพบพูมลำพอง หลายชั่วโมงหลังจากนั้น พวกเขาก็กลับกรุงเทพ โดยนำตัวพูมลำพองกลับมาด้วย
และในเวลา
11นาฬิกาของเช้าวันถัดมา ณ วังอนันตสมาคม ท่ามกลางเสียงมโหรีปี่พาทย์
พูมลำพองก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ที่แทบจะเป็นฉบับเดียวกับที่ธิปก ได้ลงนามเมื่อสามสิบปีก่อน
โดยมี ป. เป็นผู้ลงนามในฐานะนายก
มันเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ธรรมดา
ที่พูมลำพองได้ประลองกำลังทางการเมืองเป็นครั้งแรก แต่ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า จอมโหดอย่างเผ่าจะไปข่มขู่พูมลำพองว่าอย่างไรนั้นยังคงเป็นความลับ
แต่เชื่อกันว่า เผ่าคงข่มขู่เอาชีวิตของพูมลำพอง หรือไม่ก็คงข่มขู่ที่จะเปิดโปงว่าพูมลำพองเป็นผู้สังหารอานาน
และจะบีบให้พูมลำพองต้องหลุดจากบัลลังก์


ซีไอเอเร่งฝึกตำรวจและทหารในการทำสงครามและควบคุมสังคม
การสนับสนุนจากซีไอเอ
ทำให้เผ่า และตชด.ของเขามีอำนาจมาก เผ่าใช้วิธีการต่อต้านคอมมิวนิสต์แบบอเมริกัน และมีแนวโน้มจะเป็นทายาทของ
ป. โดยฉวยโอกาสผูกขาดธุรกิจการค้าและการเงินที่สำคัญจำนวนมาก รวมถึงการส่งออกฝิ่นจากพม่า
และยักยอกเงินช่วยเหลือจากสหรัฐไว้เป็นจำนวนมหาศาล


หลังจากพ่ายแพ้เรื่องรัฐธรรมนูญ
ทีมเจ้าก็หันมาเน้นให้พูมลำพองเร่งเดินสายทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมบารมี
แต่ ป. ปฏิเสธแผนสร้างบารมีของเจ้า โดยอ้างเหตุผลของความปลอดภัย พร้อมทั้งตัดงบประมาณของวัง
ในขณะที่ป.กลับออกเดินสายชนบทเอง ราชสำนักต้องหันกลับมาทำกิจกรรมทางสังคมและพิธีกรรมอย่างเดิม
เพียงแค่หกเดือนแรกของกิจกรรมในกรุงเทพก็เห็นผลไม่น้อย
รวมทั้งการสร้างภาพของเจ้าผู้ผดุงความยุติธรรมด้วยการจัดฉากให้พูมลำพองไปนั่งตัดสินคดีที่ชายคนหนึ่งขโมยเครื่องโม่แป้งเล็กๆ
และรับโทษจำคุกสามเดือน แต่พูมลำพองผู้ลึกซึ้งและมีเมตตาได้เสนอให้รอลงอาญา เพราะชายคนนั้นสำนึกผิดแล้ว
ในอีกคดีหนึ่งที่ทหารเรือหลายคนฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเชื้อเจ้ารายหนึ่งในอุบัติเหตุรถยนต์
แต่พูมลำพองสามารถแนะนำสั่งสอนให้เชื้อพระวงศ์รายนั้นยอมรับผิด ขณะที่ทหารเรือก็แสดงความใจบุญโดยบริจาคเงินค่าเสียหายที่ได้รับให้แก่โรงพยาบาลกองทัพเรือ
พูมลำพองยังแสดงความเป็นประธานสูงสุดจากงานพิธีต่างๆ
ครม.ชุดใหม่ของป.
ต้องเข้าพบ และแสดงความเคารพสูงสุดด้วยการหมอบกราบ เดือนเมษายนและพฤษภาคม
2495 มีพิธีฉลองวันจักราวี วันครบรอบวันการสมรส และวันฉัตรมงคล ซึ่งพูมลำพองเป็นประธานในพิธีแต่งตั้งองคมนตรีและมอบเครื่องราชย์
สองวันจากนั้น ก็ประกอบพิธีพืชมงคลในมหาราชวัง

ภาพยนตร์ส่วนตัวของพูมลำพองออกฉายเป็นภาพยนต์ข่าวตามโรงหนัง ปลายปี 2495 หนังความยาว 90 นาทีที่ตัดต่อจากภาพยนต์ส่วนตัวของพูมลำพอง ถูกนำออกฉายทั่วประเทศ

รัฐบาลของทหารประกาศให้วันเกิดของทั้งพูมลำพองและสิริเกียรติเป็นวันหยุด
กองทัพได้เชิญไปเป็นประธานในงานพิธีต่างๆ รวมทั้งการจบการศึกษาของนักเรียนนายร้อยและการเลื่อนยศของทหารตำรวจระดับสูง
ปลายปี
2495 รัฐบาลยอมให้ราชสำนักควบคุมองครักษ์ของวัง มีการไปประดับยศให้ทหารและตำรวจหลายครั้ง
เป็นภารกิจที่ผูกโยงกองทัพกับบัลลังก์
ปี 2497 คึกฤทธิ์
เปิดตัวหนังสือพิมพ์สยามรัฐ มุ่งที่คนมีการศึกษา รายงานข่าวและบทความล้วนสอดแทรกด้วยความคิดของปัญญาชนนิยมเจ้า
และโจมตีคู่แข่งของเจ้า โดยเฉพาะ ป.
ในปี 2496 พวกขุนศึกได้รับเครื่องราชย์ ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นที่โปรดปราน
มีสายสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ทวีวงศ์นำเงินของวังมาร่วมลงทุนกับพวกขุนศึกที่ผูกขาดธุรกิจหลายอย่าง
ทั้งที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ทางวังพยายามผูกมิตรกับเผ่ามากเป็นพิเศษ เพราะเผ่าได้สร้างรัฐตำรวจที่มีเครื่องมือทันสมัยรวมทั้งรถถังและใช้วิธีการที่เหี้ยมโหดโดยพูมลำพองไปเป็นประธานในพิธีสำคัญๆ
ของตำรวจ ประทานยศพิเศษและเครื่องราชย์แก่เผ่า กับนายพลตำรวจอื่นๆ รวมทั้งเลื่อนยศนายตำรวจระดับสูง
และยังไปเป็นประธานในพิธีที่เผ่า มอบแหวนอัศวินแก่ลูกน้องซึ่งเป็นพวกมาเฟียที่ดูแลการค้ายาเสพติด
และเรียกค่าคุ้มครองให้เผ่านั่นเอง
พูมลำพองพยายามเข้าคุมตชด.
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอ เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ ศูนย์ฝึกหรือค่ายนเรศวร อยู่ใกล้วังไกลกังวลที่หัวหิน
ที่พูมลำพองใช้สนามบินของ ตชด. และให้ตชด. ก็ทำหน้าที่อารักขาระหว่างพักอยู่หัวหิน
วังกับตชด.จึงมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น เป็นการเข้าไปยึดกุมอำนาจของตชด.โดยตรง
ขณะที่ทหารก็ใช้พูมลำพองเป็นเครื่องมือต่อต้านคอมมิวนิสต์ หน่วยข่าวของสหรัฐได้จ่ายแจกใบปลิวว่า คอมมิวนิสต์เป็นภัยต่อชาติ ศาสนา และกษัตริย์ ทำเอกสารโจมตีกษัตริย์ขึ้นมาเองแล้วอ้างว่าเป็นของคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯเร่งผลิตทั้งภาพ หนังสือและภาพยนตร์ โดยในปี 2499 สำนักข่าวสารอเมริกัน (USIS) มีหน่วยเคลื่อนที่ 8 ชุดตระเวนฉายหนังและแสดงดนตรี เปรียบเทียบกษัตริย์และราชินีกับปีศาจคอมมิวนิสต์

ป.มองเห็นถึงการสร้างอิทธิพลบารมีของเจ้า
จึงขยับจะทำลายฐานกำลังทางเศรษฐกิจของพวกเจ้าโดยการออกกฎหมายในปี 2495 จำกัดการถือครองที่ดินในหมู่พวกเจ้า ที่แผ่ขยายการถือครองเรือกสวนไร่นา โดยเฉพาะที่ราบภาคกลางที่อุดมสมบูรณ์และมีระบบชลประทานของรัฐตั้งแต่สมัยจุฬา
โดยเฉพาะตระกูลสนิทวงศ์ มีรายได้จากการเก็บค่าเช่านาและสวน และไม่ยอมให้หักภาษีจากค่าเช่าที่ดิน
ชาวนาส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง พวกเจ้าปฏิเสธคำขอของป.ที่จะเป็นองคมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ป.ได้ตอบโต้พวกเจ้าด้วยการเสนอกฎหมายปฏิรูปที่ดิน
เพื่อจำกัดการถือครองที่ดิน รายละไม่เกิน 50 ไร่สำหรับทำการเกษตร
และ 10 ไร่สำหรับอุตสาหกรรม โดยให้เวลาเจ้าที่ดินรายใหญ่เจ็ดปีในการผ่องถ่ายที่ดินส่วนเกินออกไป
ชาวนาที่ทำกินมานานจะได้รับความช่วยเหลือในการออกโฉนดสำหรับไร่นาที่ตัวเองทำกิน ข้อเสนอนี้ต้องสู้กันถึงสองปี
ทางวังยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องการกระจายการถือครองที่ดินเพราะที่ดินมีอยู่มากมายเหลือเฟือทั่วประเทศ
แต่ที่ดินที่พวกเจ้าอ้างถึงนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนของรัฐ ซึ่งชาวนาไม่สามารถถือครองได้ตามกฎหมาย
ในปี 2497 กฎหมายก็ผ่านสภา แต่พูมลำพองไม่ยอมลงชื่อถึงสองครั้ง
ในเดือนธันวาคม 2497 สภาก็ส่งร่างกฎหมายให้พูมลำพองอีกเป็นครั้งที่สาม
และสภาสามารถลงมติผ่านเป็นกฎหมายได้เลย พูมลำพองจึงต้องยอมลงชื่อไปก่อน เพราะยังมีเวลาแก้ไขถึงเจ็ดปีก่อนที่กฎหมายจะบังคับใช้
แม้ว่าป. จะทุ่มเทพยายามอย่างเต็มที่
แต่ก็เจอปัญหาการทุจริตและแย่งชิงอำนาจกันเองภายในคณะรัฐประหาร เมื่อขาดการสนับสนุนจากกองทัพและวัง
เขาก็พยายามปรับตัวเองมาเป็นผู้เชิดชูระบอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย
ต้นปี 2498 ป. ใช้เวลาสองเดือนเดินทางตระเวนไป 17 ประเทศในกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์
ได้เข้าเฝ้าองค์สันตปะปาที่โรม ได้พบนายพลฟรังโกที่สเปน และร่วมโต๊ะเสวยกับราชินีเอลิซาเบธของอังกฤษ
และเยือนสหรัฐฯเป็นเวลาสามสัปดาห์ โดยทางการวอชิงตัน ได้สรุปให้ป. ฟังเรื่องระบอบประชาธิปไตยของอเมริกัน และการดำเนินนโยบายขับเคลื่อนของสงครามเย็น




ความสำเร็จอย่างมโหฬารของการเดินสายเยือนชนบทครั้งนี้ทำให้ป.ตื่นตระหนก จึงรีบระงับแผนการเดินสายแบบนี้ สำหรับภาคใต้และภาคเหนือ
ขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายก็เริ่มหันมาแย่งชิงกันสร้างภาพในด้านศาสนา
ป.เข้ายึดคุมมหาเถรสมาคม แต่งตั้งพรรคพวกที่เป็นพระมหานิกายในตำแหน่งต่างๆ

พระมหานิกายที่ได้รับการสนับสนุนจาก
ป. กล่าวหาว่าวังทำลายประชาธิปไตย ทำให้การต่ออายุของจวน อุฎฐายีถูกยกเลิก และ
พระปลด วัดเบญจ ของมหานิกายได้เป็นสังฆนายก
พวกเจ้ายังเชิดชูบุญบารมีของพูมลำพองโดยอาศัยพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่
ในปี
2495 มีพิธีกฐินหลวงอย่างเต็มรูปแบบตามวัดหลวง ซึ่งป. ไม่สามารถทำได้เพราะไม่ใช่เจ้า โดยได้ถือปฏิบัติทุกปีหลังจากนั้น แต่จะละเว้นไว้สองวัดคือ
วัดมหาธาตุ ศูนย์กลางมหานิกายและวัดพระศรีมหาธาตุที่ ป. เป็นคนสร้าง

ในเดือนธันวาคม 2498 พม่าเชิญ
ป.และพูมลำพองไปร่วมงานฉลองครบรอบ 2500 ปีของพุทธศาสนา ที่จะจัดขึ้นในปี 2499
ป. ตอบตกลง
แต่พูมลำพองตอบปฏิเสธ โดยธานีอ้างว่าพูมลำพองไม่สามารถยอมรับเงื่อนไขของพม่า ที่จะต้องถอดรองเท้าก่อนเดินเข้าวัดพม่า
ป. จึงเดินทางไปคนเดียว และอูนุตอบแทนด้วยการมาเยือนไทยและปลูกต้นไม้ที่วัดพระศรีมหาธาตุ
และบริจาคเงินจำนวนมากเพื่อบูรณะวัดในอยุธยา ทั้งหมดนี้ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของ ป.โดยอาศัยงบประมาณรัฐบาลที่มีมหาศาลและการทูตระหว่างประเทศ



เพื่อให้การสร้างบุญญาธิการและบารมีมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
จึงจัดให้พูมลำพองได้บวชตามประเพณีในเดือนตุลาคม 2499 ในช่วงเข้าพรรษาเป็นเวลาสองสัปดาห์หรือ
15 วัน เนื่องจากอานานไม่ทันได้บวชก่อนเสียชีวิต ถือว่ายังไม่ได้เป็นธรรมราชาที่สมบูรณ์และยังไม่ได้บวชทดแทนคุณพ่อแม่
วังได้เตรียมการโฆษณาอย่างยิ่งใหญ่



จากนั้น ก็เป็นพิธีโกนผม
โดยสังวอน พิธีบวชเริ่มต้นในเวลาอันเป็นฤกษ์ยามคือ
บ่าย
4:23 ที่วัดพระแก้ว พูมลำพองสวดมนต์ท่ามกลางเจ้าอาวาสและพระระดับสูง
30 รูปจากวัดหลวง แล้วรับผ้าไตร ได้รับการขนานนามว่า พูมิลำพองภิกขุ
จากนั้นสิริเกียรติและสังวอนก็ถวายเครื่องอัฐบริขาร


หลังบวชได้สองวัน ก็ไปเยือนวัดหลวงอื่นๆ
เข้านมัสการเจ้าอาวาส และเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งโดยมากเป็นชนชั้นนำของไทย
ได้ทำบุญถวายร่วมกับพระพูมลำพอง
พวกเขาเข้าแถวรอตักบาตรพูมิลำพองภิกขุ นำโดยสิริเกียรติและเจ้าระดับสูง
มีภาพวชิราพองตอนอายุ
5 ปีก้มกราบพ่อที่สร้างความซาบซึ้งแก่ผู้พบเห็น

ในสัปดาห์ที่สอง พูมิลำพองภิกขุได้ร่วมพิธีบวชพระรูปอื่นๆ
และไปร่วมประกอบพิธีที่วัดหลวงในจังหวัดนครปฐม สิริเกียรติทอดกฐินหลวงที่วัดบวร ถวายผ้าไตรแก่พูมิลำพองภิกขุ
ในช่วงนั้นพูมิลำพองภิกขุได้เดินออกรับบิณฑบาตนอกวัดเป็นระยะทางสั้นๆ สองหรือสามครั้ง มีลักษณะเป็นการจัดฉาก เนื่องจากเป็นการบิณฑบาตในตอนเที่ยงซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติมาก มันเป็นที่มาของรูปภาพที่จะถูกใช้เป็นภาพโฆษณาการบวช 15 วันของพูมลำพอง

ในช่วงนั้นพูมิลำพองภิกขุได้เดินออกรับบิณฑบาตนอกวัดเป็นระยะทางสั้นๆ สองหรือสามครั้ง มีลักษณะเป็นการจัดฉาก เนื่องจากเป็นการบิณฑบาตในตอนเที่ยงซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติมาก มันเป็นที่มาของรูปภาพที่จะถูกใช้เป็นภาพโฆษณาการบวช 15 วันของพูมลำพอง





หลังจากนั้นไม่กี่วัน สมาชิกสภาสายเจ้ารายหนึ่งฟ้องหยุด ในข้อหาหมิ่นเดชานุภาพ เเต่อธิบดีตำรวจเผ่าพิจารณาแล้ว ว่าหยุดไม่มีความผิด
ป.ยังคงเดินหน้าโฆษณาหลักการประชาธิปไตยของตนต่อไป สำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในต้นปี 2500 ป.เชื่อว่าพูมลำพองคงจะไม่เข้ามาแทรกแซงผู้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ ป.เข้าใจผิดถนัด เพราะพูมลำพองไม่สนใจประชาธิปไตยแบบตะวันตกอีกแล้ว
ในปี 2500 กระแสโฆษณาชวนเชื่อส่งเสริมระบอบเจ้าเริ่มมาแรง
มีการโจมตีรัฐบาลอย่างหนัก
หลังการเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์
2500 การหาเสียงเต็มไปด้วยการโจมตีรัฐบาล โดยเฉพาะตัวของป.และเผ่า จากฝ่ายเจ้า ฝ่ายเสรีนิยมก้าวหน้า และจากสฤษดิ์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากวัง
พูมลำพองได้กล่าวในวันขึ้นปีใหม่ว่า รัฐบาลควรจะยกเลิกสภาที่มาจากการแต่งตั้งซึ่งเป็นฐานอำนาจของ
ป.


นายทหารและส.ส.ร่วมมือกับสฤษดิ์
เพื่อให้ ป.
และเผ่า ต้องลงจากอำนาจ
สถานการณ์เลวร้ายลงสำหรับรัฐบาลของ
ป. ภาคอีสานเกิดภัยแล้งรุนแรง ทำให้มีผู้อพยพเข้าเมืองหลวง

ป.แต่งตั้งตนเองเป็นประธานพิธีจัดงาน ระหว่าง 12-18 พฤษภาคม 2500 ใช้งบกว่า 70 ล้านบาทโดยเชิญนายกรัฐมนตรีพม่าเป็นแขกพิเศษ เชิญพูมลำพองเป็นประธานเปิดและปิดงาน แต่พูมลำพองไม่พอใจ จึงเก็บตัวอยู่ที่หัวหิน โดยอ้างว่าเป็นหวัด ไม่ยอมไปเปิดงาน รวมทั้งพิธีเห่เรือ พิธีที่พุทธมณฑล และพิธีที่อยุธยา โดยให้ธานีมาแทน

ในเดือนต่อมาป. ได้เสนอเพิ่มจำนวนสมาชิกสภาที่มาจากการแต่งตั้ง
แต่พูมลำพองแสดงการคัดค้านอย่างเปิดเผย และยังตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของข้อเสนอนี้
ทั้งที่เมื่อสิบปีก่อนหน้านี้ วังก็เคยพยายามเอาการแต่งตั้งสมาชิกสภาส่วนนี้มาเป็นฐานอำนาจของตน
ระหว่างนั้น พรรคการเมืองฝ่ายสฤษดิ์ได้โจมตีรัฐบาลจนนำไปสู่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในกลางเดือนสิงหาคม 2500 กล่าวหารัฐบาลป.ว่าสนับสนุนการวิจารณ์เจ้า เท่ากับเป็นการหมิ่นเดชานุภาพ ทำให้ป.ต้องรีบจับมือกับเผ่า ซึ่งกลับทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เพราะหนังสือพิมพ์ของเผ่าได้โจมตีเจ้าอย่างตรงๆ โดยพาดหัวว่า พวกเจ้าดูหมิ่นศาสนาและจะต้องตายโหงตายห่า โดยอ้างเรื่องงานฉลองกึ่งพุทธกาล ว่าวังพยายามโค่นล้มรัฐบาลและดูหมิ่นพระศาสนา
เผ่ากล่าวหาว่าพูมลำพองให้เงิน 700,000 บาทแก่ประชาธิปัตย์ ฝ่ายเจ้าก็ปล่อยข่าวลือว่า เผ่ากำลังวางแผนจับตัวพูมลำพอง
สฤษดิ์เรียกร้องให้ป. ปลดเผ่า ผู้ซึ่งมีภาพไม่ดีอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นจะถูกรัฐประหาร
13 กันยายน 2500 สฤษดิ์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อ ป. ให้ลาออก ป.จะให้รัฐมนตรีลาออก แต่ตนขอเป็นนายกต่อไป ทำให้ประชาชนไม่พอใจมาก
15 กันยายน 2500 ผู้คนนับแสนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่พบ ป.
จึงพากันไปบ้านสฤษดิ์ ขณะที่ ป. ก็กำลังจะเตรียมจับกุมสฤษดิ์ข้อหากบฏสนับสนุนให้ผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาล
แต่ไม่ทันดำเนินการใดๆ
ในวันที่ 16 กันยายน
2500 ป.ต้องบากหน้าเข้าพบพูมลำพอง เพื่อขอให้สนับสนุนรัฐบาลของเขา
แต่พูมลำพองที่มีอายุ 30 ปี ได้บอก ป. ที่มีอายุ
60 ปี ให้ลาออกเพื่อหลีกเลี่ยงการรัฐประหาร เพราะวังอยากเห็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ


ประกาศพระบรมราชโองการ ตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
พูมลำพอง คะนองเดช ก.ร.
เนื่องด้วยปรากฏว่ารัฐบาลอันมีจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
ได้บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ทั้งไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้
คณะทหารซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าได้เข้ายึดอำนาจการปกครองไว้ได้ ข้าพเจ้าจึงขอตั้งจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ขอให้ประชาชนทั้งหลายอยู่ในความสงบ และขอให้ข้าราชการทุกฝ่ายฟังคำสั่งจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศณ วันที่ 16 กันยายน
2500
ไม่มีผู้รับสนองโองการ
คือ พูมลำพองแต่งตั้งเองด้วยความยินดี เหมือนในสมัยระบอบเจ้า เพราะท่านถือว่าท่านคือเจ้าของประเทศ
วันถัดมา สฤษดิ์ประกาศว่าตนทำไปเพื่อปกป้องชาติ
ศาสน์ กษัตริย์
โดยทางวังได้ตอบสนองเป็นอย่างดี ตามแถลงการณ์ของวังว่าพูมลำพองได้เล็งเห็นว่า
คณะปฏิวัติมีความประสงค์จะคุ้มครองประชาชน ดูแลสวัสดิภาพและผลประโยชน์ของชาติ และสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศนั้น
เป็นสิ่งที่น่าเคารพและน่าสนับสนุน ธานีและองคมนตรีคนอื่นๆ ก็ช่วยกันกระจายข่าวว่าสฤษดิ์เป็นผู้จงรักภักดี
และต่อต้านคอมมิวนิสต์ และวังให้การสนับสนุนการรัฐประหารของสฤษดิ์อย่างเต็มที่

..........................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น