วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เดอะคิงชื่อสมชาย ตอนที่ 5 : คนไทยโชคไม่ค่อยดีที่มีลุงสมชาย Xomxai 05




เดอะคิงชื่อสมชาย 
ตอนที่
5 : คนไทยโชคไม่ค่อยดีที่มีลุงสมชาย

ชาติชาย นายกคนใหม่ได้สร้างบรรยากาศทางการเมืองคึกคัก เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงตัวจริงที่ประกาศเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า และว่าการบริหารประเทศของเปรมิกาล้าสมัย สงครามเย็นต่อต้านคอมมิวนิสต์จบสิ้นแล้ว ถึงเวลาต้องผูกมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน และหมดยุคของรัฐบาลที่มุ่งเน้นแต่ความมั่นคงแห่งชาติแบบคลั่งเจ้าบูชาวัง

แต่ลุงสมชายรีบแต่งตั้งเปรมิกาเป็นองคมนตรีทันที ขณะที่ชาติชายก็แต่งตั้งคนของตนเอง แทนที่พวกนักวิชาการสายเปรมิกาและวัง เปลี่ยนชุดพระราชทานของเปรมิกามาเป็นสูทอิตาเลียนกับเนคไทยี่ห้อดัง โดยไม่ให้ความสำคัญกับการเทิดทูนวังและวัฒนธรรมคลั่งเจ้า 
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้กลายเป็นคู่แข่งบารมีกับวัง มีการจัดการด้วยระบบการบริหารสมัยใหม่ เพิ่มการแข่งขันเสรีและการแปรรูปให้เอกชนมีบทบาทมากขึ้น มีการตัดสินใจอย่างรวดเร็วต่อโครงการขนาดใหญ่ที่เคยล่าช้าในสมัยเปรมิกา สับเปลี่ยนโยกย้ายพรรคพวกและบริวารของวังกับเปรมิกา 

ให้สิทธิ เศวตศิลารัฐมนตรีต่างประเทศของเปรมิกาทำงานต่อสองปี แล้วบีบให้ออก ลุงสมชายรีบแต่งตั้งตั้งสิทธิ เป็นองคมนตรีทันที แบบย้อนศรให้เห็นกันไปเลย รัฐบาลชาติชายย้ายสมุนบริวารของเปรมิกาและวัง ที่อยู่หน่วยงานสำคัญๆออกไป ทั้งเริ่มนโยบายของตนเองโดยไม่มีวังหรือกองทัพเข้ามาเกี่ยวข้อง เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า ลดบทบาทงานพัฒนาของลุงสมชาย ปฏิเสธการคืนทรัพย์สินแก่ถนอมที่ถูกยึด และอนุมัติงบสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาที่ถูกวังแตะถ่วงมานาน



ให้สัมปทานผลิตปูนซิเมนต์แก่กลุ่มทีพีไอของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ แข่งกับเครือซีเมนต์ไทยของลุงสมชายตอบโต้ที่ซีเมนต์ไทยผลิตปิโตรเคมีแข่งกับทีพีไอที่ทำอยู่เดิม




สนับสนุนโครงการโฮปเวลล์ รถไฟยกระดับวิ่งผ่านวังจิตรลดากับสถานที่สำคัญๆ ของพวกเจ้า ลดอำนาจของวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ให้ประธานรัฐสภามาจากประธานสส. และเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี

ลดการโฆษณาสนับสนุนเทิดทูนวังไม่ให้ฟู่ฟ่าเจิดจรัสเหมือนสมัยเปรมิกา ลุงสมชายได้รางวัลแม็กไซไซในปี 2531 ญาณสังวรพระพี่เลี้ยงของลุงสมชายได้เป็นสังฆราชในปี 2532 หลังจากรับใช้ลุงสมชายมาตั้งแต่ปี 2498

รัฐบาลสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ คือสวนหลวงรามาเก้า โดยมีอาคารแสดงนิทรรศการโครงการราชดำริ มีการตัดถนนสายใหม่เรียกว่าถนนพระรามเก้า
กองทัพสร้างสถานปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ให้สังวอนบนดอยตุง เชียงราย ครอบคลุมพื้นที่เขาราว 92,500 ไร่ ของชาวเขา 27 หมู่บ้าน และทุ่มงบเปลี่ยนดอยตุง เป็นไร่นาและชุมชนสหกรณ์ขนาดใหญ่ ดำเนินการโดยมูลนิธิของสังวอน เหมือนอาณาจักรของศักดินาสมัยเก่า ในปี 2533 กองทัพจัดโครงการปลูกต้นไม้ 90 ล้านต้นทั่วประเทศเทิดเกียรติให้สังวอนเป็นผู้ปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นสังวอนอยู่ต่างประเทศมาตลอด

ลุงสมชายแต่งตั้งเปรมิกาเป็นประธานองคมนตรี แทนนายสัญญา ที่แก่ชราแล้ว และได้ตั้งเปรมิกาเป็นรัฐบุรุษอาวุโส ทำให้เปรมิกายังคงยุ่งกับการเมืองได้ หลังจากนั้นสองสามปี ก็แต่งตั้งสิทธิ เศวตศิลา กับพิจิตร กุลละวนิชย์ ลูกน้องเปรมิกาให้เป็นองคมนตรี และองคมนตรีใหม่อีกคนคือ อัศนีย์ ลูกชายของเสนีย์ เมื่อรวมกับจิรายุ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินของลุงสมชาย ก็กลายเป็นทีมงานหลักที่คอยปกป้องระบอบเจ้าจากรัฐบาลนายทุนของชาติชาย
จิรายุได้โหมเร่งการลงทุนของวัง และให้เช่าที่ดินแก่นักธุรกิจ ตั้งแต่ร้านอาหารเล็กๆ ไปจนถึงคอนโดมิเนียมหรูห้างสรรพสินค้า โรงแรมและอาคารสำนักงาน

สำนักงานลุงสมชายให้เช่าที่ดิน 35 ไร่ใจกลางกรุงเทพฯ บริเวณวังสระปทุม แก่ เตชะไพบูลย์ เจ้าของธนาคารศรีนคร และมหานครที่วางแผนสร้างอาณาจักรครบวงจร มูลค่านับแสนล้านบาทที่จะยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเซีย คือเวิร์ลด์เทรดเซ็นเตอร์ ต่อมาเตชะไพบูลย์ล้มเหลวและต้องคืนที่ให้วังที่มีคู่สัญญาใหม่คือกลุ่มเซ็นทรัลเวิลด์ของจิราธิวัฒน์

สำนักงานลุงสมชาย ได้สร้างธุรกิจจำนวนมหาศาลผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ และเครือซีเมนต์ไทย ที่มีธุรกิจหลากหลายประเภท ให้เงินปันผลแก่ลุงสมชายกว่าพันล้านบาท ในปี 2533 โดยไม่ต้องเสียภาษี
เฉพาะบริษัทของลุงสมชาย ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ มีมูลค่ามากกว่า 27,000 ล้านบาท และยังได้เปรียบบริษัทเอกชนทั่วไปเพราะรัฐบาลเกรงใจ และมักขึ้นต่อลุง ลุงจึงได้รับสิทธิ์พิเศษและไม่มีใครกล้ามีเรื่องด้วย 

ปลายเดือนพฤศจิกายน 2531 เกิดพายุถล่มภาคใต้ ที่พิปูนและฉวาง นครศรีธรรมราช คร่าชีวิตผู้คนนับร้อย มูลนิธิราชประชาของลุงสมชาย ได้โอกาสเข้าช่วยเหลือและได้ชื่อเสียงไปมาก
ต้นเดือนพฤศจิ กายน 2532 ภาคใต้โดนไต้ฝุ่นเกย์ที่ชุมพร มีผู้เสียชีวิตและสูญหายกว่า 900 คน ลุงสมชายสั่งให้ชาติชายเข้าพบเพื่อตำหนิ และให้คนทั่วไปเห็นว่าลุงสมชายเฝ้าดูทุกข์สุขของประชาชนตลอดเวลา แต่นักการเมืองไม่ได้สนใจความเดือดร้อนของประชาชนแม้แต่น้อย
เครือข่ายของวังที่มีงบสนับสนุนได้ทุ่มกำลังบรรเทาทุกข์และได้ชื่อได้หน้าไปเกือบทั้งหมด ทั้งๆที่รัฐบาลได้ทุ่มเทให้ความช่วยเหลือมากกว่า 

เมื่อรัฐบาลชาติชายยังคงมีความแตกแยกกัน ชวลิตผบ. สูงสุดและผบ.ทบ. กับสุจินดา รองผบ.ทบ.พยายามใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจของวังโดยทั้งคู่ต่างหวังที่จะก้าวเข้าสู่อำนาจแบบเปรมิกา

เดือนสิงหาคม 2532 ที่ปรึกษาของชาติชาย คือสุขุมพันธ์ตอบโต้พวกทหาร โดยบอกให้กลับไปกวาดบ้านตัวเองให้สะอาด ก่อนโจมตีกล่าวหาคนอื่น ทำให้ชวลิตและสุจินดาสั่งระดมนายทหาร 1,000 นายตบเท้าชุมนุมข่มขู่ในโรงแรมกลางกรุงเทพ
ชาติชายรีบให้สุขุมพันธ์ลาออก และแต่งตั้งชวลิตคุมกลาโหม ชวลิตเห็นเป็นโอกาสจะก้าวขื้นสู่ตำแหน่งนายก จึงลาออกจากราชการทหารและเข้าคุมกลาโหม

ผบ.สูงสุดคนใหม่คือสุนทร คงสมพงษ์ นายทหารขี้ฉ้อจอมเสเพล ผู้ไม่มีหลักการ สุจินดาผู้มักใหญ่ใฝ่สูงได้เป็นผบ.ทบ.ที่กุมอำนาจแท้จริงของกองทัพ เบื้องหลังสุจินดาคือ จปร. 5 ที่เกาะกลุ่มกันเหนียวแน่น มักใหญ่ใฝ่สูง และฉ้อฉลมากที่สุดของโรงเรียนนายร้อยจปร. ขื้นผงาดแบบยกแผง โดยมักอยู่ข้างเปรมิกา และแวดล้อมป้าสมจิต พวกจปร.5 เกาะกลุ่มกัน ทั้งการลงทุน เล่นหุ้น ทุจริตคอรัปชั่นและอื่นๆ แต่ละคนจึงร่ำรวยมาก
สุจินดาข่มขู่คุกคามรัฐบาลชาติชาย มากกว่าชวลิตเสียอีก และโอบอุ้มเพื่อนจปร. 5 ขื้นมาคุมอำนาจของกองทัพโดยผูกยาวต่อไปอีก 5 ปี

เดือนมิถุนายน 2533 เฉลิม อยู่บำรุง ถามในสภาว่าชวลิตจะเอาคนโกงมาตัดหัว แต่ภรรยากลับเป็นตู้เพชรตู้ทองเคลื่อนที่ น่าจะส่องกระจกดูตนเอง ก่อนที่จะเที่ยวไปชี้หน้าว่าคนอื่นทุจริตคอรัปชั่น สุจินดารีบกลับจากสิงคโปร์ และพาชวลิตและชาติชายเข้าพบเปรมิกา เพื่อบีบชาติชายให้ลาออก และมอบอำนาจแก่ทหาร แต่ชาติชายปฏิเสธ และเดินทางไปเข้าพบลุงสมชาย ชวลิตลาออกจากรัฐบาลด้วยความแค้นเคือง ที่ภรรยาถูกกล่าวหาว่าเป็นตู้เพชรตู้ทองเคลื่อนที่

ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
แม้ว่าลุงสมชายพร้อมที่จะเอาชาติชายออกไป เพื่อเอารัฐบาลทหารเข้ามาแทน แต่ก็ระแวงแนวคิดทางการเมืองของชวลิต เพราะชวลิตเคยออกความเห็นเกี่ยวกับระบบการเมืองไทยหลายครั้งในเชิงสนับสนุน การปฏิวัติโดยประชาชน และดูจะนิยมชอบระบอบเปรซิเดียมของโซเวียต แถมยังมีที่ปรึกษาเป็นอดีตระดับกรรมการของพคท.คือ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร




ชาติชายต้องแต่งตั้งคนของวังในเดือนสิงหาคม 2533 เพื่อเอาใจลุงสมชาย คือวีระพงษ์ รามางกูร อมเรศ ศิลาอ่อน กับวสิษฐ เดชกุญชร

ลุงสมชายปฏิเสธชวลิตอย่างไม่ใยดี ชวลิตจึงต้องเลือกเส้นทางเดินทัพทางไกลด้วยการตั้งพรรคความหวังใหม่ เพื่อเตรียมเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งต่อไป สวนสุจินดายังคงเดินหน้าข่มขู่คุกคามรัฐบาลชาติชายต่อไป

เมื่อชาติชายเดินทางไปต่างประเทศในเดือนพฤศจิกายน สุจินดาประกาศควบคุมพื้นที่ในกรุงเทพ และสั่งห้ามการชุมนุม กองทัพได้เรียกร้องให้ชาติชายปลดรัฐมนตรีที่วิจารณ์กองทัพ คือ เฉลิม อยู่บำรุง พอชาติชายกลับจากต่างประเทศ ก็ตรงเข้าพบลุงสมชายที่วังต่างจังหวัด โดยมีสุจินดาตามเข้าไปด้วย

ลุงสมชายยังไม่ให้ทำรัฐประหาร แต่ในโอกาสวันฉลองวันเกิด 5 ธันวาคม 2533 ได้ตำหนิว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสมัยใหม่แบบตะวันตกนั้นไม่ดีเท่าแบบดั้งเดิมของไทย งานการกุศลกับโครงการหลวงของลุงสมชายนั้นดีที่สุด เพราะไม่ต้องเสียเวลากับวิธีการขั้นตอนต่างๆ ผู้ฟังเข้าใจได้ทันทีว่าลุงสมชายไม่เอารัฐบาลชาติชายแล้ว แต่ละฝ่ายจึงเริ่มเตรียมการถล่มรัฐบาล

ชวลิตดึงเอาประสงค์ สุ่นสิริ สมุนของเปรมิกาที่ทำงานด้านความมั่นคงมาเป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ส่วนสิทธิ เศวตศิลาก็ถอนพรรคกิจสังคมออกจากการร่วมรัฐบาลพร้อมพรรคประชาธิปัตย์ ชาติชายต้องดิ้นรนรวบรวมพรรคอื่นๆ รวมทั้งพรรคเล็กของพลเอกอาทิตย์ แล้วตั้งให้เป็นรองนายก พร้อมทั้งดึงมนูญ รูปขจร อดีตนักรัฐประหารให้ทำงานกลาโหม พวกจปร.5 พากันเดือดดาล ลุงสมชายและเปรมิกาก็ตกใจเช่นกัน สุจินดาถือว่าชาติชายท้าทายมากไปแล้ว แต่สุจินดายังต้องหาเรื่องเพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจ

ในเดือนมกราคม 2534 บุญชู วังกานนท์ นักฆ่าจากจปร.5 ก็หาเรื่องฟื้นคดีเก่าเมื่อปี 2527 กล่าวหายังเติร์กกับ พคท.วางแผนลอบสังหารป้าสมจิต เปรมิกาและพลเอกอาทิตย์ นายกชาติชายสั่งย้ายบุญูชู แต่สุจินดากับพวกกล่าวหาชาติชายว่าปกป้องคนลอบสังหารป้าสมจิต
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ขณะที่นายกชาติชายกำลังจะขึ้นเครื่องบินไปพบลุงสมชายที่เชียงใหม่ คอมมานโดทหารอากาศเข้าจับกุมตัวชาติชาย วันถัดมาสุจินดาเข้าพบลุงสมชาย หลังจากนั้นก็ออกมาประกาศว่าลุงสมชายรับรองการยึดอำนาจแล้ว โดยได้กำชับแต่เพียงว่าอย่าทำให้ประชาชนผิดหวัง

ลุงสมชายกับเปรมิกาทำตัวเป็นผู้ให้คะแนนระหว่างทหารกับนายกชาติชาย ลุงสมชายได้เปิดทางให้มีการรัฐประหารมาหลายเดือนแล้ว โดยแสดงความเห็นชัดเจนว่าการรัฐประหารเป็นทางเลือกที่ยอมรับได้ในการเมืองไทย ประชาชนทั่วไปได้เห็นนายกชาติชายวิ่งรอกเข้าพบลุงสมชายทุกครั้งที่ถูกสุจินดาข่มขู่ จนรู้สึกชินชา หลายคนโทษนายกชาติชายว่าเป็นต้นเหตุให้ทหารต้องยึดอำนาจ ลุงสมชายก็ชอบแสดงความเห็นดูหมิ่นเหยียดหยามรัฐบาลชาติชายมาตลอด ไม่ยอมใช้อำนาจยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยไม่เคยสนใจที่หลักการประชาธิปไตย



คณะรัฐประหารตั้งชื่อตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
สุนทร คงสมพงษ์ ผบ. สูงสุด เป็นประธานรสช.
โดยอำนาจอยู่ในมือของ จปร. 5 คือ สุจินดา คราประยูร  เกษตร โรจนนิล และอิสระพงศ์ หนุนภักดี ยุบสภา ฉีกรัฐธรรมนูญ


ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยสมาชิก
292 คนเต็มไปด้วยทหาร ข้าราชการ นักธุรกิจและนักวิชาการที่เป็นพวกรสช. ประธานสภานิติบัญญัติ คือ อุกฤษ นักกฎหมายที่รับใช้เผด็จการตั้งแต่ยุคถนอม อุกฤษได้รับมอบหมายจากรสช.ให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่


พวกรสช. ท่องคาถาชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และสร้างเรื่องให้บุญชู วังกานนท์ แพร่วีดิโอทางโทรทัศน์คำสารภาพของบุลศักดิ์ โพธิเจริญ จปร.7 ..สิงห์บุรี พรรคพลังธรรม เรื่องแผนลอบสังหารป้าสมจิต ซึ่งภายหลังถูกเปิดโปงว่าเป็นการบังคับขู่เข็ญและเป็นเรื่องเท็จ เพียงเพื่อหลอกลวงประชาชน รสช.กล่าวหาชาติชายว่านำประเทศไปสู่เผด็จการรัฐสภา โดยไม่ได้บอกว่ามันคืออะไร ทำไมมันถึงเลว จนกลายเป็นคำที่พวกนิยมเจ้าและเปรมิกามักนำมาใช้โจมตีนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง  

ชาติชายกับพวกอีก 24 คนถูกสอบสวนข้อหาทุจริตและร่ำรวยผิดปกติ โดยมีสิทธิ จิรโรจน์ เป็นประธานตรวจสอบ พวกพ้องของชวลิตถูกกวาดออกไป มีการยุบสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ข่มขู่สื่อ คุกคามนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม นักศึกษา นักวิชาการและนักเคลื่อนไหว


ผู้นำแรงงานรัฐวิสาหกิจทนง โพธิ์อ่าน หายตัวไปอย่างลึกลับ คาดว่าคงถูกอุ้มเข้าค่ายทหารเขตดอนเมืองเพื่อให้ยุติการเคลื่อนไหว หยุดเดินทางไปประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ เพราะ รสช.มีคำสั่งยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ แต่ทนงยืนกรานที่จะเคลื่อนไหวต่อไป ทำให้ฝ่ายทหารต้องกำจัดเสีย เพราะหากปล่อยไปก็คงจะโวยวายอีก 

สุจินดาได้เป็นที่โปรดปรานของวัง เพราะมีบุคลิกหน้าตาดี แต่ไม่ใกล้ชิดวังขนาดเปรมิกา สุจินดาจึงต้องเสนอคนที่ลุงสมชายไว้วางใจ คืออานันท์ ปันยารชุนเป็นนายก อานันท์เป็นอดีตนักการทูต เป็นนักธุรกิจที่มีวินัย ทำงานจริงจัง ประวัติดี ถือเป็นหน้ากากอย่างดีให้รสช. จนบางคนเชื่อว่านี่คือรัฐบาลในฝัน คือ มีนักวิชาการที่เสียสละและมีลุงสมชายคอยดูแล แต่มีวาระไม่นาน เนื่องจากมีร่างรัฐธรรมนูญใหม่และกำหนดให้มีการเลือกตั้งไม่เกินเมษายน 2535 ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจรสช.ที่แทรกแซงโครงการต่างๆเพื่อหาผลประโยชน์ บรรหารเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยแทนชาติชาย และรับใช้ รสช.
ผ่านไปได้หกเดือน คนไทยส่วนใหญ่ก็ได้รู้ได้เห็นว่า รสช. เป็นแค่แก๊งทหารขี้โกงแบบเดิมๆ อีกกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ลุงสมชายที่เคยโจมตีรัฐบาลชาติชาย กลับเงียบกริบไม่วิจารณ์พวกคณะยึดอำนาจรสช. แม้แต่น้อย
ขณะที่ รสช.สนับสนุนวังอย่างเต็มที่ โดยจัดงานเอิกเกริกและเข้าร่วมงานเลี้ยงในวัง โรงเรียนนายร้อย จปร. ให้นักเรียนนายร้อย 117 คนบวชให้สิรินเทพในโอกาสมีอายุครบสามรอบ วันที่ 2 เมษายน 2535 กองทัพอากาศมอบเครื่องบินไอพ่นเอฟ 16 เอ แก่เสี่ยอู ทั้งๆยังไม่ถึงขั้นที่จะบินด้วยตัวเอง ต้นปี 2535 รสช.มอบยศให้เสี่ยอูเป็นพลเอกของทั้งกองทัพบก เรือและอากาศ และเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก 

กุมภาพันธ์ 2535 สุจินดาบริจาคที่ดินของกองทัพเกือบสิบไร่ให้วังนนทบุรีของเสี่ยอู
กันยายน
2534 สุนทร เกษียณราชการ สุจินดาควบตำแหน่งผบ.สูงสุด ทำให้แก๊งจปร.5 ผงาดคุมกองทัพอย่างเบ็ดเสร็จ เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ.ตั้งพรรคสามัคคีธรรม และจับมือกับพรรคชาติไทยที่ยกให้นายพลจอมทุจริตสมบุญ ระหงษ์เป็นหัวหน้าพรรค เกษตรเปิดเผยว่าจะให้ทหารเป็นนายก หมายถึงสุจินดาหรือตัวเขาเอง แต่สุจินดาเผลอลั่นปากว่าจะไม่รับตำแหน่งนายก

รสช. ต้องการรัฐธรรมนูญแบบปี 2521 ที่ให้อำนาจกองทัพ ทั้งเพิ่มอำนาจและขนาดของวุฒิสภา พรรคสามัคคีธรรมของเกษตรจับมือกับสว.ที่มาจากรสช.เพื่อเลือกนายกที่ไม่ต้องมาจากเลือกตั้ง มีประธานสว.เป็นประธานรัฐสภาเสนอชื่อนายก ข้าราชการประจำเป็นรัฐมนตรีได้ ร่างรัฐธรรมนูญผ่านวาระแรกไปด้วยเสียงเอกฉันท์ในสภาที่มีแต่คนของทหาร 
 
19 พฤศจิกายน 2534 มีคนมาประท้วงที่สนามหลวงราว 50,000 คน ร่างรัฐธรรมนูญที่อัปลักษณ์ถูกต่อต้านอย่างหนัก สื่อโจมตีรสช.อย่างไม่กลัวเกรงและนักศึกษาก็เริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้อง
ลุงสมชายให้อานันท์และสุจินดาเข้าพบเป็นประจำ ในการเข้าถวายสัตย์ ประทานยศ 5 พฤศจิกายน 2534 ลุงให้โอวาททหารตำรวจให้เพิกเฉยต่อคำวิจารณ์ที่ให้ลดขนาดกองทัพเพราะสงครามในอินโดจีนสิ้นสุดลงแล้ว แต่กองทัพได้สู้ศึกสงคราม สร้างความเจริญและความผาสุกแก่ประชาชนได้ดีและจะต้องดำเนินต่อไป


เมื่อการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวาระสามในวันที่ 7 ธันวาคม 2535 ใกล้เข้ามา กระแสคัดค้านเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์เริ่มตึงเครียด ลุงสมชายต้องออกมาช่วยรสช.อีก โดยมีโอวาทประจำปี 4 ธันวาคม 2534 โจมตีหลักการประชาธิปไตยว่าเป็นเพียงแค่อุดมคติของพวกหัวสูงที่อาจทำให้สังคมอ่อนแอ ไม่ควรยึดรัฐธรรมนูญเพราะไม่มีคุณค่าพอที่จะต้องต่อสู้ ฝ่ายตรงข้ามรสช.ต่างหากที่ทำให้เกิดปัญหา และย้ำว่าประเทศไทยได้รับเอาความคิดที่ไม่เหมาะสมจากต่างประเทศ เราต้องรู้รักสามัคคีและการประนีประนอมปรองดอง เพราะไม่มีอะไรสมบูรณ์พร้อม เพื่อความสามัคคีและความอยู่รอดของประเทศชาติ เพราะประเทศที่ยึดมั่นในหลักการอย่างเหนียวแน่นได้ล่มสลายลงไปแล้ว
โครงการหลวงของลุงสมชายคือตัวอย่างที่ดี เรามีพอเพียงที่จะอยู่รอด เมื่อมีความสามัคคีถ้อยทีถ้อยอาศัย เราก็จะอยู่รอดตลอดไป รัฐธรรมนูญของสหรัฐในเมืองนิวยอร์คที่มีระบบรัฐสวัสดิการ มีการจ่ายให้คนที่ไม่ต้องทำงาน คนจึงไม่มีแรงกระตุ้นที่จะทำงาน จึงไม่เกิดประโยชน์แก่สังคมและแก่ประชาชน  ตรงกันข้ามกับโครงการหลวงที่คล่องตัวมีประสิทธิภาพสามารถช่วยเหลือประชาชนได้มากกว่ารัฐบาล ประชาชนจะมีรายได้ตอนสิ้นปีมากพอ ไม่ต้องพึ่งรัฐสวัสดิการ เป็นหลักเศรษฐกิจพอเพียงของลุงสมชาย คนที่บริจาคให้โครงการหลวง เมื่อได้เห็นความสำเร็จก็จะยิ่งบริจาคมากขึ้นไปอีก เป็นวงจรต่อเนื่องของการร่วมราชกุศล ประชาชนจะเลือกใครเป็นตัวแทนก็ได้ ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงก็ทำได้เพียงแค่หามติร่วมกัน แต่อย่าสู้กันถึงขั้นเลือดตกยางออก 

ลุงสมชายเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดดีอยู่แล้ว ปัญหาต่างๆสามารถแก้ไขได้ในภายหลัง ประเทศอื่นๆก็มักจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎเกณฑ์อยู่เสมอและไม่ได้ยึดติดอย่างเอาเป็นเอาตาย แม้แต่สหรัฐก็ยังเคยมีการรัฐประหาร คือ มีประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ที่จริงคือรองประธานาธิบดีฟอร์ด ขึ้นเป็นประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐ เนื่องจากนิกสันลาออกก่อนหมดวาระเพราะมีคดีวอเตอร์เกตที่ไปแอบดักฟังและขโมยเอกสารลับของพรรคคู่แข่ง   

แต่ลุงสมชายก็นำมาบิดเบือนว่าสหรัฐมีการรัฐประหาร ลุงสมชายได้สรุปว่าทุกอย่างแก้ไขได้ แต่ต้องไม่ต่อสู้กันถึงหัวร้างข้างแตก เลือดตกยางออก รัฐธรรมนูญแก้ไขไม่ยาก รัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องสำคัญ เป็นสิ่งอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ หากไม่สามัคคีวันนี้ ก็จะไม่มีวันพรุ่งนี้
ทุกคนจึงเข้าใจดีว่าลุงสมชายสนับสนุนรัฐธรรมนูญของรสช
. ในวันถัดมาหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่พาดหัวทำนองเดียวกันว่าลุงสมชายเรียกร้องให้ประนีประนอมรับรัฐธรรมนูญ

ฝ่ายค้านก็ยอมแพ้ และสามวันต่อมารัฐธรรมนูญฉบับรสช. ก็ผ่านการลงมติด้วยเสียง 262-7 แม้แต่นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในสภา ก็ยังต้องยอมยกมือให้ผ่าน เพราะเกรงเดชานุภาพของลุงสมชาย รสช.ก็ได้สนองความต้องการของลุงสมชาย เช่น เพิ่มจำนวนองคมนตรีเป็น 19 จาก 16 คน พรรคใหญ่ๆเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้ง 22 มีนาคม 2535 โดยทุ่มทุนซื้อ สส.และซื้อเสียง

พรรคสามัคคีธรรมกับพรรคชาติไทยของรสช.พยายามเอาชนะการเลือกตั้ง 22 มีนาคม 2535 ด้วยการกว้านเอานักการเมืองที่มีอิทธิพลและฉ้อโกงที่สุดในประเทศเข้ามาไว้ด้วยกัน พรรคสามัคคีธรรม ได้ณรงค์ วงศ์วรรณ เจ้าพ่อภาคเหนือที่มีสส.จำนวนมากในสังกัดมาเป็นหัวหน้าพรรคได้สส.มากเป็นอันดับหนึ่ง 79 ที่นั่ง อีกฝั่งหนึ่งเป็นพันธมิตรต่อต้าน รสช.คือพรรคความหวังใหม่ของชวลิต พรรคประชาธิปัตย์โดยนายชวน และพรรคพลังธรรมของจำลอง ผู้ว่ากทม. หาเสียงด้วยการเรียกร้องประชาธิปไตยและลดอำนาจทหาร โดยเน้นว่านายกฯต้องมาจากสส. ทำให้จุดสนใจพุ่งไปที่สุจินดาที่ไม่ได้ลงเลือกตั้ง และได้ยืนยันว่าจะไม่เป็นนายก

รสช.แต่งตั้งสว.เต็มไปด้วยทหารตำรวจและพลเรือนที่เป็นพวกของรสช.จากทั้งหมด 270 คน พรรคของรสช.ชนะการเลือกตั้งอย่างหวุดหวิด คืนนั้นสุนทรกับเกษตรเรียกหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ชาติไทย กิจสังคม และประชากรไทประชุมที่กองทัพอากาศเพื่อตั้งรัฐบาลโดยเสนอชื่อณรงค์ วงษ์วรรณหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมเป็นนายก แต่สามวันต่อมา สถานทูตสหรัฐเปิดเผยว่าณรงค์เคยถูกปฏิเสธวีซ่า เนื่องจากถูกสงสัยว่าพัวพันกับแก๊งค้าเฮโรอีน พอวันที่ 3 เมษายน 2535 รสช.เสนอชื่อสุจินดาแทน เท่ากับเป็นการทำรัฐประหารซ้ำ พรรคฝ่ายค้าน 4 พรรคโจมตีรัฐบาล นักศึกษาใช้ผ้าดำห่อคลุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

วันที่ 7 เมษายน 2535 สุนทรกับอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาเสนอชื่อสุจินดา ลุงสมชายแต่งตั้งสุจินดาเป็นนายก โดยไม่สนใจเสียงคัดค้านของประชาชน

วันถัดมา ฉลาด วรฉัตร ประกาศอดอาหารประท้วงที่หน้ารัฐสภาจนกว่าสุจินดาจะลาออก มีผู้ออกมาประท้วงเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน
16 เมษายน 2535 เมื่อสภาเปิด โทรทัศน์แพร่ภาพฝ่ายค้านสวมชุดดำประท้วง วันถัดมามีการประกาศรายชื่อครม.ชุดใหม่ โดยสุจินดาควบกลาโหม ตั้งแก๊งจปร.5 ในตำแหน่งสำคัญๆ เลือกนักวิชาการสมัยเปรมิกาและอานันท์มาดูแลด้านเศรษฐกิจ มีรัฐมนตรี 11 คนที่เป็นส..ในรัฐบาลชาติชายที่รสช.เคยกล่าวหาว่าทุจริต

มีผู้อดข้าวประท้วง ร่วมกับเรืออากาศตรีฉลาด เพิ่มขึ้นกว่า 40 คน
วันที่
20 เมษายน 2535 พรรคฝ่ายค้านจัดชุมนุมประท้วงสุจินดาหน้ารัฐสภาโดยมีผู้มาร่วมถึง 50,000 คน 
ชวนกับชวลิตเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้นายกมาจากการเลือกตั้ง เพิ่มอำนาจสภาผู้แทน และลดขนาดวุฒิสภาลง แม้รัฐบาลสั่งห้ามสื่อวิทยุโทรทัศน์รายงานการชุมนุม แต่หนังสือพิมพ์ก็รายงานเต็มที่ ในที่สุดฉลาดก็ล้มทรุดในวันที่ 30 เมษายน 2535 และถูกหามส่งโรงพยาบาล ผู้ร่วมประท้วงด้วยการอดอาหารก็เริ่มจะหมดแรง
มีการชุมนุมประท้วงสุจินดาครั้งใหญ่ ที่สนามหลวง ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2535 หนึ่งวันก่อนวันฉัตรมงคล คืนนั้นผู้ชุมนุมราว 60,000 คน ฝ่ายค้านและนักเคลื่อนไหวประณามกองทัพกับสุจินดา เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จำลองหัวหน้าพรรคพลังธรรมอ่านจดหมายฉบับสุดท้ายจากจำลอง ประกาศจะประท้วงอดอาหารโดยเอาชีวิตของตนเป็นเดิมพัน ทำให้รัฐบาลกับวังตกใจมาก 




รัฐบาลสุจินดาห้ามสื่อรายงานข่าว ปีย์ มาลากุล ที่ปรึกษาด้านสื่อของลุงสมชายให้วิทยุจส
.100 โจมตีจำลองกับผู้ชุมนุม ใครที่โทรเข้ารายการแล้ววิจารณ์รัฐบาลสุจินดาจะถูกตัดสาย

6 พฤษภาคม 2535 เมื่อสุจินดาเริ่มแถลงนโยบายโดยแพร่ภาพสดทางโทรทัศน์ ฝ่ายค้านก็ประท้วงเดินออกจากห้องประชุม คืนนั้น ผู้ประท้วง 80,000 คน ชุมนุมอย่างสงบบริเวณใกล้รัฐสภา ขณะที่ภรรยาของพลตรีจำลองและคนอื่นๆเข้าร่วมการอดอาหาร มีการถวายฎีกาต่อลุงสมชาย โดยกลุ่มนักวิชาการ ที่นำโดยประเวศ วะสี พวกเขาบอกลุงสมชายว่าทหารได้ทรยศประชาชนด้วยการสืบทอดอำนาจและบ่อนทำลายประชาธิปไตย ถ้าจำลองเสียชีวิต จะเกิดการนองเลือด แต่ลุงสมชายก็นิ่งเฉย ขณะที่อิสระพงษ์ ผบ.ทบ.คนใหม่พี่เมียของสุจินดาได้ประชุมกับฝ่ายความมั่นคงกำหนดแผนไพรีพินาศ สั่งทหารติดอาวุธกว่าพันนายให้เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพเตรียมพร้อมปฏิบัติการ

วันถัดมาฝ่ายค้านอภิปรายการแถลงนโยบายรัฐบาล สุจินดาชี้แจงขณะโทรทัศน์ถ่ายทอดสด กล่าวโจมตีจำลองว่าทำลายพุทธศาสนา ส่วนชวลิตก็เป็นคอมมิวนิสต์นิยมระบอบประธานาธิบดี และประกาศว่าตนมีหน้าที่ปกป้องชาติ ศาสนา และกษัตริย์จากภัยคุกคาม คนทั้งกรุงเทพตกตะลึงกับการแถลงที่เข้มข้นเผ็ดร้อนของสุจินดา ตลาดหุ้นตกวูบสภาต้องยุติการประชุมอย่างโกลาหล สุจินดาประกาศพร้อมสู้เพราะมีกำลังอาวุธพร้อมแผนปฏิบัติการ

การกล่าวหาในสภาของสุจินดา ทำให้คนออกมาร่วมชุมนุมราว 70,000 คน ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2535 โดยไม่สนใจคำประกาศของเกษตร ที่สั่งห้ามการชุมนุมโดยเด็ดขาด วันถัดมา นักวิชาการกว่า 200 คนยื่นฎีกาต่อลุงสมชายเรียกร้องให้ยุบสภาหรือให้สุจินดาลาออก แต่ลุงสมชายไม่อยากเป็นธุระ จำลองกับชวลิตได้ต่อสายตรงติดต่อเปรมิกาซึ่งเป็นคนสนิทของลุงสมชาย ขณะที่สุจินดายังคงท่องบทองครักษ์พิทักษ์เจ้า วิทยุและโทรทัศน์ที่อยู่ในการควบคุมของกองทัพปลุกระดมว่าจำลองกับชวลิตเป็นคอมมิวนิสต์ นิยมสาธารณรัฐและประธานาธิบดี ต่อต้านศาสนาพุทธ ไม่ใช่คนไทย

ลุงสมชายปฏิเสธไม่ให้ฝ่ายประท้วงเข้าพบ แต่ให้สุจินดากับผบ.เหล่าทัพเข้าพบ สุจินดาแถลงทางโทรทัศน์ว่าตนจะไม่ลาออก แต่จะไม่สั่งสลายการชุมนุม และประกาศเตรียมสนามหลวงสำหรับพิธีทางศาสนาที่สิรินเทพจะไปในวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม และ14 พฤษภาคม 2535 จะมีพิธีพืชมงคล เป็นผลจากการเข้าพบลุงสมชาย โดยทางวังร่วมมือกับรสช.หาเรื่องขัดขวางการชุมนุม 


หัวค่ำของวันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม 2535 มีผู้ชุมนมที่สนามหลวงกว่า 100,000 คน จำลองบอกผู้ชุมนุมให้เดินไปรัฐสภา แต่ไปเจอแผงรั้วลวดหนามที่สะพานผ่านฟ้า ด้านหลังเป็นแถวทหารติดอาวุธพร้อมรบ เช้าวันถัดมาจำลองประกาศเลิกอดอาหาร ขณะที่รัฐบาลขู่จะกวาดล้างเพื่อเปิดถนนในเช้าวันจันทร์
ถึงตอนนี้ลุงสมชายสั่งให้พรรคการเมืองยอมประนีประนอมกัน โดยตกลงในประเด็นที่จะมีการแก้ไขให้นายกมาจาก สส. ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ให้สภาผู้แทน มีอำนาจมากขึ้น แต่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้ให้สัญญาชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อใด ผู้ประท้วงราว 25,000 คนจึงยังคงชุมนุมอยู่บนถนน

ปีย์ มาลากุล
วันอาทิตย์ 10 พฤษภาคม 2535 ตอนบ่าย รัฐบาลบอกว่าผู้ชุมนุมขัดขวางเส้นทางของสิรินเทพ และละเมิดเจ้า สถานีวิทยุ จส. 100 ของนายปีย์รายงานว่าผู้ประท้วงที่นำโดยจำลองกำลังขัดขวางเส้นทางรถขบวน ทั้งๆที่จำลองได้สั่งผู้ชุมนุมเก็บกวาดถนนราชดำเนินจนโล่งสะอาด แต่รถขบวนกลับเปลี่ยนเส้นทางอ้อมไปทางอื่น เพื่อให้เป็นไปตามข้อกล่าวหาของสุจินดา ผู้ชุมนุมเพิ่มจำนวนขึ้น 

กลางดึกคืนวันอาทิตย์พรรคร่วมรัฐบาลจึงยอมรับปากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก่อนที่ทหารจะเคลื่อนกำลังเข้าปราบ  ผู้ชุมนุมก็สลายตัวก่อน


พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล


พอคืนวันจันทร์ ที่
11 พฤษภาคม 2535 บรรหารกับเกษตร กลับคำและประกาศว่าไม่เคยมีการตกลงใดๆ เท่ากับปฏิเสธคำขอของลุงสมชาย สุจินดาขู่จะใช้กำลังเด็ดขาดหากผู้ชุมนุมก่อความรุนแรง แต่เป็นช่วงวิสาขบูชาและผู้นำได้ประกาศลดการชุมนุม 


พฤหัสบดี ที่ 14 พฤษภาคม 2535 เป็นวันพืชมงคล ขบวนประชา ธิปไตยพากันสงบปากสงบคำเมื่อลุงสมชาย เสี่ยอู และสิรินเทพ ไปเป็นประธานพิธีพืชมงคลที่สนามหลวงและไปวัดพระแก้วในวันเสาร์เพื่อทำพิธีวิสาขบูชา ผู้ประท้วงต้องถอยออกไปด้วยความยำเกรงในเดชานุภาพ

แต่เมื่อรัฐบาลสุจินดากลับคำไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ผู้ประท้วงก็กลับมาอีกในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2535 นำโดยองค์กรใหม่คือ สมาพันธ์ประชาธิปไตย ที่มีทั้งผู้นำเอ็นจีโอ ผู้นำแรงงาน ผู้นำนักศึกษา และหัวหน้าพรรคการเมืองคือจำลองและชวลิต เดินหน้าเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญและให้สุจินดาลาออก สุจินดาให้บุญชู วังกานนท์ มาจัดการกับผู้ประท้วง และวางกำลังทหาร 40,000 นายรอบกรุงเทพและตั้งจุดตรวจรอบวังจิตรลดา อย่างแน่นหนา

สองทุ่มของวันที่ 17 พฤษภาคม ฝูงชนที่สนามหลวงเพิ่มเป็น 150,000 คน สมาพันธ์ประชาธิปไตย ให้เคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาล เข้ารื้อลวดหนามและยึดรถดับเพลิงที่ฉีดน้ำใส่ฝูงชน ตำรวจจงใจแตกฮือหลบหนีเพื่อให้ทหารเข้าปฏิบัติการตามแผน รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉิน


ทหารพร้อมอาวุธ และรถหุ้มเกราะเตรียมปฏิบัติการ มีคนเผารถหลายคันรวมทั้งสถานีตำรวจ ตีสี่ของวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ทหารเคลื่อนกำลัง สาดกระสุนเข้าใส่ฝูงชนที่แตกตื่นหลบหนี มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตหลายคน พอตอนเช้ามีการฉีดน้ำล้างคราบเลือดบนถนน
โทรทัศน์รายงานว่าผู้ประท้วงพยายามบุกเข้าวังจิตรดา กองทัพอ้างว่าผู้ชุมนุมเป็นฝ่ายยิงก่อน ทั้งๆที่ไม่มีการยิงจากฝ่ายผู้ชุมนุม ไม่มีการพบปืนหรือมีด ไม่มีใครไปใกล้วังสวนจิตร และไม่มีใครตั้งใจจะไป
อีกทั้งยังไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องสลายฝูงชน เพราะวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2535 เป็นวันหยุดวิสาขบูชา ไม่มีใครมาทำงานในถนนราชดำเนิน ฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดี คล้ายกับว่าลุงสมชายยังไม่รับรู้รับทราบเหตุการณ์ สุจินดาประกาศทางโทรทัศน์ว่า ผู้ประท้วงของจำลองมีปืนและคุกคามวัง
ตอนบ่ายของวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2535 หลังจากจำลองและผู้ชุมนุมหลายพันคนกลับมานั่งประท้วงบนถนนราชดำเนินอีกครั้ง ทหารเคลื่อนกำลังเข้าจับพวกเขา หลายคนถูกยิง


เย็นวันนั้น ฝูงชนกลับมารวมตัวกันที่สนามหลวง พอมืด ทหารวางกำลังโอบล้อมบริเวณที่ชุมนุม ทหารเริ่มยิงเมื่อผู้ชุมนุมจุดไฟเผารถเมล์หลายคันและเริ่มดันรถพุ่งไปยังเครื่องกีดขวาง นักแม่นปืนที่อยู่บนหลังคาคอยส่องยิงผู้ประท้วง ทหารบนถนนก็ยิงเข้าใส่ฝูงชนอยู่หลายรอบ ผู้ประท้วงหลายสิบคนโดนกระสุน และตายไปหลายคน

หลังเที่ยงคืน ทหารเข้ากวาดล้างที่ชุมนุมทั้งหมด และออกหมายจับผู้นำสมาพันธ์ประชาธิปไตย ผู้คนเริ่มถามว่าลุงสมชายไปอยู่ไหน ทำไมจึงไม่มายุติสถานการณ์ ลุงสมชายสนับสนุนสุจินดา หรือว่าลุงถูกขัดขวางโดยทหารและรถหุ้มเกราะที่ล้อมวัง มีข่าวลือว่าลุงสมชายถูกทหารคุมตัว หรือไม่ก็หนีไปนครราชสีมาพร้อมกับเปรมิกาเหมือนในปี 2524 เพื่อรวบรวมกำลังทหารมาสู้กับสุจินดา ผู้คนยังเชื่อมั่นว่าลุงสมชายไม่มีทางเข้าข้างสุจินดา

ตลอดวันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2535 ไม่แน่ชัดว่าลุงสมชายอยู่ฝ่ายใด เสี่ยอูไปสนามบินเพื่อเยือนเกาหลีใต้ด้วยการคุ้มกันหนาแน่นหนาโดยเกษตร สิรินเทพไปปารีสพร้อมกับกัญญาวัฒนี เกิดเสียงเรียกร้องให้ลุงสมชายออกมาช่วยแก้ไขสถานการณ์
สังฆราชญาณสังวรนำมหาเถรสมาคมออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดฆ่ากัน แม้ว่าไม่มีใครในฝ่ายสุจินดาถูกฆ่าแม้แต่คนเดียวก็ตาม


สิรินเทพวิงวอนขอความสงบความสามัคคีจากปารีส บอกว่าได้พยายามโทรหาลุงสมชายแต่ติดต่อไม่ได้ สุจินดาออกโทรทัศน์ปฏิเสธว่าทั้งเขาและครอบครัวลุงสมชายไม่ได้หนีจากกรุงเทพฯ และประณามชวลิตและจำลองว่าทำลายพุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์
วันถัดมา 20 พฤษภาคม 2535 กำลังทหารของสุจินดาได้คุมกรุงเทพชั้นในและมีการยิงต่อสู้กันประปราย สุจินดาแถลงทางโทรทัศน์ว่าควบคุมสถานการณ์ได้ พร้อมหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลณรงค์ บรรหาร สมัคร สมัครยืนยันว่ายิงประชาชนได้เพราะเป็นพวกคอมมิวนิสต์ ค่ำวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 ผู้ประท้วงหลายหมื่นคนรวมตัวกันที่รามคำแหง ทหารเริ่มเคลื่อนย้ายกำลังไปทางรามคำแหง

พอสี่ทุ่มเศษ โทรทัศน์แพร่ภาพมัว เสียงอู้อี้ ลุงสมชายนั่งบนเก้าอี้ เปรมิกากับสัญญาคุกเข่าอยู่สองข้าง จำลองกับสุจินดานั่งพับเพียบค้อมตัวอยู่บนพื้น ต่อหน้าลุงสมชาย ที่มีโอวาทว่า

คงเป็นที่แปลกใจ ทำไมถึงเชิญให้ท่านมาพบกันอย่างนี้ เพราะว่าทุกคนก็ทราบว่า เหตุการณ์มีความยุ่งเหยิงอย่างไร และทำให้ประเทศชาติล่มจมได้ แต่ที่จะแปลกใจก็อาจมีว่า ทำไมเชิญพลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง เพราะว่า อาจมีผู้ที่แสดงเป็นตัวละครมากกว่านี้ แต่ว่าที่เชิญมาเพราะว่า ตั้งแต่แรกที่มีเหตุการณ์ สองท่านเป็นผู้ที่เผชิญหน้ากัน แล้วก็ในที่สุด เป็นการต่อสู้ หรือการเผชิญหน้ากว้างขวางขึ้น ถึงได้เชิญสองท่านมา การเผชิญหน้าตอนแรก ก็จะเห็นจุดประสงค์ของทั้งสองฝ่ายได้ชัดเจนพอสมควร แต่ต่อมาภายหลังสิบกว่าวัน ก็เห็นแล้วว่า การเผชิญหน้านั้น เปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างมาก จนกระทั่งออกมาอย่างไรก็ตาม เสียทั้งนั้นเพราะว่า ทำให้มีความเสียหาย ในทางชีวิต เลือดเนื้อของคนจำนวนมากพอสมควร แล้วก็ความเสียหายทางวัตถุ ซึ่งเป็นของส่วนราชการ และส่วนบุคคลเป็นมูลค่ามากมาย นอกจากนี้ก็มีความเสียหายในทางจิตใจ และในทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ อย่างที่จะนับพรรณนาไม่ได้ 


ฉะนั้นการที่จะเป็นไปอย่างนี้ต่อไป จะเป็นเหตุผลหรือต้นตออย่างไรก็ช่าง เพราะเดี๋ยวนี้เหตุผลเปลี่ยนไป ถ้าหากว่าเผชิญหน้ากันแบบนี้ต่อไป เมืองไทยมีแต่ล่มจมลงไป แล้วก็จะทำให้ประเทศไทย ที่เราสร้างเสริมขึ้นมาอย่างดี เป็นเวลานาน จะกลายเป็นประเทศที่ไม่มีความหมาย หรือมีความหมายในทางลบเป็นอย่างมาก ซึ่งก็เริ่มปรากฏผลแล้ว ฉะนั้นจะต้องแก้ไข โดยดูว่ามีข้อขัดแย้งอย่างไร แล้วก็พยายามที่จะแก้ไขตามลำดับ เพราะว่าปัญหา ที่มีอยู่ทุกวันนี้ สองสามวันนี้มันเปลี่ยนไป ปัญหาไม่ใช่เรื่องของเรียกว่าการเมือง หรือเรียกว่าของการดำรงตำแหน่ง เป็นปัญหาของการสึกหรอของประเทศชาติ ฉะนั้นจะต้องช่วยกันแก้ไข 


มีผู้ที่ส่งข้อแนะนำ ในการแก้ไขสถานการณ์มาหลายฉบับ หลายคนจำนวนเป็นร้อย แล้วก็ทั้งในเมืองไทย ทั้งต่างประเทศที่ส่งมา ที่เขาส่งมาการแก้ไข หรือข้อแนะนำว่า เราควรจะทำอะไรก็มี ก็มีต่างๆ นานา ตั้งแต่ตอนแรกบอกว่าแก้ไขวิธียุบสภา ซึ่งก็ได้หารือกับทางทุกฝ่ายที่เป็นสภา หมายความว่า พรรคการเมืองทั้งหมด11พรรคนี้ คำตอบมีว่าไม่ควรยุบสภา มีหนึ่งรายที่บอกว่าควรยุบสภา ฉะนั้นการที่จะแก้ไข แบบที่เขาเสนอมานั้น ก็เป็นอันว่าตกไป นอกจากนั้นก็มีเป็นฎีกา และแนะนำวิธีต่างๆ กัน ซึ่งได้พยายามเสนอไปตามปกติ คือเวลามีฎีกาขึ้นมา ก็ส่งไปให้ทาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขตามแบบนั้น ตกลงมีแบบยุบสภา และมีอีกแบบหนึ่ง ก็เป็นแบบแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้ตามประสงค์ที่ต้องการ หมายความว่าประสงค์เดิม ที่เกิดเผชิญหน้ากัน




ความจริงวิธีนี้ถ้าจำได้ เมื่อวันที่  4 ธันวาคม 2534 ก็ได้พูดต่อสมาคม ที่มาพบจำนวนหลายพันคน แล้วก็ดูเหมือนว่าพอฟังกัน ฟังกันโดยดี เพราะเหตุผลที่มีอยู่ในนั้น ดูจะแก้ปัญหาได้พอควร ตอนนี้ก็พอย้ำว่าทำไมพูดอย่างนั้น ว่าถ้าจะแก้ก่อนออกก็ได้ หรือออกก่อนแก้ก็ได้ อันนั้นทุกคนก็ทราบดีว่าเรื่องอะไร ก็เป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ ซึ่งครั้งนั้น การแก้รัฐธรรมนูญก็ได้ทำมาตลอด มากกว่าฉบับเดิมที่ตั้งเอาไว้ได้แก้ไข แล้วก็ก่อนที่ไปพูดที่ศาลาดุสิดาลัย ก็ได้พบพลเอกสุจินดา ก็ขออนุญาตเล่าให้ฟังว่า ได้บอกพลเอกสุจินดาแล้ว พลเอกสุจินดาก็เห็นด้วยว่า ควรจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ และแก้ไขต่อไปได้ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ และตอนหลังนี้ พลเอกสุจินดาก็ได้ยืนยันว่า แก้ไขได้ก็ค่อยๆ แก้เข้าระเบียบให้เป็นที่เรียกว่า ประชาธิปไตย อันนี้ก็ได้พูดมาตั้งหลายเดือนแล้ว ในวิธีการที่จะแก้ไข แล้วข้อสำคัญ ที่ทำไมอยากให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แม้จะถือว่ารัฐธรรมนูญนั้นยังไม่ครบถ้วน ก็เพราะเหตุว่ารัฐธรรมนูญนั้น มีคุณภาพพอใช้ได้ ดีกว่าธรรมนูญการปกครองชั่วคราว ที่ใช้มาเกือบปี เพราะเหตุว่ามีบางข้อบางมาตรา ซึ่งเป็นอันตรายแล้ว ก็ไม่ครบถ้วนในการที่จะปกครองประเทศ ฉะนั้นก็นึกว่า ถ้าหากว่าสามารถที่จะปฏิบัติตามที่ได้พูดในวันที่ 4 ธันวาคมนั้นก็นึกว่า เป็นการกลับไปดูปัญหาเดิม ไม่ใช่ปัญหาของวันนี้ 
ปัญหาของวันนี้ ไม่ใช่ปัญหาของการบัญญัติ หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทุกวันนี้คือความปลอดภัย ขวัญดีของประชาชน ซึ่งเดี๋ยวนี้ประชาชนทั่วไปทุกแห่งทุกหน มีความหวาดระแวงว่าจะเกิดอันตราย มีความหวาดระแวงว่า ประเทศชาติจะล่มจม โดยที่จะแก้ไขลำบาก ตามข่าวที่ได้ทราบมาจากต่างประเทศ เพราะเหตุว่าในขณะนี้ ทั้งลูกชายทั้งลูกสาวก็อยู่ต่างประเทศ ทั้งสองก็ทราบดี แล้วก็ได้พยายามที่จะแจ้งให้กับ คนที่อยู่ในประเทศเหล่านั้นว่า ประเทศไทยนี้ยังแก้ไขสถานการณ์ได้ 


แต่รู้สึกว่าจะเป็นความคิด ที่เป็นความคิดแบบหวังสูงไปหน่อย ถ้าหากว่าเราไม่ทำให้สถานการณ์อย่าง สามวันที่ผ่านมานี้สิ้นสุดไปได้ ฉะนั้นก็ขอให้โดยเฉพาะสองท่าน คือพลเอกสุจินดา และพลตรีจำลองช่วยกันคิด คือหันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน

เพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน เข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า บ้าเลือด เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชน เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ถ้าสมมติว่า เฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง

ฉะนั้นจึงขอให้ทั้งสองท่านเข้ามา คือไม่เผชิญหน้ากัน แต่หันเข้าหากัน และสองท่าน เท่ากับเป็นผู้แทนฝ่ายต่างๆ คือไม่ใช่สองฝ่าย ฝ่ายต่างๆ ที่เผชิญหน้ากัน ให้ช่วยกันแก้ปัญหาปัจจุบันนี้ คือความรุนแรงที่เกิดขึ้น แล้วก็เมื่อเยียวยาปัญหานี้ได้แล้ว จะมาพูดกัน ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร สำหรับให้ประเทศไทย ได้มีการสร้างพัฒนาขึ้นมาได้ กลับคืนมาได้ด้วยดี อันนี้ก็เป็นเหตุผลที่เรียกท่านทั้งสองมา และก็เชื่อว่าทั้งสองท่าน ก็เข้าใจว่า จะเป็นผู้ที่ได้สร้างประเทศจากซากปรักหักพัง แล้วก็จะได้ผลในส่วนตัวมากว่าได้ทำดี แก้ไขอย่างไรก็แล้วแต่ที่จะปรึกษากัน
ก็มีข้อสังเกตดังนี้ ท่านประธานองคมนตรี ท่านองคมนตรีเปรม ก็เป็นผู้ใหญ่ ผู้พร้อมที่จะให้คำปรึกษาหารือกัน ด้วยความเป็นกลาง ด้วยความรักชาติ เพื่อสร้างสรรค์ประเทศ ให้เข้าสู่ความปลอดภัยในเร็ววัน ขอฝากให้ช่วยกันสร้างชาติ 


เนื่องจากเสียงทางโทรทัศน์แย่มาก สำหรับประชาชนผู้ชมแล้ว ภาพใหญ่ที่ได้เห็นคือลุงสมชายสั่งให้จำลองและสุจินดามานั่งอยู่แทบเท้า โดยมีเปรมิกาและสัญญาขนาบข้าง แสดงเดชานุภาพที่ไม่มีใครสามารถบังอาจโต้แย้งได้ มีคนไม่มากนักที่สังเกตและจับประเด็นคำพูด ที่ลุงสมชายตำหนิจำลองกับขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยว่าเป็นต้นเหตุของความวุ่นวาย เพราะพวกเขาไม่รับฟังโอวาท 4 ธันวาคม ที่ให้ค่อยๆแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งลุงสมชายเองก็ไม่เคยเห็นความจำเป็นของการแก้ไขอยู่แล้ว แต่สุจินดาก็รับสนองและยืนยันว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วทำไมถึงยังออกมาต่อสู้บนท้องถนนกันอยู่อีก ทั้งๆที่ลุงสมชายรู้ดีว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปไม่ได้เลยเนื่องจากกองทัพครอบงำวุฒิสภา แต่ลุงสมชายบิดเบือนให้เป็นเรื่องของความอาฆาตพยาบาทส่วนตัวของจำลอง

วันถัดมา ทั่วทั้งโลกพากันตะลึง และชื่นชมการแสดงอัจฉริยภาพของลุงสมชาย ความรุนแรงและการประท้วงหยุดลง สุจินดาถูกสั่งให้ลาออก พรรคการเมืองต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำลองหายหน้าหายตาไป แต่สุจินดา เกษตรและอิสระพงษ์ยืนยันว่าการกระทำของพวกตนถูกต้องตามกฎหมายและจำเป็นเพื่อป้องกันตัว ลุงสมชายประกาศนิรโทษกรรมแก่พวกรสช.

วันจันทร์ที่
25 พฤษภาคม 2535 สภาเปิดประชุมโดยมีมือกฎหมายของรสช.มีชัย ฤชุพันธ์ ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่หนึ่งและที่สองไปอย่างรวดเร็ว สองสามวันต่อมา พรรคการเมืองร่วมรัฐบาล 5 พรรค เสนอชื่อสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทยเป็นนายกรัฐมนตรี แต่พอประธานสภาอาทิตย์ อุไรรัตน์ เสนอชื่อเข้าไป ลุงสมชายกลับเงียบเฉยถึงสองครั้ง วันที่ 10 มิถุนายน 2535 การแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระสาม

อาทิตย์ก็เข้าวังเพื่อเสนอชื่อสมบุญอีกครั้ง แต่ลุงสมชายกลับแต่งตั้งอานันท์ เป็นนายกอีกครั้ง แม้ว่าอานันท์จะไม่ได้เป็นสส.แต่ก็เป็นนายกได้เพราะลุงสมชายยังมิได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขใหม่ ในช่วงหลายเดือนต่อมา อานันท์ได้คลี่คลายความตึงเครียดและประคองเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ เขายุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนกันยายน ซึ่งดำเนินไปค่อนข้างราบลื่น โดยพรรคการเมืองถูกแบ่งเป็นพรรคมารกับพรรคเทพ พรรคเทพหรือพรรคฝ่ายค้านเดิมเป็นฝ่ายชนะและได้จัดตั้งรัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ และชวนเป็นนายก เท่ากับเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของการเมืองไทย

นายกอานันท์ได้ย้ายนายพลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬไปไว้ในตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจ บรรดานักเขียนและปัญญาชนพากันสดุดีลุงสมชายให้เป็นมหาราชายอดอัจฉริยะเหนือการเมืองและความขัดแย้ง ที่สามารถไกล่เกลี่ยแก้สถานการณ์วิกฤตได้ไม่มีที่ติ ด้วยการเปลี่ยนเรื่องทั้งหมด ให้เป็นเพียงความขัดแย้งส่วนตัว ระหว่างคนมักใหญ่ใฝ่สูงสองคนแล้วก็สั่งให้ยุติการต่อสู้เรียกร้อง โดยหลีกเลี่ยงการประณามกองทัพที่เป็นเสมือนกองกำลังส่วนตัวของลุง รวมถึงเรื่องรัฐธรรมนูญด้วย

ลุงสมชายมองว่าสถาบันทางการเมืองเป็นคู่แข่งบารมีกับตน แทนที่จะมองว่าเป็นตัวช่วยให้ตนรอดจากความขัดแย้ง ลุงสมชายเข้าแทรกแซงการเมืองและสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลและรัฐสภา มีอคติต่อนักการเมือง และมีความคิดล้าหลัง โดยยังยึดมั่นอยู่กับบรรดานายทหารของตน ซึ่งเป็นพวกนายพลที่ทุจริตละโมบมักใหญ่ใฝ่สูงอย่างอาทิตย์ กำลังเอก ชวลิต ยงใจยุทธ และ สุจินดา คราประยูร ซึ่งล้วนผงาดขึ้นมาภายใต้บารมีของเปรมิกาผู้เป็นขุนพลคู่บารมี ลุงสมชายและป้าสมจิตยังโปรดปรานพวกนายทหารทุจริตเหล่านี้มากกว่าพวกนักการเมืองมือสะอาดเสียด้วยซ้ำ เมื่อลุงสมชายแสดงความนิยมชมชอบทหารในเดือนธันวาคม 2533 ทำให้สุจินดามีข้ออ้างที่จะทำการยึดอำนาจ 

บรรดาองครักษ์พิทักษ์เจ้ามักจะช่วยแก้ตัวว่าลุงสมชายไม่มีทางเลือก ต้องยอมรับการยึดอำนาจของรสช. ขณะเดียวกันก็ยังยืนยันว่า มันเป็นการรัฐประหารที่ประชาชนสนับสนุนซึ่งเป็นผลจากการกล่าวหาโจมตีของลุงสมชายเอง ขณะที่ลุงสมชายเพิกเฉย ปฏิเสธการใช้อำนาจยุบสภาและกำหนดการเลือกตั้งใหม่ เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมือง อีกทั้งยังทำเงียบเฉยต่อการเตรียมแผนไพรีพินาศ และการสั่งเปลี่ยนเส้นทางขบวนรถของสิรินเทพเพื่อให้ร้ายฝ่ายประชาธิปไตย

ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อพวกรับใช้เจ้า อย่างปีย์ มาลากุล เพื่อกล่าวหาโจมตีกลุ่มของจำลอง ลุงสมชายมอบหมายให้เปรมิกาและองคมนตรีคนอื่นๆ ให้ติดตามสถานการณ์ โดยพูดคุยกับ รสช. รวมทั้งกลุ่มอื่นๆและคอยรายงาน ลุงสมชายจึงรับรู้สถานการณ์เป็นอย่างดี


แต่ลุงสมชายรักกองทัพมากกว่าประชาชน โดยได้กล่าวโทษจำลองเป็นส่วนใหญ่ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 จำลองถูกตำหนิที่ไม่ฟังคำชี้แนะเรื่องรัฐธรรมนูญที่ลุงสมชายได้เคยพูดไว้ในเดือนธันวาคม แต่สุจินดากลับได้รับคำชมจากลุงสมชาย ที่ยอมตกลงว่าการแก้รัฐธรรมนูญทำได้ ทั้งๆที่พวกทหารได้ปิดทางแก้ไขแล้วและสุจินดายังได้ตระบัดสัตย์เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ


ลุงสมชายปกป้องไม่ยอมรับว่ากองทัพไทยมีปัญหาใหญ่ แต่กลับเล่นงานผู้ที่วิจารณ์กองทัพ  ในเดือนธันวาคม 2535 ลุงสมชายโทษจำลอง ชวลิตและผู้ประท้วงว่าเหมือนเด็กที่กำลังมีปัญหา แต่กลับไปยั่วยุช้างหรือไปแหย่ทหารจนโกรธ กลายเป็นเรื่องใหญ่โต ผลการเลือกตั้งเดือนกันยายน 2535 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามรสช.ได้รับชัยชนะจัดตั้งรัฐบาล นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ของชวน และพรรคความหวังใหม่ของชวลิต ลุงสมชายเริ่มตำหนิรัฐบาลชวน ว่าทำงานผิดพลาดและเห็นแก่ตัว หลังการแก่งแย่งตำแหน่งกันกลางปี 2536 โดยมีชวลิตเป็นหัวหน้าทีม 


โดยลุงสมชายได้สั่งแกนนำรัฐบาล ให้หยุดกัดกันเอง พูดอย่างนี้ก็คงพอเข้าใจว่าหมายถึงอะไร ไม่ใช่หมายถึงเรื่องอะไร…. ท่านถึงหัวเราะ หัวร่อหมายถึงท่านเองก็รู้ ว่าการเถียงกันอย่างข้างๆ คูๆ นี้ไม่ดี เดี๋ยวนี้ข้างคู ทำคูแล้ว ก็ต้องระบายน้ำออก เพราะถ้าขุดคูกลางถนนมันก็ไปไม่ได้ ไม่ถูก อันนี้ก็คงพอเข้าใจ ไม่ต้องพูดให้ยืดยาวเกินไป แต่ว่า ความสามัคคีหรือความปรองดองนั้น ก็ให้เหตุว่า อันไหนควรจะพูด อันไหนไม่ควรจะพูด พูดไปแล้วให้ยอมรับว่า
ว่าพูดอย่างนั้น ไม่ถูกก็บอกว่าไม่ถูก ไม่ต้องมาหัวชนฝาว่าถูกๆๆ ลงท้าย ตัวเองก็รู้ว่าไม่ถูก

การชนะเลือกตั้งของชวนในปี 2535 ทำให้ชวนต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่วุฒิสภายังเต็มไปด้วยคนของรสช. เมื่อรัฐบาลชวนยืนยันแก้ไขรัฐธรรมนูญ พวกปีกขวาก็ออกมาข่มขู่แบบปี 2519 โดยกล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นเดชานุภาพ เพราะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองที่จุฬาได้ทรงวางหลักเอาไว้ เป็นการแสดงว่าสส.สามารถเป็นตัวแทนของประชาชนได้ดีกว่าลุงสมชาย ทั้งๆที่สส.ที่มาจากการเลือกตั้งนั้นสกปรกและทุจริตคอรัปชั่น ขณะที่การรัฐประหารยึดอำนาจเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม 

ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มอภิรักษ์จักรีประกาศว่า ประเทศไทยต้องไม่ทิ้งระบอบประชาธิปไตยที่มีลุงสมชายเป็นประมุข ต้องไม่เป็นเหมือนสหรัฐฯ ฝรั่งเศส หรือประเทศคอมมิวนิสต์ วงศ์จักราวีไม่ใช่ไดโนเสาร์

เดือนธันวาคมรัฐบาลชวนยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญชนิดที่อ่อนลงมา ชวลิตถอนพรรคจากการร่วมรัฐบาล โดยหวังว่ารัฐบาลคงจะล้ม และตนเองจะได้เป็นนายกคนต่อไปพร้อมด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ แต่เปรมิกาเกลี้ยกล่อมชาติชายหัวหน้าพรรรคชาติพัฒนาเข้าร่วมรัฐบาลชวน และให้สว.สายทหารหันมาลงคะแนนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลชวนที่เป็นเพียงประเด็นปลีกย่อย แสดงให้เห็นว่าวังไม่ไว้ใจชวลิตมากกว่าชวนเสียอีก

ลุงสมชายเชื่อว่า จีน พม่าและเวียตนามคิดยึดครองไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะเวียตนาม ได้แผ่อิทธิพลครอบงำลาวและกัมพูชา จึงเป็นภัยคุกคามต่อปร้เทศไทย ลุงสมชายได้พูดเรื่องนี้เป็นประจำ ต่อนักการทูตและนักวิชาการต่างประเทศ รวมทั้งผู้นำทหารของไทย
กองทัพไทยเป็นผู้กำหนดนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีความร่วมมืออย่างดีกับรัฐบาลทหารของพม่า และสนับสนุนกองกำลังของเขมรแดงที่เคยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลฮุนเซนที่ได้รับการหนุนหลังจากเวียตนาม ความสัมพันธ์ที่ไม่จริงใจต่อประเทศเพื่อนบ้านเช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยเลย มีแต่พวกทหารระดับสูงของไทยไม่กี่คนที่ได้กอบโกยเงินหลายพันล้านบาทจากการตัดไม้ ขุดแร่อัญมณีและธุรกิจอื่นๆ ร่วมกับรัฐบาลทหารของพม่าและกองกำลังเขมรแดง

เดือนกุมภาพันธ์ 2536 ผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ 8 คน มาเยือนประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดของพม่า ลุงสมชายได้บอกพวกเขาว่า อองซานซูจี ควรจะเลิกต่อสู้และกลับไปเลี้ยงลูกที่อังกฤษเสีย แล้วปล่อยให้รัฐบาลทหารพม่าปกครองประเทศไป รัฐบาลทหารเหมาะกับประเทศกำลังพัฒนา ทั้งยืนยันว่าไม่ควรสนับสนุนฝ่ายค้านของพม่า ซูจีเป็นแค่ตัวสร้างปัญหา และยังได้ชักชวนนักการทูตอเมริกันและนักวิชาการต่างชาติให้ยอมรับรัฐบาลทหารพม่าว่าเป็นผู้สร้างเสถียรภาพแก่พม่า ซูจีแต่งงานกับฝรั่ง และเรียนเมืองนอก จึงไม่ได้เป็นตัวแทนที่แท้จริงของคนพม่า เธอควรกลับไปอยู่กับครอบครัวที่อังกฤษ

แต่นโยบายของรัฐบาลชวนที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งได้ให้การสนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของอองซานซูจี และรัฐบาลชวนได้ร่วมกับนานาชาติสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของอองซานซูจี และได้สั่งกองทัพไทยตัดความสัมพันธ์กับเขมรแดง เพื่อนำนายพอลพตผู้นำเขมรแดงขึ้นศาล ตามแรงกดดันของนานาชาติ 

ขณะที่สหประชาชาติกำลังเตรียมการเลือกตั้งในกัมพูชา และเขมรแดงก็ข่มขู่จะขัดขวางการเลือกตั้ง แต่กองทัพไทยยังคงทำธุรกิจกับรัฐบาลทหารพม่า และให้เขมรแดงใช้ฐานที่มั่นในฝั่งไทยเข้าไปโจมตีก่อนถึงวันเลือกตั้งในกัมพูชา ทำให้นานาชาติพากันประณามรัฐบาลไทย รัฐบาลชวนปฏิเสธว่า มันไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล

แต่ลุงสมชายปกป้องกองทัพ โดยกล่าวกับนักการทูตไทยว่า ประเทศไทยควรให้ความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน เช่นพวกเขมรแดง และไม่ควรใส่ใจกับตำรวจโลกคือสหรัฐ พม่ากำลังถูกปฏิบัติเหมือนเป็นสิ่งปฏิกูล หากเราเฮโลตามไปกับพวกตะวันตกเขาด้วย  เราก็จะมีเพื่อนบ้าน อย่างบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา ที่เกิดสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ภายในประเทศ เขมรแดงควรมีส่วนแบ่งในอำนาจเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งแบบที่เกิดขึ้นที่บอสเนีย กองทัพไทยยังคงร่วมมือกับรัฐบาลทหารพม่าและพวกเขมรแดงของพอลพตต่อไป ด้วยการให้ท้ายของลุงสมชาย 

เดือนพฤษภาคม 2537 อับบราโมวิทช์ เอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำไทย วิจารณ์ลุงสมชายในวอชิงตันโพสต์ ว่าไทยบ่อนทำลายเพื่อนบ้านและขัดขวางประชาคมโลก ทำให้เกิดแรงกดดันต่อกองทัพ รวมถึงคนระดับสูงและลุงสมชาย มีคนกล่าวหาบราโมวิทซ์ว่าหมิ่นเจ้าและเรียกร้องให้เนรเทศออกนอกประเทศ ขณะที่บก.สูงสุดปฏิเสธว่ากองทัพไม่ได้ช่วยเหลือเขมรแดง และแก้ตัวแทนลุงสมชายว่าไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่กระทรวงต่างประเทศไทยแถลงเห็นด้วยกับอเมริกาทำให้เกิดแรงกดดันต่อกองทัพจนต้องถอนการสนับสนุนเขมรแดงตลอดปีต่อมา เป็นการตัดกำลังเขมรแดงที่สำคัญ

ลุงสมชายออกมาแสดงบทบาททางโทรทัศน์บ่อยขึ้น มีโอวาทสั่งสอนเรื่องแก้ปัญหาจราจรแก่กทม. และตำรวจ ให้จัดการเดินรถทางเดียว โทรทัศน์แพร่ภาพข้าราชการนั่งพับเพียบฟังลุงสมชายชี้บนแผนที่ตรงนั้นตรงนี้ ทั้งๆที่มีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศทำงานกันอยู่แล้ว
ภาพที่ปรากฏจึงเหมือนกับว่า มีแต่ลุงสมชายเท่านั้นที่กำลังแก้ปัญหานี้ เดือนตุลาคม 2536 ลุงสมชายมอบหมายงานให้อธิบดีกรมตำรวจเป็นรายการยาวเหยียด เช่น สร้างอุโมงค์ลอดทางแยก 23 แห่ง เพิ่มการขนส่งทางเรือ จัดหารถจักรยานยนต์ตำรวจ ปรับปรุงเฮลิคอปเตอร์ตำรวจ สั่งการให้กทม. ทำตามแผนแม่บท ที่จัดทำโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสสาจูเซท หรือเอมไอที 

ลุงสมชายแสดงความไม่พอใจ เพราะมีคนมองว่าขบวนรถของลุงและครอบครัวทำให้รถติด แต่มีการปล่อยข่าวว่าลุงสมชายแอบขับรถออกมาตอนรถติด และสำรวจการจราจรบนเฮลิคอปเตอร์ รวมทั้งสั่งลูกๆไม่ให้ใช้ขบวนรถ ให้ทนสภาพรถติดเหมือนคนอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย ลุงสมชายให้เงินเก้าสิบล้านบาทเพื่อซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ตำรวจจราจร โดยโหมโฆษณาว่า เป็นความยิ่งใหญ่ของลุงสมชาย โดยสั่งให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาจราจรให้ได้

เดือนธันวาคม 2537 ลุงสมชายออกมาพูดว่า ต้องจัดให้ต้นทางกับปลายทางอยู่ในระยะที่ใกล้ขึ้น ถ้าใกล้ขึ้นแล้ว การใช้ถนนก็จะน้อยลง เท่ากับถนนมีมากขึ้น และรถน้อยลง หมายความว่าให้บ้านและที่ทำงานอยู่ใกล้กัน ซึ่งฟังดูดีแต่ไม่ได้มีความหมาย ลุงสมชายสั่งให้ทำอุโมงค์ลอดทางแยกหลายแห่งขณะที่ลุงเองคัดค้านการขึ้นภาษีรถยนต์ และลุงไม่เคยพูดถึงเรื่องผังเมือง และระบบขนส่งมวลชนที่ดี การที่ลุงสมชายนำเสนอสู่สาธารณะ ก็คงเพียงเพื่อเอาความดีความชอบหรือเอาหน้าเท่านั้นเอง

ต้นปี 2538 ลุงสมชายเป็นห่วงอาการป่วยของสังวอน ขณะที่ลุงเองก็หวุดหวิดแทบหัวใจวายต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ ในช่วงอยู่โรงหมอสีหราชกลับปรากฏตัวทางโทรทัศน์สั่งงานเจ้าหน้าที่เข้าพบในช่วงค่ำ และหลังเที่ยงคืน ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าลุงทำงานแก้ไขปัญหาทั้งวันทั้งคืน แต่ที่จริงลุงมักจะนอนตอนเช้ามืดและตื่นราวๆเที่ยงวัน โดยทำงานเฉพาะช่วงบ่ายและกลางคืน 

13 กรกฎาคม 2538 พรรคประชาธิปัตย์ถูกมรสุมเรื่องทุจริตสปก.4-01 และการอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาลชวนถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลผสม ที่นำโดยบรรหาร มีพรรคร่วมรัฐบาลของสมัคร  ชวลิตและรักสิน
ลุงสมชายออกหน้าจอโทรทัศน์ มีน้ำเสียงหงุดหงิดต่อว่าเจ้าหน้าที่ กระทั่งสังวอนสิ้นชีวิตเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 จึงได้ไปงานศพเป็นเวลาหลายเดือนเกือบทุกวัน แต่ในเวลาที่พระสวด จะเห็นลุงศึกษารายงานการจราจรและร่วมประชุมอย่างคร่ำเครียดกับเจ้าหน้าที่ โดยสั่งให้บรรหารเข้าพบ 90 นาที เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาการจราจร
 
ลุงหันไปวิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรงเรื่องการแก้ปัญหาการจราจรและปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯเพื่อเอาใจคนเมือง โทรทัศน์พยายามแพร่ภาพข้าราชการนั่งพับเพียบคอยรับฟังคำสั่งของลุงอย่างต่อเนื่อง ลุงชี้ไปบนแผนที่และออกคำสั่งเกี่ยวกับปัญหาการจราจร ลุงแนะนำการแก้ปัญหาจราจรตรงนั้นตรงนี้ โดยไม่มีใครรู้ว่าความคิดของลุงมีความเป็นมาอย่างไร ที่จริงมีทีมงานข้าราชการที่ทำงานเรื่องพวกนี้อยู่แล้วโดยได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ ภาพที่ปรากฏออกมาจึงเหมือนกับว่ามีแต่ลุงสมชายเท่านั้นที่กำลังแก้ปัญหานี้ และมีการโหมการโฆษณาชวนเชื่อด้วยการขยายข่าวที่แสดงภาพให้เห็นว่าลุงสมชายกำลังแก้ไขปัญหาแต่ผู้เดียว

ปลายปี 2538 แม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นสูงมาก บวกน้ำทะเลหนุนและฝนทำให้การระบายน้ำช้าผิดปกติ ปัญหาที่สะสมเป็นสิบปีจากการก่อสร้างที่ไร้การวางผังและกีดขวางทางระบายน้ำยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น ชานเมืองถูกน้ำท่วมมากกว่าเขตชั้นในเนื่องจากรัฐบาลปิดประตูน้ำเพื่อรักษากรุงเทพฯชั้นในอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการและราชวัง ทำให้ผู้คนไม่เชื่อถือรัฐบาลบรรหารรวมไปถึงระบบรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ทำงานแก้ปัญหาไม่ได้ผล ซึ่งเป็นไปตามที่ลุงสมชายได้พูดไว้ หลังจากน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์บรรเทาลง ปราโมทย์ ไม้กลัด ลูกน้องลุงสมชายประกาศว่าจะต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นและเขื่อนแควน้อย เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในอนาคต

ลุงสมชายได้กวดขันให้เร่งมือโครงการเขื่อนป่าสักและเขื่อนปากพนังแม้ว่าต้นทุนของเขื่อนปากพนังบานปลายไปถึง 16,000 ล้านบาท รัฐบาลต้องจำยอมโดยไม่มีคำถามใดๆ 

ขณะที่รองนายกสมัคร กับรักสิน ขัดแย้งกันเรื่องการแก้ปัญหาจราจร ลุงสมชายได้ช่องตำหนิรองนายกทั้งสองคนว่าแก้ไขปัญหาจราจรไม่ได้เลย ระหว่างสองฝ่าย มีแต่พูดพูดพูด และก็เถียงเถียงเถียง เป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ บรรหารประกาศรับใส่เกล้าประสานรองนายกทั้งสอง โดยสี่วันต่อมาพวกเขาเข้าพบลุงสมชายเป็นเวลาหลายชั่วโมง ไล่ดูแผนที่กรุงเทพ ลงรายละเอียดแต่ละพื้นที่ รักสินกล่าวยอมรับอย่างสิ้นสภาพว่าไม่เคยคิดในสิ่งที่ลุงสมชายแนะนำมาก่อนเลย

ลุงสมชายแสดงความเกรี้ยวกราด เหยียดหยามนักการเมืองว่าเป็นพวกไร้ความสามารถและไม่ใส่ใจประชาชน ลุงยังได้อ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญในฐานะที่ลุงก็เป็นพลเมืองที่มีสิทธิ์จะตำหนิผู้นำ โดยลงสมชายพูดว่า.. 
ที่พูดอย่างนี้ก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะเกือบจะเป็นการพูดเรื่องการเมือง และพวกเขาก็อาจไม่พอใจได้ว่า ทำไมกษัตริย์พูดเรื่องการเมือง ในความเป็นจริง กษัตริย์ก็มีสิทธิ ในความเป็นจริง กษัตริย์ก็เป็นพลเมืองไทยที่มีสิทธิและเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญ... ตามรัฐธรรมนูญ ทุกๆ คนมีสิทธิและเสรีภาพที่จะพูด ก็เลยขอใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่จะพูดอย่างนี้ ถ้าพวกเขาอยากจะหาความผิดทางกฎหมาย ก็เชิญ อยากได้ยินข้อหา ..

เมื่อลุงสมชายต้องเข้าโรงหมออีกครั้งเพื่อรักษาแผลที่กำเริบจากการผ่าตัด ผู้คนพากันพูดว่าบรรหารเป็นคนทำให้อาการโรคหัวใจของลุงกำเริบ

ต้นเดือนกันยายน 2538 กรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วมหนัก ลุงสมชายที่ยังอ่อนระโหยจากการผ่าตัดได้เรียกให้เจ้าหน้าที่ กทม. และกรมชลประทานเข้าพบเป็นเวลาสามชั่วโมงซึ่งได้รับการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ ลุงสมชายชี้ไปที่แผนที่ที่กองเป็นตั้ง อยากรู้ว่าทำไมคนที่อยู่ชานกรุงเทพ จึงไม่ได้รับการป้องกันจากภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นโวหารที่ลุงสมชายชอบสรรหาถ้อยคำมาเชือดเฉือนบ่อนทำลายรัฐบาลและนักการเมืองมาโดยตลอด

ขณะที่ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจได้ทำให้มีพวกมหาเศรษฐีใหม่ที่มาจากสามัญชน ลุงสมชายจึงต้องสร้างพันธมิตรกับพวกเศรษฐีใหม่ โดยการส่งตัวแทนเข้าไปร่วมบริหารกิจการกับพวกมหาเศรษฐีใหม่ เช่น คือ เจริญเจ้าพ่อเบียร์ช้าง และ ธนินท์ เจ้าสัวซีพี โดยได้เชิญตัวแทนของลุงสมชายเข้าไปเป็นผู้บริหาร เช่น เปรมิกา สิทธิ เศวตศิลา และเครือญาติของสิริเกียรติ 

เจริญถือหุ้นใหญ่ของธนาคารมหานคร และยกให้ลุงสมชาย
15 %ในปี 2539
เปรมิกาตัวแทนลุงสมชายไปเป็นประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ ซีพี และธุรกิจใหญ่อีกหลายแห่งโดยมีองคมนตรีอื่นๆนั่งเป็นกรรมการตามบริษัทต่างๆ ซึ่งมีรายได้ดี เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของลุงสมชาย 

สำนักงานของลุงสมชายได้ระดมเอาบรรดามหาเศรษฐีใหม่เข้าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ ด้วยเงินทุนมากมายและที่ดินอีกมหาศาลที่มีอยู่ รวมทั้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ของลุงสมชายเข้ามาร่วมด้วย เช่น เพรสิเด้นท์โกลเด้นแลนด์กรุ๊ป ของศรีวิกรม์ สยามสินธรของธนาคารไทยพาณิชย์ ธุรกิจด้านการศึกษาร่วมกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ 

มีการโหมโฆษณาลุงสมชายทางสื่อมวลชนตลอดเวลา ให้เข้ากับบรรยากาศของสื่อยุคใหม่ โดยใช้ทีมงานที่มีประสบการณ์ที่นำโดยปีย์ เจ้าของแปซิฟิคคอมมิวนิเคชั่น ที่ผลิตนิตยสารดิฉันรวมทั้งสถานีวิทยุข่าวสารจราจร จส.100 และ ผลิตรายการทางโทรทัศน์โดยเฉพาะช่อง 5 ของทัพบก ซึ่งมีแป้ง มาลากุล น้องชายของปีย์เป็นผอ.สถานี โดยทีมงานและเงินสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและการบินไทย ที่มีธงทอง รวมทั้งพวกคลั่งเจ้ารุ่นใหม่ เป็นโฆษกบรรยายงานพิธีต่างๆ

ทีมงานของวังได้ปรับโฉมงานสดุดีลุงสมชาย ให้โดดเด่นทันสมัย มีสีสันแบบฮอลลีวูด พร้อมดนตรีที่หรูหรา นำออกอากาศเป็นชุดทางโทรทัศน์ ภาพยนต์คีตะราชัน เข้าฉายในโรงภาพยนต์และเกณฑ์ให้เด็กนักเรียนมาดูกันเป็นคันรถบัส ให้พวกศิลปินเรียบเรียงเสียงประสานระดมกันปรับแต่งเพลงของลุงสมชายให้เป็นงานออเคสตรายิ่งใหญ่อลังการ มีการจัดการแสดงละครหลากหลายรูปแบบเทิดเกียรติครอบครัวลุงสมชาย ธงทองแต่งละครเรื่องแผ่นดินนี้มีกำลัง แสดงโดยกองทัพเรือ เทิดทูนเจ้ายุคต้นรัตนโกสินทร์

การผลิตสื่อเพื่อโฆษณาครอบครัวลุงสมชายต้องใช้เงินมหาศาล นอกจากใช้งบประมาณของรัฐบาลแล้ว บริษัทใหญ่ๆของพวกเศรษฐีใหม่ที่เพิ่งเข้าไปใกล้ชิดรั้ววัง ก็เต็มใจที่จะจ่ายให้ คีตะราชันที่รวบรวมศิลปินชั้นนำทั่วประเทศได้ทำเป็นอัลบั้มสองชุดมีการจัดคอนเสิร์ตหารายได้ให้ลุงสมชายโดยได้เงินสนับสนุนจากเจริญเจ้าของเบียร์ช้าง

บริษัทสหศินิม่าของสำนักงานลุงสมชายผู้ผลิตภาพยนต์และเป็นเจ้าของโรงภาพยนต์ ได้ซื้อสำนักพิมพ์สยามเพรสและร่วมธุรกิจกับสื่อใหญ่อื่นๆ ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ที่เคยเป็นของคึกฤทธิ์ ในปี 2537 และเปิดหนังสือพิมพ์สื่อธุรกิจ กับหนังสือบิวสิเนสเดย์ 



ตรีทศยุทธ
ลูกชายเทพฤทธิ์ เจ้าของควายเหล็กและฝนเทียม ซื้อหนังสือพิมพ์สยามโพสต์ โดยปีย์ มารับช่วงต่อ


ลุงสมชายลงทุนประมูล ไอทีวี ปี 2538 สมัยรัฐบาลชวน นำโดยไทยพาณิชย์ สำนักงานของลุง แปซิฟิคคอมมิวนิเคชั่นของปีย์ และเครือเนชัน โดยวังเข้าคุมทั้งระบบ รวมทั้งการตั้งกรรมการ อสมท.ชุดใหม่โดยรัฐบาลบรรหารในเดือนพฤษภาคม 2539 ประธานคือมงคล อัมพรพิสิษฐ์ ลูกน้องเก่าเปรมิกาและ ธงทอง 

ผลงานชิ้นเอกของการโฆษณา คือการเฉลิมฉลองที่ยาวนานถึง 24 เดือน ในโอกาสครองบัลลังก์ 50 ปี ในปี 2539 เพิ่มความยิ่งใหญ่มโหฬาร ของกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมบารมีให้สูงขึ้นไปอีก ระดมทำกันตั้งแต่งานกิจกรรมจำนวนมากที่ไม่ต้องวางแผนไว้ก่อน ครั้งแรกเมื่อสังวอนเข้ารักษาอาการป่วยที่โรงหมอสีหราช ในเดือนธันวาคม 2537 สังวอนมีอาการทางหัวใจและที่ท้องไม่มากนัก แต่ในวัย 94 ปีก็ถือว่าวางใจไม่ได้ องค์กรทั้งเอกชนและรัฐบาลต่างจัดการสวดมนต์และทำบุญถวาย

6 มีนาคม 2538 ลุงสมชายมีอาการหน้ามืดขณะออกกำลังต้องเข้าโรงหมอสีหราช ด้วยอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ มีข่าวลือว่าอาจเสียชีวิต ซึ่งเกินกว่าที่วังจะรับได้เพราะไม่รู้ว่าใครจะเอาใครครองบัลลังก์ต่อไป ลุงสมชายต้องนอนโรงหมอหลายสัปดาห์ หลังจากที่หมอได้ทำการผ่าตัดให้ แต่ลุงก็ยังออกโทรทัศน์ทุกวัน บางวันก็ไปเยี่ยมย่าสังวอน และสั่งเรื่องการจราจรต่อเจ้าหน้าที่ แสดงถึงความอุตสาหะวิริยะเหนือคนทั่วไป 

ประชาชนราว 2,000 คน ได้ร่วมการอธิษฐานหมู่ที่สนามหลวงเพื่อให้ทั้งลุงสมชายและย่าสังวอนหายเจ็บป่วย สังฆราชญาณสังวรนำพระ 999 รูป สวดมนต์ให้ลุงสมชาย สามสัปดาห์หลังจากลุงสมชายออกจากโรงหมอก็มาออกโทรทัศน์พร้อมครอบครัว อธิบายเรื่องความเจ็บป่วย และเดินไปรอบๆห้องโถงใหญ่ครบเจ็ดรอบ เท่ากับหนึ่งกิโลเมตร

ลุงสมชายอธิบายว่าที่ป่วยนั้นเป็นผลจากการติดเชื้อในปี 2525 จากการสูบบุหรี่ ซึ่งได้เลิกไปแล้วตั้งแต่ปี 2530 และจากการดื่มเหล้า ซึ่งตอนนี้ลุงสมชายหันมากินเหล้าแบบพอเพียงคือไม่ได้กินเหล้าชนิดหัวราน้ำอย่างแต่ก่อน ซึ่งคนไทยไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อน ลุงอ้างว่าเป็นเพราะลุงต้องทำงานเป็นเวลาห้าถึงหกชั่วโมงในคราวเดียวโดยไม่มีการหยุดพัก จนแทบไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้มีความเครียดสูง ซึ่งหมายความว่าอาการป่วยของลุงเป็นเพราะลุงต้องทำงานหนัก เพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของพสกนิกร ถือได้ว่าเป็นความกรุณาอันล้นพ้นของลุงสมชายอีกจนได้ 

ลุงสมชายยังบอกว่าหมอประจำตัวได้รับประกันว่าลุงจะยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกอย่างน้อย 25 ปี ซึ่งนานพอที่จะทำให้โครงการต่างๆของลุงได้บรรลุเสร็จสิ้น

ส่วนย่าสังวอนกลับมีอาการทรุดลง และเสียชีวิตในวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 แต่การถึงแก่กรรมของย่าสังวอนกลับทำให้ย่าสังวอนมีความสำคัญยิ่งกว่าตอนที่ยังมีชีวิตเสียอีก
แม้จะทราบกันดีว่า ย่าสังวอนไม่ได้มีบทบาทต่อประชาชนนัก สังวอนพักอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์จนสิ้นปี 2530 และหลังจากมาอยู่เมืองไทย ก็แทบจะไม่เคยออกนอกพื้นที่ดอยตุงเลย แต่นิตยสารต่างๆก็ช่วยกันลงภาพย่าสังวอนปลูกไม้ดอกและเย็บปักถักร้อย และความคิดของสังวอนเรื่องพุทธศาสนา 

ทางวังได้มอบยศแก่สังวอนเป็นเสด็จนางเจ้า ผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้า ร่วมอยู่บนหิ้งของพวกเจ้า ลุงสมชายกำหนดให้มีการไว้ทุกข์ 100 วัน ข้าราชการถูกขอให้แต่งดำไว้ทุกข์ 15 วัน ญาณสังวรนำการทำบุญที่สนามหลวง ร่างของย่าสังวอนได้รับการชำระล้างตามแบบพราหมณ์ในวัง ลุงสมชายและป้าสมจิตพรมน้ำมนต์ลงบนร่างของสังวอน ลุงสมชายสวมชฎาบนศีรษะของย่า โลงศพประดับอัญมณีบรรจุศพตั้งอยู่ในศาลาใต้ฉัตรเจ็ดชั้น เพื่อรับการถวายความเคารพ 

วังได้จัดมหกรรมการสดุดีสรรเสริญเกียรติคุณย่าสังวอนอย่างเต็มที่ หน่วยงานราชการจัดงานรำลึกบุญคุณ สถานีตำรวจทุกแห่งถูกสั่งให้จัดพิธีทำบุญในวันครบเจ็ดวัน ห้าสิบวันและร้อยวัน ทางการตำรวจได้มอบยศพลตำรวจเอกแก่ย่าสังวอน ตำรวจตระเวนชายแดนเตรียมสร้างอนุสาวรีย์ของย่าสังวอนในค่าย ตชด.ทุกแห่ง ญาติๆรับเป็นเจ้าภาพสวดศพในแต่ละวัน โดยรัฐบาลสั่งกลุ่มอื่นๆช่วยผลัดกันเป็นเจ้าภาพในวันหลังๆ ต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาการไว้ทุกข์ออกไปอีกโดยไม่มีกำหนด ทำให้หน่วยงานราชการ บริษัทหัางร้านและกลุ่มสมาคมต่างๆ ต้องผลัดกันมาเป็นเจ้าภาพ โดยให้คนในสังกัดมานั่งร่วมพิธีเบื้องหน้าโลงศพ
ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้าชมลุงสมชายและป้าสมจิตได้อย่างใกล้ชิดและยาวนาน ขณะกำลังสวดมนต์ หรืออาจเห็นลุงสมชายกำลังคร่ำเคร่งกับการแก้ไขปัญหาจราจร งานศพย่าสังวอนได้ดำเนินไปตลอดทั้งปีที่เหลือ
ทางวังได้โหมการโฆษณาการรำลึกถึงย่าสังวอนอย่างชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นเวลาหลายเดือนทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ พิธีเผาศพย่าสังวอนมีขึ้นในวันที่ 10 มีนาคม 2539 กรมการศาสนาได้รวบรวมคนมาบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ย่าสังวอนได้ 34,604 คน เท่ากับจำนวนวันที่ย่าสังวอนมีชีวิตอยู่ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ได้ร่วมกันถ่ายทอดสดตลอดงานพิธีเผาศพ
รัฐบาลผลิตเหรียญกษาปณ์ที่มีรูปย่าสังวอน เพื่อระดมทุนตามเป้าไม่ต่ำกว่า 160 ล้านบาท ในวันเผาศพย่าสังวอน กล่องบริจาคที่วางรอบสนามหลวงเก็บเงินได้กว่าสี่ล้านบาท กระทรวงศึกษายังระดมเงินบริจาคได้เพิ่มขึ้นอีกโดยไม่มีการรายงานยอดบริจาคเพียงแต่บอกว่าจะนำไปสร้างอนุสาวรีย์ให้ย่าสังวอนทั่วประเทศ ตลอดสองสามปีถัดมา ได้มีการผลิตหนังสือ สารคดี ซีดีรอม และ เทปเทิดเกียรติออกจำหน่ายและจัดนิทรรศการ

หลังจากงานโฆษณาปลุกเสกเกียรติยศเกียรติคุณของย่าสังวอนเสร็จสิ้นลง ทางวังก็รีบขยับเข้าสู่การเฉลิมฉลองการขึ้นครองบัลลังก์ครบ 50 ปี อย่างรวดเร็วทันที แทบทุกงานพิธีและกิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง24 เดือนต่อมา ล้วนแล้วแต่เป็นการเทิดเกียรติเนื่องในวาระเฉลิมฉลองการครองบัลลังก์ 50 ปี

เสี่ยอูรับหน้าที่ดูแลโครงการสกัดหินเพื่อสร้างพระพุทธรูป ขนาดมหึมาที่หน้าผาเขาชีจัน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีโดยใช้แสงเลเซอร์
สิรินเทพไปเป็นประธานในการประชุมนานาชาติเรื่องหญู้าแฝกของลุงสมชาย โดยที่วังมักอ้างว่าลุงสมชายเป็นผู้ค้นพบว่าหญ้าแฝกเป็นประโยชน์ในการรักษาหน้าดิน 
ญาณสังวรดูแลโครงการปลูกต้นโพธิ์ในวัดทั่วประเทศ 30,000 แห่ง มีการทุ่มเงินมหาศาลทั้งจากงบประมาณและจากภาคธุรกิจ โดยไม่มีการตรวจสอบแต่อย่างใด 
 
นักธุรกิจต้องจ่ายเงินของบริษัทเพื่อแสดงความภักดี วุฒิสมาชิกถูกหักเงินเดือนๆ ละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 8 ล้าน 7 แสนบาท สำหรับการฉลองพิธีครองบัลลังก์ 50 ปี และร่วมงานกุศล นายกบรรหารระดมเงิน 999 ล้านบาทสำหรับโครงการควบคุมน้ำท่วมของลุงสมชายโดยยืมเงินก้อนใหญ่มาจากธนาคารกรุงไทยที่เป็นของรัฐบาล
จากภาวะเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู ตอนต้นปี
2539 ทำให้มีนักธุรกิจใหญ่ทยอยถวายเครื่องบรรณาการ อย่างมากมาย มหาศาล

พ่อค้าเพชรพลอยชื่อดังนำบุษราคัมสีน้ำเงินขนาดยักษ์ หนัก 6.3 กิโลกรัมมาเจียรนัย 950 ด้าน หมายถึงรามาที่ 9 ปีที่ 50  ให้ลุงสมชาย กองทัพไทยใช้งบสร้างคทาทำจากทองคำ 700 กรัมกับเพชรพลอย 518 เม็ดให้ลุงสมชาย

ชาตรี แห่งธนาคารกรุงเทพ ซื้อเพชรเม็ดใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่าเพชรกาญจนาภิเษก  Golden Jubilee  หนัก 546 กะรัตหรือ 109 กรัม จากอัฟริกาใต้ ผ่านพิธีปลุกเสกโดย สังฆราช จุฬาราชมนตรี และสันตปาปา 


ใช้งบประมาณและเงินบริจาคราวสองร้อยล้านบาท จัดทำเสื้อคลุมทองคำประดับอัญมณีชุดใหม่ ให้พระแก้วมรกต
รัฐบาลมอบพระยานาคทองคำประดับอัญมณีหนัก 2.5 กิโลกรัมแก่ลุงสมชาย พร้อมทั้งให้เป็นบิดาแห่งการจัดการน้ำ

มีการจัดพิมพ์หนังสือโฆษณาความสำเร็จของโครงการลุงสมชายเรื่องน้ำหลายพันเล่มโดยแจกจ่ายไปตามโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โทรทัศน์เต็มไปด้วยสารคดี ทอล์คโชว์ และแม้กระทั่งเกมโชว์เกี่ยวกับเรื่องของลุงสมชายและครอบครัว

วันที่ 7 มิถุนายน 2539 สถานีโทรทัศน์และวิทยุทุกสถานีได้ถ่ายทอดงานระดมทุนโครงการของลุงสมชาย บรรหาร กับแจ่มใส ประเดิมบริจาคก่อน 10 ล้านบาท

ในเช้าวันที่ 9 มิถุนายน ช้างแต่งเต็มยศ 25 เชือก บรรทุกคน 50 คน มายังวัดหลวงเพื่อบวชให้ลุงสมชาย มีการจุดเทียนหนึ่งล้านเล่มที่ปลุกเสกโดยสังฆราชโดยถูกจุดพร้อมกัน เวลา 19.19 .
วังยังคงโหมการโฆษณาสร้างบารมีตามกำหนดการที่เต็มแน่นด้วยงานการกุศล การเยี่ยมชนบท งานกาล่าดินเนอร์ นักเรียนหญิงนับพันถูกเกณฑ์มาที่ลานรูปทรงม้า โดยแต่งชุดขาวเหมือนแม่ชีและถือเทียนนั่งสมาธิหมู่ทำบุญให้ลุงสมชาย สร้างพระเครื่องในนามป้าสมจิตจำหน่ายเพื่อเก็บเงินให้ป้า

ในงานวันเกิดของป้าสมจิตครบ 60 ในปี 2535 พวกเศรษฐีเช่นบรรยงค์ ล่ำซำ แห่งกสิกรไทย ประยุทธเนสกาแฟ เจริญเบียร์ช้าง ธนินทร์ซีพี และรักสินชินวัตรได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างตึกสิริเกียรติหรือตึกส.ก.ที่โรงหมอจุฬา โดยตั้งตระหง่านทัดเทียมตึกภปร

สยามสมาคมได้ระดมเงินบริจาคสามสิบล้านบาท สร้างพระพุทธบาทขนาดใหญ่ทำจากทองคำหนัก
30 กิโลกรัมเฉลิมเกียรติป้าสมจิตไว้ที่วัดพระแก้ว

ป้าสมจิตอยากให้ทุกคนได้รู้กันว่า ป้าคือสุริโยทัยที่กลับชาติมาเกิด ลุงสมชายก็เออออไม่อยากขัดคอป้าสมจิต โครงการอ่างเก็บน้ำและป้องกันน้ำท่วมอยุธยาที่ทุ่งมะขามเปียก จึงได้ตั้งชื่อว่าสวนสุริโยทัย ในวาระเฉลิมฉลองวันเกิดป้าสมจิต 60 ปี
กองทัพจัดแสดงละครสุริโยทัย ด้วยแสงสีเสียงมโหฬาร รัฐบาลสร้างพุทธรูปสุริโยทัย ค่ายทหารแห่งใหม่ที่หัวหินใช้ชื่อค่ายสุริโยทัย ตำนานสุริโยทัยได้รับการเผยแพร่ทั่วไป ป้าสมจิตไปเยือนบริเวณที่เชื่อว่าเป็นสมรภูมิเพื่อทำการบวงสรวง มีการตั้งอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ของสุริโยทัย บนหลังช้างและป้าสมจิตเดินทางไปเปิด

นักโฆษณาสถาบัน

นักโฆษณาสดุดีลุงสมชายรายแรก เป็นผู้ดูแลโครงการของลุงสมชาย คือสุเมธ เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานของลุงสมชาย (กปร.) เลขามูลนิธิสมชายพัฒนา และอดีตเลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้พูดสดุดีการพัฒนาชนบท ความเสียสละอุทิศตนของลุงสมชาย
ในหนังสือเล่มใหญ่ชื่อ ลุงสมชาย พูมลำพอง คะนองเดช:ประทีปนำทางของประเทศไทย พิมพ์ในโอกาสครองบัลลังก์ 50 ปี ในปี 2539 บรรยายว่า ลุงสมชายได้ตรากตรำทำงานหนักเพื่อเอาชนะพลังความโลภ ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างนายทุน นักการเมืองและข้าราชการ มีบทเทิดเกียรติให้ลุงเป็นนักสิ่งแวดล้อม ทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบราชการ เพราะลุงมองเห็นปัญหาทั้งระบบ และเสนอแนวทางแก้ไขไว้นานแล้วแต่ว่าไม่มีใครสนใจ
ลุงทำประชาพิจารณ์มา 30 ปีแล้ว จากการไปเยี่ยมเยียนทั่วประเทศ ถือเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง

อานันท์ ย้ำว่าลุงสมชายได้รักษาประเทศและสร้างความเจริญ โดยเดินทางไปทั่วประเทศ เป็นนักอ่านแผนที่ตัวฉกาจ หลังจากไปเยือนต่างประเทศ ลุงให้รัฐบาลทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี 2504 ขึ้นมา ซึ่งที่จริงแผนนี้เป็นของธนาคารโลกกับที่ปรึกษาจากสหรัฐ ก่อนที่ลุงจะไปเยือนต่างประเทศเสียอีก


ลุงสมชายมีวินัยอย่างเข้มงวด ตอนบวชได้ศึกษาธรรมอย่างลึกซึ้ง เข้าใจความจริงของชีวิต ไม่มีอัตตา ไม่หลงตัวเอง ปล่อยวางไม่ยึดติดโดยสิ้นเชิง ทำเพื่อประโยชน์ของชุมชนและส่วนรวมเท่านั้น ใกล้ชิดกับประชาชนของตนตลอดมา เป็นที่รักของคนทั้งชาติ เป็นของแท้ที่ไม่มีวันผิดพลาด ลุงสมชายต้องเข้ามาแทรกแซงการเมืองบ่อยครั้ง เพราะลุงรับรู้ข้อมูลเป็นอย่างดีและสามารถใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ อำนาจถูกมอบให้เป็นของลุงสมชายตามเจตจำนงของประชาชน การแทรกแซงของลุงสมชายเกิดจากการร้องขอจากประชาชน เพราะประเทศชาติไม่สามารถทนต่อสถานการณ์ได้อีกต่อไปลุงก็จะลงมาแก้วิกฤตทั้งหมด เป็นความโปร่งใส ที่ตรวจสอบไม่ได้และห้ามตรวจสอบโดยเด็ดขาด 

รัฐบาลมาแล้วก็ไป ผบ. ทบ. มาแล้วก็ไป ไม่เหมือนลุงสมชาย ที่อยู่อย่างยั่งยืนถาวรตลอดมา คนไทยทั่วไปจึงเต็มใจมอบความเชื่อมั่นต่อลุงสมชาย อย่างที่ไม่เคยมีเจ้าชีวิตในประวัติศาสตร์ของไทยหรือของทั้งโลกเคยได้รับมาก่อน ลุงสมชายเป็นเหมือนไฟส่องนำทางสำหรับประชาชนไทยในความมืด

ส่วนนักอธิบายความรายที่สาม ก็คือตัวลุงสมชายเอง ลุงได้แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ของวิลเลียม สตีเวนสัน  นักข่าวกรองชาวแคนาดาที่เขียนยกย่องตนเองเป็นวีรบุรุษปฏิบัติราชการลับเพื่อประเทศชาติช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง 

ลุงสมชายแปลเพราะอยากให้ผู้อ่านได้มองคนที่ทำงานหนักโดยไม่หวังผลตอบแทน เหมือนที่ลุงได้ทำ ลุงเล่าว่า ประธานาธิบดีรูสเวลท์กับนายกเชอร์ชิลและพระเจ้าจอร์จที่หกของอังกฤษ ต้องจัดงบประมาณให้วังจ้างสายลับเพื่อปกป้องชาติ โดยประชาชนประชาชนไม่รู้ งานแปลของลุงได้ตีพิมพ์ในปี 2536 ถึง 100,000 เล่ม เป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น


หนังสือเล่มที่สี่ เป็นอัตชีวประวัติของลุงสมชายภาคภาษาอังกฤษ  The Revolutionary King หรือ กษัตริย์นักปฏิวัติ ที่อำนวยการโดยลุงสมชายเองและพิมพ์ที่ลอนดอนในปี 2542 โดยสิบปีก่อนหน้านั้นลุงสมชายได้เชิญวิลเลียม สตีเวนสัน ผู้เขียนเรื่องนายอินทร์ให้มาเขียนหนังสือ สตีเวนสันพักอยู่ในวังสระปทุมของสังวอน ให้ค้นคว้า และได้สัมภาษณ์ลุงสมชายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน



แล้วออกมาเป็นหนังสือที่นำเสนอลุงสมชายเป็นเทวดา ที่วิเศษอัศจรรย์ และล่วงละเมิดมิได้อย่างแท้จริง โดยบอกเล่าเรื่องราวของลุงสมชายที่ปรีชาสามารถ แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ว่าลุงสมชายอยู่เบื้องหลังการกอบกู้ประเทศไทยมาโดยตลอด ลุงสมชายพยายามนำประชาชนให้หลีกหนีจากความโลภความยาก ไปสู่คุณความดีแบบพุทธ ที่ร่มเย็นเป็นสุข แต่นักการเมือง พ่อค้าชาวจีน ข้าราชการที่ไม่รู้จักคิดกลับไม่เข้าใจ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเพียงงานสดุดียกย่องลุงสมชายอีกเล่มหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวปานเทพนิยายของลุงสมชาย สอดแทรกไปด้วยความลี้ลับและปาฏิหาริย์ เริ่มด้วยเรื่องราวของเด็กหญิงกำพร้าสังวอน ที่ฟันฝ่าอุปสรรคได้เป็นแม่ของเจ้าถึงสองคน ตอนเป็นเด็กพูมลำพองแสดงความสนใจเกินธรรมชาติในเรื่องไฮดรอลิก ป่าไม้ และวิศวกรรม และสามารถแปลบทกวีภาษายุโรปได้ห้าภาษา
ความตายอันเป็นปริศนาของอานานผู้พี่ และการขึ้นนั่งบัลลังก์ของพูมลำพองคะนองเดชเป็นคำสั่งจากสวรรค์หรือฟ้าลิขิต พูมลำพองที่กลัวว่าวิญญาณของอานานจะลองลอยร่อนเร่ จึงผนึกตนเป็นหนึ่งเดียวกับวิญญาณของพี่ชายเพื่อสานฝันของอานานให้เป็นจริง นั่นคือธรรมาธิปไตย 

ลุงสมชายได้เล่าถึงการพบวิญญาณของอานานในวังหลายสัปดาห์หลังการเสียชีวิต ว่าได้ยินเสียงฝีเท้าตามหลัง ในชั่วขณะที่ลืมไปว่าอานานตายไปแล้ว บอกวิญญาณของอานานว่า เราต้องเดินตามพี่ แต่พี่ชายตอบว่า  ตั้งแต่บัดนี้ พี่เดินตามหลังเล็ก ซึ่งเป็นชื่อเล่นของลุงสมชายตอนเด็ก
หลังจากลุงสมชายได้ครองบัลลังก์ได้ไม่นาน ก็พุ่งทะยานสู่ระดับสูงทางจิตวิญญาณอย่างรวดเร็ว ด้วยการค้นพบธรรมชั้นสูง ธงทองบอกว่า ลุงสมชายเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นภาคหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่ต่อสู้กับพวกมาร 

ลุงสมชายได้สอนการนั่งสมาธิแก่วสิษฐ และแก้ไขความบกพร่องของการออกแบบของปืนเอ็ม-16 ได้อย่างน่าฉงน
ญาณสังวรพูดว่าลุงสมชายเป็นมหาบุรุษ ทรงมีพลังอำนาจและญาณวิเศษที่จะเห็นเรา ไม่เพียงแต่ในภพนี้เท่านั้น ยังในภพก่อนๆ อีกด้วย ลุงสมชายเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตาที่มีสายตาจับจ้องทะลุทะลวงไปถึงตัวตนชั่วกัล์ปของเรา 

ลุงสมชายได้ทำนายว่า จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือน และเมื่อประชาชนละเลยคำเตือนของลุง ลุงจึงตัดสินใจลดค่าเงินบาทเองในที่สุด หลังจากนั้นลุงได้ปลอบโยนประชาชน ด้วยการให้คำแนะนำถึงวิธีการตั้งต้นใหม่ด้วยการเสนอทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ลุงสมชายมีความพากเพียรเหมือนมหาชนก

พอหนังสือของสตีเวนสันพิมพ์ออกมาออกมา มันกลับกลายเป็นความน่าอับอาย มีข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนมาก หนังสือเปิดเล่มด้วยแผนที่ประเทศไทยที่กินแดนลึกเข้าไปในลาวกับพม่า แถมวังไกลกังวลอยู่ห่างจากสถานที่จริงไปสามร้อยกิโลเมตร ปิดเล่มด้วยแผนภูมิที่ระบุว่าธิปก เป็นลูกของราวุธ ซึ่งที่จริงเป็นน้อง

สตีเวนสันยังสร้างความเดือดดาลแก่ลุงสมชาย ด้วยข้อความพาดพิงถึงป้าสมจิต ที่คิดว่าตนเองเป็นสุริโยทัยกลับชาติมาเกิด เสี่ยอูก็ขัดเคืองกับสิรินเทพเรื่องการสืบบัลลังก์ และที่สำคัญที่สุดคือ ใช้คำเรียกลุงสมชายด้วยชื่อเล่นในวัยเด็ก คือ เล็ก  ทำให้ลุงสั่งห้ามขายหนังสือเล่มนี้ในประเทศไทย และห้ามสื่อเขียนถึงเด็ดขาด 


ลุงสมชายยังแปลเรื่อง ติโต ซึ่งเป็นประวัติของติโตผู้นำที่ต่อสู้กอบกู้ยูโกสลาเวียในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาได้เป็นประธานาธิบดี มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ทั้งๆที่ติโต้เป็นคอมมิวนิสต์ และเป็นผู้ล้มเลิกระบอบกษัตริย์ ลุงสมชายให้มีการพิมพ์งานแปลเรื่อง ติโต เพราะเห็นว่าติโตทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อความเจริญ สันติภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ลุงชื่นชมติโตที่รักษาความเป็นปึกแผ่นและเอกราชของประเทศเป็นเวลาถึง 35 ปี

โอวาทของลุงในวันที่ 5 ธันวาคม 2538 ตลอดสองชั่วโมงกว่าบรรยายถึงความฉลาดปราดเปรื่องในการจัดการเรื่องน้ำ การพัฒนาเศรษฐกิจ ลุงเป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นยอด เป็นนักบริหารที่อุทิศตนและมีประสิทธิภาพ เป็นเจ้าชีวิตผู้ปราดเปรื่องสารพัดเรื่อง หลังจากรับการสดุดีอย่างท่วมท้นพร้อมรับมอบพระพุทธรูปทองคำจากนายกบรรหาร 

ลุงก็เริ่มให้โอวาทยกโครงการสุริโยทัยที่อยุธยา แล้วร่ายยาวตัวเลขต่างๆ ปริมาณน้ำ ระดับน้ำ อัตราการไหล ซึ่งฟังดูเหมือนว่าลุงเชี่ยวชาญมาก จากนั้นก็โยงเข้าเรื่องทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรยั่งยืน ระบบจัดการไร่นาสวนผสม พึ่งตนเองขนาดเล็ก 15 ไร่ต่อครอบครัวจะมีผลิตผลที่พอเพียง มีชีวิตเป็นอิสระจากตลาด ลุงได้สร้างทฤษฎีใหม่ให้เป็นนโยบายแห่งชาติโดยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาแห่งชาติ ปี 2538 มีการแจกทฤษฎีใหม่แก่ผู้ฟัง

ลุงมีโครงการสร้างแหล่งเก็บน้ำย่อยๆ เรียกว่าแก้มลิง จากการที่ลุงได้เห็นลิงเก็บกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มก่อนจะกินเข้าไป ลุงอ้างสถิติตัวเลขเรื่องน้ำปริมาณน้ำในแม่น้ำ อัตราการเกิดฝนและระดับน้ำท่วม ลุงใช้ตัวเลขเหล่านี้ เพื่อพิสูจน์ว่าต้องสร้างเขื่อนป่าสัก จะได้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ เพราะจะมีน้ำ 800 ล้านลูกบาศก์เมตรเก็บไว้ ลุงบรรยายแผนที่ แผนภูมิและสถิติต่างๆ แสดงให้เห็นว่าลุงรอบรู้ มีรายละเอียดน่าประทับใจ

ลุงสั่งสารพัดให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ ลุงมีวิธีการเสนอที่ค่อนข้างวกวน และมักจะสอดแทรกอารมณ์ขันนอกเรื่องนอกราวอยู่เรื่อยๆ มีทั้งวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ พสกนิกรต้องเชื่อ ต้องศรัทธาลุง ข้าราชการก็ต้องรีบเร่งทำโครงการทฤษฎีใหม่ หรือติดป้ายทฤษฎีใหม่ให้กับโครงการที่มีอยู่แล้ว แม้แต่โครงการที่ริเริ่มและสนับสนุนโดยหน่วยงานพัฒนาของต่างประเทศ

ลุงสมชายสั่งให้พิมพ์หนังสือเล่มที่สาม ที่ใช้นิทานชาดกเรื่องมหาชนกเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับแผ่นดินของลุง มีภาพประกอบโดยศิลปินชั้นนำของประเทศ เป็นเรื่องของเจ้าชายที่ราชบัลลังก์ถูกพระเจ้าอาผู้ชั่วร้ายแย่งชิงไป มหาชนกได้ออกเดินทางค้าขายเพื่อระดมทุนสร้างกองทัพทวงบัลลังก์คืน เมื่อเรือของพระองค์อับปาง 
หลังลอยคออยู่ในทะเลเจ็ดวัน ก็ได้รับการช่วยเหลือจากนางมณีเมขลาที่อุ้มไปส่งยังสวนในวัง ขณะที่พระเจ้าอาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว มหาชนกสมรสกับธิดาของพระเจ้าอาเป็นกษัตริย์ปกครองมิถิลานครเป็นเวลาเจ็ดพันปี จนได้บรรลุการรู้แจ้ง ทรงพบต้นมะม่วงต้นหนึ่งไร้ผลแต่เขียวงาม อีกต้นออกผลมีรสหวานอร่อย แต่ถูกดึงถูกโค่นโดยคนที่มารุมแย่งชิงผลมะม่วง ทำให้ทรงระลึกว่าการมั่งมีทรัพย์มีแต่จะนำมาซึ่งความทุกข์ และการไม่มีทรัพย์กลับนำมาซึ่งความสุข พระองค์จึงสละราชสมบัติและพระมเหสี โกนผมเป็นนักบวช เข้าป่า
ลุงสมชายได้เน้นถึงความเพียรพยายามของมหาชนกขณะลอยคออยู่ในทะเล

แต่ลุงสมชายได้ดัดแปลงเรื่องมหาชนก ตอนที่เห็นต้นมะม่วง แทนที่มหาชนกจะออกบวช แต่มหาชนกฉบับลุงสมชาย กลับทรงใช้เทคโนโลยีการเกษตรรักษาต้นมะม่วงเอาไว้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนด้วยการให้การศึกษา นำชีวิตและความเขียวขจี กลับคืนสู่ประเทศที่รกร้างถูกทำลาย 

ทำให้คนไทยต้องนึกถึงลุงสมชาย ในบทบาทของมหาชนกที่ไม่ยอมเกษียณ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น เนื่องจากลุงสมชายยังไม่บรรลุเป้าหมาย หรือจุดสูงสุด 

วังสั่งพิมพ์หนังสือทั้งภาษาไทยและอังกฤษ จัดงานเปิดตัวหนังสือสำหรับนักข่าวทั้งไทยและเทศ ฉบับนักสะสมปกแข็งเล่มใหญ่ ขายเอาเงินสมทบทุนการกุศลราคา 2,000 และ 200 เหรียญสหรัฐ หรือเล่มละกว่าห้าหมื่นบาทและกว่าห้าพันบาท โดยแถมเหรียญทองคำและเหรียญเงินที่ปลุกเสกโดยลุงสมชายและญาณสังวร โดยบีบให้ธนาคารขายทำยอดให้ได้ 15 ล้าน
ปีถัดมาก็ออกฉบับปกอ่อนสี่สีราคา 250 บาท และถัดไปอีกปีก็เป็นหนังสือการ์ตูนราคาย่อมเยาว์ สำหรับเด็กเขียนภาพโดยชัย ราชวัตร บริษัทห้างร้านต่างๆ พากันเหมาซื้อไปแจก ได้ทั้งบุญได้ทั้งการลดหย่อนภาษี บางรายมอบให้วัดไปแจกต่อ กลายเป็นการทำบุญถวายเป็นราชกุศล

ปี 2538 ประชาธิปัตย์ถูกมรสุมเรื่องสปก.4-01 และถูกอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ ชวนต้องยุบสภาเนื่องจากจำลองหัวหน้าพรรคพลังธรรมประกาศถอนตัวกลางดึก บรรหารหัวหน้าพรรคชาติไทยเป็นนายกคนใหม่ มีพรรคร่วมรัฐบาลของสมัคร ชวลิต และเศรษฐีรุ่นใหม่เจ้าของธุรกิจคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือและดาวเทียม รักสิน ในนามหัวหน้าพรรคพลังธรรม
ลุงประกาศว่าเขื่อนปากพนังจะต้องเสร็จทันการฉลองการครองบัลลังก์ครบ 50 ปีในปี 2539 และเขื่อนป่าสักกับเขื่อนท่าด่านต้องเสร็จทันการฉลองวันเกิดลุงครบหกรอบ 72 ปี ในปี 2542 

ถ้าเราทำที่ไหนมีการคัดค้าน เราก็ไม่อยากเผชิญการคัดค้าน มันเหนื่อยเปล่าๆลุงประกาศกร้าวเพราะรู้ดีว่าคงไม่มีใครกล้าขัดขวางลุงอีกแล้ว

หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวว่าลุงสมชายสั่งให้สร้างเขื่อน ปราโมทย์ ไม้กลัดที่ปรึกษาของลุงเปิดเผยรายละเอียดเขื่อนทั้งสามโครงการทันที กองทัพอาสาจะช่วยสร้าง รัฐบาลนายชวนเร่งรัดโครงการโดยด่วนและสองสัปดาห์ต่อมาคณะรัฐมนตรีก็อนุมัติโครงการเขื่อนป่าสักโดยไม่ต้องมีรายละเอียด

สุเมธประกาศว่า ประเทศกำลังป่วยอย่างสาหัสและลุงสมชายได้ทราบถึงอันตรายใหญ่หลวง จึงรีบสร้างเขื่อนเหมือนการผ่าตัดมะเร็งเพื่อรักษาร่างกาย ลุงกล่าวหาว่าพวกนักอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นพวกไม่มีเหตุผล ขัดขวางผลประโยชน์ของประชาชนและเป็นพวกโอหัง ทำให้พวกพวกนักอนุรักษ์ต้องปิดปากเงียบไม่กล้าโต้แย้งเพราะกลัวเข้าข่ายหมิ่นเจ้า

ปี 2539 ลุงสมชายในวัย 69 ปีที่ควรต้องพักผ่อนหรือหันหน้าเข้าวัด
แต่หนังสือพระมหาชนกฉบับลุงสมชายกลับสะท้อนความต้องการว่าภารกิจยังไม่เสร็จสิ้น 

มีกรณีที่มากระทบวังมากในปี 2539 คือการปิดธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ สร้างความเสียหายแก่รัฐถึง 8 หมื่นล้านบาท เป็นธนาคารของพวกเจ้า พวกขุนนางและขุนศึกที่คึกฤทธิ์ เคยเป็นประธาน และเรื่องบริษัทก่อสร้างของบรรหารได้สัญญาสามพันล้านบาทสร้างเขื่อนปากพนังของลุง เกิดความไม่แน่นอนไปทั้งโครงการ



เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงสิบปีจนทำให้ข้าราชการ นักธุรกิจและนักการเมืองประมาทชะล่าใจไปกับความรุ่งเรืองฟุ้งเฟื่องของเศรษฐกิจไทย แต่พอถึงปลายปี 2539 เศรษฐกิจของไทยเริ่มทรุดฮวบ เงินทุนสำรองของประเทศทั้งหมด 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯหรือกว่าหนึ่งล้านล้านบาทได้ลดน้อยลงมาก จนทำให้ต้องลอยตัวค่าเงินบาทอย่างมโหฬารในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 วันแรกค่าเงินบาทอ่อนตัวจาก 25 บาทต่อดอลลาร์ลงไปเป็น 32 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าที่สุดเมื่อเดือนมกราคม 2541 ถึง 56 บาทต่อดอลลาร์

ส่งผลให้ธุรกิจในประเทศต้องล้มกันระนาว โดยเฉพาะคนที่กู้เงินดอลลาร์ กู้มาดอลลาร์ละ 25 บาท แต่ใช้หนี้ดอลลาร์ละ 56 บาท คนทั้งประเทศรวมทั้งวังอยู่ในอาการช็อคเมื่อเศรษฐกิจพังพาบในช่วงปีถัดมา ธนาคารขาดสภาพคล่องไม่มีเงินให้กู้ บริษัทไทยนับพันแห่งล้มละลาย เศรษฐกิจไทยพังพินาศ จนเกิดพิษต้มยำกุ้ง ระบาดไปทั่วโลกได้เผยให้เห็นความผิดพลาดเชิงระบบ 

การบริหารงานผิดพลาดเเละลัทธิพวกพ้องที่ทุจริตฉ้อฉลที่ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่มาหลายปี
คนไทยไม่สนใจคำเตือนจากนักเศรษฐศาสตร์และกองทุนการเงินระหว่างประเทศมาหลายปี กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เกือบทั้งหมด ต้องเสียหายยับเยินจากการลดค่าเงินบาท ซึ่งรวมถึงธุรกิจของลุงสมชาย เครือซีเมนต์ไทยกู้เงินต่างประเทศเกือบ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่าสองแสนล้านบาท ขณะเกิดวิกฤต หลังลดค่าเงินบาท บริษัทเครือซีเมนต์ไทยได้ล้มละลายไปแล้วในทางบัญชี

ธนาคารไทยพาณิชย์ของลุงสมชายพึ่งเงินทุนต่างประเทศจำนวนมหาศาล ลูกค้าใหญ่ของธนาคารมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมินราคาสูงเกินจริงอย่างมาก และขายไม่ออก มูลค่าลดลงมาก ราคาเหลือไม่ถึงครึ่ง ปัญหาของธนาคารไทยพาณิชย์พันกันเป็นงูกินหางหรือล้มละลายเป็นลูกโซ่ ในแต่ละขั้นตอนก็จะเกิดหนี้เสียขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นหายนะกันทั้งขบวนที่ธนาคารไทยส่วนใหญ่ประสบ 

แต่ธนาคารไทยพาณิชย์ดูจะถลำลึกกว่าธนาคารอื่นๆเพราะผูกโยงกันไปหมด รายได้ของลุงสมชายจากเดิมที่เคยอยู่ในระดับสองสามพันล้านบาทต่อปี กลายเป็นไม่มีเงินปันผลเพราะขาดทุน รายได้จากเงินการกุศลก็ลดน้อยลง กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ เสนอให้เงินกู้ฉุกเฉินกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่าหกแสนล้านบาท โดยมีเงื่อนไขต้องปฏิรูประบบการเงินและการบริหารเศรษฐกิจ แต่ต้องยอมให้ธุรกิจใหญ่ๆล้มและมีการลงโทษผู้กระทำผิด พวกเขาต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของตนเอง

หลังลดค่าเงินบาท รัฐบาลชวลิตถูกกดดันอย่างหนักจากชนชั้นนำไทยให้ปฏิเสธแผนของไอเอ็มเอฟ แต่เงินบาทกับเศรษฐกิจยิ่งร่วงหนักลงไปอีก

พรรคประชาธิปัตย์ที่สนับสนุนแนวทางของไอเอ็มเอฟ โจมตีรัฐบาลชวลิตในสภา หวังไล่รัฐบาลชวลิตออกไป เพื่อเป็นรัฐบาลแทน แต่ชวลิตก็เข้าพบลุงสมชายและออกงานร่วมกับ ผบ. สามเหล่าทัพ โดยมีเปรมิกาเป็นผู้ประสานงาน  รัฐบาลชวลิตซื้อเวลาด้วยการยอมรับเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟ และเสนอชื่อวีรพงษ์ ลูกน้องเปรมิกามาแก้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่มิได้ดำเนินการตามแผนอันเข้มงวดของไอเอ็มเอฟและเศรษฐกิจก็ทรุดหนักลงไปอีก 

เมื่อประชาธิปัตย์โจมตีรัฐบาลอีก เปรมิกาก็ออกมารับรองรัฐบาลชวลิต ในงานวันเกิดของเปรมิกา 25 สิงหาคม โดยเรียกร้องให้มีความร่วมมือและความสามัคคีเราจะแตกแยกไม่ได้ โดยเฉพาะผู้นำรัฐบาลและฝ่ายค้าน..หากเราต้องการเห็นประเทศชาติฟื้นฟูกลับสู่ความรุ่งเรืองโดยเร็ว ”   

แต่สุขุมพันธ์ สส.ประชาธิปัตย์ ในขณะนั้น ได้ตอบโต้ว่าเปรมิกาเป็นองคมนตรีต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
สุรินทร์ พิศสุวรรณ ส.. พรรคประชาธิปัตย์อีกคนก็พูดว่าทหารกำลังปกครองประเทศ 

เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จตอนปลายเดือนสิงหาคม พรรคความหวังใหม่ของชวลิตเตรียมล้มร่างรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญไปลดอำนาจของลุงสมชายและกองทัพ ชวลิตพยายามบีบให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ คราวนี้วิกฤตเศรษฐกิจทรุดหนักลงไปอีก ลุงสมชายต้องการผ่อนคลายสถานการณ์ลง จึงให้สุเมธออกมาพูดว่าวังไม่มีปัญหากับร่างรัฐธรรมนูญนี้ ทำให้ชวลิตรับรองร่างรัฐธรรมนูญและส่งให้ลุงสมชายในวันที่ 11 ตุลาคม 2540

แต่รัฐบาลชวลิตก็ไปไม่รอด ต้นเดือนตุลาคม ค่าเงินบาทยังคงร่วงลงไปอีกเเละการทำข้อตกลงกับไอเอ็มเอฟต้องสะดุด ทั้งประเทศเกิดความรู้สึกว่ามีเคราะห์กรรม ผู้คนทำบุญล้างเคราะห์กรรม ญาณสังวรจัดสวดมนต์หมู่โดยพระกว่าร้อยรูปที่วัดพระแก้ว หลายคนเรียกร้องให้ลุงสมชายออกมาปกป้องคุ้มครองประเทศให้แคล้วคลาดปลอดภัย
เปรมิกาเสนอให้ถอยหลังกลับไปสู่รัฐบาลของลุงสมชายที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง 

วันที่ 6 ตุลาคม 2540 เปรมิกาเรียกบก.หนังสือพิมพ์มาพบที่บ้านสี่เสาและบอกว่าฝ่ายค้านในสภาควรเห็นชอบกับการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ที่เป็นเอกภาพไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ซึ่งเข้าใจกันว่าหมายถึงตัวเปรมิกาหรือตัวแทนของเปรมิกาหรือลุงสมชายนั่นเอง และได้พูดแบบเดียวกับลุงสมชายว่าสภาไม่มีประโยชน์ 

รัฐบาลแห่งชาติ คือ การนำเอาคนที่เยี่ยมที่สุดของประเทศมาเป็นรัฐบาลไม่ใช่แค่ผู้แทน 393 คน โดยเปรมิกาได้เอ่ยชื่อคนของตนสามคน ที่เป็นมือดีที่สุดในเรื่องเศรษฐกิจ คือ วีระพงษ์ นายทนง และชัยวัฒน์ ต่อมาภายหลังชัยวัฒน์ ก็ทำเงินคงคลังที่สูญเสียไปเกือบเกลี้ยง 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐจากการแทรกแซงค่าเงินบาทในตลาด 

เปรมิกาอ้างว่าการสนับสนุนคนเหล่านี้เท่ากับเป็นการรักชาติ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นการทำตามคำสั่งของลุงสมชาย แต่สุขุมพันธ์ โต้แย้งว่ารัฐบาลเเห่งชาติไม่จำเป็น เพราะมีสภาอยู่ และเปรมิกาก็ทำเกินหน้าที่ เพราะเป็นองคมนตรี ต้องไม่ข้องเกี่ยวกับการเมือง 

ระหว่างที่ประชาธิปัตย์กับเปรมิกากำลังประลองเชิงกันอยู่ ลุงสมชายก็ต้องหาทางออกไม่ให้วิกฤติ ไปไกลเกินแก้ไขอีกต่อไป 
 
3 พฤศจิกายน ชวลิตจึงลาออก  เปิดทางให้ชวนเป็นนายก ขณะที่วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจแผ่ขยายไปทั่วเอเชีย และปัญหาเศรษฐกิจก็หนักหนาสาหัสเกินจะเยียวยาได้ในเวลาอันสั้น

รัฐบาลนายชวนต้องกระเสือกกระสนและหัวทิ่มหัวตำไม่เป็นท่าขณะที่ลุงสมชายสบายตัวและออกมาวิพากษ์วิจารณ์โดยวางตัวเสมือนผู้รู้ที่มีปรีชาญาณล้ำเลิศ

สิงหาคม 2540 ลุงสมชายยังเล่นบทเดิมๆ คือมูลนิธิต่างๆของลุงก็รับเอาชื่อเสียงและความดีความชอบไปเกือบทั้งหมดในการให้ความช่วยเหลือ แม้ว่ารัฐบาลจะทำได้มากกว่าลุงก็ตาม 

เมื่อโรงงานเริ่มลอยแพคนงานจำนวนมาก ทางลุงประกาศว่ามูลนิธิชัยพัฒโนของลุงจะประสานหน่วยงานราชการกับเอกชนเพื่อหางานให้ใหม่ ซึ่งไม่เกิดผลอะไร เพราะไม่มีตำแหน่งงานเหลือ 


รัฐบาลชวนทำงานได้เพียงเดือนเดียว ลุงสมชายก็ออกมาให้โอวาทในวันฉลองวันเกิด 5 ธันวาคมโดยสรุปว่าบอกแล้วไม่ฟัง ลุงโจมตีผู้นำทางการเมืองที่นำพาประเทศไทยไปบนเส้นทางทุนนิยมและการบริโภคนิยมที่เสรีเต็มที่และไม่มีการยับยั้งชั่งใจ และถ้าหากผู้คนยอมรับแนวคิดของลุงว่าด้วยเรื่องสังคมที่เรียบง่าย ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤตไปได้ 


ลุงเปรียบเทียบความยอดเยี่ยมของโครงการราชดำริของลุงและเหยียดหยามงานของรัฐบาล  ลุงโจมตีทุนนิยมและตลาดโลกสมัยใหม่ว่าทำให้คนมีความอยากในทางวัตถุมากเกินไป
ความโลภมาจากทุนนิยมที่เผยแพร่โดยไอเอ็มเอฟ ที่เป็นต้นเหตุของวิกฤติ ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากประเทศไทยปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของลุงสมชาย แบบพอมีพอกิน 



แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ของลุงสมชายได้กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับการเผยแพร่ถกเถียงออกความเห็นกันไม่รู้จบตลอดปีถัดไปตามสื่อต่างๆ แม้แต่กัณฑ์เทศน์ตามวัดและการปราศรัยทางการเมือง บรรดาผู้ต่อต้านโลกาภิวัฒน์ ทุนต่างชาติและการบริโภคนิยมต่างพากันอ้างหลักเศรษฐกิจพอเพียงของลุงสมชาย
แต่ที่จริงทั้งลุงสมชายและครอบครัวก็ไม่ได้มีชีวิตประจำวันที่เรียบง่ายตามที่ชอบสั่งสอนประชาชนแต่อย่างใดเลย

...................

ไม่มีความคิดเห็น: