วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

เรื่องหลังบ้าน 004 : วีรกรรมของตระกูล 2 SS 04

ฟังเสียง :      http://www.mediafire.com/?toxkv6s8a132g60
http://www.4shared.com/audio/mwFC_P1x/stream_Stable_Story_003_.html

(เรื่องหลังบ้าน 004 : วีรกรรมของตระกูล ตอนที่ 1 และ 2
 ใช้ไฟล์เสียงเดียวกัน)

...........

ชีวิตตำรวจและทหารไทย:
คอมมิชชั่นต้องมาก่อน


ตำรวจและทหารไทยซึ่งมีรายได้เลี้ยงชีพจากงบประมาณที่มาจากภาษีอากรของประชาชน แต่ต้องปฏิญญาณตนว่าจงรักภักดีปกป้องรักษาลุงสมชายและครอบครัวเหนือสิ่งอื่นใด โดยมีประชาชนพ่วงหลังเป็นอันดับท้ายๆ ที่ไม่ค่อยมีความหมายในทางปฏิบัติ เพราะคนที่มีอำนาจให้คุณให้โทษต่อทหารตำรวจ ก็คือลุงสมชายและครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดเท่านั้น ในทำนองเดียวกันลุงสมชาย จะอำนวยอวยยศให้การรับรองและคุ้มครองบรรดาทหารตำรวจที่รับใช้ลุงสมชาย ไม่ว่าสิ่งนั้นจะผิดกฎหมายหรือศีลธรรมแค่ไหนก็ตาม

แต่ลุงสมชายกลับไม่ได้ให้ความสำคัญต่อทหารและตำรวจชั้นผู้น้อยผู้ปฏิบัติงานเสี่ยงตายในพื้นที่ อย่างดีก็แค่เดินทางไปเยี่ยมเยียนบ้างนานๆครั้ง เพื่อโฆษณาพอเป็นพิธี หรือส่งพวงหรีดส่งตัวแทนไปเผาศพ เลื่อนยศ 5 ชั้น 9 ขั้นภายหลังการเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่


เกิดเหตุระเบิดต้อนรับปี 2554 ที่ นราธิวาส เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ทำให้เจ้าหน้าที่เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด เสียชีวิตคาชุดป้องกันอันตรายจากแรงระเบิด หรือ บอมบ์สูท มีการเปิดเผยว่าเป็นชุดที่หมดอายุการใช้งานแล้ว พบว่ามีงบประมาณจัดซื้อบอมบ์สูท เมื่อปี 2551 จำนวน 118 ล้านบาท สำหรับบอมบ์สูท 9 ชุด แต่ยังไม่มีการส่งมอบ

ในปี 2552 ยังตั้งงบซื้อบอมบ์สูทเพิ่มเติมอีก 14 ชุด จำนวน 214 ล้านบาท มาถึงปีงบประมาณ 2554 ยังไม่มีการจัดซื้อ ทางการอ้างว่าความล่าช้าเกิดจากการประมูลมีปัญหา ต้องยกเลิกการประกวดราคาไปถึง 2 ครั้ง เพราะต้องการกำหนดสเปคใหม่ ทำให้ยังจัดซื้อบอมบ์สูทล้อตใหม่ไม่ได้ ทั้งๆที่การตั้งงบต้องมีการกำหนดสเปคไว้เรียบร้อยแล้ว แต่มีความพยายามวิ่งเต้นเปลี่ยนแปลงสเปคในภายหลัง ทำให้กำลังพลในพื้นที่ยังไม่ได้รับบอมบ์สูทชุดใหม่ จึงต้องใช้ชุดที่หมดอายุแล้ว จนเกิดความสูญเสียตามที่เป็นข่าว

ปิคอัพหุ้มเกราะ 750 ล้าน
ยังมีปัญหา


กระทรวงกลาโหมขอเพิ่มงบปี 2554 จำนวน 750 ล้านบาท จากงบปกติที่ได้รับแล้วถึง 1.7 แสนล้านบาท สำหรับปฏิบัติการในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซื้อรถยุทธวิธีกันกระสุน 300 คัน ราคาคันละ 2.5 ล้านบาท
แต่สเปคกลายเป็นรถปิคอัพหุ้มเกราะ สี่ประตู เครื่องดีเซลเทอร์โบ เสริมเหล็กหนารอบตัวรถ หลังคารถ และพื้นที่ใต้ท้องรถ พร้อมติดกระจกกันกระสุนหนา 2 เซ็นติเมตรรอบคัน แต่มีความล่าช้า เพราะรถต้นแบบไม่ผ่านการทดสอบ
รถปิคอัพกันกระสุนราคาจริงอย่างมากไม่เกิน 1 ล้านบาทเศษหลายบริษัทในประเทศไทยก็ผลิตได้ ซ้ำยังคุณภาพดีกว่าบริษัทที่กระทรวงกลาโหมสั่งผลิตรถต้นแบบ แต่อาศัยสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใหญ่ในกองทัพ ทั้งๆที่คุณภาพของรถไม่ผ่านการทดสอบ ขณะที่รถปิคอัพหุ้มเกราะล็อตเก่าที่ใช้ในพื้นที่ เป็นรถกระบะยี่ห้อดังสี่ประตู ราคาคันละ 8 แสนบาท มีค่ากระจกกันกระสุนเพิ่ม 5 แสนบาท รวมราคารถคันละ 1.3 ล้านบาท ไม่ใช่ 2.5 ล้านบาทหรือแพงขึ้นเกือบเท่าตัว

เรือเหาะหรือเรือเหี่ยว
ปีกว่าแล้วยังบินไม่ขึ้น


กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ได้จัดซื้อบอลลูนตรวจการณ์ หรือเรือเหาะ สกายดรากอน ด้วยวิธีพิเศษใช้งบ 350 ล้านบาท หวังให้เป็น ดวงตาบนฟากฟ้า ป้องปรามและไล่ล่ากลุ่มก่อความไม่สงบด้วยกล้องอินฟาเรดทันสมัย มูลค่าตัวกล้องนับร้อยล้านบาท หลังจากจัดซื้อในกลางปี 2552 เรือเหาะลำนี้ต้องเลื่อนกำหนดการปล่อยขึ้นปฏิบัติการแล้วหลายครั้ง มีเพียงการทดสอบขึ้นบินในระยะความสูงเพียง 1,000 เมตร ทั้งๆ ที่ตามสเปคต้องบินได้สูงถึง 3,000 เมตร เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากภาคพื้น ปัจจุบันเรือเหาะลำนี้จึงถูกเก็บอยู่ในโรงจอดภายในกองพลทหารราบที่ 15 จังหวัดปัตตานี

ปลายปี 2553 ส.ส.พรรคเพื่อไทยชี้ว่า สาเหตุที่เรือเหาะขึ้นปฏิบัติการไม่ได้ เนื่องจากพบรอยรั่วจำนวนมากบริเวณผืนผ้าใบ ซึ่งกองทัพยังไม่สามารถชี้แจงได้ ก่อนหน้านี้มีการตั้งงบซ่อมแซมเรือเหาะ เพื่อจัดซื้อผ้าใบนำมาปะบริเวณรอยรั่ว แต่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ เพราะมีรอยรั่วหลายจุดมากเกินไป ทำให้ทางกองทัพต้องขอเปลี่ยนสินค้าจากบริษัทผู้ผลิต ล่าสุดทางบริษัทได้ส่งบอลลูนผ้าใบผืนใหม่มาให้แล้ว แต่มีปัญหาเรื่องงบเติมก๊าซฮีเลียม ที่มีราคาถึง 4 ล้านบาท

จีที 200 ตำนานไม้ล้างป่าช้า

เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 แสดงผลผิดพลาดอย่างน้อย 2 ครั้ง จนเกิดระเบิดคาร์บอมบ์ที่นราธิวาส เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2552 และมอเตอร์ไซค์บอมบ์กลางเมืองยะลา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ปีเดียวกัน มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่อง จีที 200

กระทั่งสำนักข่าวบีบีซี เสนอสกู๊ปข่าวการ “ผ่าเครื่อง” คล้าย จีที 200 ว่าเป็นเครื่องลวงโลก เพราะภายในไม่มีกลไกอิเล็กทรอนิกส์ใดๆ และไร้ประสิทธิภาพในการตรวจหาระเบิดอย่างสิ้นเชิง ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องสั่งพิสูจน์ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจีที 200 ปรากฏว่าเครื่องมีความแม่นยำต่ำ จนไม่อาจยอมรับได้ หลายคนจึงขนานนาม จีที 200 ว่าเป็น "ไม้ล้างป่าช้า" เมื่อมีการตรวจสอบราคา พบว่ามีราคาต่างกันมาก ตั้งแต่ 4 แสนบาทไปจนถึง 1.2 ล้านบาท ส่วนราคาขายในต่างประเทศอยู่ที่ 2 แสนบาทเท่านั้น สื่อบางสำนักได้ตรวจสอบต้นทุนที่แท้จริง พบว่าราคาอยู่แค่หลักพัน มีเครื่องตรวจระเบิด จีที 200 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 541 เครื่อง ราคาเฉลี่ยเครื่องละ 1 ล้านบาท

สรุป ยุทโธปกรณ์
ชำรุด-เสียหาย 2 พันล้านบาท


งบประมาณซื้อยุทโธปกรณ์ที่มีปัญหาเหล่านี้ รวมมูลค่าแล้วเกือบ 2 พันล้านบาท ประกอบด้วยบอมบ์สูทที่ยังไม่ได้ส่งมอบ 330 ล้านบาท รถปิคอัพหุ้มเกราะ 750 ล้านบาท เรือเหาะตรวจการณ์ 350 ล้านบาท และจีที 200 ซึ่งปัจจุบันระงับการใช้งานไปแล้วอีกราว 541 ล้านบาท
แต่กระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ ยังคงได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2554 กระทรวงกลาโหมได้รับงบทั้งสิ้น 170,285 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2553 ถึง 16,253 ล้านบาท กองทัพบกได้รับงบมากที่สุดคือ 83,508.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,644.6 ล้านบาทจากปี 2553

กอ.รมน. ได้รับงบ 8,792 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 จำนวน 552 ล้านบาท เป็นงบภารกิจดับไฟใต้ถึง 8,019 ล้านบาท สรุปแล้ว กองทัพไทยได้รับงบประมาณที่สูงมาก แต่การจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ค่อนข้างค่อนข้างแพงมาก และมีปัญหาที่ผิดปกติชัดเจนหลายเรื่อง กลายเป็นแหล่งหาผลประโยชน์ เป็นแค่กองทัพของผู้มีบารมีที่เอาไว้ปราบปรามประชาชน แต่คงไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันประเทศอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ไม่นับฝูงบิน กริฟเพน (Gripen) ที่รัฐบาลสวีเดนยินดีขายให้รัฐบาลรักสิน ในราคามิตรภาพ ราคาลำละประมาณ 600 ล้านบาท แต่รัฐบาลรักสินจะใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรแทนการจ่ายเงิน เพราะไม่ต้องการให้ขาดดุล เวลาห่างกันเพียง 4 ปีเศษ ราคากริพเพนขยับพุ่งเป็นลำละ 2,866 ล้านบาท แต่รัฐบาลสุรายึดและอภิเสกก็อนุมัติจัดซื้ออย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ

ทำไมรถไฟฟ้าไม่มาสักที

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีรถไฟมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีการเปิดเส้นทางรถไฟสายแรกระหว่างกรุงเทพถึงนครราชสีมาในปี 2434 หรือกว่าร้อยปีมาแล้ว




แต่การรถไฟของไทยก็ไม่ได้พัฒนาไปถึงไหน ผิดกับหลายประเทศที่เริ่มต้นใกล้ๆ กัน หรือเริ่มทีหลังแต่ได้พัฒนาระบบขนส่งมวลชนไปทั่วประเทศ ในขณะที่ไทยเน้นการขนส่งทางรถยนต์พวกทางด่วนต่างๆโดยมิได้มีการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชน
อาจเป็นเพราะลุงสมชายไม่ค่อยสนใจเรื่องการเดินทางของประชาชน
แม้แต่โครงการขนส่งมวลชนที่ทำท่าจะเริ่มเป็นระบบก็ถูกยกเลิก และบางโครงการก็เหลือแค่เสาตอม่อ ประจานความไม่อาไหนของการบริหารจัดการประเทศ ในระบอบที่มีลุงสมชายเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดที่แท้จริงแต่เพียงผู้เดียว


โครงการรถไฟฟ้าที่ยืดเยื้อมานานโดยเฉพาะสายสีเขียว มีปัญหาสำคัญมาจากนโยบายของลุงที่ต้องการที่ดินแปลงใหญ่แถวพรานนก บริเวณสามแยกไฟฉาย ไล่มาถึงหลานหลวง มหานาค เพื่อจะได้ไปบรรจบกับที่ดินบริเวณ สยาม ชิดลม ซอยนานา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินของลุงสมชาย โดยพยายามใช้วิธีการแลกเปลี่ยนที่ดินหรือแลกเปลี่ยนที่ดินกับหุ้นของลุง เพื่อที่ลุงจะได้ที่ดินในเมืองกรุงชั้นในเพิ่มขึ้นไปบรรจบกับที่ผืนเดิมที่ลุงครอบครองอยู่แล้ว แต่ไม่มีกฎหมายให้เอาที่ราชการไปแลกกับหุ้นของลุง

ที่ดินบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตแผนสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว จากพรานนกไปสมุทรปราการ ถ้าที่ดินแถวนั้นกลายเป็นที่ของลุงก็จะสร้างรถไฟฟ้าไม่ได้ เพราะลุงไม่ยอมให้เวณคืน และต้องสร้างอ้อมเพื่อเลี่ยงการเวณคืนที่ดินของลุง หรือต้องไปลอดแม่น้ำเจ้าพระยา หรือต้องตัดรถไฟฟ้าสายสีเขียวออกไปทั้งสาย ที่สร้างรถไฟฟ้าไม่สำเร็จ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะติดปัญหาที่ดินบริเวณนี้มาหลายปีแล้ว และไม่มีใครกล้าทำโอนให้ลุง แต่อภิเสกลูกรักของลุงและป้าได้เซ็นแลกที่ดินให้ลุงไปแล้ว โดยแลกกลับหุ้นเน่าๆของบริษัทลุงแห่งหนึ่ง อภิเสกให้แก้ไขโครงการรถไฟฟ้าส่วนนี้ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี จึงเริ่มก่อสร้างใหม่ได้

เมื่อครั้งโครงการทางรถไฟโฮปเวลล์ (Hopewell) ก็เคยเกิดปัญหาแบบนี้ แผนการก่อสร้าง ช่วงที่ 2 ยมราช-หัวลำโพง ต้องไปเวณคืนที่ของลุง พอดีมีเหตุรสช.ยึดอำนาจการปกครองเมื่อต้นปี 2534 นายอานันท์ลูกน้องลุงได้เป็นนายกรัฐมนตรีจึงฉวยโอกาส สั่งให้ล้มโครงการโฮปเวลล์ ตอนนี้มาเลย์เซียที่เคยมาดูงานรถไฟในไทยเขาสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งๆที่เขาคิดทีหลังแต่บ้านเมืองของเขาโชคดีไม่มีเจ้าพ่อแบบลุงสมชายและครอบครัวที่มาคอยบงการสั่งการถ่วงความเจริญของบ้านเมือง

ถนนของข้า ใครอย่าเกะกะ

ถนนหนทางสาธารณะที่เห็นๆกันอยู่ ทุกคนก็รู้ว่าสร้างจากเงินงบประมาณจากภาษีอากร ที่เก็บจากราษฎร ถนนหนทางจึงเป็นของรัฐหรือราษฎรนั่นเอง แต่ประเทศไทยที่อวดอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย กลับถือว่าถนนหนทางตลอดจนแม่น้ำลำคลองเป็นของคนบางคนบางครอบครัว ที่คิดจะปิดจะเปิดเมื่อใดก็ได้ โดยมิได้คำนึงถึงความลำบากเดือดร้อนของประชาชนผู้เป็นเจ้าของแม้แต่น้อย

ช่วงที่ลุงยึดโรงหมอสีหราชเป็นบ้านถาวร คนในย่านใกล้เคียงก็ต้องลำบากเรื่องการสัญจรเป็นพิเศษ เพราะมีญาติๆของลุงและท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายต้องมาลงชื่ออวยพรให้ลุง ลูกหลานคนไหนหรือผู้ใหญ่คนไหนที่ไม่มาลงชื่อก็มีสิทธิ์ตกกระป๋อง ชีวิตคงหาความเจริญก้าวหน้าไม่ได้

การที่บรรดาท่านผู้ยิ่งใหญ่ ไปๆมาๆ ก็มักมีการปิดถนนให้โล่งสะดวกแก่คนชั้นสูงเหล่านั้น สร้างความลำบากแก่ราษฎรที่ต้องใช้เส้นทางสัญจรบริเวณนั้นซึ่งเป็นจุดการจราจรที่สำคัญ ว่าไปแล้วปัญหาการเป็นเจ้าของถนน ทั้งๆที่พวกตนไม่ได้สร้าง ก็มีมานานแล้ว และนับวันจะหนักหนาสาหัสยิ่งขึ้นทุกวัน เมื่อก่อนคนชั้นสูงยังมีไม่มากแค่พ่อแม่ลูก และมีการเดินทางเป็นครั้งคราว ตามกิจธุระที่พึ่งมี แต่ปัจจุบันมีถึงหลาน เมียน้อย ญาติเมียน้อย และไม่จำกัดกิจธุระกลายเป็นถนนส่วนบุคคลของวงศ์ตระกูลไปแล้ว แต่ละวันมีการปิดถนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 ครั้ง

โดยเฉพาะพวกปลายๆแถว แต่วางกล้ามใหญ่ บรรดาลูกเมียของเสี่ยอู ทั้งเมียหลวง เมียน้อย เมียเก็บ เมียใหม่ พวกนี้จะมีการปิดถนนหนทางแบบเข้มงวดและมากเรื่องที่สุด รถในขบวนก็มีมากกว่า ในขบวนมักมีรถขนอาวุธขับตาม ปิดถนนทีเดียว 2 ฝั่งทั้งขาเข้า-ขาออก ปิดแต่ละครั้งก็ปิดนานมาก และปิดแบบพร่ำเพรื่อที่สุดด้วย มีทั้งปิดแบบเป็นทางการ เช่น เสี่ยอูไปงานพิธีกับรัศมีจันทร์ และปิดแบบตามใจฉันซึ่งมีมากที่สุด

ในส่วนของเสี่ยอูมักเป็นการปิดถนนเพื่อไปหาเมียซึ่งมีหลายรุ่นหลายแบบ แต่เทียบไม่ได้เลยกับรัศมีจันทร์ ที่เป็นซินเดอเรลล่าใหม่ถอดด้าม เพราะเธอเล่นปิดถนนหมดทุกงาน ไม่ว่า จะไปเรียนร้องเพลง เล่นโยคะ ไปทำตัว นวดหน้า ไปเรียนทำอาหาร ต่อผม ยืดผม ทาสีเล็บ ไปเดินชอปปิ้งตัดริบบิ้นที่ห้างหรูกลางกรุง วันๆ อย่างน้อย ต้องปิดถนนไม่ต่ำกว่า 6 รอบ บางทีปิดถนนอยู่ดีๆ ก็สั่งยกเลิกการปิดถนนเปลี่ยนใจเอาดื้อๆ เธอคงเหงา เลยหาเรื่องออกนอกบ้านแบบสะดวกคนเดียวโดยไม่ต้องเกรงใจชาวบ้าน

คนอื่นๆ ที่มีภารกิจต้องปิดถนนให้ราษฎรลำบากเล่นๆ ก็มี เช่นป้าปิดถนนเพื่อไปประสานวางแผนเล่นงานพวกของรักสินและเสื้อแดง หญิงใหญ่ปิดถนน เพื่อไปถ่ายหนัง และออกโชว์ตัว โสภาวลีปิดถนน เพื่อไปเก็บค่าหัวคิวบรรดาร้านค้าที่เธอมีหุ้นลมอยู่ด้วย
วัลภาปิดถนนเพื่อไปกินไก่ย่างกับแฟนคนใหม่ ที่เป็นทหารเรือแถวๆศรีราชา หญิงเล็กปิดถนนเพื่อตามไปเฝ้าสามีแถวโรงพยาบาลของเธอเอง ปังปอนปิดถนนเพื่อให้พี่เลี้ยงพาไปฝึกการพัฒนาสติปัญญาที่โรงพยาบาล ไปหัดสานปลาตะเพียน และต้องปิดถนนเพื่อพาปังปอนไปออกกำลังกาย เพราะตอนนี้หมอลงความเห็นว่าปังปอนเริ่มมีอาการเอ๋อ เหมือนคุณพุ่มลูกชายของหญิงใหญ่

พลอากาศเอกสิทธิ์ ที่ปรึกษาของลุงเคยเป็นห่วงการปิดถนน ที่สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมากแก่ราษฎร ทำให้ราษฎรต้องเสียเวลาจอดรถรออยู่บนถนนในรถกว่าครึ่งชั่วโมง เพื่อรอขบวนรถของครอบครัวลุงสมชาย เลขาของลุงเคยคุยกับลุงเรื่องการปิดถนนที่มากเกินไป ลุงก็อนุญาตให้ไปคุยกับลูกๆหลานๆของลุง แต่ไม่มีผลอะไรเลย เสี่ยอูเองยังเคยสั่งให้ราษฎรปิดหน้าต่างชั้นสอง เมื่อตนเองเดินทางผ่าน ทำเหมือนสมัยเมื่อร้อยกว่าปีก่อนซึ่งยิ่งทำให้ราษฎรไม่พอใจ

เสี่ยอูค่อนข้างเข้มงวดเรื่องการปิดถนนมากเป็นพิเศษ ถ้าเกิดความผิดพลาดหรือไม่เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอน ก็จะถูกด่าหรือโดนไล่ออกหรือถึงกับถูกทำร้ายร่างกาย ต่อหน้าลูกน้องทั้งแถวเลย ดังนั้นการปิดถนนคราวละครึ่งค่อนชั่วโมงเพื่อไปนวดตัว เข้าสปา หรือไปทำโยคะ
จึงเป็นเรื่องที่เข้มงวดมาก


ห้ามใครใช้ถนนทั้งนั้นไม่ว่าจะมีธุระจำเป็นเร่งด่วน หรือแม้แต่กรณีที่ต้องรีบไปส่งคนเจ็บคนไข้ก็ไม่มีการยกเว้น เพราะเจ้าหน้าที่กลัวการถูกลงโทษเป็นอย่างมาก บางทีเวลาขบวนรถจะผ่านก็ต้องย้ายรถที่จอดตามข้างทางออกก่อน ห้ามประชาชนใช้สะพานหรือสะพานลอยบริเวณที่รถขบวนหรือเรือขบวนจะลอดผ่าน และห้ามใช้เครื่องขยายเสียง ต้องยืนตรงแสดงความเคารพจะนั่งไขว่ห้างหรือนอนเล่นไม่ได้ คือทำเหมือนราษฎรเป็นคนชั้นที่ต่ำกว่าพวกวงศ์เทวดา

เงิน 10 ล้าน ผักชีโรยหน้า
กับการรับรองไม่กี่นาที


เรามักเห็นภาพข่าวการเดินทางไปเปิดงานหรือเปิดอาคารตามสถานที่ต่างๆ มีการประดับประดา จัดสถานที่ ปะรำพิธีเป็นอย่างดีสมเกียรติสมฐานะท่านผู้มีบุญของประเทศ ซึ่งต้องใช้เงินจากภาษีอากรของราษฎร เพียงเพื่อให้สมเกียรติผู้มาเปิดงานที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีแต่ใช้เงินจำนวนไม่น้อยโดยไม่คำนึงถึงสาระประโยชน์แม้แต่น้อย
ตัวเลขค่าใช้จ่ายของราชการเพื่อเตรียมการรับรอง เวลาที่เสี่ยอูเดินทางไปเปิดงานหนึ่งครั้งที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที มีรายละเอียดเป็นตัวอย่าง ดังนี้

1.มีการเตรียมการของหัวหน้าส่วนงาน ขึ้นลงเพื่อประสานงานก่อสร้างรวมทั้งปะรำพิธี เดินทางด้วยเครื่องบินการบินไทยขึ้นลงนับสิบรอบ ก่อนถึงวันรับรอง
2. ปรับพื้นที่ นำดินมาถมปรับความสูงจากเดิมเมตรครึ่ง ในพื้นที่ประมาณ 4 ไร่หรือ 1600 ตารางวา คิดเป็นเนื้อดิน 9600 ลูกบาศก์เมตร

3. นำต้นไม้ใหญ่มาปลูก ประดับด้วยไม้ดอกรอบบริเวณ
4. ถางหญ้าสองข้างทางจากสนามบินยังบริเวณที่จัดงานระยะทาง 20 กิโลเมตร
5. ทหารสำรวจบริเวณโดยรอบอย่างละเอียด และเข้าประจำที่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วัน


6. ก่อสร้างเต็นท์สำหรับงานพิธี
7. ก่อสร้างห้องน้ำพร้อมอุปกรณ์ครบ และห้องพักรับรอง ติดแอร์อย่างดี
8. ก่อสร้างซุ้มใหม่ รองรับหน่วยงานจัดแสดง 40 ห้อง
9. จัดซุ้มทางเข้าประดับดอกไม้ ป้ายขนาดใหญ่ เพื่อต้อนรับและปูทางลาดเดิน
10. ติดตั้งไฟฟ้า แสงสว่าง สปอตไลท์โดยรอบพร้อมเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่
11. หน่วยงานราชการทั่วทั้งภาคนำผลงานที่จะแสดงมาเข้าแสดงประจำซุ้ม
12. รถถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมเตรียมพร้อม


ใช้งบประมาณในการเตรียมการทั้งสิ้นมากกว่า 10 ล้านบาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายของหน่วยงานที่เข้าร่วม ค่าใช้จ่ายกำลังประจำจุด ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ในงานรับรองเสี่ยอูใช้เวลาเดินรอบงานหนึ่งรอบ รวมเวลาไม่ถึงชั่วโมงแล้วกลับโดยไม่เข้าห้องน้ำ ไม่เข้าห้องพักรับรองที่สร้างไว้ให้โดยเฉพาะ



............

ไม่มีความคิดเห็น: