ฟังเสียง : http://www.4shared.com/mp3/jiZ5-Zdq/See_Through_Stable_Owner_05.html
หรือที่ : http://www.mediafire.com/?4gsv0u2zbcg81q7
กษัตริย์ภูมิพล
กับคดีสวรรคต
นับตั้งแต่วันแรกที่ครองราชสมบัติ ซึ่งเป็นค่ำวันเดียวกับที่เกิดกรณีสวรรคตหรือปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ในตอนเช้าวันเดียวกัน ทั้งๆพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุชี้ชัดไปที่พระอนุชาว่าเป็นผู้ปลงพระชนม์อย่างไม่มีทางเป็นอย่างอื่น จะมีก็แต่เพียงข้อโต้แย้งว่าเป็นอุบัติเหตุหรือกระทำโดยเจตนาเท่านั้น แม้จะได้มีการพยายามทำลายหลักฐานตั้งแต่แรก คำให้การที่ขัดแย้งกัน การสร้างพยานเท็จ มุ่งกำจัดนายปรีดีซึ่งเป็นศัตรูคนสำคัญที่เป็นหัวขบวนการปฏิวัติของคณะราษฎร 2475 มีการข่มขู่คุกคามบังคับในยุคเผด็จการจอมพลป.และพล.ต.อ.เผ่า ที่ลงท้ายด้วยการกลับคำพิพากษา เพื่อหาทางประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ที่เป็นพยานปากสำคัญรวมทั้งการเชื่อมโยงไปให้ถึงบุคคลที่ตนเชื่อว่าอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับพวกฟื้นฟูระบอบเจ้า
หลังกรณีสวรรคตและพระอนุชาได้รับการรับรองจากสภาฯให้ขึ้นครองราชย์ขึ้นเป็นกษัตริย์ รัฐบาลปรีดีต้องการให้ประทับในประเทศไทย แต่ทางราชสำนักยืนยันว่ากษัตริย์จะเสด็จกลับยุโรปเพื่อศึกษาต่างประเทศในเดือนสิงหาคม 2489 รัฐบาลหลวงธำรงของนายปรีดีก็คาดว่า จะเสด็จกลับมาประกอบพระราชพิธีพระราชเพลิงศพพระเชษฐาในไม่กี่เดือนข้างหน้า มีการเริ่มลงมือเตรียมจัดสร้างพระเมรุ เพื่อประกอบพิธีในเดือนมีนาคมปีต่อมา 2490 แต่ราชสำนัก ก็ยังไม่ยืนยันว่าจะเสด็จกลับมาประกอบพิธีไม่
ในเดือนธันวาคม 2489 คณะผู้สำเร็จราชการมีหนังสือขอให้รัฐบาลเลื่อนงานพระราชทานเพลิงพระบรมศพออกไป โดยมีเหตุผลข้อหนึ่งว่าการสอบสวนกรณีสวรรคตยังไม่เสร็จสิ้น จะเป็นอุปสรรคต่อการพระราชทานเพลิงศพ ดังมีข้อความว่า อนึ่งการกำหนดงานพระราชทาน เพลิงพระบรมศพนั้น ถ้าจะกำหนดแล้ว ก็น่าจะกำหนดให้เหมาะกับโอกาสที่จะเสด็จพระราชดำเนินเพื่อถวายพระเพลิงด้วย แต่โดยที่การสอบสวนกรณีสวรรคตยังเป็นอันควรให้เจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนอยู่ ต่อไปอีก และยังหวังไม่ได้ว่า การสอบสวนต่อไปดังว่านั้นจะสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อใดแน่ การที่จะกำหนดให้เสด็จเข้ามาเพื่อถวายพระเพลิงในเดือนมีนาคมหน้า ถ้าการ สอบสวนเช่นว่านั้นยังไม่สำเร็จเด็ดขาดลงไป การขลุกขลักย่อมจะมีขึ้นเกี่ยวกับการจัด ที่ประทับและการจัดผู้คนราชบริพารประจำในที่ประทับเหล่านี้อยู่มาก
หลังกรณีสวรรคตมีแนวโน้มว่ากษัตริย์ภูมิพลคงหนีไม่รอดคดีปลงพระชนม์ สถานทูตและกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันได้รับข่าวเรื่องนายควง และพี่น้องปราโมชเตรียมวางแผนจะสถาปนาพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นเป็นกษัตริย์ เพราะสถานะของกษัตริย์ภูมิพลในช่วงปีแรกๆ มีความไม่แน่นอน หรือไม่มั่นคงสูงในส่วนที่เชื่อมโยงกับกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8
โดยเฉพาะในสายตาของวงการทูตและรัฐบาลตะวันตก มีรายงานว่ารัฐบาลนายควง กำลังเตรียมตัวที่จะประกาศว่าในหลวงภูมิพล จะทรงสละราชสมบัติ และว่าพระองค์เจ้าจุมภฏ จะขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ได้ทำให้เกิดเป็นปัจจัยใหม่ขึ้นมาในสถานการณ์ซึ่งอาจสร้างความปั่นป่วนอย่างถึงราก การแบ่งขั้วการเมืองในขณะนั้น ทำให้ดูเหมือนนายควงและพี่น้องปราโมชหวังว่า พวกเขาจะสามารถรักษาอำนาจตัวเองไว้ได้หากพระองค์เจ้าจุมภฏขึ้นครองราชย์ เพราะพระองค์เจ้าจุมภฏเป็นบุคคลผู้มีวุฒิภาวะ ( ประสูติ 2447 มีพระชนม์ 52 ปี ขณะที่กษัตริย์ภูมิพลมีพระชนม์เพียง 19 ปี ) จึงมีประสบการณ์ทางการเมืองและมีผู้สนับสนุนจำนวนมาก และทรงได้รับการผลักดันจากพระชายาผู้มีความหลักแหลมทะเยอทะยาน คือ มรว.พันทิพย์ ธิดาคนแรกของพระองค์เจ้าไตรทศพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย อดีตเสนาบดีต่างประเทศของสยามผู้ชาญฉลาดที่สุดคนหนึ่ง ซึ่งมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับเกมการเมืองทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
แต่ได้เกิดปั่นป่วนทางการเมืองเพิ่มขึ้นจากบทบาทคอร์รัปชั่นของหลวงกาจสงครามผู้ให้การสนับสนุนนายควง และเป็นผู้ควบคุมกำลังทหารบางส่วนสำคัญไว้ด้วย การคอร์รัปชั่นที่เกินหน้าของหลวงกาจสร้างความไม่พอใจให้กับจอมพล ป. ทั้งจอมพล ป.กับปรีดีต่างก็คัดค้านการรื้อฟื้นอำนาจของสถาบันกษัตริย์พอๆกัน
พวกเขาเห็นว่ากษัตริย์ภูมิพลอายุยังน้อย แค่ 19 ปี ไม่น่ามีปัญหาและยังไม่มีบริวารและอิทธิพลมากนัก ต่างจากการที่จะให้พระองค์เจ้าจุมภฏขึ้นเป็นกษัตริย์ จอมพล ป.และพล.ต.อ.เผ่าจึงต้องสกัดนายควงและไม่ให้พระองค์จุมภฏขึ้นเป็นกษัตริย์โดยการช่วยปิดคดีสวรรคตให้กษัตริย์ภูมิพลหลุดพ้นจากคดีให้จงได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ
หลังรัฐประหารโดยพลโทผินปี 2490 ในปีถัดมา 2491 รัฐบาลจอมพล ป. ได้เตรียมงานพระราชเพลิงพระบรมศพใหม่ เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2492 และเตรียมจัดพิธีบรมราชาภิเษกในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน โดยทูลเชิญให้เสด็จกลับมาประท้บในประเทศไทยเป็นการถาวร แต่กษัตริย์ภูมิพลมีจดหมายถึงจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี ว่าจะยังไม่เสด็จกลับประเทศไทยเป็นการถาวรจนกว่าการพิจารณาคดีสวรรคตจะเสร็จสิ้น
จากผู้ต้องสงสัย
กลายมาเป็นพยานโจทก์
แม้ว่าพระอนุชาจะเป็นผู้ต้องสงสัยมากที่สุดในทุกกรณี แต่เนื่องจากนายปรีดีได้เสนอให้แต่งตั้งขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงเท่ากับช่วยให้ผู้ต้องหาได้รับอภิสิทธิ์พ้นจากข้อกล่าวหาไปโดยปริยาย เพราะรัฐธรรมนูญไทยบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ไทยเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องมิได้ กษัตริย์ภูมิพลจึงได้รับสิทธิพิเศษ ได้ย้ายสถานะจากการเป็นจำเลยหรือผู้ต้องหา มาเป็นพยานโจทก์ ที่ต้องมามีบทบาทปรักปรำใส่ความเพื่อหาผู้บริสุทธิ์มารับโทษ เพื่อปิดคดีให้ตนพ้นมลทินไปโดยสิ้นเชิง แต่หลังเกิดเหตุทั้งกษัตริย์ภูมิพลและพระราชชนนีก็ต้องไปประทับอยู่สวิตเซอร์แลนด์ไม่ยอมเสด็จกลับมาเพื่อหลบหน้าจนกว่าคดีสวรรคตจะได้ข้อยุติหาคนรับบาปแทนได้เสียก่อน
ช่วง ปี 2493-94 เมื่อเสด็จกลับไปยุโรป หลังจากทรงประกอบพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ พระราชพิธีอภิเษกสมรส และราชาภิเษกแล้ว เมื่อพระราชินีตั้งครรภ์ รัฐบาลจอมพล ป.มีหนังสือทูลเชิญให้เสด็จมาคลอดในประเทศไทย ให้ถูกต้องตามประเพณี แต่ทรงยืนยันปฏิเสธ
การเสด็จกลับประเทศไทยเป็นการถาวรในปลายเดือนพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม 2494 นั้น มีขึ้นหลังจากศาลชั้นต้นได้พิพากษาตัดสินเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2494 ให้ประหารชีวิตนายชิต สิงหเสนี ในความผิดสมรู้ร่วมคิดปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์
กรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลจอมพล ป. ได้ใช้ความพยายามหลายเดือนในปี 2492 ที่จะจัดการให้ศาล อัยการ และจำเลยในคดีสวรรคต เดินทางไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ภูมิพลและพระราชชนนีที่สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อขอคำให้การในฐานะพยานฝ่ายโจทก์ แต่กษัตริย์ภูมิพลได้เสด็จกลับประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้นๆในต้นปีต่อมาเพื่อประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงอานันท์, อภิเษกสมรส และฉัตรมงคล และในระหว่างที่อยู่ในประเทศไทย ได้ให้ศาลและคู่ความเข้าเฝ้า และให้การในฐานะพยานโจทก์เมื่อวันที่ 12 และ 15 พฤษภาคม 2493 ต่อหน้าคณะผู้พิพากษา คณะอัยการโจทก์ จำเลยทั้ง 3 คน และทนายจำเลยในคดีดังกล่าว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน คือมารับพระราชทานคำให้การเผชิญสืบคือพิจารณาคดีนอกสถานที่ตั้งศาล ในระหว่างที่ทรงเสด็จกลับพระนครชั่วคราว เพื่อประกอบ 3 พระราชพิธีสำคัญ เป็นครั้งเดียวที่ทรงให้การในศาล สี่ปีก่อนหน้านั้น คือในปี 2489 หลังการสวรรคตไม่กี่วัน รัฐบาลนายปรีดี ได้ประกาศตั้ง กรรมการสอบสวน มีหัวหน้าผู้พิพากษาทั้งสามศาลและเจ้านายชั้นสูงบางพระองค์เป็นกรรมการ ดำเนินการไต่สวนโดยเปิดเผยต่อสาธารณะในนามศาลกลางเมืองเพื่อยุติกระแสข่าวลือเกี่ยวกับการสวรรคต โดยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2489 คณะกรรมการได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ภูมิพลและพระราชชนนี ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุ คำถามของคณะกรรมการฯที่มีนัยยะทางการเมืองมากที่สุด คือส่วนที่เกี่ยวกับความไม่ทรงพอพระทัยของในหลวงอานันท์ต่อผู้อื่น หรือความไม่พอใจของผู้อื่นที่มีต่อในหลวงอานันท์ แต่คำตอบของกษัตริย์ภูมิพล ก็ไม่ได้พาดพิงในเชิงกล่าวโทษผู้ใดทั้งสิ้น
กษัตริย์ภูมิพลร่วมให้การ
ปรักปรำนายปรีดี
และผู้บริสุทธิ์ทั้งสามคน
พระราชดำรัสให้การต่อศาลอาญาในปี 2493 ที่ทรงให้การเป็นพยานโจทก์ในวันศุกร์ที่ 12 และวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2493 ตีพิมพ์ใน สยามนิกร วันที่ 18 พฤษภาคม 2493 เฉพาะที่นัยยะสำคัญมีดังนี้
คำให้การพยานโจทก์
คดีหมายเลขดำที่ 1898/2493
ศาลอาญา
วันที่ 12 พฤษภาคม 2493
ความอาญาระหว่าง
อัยการ โจทก์นายเฉลียว ปทุมรส กับพวก จำเลย
ข้าพเจ้าขอให้การว่า ข้าพเจ้าชื่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอให้การต่อไป (ทรงตอบโจทก์)
[2] ในเช้าวันที่ 9 มิถุนายนนั้น ฉันกินอาหารเช้าเวลาใดบอกไม่ใคร่ถูก แต่ประมาณราว 8.30 น. กินที่มุขพระที่นั่งชั้นบนด้านหน้า กินอาหารแล้วฉันได้เดินไปทางห้องบรรทมในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นเวลา 9.00 น.ได้พบนายชิตกับนายบุศย์ อยู่ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ เห็นนั่งอยู่ นายชิต นายบุศย์ นั่งอยู่เฉยๆ ฉันได้ถามเขาว่า ในหลวงพระอาการเป็นอย่างไร ได้รับตอบว่าพระอาการดีขึ้น ใครเป็นผู้ตอบจำไม่ได้ เขาตอบไปว่าทรงสบายดีขึ้น ได้เสด็จห้องสรงแล้ว ต่อจากนั้น ฉันได้เดินไปยังห้องของฉัน เดินไปตามเฉลียงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของฉัน แล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆออกๆอยู่ที่สองห้องนี้ ระหว่างนั้นซึ่งเป็นเวลาประมาณ 9.25 น. ได้ยินเสียงคนร้อง ได้ยินในขณะที่อยู่ในห้องเครื่องเล่น ก่อนได้ยินเสียงร้องได้เห็นคนวิ่งผ่านประตูห้องบันไดซึ่งอยู่ติดกับห้อง เครื่องเล่น เสียงคนร้องเป็นเสียงใครจำไม่ได้ ได้ยินเสียงร้องแล้ว ฉันได้ออกจากห้องเครื่องเล่นไปยังเฉลียงด้านหน้าโดยผ่านทางห้องบันได ได้พบน.ส.จรูญ ที่หน้าห้องข้าหลวง ถาม น.ส.จรูญ ว่ามีอะไรเกิดเรื่องอะไร ได้รับตอบว่าในหลวงยิงพระองค์ ฉันได้ยินดังนั้นก็ตรงไปยังห้องพระบรรทมในหลวงรัชกาลที่ 8
[3] เมื่อเข้าไปถึงห้องพระบรรรทมแล้ว เห็นสมเด็จพระราชชนนีและพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม สมเด็จพระราชชนนี ประทับอยู่เบื้องปลายพระบาทในหลวง โดยพระองค์อยู่บนพระแท่นครึ่งพระองค์ ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม และอยู่ตอนไปทางด้านพระเศียร
|เห็นในหลวงบรรทมอยู่บนพระแท่นในท่าหงายอย่างปรกติ เห็นที่พระนลาตมีรอยโลหิต พระเนตรหลับ สังเกตเห็นพระกรยืดอยู่ข้างพระวรกาย อยู่ท่าคนนอนธรรมดา พระกรแนบพระวรกาย ห่างจากพระวรกายตรงขอบพระหัตถ์ด้านในประมาณ 5 ซ.ม. ที่ว่านี้หมายถึงพระกรซ้าย ส่วนพระกรข้างขวาเป็นอย่างไรไม่เห็น สังเกตเห็นพระหัตถ์อยู่ในท่าธรรมดา นิ้วพระหัตถ์ไม่งอแต่พระหัตถ์งอบ้างอย่างธรรมดา คืองอนิดหน่อย มีผ้าคลุมพระบรรทมคลุมอยู่ด้วย พระกรอยู่ภายนอกผ้านั้น เห็นแต่ข้างซ้าย ข้างขวาไม่ได้เห็น ผ้าคลุมพระองค์ขึ้นมาเสมอพระอุระ
[4] เมื่อฉันเห็นเช่นนั้นก็บอกกับคนที่อยู่ที่นั่นให้ไปตามหมอมา แล้วฉันได้เข้าไปประคองสมเด็จพระราชชนนีมาประทับที่พระเก้าอี้ปลายพระแท่น บรรทม ต่อจากนั้น หลวงนิตย์ฯได้มาถึง จะมาถึงภายหลังที่ฉันเข้าไปในห้องพระบรรทมแล้วนานเท่าใด กะไม่ถูก หลวงนิตย์ฯเข้าไปดูแล้วกก็ไม่ได้พูดว่ากะไร แต่ฉันเห็นหน้าหลวงนิตย์ฯก็รู้ได้ว่าไม่มีหวังแล้ว สมเด็จพระราชชนนีได้เสด็จไปประทับในห้องทรงพระอักษรต่อไป
[5] เมื่อทราบว่าหมดหวังแล้ว ต่อมาได้เรียกพระยาชาติฯขึ้นมาถามว่าจะทำอย่างไรต่อไป พระยาชาติฯบอกถึงพระราชพิธีเกี่ยวกับพระบรมศพแล้ว ฉันก็สั่งให้เขาจัดการไปตามระเบียบ
วันที่ 15 พฤษภาคม 2493 (ทรงตอบโจทก์) ต่อจากวันที่ 12 พฤษภาคม 2493
[10] ฉันเคยทราบว่านายเฉลียว ได้นั่งรถยนตร์เข้าไปถึงหน้าพระที่นั่งบรมพิมาน ในหลวงรัชกาลที่ 8 จะทรงพอพระราชหฤทัยในการกระทำเช่นนั้นหรือไม่ ฉันไม่รู้ เคยมีครั้งหนึ่งที่สมเด็จพระราชชนนีรับสั่งเรียกรถยนตร์ไม่ได้มา เหตุที่ไม่ได้มา เพราะคันหนึ่งไปซ่อม อีกคันหนึ่งเอาไปให้นายปรีดี เขาว่ากันว่า นายเฉลียว เป็นผู้จัดส่งรถไปให้นายปรีดี แล้วนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งรถมาถวายให้ทรงใช้แทน
[11] ในหลวงรัชกาลที่ 8 ไม่เคยรับสั่งอะไรกับฉันถึงการเข้าเฝ้าของนายเฉลียวว่ามีคารวะหรือไม่ การที่นายเฉลียวพ้นตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์นั้น น่าจะเป็นด้วยในหลวงไม่พอพระราชหฤทัย เหตุที่ไม่พอพระราชหฤทัย เพราะอะไรไม่ได้รับสั่งแก่ฉันให้ทราบ
[12] ในคราวเสด็จประพาสหัวหิน นายปรีดีโดยเสด็จด้วย ในคราวนั้นนายปรีดีได้สั่งเอารถจี๊ปไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต และนายปรีดีได้เคยจัดให้มีงานเลี้ยงขึ้นที่นั่น เลี้ยงพวกใต้ดิน จัดเลี้ยงโดยไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาต ในการเลี้ยงนั้นมีเสียงเอะอะ
[13] นายปรีดีเคยว่า จะสั่งให้เอาเปียโนมาถวาย จะสั่งมาจากไหนไม่ได้บอก ขณะนำมาถวายฉันไม่ได้อยู่ด้วย ในขั้นต้นฉันเข้าใจว่า เปียโนนั้นเป็นของนายปรีดี ต่อมาพระยาชาติฯบอกว่าเป็นของสำนักพระราชวัง
[14] เกี่ยวกับการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในการที่ในหลวงรัชกาลที่ 8 จะเสด็จต่างประเทศนั้น ฉันได้รู้บ้าง ความเห็นของนายปรีดีในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการ จะตรงกับพระราชดำริหรือไม่ ฉันไม่ทราบ
[15] เกี่ยวกับการตั้งราชเลขานุการแทนนายเฉลียวที่พ้นตำแหน่ง ฉันรู้บ้าง ในหลวงมีพระราชประสงค์จะทรงตั้งท่านนิกรเทวัญ เทวกุล นายปรีดีปฏิบัติการสนองพระราชประสงค์นั้นชักช้า
[16] ในการที่ในหลวงจะเสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ โดยผ่านไปทางประเทศอเมริกาและยุโรปนั้น เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน และทรงพระประสงค์จะได้เสด็จไปโดยเร็ว พระราชประสงค์นี้จนใกล้จะสวรรคตก็มิได้เปลี่ยนแปลง รัฐบาลจัดการเรื่องเสด็จนั้นเร็วช้าประการใดไม่ทราบ ในที่สุด ได้กำหนดเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 13 มิถุนายน 2489
[17] นายมี พาผล เคยบอกฉันว่า วันที่ 13 จะเสด็จกลับไม่ได้ บอกเมื่อในหลวงเสด็จสวรรคตแล้วราว 2-3 อาทิตย์ ว่านายชิตเป็นผู้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่ 13
[18] ตามที่ตอบไว้เมื่อวันก่อนว่า เห็นคนวิ่งผ่านห้องบันไดไปนั้น ต่อมาฉันได้สอบสวนดู ฉันเคยถามนายชิตเขาบอกว่า เขาวิ่งมาทางหน้าพระที่นั่ง และบอกอีกครั้งหนึ่งว่าวิ่งมาทางหลังพระที่นั่งแล้วออกไปทางหน้า เขาไม่แน่ใจ นายชิตบอกและชี้ทางด้วย แต่ก็เป็นเรื่องไม่แน่นอน
[24] นายฉันท์ หุ้มแพร เป็นคนจงรักภักดี และเป็นห่วงในความสุขสบายของเรา เกี่ยวกับการปลอดภัย เขาเป็นห่วงเหมือนกัน นายฉันท์ฯไม่เคยพูดกับฉันมาก เป็นแต่เคยบอกกับฉันว่า ต้องระวัง ที่ว่าต้องระวังนั้น เข้าใจว่าระวังคน บอกตั้งแต่ฉันมาถึงเมืองไทย
[25] รถจี๊ปที่นายปรีดีเอาไปใช้นั้น เป็นรถส่วนพระองค์
[33] การที่นายปรีดีโดยเสด็จไปหัวหินด้วยนั้น นายปรีดีไม่มีหน้าที่โดยเสด็จ แต่จะเป็นพระราชประสงค์หรือเปล่า ฉันไม่รู้
[34] เรื่องสมเด็จพระราชชนนี ทรงเรียกรถใช้ไม่ได้นั้น จะก่อนหรือหลังกลับจากหัวหินจำไม่ได้ ได้ยินเขาพูดกันว่า รถนั้นนายปรีดีเอาไปใช้ โดยนายเฉลียวส่งไปให้
ลงพระปรมาภิไธย
ภูมิพล ปร.
คำให้การของกษัตริย์ภูมิพลก็เป็นเพียงการปรักปรำที่หาพยานหลักฐานเชื่อมโยงกับการปลงพระชนม์ไม่ได้เลย ที่จริงศาลที่ยึดหลักนิติธรรมก็ไม่น่าจะรับฟัง แต่ศาลก็พยายามโยง จับแพะชนแกะเพื่อหาเหตุมาลงโทษจำเลย รวมทั้งการปั้นพยานเท็จขึ้นมารองรับเรื่องโกหกที่แต่งกันขึ้นมา
เป็นไปได้ว่ากษัตริย์ภูมิพลก็มีส่วนรวมในการแสดงละครโกหก เป็นคนให้การเพื่อที่ศาลจะได้อ้างเอาไปเล่นงานจำเลยผู้บริสุทธิ์ สังเกตได้จากคำพิพากศาลฎีกาที่ว่า....นายเฉลียวเป็นคนสนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ..ในหลวงกับนายปรีดีมีข้อขัดแย้งกันในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายปรีดีได้พูดกับนายวงศ์ เชาวนะกวี เมื่อก่อนสวรรคตเพียงวันเดียว ว่าจะไม่คุ้มครองราชบัลลังก์........นายเฉลียวขาดความเคารพยำเกรงต่อพระเจ้าอยู่หัว ส่งรถยนต์ประจำพระองค์ไปให้ผู้อื่นใช้ จนขัดข้องแก่การที่จะทรงใช้ นั่งรถยนต์ไขว่ห้างล่วงล้ำเข้าไปถึงหน้าพระที่นั่ง ถวายหนังสือราชการด้วยอาการขาดคารวะ จูบหญิงพนักงานในที่ทำการซึ่งอยู่ตรงหน้าพระที่นั่งพระบรมพิมานจนพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็น เหล่านี้เป็นการเหยียดหยามพระราชประเพณีและพระองค์ท่าน ไม่เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย ทรงรับสั่งแก่นายปรีดีขอเปลี่ยนราชเลขานุการ ต่อมา นายเฉลียวมีอาการกระด้างกระเดื่องต่อรัชกาลที่ 8 ไม่เกรงพระทัย
นายชิตและนายบุศย์เป็นลูกน้องนายเฉลียว ส่วนเรือเอก วัชรชัยมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชองค์รักษ์ตามสมควร ขาดราชการบ่อย ๆ ฝักใฝ่อยู่ทางทำเนียบท่าช้าง ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ภายหลังที่ถูกปลดจากตำแหน่งราชองครักษ์แล้ว ก็ได้เป็นเลขานุการนายกรัฐมนตรี แถมศาลฎีกายังโยงเรื่องไปถึงนายฉันท์ หุ้มแพร ผู้เป็นห่วงในหลวงให้พกปืนและคอยระแวดระวัง แต่นายฉันท์ก็มาตายเสียก่อนเมื่อสวรรคตแล้วไม่ถึงเจ็ดวัน และนายชิตผู้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่ 13 มหาดเล็กคอยเตือนเรื่องความปลอดภัย...ซึ่งล้วนมาจากการปะติดปะต่อคำให้การหรือการปรักปรำของกษัตริย์ภูมิพลทั้งสิ้น เป็นการปรักปรำให้ร้ายใส่ความโดยไม่เกี่ยวกับพยานหลักฐานแม้แต่น้อย
ประกอบกับการให้การของพยานที่ไม่มีหัวนอนปลายเท้าที่คือนายตี๋ ศรีสุวรรณที่พระพินิจชนคดีจ้างมาให้การเท็จ ว่านายตี๋แอบไปได้ยินการวางแผนได้ยินเสียงพูดกันในห้องรับแขกของพลเรือตรีกระแสว่า "ผมไม่นึกเลย เด็กตัวนิดเดียว ปัญญาจะเฉียบแหลมถึงเพียงนี้.... พี่ชายว่าจะสละราชสมบัติให้น้อง คิดจะสมัครเป็นผู้แทน เป็นนายกฯ... เขาคิดเรื่องนี้สำเร็จออกไปได้ พวกเราจะเดือดร้อน ไม่ได้ อย่าให้พ้นไปได้ รีบกำจัดเสีย....นั่นตกเป็นพนักงานพวกผมเอง..พวกผมทำสำเร็จแล้ว ขอให้เลี้ยงดูให้ถึงขนาดก็แล้วกัน ...แล้วนายตี๋ก็ให้การว่าเห็นนายปรีดีคนเดียวออกจากบ้านไป พลเรือตรี กระแสตามออกไปส่ง ส่วนพวกที่มากับนายปรีดีอีกห้าคนนั้นออกไปนั่งดื่มสุรากันใต้ต้นมะม่วง...เรื่องปัญญาอ่อนแบบนี้ แต่ศาลฎีกาก็ยังมีเจตนาที่จะเชื่อเรื่องโกหกทุกเรื่อง ทั้งๆที่ไม่เกี่ยวกับการปลงพระชนม์แม้แต่น้อย ที่ฝรั่งเรียกว่าทฤษฎีสมคบคิด หรือ เป็นการสมรู้ร่วมคิดเตรียมการกันมา... โดยมีคนเขียนบท เขียนคำให้การให้กษัตริย์ภูมิพล และเขียนบทให้พระพินิจชนคดีไปจ้างพยานเท็จและเป็นคนเดียวกันที่เขียนคำพิพากษาให้ศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์เพื่อปิดคดีให้กษัตริย์ภูมิพลพ้นมลทินจากการเป็นผู้ต้องสงสัย
ก็คงไม่ต่างจากการที่พรรคประชาธิปัตย์สร้างพยานเท็จเพื่อให้ศาลรัดทำมะนวยที่หาเรื่องยกเลิกการเลือกตั้ง ยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน รวมทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับนักการเมืองที่รับรับเรื่องจากคตส.ให้จำคุกนายกทักษิณสองปีเพราะไปเซ็นรับรองให้ภรรยาไปประมูลซื้อที่ดินจากองทุนฟื้นฟู เป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าศาลไทยที่แขวนรูปพระเจ้าอยู่หัวไว้ในห้องพิจารณาคดี ได้ยึดถือเอาพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก เหนือกฎหมายและความชอบธรรมใดๆ ตั้งแต่เริ่มต้นรัชกาลที่ 9 เมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว
ประหารผู้บริสุทธิ์
เพื่อให้ท่านหลุดพ้นจากคดี
ได้เป็นกษัตริย์ที่สง่างามสืบต่อไป
เช้ามืด ของวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 นักโทษชายที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางบางขวาง 3 คน ได้ถูกนำตัวไปยังหลักประหารของเรือนจำ คือ เฉลียว ปทุมรส ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 หรือเป็นเวลา 8 ปี 8 เดือน 8 วันก่อนหน้านั้น
การสวรรคต ของในหลวงอานันท์ เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดแต่ห้ามพูดถึงโดยเด็ดขาด
ก่อนหน้ากรณีสวรรคตไม่กี่ปี ในช่วงที่คณะราษฎรยังเข้มแข็งสามัคคีกันดี สามารถปราบกบฏบวรเดชลงได้และศาลพิเศษ 2482 ยังได้วินิจฉัยว่ารัชกาลที่ 7 เป็นกบฏด้วยการบ่อนทำลายระบอบใหม่และช่วยเหลือกบฏบวรเดช แต่กรณีสวรรคตเกิดขึ้นในปี 2489 ในเวลาที่เริ่มเกิดการแตกหักระหว่างจอมพล ป.กับนายปรีดี และการเริ่มกลับมีบทบาทของกลุ่มนิยมกษัตริย์ที่เสียอำนาจไปเมื่อ 2475 กรณีสวรรคตจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นและสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างประเพณีห้ามพูดเรื่องของกษัตริย์
และเป็นโอกาสที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้หวนกลับมารื้อฟื้นทวงคืนอำนาจและอิทธิพลของระบอบราชาธิปไตยให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ในความเงียบงันของคดีสวรคต ผู้ที่ได้รับผลโดยตรงหนักที่สุดก็คือ ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกประหารชีวิตไปทั้ง สามคนนั่นเอง แม้ว่าจะมีการรณรงค์เพื่อกู้ชื่อเสียงของนายปรีดีจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่านายปรีดีไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสวรรคต นายปรีดีต้องสูญเสียอำนาจทางการเมืองและเสียชื่อเสียงเป็นเวลาหลายปี แต่ก็ไม่ได้สูญเสียอย่างถึงที่สุด คือเสียชีวิตต่างกับผู้ถูกประหารทั้งสามคน แต่สังคมไทยให้ความสำคัญกับชนชั้นนำอย่างนายปรีดีมากกว่าผู้บริสุทธิ์สามคนที่ต้องถูกประหารชีวิต ประเทศไทยไม่มีประเพณีการแก้คำตัดสินที่ผิดของศาลฎีกา หรือรื้อฟื้นชื่อเสียงอย่างเป็นทางการให้กับผู้ที่ถูกตัดสินไปผิดๆ โดยเฉพาะถ้าคดีผ่านไปหลายสิบปีอย่างกรณีสวรรคต แต่การที่เฉลียว ชิต และ บุศย์ ถูกตัดสินว่ามีส่วนในการลอบปลงพระชนม์ เป็นการตัดสินที่ผิดอย่างแน่นอน คำพิพากษาคดีสวรรคตควรถือเป็นโมฆะ เพราะทั้งศาลชั้นต้น และศาลฎีกา ได้ทำผิดกระบวนการพิจารณาคดีตามกฎหมาย
นอกเหนือจากขัดกับหลักกฎหมายแล้ว ในแง่สามัญสำนึก ทุกวันนี้มีใครบ้างที่ยังสติดี จะคิดว่าคนอย่างชิต สิงหเสนี ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่รับใช้ราชวงศ์มาหลายชั่วคน ผู้ซึ่ง “ตอนที่ทรงพระเยาว์อยู่ ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงขี่ข้าพเจ้าเล่นต่างม้า ” หรือคนอย่างบุศย์ ปัทมศริน ที่ “ บางเวลาเข้าที่สรงคืออาบน้ำแล้ว โปรดให้ข้าพเจ้าเช็ดพระวรกายทั่วทุกส่วน และบางทียังโปรดให้ข้าพเจ้าหวีพระเกษาถวายคือหวีผมให้ ” จะมีส่วนร่วมในแผนปลงพระชนม์ แล้วจะมีใครที่วาง “แผนปลงพระชนม์” ได้อย่างโง่เขลาเบาปัญญาเช่นนั้น
กรณีนายเฉลียว ปทุมรส ที่เรย์น ครูเกอร์ ผู้เขียนกงจักรปีศาจ พูดถูกที่ว่า ไม่มีศาลประเทศตะวันตกที่ไหนจะไม่โยนการกล่าวหาที่ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงนายเฉลียวเข้ากับการสวรรคตเลยนี้ ออกนอกศาลไป แม้แต่ศาลไทยในคดีนี้เอง หลังจากความพยายามทุกวิถีทางรวมทั้งสร้างพยานเท็จของฝ่ายโจทก์ ก็ยังไม่สามารถเอาผิดนายเฉลียวได้ทั้งในระดับศาลอาญาและศาลอุทธรณ์ ต้องรอมาจนถึงศาลฎีกา อาศัยตรรกะที่เหลือเชื่อมาสรุปเอาเองว่านายเฉลียวผิด
แต่ก็ยังมีความพยายามจะปฏิเสธการเป็นผู้รับผิดชอบต่อที่จะช่วยชีวิตทั้งสามไว้ในโอกาสสุดท้าย ในขั้นตอนการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
ในหนังสือชีวประวัติจอมพล ป. พิบูลสงคราม, อนันต์ พิบูลสงคราม ได้เขียนถึงกรณีสวรรคตว่าข้าพเจ้า จึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้นท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า “ พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนที่สุดแล้ว ” ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้าเห็นท่านครั้งนั้นขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง
กษัตริย์ภูมิพลยกฎีกา
ความเมตตาที่ต้องรอเก้อ
หลังจากศาลฎีกาได้ตัดสินให้จำเลยทั้งสามมีความผิดต้องประหารชีวิต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2497 แล้ว เกือบสองสัปดาห์ต่อมา ได้มีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบผลของคดี
พอวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยยื่นผ่านกรมราชทัณท์ แต่กว่าเรื่องจะขึ้นมาถึงระดับคณะรัฐมนตรีก็เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม วันที่ 8 ธันวาคม 2497 ฎีกาของทั้งสามถูกนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้
เพื่อให้ท่านหลุดพ้นจากคดี
ได้เป็นกษัตริย์ที่สง่างามสืบต่อไป
เช้ามืด ของวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 นักโทษชายที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางบางขวาง 3 คน ได้ถูกนำตัวไปยังหลักประหารของเรือนจำ คือ เฉลียว ปทุมรส ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 หรือเป็นเวลา 8 ปี 8 เดือน 8 วันก่อนหน้านั้น
การสวรรคต ของในหลวงอานันท์ เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดแต่ห้ามพูดถึงโดยเด็ดขาด
ก่อนหน้ากรณีสวรรคตไม่กี่ปี ในช่วงที่คณะราษฎรยังเข้มแข็งสามัคคีกันดี สามารถปราบกบฏบวรเดชลงได้และศาลพิเศษ 2482 ยังได้วินิจฉัยว่ารัชกาลที่ 7 เป็นกบฏด้วยการบ่อนทำลายระบอบใหม่และช่วยเหลือกบฏบวรเดช แต่กรณีสวรรคตเกิดขึ้นในปี 2489 ในเวลาที่เริ่มเกิดการแตกหักระหว่างจอมพล ป.กับนายปรีดี และการเริ่มกลับมีบทบาทของกลุ่มนิยมกษัตริย์ที่เสียอำนาจไปเมื่อ 2475 กรณีสวรรคตจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นและสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างประเพณีห้ามพูดเรื่องของกษัตริย์
และเป็นโอกาสที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้หวนกลับมารื้อฟื้นทวงคืนอำนาจและอิทธิพลของระบอบราชาธิปไตยให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ในความเงียบงันของคดีสวรคต ผู้ที่ได้รับผลโดยตรงหนักที่สุดก็คือ ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกประหารชีวิตไปทั้ง สามคนนั่นเอง แม้ว่าจะมีการรณรงค์เพื่อกู้ชื่อเสียงของนายปรีดีจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่านายปรีดีไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสวรรคต นายปรีดีต้องสูญเสียอำนาจทางการเมืองและเสียชื่อเสียงเป็นเวลาหลายปี แต่ก็ไม่ได้สูญเสียอย่างถึงที่สุด คือเสียชีวิตต่างกับผู้ถูกประหารทั้งสามคน แต่สังคมไทยให้ความสำคัญกับชนชั้นนำอย่างนายปรีดีมากกว่าผู้บริสุทธิ์สามคนที่ต้องถูกประหารชีวิต ประเทศไทยไม่มีประเพณีการแก้คำตัดสินที่ผิดของศาลฎีกา หรือรื้อฟื้นชื่อเสียงอย่างเป็นทางการให้กับผู้ที่ถูกตัดสินไปผิดๆ โดยเฉพาะถ้าคดีผ่านไปหลายสิบปีอย่างกรณีสวรรคต แต่การที่เฉลียว ชิต และ บุศย์ ถูกตัดสินว่ามีส่วนในการลอบปลงพระชนม์ เป็นการตัดสินที่ผิดอย่างแน่นอน คำพิพากษาคดีสวรรคตควรถือเป็นโมฆะ เพราะทั้งศาลชั้นต้น และศาลฎีกา ได้ทำผิดกระบวนการพิจารณาคดีตามกฎหมาย
นอกเหนือจากขัดกับหลักกฎหมายแล้ว ในแง่สามัญสำนึก ทุกวันนี้มีใครบ้างที่ยังสติดี จะคิดว่าคนอย่างชิต สิงหเสนี ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่รับใช้ราชวงศ์มาหลายชั่วคน ผู้ซึ่ง “ตอนที่ทรงพระเยาว์อยู่ ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงขี่ข้าพเจ้าเล่นต่างม้า ” หรือคนอย่างบุศย์ ปัทมศริน ที่ “ บางเวลาเข้าที่สรงคืออาบน้ำแล้ว โปรดให้ข้าพเจ้าเช็ดพระวรกายทั่วทุกส่วน และบางทียังโปรดให้ข้าพเจ้าหวีพระเกษาถวายคือหวีผมให้ ” จะมีส่วนร่วมในแผนปลงพระชนม์ แล้วจะมีใครที่วาง “แผนปลงพระชนม์” ได้อย่างโง่เขลาเบาปัญญาเช่นนั้น
กรณีนายเฉลียว ปทุมรส ที่เรย์น ครูเกอร์ ผู้เขียนกงจักรปีศาจ พูดถูกที่ว่า ไม่มีศาลประเทศตะวันตกที่ไหนจะไม่โยนการกล่าวหาที่ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงนายเฉลียวเข้ากับการสวรรคตเลยนี้ ออกนอกศาลไป แม้แต่ศาลไทยในคดีนี้เอง หลังจากความพยายามทุกวิถีทางรวมทั้งสร้างพยานเท็จของฝ่ายโจทก์ ก็ยังไม่สามารถเอาผิดนายเฉลียวได้ทั้งในระดับศาลอาญาและศาลอุทธรณ์ ต้องรอมาจนถึงศาลฎีกา อาศัยตรรกะที่เหลือเชื่อมาสรุปเอาเองว่านายเฉลียวผิด
แต่ก็ยังมีความพยายามจะปฏิเสธการเป็นผู้รับผิดชอบต่อที่จะช่วยชีวิตทั้งสามไว้ในโอกาสสุดท้าย ในขั้นตอนการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
ในหนังสือชีวประวัติจอมพล ป. พิบูลสงคราม, อนันต์ พิบูลสงคราม ได้เขียนถึงกรณีสวรรคตว่าข้าพเจ้า จึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้นท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า “ พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนที่สุดแล้ว ” ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้าเห็นท่านครั้งนั้นขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง
กษัตริย์ภูมิพลยกฎีกา
ความเมตตาที่ต้องรอเก้อ
หลังจากศาลฎีกาได้ตัดสินให้จำเลยทั้งสามมีความผิดต้องประหารชีวิต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2497 แล้ว เกือบสองสัปดาห์ต่อมา ได้มีการนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบผลของคดี
พอวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยยื่นผ่านกรมราชทัณท์ แต่กว่าเรื่องจะขึ้นมาถึงระดับคณะรัฐมนตรีก็เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม วันที่ 8 ธันวาคม 2497 ฎีกาของทั้งสามถูกนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้
เฉลียว บุศย์ และชิต (จากซ้ายไปขวา) สามผู้ต้องหา |
โดยน.ช. เฉลียว อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป
ไม่เคยคิดที่จะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ น.ช. ชิต อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล
ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต ส่วน น.ช. บุศย์ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมา ก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูล
ที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว
ไม่เห็นควรจะพระราชทานอภัยลดโทษให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศ
ตามหลักการของกระทรวงมหาดไทยซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระ ราชทานอภัยโทษให้
ควรยกฎีกาเสีย
ครม.มีมติ – เห็นชอบตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความถวายบังคมทูลได้
อย่างไรก็ตาม ความ เห็นของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีนี้ เป็นเพียงการแสดงความเห็นตามระเบียบเมื่อมีนักโทษถวายฎีกา ไม่ได้หมายความว่าเป็นมติที่ผูกมัดต่อพระมหากษัตริย์ เพราะการอภัยโทษเป็นเอกสิทธิ์และพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และแม้รัฐบาลจะมีความเห็นในทางปฏิเสธฎีกาใด ก็ยังต้องนำฎีกานั้นขึ้นทูลเกล้าให้ทรงวินิจฉัย
ในกรณีคดีสวรรคตสำนักคณะรัฐมนตรี คงส่งฎีกาผ่านไปยังสำนักราชเลขาธิการ หลังการประชุมครม.วันที่ 8 ธันวาคม 2497 เมื่อถึงกลางเดือนมกราคม คือกว่าสองเดือนหลังการยื่นของพวกเขา หรือหนึ่ง เดือนเศษหลังการพิจารณาของครม. หนังสือพิมพ์บางฉบับก็เริ่มลงข่าวถามถึงความคืบหน้า
สยามรัฐได้ไปสัมภาษณ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอกเดช เดชประดิยุทธ ซึ่งยืนยันว่า “ฎีกาจำเลยคดีสวรรคตถึงในหลวงแล้ว” ยิ่งเมื่อเข้าเดือนกุมภาพันธ์ หนังสือพิมพ์ก็สนใจเพิ่มขึ้น สยามรัฐรายงานข่าวว่า “ค.ร.ม.กำชับเจ้าหน้าที่ให้ปกปิด ผลการถวายฎีกาของจำเลยคดีสวรรคต ถ้ารั่วไหลจะเอาผิดแก่ผู้เกี่ยวข้อง” ใกล้กลางเดือน สยามรัฐรายงานยืนยันอีกว่ารัฐบาลถวายฎีกา และ “ราชเลขาธิการฝ่ายในได้ทูลเกล้าฯถวายพระเจ้าอยู่หัวแล้วด้วย”
ขณะที่สารเสรี พาดหัวตัวโตว่า “เผยฎีกาเฉลียว, ชิต, บุศย์มืดมน ราชทัณฑ์ยังปิด” เนื้อข่าวได้สัมภาษณ์ญาติของจำเลยซึ่งกล่าวว่า “กำลังรอสดับตรับฟังผลของการถวายฎีกาอยู่ ทางบรรดาญาติก็ร้อนใจ ได้พยายามวิ่งเต้นติดต่อสอบถามผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับราชสำนัก แต่ก็ไม่มีใครอาจตอบได้ ”
หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้กราบบังคมทูลฎีกาขออภัยโทษได้เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมแล้ว ก็ไม่มีการพิจารณาเรื่องคดีสวรรตในครม. อีกตลอดสองเดือนต่อมา ยกเว้นครั้งเดียวในปลายเดือนธันวาคมที่มีการเสนอให้รางวัลแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับคดี
สรุปแล้ว ระหว่างต้นเดือนธันวาคม 2497 ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2498 ชะตากรรมของเฉลียว ชิต และบุศย์ อยู่กับราชสำนัก ในที่สุดในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2498 คำตอบที่พวกเขารอคอยมากว่า 3 เดือนจากวันยื่นฎีกา ก็มาถึงอย่างเป็นทางการ:
เนื่องจากท่านนายกรัฐมนตรี ไปเยี่ยมเยียนราษฎรและข้าราชการต่างจังหวัดภาคใต้ คณะรัฐมนตรีจึงได้ตกลงให้ จอมพล ผิน ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม เริ่มประชุมเวลา 9.50 น. เลิกประชุมเวลา 12.50 น.
1. เรื่อง น.ช. เฉลียว ปทุมรส น.ช. ชิต สิงหเสนี และ น.ช. บุศย์ ปัทมศริน ทูลเกล้าฯถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
ตามที่กระทรวงมหาดไทย ได้ส่งฎีกาของ น.ช. เฉลียว ปทุมรส น.ช. ชิต สิงหเสนี และ น.ช. บุศย์ ปัทมศริน แห่งเรือนจำกลางบางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานอภัยลดโทษ พร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนไปเพื่อดำเนินการ และท่านนายกรัฐมนตรี ได้นำความกราบบังคมทูลต่อไปแล้วนั้น บัดนี้ ราชเลขาธิการแจ้งมาว่า ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกานี้
ครม.มีมติรับทราบ
จึงเห็นได้ชัดว่า ข้ออ้างที่ว่าในหลวงไม่ทรงทราบเรื่องฎีกาของแพะรับบาปทั้งสาม เพราะฎีกาถูกกักไว้บนโต๊ะของพล.ต.อ.เผ่า ที่ว่าทรงทราบเรื่องภายหลังการประหารชีวิตแล้ว ทำให้ทรงกริ้วอย่างรุนแรง ล้วนไม่เป็นความจริง
ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากคณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องนี้ ชีวิตของผู้ต้องโทษทั้งสามก็สิ้นสุดลง
ปรากฏว่าก่อนที่เรื่องการยกฎีกาจะเข้าสู่ที่ประชุมครม.
หนังสือพิมพ์รายวันเช้า ได้รู้เรื่องนี้ และตีพิมพ์เป็นข่าวใหญ่ พาดหัวตัวโตในหน้าแรก ของฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2498 ว่า
ประหาร เฉลียว ชิต บุศย์
สั่งยกฎีกาจำเลยคดีสวรรคต
โดยมีพาดหัวรอง และเนื้อหาของข่าวว่า
โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกาจำเลยทั้งสาม
เป็นหน้าที่ราชทัณฑ์จะจัดการต่อไป
ฎีกากรณีสวรรคต ซึ่งผ่านระยะเวลามากว่า 60 วัน ตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย ที่จำเลยทั้งสามได้ทำเรื่องราวขึ้นทูลเกล้าฯถวายฎีกา เพื่อขอให้ทรงวินิจฉัยลดหย่อนผ่อนโทษ ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาให้ประหารชีวิตนั้น บัดนี้ ฎีกาของจำเลยได้ถูกยกเสียแล้ว
กระแสข่าวจากวงในใกล้ชิดกับรัฐบาล ซึ่งผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นี้ทราบมา แจ้งว่าฎีกาที่จำเลยทั้งสาม คือ นายเฉลียว ปทุมรส นายบุศย์ ปัทมศรินทร์ นายชิต สิงหเสนี จำเลยทำขึ้นทูลเกล้าฯถวายฎีกา ได้ผ่านการพิจารณาไปเป็นขั้นๆ ตั้งแต่อธิบดี เจ้ากระทรวง และคณะรัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรีนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวฯมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯวินิจฉัย ให้ยกฎีกาจำเลยทั้งสามนั้นเสีย ทั้งนี้ โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้เป็นไปตามบทกฎหมาย โดยศาลยุติธรรมได้พิจารณาคดีนี้ไปแล้วจนถึงศาลสูงสุด
ต่อจากนี้ อนาคตของจำเลยทั้งสามจะเป็นไปตามหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ ตามคำพิพากษาของศาล โดยที่พ้นกำหนดเวลา 60 วันมาแล้ว
ผลการลงข่าวของ เช้า ทำให้ญาติของผู้ต้องโทษทั้งสามอยู่ในอาการเสียใจสุดขีด ตามรายงานข่าวของ สยามนิกร ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ภายใต้พาดหัวตัวใหญ่ ภรรยาเฉลียวร่ำไห้ ..... ในหลวงยกฎีกาจำเลยสวรรคต เฉลียว-ชิต-บุศย์รอวันตายไม่มีหวังรอดแล้ว : ภรรยาเฉลียวว่าสามีเชื่อตัวเอง คิดว่าคงได้พระราชทานอภัยแน่
พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัยให้ยกฎีกาของจำเลยในกรณีสวรรคต ทั้งสาม คือนายเฉลียว ปทุมรส นายบุศย์ ปัทมศิรินทร์ และนายชิต สิงหเสนีแล้ว บุคคลทั้งสามจึงจะต้องถูกประหารชีวิตในเวลาอันใกล้นี้
ภรรยาของนายเฉลียวจำเลยผู้หนึ่งในคดีนี้เพิ่งทราบข่าวเมื่อเช้าวันที่ 15 นี้เอง นางฉลวย ปทุมรส ร้องไห้สะอื้นตลอดเวลา ร่างสั่นไปทั้งร่าง เมื่อพบกับผู้แทนสยามนิกรเมื่อเช้าวันที่ 15 เดือนนี้ และว่าเพิ่งจะพบกับสามีครั้งสุดท้าย เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เดือนนี้เอง “คุณเฉลียวพูดว่าไม่เป็นไรหรอก จนดิฉันคิดเสียว่าอย่างไรเสียก็คงจะพระราชทานอภัยโทษ คุณพูดว่าตัวเราไม่ทำผิดอะไร เมื่อพบกันครั้งสุดท้ายคุณก็มั่นใจคิดว่าไม่เป็นไร ”
ญาติผู้ใหญ่ของคุณฉลวยอีกผู้หนึ่งกล่าวว่า เมื่อได้รับข่าว ทีแรกก็ยังไม่เชื่อว่าจะต้องถูกประหารจริง
ฉลวย ปทุมรส ใช้ผ้าเช็ดหน้าซับน้ำตาสะอื้น เล่าให้ฟังต่อไปว่า “เคยมีเพื่อนๆมาแนะนำให้เขาหนี ถามว่าทำไมไม่หลบไปเสีย ....
ความบริสุทธิ์ใจของตัวเองแท้ๆ คิดว่าเราบริสุทธิ์ก็คงไม่เป็นไรเลยไม่คิดหนี พูดกันตามความเป็นจริง เวลาที่ขึ้นศาลตั้งสามปี ถ้าคิดจะหลบหนีก็คงพ้น
คุณเฉลียวไม่เคยขออะไรมาเป็นพิเศษเลยค่ะ เมื่อวันศุกร์ที่พบกันก็เห็นเฉยๆ มั่นใจว่าจะไม่เป็นไร คุณเฉลียวในระหว่างรอพระราชวินิจฉัยของในหลวง ก็สบายพอควร ..ดิฉันเพิ่งทราบข่าวเมื่อเช้านี้เอง เด็กที่อยู่ที่ธนาคารเขาโทรศัพท์ไปบอกน้องสาว ดิฉันเองไม่ได้อยู่บ้าน น้องสาวเขาทราบว่าดิฉันอยู่ที่ไหน เขาเลยโทรไปบอก ...ดิฉันให้เด็กไปตามคุณบุญสม (ภรรยาคุณบุศย์) แล้ว แต่เด็กไม่พบ ไม่ทราบว่าไปไหน ”
เมื่อผู้แทนสยามนิกรไปถึงบ้านคุณฉลวย ปทุมรสนั้น คุณฉลวยนัยตาแดงๆแต่กลั้นน้ำตาไว้เชิญให้ผู้แทนของเราเข้าไปนั่ง เมื่อเราถามว่า ได้ทราบข่าวหรือยัง เธออุตส่าห์ไปหยิบหนังสือพิมพ์ออกมาให้ดูและยังไม่ร้องไห้ ทั้งๆที่ตาแดง แสดงว่าเพิ่งจะเช็ดน้ำตาให้แห้งหายไปหยกๆ
ต่อเมื่อเธอกลับเข้าไปสวมแว่นตาดำกลับออกมาและเริ่มเล่าให้ฟังว่าเธอคิดว่าจะไม่เป็นไร เธอไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยว่าจะไม่พระราชทานอภัยโทษ นางฉลวยตัวสั่นไปทั้งร่าง สะอื้นไห้เหมือนคนที่กลั้นน้ำตาไว้ และในที่สุด ไม่สามารถจะหักห้ามใจไว้ได้ เธอสะอื้นและเช็ดน้ำตาตลอดเวลา
ในตอนเที่ยง นางฉลวยได้เดินทางไปกรมราชทัณฑ์และที่อื่นๆอีกหลายแห่ง เธอกล่าวย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าว่า “วันนี้ดิฉันไม่สบายใจเลยค่ะ ไม่สบายใจเลยค่ะ”
ชะตากรรมของจำเลยคดีสวรรคตทั้งสาม ซึ่งผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลมาแล้วทั้งสามชั้น เพิ่งจะเป็นที่เปิดเผยจากวงการใกล้ชิดเมื่อเย็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2498 นี้เองว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงยกฎีกาขอพระราชทานลดหย่อนโทษประหาร ทั้งนี้เพื่อที่จะได้เป็นการกอร์ปพระราชกรณียกิจให้เป็นไปตามบทกฎหมายซึ่งศาลสถิตย์ยุติธรรมได้ลงความเห็นอันชอบไว้แล้ว . . . . . ขณะที่พิมพ์ไทยวันเดียวกัน พาดหัวว่า “ราชเลขาให้รอแถลงการณ์รัฐบาล ราชทัณฑ์ยังไม่ได้รับคำสั่งประหารเฉลียว ชิต บุศย์ ” และรายงานว่า ม.จ.นิกรเทวัญ เทวกุล ราชเลขาธิการ “ได้รับสั่งกับคนข่าวของเราว่าฎีกาของจำเลยทั้งสามคนนี้ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายมาหลายวันแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่อาจแถลงอะไรอะไรให้ทราบได้ ‘ รอฟังแถลงการณ์ของรัฐบาลก็แล้วกัน”
17 กุมภาพันธ์ วันแพะแห่งชาติ
ถึงตอนนี้ ทั้งผู้ต้องโทษและญาติคงหมดความหวังแล้ว เย็นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ กรมราชทัณฑ์เริ่มเดินกลไกของการประหารชีวิต
บุศย์ ปัทมศรินได้เขียนจดหมายถึงภรรยาก่อนถูกประหาร ดังนี้
16 กุมภาพันธ์ 2498
บุญสม
จดหมายฉบับนี้เป็นจดหมายครั้งสุดท้ายในชีวิตของฉันซึ่งเราจะต้องจากกันโดยฉันไม่ได้ ทำผิดคิดร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ก็ต้องตายโดยที่ไม่มีความผิด
ขอสมอย่าได้เสียอกเสียใจ เพราะผัวของสมไม่ได้ตายโดยมีความผิด ตายโดยความอยุติธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างสมรู้ดีฉันบริสุทธิ์เพียงไร แต่เป็นคราวเคราะห์ของฉันที่ต้องตายโดยไม่ได้ทำความผิด
จากนี้ไม่มีอะไรจะพูดอีก นอกจากขอร้องให้สมรักษาตัวให้ดี อย่าสุรุ่ยสุร่ายนัก เพราะสมจะต้องอยู่รักษาตัวต่อไปอีกนานจนกว่าจะที่สุดอายุของสม
อนึ่งในระหว่างที่อยู่ด้วยกันมา ถ้ามีอะไรที่ผิดพลั้งไปบ้าง ก็ขอให้อโหสิด้วย ฉันได้เซ็นชื่อในพินัยกรรมไว้ให้แล้ว ขอให้ใช้ให้เป็นประโยชน์
จากฉันเป็นครั้งสุดท้ายและจะไม่ได้พบกันอีก
บุศย์ ปัทมศริน
ประมาณ 5 โมง เจ้าหน้าที่เรือนจำบางขวางได้ไปติดต่อกับภิกษุเนตร ปัญญาดีโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดบางขวางที่อยู่ใกล้ๆกันว่าคืนนั้นขอนิมนต์ไปเทศน์ให้นักโทษที่ จะถูกประหารชีวิตฟัง โดยบอกด้วยว่าคือนักโทษคดีสวรรคต เวลาเดียวกันที่เรือนจำ นักโทษทั้งสามถูกนำตัวออกจากห้องขังมาทำการตีตรวนข้อเท้าตามระเบียบ เฉลียว ชิต และบุศย์ รู้ตัวทันทีว่ากำลังจะถูกประหารชีวิต ดูเหมือนว่าเฉลียวมีอาการปรกติ ขณะที่ชิตกับบุศย์ตื่นตระหนก จนเฉลียวต้องหันไปดุว่า “กลัวอะไร เกิดมาตายหนเดียวเท่านั้น” เฉลียวยังพูดหยอกล้อกับผู้ตีตรวนได้ หลังตีตรวนเสร็จ ทั้งสามถูกนำไปพิมพ์ลายนิ้วมือและตรวจโรคทำบันทึกสุขภาพ แล้วถูกพาไปที่ห้องขังชั่วคราว มีผู้คุมเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เข้าประกบนักโทษคนต่อคนตลอดเวลาแล้ว ยังมีแพทย์คอยสังเกตและตรวจอาการเป็นระยะๆ (เพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเจ็บก่อนถูกประหาร) มีเสื่อปูให้นอน แต่ไม่มีใครนอน ราว 19 น. แพทย์ฉีดยาบำรุงหัวใจให้เฉลียว 1 เข็ม ขณะที่ชิตกับบุศย์มีอาการกอดอกซึมเศร้า เวลา 22 น. ผู้คุมเป็นพยานให้นักโทษทั้งสามเขียนพินัยกรรมหรือจดหมายฉบับสุดท้ายถึงญาติ
ครม.มีมติ – เห็นชอบตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความถวายบังคมทูลได้
อย่างไรก็ตาม ความ เห็นของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีนี้ เป็นเพียงการแสดงความเห็นตามระเบียบเมื่อมีนักโทษถวายฎีกา ไม่ได้หมายความว่าเป็นมติที่ผูกมัดต่อพระมหากษัตริย์ เพราะการอภัยโทษเป็นเอกสิทธิ์และพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และแม้รัฐบาลจะมีความเห็นในทางปฏิเสธฎีกาใด ก็ยังต้องนำฎีกานั้นขึ้นทูลเกล้าให้ทรงวินิจฉัย
ในกรณีคดีสวรรคตสำนักคณะรัฐมนตรี คงส่งฎีกาผ่านไปยังสำนักราชเลขาธิการ หลังการประชุมครม.วันที่ 8 ธันวาคม 2497 เมื่อถึงกลางเดือนมกราคม คือกว่าสองเดือนหลังการยื่นของพวกเขา หรือหนึ่ง เดือนเศษหลังการพิจารณาของครม. หนังสือพิมพ์บางฉบับก็เริ่มลงข่าวถามถึงความคืบหน้า
สยามรัฐได้ไปสัมภาษณ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอกเดช เดชประดิยุทธ ซึ่งยืนยันว่า “ฎีกาจำเลยคดีสวรรคตถึงในหลวงแล้ว” ยิ่งเมื่อเข้าเดือนกุมภาพันธ์ หนังสือพิมพ์ก็สนใจเพิ่มขึ้น สยามรัฐรายงานข่าวว่า “ค.ร.ม.กำชับเจ้าหน้าที่ให้ปกปิด ผลการถวายฎีกาของจำเลยคดีสวรรคต ถ้ารั่วไหลจะเอาผิดแก่ผู้เกี่ยวข้อง” ใกล้กลางเดือน สยามรัฐรายงานยืนยันอีกว่ารัฐบาลถวายฎีกา และ “ราชเลขาธิการฝ่ายในได้ทูลเกล้าฯถวายพระเจ้าอยู่หัวแล้วด้วย”
ขณะที่สารเสรี พาดหัวตัวโตว่า “เผยฎีกาเฉลียว, ชิต, บุศย์มืดมน ราชทัณฑ์ยังปิด” เนื้อข่าวได้สัมภาษณ์ญาติของจำเลยซึ่งกล่าวว่า “กำลังรอสดับตรับฟังผลของการถวายฎีกาอยู่ ทางบรรดาญาติก็ร้อนใจ ได้พยายามวิ่งเต้นติดต่อสอบถามผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับราชสำนัก แต่ก็ไม่มีใครอาจตอบได้ ”
หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติให้กราบบังคมทูลฎีกาขออภัยโทษได้เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมแล้ว ก็ไม่มีการพิจารณาเรื่องคดีสวรรตในครม. อีกตลอดสองเดือนต่อมา ยกเว้นครั้งเดียวในปลายเดือนธันวาคมที่มีการเสนอให้รางวัลแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับคดี
สรุปแล้ว ระหว่างต้นเดือนธันวาคม 2497 ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2498 ชะตากรรมของเฉลียว ชิต และบุศย์ อยู่กับราชสำนัก ในที่สุดในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2498 คำตอบที่พวกเขารอคอยมากว่า 3 เดือนจากวันยื่นฎีกา ก็มาถึงอย่างเป็นทางการ:
เนื่องจากท่านนายกรัฐมนตรี ไปเยี่ยมเยียนราษฎรและข้าราชการต่างจังหวัดภาคใต้ คณะรัฐมนตรีจึงได้ตกลงให้ จอมพล ผิน ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม เริ่มประชุมเวลา 9.50 น. เลิกประชุมเวลา 12.50 น.
1. เรื่อง น.ช. เฉลียว ปทุมรส น.ช. ชิต สิงหเสนี และ น.ช. บุศย์ ปัทมศริน ทูลเกล้าฯถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
ตามที่กระทรวงมหาดไทย ได้ส่งฎีกาของ น.ช. เฉลียว ปทุมรส น.ช. ชิต สิงหเสนี และ น.ช. บุศย์ ปัทมศริน แห่งเรือนจำกลางบางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานอภัยลดโทษ พร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนไปเพื่อดำเนินการ และท่านนายกรัฐมนตรี ได้นำความกราบบังคมทูลต่อไปแล้วนั้น บัดนี้ ราชเลขาธิการแจ้งมาว่า ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกานี้
ครม.มีมติรับทราบ
จึงเห็นได้ชัดว่า ข้ออ้างที่ว่าในหลวงไม่ทรงทราบเรื่องฎีกาของแพะรับบาปทั้งสาม เพราะฎีกาถูกกักไว้บนโต๊ะของพล.ต.อ.เผ่า ที่ว่าทรงทราบเรื่องภายหลังการประหารชีวิตแล้ว ทำให้ทรงกริ้วอย่างรุนแรง ล้วนไม่เป็นความจริง
ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากคณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องนี้ ชีวิตของผู้ต้องโทษทั้งสามก็สิ้นสุดลง
ปรากฏว่าก่อนที่เรื่องการยกฎีกาจะเข้าสู่ที่ประชุมครม.
หนังสือพิมพ์รายวันเช้า ได้รู้เรื่องนี้ และตีพิมพ์เป็นข่าวใหญ่ พาดหัวตัวโตในหน้าแรก ของฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2498 ว่า
ประหาร เฉลียว ชิต บุศย์
สั่งยกฎีกาจำเลยคดีสวรรคต
โดยมีพาดหัวรอง และเนื้อหาของข่าวว่า
โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกาจำเลยทั้งสาม
เป็นหน้าที่ราชทัณฑ์จะจัดการต่อไป
ฎีกากรณีสวรรคต ซึ่งผ่านระยะเวลามากว่า 60 วัน ตามเงื่อนไขแห่งกฎหมาย ที่จำเลยทั้งสามได้ทำเรื่องราวขึ้นทูลเกล้าฯถวายฎีกา เพื่อขอให้ทรงวินิจฉัยลดหย่อนผ่อนโทษ ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาให้ประหารชีวิตนั้น บัดนี้ ฎีกาของจำเลยได้ถูกยกเสียแล้ว
กระแสข่าวจากวงในใกล้ชิดกับรัฐบาล ซึ่งผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นี้ทราบมา แจ้งว่าฎีกาที่จำเลยทั้งสาม คือ นายเฉลียว ปทุมรส นายบุศย์ ปัทมศรินทร์ นายชิต สิงหเสนี จำเลยทำขึ้นทูลเกล้าฯถวายฎีกา ได้ผ่านการพิจารณาไปเป็นขั้นๆ ตั้งแต่อธิบดี เจ้ากระทรวง และคณะรัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรีนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวฯมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯวินิจฉัย ให้ยกฎีกาจำเลยทั้งสามนั้นเสีย ทั้งนี้ โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้เป็นไปตามบทกฎหมาย โดยศาลยุติธรรมได้พิจารณาคดีนี้ไปแล้วจนถึงศาลสูงสุด
ต่อจากนี้ อนาคตของจำเลยทั้งสามจะเป็นไปตามหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ ตามคำพิพากษาของศาล โดยที่พ้นกำหนดเวลา 60 วันมาแล้ว
ผลการลงข่าวของ เช้า ทำให้ญาติของผู้ต้องโทษทั้งสามอยู่ในอาการเสียใจสุดขีด ตามรายงานข่าวของ สยามนิกร ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ภายใต้พาดหัวตัวใหญ่ ภรรยาเฉลียวร่ำไห้ ..... ในหลวงยกฎีกาจำเลยสวรรคต เฉลียว-ชิต-บุศย์รอวันตายไม่มีหวังรอดแล้ว : ภรรยาเฉลียวว่าสามีเชื่อตัวเอง คิดว่าคงได้พระราชทานอภัยแน่
พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัยให้ยกฎีกาของจำเลยในกรณีสวรรคต ทั้งสาม คือนายเฉลียว ปทุมรส นายบุศย์ ปัทมศิรินทร์ และนายชิต สิงหเสนีแล้ว บุคคลทั้งสามจึงจะต้องถูกประหารชีวิตในเวลาอันใกล้นี้
ภรรยาของนายเฉลียวจำเลยผู้หนึ่งในคดีนี้เพิ่งทราบข่าวเมื่อเช้าวันที่ 15 นี้เอง นางฉลวย ปทุมรส ร้องไห้สะอื้นตลอดเวลา ร่างสั่นไปทั้งร่าง เมื่อพบกับผู้แทนสยามนิกรเมื่อเช้าวันที่ 15 เดือนนี้ และว่าเพิ่งจะพบกับสามีครั้งสุดท้าย เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เดือนนี้เอง “คุณเฉลียวพูดว่าไม่เป็นไรหรอก จนดิฉันคิดเสียว่าอย่างไรเสียก็คงจะพระราชทานอภัยโทษ คุณพูดว่าตัวเราไม่ทำผิดอะไร เมื่อพบกันครั้งสุดท้ายคุณก็มั่นใจคิดว่าไม่เป็นไร ”
ญาติผู้ใหญ่ของคุณฉลวยอีกผู้หนึ่งกล่าวว่า เมื่อได้รับข่าว ทีแรกก็ยังไม่เชื่อว่าจะต้องถูกประหารจริง
ฉลวย ปทุมรส ใช้ผ้าเช็ดหน้าซับน้ำตาสะอื้น เล่าให้ฟังต่อไปว่า “เคยมีเพื่อนๆมาแนะนำให้เขาหนี ถามว่าทำไมไม่หลบไปเสีย ....
ความบริสุทธิ์ใจของตัวเองแท้ๆ คิดว่าเราบริสุทธิ์ก็คงไม่เป็นไรเลยไม่คิดหนี พูดกันตามความเป็นจริง เวลาที่ขึ้นศาลตั้งสามปี ถ้าคิดจะหลบหนีก็คงพ้น
คุณเฉลียวไม่เคยขออะไรมาเป็นพิเศษเลยค่ะ เมื่อวันศุกร์ที่พบกันก็เห็นเฉยๆ มั่นใจว่าจะไม่เป็นไร คุณเฉลียวในระหว่างรอพระราชวินิจฉัยของในหลวง ก็สบายพอควร ..ดิฉันเพิ่งทราบข่าวเมื่อเช้านี้เอง เด็กที่อยู่ที่ธนาคารเขาโทรศัพท์ไปบอกน้องสาว ดิฉันเองไม่ได้อยู่บ้าน น้องสาวเขาทราบว่าดิฉันอยู่ที่ไหน เขาเลยโทรไปบอก ...ดิฉันให้เด็กไปตามคุณบุญสม (ภรรยาคุณบุศย์) แล้ว แต่เด็กไม่พบ ไม่ทราบว่าไปไหน ”
เมื่อผู้แทนสยามนิกรไปถึงบ้านคุณฉลวย ปทุมรสนั้น คุณฉลวยนัยตาแดงๆแต่กลั้นน้ำตาไว้เชิญให้ผู้แทนของเราเข้าไปนั่ง เมื่อเราถามว่า ได้ทราบข่าวหรือยัง เธออุตส่าห์ไปหยิบหนังสือพิมพ์ออกมาให้ดูและยังไม่ร้องไห้ ทั้งๆที่ตาแดง แสดงว่าเพิ่งจะเช็ดน้ำตาให้แห้งหายไปหยกๆ
ต่อเมื่อเธอกลับเข้าไปสวมแว่นตาดำกลับออกมาและเริ่มเล่าให้ฟังว่าเธอคิดว่าจะไม่เป็นไร เธอไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยว่าจะไม่พระราชทานอภัยโทษ นางฉลวยตัวสั่นไปทั้งร่าง สะอื้นไห้เหมือนคนที่กลั้นน้ำตาไว้ และในที่สุด ไม่สามารถจะหักห้ามใจไว้ได้ เธอสะอื้นและเช็ดน้ำตาตลอดเวลา
ในตอนเที่ยง นางฉลวยได้เดินทางไปกรมราชทัณฑ์และที่อื่นๆอีกหลายแห่ง เธอกล่าวย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าว่า “วันนี้ดิฉันไม่สบายใจเลยค่ะ ไม่สบายใจเลยค่ะ”
ชะตากรรมของจำเลยคดีสวรรคตทั้งสาม ซึ่งผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลมาแล้วทั้งสามชั้น เพิ่งจะเป็นที่เปิดเผยจากวงการใกล้ชิดเมื่อเย็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2498 นี้เองว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงยกฎีกาขอพระราชทานลดหย่อนโทษประหาร ทั้งนี้เพื่อที่จะได้เป็นการกอร์ปพระราชกรณียกิจให้เป็นไปตามบทกฎหมายซึ่งศาลสถิตย์ยุติธรรมได้ลงความเห็นอันชอบไว้แล้ว . . . . . ขณะที่พิมพ์ไทยวันเดียวกัน พาดหัวว่า “ราชเลขาให้รอแถลงการณ์รัฐบาล ราชทัณฑ์ยังไม่ได้รับคำสั่งประหารเฉลียว ชิต บุศย์ ” และรายงานว่า ม.จ.นิกรเทวัญ เทวกุล ราชเลขาธิการ “ได้รับสั่งกับคนข่าวของเราว่าฎีกาของจำเลยทั้งสามคนนี้ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายมาหลายวันแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่อาจแถลงอะไรอะไรให้ทราบได้ ‘ รอฟังแถลงการณ์ของรัฐบาลก็แล้วกัน”
17 กุมภาพันธ์ วันแพะแห่งชาติ
ถึงตอนนี้ ทั้งผู้ต้องโทษและญาติคงหมดความหวังแล้ว เย็นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ กรมราชทัณฑ์เริ่มเดินกลไกของการประหารชีวิต
บุศย์ ปัทมศรินได้เขียนจดหมายถึงภรรยาก่อนถูกประหาร ดังนี้
16 กุมภาพันธ์ 2498
บุญสม
จดหมายฉบับนี้เป็นจดหมายครั้งสุดท้ายในชีวิตของฉันซึ่งเราจะต้องจากกันโดยฉันไม่ได้ ทำผิดคิดร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ก็ต้องตายโดยที่ไม่มีความผิด
ขอสมอย่าได้เสียอกเสียใจ เพราะผัวของสมไม่ได้ตายโดยมีความผิด ตายโดยความอยุติธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างสมรู้ดีฉันบริสุทธิ์เพียงไร แต่เป็นคราวเคราะห์ของฉันที่ต้องตายโดยไม่ได้ทำความผิด
จากนี้ไม่มีอะไรจะพูดอีก นอกจากขอร้องให้สมรักษาตัวให้ดี อย่าสุรุ่ยสุร่ายนัก เพราะสมจะต้องอยู่รักษาตัวต่อไปอีกนานจนกว่าจะที่สุดอายุของสม
อนึ่งในระหว่างที่อยู่ด้วยกันมา ถ้ามีอะไรที่ผิดพลั้งไปบ้าง ก็ขอให้อโหสิด้วย ฉันได้เซ็นชื่อในพินัยกรรมไว้ให้แล้ว ขอให้ใช้ให้เป็นประโยชน์
จากฉันเป็นครั้งสุดท้ายและจะไม่ได้พบกันอีก
บุศย์ ปัทมศริน
ประมาณ 5 โมง เจ้าหน้าที่เรือนจำบางขวางได้ไปติดต่อกับภิกษุเนตร ปัญญาดีโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดบางขวางที่อยู่ใกล้ๆกันว่าคืนนั้นขอนิมนต์ไปเทศน์ให้นักโทษที่ จะถูกประหารชีวิตฟัง โดยบอกด้วยว่าคือนักโทษคดีสวรรคต เวลาเดียวกันที่เรือนจำ นักโทษทั้งสามถูกนำตัวออกจากห้องขังมาทำการตีตรวนข้อเท้าตามระเบียบ เฉลียว ชิต และบุศย์ รู้ตัวทันทีว่ากำลังจะถูกประหารชีวิต ดูเหมือนว่าเฉลียวมีอาการปรกติ ขณะที่ชิตกับบุศย์ตื่นตระหนก จนเฉลียวต้องหันไปดุว่า “กลัวอะไร เกิดมาตายหนเดียวเท่านั้น” เฉลียวยังพูดหยอกล้อกับผู้ตีตรวนได้ หลังตีตรวนเสร็จ ทั้งสามถูกนำไปพิมพ์ลายนิ้วมือและตรวจโรคทำบันทึกสุขภาพ แล้วถูกพาไปที่ห้องขังชั่วคราว มีผู้คุมเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เข้าประกบนักโทษคนต่อคนตลอดเวลาแล้ว ยังมีแพทย์คอยสังเกตและตรวจอาการเป็นระยะๆ (เพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเจ็บก่อนถูกประหาร) มีเสื่อปูให้นอน แต่ไม่มีใครนอน ราว 19 น. แพทย์ฉีดยาบำรุงหัวใจให้เฉลียว 1 เข็ม ขณะที่ชิตกับบุศย์มีอาการกอดอกซึมเศร้า เวลา 22 น. ผู้คุมเป็นพยานให้นักโทษทั้งสามเขียนพินัยกรรมหรือจดหมายฉบับสุดท้ายถึงญาติ
ประมาณ ตีสอง เริ่มขั้นตอนประหารชีวิตจริง หัวหน้ากองธุรการเรือนจำอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้นักโทษทั้งสามฟัง และแจ้งว่า “บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามแล้ว โดยพระองค์ได้ทรงขอให้คดีดำเนินไปตามตัวบทกฎหมาย ดังที่ศาลสถิตย์ยุติธรรมชั้นสูงได้ตัดสินไปแล้ว ” ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงเศษ นักโทษทั้งสามนั่งฟังโดยสงบเป็นปกติหลังจากนั้น ภิกษุเนตรได้เทศน์ให้นักโทษทั้งสามฟังใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ตามคำบอกเล่าของพระเนตรภายหลังเหตุการณ์ ระหว่างการเทศน์เฉลียวมีอาการปกติ ยังสามารถนำอาราธนาศีลได้ ชิตนั่งสงบขณะที่บุศย์กระสับกระส่าย เมื่อเทศน์จบแล้ว ระหว่างที่พระเนตรกำลังจิบน้ำชาและพูดคุยกับนักโทษ บุศย์ซึ่งมีอาการโศกเศร้าที่สุดและหน้าตาหม่นหมองตลอดเวลา บอกกับพระเนตรว่า “เรื่องของผมไม่เป็นความจริง ไม่ควรเลย ” และพูดถึงแม่ที่ตายไปแล้วว่าเป็นห่วง ตายนานแล้วยังไม่ได้ทำศพ ส่วนเฉลียวดูเหมือนทำท่าจะสั่งเสียบางอย่างกับพระเนตร “กระผมจะเรียนอะไรกับพระเดชพระคุณฝากไปสักอย่าง”
แต่ยังไม่ทันได้พูดอะไร พอดีกับ เผ่า ศรียานนท์ พร้อมด้วยบริวารเกือบสิบคน (เช่น หลวงแผ้วพาลชน ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และตำรวจอัศวิน อรรณพ พุกประยูร, พันศักดิ์ วิเศษภักดี และพุฒ บูรณะสมภพ) เดินทางมาถึงและเข้ามานั่งในห้อง (เผ่าอยู่ในชุดสูทสากลหูกระต่าย สวมหมวกแบเร่ต์สีแดง)
หลังพระเทศน์ นักโทษถูกนำกลับห้อง ทางเรือนจำจัดอาหารมื้อสุดท้ายให้ แต่ไม่มีใครกิน เวลาประมาณ 4.20 น. เฉลียวถูกนำตัวเข้าสู่หลักประหารเป็นคนแรก โดยอยู่ในท่านั่งงอขา (เข้าใจว่าหลักประหารเป็นรูปกางเขน แกนด้านขวางซึ่งอยู่ใกล้พื้นสำหรับนั่ง) หันหลังให้ที่ตั้งปืนกลของเพชฌฆาต ห่างจากปืนกลประมาณ 5 เมตร นักโทษถูกมัดเข้ากับหลักประหาร มือทั้งสองพนมถือดอกไม้ธูปเทียนไว้เหนือหัวมีผ้าขาวมัดไว้ และมีผ้าขาวผูกปิดตา ด้านหน้านักโทษเป็นกองดิน ด้านหลังเป็นฉากผ้าสีน้ำเงิน บังระหว่างนักโทษกับเพชรฆาต บนฉากผ้ามีวงกลมสีขาวเป็นเป้าสำหรับเพชฌฆาต ซึ่งตรงกับบริเวณหัวใจของนักโทษ
เมื่อได้เวลา เพชฌฆาตประจำเรือนจำ (นายเหรียญ เพิ่มกำลังเมือง) ก็ยิงปืนกลรัวกระสุน 1 ชุด จำนวน 10 นัด เสร็จแล้วแพทย์เข้าไปตรวจดูนักโทษเพื่อยืนยันว่าเสียชีวิต หลังการประหารนายเฉลียวประมาณ 20 นาที นายชิตก็ถูกนำตัวมาประหารเป็นคนต่อไปในลักษณะเดียวกัน เมื่อถึงคราวนายบุศย์ ห่างจากนายชิตประมาณ 20 นาทีเช่นกัน เขามีโรคประจำตัวเป็นลมบ่อย และเป็นลมอีกก่อนถูกนำเข้าหลักประหารเล็กน้อย ต้องช่วยให้คืนสติก่อน เพชฌฆาตยิงเสร็จ 1 ชุดแล้ว ตรวจพบว่านายบุศย์ยังมีลมหายใจ จึงยิงซ้ำอีก 2 ชุด โดยยิงรัว 1 ชุด แล้วตามด้วยการยิงทีละนัดจนหมดอีก 1 ชุด ผลจากการยิงถึง 30 นัดนี้ทำให้เมื่อญาติทำศพ พบว่าเหลือเพียงร่างที่แหลกเหลวและมือขาดหายไป
ก่อนการประหาร พล.ต.อ.เผ่าให้หลวงแผ้วพาลชน ดูหน้านายชิตกับนายบุศย์อีกครั้งให้แน่ใจว่าใช่ทั้งคู่จริง เมื่อยิงเสร็จแต่ละคน เผ่ายังเข้าไปดูศพด้วยตัวเองทุกคน หลังการประหาร ศพทั้งสามถูกนำมาวางบนเสื่อที่ปูด้วยผ้าขาว หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งอ้างว่า เผ่ายืนจ้องศพที่วางเรียงกันสักครู่ ทำท่าคล้ายขออโหสิกรรม แล้วพูดว่า “ลาก่อนเพื่อนยาก”
ตอนสายวันนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่ง ดังนี้
แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย
ตาม ที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศิรินจำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น
บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกัน
กระทรวงมหาดไทย
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498
ตาม ที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศิรินจำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น
บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกัน
กระทรวงมหาดไทย
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498
ตำนานนักโทษ
เล่าความลับกรณีสวรรคต
ให้เผ่าฟังในนาทีสุดท้าย
การปรากฏตัวของเผ่าที่การประหารชีวิตคดีสวรรคต ไม่ใช่เป็นไปตามหน้าที่ จึงไม่มีชื่อเขาอยู่ในแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย แต่นอกจากจะมาสังเกตการณ์แล้ว พิมพ์ไทย รายงานว่า หลังพระเทศน์แล้ว เผ่าได้เข้าไปพบปะพูดคุยกับนักโทษทั้งสามคนที่ห้องขังประมาณสิบนาที เพื่อปลอบใจ ขณะที่ เช้า ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวที่นำข่าวในหลวงทรงยกฎีกาของจำเลยมาเปิดเผยได้ก่อน ได้รายงานการพูดคุยระหว่างเผ่ากับนักโทษคนหนึ่ง (เฉลียว) ในลักษณะชวนตื่นเต้นอย่างมาก ภายใต้การพาดหัวว่า “เฉลียวขอพบเผ่าแฉความลับทั้งหมดก่อนประหาร”
เมื่อ เจ้าหน้าที่ผูกตาเรียบร้อยแล้ว นายเฉลียวได้ขอร้องต่อเจ้าหน้าที่ ขอให้ได้พบกับพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์เป็นการด่วน ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงรีบแจ้งไปยัง พล.ต.อ.เผ่า ถึงความประสงค์ครั้งนี้ ซึ่งพล.ต.อ.เผ่า ก็ได้รีบไปพบกับนายเฉลียวโดยด่วน
จากการพบกับพล.ต.อ. เผ่า ก่อนถึงวาระสุดท้ายของนายเฉลียวครั้งนี้ ปรากฏว่าได้ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 10 นาที นายเฉลียวได้กล่าวคำอำลา ส่วนถ้อยคำที่นายเฉลียวได้บอกแก่พล.ต.อ.เผ่า ก่อนที่นายเฉลียวจะอำลาจากโลกนี้ไปนั้นเป็นความลับ รู้สึกว่า พล.ต.อ.เผ่า มีความสนใจเป็นอย่างมาก นี่คือจุดเริ่มต้นหรือต้นตอของข่าวลือที่แพร่หลายในช่วงใกล้ถึงปีกึ่งพุทธกาล 2500 ในทำนองที่ว่า เผ่าได้รู้ความลับของกรณีสวรรคต ซึ่งจำเลยได้เล่าให้ฟังก่อนตาย บางครั้งลือกันในทำนองว่าเผ่าได้ทำบันทึกความลับ ที่ได้รับการบอกมานี้ไว้ด้วย ข่าวลือนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อความเป็นใหญ่ระหว่างกลุ่ม การเมือง 3-4 กลุ่มในขณะนั้น คือ จอมพล ป , เผ่า, สฤษดิ์ และพวกนิยมเจ้า ก่อนหน้าสฤษดิ์จะทำรัฐประหารในเดือนกันยายน 2500 ไม่นาน
จอมพล ป ได้แอบติดต่อกับนายปรีดีในจีน เพื่อขอคืนดีด้วย เพื่อหาทางร่วมมือกันในการต่อสู้กับบทบาทและอิทธิพลของพวกนิยมเจ้าที่เพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มจะให้การสนับสนุนแก่สฤษดิ์ โดยจอมพล ป สัญญาว่าจะรื้อฟื้นคดีสวรรคตขึ้นพิจารณาใหม่ เขาได้ใช้ให้คนสนิทคือนายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ดำเนินการ ฝากข้อความไปถึงปรีดี มีทนายสองคนที่อยู่ในกลุ่มผู้สนับสนุนปรีดีเป็นคนถือจดหมายของสังข์ไปจีน ภายหลังได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่จดหมายตอบของนายปรีดี ถึงนายสังข์ ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2499 แสดงความยินดีในท่าทีขอคืนดีของจอมพล ป ในจดหมายนี้ ปรีดีได้ยืนยันโดยอ้อม (เพราะฟังจากสังข์มาอีกต่อหนึ่ง) ถึงการมีอยู่ของบันทึกกรณีสวรรคตของเผ่าว่า “ ผมเห็นว่าคุณได้บำเพ็ญบุญกุศลอย่างแรงในการที่คุณได้แจ้งให้ผมทราบถึง บันทึกของคุณเผ่า ได้สอบถามปากคำคุณเฉลียว ชิต บุศย์ ก่อนถูกยิงเป้าที่ยืนยันว่า ผู้บริสุทธิ์ทั้งสามรวมทั้งผมไม่ได้มีส่วนพัวพันในกรณีสวรรคต ”
ควันหลงหลัง
การประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์
แม้ว่าคงแทบไม่เหลือความหวังว่าสามีจะรอดพ้นการถูกประหารชีวิต แต่บุญสม ปัทมศริน ก็ยังมาที่เรือนจำเพื่อเยี่ยมบุศย์ในเช้าวันที่ 17 กุมภาพันธ์ โดยไม่รู้มาก่อนว่า เขาได้ถูกประหารชีวิตไปแล้ว คงเป็นระเบียบทางราชการไทย ที่ไม่ประกาศเวลาประหารชีวิตล่วงหน้าไม่ว่ากรณีใด เธอเพิ่งได้รับการบอกเล่าจากเจ้าหน้าที่เรือนจำเมื่อมาถึงที่นั่นว่า สามีกับพวกถูกประหารแล้ว
“ ดิฉันทราบโดยบังเอิญ เมื่อเช้านี้เอง เมื่อรู้ก็รีบไปบอกภรรยาคุณเฉลียว แกก็เพิ่งทราบเหมือนกัน ถึงกับเป็นลมเป็นแล้งไปหลายพัก ต่อจากนั้น ดิฉันก็ไปพบภรรยาคุณชิต ไม่พบแก พบแต่ลูกสาว ซึ่งมารับด้วย นี่แกก็คงยังไม่รู้เรื่องแน่ ”
นางบุญสม เล่าอย่างเศร้าหมองต่อไปว่า เธอพบกับนายบุศย์ครั้งสุดท้ายในวันเยี่ยมเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว นายบุศย์ได้สั่งซื้อของมากอย่างผิดปกติ ทั้งๆที่เธอและนายบุศย์ก็ยังไม่ทราบว่า จะมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดขึ้น
“ ดิฉันก็ได้จ่ายของให้แกครบทุกอย่าง และจะนำมาให้วันนี้อยู่ทีเดียว โธ่ไม่น่าเลยนะคะ จะตายทั้งทีขอเห็นใจกันหน่อยก็ไม่ได้ ”
จากตอนสายถึงบ่ายของวันนั้น เมื่อข่าวการประหารชีวิตแพร่ออกไป ญาติ ประชาชน และผู้สื่อข่าว ก็ทะยอยกันมารออยู่บริเวณด้านประตูเหล็กสีแดงที่ใช้สำหรับขนศพผู้ถูกประหาร ชีวิตออกนอกเรือนจำ จนเนืองแน่นบริเวณ บางส่วนไปรออยู่ในลานวัดบางแพรกหลังเรือนจำ ซึ่งปกติศพผู้ถูกประหารจะถูกขนไปฝากไว้
เล่าความลับกรณีสวรรคต
ให้เผ่าฟังในนาทีสุดท้าย
การปรากฏตัวของเผ่าที่การประหารชีวิตคดีสวรรคต ไม่ใช่เป็นไปตามหน้าที่ จึงไม่มีชื่อเขาอยู่ในแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย แต่นอกจากจะมาสังเกตการณ์แล้ว พิมพ์ไทย รายงานว่า หลังพระเทศน์แล้ว เผ่าได้เข้าไปพบปะพูดคุยกับนักโทษทั้งสามคนที่ห้องขังประมาณสิบนาที เพื่อปลอบใจ ขณะที่ เช้า ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวที่นำข่าวในหลวงทรงยกฎีกาของจำเลยมาเปิดเผยได้ก่อน ได้รายงานการพูดคุยระหว่างเผ่ากับนักโทษคนหนึ่ง (เฉลียว) ในลักษณะชวนตื่นเต้นอย่างมาก ภายใต้การพาดหัวว่า “เฉลียวขอพบเผ่าแฉความลับทั้งหมดก่อนประหาร”
เมื่อ เจ้าหน้าที่ผูกตาเรียบร้อยแล้ว นายเฉลียวได้ขอร้องต่อเจ้าหน้าที่ ขอให้ได้พบกับพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์เป็นการด่วน ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงรีบแจ้งไปยัง พล.ต.อ.เผ่า ถึงความประสงค์ครั้งนี้ ซึ่งพล.ต.อ.เผ่า ก็ได้รีบไปพบกับนายเฉลียวโดยด่วน
จากการพบกับพล.ต.อ. เผ่า ก่อนถึงวาระสุดท้ายของนายเฉลียวครั้งนี้ ปรากฏว่าได้ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 10 นาที นายเฉลียวได้กล่าวคำอำลา ส่วนถ้อยคำที่นายเฉลียวได้บอกแก่พล.ต.อ.เผ่า ก่อนที่นายเฉลียวจะอำลาจากโลกนี้ไปนั้นเป็นความลับ รู้สึกว่า พล.ต.อ.เผ่า มีความสนใจเป็นอย่างมาก นี่คือจุดเริ่มต้นหรือต้นตอของข่าวลือที่แพร่หลายในช่วงใกล้ถึงปีกึ่งพุทธกาล 2500 ในทำนองที่ว่า เผ่าได้รู้ความลับของกรณีสวรรคต ซึ่งจำเลยได้เล่าให้ฟังก่อนตาย บางครั้งลือกันในทำนองว่าเผ่าได้ทำบันทึกความลับ ที่ได้รับการบอกมานี้ไว้ด้วย ข่าวลือนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้เพื่อความเป็นใหญ่ระหว่างกลุ่ม การเมือง 3-4 กลุ่มในขณะนั้น คือ จอมพล ป , เผ่า, สฤษดิ์ และพวกนิยมเจ้า ก่อนหน้าสฤษดิ์จะทำรัฐประหารในเดือนกันยายน 2500 ไม่นาน
จอมพล ป ได้แอบติดต่อกับนายปรีดีในจีน เพื่อขอคืนดีด้วย เพื่อหาทางร่วมมือกันในการต่อสู้กับบทบาทและอิทธิพลของพวกนิยมเจ้าที่เพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มจะให้การสนับสนุนแก่สฤษดิ์ โดยจอมพล ป สัญญาว่าจะรื้อฟื้นคดีสวรรคตขึ้นพิจารณาใหม่ เขาได้ใช้ให้คนสนิทคือนายสังข์ พัธโนทัย เป็นผู้ดำเนินการ ฝากข้อความไปถึงปรีดี มีทนายสองคนที่อยู่ในกลุ่มผู้สนับสนุนปรีดีเป็นคนถือจดหมายของสังข์ไปจีน ภายหลังได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่จดหมายตอบของนายปรีดี ถึงนายสังข์ ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2499 แสดงความยินดีในท่าทีขอคืนดีของจอมพล ป ในจดหมายนี้ ปรีดีได้ยืนยันโดยอ้อม (เพราะฟังจากสังข์มาอีกต่อหนึ่ง) ถึงการมีอยู่ของบันทึกกรณีสวรรคตของเผ่าว่า “ ผมเห็นว่าคุณได้บำเพ็ญบุญกุศลอย่างแรงในการที่คุณได้แจ้งให้ผมทราบถึง บันทึกของคุณเผ่า ได้สอบถามปากคำคุณเฉลียว ชิต บุศย์ ก่อนถูกยิงเป้าที่ยืนยันว่า ผู้บริสุทธิ์ทั้งสามรวมทั้งผมไม่ได้มีส่วนพัวพันในกรณีสวรรคต ”
ควันหลงหลัง
การประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์
แม้ว่าคงแทบไม่เหลือความหวังว่าสามีจะรอดพ้นการถูกประหารชีวิต แต่บุญสม ปัทมศริน ก็ยังมาที่เรือนจำเพื่อเยี่ยมบุศย์ในเช้าวันที่ 17 กุมภาพันธ์ โดยไม่รู้มาก่อนว่า เขาได้ถูกประหารชีวิตไปแล้ว คงเป็นระเบียบทางราชการไทย ที่ไม่ประกาศเวลาประหารชีวิตล่วงหน้าไม่ว่ากรณีใด เธอเพิ่งได้รับการบอกเล่าจากเจ้าหน้าที่เรือนจำเมื่อมาถึงที่นั่นว่า สามีกับพวกถูกประหารแล้ว
“ ดิฉันทราบโดยบังเอิญ เมื่อเช้านี้เอง เมื่อรู้ก็รีบไปบอกภรรยาคุณเฉลียว แกก็เพิ่งทราบเหมือนกัน ถึงกับเป็นลมเป็นแล้งไปหลายพัก ต่อจากนั้น ดิฉันก็ไปพบภรรยาคุณชิต ไม่พบแก พบแต่ลูกสาว ซึ่งมารับด้วย นี่แกก็คงยังไม่รู้เรื่องแน่ ”
นางบุญสม เล่าอย่างเศร้าหมองต่อไปว่า เธอพบกับนายบุศย์ครั้งสุดท้ายในวันเยี่ยมเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว นายบุศย์ได้สั่งซื้อของมากอย่างผิดปกติ ทั้งๆที่เธอและนายบุศย์ก็ยังไม่ทราบว่า จะมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดขึ้น
“ ดิฉันก็ได้จ่ายของให้แกครบทุกอย่าง และจะนำมาให้วันนี้อยู่ทีเดียว โธ่ไม่น่าเลยนะคะ จะตายทั้งทีขอเห็นใจกันหน่อยก็ไม่ได้ ”
จากตอนสายถึงบ่ายของวันนั้น เมื่อข่าวการประหารชีวิตแพร่ออกไป ญาติ ประชาชน และผู้สื่อข่าว ก็ทะยอยกันมารออยู่บริเวณด้านประตูเหล็กสีแดงที่ใช้สำหรับขนศพผู้ถูกประหาร ชีวิตออกนอกเรือนจำ จนเนืองแน่นบริเวณ บางส่วนไปรออยู่ในลานวัดบางแพรกหลังเรือนจำ ซึ่งปกติศพผู้ถูกประหารจะถูกขนไปฝากไว้
บ่ายสองโมง ชูเชื้อ สิงหเสนี ภรรยานายชิต นั่งรถมาถึงลานวัด ร้องไห้เสียใจอย่างหนัก “ดิฉันเพิ่งรู้เรื่องเมื่อเที่ยงกว่านี้เอง กำลังไปจ่ายของให้เขาอยู่ทีเดียว พอกลับบ้าน คนบอกถึงได้รู้เรื่อง ” ส่วนฉลวย ปทุมรส หลังจากรู้ข่าวแล้ว เสียใจจนเป็นลมหลายครั้ง ทำให้ไม่สามารถมารับศพด้วยตัวเอง ให้น้องสาวมารับแทน
ประมาณบ่ายสามโมง เจ้าหน้าที่เรือนจำเริ่มขนศพของทั้งสามที่บรรจุในโลงออกมาจากเรือนจำทาง ประตูแดง โดยให้นักโทษ 6 คนเป็นผู้แบกครั้งละโลง ชูเชื้อ ร้องไห้ ผวาเข้าไป โดยมีลูกสาวสองคนคอยช่วยพยุง ศพของเฉลียวถูกนำไปไว้ที่วัดสระเกศ ของชิตที่วัดจักรวรรดิ และบุศย์ ที่วัดมงกุฏ ตามระเบียบราชการ ห้ามญาติจัดงานศพอย่างเอิกเกริกให้กับผู้ที่ถูกประหารชีวิต
เมื่อเสียชีวิต เฉลียว ปทุมรส มีอายุ 52 ปี ชิต สิงหเสนี 44 ปี บุศย์ ปัทมศริน 50 ปี แต่ทั้งสามคนถูกจับไร้อิสรภาพตั้งแต่ปลายปี 2490
ต่อมาในปี 2522 นายตี๋ ศรีสุวรรณซึ่งมีอายุ 102 ปี ได้สำนึกในกรรมที่ได้ทำไว้ในกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 โดยรับจ้างเป็นพยานเท็จ จนทำให้ผู้บริสุทธิ์ 3 คนต้องถูกประหารชีวิต และทำให้นายปรีดี กับร้อยเอกวัชระชัย ต้องระทมขมขื่น นายตี๋ ศรีสุวรรณ จึงได้ให้ลูกเขยเขียน จดหมายไปขอขมาท่านปรีดี ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส หลังจากเขียนจดหมายแล้วนายตี๋ยังไปสารภาพบาปกับท่านเจ้าคุณปัญญานันทมุนี ที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์ อีกด้วย สำเนาจดหมายของนายตี๋ มีข้อความดังต่อไปนี้
บ้านเลขที่ 2386 ถนนพหลโยธิน
กรุงเทพฯ
25 มกราคม 2522
เรียน นายปรีดี ที่นับถือ
นายตี๋ ศรีสุวรรณ เป็นพ่อตาของผม ขอให้ผมเขียนจดหมายถึงท่าน นายตี๋เขียนจดหมายไม่ได้ เมื่อครั้งไปให้การที่ศาลก็ได้เขียนแต่ชื่อตัว ต. และพิมพ์มือเท่านั้น นายตี๋จึงให้ผมซึ่งเป็นบุตรเขยเขียนตามคำบอกเล่าของนายตี๋ เพื่อขอขมาลาโทษต่อท่าน
นายตี๋ได้ให้การต่อศาลว่า นายปรีดี นายวัชรชัย นายเฉลียว นายชิต นายบุศย์ ไปที่บ้านพระยาศรยุทธ ( พลเรือตรีพระยาศรยุทธเสนี กระแส ประวาหนาวิน ) ข้างวัดชนะสงคราม เพื่อปรึกษาลอบปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่ 8 แต่ไม่เป็นความจริง นายตี๋เอาความไม่จริงมาให้การต่อศาล เพราะพระพินิจได้เกลี้ยกล่อมว่า จะให้เงินเลี้ยงนายตี๋ไปจนตาย เมื่อให้การแล้วพระพินิจให้เงินนายตี๋ 500-600 บาท และให้นายตี๋กินอยู่หลับนอนที่สันติบาลประมาณ 2 ปี เศษ เดิมพระพินิจบอกว่าจะให้สองหมื่นบาท เมื่อเสร็จคดีแล้วพระพินิจก็ไม่จ่ายให้อีกตามที่รับปากไว้ เวลานี้นายตี๋รู้สึกเสียใจมากที่ทำให้ 3 คนตาย และนายปรีดีกับนายวัชรชัยที่บริสุทธิ์ต้องถูกกล่าวหาด้วย นายตี๋ได้ทำบุญกรวดน้ำ ให้กับผู้ตายเสมอมา แต่ก็ยังเสียใจไม่หาย เดี๋ยวนี้ก็มีอายุมากแล้ว อีกไม่ช้าก็ตาย จึงขอขมาลาโทษนายปรีดี นายวัชรชัย นายเฉลียว นายชิต นายบุศย์ ที่นายตี๋เอาความเท็จมาให้การปรักปรำ ขอได้โปรดให้ขมาต่อนายตี๋ด้วย
ข้อความทั้งหมดนี้ ผมได้อ่านให้นายตี๋ฟังต่อหน้าคนหลายคนในวันนี้ เวลาประมาณ 11 น.เศษ และได้ให้นายตี๋พิมพ์ลายนิ้วมือนายตี๋ ต่อหน้าผมและคนฟังด้วย
ขอแสดงความนับถือ
เลื่อน ศิริอัมพร
ต. (พิมพ์ลายนิ้วมือนายตี๋)....
9 มกราคม 2549 ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ได้เขียนคำไว้อาลัยเนื่องในงานศพของคุณชูเชื้อ ภรรยาของนายชิต ดังนี้.....
ระลึกถึง คุณชูเชื้อ (วลี) สิงหเสนี
ข้าพเจ้าจำได้ว่าพบคุณชูเชื้อ สิงหเสนี ครั้งแรกในห้องพิจารณาคดีที่ศาลอาญา เมื่อ พ.ศ.2491 ในการพิจารณาคดีสวรรคตสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งคุณชิต สิงหเสนี เป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทม ในหลวงรัชกาลที่ 8
คุณชิต สามีคุณชูเชื้อ ตกเป็นผู้ต้องหาปลงพระชนม์ร่วมกับคุณเฉลียว ปทุมรส อดีตราชเลขานุการในพระองค์ฯ และคุณบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทม
ข้าพเจ้า นั่งแถวหน้าบัลลังก์พิจารณาคดี สังเกตุเห็นผู้ต้องหาทั้งสามอยู่ในความสงบ สุขุม และไม่ประหวั่นพรั่นพรึง เพราะเชื่อในความบริสุทธิ์ของตน เชื่อในความยุติธรรมของศาลทั้งๆที่อัยการฝ่ายโจทก์ สร้างหลักฐานเท็จ ใส่ร้ายกล่าวโทษ
การพิจารณาคดีสวรรคต ได้ยืดเยื้อมาอีกหลายปี ในช่วงนั้นข้าพเจ้าเองก็ถูกมรสุมการเมืองรุมกระหน่ำ ถูกจับกุมในคดี"กบฏสันติภาพ" ด้วยข้อกล่าวหา "กบฏภายใน และภายนอกราชอาณาจักร" เมื่อได้รับอิสรภาพหลังจากถูกคุมขังเป็นเวลา 84 วันแล้วข้าพเจ้าก็ได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อร่วมทุกข์ และเป็นกำลังใจให้นายปรีดี พนมยงค์ สามีของข้าพเจ้า ซึ่งลี้ภัยการเมืองในประเทศจีน
นายปรีดี กับข้าพเจ้าติดตามข่าวการพิจารณาคดีสวรรคตอยู่เสมอ นายปรีดีเชื่อในความบริสุทธิ์ของคุณเฉลียว คุณชิต และคุณบุศย์ เช่นเดียวกับเชื่อในความบริสุทธิ์ของตน ที่มิได้มีส่วนพัวพันในคดีสวรรคต ส่งใจช่วย และภาวนาขอให้ผู้บริสุทธิ์ทั้งสาม ได้รับอิสรภาพโดยเร็ววัน
แต่แล้วเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2497 ศาลฏีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน ซึ่งต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสาม ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฏีกาขอพระราชทานอภัยโทษแต่ฏีกาได้ตกไปในที่สุด
นายปรีดี กับข้าพเจ้าตกใจยิ่งกับข่าวการประหารชีวิตของผู้บริสุทธิ์ทั้งสาม ในเช้ามืดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498
นายปรีดีกับข้าพเจ้ารู้สึกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เห็นใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวเหยื่อความอยุติธรรมทั้งสาม ที่ประสพความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงและขาดเสาหลักของครอบครัว
คุณชูเชื้อ สิงหเสนี เป็นภรรยาที่เข้มแข็ง เป็นกำลังใจให้สามี ในขณะถูกจองจำเป็นเวลากว่า 7 ปี เป็นมารดาที่ประเสริฐ แบกรับหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่ในการดูแลลูกๆทั้ง 6 คน
หลังจากที่ข้าพเจ้ากลับมาอยู่เมืองไทยเป็นการถาวรแล้ว ทุกวันขึ้นปีใหม่ข้าพเจ้าจะมีกระถางกล้วยไม้ ประดับข้างบันไดขึ้นบ้านซึ่งเป็นของขวัญปีใหม่จากคุณชูเชื้อ นำความชื่นใจมาสู่ข้าพเจ้าและผู้พบเห็น
2-3 ปี มานี้ข้าพเจ้าไม่ได้พบคุณชูเชื้อ ทราบว่าสุขภาพของเธอไม่ค่อยแข็งแรงนักและแล้วคุณชูเชื้อก็ได้ลาจากโลกนี้ไป ตามกฏวัฏสังขาร ยังความเสียใจสู่ลูกหลาน และญาติมิตร
ขอให้กรรมดีนานาประการจงนำคุณชูเชื้อ สิงหเสนี ไปสู่สุขคติในสัมปรายภพทุกเมื่อเทอญ
ข้าพเจ้า เชื่อกฏแห่งกรรมในพุทธศาสนา บรรดาผู้ที่สร้างหลักฐานเท็จ พยานเท็จ ในกรณีสวรรคต มาบัดนี้ ลูกหลานของเขาต้องรับกรรมและชดใช้กรรม รวมทั้งกรรมใหม่ที่ก่อขึ้นเอง ต่างกรรม ต่างวาระ ดังนั้นจึงเป็นที่สังวรแก่ทุกผู้ ทุกคนว่า จงทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ทำความดีผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความถูกต้อง
สัจจะ เป็นอมตะ
ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
ประวัติศาสตร์ ย่อมให้ความกระจ่างในที่สุด
(ท่าน ผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์)
9 มกราคม 2549
………………….
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น