http://youtu.be/SilhKh_Dhpk
https://www.mediafire.com/?bpl2o4z3f012vfu
http://www.4shared.com/mp3/QPkyw79Zce/World__Globalisation_part_1.html
........................................
กำเนิดและวิวัฒนาการของมนุษย์



![]() |
ชาลส์ ดาร์วินCharles Darwin |



ลักษณะทางกายภาพของโลก
ในสมัยโบราณ มนุษย์เคยเชื่อกันว่า โลกมีสัณฐานแบนคล้ายจานข้าว นักเดินเรือในสมัยนั้นจึงไม่กล้าเดินทางไปในมหาสมุทรไกลๆ เพราะกลัวว่าจะตกขอบโลก



การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโลก
-ปรากฏการณ์เอลนิญโญ (El Niño) เอล นิญโญ หรือ เอล นิโน เป็นภาษาสเปน แปลว่า เด็กชาย (Child Boy) หรือ พระกุมารเยซู (Infant Jesus) เนื่องจากปรากฏการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมหลังเทศกาลคริสต์มาส ชาวสเปนเป็นชนชาติแรกที่สังเกตพบปรากฏการณ์นี้มาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมแถบอเมริกาใต้



เอล นิญโญทำให้เกิดฝนตกหนักในอเมริกาใต้และเกิดความแห้งแล้งในออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกัน ลา นิญญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้




(Global Warming)
หรือ ภาวะเรือนกระจก
(Green House Effect)
คือ สภาวะที่อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากการที่โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างที่เคยเป็น แม้ว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงไม่กี่องศา แต่ก็ทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง




บางภูมิภาคเกิดความแห้งแล้งอย่างไม่เคยมีมาก่อน

เพื่อสังเคราะห์แสงแต่ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการย่อยสลาย ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงรวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่า จนเกิดสภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็วและรุนแรง

สถานการณ์ด้านสังคม
และวัฒนธรรม




จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ 21 หรือปี 2000 กลับมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ 3 แห่ง คือ เอเชีย อเมริกาเหนือและยุโรป ทั้งในส่วนข่าวสารข้อมูล เทคโนโลยีและทุนซึ่งได้เคลื่อนผ่านข้ามพรมแดนด้วยความเร็วของจดหมายอีเล็คทรอนิค รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตและสนับสนุนตลาดเสรี โดยการแปรรูปกิจการของรัฐให้เป็นของเอกชน ยกเลิกระเบียบข้อบังคับ และ เปิดเสรีด้านการค้าและการเงิน เป็นมาตรการสำคัญของกระบวนการโลกาภิวัตน์ เพื่อเพิ่มอำนาจในการแข่งขันที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญและทันสมัย (Modernization) จนเกิดความขัดแย้งขึ้น จากการที่มีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ขณะที่ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้หลากหลายโดยสะดวก และรวดเร็ว
ระบบเศรษฐกิจ
สามารถจำแนกออกเป็น 4 ระบบด้วยกัน คือ

หรือทุนนิยม (Capitalism)
โดยเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ รัฐทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ใช้ระบบราคาหรือระบบตลาดในการตัดสินใจ กำไรคือแรงจูงใจของการผลิต จึงมีการแข่งขันสูงและเป็นไปอย่างเสรี ข้อดีคือ เกิดแรงจูงใจในการทำงาน เพราะทำแล้วรายได้เป็นของตนเอง ผู้ผลิตแต่ละรายต้องแข่งขันกันขายสินค้าและบริการให้มากที่สุด จึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอทำให้คุณภาพของงานและสินค้าดีขึ้นผู้บริโภคมีโอกาสเลือกบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ในราคาที่เป็นธรรมมากที่สุด ข้อเสียคือ การกระจายรายได้ของประชาชนไม่เท่าเทียมกัน คนที่มีทรัพย์สินมากย่อมมีโอกาสแสวงหารายได้มาก มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของบุคคลมาก หากนายทุนคำนึงถึงแต่กำไร จะส่งผลให้เกิดความระส่ำระสายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะสงคราม รัฐบาลอาจต้องหันมาแทรกแซงกิจกรรมของเอกชน อาจต้องใช้วิธีปันส่วนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยรัฐเข้าไปควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังคงให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว เช่น ที่พักอาศัย ข้อดีคือประชาชนมีมีรายได้ใกล้เคียงกัน เศรษฐกิจไม่ค่อยผันแปรขึ้นลงมากนัก รัฐครอบครองปัจจัยพื้นฐานและกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด ข้อเสียคือแรงจูงใจในการทำงานต่ำ เพระกำไรตกเป็นของรัฐ คนงานจะได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็น ผู้บริโภคไม่มีโอกาสเลือกสินค้าได้มาก ประชาชนไม่มีเสรีภาพเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถหรือต้องการจะทำ ไม่ค่อยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะไม่มีการแข่งขัน สินค้าและบริการอาจไม่มีคุณภาพ

หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐเป็นเจ้าของทุนและปัจจัยการผลิตทุกชนิด รัฐเป็นผู้ตัดสินใจทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด เป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง เอกชนไม่มีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่าง เช่น การถือครองที่ดิน เลนิน (Lenin) นักปฏิวัติโซเวียต ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและนำระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาใช้กับสหภาพรัสเซียเป็นประเทศแรก


ระบบเศรษฐกิจแบบผสม


มาตรวัดรายรับ
และผลผลิตของประเทศ
-ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ
หรือ จีเอ็นพี
( Gross national product, GNP )
คือมูลค่าของสินค้าและบริการทั้งหมดที่คนในประเทศนั้นผลิต ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศ
-ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
หรือ จีดีพี (Gross domestic product, GDP)
คือผลผลิตและบริการรวมที่ผลิตในประเทศไม่ว่าชาติใดเป็นผู้ผลิต
ตัวเลขผลผลิตดังกล่าวเป็นเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนมาตรฐานการครองชีพและระดับความเป็นอยู่ของประชากร



การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
หลายประเทศต้องการให้มีนโยบายการค้าเสรีทั่วโลก แต่ประเทศต่างๆ มักใช้นโยบายภาษีหรือนโยบายอื่นมากีดกันทางการค้า จึงมีบางประเทศหันมารวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วพยายามลดหรือเลิกใช้นโยบายจำกัดการค้าระหว่างประเทศภายในกลุ่ม พร้อมทั้งหาลู่ทางขยายการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น




5) ไอเอ็มเอฟ IMF (International Monetary Fund) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1944(2487) พร้อมกับธนาคารโลก โดยธนาคารโลกจะจัดหาทุนระยะยาว อัตราดอกเบี้ยต่ำให้ประเทศที่ประสบปัญหาจากภัยสงคราม ส่วน IMF จะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพในด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิก
6) เอฟทีเอ FTA (Free Trade Agreement) FTA คือ การรวมกลุ่มเศรษฐกิจเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศภาคีทำได้เสรี ปราศจากข้อกีดกันการค้า
การเมืองระหว่างประเทศ
(International Politics)
องค์กรการก่อการร้ายหลักๆ ที่เป็นที่รู้จัก มีดังนี้



(Islamic Resistance Movement)
เป็นกลุ่มการเมืองหนึ่งใน PLO ของมุสลิมนิกานสุนี่(Sunni)มีเป้าหมายจัดตั้งรัฐอิสลามของชาวปาเลสไตน์ขึ้นในพื้นที่ของประเทศอิสราเอล ส่วนใหญ่เป็นกองกำลังติดอาวุธที่นิยมใช้ความรุนแรง ถนัดในการใช้ระเบิดและการลอบสังหาร


ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เมื่อปี พ.ศ.2488 และครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2535 รวมทั้งสิ้น 1,030 ครั้ง แบบใต้ดิน 815 ครั้ง


ประเทศที่ 3 ที่ทดลองนิวเคลียร์ คืออังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2495 ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2534 ทั้งหมด 45 ครั้ง แบบใต้ดิน 24 ครั้ง
ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่ 4 ที่ทดลองนิวเคลียร์ เมื่อปี พ.ศ.2503 ครั้งล่าสุดเกิดเมื่อปี พ.ศ.2539 ทั้งหมด 210 ครั้ง แบบใต้ดิน 160 ครั้ง ประเทศจีน เป็นประเทศที่ 5 ที่มีการทดลองนิวเคลียร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 ครั้งหลังสุดเมื่อปี พ.ศ.2539 ทั้งหมด 43 ครั้ง แบบใต้ดิน 22 ครั้ง ประเทศที่ 6 ที่ทดลองนิวเคลียร์ คืออินเดียในปี พ.ศ.2517 ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2541 รวม 7 ครั้ง ประเทศที่ 7 คือปากีสถาน เมื่อปี พ.ศ.2541 ทั้งหมด 6 ครั้ง เพื่อตอบโต้อินเดียสหรัฐฯ กับโซเวียตมหาอำนาจนิวเคลียร์ทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงในการเจรจาลดอาวุธยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Limitation talks: SALT) จนกระทั่งโซเวียตได้ล่มสลายกลายเป็น รัสเซียและประเทศเล็กๆ อีกกว่า 14 ประเทศ


คณะผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (IAEA) แห่งสหประชาชาติ เข้าไปตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน พบว่าสามารถผลิตวัตถุดิบทำระเบิดปรมาณูได้ทำให้สหรัฐอเมริกาเชื่อว่าอิหร่านลักลอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย จึงบีบสหประชาชาติใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ในเดือนเมษายน พ.ศ.2549 อิหร่านออกมาเปิดเผยว่าการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมในโรงงานเมืองนาทานซ์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้สหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส เสนอคณะมนตรีความมั่นคงเรียกร้องอิหร่านยุติการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม

สถานการณ์สงครามในอิรัก
หลังการโค่นล้มซัดดัม



สงครามครูเส็ด
(The Crusades)


สิทธิมนุษยชน
( Human Rights )
หมายถึง สิทธิความเป็นมนุษย์ อันเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนโดยไม่เลือกว่าจะมีเชื้อชาติ แหล่งกำเนิด เพศ อายุ สีผิว ที่แตกต่างหรือยากดีมีจนหรือเป็นคนพิการ สิทธิมนุษยชนนั้นไม่มีพรมแดน การกระทำต่อกันอย่างหยามเกียรติและละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นคน ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนสากล

สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2482-2488) นำมาซึ่งการทำลายล้างชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษยชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการอ้างเหตุแห่งเชื้อชาติและศาสนา จึงได้มีบทบัญญัติระดับนานาชาติ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคน มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เกิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งสหประชาชาติ ได้มีมติรับรองเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ถือเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติต่อมวลมนุษย์ที่ประเทศทั่วโลกยอมรับ มาตราแรกกล่าวถึงความเท่าเทียมกันของศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ทุกคน มาตราที่สองกล่าวถึงสิทธิของบุคคลโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใดๆ ทั้งสิ้น



ข้อ 2 ทุกคนมีสิทธิ และเสรีภาพ อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่และมีความมั่นคง
ข้อ 4. ห้ามบังคับคนเป็นทาส และห้ามค้าทาสทุกรูปแบบ
ข้อ 5 ห้ามการทรมาน หรือลงโทษทารุณโหดร้ายผิดมนุษย์
ข้อ 6 สิทธิในการได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย
ข้อ 7 สิทธิในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อ 8 สิทธิในการได้รับการเยียวยาจากศาล
ข้อ 9 ห้ามการจับกุม คุมขัง หรือเนรเทศโดยพลการ
ข้อ 10 สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย
ข้อ 11 สิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ก่อนศาลตัดสินและต้องมีกฎหมายกำหนดว่า การกระทำนั้นเป็นความผิด
ข้อ 12 ห้ามรบกวนความเป็นอยู่ส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน การติดต่อสื่อสารรวมทั้ง ห้ามทำลายชื่อเสียงและเกียรติยศ
ข้อ 13 เสรีภาพในการเดินทาง และเลือกถิ่นที่อยู่ในประเทศ รวมทั้งการออกนอกประเทศ หรือกลับเข้าประเทศโดยเสรี
ข้อ 14 สิทธิในการลี้ภัยไปประเทศอื่น เพื่อให้พ้นจากการถูกประหัตประหาร
ข้อ 15 สิทธิในการได้รับสัญชาติและเปลี่ยนสัญชาติ
ข้อ 16 สิทธิในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว
ข้อ 17 สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ข้อ 18 เสรีภาพในความคิด มโนธรรม ความเชื่อ หรือการถือศาสนา
ข้อ 19 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกรวมทั้งการได้รับข้อมูลข่าวสาร
ข้อ 20 สิทธิในการชุมนุมโดยสงบและรวมกลุ่ม และห้ามบังคับเป็นสมาชิกสมาคม
ข้อ 21 สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในรัฐบาลทั้งทางตรงและโดยผ่านผู้แทนอย่างอิสระและมีสิทธิ เข้าถึงบริการสาธารณะโดยเท่าเทียมกัน
ข้อ 22 สิทธิในการได้รับความมั่นคงทางสังคม และได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยการกำหนดระเบียบ และทัพยากรของประเทศตนเอง
ข้อ 23 สิทธิในการมีงานทำตามที่ต้องการ และได้รับการประกันการว่างงาน รวมทั้งได้รับ ค่าตอบแทนเท่ากัน สำหรับงานอย่างเดียวกัน และรายได้ต้องเพียงพอแก่การดำรงชีพ สำหรับตนและครอบครัว ตลอดจนสิทธิก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน
ข้อ 24 สิทธิในการพักผ่อน และมีเวลาพักจากการทำงาน
ข้อ 25 สิทธิในการได้รับมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอและได้รับปัจจัยสี่ ตลอดจนต้องคุ้มครองแม่และเด็กเป็นพิเศษ
ข้อ 26 สิทธิในการได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อ 27 สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมและวิถีของชุมชน และได้รับการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อ 28 สังคมต้องมีระเบียบทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้บุคคลได้รับสิทธิ และเสรีภาพตามปฏิญญานี้
ข้อ 29 บุคคลย่อมมีหน้าที่ต่อชุมชน การใช้สิทธิเสรีภาพจะต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพ ของผู้อื่น
ข้อ 30 ห้ามมิให้รัฐ กลุ่มชน หรือบุคคล กระทำการทำลายสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรอง ในปฏิญญานี้
เทคโนโลยี่และการเปลี่ยนแปลง


สังคมออนไลน์
หรือสังคมอินเตอร์เนท

การอัพโหลด (Upload)
หรือบรรจุข้อมูล สมัยก่อนสังคมออนไลน์ส่วนมากคือการดาวน์โหลดคือถ่ายข้อมูลหรือบริโภคข้อมูลข่าวสารเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคได้เปลี่ยนเป็นผู้ผลิตข้อมูลข่าวสารและบรรจุสู่ระบบเครือข่าย ผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น- เว็บบล็อก (Web Blog) เปรียบเสมือนหนังสือพิมพ์หรือวารสารส่วนตัวที่ผลิตได้เองในเว็บไซต์ เพื่อให้คนทั่วโลกได้เยี่ยมชมและแสดงความคิดเห็น อาจใช้เพียงเครื่องเล่น MP3 ในการบันทึกเสียงหรือใช้กล้องดิจิตอลที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือในการบันทึกภาพ ในปี 2550 มีประมาณ 24 ล้านบล็อกและเพิ่มขึ้นวันละกว่า 70,000 บล็อก และเพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ ห้าเดือน - คลิปวีดิโอออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ยูทูป youtube.com ให้คนทั่วไปได้นำคลิปวีดีโอสั้นๆ อัพโหลดหรือบรรจุไว้ในเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้ชม ผู้เข้าชมกว่า 100 ล้านครั้งต่อวัน ในปี 2550 มีผู้นำวิดีโอขึ้นเว็บกว่า 65,000 เรื่องต่อเดือน สมาชิกเพิ่มขึ้นเดือนละ 20 ล้านคน - สารานุกรมเสรีออนไลน์ เช่น วิกิพีเดีย (wikipedia.org) ที่ร่วมกันสร้างและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอโดยผู้อ่าน โดยเปิดให้นำไปใช้ได้โดยเสรี ในปี 2550 มีทั้งหมด 250 ภาษา มีบทความมากกว่า 6,000,000 บทความ และมีบทความภาษาไทยกว่า 22,000 บทความ

( Artificial Intelligence AI ) คือเครื่องจักรที่สามารถทำงานได้เหมือนคน เช่น หุ่นยนต์ (Robot) เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ในชีวิตประจำวัน เช่น ดีพบลูทู ( Deep Blue II ) ของบริษัท IBM ที่สามารถเอาชนะแชมป์โลกหมากรุกเมื่อปี 2540

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
หรือจีไอเอส ( Geographic Information System, GIS ) คือ การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ จัดการและวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่นความสูงต่ำของพื้นที่ ภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประโยชน์ในงานวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อเสียจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นการแพร่ระบาดของเว็บไซต์ลามก เว็บไซต์การพนัน ยาเสพติดและของผิดกฎหมายหรือละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งตรวจสอบอย่างทั่วถึงได้ยาก

เทคโนโลยีชีวภาพ
( Bio Technology )

การโคลนนิ่ง(Cloning)
และการตัดต่อยีน








วัวที่ทนโรคและแมลง ไข่ไก่ที่มีโคเลสเตอรอลน้อยลง ปลาทูน่าโตเร็วและต้านทานโรค ปลาแซลมอนที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ผลิตสินค้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ในปีพ.ศ. 2536 เริ่มมีผลิตภัณฑ์ GMOs ออกมาจำหน่ายในในเชิงพาณิชย์



ภายใต้เครื่องหมายการค้าเรานด์อัพ(Roundup) เช่น ถั่วเหลือง Roundup ready ฝ้ายบีที ข้าวโพดบีที และมันฝรั่งบีที โดยถือว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยมีการเพาะปลูกพืช GMOs เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว



การโคลนนิ่งมนุษย์

แบ่งเป็นการโคลนนิ่งเพื่อการบำบัดรักษา เช่น เซลล์สมองเพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์หรือโรคพาร์คินสัน การนำเซลล์สร้างเนื้อเยื่อใส่เพื่อสร้างเนื้อเยื่อทดแทนในผู้ป่วยมีบาดแผลพุพองจากไฟไหม้ เป็นต้น การโคลนนิ่งเพื่อการสืบพันธุ์ เช่น คู่สมรสที่มีบุตรยาก ความต้องการมีบุตรของกลุ่มรักร่วมเพศ หรือเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดปกติทางพันธุกรรม


นาโนเทคโนโลยี
(Nanotechnolody)










โลกาภิวัตน์ทำให้
โลกไร้พรมแดน




ความหมายของโลกาภิวัตน์





สิ่งที่เห็นได้ชัดในยุคโลกาภิวัตน์ คือ การไหลหมุนเวียนของเงินลงทุน การค้า วัฒนธรรมตะวันตกฯลฯ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจอย่างรอบด้าน ในสภาพของความเป็นมาและที่กำลังจะเป็นไปของโลกในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์กายภาพ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง กฎหมาย และเทคโนโลยี เพื่อสามารถรับมือกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ในอนาคตได้อย่างเท่าทัน
จากโลกกลม
มาสู่โลกที่แบนราบ



เช่น กรณีสหรัฐพยายามกีดกันญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นต้องไปลงทุนในประเทศต่างๆเพื่อแสวงหาโควต้าส่งออกไปสหรัฐ โดยที่บรรษัทข้ามชาติไม่สามารถขูดรีดหาผลกำไรสูงสุดได้เหมือนแต่ก่อน เพราะการไปลงทุนในประเทศอื่นย่อมต้องมีข้อตกลงและต้องเคารพกฎหมายของประเทศนั้นๆและยังมีการตรวจสอบทางสาธารณะอีกมากมาย รัฐบาลจีนจึงไม่ได้เกรงกลัวบรรดาบรรษัทต่างชาติทั้งหลาย








รัสเซียซึ่งเคยเป็นมหาอำนาจเดิมก็พยายามปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยี่ให้ทันสมัย



แต่ละประเทศมีการปรับตัวที่แตกต่างกัน โดยประเทศแถบยุโรปที่มีพื้นฐานการพัฒนามาก่อนก็จะทำการพัฒนาเทคโนโลยี่อย่างต่อเนื่องกันไป ส่วนประเทศที่องค์ความรู้ยังไม่แน่นพอก็อาศัยการลอกแบบหรือพยายามเรียนรู้และสร้างบุคคลากรของตนเองเพื่อต่อยอด แต่ละชาติที่ขยับขับเคลื่อนตามกระแสโลกาภิวัตน์นี้ล้วนมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลไปในอนาคต มีผู้นำประเทศที่เฉียบแหลมที่เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี่ที่จะเป็นบันไดสำคัญในการสร้างรากฐานให้บ้านเมืองในด้านต่างๆ พร้อมทั้งสามารถสร้างพลังขับเคลื่อนให้คนในชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี่และกระแสโลกาภิวัตน์












...........................