วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สื่อต่างประเทศ วิจารณ์กษัตริย์ไทย

สื่อต่างประเทศ วิจารณ์กษัตริย์ไทย
.....................


-หนังสือพิมพ์เฮอรัลด์ ทรีบูน (Herald Tribune) ได้พิมพ์บทความชื่อ "ม็อบและราชบัลลังก์" ( The Crowd and the Crown) โดยเตือนม็อบพันธมิตร ที่กำลังนำสถาบันกษัตริย์มาอ้างเพื่อเป็นเครื่องมือของตน และทำลายฝ่ายตรงข้าม ว่าจะทำให้สถาบันกษัตริย์ถูกโจมตีโดยเฉพาะการยึดสนามบินซึ่งเคยมีบทเรียนในเนปาลมาแล้ว

-นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ (The Economist ) ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม 2551 ลงบทความเรื่องที่ห้ามพูดถึงบทบาทของวังต่อความความล้มเหลวของประชาธิปไตยไทย โดยได้อาศัยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีบทลงโทษรุนแรงเป็นเกราะกำบัง หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นครั้งที่ 15 ในรัชสมัยของกษัตริย์ภูมิพล ทางการของไทยอ้างว่า รัฐพิธีบีบบังคับให้กษัตริย์ต้องยอมรับการยึดอำนาจ แต่บอกประชาชนไทยว่ากษัตริย์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะผู้ก่อการรัฐประหารเข้าเฝ้าฯ เสมือนเป็นการบอกว่ากษัตริย์ได้ให้การยอมรับกับการยึดอำนาจ ทั้งๆที่กษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสั่งการให้กำลังทหารรักษาพระองค์ออกมาต่อสู้ หรือจะเลือกทรงนิ่งเฉยไม่ยอมรับการรัฐประหารผลก็ได้ แต่ทรงกลับเลือกที่จะไปรับรองการยึดอำนาจแทน .....

ปี 2549 ทรงมีพระราชดำรัสต่อบรรดาผู้พิพากษาให้ดำเนินการจัดการกับวิกฤตการเมือง ทำให้มีการเร่งดำเนินการกับคดีต่างๆต่ออดีตนายกฯ ทักษิณและเครือข่ายของเขา ล่าสุดมีการตัดสินยุบพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลทั้งสามพรรคลง ขณะที่มีภาพบรรดาอันธพาลในกลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ ได้ยิงทำร้ายผู้สนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่ชูพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่ากษัตริย์และราชวงศ์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาใหญ่นี้ การนิ่งเฉยของกษัตริย์ได้ส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อระบบนิติรัฐของประเทศไทย พระองค์ก็ยังทรงเป็นบุคคลเดียวที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยการออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันคร่ำครึ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนไทยสามารถร่วมกันอภิปรายเพื่อหาทางออกสำหรับอนาคตของตนได้

-สำนักข่าวบีบีซีโดยโจนาธานเฮด (Jonathan Head ) ได้ชี้ ว่ามีอดีตนายทหารหลายคนที่ให้ความช่วยเหลือพันธมิตรฯ เช่น พล.อ.ปฐมพงศ์ เกษรศุกร์ ผู้เรียกร้องอย่างเปิดเผยให้กองทัพทำรัฐประหารขับไล่รัฐบาล พลตรีจำลอง ศรีเมืองแกนนำคนหนึ่งก็เป็น อดีตนายพลที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พล.อ.เปรม ที่ปรึกษาสูงสุดของกษัตริย์ และพันธมิตรฯ อ้างการปกป้องสถาบันกษัตริย์


พระบรมฉายาลักษณ์ถูกแสดงเด่นชัดตลอดการชุมนุม บุคคลใกล้ชิดกับวังระดับสูงหลายคนสนับสนุนม็อบอย่างเปิดเผย เมื่อพระราชินีรับเป็นประธานในงานศพของพันธมิตรฯ คนหนึ่งที่เสียชีวิตระหว่างการปะทะกับตำรวจ ขณะที่รัฐบาลและผู้สนับสนุนตามชนบท เชื่อว่า วัง กองทัพ และชนชั้นสูง ได้ร่วมกันวางแผนปล้นสิทธิเลือกตั้งของพวกเขา โดยที่พันธมิตรฯและผู้สนับสนุนเชื่อว่า ฝ่ายทักษิณตั้งใจจะเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นสาธารณรัฐ ระบอบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

-ดิอีคอนอมิสต์ ฉบับ 4 ธันวาคม 2551 ลงบทความ เรื่อง ความวุ่นวายที่เกิดจากการพระเจ้าแผ่นดินโดยแท้จริง โดยวิเคราะห์พวกขวาจัดสนับสนุนวังวิตกว่านายกทักษิณได้สร้างความยอมรับ ความชื่นชมในหมู่ประชาชน ผ่านทางนโยบายประชานิยม ที่เป็นการท้าทายอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน และมีการกล่าวหาว่าทักษิณได้แสดงถึงความใจกว้างต่อเจ้าฟ้าชาย เพื่อสร้างบารมีและอิทธิพลเหนือเจ้าฟ้าชาย ซึ่งจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อไป
ปัญหาของประเทศเกิดมาจากกองทัพเป็นส่วนใหญ่ บรรดานายพลทั้งหลายเชื่อว่า พวกเขามีสิทธิที่จะเปลี่ยนรัฐบาลที่ทำให้พวกเขาหรือวังไม่พอใจ พวกเขาจะรับคำสั่งจากวังซึ่งให้การเห็นชอบในการทำรัฐประหารมานับครั้งไม่ถ้วน พระองค์ได้มีรับสั่งกับผู้พิพากษาให้แก้ไขปัญหาทางการเมือง หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการอัดเสียงบทสนทนาของผู้พิพากษาศาลฎีกาสองคน ที่ได้มีการนำมาเปิดเผยในอินเทอร์เน็ต โดยผู้พิพากษาคนหนึ่งบอกว่า ต้องหลีกเลี่ยงการทำให้คนเข้าใจว่าเป็นรับคำสั่งของในวังเพราะพวกคนต่างชาติไม่มีวันยอมรับ ศาลได้เร่งรีบพิจารณาพิพากษาคดีความที่มีการกล่าวหาทักษิณและพวกพ้อง ในขณะที่ลดหย่อนและให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตรงข้ามของทักษิณ

เช่น ศาลมักจะสนใจเรื่องพิจารณาดำเนินคดีลงโทษทักษิณอย่างรวดเร็ว และแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆก็ลงโทษรุนแรงไม่ละเว้น เช่นการที่ศาลสั่งปลดอดีตนายกรัฐมนตรีสมัครเพราะการทำอาหารออกรายการโทรทัศน์ แต่ในทางกลับกัน ข้อหากบฏที่มีต่อกลุ่มพันธมิตรเพราะบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล กลับได้รับการลดหย่อน และศาลยังปล่อยตัวพวกเขาให้กลับมายึดครองทำเนียบรัฐบาลต่อไปได้อีกมาจนถึงจุดนี้ ก็มีแต่เพียงการกระซิบถามกันเท่านั้น ว่าอะไรทำให้กลุ่มพันธมิตรได้รับการปฏิบัติที่ยืดหยุ่นขนาดนี้ แม้แต่กองทัพเอง ก็ปฏิเสธที่จะช่วยตำรวจในการจัดการเคลื่อนย้ายผู้ที่ชุมนุมประท้วง

ข่าวลือต่างๆ ก็ได้รับการยืนยันเมื่อพระราชินีได้เสด็จไปงานศพของหญิงสาวในกลุ่มพันธมิตร ในขณะที่พระเจ้าอยู่หัวยังคงเงียบเฉย การที่ราชวงศ์ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพวกพันธมิตร และการที่กลุ่มพันธมิตรย้ำและยืนหยัดให้คนไทยต้องตัดสินใจ เลือกว่า จะจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว หรือจะเลือกทักษิณต่อไป

ในการรณรงค์สนับสนุนทักษิณ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีนักปราศัยคนหนึ่ง ( ดา ตอร์ปิโด ) กล่าวโจมตีสถาบันโดยระบุว่ากษัตริย์เป็น เสี้ยนหนามในระบอบประชาธิปไตย เพราะการที่ทรงสนับสนุนรัฐประหารหลายครั้ง และเตือนราชวงศ์ว่ามีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับเครื่องตัดศีรษะแบบกิโยติน ไม่นานนัก เธอก็ถูกจับกุม สิ่งที่ทำให้พวกที่สนับสนุนราชวงศ์ตกใจไม่ใช่แค่การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันอย่างรุนแรง แต่เพราะการที่ฝูงชนพากันตะโกนโห่ร้องสนับสนุนเมื่อเธอพูดต่างหาก....

ถ้ารัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวสิ้นสุดลงด้วยสงคราม หรือทำให้ประเทศไทยกลายเป็นอัมพาต เพราะความวุ่นวายที่ไม่รู้จบ โดยที่ไม่มีใครที่มีสถานะเท่าพระองค์ที่จะมายุติข้อขัดแย้งครั้งนี้ จะเป็นภัยพิบัติที่น่าเศร้า ..ล่าสุด เว็บไซต์สเตรทไทม์ รายงานอ้างรอยเตอร์ว่า ร้านหนังสือในกรุงเทพฯ ให้ข้อมูลว่า นิตยสาร ดิอีโคโนมิสต์ ประจำสัปดาห์นี้ถูกห้ามเผยแพร่ในประเทศไทย เนื่องจากมีบทความวิพากษ์เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

...............

ไม่มีความคิดเห็น: