วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

กฎแห่งกรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ Scientific Laws of Karma



ฟังเสียง : http://www.4shared.com/mp3/6YOW37Wj/Scientific_Laws_of_Karma.html
หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?lzwe8pkbdt0d8e5


กฎแห่งกรรมสำ
หรับคนรุ่นใหม่




พระพุทธองค์ตรัสว่า  
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมติดตามเขาไป
เพราะเหตุนั้น เหมือนล้อหมุนไป ตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่ฉันนั้น
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ
ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมติดตามเขาไป
เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัวฉันนั้น  ..
 ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น เพราะมีเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้น  เมื่อตั้งอยู่ เพราะมีเหตุปัจจัยทำให้ตั้งอยู่ เมื่อเปลี่ยนแปร เพราะมีเหตุปัจจัยทำให้เปลี่ยนแปร  เมื่อแตกดับ เพราะมีเหตุปัจจัยทำให้แตกดับ ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไปโดยปราศจากเหตุปัจจัย
 กฎแห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติ คือกฎแห่งเหตุและผล  ฉะนั้นกฎแห่งกรรม ในฐานะที่เป็นกฎแห่งเหตุผลก็คือกฎธรรมชาติ เมื่อมีเหตุปัจจัยอย่างนั้น ก็ย่อมมีความเป็นไปอย่างนั้น ซึ่งทุกสิ่งในธรรมชาติ ย่อมดำเนินไปตามกฎนี้


คำสอนเรื่องกรรม
ในพุทธศาสนา

พระเทวทัตผลักก้อนหินหมายทำร้ายพระพุทธองค์


คำว่า กรรม แปลว่า การกระทำ  มีทั้งกรรมดี ที่เรียกว่า บุญ หรือกุศลกรรม และกรรมชั่ว ที่เรียกว่าบาป หรืออกุศลกรรม ซึ่งบุคคลกระทำได้ โดยผ่านทวาร  3 ทาง คือ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม 
มโนกรรม คือ ความเชื่อ  ความเห็น  ทฤษฏี แนวความคิด และค่านิยมต่างๆ ที่เรียกว่าทิฏฐิ  เป็นการกระทำที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นตัวกำหนดควทัตทำสังฆเภทวามเป็นไปของบุคคล  เป็นตัวกำหนดทัศนคติของสังคม
ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ ความเห็นผิด  การคิด การพูด และการกระทำ ก็จะดำเนินไปในทางที่ผิด ดังพุทธพจน์ว่า  ... ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป ..  ”
การกระทำที่เป็นกรรมดี กรรมชั่วได้ จะต้องมีเจตนาประกอบ   ดังพุทธพจน์ว่า


พระเทวทัตทำสังฆเภท ให้สงฆ์แตกแยก
... ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป ..   
การกระทำที่เป็นกรรมดี กรรมชั่วได้ จะต้องมีเจตนาประกอบ   ดังพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า 
เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ 
 เจตนาของการกระทำ แบ่งเป็น 3 อย่าง คือ เจตนาก่อนทำ เจตนาในขณะที่กระทำ และเจตนาเมื่อได้กระทำไปแล้ว การกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นในตอนใดตอนหนึ่ง ถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น การกระทำที่ไม่มีเจตนา ไม่ถือว่าเป็นกรรม
..........
การอธิบายเรื่องกรรมนั้น ที่ได้ยินกันโดยทั่วไปมักพูดถึงเรื่องเวรกรรมตามสนอง เช่น
พูดว่าคนนี้เมื่อสมัยก่อนเคยหักขาไก่ไว้ แล้วต่อมาอีก 20 - 30 ปี โดนรถชนขาหัก
ก็บอกว่าเป็นกรรมที่ไปหักขาไก่ไว้
หรือเมื่อหลายสิบปีเคยไปเผาป่า ทำให้สัตว์ตาย ต่อมาอีกนานทีเดียว อาจจะแก่เฒ่าแล้วมีอุบัติภัยไฟไหม้บ้านแล้วถูกไฟคลอกตาย  เป็นการอธิบายเกี่ยวกับกรรมแบบหนึ่งซึ่งมักจะได้ยินกันบ่อยๆ
แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นชัดเจน ว่าการไปหักขาไก่ไว้กับการมาเกิดอุบัติเหตุรถชนในเวลาต่อมาภายหลังหลายสิบปีนั้นมีเหตุผลเชื่อมโยงกันอย่างไร

ต้องไม่ลืมว่าพุทธศาสนาถือหลักของความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ทั้งด้านรูปธรรมและด้านนามธรรม คือ ใช้การอธิบายในแง่ของเหตุปัจจัยที่แยกแยะเชื่อมโยงให้เห็นชัด ดังนั้นการอธิบายแบบไม่มีเหตุไม่มีผลที่ชัดเจนย่อมไม่ใช่พุทธศาสนา

ความหมายและ
ประเภทของกรรม
คนทั่วไปมักเข้าใจว่ากรรมเป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องร้าย คนที่ไปประสบเคราะห์ร้าย ก็บอกว่าเป็นกรรมของเขา โดยมองกรรมในแง่อดีต เป็นเรื่องผ่านมาแล้ว ที่มาแสดงผล และเป็นเรื่องที่ไม่ดี
อย่างที่พูดว่า จงก้มหน้ารับกรรมไปเถิด   กรรมในความหมายนี้ที่แท้ก็คือผลของกรรม
แต่ที่จริง กรรม แปลว่าการกระทำ เป็นกลางๆ จะดีก็ได้ จะชั่วก็ได้
กรรมเป็นตัวการกระทำ ซึ่งจะเป็นเหตุต่อไป ส่วนผลของกรรม
ถ้าเป็นฝ่ายชั่วก็เรียกว่าบาป หรือบาปกรรม หรือ อกุศลกรรม
ถ้าเป็นฝ่ายดี ก็เรียกว่าบุญหรือ
กุศลกรรม 
พระพุทธองค์ตรัสว่า บุคคลเป็นชาวนาก็เพราะกรรม เป็นโจรก็เพราะกรรม
เป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม เป็นกษัตริย์ก็เพราะกรรม เป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม ฯลฯ
เป็นโน่นเป็นนี่ก็เพราะกรรม
พร้อมทั้งได้ยกตัวอย่างว่า นายคนนี้ เขาดำนา หว่านข้าว ไถนา เขาก็เป็นชาวนา
การที่เขาทำนานั่นเอง ก็ทำให้เขาเป็นชาวนา คือเป็นไปตามการกระทำ
อันได้แก่อาชีพการงานของเขา
อีกคนหนึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าแผ่นดิน เขาก็เป็นปุโรหิตตามอาชีพการงานของเขา
ส่วนนายคนนี้ไปลักทรัพย์ของเขา ไปปล้นเขาก็กลายเป็นโจร
กรรมในที่นี้จึงหมายถึง การกระทำที่เป็นอาชีพการงานทั้งหลาย ที่มองเห็นเด่นชัด
โดยมุ่งเอาปัจจุบันเป็นหลักก่อน แต่การกระทำไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้น
เมื่อมองหยาบๆ จากภายนอกนอก กรรมก็คืออาชีพ การทำงาน การดำเนินชีวิตของคน
แต่เมื่อมองลึกเข้าไปถึงจิตใจ กรรมก็คือตัวเจตนา

ประเภทของกรรม
กรรม มี 3 อย่าง  คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
กรรมที่ละเอียดอ่อนที่สุดก็ได้แก่ มโนกรรม คือ กรรมทางใจ
และก็เป็นจุดเริ่มคือความคิดมาก่อนการพูดและการกระทำ
คนจะทำอะไรก็เริ่มจากความนึกคิดในใจ ที่เรียกว่ามโนกรรม
พุทธศาสนาจึงถือว่ามโนกรรมสำคัญที่สุด  เพราะมโนกรรมเป็นจุดเริ่มต้น เป็นตัวการใหญ่ เป็นเจ้าของแผนการ
บุคคลก็ดี สังคมก็ดี จะเป็นไปอย่างไรก็ดำเนินไปตามมโนกรรม
มโนกรรมเป็นตัวกำหนดวิถีหรือแนวทางให้แก่แนวคิด ความนิยม ความเชื่อ เป็นตัวกำกับการ
สังคมมนุษย์จะเป็นไปอย่างไร ก็เริ่มมาจากมโนกรรม ที่เรียกว่าค่านิยม หรือแนวทางอุดมการณ์ เมื่อสังคมมีค่านิยมอย่างไร ก็จะชักนำการดำเนินชีวิตของคนในสังคมนั้นให้เป็นอย่างนั้น
สังคมใดมีค่านิยมที่ดีงาม เอื้อต่อการพัฒนา สังคมนั้นก็มีทางที่จะพัฒนาไปได้ดี
สังคมใดมีค่านิยมตํ่าทราม ขัดขวางเตะถ่วงการพัฒนา สังคมนั้นก็มีแนวโน้มที่จะเสื่อมโทรม
พัฒนาได้ยาก จะประสบปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอย่างมากมาย
ถ้าจะพัฒนาสังคมนั้นให้ก้าวหน้า ให้สังคมเจริญพัฒนาไปได้ดี ก็จะต้องแก้ค่านิยมที่ผิดพลาดให้ได้ และต้องสร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นด้วย
เรื่องค่านิยมนี้เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของมโนกรรมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก มีผลระยะยาว ลึกซึ้งและกว้างไกล ครอบคลุมไปทั้งสังคม


กฎเกณฑ์ของกรรม
ที่เป็นเหตุและผล

นิยาม เป็นภาษาบาลี แปลว่า ตัวกำหนด หรือกฎระเบียบของธรรมชาติ
กฎธรรมชาติ มี
5 ประการ คือ

ธรรมนิยาม
( General Laws ) หรือกฎทั่วไปของธรรมชาติ คือ ธาตุทั้งปวงมีสถานะเป็นกระแส สั่นสะเทือน ผันผวน ไม่แน่นอน สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งปวงย่อมต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น เป็นกฎสากลที่ครอบคลุมความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎนิยามทั้งปวงอยู่ภายใต้กฎข้อนี้  กฎธรรมนิยามนี้ก็ทำให้เกิดนิยามข้ออื่นๆ
อุตุนิยาม
( Physical Laws ) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ลักษณะสภาวะของธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ เมื่อมีเหตุปัจจัยเพียงพอก็จะเป็นไปโดยไม่มีใครเป็นผู้กำหนด
พีชนิยาม
( Biological Laws ) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปทางพันธุกรรม กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ เชื้อไวรัสและจิต กฎข้อนี้จึงหมายรวมในเรื่องของร่างกายและกระบวนการทำงานของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่เกิดจากการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมด้วย เช่น หว่านพืชเช่นไรย่อมได้ผลเช่นนั้น
จิตนิยาม
( Psychic Laws ) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต
กรรมนิยาม ( Karmic Laws ) คือกฎแห่งเหตุผล ที่ครอบคลุมความเป็นไปในฝ่ายจิตวิญญาณ อันได้แก่ กฎแห่งกรรม เป็นกฎแห่งการให้ผลของการกระทำ อันเป็นเหตุเป็นผลทางนามธรรมที่เกิดจากเจตนาของจิต อันเป็นมโนกรรม เป็นเหตุให้ทำกายกรรมและวจีกรรมที่ให้ผลแสดงออกมาในสภาพทางกายหรือทางวัตถุได้ 
พุทธศาสนาเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมนิยาม จิตนิยาม และกรรมนิยาม


ในทางกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม
แม้ว่าพุทธศาสนาจะเน้นเรื่องธรรมนิยาม จิตนิยามและกรรมนิยามก็จริง แต่ก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ พุทธศาสนาจึงไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์
กฎธรรมชาตินี้มีถึง 5 กฎ โดยมีกฎแห่งกรรมเป็นเพียงกฎหนึ่ง ดังนั้นการวิเคราะห์พิจารณาสิ่งทั้งหลายจึงอย่าไปยึดถือว่าทุกอย่างต้องเป็นเรื่องของกรรมทั้งนั้น เมื่ออะไรเกิดขึ้นก็ไม่แน่ว่าเป็นเพราะกรรมเสมอไป  เช่น นาย ก. เหงื่อออก เป็นเพราะอากาศร้อน มิใช่เป็นเพราะกรรม
หรือบางทีเป็นเพราะนาย ก. ไปทำความผิดไว้ เลยหวาดกลัวมาก จนเหงื่อออก
ฉะนั้น แม้จะเป็นปรากฏการณ์อย่างเดียวกัน ก็อาจเกิดจากสาเหตุคนละอย่าง

คนที่นํ้าตาไหล อาจมาจากความเสียใจ ดีใจ หรือถูกควันไฟเข้าตาก็ได้ 
พระพุทธองค์ทรงพยาบาลภิกษุอาพาธ
และมีโอวาทให้ภิกษุพึงพยาบาลกันเอง
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ใครก็ตามที่ยึดถือว่าอะไรๆ ทุกอย่างล้วนเป็นผลเกิดจากกรรมทั้งสิ้นนั้น เป็นคนที่ถือผิด เช่น ในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ มีพุทธพจน์ว่า โรคบางอย่างเกิดจากการบริหารร่างกายไม่สมํ่าเสมอก็มี เกิดจากอุตุคือสภาพแวดล้อมแปรปรวนเป็นสาเหตุก็มี เกิดจากเสมหะเป็นเหตุก็มี เกิดจากตับ ไต หรือดีเป็นเหตุก็มี เกิดจากเหตุต่างๆ ประกอบรวมกันก็มี เกิดจากกรรมก็มี แปลว่าโรคบางอย่างเกิดจากกรรม แต่หลายอย่างเกิดจากสภาพดินฟ้าอากาศบ้าง เกิดจากความแปรปรวนของร่างกายบ้าง เกิดจากการบริหารร่างกายไม่สมํ่าเสมอ เช่น พักผ่อนน้อยเกินไป ออกกำลังมากเกินไป เป็นต้น กรรมเป็นเพียงเหตุหนึ่งเท่านั้น จะโทษกรรมไปทุกอย่างทุกเรื่องไม่ได้
ยกตัวอย่าง คนเป็นแผลในกระเพาะอาหาร อาจเป็นเพราะกินยาแก้ไข้แก้ปวด เช่น แอสไพรินในเวลาท้องว่าง ที่มีฤทธิ์เป็นกรด อาจกัดกระเพาะทะลุถึงเสียชีวิตไปเลย 
บางคนเป็นแผลในกระเพาะอาหาร จากความวิตกกังวล กลุ้มใจบ่อยๆ คับเครียดเป็นประจำ ทำให้มีกรดเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร ไปกัดกระเพาะเป็นแผล บางทีร้ายแรงถึงกับต้องผ่าตัดกระเพาะทิ้งไปบางส่วนก็มี
การกินแอสไพรินหรือยาแก้ปวดแก้ไข้แล้วกระเพาะทะลุ เป็นอุตุนิยาม คือเป็นกฏเกณฑ์ธรรมชาติของสารเคมีซึ่งคือธาตุทั้ง 5
แต่ความเครียด ที่ทำเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ถ้าเกิดจากจิตที่มีอกุศล มีความความโลภความโกรธความหลงก็ถือเป็นกรรมนิยาม ซึ่งทำให้เกิดโรคจากมโนกรรมคือโรคเครียด ซึมเศร้า หวาดระแวง  ผสมด้วยจิตนิยามที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต


หลักกรรมนอกพระศาสนา
หรือ
ลัทธิเดียรถีย์ มี
3 อย่าง ได้แก่
ทรงแสดงธรรมโปรดชฎิลสามพี่น้อง
ลัทธิที่ 1 ถือว่า บุคคลจะได้สุขก็ดี จะได้ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อนทั้งสิ้น
ลัทธิที่ 2 บอกว่า บุคคลจะได้สุขก็ดี จะได้ทุกข์ก็ดี ได้ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี ล้วนเป็นเพราะเทพเทวดาผู้ยิ่งใหญ่หรือพระผู้เป็นเจ้าบันดาลให้ทั้งสิ้น
ลัทธิที่ 3 ถือว่า บุคคลจะได้สุขก็ดี จะได้ทุกข์ก็ดี ได้ไม่สุขได้ไม่ทุกข์ก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องบังเอิญ เป็นไปเองลอยๆ แล้วแต่โชคชะตา ไม่มีเหตุปัจจัย ถือว่าสิ่งทั้งหลายอะไรจะเกิดขึ้น ไม่มีเหตุแล้วแต่จะบังเอิญเป็นไป คือลัทธิโชคชะตา
สามลัทธินี้พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นลัทธิที่ผิด เพราะมันทำให้คนไม่มีฉันทะ คือไม่มีความเพียรที่จะทำอะไรอีกต่อไป เนื่องจากเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ หรือไปขึ้นต่อตัวการภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ โดยไม่ขึ้นกับการกระทำของเรา
นิครนถ์นาฏบุตร หรือมหาวีระ เชื่อว่าการเปลือยกาย
เป็นสัญลักษณ์ของคนไม่มีกิเลส
โดยเฉพาะลัทธิลัทธิกรรมเก่าหรือลัทธินิครนถ์ที่อยู่นอกพุทธศาสนานั้น ถือว่าอะไรๆ ก็แล้วแต่กรรมปางก่อน เราจะทำอะไรไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะกรรมปางก่อนมันกำหนดไว้หมดแล้ว  เราก็ต้องปล่อย รอคอย แล้วแต่มันจะเป็นไป พระพุทธองค์ตรัสว่า ลัทธินี้เป็นลัทธิของพวกนิครนถ์ มีหัวหน้าชื่อว่านิครนถนาฏบุตร ที่ถือว่า ทุกสิ่งเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำให้สิ้นกรรม โดยไม่ทำกรรมใหม่ และเผากรรมเก่าให้หมดสิ้นไปด้วยการบำเพ็ญตบะ
แต่พุทธศาสนาเน้นปัจจุบัน แม้ว่ากรรมเก่าก็มีผลสำคัญ แต่มันเสร็จไปแล้วและเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดผลในปัจจุบัน ซึ่งเราจะต้องใช้ปัญญาแยกแยะเพื่อทำกรรมที่ดีและแก้ไขปรับปรุงตัวให้เกิดผลที่ดีต่อไปภายหน้า
การถือแต่ลัทธิกรรมเก่า มองคนที่เขาประสบเคราะห์กรรมต่างๆ ว่าเป็นเพราะกรรมของเขาเท่านั้น ก็เลยบอกให้เขาก้มหน้ารับกรรมไป แล้วตนก็วางเฉย แถมยังบอกว่าตนถืออุเบกขา คือ วางเฉย ไม่ต้องช่วย ปล่อยให้คนที่ได้รับความทุกข์ยากต้องลำบากต่อไป
แต่อุเบกขาที่แท้จริงในพุทธศาสนาคือการวางใจเป็นกลาง เพื่อรักษาความเป็นธรรม เมื่อจะต้องลงโทษก็ลงโทษไปตามเหตุผล ตามกรรมที่เขาทำ เช่น ผู้พิพากษาต้องวางใจเป็นกลางในการตัดสินคดีความ ถ้าใครเป็นผู้ผิด ก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย เรียกว่า วางอุเบกขา คือในจิตใจมีเจตนาที่จะรักษาธรรม เมื่อจะช่วยคนก็ต้องไม่ให้เสียความยุติธรรม ในกรณีที่ปล่อยให้คนต้องทุกข์ยากลำบาก จึงไม่ใช่อุเบกขา เพราะไม่ได้รักษาความเป็นธรรมเลย และก็ไม่ได้ช่วยเหลือคนแต่อย่างใด 

ถ้าเราไปเจอคนทุกข์ยากขัดสนข้นแค้น เราจะอ้างว่าเป็นผลกรรมของเขาแต่ชาติปางก่อน ให้เขาก้มหน้ารับกรรมไป การอ้างอย่างนี้เป็นเรื่องที่ผิดถึง
3 ขั้นตอน คือ
1 . ถ้าเป็นผลกรรมจากชาติก่อน ก็แสดงว่าเขาได้รับผลของกรรมนั้นแล้ว คือเกิดมาจน เกิดมาลำบาก
สภาพปัจจุบันคือสภาพที่ได้รับผลแล้ว ไม่ใช่สภาพรอผล
เมื่อผลกรรมเก่าแสดงออกมาแล้ว หน้าที่ของเราที่จะทำต่อสภาพปัจจุบันที่เขาทุกข์ยาก ก็คือ ต้องใช้เมตตากรุณาไปช่วยเหลือ เหมือนกับเด็กที่ว่ายนํ้าไม่เป็น แต่เล่นซน ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ แล้วไปตกนํ้า การที่เขาตกนํ้าก็เป็นการรับผลกรรมของเขาแล้ว ตอนนี้เขากำลังทุกข์ ถึงตอนที่เราต้องใช้ความกรุณาไปช่วย จะไปอ้างว่าเป็นผลกรรมของเขาแล้วปล่อยให้เด็กจมน้ำตาย ย่อมไม่ถูกต้อง
2 . คนเรามักจะทำกรรมดีและชั่วปนๆกันไป แต่ถ้าสภาพปัจจุบันคือเขาทุกข์ยากเดือดร้อน เราก็ควรต้องใช้ความกรุณาเข้าไปช่วยเหลือ
3 . ความทุกข์ยากของเขาอาจเกิดจากเหตุปัจจัยอื่น หรือหลายเหตุปัจจัยประกอบกัน ทั้งเหตุปัจจัยในอดีตและเหตุปัจจัยในปัจจุบัน เหตุปัจจัยภายในและเหตุปัจจัยภายนอกก็มี
ในเรื่องความยากจนนี้ ถ้าเป็นสภาพทางสังคม พระพุทธองค์ก็เคยเน้นเหตุปัจจัยและการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการปกครองบ้านเมือง ซึ่งจะต้องไม่มองข้ามไป อย่าทึกทักทันทีง่ายๆ
แต่ให้รู้จักใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
ฉะนั้น ถ้าหากคนอื่นมีความทุกข์ยากเดือดร้อน ก็ควรช่วยให้เขาก็มีโอกาสแก้ไขปรับปรุงตัวและมีกำ ลังที่จะไปทำกรรมดีอื่นๆต่อไป คือการช่วยให้เขาช่วยตัวเองได้

บุญ - บาป กุศล - อกุศล
บุญ เป็นเครื่องชำระล้างทำให้จิตใจสะอาด เช่น มีเมตตาเกิดขึ้น ก็เท่ากับช่วยชำระจิตใจให้สะอาด
นำ
มาซึ่งการบูชา หรือทำให้เป็นผู้ควรบูชา
ส่วนบาปแปลว่า สิ่งที่นำไปสู่
ที่ชั่วร้ายที่ทำให้จิตใจตกตํ่า พอโทสะ โลภะ เกิดขึ้น จิตใจก็ตกตํ่าลงไป และนำไปสู่หนทางที่ชั่วร้าย


นางสุชาดาถวายมธุปายาสที่ต้นไทร ในวันก่อนการตรัสรู้
กุศล แยกความหมายได้ 4 อย่าง คือสุขภาพจิตดี ไม่ถูกโรคคือกิเลสเบียดเบียน จิตที่ไม่มัวหมอง ผ่องใสปลอดโปร่ง จิตที่ประกอบไปด้วยปัญญา ความรู้ความเข้าใจ และจิตที่มีความสุขสงบเย็น ไม่เร่าร้อนอึดอัดคับแค้น
เช่น พอเกิดเมตตา จิตใจก็จะเป็นสุขสงบเย็น สบายใจ ปลอดโปร่ง  เลือดลมเดินสะดวก
แต่ถ้ามีโทสะหรือความโกรธเกิดขึ้น ก็จะรู้สึกเร่าร้อน บีบคั้น  ขุ่นมัว
  ทุกข์ใจ  เครียด ความดันขึ้น
พอเกิดกุศลหรืออกุศลขึ้นในใจก็จะปรากฏผลแก่ชีวิตจิตใจทันที  ไม่ต้องไปรอดูผลข้างนอก ความเป็นกุศลและอกุศลเป็นสภาวะตามธรรมชาติในตัวของมันเอง ไม่ต้องไปรอผลในอนาคต คือ มีผลทันที อย่างที่เรียกว่าเป็นสันทิฏฐิโก
เห็นได้เอง
เห็นทันตา


ซิกมันด์ ฟรอยด์ - Sigmund Freud


ซิกมันด์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) นักจิตวิเคราะห์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย อธิบายว่า จิตทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ใน 3 ลักษณะ คือ
1. จิตสำนึก ( Conscious ) หรือจิตรู้ คือจิตระดับที่รู้ตัว และแสดงพฤติกรรมออกมาได้โดยตรงตามที่ตนเองรับรู้ในขณะนั้น
2. จิตกึ่งสำนึก ( Pre - Conscious ) เป็นจิตที่แสดงออกมาในระดับที่ยังรู้ตัวอยู่ เพียงแต่ควบคุมไม่ให้แสดงพฤติกรรมออกมา  คือ จิตระดับที่รู้ตัวแต่ไม่แสดงออกมา
3. จิตใต้สำนึก ( Sub - Conscious )
เป็นจิตระดับที่เก็บสะสมสิ่งต่างๆไว้รวมทั้งสัญชาตญาณและประสบการณ์ต่างๆตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเรื่องเจ็บปวด เศร้าหมอง ในอดีตที่บุคคลต้องการจะลืมไปจากความทรงจำ ความรู้สึกเหล่านี้จะเก็บไว้ที่จิตใต้สำนึก ไม่ได้หายไปไหน ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมติดตัวเมื่อโตขึ้น ซึ่งเจ้าตัวไม่สามารถที่จะอธิบายเหตุผลได้ จิตใต้สำนึกจึงเป็นตัวกำหนดบุคคลิกหรือนิสัยของคน เช่น ก้าวร้าว อ่อนโยน เข้มแข็ง อ่อนแอ กลัวหรือเกลียดสิ่งใดเป็นพิเศษ เป็นจิตที่ถูกแสดงออกมาเมื่อบุคคลนั้นไม่รู้ตัว หรือไม่มีสติรับรู้ได้ เช่น นอนหลับ นั่งสมาธิ หรือ ถูกสะกดจิต การแสดงออกของจิตใต้สำนึกจะฉายภาพออกมาในรูปแบบของความฝัน การละเมอ หรือ เผลอพูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ

ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง Iceberg Theory ของ Freud
จิตใจของมนุษย์มีลักษณะคล้ายกับภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่กลาง มหา สมุทร ซึ่งมีส่วนที่ลอยโผล่พ้นผิวน้ำอยู่เพียงน้อยนิด เปรียบเทียบได้กับจิตสำนึก และส่วนที่อยู่ปริ่มน้ำหรือลงไปใต้น้ำไม่มากเปรียบได้กับจิตกึ่งสำนึก และน้ำแข็งส่วนสุดท้ายที่เป็นส่วนใหญ่ของภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นน้ำนั้นก็คือจิตใต้สำนึก เป็นส่วนที่เราไม่มีโอกาสได้เห็นหรือรับรู้ได้ถึงความมีตัวตนอยู่ของมัน
โดยปกติแล้วมนุษย์เรานั้นจะใช้จิตส่วนที่เป็นจิตสำนึกและจิตกึ่งสำนึกทำงาน เพียงแค่
8% เท่านั้น ส่วนอีก 92% ที่เหลือนั้นก็คือผลจากการทำงานของจิตใต้สำนึกทั้งหมด พลังของจิตใต้สำนึกมีอิทธิพลเหนือจิตสำนึก โดยคอยกระตุ้นเตือนให้กระทำพฤติกรรมประจำวันทั่ว ๆ ไป หรือเป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมอันไร้เหตุผลและผิดปกติได้ เช่น รู้สึกกลัวและกังวล หรือซึมเศร้าตลอดเวลา การช่วยเหลือบุคคลที่มีพฤติกรรมผิดปกติเยี่ยงนี้ จำเป็นจะต้องหยั่งรู้ถึงสาเหตุหลักที่ถูกฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก โดยจิตแพทย์อาจใช้วิธีการสะกดจิต เพื่อให้คนไข้สามารถเปิดเผยเรื่องราวที่ถูกบันทึกอยู่ในจิตใต้สำนึกของตนออกมา
จิตใต้สำนึก
คือ จุดเริ่มแห่งการให้ผลของกรรม
พระเจ้าอชาตศัตรูได้พระโอรส ในวันที่พระบิดาสวรรคต
จากการสั่งขังของพระองค์เอง
จิตใต้สำนึกที่สั่งสมไว้แล้วจะเป็นตัวการหลักที่ส่งผลต่อตัวเราด้วย เช่น ถ้าเรามีจิตโกรธบ่อยๆ เป็นคนฉุนเฉียว โกรธง่ายจนกลายเป็นนิสัย ต่อมาสภาพจิตก็แสดงออกทางที่หน้าตา หน้านิ่วคิ้วขมวดอยู่เสมอ กลายเป็นบุคลิกภาพ ซึ่งมีผลทั้งต่อตนเองและผู้อื่น คนที่พบเห็นก็ไม่อยากคบไม่อยากพูดจาด้วย  แล้วก็กลับมามีผลต่อชีวิตของตนเอง 
ในทางตรงข้าม คนที่มีจิตเมตตา ยิ้มแย้มแจ่มใส คิดนึกแต่เรื่องดีๆเสมอ เป็นคนมีเสน่ห์ ชวนให้คบหา ผลที่ออกมาเป็นผลดีต่อวิถีชีวิตของเขาต่อไปด้วย
จิตใต้สำนึกนี้มีขนาดใหญ่ และเป็นส่วนที่มีกำลังมาก แต่จิตของเราเอามาใช้งานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อมีเหตุการณ์คับขันที่บังคับตัวเองไม่ได้ จิตใต้สำนึกก็จะแสดงพลังออกมา เช่นเวลาเกิดไฟไหม้ บางคนยกตุ่มนํ้าได้ หรือวิ่งหนีกระโจนข้ามรั้วสูงได้ แสดงว่า จิตของคนเรามีความสามารถมาก แต่เราไม่รู้จักนำออกมาใช้ ก็เลยไม่เป็นประโยชน์  จิตสำนึกหรือความคิดเป็นแค่ตัวแสดงออกเบื้องต้นเท่านั้น แต่ตัวพื้นฐานที่กำหนดความคิดออกมาเป็นนิสัย เป็นบุคลิกภาพ ตลอดจนเป็นชะตากรรมของคนอยู่ที่จิตใต้สำนึกที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งมันทำงานอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วมันจะไม่ลืม ไม่ลบเลือน แต่ยังคงอยู่ และชักพาจิตใจให้โน้มเอียงหรือวนเวียนอยู่กับเรื่องนั้น

มันจึงเป็นเรื่องธรรมดาของกฎแห่งกรรมซึ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ทำงานสัมพันธ์กับจิตใจ มิใช่เป็นเรื่องของอำนาจเร้นลับมหัศจรรย์  โดยมีความสัมพันธ์สืบเนื่องที่เชื่อมโยงให้เห็นได้

การให้ผลของกรรม


ทรงแสดงธรรมโปรดนายขมังธนูซึ่งพระเทวทัต
ส่งไปสังหารพระพุทธองค์
พระพุทธองค์สอนว่า  บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้กระทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้กระทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว  แสดงให้เห็นถึงหลักทั่วไปของกฎแห่งกรรม ที่ว่า เหตุเป็นอย่างไร ผลย่อมเป็นเช่นนั้น เปรียบเทียบว่า เมื่อปลูกมะม่วง ผลที่ได้รับก็ต้องเป็นมะม่วง  ถ้ากระทำกรรมดี ผลที่ได้รับก็จะต้องเป็นผลดี
กรรมทั้งหลาย ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว เมื่อบุคคลทำไปแล้วย่อมก่อให้เกิดผล  กรรมบางชนิดให้ผลเร็ว บางชนิดให้ผลช้า ความสัมพันธ์ระหว่างกรรม กับผลของกรรม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล ผลจะเป็นอย่างไร ขึ้นกับเหตุแห่งกรรมนั้น ๆ
ผลของกรรมมี 2 แบบ
กลุ่มพันธมารเพื่อเผด็จการดักดานแห่งชาติ
แบบแรก คือ ผลกรรมเกิดขึ้นทันที ที่บุคคลได้กระทำกรรมนั้นลงไป หมายความว่า ถ้าเป็นการทำชั่ว
ก็เป็นการเพิ่มเชื้อชั่วให้กับตัวเอง ทำให้คุณธรรมในตัวเองตกต่ำลง ทำให้จิตใจถูกความชั่วครอบงำ ทำให้นิสัยหรือสันดานต่ำทรามลง ทำให้วิถีชีวิตอยู่ในท่ามกลางความเสื่อม และทำให้สังคมที่ผู้กระทำกรรมชั่วอาศัยอยู่ต้องเดือดร้อน
ถ้าเป็นการทำกรรมดี จะเพิ่มคุณค่าหรือบารมีให้กับตนเอง ทำให้คุณธรรมในตนเองสูงส่งยิ่งขึ้น
ผลของกรรมแบบที่สอง คือ ผลกรรมเกิดที่ขึ้นภายหลัง ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และเหตุปัจจัยอื่นๆ  ที่อาจสนับสนุนหรือขัดขวางอิทธิพลของผลกรรมก็ได้
อิทธิพลภายนอกนั้น เช่น กฎหมาย  ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม และอิทธิพลที่เนื่องด้วยกาลเทศะ มี
8 อย่าง แบ่งออกเป็น สมบัติ 4 และวิบัติ 4
 
นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกหญิงคนแรกของไทย
ที่น่าจะถือเป็นเป็นแบบอย่างที่ดีได้
สมบัติ 4 คือ ข้อดี  ความเพียบพร้อม  ความสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งอำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี และไม่เปิดทางให้กรรมชั่วแสดงผล คือ



1. คติสมบัติ หมายถึง มีกำเนิดดี มีที่อยู่ ที่ไป หรือแนวทางดำเนินชีวิตที่เอื้ออำนวยแก่การกระทำกรรมดี เช่น เกิดในประเทศเจริญ ฐานะดี มีพ่อแม่ดี ร่ำรวยสูงศักดิ์   
2. อุปธิสมบัติ ถึงพร้อมด้วยรูปกาย เช่น ร่างกายแข็งแรง สุขภาพ บุคลิกภาพ หน้าตา สติปัญญา  
3. กาลสมบัติ ถึงพร้อมด้วยกาลหรือยุคสมัย ถูกกาลเทศะ เกิดอยู่ในสมัยที่โลกมีความเจริญ  มีการปกครองที่ดี คนในสังคมยกย่องคนดี ไม่ส่งเสริมคนชั่ว

4. ปโยคสมบัติ ถึงพร้อมด้วยความเพียรพยายาม ประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ทำแต่กรรมดีได้ถึงขนาด และจริงจังครบถ้วน ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและต่อเนื่อง

กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบและตัดสิทธิ์ 5 ปี
วิบัติ 4 คือ ข้อเสีย  จุดอ่อน หรือ ความบกพร่องขององค์ประกอบต่างๆ ซึ่งไม่เอื้ออำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล ได้แก่ 
                         
1. คติวิบัติ หมายถึง เกิดในที่ต่ำทราม ไร้ความเจริญ ชาติตระกูลต่ำ ยากจนข้นแค้นกันดาร
2. อุปธิวิบัติ หมายถึงร่างกายพิกลพิการ สุขภาพไม่ดี รูปโฉมหรือบุคลิกภาพไม่ดี
3. กาลวิบัติ  คือ เกิดอยู่ในยุคสมัยที่ไม่เจริญ บ้านเมืองมีภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี  
4. ปโยควิบัติ คือ มีความเพียรพยายามไม่มากพอ ย่อหย่อน จับจด
การจะหวังให้เกิดผลที่ดีจึงต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบเหล่านี้

กฎแห่งกรรมของชาวพุทธ
ต้องทำให้ถูกต้องทั้ง
2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ตัวกรรมนั้นต้องเป็นกรรมดี ไม่ใช่กรรมชั่ว แล้วผลดีในขั้นที่ 1 ก็จะเกิดขึ้น โดยจิตใจของเราได้รับผลดีที่เป็นความสุข
แต่ผลในขั้นที่ 2 จะต้องพิจารณาองค์ประกอบแวดล้อมต่างๆด้วย

แต่คนบางคนอาจจะเอาเรื่องขององค์ประกอบภายนอกเข้ามาใช้โดยวิธีฉวยโอกาสตามยุคสมัยหรือความนิยมของสังคม  โดยไม่สนใจว่าการกระทำนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ขอให้ได้ผลประโยชน์ตามที่ตนต้องการก็พอ คือมุ่งแต่ผลขั้นที่
2 แต่ไม่คำนึงถึงผลขั้นที่ 1
กลายเป็นเรื่องของอกุศลกรรม

8 มีนาคม 2553 กษัตริย์ภูมิพล
สั่งให้นายอภิสิทธิ์เดินหน้า ไม่ต้องยุบสภา
เช่น นายอภิสิทธิ์รู้ว่ากษัตริย์ภูมิพลต้องการขุดรากถอนโคนพตท. ทักษิณ ก็เลยทำทุกวิถีทางเพื่อเอาใจกษัตริย์ภูมิพลเต็มที่ จนได้เป็นนายกรัฐมนตรีที่ก่อตั้งรัฐบาลในค่ายทหารรักษาพระองค์ โดยไม่สนใจหลักการในระบอบประชาธิปไตย กลายเป็นว่าได้เป็นนายกรัฐมนตรี จากการฉวยโอกาส
ฉะนั้น ในฐานะที่เป็นชาวพุทธจะต้องมองผลขั้นที่ 1 ก่อน คือ ต้องทำกรรมดีไว้ก่อน ไม่ทำกรรมชั่ว โดยคำนึงถึงองค์ประกอบภายนอกไปด้วย ก็จะทำให้งานของตนได้ผลดีโดยสมบูรณ์

ท่าทีที่ถูกต้องต่อกรรมเก่า
ลัทธิกรรมเก่าถือว่าสิ่งที่เป็นอยู่ก็เพราะกรรมเก่าทั้งสิ้น เอาตัวกรรมเก่าเป็นเกณฑ์ตัดสินโดยสิ้นเชิง การจะทำอะไรในปัจจุบันก็ไม่มีความหมาย เพราะแล้วแต่กรรมเก่า
ต่อไปจะเป็นอย่างไรก็ต้องแล้วแต่กรรมเก่าจะให้เป็นไป ทำไปก็ไม่มีประโยชน์
แต่พุทธศาสนา ถือว่ากรรมเก่านั้นเป็นกรรมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นและมีผลมาถึงปัจจุบัน
พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ ชื่อว่ากรรมเก่า

กรรมเก่าก็
คือ สภาพชีวิตที่เรามีอยู่ในปัจจุบันขณะนี้ ถือเป็นต้นทุนหรือกำลังของตน
ถ้ารู้ว่าทุนของตนน้อยสู้เขาไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาหาวิธีที่จะลงทุนให้ได้ผลดี
ฉะนั้น แม้ว่ากรรมเก่าอาจจะไม่ดี คือร่างกายตลอดจนสภาพชีวิตทั้งหมดไม่ดี
แต่ถ้าฉลาดและเข้มแข็งไม่ท้อถอย พยายามปรับปรุงตัว หาวิธีการที่ดีมาใช้ ถึงแม้จะมีทุนไม่ค่อยดี มีทุนน้อย ก็ทำให้เกิดผลดีได้ กลับบรรลุผลสำเร็จ ก้าวหน้ายิ่งกว่าคนที่ทุนดีด้วยซํ้าไป
ส่วนคนที่มีต้นทุนดีนั้น หากรู้จักใช้ทุนดีของตัว ก็ยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ถ้าไม่รู้จักใช้ ประมาทมัวเมา ก็จะหมดทุน กลับยิ่งแย่ลงไปอีก
การปฏิบัติที่ถูกต้องจึงไม่ใช่มัวท้อแท้หรือทรนงอยู่กับทุนเก่าหรือกรรมเก่า กรรมเก่านั้นเป็นทุนเดิมซึ่งจะต้องกำหนดรู้ แล้วพยายามแก้ไข ปรับปรุง ส่งเสริมเพิ่มพูนให้ดีให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป
เราสร้างวาสนา
แล้ววาสนาก็สร้างเรา
และเป็นที่มาของบารมี
โปรดสัจจกนิครนถ์ผู้ชอบโต้เถียง
และอวดว่าตนมีวาทะแหลมคม
วาสนา ก็คือความเคยชิน ตั้งแต่เรื่องของจิตใจ้าชายจและการแสดงออกที่กลายเป็นลักษณะประจำตัว ใครสั่งสมจิตใจหรือความชอบมาทางไหน ก็มีชีวิตไปทางนั้น
เราจึงควรมาตั้งใจสร้างวาสนาให้ดี เพราะวาสนานั้นสร้างได้ ปรับปรุงได้ แต่คนไทยเราชอบพูดว่าแข่งวาสนากันไม่ได้ การแก้ไขความเคยชินนี้อาจแก้ยากมาก แต่ถ้าเราแก้ไขได้ปรับปรุงได้ ก็จะมีผลดีต่อชีวิตของเราอย่างมากมาย วาสนามีไว้แก้ไข ไม่ใช่มีไว้แข่งขัน
บางคนเกิดมาจน แล้วบอกว่าตนมีวาสนาไม่ดี หรือไม่มีวาสนา มัวแต่หดหู่ ท้อแท้ใจ ถ้าคิดอย่างนี้อยู่เรื่อย ก็แน่นอนว่าวาสนาไม่ดี เพราะคิดเคยชินในทางไม่ดี จนมีความท้อแท้อ่อนแอ เป็นลักษณะประจำตัว
แต่ถ้าเกิดมาจนแล้วคิดว่าต้องมีความเพียรพยายามให้มาก ต้องหาทางแก้ปัญหาให้ได้  เมื่อเราได้ใช้ความเพียรพยายามแก้ปัญหาให้มาก ก็จะยิ่งพัฒนามีทักษะและความชำนาญมากขึ้น มีจิตใจที่เข้มแข็งอดทน ได้ฝึกฝนเกิดสติปัญญา

เจ้าชายวชิราลงกรณ์ในเยอรมัน ปี 2552
ส่วนคนที่เกิดมาร่ำรวยมั่งมี ถ้าไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักการทำงานแก้ปัญหา มัวแต่หลงเพลิดเพลินในความสุขสบาย ก็จะเป็นความเคยชินหรือวาสนาไม่ดี ต่อไปจะกลายเป็นคนอ่อนแอ ทำอะไรไม่เป็น ปัญญาก็ไม่พัฒนากลายเป็นคนเสียเปรียบ เพราะฉะนั้น ใครจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ โดยดูที่ฐานะข้างนอกว่า ร่ำรวย หรือยากจน ก็ยังไม่ใช่สิ่งชี้ขาดเสมอไป
คนที่คิดดีคิดถูก จะเพียรพยายามปรับเปลี่ยนความเสียเปรียบให้มาเป็นความได้เปรียบ ด้วยการสร้างความเคยชินหรือวาสนาที่ดีให้แก่ตนเอง แต่คนที่คิดผิด กลับพลิกความได้เปรียบให้เป็นความเสียเปรียบ และทำวาสนาของตนให้ตกต่ำไปเลย
จึงต้องระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีใครเสียเปรียบหรือได้เปรียบอย่างสมบูรณ์ตลอดไป ถ้าคิดเป็น ก็พลิกความเือกตั้สียเปรียบให้เป็นความได้เปรียบได้ แต่ต้องไม่คิดจะเอาเปรียบกันอย่างเดียว

 
นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรระหว่่างการหาเลียงเลือกตั้ง
3 กรกฎาคม  2553
การปรับปรุงสร้างวาสนาให้เป็นไปในทางที่ดี คือการที่เราตั้งใจทำจิตใจให้เกิดเป็นกุศลอยู่เสมอ จิตใจของเราจะไปตามความเคยชิน คนที่เคยชินในการปรุงแต่งไม่ดี ก็มักไปเก็บเอาอารมณ์ที่ไม่ดีเข้ามา ทำให้ไม่สบายใจ เมื่อเรารู้ตัวมีสติก็สามารถยับยั้งหยุดความคิดที่ไม่ดีได้ และให้ไปนึกเอาสิ่งที่ดีขึ้นมาแทน เพื่อทำจิตใจให้สบาย เป็นการสร้างสุข สร้างวาสนา สร้างวิถีชีวิตให้แก่ตนเองได้  ด้วยการกระทำสิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ฝึกจิตให้เกิดแต่กุศลหรือจิตใจที่ดี มี 5 อย่างคือ  มีความร่าเริงเบิกบานใจ มีความอิ่มเอิบใจ ความสงบเย็นผ่อนคลายสบายใจ  มีความสุข ปลอดโปร่งใจ ไม่มีอะไรมาบีบคั้นหรือระคายเคืองและมีใจแน่วแน่สงบมั่นคงไม่หวั่นไหว เมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว ปัญญาก็จะผ่องใส มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไป ที่เรียกว่ามีบารมี ถ้ามีอะไรมากระทบใจก็จะออกมาในทางที่ดี ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง เป็นคนทำประโยชน์ ที่มีบารมีหรือภูมิคุ้มกันจิตใจ  พร้อมที่จะให้อภัย ส่วนคนที่มีความขุ่นมัวเป็นพื้นอยู่ในใจ พอถูกกระทบก็จะเกิดโทสะและจะเป็นไปในทางอาฆาตพยาบาท เรียกว่าไม่มีบารมี
พตท.ทักษิณ เข้าเยี่ยมรัฐมนตรีของสหรัฐอาหรับเอมิเรท
เมื่อ 18 พ.ย. 2551
ดังนั้น คนที่มีบารมีอยู่ในตัว จะกระทำความดีได้ง่ายเพราะมีบารมีที่เป็นเครื่องส่งเสริมให้กระทำความดี แล้วก็จะสืบเนื่องไปในทางกระทำดี แต่เราไปเรียกคนที่มีอิทธิพล มีเงินมีอำนาจยิ่งใหญ่ ว่าเป็นผู้มีบารมี เมื่อพูดถึงคนที่มีบารมีมาก ก็หมายความว่ามีพวกพ้องบริวารมาก หรือมีอิทธิพลมาก สามารถจะทำอะไรก็ได้ คือไปมองที่ผล แต่ศาสนาพุทธให้เน้นที่เหตุ คือ การทำความดีเป็นที่มาของบารมี คนที่ทำความดีจนกระทั่งเห็นกันชัดๆ คนรู้กันทั่วไป เป็นที่เชื่อถือในเรื่องนั้นๆ ได้รับความเคารพนับถือเพราะเขาได้สั่งสมบารมีมามาก เราก็เลยเรียกสั้นๆ ว่า เขามีบารมีมาก ก็คือเขามีคุณธรรมความดีที่ได้สั่งสมมามากนั่นเอง
เรื่องเคราะห์กรรมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
พุทธศาสนาสอนว่า เราควรต้องใช้ประโยชน์จากสภาพที่เป็นอยู่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือร้ายก็ตาม  แม้แต่เคราะห์กรรม ก็ต้องทำให้เป็นโอกาสหรือใช้ประโยชน์จากเคราะห์กรรมนั้นให้ได้ เพราะถ้ามัวคร่ำครวญตีโพยตีพายกันอยู่ ก็จะเสียเวลาเปล่าๆ และเป็นการซ้ำเติมตนเองด้วย


ผ้ายันต์พระนารายณ์ทรงครุฑประทับพระราหู
พระเทพภวนาวิกรมหรือเจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตรวิทยาราม

พุทธศาสนาเน้นเรื่องของการปฏิบัติ โดยไม่สนใจเรื่องไสยศาสตร์ว่าจริงหรือไม่จริง แต่จะสอนในแง่ว่าความเชื่อและการปฏิบัติในเรื่องไสยศาสตร์มีคุณมีโทษอย่างไร เพราะถ้าเถียงกันว่าจริงหรือไม่จริง ก็คงไม่รู้จักจบและไม่มีใครแพ้ชนะเด็ดขาด นอกจากนั้นถึงแม้ถ้าเป็นจริงแต่ถ้ามีโทษมากกว่าคุณ ก็ไม่ควรไปเอาด้วย ข้อพิจารณาที่สำคัญก็คือมองในแง่คุณและโทษ พุทธศาสนาให้มองทุกสิ่งทุกอย่างอย่างเป็นกลางๆ คือมองทั้งแง่ดีและแง่เสีย ทั้งแง่คุณและแง่โทษ
พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์ กรุงเทพ
เรื่องไสยศาสตร์เรื่องความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรื่องการอ้อนวอนเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้ช่วยปลอบประโลมใจบำรุงขวัญกำลังใจ ขณะที่จิตใจกำลังเร่าร้อนกระวนกระวาย ก็ทำให้ใจสงบได้ ในขณะที่ตื่นกลัวหวาดผวาก็อาจจะทำให้นอนหลับได้ แล้วก็อยู่ด้วยความหวัง  อาจจะเกิดกำลังใจขึ้นมาบ้าง ถ้ามีความเชื่อมั่นมีศรัทธามากก็อาจจะทำให้เกิดความมั่นใจและความเข้มแข็ง มองดูก็เป็นคุณประโยชน์ แต่จะต้องมองอีกด้านหนึ่งคือด้านที่เป็นโทษ เมื่อเวลามีทุกข์มีภัยถ้าหวังพึ่งแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงเพื่อให้เกิดความสบายใจ ก็กลายเป็นนอนใจหรือรอคอยด้วยความหวัง เลยไม่ดิ้นรนขวนขวาย ทำให้เกิดความประมาทที่ต้องระวัง
การเชื่อไสยศาสตร์และอำนาจดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นการใช้ศรัทธา เอาความเชื่อเป็นหลัก คือไม่ได้เกิดจากการรู้ความจริงของตัวเราและของเรื่องนั้นสิ่งนั้น ทำให้ต้องขึ้นต่ออำนาจดลบันดาล ต้องอาศัยสิ่งภายนอกมาช่วย โดยเราไม่ต้องทำเอง ทำให้เรามองไม่เห็นกระบวนการของความเป็นเหตุเป็นผลว่ามันสำเร็จได้อย่างไร ตัวเราเองก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่รอ ตัวเราเองก็จะไม่รู้และเราไม่มีอำนาจที่จะไปแก้ไขได้ จึงไม่เกิดการดิ้นรนขวนขวาย


ทรงปราบพราหมณ์เจ้าทิฏฐิ ผู้ดูหมิ่นเหยียดหยามพระองค์ รวม 8 ข้อ
พุทธศาสนาสอนว่าเราควรจะทำการให้สำเร็จผลที่ต้องการด้วยความเพียรพยายามด้วยการกระทำของตนเอง เมื่อสิ่งนั้นสำเร็จด้วยการกระทำของเรา เราจะเห็นเหตุเห็นผลชัดแจ้ง ไม่เหมือนกับผลที่เกิดจากผู้อื่นหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้ คนที่ไปหวังพึ่งสิ่งภายนอกดลบันดาลให้นั้นก็จะไม่พัฒนาตนเอง ไม่สามารถพัฒนาความเก่งกล้าที่ต้องอาศัยการได้ฝึกได้หัดได้ทดลอง การมัวไปหวังพึ่งแต่สิ่งภายนอก ก็จะทำให้ตนเองไม่ได้พัฒนาสติปัญญาความสามารถ ทำให้ไม่เป็นอิสระ พึ่งตนเองไม่ได้ ไม่เป็นตัวของตัวเอง และทำให้เกิดความประมาทเพราะไปหวังพึ่งรอให้สิ่งภายนอกมาช่วย เลยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป ไม่ลุกขึ้นดิ้นรนขวนขวายแก้ไขปัญหา   
มองในแง่สังคม เมื่อคนทั่วไปเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เชื่อไสยศาสตร์ ก็ไม่มีการดิ้นรนขวนขวายแก้ไขปัญหาและพัฒนาสร้างสรรค์ ไม่สามารถไปแข่งกับสังคมที่ต้องพึ่งตนเอง ต้องหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งทำให้สังคมนั้นเจริญเข้มแข็งขึ้นมาได้ เมื่อพิจารณาในแง่ของสังคมในระยะยาว จะเห็นได้ว่าความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และไสยศาสตร์น่าจะมีโทษมากกว่ามีคุณ แม้ว่ามันจะได้ผลจริงบ้างก็ไม่น่าจะคุ้ม
จักรพรรดิ์อากิฮิโต้และราชินีมิชิโกะ
อวยพรให้ผู้ประสบภัยซือนามิในปี 2554
เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาจึงวางหลักการไว้ว่าให้ทำการให้สำเร็จด้วยความเพียรของตนเองตามเหตุตามผล ให้ใช้การแก้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง จะได้มีชีวิตที่ดีขึ้น มองในแง่สังคมสังคมก็เจริญก้าวหน้าพัฒนาขึ้น   ทำให้รู้จักพึ่งตนเองจึงได้มีอิสรภาพเป็นตัวของตัวเอง เกิดความกระตือรือร้นขวนขวายไม่ต้องรอให้มีอะไรมากระตุ้นหรือมีภัยมาบีบคั้นคุกคาม เรียกว่าตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ตรงตามหลักพุทธศาสนาที่ส่งเสริมการพึ่งตนเองและไม่สนับสนุนการพึ่งอำนาจดลบันดาลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นไสยศาสตร์หรือการพึ่งอำนาจเทพเจ้า ไม่ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมีจริงหรือไม่จริง แต่โทษมันมากกว่าคุณ และมันขัดหลักพุทธศาสนา เรื่องการพึ่งตนเองและการฝึกฝนพัฒนาตนเอง เพื่อตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท

โปรดภัททวัคคีย์ผู้ตามหญิงโสภณีที่ลักเอาของมีค่าของพวกตน
แต่เราต้องยอมรับความจริงว่าคนจำนวนมากยังอ่อนแอมาก ไม่มีความเข้าใจจริงและจิตใจก็ไม่หนักแน่นเข้มแข็ง เวลาเกิดเหตุร้ายปัจจุบันทันด่วนก็ตั้งสติไม่ทัน ถูกความหวาดกลัวครอบงำลงไปถึงจิตใต้สำนึก จิตใจเตลิดเปิดเปิงขวัญกระเจิง ทำอะไรไม่ถูก กลับไปแพ้คนที่เขามีสติปัญญาด้อยกว่าที่เชื่อมั่นในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นี่เป็นส่วนที่ดีของความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ เกิดเป็นความมั่นใจ ทำให้จิตรวมตัวอยู่กับสิ่งนั้น
คนที่ยังอ่อนแอยังมีจิตใจไม่มั่นคง ท่านก็ยอมให้อาศัยความศักดิ์สิทธิ์ได้บ้าง แต่ท่านให้เอาความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่พระรัตนตรัย จะได้เป็นทางเชื่อมให้เขาเดินหน้าต่อไปสู่การพัฒนาชีวิตของตนให้ดีขึ้น การยึดเหนี่ยวจึงเป็นเพียงได้อาศัยเพื่อจะเดินหน้าต่อไป
ศักดานุภาพหรืออิทธิฤทธิ์อภินิหารที่จะดลบันดาลเป็นสิ่งวูบวาบไม่แน่นอนและไม่ยั่งยืน แต่สติปัญญาที่เกิดจากการพึ่งตนเองย่อมเป็นสิ่งที่แน่นอนและยั่งยืนกว่า

องค์เทพศาสนาฮินดู ของชาวอินเดีย
การยึดเหนี่ยวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการชักนำคนให้มาเข้าร่วมเท่านั้นไม่ใช่ยึดเหนี่ยวแล้วก็เลยวนเวียนอยู่แค่นั้น ที่สำคัญอยู่ที่ต้องเดินหน้าต่อไป ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นมีมาก่อนแล้วตั้งแต่โบราณ ถ้าศาสนาเป็นได้แค่ที่พึงที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ก็ไม่จำเป็นต้องเกิดมีพุทธศาสนาเพราะคนอินเดียเขามีที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจมีเทวดาให้นับถือเยอะแยะมาช้านานแล้ว รวมทั้งพระพรหมที่ว่าดลบันดาลทุกอย่างได้จนคนพากันเชื่อในพรหมลิขิต การที่มีพุทธศาสนาเกิดขึ้นก็เพราะศาสนาก่อนนั้นเป็นได้แค่ที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ชนิดที่ดึงให้หลงอยู่กับการพึ่งพาอำนาจภายนอก คือรอผลดลบันดาล พุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขให้ประชาชนได้พัฒนาความประพฤติทั้งกายวาจาและใจ เพื่อพัฒนาสติปัญญาให้พึ่งตนเองได้ดีขึ้นจนเป็นอิสระ    พุทธศาสนาในเบื้องแรกก็ยอมให้มีความมั่นใจด้วยศรัทธาแต่ต้องมีปัญญาประกอบ ให้เห็นเหตุเห็นผลแล้วต้องพัฒนาให้เป็นความมั่นใจด้วยปัญญา ด้วยความรู้ ความเข้าใจความจริง แล้วทำด้วยตนเองได้
พุทธศาสนามิใช่มีไว้เพื่อให้เราขอโชคและขอให้ช่วยพ้นเคราะห์ แต่พุทธศาสนาสอนให้เรามีความสามารถที่จะเอาชนะเคราะห์และสร้างโชค ให้เรารู้จักเผชิญและจัดการกับเคราะห์ เพื่อให้ตัวเราเองพัฒนาดีขึ้นและรู้จักใช้โชคให้นำโชคยิ่งๆขึ้นไปด้วย ไม่ใช่เอาแต่จะหนีเคราะห์ กลายเป็นคนอ่อนแอจะถอยอยู่เรื่อย พอเวลามีโชคก็หลงระเริงเพลิดเพลินจนโชคหมดหายกลายเป็นเคราะห์เพราะไม่รู้จักพัฒนาโชคต่อไป    .....
...
...

ไม่มีความคิดเห็น: