หรือที่ : http://www.mediafire.com/?t6eb3h3pn70yfb8
..............
ตำนานๆ 009001
: กษัตริย์ไทยต้องการประชาธิปไตยจริงหรือ


ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ชาติให้ประเทศมีอิสรภาพ พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติไว้ตั้งหลายร้อยล้านบาท ด้วยวิธีทำนาบนหลังคน ...คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ไขความชั่วร้ายก็โดยทีจะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา ...ให้กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรตามลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งเรื่องนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว และกำลังรอคำตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดเพราะความเห็นแก่ตัวว่าจะถูกลดอำนาจ ก็จะได้ชื่อว่า ทรยศต่อชาติและก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย คือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญ คือไม่ต้องมีพระมหากษัตริย์อีกต่อไปแล้ว....

วันที่ 12 ตุลาคม 2476 พระองค์เจ้าบวรเดช ได้นำนายทหารฝ่ายนิยมเจ้าทำการรัฐประหารในนามของวัง จอมพลป.พิบูลสงครามบัญชาการปราบกบฏ จนได้รับชัยชนะ และพระองค์เจ้าบวรเดชก็หนีออกนอกประเทศ

และได้ทรงมีพระราชสาส์นแอบอ้างความสูงส่งของพระองค์ไว้เป็นครั้งสุดท้าย ว่า...ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7 ได้พยายามดิ้นรนต่อสู้ขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทำให้คำแถลงของพระองค์ไม่มีความหมายและเป็นแค่เพียงเรื่องโกหกเท่านั้นเอง
รัชกาลที่ 7 ไม่เสนอรัชทายาทอย่างเป็นทางการ โดยให้รัฐบาลเป็นผู้เลือกรัชทายาท คณะรัฐมนตรีสรุปให้พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเป็นกษัตริย์
รัชกาลที่ 7 ได้นำทรัพย์สินออกไปเป็นจำนวนมาก ทั้งเงินสดและอัญมณีที่สะสมกันมาหลายรัชกาล เมื่อพระองค์ปฏิเสธข้อเรียกร้องให้คืนทรัพย์สินทั้งหมด รัฐบาลจึงยึดทรัพย์สินส่วนใหญ่ของราชวงศ์ที่ยังเหลืออยู่ในกรุงเทพฯ


ในเดือนกันยายน 2488

สมเด็จพระราชชนนียืนยันให้ทั้งสองพระองค์ได้จบการศึกษามหาวิทยาลัยที่โลซานน์ พระราชวงศ์จึงมีกำหนดเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 13 มิถุนายน 2489


ตลอดช่วงหกปีต่อมา บรรดาเชื้อพระวงศ์และพรรคการเมืองของนายควงและมรว.เสนีย์ที่ควบรวมกันเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ต่างพากันใช้กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ให้เป็นประโยชน์ในการแพร่ขยายอำนาจของพวกตน ขณะที่ในหลวงภูมิพลยังคงอยู่นอกความขัดแย้งเพราะเป็นเจ้าเหนือหัวของทุกคนที่ไม่มีใครกล้าล่วงละเมิด ภรรยาของมรว.เสนีย์บอกอุปทูตสหรัฐ ว่านายปรีดีเป็นผู้บงการฆ่าในหลวงอานันท์ เชื้อพระวงศ์อาวุโสคนอื่นๆ ก็บอกเอกอัครราชทูตอังกฤษอย่างเดียวกัน ส.ส.คนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ตะโกนในโรงหนังว่าปรีดีฆ่าในหลวง



วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ทหารทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลหลวงธำรง นายปรีดีต้องหนีไปต่างประเทศ คณะรัฐประหารที่นำโดยพลโทผิน ชุณหะวัน กับ พลโท หลวงกาจ กาจสงครามพันธมิตรของจอมพลป. ได้กล่าวหาว่ารัฐบาลนายปรีดี-หลวงธำรง ไม่ให้ความเคารพชาติ ศาสนาและกษัตริย์ ดังนั้นทหารจึงจำต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อรักษาประเทศชาติและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และอ้างว่ามีหลักฐานชัดเจนว่านายปรีดีมีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีสวรรคตและยังวางแผนที่จะปลงพระชนม์รัชกาลที่ 9 เพื่อกำจัดสถาบันกษัตริย์ให้หมดสิ้นไปและเปลี่ยนประเทศเป็นคอมมิวนิสต์ พวกเขาจับกุมมหาดเล็กสองคน คือนายชิตและนายบุศย์ และอดีตราชเลขาธิการนายเฉลียว ปทุมรสด้วยข้อกล่าวหาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับนายปรีดี รวมทั้งอดีตราชองครักษ์เรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวชที่หนีไปต่างประเทศเช่นเดียวกับนายปรีดี






วันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลป.ต้องเข้าเฝ้าในหลวงเพื่อกราบบังคมทูลขอให้พระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนรัฐบาลของตน พระเจ้าอยู่หัวทรงบอกจอมพลป.ให้ลาออก แต่จอมพลป.ปฏิเสธและในคืนนั้นจอมพลสฤษดิ์ก็ยึดอำนาจ โดย ทั้งสฤษดิ์และพลโทถนอมรีบเข้าวัง แค่สองชั่วโมงหลังการประกาศรัฐประหาร พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งจอมพลสฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนคร โดยที่ไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จอมพลป.และพล.ต.อ.เผ่าก็ต้องหนีออกจากประเทศไทย
ประกาศพระบรมราชโองการ
ตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
ภูมิพลอดุลยเดชป.ร.
เนื่องด้วยปรากฏว่ารัฐบาลอันมีจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้บริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ทั้งไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ คณะทหารซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าได้เข้ายึดอำนาจการปกครองไว้ได้ ข้าพเจ้าจึงขอตั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ขอให้ประชาชนทั้งหลายอยู่ในความสงบและขอให้ข้าราชการทุกฝ่ายฟังคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศณ วันที่ 16 กันยายน 2500วันถัดมา มีแถลงการณ์ของพระราชวังว่า ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเล็งเห็นว่า วัตถุประสงค์ของคณะปฏิวัติที่จะคุ้มครองประชาชน ดูแลสวัสดิภาพและผลประโยชน์ของชาติ และสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศนั้นเป็นสิ่งที่สูงส่ง เมื่อท่านมีเป้าหมายสูงส่ง ท่านก็ได้รับความคาดหมายให้ดำเนินการต่อไปด้วยความจงรักภักดีและความถูกต้อง โดยยึดถือผลประโยชน์แห่งชาติเหนืออื่นใด ท่านจะได้รับการอวยพรจากพระมหากษัตริย์หากทั้งหมดนี้สำเร็จลุล่วง ”

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในเดือนมกราคม 2502 จอมพลสฤษดิ์ได้ยกเลิกกฎหมายการปฏิรูปที่ดินปี 2497 ของจอมพลป. ทำให้พวกเจ้าไม่ต้องเสียการถือครองที่ดินไป โดยไม่มีการต่อต้านใดๆ






ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้สั่งลบชื่อ นักศึกษาจำนวนเก้าคนออก ที่ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงรวมตัวประท้วงคำสั่งของ ดร. ศักดิ์ ต่อมาได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองแก่ประชาชน และประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในหกเดือน
วันที่ 13 ตุลาคม ประชาชนราว 400,000 คนชุมนุมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและรัฐสภา รัฐบาลได้ปล่อยผู้ต้องหาที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญทั้ง 13 คนในเช้าวันนั้นเพื่อลดการเผชิญหน้า
บ่ายวันนั้น ทรงโปรดเกล้าฯให้จอมพลถนอมและจอมพลประภาสเข้าเฝ้าและพวกเขารับปากว่าจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังจากนั้นก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ตัวแทนนักศึกษาทั้ง 13 คนเข้าเฝ้าในพระตำหนักจิตรดารโหฐาน นักศึกษาก็กลับออกมารายงานว่าคณะทหารยินยอมที่จะให้มีรัฐธรรมนูญภายใน 12 เดือน




เห็นได้ชัดเจนก็คือ พระเจ้าอยู่หัวทรงออกโรงสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการทหารมาโดยตลอด และแทบไม่เคยสนองข้อเรียกร้องของนักศึกษาแต่อย่างใด ถนอมกับประภาสยังคงอยู่ในอำนาจ และมีการรับปากที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเวลาที่ยาวนานถึงหนึ่งปี ชี้ให้เห็นว่าในหลวงไม่ได้ทรงมองว่าถนอมกับประภาสเป็นปัญหา และความพยายามของพระองค์ในการสยบนักศึกษาด้วยเงื่อนไขที่เลื่อนลอยก็มีส่วนที่นำไปสู่ความรุนแรง หลังจากกองทัพฆ่าผู้ชุมนุมไปแล้วหลายสิบคน พระองค์ถึงได้ขยับมาจัดการสามทรราชอย่างชัดเจน เพื่อยุติความวุ่นวายซึ่งเป็นความจำเป็นสำหรับการรักษาความสงบเรียบร้อย แต่มิได้ทรงสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด พระเจ้าอยู่หัวทรงเอาแต่ตำหนิติเตียนการต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ซึ่งพระองค์ทรงเชื่อว่าเป็นเรื่องวุ่นวายและไม่จำเป็น เพราะพระองค์มิได้มีปัญหากับเผด็จการทหาร แต่พระองค์มีปัญหากับการที่ประชาชนต้องการประชาธิปไตยมากกว่า










วันที่ 23 กันยายน 2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะคาดไม่ถึงว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงออกศึกท้าชนตรงๆ แต่สภาปฏิเสธการลาออก นายกเสนีย์ จึงต้องกลับมาปรับคณะรัฐมนตรี มีการเสนอให้ปรับพรรคชาติไทยออกและนำพรรคกิจสังคมของมรว.คึกฤทธิ์เข้ามาแทน แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงห้ามไม่ให้เอาพรรคชาติไทยออก







ในวันที่ 20 ตุลาคม 2519 มีพิธีบำเพ็ญกุศลศพนายเสมอ อ้นจรูญ ลูกเสือชาวบ้านที่บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยในเช้าวันที่ 6 และเสียชีวิต โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ 2 พระองค์ เสด็จพระดำเนินในฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ดำ ทรงสดุดีวีรกรรมว่าสมควรแก่การเชิดชูเป็นแบบอย่างในด้านมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายทหารพิเศษรักษาพระองค์ในปี 2542
ฆาตกรในเหตุการณ์ทั้งหมดรวมถึงสมาชิกกลุ่มกระทิงแดง นวพล และตำรวจ ที่ฆ่า เผา และข่มขืนนักศึกษา ทั้งหมดได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ตำรวจ สมาชิกกลุ่มกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และนวพล ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติการฆ่าโหดนักศึกษาได้รับกระเช้าเยี่ยมพระราชทาน

ดร.สรรพสิริ วิรยศิริ ผู้อำนวยการช่อง 9 อสมท.ถูกปลดออกจากตำแหน่งหลังจากแพร่ภาพเหตุการณ์สังหารหมู่ที่น่าสยดสยองในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกสู่สาธารณะ

...สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมชี้ให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ของไทยสนับสนุนหรือทำลายระบอบประชาธิปไตยกันแน่
........................