ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ :
http://www.4shared.com/mp3/2fQuQlKj/See_Through_Stable_Owner__06.html
หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?44v7ib7jb594i3z
..........
รู้ทันเจ้าของคอกม้า
ตอนกษัตริย์ไทย ยิ่งใหญ่จริงหรือ
รัชกาลที่ 7 ท่านต้องการประชาธิปไตยจริงหรือ
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 มักถูกฝ่ายนิยมเจ้าโจมตีว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่าม เพราะพระปกเกล้าหรือรัชกาลที่ 7 เตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้อยู่แล้ว โดยมีร่างรัฐธรรมนูญอยู่ 3 ฉบับที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์มักอ้างอยู่เสมอว่า เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่กษัตริย์เตรียมมอบให้กับประชาชน



ร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับนี้ไม่เป็นรัฐธรรมนูญในความหมายสมัยใหม่แบบประชาธิปไตย เพราะ รัฐธรรมนูญสมัยใหม่แบบประชาธิปไตยต้องกำหนดให้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนเท่านั้น ต้องมีการแบ่งแยกอำนาจ รับรองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และหากจะให้มีกษัตริย์ต่อไปก็ต้องกำหนดให้กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และกษัตริย์ไม่ต้องรับผิด เพราะไม่มีอำนาจกระทำการใดโดยลำพัง
หากมีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญของกษัตริย์ให้เป็นกฎหมาย ร่างกฎหมายทั้งสามก็เป็นเพียงกฎหมายของกษัตริย์ ที่เข้ามาจัดการปัญหาและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบเก่าเท่านั้น โดยไม่ได้ลดอำนาจกษัตริย์ ประชาชนไม่ได้เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด ไม่ได้ทำให้คนเป็นพลเมือง เป็นผู้ทรงสิทธิ เพราะกฎหมายของกษัตริย์ไม่ได้ให้อำนาจแก่ประชาชน





ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้ยกเลิกตำแหน่งองคมนตรีและอภิรัฐมนตรีทั้งหมด ตามราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2475

ทั้งยังกำหนดกษัตริย์ไม่อาจกระทำการใดได้โดยลำพัง การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
คณะราษฎรได้ยึดอำนาจจากกษัตริย์ โดยได้ถูกโอนไปยังคณะราษฎร มีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองชั่วคราว เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475



เนื้อหาในธรรมนูญก็แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่ต้องการให้รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้เป็นการถาวรตลอดไป โดยแบ่งสภาผู้แทนราษฎรเป็น 3 สมัย ในสมัยแรก ประกอบไปด้วยสมาชิก 70 คน มาจากการแต่งตั้งโดยผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ในสมัยที่สอง 6 เดือนถัดมา ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งบวกกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิมอีก 70 คน และในสมัยที่สาม เมื่อราษฎรสอบไล่ชั้นประถมเกินครึ่ง หรือไม่เกิน 10 ปีนับแต่ประกาศใช้ธรรมนูญนี้ ให้ส.ส.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

คณะราษฎร :
ต้นตำรับการปรองดองแห่งชาติ

คณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้สอบถามความเห็นจากรัชกาลที่ 7 สม่ำเสมอและร่วมมือกันร่างจนเป็นที่พอพระทัยมาก ถึงกับเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับ 10 ธันวาคม 2475 พร้อมพระราชปรารภในทำนองว่ารัชกาลที่ 7 เองที่ปรารถนาพระราชทานรัฐธรรมนูญ





เมื่อเปรียบกับในต่างประเทศ ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า เราทำมาผิดกันไกล เช่น ฝรั่งเศสปฏิวัติกัน เขาก็ฆ่ากันนับพันๆคน จนถึงกับเอาใส่รถใส่เกวียนไปฆ่ากัน ส่วนเราเปลี่ยนกัน เปลี่ยนทั้งพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนทั้งอำนาจอะไรต่ออะไรด้วย เราก็ไม่ได้ทำอะไรกันเลย มิได้มีการเสียเลือดเสียเนื้อกันเลย และผมคิดว่า ในชีวิตเรา ในชีวิตลูกของเรา พวกรักระบอบเก่าแก้แค้นก็ไม่หมด เพราะว่าเราปล่อยไว้...พวกผมขอให้หมด ปิดฉากพยาบาทกัน แต่พวกตรงข้ามเขาไม่ยอม ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร เมื่อเปรียบกับในต่างประเทศ ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า เราทำมาผิดกันไกล เช่น ฝรั่งเศสปฏิวัติกัน เขาก็ฆ่ากันนับพันๆคน จนถึงกับเอาใส่รถใส่เกวียนไปฆ่ากัน ส่วนเราเปลี่ยนกัน เปลี่ยนทั้งพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนทั้งอำนาจอะไรต่ออะไรด้วย เราก็ไม่ได้ทำอะไรกันเลย มิได้มีการเสียเลือดเสียเนื้อกันเลย และผมคิดว่า ในชีวิตเรา ในชีวิตลูกของเรา พวกรักระบอบเก่าแก้แค้นก็ไม่หมด เพราะว่าเราปล่อยไว้...พวกผมขอให้หมด ปิดฉากพยาบาทกัน แต่พวกตรงข้ามเขาไม่ยอม ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร เขาแสดงทีท่าว่า ต่อให้ถึงลูกหลานเหลนของเราก็ต้องรบกันอยู่นั่นเอง ก็มีปัญหาขึ้นว่า ถ้าเช่นนั้นทำไมจึงไม่แก้เล่า ถ้ามีแก้ ก็ต้องทำเด็ดขาดอย่างพระพุทธยอดฟ้าทรงปฏิบัติกับพวกเจ้าตาก ซึ่งได้ผลดีมาแล้ว แต่เราทำไม่ได้ จะไปล่มเรือฆ่ากันอย่างนั้นพ้นสมัย และกลัวบาปด้วย แต่ฆ่า 18 คนเท่านี้ก็พออยู่แล้ว เป็นประวัติการณ์ที่เรายังไม่ลืมเหตุการณ์อันนี้ ถ้าเราจะให้หมดไปจริง ๆ ที่จะให้ระบอบใหม่นี้มั่นคงแล้วจะเป็นอย่างไร ดูอย่างฝรั่งเศสเมื่อครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 นั้น เอาไปประหารกันทีเดียว ...อีกอย่างหนึ่ง เราจะปราบด้วยวิธีอื่นก็ได้ พวกที่อยู่ในระบอบเก่าไม่เปลี่ยนหัวมาเป็นระบอบใหม่ ก็ให้หนีไปเสียจากเมืองไทย สภาฯ นี้ก็อนุมัติให้รัฐบาลทำได้ ให้ออกกฎหมายว่าพวกนี้ให้ผมริบทรัพย์ แล้วเนรเทศไปให้หมด
คณะราษฎรจึงเป็นต้นแบบของการปรองดองแห่งชาติ แต่ผลลัพธ์ที่คณะราษฎรได้รับกลับมา ก็เป็นดังที่เห็นๆกันอยู่ ว่ามีแต่จะถอยหลังลงไปทุกที


ปัญญาชนฝ่ายนิยมกษัตริย์รู้ดีว่าไม่อาจเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาลงไปในรัฐธรรมนูญ ในยุคโลกาภิวัตน์เพราะสังคมโลกคงจะไม่ยอมรับ เนื่องจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็คือเผด็จการรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่กระแสโลกปัจจุบันบังคับให้ทุกประเทศต้องเป็นประชาธิปไตย และการเสนออะไรที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง ย่อมทำให้ปัญญาชนฝ่ายนิยมกษัตริย์จะดูโง่เขลาเกินไป



กำเนิดองคมนตรี
ตามรัฐธรรมนูญ 2490
ที่ปรึกษาของกษัตริย์ ตรงกับคำว่า ปรีวีเคาน์ซิล ( Privy Council ) ซึ่งในสมัยก่อนใช้คำว่าสภาที่ปรึกษาในพระองค์
หรือ อภิรัฐมนตรี ปัจจุบันเรียกว่าองคมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2490


นี่คือสรุปคำอภิปรายของมรว.เสนีย์ ปราโมชที่ได้เคยอภิปรายไว้ในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2491 แต่นักการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ปี 2555 – 2556 กลับยืนยันว่าจะไม่มีการแก้ไขรัดทำมะนวยหมวดพระมหากษัตริย์ แม้ว่าเมื่อกว่าหกสิบปีก่อน มรว.เสนีย์ ปราโมชก็ยังได้อภิปรายไว้ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการให้มีอภิรัฐมนตรี หรือ องคมนตรีนั่นเอง แสดงให้เห็นว่าการเมืองของไทยล้าหลังยิ่งกว่าเมื่อหกสิบปีที่แล้ว
คณะราษฎรตักเตือนพระราชวงศ์
ให้หยุดกล่าวความอันเป็นเสี้ยนหนาม
แก่ความสงบและคำปฏิญาณตนต่อคณะราษฎร
การยึดอำนาจการปกครองได้เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2475 เริ่มแต่เวลาใกล้รุ่ง ขณะนั้นรัชกาลที่ 7 และพระนางรำไพพรรณี พร้อมด้วยพระบรมวงศ์บางพระองค์ ประทับอยู่ที่วังไกลกังวล หัวหิน

เหล่าทหารที่มิได้ถูกคณะราษฎรเรียกเข้าสมทบด้วยในชั้นต้น คือ ทหารรักษาวัง และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ราบที่ 1 ได้ถูกปลดอาวุธในตอนเช้าวันแรก

ในวันเดียวกันนี้ คณะราษฎรได้ตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารขึ้น มีสำนักอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม มีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นประธาน
ในวันนั้น คณะราษฎรได้ส่งนายนาวาตรี หลวงศุภชลาศัย ไปยังไกลกังวลโดยเรือสุโขทัย เพื่อทูลเชิญเชิญรัชกาลที่ 7 กลับคืนพระนคi โดยรถไฟพิเศษเมื่อเวลาราวเที่ยงคืนวัน อาทิตย์ (ที่ 26 มิถุนายน) พร้อมด้วยพระบรมวงศ์และราชบริพาร แล้วประทับ ณ วังศุโขทัยอันเป็นวังเดิมของพระองค์

สถานที่ทำการของรัฐบาลบางแห่งได้อยู่ในความควบคุมของคณะราษฎรมาตั้งแต่ แรก เช่น สถานีวิทยุ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข กรมรถไฟหลวง ฯลฯ พระบรมมหาราชวัง และสวนสุนันทา ก็ได้อยู่ในความอารักขาของคณะราษฎรเช่นเดียวกัน
ต่อมาคณะราษฎรได้มีหนังสือถึงรัชกาลที่ 7 เพื่อให้ช่วยเตือนพวกเจ้านายเชื้อพระองค์ที่พูดจาไม่เหมาะสมขัดต่อแนวนโยบายของคณะราษฎรโดยมีเนื้อหาพอสรุปได้ดังนี้
พระที่นั่งอนันตสมาคม
วันที่ 28 มิถุนายน 2475
ขอเดชะ

พระองค์คงได้ตระหนักแก่ใจอยู่แล้วว่า คณะราษฎรมีความประสงค์ให้ประเทศชาติมีความสงบและความเจริญ
แต่มาบัดนี้ได้ปรากฏว่า พระราชวงศ์ได้มีปากเสียงอันเป็นเสี้ยนหนามแก่ความสงบ
ซึ่งถ้าหากจะเพิกเฉยเสียก็เกรงจะเป็นเชื้อลุกลามต่อไป และถ้าคณะราษฎรจะจัดการปราบปรามเสียเองก็เกรงจะเป็นที่ขุ่นเคืองพระทัย ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้แจ้งมาให้ทรงทราบ เพื่อขอได้ทรงช่วยทำความเข้าใจในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย
โดยขออย่าให้พระบรมวงศานุวงศ์หยุดมีปากเสียงอันจะพึงเป็นเสี้ยนหนามแก่ความสงบอีกต่อไป
ทั้งนี้จักเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะราษฎรเป็นล้นเกล้า ฯ
ข่าวที่คณะราษฎรได้รับมา มี
1.กรมพระกำแพงเพ็ชร์อรรคโยธิน
2.กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
3.พระองค์เจ้าธานีนิวัต
4.หม่อมเจ้าหญิงสืบพันธ์ ฯ
5.พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา
เจ้าทั้ง 5 พระองค์นี้ได้ใช้ถ้อยคำอันเป็นเสี้ยนหนามแก่ความสงบ
โดยใช้ถ้อยคำเสียดสีคณะราษฎรด้วยอาการอันไม่สมควร
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร
คำปฏิญาณตนของพระบรมวงศานุวงศ์ต่อคณะราษฎร
พระที่นั่งอนันตสมาคม
วันที่ 28 มิถุนายน 2475
ข้าพเจ้า กรมพระนริศรานุวัติวงศ์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์
อาภา ขอให้สัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระศรีรัตนไตรย์แลสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสกลโลกไว้แก่คณะราษฎร์ ว่า เนื่องแต่ที่คณะราษฎรมีความประสงค์จำนงหมายอยู่ในอันจะบำรุงชาติไทยให้รุ่งเรืองเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น ที่ได้เชิญข้าพเจ้ามาประทับอยู่ณะที่นี้ ก็ด้วยความจำใจจำทำเพื่อความปลอดภัยของอาณาประชาราษฎร์และแก่ตัวข้าพเจ้าเองด้วย แต่บัดนี้คณะ
ราษฎร์เห็นว่าถึงเวลาที่ควรจะให้ความผ่อนผันได้บ้าง จึงได้ยอมให้ข้าพเจ้าเป็นอิสสระ โดยข้าพเจ้าได้ให้สัตย์ปฏิญาณไว้ว่า ข้าพเจ้าจะไม่กระทำการใด ๆ อันจะพึงเป็นภัยแก่คณะราษฎร
ทั้งด้วยกายและวาจาใจ ถ้าปรากฏว่าข้าพเจ้าผิดคำปฏิญาณก็ขอให้คณะราษฎรจัดการแก่ข้าพเจ้าตามที่เห็นสมควร.

ลงพระนาม
นริศ

ดำรงราชานุภาพ

อาทิตย์
จะเห็นได้ว่าคณะราษฎรได้ใช้อำนาจฝากให้รัชกาลที่ 7 ไปว่ากล่าวตักเตือนบรรดาญาติของพระองค์ให้สงบปากสงบคำ อย่าได้พูดจาไปในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญใหม่หรือระบอบประชาธิปไตย ซึ่งผิดกับสมัยปัจจุบันที่ได้กลับกลายเป็นว่าระบอบกษัตริย์อยู่เหนือระบอบประชาธิปไตยและอยู่เหนือกฎหมายไปแล้ว
การทำลายกฎหมาย
และคำพิพากษา
ในระบอบเผด็จการ
ในขณะที่นักกฎหมายรวมทั้งศาลไทยได้ยอมจำนนและปกป้องกฎหมายและคำพิพากษาในระบอบเผด็จการ แต่ประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศได้พากันการทำลายกฎหมายและคำพิพากษาในระบอบเผด็จการมาแล้ว เช่น








โดยมุ่งทำลายเฉพาะการกระทำต่างๆในสมัยระบอบวิชชี่ที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ และไม่สอดคล้องกับนิติรัฐประชาธิปไตย ส่วนผู้กระทำการในสมัยนั้นก็ยังคงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น ขับไล่คนเชื้อชาติยิว จับคนเชื้อชาติยิวขึ้นรถไฟเพื่อพาไปเข้าค่ายกักกัน พิพากษาจำคุก ประหารชีวิต ฆ่าคนตาย เป็นต้น



ต่อมาทหารกลุ่มหนึ่งได้ก่อการรัฐประหาร 21 เมษายน 2510 ยกเลิกระบอบกษัตริย์ และล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2495 คณะรัฐประหารได้ปกครองแบบเผด็จการทหาร ต่อมารัฐบาลเผด็จการไม่อาจแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองได้ โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งกับไซปรัส
รัฐบาลเผด็จการทหารจึงล้มไป

![]() |
กษัตริย์ คอนสแตนตินที่สอง Constantine II องค์สุดท้ายของกรีซ |



ตุรกี หลังจากมุสตาฟา เคมาล อัลตาเติร์ก ( Mustafa Kemal Atatürk ) ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของตุรกี มาเป็นระบอบเคมาลิสต์สมัยใหม่ แต่ก็ยังมีการรัฐประหารโดยคณะทหารหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2503 2514


มีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกมาตรา 15 ที่ห้ามการฟ้องร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือรัฐบาลของคณะรัฐประหาร แต่ได้เสียงเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาไม่ถึงร้อยละ 70 จึงต้องนำไปให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติ เห็นชอบร้อยละ 57.90 เท่ากับได้ยกเลิกเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของคณะรัฐประหารและพวก สมาคมนักกฎหมายและนักสิทธิมนุษยชนจึงเดินหน้ากล่าวโทษนายพลคีแนน เอฟเรน และพวกในความผิดฐานกบฏ ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง


เพื่อนิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549


ทั้งนี้อาจให้มีคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งอันประกอบด้วยกรรมการขจัดความขัดแย้งจากบุคคลที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมทั้งอดีตผู้พิพากษาและอดีตอัยการซึ่งได้รับเลือกจากรัฐสภา
อุตสาหกรรมสร้างภาพ
ของสถาบันกษัตริย์ไทย


หยาดพระเสโท
ปฏิมากรรมแห่งแผ่นดิน


ในขณะที่พรรคการเมืองต้องเสนอนโยบาย ให้ประชาชนเลือกเข้ามา บริหารประเทศ ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน มีการตรวจสอบ มีวาระ สามารถซักถาม วิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลา อะไรมันจะน่าเชื่อถือ มีความจริงแท้ และมีสาระประโยชน์มากกว่ากัน
แต่ประชาชนไทยมีสิทธิ์เสรีภาพที่จะตัดสินใจเลือกเองแล้วหรือยัง หรือจะต้องอดทนจำยอมต่อไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
สังฆราชถวายพระพร
พระราชาผู้ทรงธรรม
ย่อมเป็นร่มใหญ่ของปวงประชานิกร




วัฒนธรรมดัดจริตของคนพาล
เหนือเมฆ เหนือการตรวจสอบ
เหนือความถูกต้องทั้งปวง




เรื่องการงดเสนอละครเหนือเมฆนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ควรต้องเรียกร้องข้อเท็จจริงเป็นอันดับแรก ว่าการแบนละครเรื่องนี้มันเกิดจากอะไร และนักการเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น มาเกี่ยวข้องในรูปแบบใด



รักอธิปไตยรักแผ่นดินไทยแบบลวงโลก
พันธมารยื่นข้อเสนอจี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์
ให้ปฏิเสธอำนาจศาลโลก รักษาอธิปไตยไทย




………………………..