ฟังเสียง พร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/W86aquAn/Siamese_Free_Man__.html
หรือที่ : http://www.mediafire.com/listen/73kb66us6ptt4kt/Siamese_Free_Man_.mp3
ตำนานๆ ตอนผู้มาก่อนกาล
(Siamese Free Man)
นายโหมดผู้พิมพ์ตำรากฎหมายคนแรก 2362 - 2439
หรือที่ : http://www.mediafire.com/listen/73kb66us6ptt4kt/Siamese_Free_Man_.mp3
ตำนานๆ ตอนผู้มาก่อนกาล
(Siamese Free Man)
นายโหมดผู้พิมพ์ตำรากฎหมายคนแรก 2362 - 2439
หมอบรัดเลย์ Dan Beach Bradley |
พระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) |
เชื่อว่าหมอบรัดเลย์คงได้สนับสนุนการพิมพ์ตำรากฎหมายนี้ หมอบรัดเลย์เป็นที่รู้จักดีของคนไทยนับตั้งแต่รัชกาลที่ 3 รวมทั้งเจ้านายขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทั้งหมด และชอบพอสนิทสนมกับเจ้าฟ้ามงกุฏ พระปิ่นเกล้า หลวงนายสิทธิ์ หรือเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รวมทั้งนายโหมด หมอบรัดเลย์เป็นครูสอนสอนภาษาอังกฤษแก่เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ สอนวิชาแพทย์แก่กรมหมื่นวงศาธิราชสนิท (โอรสรัชกาลที่ 2 ต้นตระกูลสนิทวงศ์ ) แนะนำการต่อเรือกำปั่นแบบฝรั่งแก่หลวงนายสิทธิ์ สอนวิชาแยกธาตุแก่นายโหมด นอกจากนี้ยังช่วยตรวจแปลหนังสือราชการที่สำคัญหลายครั้ง
เซอร์เจมส์ บรุก Sir James Brooke |
กรมหลวงวงศาธิราชสนิท |
แต่มาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับสั่งว่านายโหมดตีพิมพ์หนังสือกฎหมายเป็นคุณต่อแผ่นดิน ไม่ควรจะฝังไว้ในพระเจดีย์ ให้เอามาตีพิมพ์อีก จะเป็นคุณกับบ้านเมือง กรมหลวงวงศาทูลว่า หนังสือกฎหมายนั้นยังอยู่ครบ ไม่ได้เอาไปฝังในเจดีย์แต่อย่างใด จึงรับสั่งให้เอาไปคืนเจ้าของ และขอซื้อให้เขามีกำไร จะได้แจกทุกโรงทุกศาล นายโหมดก็ไปรับเอามาถวายหลวงบ้างวังหน้าบ้าง ที่เหลือก็ขายเล่มละ 10 บาทไปจนหมด
หมอบรัดเลย์ได้เอาใจใส่พิมพ์หนังสือกฎหมายขึ้นใหม่ด้วยทุนของตนเองในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้พิมพ์ซ้ำอีกราวสิบครั้งในเวลาต่อมา หมอบรัดเลย์จึงได้รับเกียรติในฐานะผู้พิมพ์หนังสือเรื่องกฎหมายเมืองไทยสองเล่มที่เรียกกันติดปากว่ากฎหมายหมอบรัดเลย์
นักพงศาวดารฉบับราษฎร
- ก.ศ.ร. กุหลาบ 2377 - 2464
ก.ศ.ร. กุหลาบ มีชื่อจริงว่า นายกุหลาบ ตฤษณานนท์ เกิดเมื่อปี 2377 ในรัชกาลที่ 3 บิดาเป็นลูกจีนเกิดในไทยชื่อนายเส็ง มารดาชื่อนางตรุษมีบรรพบุรุษเป็นกรมการเมืองนครราชสีมาสมัยอยุธยา เมื่อหลานปู่ของนายกุหลาบ ผู้เป็นมหาดเล็ก ขอพระราชทานนามสกุลโดยอ้างประวัติทางฝ่ายมารดา รัชกาลที่ 6 ได้ตั้งนามสกุลว่า ตฤษณานนท์ เลียนชื่อนางตรุษ มารดานายกุหลาบ
พระองค์เจ้ากินรี ธิดารัชกาลที่ 3 |
กลายมาเป็นตัวย่อ ว่า ก.ศ.ร. นำหน้าชื่อเดิมแบบฝรั่ง บวชเป็นเณรอยู่หลายปีแล้วเข้ารับราชการมหาดเล็กรักษาพระองค์ เรียนภาษาละติน อังกฤษและฝรั่งเศสกับสังฆราชปาเลอกัวซ์ซึ่งเป็นครูสอนหนังสือเจ้าฟ้ามงกุฎเมื่อครั้งบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศ
เมื่ออายุ 25 นายกุหลาบก็แต่งงานกับหญิงสาวชื่อหุ่น มีบุตรธิดาด้วยกัน 9 คน เป็นลูกสาว 8 คน มีบุตรชายคนเดียว ต่อมามีบุตรกับอนุภรรยาชื่อเปรม อีก 2 คน
นายกุหลาบบวชเมื่ออายุ 26 หลังมีครอบครัวแล้ว พอสึกออกมา ก็ไปเป็นเสมียนทำงานห้างฝรั่ง ถึง 15 ปี เปลี่ยนงานไปหลายห้าง โดยอาศัยความรู้ภาษาต่างประเทศ ความคล่องแคล่วฉลาดเฉลียว คุยสนุก จึงเป็นที่ชื่นชอบของนายห้างฝรั่ง ได้เลื่อนเงินเดือนสูงจาก 20 บาท จนถึง 250 บาทซึ่งถือว่าสูงมาก
นายฝรั่งได้พานายกุหลาบเดินทางไปติดต่อค้าขายในประเทศใกล้เคียง เช่น สิงคโปร์ ปีนัง สุมาตรา มนิลา ปัตตาเวีย มาเก๊า ฮ่องกง กัลกัตตาและเคยเดินทางไปอังกฤษด้วยครั้งหนึ่ง
เมื่อมีรายได้สูงมาก นายกุหลาบจึงมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างคนร่ำรวย ปลูกบ้านตึกริมน้ำแบบครอบครัวทันสมัยล้ำยุค ลูกๆทุกคนมีความรู้อ่านออกเขียนได้ เข้าสังคมเป็น พูดจาติดต่อกับชาวยุโรปได้ นายกุหลาบเองเป็นคนฉลาดปราดเปรียว หูตากว้างขวาง มีโอกาสได้รู้เห็นมากกว่าคนทั่วไป สนใจหาความรู้ โดยเฉพาะเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดี ซึ่งไม่ค่อยมีใครรู้
ท้องพระโรงสนามหลวง เมื่อปี 2455 |
พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางและคหบดีร่วมกันฉลองพระเดชพระคุณด้วยการนำของต่างๆที่เกี่ยวกับความรู้และฝีมือของคนไทยมาตั้งแสดง แบ่งเป็นห้องๆตามประเภทสิ่งของ
กรมหมื่นบดินทรไพศาลโสภณ |
นายกุหลาบจึงใช้วิธีขอยืมอ่านครั้งละเล่ม โดยสัญญาว่าวันรุ่งขึ้นจะเอาไปคืน
กรมหลวงบดินทรฯไม่ทรงระแวง ก็ทรงอนุญาต
นายกุหลาบจึงไปจ้างเสมียนเตรียมไว้สองสามคน สำหรับคัดลอกหนังสือให้ทันส่งคืนในวันรุ่งขึ้น พอได้หนังสือจากวังกรมหลวงบดินทรฯ ก็ลงเรือจ้างที่ท่าเตียนข้ามฟากไปยังวัดอรุณ ปูเสื่อผืนยาวที่พระระเบียง แล้วเอาสมุดคลี่วางบนเสื่อตลอดเล่ม ให้คนคัดแบ่งกันคัดคนละตอน พอเวลาบ่ายก็คัดสำเนาได้หมดทั้งเล่ม นายกุหลาบลักลอบคัดหนังสือด้วยวิธีนี้มานานกว่าปี ได้สำเนาหนังสือไปจากหอหลวงจำนวนมาก รวมถึงพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง 4 รัชกาล
หมอสมิท Samuel John Smith |
ในปีถัดมา นายกุหลาบเอาหนังสือที่ตัวเองดัดแปลงเสร็จแล้วเรื่องหนึ่ง ตั้งชื่อว่า คำให้การของขุนหลวงหาวัด เป็นเรื่องราวคำให้การของพระเจ้าอุทุมพรกับขุนนางไทยที่พม่ากวาดต้อนไปเมื่อเสียกรุง 2310 แล้วไปเล่าเรื่องขนบธรรมเนียมและประวัติศาสตร์ไทยให้พม่าจดลงไว้ โดยส่งไปให้หมอสมิท Samuel John Smith ที่บางคอแหลมพิมพ์ออกเผยแพร่ให้ประชาชนได้ซื้อหามาอ่านกัน ประชาชนที่ได้อ่าน ก็พากันตื่นเต้นเพราะไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน ต้นฉบับเดิมในหอหลวงเก็บไว้ลี้ลับไม่เคยออกสู่สายตาใคร แม้แต่กรมพระยาดำรงฯ ก็ยังไม่เคยเห็น นายกุหลาบก็เลยมีชื่อเสียงขึ้นมาว่าเป็นผู้รู้ประวัติศาสตร์ มีตำรับตำราน่าทึ่งอยู่ในความครอบครอง
หอพระสมุดวชิรญาณ |
ในระยะยุคตื่นตัวของปัญญาชนรุ่นใหม่สมัยรัชกาลที่
5 มีการตั้งชมรม หรือสมาคมเพื่อเผยแพร่ความรู้โดยเจ้านายและขุนนางอื่นๆ
นายกุหลาบก็ได้รับเชิญไปปาฐกถาด้วย เป็นที่นับหน้าถือตา
นายกุหลาบได้ทำความดีความชอบในฐานะสมาชิกหอพระสมุด ด้วยการมอบหนังสือฉบับลายมือเขียนเรื่องต่างๆแก่หอพระสมุด
เป็นความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อน ซึ่งก็คือเรื่องที่นายกุหลาบแอบคัดลอกไปจากหนังสือหอหลวง ที่กรมพระยาดำรงฯ
และกรมพระสมมตอมรพันธุ์เองก็ไม่รู้จัก แม้จะทรงสงสัยว่ามีสำนวนใหม่ปะปนอยู่
แต่ทรงนึกไม่ออกว่าสำนวนโบราณนั้นมาจากไหน เมื่อทรงเรียกนายกุหลาบมาสอบถาม นายกุหลาบก็อ้างว่าได้มาจากบุคคลสำคัญต่างๆ
ซึ่งล่วงลับไปแล้ว ต่อมาไม่นาน นายกุหลาบก็ลาออกจากสมาชิก และออกหนังสือชื่อ
สยามประเภท เขียนบทความต่างๆด้านประวัติศาสตร์ ตีพิมพ์จำหน่าย
ในระยะแรกได้รับความสนใจจากคนอ่านมาก
มีคนสมัครเป็นสมาชิกกันมากมายกระจายออกไปถึงนอกประเทศ บางครั้งต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในฉบับเดียว
เพื่อตอบสนองคนอ่านได้ทั่วถึง จึงเขยิบจากรายเดือนเป็นรายปักษ์
และเป็นรายสัปดาห์ออกทุกวันพระ นายกุหลาบย้ายบ้านจากท่าวาสุกรี
มาอยู่ที่หน้าโบสถ์วัดราชบพิธ ถนนเฟื่องนคร ตั้งโรงพิมพ์ชื่อสยามกิจพานิชเจริญ
หนังสือสยามประเภท |
กรมพระสมมตอมรพันธุ์ต้องการค้นหาความจริงจึงขอหนังสือที่นายกุหลาบแก้ไขดัดแปลงแล้ว หลายเรื่องรวมทั้งพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ตอนรัชกาลที่ 3 ซึ่งเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เป็นผู้เรียบเรียงในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อกรมพระสมมตฯ นำฉบับจริงมาตรวจสอบกันดู ก็รู้ว่านายกุหลาบเอาหนังสือซึ่งเป็นของหลวง มาแต่งแทรกใหม่ลงไปหลายตอน จึงทรงนำเรื่องขึ้นกราบทูลรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้ทรงเขียนด้วยลายมือลงในฉบับของนายกุหลาบ เพื่อชี้ให้เห็นตรงจุดที่มีการแก้ไขดัดแปลง แล้วพระราชทานคืนให้กรมพระสมมติฯ แต่ก็ยังปล่อยให้นายกุหลาบออกหนังสือสยามประเภทต่อไป แต่ในหมู่เจ้านายรู้กันว่าเป็น "หนังสือกุ" คือเขียนแก้ไขดัดแปลงเอง
นายกุหลาบออกหนังสือสยามประเภทมานาน จนหมดเรื่องที่นำมาลง จึงแต่งเรื่องขึ้นมาใหม่ เมื่อฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย ในร.ศ. 112 /2437 เป็นเหตุให้ไทยต้องเสียดินแดนริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง นายกุหลาบไม่พอใจนโยบายของรัชกาลที่ 5 ที่ว่าจำต้องสละแขนขาเพื่อรักษาชีวิตของสยามไว้ นายกุหลาบจึงแต่งเติมพงศาวดารสุโขทัย เล่าเรื่อยมาถึงตอนจะเสียกรุงศรีอยุธยา ว่าตอนปลายอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินที่ครองราชย์ทรงพระนามว่าพระปิ่นเกษ มีพระราชโอรสพระนามว่าพระจุลปิ่นเกษ ซึ่งไม่มีความสามารถที่จะรักษาอยุธยาไว้ได้ ถึงเสียบ้านเมือง
พอรัชกาลที่ 5 ได้เห็น ก็โกรธที่นายกุหลาบบังอาจเอาชื่อพระจอมเกล้ากับพระจุลจอมเกล้าไปแปลงเป็นพระปิ่นเกษ และพระจุลปิ่นเกษเพื่อล้อเลียน จึงโปรดให้เจ้าพระยาอภัยราชา เรียกตัวนายกุหลาบมา ซึ่งนายกุหลาบต้องสารภาพว่าเป็นเรื่องที่ตนคิดขึ้นมาเอง
รัชกาลที่ 5 ให้ส่งตัวนายกุหลาบไปอยู่กับผู้จัดการในโรงรักษาคนบ้า 7 วัน
กศร.กุหลาบในวัย 67 ปี กับบุตรชาย |
เมื่อเลิกทำหนังสือในวัยชรา นายกุหลาบก็เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างพิมพ์หนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆและนามบัตรด้วยราคาถูกกว่าที่อื่น พอเลี้ยงชีพได้แม้ว่ายากจนลงกว่าเดิมมาก ในบั้นปลาย นายกุหลาบเริ่มเลอะเลือน ขณะที่ทางการสั่งเก็บทำลายหนังสือสยามประเภท โดยอ้างว่าเพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าใจผิด แต่ก็ยังมีจำนวนหนึ่งเหลือรอดเป็นสมบัติส่วนตัวของเอกชน และมีการแอบเผยแพร่ต่อมา นายกุหลาบถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อปี 2464 ในรัชกาลที่ 6 อายุ 87 ปี
เรื่องราวของก.ศ.ร.กุหลาบ ถูกหยิบยกขึ้นมาเล่าถึงอีกครั้งโดยนักวิชาการรุ่นหลัง บางท่านก็เชิดชูว่านายกุหลาบเป็นสามัญชนที่มีคุณค่า เป็นผู้เผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ทางการสั่งเก็บเป็นความลับ ไม่ให้เผยแพร่สู่ประชาชน ส่วนเรื่องการดัดแปลงเรื่องราว และข้อผิดพลาดนั้น บางท่านไม่ได้เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ เท่ากับเจตนาที่จะให้ความรู้
เรื่องโกหก อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวพระยาจักรี |
ราษฎรผู้ชิงสุกก่อนห่าม
เทียนวรรณ ปี 2385-2458
เทียนวรรณ |
บ่อนเบี้ยในสยาม สมัยทาส |
เขาเป็นคนแรกๆที่เสนอให้รัฐบาลจัดการศึกษาแก่สตรีทัดเทียมกับชาย ทำงานเป็นทนายความช่วยคนจน ทำให้เขาถูกฟ้องร้องตอนอายุ 40 กรณีเขียนฎีกาให้กับราษฎรคนหนึ่ง ซึ่งไม่ปฏิบัติตามหนังสือตราพระราชสีห์ของกระทรวงมหาดไทย เขาโต้แย้งว่า หนังสือตราพระราชสีห์ไม่ใช่กฎหมาย นำมาใช้บังคับราษฎรไม่ได้ กรมหลวงภูธเรศธำรงศักดิ์ (ทวีถวัลยลาภต้นสกุลทวีวงศ์ โอรสรัชกาลที่ 4 ) เสนาบดีกระทรวงนครบาล จึงสั่งลงโทษเทียนวรรณฐานหมิ่นตราพระราชสีห์ ซึ่งเท่ากับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกเฆี่ยน 50 ที และให้จำคุกโดยไม่มีกำหนด
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ รพีพัฒนศักดิ์ |
หลังจากออกจากคุกเมื่อปี 2443 ตอนอายุ 58 มีผู้อุปการะให้เขายืมเงินเปิดสำนักทนายความ และร้านขายยา ย่านเสาชิงช้า เขากล้าวิพากษ์วิจารณ์ระบบสังคมทาสในสยาม ความไม่เป็นธรรมระหว่างชาย-หญิง และอยากให้ประชาชนมี "ฟรี" กับ "ปาลิเมนต์" ที่แปลว่าเสรีภาพและรัฐสภาในสมัยต่อมา เขาได้ออกหนังสือพิมพ์รายเดือนชื่อว่าตุลวิภาคพจนกิจ เพื่อเสนอข่าวสารที่ตรงไปตรงมา ทำอยู่ได้ 6 ปีก็หยุดเพราะขาดทุน และเริ่มมีอายุมาก แต่เขาก็ยังพิมพ์หนังสืออีกชุดหนึ่ง รวม 12 เล่ม ให้ชื่อว่า ศิริพจนภาค เป็นการรวมงานวรรณกรรมที่เขาเขียนตั้งแต่อายุ 33 ปีเป็นต้นมา ทั้งบทความวิจารณ์การเมือง โจมตีการทุจริตฉ้อฉลของข้าราชการ เสนอโครงการ 34 ข้อให้รัฐบาลปรับปรุงชาติ ซึ่งหลายข้อรัฐบาลก็มาทำในภายหลัง
- ด้านนโยบายต่างประเทศ เขาแนะนำให้รัฐบาลไทยผูกมิตรไมตรีกับจีน ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมัน เพื่อต้านทานจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส
- ด้านการเมือง เขาเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยมาเป็นประชาธิปไตย ให้เลิกทาส
- ด้านเศรษฐกิจ เขาเรียกร้องให้ยกเลิกบ่อนการพนัน ที่ทำให้พลเมืองโง่เขลา ถูกมอมเมา เกียจคร้าน และเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้ายอื่นๆ ตามมา และเสนอให้เอาเงินหลวงออกให้ราษฎรกู้ไปทำทุน ส่งเสริมการตั้งโรงงาน การค้นคว้าทรัพยากรธรรมชาติ
- ด้านการศึกษา เขาเสนอให้รัฐจัดการศึกษาให้ไพร่และสตรีอย่างเท่าเทียมกับผู้ดีและบุรุษ ชักชวนให้ผู้มีเงินหันมาสร้างโรงเรียนแทนวัด ให้ตั้งโรงเรียนฝึกฝนวิชาชีพเพื่อให้ราษฎรมีงานทำ เร่งปฏิรูปโครงสร้างสังคมและระบบราชการเพื่อปราบการทุจริตฉ้อฉล การเล่นพรรคเล่นพวก และ ความไม่เป็นธรรม
เทียนวรรณได้เรียกร้องให้มีรัฐสภา ให้มีการกำกับดูแลถ่วงดุลอำนาจการออกกฎหมายของฝ่ายศาล
เทียนวรรณถูกฝ่ายอนุรักษ์โจมตีว่าเป็นพวกชอบชิงสุกก่อนห่าม ที่เพ้อฝันถึงปาลิเมนต์หรือระบอบรัฐสภาทั้งๆที่ราษฎรไทยยังขาดการศึกษาและยังยากจนอยู่
ปรีดี พนมยงค์ วัย 19 ปี เรียนกฎหมาย เริ่มว่าความ |
16 ปี ต่อมา ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง ฟ้าได้ผ่าเปรี้ยงลงกลางพระนคร เมื่อ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ได้อ่านคำประกาศของคณะราษฎร ประณามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างรุนแรง พร้อมทั้งเสนอรูปแบบการปกครองใหม่ที่ให้กษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน และให้มีสภาที่จะเป็นที่ปรึกษาหารือกัน โดยผู้เขียนคำประกาศคณะราษฎร ฉบับดังกล่าว คือคนเดียวกันกับเด็กมัธยมจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยคนนั้น ซึ่งก็คือ นายปรีดี พนมยงค์ นั่นเอง
นักเศรษฐศาสตร์คนแรกของสยาม
-พระยาสุริยานุวัตร 2405-2479
-พระยาสุริยานุวัตร 2405-2479
พระยาสุริยานุวัติ(เกิด บุนนาค) |
เมื่อเล็กท่านได้เรียนหนังสือไทยที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต่อมาในปี 2414 เดินทางไปศึกษาวิชาที่ปีนังและกัลกัตตา เป็นเวลา 5 ปี จึงกลับมาเข้ารับราชการในกรมมหาดเล็ก ในปี 2419 รับราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ช่วยข้าหลวงตะวันตก มีหน้าที่เก็บและจ่ายเงินหลวง และเป็นล่ามทำหนังสือราชการเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ ปี 2427 ได้เป็นหลวงสุริยานุวัตร และผู้ช่วยข้าหลวงมณฑลพายัพ ต่อมาเป็นกรมคลังเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
ในปี 2430 เป็นผู้ช่วยทูตประจำกรุงลอนดอน ได้เรียบเรียงหนังสือเรื่องขนบธรรมเนียมราชการต่างประเทศ ถือเป็นตำรากฎหมายและการทูตภาษาไทยเล่มแรก เป็นอุปทูตประจำกรุงเบอร์ลิน อัครราชทูตประจำฝรั่งเศส อิตาลี สเปนและรัสเซีย รับมอบอำนาจลงนามสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2466 ให้ฝรั่งเศสถอนทหารจากจันทบุรีในปีถัดมา
หลังจากนั้นท่านก็ได้เขียนทรัพยศาสตร์ขึ้น 3 เล่ม เป็นตำราเศรษฐ ศาสตร์แนวตะวัน ตกที่นำมา ประยุกต์ใช้กับสังคมไทย ให้มั่งคั่ง เข้มแข็ง เป็นอิสระ และมีความเป็นธรรม
ทรัพยศาสตร์ เล่ม 1 เรื่องการสร้างทรัพย์และการแบ่งปันทรัพย์ ชี้ให้เห็นปัญหาความยากจนของชาวนาไทย อันเกิดจากการขาดทุนรอน ขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มีหนี้สินภายใต้ระบบดอกเบี้ยสูง ทั้งยังขาดความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ รัฐต้องให้ความสำคัญเรื่องการศึกษา และการออม ความเจริญของสยามต้องอาศัยการทำนาเป็นส่วนใหญ่ บ้านเมืองจะเจริญเร็วหรือช้าก็อยู่ที่ความเป็นอยู่ของชาวนาเป็นสำคัญ
ทรัพยศาสตร์ เล่ม 2 ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนค้าขาย กลไกตลาด และการเงิน โดยรัฐบาลมีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของพลเมือง ควรตั้งกำแพงภาษีเพื่อช่วยหัตถกรรมไทยในระยะแรก จนกว่าจะแข็งแรงพอ รัฐและเอกชนต้องสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อการลงทุนแก่ชาวนา
ทรัพยศาสตร์ เล่ม 3 แบ่งเป็นการค้าระหว่างประเทศ และการคลัง รัฐต้องเร่งฟื้นฟูการค้าทางทะเลและกองเรือพาณิชย์ที่ถูกทุนต่างชาติครอบงำ ต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อการกระจายรายได้ ลดช่องว่างทางสังคม ต้องเลิกการคลังแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ใช้จ่ายเงินในส่วนราชสำนักมากเกินไป เงินได้ของแผ่นดินมาจากคนยากจน จึงควรยกเลิกการเก็บเงินรัชชูปการ คือเงินที่เสียเพื่อยกเว้นการเป็นทหาร เพราะไม่เป็นธรรมแก่ราษฎร แต่ควรเปลี่ยนโครงสร้างภาษี โดยเก็บภาษีตามฐานรายได้และทรัพย์สินจากคนมั่งมีแทน เพื่อไปช่วยคนยากจน พิจารณาตั้งกำแพงภาษีป้องกันต่างชาติทุ่มตลาด เพราะต่างประเทศก็พยายามตั้งพิกัดอัตราภาษีสินค้าเข้าเมือง
รัชกาลที่ 6 อัศวพาหุ |
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการแก้ไขกฎหมายอาญา กำหนดความผิดของการสอนลัทธิเศรษฐกิจ โดยมีโทษสูงสุด จำคุก 10 ปี และปรับไม่เกิน 5,000 บาท ทรัพย์ศาสตร์จึงกลายเป็นหนังสือต้องห้ามไปโดยปริยาย กระทั่งเมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ใน ปี 2477 จึงได้มีการบรรจุเป็นวิชาลัทธิเศรษฐกิจในหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต และพระยาสุริยานุวัตรก็ได้เขียนทรัพย์ศาสตร์ เล่ม 3 ออกมาโดยใช้ชื่อว่า เศรษฐศาสตร์และการเมือง
พระยาสุริยานุวัติ วัยชรา |
ในปี 2476 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นตัวแทนรัฐบาลไปเจรจากับเจ้านายฝ่ายเหนือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้รับการยกย่องนับถือเป็นรัฐบุรุษผู้เฒ่า เป็นคนตรงและเฉียบขาดอย่างมิอาจหาผู้ใดเสมอเหมือนแม้จะเข้าสู่วัยชรา จนถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2479 ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี อายุได้ 74 ปี
นายนรินทร์ คนขวางโลก
2417-2493
นายนรินทร์ ภาษิต หรือ นรินทร์กลึง |
เมื่อลาออกจากราชการแล้ว นรินทร์กลึงก็ประกาศตัวเป็นอิสระ โกนผมครึ่งศีรษะเฉพาะด้านขวาด้านเดียว แต่ด้านซ้ายปล่อยยาว ไปไหนมาไหนก็นุ่งผ้าแดงแถมเอารูปพระเจ้าตากสินมาแขวนคอ
ใบปลิวโกนผมข้างเดียวของนรินทร์กลึง |
เขาโจมตีค่านิยมการมีเมียมาก ให้สตรีมีสิทธิเท่าเทียมชาย เขาวิพากษ์คณะสงฆ์อย่างรุนแรง และเสนอให้มีการสังคายนาพระศาสนาใหม่ เพราะมีพระสงฆ์ประพฤติผิดพระธรรมวินัยเป็นจำนวนมาก การเปิดโปงวงการสงฆ์อันเสื่อมทรามในทำนองสอนสังฆราช ทำให้เขาต้องติดคุก 2 ปีกว่า รวมทั้งการตั้งพรรคการเมืองชื่อพระศรีอาริย์ ซึ่งถูกมองว่าเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์ไปในทางคอมมิวนิสต์
นรินทร์กลึงขณะต้องโทษ |
นรินทร์กลึง อดข้าว 21 วัน |
การบวชภิกษุณี
สามเณรีสาระ วัย 18 ปี ถ่ายพร้อมสาววัยรุ่น |
สามเณรีจงดี วัย 13 ปี |
สังฆราชกรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ |
สามเณรีสาระและจงดี |
โดยกลายเป็นเรื่องใหญ่โตในสังคมไทยยุคนั้นทันที จนเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2472 เรื่องนี้ได้ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาครั้งที่ 12/2472 เมื่อรัชกาลที่ 7 ได้เห็นข่าวทางหนังสือพิมพ์แล้วทรงสั่งว่า เห็นทีจะต้องจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
แต่กรณีของสามเณรีทั้ง 2 รูปนี้ รัฐไม่สามารถที่จะหาเหตุเอาผิดทางอาญาได้ แต่หลังจากเรื่องนี้เข้าไปสู่ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาอีก 3 ครั้ง ก็ได้ความเห็นออกมาว่า ถ้ารัฐบาลไม่กระทำอะไรให้จริงจังก็จะเป็นการเสียรัศมีรัฐบาล คือหมดเครดิตนั่นเอง
7 กันยายน 2472 เจ้าหน้าที่ได้เข้าจับกุมตัวสามเณรี ศาลจังหวัดนนทบุรีตัดสินจำคุกสามเณรี เจ้าหน้าที่เรือนจำให้นักโทษหญิงใช้กำลังบังคับเปลื้องผ้าเหลืองของสามเณรีเพื่อให้สวมชุดนักโทษ ใครที่ไม่ยอมเจ้าหน้าที่ก็จะเปลื้องผ้าต่อหน้าธารกำนัลที่ศาลเมืองนนท์ หลังจากนั้นก็เอาไปขังไว้ที่เรือนจำบางขวาง ในที่สุดสามเณรีทั้งสองก็ถูกจับสึกโดยมิได้เต็มใจ ตอนมาจับมีประชาชนจำนวนมากพากันมาดู เจ้าหน้าที่มากันเต็มที่เหมือนมาจับผู้ร้ายคนสำคัญ แล้วเอาตัวไปที่ศาลเมืองนนท์ ตอนนั้นศาลสั่งทำทัณฑ์บนไม่ให้บวชอีก
ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์ |
ภิกษุณีฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ |
เจ้าหัวแข็ง
-พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ 2394 -2477
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์เรียนอังกฤษ |
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เต็มยศ |
รัชกาลที่ 5 มีพระดำริว่าพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เป็นคนเก่ง ทั้งยังเป็นทูตอยู่ในต่างประเทศถึง 13 ปี น่าจะเข้าใจความคิดของชาวตะวันตกเป็นอย่างดี และให้แนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามนี้ ครั้งแรกพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทูลถวายว่ามิกล้ากราบบังคมทูลตามตรง รัชกาลที่ 5 ได้มีจดหมายย้ำว่าไม่ต้องเกรงกลัวที่จะแสดงความคิดเห็น ให้กราบบังคมทูลทุกอย่างเต็มกำลังสติปัญญาบรรดามี เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงได้นำจดหมายและคำเสนอ ไปประชุมกับพระอนุชา 3 พระองค์ คือ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ และข้าราชการผู้ใหญ่ในสถานทูตลอนดอน และปารีสอีก 7 คน โดยได้ตกลงถวายความเห็นร่วมกัน เป็นเอกสารยาว 60 หน้า เป็นที่มาของหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 หรือ 2428 เจ้านายและข้าราชการที่ร่วมกันลงชื่อมีความเห็นพ้องต้องกัน ว่าการปกครองของไทยล้าสมัย ไม่เข้มแข็งพอที่จะรักษาบ้านเมืองให้พ้นจากอันตรายได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัยเยี่ยงนานาอารยประเทศ หนังสือกราบบังคมทูลเริ่มด้วยการยืนยันในความรักชาติบ้านเมืองและความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์อันสูงสุด
ฝรั่งเศสยึดเกาะกง ปี 2410 |
1. นโยบายโอนอ่อนผ่อนปรนยินยอมเสียดินแดนให้ชาติมหาอำนาจ เพื่อเอาตัวรอด มิให้ถูกยึดบ้านเมืองย่อมใช้ไม่ได้ผล เพราะพวกฝรั่งคงหาเรื่องมาอ้างได้เรื่อยๆ เป็นแค่การซื้อเวลาเท่านั้น
2. สยามไม่พร้อมที่จะต่อสู้ด้วยกำลังทหาร และไม่มีทางเอาชนะมหาอำนาจตะวันตกได้ ถ้ารบก็จะแพ้และต้องสูญเสียอีกมากมายตามแต่ประเทศผู้ชนะจะเรียกร้อง
3. แม้ว่าสยามจะมีฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่ากับอินโดจีน แต่ก็ไม่มีประโยชน์เพราะพวกฝรั่งไม่ได้ขัดแย้งกัน สยามที่อยู่ระหว่างกลางก็จะถูกมหาอำนาจทั้ง 2 ด้านเฉือนเอาเสียดินแดนไปเรื่อยๆ
4. การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีของสยามเท่านั้นยังไม่พอ แต่ต้องเร่งสร้างระบอบการปกครองให้ทันสมัยเหมือนกับประเทศในยุโรป เพื่อป้องกันมิให้ฝรั่งยกเอาความล้าหลังเป็นข้ออ้างในการเข้ามายึดครอง การเปลี่ยนแปลงแต่ภายนอกเพียงเพื่อสร้างภาพ จึงช่วยอะไรไม่ได้เลย
5. การทำสัญญากับต่างชาติเป็นแค่การเอาตัวรอดแบบขอไปที แต่ไม่ได้เป็นหลักประกันแต่อย่างใด
6. ยังมีชาติอื่นๆที่หวังผลประโยชน์จากสยามเช่นเดียวกัน การให้ผลประโยชน์แก่ต่างชาติจึงไม่อาจรอดพ้นจากการรุกรานได้ จึงต้องอาศัยกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้ความเคารพต่อเอกราชและอธิปไตยของแต่ละประเทศ
7. ความเชื่อที่ว่า สยามสามารถรักษาเอกราชได้เสมอมา คงใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว มีทางเดียวคือต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้เหมาะสม ซึ่งหนังสือกราบบังคมทูลนี้ได้ชี้ให้เห็นจุดอ่อนของระบอบการปกครองแบบเก่าไว้อย่างชัดเจน
8. ประการสุดท้าย สยามจะอ้างกฎหมายระหว่างประเทศได้ ก็ต่อเมื่อสยามได้ยกระดับตนเองเป็นประเทศประชาธิปไตยแล้วเท่านั้น เพราะมหาอำนาจไม่ยอมรับประเทศที่ด้อยพัฒนาแต่ประการใด
สื่อฝรั่งเศสโจมตีราชสำนักสยามว่าป่าเถื่อน |
หลังจากนั้น พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังได้ถวายจดหมายเป็นการส่วนพระองค์ วิจารณ์พฤติกรรมการมีเมียหลายคนของรัชกาลที่ 5 ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงโกรธเป็นอย่างมาก
พระบรมราชธิบายแก้ไขการปกครองของ ร. 5 |
ขอให้ไม่ต้องเป็นห่วงว่าพระองค์จะขัดขวางการเปลี่ยนแปลง เพราะในตอนขึ้นครองราชย์พระองค์ไม่มีอำนาจเลย ตอนนั้นเสนาบดีมีอำนาจแต่งตั้งพระเจ้าแผ่นดินมารวมทั้งรัชกาลของพระองค์ในระยะแรก เมื่อทรงมีพระราชอำนาจมากขึ้น ก็ทรงเอาใจใส่การบริหารประเทศ แต่งานนิติบัญญัติเป็นเรื่องยากมาก พระองค์ทรงถืออำนาจไว้ทั้งหมดแล้ว ได้เรียนรู้ถึงความยากลำบากทุกข์ยากของราษฎรเป็นอย่างดี ทรงมีสายตายาวไกล ไม่ได้นั่งขี้เกียจโง่เซ่อ ไม่ได้เป็นเจ้าอย่างคางคกในกะลาครอบ คนที่ไม่ได้อยู่ใกล้ก็คงจะไม่เข้าใจ และจะไม่เป็นกษัตริย์ที่ต้องถูกบีบให้ลงจากราชบัลลังก์เหมือนอย่างยุโรป พระองค์เป็นเจ้ามาถึง 18 ปี ทรงมีความรู้มีประสบการณ์มากพอสมควร ทรงรู้ทุกเรื่องทั้งเรื่องใหญ่เรื่องเล็ก ทรงคุมอำนาจทั้งการบริหารและนิติบัญญัติ ทรงทำเองสั่งเองทุกเรื่อง ไม่ค่อยได้อาศัยเสนาบดีเลย ทรงเร่งการปฏิรูประบบราชการ แต่การปฏิรูปกฎหมายทำได้ยากมาก เพราะหาผู้ที่รู้เรื่องการปฏิรูปกฎหมายไม่ได้เลย เคยคิดจะทำ แต่ไม่เคยสำเร็จแม้แต่เรื่องเดียว
โรงเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ก่อนมีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย |
แต่รัชกาลที่ 5 ไม่พอใจพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เป็นอย่างมาก เพราะต้องการขอคำปรึกษาเป็นการส่วนพระองค์ แต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กลับนำไปเปิดเผยแก่คนทั้งสองสถานทูตแล้วช่วยกันทำข้อเสนอยาวเหยียด ลงชื่อเป็นบัญชีหางว่าว เหมือนรวมหัวกันมายื่นข้อเสนอเพื่อบีบพระองค์
ในปีถัดมา รัชกาลที่ 5 สั่งให้ พระเจ้าน้องยาเธอทั้ง 3 พระองค์ และพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เสด็จกลับกรุงเทพทันที พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณในวัย 19 ปี ต้องลาจากการศึกษากลับสยาม
รัชกาลที่ 5 คงจะต้องการเล่นงานพระองค์เจ้าปฤษฎางค์เพียงคนเดียว เพราะคนอื่นๆ ก็ได้รับการสนับสนุนกันทุกคน กล่าวคือ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ได้เลื่อนกรมเป็นกรมหลวงและกรมพระ เป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาลและโยธาธิการตามลำดับ
พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณได้รับสถาปนาเป็นกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฎ์ และเป็นเสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมในรัชกาลต่อๆมา
พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต ได้เป็นกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาดูแลมณฑลพายัพ
สำหรับข้าราชการ 7 คนที่ร่วมลงชื่อนั้น
ขุนปฎิภาณพิจิตร (หรุ่น) ถึงแก่กรรมในปี 2433
นายนกแก้ว คชเสนี ได้เป็นพระยามหาโยธา
หลวงเดชนายเวร (สุ่น ศาตราภัย) ได้เป็นพระยาอภัยพิพิธ
นายบุศย์ เพ็ญกุล เป็นจมื่นไวยวรนาถ
นายร้อยตรีสอาด สิงหเสนี เป็นพลตรีพระยาประสิทธิศัลยการ
หลวงวิเศษสาลี (นาค ณ ป้อมเพชร) เป็นพระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา
กัปตันเปลี่ยน หัสดิเสวี เป็นพระยาชนินทรภักดี
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เสด็จกลับสยามพร้อมกับพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
ในเดือนมกราคม 2429 เนื่องจากติดราชการแก้ไขสนธิสัญญาและการนำสยามเข้าเป็นสมาชิกสหภาพไปรษณีย์และโทรเลขสากล พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ไม่ทรงเป็นที่โปรดปรานตั้งแต่นั้นมา
หลังจากนั้นก็มิได้รับราชการเป็นราชทูตอีกเลย ทำให้เสียพระทัยมาก เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ให้เข้ารับราชการเป็นอธิบดีแทนพระองค์
ได้ร่วมกันผลักดันสยามเข้าเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์
และบุกเบิกการโทรเลขไทยในยุคแรก พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ร่วมก่อตั้งกรมโยธาธิการ
มีผลงานมากมาย แต่ก็ไม่ได้เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ซ้ำทางการยังได้ริบบ้านของท่านคืน
หลังจากไปญี่ปุ่นกับเจ้าฟ้าภาณุรังษี พระองค์เจ้าปฤษฎางค์คิดจะยิงตัวตาย สุดท้ายจึงได้ขอลาออกจากราชการ
ในปี
2438 เมื่อเรือแวะจอดที่ฮ่องกง
ท่านก็หลบหนีไปจากคณะ โดยได้ถวายหนังสือฝากพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์ หรือสมเด็จวังบูรพา ตำหนิรัชกาลที่ 5 ว่ามิได้ทรงรักษาสัญญาที่ได้พระราชทานไว้ และลงท้ายว่า " เกิดชาติใด ฉันใด ขออย่าให้ได้เกิดมาในราชสกุลจักรี
" ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงกริ้วเป็นอย่างยิ่ง และมีพระราชดำรัสว่า
ถ้าแผ่นดินสยามนี้ยังเป็นของพระองค์อยู่ จะไม่ให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์กลับมาเหยียบอีกเลย
หลังจากนั้น พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ขอเข้าเฝ้าเมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สองผ่านลังกา แต่ก็ไม่ยอมให้เข้าเฝ้า
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ประทับอยู่ต่างประเทศถึง 38 ปี แต่ในระยะเวลาอันสั้นที่ได้อยู่ในสยาม ก็ยังได้อุทิศเวลาให้แก่กิจการหลายอย่าง เช่น ช่วยกรมพระยาดำรงราชานุภาพตั้งโรงพยาบาลศิริราช ช่วยกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดชจัดตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข ทำการสำรวจแม่น้ำต่างๆ และอ่าวไทย ร่างหลักการเพื่อจัดตั้งกรมโยธา ออกแบบโรงช่างแสง รับผิดชอบการตกแต่งพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และจัดเตรียมการสมโภชพระนครครบร้อยปี ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่ที่ลังกาชื่อรัตนเจติยระหว่างที่ทรงผนวชอยู่ที่ศรีลังกา
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เสด็จไปกวางตุ้ง ไซ่ง่อน พนมเปญและปีนัง ทรงทำราชการกับอังกฤษ 3 ปีเศษ และเขียนบันทึกยาวเป็นภาษาอังกฤษ วิจารณ์ระบบราชการไทยอย่างดุเดือด จากนั้นก็ไปลังกา(ซีลอน) บวชเป็นสามเณรเมื่อปี 2439 ในสำนักท่านสุภูติมหาเถรนายก ได้ฉายาพระชินวรวงศ์ ทรงสมานฉันท์สงฆ์ 5 นิกายของลังกา และเปิดโรงเรียนสอนเด็กอนาถา จนรัฐบาลอังกฤษตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทิปทุตตะ เป็นสังฆนายกนครโคลัมโบร่วม 20 ปี
เรื่องสำคัญระหว่างทรงผนวชอยู่ที่ลังกาคือ ได้เสด็จตระเวนอินเดีย พบฝรั่งขุดเจอพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกบิลพัสดุ์ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดมซึ่งเป็นส่วนแบ่งของศากยวงศ์ เพราะมีคำจารึกอยู่ ท่านได้เจรจากับลอร์ดคอร์สัน อุปราชอินเดีย ขอให้รัฐบาลอังกฤษถวายให้รัชกาลที่ 5 ในฐานะที่เป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เป็นพุทธมามกะอยู่ในขณะนั้น ในที่สุดได้นำมาประดิษฐานไว้บนพระบรมบรรพตหรือภูเขาทองวัดสระเกศ เรื่องนี้ทำให้รัชกาลที่ 5 คิดจะคืนดีและพระราชทานอภัยโทษให้อยู่แล้ว แต่มีผู้ใส่ร้ายหาว่าท่านยักยอกพระบรมสารีริกธาตุไว้เองก่อนที่อังกฤษจะถวายมายังกรุงสยาม ทำให้รัชกาลที่ 5 ยิ่งโกรธหนักเข้าไปใหญ่
เมื่อรัชกาลที่ 5 สวรรคตในปี 2453 ท่านจึงได้เดินทางกลับพระนคร
เพื่อมางานพระบรมศพ โดยถูกกรมพระยาดำรงบังคับให้สึก
ก่อนที่จะได้เคารพพระบรมศพ พระองค์ก็ปฏิบัติตาม
แต่กลับไม่ได้รับสถานสงฆ์กลับคืน และห้ามบวชอีก เพราะกรมพระยาวชิรญาณวโรรสวินิจฉัยว่าพระชินวรวงศ์กระทำอทินนาทานคือลักทรัพย์ ต้องอาบัติปาราชิกตั้งแต่ครั้งแอบเอาพระบรมสารีริกธาตุที่อังกฤษขุดได้ที่อินเดียไว้กับตน โดยที่เจ้าของมิได้รู้เห็น เมื่อเสด็จงานพระบรมศพแล้วจะกราบบังคมทูลลากลับลังกาก็ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่
6 แต่นั้นมาท่านจึงไว้เครายาว จนในหมู่เจ้านาย มีความหมายว่าไว้ทุกข์
เล่ากันว่าท่านได้รับรางวัลที่ 1 ในการประกวดเครายาวซึ่งงามที่สุดในโลก
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงสูญสิ้นจริงๆ เพราะทรัพย์สินต่างๆก็อุทิศให้วัดที่ลังกาหมดแล้ว
จึงทรงงานรับสอนภาษาอังกฤษ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ศิษย์เอกของท่านก็ได้เป็นปราชญ์ต่อมา คือพระยาอนุมานราชธน หรือเสฐียรโกเศศ
ทรงรับเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์ ได้เพียงวันเดียวก็ถูกไล่ออก เพราะบทบรรณาธิการเขียนตรงไปตรงมารุนแรง ไปโจมตีการใช้เงินฟุ่มเฟือยของรัฐบาล รัชกาลที่ 6 ได้สั่งปิดโรงพิมพ์ ในข้อหาตำหนิและค้านนโยบายรัฐบาลของพระองค์ โดยให้ตำรวจเอาโซ่ไปล่ามแท่นพิมพ์ไว้ ในที่สุดท่านหมดหนทางก็เข้าไปของานทำที่กระทรวงการต่างประเทศ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ทรงสงสารจึงหางานให้ทำ เป็นแค่เสมียนแปลภาษาอังกฤษในกระทรวง มีเงินเดือนพอเลี้ยงชีพไปวันๆ แต่ทำงานได้เพียงปีเศษก็ถูกปลดออกเพราะไม่มีงบประมาณ ในระยะนั้นกรมหลวงราชบุรี ทรงเมตตาหาบ้านให้อยู่ที่ตรอกกัปตันบุช ณที่นั้นทรงรับจ้างสอนภาษาอังกฤษไปวันๆ ป่วยไข้เรื่อยมา ด้วยความอัตคัด ต้องตะกุยตะกายเที่ยวขอทานญาติมิตรบ้าง ไปอยู่โรงพยาบาลบ้าง แต่ท่านก็ได้มีชีวิตอยู่ทันการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ทรงใฝ่ฝันเรียกร้องในปี 2475 และขบถบวรเดชที่นองเลือดในปีต่อมา
นับเป็นที่น่าเสียดายในพระปรีชาสามารถของบัณฑิตคนแรกแห่งสยาม ที่สามารถแก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้ง่าย แต่ทว่าการแก้ปัญหาสังคมนั้นต่างกันมาก เพราะมนุษย์มีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง มีความความเชื่อ ฯลฯ แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเมื่อท่านบังอาจไปแนะนำสั่งสอนรัชกาลที่ 5 กษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมให้ใครมาเก่งเกินหน้าเกินตา จากนั้นทรงเดินทางไปอาศัยในประเทศญี่ปุ่น จนสิ้นพระชนม์ในวัย 84 ปี เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2477 สองปีหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง และ 50 ปีหลังจากได้กราบบังคมทูลถวายร่างรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ บวขที่ลังกา |
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ประทับอยู่ต่างประเทศถึง 38 ปี แต่ในระยะเวลาอันสั้นที่ได้อยู่ในสยาม ก็ยังได้อุทิศเวลาให้แก่กิจการหลายอย่าง เช่น ช่วยกรมพระยาดำรงราชานุภาพตั้งโรงพยาบาลศิริราช ช่วยกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดชจัดตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข ทำการสำรวจแม่น้ำต่างๆ และอ่าวไทย ร่างหลักการเพื่อจัดตั้งกรมโยธา ออกแบบโรงช่างแสง รับผิดชอบการตกแต่งพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และจัดเตรียมการสมโภชพระนครครบร้อยปี ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่ที่ลังกาชื่อรัตนเจติยระหว่างที่ทรงผนวชอยู่ที่ศรีลังกา
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้เสด็จไปกวางตุ้ง ไซ่ง่อน พนมเปญและปีนัง ทรงทำราชการกับอังกฤษ 3 ปีเศษ และเขียนบันทึกยาวเป็นภาษาอังกฤษ วิจารณ์ระบบราชการไทยอย่างดุเดือด จากนั้นก็ไปลังกา(ซีลอน) บวชเป็นสามเณรเมื่อปี 2439 ในสำนักท่านสุภูติมหาเถรนายก ได้ฉายาพระชินวรวงศ์ ทรงสมานฉันท์สงฆ์ 5 นิกายของลังกา และเปิดโรงเรียนสอนเด็กอนาถา จนรัฐบาลอังกฤษตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทิปทุตตะ เป็นสังฆนายกนครโคลัมโบร่วม 20 ปี
เรื่องสำคัญระหว่างทรงผนวชอยู่ที่ลังกาคือ ได้เสด็จตระเวนอินเดีย พบฝรั่งขุดเจอพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกบิลพัสดุ์ และพิสูจน์ได้ว่าเป็นของพระสมณโคดมซึ่งเป็นส่วนแบ่งของศากยวงศ์ เพราะมีคำจารึกอยู่ ท่านได้เจรจากับลอร์ดคอร์สัน อุปราชอินเดีย ขอให้รัฐบาลอังกฤษถวายให้รัชกาลที่ 5 ในฐานะที่เป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เป็นพุทธมามกะอยู่ในขณะนั้น ในที่สุดได้นำมาประดิษฐานไว้บนพระบรมบรรพตหรือภูเขาทองวัดสระเกศ เรื่องนี้ทำให้รัชกาลที่ 5 คิดจะคืนดีและพระราชทานอภัยโทษให้อยู่แล้ว แต่มีผู้ใส่ร้ายหาว่าท่านยักยอกพระบรมสารีริกธาตุไว้เองก่อนที่อังกฤษจะถวายมายังกรุงสยาม ทำให้รัชกาลที่ 5 ยิ่งโกรธหนักเข้าไปใหญ่
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์สึกที่กรุงเทพ |
พระองค์ปฤษฎางค์ในวัยชรา ไว่้เครายาว |
จึงทรงงานรับสอนภาษาอังกฤษ แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ศิษย์เอกของท่านก็ได้เป็นปราชญ์ต่อมา คือพระยาอนุมานราชธน หรือเสฐียรโกเศศ
ทรงรับเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์ ได้เพียงวันเดียวก็ถูกไล่ออก เพราะบทบรรณาธิการเขียนตรงไปตรงมารุนแรง ไปโจมตีการใช้เงินฟุ่มเฟือยของรัฐบาล รัชกาลที่ 6 ได้สั่งปิดโรงพิมพ์ ในข้อหาตำหนิและค้านนโยบายรัฐบาลของพระองค์ โดยให้ตำรวจเอาโซ่ไปล่ามแท่นพิมพ์ไว้ ในที่สุดท่านหมดหนทางก็เข้าไปของานทำที่กระทรวงการต่างประเทศ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ทรงสงสารจึงหางานให้ทำ เป็นแค่เสมียนแปลภาษาอังกฤษในกระทรวง มีเงินเดือนพอเลี้ยงชีพไปวันๆ แต่ทำงานได้เพียงปีเศษก็ถูกปลดออกเพราะไม่มีงบประมาณ ในระยะนั้นกรมหลวงราชบุรี ทรงเมตตาหาบ้านให้อยู่ที่ตรอกกัปตันบุช ณที่นั้นทรงรับจ้างสอนภาษาอังกฤษไปวันๆ ป่วยไข้เรื่อยมา ด้วยความอัตคัด ต้องตะกุยตะกายเที่ยวขอทานญาติมิตรบ้าง ไปอยู่โรงพยาบาลบ้าง แต่ท่านก็ได้มีชีวิตอยู่ทันการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ทรงใฝ่ฝันเรียกร้องในปี 2475 และขบถบวรเดชที่นองเลือดในปีต่อมา
นับเป็นที่น่าเสียดายในพระปรีชาสามารถของบัณฑิตคนแรกแห่งสยาม ที่สามารถแก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้ง่าย แต่ทว่าการแก้ปัญหาสังคมนั้นต่างกันมาก เพราะมนุษย์มีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง มีความความเชื่อ ฯลฯ แตกต่างกันไป โดยเฉพาะเมื่อท่านบังอาจไปแนะนำสั่งสอนรัชกาลที่ 5 กษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมให้ใครมาเก่งเกินหน้าเกินตา จากนั้นทรงเดินทางไปอาศัยในประเทศญี่ปุ่น จนสิ้นพระชนม์ในวัย 84 ปี เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2477 สองปีหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง และ 50 ปีหลังจากได้กราบบังคมทูลถวายร่างรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
พระหัวดื้อ
- ครูบาศรีวิชัย 2421-2481
ครูบาศรีวิชัย สงฆ์ล้านนา เชียงใหม่ |
ครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้น อยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์ ตามระบบการปกครองสงฆ์ล้านนาเดิม แต่ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121/2446 ที่บัญญัติให้พระอุปัชฌาย์ต้องได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางเท่านั้น โดยให้เจ้าคณะแขวงเป็นผู้คัดเลือก และเสนอชื่อต่อเจ้าคณะในกรุงเทพฯ พระในล้านนามีบางส่วนยอมรับอำนาจของสงฆ์กรุงเทพฯ อย่างเต็มรูป ซึ่งเป็นพระที่ได้สมณศักดิ์ได้ปกครองพระในท้องถิ่นให้ปฏิบัติตามกฎหมายของส่วนกลาง มีพระบางส่วนที่ไม่พอใจแต่ก็ไม่ต่อต้าน และมีพระกลุ่มต่อต้านที่ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกรุงเทพฯ
ครูบาศรีวิชัยไม่ยอมขึ้นกับส่วนกลาง โดยยังยึดถือการปฏิบัติแบบล้านนา ทำให้ถูกเพ่งเล็งจากส่วนกลาง เนื่องจากเป็นพระที่ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธามาก จึงนำไปสู่การจับกุมครูบาศรีวิชัย เป็น 3 ช่วง ในระยะเวลานานกว่า 30 ปี
การจับกุมในช่วงแรก 2451-2453
ครูบาศรีวิชัยและญาติโยมสานุศิษย์ |
ต่อมาเจ้าคณะแขวงลี้เรียกครูบาให้นำลูกวัดไปประชุมรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงลี้ แต่ครูบาและลูกวัดไม่ได้ไปประชุม เจ้าคณะแขวง สั่งให้ตำรวจไปจับกุมส่งให้เจ้าคณะจังหวัดลำพูนไต่สวน และขังไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญไชย เมืองลำพูน 23 วัน
ในปีเดียวกัน เจ้าคณะแขวงลี้ สั่งให้นำลูกวัดไปประชุม แต่ครูบาและลูกวัดก็ไม่ได้เข้าร่วมประชุมอีก จึงมีหนังสือฟ้องไปที่เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ครูบาจึงถูกจับขังไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญไชย 1 ปี และปลดจากหัวหมวดวัด มิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไป และถูกจับขังต่ออีก 1 ปี
ครูบาศรีวิชัยถูกจับกุมเนื่องจากกระด้างกระเดื่อง ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าคณะแขวง ไม่สนใจพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ เพราะท่านเน้นการปฏิบัติธรรม ยึดมั่นในพระธรรมวินัยที่พระอุปัชฌาย์สั่งสอนมา
การถูกจับกุมในระยะที่สอง 2454-2464
คณะศิษย์และญาติโยมผู้เลื่อมใสศรัทธา |
ต่อมาเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ผู้ครองนครลำพูน เรียกท่านพร้อมลูกวัดเข้าเมืองลำพูน ภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ได้จัดขบวนแห่แหนท่านอย่างเอิกเกริกใหญ่โต หม่อมเจ้าบวรเดชอุปราชมณฑลพายัพสั่งย้ายท่านไปเชียงใหม่ ให้พักที่วัดเชตวัน แต่ก็ยังมีผู้คนมาอุปัฏฐากและมานมัสการเป็นจำนวนมาก เจ้าคณะเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพจึงส่งท่านไปรับการไต่สวนพิจารณาคดีที่กรุงเทพฯ คณะสงฆ์ ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ รวม 25 รูป ร่วมกันฟ้องท่านรวม 8 ข้อ เช่น ตั้งตัวเป็นพระอุปัชฌาย์ทั้งที่ไม่มีใบอนุญาต กระด้างกระเดื่องต่อพระราชบัญญัติสงฆ์ และใช้คำกล่าวอ้างของชาวบ้านที่ว่า ท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เป็นพวกผีบุญ แสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ท่านโต้แย้งข้อกล่าวหาที่ว่าท่านบวชเณรบวชพระให้ชาวบานก็เพราะพ่อแม่เขาเอามามอบให้ แต่ถ้าคณะปกครองสงฆ์อยากให้สึกก็จับสึกได้เลย ที่ว่าท่านเดินบนผิวน้ำก็เพราะท่านมีเรือจึงนั่งเรือไปบนน้ำได้ ที่ว่าฝนตกแล้วท่านไม่เปียกก็เพราะท่านกางร่ม จึงไม่เปียกฝน ฯลฯ
กรมหมื่นชินวรณ์ศิริวัฒน์ ว่าที่สังฆราช |
การจับกุมในช่วงที่สาม 2478-2479
นายกพระยาพหลร่วมพิธีลงจอบสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ |
พิธีเปิดถนนขึ้นดอยสุเทพ |
รูปปั้นครูบาศรีวิชัย วัดดอยติ ลำพูน |
ครูบาศรีวิชัย มรณภาพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2481 ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อายุ 60 ปี ………
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น