วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้ทันเจ้าของคอกม้า ตอนตุลาโกงวิบัติในยุคกษัตริย์ภูมิพล C2 SO 07.


ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/cVxxbpD9/See_Through_Stable_Owner_07.html

หรือที่ : http://www.mediafire.com/?4ji92tdu7zwh1nc รู้ทันเจ้าของคอกม้า
ตอนตุลาโกงวิบัติในยุคกษัตริย์ภูมิพล


ตุลาโกงวิบัติ หลัง 25 เม.ย. 2549

หลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตยเรียกร้องให้มีการแบ่งแยกอำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งทั้งสามอำนาจนี้ต่างตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

ดังที่มาตรา 16 ของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนและพลเมือง 1789 / 2332 ของฝรั่งเศสบัญญัติไว้ว่า " สังคมใดที่ไม่มีการคุ้มครองสิทธิ ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจ สังคมนั้นไม่ถือว่ามีรัฐธรรมนูญ "
องค์กรตุลาการ นอกจากจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยคดีที่เอกชนเป็นคู่พิพาทกันเองแล้ว ยังเข้ามามีบทบาทควบคุมองค์กรนิติบัญญัติและองค์กรบริหารอีก โดยมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และควบคุมการกระทำของฝ่ายบริหารให้ชอบด้วยกฎหมาย องค์กรตุลาการจึงเป็นกลไกสำคัญสำหรับ นิติรัฐ-ประชาธิปไตย ในฐานะเป็นผู้พิทักษ์ นิติรัฐ-ประชาธิปไตย ควบคุมให้การกระทำขององค์กรผู้ใช้อำนาจมหาชนทั้งหลายเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และป้องกันไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจตามอำเภอใจอันอาจจะกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้

สำหรับประเทศไทย เดิมอำนาจตุลาการเป็นของกษัตริย์ตามคติสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์ในฐานะองค์อธิปัตย์เป็นเจ้าของและใช้อำนาจอธิปไตยแต่เพียงผู้เดียว ในทางปฏิบัติ จึงมีการแต่งตั้งข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่วินิจฉัยคดีในนามของกษัตริย์ แต่อำนาจตุลาการก็ยังอยู่ในมือของกษัตริย์ จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 27 มิ.ย. 2475 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยฉบับแรกของไทยได้ดึงอำนาจอธิปไตยซึ่งเดิมเป็นของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้มาเป็นของประชาชน และยกกษัตริย์ขึ้นเป็นประมุขของประเทศ โดยไม่มีพระราชอำนาจในทางการบริหารบ้านเมืองอย่างแท้จริง หากเป็นเพียงสัญลักษณ์และศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ก็แยกออกจากกัน โดยอำนาจนิติบัญญัติกษัตริย์ต้องใช้ตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา อำนาจบริหารกษัตริย์ต้องใช้ตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการกษัตริย์ต้องใช้ตามคำแนะนำและยินยอมของศาล การกระทำของกษัตริย์ในทางการเมืองต้องมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการเสมอ เป็นผู้กระทำและรับผิดชอบ ส่วนการกระทำของกษัตริย์เป็นแต่เพียงในนามเท่านั้น

ในอดีต ศาลไทยเคยมีคำพิพากษาที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และปกป้องนิติรัฐ-ประชาธิปไตยอยู่มากพอควร ยกตัวอย่างให้เห็น
2 กรณี

กรณีแรก ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย และรัฐบาลจอมพล ป. ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485 ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรตราพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม  2488 เพื่อลงโทษแก่ผู้กระทำการตามที่กฎหมายนี้ถือว่าเป็นอาชญากรสงคราม ไม่ว่าการกระทำนั้นจะได้กระทำก่อนหรือหลังกฎหมายนี้ใช้บังคับก็ตาม ต่อมาเมื่อมีการจับกุมบุคคลดำเนินการฟ้องดคี ศาลฎีกาซึ่งทำหน้าที่เป็นศาลอาชญากรสงครามได้มีคำพิพากษาคดีอาชญากรสงครามที่ 1 / 2489 ว่า พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม  2488 เฉพาะที่ลงโทษการกระทำก่อนวันใช้กฎหมายนี้เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลัง จึงขัดกับรัฐธรรมนูญ
ในคดีนี้
ศาลฎีกาได้ยืนยันถึงอำนาจของตนในการพิจารณาว่ากฎหมายที่ตราโดยรัฐสภาขัดต่อ รัฐธรรมนูญได้ เพราะศาลเป็นผู้ใช้กฎหมาย ย่อมเป็นอำนาจของศาล ในการพิจารณาว่าอะไรเป็นกฎหมาย หรือกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนั้นถูกต้องหรือไม่ ในหลักการแบ่งแยกอำนาจ แต่ละอำนาจย่อมยับยั้งและถ่วงดุลกัน
เมื่อสภาผู้แทนราษฎรตรากฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่ากฎหมายนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ก็จำเป็นต้องมีองค์กรชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากให้รัฐสภาเป็นผู้ชี้ขาดก็คงไม่เหมาะเพราะเป็นการพิจารณากฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นเอง ส.ส.ในตอนนั้นไม่พอใจที่ศาลได้ล่วงล้ำเข้ามาในแดนอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงได้ตั้งคณะกรรมาธิการคณะหนึ่ง จำนวน 7 คน ประกอบด้วยอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตประธานศาลฎีกา และผู้เชี่ยวชาญนิติศาสตร์ คณะกรรมาธิการชุดนี้เห็นว่าอำนาจในการตีความรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจเด็ดขาดของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม เพื่อยุติข้อขัดแย้งระหว่างศาลและสภาผู้แทนราษฎร ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ  2489 จึงกำหนดให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อทำหน้าที่วินิจฉัย ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่




กรณีที่สอง ภายหลัง รสช. รัฐประหารรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย เมื่อปี 2534 รสช. ได้ออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สิน ศาลฎีกามีคำพิพากษาที่ 913/2536 ว่า อำนาจของ คตส. ตามประกาศ รสช เป็นการสั่งลงโทษสั่งริบทรัพย์สินในทางอาญาโดยเด็ดขาด ประกาศ รสช. จึงมีผล เป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาล ให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล อันขัดต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และการตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะ แทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมาย จะกระทำมิได้  ศาลฎีกายังเห็นว่า อำนาจของ คตส. ในการประกาศยึดทรัพย์สินของนักการเมืองที่ร่ำรวยผิดปกติให้ตกเป็นของแผ่นดิน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะได้มาก่อนหรือหลังประกาศใช้ประกาศ รสช. ฉบับนี้ เป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคล ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามกระทำเช่นนั้น จึงถือได้ว่าประกาศฉบับนี้ขัดต่อประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ปลายปี 2548 ต่อต้นปี 2549 มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมารต่อต้านประชา ธิปไตยอย่างต่อเนื่องยาวนานเพื่อขับไล่รัฐบาลคุณทักษิณ และมีการเรียกร้องขอนายกพระราชทานโดยอ้างมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งต่อมากษัตริย์ภูมิพลได้มีวินิจฉัยว่าพระองค์ไม่สามารถกระทำได้ เพราะ "... ขอนายกฯ พระราชทาน ไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ พูดแบบมั่ว แบบไม่ ไม่ ไม่มีเหตุมีผล"
จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียด นายกทักษิณจึงตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่
2 เมษายน 2549 ด้วยหวังว่าการเลือกตั้งใหม่จะเป็นทางออกของความขัดแย้งทางการเมือง แต่พรรคร่วมฝ่ายค้านปฏิเสธไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยอ้างว่าการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ถูกต้องชอบธรรม พรรคไทยรักไทยยังคงเดินหน้าลงสมัครรับเลือกตั้ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็กล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทยพยายามจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ลงสมัคร เพื่อให้การเลือกตั้งสมประกอบ
สถานการณ์การเมืองในขณะนั้น ไม่ชัดเจน ไม่แน่นอน มีแต่ความตึงเครียด และเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญหน้าที่รุนแรงมากขึ้น กษัตริย์ภูมิพลก็ได้ออกมาให้โอวาทสั่งสอนตุลาการศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ว่า "...ที่ ได้ปฏิญาณนั้นมีความสำคัญมาก เพราะว่ากว้างขวาง หน้าที่ของผู้พิพากษา หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง มีหน้าที่กว้างขวางมาก ซึ่งเกรงว่า ท่านอาจจะนึกว่า หน้าที่ของผู้ที่เป็นศาลปกครอง มีขอบข่ายที่ไม่กว้างขวาง ที่จริงกว้างขวางมาก

พรรคร่วมฝ่ายค้านรวมหัวกันไม่ลงเลือกตั้ง เพราะหาเรื่องล้มรัฐบาลทักษิณ
ในเวลานี้อาจจะไม่ควรพูด แต่อย่างเมื่อเช้านี้เอง ได้ยินเขาพูดเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และโดยเฉพาะเรื่องเลือกตั้งของผู้ที่ได้คะแนน ได้แต้มไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาเลือกตั้งอยู่คนเดียว ซึ่งมีความสำคัญ เพราะว่าถ้าไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบสมบูรณ์ ไม่ทราบว่า เกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งพอ ก็กลายเป็นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไม่ได้ แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่านได้ปฏิญาณเมื่อตะกี้นี้ ก็เป็นหมัน ถึงบอกว่าจะต้องทำทุกอย่าง เพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องดำเนินการไปได้ ท่านก็เลยทำงานไม่ได้ และถ้าท่านทำงานไม่ได้ ก็มีทางหนึ่ง ท่านอาจจะต้องลาออก เพราะไม่ได้มีการแก้ไขปัญหา ไม่ได้แก้ปัญหาที่มีอยู่ ต้องหาทางแก้ไขได้
เขาอาจจะบอกว่า ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็บอก ไม่ใช่เรื่องของตัว ศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นการร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จแล้วก็ไม่เกี่ยวข้อง เลยขอร้องว่าท่านอย่าไปทอดทิ้งความปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบที่จะทำให้บ้านเมืองดำเนินการผ่านออกไปได้ แล้วก็อีกข้อหนึ่ง การที่จะ ที่บอกว่า มีการยุบสภา และต้อง ต้องเลือกตั้งภายใน 30 วัน ถูกต้องหรือไม่ ไม่พูดเลย ไม่พูดกันเลย ถ้าไม่ถูก ก็จะต้องแก้ไข แต่ก็อาจจะให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะหรือเป็นอะไร ซึ่งท่านจะมี จะมีสิทธิ ที่จะบอกว่า อะไรที่ควร ที่ไม่ควร

ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดู มันเป็นไปไม่ได้ คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียว คนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป ทั่วแต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ ไม่ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็พูดกันเองว่า ท่านต้องดูเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองให้ดี
ตรงนี้ขอฝาก อย่างดีที่สุดถ้าเกิดท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ถ้าทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ตะกี้ที่ปฏิญาณไป ดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ "

กษัตริย์ภูมิพลยังได้ให้โอวาทผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรมในวันเดียวกัน ว่า
" ก็เลยต้องขอร้องฝ่ายศาล ให้คิด ให้ช่วยกันคิด เดี๋ยวนี้ประชาชน ประชาชนทั่วไปเขาหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา ศาลอื่นๆ เขายังบอกว่าศาล ขึ้นชื่อว่าศาล ดี ยังมีความซื่อสัตย์ สุจริต มีเหตุมีผล และมีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา และพิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดีๆ ประเทศชาติจึงจะรอดพ้นได้ ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักของการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่มี ไม่มีสมาชิกสภาถึง 500 คน ทำงานไม่ได้



ก็ต้องพิจารณาดูว่า จะทำยังไง สำหรับให้ทำงานได้ จะมาขอให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตัดสิน เขาอาจจะว่ารัฐธรรมนูญนี้ พระมหากษัตริย์ เป็นคนลงพระปรมาภิไธย จริง แต่ลงพระปรมาภิไธย ก็เดือดร้อน แต่ว่าในมาตรา 7 นั้นไม่ได้บอกว่า พระมหากษัตริย์สั่งได้ ไม่มี ลองไปดูมาตรา 7 เขาเขียนว่า ไม่มีการบทบัญญัติแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่า มีพระมหากษัตริย์ที่จะมาสั่งการได้ แล้วก็ขอยืนยันว่า ไม่เคยสั่งการอะไร ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกอย่าง อย่างที่เขาขอ บอกว่า ขอให้มี ให้พระราชทานนายกฯ พระราชทาน ไม่เคย ไม่เคยมีข้อนี้ มีนายกฯ แบบมีการรับสนองพระบรมราชโองการ อย่างที่ถูกต้องทุกครั้ง มีคนเขาก็อาจจะมา มาบอกว่า พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 เนี่ยทำตามใจชอบ ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ...


ประมุลศาลทั้ง 3 ศาลนัดประชุม ตามพระบัญชา 19 ก.ค. 2549
..วันนี้อยู่ที่ผู้พิพาษาศาลฎีกาเป็นสำคัญ ที่จะบอกได้ ศาลอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอะไร ไม่มีข้อที่จะอ้างได้มากกว่าศาลฎีกา เพราะว่าผู้พิพากษาศาลฏีกา ที่จะมีสิทธิที่จะพูด ที่จะตัดสิน ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านได้พิจารณาดู กลับไปพิจารณา ไปปรึกษากับผู้พิพากษาศาลอะไรอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าควรจะทำอะไร แล้วต้องรีบทำ ไม่งั้นบ้านเมืองล่มจม...
ฉะนั้น ต้องไปพิจารณาดูดีๆ ว่าควรจะทำอะไร ถ้าทำได้ ปรึกษาหารือกันได้จริงๆ ประชาชนทั้งประเทศ และประชาชนทั่วโลก จะอนุโมทนา อาจจะเห็นว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาในเมืองไทยยังมี เรียกว่ายังมีน้ำยา และเป็นคนที่มีความรู้ และตั้งใจที่จะ ที่จะกู้ชาติจริงๆ ถ้าถึงเวลา
ก็ขอขอบใจท่าน ที่ตั้งอกตั้งใจที่จะทำหน้าที่ แล้วก็ทำหน้าที่ดีๆ อย่างนี้ บ้านเมืองก็รอดพ้น ไม่ต้องกลัว ขอขอบใจที่ท่านพยายามปฏิบัติโดยดี แล้วประชาชนจะอนุโมทนา ขอบใจแทนประชาชนทั่วทั้งประเทศ ที่มีผู้พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้มแข็ง ขอบใจ ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงานด้วยดี มีพลานามัยแข็งแรง ต่อสู้ ต่อสู้นะ ต่อสู้เพื่อความดี ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในประเทศ ขอขอบใจ"


นายธีรยุทธ์ บุญมี นักวิจารณ์สังคมฝ่ายดักดาน
นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ คณะสังคมวิทยา ธรรมศาสตร์ ก็ได้เสนอแนวทางตุลาการภิวัตน์ โดยอ้างคำพูดของกษัตริย์ภูมิพลและสนับสนุนให้องค์กรตุลาการเข้ามามีบทบาทในการแก้วิกฤติทางการเมือง ในงานสัมมนา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ว่า "... พระราชดำรัสที่จะให้คณะผู้พิพากษาเป็นผู้แก้ปัญหาวิกฤตของชาติเป็นการมองอำนาจศาลอย่างกว้างขวาง แนวที่เปิดทางให้กับสิ่งที่ประเทศยุโรปเรียกว่า กระบวนการตุลาการภิวัตน์ของระบอบการปกครอง และสหรัฐอเมริกาเรียกการตรวจสอบฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติโดยระบบตุลาการ ซึ่งคือการที่อำนาจตุลาการเข้าตรวจสอบการออกกฎหมาย การใช้อำนาจของนักการเมืองอย่างเข้มงวดจริงจังตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ประเทศไทย ก็ก้าวเดินมาสู่กระบวนการตุลาการภิวัตน์นี้โดยผ่านศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง แต่เนื่องจากฝ่ายบริหารเข้ารุกล้ำแทรกแซงกลไกราชการและอำนาจตรวจสอบอย่างหนักจนนำไปสู่วิกฤตดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงแนะให้ทั้ง 3 ศาลได้เข้ามามีบทบาทร่วมกันเพื่อแก้วิกฤต

ตามทฤษฎีการเมือง เราจะมองการพระราชทานคำแนะนำครั้งนี้ได้อย่างไร
ตามรัฐ ธรรม นูญ ในฐานะประมุขของอำนาจอธิปไตยทั้ง
3 ด้าน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ท่านทรงความชอบธรรม ที่จะชี้ทางแนะนำอำนาจใดอำนาจหนึ่งให้ปฏิบัติเพื่อแก้วิกฤตของชาติ
ในฐานะประมุขของฝ่ายตุลาการ 3 ศาล ซึ่งใช้รูปแบบการประชุมร่วมเพื่อแนะนำอำนาจฝ่ายอื่น เช่น กกต. ก็มีความชอบธรรม เพราะแม้ประชาธิปไตยจะยึดหลักการแยกอำนาจ แต่ไม่ถือเป็นหลักการแยกอำนาจเด็ดขาด การวิพากษ์วิจารณ์ แนะนำซึ่งกันและกันย่อมทำได้ เช่น ฝ่ายบริหารหรือนักวิชาการอาจแนะนำศาลว่า การปฏิรูปการบริหารภายในเพื่อเร่งรัดคดีต่างๆ ก็ย่อมได้


การแนะนำเป็นการใช้อำนาจอย่างอ่อนเป็นทางอ้อม เพราะเป็นการแนะนำเชิงการเมือง ไม่ใช่เชิงคดีความ แต่ผู้ได้รับคำแนะนำอาจเลือกไม่กระทำก็ได้ เช่นที่ กกต.เลือกที่จะไม่ลาออก โดยถือว่าถูกตามกฎหมาย แต่ไม่ถูกโดยพฤตินัยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อข้อแนะนำประมุขศาลต่อ กกต.เกิดขึ้น สืบเนื่องจากคำแนะนำซึ่งประมุขของประเทศได้พระราชทานลงมา
ดังนั้น การแก้วิกฤตการเมืองโดยตรง 3 ศาลจะมีหนทางปฏิบัติได้อย่างไร

ในประการ แรก คือการวินิจฉัยต้นตอของวิกฤตหรือที่มาของปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งที่มาของปัญหาในสายตาของศาล ย่อมไม่ใช่เรื่องเฉพาะเจาะจง เช่น ทักษิณเป็นต้นตอปัญหาหรือเรื่องในระดับนโยบาย แต่ต้องเป็นเรื่องหลักการทั่วไป หรือเรื่องในระดับโครงสร้าง ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรารภไว้ว่า "ศาลปกครองมีหน้าที่กว้างขวางมาก... เพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไปได้" และศาลปกครองได้วินิจฉัยต่อมาว่า ศาลมีภารกิจในการสนับสนุนระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งเมื่อพิจารณาเช่นนี้ก็ต้องพิจารณาว่าต้นตอที่การปกครองประชาธิปไตย ดำเนินไปไม่ได้คืออะไร
ต้นตอของปัญหาไม่ใช่การเลือกตั้งซึ่งเกิดจากไทยรักไทยมองว่า ผู้นำตัวเองขาดความชอบธรรมจากปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน หลีกเลี่ยงกฎหมาย จึงชิงยุบสภา จัดให้มีการเลือกตั้งขึ้น แล้วนำมาสู่ปัญหาต่างๆ ตามมา การแก้ปัญหาที่การจัดการเลือกตั้งก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จะเกิดวิกฤตซับซ้อนขึ้นมาอีกได้ ต้นตอของปัญหาคือการที่กลไกตรวจสอบถ่วงดุลของระบอบประชาธิปไตยไม่ทำงาน หรือทำงานไม่ได้เต็มที่ จนทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและคอร์รัปชั่นอย่างกว้างขวาง

ในประการที่สอง เมื่อศาลได้วินิจฉัยต้นตอปัญหาแล้ว การกำหนดภารกิจที่ตามมาก็จะชัดเจนขึ้น คือศาลต้องเติมเต็มในข้อบกพร่องนี้ ในการนี้ศาลได้กำหนดไว้กว้างๆ ว่า ภารกิจคือการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งเป็นการตีความอำนาจตุลาการอย่างกว้าง โดยยึดถือเอาการแก้วิกฤตระบอบประชาธิปไตย เป็นภารกิจประวัติศาสตร์ของศาล การกำหนดนี้ถูกต้องเพราะบ่งชี้ภารกิจที่ควรทำในช่วงประวัติศาสตร์ปัจจุบันนี้ แต่ควรกินระยะเวลาในช่วงยาวนานช่วงหนึ่งที่จะให้เกิดกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล และให้กระบวนการนี้ไม่ว่าจะเป็นของ ป.ป.ช. ปปง. กกต. สตง. รวมทั้งของศาลทั้ง 3 เอง ดำเนินไปได้อย่างเคร่งครัดจริงจังพอสมควร ไม่ใช่ภารกิจเฉพาะหน้าสั้นๆ ซึ่งกระบวนการนี้คือกระบวนการที่เรียกว่า ตุลาการภิวัตน์ หรือ กฎหมายภิวัตน์ หรือ นิติธรรมภิวัตน์  อย่างเคร่งครัดตามแนวที่หลายประเทศเลือกใช้นั่นเอง

ทั้งนี้ประชาชนย่อมมองอย่างเข้าใจว่า การใช้อำนาจโดยตรงของศาลคือการตัดสินคดี ก็เป็นเรื่องที่ศาลกระทำด้วยความยากลำบาก เพราะศาลในฐานะสถาบันที่รักษาความสืบเนื่องจากหลักการในอดีต และคำนึงผลประโยชน์ยาวไกลที่สุดของประเทศ ต้องตัดสินคดีความ ความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ ด้วยหลักการไม่ใช่นโยบาย ตัดสินด้วยหลักการกฎหมายทั่วไปไม่ใช่ลักษณะเฉพาะเจาะจง แต่การทำเพียงเท่านี้อย่างจริงจัง ก็จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าระบบมีการตรวจสอบ สิทธิในชีวิต ทรัพย์สิน สิทธิทางการเมืองของตนไม่ถูกละเมิด ซึ่งจะช่วยคลี่คลายวิกฤตได้



คณะกรรมการปปช. ทำหน้าที่หลักในการหาเรื่องจับผิดนักการเมืองฝ่ายก้าวหน้า
อย่างไรก็ตาม จากคำแถลงต่างๆ ดูเหมือนว่าทั้ง 3 ศาล จะมองภารกิจตนเองจบลงเพียงการจัดการเลือกตั้งให้ยุติธรรม แต่ไม่ใช่เพื่อให้กระบวนการประชาธิปไตยอยู่ในสภาพที่สมดุลยั่งยืน ดังที่พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มต้นไว้ ถ้าจะให้ประชาธิปไตยสมดุลยั่งยืนก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือปัญหากลไกและอำนาจการตรวจสอบ การทุจริตของนักการเมืองทำงานไม่ได้ หรือไม่ยอมทำงาน ซึ่งถ้าแก้ไม่ได้วิกฤตก็จะเกิดขึ้นอีก และถ้าดูจากทฤษฎีการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เราจะพบว่า พลังที่จะต้านทานถ่วงดุลฝ่ายอำนาจรัฐ (รัฐบาล+ข้าราชการ+นักการเมือง) ได้ ก็มีเพียง 2 ส่วน คือ ภาคประชาสังคม คือสื่อและภาคประชาชน กับอำนาจตุลาการ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีเกียรติภูมิ มีความเป็นอิสระ และโดยฐานะชนชั้นก็เป็นกลุ่มที่อยู่ห่างไกลจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ และอำนาจการเมืองมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งทั้งภาคประชาสังคมและ 3 ศาล ช่วยกันแก้ไขวิกฤตอย่างเต็มกำลัง

นายไชยันต์ ไชยพร อ.รัฐศาสตร์ จุฬา
ฉีกบัตรเลือกตั้ง 2 เมย. 2549
ภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฝ่ายอำนาจรัฐซึ่งรวมถึงองค์กรอิสระบางส่วน ก็ยังไม่นำพากับเสียงเรียกร้องนี้ ถ้าทางอำนาจตุลาการไม่มองอำนาจตุลาการอย่างกว้าง และขับเคลื่อนกระบวนการตุลาการภิวัตน์ แล้วปล่อยให้นักการเมืองดำเนินการปฏิรูปการเมืองด้วยตัวเอง โดยที่ภาคประชาสังคมซึ่งกำลังถดถอยไปเรื่อยๆ เป็นฝ่ายกดดันฝ่ายเดียว ก็ยากที่จะทำให้การปฏิรูปการเมืองดำเนินไปอย่างมีผลได้ ดุลยภาพก็จะเสียไปอีก นำไปสู่วิกฤตครั้งใหม่ซึ่งคงจะรุนแรงกว่าเก่า และมีโอกาสมากที่จะนำไปสู่ระบอบเผด็จการประชานิยมที่ยาวนาน"



ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 8 ต่อ 6 ชี้ว่า การเลือกตั้ง 2 เม.ย. 49
เป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ภายหลังจากพระราชดำรัส  25 เมษายน 2549 มีการประชุมระหว่าง 3 ศาล ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นศาลรัดทำมะนวยได้มีคำวินิจฉัยที่ 9/2549 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 วินิจฉัยว่า การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดวันเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้ง การจัดคูหาเลือกตั้งที่ส่งผลให้ไม่เป็นการลงคะแนนโดยลับ " เป็นการเลือกตั้งที่ทำให้เกิดผลของการเลือกตั้งที่ไม่เที่ยงธรรม ไม่เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 2 มาตรา 3 มาตรา 104 วรรคสาม และมาตรา 144 มาตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการจัดการเลือกตั้ง คือ ตั้งแต่การกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้ง การรับสมัครรับเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียง การนับคะแนนเสียง การประกาศผลการเลือกตั้ง"


การเลือกตั้ง 2 เมย. 2549 จัดคูหาหันหลังให้กรรมการ เพื่อป้องกันการทุจริต
ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาที่ 607 - 608 / 2549 ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะ " จัดเรียงคูหาเลือกตั้งจากเดิมที่ให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหลังให้ผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้ง มาเป็นให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้ง ... จึงเป็นการกระทำที่ทำให้การออกเสียงลงคะแนนไม่เป็นไปโดยลับทั้งในทางข้อเท็จจริงและในทางความรู้สึกของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง " ศาลปกครองกลางจึง พิพากษาให้เพิกถอนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดในทุกเขตเลือกตั้ง และเพิกถอนการกระทำต่อมาอันเป็นผลสืบเนื่องจากการเลือกตั้ง
ภายหลังศาลรัดทำมะนวยและศาลปกครองเพิกถอนการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 แล้ว มีเสียงเรียกร้องให้ กกต. ที่เหลืออีก 4  คนลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้ศาลฎีกาได้สรรหา กกต. ชุดใหม่

นายจรัญ ภักดีธนากุล เลขาธิการประธานศาลฎีกา 
นายจรัญ ภักดีธนากุล เลขาธิการประธานศาลฎีกา แถลงว่า " ที่ประชุมของท่านประธานศาลทั้ง 3 ศาล จึงเห็นพ้องกันว่า ทางศาลจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้ก็ต่อเมื่อมีการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ จากบุคคลที่มีความเป็นกลางทางการเมืองอย่างแท้จริง และมีความเป็นอิสระ ปราศจากบุญคุณ ความแค้นแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เข้ามาทำหน้าที่ และการดำเนินการในเรื่องนี้ก็จะดำเนินการได้ต่อเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดปัจจุบัน ได้เสียสละลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ที่ดำเนินการเพื่อเปิดทางให้กระบวนการ สรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่โดยศาลฎีกาและวุฒิสภา สามารถดำเนินไปได้ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ "
ในขณะที่ นายวิรัช ชินวินิจกุล เลขานุการศาลฎีกาได้ให้สัมภาษณ์ว่า " เรา ต้องการให้ กกต.ทบทวนตัวเองอีกครั้ง ขอให้ กกต.ทั้งสามท่านคิดว่าจะทำสิ่งอันใด ขอให้ยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก ผมขอเปิดใจว่าศาลฎีกาและศาลยุติธรรมไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่เคยทะเลาะกับ กกต.เป็นการส่วนตัว และไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด ไม่เคยทำตัวสนับสนุนกลุ่มการเมือง เรายืนหยัดข้างประชาชน เชื่อว่าสถานการณ์ขณะนี้ประชาชนอาจจะอึดอัดที่ปัญหายืดเยื้อ แต่ขอให้เข้าใจว่าศาลต้องทำงานในกรอบของกฎหมาย ไม่อาจทำอะไรให้เร็วดั่งใจได้ เพราะกฎหมายเป็นกติกาของบ้านเมือง ศาลเป็นผู้รักษากฎหมาย สุดท้ายผมขอให้ประชาชนจับตาการไต่สวนคดี กกต.เป็นจำเลยของศาลอาญาอย่างใกล้ชิด เพราะจะมีกรณีที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง "  จากข้อเรียกร้องดังกล่าว มี กกต. ลาออกไป 1 คน แต่อีก 3 คนยืนยันไม่ลาออก

สองเดือนถัดมา ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ให้พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. นายปริญญา นาคฉัตรีย์ กกต. และนายวีระชัย แนวบุญเนียร กกต. จำคุก 4 ปีโดยไม่รอลงอาญาและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี เพราะ จัดการเลือกตั้งใหม่ที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม มิใช่เป็นการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และกระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่พรรคไทยรักไทย
นายอำนวย ธันธรา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ตัดสินจำคุกกกต . 4 ปี โดยไม่มให้ประกันตัว
นอกจากนี้ศาลยังไม่ให้ประกันตัว เพราะ" การจัดเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 และการเลือกตั้งที่ต่อเนื่องมา โดยจำเลยทั้งสาม กลับถูกพรรคการเมืองหลายพรรคและประชาชนส่วนหนึ่งต่อต้าน นอกจากนี้ยังมีแพทย์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และประชาชนหลายสาขาอาชีพทำการประท้วงด้วยการฉีกบัตรเลือกตั้งโดยเปิดเผย ประกอบกับหลายเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียวพรรคเดียวได้คะแนนเสียง น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ผิดปกติของสังคม โดยแทนที่จำเลยทั้งสามจะใส่ใจรีบหาทางแก้ไขความไม่พอใจของประชาชน จำเลยกลับเดินหน้าจัดเลือกตั้งต่อไปทั้งที่ยังไม่มีการประกาศรับรองผลการ เลือกตั้งหลายเขตอย่างเป็นทางการจนเกิดการหมุนเวียนผู้สมัคร ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อการจัดเลือกตั้งของจำเลยทังสามมากขึ้นตามลำดับ

พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ถุูกคุมตัวส่งเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ
ซึ่งจำเลยทั้งสามเป็นผู้มีวัยวุฒิและคุณวุฒิเคยดำรงตำแหน่งระดับสูงมาก่อน ย่อมตระหนักดีว่า กกต.เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อประชาชนจำนวนมากรวมทั้งพรรคการเมืองไม่ไว้วางใจในความเป็นกลาง ความสุจริตและเที่ยงธรรมของจำเลยทั้งสามแล้วย่อมกระทบกระเทือนถึงการจัดการเลือกตั้งทุกระดับ การที่จำเลยทั้งสามยังคงปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งต่อไปโดยไม่ใยดีต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา และไม่ตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า จึงส่อพิรุธและชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์และเชื่อได้ว่า หากศาลอาญาสั่งอนุญาตให้ปล่อยจำเลยทั้งสามระหว่างอุทธรณ์ เพื่อให้โอกาสจำเลยกลับไปปฏิบัติหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ส.ส.อีกก็น่าจะเกิดความไม่เรียบร้อย สุจริตและเที่ยงธรรมเหมือนการเลือกตั้งที่ผ่านมา "


คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ของระบอบตุลาโกงวิบัติ
ผลจากคำพิพากษาดังกล่าว ทำให้ กกต.ทั้งสามคนต้องพ้นจากตำแหน่งทันที เปิดทางให้มีการสรรหาและเลือก กกต. ชุดใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ได้ กกต.ที่เป็นผู้พิพากษา 4 คนและอัยการอีก 1 คนเมื่อขบวนการตุลาโกงวิบัติ ได้แสดงผลงานให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดด้วยการล้มการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 และปลด กกต. ออกจากตำแหน่งแล้ว เสียงสังคมส่วนใหญ่ต่างสนับสนุนตุลาโกงวิบัติ บางส่วนแม้เห็นว่าคดีเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 มีข้อวิจารณ์ในหลายประเด็น แต่ก็พอเข้าใจและพออนุโลมได้ เพราะเป็นช่องทางแก้วิกฤตเรื่องการเลือกตั้งที่มีพรรคการเมืองใหญ่พรรคเดียว เพื่อให้การเมืองไทยได้เดินหน้าต่อไปได้ด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งที่สมประกอบ



ทรงออกมาสั่งการให้ตุลาการหาทางล้มล้างการปกครองหลายครั้ง
กษัตริย์ภูมิพลได้ลงปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนด วันเลือกตั้งส.ส.ทั่วไปเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งส.ส.ทั่วประเทศในวันที่ 15 ตุลาคม 2549 โดยทรงอ้างว่าต้องการเห็นประเทศชาติกลับสู่ความสงบเรียบร้อยโดยเร็ว และให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งที่สมประกอบตามคำอ้างของกษัตริย์ภูมิพลที่สังคมเฝ้ารอ กลับไม่เกิดขึ้นเลย เพราะได้เกิดรัฐประหารอัปยศก่อนเมื่อ
19 กันยายน 2549

มีสุภาษิต ที่ว่าเมื่อเสียงปืนดังขึ้น กฎหมายย่อมเงียบลง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว นักกฎหมายกลับเฟื่องฟูมากขึ้นหลังการยึดอำนาจ เพราะคณะรัฐประหารยุคใหม่ตระหนักดีว่าการทำให้อำนาจดิบ-เถื่อนจากการรัฐประหาร ให้กลายสภาพเป็นอำนาจที่อ่อน-นุ่ม ลงได้นั้น จำต้องอาศัยกลไกทางกฎหมาย และการใช้อำนาจดิบ-เถื่อน ปราบปรามศัตรูทางการเมืองโดยตรง ย่อมไม่แนบเนียนเท่ากับยืมมือกฎหมายเข้าปราบปราม คณะรัฐประหารจึงจำเป็นต้องควานหานักกฎหมายจำนวนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ให้บริการ

อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวไว้ว่า " นักรัฐประหารในเมืองไทยนั้นเป็นนักกฎหมายโดยสัญชาตญาณ รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเอามากระทืบทิ้งต่อหน้าต่อตาคนอื่นได้ แต่กฎหมายเล็กน้อยเพียงแค่จะเรียกเก็บค่าน้ำชลประทานสัก 10 บาท ก็ต้องดำเนินตามมาตรการที่ซับซ้อนยุ่งยากให้ถูกต้องตามพิธีกรรม ทั้งนี้เพราะนักรัฐประหารรู้ดีว่ากฎหมายมีความสำคัญแก่คนไทยอย่างมากเพราะว่า กฎหมายทำให้พลังของอำนาจตั้งมั่นอยู่ได้ แม้ว่าอำนาจมักจะกดขี่เบียดเบียนให้เดือดร้อน ..เพราะคนไทยเชื่อว่าอำนาจตุลาการเป็นอำนาจที่บริสุทธิ์ที่สุด ที่ปราศจากการแฝงเร้นของอิทธิพลโดยสิ้นเชิง ผู้พิพากษาในทัศนะของคนไทยเป็นคนสะอาดบริสุทธิ์... ความเชื่อเช่นนี้ทำให้คนไทยอุ่นใจได้ว่าอำนาจตุลาการมีพลังในการคะคานกับอิทธิพลได้จริง...... จึงยิ่งเห็นได้ชัดว่ากฎหมายและตุลาการนั้นเป็นส่วนสำคัญของเกมการเมืองรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมจึงบัญญัติให้กฎหมายและตุลาการเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 

คณะตุลาการรัดทำมะนวยที่ตั้งโดยคณะปฏิกูลการปกครอง
รัฐประหาร
19 กันยายน 2549 เปิดทางให้นักรัฐประหารและตุลาโกงเข้าไป รื้อ - สร้าง - จัดวาง กลไกทางกฎหมายและองค์กรตุลาการเสียใหม่ นอกจากฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 แล้ว ยังได้จัดการยุบศาลรัฐธรรมนูญทิ้ง และตั้งคณะตุลาการรัดทำมะนวยใหม่เข้าทำหน้าที่แทนอันประกอบด้วย ประธาน ศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนห้าคนเป็นตุลาการ รัดทำมะนวย และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครอง สูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนสองคนเป็นตุลาการรัดทำมะนวย ส่วนบรรดาคดีที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของศาลรัดทำมะนวยก่อนวันที่ 19 กันยายน 2549 ก็ให้โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัดทำมะนวยชุดนี้ ซึ่งคดีสำคัญที่ได้โอน คือ คดียุบพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ หลังรัฐประหารได้ 11 วัน คณะรัฐประหารได้ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 ข้อ 3 เพื่อเพิ่มโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบ เป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง
วันที่ 30 พฤษภาคม 2550 คณะตุลาการรัดทำมะนวยที่ คมช. แต่งตั้งขึ้นใหม่แทนที่ศาลรัฐธรรมนูญก็มีคำวินิจฉัยที่ 3-5 / 2550 ยุบพรรคไทยรักไทยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี
โดยที่ตุลาการรัดทำมะนวยไม่เพียงแต่ไม่ปฏิเสธการรัฐประหารเท่านั้น แต่ยังยอมศิโรราบต่อผลิตผลของรัฐประหาร ด้วยการนำประกาศ คปค.มาใช้บังคับย้อนหลัง โดยอ้างว่าการห้ามออกกฎหมายมีผลร้ายย้อนหลังใช้บังคับกับการกระทำอันเป็นความผิดอาญาเท่านั้น แต่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้




30 พค. 2550 ศาลรัดทำมะนวยสั่งยุบพรรคไทยรักไทย
จึงเห็นได้ชัดว่า 19 กันยายน 2549 เป็นการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ และคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 เป็นการทำรัฐประหารซ้ำ โดยคณะตุลาการรัดทำมะนวย เพื่อให้รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และกำจัดปฏิปักษ์ทางการเมืองของคณะรัฐประหารให้สิ้นซาก

นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัดทำมะนวย 2550
เมื่อกำจัดศัตรูทางการเมืองแล้ว คณะรัฐประหารก็ต้องจัดวางกลไกและกติกาการเมืองต่างๆเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูทางการเมืองฟื้นคืนชีพได้ คณะรัฐประหารได้คลอดสภาร่างรัดทำมะนวยเพื่อทำหน้าที่ยกร่างรัดทำมะนวยฉบับใหม่ ที่มีกลไกการปราบปราม และป้องกัน ศัตรูทางการเมืองของตนที่ซ่อนอยู่มากมาย เช่น ให้ผู้มีสิทธิแต่ละคนมีสิทธิเลือกผู้สมัครได้ในจำนวนที่ไม่เท่ากันในแต่ละเขตเลือกตั้ง ในส่วนของส.ส.ระบบสัดส่วนจำนวน 80 คน ซึ่งมาจากการเลือกบัญชีรายชื่อโดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มจังหวัด กลุ่มละ 10 คน โดยไม่มีเหตุผลใดรองรับ  นอกจากอ้างความหวาดกลัวพรรคการเมืองใหญ่ในอดีตที่เคยเข้ายึดครองที่นั่งของ ส.ส.ระบบสัดส่วนเป็นจำนวนมาก

โปรดเกล้าพระราชทานรัดทำมะนวยโจร 2550
รัดทำมะนวย 2550 ได้ให้อำนาจแก่วุฒิสภามาก ทั้งการกลั่นกรองร่างกฎหมาย การให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระหรือองค์กรขยะตามรัดทำมะนวย การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง แต่กลับกำหนดให้ ส.ว. มีจำนวน 150 คนมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คนและจำนวนที่เหลือให้มาจากการลากตั้ง ซึ่งมิใช่ตัวแทนของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย คณะกรรมการลากตั้งที่เรียกว่าสรรหาก็ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลซึ่งมาจากฝ่ายตุลาโกงและข้าราชการระดับสูงซึ่งดำรงตำแหน่งประธานองค์กรขยะต่างๆ โดยไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชน แต่เป็นแค่พวกอภิสิทธิ์ชน โดยไม่ยอมรับอำนาจการตัดสินใจของประชาชน
ทั้งยังใช้กลไกสำคัญของรัดทำมะนวยที่ให้อำนาจยุบพรรค ทั้งๆที่ในรัฐเสรีประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะถูกยุบได้ก็ต่อเมื่อมีการกระทำที่เป็นการทรยศต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย เช่น มีอุดมการณ์หรือนโยบายไปในทางเผด็จการหรือฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การยุบพรรคการเมืองต้องไม่ใช่เกิดจากสาเหตุเล็กน้อย แต่รัดทำมะนวยและกฎหมายประกอบรัดทำมะนวยของไทยกลับมีบทบัญญัติให้ยุบพรรคได้โดยง่าย แค่มีกรรมการบริหารพรรคถูกศาลยัดเยียดว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ก็ยุบพรรคได้แล้ว นับเป็นการทำลายความเข้มแข็งของพรรคการเมืองโดยแท้

ใบเหลือง - ใบแดง ก็เป็นอาวุธชั้นดีอีกอย่างหนึ่ง  ทั้งๆที่ในระบอบประชา ธิปไตย ถือว่าการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการแสดงเจตจำนงที่ชัดเจนที่สุดของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เมื่อประชาชนได้ใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองผ่านการเลือกตั้งแล้ว การใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนนั้นต้องมีผลทันที โดยไม่มีองค์กรใดมาขัดขวาง แต่รัดทำมะนวย 2550 กลับให้กกต.เพียง 5 คน เป็นผู้มีอำนาจประกาศผลการเลือกตั้งหรือให้ใบเหลือง-ใบแดงแก่ผู้สมัคร โดยอำนาจเช่นว่านี้ยังมีผลเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง ไม่อาจมีองค์กรอื่นใดทบทวนคำวินิจฉัยของ กกต.ได้  โดยอ้างว่าการให้ใบเหลือง-ใบแดงช่วยทำให้การเมืองขาวสะอาดซึ่งเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่มันได้กลายเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้การเมืองได้เดินหน้าต่อไปอย่างที่ควรจะ เป็น และ กกต. มีอำนาจในการไม่รับรองเสียงที่ประชาชนลงให้ผู้สมัคร ซึ่งก็คือให้กกต.มีอำนาจที่จะปฏิเสธเจตนารมณ์ของประชาชน 

และเพื่อความปลอดภัยของคณะรัฐประหารเอง ก็จำต้องมีบทบัญญัติสักมาตราหนึ่งที่คุ้มครองคณะรัฐประหารและพรรคพวก รัดทำมะนวยของคณะรัฐประหารจึงต้องมีมาตรา 309 ซึ่งบัญญัติว่า "บรรดาการใดๆ ที่รับรองไว้ในรัดทำมะนวยฉบับชั่วคราว 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฏหมายและรัดทำมะนวย รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัดทำมะนวยนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัดทำมะนวยนี้  "
มาตรา 309 นับเป็นมาตราอัปยศที่สุดในประวัติศาสตร์รัดทำมะนวยไทย รองลงจากมาตรา 17 สมัยจอมพลสฤษดิ์ เพราะมาตรา 309 ได้ ปลุกเสก ให้ คำสั่ง และการปฏิบัติตามคำสั่งของ คปค.ไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศใช้รัดทำมะนวย 2549 และการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่ง คปค.ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต  ให้เป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัดทำมะนวย 2550 ทุกประการ โดยคุ้มครองคณะรัฐประหารล่วงหน้าไปในอนาคตด้วย นับเป็นประจักษ์พยานที่แสดงถึงการบรรลุวิชาขั้นสูงสุดของเนติบริกรไทยที่สามารถทำได้ทุกอย่างเพื่อรับใช้คณะรัฐประหารของกษัตริย์ภูมิพล
ศาลรัดทำมะนวยยังได้วินิจฉัยยอมรับมาตรา 309
อย่างชัดเจน เพื่อรับรองความชอบของประกาศ คปค. ในการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือคตส.เพื่อหาเรื่องยึดทรัพย์ของคุณทักษิณ
ในโลกสมัยใหม่ คณะรัฐประหารย่อมไม่อาจยึดอำนาจบริหารประเทศไว้ได้นาน เพราะนานาอารยประเทศจะไม่ให้การยอมรับ เมื่อคณะรัฐประหารประเมินว่าปราบปรามศัตรูทางการเมืองและจัดวางกติกาหรือ กลไกต่างๆเพื่อไม่ให้ศัตรูทางการเมืองได้ฟื้นคืนชีพแล้วเสร็จ คณะรัฐประหารและพวกจำต้องเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบปกติด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งส.ส.

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร ประกาศอย่างชัดเจนถึงแผนบันได 4 ขั้น ที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องหลังจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้แก่ "1.การยุบพรรคจะต้องเกิดขึ้น เพราะคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความผิดทางกฎหมาย 2.คดีที่ผิดเรื่องการโกงกิน และการคอร์รัปชันจะปรากฏ 3.พรรคจะเริ่มแตก และวิ่งกระจัดกระจาย และ 4.เรื่องของคดีก็จะสิ้นสุดและไปสู่การลงประชามติของร่างรัดทำมะนวยและการเลือกตั้ง"
แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตร เพราะผลการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ภายใต้กติกาและเงาของคณะรัฐประหาร พรรคการเมืองที่ได้จำนวนเสียงมากที่สุดกลับเป็นพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคการเมืองตัวแทนของพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบไปแล้ว เท่ากับว่าคณะรัฐประหารและพวกประสบความพ่ายแพ้ เพราะผลการเลือกตั้งชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเลือกพรรคการเมืองขั้วเดิม ทั้งๆที่กลไกอำนาจรัฐทั้งหลายล้วนแล้วแต่ไม่เอื้อประโยชน์แก่พรรคการเมืองนั้นก็ตาม เท่ากับเป็นการปฏิเสธรัฐประหาร 19 กันยาในรูปแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตามกลไกทางกฎหมายที่คณะรัฐประหารวางไว้ก็ยังคงดำรงอยู่
ในระหว่างจัดตั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช มีข่าวหนาหูว่าอาจมีการแจกใบเหลือง-ใบแดงจำนวนมาก เพื่อให้เสียงของพรรคร่วมรัฐบาลไม่พอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ยังมั่นใจว่าพรรคของตนมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลอยู่ แต่ในท้ายที่สุด พรรคพลังประชาชนก็ฝ่าแรงต้านจนจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
การบริหารงานของรัฐบาลสมัครเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะถูกปิดล้อมด้วยกลไกทางกฎหมาย ซึ่งจัดวางไว้ในรัดทำมะนวย เมื่อรัฐบาลสมัครตัดสินใจจะเริ่มดำเนินการแก้ไขรัดทำมะนวยเพื่อปลดล็อคกลไกทางกฎหมายเหล่านี้ ก็เข้าทางกลุ่มพันธมาร ในการหาเหตุออกมาชุมนุมอีก บรรดาสื่อมวลชน พันธมาร ฝ่ายค้าน และส.ว.บางส่วนก็โจมตีรัฐบาลตั้งแต่วันแรกๆ มีกลุ่มคนที่พยายามหาสำรวจช่องทางในรัดทำมะนวยเพื่อส่งลูกไปยังองค์กรอิสระและศาล พอรัฐบาลหรือ ส.ส.พรรคพลังประชาชนจะขยับทำอะไร ก็ต้องเจอคำขู่จากสารพัดองค์กรว่าจะ ยุบพรรค - ปลด - ถอดถอน - ตัดสิทธิเลือกตั้ง อยู่เรื่อยไป


นายนพดล ปัทมะ อดีตรมต.ต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่รอบพระวิหาร
พายุตุลาโกงวิบัติก็โหมเข้าใส่รัฐบาลสมัครมาเป็นระลอก
เริ่มตั้งแต่
27 มิถุนายน 2551 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ 984/2551 ให้รับคำฟ้องขอเพิกถอนการเสนอร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาต่อคณะรัฐมนตรี เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบและให้รัฐมนตรีต่างประเทศลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา พร้อมทั้งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา

8 กรกฎาคม 2551 ศาลฎีกามีคำสั่งที่ 5019/2551 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของนายยงยุทธ 5 ปีตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอมา
ในวันเดียวกัน ศาลรัดทำมะนวยมีคำวินิจฉัยที่ 6 - 7 / 2551 ว่าคำแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา เป็น " หนังสือสัญญาที่อาจมี บทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ ทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางอีกด้วย ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาตามรัดทำมะนวยมาตรา 190 วรรคสอง"  โดยที่ถ้อยคำในมาตรา 190 วรรคสอง มีเพียงว่า "หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย..." ไม่มีคำว่า "อาจ"
8 กันยายน 2551 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งที่ 547/2551 ยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางในคดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชากรณีปราสาทพระวิหาร มีการเปิดเผยว่าคณะตุลาการศาลสูงได้มีความเห็นเสียงข้างมาก 3 ใน 5 เสียงให้กลับคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่ผู้บริหารศาลได้ดึงคดีกลับและจ่ายสำนวนไปให้อีกองค์คณะหนึ่งซึ่งมีผู้บริหารศาลเป็นหัวหน้าคณะเอง ผลการพิจารณาขององค์คณะใหม่ตรงกันข้ามกับองค์คณะที่โดนดึงสำนวนคืน แม้เสียงข้างน้อยในองค์คณะใหม่จะไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่มีการดึงสำนวนและมีการบันทึกไว้ในกระบวนพิจารณาด้วย เท่ากับว่าผู้บริหารศาลจงใจให้การพิจารณาคดีให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เข้าข่ายการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ


ศาลรัดทำมะนวยสั่งปลดนายกสมัครข้อหาทำกับข้าวออกทีวี
9 กันยายน 2551 ศาลรัดทำมะนวยมีคำวินิจฉัยที่ 12 - 13 / 2551 ให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เพราะเป็น ลูกจ้าง โดยศาลให้เหตุผลว่า " คำว่า ลูกจ้าง ตาม รัดทำมะนวยมาตรา 267 มีความหมายกว้างกว่าคำนิยามของกฎหมายอื่น โดยต้องแปลความตามความหมายทั่วไป ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 ว่า ลูกจ้างหมายถึง ผู้รับจ้าง หรือตกลงทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง โดยไม่จำเป็นต้องมีการทำสัญญาจ้าง


...
... พยานหลักฐานทั้งหมดมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้ถูกร้องทำหน้าที่พิธีกรในรายการชิมไป บ่นไป หลังจากเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วโดยผู้ถูกร้องยังคงได้รับค่าตอบแทน ที่มีลักษณะเป็นทรัพย์สินจากบริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด ดังนั้น การที่ผู้ถูกร้องเป็นพิธีกรให้แก่บริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด จึงเป็นการรับจ้างทำการงานตามความหมายของคำว่า ลูกจ้าง ตามนัยแห่งรัดทำมะนวย มาตรา 267 แล้ว ถือได้ว่า ผู้ถูกร้องเป็นลูกจ้างของบริษัทเฟซ มีเดีย จำกัด เป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัดทำมะนวย มาตรา 267  ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องจึงสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัดทำมะนวย มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) "
ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ศาลรัดทำมะนวยมีคำคำวินิจฉัยที่ 18-19-20 / 2551 ยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคชาติไทย และพรรคพลังประชาชนและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค 5ปี
ศาลไทยได้ทำหน้าที่ตุลาโกงวิบัติตามแผนที่คณะรัฐประหารของกษัตริย์ภูมิพลได้วางไว้ทุกประการ




กรณีศาลรัดทำมะนวย
ละเมิดอำนาจการจัดทำ
หรือแก้ไขรัดทำมะนวย


กลุ่ม 40 สวะ ผู้เลื่อมใสในระบอบเผด็จการโบราณ
มาเมื่อปี 2555 พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว. พร้อมทั้งผู้เลื่อมใสในระบอบเผด็จการโบราณ ได้ยื่นหนังสือให้ศาลรัดทำมะนวยวินิจฉัยตามมาตรา 68 กรณีรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกรัดทำมะนวย 2550 ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัดทำมะนวย

ศาลรัดทำมะนวย หัวหอกขบวนการตุลาโกงล้มล้างระบอบประชาธิปไตย
1 มิ.ย. 2555 ตุลาการรัดทำมะนวย มีมติ 5 ต่อ 4 ให้รับคำร้องไว้พิจารณา ทั้งยังมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแจ้งรัฐสภาระงับการดำเนินการแก้ไขรัดทำมะนวยไว้ก่อน โดยนัดคู่กรณีไต่สวนวันที่ 5-6 ก.ค.2555 เวลา 09.30 น.

กลายเป็นว่า

1.) ต่อไปนี้ ศาลรัดทำมะนวยจะเป็นผู้กุมชะตากรรมของการแก้ไขเพิ่มเติมรัดทำมะนวยทุกครั้ง
2.) รัฐสภาไม่มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ หรือแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อีกต่อไป3.) ศาลรัดทำมะนวยกลับเป็นองค์กรที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเอง
ศาลรัดทำมะนวยเองก็คงทราบดีว่าตนเองไม่มีอำนาจในการตรวจสอบว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ยังใช้วิธีอ้างรัดทำมะนวยมาตรา 68 บวกกับ วิธีพิจารณาความแพ่ง โดยกล้ากล่าวหาว่าการแก้รัดทำมะนวยเพื่อตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ สสร. เข้าข่ายการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เท่ากับว่าศาลรัดทำมะนวยได้จงใจบิดเบือนรัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรงและชัดเจน โดยที่ไม่มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญใดกล้าตอบโต้ได้สำเร็จ และทำให้การบิดเบือนรัฐธรรมนูญนั้นมีผลทางกฎหมายและดำรงอยู่ต่อไปได้ เท่ากับได้มีการทำรัฐประหารในรัฐธรรมนูญแล้ว

ประเทศ ที่มีศาลรัฐธรรมนูญ เขาจะออกแบบโครงสร้างรัฐธรรมนูญและตีกรอบจำกัดเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญให้น้อยและชัดเจนมาก ศาลลงไปล้วงคดีมาตัดสินไม่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญ จะแปลความ รัฐธรรมนูญ เพื่อขยายอำนาจตนเองออกไปไม่ได้


นอกจากนี้ด้วยยังมีหลักการแบ่งแยกอำนาจและถ่วงดุลย์อำนาจ โดยฝ่ายการเมืองอาจตอบโต้ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ โดยรัฐสภาอาจใช้วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพราะในนามของนิติรัฐ จำต้องมีองค์กรตุลาการทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเสมอ
หากองค์กรตุลาการมีความคิดและอุดมการณ์ที่เป็นนิติรัฐ - ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง พวกเขาย่อมเป็นกลไกสำคัญในการรักษานิติรัฐ-ประชาธิปไตยได้อย่างดียิ่ง ตรงกันข้าม หากองค์กรตุลาการดำเนินการไปโดยมีอุดมการณ์อันไม่เป็นประชาธิปไตยกำกับแล้ว  พวกเขาย่อมกลายเป็นอุปสรรคของนิติรัฐ-ประชาธิปไตยเสียเอง ขณะที่องค์กรตุลาการของไทยกลับมีอุดมการณ์นิติรัฐแบบไทยๆที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและมาหนักหน่วงมากยิ่งขึ้นภายหลังพระราชดำรัส
25 เมษายน 2549 เกิดปรากฏการณ์ตุลาโกงวิบัติอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นผู้ยึดกุมอำนาจสูงสุดไว้แต่ผู้เดียว

มีการตัดสินคดีของศาลที่ไม่มีความสมเหตุสมผลเอาแต่อ้างอำนาจตามกฎหมาย และตามจารีต ที่บังคับให้คนต้องเคารพการตัดสินของศาลเท่านั้น และละเมิดรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ทั้งๆที่ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญและการตัดสินมีผลผูกพันทุกองค์กรแล้ว หากไม่มีการตอบโต้จากองค์กรอื่น การกระทำที่ผิดรัฐธรรมนูญเหล่านั้น ก็จะกลายเป็นถูกตามรัฐธรรมนูญ
องค์กรตุลาการไม่ได้อยู่เหนือนิติรัฐ-ประชาธิปไตย แต่เป็นส่วนหนึ่งของนิติรัฐ-ประชาธิปไตยเช่นเดียวกันกับองค์กรอื่นๆ อำนาจและความอิสระที่นิติรัฐ-ประชาธิปไตยหยิบยื่นให้องค์กรตุลาการนั้น ก็เพื่อให้นำมาใช้ปกป้องนิติรัฐและประชาธิปไตยนั่นเอง มิใช่ให้นำมาใช้ทำลายนิติรัฐและประชาธิปไตย

ดังนั้น การตอบโต้องค์กร ตุลาการที่จงใจละเมิดรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการรักษานิติรัฐ - ประชา ธิปไตยเมื่อศาลรัดทำมะนวยจงใจใช้อำนาจบิดเบือนรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน องค์กรตามรัฐธรรมนูญก็ควรใช้อำนาจของตนตอบโต้กลับไป เพื่อรักษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มิเช่นนั้นต่อไปก็จะเกิดเป็นมาตรฐานใหม่ว่า แค่เสนอแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง สสร. ยังกลายเป็นเรื่องล้มล้างการปกครองจนได้
ในอนาคตศาลรัดทำมะนวยก็จะใช้วิธีการชั่วคราวที่สร้างขึ้นมาเอง เพื่อสั่งองค์กรอื่นๆให้ยุติการแก้ไขรัดทำมะนวย ศาลรัดทำมะนวยก็จะแปลงร่างจากผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ กลายเป็นเจ้าของรัฐธรรมนูญเสียเอง ขณะที่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และสถาบันการเมืองอื่นๆ ก็เกรงกลัวศาลรัดทำมะนวยจนเกินไป ทั้งๆที่ตนเองมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตอบโต้เช่น สภา มีอำนาจแต่ไม่ใช้ แล้วก็มาพึ่งประชาชนทั่วไปให้แสดงปฏิกริยาทุกครั้ง
กรณีมาตราอัปยศ
112 สภาก็ไม่กล้าทำอะไรเลย ปล่อยให้ประชาชนทำกันไปเอง
ส่วนเรื่องการถ่วงดุลย์อำนาจของศาลรัดทำมะนวย ถ้าให้ประชาชนเข้าชื่อถอดถอน เรื่องก็จะไปตกที่วุฒิสภาซึ่งราวครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้งของพวกตุลาโกงอยู่ดี

การวางหมากหรือขุดหลุมล่อ
เพื่อหาเรื่องยุบพรรค


ผลของการปล่อยให้คำสั่งศาลรัดทำมะนวยดำรงอยู่ต่อไปโดยไม่มีการตอบโต้ เท่ากับยอมให้ศาลรัดทำมะนวยยึดอำนาจได้สำเร็จ  และถ้าศาลรัดทำมะนวยกล้าวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัดทำมะนวยเพื่อตั้ง สสร. เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขหรือเป็นการได้มาซึ่งอำนาจโดยวิถีทางที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แล้วล่ะก็.. ผลทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นตามมา ก็คือ การยุบพรรค และส.ส.ที่ยกมือลงมติเห็นชอบกับร่างนี้ ก็จะกลายเป็นบุคคลที่ล้มล้างการปกครอง นอกจากถูกเพิกถอนสิทธิ ยังอาจถูกร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีฐานกบฏ ตามมาตรา 113 ของประมวลกฎหมายอาญา
นี่เป็นค่ายกลหรือหลุมพรางที่ถูกวางไว้  กลายเป็นชนักที่ปักหลังนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ไม่ให้ก้าวเดินได้โดยสะดวก
ศาลรัดทำมะนวยได้เข้าแทรกแซง ก้าวก่าย ไม่ใช่แค่ในแดนอำนาจของรัฐสภาหรือนิติบัญญัติเท่านั้น แต่ได้เข้าไปถึงในแดนอำนาจของการสถาปนาและแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ใหญ่กว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นเพียงอำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญเท่านั้น

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบว่ากฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่ก้าวล้ำแดนเข้าไปคุมอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
อำนาจที่รัฐสภาใช้ในการแก้ไขหรือยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ แต่มันเป็นอำนาจที่ใหญ่กว่า คือเป็นอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญอีกรูปแบบหนึ่ง
สมาชิกรัฐสภาต้องตระหนักว่าอำนาจของรัฐสภาที่ใช้ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ที่มีศักดิ์สูงกว่าอำนาจ นิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ และสมาชิกรัฐสภาจะยอมให้ศาลรัดทำมะนวยยึดอำนาจการสถาปนารัฐธรรมนูญต่อไปอีก ไม่ได้โดยเด็ดขาด


............
............

ไม่มีความคิดเห็น: