วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้ทันเจ้าของคอกม้า ตอนกษัตริย์ก็คือทรราชโดยธรรมชาติ นั่นเอง C2 SO 08



ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบได้ที่ :  http://www.4shared.com/mp3/9Cd2xbAI/See_Through_Stable_Owner_08.html
หรือที่ : http://www.mediafire.com/?pov5gf0a5slrugk


รู้ทันเจ้าของคอกม้า
ตอนกษัตริย์ก็คือทรราชโดยธรรมชาติ นั่นเอง


บทเรียนการปรับตัว
ของสถาบันกษัตริย์ทั่วโลก

ประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ หรือมีประมุขที่สืบทอดทางสายโลหิต ปัจจุบันเหลืออยู่ 27 ประเทศแต่ถ้ารวมทั้งประเทศเล็กๆ น้อยๆ ก็นับได้ 40 ประเทศ โดยมีจำนวนลดลงอย่างมาก ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา



กษัตริย์ยุโรป 8 พระองค์ที่วังวินเซอร์ในงานศพเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เมื่อปี 2453
ในยุโรป ช่วงปี 2461 มีเพียง 3 ประเทศที่เป็นสาธารณรัฐ คือ ฝรั่งเศส โปรตุเกส และสวิสเซอร์แลนด์ ที่เหลือมีกษัตริย์ทั้งหมด หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ปรากฏว่าในยุโรปมีประเทศที่เป็นสาธารณรัฐเพิ่มขึ้นเป็นมี 15 รัฐ ส่วนอีก 15 รัฐมีกษัตริย์  หลังจากนั้นตั้งแต่ปี 2474  ประเทศต่างๆ ในยุโรปเป็นสาธารณรัฐมากขึ้น อย่างสเปนก็เอาสาธารณรัฐกลับมา ปัจจุบันก็เอากษัตริย์กลับมาอีก ส่วนอิตาลีมีการทำประชามติผลปรากฏว่าไม่เอากษัตริย์  พวกยุโรปตะวันออกนั้นก็เลิกสถาบันกษัตริย์หมด ปัจจุบันเหลือ 10 ประเทศที่มีกษัตริย์ในยุโรป  คือ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน อังกฤษ สเปน ลิกเตนสไตน์ โมนาโค
ประเทศที่รื้อฟื้นเอาสถาบันกษัตริย์กลับคืนมาก็มีสเปนและกัมพูชา ต้องยอมรับว่าโดยธรรมชาติแล้วสถาบันกษัตริย์มักเป็นอุปสรรคของประชาธิปไตย เป็นกาฝากของสังคม เหตุที่บางประเทศยังรักษาสถาบันกษัตริย์เอาไว้ได้ ก็เพราะสถาบันกษัตริย์ในประเทศนั้นๆ รู้จักปรับตัว ขณะที่ประเทศที่สถาบันกษัตริย์ปรับตัวไม่ได้ ก็มีอันต้องยกเลิกสถาบันกษัตริย์
 


การปรับตัวในแบบต่างๆ
ของสถาบันกษัตริย์

ในบางประเทศสถาบันกษัตริย์ต่อสู้กับรัฐสภามาตลอด ผลัดกันแพ้ชนะ สุดท้ายก็ยอมปรับตัวเป็นระบอบรัฐสภาที่มีกษัตริย์เป็นประมุขอย่างเต็มรูปแบบ เช่น อังกฤษ  สวีเดน นอร์เวย์  
เดนมาร์ก เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์


กษัตริย์นอรเวย์ สวีเดนและเดนมาร์ค ร่วมประชุมที่เมืองมัลโม สวีเดน ในปี 2457
ประเทศสแกนดิเนเวียทั้ง 3 ประเทศคือนอรเวย์ สวีเดน และเดนมาร์ค มีสถาบันกษัตริย์มายาวนาน มีการทำประชามติให้ประชาชนเลือกว่าจะเอากษัตริย์หรือไม่ เช่น นอร์เวย์ พอได้คะแนนชนะท่วมท้นยิ่งมีความชอบธรรมสูง  ขณะที่กษัตริย์แต่ละพระองค์ทรงครองราชย์ยาวนาน  การเปลี่ยนองค์กษัตริย์ก็ไม่มีปัญหารัชทายาท กษัตริย์พยายามทำตัวเป็นกษัตริย์ของประชาชน มีความเป็นมนุษย์คลุกฝุ่นติดดินเหมือนประชาชนทั่วไป กษัตริย์ในสวีเดนก็ได้รับความนิยมขึ้นมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเป็นที่ชัดเจนว่าพระองค์ไม่เอาสงคราม

วิธีการยินยอมของสถาบันกษัตริย์



สส.เลนทัล (Lenthall) ยกเอกสิทธิ์ของสภา
โต้แย้งกษัตริย์ชาร์ลที่ 1 ของอังกฤษปี 2185
กษัตริย์อังกฤษเคยสู้กับสภาแล้วแพ้ ก็เลยต้องถอยออกไปจนกลายเป็นจารีตประเพณีว่ากษัตริย์มีอำนาจแค่ไหนเพียงไร
บางประเทศใช้การออกเสียงประชามติ ประเทศที่ออกเสียงประชามติแล้วยืนยันให้มีกษัตริย์ต่อ เช่น นอร์เวย์ เมื่อปี
2357 เบลเยียม ปี 2373 ลักเซมเบิร์ก ปี 2458
บางประเทศสถาบันกษัตริย์ปรับตัวแล้วอยู่ต่อได้ โดยไม่ได้เต็มใจที่จะปรับ แต่ถูกบังคับให้ปรับตัว เพราะแพ้สงคราม เช่น ญี่ปุ่น บางประเทศสถาบันกษัตริย์กลับขึ้นมาใหม่ได้ และช่วยในเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยด้วย เช่น สเปน


กรณีที่ปรับตัวไม่ได้

ประเทศที่สถาบันกษัตริย์ปรับตัวไม่ได้แล้วต้องสูญหายไปจากแผ่นดินนั้นเลย  เหตุผลหลักๆ เป็นเพราะสถาบันกษัตริย์ไปเหนี่ยวรั้งขัดขืนการเปลี่ยนแปลง

ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐแล้วกษัตริย์ก็กลับมาอีก เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จนสุดท้ายปี 2413 สาธารณรัฐที่ 3
ระบบกษัตริย์ก็หายไปหมดเลย เพราะฝ่ายนิยมเจ้าดื้อรั้นจะเอาระบอบกษัตริย์แบบเดิม

โปรตุเกส อิตาลี ก็เป็นเช่นเดียวกัน



กษัตริย์คอนสแตนติน (Constantine) องค์สุดท้ายของกรีซ
กรีซ เป็นประเทศที่กษัตริย์หลายพระองค์หลายช่วงเป็นตัวขัดขวางระบอบรัฐสภา จนต้องมีการออกเสียงลงประชามติ ประชาชนได้ออกเสียงไม่เอากษัตริย์ ด้วยคะแนนถล่มทลาย กว่า 70% ให้เป็นสาธารณรัฐ เมื่อปี 2518 
บางประเทศสถาบันกษัตริย์ล่มสลายไปเพราะสงครามโลก เช่น เยอรมนี ออสเตรีย ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
บางประเทศสถาบันกษัตริย์หายไปเพราะได้ประกาศอิสรภาพแล้ว เช่น ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์

ปัจจัยสำคัญที่ชี้ขาดความอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ในยุคสมัยปัจจุบันคือ การปรับตัวให้เข้ากับระบอบประชาธิปไตย ถ้าเลือกการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สถาบันการเมืองทั้งหมดซึ่งรวมถึงสถาบันกษัตริย์ด้วย ต้องปรับตัวให้เข้ากับระบอบประชาธิปไตย ถ้าปรับตัวไม่ได้สถาบันนั้นก็จะมีอันต้องสูญหายไปเอง ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ประเทศที่สถาบันกษัตริย์กำลังขัดขืน เหนี่ยวรั้ง ต่อสู้กับระบอบประชาธิปไตย โดยมีประเทศที่ชาวโลกกำลังเพ่งมองอยู่
2
แห่งเท่านั้น คือ โมรอคโค กับไทย โดยกำลังดูกันว่าประเทศไหนจะเปลี่ยนเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้อย่างสมบูรณ์ก่อนกัน

วิธีการทำให้สถาบันกษัตริย์
อยู่ร่วมกับระบอบประชาธิปไตย


วิธีการที่คณะราษฎรเคยทำมาก็โดยการบัญญัติรัฐธรรมนูญให้กษัตริย์ลงไปอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยจำกัดอำนาจของกษัตริย์ไว้ให้ชัดเจน กษัตริย์ไม่สามารถกระทำการใดๆได้เองตามลำพังและต้องมีคนลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและคนลงนามคือคนรับผิดชอบ  การใช้สิทธิของกษัตริย์ในการให้คำปรึกษา ตักเตือน และให้กำลังใจแก่รัฐบาล จะต้องเป็นความลับ ระหว่างรัฐบาลกับสถาบันกษัตริย์เท่านั้น สาธารณชนไม่มีสิทธิรู้ และรัฐบาลมีสิทธิไม่เห็นด้วยกับสถาบันกษัตริย์ได้ เพราะรัฐบาลเป็นคนที่ต้องรับผิดชอบ
ทั้งเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดนและโดยเฉพาะที่อังกฤษล้วนต้องการมุ่งเน้นการจำกัดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น แต่ของไทยกลับต้องการเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์

เช่น รัฐธรรมนูญไทยให้กษัตริย์มีอำนาจวีโต้หรือยับยั้งกฎหมายได้ชั่วคราว ถ้าสภายังยืนยันก็ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้  ขณะที่รัฐธรรมนูญของประเทศอื่นๆ จะไม่เขียนไว้ เพราะถือเป็นธรรมเนียมว่ากษัตริย์ต้องทรงเห็นชอบทุกฉบับ เพราะเมื่อสภาผ่านกฎหมาย กษัตริย์ต้องลงนามอย่างเดียว จะไม่มีการวีโต้หรือยับยั้งเลย ประเทศไหนเขียนเรื่องวีโต้แสดงว่าให้อำนาจกษัตริย์ในการยับยั้ง แต่ถ้าไม่เขียนเลยแสดงว่าไม่มีอำนาจนั้นเลย ปัจจุบันมีไทยกับนอร์เวย์เท่านั้นที่บัญญัติให้กษัตริย์วีโต้ได้ เคยมีกรณีที่กษัตริย์เบลเยียมไม่อยากลงนามในกฎหมายทำแท้งด้วยความเป็นแคทอริก รัฐบาลเลยให้กษัตริย์ไปพักร้อนสามวัน โดยถือว่าอยู่ในภาวะครองราชย์ไม่ได้เป็นการชั่วคราว แล้วตั้งผู้สำเร็จราชการแทนเพื่อลงนามประกาศใช้กฎหมาย โดยไม่ต้องไปขัดใจกษัตริย์เบลเยียมให้ลงนาม และกฎหมายก็ได้ถูกประกาศใช้เช่นกัน

ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญไทยเขียนชัดว่าถ้ากษัตริย์ยับยั้ง สภาสามารถยืนยันประกาศใช้ได้ แต่นักวิชาการไทยสายเจ้ากลับอธิบายว่า เป็นธรรมเนียมประเพณีทางรัฐธรรมนูญว่า ถ้ากษัตริย์วีโต้ ก็ให้ร่างนั้นตกทันที ทั้งๆที่มันขัดกับบทบัญญัติ ถ้าจะเอาอย่างนั้นก็ต้องแก้ตัวบท แต่ก็ไม่กล้าเขียน เพราะเขียนเมื่อไรก็จะไม่เป็นประชาธิปไตยทันที และยังบอกอีกว่า ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญนี้เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้ตามพระบรมเดชานุภาพของแต่ละพระองค์
นอกจากนี้ยังอาจจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้สถาบันกษัตริย์มีหน้าที่ในการเคารพและพิทักษ์รัฐธรรมนูญ โดยก่อนที่กษัตริย์เข้ารับตำแหน่งต้องสาบานตนต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการ  เช่น รัฐธรรมนูญของสเปน เบลเยี่ยม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ได้บัญญัติไว้ชัด เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศจริงๆ แม้แต่กษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของรัฐก็ยังต้องสาบานตนและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการ และยังเป็นการป้องกันรัฐประหาร ไม่ให้มีการฉีกรัฐธรรมนูญ เพราะทหารต้องสังวรว่าแม้แต่ประมุขของประเทศก็ยังอยู่ใต้รัฐธรรมนูญเลย การล้มล้างรัฐธรรมนูญแล้วไปบีบบังคับให้กษัตริย์ต้องร่วมลงนามย่อมเป็นสิ่งที่ผิด ในกรณีที่กษัตริย์มีใจเป็นประชาธิปไตยก็ยังสามารถอ้างสถานะว่าตนในฐานะผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญที่ไม่อาจยอมรับการรัฐประหาร และประกาศให้ผู้ทำรัฐประหารเป็นกบฏ ดังเช่นกษัตริย์ฆวล คารอส ของเสปน  ซึ่งไม่ยอมรับรัฐประหาร 23 ก.พ. 2524

นายปรีดีเคยเล่าว่าในระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 มีข้อถกเถียงเรื่องการบัญญัติให้กษัตริย์สาบานตนก่อนรับตำแหน่ง แต่รัชกาลที่ 7 อ้างว่าไม่จำเป็นต้องเขียน เพราะเมื่อพระองค์พระราชทานรัฐธรรมนูญแล้ว ก็เท่ากับให้สัตยาธิษฐานเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ปรีดีถามต่อว่าถ้ากษัตริย์องค์ต่อไปจะทำอย่างไร รัชกาลที่ 7 ก็ตอบว่ามีความในพระราชปรารภที่ขอให้พระบรมวงศานุวงศ์สมัครสมานกับประชาราษฎร์ในอัน ที่จะรักษาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว  เจ้านายที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ ไป ก็เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นหลานของรัชกาลที่ 7 ก็ไม่เคยพิทักษ์ปกป้องรัฐธรรมนูญแม้แต่น้อย
การกำเนิดของระบบรัฐสภาประเทศไทยโดยคณะราษฎรก็คือการต่อสู้แย่งอำนาจการปกครองระหว่างระบอบเก่าที่กษัตริย์รวมอำนาจไว้ทั้งหมด มาเป็นระบอบที่อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรโดย สถาบันกษัตริย์เป็นเพียงประมุขของรัฐอย่างเดียว  ไม่ได้มีอำนาจบริหารประเทศอีกต่อไป  ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบโดยตรงต่อสภา โดยมาจากเสียงข้างมากในสภา บริหารประเทศโดยมีสภาทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล
  




การคุ้มครองประมุขของรัฐ
ประธานาธิบดี: ได้รับการคุ้มครองการกระทำในตำแหน่งหน้าที่ โดยไม่ถูกดำเนินคดีใดๆ ตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง เว้นแต่รัฐธรรมนูญกำหนดเป็นอย่างอื่น เช่น ถ้าละเมิดรัฐธรรมนูญ บกพร่องอย่างร้ายแรง โดยอาจกำหนดกลไกพิเศษ เช่น ให้สภาเป็นผู้กล่าวหา ใช้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลพิเศษที่ผสมผู้พิพากษากับนักการเมืองเพื่อพิจารณาคดี กรณีที่ประธานาธิบดีปฏิบัติหน้าที่แล้วผิดพลาดไม่ต้องรับผิด ประธานาธิบดีได้รับเอกสิทธิ์และการคุ้มกันในเรื่องที่เป็นการกระทำส่วนตัวตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง ไม่มีใครฟ้องร้องได้ โดยต้องรอให้พ้นจากตำแหน่งไปก่อน เพื่อรักษาเกียรติยศของประธานาธิบดี บางประเทศกำหนดให้ผู้ดำเนินคดีเรื่องส่วนตัวกับประธานาธิบดี ต้องขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎรก่อน เพราะประมุขของรัฐเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของรัฐ
กษัตริย์: จะมีเอกสิทธิ์คุ้มครองมากกว่า เป็นการมุ่งคุ้มครองตัวบุคคลที่เป็นกษัตริย์ ซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตยเพราะมันแสดงถึงความเป็นเทพเจ้า เหตุที่กษัตริย์ได้รับการคุ้มครองมากกว่าประธานาธิบดี เพราะสถาบันกษัตริย์เป็นตัวแทนความต่อเนื่องของรัฐ ตำแหน่งกษัตริย์มักไม่มีวาระการดำรงตำแหน่ง โดยมีกฎมณฑียรบาลเพื่อประกันความต่อเนื่องของกษัตริย์ จึงมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้กษัตริย์ไม่อาจถูกละเมิดได้  คือ 1.กษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบจากการกระทำใดๆ ของตนเลย คนที่รับผิดชอบคือรัฐมนตรีที่ลงนามสนองพระบรมราชโองการหรือลงนามกำกับนั่นเอง
2.กษัตริย์จะไม่ถูกดำเนินคดีใดๆ เลยทั้งทางแพ่งและอาญา จะจับกุมคุมขังกษัตริย์ไม่ได้ ในฝรั่งเศส เมื่อปี 2335 มีการจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไปขังคุก แต่รัฐธรรมนูญปี 2334 บัญญัติว่าห้ามดำเนินคดีกับกษัตริย์ ในที่สุดจึงต้องปลดให้เป็นคนธรรมดาก่อน
กรณีที่กษัตริย์ปฏิบัติหน้าที่ลงพระปรมาภิไธย จะมีรัฐมนตรีที่ลงนามรับสนองฯรับผิดชอบทั้งหมด เช่น มีการประกาศสงคราม แล้วต่อมาประเทศนั้นแพ้สงคราม อาจมีการดำเนินคดีกับสมาชิกในรัฐบาลนั้นในฐานะอาชญากรสงคราม แต่กษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะมีคนลงนามรับสนองฯ 

ในกรณีที่กษัตริย์กระทำการในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่เลย เช่น กู้เงินมาแล้วไม่จ่าย ก็ให้ฟ้องพระราชวัง พระคลังข้างที่ หรือหน่วยงานที่ดูแลกองทรัพย์สินนั้น ไม่ใช่ฟ้องที่ตัวกษัตริย์ แต่ถ้ากษัตริย์ทำผิดในทางอาญา เช่น กษัตริย์เอาปืนไปยิงคนตาย ขับรถชนคนตาย กลับไม่มีใครเสนอทางออกในเรื่องนี้ไว้เลย นับเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก สมมุติว่ากษัตริย์ภูมิพลใช้ปืนยิงรัชกาลที่
8
ก็คงไปฟ้องร้องกษัตริย์ภูมิพลไม่ได้ และคงต้องหาคนบริสุทธิ์มารับเคราะห์แทน   อย่างที่ได้ปรากฏให้เห็นกันอยู่
แต่โลกยุคปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก มีศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยธรรมนูญกรุงโรมที่ก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้บัญญัติว่า ถ้ากฎหมายหรือรัฐธรรมนูญของรัฐสมาชิกประเทศใด เขียนให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันใดๆแก่ประมุขของรัฐ ให้ถือว่าเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นหมดไป ในกรณีที่มาดำเนินคดีอาญาในศาลอาญาระหว่างประเทศ หลายประเทศถึงกับต้องแก้รัฐธรรมนูญให้ ประมุขของรัฐไม่ต้องรับผิด ไม่ถูกกล่าวหา ดำเนินคดีใดๆ เว้นแต่คดีเข้าสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ
นี่คือสาเหตุที่ทำให้ราชอาณาจักรไทยไม่ยอมให้สัตยาบรรณในสนธิสัญญาศาลอาญาระหว่าง ประเทศ เพราะศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีเอกสิทธิ์และความคุ้มกันให้ประมุขของรัฐ แต่ประเทศอื่นๆที่มีสถาบันกษัตริย์ก็ลงนามกันหมด เพราะเขามองว่า ไม่มีทางเลยที่กษัตริย์ของเขาจะไปกระทำผิดเข้าข่ายความผิดอาญาในนามส่วนตัว
กรณีกษัตริย์สละราชสมบัติกลายเป็นคนธรรมดาแล้วมีกษัตริย์องค์อื่นรับตำแหน่งต่อ  ฝรั่งเศสถือว่ากษัตริย์องค์เดิมกลายเป็นคนธรรมดาแล้ว จึงสั่งให้ประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่
16  แต่ของเบลเยียมถือเป็นเอกสิทธิ์ความคุ้มกันตลอดชีพ จะเอาการกระทำสมัยเป็นกษัตริย์มาฟ้องไม่ได้ แต่ถ้าสละราชสมบัติเป็นคนธรรมดาแล้วทำผิดก็ถูกดำเนินคดีได้แล้ว


พันโทโพยม จุลานนท์
ถ้าการกระทำนั้นเกิดขึ้นก่อนเป็นกษัตริย์ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันจะคุ้มกันอยู่หรือไม่ พ.ท.โพยม จุลานนท์ พ่อของ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ซึ่งตอนนั้นเป็น ส.ส.เพชรบุรี ได้กล่าวอภิปรายในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2492 ว่า ข้าพเจ้าใคร่จะขอตั้งข้อสังเกตอันหนึ่งว่า การสืบราชสันตติวงศ์นั้นย่อมจะสืบลงมาเป็นลำดับ แต่หากว่าในราชตระกูลนั้น บังเอิญท่านผู้นั้นได้กระทำผิดกฎหมายอาญาขึ้นก่อน แต่คดียังไม่ได้มีการฟ้องร้อง ถ้าบังเอิญได้ถูกสถาปนาขึ้นครองราชบัลลังก์แล้ว การฟ้องร้องการกระทำความผิดก่อนเสวยราชย์ก็ฟ้องร้องไม่ได้ เพราะเป็นพระมหากษัตริย์ เช่นนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่ามันขัดกัน
ในช่วงนั้นหลายฝ่ายเชื่อกันว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นคนยิงในหลวงรัชกาลที่
8 ในตอนเช้า และได้รับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ในตอนเย็น ในกรณีนี้ ก็น่าจะฟ้องร้องกษัตริย์ภูมิพลเป็นจำเลยข้อหาปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ได้ เพราะได้กระทำความผิดก่อนที่จะได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
ทั้งนี้โดยหลักการแล้วเอกสิทธิ์นี้คุ้มครองเฉพาะตัวพระมหากษัตริย์ตำแหน่งเดียวเท่านั้น ไม่ได้มุ่งหมายให้รวมถึงพระราชินี องค์รัชทายาท หรือบุคคลอื่นๆในราชวงศ์


องค์พระมหากษัตริย์ไม่อาจถูกละเมิด กล่าวหา ฟ้องร้องดำเนินคดีเลยก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขเหล่านี้ครบถ้วนหรือครบองค์ประกอบเสียก่อน
1. กษัตริย์ไม่กระทำการตามลำพัง โดยต้องมีคนลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเสมอ
2. อำนาจบริหารต้องเป็นเอกภาพ กษัตริย์อาจมีความเห็นแตกต่างจากรัฐบาลได้ แต่ความเห็นใดๆ ของกษัตริย์ต้องเป็นความลับ มีรัฐบาลเท่านั้นที่รู้ และรัฐบาลเป็นคนตัดสินใจว่าจะคล้อยตามหรือค้านก็ได้ เพราะรัฐบาลรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นเอง บางทีกษัตริย์อาจสู้กับรัฐบาลเวลาที่มีความเห็นไม่ตรงกัน โดยถึงขั้นขู่ว่าจะสละราชสมบัติ ซึ่งเป็นสภาวการณ์อันไม่พึงประสงค์
3. ไม่มีบุคคลใดรู้ว่ากษัตริย์คิดอะไรอยู่ กษัตริย์มีความเห็นได้ในทางการเมืองเพราะเป็นมนุษย์คนหนึ่ง แต่ทั้งหมดต้องเป็นความลับ บุคคลใดที่มาแอบอ้างว่าได้เข้าเฝ้ามาแล้ว ล้วนผิดธรรมเนียมประเพณีในประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยและมีกษัตริย์
4.
พระราชดำรัส พระราชหัตถเลขา การกระทำอื่นใดที่เกี่ยวพันกับประเด็นทางการเมืองทั้งหมดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี งานในทางส่วนพระองค์ทำได้ แต่กิจการที่เกี่ยวพันกับการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินต้องให้รัฐบาลให้ความเห็นชอบก่อนเสมอ
กรณีพระราชดำรัส รัฐบาลอาจร่างพระราชดำรัสให้กษัตริย์อ่านออกอากาศทางทีวีหรือวิทยุก็ได้ หรือกษัตริย์ร่างเองแล้วส่งให้รัฐบาลตรวจก่อนก็ได้


ดร.หยุด แสงอุทัย ได้เขียนไว้ว่า พระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียง พระมหากษัตริย์ก็ต้องทรงกระทำการตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพราะต้องมีผู้รับผิดชอบในพระราชดำรัส ส่วนที่ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงร่างเองแล้วส่งมาให้รัฐมนตรีเห็นชอบ หรือคณะรัฐมนตรีร่างไปทูลเกล้าฯ ถวาย ย่อมเป็นเรื่องภายในระหว่างพระมหากษัตริย์กับคณะรัฐมนตรี ... พระมหากษัตริย์จะไม่รับสั่งหรือกระทำการอื่นใดกับทูตานุทูตหากไม่ได้กระทำต่อหน้ารัฐมนตรี ..ส่วนปัญหาด้วยกิจการใดเป็นกิจการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินนั้น จะต้องระลึกถึงสถานะของพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของรัฐด้วย กิจการใดซึ่งสำหรับสามัญชนเป็นกิจการส่วนตัวโดยแท้ เช่น การสมรส สำหรับพระมหากษัตริย์ อาจถือว่าเป็นกิจการเกี่ยวกับราชการแผ่นดินก็ได้ และโดยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลอังกฤษจึงไม่เห็นชอบให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ 8 ทรงอภิเษกสมรสจนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ต้องสละราชสมบัติ
หลักการที่ว่ากษัตริย์ไม่อาจล่วงละเมิดได้ เนื่องจากในระบอบประชาธิปไตยถือว่ากษัตริย์จะไม่ทำผิดได้ เพราะกษัตริย์ไม่ได้ทำอะไรเลย
ดังนั้นถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ก็ควรต้องถูกดำเนินคดีได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานะทางอำนาจระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสภาผู้แทนราษฎร ถ้าฝ่ายราษฎรคุมอำนาจเหนือกว่าก็อาจจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าถ้ากษัตริย์ไม่กระทำการตามรัฐธรรมนูญอาจเป็นเหตุให้ถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้ และสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้วินิจฉัย พอฝ่ายประชาธิปไตยโดยคณะราษฎรได้ชัยชนะขาดลอยกลับไม่ได้บัญญัติมาตรานี้เอาไว้ เพราะมั่นใจว่าคงไม่มีกษัตริย์องค์ใดจะกล้าละเมิดรัฐธรรมนูญ เพราะจะถูกกดดันให้สละราชสมบัติ เช่น กรณีลักเซมเบิร์ก ปี
2462 หรือกรณีเบลเยี่ยมที่กษัตริย์พาประเทศเข้าสู่สงคราม ก็ถูกปลดแล้วตั้งคนอื่นเป็นกษัตริย์แทน

ฉะนั้น พระมหากษัตริย์ที่ดีในระบอบประชาธิปไตย หาใช่พระมหากษัตริย์ที่มีพระจริยวัตรดีงามทุ่มเททำงานหนักเพื่อราษฎร หาใช่พระมหากษัตริย์ที่ฉลาดปราดเปรื่องทรงพระอัจฉริยภาพในทุกๆด้าน หาใช่พระมหากษัตริย์ที่มีจิตใจเมตตามีคุณธรรมสูงส่งหรือเป็นแบบอย่างของความประหยัดมัธยัสถ์ แต่พระมหากษัตริย์ที่ดีในระบอบประชาธิปไตยต้องเป็นพระมหากษัตริย์ที่เคารพ และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น กษัตริย์ภูมิพลจึงไม่ใช่กษัตริย์ที่ดีในระบอบประชาธิปไตยแม้แต่น้อย แต่น่าจะเป็นแค่กษัตริย์ที่พยายามฟื้นฟูระบอบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากกว่า


การเคารพสักการะ
และล่วงละเมิดมิได้

ธรรมนูญการปกครองสยาม 27 มิ.ย.2475 ไม่มีบทบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แต่มีมาตรา 6 กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย เพราะนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ร่าง และทราบดีเรื่องผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จึงไม่ได้เขียนไว้ โดยเขียนเฉพาะเรื่องคดีอาญา


พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ต่อมาได้มีการเติมคำว่า เคารพสักการะ  กับ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในฐานะประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงเองว่า คำว่า เคารพสักการะ ได้ลอกมาจากญี่ปุ่นสมัยเมจิ ที่มีคำว่าเคารพ แต่ควรเติมคำว่า สักการะ เข้าไปด้วย โดยไม่มีการถกเถียงเรื่องนี้ แล้วก็ให้ผ่านสภาอย่างรวดเร็ว
พระยามโนปกรณ์อธิบายคำว่าผู้ใดจะละเมิดมิได้ ว่าหมายถึง ไปฟ้องร้องว่ากล่าวหาพระมหากษัตริย์ไม่ได้ เพราะรัฐบาลเป็นของพระเจ้าอยู่หัว ศาลก็ของพระเจ้าอยู่หัว พิจารณาตัดสินความในนามพระเจ้าอยู่หัว ถ้าไปฟ้องร้องท่านก็ดูตลก เป็นวิธีอธิบายความแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ในระบอบประชาธิปไตยต้องถือหลักว่าพระมหากษัตริย์ถูกละเมิดหรือถูกฟ้องร้องกล่าวหา ดำเนินคดีไม่ได้ เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ได้กระทำการใดๆโดยพระองค์เอง แต่มีรัฐมนตรีที่ลงนามสนองพระราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบและไม่ทรงแสดงความเห็นทางการเมืองต่อสาธารณะโดยเด็ดขาด

พอต่อมา เริ่มตั้งแต่
2492 ถึงปัจจุบัน จึงมีคำว่ากล่าวหาฟ้องร้องไม่ได้ โดยนักกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยอ้างว่าเขียนขึ้นมาเพื่อเพิ่มความชัดเจน  โดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้   ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้
แต่ในระบอบประชา ธิปไตยถือว่าการเคารพสักการะ เป็นแค่การถวายพระเกียรติแก่พระมหากษัตริย์ ไม่ใช่เป็นกฎเกณฑ์ที่มีบทลงโทษ เพราะกษัตริย์ต้องเป็นกลางทางการเมือง กษัตริย์ไม่ต้องรับผิด และไม่อาจถูกละเมิดได้ เพราะมีรัฐมนตรีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบ และการกระทำใดที่ไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการให้ถือเป็นโมฆะ
เนื่องจากระบอบประชาธิปไตย ยึดหลักว่า ความรับผิดชอบกับการใช้อำนาจเป็นของคู่กัน เมื่อมีอำนาจก็ต้องมีความรับผิดชอบตามมา ความรับผิดแสดงออกโดยให้คนวิจารณ์ ไม่ว่าจะเห็นชอบ เห็นต่าง หรืออาจฟ้องร้องดำเนินคดี เรียกค่าเสียหาย ปลดจากตำแหน่ง
ถ้าเราไม่ต้องการให้พระมหากษัตริย์ต้องมีความรับผิดชอบเช่นนี้ ก็ต้องทำให้พระองค์ไม่มีอำนาจ เมื่อไม่มีอำนาจก็รอดพ้นจากการติฉินนินทา ฟ้องร้อง ลงโทษ หรือปลดออกจากตำแหน่ง




มีประเทศประชา ธิปไตยที่ไหนในโลกนี้ที่มีกษัตริย์ แล้วกษัตริย์มีอำนาจมาก มีบทบาทมาก แล้วไม่ต้องรับผิดชอบ มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนที่กษัตริย์แสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ในที่ สาธารณะ มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนที่กษัตริย์มีทรัพย์สินมหาศาล มีธุรกิจ คำตอบคือไม่มี และการไม่มีสภาวะแบบนี้ทำให้ประชาธิปไตยยอมรับให้มีกษัตริย์อยู่ต่อไปได้

ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาสถาบันกษัตริย์ให้อยู่กับประชาธิปไตย ก็คือ การทำให้กษัตริย์มีอำนาจให้น้อยที่สุด ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าเรื่องโบราณที่ล้าสมัยมาก เพราะเรื่องพวกนี้ประเทศต่างๆทั่วโลกเขาลงตัวได้ข้อสรุปกันไปหมดแล้ว ประเทศไหนที่ต้องมานั่งพูดเรื่องบทบาทสถาบันกษัตริย์ ต้องมานั่งกังวลเรื่องรัชทายาท แสดงว่าประเทศนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย 
แต่ทุกวันนี้ที่ประเทศไทยเราต้องมาพูดเรื่องเชยๆ แบบนี้เพราะเราจำเป็นต้องอธิบายหลักการที่ถูกต้อง หลักการเหล่านี้ไม่ใช่ของใหม่ หลัง 2475 พูดกันมาตลอด แต่ถูกทำให้ลืมและถูกครอบงำด้วยความคิดที่โบราณดักดานย้อนยุคแม้ในยุคสมัยปัจจุบัน จึงต้องรื้อฟื้นหลักการในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาพูดกันใหม่
นายนิวัติ ศรีสุวรนันท์
 ส.ส. จังหวัดร้อยเอ็ด ได้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ในการร่างรัฐธรรมนูญปี 2492 ไว้ว่า ถ้าประมุขของประเทศ โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์มีอำนาจมากขึ้นเท่าใด ความไม่สมบูรณ์แห่งประชาธิปไตยก็มีมากขึ้นเท่านั้น ถ้าหากว่าองค์พระมหากษัตริย์หรือประมุขของประเทศได้อำนาจไปแต่น้อย ความเป็นประชาธิปไตยก็สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  

ระบบรัฐสภา
ในระบอบประชาธิปไตย




กษัตริย์จอร์ชที่ 6 ของอังกฤษ King George VI
ถือกำเนิดในอังกฤษหลังเกิดการปฏิวัติปี  2431 รัฐสภายึดอำนาจการออกกฎหมายมาจากกษัตริย์ มีการเอากษัตริย์เยอรมันคือพระเจ้าจอร์จที่ 6 (King George 6) จากราชวงศ์ฮันโนเวอร์มาปกครอง และด้วยความแตกต่างทางด้านภาษา ทำให้กษัตริย์ไม่เข้ามายุ่งกับการปกครองมากนัก และค่อยๆ ลดบทบาทลงไป ทำให้อำนาจอยู่ที่สภามากขึ้นและตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง มีเสถียรภาพ

ส่วนรัฐสภาที่ฝรั่งเศส ไม่ค่อยมีเสถียรภาพเพราะส่วนใหญ่ยังเป็นรัฐบาลผสม ต่อมาจึงมีคนคิดกลไกที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็ง เช่น การห้ามเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจบ่อยเกินไป หากจะอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกต้องเสนอชื่อผู้ชิงตำแหน่งนายก มีการแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้งให้เป็นแบบบัญชีรายชื่อ เพื่อทำให้เป็นระบบสองพรรคมากขึ้น โดยเริ่มใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่
2  เช่น ในเยอรมนี และฝรั่งเศส

ประเทศไทยได้วางระบบสร้างรัฐบาลให้เข้มแข็งในรัฐธรรมนูญ
2540 เพื่อให้รัฐสภามีเสถียรภาพ เช่น ให้มีระบบบัญรายชื่อโดยต้องได้คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 5% ในกรณีขอเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องมีส.ส.ร่วมลงชื่อไม่น้อยกว่า 2 ใน 5
ของสภาและต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยพวกนักเขียนรัฐธรรมนูญเชื่อว่าจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ของฝ่ายกษัตริย์ได้เป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ
แต่กลายเป็นว่าคุณทักษิณได้ตั้งพรรคไทยรักไทยโดยได้รับประโยชน์ระบบรัฐสภาที่เข้มแข็งและเป็นพรรคการเมืองที่มีนโยบายคุกคามชนชั้นนำเก่าที่พึ่งพิงระบอบกษัตริย์ จึงทำให้บรรดานักร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นต้นคิดริเริ่มต้องพากันนิ่งเงียบ ไม่มีใครยอมพูดถึงเจตนารมณ์ของการสร้างระบบรัฐสภาให้เข้มแข็งอีกเลย

รัฐสภาไทยมีจุดกำเนิดจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพื่อยึดอำนาจการออกกฎหมายจากกษัตริย์ มาไว้ที่รัฐสภา ใน 15 ปีแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475  ยังให้รัชกาลที่ 7 มีอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย คล้ายกับฝรั่งเศสช่วง 2334  ซึ่งเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ สภามีหน้าที่ออกกฎหมาย แต่กษัตริย์ก็ยับยั้งกฎหมายต่างๆ เป็นปี จนนำมาสู่การเปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐในที่สุด ตัวอย่างเช่น กฎหมายถอนสัญชาติ และยึดทรัพย์สินของเจ้าฝรั่งเศส แต่กษัตริย์ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมเซ็นให้ เช่นเดียวกับรัชกาลที่  7 ที่ยับยั้ง พรบ. อากรมรดก การแก้ไขประมวลอาญาประหารชีวิต ซึ่งรัชกาลที่  7 ต้องการให้นักโทษมีสิทธิถวายฎีกาต่อตนเองได้ เพื่อให้กษัตริย์ยังเป็นเจ้าของชีวิต


พันเอก พระยาพหล พลพยุหเสนา
เริ่มตั้งแต่การเปิดสภาครั้งแรก เมื่อ วันที่ 28 มิ.ย. 2475 พระยาพหลได้ทำจดหมายถึงรัชกาลที่ 7 ให้พระองค์ไปตักเตือนคนที่ยังคิดร้ายต่อคณะราษฎร ในขณะเดียวกันรัชกาลที่ 7 ก็ทรงขอให้คณะราษฎรปล่อยตัวสมาชิกราชวงศ์ที่ยังถูกกักขังอยู่ทั้งหมด พระยาพหลก็ได้ขอให้พระองค์และสมาชิกราชวงศ์คนอื่นๆ สาบานว่าจะไม่ทำร้ายคณะราษฎรไม่ว่าในทางใดๆ 
ในช่วงแรกของการมีรัฐสภา คณะราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการที่ออกกฎหมายมาตราต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้ระบอบใหม่ มีการออกฎหมายยกเลิกองค์ประกอบของระบอบเก่า เช่น ยกเลิกองคมนตรี ยกเลิกอภิรัฐมนตรีสภา ออกพรบ. ล้างมลทินให้กับคณะรศ. 130  และยกเลิกการปรับโทษตามศักดินา นอกจากนี้ยังได้โอนกรมต่างๆ เช่น กรมตรวจเงินแผ่นดิน กรมร่างกฎหมายให้มาอยู่ใต้สังกัดคณะกรรมการราษฎรด้วย

พระยามโนปกรณ์ ได้ทำการรัฐประหารโดยการปิดสภาในปี 2476 แต่คณะราษฎรที่นำโดยพระยาพหล สามารถยึดอำนาจกลับมาได้ และสภาได้ร่างพรบ. ป้องกันรักษารัฐธรรมนูญปี 2476 เพื่อป้องกันการล้มล้างรัฐธรรมนูญอีก จากนั้น นายปรีดี พนมยงค์ ก็ได้มีบทบาทผลักดันพรบ. ต่างๆ ที่ส่งเสริมรากฐานของระบอบประชาธิปไตย เช่น พรบ. ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พรบ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และการสร้างกระทรวงวัง เพื่อให้วังมาอยู่ใต้การดูแลของรัฐบาล นอกจากนี้ ยังมีการออกพรบ. อากรมรดก ที่จัดการกับทรัพย์สินของกษัตริย์ในระบอบเก่า ออกพรบ . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ออกประมวลกฎหมายครบทั้ง 6 ฉบับ ผลงานของรัฐสภาในช่วงแรก จึงเป็นการต่อสู้กับระบอบกษัตริย์ และสร้างรากฐานให้ระบอบใหม่มีเสถียรภาพ

ในช่วงแรกของการใช้ระบบรัฐสภาปี
2475 - 2476 ได้มีการพยายามยื้อยุดรักษาอำนาจโดยฝ่ายระบอบเก่า เช่น การเติมคำว่า ชั่วคราว ท้ายรัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิ.ย. 2475  การส่งฝ่ายเจ้าเข้ามาร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร  การตั้งสมาชิกสภาที่มาจากการแต่งตั้ง การยับยั้งกฎหมายที่คุกคามต่อระบอบเก่า และเมื่อถึงจุดหนึ่ง รัชกาลที่ 7 ก็สละราชสมบัติในปี 2477



สฤษดิ์ ธนะรัชต์
อย่างไรก็ตามอุดมการณ์และเจตนารมณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในรัฐสภา ได้ถูกทำให้พร่าเลือนนับตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์  2501 เป็นต้นมา เนื่องจากบทบาทของรัฐสภาหมดไป หรือมีอย่างขาดๆหายๆ องค์ประกอบของรัฐสภาจากนั้นมาถูกยึดครองโดยนักธุรกิจ ทหาร ข้าราชการเสียเป็นส่วนมาก อีกทั้งรัชกาลที่  7 ก็ถูกสถาปนาบทบาทว่าเป็นผู้มอบประชาธิปไตย บทบาทของสภาถูกลดทอนให้เป็นเพียงกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ไม่เหลืออุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน ต่างไปจากรัฐสภาในยุโรป ที่เป็นฐานอำนาจสำคัญในการต่อสู้กับสถาบันกษัตริย์อย่างยาวนาน ในขณะที่รัฐสภาไทยมีบทบาทนี้เพียง 15 ปี

ความแนบเนียนแฝงเร้น
ของสถาบันกษัตริย์ไทย

นับว่าเป็นความชาญฉลาดของชนชั้นนำในระบอบเก่าของไทยที่ไม่เปิดหน้าสู้อย่างชัดเจน เนื่องจากได้เรียนรู้บทเรียนจากอดีตว่า หากเปิดหน้าสู้จะต้องสูญเสียมาก เช่น การสละราชสมบัติของรัชกาลที่  7 เช่นเดียวกับการต่อสู้ของสถาบันกษัตริย์ในยุโรปกับรัฐสภา ที่หากพ่ายแพ้ ก็ต้องยอมสละอำนาจกลายเป็นแบบสาธารณรัฐ เพราะฉะนั้นพวกเจ้าไทยจึงใช้วิธีส่งตัวแทนของตนเองเข้าไปอยู่ในระบบแบบใหม่ จึงได้มีพรรคประชาธิปัตย์เกิดขึ้น มีวุฒิสภาเกิดขึ้น แล้วส่งคนของตัวเองเข้าไปอยู่ในวุฒิสภา แล้วก็วางบทบาทให้พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง 
คำว่าเหนือการเมืองไม่ได้หมายความว่า พ้นไปจากการเมือง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่กระทำการใดๆทางการเมืองเลย แต่ความเป็นจริงคือเหนือทุกสถาบันทางการเมืองในประเทศไทย คืออยู่สูงที่สุด คือให้อยู่เหนือรัฐธรรมนูญขึ้นไปอีก
ในขณะเดียวกันพอพูดคำว่าการเมือง ก็มุ่งเป้าการวิจารณ์โจมตีไปที่นักการเมืองในรัฐสภา และในคณะรัฐบาล ส่วนตัวสถาบันกษัตริย์ก็กลายเป็นสิ่งบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งๆที่สถาบันกษัตริย์ยังมีบทบาททางการเมือง โดยใช้วิธีแทรกแซงผ่านธรรมเนียมปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ผ่านบารมี ผ่านจารีตประเพณี และข้อแก้ตัวสารพัด
 
โดยอาศัยรูปแบบของระบอบรัฐสภาภายใต้จิตวิญญาณของระบอบเก่า ในชื่อของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กลายเป็นสถาบันทางการเมืองที่เอาไว้อวดชาวโลกว่าประเทศไทยก็เป็นประชาธิปไตยเหมือนกัน


ตัวแทนคณะราษฎรเยือนจังหวัดตรัง 29 มีนาคม 2477
รัฐสภาไทยในสมัย 2475 เป็นผู้คุมอำนาจบริหารงานทั้งหมด มีอำนาจออกกฎหมาย รวมทั้งอำนาจตุลาการด้านอาญาบางส่วนว่าด้วยของการทำความผิดของกษัตริย์ มีอำนาจตีความรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการให้ความเห็นชอบต่อการแต่งตั้งกษัตริย์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และการแก้ไขกฎมณเฑียรบาล
แต่รัฐสภาไทยในยุคหลังๆ ไม่กล้าแตะต้องรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ในทุกกรณี เนื่องจากความคิดนิยมกษัตริย์ได้เข้าครอบงำอย่างแน่นหนาแล้ว

นักกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พยายามอธิบายว่า

1. กษัตริย์อยู่เหนือการเมือง พ้นไปจากการเมือง
2. แต่กษัตริย์ก็มีพระราชอำนาจบางประการ และไม่ต้องรับผิดชอบ
3. 24 มิถุนายน 2475 ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่จากระบอบเก่าไปสู่ระบอบใหม่ แต่เป็นการแย่งชิงอำนาจจากกษัตริย์ แล้วนำมาใช้ในทางที่ผิดจนเกิดวงจรอุบาทว์ เกิดรัฐประหารบ่อยครั้ง
4.
พระมหากษัตริย์เป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน

นักกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น นายวิษณุ เครืองาม นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นพวกที่เติบโตมาในช่วงปี
2510 ในสมัยที่ระบอบเผด็จการสฤษดิ์ – ถนอม - ประภาส กำลังดำเนินกลไกปลูกฝังอุดมการณ์กษัตริย์นิยม จึงไม่เกิดความรู้สึกผูกพันกับคณะราษฎร เมื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศกลับมา ก็มาทำงานให้กับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีนักกฎหมายปีกอนุรักษ์นิยมซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับคณะราษฎรอย่าง มรว.เสนีย์ ปราโมช นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายสมภพ โหตระกิตย์  นายอดุล วิเชียรเจริญ นายมีชัย ฤชุพันธ์  นายอมร จันทรสมบูรณ์ เป็นปรมาจารย์ผู้อาวุโส นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ยืนยันว่ากษัตริย์ของไทยไม่ได้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของชาติเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์รวมของชาติ ที่มีบทบาททางสังคมอย่างแท้จริงในการแก้ปัญหาให้ราษฎรส่วนใหญ่ กษัตริย์ไทยยังมีพระราชอำนาจทางกฎหมายมากกว่ากษัตริย์อังกฤษมาก กษัตริย์ไทยคือสถาบันที่เชื่อมโยงความเป็นรัฐชาติไว้ โดยมีกำเนิดและเคียงคู่ประเทศไทยมาโดยตลอดตั้งแต่โบราณ จวบจนปัจจุบัน สถาบันกษัตริย์จึงเป็นสถาบันเดียวที่มีความต่อเนื่องมาตลอด
ทั้งยังได้สร้างทฤษฎีว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์และประชาชน ซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นที่ประชาชนเท่านั้นที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

บวรศักดิ์อ้างประเพณีในสังคมวัฒนธรรมไทยที่ให้อำนาจอธิปไตยอยู่ที่กษัตริย์ เมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง กษัตริย์ก็สละพระราชอำนาจนั้นให้ประชาชนทั้งประเทศด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญ แล้วลดพระองค์ลงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังทรงใช้อำนาจนั้นแทนประชาชน ดังนั้นเมื่อมีการรัฐประหารเลิกรัฐธรรมนูญ อำนาจอธิปไตยก็ต้องกลับคืนไปที่กษัตริย์ผู้ทรงเป็นเจ้าของเดิม รัฐประหารเป็นเรื่องภายในประเทศ เพราะระดับสูงสุดคือสถาบันกษัตริย์ยังดำรงอยู่ และยังทรงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่กลับคืนมาเป็นของพระองค์ด้วย ส่วนคณะรัฐประหารไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตย หากแต่มีอำนาจปกครองบ้านเมืองในเวลานั้นเท่านั้น และเมื่อคณะรัฐประหารประสงค์จะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เมื่อจัดทำแล้วเสร็จ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อขอให้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อลงพระปรมาภิไธยก็เท่ากับว่าพระมหากษัตริย์สละอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาที่ประชาชนอีกครั้งหนึ่ง



พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะรักษาพระนคร
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ เมื่อวันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2475 อำนาจอยู่ที่คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร แล้วก็มอบอำนาจนั้นให้ประชาชน ตามมาตรา 1 ของธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม 27 มิถุนายน 2475 ที่บัญญัติว่า อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย การที่อ้างกันว่า กษัตริย์มอบอำนาจให้ประชาชนจึงเป็นเรื่องโกหก
ประกาศคณะราษฎรยังได้เขียนไว้ว่า
 “ ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา


กล่าวคือ เมื่อคณะราษฎรยึดอำนาจไว้ได้แล้วก็รอให้กษัตริย์ตอบรับ การตอบกลับมาเป็นกษัตริย์และยอมลงนามในธรรมนูญการปกครอง 2475 ก็แสดงว่า กษัตริย์ได้ยอมตามคณะผู้ก่อการแล้ว คือ ยอมเปลี่ยนสถานะของตนจาก ล้นพ้น มาเป็น กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ เปลี่ยนแปลงตนเองจากองค์อธิปัตย์ มาเป็น สถาบันการเมืองหนึ่งที่รัฐธรรมนูญอนุญาตให้มี
ส่วนการที่คณะราษฎรต้องไปขอนิรโทษกรรมจากรัชกาลที่
7 นั้น ก็เป็นแค่การขอขมาผู้อาวุโสกว่าต่อการที่ได้กล่าววาจาล่วงเกินกันไปตามธรรมเนียมประเพณีไทยเท่านั้นเอง

อำนาจสูงสุด
เป็นของประชาชนเสมอ

ตามหลักการในระบอบประชา ธิปไตย ถือว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนเสมอ เพียงแต่ว่าในบางยุคบางสมัยอำนาจนั้นอาจถูกแย่งชิงไป หรือประชาชนยอมมอบอำนาจนั้นให้แก่ใครเป็นการเฉพาะ ดังนั้นประชาชนจึงเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง  การอ้างว่ากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ปกครอง มานมนานกาเล สังคมไทยไม่เคยขาดสถาบันกษัตริย์เลย จึงเป็นแค่การอ้างตามความคิดของพวกนิยมระบอบกษัตริย์ แต่มิใช่หลักการของระบอบประชาธิปไตย เพราะสถาบันกษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติและโดยตัวของมันเอง โดยไม่ต้องพิจารณาเลยว่าการกระทำของกษัตริย์หรือการบริหารราชการแผ่นดินของกษัตริย์นั้นมีความผิดทางอาญาหรือไม่ กษัตริย์เป็นทรราชไม่ใช่เพราะความผิดจากการบริหารราชการแผ่นดินของกษัตริย์ การที่กษัตริย์ยึดครองอำนาจสูงสุดของประชาชนไปใช้เองย่อมถือเป็นอาชญากรรมต่อประชาชนอยู่แล้ว ประชาชนจึงย่อมมีสิทธิสมบูรณ์ในการลุกขึ้นสู้และติดอาวุธ   ไม่มีกษัตริย์ที่สามารถครองราชย์ได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะกษัตริย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นกบฏและเป็นผู้แย่งชิงอำนาจของประชาชนไปครอบครองด้วยกันทั้งสิ้น


ประะกาศของคณะราษฎรยังได้ย้ำว่า ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศของเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน ก็เอามาจากราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง

อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของประชาชนเสมอ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตลอดกาล เพียงแต่ว่าบางช่วงบางตอน ถูกฉกฉวยแย่งชิงขโมยไป และประชาชนก็จะเอากลับคืนมาจนได้

กษัตริย์ยุโรปก็เคยมีบทบาทสนับสนุนการรัฐประหาร มีกรณีที่น่าสนใจ คือ

กษัตริย์วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 (Vittorio Emmanuele  III)

กรณีแรก ที่อิตาลี เมื่อวันที่ 27 ถึง 29 ตุลาคม 2465  มีกลุ่มคนชุดดำเดินเท้าสู่กรุงโรมเพื่อสนับสนุนให้มุสโสลินีเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ก่อความวุ่นวาย รัฐบาลจะประกาศกฎอัยการศึก แต่กษัตริย์วิคเตอร์ อิมมานูเอล (Vittorio Emmanuele III ) ไม่ยอม กลับตั้งให้ เบนิโต้ มุสโสลินี เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการเลือกตั้ง 2467 มีการลอบสังหารจาโคโม่ มาตเตอ็อตติ ทำให้มุสโสลินีฉวยโอกาส ปกครองแบบเผด็จการฟาสซิสต์โดยอ้างการรักษาความสงบ และนำอิตาลีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง หลังอิตาลีแพ้สงคราม สภาร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการออกเสียงประชามติในวันที่ 2 มิถุนายน 2489  ผลปรากฏว่า ร้อยละ 54.3 เลือกระบอบสาธารณรัฐ ร้อยละ 45.7 เลือกระบอบกษัตริย์

กษัตริย์อัลฟองโซที่ 13 (King Alfonso XIII )
ปริโมเดอริเวร่า( Primo de Rivera)
กรณีที่สอง กษัตริย์อัลฟองโซที่ 13 ( King Alfonso XIII ) ของสเปนสนับสนุนปริโม เดอ ริเวร่า ( Primo de Rivera )ทำรัฐประหารใน วันที่ 13 กันยายน 2466 และแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี พอผ่านไป 7 ปี กษัตริย์ก็บีบบังคับให้ปริโม เดอ ริเวร่าออกจากตำแหน่งในปี 2473 จากนั้นกระแสสาธารณรัฐนิยมก็เฟื่องฟูอย่างมาก เพราะความนิยมในตัวกษัตริย์ตกลงไป เนื่องจากกษัตริย์เปิดหน้าเล่นการเมืองอย่างชัดเจน จนในปี  2474 กองทัพก็ประกาศเลิกสนับสนุนกษัตริย์  กษัตริย์ต้องลี้ภัย สเปนเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ

สำหรับประเทศไทย ในรัชสมัยของกษัตริย์ภูมิพล มีรัฐประหารเกิดขึ้น 10 ครั้ง คือ 2490, 2491, 2494, 2500, 2501, 2514, 2519, 2520, 2534, 2549 ต้องถามว่ากษัตริย์ภูมิพลกับคณะรัฐประหารมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เหตุใดกษัตริย์ภูมิพลจึงต้องลงพระปรมาภิไธยรับรองพวกรัฐประหาร

นายเกษม ศิริสัมพันธ์ เคยกล่าวไว้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2530 ณ หอประชุมเล็กธรรมศาสตร์ เนื่องในสัปดาห์วิชาการจัดเฉลิมพระเกียรติพระชนม์พรรษาห้ารอบ เรื่องการรัฐประหารปฏิวัติที่ล้มเหลวไป 2 หน ของกบฏเมษาฮาวาย เมื่อปี 2524 และ ความพยายามรัฐประหาร 9 กันยายน 2528 ว่า " ความมั่นคงและความสืบเนื่องของระบบรัฐสภาในยุคปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้ในบ้านเมืองคราวนี้ ก็เป็นด้วยพระบารมีอีกเช่นกัน การพยายามก่อการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งล้มเหลวไปถึงสองครั้งสองหน จนในที่สุดมาถึงขณะนี้ก็มีเสียงพูดกันแล้วว่าหมดสมัยของการปฏิวัติรัฐประหารกันได้แล้ว ความสำนึกเช่นนี้อุบัติขึ้นมาได้ ก็คงเป็นเพราะเกิดความตระหนักว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้กำลังฝ่ายทหารนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยม ฉะนั้นจึงเป็นช่องทางให้ประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาได้มีโอกาสเติบโตหยั่งรากลึกในบ้านเมืองกันได้ในครั้งนี้ "
แต่หลังจากคำอภิปรายนี้ผ่านพ้นไปได้แค่
2 ปีเศษ ก็เกิดรัฐประหาร 23 ก.พ. 2534 และครั้งล่าสุด 19  กันยายน 2549
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยใช้กำลังฝ่ายทหารนั้นไม่ต้องด้วยพระราชนิยม ตามที่นายเกษม ศิริสัมพันธ์ กล่าวอ้างไว้ก็คงไม่เป็นความจริง หรือว่ากษัตริย์ภูมิพลได้เปลี่ยนพระราชนิยมโดยให้ทหารของพระองค์หันมายึดอำนาจเสียเอง

นายวิษณุ เครืองาม ได้อธิบายแก้ตัวว่า คณะรัฐประหารต้องการขออาศัยพระราชอำนาจทางสังคมของกษัตริย์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่ากษัตริย์ก็ยอมตาม และให้ต่างประเทศยอมรับรัฐบาลใหม่ และแสดงให้เห็นว่าไม่ได้แตะต้องสถาบันกษัตริย์

ในขณะที่ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อธิบายตรงกันข้ามว่า รัฐประหารแล้ว อำนาจอธิปไตยย่อมกลับไปเป็นของกษัตริย์ในฐานะเจ้าของเดิมมาตลอด สังเกตจากคณะรัฐประหารต้องย้อนกลับไปขอพระราชทานรัฐธรรมนูญใหม่ หมายความว่า ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ พอเกิดการเปลี่ยนแปลง 24 มิถุนายน 2475 อำนาจอธิปไตยกลับเป็นของประชาชนโดยมอบให้กษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจ  หลังการปฏิวัติ พ.ย. 2490 อำนาจอธิปไตยกลับไปเป็นของกษัตริย์  และในระบอบปกติ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยมอบให้กษัตริย์ใช้ 

การอธิบายว่าเมื่อรัฐประหารแล้ว อำนาจกลับไปที่กษัตริย์ ก็แสดงว่า เป็นการทำรัฐประหารเพื่อกษัตริย์ เพื่อเอาอำนาจให้กษัตริย์ แทนที่จะอธิบายว่า เมื่อเกิดรัฐประหารแล้ว พวกคณะรัฐประหารยึดอำนาจไว้หมด แต่ไม่เลิกสถาบันกษัตริย์ ส่วนการลงนาม ก็ให้ลงในฐานะประมุขของรัฐ ถือว่า คณะรัฐประหารทำกันเอง แล้วมาบีบบังคับให้กษัตริย์ลงพระนาม ถ้าแก้ตัวแบบนี้ ยังจะดูดีกว่า

บวรศักดิ์อ้างว่ากษัตริย์ไทยมีพระราชอำนาจบางประการที่แตกต่างจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ทั้งๆที่กษัตริย์ในประเทศประชาธิปไตยจะไม่ใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาแล้ว แต่บวรศักดิ์กลับบอกว่าถ้ากษัตริย์ไทยใช้พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมาย รัฐสภาก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญยืนยันกลับไปเพื่อประกาศใช้กฎหมายนั้น มันเป็นวิธีคิดที่เชื่อว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ตลอดกาล

แต่การยึดอำนาจการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 คือการเปลี่ยนระบอบ พระราชอำนาจใดที่มีมาแต่เดิม ที่ตกทอดกันมาตามธรรมเนียมโบราณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริง หรือเรื่องโกหก ย่อมต้องถูกยกเลิกไป และจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด เมื่อระบอบใหม่อนุญาตให้กษัตริย์เป็นประมุขของรัฐต่อไปโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเท่านั้น พระราชอำนาจของกษัตริย์จะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับประชาธิปไตยตามระบอบใหม่ ดังนั้น การเพิ่มพระราชอำนาจให้กษัตริย์โดยผ่านข้ออ้างของธรรมเนียมหรือประเพณีปฏิบัติย่อมไม่ถูกต้อง
ธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญที่ใช้ในอังกฤษนั้น มีขึ้นมาเพื่อจำกัดอำนาจกษัตริย์ เพื่อให้การดำเนินการของระบบรัฐสภาเป็นไปอย่างราบรื่น แต่นายบวรศักดิ์กลับนำข้อความคิดเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญมาเพิ่มพระราชอำนาจให้กับกษัตริย์ และขัดกับหลักการประชาธิปไตย


โดยไม่ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ก็ไม่ได้มีการกล่าวถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ได้กลับหลักการทุกอย่างจากเดิม โดยให้อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย ยกเลิกอำนาจอันล้นพ้นของกษัตริย์ และให้กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองหนึ่งอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ 2475 ทำให้ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิ ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจ ประชาชนไม่ได้ขึ้นกับใคร แต่เป็นผู้มีอัตวินิจฉัยในการตัดสินใจดำเนินชีวิตและสร้างชะตากรรมของตนเอง
ฐานคิดของคณะราษฎร 2475 จึงมีความจำเป็นต่อนักกฎหมายในระบอบใหม่ แต่เมื่อนักกฎหมายที่อยู่ในปัจจุบัน กลับมีความคิดแบบระบอบเก่า การใช้และตีความกฎหมายจึงบิดเบือนผิดเพี้ยนหลักการประชาธิปไตยอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้
เมื่อประเทศไทยได้ประกาศตัวเป็นนิติรัฐ  ให้กฎหมายเป็นใหญ่นักกฎหมายก็จะเป็นใหญ่ตามไปด้วย และบรรดานักกฎหมายก็พากันสร้างอาณาจักรของตนเองพยายามผูกขาดอำนาจในการกำหนดว่ากฎหมายคืออะไร ความยุติธรรมคืออะไร แล้วกีดกันไม่ให้ในคนแวดวงอื่นได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ใครจะถกเถียงอะไรก็ถกเถียงได้ แต่พวกข้านักกฎหมายเท่านั้นที่จะเป็นคนมีอำนาจใช้กฎหมายได้ ดังนั้นใครจะคุยกันเรื่อง
24 มิถุนายน 2475
ก็พูดกันไปเถอะ ให้อยู่แค่นอกวง แต่คนในแวดวงกฎหมายเขาจะไม่พูดเรื่องนี้กัน และเขาก็จะคิดแบบเดิม ปฏิบัติแบบเดิม ใช้กฎหมายแบบเดิม

ทั้งนี้ฝ่ายนิยมระบอบกษัตริย์ต้องการให้สังคมไทยกลับไปใช้ระบอบเก่าให้มากที่สุด โดยให้สถาบันกษัตริย์มีบทบาทและอำนาจมาก แต่พวกเขาก็รู้ดีว่า หากเขียนรัฐธรรมนูญเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา สังคมโลกจะไม่ยอมรับ เพราะระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็คือเผด็จการรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่กระแสโลกปัจจุบันบังคับให้ทุกประเทศต้องเป็นประชาธิปไตย และการเสนออะไรที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง ย่อมทำให้ปัญญาชนฝ่ายกษัตริย์นิยมแลดูโง่เขลาเกินไป และถ้าหากกำหนดอำนาจและบทบาทให้กับสถาบันกษัตริย์มากขึ้น การวิจารณ์ การแสดงความไม่เห็นด้วย ย่อมพุ่งตรงไปที่กษัตริย์ ซึ่งเป็นภาวการณ์ที่พวกเขาไม่พึงประสงค์

เมื่อใจลึกๆต้องการเพิ่มอำนาจและบทบาทให้สถาบันกษัตริย์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยให้ทำอย่างตรงไปตรงมา และไม่ต้องการให้สถาบันกษัตริย์ต้องรับผิดชอบจากการใช้อำนาจ คือ ต้องการให้เป็นแบบระบอบเก่า แต่ก็ต้องแสดงให้คนเห็นว่าเป็นระบอบใหม่ พวกเขาจึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้น นั่นคือ การนำเอาลักษณะแบบระบอบเก่าที่พวกเขาปรารถนา เข้ามาตัดต่อพันธุกรรมผสมเข้ากับระบอบใหม่ แล้วเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยสร้างกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมา อันได้แก่ ธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมสังคมไทย เอกลักษณ์แห่งชาติ  พระบารมีของกษัตริย์ไทย ธรรมราชา สารพัดวาทกรรมที่เป็นเครื่องมือในการเพิ่มอำนาจและบทบาทกษัตริย์ อย่างที่ไม่อายต่อสายตาชาวโลกโดยอวดอ้างว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ เป็นอำนาจที่ไม่ต้องรับผิดชอบ ที่ไม่มีใครจับได้ไล่ทัน แถมยังเปิดทางต่อไปอีกว่า อำนาจและบทบาทเหล่านี้เปลี่ยนไปตามกาลสมัย แล้วแต่บารมีของกษัตริย์แต่ละองค์อีกด้วย

ขนบธรรมเนียมประเพณีไม่ได้พิสูจน์อะไรเลย และเราจะอ้างมันเป็นกฎหมายไม่ได้ กษัตริย์ในอดีตก็เกิดจากการตกลงเลือกผู้ปกครอง โดยผู้ถูกปกครองจะทำหน้าที่เลี้ยงดูผู้ปกครองเป็นการตอบแทนการทำหน้าที่ปกครอง  แสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองขึ้นไปนั่งอยู่ได้เพราะได้รับมอบอำนาจ จึงมีภารกิจและความรับผิดชอบต่อผู้อยู่ใต้ปกครอง และถ้าผู้ปกครองหรือกษัตริย์ไม่ทำหน้าที่ของตนให้ดี ก็คงจะไม่มีความจำเป็นที่ผู้อยู่ใต้การปกครองจะต้องเลี้ยงดูกษัตริย์อีกต่อไป
…….
…….










ไม่มีความคิดเห็น: