วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดคอกม้า : ตอนใครฆ่าในหลวง Who Killed the King






ฟังไฟล์เสียง : https://www.mediafire.com/?cg4ct3g07495rf1
http://www.4shared.com/mp3/vZROMhF0ce/___online.html

https://www.youtube.com/watch?v=h8YTddfFCDQ&feature=youtu.be


เรื่องน่าเศร้าในวันที่ 9 มิถุนา

ในหลวงอานันท์ช่วงใกล้สวรรคต
ในหลวงอานานถูกยิงสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน  2489 อย่างมีเงื่อนงำ ก่อให้เกิดผลสะเทือนต่อการเมืองไทยอย่างรุนแรง และนำไปสู่การครองบัลลังก์ของเสี่ยเล็กหรือองค์ชายเก้า ผู้สถาปนาระบอบคอกม้าที่ยาวนานกว่ากษัตริย์องค์ใดในเจ็ดคาบสมุทร  พร้อมทั้งเป็นการทำลายศัตรูคู่แค้นคือนายปรีดีอย่างสมบูรณ์หลังการยึดอำนาจ 2490 โดยกลุ่ม จอมพลป.ทุกวันนี้ก็ยังคงมีการถกเถียงซุบซิบนินทาทำนองว่าคงเป็นเรื่องน้องฆ่าพี่ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการแย่งชิงบัลลังก์ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว  แต่ไม่มีใครกล้าพูดให้เป็นประเด็นสาธารณะเพราะมีกฎหมายปิดปากชนิดที่ไม่มีข้อยกเว้นและห้ามต่อสู้คดี ถึงขนาดติดคุกทันทีโดยไม่มีประกัน 

ลำดับเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น
เสด็จสำเพ็ง 3 มิ.ย. 2489
2 มิถุนายน 2489 ในหลวงอานานเริ่มมีอาการปวดท้อง

 3 มิถุนายน 2489  ในหลวงพร้อมด้วยเสี่ยเล็กผู้เป็นน้องไปเยี่ยมราษฎรแถวสำเพ็ง สร้างความยินดีปรีดาแก่ชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น


เสด็จทุ่งบางเขน ม.เกษตรศาสตร์
5 มิถุ นายน 2489 ในหลวงพร้อมด้วยเสี่ยเล็กไปดูการทำนาที่อำเภอบางเขน และดูงานของมหาวิทยาลัยเกษตร  โดยได้หว่านข้าวในแปลงนา
6 มิถุนายน 2489 นายปรีดี เข้าเฝ้าตามรับสั่ง
8 มิถุนายน 2489 ในหลวงแต่งตั้งให้นายปรีดาเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2
ในหลวงมีอาการป่วยมากขึ้น จึงให้เสี่ยเล็กปฏิบัติหน้าที่แทน
9 มิถุนายน 2489 เป็นวันเกิดเหตุ
เวลาประมาณ 5.00 น. แม่สังวอนปลุกในหลวงขึ้นมากินยาแล้วให้นอนต่อ
เวลาประมาณ 6.00 น. ในหลวงปวดท้อง แม่สังวอนให้ในหลวงกินน้ำมันละหุ่ง นม และบรั่นดี  แล้วกลับออกมาจากห้อง
เวลาประมาณ 6.20 น. นายบุศย์มหาดเล็กรับใช้ห้องนอนมาเข้าเวรที่บ้านพิมาน และได้เอาน้ำส้มคั้นไปให้ในหลวง
เวลาประมาณ 7.00 น. - 8.00 น. มหาดเล็กเตรียมตั้งโต๊ะเสวย
8.30 ในหลวงตื่นนอนเข้าห้องน้ำ แล้วเข้าห้องแต่งตัว นายบุศย์ยกน้ำส้มไปให้แต่ในหลวงไม่รับ โดยเดินกลับเข้าห้องนอน นายบุศย์ถือน้ำส้มเดินตาม ในหลวงเดินไปที่เตียงนอนแล้วโบกมือให้นายบุศย์ออกไป นายบุศย์ถือน้ำส้มเดินออกมานั่งอยู่ที่ระเบียงหน้าประตูห้องแต่งตัว
เวลา 8.55 นายชิตขึ้นไปบนชั้นสองบ้านพิมานเพื่อรอวัดขนาดตราประทับให้ช่างทำกล่องใส่ นายชิตกับนายบุศย์นั่งคอยอยู่ด้วยกันหน้าห้องแต่งตัว
เวลา 9.00 น. พระพี่เลื้ยงเนื่องขึ้นไปบนชั้นสอง ไปหาแม่สังวอน เพื่อจัดห้องแล้วเก็บฟิล์มหนังในห้องของเสี่ยเล็ก


เวลาประมาณ 9 นาฬิกาเศษ เสี่ยเล็กนั่งกินข้าวคนเดียวที่มุขด้านหน้ามีคนรับใช้ 2 -3 คน จากนั้นเสี่ยเล็กเดินออกจากโต๊ะกินข้าวไปทางห้องบรรทมของในหลวง  พบนายชิตและนายบุศย์ที่หน้าห้องแต่งตัวหรือที่เรียกว่าห้องฉลองพระองค์ 

เตียงหรือพระแท่นบรรทมของในหลวงอานาน
เวลาประมาณ 9.20 น. เสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด ภายในห้องบรรทม นายชิตสะดุ้งตกใจมองหน้านายบุศย์สักครู่ จึงเข้าไปในห้องบรรทม พบว่าในหลวงยังหลับอยู่เป็นปกติ แต่มีเลือดไหลเปื้อนคอ และไหล่ด้านซ้าย นายชิตวิ่งไปที่ห้องนอนของแม่สังวอนแล้วบอกแม่สังวอนว่าในหลวงถูกยิง แม่สังวอนตกใจ ร้องขึ้นได้เพียงคำเดียวและรีบวิ่งไปที่ห้องบรรทมของในหลวงทันที นายชิต พี่เลี้ยงเนื่อง และนางสาวจรูญได้วิ่งตามแม่สังวอนไปติด ๆ


ขณะที่เสียงปืนดังขึ้น นายชิตและนายบุศย์นั่งอยู่ที่พื้นระเบียงหน้าประตูห้องแต่งตัวหรือห้องฉลองพระองค์ซึ่งเป็นทางเดียวที่จะเข้าไปห้องบรรทม เมื่อไปถึงปรากฏว่าในหลวงสวรรคตแล้ว ในลักษณะนอนหลับธรรมดา มีผ้าคลุมตั้งแต่ข้อเท้ามาถึงอก มีบาดแผลกลางหน้าผาก บริเวณระหว่างคิ้ว

ปืนพกยูเอสอาร์มี่ 11 มม.ข้างพระศพ
ข้างศพมีปืนพก US Army ผลิตโดยบริษัท Colt ขนาดกระสุน 11 มม. แม่สังวอนได้โถมตัวเข้ากอดพระศพในหลวง จนเสี่ยเล็กต้องพยุงแม่สังวอนไปนั่งเก้าอี้ปลายเตียงนอน    จากนั้นแม่สังวอนจึงสั่งให้ตามตัวหมอนิตย์แพทย์ประจำราชตระกูลมาชันสูตรพระศพ ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องได้จับชีพจรของในหลวงที่ข้อมือซ้าย พบว่าชีพจรเต้นอยู่เล็กน้อยแล้วก็หยุด ตัวยังอุ่นอยู่ จึงเอาผ้าคลุมตัวมาซับบริเวณปากแผล และให้นายบุศย์เก็บปืนที่คาดว่าใช้ยิงในหลวงไว้ในลิ้นชักเก็บเสื้อผ้า

  
หมอนิตย์ เวชชวิศิษฏ์
เวลาประมาณ 10.00 น. หมอนิตย์มาถึงที่เกิดเหตุ พบว่าพระศพถูกทำความสะอาดหมดแล้ว ท่าทางถูกจัดใหม่ ปืนถูกเก็บเข้าลิ้นชัก ห้องนอนถูกเช็ดถู ทุกอย่างสะอาดเอี่ยม ผ้าปูที่นอนเปลี่ยนใหม่หมด ผ้าปูที่นอนชุดเดิมถูกเอาไปฝังที่สนามกอล์ฟ กระบวนการทั้งหมดนี้ทำโดยแม่สังวอน ซึ่งเป็นพยาบาลโดยอ้างว่าสงสารลูกเพราะภาพมันอุจาดมาก และต้องเตรียมงานรดน้ำศพในช่วงบ่าย
หมอนิตย์ไม่ได้ตรวจอะไรมากนักเพราะเจ้ารังสิตบอกว่าการแตะต้องตัวในหลวงจะเป็นการลบหลู่เกียรติยศ


ปรีดี ก่อนการสวรรคตไม่นาน
ประมาณ 11.00 น. นายปรีดีมาถึงบ้านพิมาน และสั่งให้ไปเชิญพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเชิญคณะรัฐมนตรี มาประชุมเกี่ยวกับเรื่องการสวรรคต  ที่ประชุมสรุปว่าให้ออกแถลงการณ์แจ้งประชาชนว่า การสวรรคตเป็นอุบัติเหตุ
เวลา 21.00 น. รัฐบาลเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อแจ้งให้สภาทราบเรื่องการสวรรคตและสรรหาผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ที่ประชุมได้ลงมติแต่งตั้งเสี่ยเล็กผู้เป็นน้องชายขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ที่เก้า จากนั้นนายปรีดีได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อการสวรรคต

กษัตริย์ภูมิพลเริ่มเป็นคนเครียดหลังกรณีสวรรคต
หมอนิตย์ได้กลับไปที่บ้านพิมานอีกเพื่อจัดยากล่อมประสาทให้แม่สังวอน เสี่ยเล็กบอกหมอนิตย์ว่าจะเป็นคนเอายาไปให้แม่สังวอนเอง เสี่ยเล็กมีอาการเศร้าสลดและเคร่งเครียดโดยไม่มีรอยยิ้มอีกเลยตั้งแต่นั้นมา คนที่เคยรู้จักเสี่ยเล็กมาก่อนจะต้องรู้สึกแปลกใจที่เห็นเสี่ยเล็กผู้ร่าเริงตลอดเวลาได้กลายมาเป็นเสี่ยเล็กผู้ไม่เคยยิ้มอีกแล้ว หมอนิตย์สวมแว่นตา เป็นผู้ใหญ่ที่สุขุมและใจดี เป็นเพื่อนของครอบครัวมหิดอนมาเมื่อเรียนอยู่อเมริกาตั้งแต่เสี่ยเล็กยังไม่เกิด และเป็นหมอประจำครอบครัวตลอดเวลาที่พวกมหิดอนมาอยู่กรุงเทพ หมอนิตย์จึงเป็นเหมือนญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งของครอบครัวมหิดอน
เสี่ยเล็กพูดกับหมอนิตย์ว่า “ฉันคิดว่าทางที่ดีที่สุด ต้องชี้แจงออกไปว่าการสวรรคตเป็นเรื่องของอุบัติเหตุ เพราะเมื่อสี่ห้าวันมานี้ในหลวงได้แสดงความรักต่อฉันมาก ทรงจูงมือฉันเข้าไปห้องเสวยอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน...หมอนิตย์ต้องช่วยฉัน อย่าทอดทิ้งฉันในยามนี้นะ
ในตอนนั้นนายปรีดีได้มาที่บ้านพิมาน เพื่ออัญเชิญเสี่ยเล็กขึ้นเป็นกษตริย์ตามมติของที่ประชุมรัฐสภา เสี่ยเล็กตอบนายปรีดีว่า “ ฉันตกลงรับคำเชิญนี้ และฉันจะพยายามอย่างดีที่สุด ที่จะนำประเทศไทยไปสู่ความมีชื่อเสียงในอนาคต


วิถีกระสุนจริง คือแนวที่ 2 แสดงว่าทรงถูกฆาตกรรม
10 มิถุ นายน 2489 เจ้าหน้าที่และแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาได้เดินทางมาทำการฉีดยารักษาสภาพพระศพ และได้พบบาดแผลที่ท้ายทอยที่ทะลุจากรูกระสุนปืนที่บริเวณหว่างคิ้ว ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า ในหลวงน่าจะถูกลอบสังหาร และรัฐบาลอาจมีส่วนรู้เห็น เนื่องจากบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับแถลงการณ์ กรมตำรวจจึงออกแถลงการณ์เพิ่มเติมว่าได้ตั้งประเด็นการสวรรคตไว้ 3 ประเด็น คือ มีผู้ลอบปลงพระชนม์ ฆ่าตัวตายเอง หรือเป็นอุบัติเหตุ
11 มิถุนายน 2489  กรมตำรวจยังคงแถลงการณ์ยืนยันว่าในหลวงสวรรคตด้วยอุบัติเหตุ และได้นำปืนของกลางไปให้กรมวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ
นายปรีดีได้รับเลือกจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง


ใส่ร้ายป้ายสี ได้ทีขี่แพะไล่


มรว.เสนีย์ ปราโมช
ศัตรูทางการเมืองได้พุ่งเป้าโจมตีไปที่นายปรีดีนายกรัฐมนตรี ได้มีการโหมกระพือข่าวลือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตตลอดเวลา มีเสียงโทรศัพท์ลึกลับและเสียงตะโกนในโรงหนัง มีการจ้างคนไปร้องตะโกนในที่สาธารณะต่างๆว่า ปรีดีฆ่าในหลวง เพื่อทำให้ผู้คนเกิดความโกรธแค้น โดยเฉพาะการใส่ร้ายป้ายสีจากพรรคแมงสาบ   นายควงและสองพี่น้องปราโมชได้กล่าวแก้ตัวว่าเสียงร้องโวยวายเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาปกติของประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งสมัครใจทำกันเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะมีข้อสงสัยในการกระทำอันชั่วร้าย ในฐานะที่นายปรีดีเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบต่อการถวายการรักษาความปลอดภัยให้แก่ในหลวงและในฐานะที่นายปรีดีเป็นผู้ทูลเชิญให้ในหลวงอานานเสด็จกลับประเทศและยังขยายเวลาให้อยู่ในประเทศออกไปอีก ดังนั้นนายปรีดีจะต้องรับผิดชอบในการสวรรคตต่อคนไทยทั้งชาติ มีการปล่อยข่าวว่าฆาตกรได้รับความช่วยเหลือจากคนในวังให้ปลงพระชนม์ในหลวงเพื่อก่อการกบฏโดยนายปรีดีเป็นคนวางแผนเพราะความมักใหญ่ใฝ่สูงของเขาที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นสาธารณรัฐแบบคอมมิวนิสต์โดยมีนายปรีดีเป็นประธานาธิบดีเพื่อก่อตั้งสมาพันธรัฐแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมีแผนจะกวาดล้างพวกราชวงศ์ทั้งหมด และพวกที่วางแผนดังกล่าวได้รีบทำการก่อนถึงเวลาอันสมควรเนื่องจากนายปรีดีเกิดขัดใจอย่างรุนแรงกับในหลวง ทำให้นายปรีดีเกิดบันดาลโทสะเป็นอย่างมากจากความอิจฉาที่มีต่อในหลวงอานานเนื่องจากในหลวงอานานเป็นที่รักของประชาชนและยิ่งใหญ่กว่าเขา ส่วนในหลวงก็ไม่พอพระทัยในความทะเยอทะยานของนายปรีดีจึงได้ตัดสินใจที่จะสละราชบัลลังก์ให้เสี่ยเล็กผู้เป็นน้องและพระองค์ก็จะเข้าสู่เวทีทางการเมืองเนื่องจากทรงเป็นที่รักใคร่และนิยมชมชอบของประชาชน จะทำให้สามารถเอาชนะนายปรีดีได้อย่างลอยลำ ดังนั้นเมื่อนายปรีดีได้ทราบแผนการของในหลวงจึงต้องรีบทำการจู่โจมเสียก่อน

รังสิตส่งเสด็จร.9 กลับสวิตเซอร์แลนด์
เมื่อนายปรีดีต้องพบกับมรสุมทางการเมืองอย่างน่ากลัวจากการประโคมข่าวของหนังสือ พิมพ์ นายปรีดีจึงได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อ 16 มิถุนายน 2489 ตามความเห็นชอบของคณะผู้สำเร็จราชการเนื่องจากเสี่ยเล็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยได้ตั้งเจ้ารังสิตผู้เป็นลุงของเสี่ยเล็กให้เป็นประธานผู้สำเร็จราชการ คณะกรรมการชุดนี้อาจเรียกบุคคลใดๆมาให้การเป็นพยาน โดยมีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
คณะกรรมการสอบสวนได้เดินทางไปตรวจหาพยานหลักฐานที่บ้านพิมานในวันรุ่งขึ้น และได้แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางการแพทย์อย่างน้อย 12 คน โดยมีแพทย์ตะวันตกร่วมด้วย 4 คน มีการชันสูตรพระศพกันใหม่ พบว่าที่ผิวหนังรอบๆแผลมีรอยดำไหม้ มีผงดินปืนอยู่ด้วย จากการทดลองยิงศพ สรุปได้ว่าปากกระบอกปืนจ่ออยู่ห่างจากหน้าของในหลวงอานานไม่เกินนิ้วครึ่ง
26 มิถุนายน 2489 เมื่อผู้ถูกกล่าวหาทั้งสามคือนายชิต นายบุศย์และนายเฉลียวมาปรากฎตัวต่อหน้าคณะกรรมที่ศาลอาญาใกล้สนามหลวงตรงข้ามพระมหาราชวังวัดพระแก้ว ฝูงชนก็แสดงอาการโกรธแค้นอันเป็นผลมาจากการโหมกระพือข่าวของหนังสือพิมพ์ และเมื่อพระพี่เลี้ยงเนื่องได้เข้าไปในคอกพยานและประกาศว่าในหลวงถูกฆาตกรรม ประชาชนก็พากันปรบมือให้เธออย่างกึกก้อง พวกหนังสือพิมพ์ก็เอาแต่โหมกระพือข่าวเกินจริงโดยไม่สนใจเรื่องข้อเท็จจริง ทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลงไปอีก

ไถง สุวรรณทัตบริจาคที่ดิน 56 ไร่ สร้างรร.อัสสัมชันธนบุรี 2504
พรรคแมงสาบได้อาศัยกรณีสวรรคตมาเป็นประเด็นหลักโจมตีรัฐบาลของนายปรีดีในรณรงค์หาเสียงการเลือกตั้งส.ส.ทั่วไปในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน มีการขว้างระเบิดในเวทีปราศรัยของพรรคแมงสาบที่วงเวียนเล็กทำให้นายไถง สุวรรณทัต ส.ส. ธนบุรีขาขาด พรรคของนายปรีดียังคงชนะเลือกตั้งอย่างท่วมท้นได้ส.ส. 57 คน พรรคแมงสาบได้ 11 คน และพวกไม่สังกัดพรรคได้ 7 คน

ปรีดี พนมยงค์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
นายปรีดีเชื่อว่าเขาได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อมั่นในตัวเขาและไม่ได้เชื่อการโกหกใส่ร้ายของพรรคแมงสาบ เขามั่นใจว่าประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่สมบูรณ์แล้ว เขาจึงขอวางมือทางการเมืองและกลับไปเป็นรัฐบุรุษอาวุโสโดยมอบหมายให้หลวงธำรงรับหน้าที่จัดตั้งรัฐบาล นายปรีดีหวังไว้ว่าเมื่อเขาได้ลาออกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและลดบทบาททางการเมืองลง จะช่วยให้กระแสการโจมตีเรื่องสวรรคตลดลง

หลวงธำรงแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้นอย่างที่เขาคิด เพราะเรือเอกวัชรชัยที่ถูกปลดจากราชองครักษ์ได้มาเป็นเลขานุการของนายปรีดีและต่อมาได้มาเป็นเลขานุการของหลวงธำรงนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในขณะที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวเป็นนัยๆว่าเรื่อเอกวัชรชัยเป็นฆาตกรยิงในหลวงอานานด้วยมือของเขาเอง ส่วนนายเฉลียวอดีตราชเลขาธิการก็เช่นเดียวกัน คือ หลังจากลาออกจากสำนักราชเลขาธิการแล้วก็ได้รับแต่งตั้งจากนายปรีดีให้เป็นสมาชิกพฤฒิสภา ทั้งๆที่มีข่าวลือว่าเขาทั้งสองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคต ยิ่งไปกว่านั้นทำไมจึงไม่มีใครถูกจับกุมเลย

31 ตุลาคม 2489 คณะกรรมการเสนอรายงานเบื้องต้น ชี้ว่าการสวรรคตไม่ใช่อุบัติเหตุ ไม่ใช่การฆ่าตัวตายและยังไม่มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่าเป็นการลอบสังหาร คณะกรรมการยังต้องการข้อเท็จจริงมากกว่าที่ทางตำรวจได้มอบไว้ให้ รัฐบาลจึงต้องมีคำสั่งให้ตำรวจดำเนินการสอบสวนต่อไป
นายกปรีดีต้องการให้เสี่ยเล็กในฐานะเป็นกษัตริย์องค์ใหม่อยู่ในประเทศไทย แต่เสี่ยเล็กและคณะอ้างว่าต้องกลับยุโรปเพื่อเรียนต่อให้จบในระดับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ  ในเดือนสิงหาคม
2489


พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
รัฐบาลหลวงธำรงของนายปรีดีก็คาดว่าเสี่ยเล็กจะกลับมาเผาพระศพในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จึงมีการเริ่มจัดสร้างเมรุ เพื่อเตรียมพิธีเผาพระศพในเดือนมีนาคม 2490 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2489 ตัวแทนเสี่ยเล็กขอให้รัฐบาลเลื่อนงานเผาพระศพออกไปก่อน โดยอ้างว่าการสอบสวนการสวรรคตยังไม่เสร็จสิ้น จะเป็นอุปสรรคต่อการเผาพระศพ สถานะของเสี่ยเล็กในช่วงปีแรกๆ มีความไม่แน่นอน หรือมีความไม่มั่นคงสูง เพราะเป็นผู้ต้องสงสัยคนสำคัญในคดีสวรรคต โดยเฉพาะในสายตาของวงการทูตและรัฐบาลตะวันตก


จอมพลป.และนายปรีดี
แต่ทั้งจอมพลป.และนายปรีดีต่างก็ไม่ต้องการให้พวกกษัตริย์กลับมามีอำนาจที่เข้มแข็ง พวกเขาเห็นว่าเสี่ยเล็กอายุยังน้อย แค่
19 ปี ไม่น่ามีปัญหา ยังไม่มีบริวารและอิทธิพลมากนัก แต่ถ้าให้เจ้าชายจุมภฏขึ้นเป็นกษัตริย์ก็จะมีอิทธิพลมาก พวกเขาจึงต้องสกัดเจ้าชายจุมภฏโดยการช่วยเสี่ยเล็กให้หลุดพ้นจากคดีให้ได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ 


พระองค์เจ้าจุมภฏและมรว.พันธุ์ทิพย์
มีรายงานว่ารัฐบาลนายควงและพี่น้องปราโมช กำลังเตรียมที่จะประกาศว่าเสี่ยเล็กจะขอสละราชบัลลังก์และจะให้เจ้าชายจุมภฏโอรสของเจ้าฟ้าบริพัตรขึ้นเป็นกษัตริย์แทน เพราะมีแนวโน้มว่าเสี่ยเล็กคงหนีไม่รอดคดีสวรรคต ทั้งนี้เพื่อที่พวกเขาจะสามารถรักษาระบอบกษัตริย์เอาไว้ได้ เพราะเจ้าชายจุมภฏซึ่งมีอายุ 52 ปี มีประสบการณ์ทางการเมืองและมีผู้สนับสนุนมาก และได้รับการผลักดันจากภรรยาผู้เฉลียวฉลาดและทะเยอทะยาน คือหม่อมพันทิพย์ลูกสาวของเจ้าไตรทศเทววงศ์วโรทัย  อดีตเสนาบดีต่างประเทศ ในสมัยนั้น

ควง อภัยวงศ์ เดินทางไปรับตำแหน่งหลังรัฐประหาร 2490
รัฐบาล หลวง ธำรงค์ต้องต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจหลังสงครามที่ยุ่งยากจากการลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศที่ทำกำไรได้มากจากภาวะขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคหลังสงคราม กลุ่มของจอมพล ป.ได้ฉวยโอกาสเข้ายึดอำนาจในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยอาศัยข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นและข้อสงสัยเรื่องการสวรรคต โดยได้ประกาศว่าจุดมุ่งหมายของการยึดอำนาจก็เพื่อต้องการคลี่คลายความมืดมนในกรณีสวรรคต และแต่งตั้งนายควงเป็นนายกรัฐมนตรี พวกเขาอ้างว่านายปรีดีเป็นหัวหน้าวางแผนโดยให้เรือเอกวัชรชัยเป็นมือปืนลอบปลงพระชนม์ ทำให้พวกเขาต้องยึดอำนาจ เพื่อจะได้นำตัวนายปรีดีและเรือเอกวัชรชัยมาขึ้นศาล

พระพินิจและมรว.บุญรับ ปราโมช
พร้อมทั้งแต่งตั้งพระพินิจชนคดี ( พินิจ อิทรทูต ) พี่เขยของหม่อมเสนีย์แห่งพรรคแมงสาบอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ให้กลับเข้ารับราชการ เพื่อเป็นหัวหน้าสืบสวนกรณีสวรรคตเสียใหม่ พวกเขาได้แสดงความจริงจังด้วยการจับกุมจำเลยทั้งสามคนในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2490 หรือเพียง 12 วันหลังรัฐประหาร โดยมีการตีตรวนขนาดหนักเพื่อป้องการการชิงตัวและการหลบหนี
พระพินิจไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้ทันในเวลา
90 วัน รัฐบาลพรรคแมงสาบจึงได้เสนอกฎหมายต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 23 มกราคม  2491 ขยายกำหนดเวลาขังผู้ต้องหาในคดีสวรรคตได้เป็นพิเศษ ให้ศาลอนุญาตขังผู้ต้องหาได้หลายครั้ง รวมไม่เกิน 180 วัน
หลังจากนายควงได้เป็นนายกรัฐมนตรีเพียง
149 วันหรือราว 5 เดือน ก็ได้มีนายทหารจากกองทัพบกสี่คนไปหาเขาและเสนอแนะอย่างเคร่งเครียดให้เขาลาออก แล้วให้จอมพล ป. ซึ่งเคยถูกคุมขังในข้อหาอาชญากรสงครามและเป็นที่เกลียดชังของประชาชนเมื่อสองปีก่อนให้มาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะใช้คดีสวรรคตทำลายนายปรีดีให้ย่อยยับไปให้จงได้


ช่วงพักผ่อนหลบคดี
รัฐบาลจอมพล ป. ได้เตรียมงานเผาพระศพใหม่ เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2492 และเตรียมจัดงานฉลองราชบัลลังก์ให้เสี่ยเล็ก โดยเชิญเสี่ยเล็กให้กลับมาอยู่ประเทศไทยเป็นการถาวร  แต่เสี่ยเล็กมีจดหมายถึงจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี ว่าจะยังไม่กลับประเทศไทยเป็นการถาวรจนกว่าคดีจะเสร็จสิ้น
กับมรว.สิริกิติ์ที่สวิส 
เมื่อคุณ สมจิต เมียเสี่ยเล็กตั้งท้อง   รัฐบาลจอมพลป.มีจดหมายเชิญให้กลับมาคลอดลูกในประเทศไทย ให้ถูกต้องตามประเพณี แต่เสี่ยเล็กก็ยังยืนยันปฏิเสธ
เสี่ยเล็กได้กลับประเทศไทยเป็นการถาวรในปลายเดือนพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม 2494  หลังจากศาลชั้นต้นได้พิพากษาตัดสินคดีสวรรคตเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2494 ให้ประหารชีวิตนายชิต ในความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดปลงพระชนม์

คดีหมาป่ากับลูกแกะ

การที่รัฐบาลของจอมพล ป.จะล้มล้างอิทธิพลของนายปรีดีให้ได้ผลก็ต้องอาศัยการโจมตีกล่าวหาว่าเขาเป็นคนวางแผนปลงพระชนม์เพื่อให้ประชาชนเกิดความเคียดแค้นเกลียดชังเป็นการปิดประตูชีวิตทางการเมืองของนายปรีดีตลอดไป พวกนิยมกษัตริย์ส่วนใหญ่ก็ไม่พอใจนายปรีดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะเขาเป็นมันสมองของคณะราษฎรในการปฏิวิติยึดอำนาจการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์



พระพินิจชนคดี  ( พินิจ อิทรทูต )
คณะรัฐประหารได้ให้พระพินิจชนคดีเป็นประธานการสอบสวนเพราะพระพินิจเป็นคนที่นายปรีดีได้เคยปฏิเสธที่จะแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมตำรวจในสมัยที่หม่อมเสนีย์เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเป็นการเปิดโอกาสให้พระพินิจได้แก้แค้นนายปรีดีโดยหาทางปรักปรำให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างในหลวงอานานกับพวกของนายปรีดี การปลดเรืออกวัชรชัยจากการเป็นราชองครักษ์ และต่อมาเรือเอกวัชรชัยก็ได้เป็นเลขานุการของนายปรีดีและหลวงธำรงค์นายกรัฐมนตรีคนใหม่
โดยหนังสือพิมพ์ได้ออกข่าวเป็นนัยๆว่าเรือเอกวัชรชัยเป็นผู้ลงมือปลงพระชนม์ และการที่นายปรีดีแต่งตั้งนายเฉลียวให้เขาเป็นสมาชิกพฤฒสภาหลังจากขอลาออกจากราชเลขาธิการ มีการตั้งข้อสงสัยว่าทำไมนายปรีดีจึงปูนบำเหน็จให้แก่คนทั้งสองทั้งๆที่มีข่าวลือไปทั่ว ว่าคนทั้งสองมีส่วนพัวพันกับการสวรรคต และทำไมรัฐบาลของพวกนายปรีดีจึงปล่อยให้มหาดเล็กเฝ้าห้องบรรทมทั้งสองคนยังลอยนวล ทั้งๆที่มีข่าวลือว่ามีส่วนรู้เห็นกับการสวรรคต ทำไมจึงไม่มีใครถูกจับกุมเลย
ในคดีอาญาปกติจะใช้ผู้พิพากษาสามคน แต่สำหรับคดีสวรรคตมีการใช้ผู้พิพากษาห้าคน โดยคนที่ห้าทำหน้าที่เป็นประธานในการพิจารณาคดีและเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพราะเป็นคดีที่สำคัญที่สุดและกินเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย อัยการประกาศว่าจะเรียกพยานกว่าสามร้อยคนมาให้การ ซึ่งต้องกินเวลานานเป็นปี แม้ว่าศาลตกลงจะพิจารณาคดีสัปดาห์ละสามครั้งแทนที่จะเป็นสัปดาห์ละครั้งเหมือนคดีทั่วไป
พนักงานสอบสวนกรมตำรวจได้ส่งสำนวนให้อัยการหลังจากที่ได้รวบรวมข้อกล่าวหาอยู่ถึง
180 วัน และอัยการสรุปเขียนคำฟ้องอีก 34 วัน จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา เมื่อ 7 สิงหาคม 2491 โดยนายเฉลียวเป็นจำเลยที่ 1 นายชิต เป็นจำเลยที่ 2 และนายบุศย์เป็นจำเลยที่ 3 ฐานสมคบกันประทุษร้ายต่อในหลวงอานาน และพยายามปกปิดการกระทำผิด คำฟ้องระบุความผิดไว้ว่า
 ..เมื่อระหว่างวันที่ 9 เมษายน ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2489 จำเลยทั้ง 3 กับพรรคพวกคือ นายปรีดีและเรือเอกวัชรชัย ได้บังอาจสมคบกันเตรียมทำการปลงพระชนม์ 


พล.ร.ต.กระแส สรยุทธเสนียอมรับว่าโดนข่มขู่
โดยได้ประชุมปรึกษาวางแผนการ และตกลงกำหนดเวลาและแบ่งหน้าที่ร่วมกันไปกระทำการปลงพระชนม์ที่บ้านของ พล.ร.ต.กระแส ศรยุทธเสนี ตำบลชนะสงคราม อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
คำฟ้องของอัยการทำให้เกิดกระแสที่ตื่นเต้นระทึกใจ มีประชาชนติดตามเข้าไปฟังการพิจารณาคดีเป็นพันคนในบริเวณห้องพิจารณาเลขที่
24 โดยมีเครื่องขยายเสียงถ่ายทอดการพิจารณา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาการณ์อย่างแน่นหนาโดยรอบ มีเจ้าหน้าที่สพายปืนกลคุมตัวจำเลยทั้งสามที่สวมกางเกงขายาวสีกากีเสื้อเชิ้ตสีขาว อยู่ในวัยสี่สิบเศษ นายบุศย์เป็นคนตัวเล็ก ใบหน้าและดวงตาแจ่มใสแต่เต็มไปด้วยความวิตกกังวล นายชิตเป็นคนรูปร่างสูงหน้าตาดี ดูมีสติมั่นคง สวมแว่นสีดำ มาจากสกุลที่สูงกว่า แต่สกุลของทั้งคู่ก็รับใช้เจ้านายมาหลายชั่วคน ส่วนนายเฉลียวผู้เป็นอดีตราชเลขานุการ ท่าทางเป็นนักธุรกิจและนักการเมือง รูปร่างอ้วนและกระด้างกว่า จำเลยแต่ละคนได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา
คดีสวรรคตเป็นคดีทางการเมืองที่ต้องการกำจัดใครก็ตามที่เป็นพรรคพวกหรือนิยมชมชอบนายปรีดี ทำให้ฝ่ายจำเลยมีความลำบากมากตั้งแต่ต้น ทนายจำเลยได้รับอนุญาตให้คุยกับจำเลยเป็นครั้งแรกก่อนหน้าการดำเนินคดีไม่ถึงสองเดือน พร้อมทั้งเอกสารการกล่าวหาปึกใหญ่จากฝ่ายโจทก์ มีทนายจำเลยขอถอนตัวโดยประท้วงว่ามีเวลาเตรียมตัวน้อยไป ไม่ยุติธรรมต่อลูกความและจะเป็นอันตรายต่อชื่อเสียงของทนาย ศาลได้พักการพิจารณาในช่วงที่กำลังหาทนายให้จำเลยใหม่ โดยนักกฎหมายอาชีพในกรุงเทพต่างพากันหลบหน้า ในคราวที่นายปรีดีหลบเข้าประเทศเพื่อทำรัฐประหารซ้อนแต่ล้มเหลวที่เรียกว่ากบฏวังหลวง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
2492 มี 6 คนเป็นอดีตรัฐมนตรีที่สนับสนุนนายปรีดีถูกพล.ต.อ.เผ่าสั่งสังหาร โดย 2 ใน 6 คนนี้อยู่ในคณะทนายจำเลยคดีสวรรคต การหาคนมาแทนเป็นเรื่องลำบากมาก ทนายที่มาแทนก็ถูกจับอีกในวันที่ 30 ตุลาคม 2492 ในข้อหาสมคบกันประทุษร้ายและแจกใบปลิวต่อต้านจอมพล ป.

ฟัก ณ สงขลา สส.อุตรดิตถ์
จากนั้นจึงไม่มีใครกล้ารับเป็นทนายจำเลย ที่เหลืออยู่เพียงสองคน โดยคนหนึ่งได้ลาออกไป จึงเหลือทนายคนเดียวคือนายฟัก ณ สงขลา มีท่าทางเป็นนักต่อสู้ รูปร่างเตี้ยล่ำ ใบหน้าสี่เหลี่ยม จมูกเล็ก พูดเสียงเบามาก สุภาพอ่อนโยน แต่เป็นคนกล้าหาญและรักความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยนายฟักได้เลิกว่าความคดีอื่นๆทั้งหมดและทุ่มเทอาสาว่าความให้จำเลยคดีสวรรคตเท่านั้น ต่อมามีผู้หญิงอายุ 23 ปีเพิ่งจบปริญญาตรีนิติศาสตร์ได้เข้ามาร่วมทำงานด้วย เธอคือลูกสาวของนายเฉลียวที่ได้ช่วยนายฟักต่อสู้คดีเพื่อพ่อของเธอและมหาดเล็กอีกสองคนจนกระทั่งการพิจารณาคดีถึงที่สุด


นายตี๋สารภาพพระพินิจจ้างตนเป็นพยานเท็จ
 อธิบดีกรมอัยการได้กล่าวสรุปข้อกล่าวหาว่า ได้มีบุคลกลุ่มหนึ่งร่วมสมคบคิดกันประทุษร้ายวางแผนหลอกลวงเพื่อสังหารองค์ชายแปดอย่างแนบเนียน โดยอาศัยประจักษ์พยานจากข้อความที่จำเลยปล่อยให้รั่วไหลไปถึงบุคคลอื่น ตามคำให้การของคนตัดไม้ชื่อนายตี๋ ศรีสุวรรณที่ให้การว่าแอบได้ยินนายปรีดีกับพรรคพวกคบคิดกันวางแผนปลงพระชนม์ในหลวงอานานที่บ้านพล.ร.ต. กระแส ศรยุทธเสนี  เพราะในหลวงจะสละบัลลังก์ให้เสี่ยเล็ก เพื่อลงสมัครเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแข่งกับนายปรีดี ทำให้พวกของนายปรีดีต้องรีบหาทางกำจัดในหลวง อัยการให้นายตี๋ชี้ตัวนายเฉลียวกับนายชิตได้อย่างถูกต้องโดยมีมหาดเล็กผู้เป็นจำเลยได้ให้ความช่วยเหลือ 
นายชิตยังได้นำลิ้นชักบรรจุปืนพก.45และปลอกกระสุนปืนมาแสดง ทั้งๆที่นายชิตทราบดีว่าปืนพก.45 มิใช่ปืนที่ใช้ยิงในคดีนี้ แต่เพื่อปกปิดอาชญากรรมและปิดบังผู้กระทำผิดโดยแต่งเรื่องโกหกว่าในหลวงยิงตัวตาย


เสด็จสมุทรสาคร 20 พค. 2489
อัยการอ้างนางสาวจรูญ ตะละภัฏ สาวใช้ในบ้านแม่สังวอนที่ให้การว่าได้สนทนากับนายชิตที่บอกว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับในวันที่ 13 ยิ่งกว่านั้นในวันใกล้วันสวรรคต นายชิตได้คุยกับนายมีเป็นคนคุมโต๊ะเสวยว่าในหลวงจะกลับไปต่างประเทศในวันที่ 13 ซึ่งฝรั่งถือว่าเป็นวันโชคร้าย แต่คงจะไม่ได้ไป
มีพยานกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่รอบบ้านพิมานถูกเรียกมาให้การ คนสวนให้การว่าตนเห็นคนอยู่ไม่ไกลจากบ้านพิมานและได้ยินเสียงปืนลั่น คนรับใช้คนหนึ่งอ้างว่าตนชะโงกหน้าต่างชั้นล่างเห็นชายคนนั้นรีบร้อนลงมาจากบันไดด้านหลังบ้านไปทางสวน คนทำสวนได้เห็นชายคนนี้บนลานดินหลังบ้านพิมาน มีคนเห็นชายคนนี้นั่งรถยนต์มีคนขับเข้ามาใกล้ๆบ้านพิมาน คนซักผ้าของเขาให้การว่า ตนได้ซักเสื้อให้ชายคนนี้โดยมีคราบเลือดที่แขนเสื้อ ชายคนนี้ก็คือ เรือเอกวัชรชัย
ลักษณะของรูปคดีจึงกลายเป็นว่า นายปรีดีเป็นคนสั่งการ ส่วนฆาตกรที่ลงมือปลงพระชนม์ก็คือ เรือเอกวัชรชัย ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากมหาดเล็กสองคน คือ นายชิตและนายบุศย์ โดยนายบุศย์ อยู่ใต้อิทธิพลของนายชิต แต่มหาดเล็กทั้งสองคนต่างก็เป็นลูกน้องของนายเฉลียวซึ่งเป็นอดีตราชเลขานุการและเป็นคนของนายปรีดี

  

จัดงานสังสรรค์ช่วงหลบหนีคดีที่สวิส
จำเลยทั้งสามคนต้องเจอข้อกล่าวหาร้ายแรงหลังจากต้องเผชิญหลักฐานด้านนิติ วิทยา ศาสตร์ทั้งเรื่องวิถีกระสุนและพยานทางการแพทย์ในปลายปี 2492 แล้ว ได้มีการเรียกพยานโจทก์มาให้การ 60 คน และกำลังจะมีตามมาอีก 80 คนในปีต่อมา พยานเหล่านี้รวมทั้งเสี่ยเล็กและแม่สังวอนด้วย ทำให้จำเลยเกิดความรู้สึกว่าหน่วยงานทุกแห่งของรัฐตลอดจนพยานทุกคนทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้ว ได้ถูกนำมาอ้างเพื่อใช้ปรักปรำกล่าวหาพวกเขาทั้งนั้น การพิจารณาคดีดำเนินต่อไปและมีบ่อยครั้งที่หยุดพัก ทำให้จำเลยต้องถูกขังอยู่ถึงสองปี จึงเป็นเรื่องที่ทรมานมากทั้งทางร่างกายจิตใจเหมือนถูกขึงพืดอย่างไม่มีความปรานี ลูกเมียของพวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานทั้งจากโทษประหารชีวิตที่น่ากลัวและความรู้สึกอับอายที่ถูกกล่าวหาเหยียดหยัน จำเลยทั้งสามต้องถูกจองจำ ถูกขังตีตรวนที่มีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งนิ้วครึ่งมาเป็นเวลานาน และตำรวจได้ใช้เครื่องมือทุกชนิดที่จะบีบเค้นให้พวกเขารับสารภาพ ชีวิตของพวกเขาเหมือนอยู่ในฝันร้ายของฉากที่สลับกันสองฉาก คือ ฉากของศาลที่แออัดไปด้วยดวงหน้าที่เคร่งเครียดพร้อมทั้งเสียงโห่ร้องและฉากของคุก สภาพเหล่านี้ได้กลืนกินชีวิตจิตใจของพวกเขา ในระหว่างการพิจารณาคดี ดวงตาของจำเลยทั้งสามจะดูเลื่อนลอยไปจับอยู่ที่ภาพของเสี่ยเล็กหรือกษัตริย์องค์ที่เก้าที่ติดไว้อยู่เหนือบัลลังก์ผู้พิพากษาบ่อยๆ เมื่อเข้าปี 2493 จำเลยก็หวังจะได้ประกันตัว อย่างน้อยเป็นการชั่วคราวเพราะเสี่ยเล็กกำลังจะเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากหลบหน้าไปร่วมสี่ปี

  

ถวายพระเพลิงในหลวงอานันท์ 29 มีค.2493
เมื่อเรือของเสี่ยเล็กใกล้ถึงประเทศ ไทย จำเลยทั้งสามติดคุกอยู่สองปีครึ่ง ครอบครัวของพวกเขาได้ยื่นขอประกันตัว แต่ศาลไม่ให้ประกันตัว ตอนนั้นประชาชนส่วนใหญ่หันไปสนใจแต่งานเผาพระศพในหลวงอานาน งานราชาภิเษกและงานอภิเษกสมรสของเสี่ยเล็ก
ในบรรดาพยานโจทก์ทั้งหมดที่ได้มาให้การในระหว่างปี
2493 มีทั้งข้าราชการตำรวจ คนรับใช้ นักการเมือง ภรรยาของคนเหล่านั้นและมิตรสหาย พยานหลักฐานมิได้พิสูจน์อะไรมากขึ้นเลย แต่เป็นเพียงรายละเอียดที่เสริมเพิ่มเติมจากเรื่องที่ทราบกันมาก่อนแล้ว

ถวายพระเพลิงในหลวงอานันท์ที่สนามหลวง
นายเฉลียวได้ขอประกันตัวด้วยเงินถึงสี่แสนบาท เพื่อออกไปเผาศพลูกชาย ไปซ่อมฟันปลอมและพักฟื้นจากการถูกคุมขังในคุก แต่ศาลไม่อนุญาต ต่อมาไม่นานเขาก็ล้มป่วยด้วยโรคปอดบวม ขณะที่หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวเรื่อง ตุ่มแดง โดยมีคนอ้างว่าจะเปิดฝาตุ่มเปิดเผยความลับเรื่องการสมคบกันวางแผนปลงพระชนม์ที่มีนายปรีดีเป็นหัวหน้าและมีนายเฉลียวเป็นสมาชิกร่วมอยู่ด้วย ทำให้นายเฉลียวต้องยื่นร้องทุกข์ขอความคุ้มครองจากการที่ตนต้องถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม ตำรวจได้สั่งปรับผู้ลงข่าว 200 บาท และผู้ให้ข่าว 400 บาท จากนั้นการพิจารณาคดีก็เป็นไปอย่างเฉื่อยเนือย ในเดือนกุมภาพันธ์ก็มีพยานเกิดขึ้นมาอีก 25 คนที่อ้างว่าได้ยินความจริงที่มีคนเคยให้การมาแล้ว

มีพระพี้เลี้ยงเนื่องที่รับใช้ใกล้ชิดในบ้านพิมานถูกเรียกมาให้การในศาลถึง
7 วัน พระพี่เลี้ยงเนื่องให้การว่านายปรีดีเข้ากันได้ดีกับราชวงศ์ทุกคน ในหลวงอานานยังได้ชวนให้นายปรีดีไปพักผ่อนด้วยกันที่หัวหิน แต่นายฉันท์หุ้มแพรมหาดเล็กอาวุโสผู้ซื่อสัตย์ซึ่งถึงแก่กรรมสองเดือนก่อนการสวรรคตได้เคยแสดงความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของเจ้านาย

เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีตำรวจ
พล.ต.อ. เผ่าขึ้นให้การว่าหนึ่งเดือนก่อนการสวรรคต คนสำคัญซึ่งเป็นพรรคพวกของนายปรีดีพูดว่าในหลวงอานานมีแผนจะสละราชสมบัติให้เสี่ยเล็กเพราะพระองค์จะลงมาเล่นการเมือง พี่เขยของเผ่าที่มีเมียเป็นข้าราชบริพารของแม่สังวอนได้ส่งข่าวมาว่าในหลวงอานานต้องการพบจอมพล ป. เผ่าจึงไปบอกจอมพล ป. โดยนัดพบกันที่บ้านสระปทุมของแม่สังวอน แต่เกิดเหตุสวรรคตก่อน
แต่มีข่าวใหม่ที่น่าตื่นเต้นกว่า โดยมีร้อยตรีกรี พิมพกร นายทหารชั้นผู้น้อยคนหนึ่งให้การว่าตนเคยติดคุกในข้อกบฏฟื้นระบอบเจ้าหรือกบฏบวรเดช
2476 และได้รู้จักกับหัวขโมยในคุกชื่อนายสี ชูรัตน์ ต่อมานายสีได้เล่าให้ตนฟังว่านายชาติ เศรษฐก้ด ที่เคยอยู่ในขบวนการเสรีไทยของนายปรีดีได้มาจ้างนายสีให้ไปยิงคนสำคัญ ตกลงค่าจ้างกันราวสี่แสนบาท เขาถูกพาตัวมาที่พระราชวังโดยนายชิตและนายบุศย้เป็นคนชี้ตัวเป้าหมาย ซึ่งก็คือในหลวงอานาน นายสีจึงขอถอนตัว ทำให้เรือเอกวัชรชัยต้องเป็นลงมือยิงในหลวงอานานเอง พล.ต.อ.เผ่าก็ได้ให้การยืนยันว่าตนได้พบและฟังเรื่องราวจากนายสีเช่นเดียวกัน แต่นายสีถูกฆ่าตายอย่างทารุณไปก่อนแล้วในปี 2490 จึงไม่ได้มาให้การในศาล

คำให้การของเสี่ยเล็ก


ราชาภิเษกสมรส 28 เมย. 2493

เสี่ยเล็กได้กลับประเทศไทยเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อทำพิธีเผาพระศพ จัดพิธีอภิเษกสมรสและราชาภิเษก ในระหว่างที่อยู่ในประเทศไทย ได้ให้ศาลและคู่ความเข้าพบและให้การในฐานะพยานโจทก์เมื่อวันที่ 12 และ 15 พฤษภาคม 2493 ที่บ้านจิตรลดา เป็นการพิจารณาคดีนอกศาล



 









วันที่
12 พฤษภาคม 2493 เสี่ยเล็กได้ให้การเป็นพยานโจทก์ใช้เวลา 90 นาที โดยมีองคมนตรีร่วมฟังอยู่ด้วย 5 คน
มีเนื้อหาสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
ข่าวกษัตริย์ภูมิพลให้การ
ข้าพเจ้าขอให้การว่า ข้าพเจ้าชื่อพูมลำพองคนองเดช หรือเสี่ยเล็ก ขอให้การว่า ...
...ในเช้าวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ฉันกินอาหารเช้าประมาณราว 8.30 น. ที่มุขชั้นบนด้านหน้าบ้านพิมาน  แล้วฉันได้เดินไปทางห้องพระบรรทม เมื่อเวลา 9.00 น.ได้พบนายชิตกับนายบุศย์ นั่งอยู่ที่หน้าห้องแต่งตัว ฉันได้ถามเขาว่า ในหลวงมีอาการเป็นอย่างไร ได้รับตอบว่ามีอาการดีขึ้น ได้เข้าห้องอาบน้ำแล้ว ต่อจากนั้น ฉันได้เดินไปยังห้องของฉัน แล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆออกๆอยู่ที่สองห้องนี้ ระหว่างนั้นประมาณ 9.25 น. ได้เห็นคนวิ่งผ่านประตูห้องบันไดซึ่งอยู่ติดกับห้องเครื่องเล่น แล้วได้ยินเสียงคนร้อง ขณะที่ฉันอยู่ในห้องเครื่องเล่น ฉันจึงได้ออกจากห้องเครื่องเล่นไปยังเฉลียงด้านหน้าโดยผ่านทางห้องบันได ได้พบน.ส.จรูญ ที่หน้าห้องคนรับใช้ ฉันถาม น.ส.จรูญ ว่ามีเรื่องอะไร ได้รับตอบว่าในหลวงยิงพระองค์เอง ฉันจึงรีบตรงไปยังห้องบรรทม เมื่อเข้าไปถึงห้อง ก็เห็นแม่สังวอนอยู่บนปลายเตียงและพี่เลี้ยงเนื่องอยู่ทางหัวเตียง เห็นในหลวงนอนหงายอย่างปกติ ที่หน้าผากมีรอยเลือด ตาหลับ แขนยืดอยู่ข้างลำตัว ฉันจึงบอกให้คนไปตามหมอ ฉันได้เข้าไปประคองแม่สังวอนให้มานั่งเก้าอี้ที่ปลายเตียงนอน  จากนั้นหมอนิตย์ได้มาถึงแล้วเข้าไปดูโดยไม่ได้พูดว่าอะไร แม่สังวอนได้กลับไปห้องอ่านหนังสือ เมื่อฉันรู้ว่าหมดหวังแล้ว จึงได้เรียกพระยาชาติให้เขาจัดการเรื่องงานพระศพไปตามระเบียบ

วันที่ 15 พฤษภาคม 2493 เสี่ยเล็กให้การตอบโจทก์ ต่อจากวันที่ 12 พฤษภาคม 2493
เสด็จถึงกรุงเทพทางเครื่องบิน 5 ธค. 2488
เข้าไปถึงหน้าบ้านพิมาน ในหลวงจะพอพระทัยหรือไม่ฉันไม่รู้ เคยมีครั้งหนึ่งที่แม่สังวอนเรียกใช้รถยนตร์แต่รถไม่ได้มา เพราะคันหนึ่งไปซ่อม อีกคันหนึ่งเอาไปให้นายปรีดี เขาว่ากันว่า นายเฉลียว เป็นคนส่งรถไปให้นายปรีดี แล้วนายควง นายกรัฐมนตรี ได้ส่งรถมาให้ใช้แทน
พิธีบรมราชาภิเษก 5 พ.ค. 2493
ในหลวงไม่เคยบอกฉันว่านายเฉลียวมีความเคารพหรือไม่เวลาเข้าเฝ้า การที่นายเฉลียวพ้นจากตำแหน่งราชเลขานุการ น่าจะเป็นเพราะในหลวงไม่ทรงโปรด แต่จะเป็นเพราะเรื่องอะไรท่านก็ไม่ได้บอกฉัน
ในคราวที่ในหลวงเสด็จไปหัวหิน นายปรีดีได้ไปด้วย คราวนั้นนายปรีดีได้สั่งเอารถจี๊ปซึ่งเป็นรถส่วนพระองค์ไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต และนายปรีดีได้จัดงานเลี้ยงพวกเสรีไทยที่ทำงานใต้ดินที่หัวหินโดยไม่ได้ขอพระราชานุญาต ในการเลี้ยงนั้นมีเสียงดังเอะอะ


กลับจากสวิส 2493
 นายปรีดีเคยบอกว่าสั่งให้เอาเปียโนมาให้ ตอนแรกฉันเข้าใจว่า เปียโนนั้นเป็นของนายปรีดี ต่อมาพระยาชาติบอกว่าเป็นของสำนักราชวัง
เกี่ยวกับการตั้งราชเลขานุการแทนนายเฉลียวที่พ้นตำแหน่ง ฉันรู้ว่าในหลวงมีพระประสงค์จะตั้งนายนิกรเทวัญให้เป็นแทนแต่นายปรีดีก็ยังทำชักช้า
นายมี พาผล เคยบอกฉัน หลังจากการสวรรคตแล้วราว 2-3 อาทิตย์ ว่านายชิตเคยพูดไว้ก่อนแล้วว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับในวันที่ 13 มิถุนายน
วันที่ในหลวงสวรรคต ฉันเห็นคนวิ่งผ่านห้องบันได ฉันเคยถามนายชิตเขาบอกว่า เขาวิ่งมาทางหน้าบ้านพิมาน และบอกอีกครั้งหนึ่งว่าวิ่งมาทางหลังบ้านแล้วออกไปทางหน้า แสดงว่านายชิตพูดไม่ตรงกัน
นายฉันท์ มหาดเล็กอาวุโสที่ภักดี เคยบอกกับฉันว่าต้องระวังตัว ตั้งแต่ฉันมาถึงเมืองไทย
การที่นายปรีดีไปหัวหินด้วยนั้น นายปรีดีไม่ได้มีหน้าที่ต้องติดตามไปอย่างใด แต่จะเป็นพระราชประสงค์หรือเปล่า ฉันไม่รู้
ในเดือนสิงหาคม 2493 ศาลได้เดินทางไปฟังคำให้การของแม่สังวอนที่สถานทูตไทยในสวิตเซอร์แลนด์พร้อมนายฟักทนายจำเลย แม่สังวอนให้การว่าไม่เคยมีเรื่องขัดแย้งกับในหลวง แต่มีเพียงครั้งเดียวที่โกรธเมื่อเรียกใช้รถที่เหลืออยู่คันเดียวแต่นายปรีดีเอาไปใช้ นายเฉลียวถูกไล่ออกเพราะทำงานไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง แพทย์และองครักษ์บางคนก็ถูกไล่ออกด้วย คนพวกนั้นเป็นคนของนายปรีดี ที่ในหลวงให้กล่องบุหรี่แก่นายเฉลียวเพราะมีคนบอกว่าเป็นธรรมเนียมสำหรับข้าราชการที่ถูกไล่ออกไปโดยไม่มีความผิดที่เจาะจงได้


พระพินิจถวายเงินในนามธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
พระพินิจชนคดีหัวหน้าพนักงานสอบสวนขึ้นให้การในเดือนตุลาคม 2493 ว่าตนใต่เต้าจากตำรวจชั้นประทวนขึ้นเป็นพลตำรวจตรีกระทั่งลาออกในปี 2490 ที่ต้องกลับเข้ามาอีกเพราะไม่พอใจการสืบสวนคดีสวรรคตของรัฐบาลนายปรีดี เขาจึงเสนอตัวเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนให้รัฐบาลพรรคแมงสาบซึ่งจอมพล ป.ได้ตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร พยานหลักฐานในสองปีที่ผ่านมาล้วนเป็นผลงานของเขาเป็นส่วนใหญ่ พระพินิจอ้างว่าได้คุยกับท่านชิ้นหรือเจ้าศุภสวัสดิ์ให้นายควงร่วมมือกับนายปรีดีมิฉะนั้นราชวงศ์จะอยู่ในอันตราย พระพินิจเป็นพยานคนที่ 124 เป็นพยานฝ่ายโจทก์คนสุดท้าย


คำให้การของลูกแกะ

นายเฉลียว นายบุศย์ และนายชิต
ในเดือนพฤศจิกายน 2493 จึงเริ่มสืบพยานจำเลย โดยนายฟัก ณ สงขลา ทนายจำเลยพยายามพิสูจน์หักล้างข้อกล่าวหาโดยพยายามไม่กล่าวหาผู้อื่นว่าเป็นผู้กระทำ นอกจากจะเป็นทนายให้แก่จำเลยทั้งสามแล้ว เขายังเป็นทนายแก้ต่างให้แก่จำเลยผู้ลี้ภัยอีกสองคนคือทั้งนายปรีดีและเรือเอกวัชรชัย นายฟักประณามการกล่าวหาว่านายปรีดีเป็นศัตรูกับในหลวงเพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

ลูกแกะเฉลียว

นายเฉลียวให้การว่าเขาเป็นเพียงผู้นิยมชมชอบนายปรีดีในด้านการเมือง เขาไม่ได้ร่วมมือกับนายชิต ไม่ได้ใช้นายชิตเป็นสายลับ ไม่ได้สมรู้ร่วมคิดในการลอบปลงพระชนม์

เสด็จชมนิทรรศการของเสรีไทย
เขาไม่ได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งราชเลขาธิการ ข้อกล่าวหาที่ว่าเขาไม่เคารพในหลวงก็เป็นเรื่องโกหก เขาขับรถเข้าไปในเขตบ้านพิมานสองสามครั้งเพราะเขาบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจี๊บคว่ำระหว่างที่ในหลวงเสด็จไปชมการแสดงของเสรีไทย และเขาเพิ่งได้ยินเรื่องในหลวงสั่งปลดเขาในห้องพิจารณาคดีที่ 24 นี้เอง การที่เขาต้องขอลาออกจากราชการเพราะสุขภาพของเขาไม่ดีอันเกิดจากได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจี๊บคว่ำดังกล่าว  

นายเฉลียวถูกคุมตัวออกจากห้องพิจารณาคดี
เขาเชื่อว่าได้ลาออกมาในช่วงที่ในหลวงยังพอพระทัยเขาอยู่ จะเห็นได้จากการที่ในหลวงได้พระ ราชทาน 
กล่องบุหรี่เงินแก่เขา เขายืนยันหนักแน่นในความภักดีของเขาและเขาเสียใจอย่างสุดซึ้งเมื่อได้ทราบข่าวการสวรรคตในตอนเที่ยงกว่า ทีแรกเขาไม่เชื่อ เขาได้ไปที่พฤฒสภาในฐานะที่เขาเป็นสมาชิกพฤฒาสภาในคืนวันนั้นและได้ออกเสียงสนับสนุนให้เสี่ยเล็กได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ ก่อนหน้านั้นพวกองครักษ์ได้บอกเขาว่าในหลวงฆ่าตัวตายด้วยเหตุผลที่พวกเขาเชื่อกัน แต่เขาจะบอกแก่ศาลในห้องพิจารณาลับ เพราะกระทบถึงพระเกียรติยศ นายเฉลียวเปิดเผยแก่ศาลว่าเจ้าหน้าที่พระราชวังเล่าว่าในหลวงได้โต้เถียงอย่างรุนแรงกับแม่สังวอนและเรื่องนี้ทำให้ในหลวงอานานสะเทือนพระทัยมากเป็นเหตุให้ต้องฆ่าตัวตาย แต่นายเฉลียวเองไม่ได้ยินการโต้เถียงที่ว่านั้น


นายกปรีดีรับเสด็จนิวัติพระนคร 5 ธค. 2488
หลังจากนั้นเขาได้เริ่มได้ยินข่าวลือเรื่องการลอบปลงพระชนม์ที่พัวพันมาถึงเขา และมีการลือกันว่าเขาขโมยรถยนต์ส่วนพระองค์และหลบหนีไปต่างประเทศแล้ว เชื่อมโยงถึงนายปรีดีและเรือเอกวัชรชัย ทำให้เขารู้สึกชิงชังและเบื่อหน่ายเรื่องทางการเมืองมากจนต้องขออำลาจากเวทีทางการเมือง เขาเชื่อว่าพรรคแมงสาบซึ่งเป็นฝ่ายตรงกันข้ามเป็นคนสร้างข่าวลือ เมื่อเขาถูกจับ เขาถูกล่ามโซ่ตรวนอย่างหนักที่สุดและมักต้องบาดเจ็บจากการตอกตรวนโดยมิได้รับการดูแลรักษาแต่อย่างใด เขาถูกผู้คุมทำให้ประสาทล้าสิ้นเรี่ยวแรงโดยเอาไฟส่องหน้าทุกๆสิบนาทีตลอดทั้งคืน แต่เขาก็ไม่เคยให้การบิดเบือนไปจากคำให้การโดยละเอียดในชั้นสอบสวนในตอนต้น นายชิตและนายบุศย์ก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะมีการใช้ยาให้พูดความจริงซึ่งทำให้คนทั้งสองต้องสิ้นสติไปถึง 24 ชั่วโมงแล้วก็ตาม นายฟักได้ซักถามนายเฉลียวถึง 6 วัน แต่นายเฉลียวก็ยังถูกซักค้านจากอัยการ ดังนี้
อัยการ
: ทำไมคุณถึงต้องลาออกจากราชเลขานุการซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติสูงส่งมาก
เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิและพึงพอใจ ขณะที่คุณก็ยังเป็นกรรมการหลายบริษัทในขณะดียวกันทำให้คุณมีฐานะทางการเงินดีมาก คุณต้องมีเหตุผลชัดเจนที่จะขอลาออกจากราชเลขานุการ

นายเฉลียว
: ผมบอกศาลแล้วว่าเป็นเพราะสุขภาพของผมเลวลง
อัยการ
: แต่คุณก็ยอมตำแหน่งสมาชิกพฤฒิสภาที่นายปรีดีเสนอให้ในทันทีมิใช่หรือ
นายเฉลียว
:ก็มันไม่ใช่งานเหน็ดเหนื่อยอะไร ไม่ได้ใช้เวลานานเป็นชั่วโมงๆ
และผมก็อยากเล่นการเมือง

อัยการ
:คุณยังเป็นกรรมการบริษัทอยู่และคุณก็เข้าพฤฒิสภา มีพยานหลักฐานว่าคุณตั้งใจจะสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นรองประธานพฤฒิสภา นี่รู้สึกว่าจะมิใช่ลักษณะของคนที่สุขภาพไม่ดี
เอาอย่างนี้ดีกว่าคุณจะอธิบายได้อย่างไรในข้อที่คุณปฏิเสธว่าคุณไม่ได้ไปที่บ้านพล.ร.ต.ศรยุทธเสนี ในเมื่อนายตี๋พ่อค้าไม้ซึ่งไม่เคยรู้จักคุณมาก่อน สามารถชี้ตัวคุณจากแถวผู้ต้องสงสัยได้
นายเฉลียว: ตำรวจจับผมสวมเครื่องแต่งตัวซึ่งมีสีเขียวเด่นเป็นพิเศษ เพื่อให้ยืนในแถว นายตี๋จึงได้ชี้ถูก
อัยการ
:เอาเถอะ ไม่ต้องยุ่งกับนายตี๋ก็ได้ แต่ทั้งพล.ร.ต.กระแส ศรยุทธเสนีและสาวใช้ (น.ส. ทองไป แนวนาค) ต่างก็ยืนยันว่าคุณไป
นายเฉลียว:ผมไม่ได้ไปที่นั่น


พ.อ.ประพันธ์ กุลพิจิตร
อัยการ:พันเอกประพันธ์ กุลพิจิตรที่คุณพูดด้วยตอนงานเผาศพเจ้าอาทิตย์ผู้สำเร็จราชการก็คงพูดโกหกสินะ ที่เขาว่าคุณบอกว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่ 13
นายเฉลียว:ผมไม่เคยได้ยินว่ามีใครพูดเช่นนั้นเกี่ยวกับในหลวงเลย
อัยการ
:นายพันเอกประพันธ์เป็นเพื่อนเก่าแก่ ไปงานขึ้นบ้านใหม่ของคุณ เขาจะโกหกไปทำไม การที่คุณพูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับในวันที่ 13 ก็ร้ายพออยู่แล้ว แต่การที่คุณปฏเสธว่าไม่ได้พูด ก็ยิ่งดูเหมือนเป็นคำปฏิเสธของคนผิด
นายเฉลียว : ผมบอกคุณแล้วว่า ผมไม่เคยได้ยินว่ามีใครพูดเช่นนั้นเกี่ยวกับพระองค์เลย



มจ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท หรือท่านชิ้น
อัยการ : ในเมื่อคุณเลี่ยงไม่ให้คำตอบตรงๆ ผมจะถามเรื่องอื่นก็ได้
ในเมื่อคุณมีอิทธิพลจูงใจนายชิต นายชิตก็ยังมีส่วนเกี่ยวดองกับเจ้าศุภสวัสดิ์หรือท่านชิ้นซึ่งได้ตกลงเรื่องการเมืองบางอย่างกับนายปรีดี คุณจะบอกได้ไหมว่าเขาตกลงกันเรื่องอะไร

นายเฉลียว
: ผมไม่เคยได้ยินว่ามีการตกลงเรื่องอะไร ผมได้ยินเพียงว่าท่านชิ้นพยายามจะให้ผู้นำทางการเมืองทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหาก้น
ถึงแม้ผมจะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคนสนิทของนายปรีดี แต่ผมยอมรับว่าผมนิยมชมชอบเขา ผมรู้จักเขามาตั้งแต่เด็ก เราอยู่โรงเรียนเดียวกันที่อยุธยา ผมเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2475 ในฐานะฝ่ายพลเรือน ผมเคารพนายปรีดีในฐานะที่เขาได้อุทิศตนเพื่อชาติโดยยอมเสี่ยงชีวิตเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น ผมไม่มีเหตุใดๆที่จะข้องใจในความจงรักภักดีของเขา แท้ที่จริงเขากลับเป็นคนที่จงรักภักดีต่อราชตระกูลอย่างเด่นชัด เขาได้จัดการให้มีการปลดปล่อยนักโทษการเมืองซึ่งรวมถึงเจ้ารังสิต เขาได้กู้เกียรติยศและราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ให้กลับคืนมา หลังจากที่สิ่งเหล่านั้นได้เสื่อมลงอันเนื่องมาจากการสละราชบัลลังก์ เขาเป็นผู้ยกเลิกข้อห้ามที่ทำให้พวกเจ้าไม่มีสิทธิ์เล่นการเมือง ในระหว่างที่ในหลวงเสด็จไปหัวหินพระองค์ก็ให้ความสนิทสนมรักนายปรีดีฉันท์เพื่อน ผมขอย้ำถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริงของผม และความชิงชังอย่างที่สุดต่อการลอบปลงพระชนม์


สามจำเลยในห้องพืจารณาคดี
นับเป็นเรื่องแปลกที่อัยการพยายามหยิบยกเอาเหตุผลสารพัดทั้งที่มีสาระและไม่มีสาระทุกแง่มุมที่ส่อแสดงถึงความไม่พอใจ นายปรีดีเองก็ถูกกล่าวหาว่าคิดกบฏเนื่องจากลูกน้องถูกปลดจึงถือว่าเป็นการดูถูกตนด้วย การที่นายปรีดีไปแต่งตั้งคนที่ในหลวงไม่ทรงโปรดให้มีตำแหน่งดีขึ้นย่อมส่อแสดงถึงความไม่จงรักภักดีของนายปรีดี



วงศ์ เชาวนะกวี อนุศาสนาจารย์กองทัพเรือ
พยานที่มีน้ำหนักที่สุดคือพระศาสนาจารย์ของในหลวงอานาน ( คือ อนุศาสนาจารย์ที่ ชื่อ นายวงศ์ เชาวนะกวี ที่ถวายการสอนภาษาไทย ) ที่ให้การว่านายปรีดีได้เข้าเฝ้าพระองค์หลังการเสวยอาหารมื้อเย็นในวันที่ 7 มิถุนายน 2489 นายปรีดีและในหลวงอานานมีความขัดแย้งกันเรื่องการแต่งตั้งผู้ที่จะมาเป็นผู้สำเร็จราชการ นายปรีดีโกรธมากและได้บอกพยานว่าเขาไม่พอใจและจะไม่สนับสนุนราชบัลลังก์อีกต่อไปแล้ว คำขู่ของนายปรีดีทำให้พยานขมขื่นมาก และเขาได้ไปบอกแม่สังวอนให้ไปบอกในหลวง แต่แม่สังวอนปฏิเสธอัยการได้พยายามขุดคุ้ยเรื่องความไม่จงรักภักดีของนายปรีดีโดยได้ย้อนหลังไปหลายปี รวมไปถึงความฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ ข้าราชการบางคนยังให้การว่านายปรีดีเคยทะเลาะกับทูตไทยในปารีสสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา สถานทูตรายงานว่านายปรีดีเคยเข้าร่วมประชุมกับพวกคอมมิวนิสต์ แต่พยานยอมรับว่าตนมีความชื่นชมในความหลักแหลมของนายปรีดี และยอมรับว่าสมาชิกในราชตระกูลหลายคนต่างยกย่องนับถือนายปรีดีในความช่วยเหลือต่อเจ้านายเหล่านั้นโดยเฉพาะในยามสงคราม

นายชิต ลูกแกะตัวที่สอง

ปลายเดือนธันวาคม 2493 ก็เป็นการเริ่มให้การของนายชิต นายชิตถูกล่าวหาว่าร่วมมือกับนายเฉลียวซึ่งนายตี๋พ่อค้าไม้แอบได้ยินและเขาได้พูดกับนายสีผู้เป็นมือปืน แล้วยังได้บอกนางสาวจรูญ หญิงรับใช้และมหาดเล็กอีกคนหนึ่งว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับไปในวันที่ 13


ชิต สิงหเสนี วัย18 ปี มหาดเล็กใน ร.7
นายชิตได้ให้การปฏิเสธตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมทั้งยืนยันในความจงรักภักดีและอุทิศตนรับใช้ในหลวง เขาเคยเล่นกับในหลวงตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ยังเป็นเด็ก ตระกูลของเขาได้รับใช้ราชวงศ์ตั้งแต่สมัยพ่อและปู่ของเขา เขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการปลงพระชนม์
อัยการสวนทันควันว่า ก็เขาซื้อตัวคุณนะสิ
นายชิตแสดงท่าทีเหยียดหยามต่อการกล่าวหา เขาปฏิเสธอย่างรุนแรงถึงการช่วยให้ฆาตกรเข้ามาและหลบหนีไปโดยไม่มีการขัดขวาง เขายืนยันว่าไม่ได้เห็นใครเลย แม้ว่าเขาจะเป็นคนที่วิ่งเข้าไปในห้องเมื่อได้ยินเสียงปืน เขาได้เคยให้ถ้อยคำว่าได้พบปลอกกระสุนปืนที่ใช้ยิง เพราะเขารู้สึกสับสนไปหมด สามวันต่อมาก่อนที่เขาจะนำตำรวจไปพบลูกปืนที่เตียงนอน ซึ่งอัยการกล่าวหาว่าเป็นเรื่องโกหก นายชิตต้องตอบคำถามอัยการว่าทำไมเขาต้องไปอยู่ในบ้านพิมานในเช้าวันนั้นทั้งๆที่เขาไม่ได้เข้าเวร  และทำไมเขาจึงไปบอกแม่สังวอนว่าในหลวงฆ่าตัวตายทั้งๆที่เขารู้เพียงแต่ว่าถูกกระสุนปืน

เสด็จงานพร้อมพระอนุชา ราวต้นปี 2489
นายชิตชี้แจงว่าเขามานั่งรอเพื่อจะวัดขนาดกล่องที่ใส่ตราประทับที่อยู่ห้องบรรทมเขาไม่อยากเข้าไปรบกวนพระองค์ จึงรออยู่หน้าห้องกับนายบุศย์ เมื่อได้ยินเสียงปืนเขาได้เข้าไปในห้องบรรทม เห็นในหลวงนอนอยู่ เขาเห็นเลือดที่ศีรษะ ที่แขนและที่หมอน จึงรีบวิ่งไปบอกแม่สังวอน ที่เขาร้องบอกแม่สังวอน เพราะเขาตกใจและรู้ว่าในหลวงมีปืนหลายกระบอกรวมทั้งปืนพกในตู้เล็กข้างเตียง  และไม่คิดว่าจะมีใครกล้าเป็นกบฏต่อพระองค์ ที่คิดได้คือในหลวงต้องยิงพระองค์เองเท่านั้น

“ คุณได้ยินเสียงปืนและคุณเห็นในหลวงนอนอยู่บนเตียง มีเลือดไหลเปรอะเปื้อนไปหมด คุณเห็นเท่านั้นหรือ ”
“ ครับ ”
“ คุณเคยได้ยินว่ามีกษัตริย์ยิงตัวเองไหม ”
“ ไม่เคยครับ ”
“ ถ้าเช่นนั้น ทำไมคุณถึงสรุปได้ในทันทีว่าในหลวงยิงพระองค์เอง เมื่อคุณไม่ได้เห็นปืน เป็นเพราะคุณรู้ล่วงหน้ามาก่อนแล้วใช่ไหม ”
“ ตอนนั้นผมตกใจมาก ผมได้ยินเสียงปืนกับหูทีเดียว ผมทราบว่าในหลวงมีปืนอยู่หลายกระบอก รวมทั้งปืนพกในตู้เล็กข้างเตียงนอน ผมยังได้เห็นเลือดกับตา และไม่เห็นใครอยู่ในห้องนั้นอีก ผมไม่เคยคิดว่าจะมีใครกล้าเป็นกบฏต่อในหลวง ผมจึงคิดได้แต่เพียงว่าในหลวงต้องยิงพระองค์เองแน่ๆ ครับ ”


นายบุศย์ ลูกแกะตัวที่สาม


ขณะเข้าเรียนที่โรงเรียนเทพศิรินทร์
ในคืนที่ประชวร นายบุศย์อยู่เวรรับใช้ แม่สังวอนได้สั่งนายบุศย์สวนทวารหนักแก่ในหลวง ในระหว่าง 21.00 -22.00 น.นายบุศย์ได้ช่วยจัดที่นอนในคืนนั้น ในหลวงได้ไหว้พระในห้องพระซึ่งเป็นห้องใหญ่มีฉากกั้นระหว่างห้องนอนกับห้องพระ โดยนายบุศย์ได้ตามไปด้วยและเป็นคนจุดเทียนให้พระองค์ไหว้พระ นายบุศย์เป็นคนเปิดมุ้งให้ มุ้งครอบเตียง โดยห่างจากเตียงประมาณหนึ่งก้าว แม่สังวอนได้ตามมาดูเพื่อให้ยาเพื่อกล่อมให้หลับ และได้สั่งให้กดกระดิ่งเรียกถ้ามีเรื่องให้ช่วย จากนั้นแม่สังวอนก็กลับไปห้องของตน นายบุศย์จึงออกมานั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งตัวหรือห้องฉลองพระองค์



เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก 2481
หลังจากนั้นนายชิตก็เข้ามาโดยบอกว่าได้ไปที่ร้านเพชรพลอยเพื่อทำกล่องใส่เครื่องประดับยศของในหลวงแต่ทางร้านต้องการทราบขนาดที่แน่นอนของตราประทับ เขาจึงต้องการจะวัดขนาดดวงตราประทับเหล้านั้นซึ่งเก็บอยู่ในตู้เซฟในห้องฉลองพระองค์ นายชิตไม่ต้องการรบกวนพระองค์ท่าน จึงตัดสินใจรออยู่กับนายบุศย์ที่หน้าประตูห้องแต่งตัว  สิบนาทีต่อมา เวลาประมาณ 9.00 น. เสี่ยเล็กได้เดินมาจากโต๊ะกินข้าวทางระเบียงด้านหลัง ได้ถามมหาดเล็กทั้งสองถึงอาการของในหลวงผู้เป็นพี่ชาย  เวลาผ่านไปอีกราวสิบนาทีหรือเวลา 9.20 น. ได้มีเสียงปืนดังสนั่นหวั่นไหวอย่างน่าตกใจจากห้องบรรทม
  

ขณะเรียนชั้นมัธยมที่สวิส
นายบุศย์เล่าว่า ตนเกิดอยู่ในวังหลวง มีแม่เป็นนางกำนัลอยู่ในวัง รับราชการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่เจ็ด พ่อและปู่ของนายบุศย์ก็รับราชการรับใช้ในวังมาก่อน นายบุศย์รูปร่างเล็ก ค่อนข้างผอม เป็นคนซื่อๆ ตาเป็นประกาย เขามีหน้าที่ดูแลในหลวงอานานตั้งแต่เมื่อพระองค์ยังเด็ก ในระหว่างที่เสด็จกลับกลับประเทศไทยในปี 2481 ตอนนั้นในหลวงอานานอายุแค่ 13 ปี เขาได้ไปตกปลาและขับรถกับในหลวง

เสด็จเยี่ยมสว่างวัฒนาผู้เป็นย่าที่วังสระปทุม 2481
ในหลวงอานานทรงโปรดนายบุศย์มาก ตอนเสด็จกลับกรุงเทพครั้งแรก พระองค์ยังเป็นเด็กอยู่ จะรักนายบุศย์มาก เพราะนายบุศย์จะเป็นม้าให้พระองค์นั่งบนหลัง นายบุศย์จะเป็นคนหวีผมและเช็ดตัวให้พระองค์หลังอาบน้ำ ในครั้งนี้จึงโปรดให้นายบุศย์เดินทางไปต่างประเทศด้วยกันอย่างเป็นทางการและให้ตามรับใช้ที่สวิตเซอร์แลนด์ด้วย แม่สังวอนได้ให้เงินค่าเครื่องแต่งตัวแก่นายบุศย์ และเตรียมให้เงินเดือนแก่ครอบครัวครึ่งหนึ่งในระหว่างที่นายบุศย์ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย นายบุศย์ได้เตรียมตัวไปสวิตเซอร์แลนด์พร้อมแล้ว และได้ไปรดน้ำมนต์ที่วัดเพื่อความเป็นศิริมงคล เขารักในหลวงอานานมาก ในขณะที่ให้การเขากลั้นความรู้สึกไม่อยู่ถึงกับต้องร่ำไห้ในคอกพยาน

ขณะเริ่มเป็นวัยรุ่น
นายฟักได้ถามเรื่องในคุก เขาถูกตี ถูกเตะ ถูกล่ามโซ่และมอมยา ตำรวจได้ซักถามเขาซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ใครเข้าไปในห้องบรรทม ทุกครั้งเขาตอบว่าไม่มีใคร ก็จะถูกเตะ และถูกเตะมากขึ้น เช่นเดียวกับนายชิต เขาเล่าถึงการที่ถูกทำให้สิ้นสติโดยการวางยา เขาไม่ทราบว่าเขาได้พูดอะไรบ้างเพราะฤทธิ์ยา แต่เขาทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกบันทึกไว้ในเทป เมื่อเสียงปืนดังขึ้น เขาตกตลึงจนเคลื่อนไหวไม่ได้ เห็นนายชิตชะโงกหน้าเข้าไปดู เขาตามนายชิตไป แต่ไม่ทัน พอย้อนกลับมาที่หน้าห้อง ก็พบเสี่ยเล็กที่สั่งให้เขาไปตามหมอ



ระหว่างเสด็จนิวัติพระนคร 2481
อัยการตั้งรูปคดีเพื่อมัดนายบุศย์กับนายชิต เนื่องจากทั้งสองคนนั่งอยู่ด้วยกัน ถ้าผิดก็ต้องผิดด้วยกัน
นายบุศย์อยู่เวรแต่ไม่ได้ลงกลอนประตูห้องส่วนพระองค์ จึงอาจตั้งใจให้ฆาตกรแอบเข้ามาก็ได้
นายบุศย์ปฏิเสธว่าไม่ได้ทำและไม่เคยรู้เรื่องการกบฏ นายบุศย์เห็นในหลวงเอาแผ่นกระดาษออกมาเผาร่วมครึ่งโหลในวันก่อนสวรรคตในห้องอาบน้ำเข้าใจว่าเป็นจดหมายส่วนตัว

ในตอนเช้าวันที่สวรรคตขณะที่หมอนิตย์เข้ามาเช็ดพระศพ นายบุศย์อยู่ในห้องนั้น ได้ยินเสียงจากห้องหนังสือที่อยู่ติดกัน แม่สังวอนนั่งบนโซฟาร์กระทืบเท้าและถือกระดาษอยู่สองสามแผ่น ขณะที่เสี่ยเล็กเดินงุ่นง่านอยู่ในห้อง นายบุศย์ได้ยินแม่สังวอนร้องว่า “ เธอต้องการทำอะไรก็ทำเถิด

ชิต บุศย์และเฉลียว
หลังจากสรุปคำให้การของนายบุศย์ จากนั้นจำเลยได้นำพยานมาให้การอีกถึง 33 คน ซึ่งเกือบทั้งหมดได้ให้การในทางปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยินว่านายปรีดีมีเรื่องไม่พอใจในหลวง

ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์
ท่านผู้หญิง พูนศุขให้การว่านายปรีดีสามีของเธอได้อุทิศตนเพื่อราชบัลลังก์อย่างที่ไม่มีอะไรต้องสงสัย มีพยานอีกหลายคนที่ยืนยันในความซื่อสัตย์และจงรักภักดีของเขา ความช่วยเหลือของเขาที่มีต่อราชตระกูล การทำงานอย่างหนักทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ทำงานใกล้ชิดกับนายปรีดีเกี่ยวกับสำนักราชวังยืนยันว่าเขาไม่เคยได้ยินนายปรีดีบ่นว่าในหลวงทรงเคยแทรกแซงหรือคิดจะแทรกแซงทางการเมือง


เรือเอกวัชรชัย มือปืนแพะ


เรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช
สำหรับผู้ที่กล่าวหาว่าเป็นฆาตกรลงมือปลงพระชนม์ก็คือเรือเอกวัชรชัยซึ่งไม่ค่อยมีใครรู้จัก เขาเคยเป็นราชองครักษ์และเป็นเลขานุการของนายปรีดี เรือเอกวัชรชัย รู้จักนายนายปรีดีครั้งแรกเมื่อไปอยู่เวรอารักขาคณะผู้สำเร็จราชการ ต่อมาได้เป็นนายทหารคนสนิทของนายปรีดี นายปรีดีได้แต่งตั้งเรือเอกวัชรชัยเป็นราชองครักษ์ในฐานะผู้แทนของกองทัพเรือซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากสามเหล่าทัพ
คุณชอุ่ม ภรรยาของเรือเอกวัชรชัยขึ้นให้การว่า เธอมีลูกกับเรือเอกวัชรชัยสามคน สามีของเธอต้องการลาออกจากตำแหน่งราชองค์รักษ์เพราะเงินเดือนน้อยมาก จึงแกล้งทำจดหมายลาป่วย เมื่อขาดราชการเกินสามเดือนก็จะถูกปลดตามระเบียบโดยอัตโนมัติ
ระหว่างเวลา
8.00-8.30 น.ในวันที่เกิดเหตุ 9 มิถุนายน 2489 เรือเอกวัชรชัยอยู่กับเธอที่บ้านแถบชานเมืองแถวบางกะปิ เพื่อรอพบหมอที่จะตรวจอาการของเธอ เพราะเธอทำท่าจะแท้งลูกเมื่อตอนกลางคืน เกือบ 9.00 น. รถยนต์ของเรือเอกวัชรชัยจึงมาถึง เพื่อจะพาไปพบบิดาและมารดาของเธอเพื่อแจ้งอาการของเธอให้ทราบ หลังจากนั้นเขาออกไปซื้อของ และกลับมาเมื่อเวลา 11.00 น. ด้วยอาการหดหู่เพราะได้ยินว่าในหลวงสวรรคตและเธอเองก็ร้องไห้
แต่อัยการแย้งว่าเรื่องที่เล่ามาไม่มีความหมาย เพราะบ้านของบิดาเธออยู่ใกล้บ้านพิมาน ไปมาได้สะดวก ประจักษ์พยานของคนในครอบครัวก็เป็นเรื่องผิวเผิน เพราะเขาอาจจะหลบเข้าไปยิงในหลวงแล้วค่อยกลับออกมาไปหาพ่อตาแม่ยายก็ได้ และจะอธิบายเรื่องรอยเลือดบนแขนเสื้อของเขาได้อย่างไร

ทนายจำเลยแถลงปิดคดีในวันที่  9 พฤษภาคม 2494 รวมพยานนำสืบทั้งหมด 161 คน ในเวลา สองปีครึ่ง อัยการขอให้ศาลพิพากษาจำเลยทั้งสามว่ามีความผิด รวมถึงนายปรีดีและเรือเอกวัชรชัย ให้ศาลลงโทษประหารชีวิต ทนายจำเลยขอให้ยกฟ้องและต่อมาได้แถลงขอให้ยกเลิกการพิจารณาคดีทั้งหมด โดยอ้างว่ารัฐบาลก็เป็นรัฐบาลที่ผิดกฎหมายที่มาจากการรัฐประหาร การกระทำของรัฐบาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย การตั้งพระพินิจและเจ้าหน้าที่มาดำเนินการสอบสวนก็ล้วนผิดกฎหมาย จึงต้องระงับหรือยกเลิกการพิจารณาคดี ศาลจึงได้เลื่อนการพิพากษาเป็นเวลาอีกถึงสี่เดือน ในช่วงเวลานี้ก็ได้เกิดกบฏแมนฮัตตันในวันที่ 29 มิถุนายน2494 เพื่อพยายามทำรัฐประหารโดยการจับตัวจอมพล ป. เป็นตัวประกัน

นายปรีดี หัวหน้าแพะ




ปรีดีที่ทำเนียบท่าช้างริมแม่น้ำเจ้าพระยา
นายปรีดีเป็นคนที่เอาจริงเอาจัง แต่หัวเราะง่ายและมีความอดทนในการอธิบายเรื่องต่างๆแก่สานุศิษย์ เป็นคนประหยัด มักน้อยและเรียบร้อย มีความสุขจากเรื่องพื้นๆ บางทีก็ทำขนมแพนเค้กมาเลี้ยงเพื่อนๆ หรือเล่นหมากรุกกับคนใกล้ชิด ไม่ใช่คนที่เยอทะยานบ้าวัตถุที่หวังกอบโกยสะสมเงินทอง เพราะนายปรีดีระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย เข้าได้สอบถามคนที่ไปอยู่อังกฤษมาแล้วอย่างละเอียดเรื่องเงินค่าใช้จ่ายที่แน่นอนในการศึกษาที่ประเทศอังกฤษ เพราะเขาตั้งใจที่จะเก็บเงินจากเงินเดือนของเขาเอง เพื่อส่งลูกๆไปเรียนอังกฤษ เขาไม่เคยนึกถึงการใช้จ่ายของทางราชการเลย


ปรีดีจบกฎหมายจาก ม.ซอร์บอน ฝรั่งเศส
นายปรีดีมีความสนิทสนมกับในหลวงอานานมาก ก่อนที่นายปรีดีจะได้รับตำแหน่งนายกหนึ่งเดือน ในหลวงอานาน เสี่ยเล็กและแม่สังวอนได้เสด็จไปพักผ่อนที่บ้านไกลกังวานหัวหิน โดยในหลวงอานานได้ชวนนายปรีดีให้ไปด้วย เป็นเวลาใกล้กับการสวรรคต แม้ว่าในหลวงอานานจะมีอายุน้อยกว่านายปรีดี แต่ก็มีอะไรเหมือนกันหลายอย่าง ในหลวงอานานสนใจกฎหมาย มีลักษณะเอาจริงเอาจังและได้ศึกษาหลายสิ่งหลายอย่างจากนายปรีดี

ปรีดีหรือรู้ธ ประชุมเสรีไทยที่ศาลาริมน้ำ ทำเนียบท่าช้าง
นายปรีดีจึงเปรียบเสมือนเป็นพระอาจารย์ประจำ โดยได้เล่าประสบ การณ์ การทำงาน และการต่อสู่ที่น่าตื่นเต้นในฐานะที่เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยช่วงเกิดสงคราม ในหลวงอานานได้ชวนนายปรีดีร่วมโต๊ะเสวยที่หัวหินทุกเย็น และมักชวนนายปรีดีไปร่วมเล่นน้ำหรือเดินเล่นด้วยกัน

ปรีดี ปฏิบัติราชการแทนพระองค์
ในหลวงอานานรักและชื่นชมนายปรีดี และนายปรีดีก็รักพระองค์ ขณะที่แม่สังวอนค่อนข้างเป็นห่วงอิทธิพลของนายปรีดีที่เข้ามาบดบังบทบาทและอิทธิพลของตนที่เคยเป็นผู้แนะนำและให้คำปรึกษาแก่ในหลวงอานานอยู่เสมอ

นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
แม่สังวอนจึงมีความกังวลที่นายปรีดีได้รับสิทธิพิเศษและได้รับเกียรติเป็นอย่างมากจากในหลวงอานานที่ได้ทรงแสดงความเป็นมิตรที่สนิทสนมรักใคร่ชอบพออย่างเห็นได้ชัด นายปรีดีก็แสดงความซื่อสัตย์ภักดีอย่างเต็มที่ กลายเป็นดุลย์ถ่วงอิทธิพลของแม่สังวอนที่มีต่อในหลวงอานาน




คำตัดสินของหมาป่า
คำพิพากษาศาลชั้นต้น

ชิต บุศย์และเฉลียวใน้องพิจารณาคดี
ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2494 บรรจุตัวหนึ่งสือห้าหมื่นคำ อ่านคำพิพากษาตั้งแต่เวลา 9.00 น. ไปเสร็จสิ้นเมื่อ 14.00 น. รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 5 ชั่วโมง จำเลยทั้งสามยืนอยู่กับทนาย โดยนายเฉลียวยืนอยู่กับบุตรสาว
ศาลได้พรรณาถึงความยุ่งยากสับสนทั้งเรื่องข้อเท็จจริงและพยานแวดล้อม จึงต้องใช้ความระมัดระวังรอบคอบในการพิจารณาพิพากษาอย่างที่สุดที่จะต้องกลายเป็นจดหมายเหตุที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยต่อไป

ปรีดีเป็นประธานพิธีสวนสนามเสรีไทย 25 กย. 2488
คำพิพากษาเต็มไปด้วยถ้อยคำที่เยิ่นเย้อฟุ่มเฟือยโดยละเอียดเท่าที่จะสรรหาเรื่องมากล่าวหาจำเลยได้ สรุปคำให้การของจำเลยอย่างสั้นๆว่าปฏิเสธโดยเด็ดขาด เพราะเป็นการหาเรื่องเพื่อกลั่นแกล้งหวังทำลายชื่อเสียงนายปรีดี เรือเอกวัชรชัยและนายเฉลียวทางการเมือง ส่วนนายชิตและนายบุศย์แม้จะไม่ได้เป็นนักการเมือง ก็เข้าปิ้งตามแผนการทำลายล้างกันทางการเมือง
ศาลอ้างว่าแม้รัฐบาลของจอมพล ป.จะมาจากการรัฐประหาร แต่ประเทศต้องมีรัฐบาลปกครอง จะไม่มีรัฐบาลย่อมไม่ได้ ศาลจึงไม่อาจรับฟังข้อต้อสู้ของฝ่ายจำเลยที่ว่ารัฐบาลและการกระทำของรัฐบาลจากการรัฐประหารนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจึงต้องตัดสินในประเด็นข้อเท็จจริงต่อไป

แม้โจทก์จะอ้างถึงนายปรีดีและเรือเอกวัชรชัยว่าเป็นตัวการ แต่ในเมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลทั้งสองและบุคคลทั้งสองไม่มีโอกาสมาให้การป้องกันตัว ศาลจึงทำได้เพียงพิจารณาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับจำเลยเท่านั้น
ศาลสรุปว่า คนที่รู้เรื่องพระราชฐานชั้นในและได้รับความช่วยเหลือจากคนข้างในก็สามารถเล็ดรอดเข้าไปในห้องพระบรรทมได้
ศาลเชื่อว่ากระสุนปืนและปลอกลูกปืนที่นายชิตเก็บได้เป็นของปลอม เพื่อปิดบังอำพรางคดี เพราะนายชิตไม่โต้แย้งอัยการ การตรวจเรื่องเขม่าปืนในลำกล้องพบว่าเป็นปืนที่ยิงมานานแล้ว กระสุนปืนที่ไม่มีรอยบุบแสดงว่าไม่ได้ยิงทะลุกระโหลก เมื่อนำมาประเมินรวมๆกันแล้ว ศาลเชื่อว่าการสวรรคตของในหลวงอานานเกิดจากการฆาตกรรมแม้ว่าพระองค์จะเป็นคนอ่อนน้อมใจดีไม่มีเรื่องกับใคร แต่คนบางคนอาจเข้าใจผิด คิดว่าพระองค์จะไปขัดขวางผลประโยชน์ของตน ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลไม่สามารถหยั่งรู้จิตใจของมนุษย์ได้ ในหลวงอานานยังเป็นกษัตริย์หนุ่มที่มีความสุข มั่งคั่งร่ำรวย มีคนคอยรับใช้ ปรารถนาอะไรก็ย่อมได้เสมอ จึงไม่จำเป็นต้องฆ่าตัวตาย แม้ว่าอาจมีปัญหาในเมืองไทย แต่ท่านก็กำลังจะเสด็จกลับไปสวิตเซอร์แลนด์ที่มีความอบอุ่นปลอดภัยยิ่งกว่าอยู่ในประเทศไทยเสียอีก ไม่ว่าท่านจะผิดหวังเรื่องอะไร ท่านก็คงต้องไม่ทอดทิ้งภาระหน้าที่ที่ท่านมีต่อบ้านเมืองและท่านก็เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีที่รู้ว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาป เรื่องมีปากเสียงในครอบครัวก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และไม่น่าเชื่อถือ เพราะแม่สังวอนและเสี่ยเล็กเคยให้การยืนยันว่าไม่เคยมีปากเสียงใดๆต่อกัน ในครอบครัวก็มีแต่ความรักความอบอุ่น เห็นอกเห็นใจกันมาตลอด
20 ปีที่แม่สังวอนต้องเป็นหม้ายและครอบครัวต้องอยู่กันอย่างโดดเดี่ยวในต่างแดนเป็นเวลานาน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเรื่องขัดแย้งกันรุนแรงในครอบครัว แม่สังวอนก็ยังเคยมีรับสั่งต่อศาลว่าในหลวงอานานไม่เคยแสดงอารมณ์รุนแรงเพราะพระองค์จะควบคุมความไม่พอใจเอาไว้ได้เสมอ อีกทั้งพระองค์ยังมีนัดหมายถึงสามรายการในวันสวรรคต จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทรงฆ่าตัวตาย และเมื่อพิจารณาจากลักษณะท่าของพระศพและบาดแผล ก็คงเป็นการยากที่จะเป็นเรื่องของอุบัติเหตุ จึงเป็นไปได้มากที่จะเป็นการฆาตกรรม
ศาลอาญาอ่านคำพิพากษาด้วยเสียงคงที่กว่าสามชั่วโมงโดยไม่มีใครรู้ว่าจะตัดสินอย่างไร จำเลยเริ่มมีความหวังเป็นครั้งแรก เมื่อศาลไม่ให้ความเชื่อถือคำให้การของนายตี๋ที่เป็นคนพูดมากและคุยโม้โออวดไม่น่าเชื่อถือ แต่สาวใช้ให้การสอดคล้องกันว่านายเฉลียวได้ไปที่บ้านพล.ร.ต.กระแส
-นายเฉลียว จำเลยที่หนึ่งแม้ว่าจะร่วมมือกับนายปรีดีจริง และได้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับในวันที่
13 โดยที่ศาลก็ไม่เชื่อว่านายเฉลียวจะออกจากราชเลขาธิการด้วยความสมัครใจ แต่เมื่อไม่มีหลักฐานพิสูจน์ว่านายเฉลียวและนายปรีดีได้ร่วมกันสมคบทำความผิดจริง ข้อเท็จจริงเพียงว่ามีการร่วมมืออย่างใกล้ชิดยังไม่เพียงพอ เขาอาจจะไม่พอใจเพราะถูกปลด จึงได้พูดอะไรออกไปซึ่งไร้ความหมาย ศาลไม่เชื่อว่าการที่นายเฉลียวถูกปลดจะทำให้กลายเป็นคนทรยศ เพราะนายเฉลียวยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกพฤฒิสภาซึ่งได้ทำให้เขาได้รับเงินเดือนและชื่อเสียงเกียรติยศกลับคืนมา จึงไม่มีเหตุที่เขาจะต้องโกรธแค้น ศาลจึงให้ปล่อยตัวนายเฉลียวพ้นข้อหาไป
-สำหรับมหาดเล็กทั้งสอง ศาลไม่เชื่อว่าจะเป็นคนปลงพระชนม์ แต่ถ้าร่วมกันกระทำผิดก็คงต้องมีโทษไม่น้อยไปกว่ากัน 


ชิต สิงหเสนี ก่อนถูกดำเนินคดี
แต่นายชิตให้การขัดกันเรื่องสถานที่ที่เขาเก็บปลอกระสุนได้ ปลอกกระสุนก็เป็นปลอกเก่า แสดงว่านายชิตจงใจสร้างหลักฐานปลอม พร้อมทั้งลูกปืนที่ฝังอยู่ในเตียง ซึ่งเขาพาตำรวจไปค้นมา จุดที่ศาลตั้งข้อสังเกตคือ นายชิตเป็นคนที่เข้าไปในห้องบรรทมก่อนคนอื่น แสดงว่านายชิตเป็นคนเอาปืน.45ไปวางไว้ใกล้มือพระศพและเนื่องจากเขาเองเป็นคนนำปืนพกลงบันไดมาจึงเป็นไปได้ว่าเขาเป็นคนขึ้นไกปืนเอาไว้ ศาลไม่เชื่อข้ออ้างของนายชิตที่ว่านั่งรอเพื่อวัดขนาดกล่องใส่ตราประทับ เพราะกล่องของเสี่ยเล็กก็ใช้เป็นแบบได้ ถ้าเขาต้องการตัวอย่างจริง เขาก็แอบย่องเข้าไปเอาได้โดยไม่ต้องรบกวนในหลวง การที่นายชิตไปบอกแม่สังวอนว่าในหลวงฆ่าตัวตายทั้งๆที่เขาไม่ควรจะคิดได้เช่นนั้น ในเมื่อเขาเองก็ไม่เคยได้ยินเรื่องแบบนี้มาก่อน แสดงว่าเขาต้องรู้ว่ามีการกบฏ รวมกับคำกล่าวลอยๆของเขาที่ว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับไปในวันที่ 13 ซึ่งก็คล้ายกับกรณีของนายเฉลียว แต่นายเฉลียวไม่มีเหตุสงสัยแวดล้อมเท่านายชิต

ในหลวงอานันท์ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี (ตรงกลาง)
ศาลไม่รู้เรื่องเหตุจูงใจ เพราะเรื่องจิตใจของมนุษย์เป็นเรื่องที่ศาลไม่อาจรู้ได้ เพราะศาลก็นึกไม่ออกว่านายชิตจะได้ประโยชน์อะไรจากการปลงพระชนม์ แม้ว่านายชิตจะได้รับราชการในพระราชวังมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่เจ็ด จึงต้องมีความซื่อสัตย์และจงรักภักดีอยู่ในสายเลือดที่จะต้องอยู่เหนือเหตุจูงใจที่ชั่วร้ายใดๆ แต่คงมีการเสนอผลประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลจนทำให้เขาลืมตัว แม้จะไม่มีพยานหลักฐานว่าเขาได้ก้าวหน้าทางฐานะหลังการสวรรคต แต่เขาอาจเอาทรัพย์สินไปซ่อนเร้นไว้ก็ได้ หรืออาจต้องรอให้เกิดผลสำเร็จจากการร่วมสมคบกันปลงพระชนม์
หรืออาจเป็นไปได้ว่าเมื่อนายบุศย์ได้รับเลือกให้ร่วมเดินทางไปรับใช้ที่สวิตเซอร์แลนด์เลยทำให้นายชิตเกิดความโกรธแค้นอิจฉาริษยาขึ้นมาจนตามืดบอด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว  แต่ไม่ว่านายชิตจะมีเหตุจูงใจหรือไม่ก็ไม่สำคัญเท่าพยานแวดล้อมที่ส่อแสดงถึงการกระทำผิดของนายชิต
ดังนั้นศาลจึงเห็นว่า นายชิต สิงหเสนี ได้กระทำผิดโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น  ให้ประหารชีวิต
แต่สำหรับนายบุศย์ ศาลเห็นว่าเมื่อนายบุศย์ได้ไปต่างประเทศกับราชตระกูลจึงไม่มีเหตุจูงใจ
และผู้สมคบกันก็ย่อมไม่แน่ใจว่านายบุศย์จะยินดีร่วมสมคบในการปลงพระชนม์
ศาลจึงสั่งปล่อยตัวนายบุศย์
ศาลชั้นต้นใช้เวลาห้าปี ในการหาเรื่องมาลงโทษจำเลยจนได้
นายชิตยื่นอุทธรณ์การตัดสินลงโทษ อัยการโจทก์ก็ยื่นอุทธรณ์การปล่อยตัวจำเลยที่เหลือ
ได้มีการกลั่นกรองพยานหลักฐานอีกครั้งหนึ่งรวมทั้งข้อโต้แย้งที่ได้กระทำกันอีกในชั้นอุทธรณ์ มีการเดินเผชิญสืบในสถานที่เกิดเหตุอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง
15 เดือนผ่านไป ศาลอุทธรณ์จึงได้คำพิพากษาที่ห้องพิจารณาเลขที่ 24 ผู้พิพากษาห้าคนผลัดกันอ่านคำพิพากษา เริ่มตั้งแต่เวลา 9.00 น. ไปจนถึงเวลาเที่ยงแล้วพักสองชั่วโมง หลังจากนั้นไปพักอีกทีตอนบ่ายคล้อย แล้วอ่านต่อไปจนถึงเวลา 1.55 น. ของวันถัดไป รวมเวลาอ่านคำพิพากษาทั้งสิ้น 14 ชั่วโมง

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์

วันที่ 28 ตุลาคม 2496 มีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวที่เห็นว่ากรณีสวรรคตเป็นเรื่องของอุบัติเหตุ ขณะที่ผู้พิพากษาสี่ท่านมีความเห็นพ้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เว้นเสียแต่ว่านายบุศย์ก็มีความผิดเช่นเดียวกับนายชิต เมื่อนายบุศย์อยู่กับนายชิตในขณะนั้น นายบุศย์ก็ต้องมีส่วนร่วมในแผนการอย่างลับๆ เพราะถ้าไม่มีการร่วมมือ แผนการก็ไม่อาจสำเร็จได้ ดังนั้นนายเฉลียวจึงกลับสู่อิสรภาพ แต่นายบุศย์ต้องกลับเข้าคุกไปพร้อมกับนายชิต เพื่อรอหมายเรียกตัวไปประหารชีวิต
ทุกฝ่ายได้มีการอุทธรณ์คดีต่อไปยังศาลฎีกา
หลังการโต้แย้งถกเถียงจากทุกฝ่าย ศาลได้เลื่อนคดีเพื่อรอพิจารณาคำพิพากษา ทุกอย่างผ่านไปอย่างเงียบเชียบนานถึงสิบเดือน จากนั้นในวันที่
13 ตุลาคม 2497 ได้มีคำแถลงสั้นๆทางวิทยุ กระจายเสียงว่าจะมีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันนั้น เหตุที่ต้องประกาศจวนแจเช่นนั้น ก็เพื่อไม่ให้มีคนเข้าไปฟังกันแน่นขนัดเกินควร วันนั้นจึงมีคนเข้าไปฟังเพียงสามร้อยคน ผู้พิพากษาสองคนผลัดกันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.05 น. ขณะที่นายบุศย์และนายชิตแหงนหน้าจ้องเพดานอย่างเลื่อนลอยขณะที่ได้ฟังคำพิพากษาให้ลงโทษพวกเขายืนตามศาลชั้นล่าง นายเฉลียวมองค้างไปที่ภรรยาและลูกสาวซึ่งช่วยต่อสู้คดีให้เขา แต่เมื่อสองวันก่อนเขาได้ถูกคุมตัวไว้อีก แสดงว่าคงมีสัญญาณไม่ดีแน่ เมื่อเขาได้ยินคำพิพากษาว่าเขามีความผิดด้วย เขาถึงกับทิ้งตัวลงบนเก้าอี้ เพราะมันไม่น่าเป็นได้เลย ที่ศาลไทยจะตัดสินประหารชีวิตคนเพียงเพราะนั่งไขว่ห้าง  เนื่องจากศาลเชื่อว่านายเฉลียวไม่มีความเคารพในหลวง เป็นการแสดงถึงท่าทีที่จะเป็นกบฏต่อราชบัลลังก์ เพราะมีหลักฐานมัดแน่นว่านายเฉลียวเคยพูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับในวันที่ 13 คำพิพากษาศาลฏีกามีข้อดีตรงที่สั้น เพราะศาลใช้เวลาอ่านคำพิพากษาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็ลงจากบัลลังก์ หลังจากการตัดสินประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2497  
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

โดยย่อ ศาลฎีกา
 


ศาลผู้พิจารณาคดีสวรรคต
วันที่ 12 ตุลาคม 2497
..ในหลวงอานานถูกกระสุนปืนเจาะหน้าผากทะลุออกทางท้ายทอย ผ่านสมองส่วนหน้าเป็นการทำลายสมองโดยตรง ทำให้หมดความรู้สึก และหมดกำลังทันทีที่จะเคลื่อนไหว แสดงว่าสวรรคตทันทีขณะถูกกระสุนปืน จึงไม่ใช่เป็นเรื่องกระทำพระองค์เอง เพราะมือและแขนทั้งสองข้างไม่งอหรือกำ โดยแขนทั้งสองข้างก็ทอดเหยียดติดลำตัว ผ้าห่มก็คลุมตัวอยู่ในสภาพเรียบร้อย
ปืนที่วางอยู่ใกล้พระหัตถ์ได้ใช้ยิงมาก่อนวันเกิดเหตุหลายวันแล้ว และหัวกระสุนที่เก็บได้ในฟูกที่นอน ก็ไม่ใช่กระสุนที่ทะลุผ่านศีรษะ เพราะมีลักษณะเรียบร้อย ไม่มีรอยยับเยิน 
โจทก์นำสืบพฤติการณ์ระหว่างในหลวงอานานกับนายปรีดีว่า มีข้อขัดแย้งกันในการจะตั้งใครเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถึงกับนายปรีดีได้พูดกับนายวงศ์ เชาวนะกวี เมื่อก่อนสวรรคตเพียงวันเดียว ต่อไปนี้จะไม่คุ้มครองราชบัลลังก์
นายเฉลียว และเรือเอก วัชรชัย ทั้งสองนี้เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนายปรีดีเป็นอย่างมาก นายปรีดีจัดให้นายเฉลียวได้เข้ารับราชการตำแหน่งสำคัญในราชสำนัก ส่วนเรือเอก วัชรชัย ซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ก็ได้เข้ามารับราชการเป็นราชองครักษ์
ส่วนนายชิต และนายบุศย์ มหาดเล็กรับใช้ประจำห้องพระบรรทม ก็อยู่ภายใต้อำนาจของนายเฉลียว เฉพาะนายชิตนั้นยังเป็นผู้สนิทชิดชอบกับนายเฉลียวเป็นพิเศษอีกด้วย
นายเฉลียวขาดความเคารพยำเกรงต่อในหลวงอานาน เป็นต้นว่า ส่งรถยนต์ส่วนพระองค์ไปให้ผู้อื่นใช้ จนขัดข้องแก่การที่จะทรงใช้ นั่งรถยนต์ไขว่ห้างล่วงล้ำเข้าไปถึงหน้าพระที่นั่ง ถวายหนังสือราชการด้วยอาการขาดคารวะ จูบหญิงพนักงานในที่ทำการซึ่งอยู่ตรงหน้าบ้านพิมานจนในหลวงอานานทอดพระเนตรเห็น เหล่านี้เป็นการเหยียดหยามพระราชประเพณีและพระองค์ท่าน ไม่เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย ทรงรับสั่งแก่นายปรีดีขอเปลี่ยนราชเลขาธิการ นายเฉลียวจึงจำต้องออกจากตำแหน่งในราชสำนักไปตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม
2489 แล้วต่อมาก็ได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสืบไป
ส่วนเรือเอก วัชรชัยมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชองค์รักษ์ตามสมควร ขาดราชการบ่อย ๆ ฝักใฝ่อยู่ทางทำเนียบท่าช้างของนายปรีดี ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ภายหลังที่ถูกปลดจากตำแหน่งราชองครักษ์แล้ว ก็ได้เป็นเลขานุการนายกรัฐมนตรี
ในระหว่างที่นายเฉลียวเป็นราชเลขาธิการในพระองค์ นายเฉลียวยังได้จัดพรรคพวกของตนเข้ามารับราชการ พวกข้าราชการเหล่านี้ที่มีนายกำแพง ตามไทยเป็นหัวหน้า กล้าทำเรื่องถึงนายปรีดีคัดค้านว่าไม่ควรปลดนายเฉลียว ซึ่งเป็นการทะนงจงใจด้วยนิสัยหยาบช้าที่จะขัดขวางพระราชประสงค์
นายปรีดีเป็นผู้แต่งตั้ง นายกำแพง ตามไทย เป็นหัวหน้ากองมหาดเล็ก แต่ในหลวงอานานทรงเห็นว่า เป็นคนทำงานไม่ได้เรื่อง จึงให้ไปทำหน้าที่อื่น ต่อมา นายปรีดีก็จัดให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการนายกรัฐมนตรี

ช่วงหลบคดีในสวิส
มหาดเล็กในตำแหน่งนายฉันท์ หุ้มแพรผู้มีความจงรักภักดีจึงวิตกกังวลเป็นห่วงในหลวงว่าจะทรงเป็นอันตราย ถึงกับต้องพกปืนและคอยระแวดระวังเฝ้าพระองค์ท่าน แต่นายฉันท์ก็มาตายเสียก่อน และเมื่อในหลวงสวรรคตแล้วไม่ถึงเจ็ดวัน พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม พูดกับหมอนิตย์ฯ ว่า ถ้ามีโอกาสเข้าเฝ้าแม่สังวอน ให้ช่วยกราบทูลด้วยว่า ไหนๆในหลวงอานานก็สวรรคตแล้ว ยังเหลือเสี่ยเล็กอยู่ ขอให้แม่สังวอนระวังให้ดีด้วย และยังได้มีการกลั่นแกล้งปล่อยข่าวอกุศลให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่แม่สังวอนบ้าง เจ้ามหิดอนพระราชบิดาบ้าง โจทก์นำสืบว่า มีการสมคบและประชุมคิดกระทำการปลงพระชนม์ที่บ้านพลเรือตรี กระแส ศรยุทธเสนีที่ถนนจักรพงษ์ จังหวัดพระนคร มีพยานคือ
- พลเรือตรี กระแส ให้การว่า ก่อนหน้าสวรรคตประมาณหกเดือน นายปรีดีไปที่บ้านพยานในห้องรับแขก มีเรือเอก วัชรชัย นายเฉลียว กับพวกอีกคนหนึ่งหรือสองคนไปด้วย



เสด็จนิวัติพระนคร ธันวาคม 2488
-นายตี๋ ศรีสุวรรณ ให้การว่า ได้เห็นนายปรีดีกับพวกไปหาพลเรือตรี ตนแอบได้ยิน เสียงพูดกันในห้อง รับแขกว่า " ผมไม่นึกเลย เด็กตัวนิดเดียว ปัญญาจะเฉียบแหลมถึงเพียงนี้... พี่ชายว่าจะสละราชสมบัติให้น้อง คิดจะสมัครเป็นผู้แทน เป็นนายกฯ ...เขาคิดเรื่องนี้สำเร็จออกไปได้ พวกเราจะเดือดร้อน ไม่ได้ อย่าให้พ้นไปได้ รีบกำจัดเสีย...นั่นตกเป็นพนักงานพวกผมเอง..พวกผมทำสำเร็จแล้ว ขอให้เลี้ยงดูให้ถึงขนาดก็แล้วกัน...กันพูดไม่จริง ก็ให้เอาปืนมายิงกันเสีย...ให้สำเร็จแล้ว กันจะมีรางวัลให้อย่างสมใจ "
-นางสาวทองไป แนวนาค ให้การว่า เป็นลูกจ้างอยู่ในบ้านพลเรือตรี กระแสเมื่อก่อนสวรรคตสิบกว่าวัน เวลา
18.00 น. ตนเห็นมีแขกนั่งอยู่กับพลเรือตรี กระแส โดยมีนายเฉลียว จำเลยนั่งอยู่
-ขุนเทพประสิทธิ์
, นายชวน กนิษฐ์ และหลวงแผ้วพาลชน เบิกความประกอบกันว่า นายตี๋เคยพูดโพล่งออกมาว่า " ลื้อสองคนไม่รู้จริงหรอก อั๊วนี่ถึงจะรู้จริงว่าใครฆ่าในหลวง.. หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นหัวหน้าคิดปลงพระชนม์ในหลวง ก่อนถูกปลงพระชนม์เขามีการประชุมกันมาตั้งเดือนแล้วที่บ้านข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้หนึ่ง ผู้ที่ไปประชุมกับหลวงประดิษฐ์ฯ มีนายเฉลียว นายชิต นายตุ๊ โดยได้ยินเขาเรียกชื่อกัน นอกจากนั้นไม่รู้จักชื่อ ”
พยานต่างเบิกความสอดคล้องกัน ไม่มีทีท่าว่าจะแต่งเรื่องขึ้นมาเอง
ศาลจึงเห็นว่า นายเฉลียว นายชิต กับพวก ไปที่บ้านพลเรือตรี กระแส ก่อนหน้าวันสวรรคตจริงดังคำพยาน และถ้าจำเลยไปที่บ้านพลเรือตรี กระแสโดยสุจริตแล้ว ก็ไม่น่าจะปิดบังถึงกับให้การปฏิเสธย่อมส่อให้เห็นข้อพิรุธ แต่ศาลก็ไม่อาจจะฟังความหรือถ้อยคำที่พูดกันให้เป็นแน่อย่างใดอย่างหนึ่งยังไม่ถนัด


การวินิจฉัยว่า ใครเป็นคนยิงในหลวง









โจทก์มีพยานสองชุด ชุดหนึ่งรู้เห็นว่า เรือเอก วัชรชัยปรากฏตัวในพระราชวังตอนก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ ความว่า เช้าวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ราว 8.00. เรือเอก วัชรชัยนั่งรถยนต์ไปลงที่กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมา จวน 9.00. มีผู้เห็นเรือเอก วัชรชัยเดินอยู่แถวหน้าโรงละครหลังบ้านพิมาน มุ่งหน้าจะไปยังบ้านพิมาน เมื่อเสียงปืนดังแล้ว มีผู้เห็นเรือเอก วัชรชัยเดินลงบันไดบ้านพิมานด้านหลังไปอย่างรีบร้อน
พยานอีกชุดหนึ่งให้การว่า ก่อนวันสวรรคต นายสี่ หรือชูรัตน์ ได้บอกแก่ร้อยตรี กรี พิมพกร คนชอบพอกันตั้งแต่ครั้งติดคุกอยู่ในเรือนจำว่า นายชาติ เศรษฐกัด พวกของนายปรีดี ได้ว่าจ้างนายสี่ หรือชูรัตน์ ให้ยิงคนสำคัญ สัญญาให้ค่าจ่างสี่แสนบาท โดยมีผู้นำตัวเขาเข้าไปในวังก่อนสวรรคตวันหนึ่งหรือสองวันเพื่อให้ยิงในหลวงอานาน


เรือเอกวัชรชัย
ผู้ที่รอรับอยู่ในวัง คือ นายชิต นายบุศย์ แต่นายสี่ หรือชูรัตน์ ไม่กล้ายิง จึงหลบออกมา ส่วนผู้ที่ยิงองค์ชายแปด คือ เรือเอก วัชรชัย และตำรวจกำลังติดตามจะยิงเขา จึงขออาศัยอยู่กับร้อยตรี กรีแล้วจะตามไปฆ่าเรือเอก วัชรชัยให้ได้ โดยขอร้องให้ร้อยตรี กรีช่วยพาไปหาพลโท พระยาเทพหัสดินทร์ เพื่อจะฝากลูกเมีย พระยาเทพหัสดินทร์ฟังเรื่องแล้วห้ามปรามแนะนำให้รักษาตัวให้ดี ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และบอกปัดไม่ให้อยู่อาศัยด้วย นายสี่ หรือชูรัตน์ จึงพักอาศัยอยู่กับร้อยตรี กรี ต่อมาสักเดือนหนึ่งก็หายสาบสูญไป
-นายชิตเป็นมหาดเล็กห้องบรรทม ขณะเกิดเหตุเป็นเวรของนายบุศย์ แต่นายชิตได้ไปนั่งอยู่หน้าประตูห้องฉลองพระองค์กับนายบุศย์ด้วย
-นายชิตรีบวิ่งไปทูลเท็จต่อแม่สังวอนว่าในหลวงทรงยิงพระองค์เอง ย่อมเห็นได้ชัดว่า เป็นการพูดเพื่อกลบเกลื่อนเรื่องไม่ดี



29 มี.ค.2493 ขบวนแห่พระศพ ร.8 
-เมื่อพันเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร ราชองครักษ์ ถามเรื่องสวรรคต นายชิตตอบว่า ทรงยิงพระองค์เอง เพราะทรงมีเรื่องกับแม่สังวอน ไม่ได้ร่วมโต๊ะเสวยกันมาสองสามวันแล้ว ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องเท็จ
-นายชิตให้การว่า มานั่งอยู่กับนายบุศย์รอให้ตื่นบรรทมเพื่อเข้าไปเอาพระตราออกมาวัด แต่พระยาอนุรักษ์ราชมนเทียร พยานจำเลยเอง ให้การว่า หีบตัวอย่างที่นำไปมอบแก่ช่างมีรอยบุ๋มตามขนาดดวงพระตราอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาวัดพระตรา อนึ่ง พระตราเก็บอยู่ในตู้ห่างจากเตียงบรรทมประมาณ
12 เมตร มีฉากกั้นระหว่างตู้กับเตียงนอน นายชิตคุ้นเคยแก่การเข้าออก เพียงแต่เข้าไปเปิดตู้นำพระตราออกมาวัดไม่น่าจะถึงกับทำให้เกิดเสียงดัง รบกวนการบรรทม แสดงให้เห็นว่า นายชิตไปนั่งรอเพื่อก่อเหตุ
-นางสาวจรูญ ตะละภัฏ ให้การว่าเคยได้ยินนายชิตพูดว่า "ท่านไม่ได้เสด็จดอก วันที่
13 นั่น ไม่เชื่อคอยดูไปก็แล้วกัน "  แม่สังวอนก็ได้รับสั่งเป็นพยานว่า นางสาวจรูญเคยกราบทูลว่า มหาดเล็กคนหนึ่งพูดว่าในหลวงอานานจะเสด็จในวันที่ 13 ไม่ได้ ฉะนั้น คำให้การของนางสาวจรูญจึงมีน้ำหนักหลักฐาน ถือเป็นความจริงได้
-นอกจากนี้ นายมี พาผล ยังเบิกความยืนยันว่า นายชิตได้พูดแก่นายมีทำนองเดียวกันว่าท่านจะไม่ได้เสด็จในวันที่
13 เป็นข้อที่ส่อให้เห็นว่า นายชิตได้ล่วงรู้เหตุร้ายและมั่นใจในความสำเร็จ จึงเกิดความทะนงใจกล้าเผยข้อความออกมาเป็นนัยเพื่อโอ้อวดว่า ตนรู้เรื่องเหตุการณ์ล่วงหน้า



ในหลวงอานันท์พระราชทานรัฐธรรมนูญ 9 พค.2489
- พระพิจิตร ราชสาส์น ผู้ช่วยราช เลขา นุการ ให้การว่า ในวันเสด็จ พระ ราชทาน รัฐ ธรรมนูญ เมื่อวันที่ 9 พฤษภา คม 2489 นายชิตติดเหรียญของรัชกาลที่หก ให้เอาออกเสีย และต้องเปลี่ยนสายสะพายนพรัตน์เพราะไม่มีดวงดารา เป็นสะพายจักรีแทน โดยนายชิตทำไปบ่นไป ทำให้ในหลวงทรงกริ้ว แสดงให้เห็นว่า นายชิตดูหมิ่นพระเดชานุภาพ และมีเจตนาให้พระองค์ท่านได้รับความอับอายในงานราชพิธี
ส่วนนายบุศย์มีหน้าที่อยู่เวรคอยเฝ้าอารักขาในหลวงอานานอย่างใกล้ชิด แต่มิได้ทำการขัดขวางป้องกันหรือเอะอะโวยวายและมิได้เข้าไปดูให้เห็นเหตุการณ์ว่าเป็นอย่างไร กลับอ้างในชั้นสอบสวนว่า ไม่กล้าเข้าไป เพราะกลัวจะถูกหาว่ายิงในหลวง
การกระทำของนายชิตและนายบุศย์ จึงเชื่อได้ว่าต้องเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการลอบปลงพระชนม์

- สำหรับนายเฉลียว ปทุมรส เป็นคนสนิทชิดชอบของนายปรีดี ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2475 เมื่อนายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการแต่ผู้เดียว นายเฉลียวจึงได้รับแต่งตั้งเป็นราชเลขาธิการมีหน้าที่ติดต่อใกล้ชิดพระองค์ เป็นผู้บังคับบัญชาของนายชิตและนายบุศย์ นายชิตสนิทสนมและคุ้นเคยชอบพอกับนายเฉลียว

เสด็จมัสยิดต้นสน บางกอกใหญ่ 26 เม.ย. 2489
ทางราชการได้จัดรถเชฟโรเลตและรถแนซถวายเป็นรถส่วนพระองค์
มีอยู่วันหนึ่งแม่สังวอนต้องการใช้รถ แต่นายเฉลียวส่งรถเชฟโรเลตไปให้นายปรีดีใช้ ส่วนรถแนซก็ส่งซ่อมไว้ให้แขกเมืองใช้ จึงไม่มีรถส่วนพระองค์  จึงเท่ากับว่า นายเฉลียวได้ใช้อำนาจของตนทำเพื่อนายปรีดี เป็นขาดความจงรักภักดีต่อในหลวงอานาน
ต่อมารถแนซพระที่นั่งคันนั้นหายไปทั้งๆ มีเวรยามเฝ้ารักษา ซึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้ร้ายแสดงอำนาจเหยียดหยามพระองค์ท่านทำให้ในหลวงอานานทรงข้องพระทัยมาก
  

ในหลวงอานันท์และพระราชนนี 2489
นายเฉลียวไม่สนใจในการทำหน้าที่รับใช้ในหลวงอานานและราชวงศ์ และยังแสดงอาการกระด้างกระเดื่องต่อพระองค์ท่านหลายครั้งหลายหน เช่น นั่งรถยนต์ล่วงล้ำไปถึงบ้านพิมานซึ่งเป็นราชฐานบางครั้งนั่งไขว่ห้างเข้าไป เวลานำหนังสือไปทูลถวาย ก็ถือวิสาสะสวมแว่นดำและสูบบุหรี่พรวดพราดขึ้นไป โดยไม่ได้บอกมหาดเล็กไปกราบทูลเสียก่อนตามระเบียบ พอเห็นพระองค์ท่านแล้วจึงค่อยถอดแว่นและทิ้งบุหรี่ บางทีเมื่อถึงชั้นบนแล้วจึงถอดแว่นพลางเดินพลาง ชั้นบนไม่มีกระโถน นายเฉลียวก็โยนบุหรี่ทิ้งลงกับพื้น มหาดเล้กต้องคอยรีบเก็บเพราะเกรงจะก้นบุหรี่ไหม้พรม
ขณะที่ทูลถวายหนังสือ ก็ไม่หมอบอ่าน หรือคุกเข่าเข้าไปใกล้ๆ แล้วจึงอ่าน แต่นายเฉลียวกลับเข้าไปยืนอ่านใกล้ๆ และนายเฉลียวยังคงยืนเขียนบันทึกรับสั่งบนโต๊ะทรงอักษรแล้วเลื่อนหนังสือให้ลงพระนาม ทั้งยังเปิดวิทยุที่ตึกที่ทำงานซึ่งอยู่ตรงข้ามกับบ้านพิมาน ถึงเวลาบรรทมก็ยังไม่หยุดเปิด
การที่นายเฉลียวต้องพ้นจากตำแหน่งราชเลขาธิการเพราะปฏิบัติตนไม่ต้องพระราชประสงค์ย่อมเป็นเหตุกระทบกระเทือนจิตใจนายเฉลียวอย่างแรงแม้จะได้รับตำแหน่งใหม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา ก็ไม่เป็นเหตุผลที่จะหายโกรธเคืองพระองค์ท่าน
ศาลได้วินิจฉัยมาแล้วว่า บุคคลผู้ที่ไปประชุมที่บ้านพลเรือตรี กระแสมีนายชิตกับนายเฉลียวด้วยนายชิตเป็นผู้สมคบร่วมมือกับคนร้ายในการกระทำการปลงพระชนม์ ส่วนนายเฉลียวก็เป็นผู้ขาดความจงรักภักดีมีสาเหตุจากความไม่พอใจที่ถูกให้ออกจากตำแหน่งราชเลขาธิการและนายชิตเป็นผู้ที่สนิทชิดชอบและคุ้นเคยกันเป็นอันมาก คนทั้งสองนี้กับพวกได้มาประชุมกันที่บ้านพลเรือตรี กระแส โดยไม่ปรากฏชัดว่า ประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เป็นข้อที่น่าสังเกต
อีกทั้งนายชิตและนายเฉลียว รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จในวันที่
13
โดยมีพันเอกประพันธ์ กุลพิจิตรและ
เจ้าหมื่นสรรเพชญภักดีให้การว่าได้ยินนายเฉลียวพูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับในวันที่ 13
จึงเป็นการยืนยันว่าเขารู้อยู่แล้วว่า มีผู้คิดจะกระทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานาน แต่พวกเขาช่วยปกปิด ไม่ไปร้องเรียน จนเกิดการประทุษร้ายแก่ในหลวงอานานถึงสวรรคต

อาศัยคำพยานหลักฐานและเหตุผลทั้งหลายตามสำนวนตามที่กล่าวมาแล้ว ศาลนี้เห็นว่า นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน จำเลยทั้งสาม ได้กระทำความผิดจริงดังโจทก์ฟ้อง ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
จึงพร้อมกันพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่า นายเฉลียว ปทุมรส จำเลย มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 ตอน 2 ให้ลงโทษประหารชีวิต

คดีสวรรคตในมุมมองของสากล


นายปรีดีลี้ภัยไปสิงคโปร์หลังรัฐประหาร 2490
คดีสวรรคตเป็นเรื่องที่ประเทศมหาอำนาจทราบกันดีว่ากระบวนการตุลาการของศาลไทยในยุคเผด็จการของไทยเป็นเช่นไร มหาอำนาจจึงได้ให้ความช่วยเหลือการเล็ดรอดออกนอกประเทศของนายปรีดีและเรือเอกวัชรชัย เพราะความยุติธรรมมันมีมาตรฐานทางสากล จะไปอ้างว่าเป็นความยุติธรรมแบบไทยๆที่ไม่เหมือนใครคงไม่ได้
เพราะถ้านายปรีดีจะวางแผนปลงพระชนม์ ก็น่าจะมีเหตุจูงใจที่ชัดเจน การพิจาณาคดีการสวรรคตก็เป็นเรื่องที่ไม่มีหลักการหรือมาตรฐานที่ประเทศที่เจริญแล้วยอมรับได้เลย เพราะมันไม่สะท้อนความเป็นจริงและความยุติธรรมเลยแม้แต่น้อย

ในหลวงอานันท์ทรงพระอักษรก่อนสวรรคต
อัยการอ้างว่านายปรีดีกับในหลวงอานานขัดแย้งเรื่องการไปเยี่ยมราษฎรที่สำเพ็งและการตั้งผู้สำเร็จราชการ ในหลวงไม่พอพระทัยที่นายปรีดีเอารถยนต์ส่วนพระองค์ไปใช้ขณะที่แม่สังวอนต้องการใช้รถ นายปรีดีเอารถจี๊ปไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและจัดงานเลี้ยงเสรีไทยที่มีเสียงเอะอะโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่พอใจที่ในหลวงอานานนิยมชมชอบพรรคแมงสาบ ทั้งนายควงและพี่น้องปราโมชได้ขอปรึกษาเป็นการส่วนพระองค์ และในหลวงทรงตกลงจะแอบปรึกษากับจอมพล ป. จึงสอดคล้องกับข่าวที่ว่าพระองค์เริ่มไม่ไว้วางใจนายปรีดี และพระองค์ต้องการสละราชบัลลังก์เตรียมลงสู่สนามทางการเมืองเพื่อคว่ำนายปรีดี




ปรีดีและคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
แต่ในความเป็นจริงนั้น ในหลวงอานานเสด็จกลับจากสวิตเซอร์แลนด์ในวัยหนุ่ม ได้พบกับนายปรีดี ซึ่งควบคุมการบริหารประเทศอย่างผู้รอบรู้ในกิจการบ้านเมืองและเป็นวีรบุรุษผู้ต่อต้านการรุกราน บุคคลอย่างนายปรีดีเป็นคนที่สมควรได้รับการยกย่องเทิดทูนและน่าศึกษาเรียนรู้สิ่งต่างๆจากเขา ยิ่งกว่านั้นแม้นายปรีดีจะมีความคิดสังคมนิยม แต่เขาก็ทำเฉพาะสิ่งที่ดีงามแก่พระญาติพระวงศ์ของพระองค์ตามคำให้การของพยานหลายคน ทุกสัปดาห์ในช่วงเกิดสงครามเมื่อเขาไปเยี่ยมครอบครัวของเขาที่อพยพไปอยุธยาเขาก็จะไปเยี่ยมพระญาติของในหลวงอานานซึ่งอพยพไปอยู่ที่อยุธยาด้วยและจะทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือผ่อนคลายความยุ่งยาก นายปรีดีจึงมิใช่พวกที่เกลียดชังพวกเจ้า

  

นายกปรีดีเป็นประธานเปิดงาน
เมื่อในหลวงอานานเสด็จกลับมากรุงเทพ ก็ไม่เคยปรากฏว่านายปรีดีจะเคยแสดงความเกลียดชัง ตรงกันข้าม นายปรีดีเป็นคนที่แสดงความเห็นอกเห็นใจและหนักแน่นอดทนเสมอมา จนใครๆก็เรียกนายปรีดีว่าอาจารย์มานานแล้ว ในหลวงอานานก็เป็นกษัตริย์หนุ่มที่มีสติปัญญา ทรงเป็นคนช่างคิดเป็นนักเรียนกฎหมายเหมือนนายปรีดี ทั้งสองจึงสัมพันธ์กันแนบแน่นฉันท์เพื่อนสนิทอย่างเห็นได้ชัด
เสด็จสำเพ็ง 3 มิ.ย. 2489
ในบรรดาเรื่องต่างๆเกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองที่ในหลวงอานานได้ทรงปฏิบัติร่วมกับนายปรีดีวันแล้ววันเล่าเป็นเวลาถึงหกเดือน มีเพียงสองเรื่องเท่านั้นที่ผู้ใส่ร้ายนายปรีดีกล่าวหาว่าได้ทำให้เกิดข้อพิพาทขึ้น คือเรื่องที่ในหลวงอานานจะเสด็จเยี่ยมคนจีนย่านสำเพ็งและการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ พยานหลักฐานในสองเรื่องนี้อ่อนมาก และไม่ปะติดปะต่อกัน โดยที่แม่สังวอนก็ไม่เคยรู้เรื่องสำเพ็งและเสี่ยเล็กก็ไม่เคยได้ยินเรื่องการตั้งผู้สำเร็จราชการ 


เสด็จสำเพ็ง 3 มิ.ย. 2489
แต่กลับพบพยานหลักฐานในลักษณะตรงกันข้ามเลยทีเดียว เพราะนายปรีดีเองเป็นผู้เสนอให้ในหลวงอานานเสด็จเยี่ยมย่านชาวจีน ส่วนการตั้งผู้สำเร็จราชการแม้ในชั้นแรกนายปรีดีจะเสนอชื่อพระนางรำไพพรรณีมเหสีม่ายของรัชกาลที่เจ็ดก็เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการถวายพระเกียรติในภายหลังคืนให้แก่รัชกาลที่เจ็ด ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยมี แต่นายปรีดีก็พร้อมจะรับฟังคำแนะนำของพวกนิยมกษัตริย์ทั้งหลาย ซึ่งคนพวกนี้ก็ไม่ใช่พวกของในหลวงอานาน และนายปรีดีเองก็เป็นคนที่สั่งผู้แทนให้ไปบอกเจ้ารังสิต

กรมขุนชัยนาทนเรนทรรังสิตประยูรศักดิ์
เหตุการณ์ซึ่งอ้างว่าทำให้ในหลวงอานานไม่พอพระทัยไม่เพียงแต่เป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยเมื่อคำนึงถึงสัมพันธภาพที่มีติดต่อกันมาอย่างยาวนาน จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ที่ยกขึ้นมาอ้างนี้ไม่อาจพิสูจน์ว่านายปรีดีเป็นศัตรูกับในหลวงอานานถึงขั้นจะต้องลอบปลงพระชนม์ และไม่มีพยานหลักฐานที่แสดงถึงความไม่พอใจของในหลวงอานานแต่อย่างใด




รังสิตรับเสด็จในหลวงอานันท์ ก่อนสวรรคต
เหตุผลที่นำมาอ้างว่านายปรีดีไม่พอใจในหลวงอานานก็ไม่มีน้ำหนัก เรื่องที่อ้างว่าในหลวงอานานจะนัดคุยกับพรรคแมงสาบและจอมพล ป. ก็เป็นเรื่องที่พูดกันไปเอง

เผ่า ศรียานนท์ปราศรัยที่สนามหลวง
การอ้างเรื่อง พล.ต.อ. เผ่ากับจอมพล ป. จะเข้าเฝ้าเป็นการลับก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะในหลวงอานานคงไม่ประสงค์ไปเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความฉาวโฉ่ที่เป็นที่รู้กันดี เรื่องที่ว่ามีการติดต่อผ่านคนรับใช้ของแม่สังวอนโดยจะไปนัดเจอกันที่บ้านสระปทุมก็เป็นเรื่องเหลวไหล เพราะแม่สังวอนก็ไม่รู้เรื่องนี้ แถมยังบอกว่าจอมพล ป. ยังติดคุกอยู่มิใช่หรือ ทั้งๆที่จอมพล ป. ออกจากคุกมาหลายเดือนแล้ว แม่สังวอนก็อยากให้ในหลวงอานานได้พบปะกับคนสำคัญทางการเมืองเพื่อจะได้ศึกษาเรียนรู้ แต่คงไม่ใช่คนฉาวโฉ่แบบนายเผ่ากับจอมพล ป.เรื่องที่ในหลวงอานานจะสละราชบัลลังก์เพื่อลงมาเล่นการเมืองแข่งกับนายปรีดีก็ไม่มีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุน

ทรงงานช่วงหลบคดีในสวิส
กล่าวโดยย่อแล้ว พนักงานอัยการไม่สามารถหาข้อพิสูจน์อันเป็นสาระสำคัญ มีแต่เพียงข้อกล่าวหาเลื่อนลอยเล็กๆ น้อยๆ ที่สะสมเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เข้าใจว่าลูกน้องของนายปรีดีได้แปรพักต์มาเป็นศัตรูต่อราชบัลลังก์ ถ้าแม้นว่านายปรีดีไม่พอใจในหลวงอานาน

ปรีดีปฏิบีติหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
แต่ในเมื่อพระองค์กำลังจะเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์อีกร่วมสามปี นายปรีดีที่กำลังมีอำนาจเต็มที่อยู่แล้วในประเทศจะดิ้นรนเสี่ยงชีวิตทำเรื่องร้ายแรงที่เป็นภัยต่อการทำงานและความปลอดภัยของครอบครัว โดยจู่ๆก็คิดจะลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานาน จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลที่พอจะรับฟังได้เลย และเมื่อพิจารณาจากประวัติและอุปนิสัยของนายปรีดีก็ยิ่งไม่พบร่องรอยใดทั้งการกระทำหรือการพูดที่ส่อเจตนาจะปลงพระชนม์

ข้อกล่าวหาว่าเรือเอกวัชรชัยเป็นผู้ปลงพระชนม์จากคำให้การของผู้หญิงซักรีดและคนขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของรัฐบาลก็ค่อนข้างมีพิรุธ เพราะเป็นไปได้ยากว่าเรือเอกวัชรชัยจะเป็นบุคคลที่ถูกพบเห็นที่หลังบ้านพิมานขณะเกิดการปลงพระชนม์และประกอบอาชญากรรมแล้วยังกลับมาทำธุระเป็นปกติอย่างแนบเนียนเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในเวลาที่รวบรัดมากเช่นนั้น เพราะต้องอาศัยการคาดการณ์ที่แม่นยำเหนือธรรมชาติที่มีรายละเอียดเป็นเสี้ยววินาที หรือมีสายคอยให้ความสะดวกอย่างเต็มที่และรายงานให้รู้ว่าในหลวงอานานยังหลับสนิทอยู่บนเตียงนอน ทั้งๆที่เรือเอกวัชรชัยอยู่นอกบ้านพิมาน แต่กลับมีพยานไปเห็นรอยเลือดบนแขนเสื้อของเขา

ราชาภิเษกสมรส 28 เมย. 2493
สำหรับพยานหลักฐานที่ใช้เอาผิดนายเฉลียว โดยการอ้างว่านายเฉลียวไม่แสดงความเคารพ หรือพูดว่าพระองค์จะไม่เสด็จในวันที่ 13 หรือว่าเขาเป็นลูกน้องนายปรีดีที่เป็นคนบงการ ก็เป็นเรื่องที่ไม่มีสาระเอามากๆเลย ถ้าเป็นศาลที่ได้มาตรฐานคงจะไม่เสียเวลามารับฟัง เพราะไม่มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่าเขาร่วมสมคบหรือกระทำผิดแต่อย่างใด
พยานหลักฐานที่ใช้เอาผิดนายบุศย์ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยความผิดของนายชิต เพราะนายชิตจะทำผิดตามลำพังคนเดียวไม่ได้ เนื่องจากนายบุศย์ก็คงต้องเห็นเพราะนั่งอยู่ใกล้ๆกัน ในเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินว่านายบุศย์ไม่ได้ร่วมสมคบเพราะนายบุศย์ได้รับเลือกให้ตามเสด็จไปต่างประเทศ ก็ย่อมแสดงว่านายชิตก็ไม่น่าจะทำความผิด
นายชิตถูกตัดสินว่ามีความผิดเพียงเพราะว่าเขาไปนั่งอยู่หน้าห้องตรงนั้นในขณะที่ไม่ได้อยู่ในหน้าที่เท่านั้นเอง เพราะศาลคิดว่า ไปนั่งตรงนั้นทำไม ทั้งๆที่ไม่ได้เข้าเวร แต่นายชิตก็ชี้แจงอย่างมีเหตุผล แต่ศาลไม่ยอมรับฟัง แต่กลับนำไปผูกโยงกับเรื่องการพูดล่วงหน้าของนายชิตเรื่องวันที่
13  ทั้งๆที่พยานอ้างว่านายเฉลียวก็พูดเหมือนกัน แต่ศาลชั้นต้นตัดสินว่าคำพูดของนายเฉลียวไม่มีความหมาย แล้วเหตุใดคำพูดของชิตจึงมีความหมายมากกว่าคำพูดของนายเฉลียว
ศาลตั้งข้อสงสัยเป็นพิเศษว่าทำไมนายชิตจึงไปบอกแม่สังวอนว่าในหลวงอานานยิงตัวตายและข้อกล่าวหาว่านายชิดวางแผนเปลี่ยนปืน ต้องเข้าใจว่านายชิตมีอาการตื่นกลัวจากการเห็นเลือดและเห็นปืนที่อยู่ใกล้ๆ และเขาก็ทราบดีว่าในหลวงอานานชอบเล่นปืนพก รวมทั้งปืน
.45ที่วางอยู่ในตู้ข้างๆ เขาจึงอาจสรุปเอาเองว่าในหลวงอานานน่าจะยิงตัวเอง เป็นไปได้ว่าในช่วงเกิดความตกใจตื่นกลัวย่อมมีอาการสับสนจำผิดจำถูกซึ่งเป็นเรื่องปกติ
ศาลเชื่อว่ามีการวางแผนเปลี่ยนปืน เปลี่ยนกระสุนและปลอกกระสุน ซึ่งเป็นเรื่องเป็นไปได้ยาก เพราะผู้สมคบไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่าจะไปเอาปลอกกระสุนมาในทันทีทันใดได้อย่างไร ถ้าใช้ปืนลูกโม่ที่เก็บปลอกกระสุน และไม่มีทางรู้ล่วงหน้าว่าลูกปืนจะไปทางไหน อาจฝังอยู่ศีรษะของในหลวงอานานก็ได้
ถ้าเป็นการกุเรื่องทั้งหมด คือทั้งปืน ลูกกระสุนและปลอกกระสุนเป็นของปลอมทั้งสิ้น ฆาตกรคงต้องใช้ปืน 
.45 ยิงให้ลูกปืนฝังอยู่ในเตียงนอน ซึ่งต้องมีรอยนิ้วมือที่ปืน หรือมีเขม่าดินปืนที่มือ แต่ศาลอ้างว่าอาจสวมถุงมือฝ้าย ถ้าสวมถุงมือก็ต้องมีรอยเส้นด้าย ศาลอ้างเองว่าฆาตกรคงใช้อาวุธที่ตนถนัด แต่ปืน .45 ก็ใช้ไม่ยาก ดังนั้นความเชื่อของศาลว่ามีการเปลี่ยนปืนจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล จึงไม่สามารถเอาผิดนายชิตรวมทั้งนายบุศย์และนายเฉลียว

แต่การที่ศาลฎีกาตัดสินลงโทษประหารชีวิตจำเลยผู้บริสุทธิ์ทั้งสามจึงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าศาลไทยไม่มีมาตรฐานและบิดเบือนการใช้กฎหมายอย่างชั่วร้ายที่สุด เพราะถูกครอบงำโดยอำนาจที่มาจากเผด็จการที่หวังจะใส่ร้ายป้ายสีเพื่อทำลายล้างพวกของนายปรีดีที่เป็นฝ่ายประชาธิปไตย

ประเด็นชัดเจนที่ศาลพยายามมองข้าม 



พระที่นั่งบรมพิมานสถานที่เกิดเหตุสวรรคต
1. เป็นไปไม่ได้ที่คนภายนอกบ้านพิมานจะเล็ดลอดขึ้นไปบนบ้านพิมานเพื่อปลงพระชนม์ในหลวงและหนีไปได้พ้น นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ตรวจสอบบาดแผลพบว่า ตรงที่ถูกยิงมีรอยกดของกระบอกปืนเป็นวงกลม แสดงว่าผู้ยิงต้องเอาปืนจ่อยิงที่หน้าผาก ไม่ปรากฏว่ามุ้งมีรอยทะลุ แสดงว่าคนร้ายต้องเลิกมุ้งออก แล้วจึงเอาปืนจ่อยิงในหลวง โดยผู้ยิงต้องเป็นคนรูปร่างสูง แขนยาว เพราะจากขอบเตียงถึงบาดแผลห่างกันถึง 66 ซม. ถ้ารูปร่างเล็กแขนสั้นจะทำไม่ได้ ขณะที่เรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช รูปร่างเล็กแขนสั้น

ฆาตกรต้องสนิทสนมกับในหลวงอานานมาก เพราะพระองค์ตื่นขึ้นมาและเข้านอนถึงสองครั้งย่อมหลับไม่สนิท ทรงรู้ตัวก่อนที่คนร้ายจะทำการได้
 





เนื่อง จินตดุลย์ (ซ้าย) แม่สังวอน(ขวา)
2.คำให้การ มีพิรุธมาก เพราะทุกคนที่อยู่ในบ้านพิมานได้ยินเสียงปืนดังสนั่น ทั้งชั้นล่างและชั้นบน มีแต่เสี่ยเล็กและแม่สังวอนเท่านั้นที่ไม่ได้ยินเสียงปืน ขณะพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตะดุลย์ ให้การว่า ตนอยู่ในห้องเสี่ยเล็ก 20 นาที ก่อนมีเสียงปืน และไม่พบเสี่ยเล็กอยู่ในห้องนั้นเลย แต่เสี่ยเล็กบอกเจ้ารังสิตว่า ตนเองอยู่ในห้องของตนขณะที่ผู้ร้ายยิงปืน

3. มีการทำลายหลักฐานต่างๆ เช่น การสั่งให้พระพี่เลี้ยงเนื่องทำความสะอาดพระศพ ให้หมอนิตย์เย็บบาดแผล มีการผลัดเสื้อผ้าพระศพ หมอนถูกนำไปฝัง มีการย้ายพระศพและยกเอาไปไว้บนเก้าอี้โซฟา การแตะต้องพระศพนั้น มิใช่ว่าจะกระทำได้ง่ายๆ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้านายผู้ใหญ่ก่อนเท่านั้น เมื่อรัฐบาลพลเรือนจะชันสูตรพระศพกลับถูกคัดค้านจากเจ้ารังสิตประยูรศักดิ์และแม่สังวอน
4. การฟ้องร้องคดีสวรรคตนี้เกิดขึ้นหลังจากที่พวกทหารก่อรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลเลือกตั้ง ให้พระพินิจชนคดี ซึ่งเป็นพวกของฝ่ายเจ้าได้เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และดำเนินการสอบสวน นายชิตเองถูกฉีดยาให้เคลิบเคลิ้ม ถูกขู่เข็ญสารพัด ทั้งคู่รู้ดีว่า พวกเจ้าและพระพินิจฯ จะต้องเล่นงานพวกนายปรีดี พนมยงค์ให้ได้ โดยใช้กรณีสวรรคตเป็นเครื่องมือ ฉะนั้นถึงตนพูดความจริง ก็ไม่มีประโยชน์ ซ้ำจะเป็นอันตรายถึงครอบครัว มีการใช้อำนาจเผด็จการอย่างป่าเถื่อน เช่น ยิงทิ้ง จับกุมคุมขังและทรมานผู้บริสุทธิ์ จึงยอมปิดปาก หวังที่จะได้รับความเมตตาจากศาลยุติธรรม และอย่างน้อยน่าจะได้รับคำความกรุณาจากเสี่ยเล็ก

5. มีการสร้างพยานเท็จว่านายปรีดีและพวก ปรึกษากันว่าจะปลงพระชนม์ที่บ้านพระยาศรยุทธเสนี โดยมีนายตี๋ ศรีสุวรรณ รู้ความลับนี้ ในภายหลัง นายตี๋ ยอมรับว่าตนให้การเท็จ ทั้งยังมีนายวงศ์ เชาวนะกวี ให้การว่าได้ยินนายปรีดีพูดกับตนว่าจะไม่ป้องกันราชบัลลังก์อีกต่อไปแล้ว ทั้งๆที่นายวงศ์มิใช่ผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับนายปรีดีแต่อย่างใด


ครอบครัวมหิดลในสวิสช่วงหลบคดีสวรรคต
6. ศาลพยายามช่วยเหลือผู้ต้องสงสัยตัวจริง และโยนความผิดให้ผู้อื่น เช่น
 -มีเพียงสองคนเท่านั้นคือเสี่ยเล็กและแม่สังวอน ที่ไม่ได้รับการตรวจพิสูจน์เขม่าปืนที่มือ เมื่อนายตำรวจคนหนึ่งเสนอให้ทำการพิสูจน์ด้วย กลับถูกสั่งปลดออกจากราชการ

 -ศาลไม่เปิดให้มีการซักค้านพยานบางคนคือเสี่ยเล็กกับแม่สังวอนในการสอบพยานนอกศาล ในวันที่ 12 และ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 แม้จะให้การสับสน



กษัตริย์ภูมิพลช่วงหลบคดีในสวิตเซอร์แลนด์
7. เสี่ยเล็กเป็นคนที่ได้รับประโยชน์จากการสวรรคตของในหลวงอานาน แต่อัยการกลับซักถามเพียงไม่กี่คำ และเลี่ยงที่จะซักถามในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ  ขณะศาลฎีกาสั่งลงโทษนายเฉลียว ทั้งๆที่ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า นายเฉลียวเกี่ยวข้องกับการสวรรคตอย่างไร และใครเป็นฆาตรกรตัวจริง แต่กลับพิพากษาให้ประหารชีวิตนายเฉลียวเพียงเพราะเขาใกล้ชิดกับนายปรีดี


คนรักของในหลวง

วัยเริ่มเรียนในสวิส
เป็นที่ทราบกันดีว่าในหลวงอานานทรงเชื่อฟังและขึ้นกับแม่สังวอนเสมอ ช่วงที่อยู่สวิตเซอร์แลนด์แม่สังวอนจะดูแลเรื่องอาหารการกินและเรื่องทั่วไปแม้แต่กำหนดการไปกลับเข้าออกบ้านของในหลวงอานาน เมื่อออกจากบ้านแม่สังวอนจะให้นายเซไรดาริส ( Mr. Seraidaris ) อาจารย์ชาวกรีกคอยตามดูแล


เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ในสวิส
ในหลวงอานานจึงไม่ค่อยมีความเป็นส่วนตัวมากนัก นายเซไรดาริสจะติดตามพระองค์ไปเยี่ยมเยียนเพื่อนๆคล้ายกับเป็นตัวแทนแม่สังวอน ดังนั้นบางครั้งในหลวงอานานก็ต้องพยายามปกปิดเรื่องที่อาจทำให้แม่สังวอนไม่พอใจ โดยต้องแอบทำลับๆ ต่างจากเสี่ยเล็กที่ค่อนข้างเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ต้องมีแม่มาคอยกวดขันอบรม

  

มารีลีน เฟอรารี Marylyne Ferrari
ในหลวงอานานมีเพื่อนหญิงเกิดปีเดียวกันชื่อ มารีลีน เฟอรารี ( Marylene Ferrari ) พ่อของเธอคือยูจีนเฟอรารี ( Eugene Ferrari) เป็นหมอสอนศาสนานิกายแคลวินของสวิส ( Calvinist Church ) ระดับเจ้าคุณชั้นผู้ใหญ่ โดยย้ายเข้ามาอยู่ในโลซานน์ที่ถนนเวอร์ไดล์ในย่านคนมั่งมี เป็นคนสูงใหญ่ ผิวคล้ำเพราะมีเชื้อสายอิตาเลียน ใบหน้าเข้ม มีไมตรี ไม่ถือตัว มีภรรยากับบุตรชายอีกคนหนึ่ง ภรรยารูปร่างธรรมดาเป็นคนที่รักสามีและลูกทั้งสองมาก
เมื่อในหลวงอานานจบชั้นมัธยมและเข้าเรียนโรงเรียนกฎหมายมหาวิทยาลัยโลซานน์ ( Lausanne )ในเดือนกันยายน 2486 เมื่อมีอายุ 18 ปี ในชั้นเรียนมีเพื่อนร่วมชั้น 13 คน มีมารีลีนเฟอรารีเป็นผู้หญิงอยู่คนเดียว เธอเป็นสาวรูปร่างหน้าตาดี ตาสีน้ำตาลแก่ ผมสีน้ำตาลสลวย ฟันงาม เป็นคนร่าเริง พูดตรงไปตรงมาแต่ไม่พูดบ่อย มิตรภาพได้ค่อยๆเกิดขึ้นระหว่างกษัตริย์หนุ่มของไทยกับลูกสาวนักสอนศาสนาชาวสวิส ทั้งสองมักนั่งฟังการบรรยายด้วยกัน และได้พบกันในที่สังสรรค์ตอนบ่ายตามบ้านของเพื่อนนักศึกษา

ตำหนักวิลล่าวัฒนา เมืองโลซานน์ สวิส
มาริลีนได้มีโอกาสพบแม่สังวอนสองสามครั้งในขณะที่ในหลวงอานานยังมีชีวิตอยู่ และไม่ได้พบกันตลอดหกเดือนเมื่อในหลวงเสด็จกลับประเทศไทย เพื่อนนักศึกษาเคยไปที่วิลล่าวัฒนาโดยมีมาริลีนร่วมอยู่ด้วย ทรงเล่นเทนนิสกับมาริลีนและคนอื่นๆ ในหลวงอานานไม่เคยเสด็จในที่สาธารณะ เช่นกาแฟ บาร์ หรือภัตตาคาร แต่ทรงชอบทำความรู้จักและสนิทสนมกับเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน

ร. 8 เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก14พย.2481
แม่สังวอนได้สั่งในหลวงอานานอย่างจริงจังถึงภาระหน้าที่ทีมีต่อประเทศและประชาชนไทย และจะไม่ยอมให้แต่งงานกับหญิงตะวันตกอย่างเด็ดขาด แม่สังวอนต้องย้ำเตือนในหลวงอานานเรื่องภาระหน้าที่ในฐานะกษัตริย์อยู่เสมอ ต่างจากเสี่ยเล็กที่ไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไช หรือต้องคอยกำชับหรือพร่ำสอนอะไรมากนัก ฝ่ายครอบครัวของมารีลีนก็ต้องคอยเตือนลูกสาวเช่นกัน เพราะพวกเขาก็ไม่ได้พิศมัยต่อราชบัลลังก์ของไทยแต่อย่างใด แม้ว่าทั้งผู้เป็นพ่อและแม่จะชอบอัธยาศรัยของในหลวงอานาน แต่ไม่อยากให้ลูกสาวแต่งงานกับชาวตะวันออก เพราะเห็นว่าฐานะของสตรีในตะวันออกต่ำต้อย แต่ก็ยอมให้ติดต่อคบหากันได้ในลักษณะเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน เพราะทั้งสองไม่ได้ทำให้ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายหนักใจ จึงไม่มีปัญหาเรื่องการพบปะ โดยที่ทั้งสองฝ่ายจะรักษาความสัมพันธ์ให้คงอยู่ในระดับเป็นเพื่อนกันเท่านั้น


มหาวิทยาลัยโลซานน์ University of  Lausanne
ความสัมพันธ์ของหนุ่มสาวทั้งสองได้เจริญงอกงามในบรรยากาศของมหา วิทยาลัย ที่มีความรู้สึก ดึงดูด เข้าหากัน โดยทั้งคู่สัญญาจะไม่ให้ใครรู้เรื่องความสัมพันธ์ของพวกเขา และจะรักษาความลับนี้ไว้เป็นอย่างดี นายเซไรดาริสเคยตามในหลวงอานานไปงานสังสรรค์นักศึกษาและตามพระองค์พามาริลีนชมภาพยนต์ด้วยกัน และอีกครั้งที่ทรงพามารีลีนไปชมคอนเสิร์ตของมหาวิทยาลัย

Mr.Cleon Seraidaris ครูพิเศษชาวกรีซผู้คอยควบคุม
ทางเหนือ บางครั้งในหลวงอานานก็โทรศัพท์บอกล่วงหน้าให้พวกครอบครัวเฟอรารีได้เตรียมตัวต้อนรับ นางเฟอรารีก็ดีใจที่เห็นลูกสาวมีความสุขกับพระองค์ เพราะในหลวงอานานเป็นคนถ่อมตัวและอ่อนโยน จึงได้ยอมให้อยู่กันตามลำพัง มีครั้งหนึ่งที่มีคนบังเอิญเข้าไปในที่พัก และเห็นทั้งสองกำลังเล่นวิ่งไล่จับกัน แต่ถึงจะมีใจให้กัน ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า ทั้งคู่จะแต่งงานกันไม่ได้เด็ดขาด
คนทั้งสองมักคุยกันอย่างจริงจังเป็นเวลานาน ทั้งเรื่องของโลกและความก้าวหน้าในอนาคตของประเทศไทย ทั้งคู่จะอ่านตำรากฎหมายด้วยกัน ในหลวงอานานทรงสอนภาษาไทยแก่หญิงสาว และชอบฟังเสียงร้องเพลงของเธอ โดยพระองค์จะเล่นเปียโนและแนะนำให้เธอเรียนการร้องเพลงซึ่งเธอก็ปฏิบัติตาม รวมทั้งเรื่องการเรียนกฎหมายและเรื่องอื่นๆ โดยทรงสนับสนุนให้เธอได้พยายามอย่างดีที่สุด ในหลวงอานานเสียพระทัยที่เธอสอบวิชากฎหมายตก ขณะที่พระองค์ทรงสอบได้ จึงได้ช่วยเตรียมตัวให้เธอเพื่อสอบแก้ตัว และเธอได้ส่งโทรเลขแจ้งข่าวว่าเธอสอบได้แล้ว ทั้งคู่จะใช้นามแฝงในเขียนจดหมายเพื่อไม่ให้คนอื่นได้ล่วงรู้

จัมเปกซ์สถานที่ท่องเที่ยวและเล่นสกีชื่อดัง
ระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อนในปี 2488 ครอบครัวเฟอรารีบังเอิญไปเช่าบ้านที่จัมเปกซ์ ขณะที่ครอบครัวมหิดอนก็ไปเช่าโรงแรมอยู่ในย่านเดียวกัน ทำให้ทั้งสองได้มีโอกาสพบกันมากขึ้น ตลอดเวลา 18 เดือนที่คนทั้งสองได้มีชีวิตเหมือนนิยายอย่างลับๆ โดยไม่ใยดีต่อโลกภายนอก
แต่เมื่อกลับจากจัมเปกซ์ ( Champex ) โลกภายนอกก็วิ่งเข้ามาพวกเขา โดยมีโทรเลขจากนายปรีดี ลงวันที่
6 กันยายน 2488 ทูลเชิญในหลวงอานานให้เสด็จกลับประเทศไทยเมื่อพระองค์บรรลุนิติภาวะในปลายเดือนนั้น โดยมีการฉลองวันเกิดที่วิลล่าวัฒนาในวันที่ 20 กันยายน 2488 ในหลวงอานานได้นัดฉลองวันเกิดกับมาริลีนเป็นการส่วนตัว โดยเธอได้ให้มีดเงินสำหรับเปิดซองจดหมาย ในหลวงอานานได้ให้ไดอารีที่พระองค์ได้เขียนถึงเรื่องราวที่ได้ทำร่วมกัน ก่อนเสด็จกลับประเทศไทยพระองค์ได้รวบรวมจดหมายและของที่ระลึกทุกชิ้นให้มาริลีนเก็บรักษาไว้เพราะทรงเกรงว่าอาจมีคนมาพบเห็นเข้า พร้อมทั้งได้กำหนดนัดแนะวิธีติดต่อกัน


โปสการ์ดของในหลวงอานันท์จากการาจี อินเดีย
ในวันที่จะเสด็จกลับประเทศ ไทย พระองค์ได้ โทรศัพท์ หามาริ ลีนสองครั้งและได้ส่งโพสการ์ดเมื่อเครื่องบินลงแวะที่เตอรกี และเขียนจดหมายหรือโทรเลขถึงเธอสัปดาห์เว้นสัปดาห์ โดยส่วนใหญ่จะส่งตรงไปที่ถนนเวอร์ไดล์ ในหลวงอานานได้สั่งให้นำจดหมายจากสวิสทั้งหมดส่งให้พระองค์โดยตรง ทรงบ่นกับมาริลีนว่าเธอเขียนจดหมายถึงพระองค์น้อยไปหน่อย และเมื่อทรงทราบข่าวในเดือนมีนาคมว่าต้องยืดเวลาอยู่ในเมืองไทยต่อไปอีก ทำให้ทรงมีความคิดถึงกันอย่างรุนแรง โดยได้ส่งโทรเลขไปถึงเธอให้เขียนจดหมายถึงกันให้บ่อยขึ้น

ร.8 พระราชทานสมรสมจ.ปิยะรังสิตวิภาวดี
มารีลีนได้รับจดหมายจากไปรษณีย์เที่ยวแรกในเช้าวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2489 ในหลวงอานานทรงเล่าว่ามีคนพาหญิงสาวในตระกูลชั้นสูงมาแนะนำให้รู้จัก และคนหนึ่งในจำนวนนี้อาจมาเป็นมเหสีของพระองค์ แต่พระองค์ทนรอเวลาที่จะกลับไปโลซานน์อีกต่อไปไม่ได้แล้ว ...ถ้อยคำเช่นนี้ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องนำความปลาบปลื้มมาสู่หัวใจของหญิงสาว เพราะในหลวงอานานกำลังจะเสด็จกลับมาพบกับเธอและจะได้ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยเดียวกันต่อไปอีกอย่างน้อยสองปี 

 

งานเผาพระศพในหลวงอานันท์ มีค.-เม.ย. 2493
แต่หัวใจของมาริลีนต้องแตกสลายไปทันที เมื่อได้ยินข่าวจากทางวิทยุว่า ในหลวงอานานสวรรคตแล้ว
พวกนักข่าวพยายามสืบเสาะเรื่องภูมิหลังของในหลวงอานานและติดตามจนพบตัวมาริลีน นักข่าวพากันไปที่บ้านของเธอที่หัวถนนเวอร์ไดล์ ขณะที่พระราชวงศ์ไทยยังคงถือและเชื่อมาจนถึงทุกวันนี้ว่ามาริลีนเป็นเพียงพระสหายผู้คุ้นเคยคนหนึ่งของในหลวงอานานเช่นเดียวกับพระสหายคนอื่นๆในชั้นเรียนเดียวกันเท่านั้น อย่างไรก็ดีนายเซไรดาริสหรือเจ้ากรีกผู้มีจมูกไวก็ได้เตือนมาริลีนให้สงบเงียบอย่าให้พวกนักข่าวเอาเรื่องของความคุ้นเคยปกติไปขยายความจนเกินความเหมาะสม แม่ของมาริลีนต้องเก็บตัวมาริลีนไว้ในบ้านถึง
8 วัน จนกระทั่งพวกนักข่าวพากันเลิกรากลับไปหมด


ครอบครัวกษัตริย์ภูมิพลหลังปิดคดี
แต่ศาลไทยไม่ได้สนใจในประเด็นเรื่องภูมิหลังที่เมืองโลซานน์ของในหลวงอานานเลยแม้แต่น้อย ทั้งๆที่คณะผู้พิพากษาก็ได้เคยไปเผชิญสืบถึงสวิตเซอร์แลนด์ จึงจะอ้างว่าไม่มีโอกาสไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดคณะผู้พิพากษาก็อาจจะหาข้อสรุปได้ว่าจดหมายของใครกันที่ในหลวงอานานทรงเผาเมื่อวันก่อนสวรรคตหรือยังเหลือจดหมายอีกสักฉบับไหมที่นายบุศย์ให้การว่าเห็นจดหมายอยู่ในมือของแม่สังวอนตอนที่นางกระทืบเท้ากับพื้น ระหว่างที่เสี่ยเล็กต้องเดินกลับไปกลับมาเพราะยังตัดสินใจไม่ได้ ขณะที่แม่สังวอนไม่เห็นด้วยกับความคิดของเสี่ยเล็ก หรือว่าแม่สังวอนเริ่มรู้ถึงความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างในหลวงอานานกับมาริลีนและได้เตือนให้พระองค์ระงับความรู้สึกให้ได้ก่อนเสด็จกลับไปสวิส เรื่องนี้ทำให้มีการลือว่าเกิดมีปากเสียงกันอย่างรุนแรงระหว่างในหลวงอานานกับแม่สังวอน แต่คำให้การของเสี่ยเล็กและแม่สังวอนก็ไม่มีการกล่าวถึงจดหมายดังกล่าวหรือชื่อของมาริลีน เฟอรารีอยู่เลย


17 กุมภาพันธ์
วันประหารแพะแห่งชาติ


เช้ามืด ของวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 นักโทษชายที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางบางขวาง 3 คน ได้ถูกนำตัวไปยังหลักประหารของเรือนจำ คือ เฉลียว ปทุมรส ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 หรือเป็นเวลา 8 ปี  8 เดือน  8 วันก่อนหน้านั้น
การสวรรคต ของในหลวงอานานได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นและสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างประเพณีห้ามพูดเรื่องของกษัตริย์และเป็นโอกาสที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้หวนกลับมารื้อฟื้นทวงคืนอำนาจและอิทธิพลของระบอบราชาธิปไตยให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
บุศย์ เฉลียว ชิต รอพระมหากรุณาธิคุณจนนาทีสุดท้าย
หลังจากศาลฎีกาได้ตัดสินให้จำเลยทั้งสามมีความผิดต้องประหารชีวิต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2497 แล้ว พอวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยยื่นผ่านกรมราชทัณท์ วันที่ 8 ธันวาคม 2497 ฎีกาของทั้งสามถูกนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้
โดยน.ช. เฉลียว อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะคิดร้ายแต่อย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ 

เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) แม่ทัพ ร.3
น.ช. ชิต อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับใช้ราชวงศ์ด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต ส่วน น.ช. บุศย์ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมา โดยความอุปการะจากราชตระกูล จึงรับราชการด้วยความจงรักภักดี ครม.มีมติเมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม 2497 เห็นชอบตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความเสนอให้เสี่ยเล็กพิจารณา
วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2498 หลังการยื่นฎีกามากว่า 3 เดือน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจอมพล ผิน ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่ประชุม ได้แจ้งมติรับทราบว่าเสี่ยเล็กให้ยกฎีกานี้
เมื่อนักข่าวสยามนิกรไปถึงบ้านคุณฉลวย ปทุมรสเมื่อเช้าวันที่ 15 กุมภาพันธ์นั้น คุณฉลวยได้หยิบหนังสือพิมพ์ออกมาให้ดูโดยที่เธอไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลยว่าจะไม่พระราชทานอภัยโทษ เธอตัวสั่นไปทั้งร่าง สะอื้นไห้เพราะกลั้นน้ำตาไว้ไม่ได้ เธอต้องเดินทางไปกรมราชทัณฑ์และที่อื่นๆอีกหลายแห่ง ในตอนเที่ยง

กษัตริย์ภูมิพล ในสวิส 2491
เธอกล่าวย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าว่า วันนี้ดิฉันไม่สบายใจเลยค่ะ ไม่สบายใจเลยค่ะ ฉันเพิ่งพบคุณเฉลียวครั้งสุดท้าย เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เดือนนี้เอง คุณเฉลียวพูดว่าไม่เป็นไรหรอก จนดิฉันคิดเสียว่าอย่างไรเสียก็คงจะพระราชทานอภัยโทษ คุณเฉลียวพูดว่าตัวเราไม่ทำผิดอะไร เมื่อพบกันครั้งสุดท้ายคุณก็มั่นใจคิดว่าไม่เป็นไร  เธอใช้ผ้าเช็ดหน้าซับน้ำตาสะอื้น เล่าให้ฟังต่อไปว่า เคยมีเพื่อนๆมาแนะนำให้เขาหนี ถามว่าทำไมไม่หลบไปเสีย .... ความบริสุทธิ์ใจของตัวเองแท้ๆ คิดว่าเราบริสุทธิ์ก็คงไม่เป็นไร เลยไม่คิดหนี พูดกันตามความเป็นจริง เวลาที่ขึ้นศาลตั้งสามปี ถ้าคิดจะหลบหนีก็คงพ้น  คุณเฉลียวไม่เคยขออะไรมาเป็นพิเศษเลยค่ะ เมื่อวันศุกร์ที่พบกันก็เห็นเฉยๆ มั่นใจว่าจะไม่เป็นไร ในระหว่างรอการราชวินิจฉัย ก็สบายพอควร ..ดิฉันเพิ่งทราบข่าวเมื่อเช้านี้เอง  

ถึงตอนนี้ ทั้งผู้ต้องโทษและญาติคงหมดความหวังแล้ว เย็นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ กรมราชทัณฑ์เริ่มดำเนินการตามระเบียบของการประหารชีวิต
บุศย์ ได้เขียนจดหมายถึงภรรยาก่อนถูกประหาร ดังนี้

16 กุมภาพันธ์ 2498

 บุญสม
 จดหมายฉบับนี้เป็นจดหมายครั้งสุดท้ายในชีวิตของฉันซึ่งเราจะต้องจากกันโดยฉันไม่ได้ ทำผิดคิดร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ก็ต้องตายโดยที่ไม่มีความผิด
 ขอสมอย่าได้เสียอกเสียใจ เพราะผัวของสมไม่ได้ตายโดยมีความผิด ตายโดยความอยุติธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างสมรู้ดีฉันบริสุทธิ์เพียงไร แต่เป็นคราวเคราะห์ของฉันที่ต้องตายโดยไม่ได้ทำความผิด
 จากนี้ไม่มีอะไรจะพูดอีก นอกจากขอร้องให้สมรักษาตัวให้ดี อย่าสุรุ่ยสุร่ายนัก เพราะสมจะต้องอยู่รักษาตัวต่อไปอีกนานจนกว่าจะที่สุดอายุของสม
อนึ่งในระหว่างที่อยู่ด้วยกันมา ถ้ามีอะไรที่ผิดพลั้งไปบ้าง ก็ขอให้อโหสิด้วย ฉันได้เซ็นชื่อในพินัยกรรมไว้ให้แล้ว ขอให้ใช้ให้เป็นประโยชน์
 จากฉันเป็นครั้งสุดท้ายและจะไม่ได้พบกันอีก
บุศย์ ปัทมศริน

กษัตริย์ภูมิพลตัดสินรอลงอาญาคดีลักโม่หิน 26 มค. 2495
ประมาณ 5 โมงเย็น เจ้าหน้าที่เรือนจำบางขวางได้ไปนิมนต์พระเนตร ปัญญาดีโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดบางขวางไปเทศน์ให้นักโทษประหารฟัง นักโทษทั้งสามถูกนำตัวออกจากห้องขังมาทำการตีตรวนข้อเท้าตามระเบียบ
เวลา
22.00 น. ผู้คุมเป็นพยานให้นักโทษทั้งสามเขียนพินัยกรรมหรือจดหมายฉบับสุดท้ายถึงญาติ
ประมาณ ตีสอง เริ่มขั้นตอนประหารชีวิตจริง  หัวหน้ากองธุรการเรือนจำอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้นักโทษทั้งสามฟัง และแจ้งว่า บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามแล้ว โดยพระองค์ได้ทรงขอให้คดีดำเนินไปตามตัวบทกฎหมาย ดังที่ศาลสถิตย์ยุติธรรมชั้นสูงได้ตัดสินไปแล้ว
กษัตริย์ภูมิพลในสวิส ช่วงหลบคดีสวรรคต
หลังพระเทศน์ นักโทษถูกนำกลับห้อง ทางเรือนจำจัดอาหารมื้อสุดท้ายให้ แต่ไม่มีใครกิน เวลาประมาณ 4.20 น. เฉลียวถูกนำตัวเข้าสู่หลักประหารเป็นคนแรก โดยอยู่ในท่านั่งงอขา หันหลังให้ที่ตั้งปืนกลห่างประมาณ 5 เมตร นักโทษถูกมัดเข้ากับหลักประหาร มือทั้งสองพนมถือดอกไม้ธูปเทียนไว้เหนือหัวมีผ้าขาวมัดไว้ และมีผ้าขาวผูกปิดตา ด้านหน้านักโทษเป็นกองดิน ด้านหลังเป็นฉากผ้าสีน้ำเงิน บังระหว่างนักโทษกับเพชฌฆาต บนฉากผ้ามีวงกลมสีขาวเป็นเป้าสำหรับเพชฌฆาต ซึ่งตรงกับบริเวณหัวใจของนักโทษ
 เพชฌฆาตประจำเรือนจำ ยิงปืนกลรัวกระสุน 1 ชุด จำนวน 10 นัด เสร็จแล้วแพทย์เข้าไปตรวจดูนักโทษเพื่อยืนยันว่าเสียชีวิต


ให้โอวาทงานประจำปีวชิราวุธวิทยาลัย 2495
หลังการประหารนายเฉลียวประมาณ 20 นาที นายชิตก็ถูกนำตัวมาประหารเป็นคนต่อไปในลักษณะเดียวกัน เมื่อถึงคราวนายบุศย์ เขามีโรคประจำตัวเป็นลมบ่อย และเป็นลมอีกก่อนถูกนำเข้าหลักประหารเล็กน้อย ต้องช่วยให้คืนสติก่อน เพชฌฆาตยิงเสร็จ 1 ชุดแล้ว ตรวจพบว่านายบุศย์ยังมีลมหายใจ จึงยิงซ้ำอีก 2 ชุด โดยยิงรัว 1 ชุด แล้วตามด้วยการยิงทีละนัดจนหมดอีก 1 ชุด ผลจากการยิงถึง 30 นัดนี้ทำให้เมื่อญาติทำศพ พบว่าเหลือเพียงร่างที่แหลกเหลวและมือขาดหายไป
แม้ว่าคงแทบไม่เหลือความหวังว่าสามีจะรอดพ้นการถูกประหารชีวิต แต่บุญสม ปัทมศริน ก็ยังมาที่เรือนจำเพื่อเยี่ยมนายบุศย์ในเช้าวันที่ 17 กุมภาพันธ์ โดยไม่รู้มาก่อนว่า เขาได้ถูกประหารชีวิตไปแล้ว คงเป็นระเบียบทางราชการไทย ที่ไม่ประกาศเวลาประหารชีวิตล่วงหน้าไม่ว่ากรณีใด  เธอเพิ่งได้รับการบอกเล่าจากเจ้าหน้าที่เรือนจำเมื่อมาถึงที่นั่นว่า สามีกับพวกถูกประหารแล้ว
 ดิฉันทราบโดยบังเอิญ เมื่อเช้านี้เอง เมื่อรู้ก็รีบไปบอกภรรยาคุณเฉลียว แกก็เพิ่งทราบเหมือนกัน ถึงกับเป็นลมเป็นแล้งไปหลายพัก ต่อจากนั้น ดิฉันก็ไปพบภรรยาคุณชิต ไม่พบแก พบแต่ลูกสาว ซึ่งมารับด้วย นี่แกก็คงยังไม่รู้เรื่องแน่
นางบุญสม เล่าอย่างเศร้าหมองต่อไปว่า เธอพบกับนายบุศย์ครั้งสุดท้ายในวันเยี่ยมเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว นายบุศย์ได้สั่งซื้อของมากอย่างผิดปกติ ทั้งๆที่เธอและนายบุศย์ก็ยังไม่ทราบว่า จะมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดขึ้น
 “ ดิฉันก็ได้จ่ายของให้แกครบทุกอย่าง และจะนำมาให้วันนี้อยู่ทีเดียว โธ่ไม่น่าเลยนะคะ จะตายทั้งทีขอให้ได้เห็นใจกันหน่อยก็ไม่ได้
การลำเลียงศพนักโทษประหารคดีสวรรคต
จากตอนสายถึงบ่ายของวันนั้น เมื่อข่าวการประหารชีวิตแพร่ออกไป ญาติ ประชาชน และผู้สื่อข่าว ก็ทะยอยกันมารออยู่บริเวณด้านประตูเหล็กสีแดงที่ใช้สำหรับขนศพผู้ถูกประหาร ชีวิตออกนอกเรือนจำ จนเนืองแน่นบริเวณ บางส่วนไปรออยู่ในลานวัดบางแพรกหลังเรือนจำ ซึ่งปกติศพผู้ถูกประหารจะถูกขนไปฝากไว้ 

ชูเชื้อ สิงหเสนี
บ่ายสองโมง ชูเชื้อ สิงหเสนี ภรรยานายชิต นั่งรถมาถึงลานวัด ร้องไห้เสียใจอย่างหนัก ดิฉันเพิ่งรู้เรื่องเมื่อเที่ยงกว่านี้เอง กำลังไปจ่ายของให้เขาอยู่ทีเดียว พอกลับบ้าน คนบอกถึงได้รู้เรื่อง ส่วนฉลวย ปทุมรส หลังจากรู้ข่าวแล้ว เสียใจจนเป็นลมหลายครั้ง ทำให้ไม่สามารถมารับศพด้วยตัวเอง ต้องให้น้องสาวมารับแทน
ประมาณบ่ายสามโมง เจ้าหน้าที่เรือนจำเริ่มขนศพของทั้งสามที่บรรจุในโลงออกมาจากเรือนจำทาง ประตูแดง โดยให้นักโทษ 6 คนเป็นผู้แบกครั้งละโลง ชูเชื้อ ร้องไห้ ผวาเข้าไป โดยมีลูกสาวสองคนคอยช่วยพยุง ศพของเฉลียวถูกนำไปไว้ที่วัดสระเกศ ของชิตที่วัดจักรวรรดิ และบุศย์ ที่วัดมงกุฏ ตามระเบียบราชการ ห้ามญาติจัดงานศพอย่างเอิกเกริกให้กับผู้ที่ถูกประหารชีวิต
 เมื่อเสียชีวิต เฉลียว ปทุมรส มีอายุ 52 ปี ชิต สิงหเสนี 44 ปี บุศย์ ปัทมศริน 50 ปี แต่ทั้งสามคนถูกจับขังไร้อิสรภาพตั้งแต่ปลายปี 2490
…………..







ไม่มีความคิดเห็น: