วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

112 สยองพระเกียรติ ตอนที่ 9 : ประชาชนเป็นแค่ฝุ่นใต้เท้า C2 SO 08





ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ : http://www.4shared.com/mp3/DH0PanHE/See_Through_Stable_Owner_08_0.html
หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?ba5ldrql7mbblh1

112 สยองพระเกียรติ
ตอนที่
9 : ประชาชนเป็นแค่ฝุ่นใต้เท้า

เปิดคำพิพากษาย่อ: จำคุกนายสมยศ 10 ปี
ฐานเผยแพร่ความจริงของกษัตริย์ภูมิพล

23 ม.ค. 2556 ที่ศาลอาญา รัชดา เวลา 10.30 น. ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา คดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข  บก.นิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 โดยใช้เวลาในการอ่านราว 1 ชั่วโมง ท่ามกลางผู้สังเกตการณ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศราว 200 คน ศาลพิพากษาให้สมยศมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 10 ปี จากความผิด 2 กรรม  บวกกับโทษเดิมเมื่อปี 2552 คดีหมิ่นประมาท พล.อ.สะพรั่ง กัลยาณมิตร ที่รอลงอาญาไว้อีก1 ปี รวมเป็นจำคุก 11 ปี
คดีนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนจำนวนมาก รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ และสถานทูตต่างๆ โดยครั้งนี้มีตัวแทนจากสถานทูตหลายแห่ง เช่น ฝรั่งเศส  เยอรมนี  อังกฤษ  สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์  เดนมาร์ก สวีเดน ออสเตรเลีย รวมถึงตัวแทนจากสหภาพยุโรปและองค์การสหประชาชาติด้วย ภายหลังศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ศาลได้ประกาศให้สื่อมวลชนสามารถรับคำพิพากษาย่อได้ที่โต๊ะประชาสัมพันธ์
 

ศาลได้อ่านข้อความในบทความ 2 ชิ้นตามฟ้องโดยละเอียด บทความดังกล่าวปรากฏในนิตยสาร Voice of Taksin ฉบับเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2553 ชื่อว่า แผนนองเลือด ยิงข้ามรุ่น  และ 6 ตุลาแห่ง พ.ศ. 2553 ตามลำดับ โดยผู้เขียนใช้นามแฝงว่า จิตร พลจันทร์
ศาลได้กล่าวถึงข้อต่อสู้สำคัญของจำเลยที่ว่าพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์
2550 ไม่ได้กำหนดให้บรรณาธิการต้องรับผิดชอบกับบทความที่ผู้อื่นเขียนนั้น ย่อมหมายความว่า จำเลยพ้นจากความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์เท่านั้น แต่ความผิดตามมาตรา 112 ไม่ได้ถูกยกเลิกไปด้วย
ข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้เขียนนั้น ศาลระบุว่าไม่รับวินิจฉัยเพราะโจทก์ฟ้องว่าจำเลยหมิ่นสถาบันกษัตริย์ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณ ข้อต่อสู้ของจำเลยว่าไม่ได้เขียนจึงไม่ใช่การกระทำที่ถูกฟ้อง

ส่วนข้อต่อสู้ว่าจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของนิตยสารฉบบนี้ก็ไม่มีน้ำหนักให้วินิจฉัย เพราะพยานโจทก์ 4 ปากซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของนิตยสารเสียงทักษิณเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการพิจารณาตีพิมพ์บทความต่างๆในนิตยสารแต่เพียงผู้เดียว และทั้งหมดไม่มีเหตุโกรธเคืองกับจำเลย

ในส่วนว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นกษัตริย์หรือไม่นั้น ศาลอ้างคำให้การของพยานฝ่ายโจทก์หลายปาก เช่น พ.อ.วิจารณ์ จดแตง ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายและสิทธิมนุษยชน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ( กอ.รมน.)  พ.อ.พีระ ฉิมปรี ผู้อำนวยการกรมยุทธการทหารบก  นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  นายบวร ยะสินธร เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้องสถาบัน ซึ่งล้วนตีความบทความทั้งสองชิ้นว่า สื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าหมายถึงกษัตริย์ภูมิพล รวมถึงเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติที่เบิกความเกี่ยวกับพงศาวดารเกี่ยวกับพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสินด้วย แม้พยานจำเลย เช่น นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเบิกความทำนองเดียวกันว่าหลังจากอ่านบทความแล้วไม่สามารถระบุได้ว่าหมายถึงพระมหากษัตริย์ แต่น่าจะหมายถึงอำมาตย์

โดยศาลระบุว่า เมื่อเชื่อมโยงกับพงศาวดารที่ประชาชนรู้กันทั่วไป  ประกอบกับการผูกเรื่องว่าผ่านมา 200 กว่าปีนั้นประชาชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงรัชกาลที่ 1 และทำให้เมื่ออ่านบทความในส่วนอื่นๆ ก็สามารถเชื่อมโยงได้ถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งมีการกล่าวหาว่ามีส่วนในการลอบสังหารทักษิณ ชินวัตร และอยู่เบื้องหลังการสังหารประชาชนนอกจากนี้การกล่าวถึงประวัติศาสตร์โดยระบุถึงผู้มีอำนาจเหนือจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่อยู่เบื้องหลังการสังหารฝ่ายซ้าย  ผู้อำนาจเหนือจอมพลถนอม-ประภาส-ณรงค์ และอยู่เบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นการสื่อให้เข้าใจได้ว่า ผู้มีอำนาจเหนือทั้งรัฐบาลทหารและรัฐบาลพลเรือน ก็คือ กษัตริย์ภูมิพล แม้ว่าในบทความจะไม่ได้ระบุชื่อและกล่าวถึงตัวละครหลวงนฤบาล ที่ไม่มีอยู่จริงก็ตาม

ศาลระบุด้วยว่า เนื้อหาของบทความดังกล่าวมีความผิดตามฟ้อง จำเลยซึ่งจบปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรสื่อมวลชน การนำเสนอข่าวของจำเลยต้องมีการวิเคราะห์ก่อน โดยเฉพาะตำแหน่ง บรรณาธิการบริหาร ต้องมีวิจารณญาณสูงกว่าประชาชนทั่วไป ย่อมต้องรู้ว่าบทความดังกล่าวหมิ่นประมาทกษัตริย์ และไม่มีความจริง แต่จำเลยยังคงลงพิมพ์ เผยแพร่ จึงเป็นการกระทำโดยเจตนา ส่วนที่ต่อสู้ว่ามีเวลาอ่านบทความจำกัดและเมื่ออ่านแล้วเห็นว่าสื่อถึงอำมาตย์ ไม่คิดว่าเป็นพระมหากษัตริย์นั้นก็ฟังไม่ขึ้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จำนวน 2 กรรม ลงโทษกรรมละ 5 ปี บวกกับโทษเดิม อ.1078/52 อีก 1 ปี รวมจำคุก 11 ปี 
ทั้งนี้ สมยศ จบการศึกษาจากมหา วิทยาลัย รามคำแหง เป็นประธานสหภาพพันธมิตรแรงงานประชาธิปไตย มีประวัติเคลื่อนไหวด้านแรงงานเรื่อยมา จนปี 2550 เขาเป็นบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin และเป็นแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ไม่กี่วันก่อนถูกจับในวันที่ 30 เม.ย.2554 เขาออกมาเคลื่อนไหวรวบรวมรายชื่อยกเลิกกฎหมายมาตรา 112



คำพิพากษา (ย่อ)


คดีหมายเลขดำที่ อ.1962/2554


ระหว่าง    พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์

             

นายสมยศ พฤกษา เกษมสุข   จำเลย
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2553 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยหมิ่นประมาท ดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณ ( Voice of Taksin ) ปีที่ 1 ฉบับที่ 15 ปักษ์หลังกุมภาพันธ์ 2553 บทความคมความคิด ของผู้ใช้นามปากกา จิตร พลจันทร์ เรื่องแผนนองเลือด กับยิงข้ามรุ่น หน้าที่ 45-47
โดยเนื้อหาของบทความสื่อให้เข้าใจว่าพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชทรงเป็นผู้ออกคำสั่งให้สังหารประชาชนจำนวนมากในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 และทรงเป็นผู้วางแผนตระเตรียมสร้างสถานการณ์เพื่อสังหารประชาชนจำนวนมาก อย่างโหดเหี้ยมรุนแรงภายหลังวันพิพากษายึดทรัพย์ของพลตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ซึ่งไม่มีมูลความจริง อันเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช และเมื่อระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2553 เวลากลางวันถึงวันที่ 15 มีนาคม 2553 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน

จำเลยกระทำการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย  ด้วยการดำเนินการจัดพิมพ์ จัดจำหน่วยและเผยแพร่ต่อประชาชน ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ทั่วราชอาณาจักรไทย ซึ่งนิตยสารเสียงทักษิณ  ( Voice of Taksin ) ปีที่ 1 ฉบับที่ 16 ปักษ์แรก มีนาคม 2553 บทความคมความคิด ของ ผู้ใช้นามปากกาว่า จิตร พลจันทร์ เรื่อง 6 ตุลาคม 2553 หน้าที่ 45 - 47

โดยเนื้อหาของบทความดังกล่าว สื่อให้เข้าใจว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพฤติการณ์ที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีความขัดแย้งและเกิดการนองเลือดขึ้นในประเทศไทยจำนวนหลายชุด และยังทรงเป็นผู้วางแผนในการทำลายฝ่ายประชาธิปไตย ซึ่งไม่มีมูลความจริงและเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 , 91 , 112 และขอให้นำโทษจำคุกในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 1078 / 2552 ของศาลอาญามาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ด้วย
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษ

พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์และจำเลยแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่จำเลยต่อสู้ว่า พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 ได้มีบทบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง นั้น ย่อมหมายความว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 เท่านั้น

 ส่วนการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามฟ้อง ไม่ได้ถูกยกเลิก โดยผลของกฎหมายดังกล่าวด้วย ที่จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่ผู้เขียนบทความที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้นั้น เห็นว่าโจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณ ข้อต่อสู้ของจำเลยจึงไม่ใช่การกระทำที่ถูกฟ้อง และไม่ใช่ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะรับวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ส่วนประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่นั้น เห็นว่าบทความคมความคิด ในนิตยสารเสียงทักษิณทั้งสองฉบับ มีเนื้อหาที่ไม่ได้กล่าวถึงชื่อบุคคล แต่เขียนโดยมีเจตนาเชื่อมโยงเหตุการณ์ในอดีต เมื่อนำเหตุการณ์ในอดีตมาเชื่อมโยงแล้วสามารถระบุได้ว่าหมายถึงพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื้อหาของบทความเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ การที่จำเลยนำบทความไปจัดพิมพ์ จัดจำหน่าย และเผยแพร่ จึงมีเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เมื่อมีการจัดพิมพ์นิตยสาร 2 ฉบับ ต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน จำนวน 2 กรรม
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ให้จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมสองกระทงแล้ว จำคุก 10 ปี บวกโทษจำคุก 1 ปีในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.1078/2552 ของศาลอาญา รวมเป็นจำคุก 11 ปี



บทความที่ศาลเห็นว่าหมิ่นกษัตริย์ภูมิพลอย่างร้ายแรง
บทความแรก เรื่องแผนนองเลือด

โดย จิตร พลจันทร์
จากคอลัมน์ คมความคิด จิตร พลจันทร์ นิตยสาร Voice of Taksin ฉบับที่ 15


โอ๊ย... เกิดมาเป็นคนไทยอย่างจิตร ใครมันจะนึกว่าวันอย่างนี้จะมาถึง เกิดมาก็นึกว่าคนบางคนเค้าใจดีมีเมตตา เขารักประชาชนพลเมือง ที่ไหนได้ล่ะ วันนี้เขาเคาะเปรี้ยงลงมาแล้วว่าให้เตรียมเชือดคนเป็นแสนๆ ได้เลย เขาจะหานักฆ่ามืออาชีพจากเมืองนอกเมืองนามาช่วย เขาบอกซะด้วยว่าคนพวกนี้มันรักทักษิณ บางคนไม่ได้รักทักษิณมากมันก็รักประชาธิปไตยมาก เอามันไว้ไม่ได้ จะฆ่ากันเป็นล้านศพก็ไม่ว่า ขอให้ครอบครัวกู รอดก่อน
ฝ่ายอำมาตย์ มันก็ไม่ได้เลวไปซะทุกคนหรอกท่าน บางคนรู้ข่าวก็ใจเต้นโครมคราม เผ่นแน่บมาเล่าให้จิตรฟัง เพื่อให้จิตรส่งข่าวต่อไปยังพระเดชพระคุณตัวจริงคือมวลมหาประชาชน
คนหนึ่งเล่าไปน้ำตาไหลไปว่า มันเลวอะไรหยั่งงี้ เมื่อก่อนหลงเชื่อว่ามันรักประชาชน ยุให้พวกโจรห้าร้อยเข้ามาโค่นทำลายประชาธิปไตยก็เพราะทักษิณไม่ดี แต่ตอนหลังรู้ว่าทักษิณเขาดีและเขาไม่ผิด แทนที่จะหยุดยั้ง แกกลับสั่งฆ่าหนักกว่าเก่า

ก็เลยรู้เช่นเห็นชาติว่า โคตรตระกูลนี้มันก็เหมียนกันทั้งนั้น ต้นตระกูลก็เป็นลูกน้องเขา เขาเอามาชุบเลี้ยงจนเป็นใหญ่เป็นโต ( เหมือนทักษิณเลี้ยงเนวิน สุรเกียรติ์ วิษณุ บวรศักดิ์ อนุทิน และนายเหนือหัวของคนวกนี้ ) พอได้ทีก็โค่นนายตัวเอง จับนายไปจองจำ ซัดว่าสติไม่ดี ดูแลบ้านเมืองไม่ได้ แล้วก็จับลงถุงแดง ฆ่าทิ้งอย่างทารุณ โคตรตระกูลไหนที่มือเปื้อนเลือดขนาดนั้นจะให้มันจบดีกระไรได้ แต่จิตรก็ไม่นึกว่าเรื่องมันตั้งสองร้อยกว่าปีแล้ว กรรมจะมาสนองกรรมเอาในตอนนี้
ความจริงการฆ่าหมู่หรือฆ่าเดี่ยวนั้น คนแก่โรคจิตบางคนมันคิดของมันมานานแล้วล่ะท่าน จิตรเคยรู้มาไม่กี่เรื่อง พอมาได้ยินจากคุณข้างใน ผู้มีใจเป็นธรรมเข้า เลยต่อเรื่องได้ทะลุปรุโปร่งทีเดียว ขนาดลำดับแผนฆ่า ได้เลยล่ะท่าน

- ใช้พวกมาเฟียชั้นต่ำ ระดับสัมภเวสี ฆ่าคุณทักษิณแทนให้ เรื่องก็ออกมาเป็นการระเบิดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ของการบินไทยที่คุณทักษิณจะนั่งไปเชียงใหม่ในปีแรกที่เป็นนายก
- ใช้คนไร้อนาคต หมดความหวังในชีวิตอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล มาก่อหวอตทำลายชื่อเสียงคุณทักษิณให้สิ้นก่อนต่อไปก็ลงมือฆ่าง่าย ป้ายสีเขาว่าเป็นคนไม่ดี กะว่าเขาหมดชื่อเสียงแล้วตัวก็สบายตายไปคนก็ไม่สนใจ เหมือนที่ทำกับอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครูบาศรีวิชัย ดร.บุญสนอง บุญโยทยาน พระพิมลธรรม เป็นต้น นั่นแล
- ใช้ทหาร ตำรวจ มือปืนรับจ้างระดับมืออาชีพ มาลงมือ ทหารก็ต้องหมวกแดงป่าหวายโน่น อย่างไอ้คนที่เตรียมยิงจากต้นไม้ที่ลพบุรี แต่นายกเปลี่ยนแผนขึ้นเหนือนั่นแหละ ตำรวจก็ไปขุดเอาจากขุมนรก ก็พวกประวัติเลวๆ ที่วิ่งมากราบตีนขอให้ช่วยชีวิตอย่างสมคิด บุญถนอม เป็นต้น มือปืนก็เลือกพวกที่ กอ.รม.นวย สั่งได้มาใช้งาน กลายเป็นการเตรียมฆ่าผู้นำของระบอบประชาธิปไตยถึง 8 ครั้ง 8 หน

รวมทั้งแผนระเบิดรถยนต์ที่บางพลัดที่ไอ้พวกสื่อมวลสัตว์บางตัวอย่างเนชั่วมันเอามาโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นเรื่องตลกหรือคาร์บ๊อง เพื่อให้คนทั่วโลกเขาไม่สนใจนั่นแหละ พวกนี้เลวถึงขนาดจะให้ยิงจรวดใส่บ้านที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ของคุณทักษิณ และครอบครัว ก็ไม่ใช่ใครหรอก ไอ้ เขายายเที่ยง นั่นล่ะท่านที่เป็นตัวการคิดอะไรนรกๆ แบบนี้ เดชะบุญที่นายทหารใหญ่คนที่ต่อมาได้เป็นพลเอกและย้ายมาอยู่ฝั่งประชาธิปไตย เขาเซย์โน บอกว่าจะฆ่าใครก็เอาเฉพาะตัวเขา ฆ่าลูกฆ่าเมียเขาด้วยมันผิดหลักการ
- ใช้ทหาร ตำรวจ และพวกเศษมนุษย์ที่เลียตีนรับใช้กันอยู่เดินทางไปต่างประเทศ เก็บข้อมูลว่าคุณทักษิณอยู่ไหนอย่างไร เตรียมลอบสังหาร ที่อังกฤษก็ทำ ขนาดมาถึงกัมพูชาแล้วก็ยังทำ โชคดีว่าประเทศแถบนี้เขาไม่เล่นเกมโสโครกด้วย เวียดนามก็เป็นเจ้าภาพจับตัวเอาไว้ได้ 3 คน ไม่นานนี้เอง ตอนนี้ได้ข่าวว่าหัวหายไปแล้ว
นี่ล่ะท่านคือผลงานนองเลือดของไอ้พวก เหี้ยม ม. หาย ความเป็นคนมันไม่มีเหลืออยู่กับตัวแล้ว ไม่ว่าจะไอ้แก่มากหรือไอ้แก่น้อย อยู่บ้านคงลงเดินสี่ตีน เพราะคุณธรรมมันไม่มีเหลือหลอ
แต่แผนการอุบาทว์ชาติชั่วที่เล่ามา ยังไม่เท่าความมืดดำของแผนใหม่ที่เพิ่งเคาะกันลงมาจากตึกสูงๆ ของโรงพยาบาลมีชื่อแห่งหนึ่งของเมืองไทย ซึ่งจิตรต้องเล่าให้ท่านฟัง จะได้รู้ว่าเมืองพุทธของเรา เดี๋ยวนี้มันได้กลายเป็นระบอบสัตวาธิปไตย คือได้ฝูงสัตว์มาปกครองแทนคนอย่างไร
ในวันตัดสินคดีทรัพย์สินของนายก ทักษิณและครอบครัว หรือคดี 76,000  ล้านนั่นแหละ ฝ่ายชั่วมันเตรียมจะยึดทรัพย์ให้หมดเกลี้ยง เพราะมันกลัวนายกทักษิณจะเหลือทุนมาทำงานการเมือง แล้วคิดโค่นทำลายรังของพวกมัน มันก็เลยโหมโรงโฆษณาว่าเงินนั้นมาจากไหนยังไง หวังให้คนเขาเคลิบเคลิ้มเห็นดีด้วยกับการยึดทรัพย์ แต่มันก็รู้ว่ากระแสเสื้อแดงที่เร่าร้อนรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์นั้น ดับไม่ไหว มวลมหาประชาชนเหล่านี้เขาไม่ได้ห่วงเงินของคุณทักษิณ แต่เขาไม่ยอมนั่งเฉยให้ไอ้พวกโจรมหาโจรมันเข้าปล้นครั้งแล้วครั้งเล่า เขาก็ต้องออกมาแสดงพลังต่อต้าน
ตรงนี้ล่ะท่านที่รักทั้งหลาย ปีศาจตัวใหญ่ที่ใครก็มองไม่ออก เพราะเป็นประเภท ตีนที่มองไม่เห็น ก็ออกโรงมาอีกคราหนึ่ง เหมือนเมื่อคราวเหตุการณ์ฆ่านักศึกษาและประชาชนในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ไม่มีผิดเพี้ยนแม้แต่องคุลีเดียว


ปีศาจชราตนนี้มันสั่งว่า เมื่อประกาศยึดทรัพย์แล้ว มวลชนเตรียมออกมากันแล้ว ก็ให้ออกมากันให้เต็มที่ก่อน จากนั้นจะส่งทีมนรกเข้าไปประชิดตัวผู้พิพากษาคดียึดทรัพย์ทีละคน แล้วยิงทิ้งเลย สร้างภาพเสมือนว่าฝ่ายนายกทักษิณและเสื้อแดงเป็นคนลงมือทำ โดยเฉพาะคำพูดของ เสธ.แดง ที่เตือนให้ระวังการสังหารผู้พิพากษามาก่อนนี้ มันก็จะเอามาอ้าง จากนั้นมันก็จะโหมข่าวไปทั่วประเทศและทั่วโลกว่าฝ่ายทักษิณเป็นคนสั่งฆ่าผู้ พิพากษา
และแล้ว มันก็จะลงมือปราบปรามมวลชนฝ่ายประชาธิปไตยอย่างโหดเหี้ยมรุนแรงชนิดเลือดท่วมท้องช้าง


ฝ่ายอำมาตย์บางคนมันไปติดต่อกับประเทศมหาอำนาจลูกพี่มันไว้แล้วด้วย ขอความช่วยเหลือในการปราบปรามประชาชน ไอ้ฝ่ายโน้นก็พูดไม่ออก ดันทำตัวเป็นลูกพี่เขามาตั้งแต่สงครามเย็นโน่น จะทำดัดจริตย้ายมาข้างประชาธิปไตยก็ไม่ทัน ก็เลยเตรียมช่วยเหลือเชิงกำลังพลบางส่วน อุปกรณ์เครื่องมือบางอย่าง และข่าวกรอง ละเอียดลงไปถึงขั้นว่าทหารที่มาฝึกซ้อมรบอยู่ในเมืองไทยช่วงนี้ถึงเวลาก็ยังไม่ให้กลับ ให้ซุ่มรอเวลาอยู่อีกอย่างน้อยสามเดือนเผื่อจะต้องรบจริง
เห็น ไหมล่ะท่าน พวกมันเตรียมการกันถึงขนาดนี้ จิตรเป็นคนชอบพูดทีเล่นทีจริง งานนี้ยังต้องพูดด้วยเสียงดังฟังชัดว่าเมื่อพวกมันมองเห็นประชาชนเป็นผัก เป็นปลา คิดจะฆ่าจะแกงกันขนาดนี้แล้ว ประชาชนเราจะนั่งรอให้มันฆ่าก็กระไรอยู่
ก็ต้องเอามันมั่งนะพระคุณท่าน!

บทความที่สอง
เรื่อง
6 ตุลา แห่ง พ.ศ. 2553

จากคอลัมน์ คมความคิด โดยจิตร พลจันทร์
นิตยสาร Voice of Taksin ฉบับที่ 16


จิตร งัดแผนนองเลือด มาแฉคราวก่อน ก็เพื่อให้พี่น้องผองเพื่อนได้เตรียมตัวเตรียมใจ มัวแต่หลอกคนดูว่าเขาสู้กับตาเปรม ตาสุรยุทธ์ ตาปีย์ ตาประยุทธ์ หรือพวกลูกตะขบนี้อยู่ จะพามวลชนไปซวยเสียเปล่าๆ คู่ต่อสู้ตลอดมาและคู่ต่อสู้ในบัดนี้ของชาวประชาธิปไตย ไม่ได้เปี๊ยนไป๋แต่ประการใดเลย ยังเป็นหลวงนฤบาล แห่งโรงแรมผี ตนเดิมนั่นแหละเจ้า ผีตัวนี้มันร้ายนัก สิงสู่เมืองไทยหยั่งกะลิงจับหลัก ไม่ยอมไปผุดไปเกิดเสียที ขนาดนรกรอรับอยู่ไม่ต่ำกว่าสามขุม คือขุมฆาตกรรม ขุมสูบเลือดประเทศ และขุมโกหกพกลมว่าเป็นคนดีแสนดี ก็ยังด้านเล่นยี่เกอยู่นั่นแล้ว ถึงคนดูถอดเกือกขว้างกบาลก็ยังไม่พอ ต้องช่วยกันรื้อเวทีไล่แล้วเอาน้ำร้อนราดตามนั่นแหละ
แฉแล้วจิตรก็นึกขึ้นได้ว่า คนรุ่นหลังๆ ที่ไม่รู้แผนนองเลือดฉบับปีพุทธศักราช 2519 คงจะมีอีกแยะ นั่นเป็นหนึ่งในสูตรสำเร็จของแผนนองเลือดเลยนะจะบอกให้ เหตุการณ์ไทยฆ่าไทยด้วยกันอย่างทารุณครั้งนั้น ที่เรียกว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา เหมือนเป็นแบบฝึกหัดของหลวงนฤบาล ว่าถ้าจะลงมือฆ่าคนจำนวนมากๆ และฆ่ากลางเมืองชนิดไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยนกันอีกแล้วนั้น ต้องทำจะได๋ จิตรว่าคนที่ร่วมเหตุการณ์หรือคนที่มาตามอ่านตามค้นทีหลัง จะรู้ทันทีว่าปีศาจ ตนนี้มันชอบนองเลือดนัก
ถ้าเข้าใจว่าเหตุการณ์เมื่อสามทศวรรษที่แล้วเกิดเพราะอะไร เกิดอย่างไร และจบด้วยอะไร จะรู้เลยว่าอำมาตย์ในวันนี้คิดอะไรอยู่ในใจ
จิตรออกตัวซะก่อนว่า คนที่รู้ดีกว่าจิตรมีอีกเป็นพะเรอเกวียน ตรงไหนผิดพลาดตกหล่น ก็อย่าชี้อยู่ห่างๆเลย บอกกล่าวเล่าสิบกันมั่งเถิดนะเจ้า

ต้องย้อนกลับไป พ.ศ. 2501 โน่น ตอนนั้น หลวงนฤบาลแกไปสอพลอทหารใหญ่ที่ลุ่มหลงในแนวความคิด เรื่องที่สูงที่ต่ำ คือ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ให้กลืนน้ำลายตัวเองด้วยการโค่นนายเลิฟที่ตัวไปสบถสาบานว่าจะรักและจงรัก ภักดียิ่งกว่าหมาที่จูงมาให้ในวันเกิด แล้วฟูขึ้นเป็นเผด็จการคับบ้านคับเมือง หลวงนฤบาลแกก็ใช้อำนาจผ่านอีตาจอมพลผ้าขะม้าแดง  ใช้อำนาจฆ่าคนหัวเอียงซ้ายที่แกกลัวจะมาโค่นแก แถมมีกฎหมายออกมาตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนตัวแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2491 แกก็หาเงินเข้าพกเข้าห่อขนาดหนักเพื่อสร้างฐาน ช่วงนั้นเมืองไทยเป็นเผด็จการเสียยิ่งกว่าช่วงไหนๆ ก็เผด็จการทหารกับเผด็จการโบราณมันผสมพันธุ์กันนัวออกหยั่งงั้น


ต่อมาสฤษดิ์ตาย คนที่นายสฤษดิ์ปั้นไว้ก็มานั่งแป้นแทน กลายเป็นระบอบเผด็จการถนอม-ประภาส-ณรงค์ในเวลาต่อมา พอถึง พ.ศ. 2516 หลวงนฤบาลแกชักรู้สึกว่าหมารับใช้ฝูงนี้มันชักจะมากเรื่อง ที่สำคัญคือกร่างเหลือกำลังลาก ขนาดพันเอกณรงค์ กิตติขจรทำท่าจะเทียบรัศมีลูกชายเจ้าปัญหาของคุณหลวงเลยทีเดียวเชียว อีตาประภาสก็โกยเงินโกยทองหยั่งกะคนบ้า หลวงนฤบาลแกก็เลยโค่นซะ โดยหลบอยู่หลังขบวนการที่มีประชาชนลุกฮืออยู่ข้างหน้า เอา คึกฤทธิ์ ปราโมช มาทำประชาสัมพันธ์ออกข่าว ทำจิตวิทยามวลชน

เอา พลเอกกฤษณ์ สีวะรา มาคอยโค่นถนอมจากในกองทัพบก เบ็ดเสร็จแล้วเอาคนของตัวมาเป็นรัฐบาลเสียสองสมัยรวด ก่อนคืนอำนาจให้ประชาชน ชั่วคราว เอาหลวงตาสัญญา ธรรมศักดิ์มาทำให้หุ้นความซื่อสัตย์ มันขึ้นราคาซะหน่อย หลวงตาแกซื่อสัตย์ก็จริง แต่หลวงนฤบาลแกเล่นหลอกหลวงตาอีกต่อหนึ่ง ทีนี้พอรัฐบาลเลือกตั้งเข้ามาสวมแทน คุณหลวงปีศาจก็ทำการกวนแข้งตลอด ไม่ว่าจะรัฐบาลเสนีย์ คึกฤทธิ์ และกลับมาเสนีย์อีกสมัยหนึ่ง

แกกวนไม่หยุด โชคดีที่ไปเจอคนกวนเมืองพอๆกัน คือคึกฤทธิ์ พอคุณหลวงโรคจิตแกสั่งให้ลาออก เพื่อจะเอาคนการเมืองที่แกเตรียมไว้มาเป็นแทน เฒ่าสารพัดพิษ คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ตวัดหางประกาศยุบสภาทันทีทันควัน คุณหลวงแกก็เลยงงไม่เสร็จ
เรียกว่าความรอบจัดของแกยังไม่เท่าพวกนี้ คุณหลวงผีสิงแกก็เลยเล่นเกมใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเปื้อนเลือดที่แกชอบใจนักหนาและคงขุดซากกลับมาใช้ ใหม่ใน พ.ศ. 2553 แกจัดตั้งมวลชนขวาจัดขึ้นมาอย่างเงียบๆ ให้ขึ้นกับแกโดยตรง เครือข่ายลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง นวพล ผุดขึ้นพร้อมกับคนพันธุ์เดียวกันอย่าง ดร.วัฒนา เขียววิมล พลเอกประพันธ์ กุลพิจิตร พลเอกสำราญ แพทยกุล พลตรีสุตสาย หัสดิน

มีหน่วยงานของพระติดอาวุธอย่างสำนักจิตตภาวันวิทยาลัยของพระเทพกิตติปัญญาคุณ หรือนายกิติศักดิ์ กิตติวุฑโฒ ที่เรียกกันติดปากว่า กิตติวุฑโฒ นั่นด้วย พอจบกระบวนการเตรียมตัวแล้ว แกก็เริ่มแหย่ฝ่ายประชาธิปไตยด้วยการกวักมือเรียก จอมพลประภาส จารุเสถียร กลับมาเมืองไทยแบบลับๆก่อน อยู่บ้านแถวโรงงานยาสูบใกล้ช่อง 7 เพราะตาประภาสแกมีบุญคุณอยู่กับช่อง 7 เอาทหารตำรวจไปล้อมบ้านไว้เต็ม พอทำท่าจะไม่ดี แกก็ให้กลับไปต่างประเทศก่อน

ต่อมาอีกไม่นานก็แหย่ใหม่ คราวนี้เล่นแรงเลย เอาตัวจอมพลถนอมบวชเณรกลับมาอยู่ที่วัดบวรอย่างสง่าผ่าเผย วัดบวรของใครก็รู้อยู่ จิตรคงไม่ต้องสอนหนังสือสังฆราช จะสังฆราชชื่อญานสังวร หรืออะไรก็ช่างเหอะ เรื่องนี้เล่นเอารัฐบาลหม่อมเสนีย์ ปราโมชถึงขั้นเดินไม่เป็น ตอนหลังก็พลาดท่าเสียทีทั้งนอกรัฐบาลและในคณะรัฐมนตรีเอง เพราะพรรคชาติไทยที่ร่วมรัฐบาลเป็นลูกกะเป๋งของหลวงนฤบาลตอนนั้น จนนายกเสนีย์ทำท่าจะสะดุดขาตัวเองหัวฟาดพื้นอยู่แล้ว หลวงนฤบาลแกก็ใช้ฝ่ายขวาของแกเข้าพิฆาตซ้าย ซึ่งความจริงไม่ใช่ซ้ายแต่เป็นชาวประชาธิปไตยทั้งนั้น ที่ลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์ เพราะฝ่ายต่อต้านจอมพลถนอมไปรวมอยู่ที่นั่น สังหารโหดลูกหลานร่วมชาติอย่างเลือดเย็นที่สุด จิตรกราบขอร้องให้ทุกคนที่ไม่เคยเห็นไปหาภาพถ่ายสมัยนั้นมาดูด้วยตา จะรู้ว่ามันแผ่นดินธรรม-แผ่นดินทอง หรือ แผ่นดินดำ-แผ่นดินเลือด นอง กันแน่


ในการทำลายฝ่ายประชาธิปไตยเพื่อยึดอำนาจที่แกนึกว่าเป็นของแกคืนนั้น แกเริ่มใช้สูตรของการยึดอำนาจในระดับสูงสุดที่ตอนหลังแกชำนาญมาก
ขั้นตอน แผน 6 ตุลา ของแกมีดังนี้


1. ตั้งเครือข่ายคนคลั่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ขึ้นมา ให้เงิน ให้อาวุธ และให้กำลังใจ เช่น ธง ผ้าพันคอ พระเครื่อง เป็นต้น
2. ใช้สื่อทำลายภาพฝ่ายตรงข้ามให้เลวระยำ สมัยนั้นบอกว่านักศึกษาเป็นลูกญวนลูกแกว ติดอาวุธจะยึดเมืองไทย รัฐบาลเสนีย์เป็นคอมมิวนิสต์หรือมีคอมมิวนิสต์อยู่ในคณะรัฐมนตรี สมัยนี้ใช้วิธีตอแหลว่าฝ่ายประชาธิปไตยคิดล้มเจ้า จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง คดโกงสารพัด

3. แหย่ให้เกิดสถานการณ์ เป็นเงื่อนไขให้ใช้ความรุนแรงได้ ตอนนั้นคือให้ถนอมกับประภาสเข้าเมืองอย่างลับๆ มาเป็นตัวล่อ ตอนนี้ใช้การยึดทรัพย์คุณทักษิณมายั่วอารมณ์คน ถ้าไม่สำเร็จก็คงจะหาอย่างอื่นมายั่วต่อไปตามสูตร4. ซ่อนตัวให้มิดชิด
5. เตรียมรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีพิเศษ พ.ศ. 2519 เตรียมศาสตราจารย์กฎหมายขวาตกขอบชื่อ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เอาไว้ พอเข้ามาได้ก็ประกาศว่าจะพัฒนาประชาธิปไตยยาวนาน 12 ปี  โดยให้เป็นเผด็จการในระหว่างที่คอย ตอนนี้คุณหลวงสั่งโปรโมท นายพลากร สุวรรณรัฐ พอขบวนการประชาธิปไตยถูกทำลายจนล้มคว่ำลงแล้ว ก็คงเอาคนใหม่ขึ้นหิ้งแทน
6. เตรียมรัฐธรรมนูญฉบับฟื้นฟูอำนาจตัวเอง ซ่อนอำนาจเผด็จการไว้ให้แนบเนียน พ.ศ. 2519 ก็ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ที่ถือว่าเป็นประชาธิปไตยมาก แล้วไปงัดฉบับ พ.ศ. 2521 มาใช้ จนเกิดรัฐบาลแบบรัฐบาลเปรมครอบงำเมืองไทยมาอีกเป็นสิบปี
จิตรขอป่าวประกาศว่าเมืองไทยขณะนี้อยู่ที่ ข้อ 3 คือ แหย่ให้เกิดสถานการณ์ เป็นเงื่อนไขให้ใช้ความรุนแรงได้ เจ้าค่าเอ๊ย


เมื่อดูจากบทความของจิตร พลจันทร์ หรือที่เชื่อกันว่าคุณจักรภพ เพ็ญแขเป็นคนเขียน และคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข นำมาลงตีพิมพ์ในหนังสือ Voice Of  Thaksin 


จะเห็น ได้ว่ามีเนื้อหาส่วนใหญ่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงตามหนังสือ The King Never Smiles หรือกษัตริย์ไม่เคยยิ้ม ของพอล แฮนลีย์ Paul M. Handley ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยลที่เก่าแก่กว่าสามร้อยปีของสหรัฐ นายพอลแฮนลีย์ เป็นนักนักสือพิมพ์ที่ได้รวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อหาสาเหตุของปัญหาทางการเมืองของไทยจนได้นำมาเชื่อมประติดประต่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงขบวนการสร้างภาพว่ากษัตริย์ภูมิพลไม่ได้ยุ่งการเมือง เปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณและทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรของพระองค์ ทั้งๆที่กษัตริย์ภูมิพลได้ทรงมีบทบาทสำคัญทางการเมืองไทยมาตลอด ที่จริงพอลแฮนลีย์ก็คงแค่ต้องการศึกษารวบรวมข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมการเมืองของไทยเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงที่พอลแฮนลีย์รวบรวมได้กลับชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า กษัตริย์ภูมิพลนั่นแหละที่บงการอยู่เบื้องหลังการเมืองไทยมาโดยตลอดอย่างยาวนาน และน่าจะเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาทางการเมืองในประเทศไทย


คุณจักรภพ และคุณสมยศ ก็แค่นำข้อเท็จจริงเหมือนอย่างที่คุณพอลแฮนลีย์ได้ศึกษาค้นคว้ามาเผยแพร่ต่อสาธารณะให้คนไทยได้ทราบข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง ที่ห้ามพูดกันในสังคมไทยภายใต้การครอบงำของอิทธิพลของเผด็จการโบราณครอบงำอย่างแน่นหนา ที่ยังถือว่ากษัตริย์เป็นทั้งเทพเจ้าและพระพุทธเจ้า ที่ประชาชนทุกคนต้องเคารพสักการะอย่างเดียวเท่านั้น
ทั้งยังถือว่าคนที่พูดความจริง คนที่เอาประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารมาเผยแพร่ให้ประชาชนเห็นความเชื่อมโยง จะต้องมีความผิดขั้นร้ายแรง ต้องติดคุกเป็นสิบปี โดยไม่สนใจความรู้สึกของประชาคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์แม้แต่น้อย

ทั้งๆที่คุณจักรภพและคุณสมยศได้ทำหน้าที่ของพลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย และสิ่งที่นำเสนอก็เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวพันกับประโยชน์ของประชาชนไทยทุกคน
ในเมื่อประชาชนได้ใช้สิทธิเสรีภาพทำหน้าที่ในฐานะพลเมือง เพื่อปกป้องการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำไมจึงยังต้องมีความผิดหนักหนาสาหัสถึงเพียงนี้
ทำไมจึงมีคนบางคนอยู่เหนือกฎหมาย ทั้งๆที่เป็นบุคคลสาธารณะ ที่ต้องใช้เงินภาษีอากรสนับสนุนเลี้ยงดู ปีละหลายพันล้านหรือนับหมื่นล้านบาท แต่กลับห้ามการตรวจสอบ ห้ามการวิจารณ์ ในทุกกรณี โดยไม่มีการยกเว้น

นี่มิใช่ระบอบเผด็จการผูกขาดดอกหรือ
หรือว่าประชาชนไทยมิใช่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
แต่เป็นแค่ไพร่ทาส เป็นฝุ่นใต้เท้า หรือ เป็นแค่เดรัจฉานตามแถลงการณ์ของคณะราษฎร เมื่อ 24 มิถุนายน 2475


บรรยากาศวันพิจารณาคดีคุณสมยศ

มีผู้สังเกตการณ์เข้าฟังพิจารณาคดีมากกว่า 150 คน มารอในห้องพิจารณาคดีที่ 704 ของศาลอาญา มากันตั้งแต่เวลานัดหมายคือ 9.00 น. ห้องพิจารณาเป็นห้องขนาดใหญ่ มักใช้ในคดีใหญ่ๆ และมีผู้คนสนใจกันมาก มีม้านั่งไม้สำหรับนั่งฟังการพิจารณาจุคนได้กว่า 100 คน ยังต้องเสริมเก้าอี้เข้าไปอีกหลายสิบตัว แต่หลายคนที่มาทีหลังก็ยังไม่มีที่นั่ง

ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์คดีนี้จำนวนมากเป็นชาวต่างชาติ ทั้งจากสถานทูตประเทศต่างๆ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน องค์กรด้านแรงงาน รวมทั้งสื่อต่างประเทศ ส่วนคนไทย มีทั้งนักวิชาการ นักกิจกรรม คนเสื้อแดงกลุ่มย่อย รวมทั้งเพื่อนนักศึกษาของไท ลูกชายของสมยศ แต่ที่ขาดหายไปคือสื่อมวลชนไทยกระแสหลัก และคนในวงการสื่อสิ่งพิมพ์หรือการเขียนการอ่าน ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดีนี้พอสมควร แต่กลับไม่อยากเสนอข่าวมาตรา 112 ในทุกกรณี
ก่อนขึ้นสู่ห้องพิจารณา หลายคนลงไปทักทายสมยศในเรือนจำใต้ถุนศาล ซึ่งมีกรงกั้นถึงสองชั้น และพูดคุยกันได้ในระยะไกล สมยศยังคงชูสองนิ้วสู้

ราว 9.30 น. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เดินประกบสมยศในชุดนักโทษขณะเข้ามาในห้องพิจารณา เพื่อนที่นั่งข้างๆ บอกทักตั้งแต่เขายังไม่เข้าสู่ห้องว่า เสียงโซ่ คุณสมยศมาแล้ว เสียงโซ่ตรวนดังกระทบพื้นขณะที่คุณสมยศเดินผ่านแถวม้านั่งไม้ตรงกลางเข้าไปนั่งบนม้านั่งด้านหน้าสุด ใบหน้ายังคงมีรอยยิ้ม หลายคนเข้าไปทักทายพูดคุย
สักพักหนึ่ง เจ้าหน้าที่หญิงของศาลเดินมาแจกเอกสารเขียนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีนให้ผู้ สังเกตการณ์ชาวต่างชาติ มีข้อความระบุถึงระเบียบของศาล เช่น ระเบียบการแต่งตัวสุภาพ การให้ปิดโทรศัพท์มือถือ ห้ามนั่งไขว่ห้าง ขณะที่เจ้าหน้าที่ชายในชุดคล้ายทหารสองสามคนเดินดูผู้สังเกตการณ์ในศาล และคอยห้ามการถ่ายรูปในศาล
เมื่อเวลารอคอยในศาลเริ่มนานขึ้น เสียงพูดคุยปรึกษาในศาลก็ยิ่งดังขึ้น หลายคนเริ่มกระสับกระส่าย บางคนเดินไปเดินมา ทักทายผู้คน และพูดกันเล่นๆ ว่าศาลอาจกำลังเขียนคำพิพากษาอยู่ เมื่อใกล้เวลา เจ้าหน้าที่ชายตะโกนแจ้งให้คนอยู่ในความสงบ ศาลใกล้นั่งบังลังก์แล้ว และเอ่ยเตือนว่าเสียงโทรศัพท์ที่ดังถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล
หลังจากนั้นต้องรออีกเกือบสิบนาที จนผู้พิพากษาสี่ท่านนั่งบัลลังก์ในเวลาราว 10.35 น. เป็นองค์คณะที่มีการเปลี่ยนแปลงจากช่วงที่มีการสืบพยานในปีที่แล้ว เป็นชายสามคน และหญิงหนึ่งคน
ผู้พิพากษาหนุ่มเริ่มอ่านคำพิพากษาขนาดยาวใช้เวลามากกว่าครึ่งชั่วโมง ขึ้นต้นว่า ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ...  ทนายจำเลยสองท่านและสมยศ ต้องลุกขึ้นยืนฟังตลอดการอ่านคำพิพากษา ขณะที่อัยการฝ่ายโจทก์ไม่ได้มาศาล มีตำรวจไปยืนบริเวณประตูเพื่อป้องกันคนเข้าออกจากห้องขณะอ่านคำพิพากษา

ช่วงแรกศาลใช้เวลาค่อนข้างยาวอ่านคำฟ้อง โดยส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาบทความสองบทความของนิตยสาร Voice of Taksin ที่เป็นเหตุแห่งการฟ้อง ศาลอ่านบทความทั้งสองอย่างติดๆ ขัดๆ และอ่านชื่อคนผิดบางส่วน เช่น  ป๋วย อึ้งภากรณ์ หรือ บุญสนอง บุณโยทยาน
ศาลปฏิเสธการนำสืบของจำเลยเรื่องบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ 2550  แต่ไปวินิจฉัยว่าจำเลยทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ โดยศาลเห็นด้วยกับการตีความของฝ่ายพยานโจทก์เกือบ 10 ปาก ที่ชี้ว่าบทความนี้เข้าข่ายความผิดมาตรา 112 ศาลอ่านชื่อพยานจำเลยที่นำสืบทั้งหมด แล้วศาลก็สรุปสั้นๆว่าทั้งหมดเบิกความไปในทำนองเดียวกันว่าอ่านแล้วไม่ได้นึกไปถึงพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งศาลสรุปรวดรัดว่าฟังไม่ขึ้น ศาลยังอ้างถึงประวัติศาสตร์ในแบบเรียน และตีความไปถึงเหตุการณ์ตอนตั้งราชวงศ์จักรี

ในช่วงท้ายซึ่งเป็นช่วงของการตีความโดยศาลเอง ได้เปลี่ยนให้ผู้พิพากษาหญิงเป็นผู้อ่าน ผู้คนในห้องพิจารณาบางคนเริ่มถอนหายใจดังเป็นระยะ
คำพิพากษาปิดท้ายด้วยการอ้างถึงระดับการศึกษาของจำเลย อาชีพความเป็นสื่อมวลชน และวิจารณญาณ ที่ควรมีสูงกว่าคนทั่วไป ศาลจึงเห็นไปถึงเจตนาทำผิดของจำเลยและพิพากษาความผิดจำคุกรวมแล้ว 11
ปี 


ศาลแจ้งว่าสื่อมวลชนสามารถไปรับคำพิพากษาย่อได้ด้านหลัง ก่อนลงจากบัลลังก์ไป หลายคนเดินเข้าไปหาสมยศและครอบครัว แต่เจ้าหน้าที่เกือบ 10 นายรีบเข้าไปนำตัวสมยศออกจากห้องพิจารณา และไม่ให้พูดคุยกับใคร ก่อนนำตัวลงไปใต้ถุนศาลอย่างรวดเร็ว
ภรรยาของสมยศ และสมาชิกจำนวนหนึ่งจากกลุ่ม
24
มิ.ย. ที่สมยศก่อตั้งขึ้น ยังคงรอคอยจัดทำเอกสารยื่นเรื่องประกันตัว แต่พอลงไปบริเวณเรือนจำใต้ถุนศาลจึงได้ทราบว่าสมยศถูกนำตัวเดินทางกลับเรือนจำไปแล้ว ซึ่งโดยปกติแล้ว ทางราชทัณฑ์จะรอนักโทษทั้งหมดที่มาศาลเสร็จภารกิจพร้อมกัน และนำตัวกลับเรือนจำพร้อมกันในช่วงเย็น ทางภรรยาและคณะจึงจำเป็นต้องเดินทางตามไปให้เขาเซ็นเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นประกันตัว

เมื่อได้เข้าเยี่ยมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ สมยศเล่าว่าหลังจากถูกนำตัวลงมาจากห้องพิจารณา ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ส่งตัวเขากลับเรือนจำทันที เขาจึงถูกนำตัวเพียงลำพังดันขึ้นรถที่จอดรออยู่แล้วไปอย่างเร่งรีบ โดยยังไม่ทันได้ใส่รองเท้าที่ติดตัวมาด้วยเลย รถพาขึ้นทางด่วนใช้เวลา 10 กว่านาทีก็เดินทางกลับถึงเรือนจำ
สุกัญญาภรรยาของสมยศทักทายสามีด้วยอารมณ์ขันว่า ทีนี้ก็ต้องไปเอาข้าวของที่แจกให้นักโทษคนอื่นๆไปกลับคืนด้วย เพราะคิดว่าจะได้ออกจากเรือนจำ  สมยศยืนยันกับภรรยาว่าต้องสู้กันต่อไป

คุณสมยศเคยขอให้ทางผู้คุมลดขนาดโซ่ตรวนที่จองจำข้อเท้าทั้งสอง แต่ก็ถูกปฎิเสธ โซ่ตรวนของคุณสมยศมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่าครึ่งนิ้วน้ำหนักน่าจะหลายกิโล การล่ามโซ่ก่อนการตัดสินน่าจะขัดรัฐธรรมนูญไทยมาตรา 39 วรรค 3 ที่บัญญัติว่า ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ที่ยังไม่ถูกตัดสินจะถูกปฎิบัติเป็นเสมือนผู้กระทำผิดมิได้ แต่กรมราชทัณฑ์อ้างว่ามีเจ้าหน้าที่ไม่พอ จึงต้องล่ามโซ่เพื่อป้องกันผู้ต้องหาหลบหนีเวลาขึ้นศาล
คุณสมยศได้โชว์แผลเป็น บนข้อเท้าซ้าย
2
แผลสีดำเป็นวงใหญ่เห็นชัด ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อและเน่าของผิวหนัง แต่ยังดีที่ภรรยาคอยส่งยาให้

แม้คุณสมยศจะถูกจองจำในฐานะบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin มากว่า 21 เดือนก่อนพิพากษา แต่สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยก็ไม่เคยออกแถลงการณ์อะไรเกี่ยวกับการจองจำ บก.ผู้นี้เลย โดยคุณสมยศถูกปฏิเสธการให้ประกันตัวถึง 12 ครั้ง คุณสมยศบอกว่าสิ่งที่สำคัญคือเสรีภาพ ถ้าไม่มีเสรีภาพก็ไม่ควรมีชีวิตอยู่ เพราะเท่ากับเราถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลงไป


ที่มันน่าเจ็บใจ คือเรามีสิทธิประกันตัวตามรัฐธรรมนูญ แต่ในทางปฎิบัติ กลับตรงกันข้าม และระบอบของไทยก็บังคับให้สารภาพอย่างเดียว โดยการไม่ให้ประกันตัว เช่น  การให้ไปตระเวนต่างจังหวัดอยู่ 5 เดือน เปลี่ยนคุกไป 5 คุก พอกลับมา ก็บอกให้รับสารภาพดีกว่า คนที่ทนไม่ไหวก็ยอม หมดสภาพความเป็นคน ถ้ายอมเรื่อยๆ มันก็จะเหวี่ยงแหใครก็ได้ ไม่งั้นอีกหน่อย กล่าวหาใครก็ได้ แล้วไม่ให้ประกันตัว มันก็จะกลายเป็นกฎหมายที่ชั่วร้าย
ป้าอุ๊ภรรยาอากง
SMS ผู้เสียชีวิตในคุกภายใต้ มาตรา 112 ก็ได้มาให้กำลังใจ ป้าอุ๊บอกว่ามีความหวังมาก คิดว่าจะได้รับการปล่อยตัว แต่พอฟังคำพิพากษาแล้วก็ใจหายมาก มีความรู้สึกเหมือนวันที่อากงถูกพิพากษา
สุกัญญา ภรรยาสมยศนั้นใจแข็งไม่ร้องไห้ พร้อมบอกจะยื่นอุทรณ์และขอประกันตัวสามีเธออีก ก็ยื่นต่อไป สู้ต่อไป สองศาลไม่จำเป็นต้องมีความเห็นสอดคล้องกัน
สุกัญญาจำแม่นว่าสามีเธอติดคุกมาแล้ว
634
วัน

ส่วนคุณสมยศนั้นแทบไม่ทันได้พูดอะไรหลังถูกพิพากษา เพราะเขาถูกรีบนำตัวออกไปเร็วกว่าปกติ อาจารย์ธิดา ถาวรเศรฐ ประธาน นปช. เดินมาบอกให้ทำใจดีๆ ก่อนถูกพาตัวไป อาจารย์ธิดาบอกว่านปช.ได้พยายามผลักดันเรื่อง มาตรา 112 เหมือนกัน แต่ไม่อยากให้เน้นมาก เพราะไม่อยากให้สะดุดเรื่องนิรโทษกรรมกับร่างรัฐธรรมนูญ
วันรุ่งขึ้นก็มีคนไปเยี่ยมเขาที่เรือนจำ จำนวนผู้เยี่ยมยังคงเป็นไปตามปกติ ส่วนใหญ่เป็นขาประจำที่คุ้นหน้ากันดี
หลังกลับจากศาล คุณสมยศก็ค่อนข้างเงียบ คงเพราะผิดหวังอย่างรุนแรง เนื่องจากก่อนหน้านี้เขามั่นใจมากว่าคดีของเขาไม่มีอะไรต้องกังวล อาจเป็นเพราะมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องในระดับนานาชาติ แต่ระบอบปกครองของไทยไม่ได้สนใจความคิดเห็นของต่างประเทศอยู่แล้ว
คุณสมยศมีความเชื่อมั่นว่าจะพ้นผิดแน่ โดยได้บริจาคของใช้ของตนให้นักโทษคนอื่นๆ หมดเลย พอฟังคำพิพากษาก็จะซึมบ้างธรรมดา พอมีคนมาให้กำลังใจสักพักคงฟื้น


คุณสมยศเดินออกมายิ้มทักทายผู้คน เขากล่าวว่ารู้สึกเสียใจกับผลการตัดสิน เนื่องจากเห็นว่าคดีนี้กลายเป็นคดีความเห็น ซึ่งศาลอ้างถึงแต่ความเห็นฝ่ายโจทก์ แต่กลับกลับไม่ให้ความเชื่อถือพยานฝ่ายจำเลย บางเรื่องที่ทนายจำเลยซักถามจนตกแล้ว แต่ศาลก็ยังนำมาอ้าง เช่นเรื่องประวัติศาสตร์ในแบบเรียน ทนายถามว่าแบบเรียนไหนที่พูดถึงถุงแดง พยานก็ตอบไม่ได้ พยานโจทก์อย่างนายธงทอง จันทรางศุ ก็เบิกความเองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องการตีความซึ่งขึ้นกับบริบทพื้นเพของแต่ละคนนอกจากนี้ศาลยังอ้างถึงระดับการศึกษาว่าเขาจบปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์น่าจะรู้ถึงเรื่องนี้ แม้ว่าเขาจะรู้สึกเศร้ากับผลที่ออกมา แต่ก็ทำให้ได้เห็นถึงปัญหาของระบบ การตัดสินคดีนี้น่าจะทำให้เสรีภาพของสื่อกลายเป็นยุคมืดไปเลย   ตอนนี้เขายังคิดอะไรไม่ออกแต่ถึงอย่างไรก็คงต้องสู้

วันนั้นภรรยาของคุณยุทธภูมิ มาตรนอก ผู้ต้องขังคดีหมิ่นกษัตริย์คนล่าสุด กำลังร่ำลาสามี โดยเมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2553 นายยุทธภูมิ มาตรนอก อาชีพรับจ้าง ได้ถูกนายธนะวัฒน์ มาตรนอก ผู้เป็นพี่ชาย แจ้งจับในความผิดข้อหาหมิ่นกษัตริย์โดยพูดจาดูหมิ่นกษัตริย์ในบ้าน และเขียนคำจาบจ้วงกษัตริย์บนปกซีดีแผ่นหนึ่ง ตามมาตรา 112  ต่อมานายยุทธภูมิได้มามอบตัว และยืนยันว่าไม่ได้กระทำความผิด แต่เกิดจากการกลั่นแกล้งของพี่ชายโดยได้แสดงหลักฐานเป็นบันทึกการแจ้งความไว้เป็นหลักฐานว่าพี่ชายเคยจะใช้มีดทำร้ายและมีหนังสือข่มขู่  แต่ศาลก็รับฟ้องคดีมาตรา 112 นี้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555 โดยศาลไม่ให้ประกันตัวและต้องถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ศาลรับฟ้องและศาลนัดสืบพยานอีกครั้งปลายปี กลายเป็นว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น กลายเป็นเครื่องมือต่อสู้ช่วงชิงผลประโยชน์กันในครอบครัวแล้ว

ขณะที่คุณปราณีภรรยาของคุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ซึ่งลงทุนย้ายมาอยู่กับเพื่อนที่ทาวเฮ้าส์ใกล้เรือนจำและมาเยี่ยมสามีทุกวัน ก็กำลังโบกมือให้คุณสุรชัย ซึ่งเป็นผู้ต้องขังคดีหมิ่นกษัตริย์ที่อายุมากที่สุด 71 ปีเกิดปี 2485 แต่ยังดูสดใส และกระตือรือล้นเป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่มาเยี่ยมเขาจะได้ฟังการวิเคราะห์การเมือง และแนวทางการต่อสู้ในประเด็นต่างๆ อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเป็นประจำ

ขณะที่คุณสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยาของสมยศ โพสต์ในเฟซบุ๊คว่า ได้ยื่นประกันตัวคุณสมยศในชั้นอุทธรณ์แล้ว และคงต้องรออีก 2-3 วันกว่าจะรู้ผล เธอเขียนไว้ว่า  I actually have no hope but someone told me that we live with hope, only dead people has no hope. Life is going on.  ที่จริงฉันไม่ได้หวังอะไรเลย แต่มีคนบอกว่าเราต้องอยู่อย่างมีความหวัง เพราะมีแต่คนที่ตายแล้วเท่านั้นที่ไม่มีความหวัง ชีวิตยังต้องดำเนินต่อไป ...

หลักการของศาลไทยในการใช้มาตรา 112

ถ้ายังมีความคลุมเครือสงสัยอยู่
ก็ให้ตัดสินว่าจำเลยมีความผิดไว้ก่อน
เพราะกษัตริย์ไทยมีไว้เคารพสักการะ
อย่างเดียวเ
ท่านั้น

ยกเว้นว่าบุคคลนั้นจะเป็นพวกที่ปกป้องระบอบเผด็จการดักดานเหมือนกัน

ตามหลักกฎหมายแล้ว การที่บุคคลจะมีความผิดถูกลงโทษ จะต้องเกิดจากการกระทำผิดตามที่มีบทบัญญัติชัดเจนทางกฎหมายว่าเป็นความผิดและมีบทบัญญัติให้ลงโทษ
แต่เป็นที่แน่นอนแล้วว่า การพิพากษาคดีมาตรา
112 ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นกฎหมายที่คลุมเครือแล้ว ศาลไทยยังได้ใช้หลักการที่วิปริตมาก คือให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำความผิดจริง  โดยพยายามใช้ดุลยพินิจและการคาดหมายของศาลเอง รวมไปถึงการเหมาเอาเองว่าจำเลยมีความเจตนาจะกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา ราวกับว่าศาลได้ตรัสรู้มีญานวิเศษสามารถหยั่งรู้ถึงเจตนาของบุคคลอื่น

ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ได้ให้สัตยาบันในกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสากลแตกลับละเลยในการนำไปปฏิบัติ กลายเป็นเรื่องที่พูดแต่ปากไม่ได้รักษาสัตยาบันที่ได้ให้ไว้ แม้แต่องค์ภาหลานของกษัตริย์ภูมิพลที่ไปประกาศต่อหน้าที่ประชุมสหประชาชาติรับรองความยุติธรรมในเรื่องสิทธิมนุษยชนแล้วก็คงเป็นแค่พวกที่ดีแต่พูดเท่านั้นเอง


ตัวอย่างอีกคดีหนึ่ง ของนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก แนวร่วม นปช. เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ตามมาตรา 112 จากการปราศรัยบนเวที นปช. เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อวันที่ 29  มี.ค.  2553  ศาลอาญารัชดา ได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 มกราคม  2556  โดยศาลวินิจฉัยว่า การที่จำเลยกล่าวถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ทำนองว่า พล.อ.เปรม ไม่ยอมให้ยุบสภาและกล่าวต่อว่า อาจมีเหนือกว่านั้นก็ดี พล.อ.เปรม อาจจะไม่มีอะไร แต่จะมีอะไรอยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรมก็ดี คำว่า อาจมีเหนือกว่านั้น และคำว่า มีอะไรอยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม ซึ่งการที่จำเลยกล่าวปราศรัยในลักษณะให้ผู้ฟังเข้าใจว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่เบื้องหลัง พล.อ.เปรม จึงเท่ากับว่า พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงไม่ยินยอมให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นยุบสภา โดยสั่งการผ่านทาง พล.อ.เปรม จึงเป็นการใส่ความว่า ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง 


ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง ให้ลงโทษจำคุก 3 ปี คำให้การเป็นประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยไว้ 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา
สรุปได้ว่า แม้นายยศวริศจะไม่ได้เอ่ยชื่อกษัตริย์ภูมิพลแต่ศาลก็รู้ว่านายยศวริศต้องการให้ประชาชนเข้าใจพาดพิงถึงกษัตริย์ภูมิพลแน่ๆ แม้ว่านายยศวริศจะไม่ได้กล่าวออกมา แต่ศาลของในหลวงก็ตีความว่า เป็นการหมิ่นตามมาตรา
112 คือศาลไทยตัดสินให้นายยศวริศมีความผิดจากสิ่งที่นายยศวริศไม่ได้พูดออกมา
 


ส่วนคดีของนายอำพล ตั้งนพคุณ หรืออากงที่ศาลตัดสินในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 แม้จะไม่มีหลักฐานพยานพิสูจน์ได้เลยว่า อากงกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา แต่ศาลของกษัตริย์ภูมิพลก็อธิบายเอาเองว่าแต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากผู้ที่กระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรงดังกล่าว ย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ ทั้งจะอาศัยโอกาสกระทำเมื่อไม่มีผู้ใดรู้เห็น จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลจากพยานพฤติเหตุแวดล้อม กรณีที่โจทก์นำสืบเป็นเครื่องชี้วัดให้เห็นถึงการกระทำและเจตนาซึ่งอยู่ภายใน  ถ้าใช้คำตัดสินเช่นนี้เป็นบรรทัดฐาน ต่อไปฝ่ายโจทย์ก็ไม่จำเป็นต้องหาประจักษ์พยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดอีกต่อไป เพราะศาลของกษัตริย์ภูมิพลสามารถหาความผิดของจำเลยจากการคาดเดาสภาพแวดล้อมได้

แต่ในคดีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุลแกนนำพันธมารเพื่อเผด็จการโดยกษัตริย์ ถูกฟ้องว่ากระทำผิดตามมาตรา 112 ทั้งนี้ จากการปราศรัยในเวทีการชุมนุมเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2551 โดยนำคำปราศรัยของ น.ส. ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นกษัตริย์มาเผยแพร่ซ้ำ ศาลได้ตัดสินเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 ว่า ศาลเห็นว่า การพูดของจำเลยสืบเป็นการพูดโดยถอดข้อความบางตอนมาสรุปให้ประชาชนฟัง ว่าคำพูดของ น.ส.ดารณี เป็นความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์และราชินี จึงเรียกร้องให้ พล. ต.อ. พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผบ. ตร. ขณะนั้น ให้ดำเนินคดีกับ น.ส.ดารณี โดยจำเลยมีเจตนาที่จะเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีกับน.ส. ดารณี ไม่เป็นการขยายคำพูดของ น.ส.ดารณี จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง ให้พิพากษายกฟ้อง โดยศาลใช้บรรทัดฐานอันผ่อนปรนให้นายสนธิเพราะเป็นพวกเครือข่ายหรือสมุนบริวารของกษัตริย์ภูมิพลเช่นเดียวกับศาลเหมือนกัน หลักการของการตีความที่ใช้ในคดีของคุณเจ๋งนั้น ศาลของกษัตริย์ภูมิพลอาจจะต้องการข่มขู่ให้คุณเจ๋งและแกนนำเสื้อแดงเข็ดขยาดต่อการพูดปราศรัย  แต่ในระยะยาวมันสร้างความเสียหายต่อระบบยุติธรรมของประเทศไทยในสายตาโลกเป็นอย่างยิ่ง ศาลไทยมีรูปแบบของการตัดสินตีความคดีการเมืองที่เกินหลักการและอำนาจขอบเขตที่ตนมีอยู่กันเป็นประจำ ถ้าเป็นอย่างนี้ศาลคงจะต้องลากคอคนที่พูดว่าผู้มีบารมี มือที่มองไม่เห็น ระบอบอำมาตยาธิปไตยหรือลุงสมชายป้าสมจิตร เข้าตะรางให้หมดไปด้วยเหมือนกัน ตามบรรทัดฐานจากคดีคุณเจ๋ง

ท่าทีขององค์กรต่างประเทศ
ต่อคำพิพากษาสมยศ


23 ม.ค. 2556 นางนาวี พิลเลย์ ( Navi Pillay ) ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อคำตัดสินและการลงโทษที่รุนแรงอย่างที่สุดต่อสมยศ พฤกษาเกษมสุข และเสริมว่า นี่แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมถอยในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย คำตัดสินและการลงโทษที่รุนแรงอย่างที่สุดต่อคุณสมยศส่งสัญญาณที่ผิดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในประเทศไทย คำพิพากษาของศาลเป็นตัวชี้วัดล่าสุดของแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง ฉันยินดีและสนับสนุนความพยายามของสมาชิกรัฐสภาและนักวิชาการบางคนที่เสนอการแก้ไขมาตรา 112 เพื่อสื่อถึงความกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมาย ฉันกังวลใจเมื่อคุณสมยศไม่ได้รับการประกันตัว และหลายครั้งที่ปรากฏตัวในศาลโดยถูกใส่โซ่ตรวน ราวกับเขาเป็นอาชญากรร้ายแรง..  ผู้ที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกไม่ควรถูกลงโทษตั้งแต่แรกแล้ว
ทั้งนี้  เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2555 คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ ได้สรุปว่าการจับกุมตัวคุณสมยศเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการ ทุกวิถีทางเพื่อปล่อยคุณสมยศและชดเชยค่าเสียหายต่อสมยศ เพื่อให้เป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ( ICCPR ) ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน


ด้านสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asian Press Alliance หรือ SEAPA ) ออกแถลงการณ์ชี้ว่า คำตัดสินคดีนี้ได้ขยายความรับผิดชอบของบรรณาธิการไปถึงเนื้อหาที่ตีพิมพ์ คล้ายกับคำตัดสินที่จีรนุช เปรมชัยพร ได้รับเมื่อพฤษภาคม 2555 ในความผิดฐาน ฝ่าฝืน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 โดยเธอได้รับโทษรอลงอาญาสองปี จากการนำข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นกษัตริย์ออกจากเว็บบอร์ดไม่เร็วพอ และแม้ทนายของสมยศจะต่อสู้ว่าตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ไม่ได้กำหนดให้บรรณาธิการต้องรับผิดชอบกับบทความที่ผู้อื่นเขียน แต่ศาลก็ชี้ว่าเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เขาพ้นจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ขณะที่ไม่มีการดำเนินคดีกับผู้เขียนบทความแต่อย่างใด นอกจากนี้ ศาลยังระบุว่า แม้ไม่มีการกล่าวถึงพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในบทความ แต่เนื้อหาก็สามารถทำให้เข้าใจได้ว่ากล่าวถึงพระองค์ ซึ่งกรณีนี้ SEAPA ชี้ว่าคล้ายกับคำพิพากษาคดีของยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ซึ่งถูกตัดสินจำคุกสองปีจากการปราศรัยเมื่อปี 2553 โดยบทความในนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า ศาลได้ตัดสินว่า แม้จำเลยจะไม่ได้กล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง แต่คำปราศรัยดังกล่าวไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นได้

กายาทรี เวนกิทสวารัน ( Gayathry Venkiteswaran ) ผู้อำนวยการสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( SEAPA ) ระบุว่า โทษที่สมยศได้รับไม่ได้สัดส่วน ทั้งที่สมยศไม่ได้เป็นผู้เขียนบทความดังกล่าว การให้ความรับผิดชอบไปอยู่ที่บรรณาธิการ เป็นการเน้นบังคับใช้กฎหมายหมิ่นกษัตริย์ที่มีปัญหา



ศาสตรา จารย์ แดนทอง บรีน ( Professor Danthong Breen) ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือ สสส. กล่าวว่า "คำตัดสินวันนี้ไม่เป็นธรรมอย่างชัดเจน การคงไว้ซึ่งกฎหมายเผด็จการและใช้กฎหมายนี้อย่างต่อเนื่อง นำประเทศไทยไปไกลจากการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่บนการเคารพเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน "
ซิวเฮร์ เบลฮัสสัน (
Souhayr Belhassen ) ประธานสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล International Federation for Human Rights ( FIDH ) ระบุว่า " แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศและปฏิรูปกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ จากทั้งพลเมืองไทย ภาคประชาสังคม และสหประชาชาติหลายครั้ง แต่ประเทศไทยก็ตัดสินใจออกห่างจากมาตรฐานระหว่างประเทศในการปกป้องเสรีภาพใน การแสดงความเห็น ทำตัวแปลกแยกจากสังคมประชาธิปไตย "


เจอราด สเตเบอร็อก (Gerald Staberock ) เลขาธิการองค์การสากลว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน ( World Organisation Against Torture : OMCT ) ระบุว่า " การตั้งข้อกล่าวหาทางอาญาต่อการเสียดสีทางการเมืองก็แย่พอแล้ว แต่การดำเนินคดีกับบรรณาธิการที่ไม่ได้เขียนงานนั้นๆ ทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพถูกยกระดับขึ้นไปอีก เราเรียกร้องต่อทางการไทยปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ ซึ่งพบว่า การควบคุมตัวคุณสมยศ ขัดต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศ การกลับคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์และการปล่อยตัวสมยศในทันที จะแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ถึงคำมั่นสัญญาที่ไทยเคยประกาศบ่อยครั้ง เกี่ยวกับหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน "

23 ม.ค. 2556  สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยและคณะเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยมีมติร่วมกันออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้ " คณะผู้แทนสหภาพยุโรปฯ มีความเป็นห่วงต่อคำพิพากษาของศาลในการตัดสินจำคุกนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นเวลา 10 ปี โดยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
คำพิพากษาดังกล่าว มีผลอย่างมากต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน ในขณะเดียวกันคำตัดสินดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษ์ของประเทศไทยในฐานะที่เป็นสังคมแห่งเสรีภาพและประชาธิปไตย ทางสหภาพยุโรปขอเรียกร้องให้ทางการไทยกำหนดข้อจำกัดต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนด้วยมาตรการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการรักษาไว้ซึ่งหลักสิทธิมนุษยชนสากล
"
 


คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ( AHRC ) ระบุว่า การที่ศาลตัดสินว่าบทความที่ลงในนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณสองบทความมีเนื้อหาที่ดูหมิ่นกษัตริย์ การพิมพ์ แจกจ่าย หรือเผยแพร่บทความจึงเป็นความจงใจดูหมิ่นกษัตริย์ด้วยนั้น เท่ากับว่าใครที่เกี่ยวข้องกับการบรรณาธิการ ตีพิมพ์ เผยแพร่ หรือแจกจ่ายวัตถุซึ่งถูกตัดสินว่ามีความตั้งใจหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ ต้องมีความผิดทางกฎหมาย เป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวซึ่งจะจำกัดสิทธิการแสดงออกอย่างเสรีทางความคิด โดยเฉพาะผู้ที่ถูกมองว่ามีความเห็นต่าง  มาตรา 112 ได้กลายเป็นมาตรการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพอย่างไม่เป็นทางการ ประกอบกับการบังคับใช้และการตีความมาตรา 112 ซึ่งไม่คงเส้นคงวาและถูกใช้ในทางการเมืองอย่างมาก ทำให้ผู้เขียนและผู้พิมพ์ไม่มีทางทราบเลยว่าพวกเขาได้ทำผิดกฎหมายหรือไม่ จนกระทั่งมีตำรวจมาจับตัวพวกเขาไป 
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ยังเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศ รวมถึงผู้ที่ถูกคุมขังจากการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความเห็นภายใต้มาตรา
112 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เรียกร้องให้ไทยยกเลิกมาตรา 112 ที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นและสิทธิมนุษยชน

อธิบดีศาลอาญา โต้สหภาพยุโรป
ยันกฎหมายไทยเป็นสากล
-จำคุกสมยศ
10 ปี เหมาะสมแล้ว

24 ม.ค. 2556 นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา กล่าวถึงแถลงการณ์ของสหภาพยุโรปต่อกรณีคำพิพากษานายสมยศ พฤกษาเกษมสุข  ว่าศาลอาญามีหลักการพิจารณาคดีเป็นสากลเหมือนกับศาลยุติธรรมอื่นทั่วโลก คือพิจารณาว่าจำเลยมีความผิดตามที่กฎหมายบัญัติไว้หรือไม่ โดยประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นความผิดตามกฎหมายของประเทศไทย และการที่นายสมยศ นำบทความดูหมิ่นกษัตริย์ซึ่งแม้จะเป็นบทความของคนอื่นมาลงก็เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา112ของกฎหมายไทย บทความที่นายสมยศนำมาเผยแพร่ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ แต่เป็นข้อความที่มีลักษณะดูหมิ่นเหยียดหยามทำให้กษัตริย์ไทยได้รับความเสียหาย 


ก่อนหน้าการตัดสินนั้นนายสมยศ ก็มีการร้องขอให้ศาลอาญาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 112 ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยมาว่าไม่ขัด ศาลอาญาจึงมีคำพิพากษาออกมา ทั้งนี้จำเลยอาจจะอุทธรณ์เเละศาลอุทธรณ์อาจมองต่างกับศาลชั้นต้นตัดสินว่าไม่มีความผิด หรืออาจตัดสินว่าโทษที่ศาลชั้นต้นตัดสินมาหนักเกินไปก็ได้ ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าโทษมาตรา112หนักเกินไปนั้น ศาลยุติธรรมไม่มีหน้าที่ไปมองว่ากฏหมายหนักหรือเบาเป็นเรื่องของอำนาจนิติบัญญัติ ส่วนที่ต่างประเทศจะมองว่าที่ต่างประเทศไม่มีกฏหมายลักษณะเเบบนี้ ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา 


เพราะสภาพขนบธรรมเนียมของเเต่ละประเทศย่อมไม่เหมือนกัน ประเทศอื่นก็มีกฏหมายที่ประเทศเราไม่มียกตัวอย่างเช่น มาเลเซีย ก็มีกฏหมายเกี่ยวกับเพศซึ่งประเทศเราก็ไม่มี เเต่การที่จะมองว่ากฎหมายหรือศาลไทยป่าเถื่อน เป็นองค์กรพิทักษ์กษัตริย์ก็เป็นมุมมองเเค่ฝ่ายเดียว การที่จะมอง หรือวิจารณ์องค์กรตุลาการของไทยสามารถกระทำได้เเต่ต้องเป็นไปอย่างสุจริต อย่ามีอคติ เป็นการเเสดงความเห็นทางวิชาการ ศาลก็จะไม่ถือความ เเต่ถ้าเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงมีอคติโจมตีสถาบันตุลาการอย่างไม่เป็นธรรม ศาลก็จะออกหมายเรียกมาไต่สวนเพราะเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เเต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจอีกทีว่าจะดำเนินการขั้นไหน ตอนนี้กำลังให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลทางเว็ปไซด์อยู่ในเรื่องนี้ ...

อาจารย์วีรพัฒน์โต้อธิบดีศาลเรื่องมาตรา
112
เมื่อภูผาตระหง่านสง่าแล้วไซร้
เหตุไฉนจึงผวาเกรงก้อนหินมากระทบ
24 มกราคม 2556 นายวีรพัฒน์  อิสระปริยวงศ์ นักวิชาการทางกฎหมายได้ส่งจดหมายถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาที่กล่าวหาบทความของเขาเข้าข่ายดูหมิ่นศาล ไม่ใช่การเเสดงออกทางวิชาการ เป็นการเเสดงความคิดเเบบคนไม่เข้าใจระบบ เเละจงใจดิสเครดิตศาล โดยมีเนื้อหาสรุปได้ว่า หากประชาชนประสงค์จะตรวจสอบการพิจารณาคดีของศาล โดยการนำบทความในคดีที่ศาลเห็นว่ามีเนื้อหาผิดกฎหมายมาตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ประชาชน ควรจะกระทำได้หรือไม่

และหากประชาชนไม่อาจกระทำการตรวจสอบศาลเพราะเกรงกลัวต่อมาตรา 112 ก็ย่อมเกิดคำถามว่า มาตรา 112 มุ่งคุ้มครองใครกันแน่ การตีความมาตรา 112 นั้น ศาลควรพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ว่าการหมิ่นนั้นกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือไม่ อย่างไร ถ้าหากศาลนำมาตรา 112 มาเอาผิดกับผู้ตีพิมพ์บทความในฐานะภัยต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรได้แล้ว แสดงว่าศาลเห็นว่าเกียรติยศของกษัตริย์ไทย สามารถถูกทำลายและล้มครืนลงจนกระทบต่อความมั่นคงได้โดยง่าย เพียงเพราะบทความหนึ่งฉบับอย่างนั้นหรือ

 
หากศาลอาญามีหลักการคิดเป็นอย่างนี้ ก็เท่ากับศาลกำลังดูถูกเกียรติยศของกษัตริย์ไทย และดูถูกสติปัญญาและวิจารณญาณของประชาชนคนไทย อย่างชัดเจนที่สุด อาจเปรียบเปรยได้ว่า เมื่อภูผาตระหง่านสง่าแล้วไซร้ เหตไฉนจึงผวาเกรงก้อนหินมากระทบ   การตั้งคำถาม คือหัวใจของการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ศาลกำลังตีความมาตรา 112 ไปในทางที่ไม่เป็นคุณต่อสถาบันกษัตริย์ ประชาชนไทยก็ย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ และมีหน้าที่ที่จะตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์การตีความของศาล หากพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย ยังทรงยอมให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้ ศาลซึ่งทำหน้าที่ในพระปรมาภิไธย ก็ควรจะต้องยอมให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อศาลเพื่อปกป้องเกียรติยศของกษัตริย์ไทยได้เช่นกัน จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา 

ทูตอียู ชี้แจงไม่ได้แทรกแซงไทยกรณีสมยศ

แต่ปฏิสัมพันธ์ด้วยหลักสิทธิมนุษยชน

30 ม.ค. 2556 –ตามที่ข่าวเครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบันกษัตริย์ นัดชุมนุมคัดค้านสำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยในวันที่ 31 ม.ค. เนื่องจากมองว่าสหภาพยุโรปวิจารณ์การตัดสินคดีคุณสมยศ ถือว่าได้ล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของชาติไทย และต้องได้รับการสั่งสอน

นายเดวิด ลิปแมน (David Lipman ) เอกอัครราชทูต และหัวหน้าผู้แทนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่าสหภาพยุโรปไม่ได้เข้ามาแทรกแซงกิจการของประเทศไทย แต่หน้าที่ของสหภาพยุโรปคือการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศไทยที่ตั้งอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชนสากล โดยมองว่า บทลงโทษจำคุกนายสมยศถึง 11 ปี สำหรับบทความที่ตนเองไม่ได้เขียน เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
แน่นอนว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงออกเป็นเรื่องที่สามารถตีความได้ แต่เรามองเรื่องนี้จากหลักการทั่วไปของสิทธิมนุษยชน สำหรับเราแล้วในยุโรป เราเองก็มีสถาบันกษัตริย์ ผมมาจากประเทศอังกฤษซึ่งก็มีพระราชินีที่เราเคารพและนับถือมาก และประชาชนก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ในทางที่เคารพ และก็ไม่ถูกส่งไปจำคุก
อนึ่ง ในวันที่
30-31 มกราคม 2556 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ "การปรองดองและเสรีภาพในการแสดงออก" ที่โรงแรมดุสิตธานี โดยมีนักวิชาการ อดีตเอกอัครราชทูต สื่อมวลชน และองค์กรภาคประชาสังคมจากในไทยและระหว่างประเทศ เข้าร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็นเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทย และเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสถานการณ์ในไทยและยุโรป 

เครือข่ายพิทักษ์สถาบันชุมนุมหน้าอียูจี้ขอโทษ
- แจง มาตรา
112 จำเป็น

31 ม.ค.56 เวลาประมาณ 10.00 น. เครือข่ายเฝ้าระวังพิทักษ์และปกป้องสถาบัน ราว 50 คน นัดหมายผ่านเฟซบุ๊กเพื่อชุมนุมที่สำนักงานคณะ ผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (อียู) อาคารเคี่ยนหงวน 2 ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ  เพื่อประท้วงอียู ที่ได้ออกแถลงการณ์กรณีในศาลไทยตัดสินจำคุก สมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการนิตยสาร Voice of  Taksin
 
นายธนบดี วรุณศรี  ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ  กล่าวว่า การมาวันนี้ เพื่อมาแลคเชอร์ให้อียูฟังเพื่อให้เข้าใจสถานภาพกษัตริย์ของไทยว่าอาจไม่เหมือนกษัตริย์ประเทศอื่น บางประเทศในอียูไม่เคยมีกษัตริย์ อาจไม่เข้าใจว่าสถาบันกษัตริย์มีความสูงสุดขนาดไหน และต้องการอธิบายว่าทำไมต้องมีมาตรา 112 แม้แต่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็มีโทษจำคุก 4-5 ปี หากมีการหมิ่นสถาบันกษัตริย์ คุณสมยศซึ่งกระทำความผิดชัดแจ้ง โดยตีพิมพ์บทความสองบทความ มีโทษบทความละ 5 ปี ก็ถือว่าไม่ได้มากไปกว่าเนเธอร์แลนด์ หากไม่ได้มีการลบหลู่จริงใครจะมาทำอะไร รัฐธรรมนูญกำหนดให้กษัตริย์เป็นจอมทัพไทย ดังนั้น จึงต้องมีกฎหมายปกป้องประมุขของชาติ หวังว่าหากได้อธิบายแล้วอียูจะเข้าใจและสำนึกผิดทั้งยังควรออกแถลงการณ์เพื่อแสดงความเสียใจด้วย ในที่ชุมนุมมีรถปราศรัยว่า  ปัญหาที่อียูต้องแก้ตอนนี้คือเรื่องโรฮิงยาไม่ใช่เรื่องนี้ และหากมีใครมาแตะต้องเรื่องการแก้กฎหมายอาญามาตรา 112 ทางกลุ่มอาจมีการรณรงค์ให้บอยคอตสินค้าอียู


ชอบด้วยกฏหมาย

แต่ไม่ชอบด้วยเหตุผล


คำพิพากษา หรือคำวินิจฉัยที่ดี ต้องถูกต้องเป็นธรรม เมื่อผู้อ่านหรือผู้ฟัง ได้อ่านได้ฟังแล้วเข้าใจเหตุผล ปราศจากความสงสัยต่อการชี้ขาดความยุติธรรม ดังนั้น หากคำพิพากษาหรือวินิจฉัยใดขาดเหตุผลที่หนักแน่นมั่นคงมาสนับสนุน ผู้คนก็ย่อมมีสิทธิตั้งคำถามได้ ถึงแม้คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยนั้นจะชอบด้วยกฏหมาย แต่อาจไม่ชอบด้วยเหตุผล ดังภาษิตกล่าวว่า เราไม่อาจตั้งข้อสงสัยในความสุจริตของผู้พิพากษา แต่เราอาจคัดค้านคำตัดสินว่าผิดกฏหมายหรือผิดข้อเท็จจริงได้

การตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล จึงเป็นสิทธิโดยชอบ ที่คู่ความหรือสาธารณชนมีสิทธิโต้แย้ง ถึงแม้จะมีกฏหมายห้ามดูหมิ่นศาล แต่ถ้าปรากฏข้อน่าสงสัยในฐานะตลอดจนความสัมพันธ์ของศาล หรือข้อความในคำพิพากษา  คู่ความย่อมมีสิทธิคัดค้าน รวมถึงสิทธิในการอุทธรณ์ ฏีกา
กฏหมายมาตรา
112 นี้ คือความไม่สมประกอบ ทั้งตัวบทบัญญัติและการบังคับใช้ที่แสดงถึงความเป็นเผด็จการที่ดักดานล้าหลัง มีถ้อยคำที่ต้องการกลบเกลื่อนสร้างภาพหลอกลวงประชาชนให้เข้าใจผิดในความเป็นความเป็นเจ้าของประเทศ เจ้าของอำนาจอธิปไตย และระบอบการเมืองการปกครอง
การนำข้ออ้างว่า ประเทศไทยมีการปกครองเฉพาะไม่เหมือนประเทศอื่นใด มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชกรณียกิจ ตลอดจนคุณูปการสำคัญของพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งต้องเทิดทูนสักการะ ละเมิดไม่ได้ บทบัญญัติและโทษตามมาตรา112 จึงไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่แย้งกับรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นขัดต่อสิทธิเสรีภาพการแสดงออกพื้นฐานของประชาชนตามรัดทำมะนวย 2550  ตามคำวินิจฉัยของศาลรัดทำมะนวย เป็นเหตุผลที่คลุมเครือและน่าสงสัย เพราะเป็นแค่ข้ออ้างด้านเดียวที่ไม่ครบถ้วนกระจ่างแจ้งตามที่เป็นจริง
สรรพสิ่ง มนุษย์ทุกคนแม้แต่สถาบันกษัตริย์ ย่อมต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ศาลรัดทำมะนวยไม่ได้กล่าวให้สุดถ้อยกระบวนความว่า บทบัญญัติมาตรา 112 เป็นบทบัญญติตราขึ้นจากคณะบุคคลที่ได้อำนาจมาโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ตามคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 วันที่ 21 ตุลาคม 2519 ตุลาการศาลรัดทำมะนวยคณะนี้ก็เป็นผลมาจากคณะรัฐประหารของ คมช. ซึ่งเป็นผู้ที่ได้อำนาจมาโดยมิชอบ ศาลรัดทำมะนวยเองจึงไม่มีคุณสมบัติที่จะชี้ว่า กฏหมายใดขัดต่อหลักนิติธรรมหรือไม่ เพราะการดำรงตำแหน่งและอำนาจของตนเองก็ไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรมอยู่แล้ว โทษตามมาตรา 112  ก็ยังมีลักษณะถอยหลังเข้าคลองหรือล้าหลังยิ่งกว่าในสมัยก่อน  โดยศาลรัดทำมะนวยเลือกที่จะไม่อธิบายให้ประชาชนได้เห็นข้อเท็จจริงว่าแม้แต่ในสมัยเป็นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ร.ศ.118 หรือ พศ. 2443 กฎหมายนี้มีโทษจำคุกไม่เกินสามปีเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีโทษจำคุก 3-15 ปี

การอ้างความไม่เหมือนประเทศอื่นใด ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ หรือพระราชกรณียกิจ ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะประวัติศาสตร์ไม่ใช่กฏหมาย ข้อดีของสถาบันกษัตริย์ ในฐานะผู้นำทางการปกครองยุคหนึ่งย่อมเป็นข้อดีที่รับฟังได้ แต่ข้อเสียของกษัตริย์ก็มีเช่นกัน ทั้งการหาประโยชน์จากข้าไพร่ เอาเงินเข้าพกเข้าห่อ ทะนุบำรุงแต่ลูกหลานและบริวารของตนให้เสวยความสุขสบาย ขณะที่ประชาชนในประเทศยากจนข้นแค้น ก็เป็นเรื่องจริง ที่รับฟังได้เช่นกัน หากมีการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ก็ควรให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น ไม่ใช่เล่นอ้างแต่ข้อดีเพียงด้านเดียว ศาลจะไปมีความเห็นส่งเดช ที่ไม่ผ่านกระบวนการพยานหลักฐาน ผ่านกระบวนการสิทธิเสรีภาพของการวิพากษ์วิจารณ์สาธารณะ  การข่มขู่ บังคับ ให้คนเชื่อแต่ข้อดี โดยปราศจากการชั่งน้ำหนักไตร่ตรองถึงข้อเสีย ถือว่ามิใช่วิสัยของศาลยุติธรรม เพราะเป็นการสอนให้คนโกหก อยู่ในโลกของการสรรเสริญเยินยอ และถ้าศาลในฐานะผู้ผดุงความยุติธรรมเป็นผู้เริ่มต้นโกหกเสียเอง ย่อมเป็นการกระทบกระเทือนต่อการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน

ในเมื่อศาลไทยเอาแต่สรรเสริญเยินยอยกย่องกษัตริย์เพียงด้านเดียว แล้วมีอะไรที่ศาลจะยืนยันได้บ้างว่า ศาลเป็นที่พึ่งของประชาชน เมื่อมาตรา 112 มันเกี่ยวพันกับบุคคลในสถาบันกษัตริย์ มีอะไรที่ทำให้สาธารณะเข้าใจและเชื่อมั่นว่าศาลเป็นกลางจริงในการตัดสินตามมาตรา 112 เพราะศาลตัดสินในนามของกษัตริย์และกษัตริย์ก็เป็นผู้แต่งตั้งศาล ประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่าศาลจะไม่ลำเอียงเพื่อเอาใจกษัตริย์

คนไทยรู้ดีว่าศาลไทยเคารพสักการะกษัตริย์มากกว่าสิ่งอืนใด ขนาดเอารูปกษัตริย์ไปแขวนไว้ในห้องพิจารณาคดี ดังนั้นโดยสามัญสำนึกและเหตุผลพื้นๆ ย่อมเป็นเรื่องที่ขัดกันโดยธรรมชาติ เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือและยอมรับได้ยาก ถ้าแนวโน้มคำพิพากษาของศาลในคดีหมิ่นกษัตริย์ ตามมาตรา 112 วางไว้ในแนวทางเดียวกัน เช่น


กรณีมีข้อสงสัย ให้ยกประโยชน์ให้โจทก์ แทนที่จะยกประโยชน์ให้จำเลย อย่างเช่นคดีอากง จำเลยต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนแทนที่จะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องหาพยาน หลักฐานมาพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำผิดจริงตามหลักกฎหมายทั่วไป

การแสดงเจตนาเชิงสัญญลักษณ์ก็ถือเป็นความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาต มาดร้าย ซึ่งเป็นการขยายหลักการและอำนาจการตีความกฏหมายอาญาและวิธีความพิจารณาความ อาญาที่เป็นผลร้ายแก่ผู้ถูกกล่าวหา ในกรณีคุณวริศ ชูกล่อม และคุณสมยศ การตีความเช่นนี้ เป็นการตีความที่ขัดต่อหลักการที่ว่าให้สันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริงโดยปราศจากข้อสงสัย คือจำเลยต้องได้กระทำผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้จริงๆ ไม่ใช่ให้ศาลไปตีความหาเรื่องเอาผิดจำเลย  
การที่ศาลสามารถตัดสินเจตนาในใจของจำเลยได้ สาธารณชนก็ควรได้รับสิทธิโดยชอบที่จะกล่าวถึงเจตนาของศาลได้เช่นกัน หรือว่าศาลนั้นมีคุณสมบัติพิเศษกว่ามนุษย์ทั่วไป

ในกรณีคุณสมยศ การดำเนินการกระบวนการชั้นพิจารณา นับแต่การไม่ให้ประกันตัว การสืบพยาน ที่นำตัวคุณสมยศใส่ท้ายรถตระเวนไปสืบศาลต่างจังหวัด ศาลมีเจตนาอะไร ต้องการกลั่นแกล้งทรมานผู้ถูกกล่าวหาใช่ไหม ศาลจะอ้างไม่รู้ย่อมไม่ได้ เพราะผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจตัวบทกฏหมาย ย่อมน่าจะรู้เห็นถึงความยากลำบากของจำเลย ผู้ถูกใส่ท้ายรถไปนำสืบตามต่างจังหวัด การพิพากษาลงโทษหนักถึง 11 ปี ก็เป็นการชี้ให้เห็นว่าศาลไทยเชื่อในความชอบธรรมของมาตรา 112 และศาลก็คงเชื่อมาตั้งแต่แรกแล้วว่า คุณสมยศเป็นผู้กระทำความผิดจึงต้องกลั่นแกล้งและลงโทษให้สาสมเพื่อแสดงให้เห็นว่าศาลรักกษัตริย์มากกว่าอะไรทั้งหมด
ศาลไทยกำลังประกาศให้คนไทยและคนทั่วโลกได้รับรู้ถึงความเป็นไทย ว่าหมายรวมถึง การบีบบังคับ คุกคาม สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ในการพูด การเขียน เพื่อธำรงไว้ต่อการต้องเคารพสักการะ กราบกรานกษัตริย์ ไม่ว่าการกระทำของกษัตริย์จะเป็นเรื่องดี หรือเรื่องร้าย ให้ถือว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ถูกหลักนิติธรรม ถูกต้อง ชอบธรรม
ความไม่เป็นเหตุเป็นผลของการพิจารณาคดีมาตรา 112 ทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจได้ถึงหลักคิด เจตนาหรืออคติของศาลไทย ที่อ้างความชอบด้วยกฏหมาย แต่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ทั้งจากความผิดปกติของตัวบทกฏหมายและตัวตุลาการเอง 
จึงทำให้คำพิพากษาของศาลไทยขาดความศักดิ์สิทธิ์ สาธารณชนจึงกล้าวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาในมาตรา
112 นี้อย่างตรงไปตรงมา ผู้พิพากษาต้องเลิกโทษโกรธเคืองหรือไปข่มขู่คนที่เขาวิจารณ์ศาลไทย เพราะจะทำให้ศาลไทยยิ่งถูกมองว่า เป็นองค์กรที่ลุแก่อำนาจและเกะกะระราน ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้บังคับใช้กฏหมายอีกต่อไป
การให้เกียรติในฐานะประมุขของประเทศมีข้อต่างกัน

ฝ่ายเรียกคืนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังคงต้องการให้คนเชื่ออำนาจเหนือโลก เชื่อพระบุญญาธิการบารมี ว่ากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ล่วงละเมิดไม่ได้ ไม่ว่าจะผิดหรือถูก ฝ่ายนี้ต้องการเรียกร้องคืนพระราชอำนาจ แม้พระราชดำริก็ให้เป็นกฏหมาย ต้องสรรเสริญเยินยอพระเกียรติยศพระเกียรติคุณกันทุกเช้าค่ำ ให้มันฝังลึกลงไปในสายเลือดคนไทยทุกคน

ส่วนฝ่ายประชา ธิปไตยนั้น เชื่อในระบบของความเสมอภาค เท่าเทียม หนึ่งสิทธิ หนึ่งเสียง เชื่อในประชาชนว่าเป็นเจ้าของประเทศ เป็นเจ้าของอำนาจ  ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์ ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน โดยไม่มีข้อยกเว้น สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เท่านั้น คำวินิจฉัย พระราชดำริ จึงไม่ใช่กฏหมายอีกต่อไป แต่รัฐสภาต่างหากที่เป็นตัวแทนปวงชนที่มีหน้าที่กำหนดว่าอะไรเป็นกฏหมาย อะไรไม่เป็นกฏหมาย ถ้ากษัตริย์ทำไม่ถูก ก็ต้องถูกวิจารณ์ ถ้ากษัตริย์ทำผิดกฎหมายก็ต้องโดนลงโทษ ถ้ากษัตริย์ไปสั่งทหารให้ยึดอำนาจก็ต้องโดนข้อหาเป็นกบฏ มันทำให้กษัตริย์ในประเทศประชาธิปไตยไม่กล้าทำผิดกฎหมาย และไม่มีบทบาทใดๆในทางการเมือง

ผู้พิพากษากำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็ตกเป็นเป้าทั้งนั้น จะเลือกเข้าข้างกษัตริย์แบบสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ต้องทำตัวเป็นศาลอันธพาลเหมือนอย่างที่ศาลกำลังทำกันอยู่ในคดีมาตรา 112  ถ้าศาลจะเลือกประชาชนก็ต้องยึดหลักนิติธรรมตามหลักการในระบอบประชาธิปไตยที่สากลโลกเขาให้การยอมรับ  แต่ที่น่าเห็นใจมากที่สุดก็คือจำเลยที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 112 ที่ต้องตกเป็นเหยื่อของระบอบเผด็จการดักดาน

พระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษา และประชาชนทุกคน ต่างก็เป็นคน ไม่ควรมีความต่างกันระหว่างความชอบด้วยกฏหมาย ศาลต้องตระหนักว่าการมีอยู่และการบังคับใช้กฏหมายมาตรา112 นี้ ต้องไม่เป็นชนวนนำไปสู่การเกิดวิกฤติการนองเลือดจากความไม่เป็นธรรม
องค์กรตุลาการเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ควรเป็นความหวังให้ประชาชนพึ่งพาได้ องค์กรตุลาการในฐานะอำนาจหนึ่งในรัฐธรรมนูญ ควรมีความคิด มีสามัญสำนึกที่จะแก้ไข ปรับปรุงความมีอยู่และการบังคับใช้มาตรา
112 นี้ ถ้าศาลยังมีจิตสำนึกที่จะทำเพื่อประชาชนจริงๆ

………………..

ไม่มีความคิดเห็น: