วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ลอกคราบคนอัปรีย์ศรีแผ่นดิน ( The Truth of the Good )



ฟังเสียงพร้อมดนตรีประกอบ :
http://www.4shared.com/mp3/Jgg5ByDl/The_Truth_of_the_Good___1_.html
http://www.mediafire.com/download/6t6k3j4b6spy8d6/The+Truth+of+the+Good.mp3

http://www.youtube.com/watch?v=2RL2ZSTX5ts&feature=youtu.be

ลอกคราบคนอัปรีย์ศรีแผ่นดิน
( The Truth of the Good )

หัวหอกตุลาโกง




17 ก.พ.2498 วันประหาร
ผู้บริสุทธิ์ 3 คนกรณีสวรรคต
แต่ไหนแต่ไรมาตุลาโกงของไทยก็เป็นแค่การทำตามใบสั่งนายเท่านั้น เอาใครมาทำก็ได้ คงไม่ต่างกัน ทำเสร็จก็ให้รางวัลกันไป จะเป็นแบบสมัยโบราณอ้างว่ากาคาบข่าวมายังไงก็ได้ หาหลักฐานไม่เจอ เชื่อมไม่ถึงก็ไม่เป็นไร เพราะมีธงหรือคำตัดสินอยู่แล้ว มาในยุคกษัตริย์ภูมิพล ก็เห็นได้ชัดไม่มีอะไรแตกต่าง จากการตัดสินประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์สามคนเพื่อปิดปากยุติคดีสวรรคต ต่อมาตุลาโกงไทยก็ช่วยรับรองการรัฐประหารและสืบทอดคำสั่งของพวกที่ยึดอำนาจตามความประสงค์ของกษัตริย์ภูมิพลด้วยดีเสมอมา กระบวนการอยุติธรรมของไทยจึงยังคงเส้นคงวา เป็นที่ไม่น่านับถือไม่น่าเลื่อมใสเหมือนเดิม โดยมีพวกนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รุ่นปี
2499 เป็นกำลังสำคัญ

ชาญชัย ลิขิตจิตถะ

นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็นประธานศาลฎีกาในปี 2548 ต่อจากนายศุภชัย ภู่งาม

ขบวนการตุลาโกงวิบัติเริ่มประกาศตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 เวลา 17.42 น. โดยกษัตริย์ภูมิพลให้นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เข้าเฝ้าที่วังไกลกังวล เพื่อสาบานตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง พร้อมทั้งกล่าวว่า มีการเปิดสภาไม่ครบ 500 คน การขอนายกฯพระราชทานทำให้ประชาธิปไตยมั่ว การเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวไม่ใช่ประชาธิปไตย ให้ศาลปกครองไปหาทางยกเลิกการเลือกตั้ง 2 เมษา 2549 ต่อมาประธานศาลทั้ง 3 ฝ่าย จึงได้ประชุมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อหาทางล้มล้างระบอบประชาธิปไตยตามความต้องการของฝ่ายกษัตริย์  


ผัน จันทรปาน ศาลรัฐ อักขราทร จุฬารัตน
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ หารือกันเมื่อ 28 เม.ย.2549
โดยทั้ง 3 ศาลมีคำสั่งยกเลิกการเลือกตั้ง หาเรื่องเอา กกต. เข้าคุก  ส่วนพันธมารก็สร้างสถานการณ์จนนำไปสู่การปล้นอำนาจโดยคณะปฏิกูลการปกครองที่มีกษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้า มีการทาบทามให้นายชาญชัยเป็นนายก แต่ในที่สุดคณะปฏิกูลของกษัตริย์ภูมิพลก็เลือกพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีแทน โดยให้นายชาญชัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และให้เป็นกรรมการกฤษฎีกาด้วย หลังจากที่พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว นายชาญชัยขอกลับรับราชการเป็นผู้พิพากษาอาวุโส ต่อมาได้เป็นองคมนตรวย เมื่อวันที่ 8 เมษายน  2551 นายชาญชัยเป็นตุลาโกงที่มีบทบาทสูงมาก เป็นหนึ่งในทีมงาน 7 คนที่ไปร่วมประชุมวางแผนล้มรัฐบาลทักษิณที่บ้านนายปีย์ มาลากุลเพื่อนสนิทของกษัตริย์ภูมิพล และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรวยเป็นการตอบแทนจากความสำเร็จที่เขาได้ประสานขบวนการตุลาโกงวิบัติเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งกำลังทำตัวเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของระบอบการปกครองนิยมกษัตริย์ที่มีมาแต่เดิม
นายชาญชัยเป็นประธานศาลฎีกา ซึ่งถือเป็นประมุขของฝ่ายตุลาโกงที่ฝ่ายนิยมระบอบกษัตริย์ได้ยึดกุมมาตลอด โดยไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างหรือรูปการจิตสำนึกใดๆเลย และประธานศาลฎีกาที่ได้ทำงานสนองความต้องการของกษัตริย์ภูมิพลมาด้วยดี ก็มักจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรวยซึ่งถือว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดในชีวิตหลังการเกษียณอายุราชการ


ชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ระบบตุลาการหรือตุลาโกงของไทยถูกกำหนดและควบคุมโดยคณะกรรมการตุลาโกงที่มีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ที่เรียกกันว่าเป็นประมุขของฝ่ายตุลาโกง และก็จะมีการสืบทอดตำแหน่งต่อเนื่องกันมาตลอดกลายเป็นเครือข่ายที่ครอบงำขบวนการตุลาโกงของไทยจนกลายเป็นขบวนการตุลาโกงวิบัติที่เข้มแข็งและแนบเนียน เป็นพวกที่สามารถใช้กฎหมู่ในนามของกฎหมาย ด้วยการแอบอ้างกฎหมายและกระบวนการอยุติธรรมที่รับใช้ฝ่ายเผด็จการดักดานมาโดยตลอด
วันที่ 19 กุมภาพันธ์  2550 นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) รวบรวมคำกล่าวมอบนโยบายในการปราบปรามยาเสพติดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อนำมาประกอบสำนวนการสอบสวนใน


คดีฆ่าตัดตอน โดยหากพบว่าการมอบนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งผลให้มีการจัดชุดเฉพาะกิจออกปฏิบัติการฆ่าตัดตอนเพื่อลดเป้าบัญชีดำ ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะตั้งข้อหาดำเนินคดีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ฐานเป็นผู้สนับสนุน โฆษณา หรือจูงใจ ปลุกเร้าให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ความรุนแรงนอกกฎหมาย ฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด


คณะองคมนตรีช่วงปี 2556
ต่อมาในวันที่ 8 เมษายน  2551 ได้มีการแต่งตั้ง พล.อ.สุรยุทธ์ อดีตนายกคมช.  นายศุภชัย ภู่งาม อดีตประธานศาลฎีกา และ นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ อดีตประธานศาลฎีกา เป็นองคมนตรวย
วันที่
6 เมษายน 2552 ชุดสืบสวนภูธรภาค 1 ได้ควบคุมตัวชายต้องสงสัย ขณะเดินอยู่ใกล้บ้านนายชาญชัย โดยผู้ต้องสงสัยสารภาพว่า ได้รับการติดต่อจ้างวานให้ลงมือสังหารนายชาญชัยภายในวันที่ 7 เมษายน 2552 โดยจงใจซัดทอดเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับพตท. ทักษิณ ชินวัตร ว่าอยู่เบื้องหลังการบงการลอบสังหารองคมนตรวยชาญชัย ต่อมาเรื่องก็เงียบหายไปเพราะไม่มีมูล

จรัญ ภักดีธนากุล



จรัญ ภักดีธนากุล
นายจรัญ ภักดีธนากุล จบนิติศาสตรจุฬาและเคมบริดจ์ อังกฤษ รับราชการเป็นผู้พิพากษา กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และเลขาธิการประธานศาลฎีกา ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2545  โดยเริ่มมีบทบาทในการแถลงข่าวแทนฝ่ายตุลาการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์การเมือง ภายหลังการเลือกตั้งส.ส.เมื่อเดือนเมษายน 2549 และกษัตริย์ภูมิพลสั่งศาลปกครองสูงสุดและศาลฎีกาให้เข้ามาแก้ไขวิกฤติการณ์
9 พฤษภาคม  2549 นายจรัญ เลขาธิการศาลฎีกาแถลงการประชุม 3 ศาลในตอนเช้า ว่าได้ข้อสรุปตรงกันว่าการเลือกตั้ง 2 เม.ย. 2549 ขัดรัฐธรรมนูญ พร้อมกับเสนอให้ กกต.ลาออก เปิดทางให้ใช้ รัฐธรรมนูญ ม.138 เพื่อสรรหากกต.ใหม่ทั้งชุด เพราะมีปัญหาว่ากกต.ที่เหลืออยู่ไม่เป็นที่ยอมรับ จะทำให้การเลือกตั้งใหม่ไม่ราบรื่น

  


จรัญกล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยซื้อเสียงหัวละพันบาท
15 ก.ค 2549  นายจรัญ ภักดีธนากุล เลขาธิการประธานศาลฎีกา กล่าวในการร่วมเสวนาที่สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย เรื่องสิทธิชุมชน ว่า ที่มาของผู้ทรงอำนาจรัฐ 16 ล้านเสียง แค่คูณด้วยเสียงละพันบาท มันก็เป็นเงินแค่  1.6  หมื่นล้านบาทเท่านั้นเอง  เป็นเศษเงินของฐานทุนที่กุมอำนาจรัฐ  เป็นสภาวะที่บกพร่องอยู่ในรัฐบริวารที่ลอกเลียนแบบมหาอำนาจ .. เท่ากับเป็นการกล่าวหาประชาชนที่เลือกพรรคไทยรักไทย 16 ล้านเสียง ว่าเป็นพวกขายเสียงรายละหนึ่งพันบาท จึงเป็นที่มาของฉายาจรัญพันบาทที่สะท้อนถึงจิตสำนึกที่ดูถูกประชาชนและเอียงข้างเผด็จการดักดาน นายจรัญย้ำว่า ฐานของกฎหมายต้องตั้งอยู่บนคุณธรรมจริยธรรมและมาตรฐานศีลธรรมของสังคมไทย  หากกฎหมายฉบับใดขัดแย้งกับหลักศีลธรรม กฎหมายฉบับนั้นเลวยิ่งกว่ากฎหมายที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ 


ถาวร เสนเนียม
18 เม.ย. 2549 นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคแมลงสาบเป็นโจทก์ฟ้อง กกต. ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. 2541 ว่าจำเลยจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่รอบ 2 เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2549 โดยเปิดรับสมัครใหม่ ทั้งที่ไม่มีอำนาจ และอนุญาตให้ผู้สมัครรายเดิมเวียนเทียนลงสมัครข้ามเขตได้ เพื่อช่วยให้ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยมีคู่แข่ง และจะได้เลี่ยงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องได้คะแนน 20% ขึ้นไป ทำให้การเลือกตั้งใหม่มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เป็นการกระทำความผิดที่ร้ายแรง เป็นปฏิปักษ์และเป็นภัยต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าศาลได้ยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เพราะเป็นเรื่องไร้สาระที่ไม่มีมูล




อำนวย ธันธรา
แต่พวกตุลาโกงก็ต้องหาเรื่องเอา กกต. เข้าคุกเพื่อปูทางสู่การล้มรัฐบาลให้ได้ โดยในวันที่ 25 กรกฎาคม  2549 นายอำนวย ธันธรา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาพิพากษาให้ตัดสิทธิการเลือกตั้งของ พล.ต.อ. วาสนา เพิ่มลาภ พร้อมกับนายวีระชัย แนวบุญเนียร และนายปริญญา นาคฉัตรีย์ เป็นเวลา 10 ปี และให้จำคุกเป็นเวลา 4 ปี ในคดีที่สมาชิกพรรคแมลงสาบฟ้องว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยไม่รอลงอาญา และไม่ให้ประกันตัว ทั้งๆที่เป็นการขัดรัฐธรรมนูญที่ห้ามจับกุมหรือคุมขัง กกต. ในระหว่างที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง  ทั้งนี้เพื่อสร้างวิกฤติไม่ให้มี กกต. ตามแผนการล้มรัฐบาลที่ประชุมกันที่บ้านนายปีย์ พร้อมกันนั้น นายอำนวย ธันธรา ยังได้แจ้งความ ดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมที่สนับสนุน กกต.ทั้ง 3 คนฐานละเมิดอำนาจศาลในสองวันต่อมา

ธนา เบญจาทิกุล
ในวันที่ 19 กันยายน 2549 นายอำนวย ธันธรา ยังได้แจ้งความจับนายธนา เบญจาทิกุล ทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีในข้อหาดูหมิ่นศาล กรณีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนพาดพิงการทำงานของศาลภายหลังมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว 3 อดีต กกต.
หลังการปล้นอำนาจของประชาชนเมื่อ 19 กันยายน 2549 ต่อมานายอำนวย ธันธราได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน คตส. ตามประกาศคณะปฏิกูลการปกครอง ฉบับที่ 30 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 เพื่อทำหน้าที่บดขยี้ ขุดรากถอนโคนนายกทักษิณ ตามแผนบันไดสี่ขั้นของกบฏคมช.  ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุก กกต. เมื่อวันที่ 24 เมษายน  2551 

แต่ในวันที่ 13 มิถุนายน 2556 ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เพราะพรรคแมลงสาบไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่มีอำนาจในการฟ้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่เห็นชัดเจนมาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ยังต้องดันทุรังทำตามแผนเพียงเพื่อล้มล้างรัฐบาลทักษิณให้ได้
หลังการปล้นอำนาจ 19 กันยายน 2549 คณะโจรปฏิกูลการปกครองได้แต่งตั้งนายจรัญเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549  และเป็นสมาชิกสภาร่างรัดทำมะนวย


สมชัย ศรีสุทธิยากรและพล.อ.สายหยุด เกิดผล
แห่งมูลนิธิองค์กรกลาง

วันที่ 3 ส.ค. 2550 มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิไตยได้จัดดีเบตโต้วาทีระหว่างฝ่ายที่สนับสนุน และฝ่ายคัดค้านร่างรัดทำมะนวย 2550 โดยนายจรัญ ภักดีธนากุล รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัดทำมะนวย ได้เสนอให้รับรัดทำมะนวย 2550 ไปก่อน เพราะเป็นความจำเป็นที่ต้องรีบให้อำนาจของของประชาชนกลับคืนมาอย่างราบรื่น ชัดเจน แน่นอน หลังจากนั้นก็สามารถแก้ไขมาตราเดียวแบบเดียวกับที่เริ่มร่างรัฐธรรมนูญ 2540 โดยนายจรัญยืนยันให้ลงประชามติรับร่างรัดทำมะนวยไปก่อน เพื่อจะได้ยุติอำนาจของคณะรัฐประหาร ให้คมช. สิ้นสภาพทันที แล้วค่อยแก้ไขมาตราเดียวแบบปี 2540 ให้มี สสร. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนขึ้นใหม่ เพียงแค่เสนอรายชื่อประชาชน 50,000 คน และ ส.ส.ในสภา 1 ใน 4 เท่านั้น แต่ถ้าไปลงประชามติล้มร่างรัดทำมะนวยแล้ว  คมช. กับ ครม. อาจจะหยิบร่างรัดทำมะนวยที่เฮงซวยที่สุดเอามาใช้แทนร่างรัดทำมะนวย 2550 นี้ ก็ได้ต่อมา16 พฤษภาคม 2551 นายจรัญได้รับเลือกจากวุฒิสภาให้เป็นตุลาการศาลรัดทำมะนวย

จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการรัดทำมะนวย
5 ก.ค.2555 นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัดทำมะนวย นั่งบัลลังก์ศาล ชี้แจงต่อผู้ถูกร้องจากพรรคเพื่อไทยว่า ในสมัยที่เขาเป็น ส.ส.ร.ปี 2550 นั้นเคยบอกว่าให้รับรัดทำมะนวย 2550 เพื่อให้พ้นจากระบอบปฏิวัติรัฐประหาร
แต่ถ้าจะแก้ไขรัดทำมะนวยก็ให้แก้ไขเพิ่มเติมได้ แต่ไม่ได้บอกว่าให้ยกร่างทั้งฉบับ


อักขราทร จุฬารัตน

อักขราทร จุฬารัตน
ดร.อักขราทร เกิด 2483 เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดคนแรกของประเทศไทย เมื่อ 21 ตุลาคม  2543 และพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปี เมื่อ 30 กันยายน  2553 และ นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ได้เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดแทนในวันที่ 1 ต.ค. 2553
ต้นตระกูลของนายอักขราทรคือ เจ้าพระยาบวรราชนายก หรือเฉกอะหมัด ขุนนางเชื้อสายเปอร์เซีย ในสมัยพระเจ้าประสาททอง เฉกอะหมัดเป็นมหาเศรษฐีผู้มีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาเฉกอะหมัด รัตนราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าและจุฬาราชมนตรีคนแรกของชาวมุสลิมแห่งประเทศไทย ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลท้ายคู กรุงศรีอยุธยา เฉกอะหมัดได้สร้างมัสยิดนิกายชีอะห์และสุสานมุสลิม ต่อมาได้ช่วยปราบพ่อค้าญี่ปุ่นที่ก่อการจลาจล จึงได้เลื่อนยศขึ้นเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม และในบั้นปลายได้เป็นเจ้าพระยาบวรราชนายกที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน   บุตรหลานของเฉกอะหมัดได้รับราชการมีชื่อเสียงและบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยตลอดมาเกือบ 400 ปี บุตรหลานได้แยกสายออกเป็นตระกูลใหญ่ๆ ทั้งที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามมากมายหลายตระกูล สมัยรุ่นพ่อของนายอักขราทรคือ นายเลิศ จุฬารัตน ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เพื่อความสะดวกในการขึ้นครองอำนาจ นายอักขราทรเป็นญาติกับพลเอกบังสนธิ ที่เป็นมุสลิมซุนนีย์ตามมารดาของตน หลังการรัฐประหาร  2549 นายอักขราทรได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานตุลาการรัดทำมะนวย  รับหน้าที่ยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิกรรมการบริหาร 111 คน เป็นเวลา 5 ปี
เมื่อ 30 พฤษภาคม 2550



ห้องพิจารณาคดีศาลโปกคลองสูงสุด
ที่ผ่านมา ศาลปกครองของนายอักขราทรมีบทบาทสำคัญในการขัดขวางแนวทางประชา ธิปไตยทุนนิยม เสรี เช่น มีคำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแปรรูปบริษัท กฟฝ.จำกัด (มหาชน) 2548 และกรณียกเลิกคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการเรื่องไอทีวี ในปี 2549 และรัฐบาลโจรสุรยุทธ์สั่งยึดไอทีวีโดยอ้างค่าปรับหนึ่งแสนล้านบาท แล้วเอามาเป็นสถานีของเครือเนชั่น โดยใช้เงินภาษีสรรพสามิตมาสนับสนุนการดำเนินกิจการ
คำวินิจฉัยของนายอักขราทร ให้ยุบพรรคไทยรักไทยตามประกาศคณะปฏิกูลฉบับที่
27 ที่ให้มีผลย้อนหลัง โดยนายอักขราทรอ้างว่า แม้หลักของกฎหมายไม่ให้มีผลย้อนหลัง แต่เป็นหลักกฎหมายเก่าที่สมควรจะต้องมีการพัฒนาให้เหมาะสม อีกทั้งการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งย่อมไม่ใช่โทษในทางอาญา หากแต่เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมาย เพื่อมิให้กรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบ ไปก่อความเสียหายแก่บ้านเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยชั่วระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นมาตรการที่เหมาะสมแก่การคุ้มครองประโยชน์ของความสงบสุข เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยดำรงอยู่ได้


นายนาม ยิ้มแย้ม



นายนาม ยิ้มแย้ม
นายนาม ยิ้มแย้ม ถือเป็นตุลาโกงในรุ่นธรรมศาตร์  2499 ที่มีบทบาทอีกคนหนึ่ง เป็นอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นประธานอนุกรรมการสอบสวนกรณีเทพเมือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคแมลงสาบกล่าวหาพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคการเมืองอื่นให้ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส. เมื่อ 2 เมษายน 2549  คณะอนุกรรมการชุดนายนาม มีมติให้ยุบพรรคไทยรักไทยและให้ดำเนินคดีกับคณะกรรมการบริหารพรรค ทั้งๆที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าห้ามจ้างคนลงสมัครและพรรคแมลงสาบก็มิใช่ผู้เสียเพราะพรรคแมลงสาบไม่ได้ส่งคนลงแข่ง ในขณะนั้นบรรดาสมาชิกพรรคไทยรักไทยกล่าวหานายนามว่า มีความสนิทสนมกับนายชวน หลีกภัย อดีตหัวหน้าพรรคแมลงสาบและนายเทพ เมือกสุบรรณ แต่นายนามออกมาปฏิเสธ กระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ศาลรัดทำมะนวยวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค นายนามได้รับแต่งตั้งจากคณะปฏิกูลการปกครองให้เป็นประธานกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส.เพื่อหาเรื่องยึดทรัพย์นายกทักษิณ

อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ขณะที่นายนาม ยิ้มแย้ม ในฐานะประธาน  คตส.ได้ช่วยเหลือนายอภิรักษ์ โกษะโยธินแห่งพรรคแมลงสาบในคดีการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างรถและเรือดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร (กทม.) มูลค่า
6,700 ล้านบาท โดยการปฏิเสธสำนวนการสอบสวนของอนุกรรมการคตส.ถึง 3 ครั้ง เป็นเหตุให้นายประเสริฐ บุญศรี ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานอนุกรรมการ เพราะไม่สามารถให้เหตุผลว่า ทำไมจึงไม่มีชื่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น อยู่ในกลุ่มผู้ร่วมกระทำผิด
ต่อมานายนาม ยิ้มแย้ม ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการ คตส.คดีรถและเรือดับเพลิงฯ ปรากฎว่า ผลการสอบสวนคดีนี้ยืดเยื้อ จนกระทั่งคตส.หมดวาระลงในวันที่ 30 มิถุนายน 2551



วิชา มหาคุณ
สำนวนคดีรถและเรือดับเพลิงฯ ส่งต่อให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.) พิจารณา ปปช.มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 กับสำนวนรถและเรือดับเพลิงฯที่มี นายวิชา มหาคุณ เป็นประธานอนุฯสอบสวน โดยผู้ร่วมกระทำผิดในคดีนี้มีชื่อนายอภิรักษ์พ่วงอยู่ด้วย
นายนาม ให้การว่า โจทก์ คือนายสมัคร บิดเบือนข้อเท็จจริงตามสัญญาเพื่อปกปิดความผิดของตนและหวังโยนความผิดให้กับนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งให้มาดำรงตำแหน่งต่อจากนายสมัคร ซึ่งได้ตกลงทำสัญญาในฐานะตัวแทนผู้ซื้อร่วมกับผู้ขาย ส่วนการเปิด Letter of Credit หรือคำสั่งซื้อจากธนาคารนั้น เป็นเพียงเงื่อนไขในการชำระหนี้ตามสัญญา นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งจึงจำเป็นต้องออก L/C ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา
คำให้การของนายนามทำให้เกิดข้อสงสัยหลายประการ เพราะนายนามไม่ได้อยู่ในคณะอนุกรรมการสอบข้อเท็จจริงและคณะอนุกรรมการไต่สวน ก็ยังไม่สรุปสำนวนทั้งหมดส่งให้นายนาม ส่วนนายอภิรักษ์ ก็เป็นคนของพรรคแมลงสาบ

ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
คดีนี้ย้อนไปตั้งแต่ปี 2547 จากการนำข้อมูลออกมาเปิดเผยโดย นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เมื่อครั้งยังอยู่ในสังกัดพรรคแมลงสาบ ด้วยข้อมูลที่มีการระบุว่า นายสมัคร สุนทรเวช ในสมัยดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ได้เซ็นลงนามซื้อขายเรือและรถดับเพลิงเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2547 ในขณะที่นายสมัครเป็นรักษาการผู้ว่าฯ กทม.ในวันสุดท้ายเพราะว่าในวันที่ 29 ส.ค. 2547 จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

โดยพรรคแมลงสาบส่ง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ต่อมานายอภิรักษ์ ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้เปิดแอลซี ตามที่ได้ลงนามสัญญาไว้ กับ บริษัท สไตเออร์ ทั้งๆที่ยังมีการร้องเรียนจากนายยุทธพงศ์อีกว่า การจัดซื้อรถดับเพลิงครั้งนี้ ยังคงมีราคาแพงผิดปกติ มีการเรียกรับสินบนของข้าราชการ กทม.
นายยุทธพงศ์ยื่นเรื่องต่อป.ป.ช.ในเดือน ต.ค.
2548 แต่เกิดรัฐประหาร จึงนำเรื่องไปให้คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ไปพิจารณา แต่คตส.ที่มี นายนาม ยิ้มแย้ม ได้พิจารณานานกว่า 1 ปีครึ่ง ก็ยังไม่จบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จึงรับเข้าเป็นคดีพิเศษและในเดือน ก.ค. 2549 ได้มีข้อสรุปพบความผิด เช่น มีการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิงมูลค่า 6,687 ล้านบาท จากราคาที่ซื้อขายจริงเพียง 3,000 - 3,500 ล้านบาทเท่านั้น จึงมีมติชี้มูลความผิดให้ ป.ป.ช.พิจารณา
คดีไปค้างอยู่ในชั้นอัยการอยู่
2 ปี ป.ป.ช.จึงฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกหาเรื่องนักการเมือง ขณะที่รถและเรือดับเพลิงที่ถูกส่งมาตั้งแต่ปี 2549 ต้องจอดทิ้งไว้แล้วประมาณ 7 ปี จนเสื่อมสภาพจนไม่น่าจะใช้การได้ จะต้องเสียงบประมาณในการซ่อมแซมก่อนนำมาใช้ โดยผู้บริหารบริษัทสไตเออร์ฯ ยืนยันว่า ผลของสัญญา เกิดขึ้นจากการเปิดแอลซีหรือคำสั่งซื้อผ่านธนาคารของนายอภิรักษ์ ทั้งๆที่ได้มีการทักท้วงจากกรรมการทบทวนสัญญา แต่เมื่อมีการเปิดแอลซีจึงทำให้สัญญามีผลสมบูรณ์และมีเหตุให้ส่งสินค้า ซึ่งเป็นสินค้าที่ผิดไปจากมติ ครม. โดยผู้ขายในประเทศออสเตรียไปเลือกว่าจ้างบริษัทจากประเทศอื่นให้ประกอบและผลิตแทน อีกทั้งไม่เป็นการซื้อแบบการค้าต่างตอบแทนตามมติ ครม. การเปิดแอลซีถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด คือ การให้อำนาจธนาคารสั่งจ่ายเงินค่าสินค้าตามเอกสารการส่งมอบ ถ้าไม่มีการเปิดแอลซี ก็จะไม่มีการส่งมอบ นอกจากนี้ยังสามารถระบุเงื่อนไขที่ผู้ซื้อต้องการไว้ในแอลซี


ประชา มาลีนนท์ และอธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ
ต่อมาเมื่อวันที่
10 ก.ย. 2556 ศาลฎีกาแผนกหาเรื่องนักการเมือง ได้พิพากษาจำคุกนาย ประชา มาลีนนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย 12 ปี พล.ต.ต. อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. 10 ปี ส่วน นายโภคิน พลกุล นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรคแมลงสาบ อดีตผู้ว่ากทม.ให้พ้นข้อกล่าวหา ทั้งๆที่นายอภิรักษ์เป็นคนที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย แต่กลับไม่มีความผิดเพราะว่าเป็นคนของพรรคแมลงสาบซึ่งเป็นเครือข่ายของระบอบนิยมกษัตริย์นั่นเอง

สัก กอแสงเรือง


นายสัก กอแสงเรืองเป็นอดีตนายกสภาทนายความ อดีตเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา เป็นกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตามประกาศคณะปฏิกูลการปกครอง นายสัก ทำหน้าที่อย่างขมักเขม้น รับใช้กบฏ คมช. อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ตามล้างตามเช็ด นายกทักษิณอย่างเต็มที่  ด้วยข้ออ้างว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า นายกทักษิณ มีการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร่ำรวยผิดปกติ แต่นายสักเองก็เคยโดนกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเมื่อปี 2527 เป็นเงิน 4 แสนบาท แต่นายสัก ได้ยื่นฟ้องกรมสรรพากร แต่ทั้งสามศาลพิพากษายกฟ้อง ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 373/2532 ให้นายสักแพ้คดี ต้องชำระภาษีเพิ่มพร้อมทั้งเบี้ยปรับตามกฎหมายให้กับกรมสรรพากร
นายสัก ยังถูกฟ้องคดีจากนางอัญชลี กองอำนวยสุข ซึ่งเป็นลูกความของนายสักเอง ตามคำพิพากษาคดีแดงที่ 2078 / 2550 ของศาลแพ่งธนบุรี ลงวันที่ 17 กันยายน 2550 ให้นายสัก ผิดจริยธรรม มารยาทอาชีพทนายความ และผิด พ.ร.บ.ทนายความ 2475 จากการที่นายสักเป็นทนายความไปทำสัญญากับลูกความในลักษณะที่ตนเองเข้าไปมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดี เป็นการเรียกร้องค่าจ้างที่เป็นส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก มีลักษณะหาผลประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน ถือเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาจึงตกเป็นโมฆะ นายสักได้ฟ้องเรียกค่าทนายจากลูกความของตนเองเป็นเงินถึง 6 ล้านบาทโดยยึดเอาโฉนด 8 แปลง และบังคับให้ลูกความขายโฉนดทั้ง 8 แปลง มาจ่ายค่าทนายความ แต่ศาลแพ่งธนบุรีพิพากษายกฟ้องให้นายสักคืนโฉนดทั้ง 8 แปลง ให้แก่ลูกความ
รายได้ของนายสักมาจาก 2 แห่งคือเงินเดือน ส.ว. ปีละประมาณ 1.3 ล้าน และเงินจากวิชาชีพทนายความราวปีละ 1.8 ล้าน  ดอกเบี้ยปีละราวแสนบาท รวมๆ แล้วมีรายได้ปีละ 3.39 ล้านบาท   แต่นายสักมีที่ดิน 42 แปลง มูลค่า 52.7 ล้านบาท ในหลายจังหวัด นายสักและนางชุลี ภรรยามีทรัพย์สินรวมกว่า 90 ล้านบาท นายสักไปกล่าวหาว่านายกทักษิณร่ำรวยผิดปกติ ทั้งๆที่คุณทักษิณทำธุรกิจ รวยมาก่อนแล้ว แต่นายสักซึ่งเป็นแค่ทนายที่ทำงานให้พวกเผด็จการกลับมีทรัพย์สินที่แจ้งต่อปปช.ถึง
90  กว่าล้านบาท
นายสักได้เป็น ส.ว.ลากตั้งโดยคมช. ในปี 2554

เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
แต่กกต.มีมติ ให้นายสัก กอแสงเรือง พ้นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555  ฐานผิดรัดทำมะนวย พร้อมเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 5 ปี และดำเนินคดีทางอาญากับ นายสัก และองค์กรที่เสนอชื่อ ตามการร้องคัดค้านของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ที่ระบุว่า นายสัก ขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ว. ตามรัดทำมะนวยมาตรา 105 (9) ที่ห้ามผู้พ้นจากการดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ถึง 5 ปี เป็น ส.ว. เนื่องจาก นายสัก เคยเป็นส.ว. จนถึงวันที่ 21 มี.ค. 2549 และสภาทนายความได้เสนอชื่อ นายสัก กอแสงเรือง เป็น ส.ว.สรรหา เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ปี 2554 จึงยังไม่ครบกำหนด 5 ปี กกต. จะได้ทำคำวินิจฉัยเสนอศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง
ต่อมาเมื่อวันที่
1 สิงหาคม 2555 ศาลฎีกาแผนกเลือกตั้งได้สั่งเพิกถอน นายสักออกจาก สว.สรรหา ตามมติของ กกต. เนื่องจากนายสักหลุดจากการเป็นส.ว.ครั้งแรกไม่ถึง 5 ปี  ทั้งๆที่สภาทนายความซึ่งคัดสรรส่งชื่อนายสักให้คณะกรรมการสรรหาก็ล้วนเป็นนักกฎหมายชั้นยอด
นายสัก เป็น ส.ว. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการคตส.เช่นเดียวกับ นางจารุวรรณ เมณฑกา เมื่อพ้นจากการเป็นคณะกรรมการ คตส. ก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาทนายความ และต่อมาเมื่อมีการพิจารณา ส.ว.สรรหาจำนวนหนึ่งตามข้อกำหนดของรัดทำมะนวย
2550 สภาทนายความก็เลือก นายสัก กอแสงเรือง ให้เข้าสู่กระบวนการสรรหาอันประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง ประธานศาลรัดทำมะนวย เป็นต้น รวม 6 คน แต่ขาดประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเพราะนางจารุวรรณ อยู่ระหว่างการพิจารณาว่ายังดำรงตำแหน่งนี้อยู่หรือไม่



พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส
ขณะที่การเข้ามารักษาราชการของ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถอยู่ในองค์คณะของคณะกรรมการสรรหาหรือไม่ ดังนั้นถ้าดูตามรัดทำมะนวยแล้วถือว่ากรรมการสรรหาไม่ครบองค์คณะเท่ากับว่าการสรรหา ส.ว.70 กว่าคน ในครั้งนั้นต้องเป็นโมฆะทั้งหมด
แต่ในการประชุมคณะกรรมการสภาทนายความวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ยังคงมีมติ ให้ส่งนายสัก  เข้ารับการสรรหาเป็นส.ว. ในปี  2555 อีกครั้งหนึ่ง โดยอ้างว่าคำสั่งของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งยังมีความคลาดเคลื่อน อีกทั้งคำสั่งเพิกถอนการสรรหาเป็นโมฆะ เท่ากับว่านายสัก มิได้เป็นส.ว.มาตั้งแต่ต้น นายสัก จึงนำเงินเดือนส.ว.ทั้งหมดที่ได้รับ มาส่งคืนแก่วุฒิสภาแล้ว


ประสาร มฤคพิทักษ์ สว.ลากตั้งแกนนำ 40 สว.
ทั้งนี้สภาทนายความเห็นว่า นายสักเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีความซื่อสัตย์ สุจริต ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะด้วยดีเสมอมา มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม จึงเหมาะสมที่จะได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา แต่กรรมการสรรหาได้เลือกนายประสาร มฤคพิทักษ์ เป็นส.ว.สรรหาภาควิชาชีพ จากองค์กรสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย แทนนายสัก กอแสงเรือง
1 มิ.ย. 2555 คณะกรรมการสรรหากรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ได้เสนอให้ นายสัก นายกสภาทนายความ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสรรหาทดแทนผู้ที่จะครบวาระ
4 มี.ค. 2556 นายสัก กอแสงเรือง ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยโดยมีนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ อดีตเลขาธิการสมาคมฯ ขึ้นเป็นนายกสมาคมฯคนใหม่

นางจารุวรรณ เมณฑกา 


นางจารุวรรณมีชื่อเล่นว่า เป็ด เป็นอดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและอดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
นางจารุวรรณปฏิเสธไม่ยอมออกจากตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินหลังจากศาลรัดทำมะนวยวินิจฉัยว่ากระบวนการสรรหาของนางไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ชี้สถานภาพของนางจารุวรรณว่า เมื่อผ่านการสรรหามาไม่ชอบด้วยรัดทำมะนวย จะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ อย่างไร และในขณะที่นางจารุวรรณถือว่า ตนเองยังอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และมีหลายฝ่ายออกมาท้วงติงว่า ไม่สมควรจะมีการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ให้มาทับซ้อนกับคนเดิม คือนางจารุวรรณ แต่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินก็ไม่ฟัง ยังเดินหน้าสรรหาต่อจนได้ นายวิสุทธิ์ มนตริวัต ซึ่งส.ว.เสียงส่วนใหญ่เกิน 100 คนก็ลงมติเห็นชอบ แต่นายวิสุทธิ์ ได้ยื่นหนังสือขอถอนตัวจากการได้รับเสนอชื่อให้เป็นผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพราะนางจารุวรรณไม่ยอมออกจากตำแหน่ง
ก่อนหน้านั้นนางจารุวรรณสวมบทบาท ทั้งเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเป็นผู้ใช้อำนาจ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ( ค.ต.ง ) อย่างเบ็ดเสร็จ จากคำสั่งของคณะปฏิกูล ที่ให้ยุบ ค.ต.ง. แล้วตั้งให้นางจารุวรรณเป็นผู้ใช้อำนาจแทนคณะกรรมการ
10 คนที่ถูกยุบไปแต่เพียงผู้เดียว ทำให้นางจารุวรรณมีอำนาจเบ็ดเสร็จเพียงคนเดียว
นางจารุวรรณถูกกล่าวหาว่าจ้างบุตรชายตนเองเป็นเลขานุการส่วนตัว ทั้งยังใช้เงินหลวงกว่าสามล้านบาท พาพวกพ้องและบุตรหลานไปเที่ยวยุโรป ถึง 40 คน
ยังมีกรณีทำสัญญาอำพราง ว่าจ้าง
จัดการอบรมสัมมนาเจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดิน  9 รุ่น โดยที่บริษัทออดิต แอนด์ แมเนจเม้นท์ ได้จ่ายเงินให้แก่ นางจารุวรรณและสามี คือนายทรงเกียรติ  เป็นค่าเช่าอาคารพาณิชย์ของสามีนางจารุวรรณ ทั้งๆที่เป็นอาคารร้าง ปิดเงียบ ไม่มีการเข้าไปอยู่จริง
จากการตรวจสอบยังได้พบว่า บริษัทนี้ มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 6.4 ล้านบาท เป็น 10.9 ล้านบาท ในปี 2548 ถึงปี 2549 จากการจัดสัมมนาในช่วงที่นางจารุวรรณ ได้กลับเข้ามาเป็นผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินอีกครั้ง เมื่อ 31 มกราคม 2549

ปัญญา ตันติยวรงค์
ครั้งแรกที่นางจารุวรรณ เมณฑกา เข้ารับตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน     แต่หลังจากมีกระบวนการสรรหาแล้ว นายประธาน ดาบเพชร ได้รับเลือกเข้ามาเป็นผู้ว่าการ แต่นางจารุวรรณอ้างพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้รักษาการฉบับเดิม และสร้างกระแสว่าเป็นขับไล่นางจารุวรรณออกจากตำแหน่ง ทำให้คณะกรรมการสรรหาไม่กล้าส่งชื่อนายประธาน ดาบเพชรไปให้วุฒิสภารับรอง แต่กลับเสนอรายชื่อ นางจารุวรรณ เมณฑกา และนายนนทพล นิ่มสมบูรณ์ ร่วมกับชื่อของนายประธาน ดาบเพชร ทั้งๆที่ คตง.ได้ลงมติเลือกนายประธาน ดาบเพชร ด้วยคะแนนสูงสุด 5 คะแนน เกินกึ่งหนึ่งจึงมีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเพียงคนเดียว  ในที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษาเมื่อ 10 เมย. 2556 ให้นายปัญญา ตันติยวรงค์ อดีต ประธาน คตง. มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 กรณีเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2544 จากการเสนอชื่อนางจารุวรรณ โดยให้จำคุก 3 ปี และ ปรับ 20,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี

กล้านรงค์ จันทิก


นายกล้าณรงค์ จันทิกเป็นอดีตเลขาธิการป.ป.ช. และได้รับการแต่งตั้ง เป็นกรรมการ ปปช.จากประกาศคิกูลการปกครอง และได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัดทำมะนวย 2550
นายกล้านรงค์เคยเป็นสมาชิกยุวแมลงสาบ และในปี 2518 ได้ทำหน้าที่เลขานุการส่วนตัว มรว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี แห่งพรรคแมลงสาบ
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
ต่อมาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นตั้งแต่นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส.ฝ่ายค้าน พรรคความหวังใหม่ยื่นเรื่องต่อป.ป.ช.ให้ดำเนินการตรวจสอบสัญญาการกู้เงินระหว่าง พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์รองนายกและรัฐมนตรีมหาดไทยขณะนั้นกับ บริษัทเอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำนวน 45 ล้านบาท เมื่อปลายปี 2542 หลังจากนั้นสามเดือน ป.ป.ช. มีมติว่า พล.ต. สนั่น จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเป็นเท็จ  เพียงเพื่อเอาพล.ต. สนั่นออกจากตำแหน่ง แต่ปปช.ไม่ได้ติดตามสอบต่อไปถึงพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติของพล.ต.สนั่น ที่เป็นที่ทราบกันดี

สมัยที่นายกล้านรงค์เรียน วปอ. รุ่น 36 ปี 2536 ได้ลอกวิทยานิพนธ์ของนายชิดชัย พานิชพัฒน์ นักศึกษาวปอ. รุ่น 22 ปี 2533 โดยเปลี่ยนตัวหนังสือไม่กี่ตัว
นายกล้านรงค์ ยังได้จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินโดยปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดยเมื่อเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการ ป.ป.ช. ปี 2543 มิได้ยื่นรายการทรัพย์สินของนางพันทิพาคู่สมรสที่เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทภานันทน์จำกัดตั้งแต่ปี 2532 และมีหุ้นอยู่ในวันยื่นบัญชี และเมื่อพ้นจากตำแหน่ง เมื่อปี 2546 ก็มิได้ยื่นรายการทรัพย์สินของนางพันทิพาคู่สมรสซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท ภานันท์ จำกัด ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บูลเบิร์ด เทคโนโลยี จำกัด ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 45 / 1-2 ซอยอารีสัมพันธ์ 3 ซึ่งเป็นบ้านที่ นายกล้านรงค์ กับนางพันทิพา อาศัยอยู่ด้วยกันจนทุกวันนี้   แสดงให้เห็นว่า นายกล้านรงค์จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จแล้วยังลอยหน้าลอยตา ปล่อยให้ภริยาใช้บ้านพักของตนเอง เป็นสถานที่ประกอบการค้า  อันเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ปปช. 2542 มาตรา 41 ซึ่งจะต้องพ้นจากการเป็นกรรมการปปช. ตั้งแต่วันที่พบการกระทำผิด และเป็นความผิดตามมาตรา 119 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน


เสวก ปิ่นสินชัย
คนที่ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อให้ นายกล้านรงค์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ก็คือ พล. ต.ต. ดร. เสวก ปิ่นสินชัย อดีตหัวหน้าพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เจ้าของรายการมวยไทยศึกอัศวินดำ ทางสถานีโทรทัศน์อสมท.ช่อง 9

นางยมนา สุธาสมิธ ร้องเรียนผ่านทางยูทูบ
เมื่อวันที่
16 มิถุ นายน 2556 ได้มีการโพสต์คลิป ทวงหนี้ กล้านรงค์ บนยูทูบ เป็นภาพนางยมนา สุธาสมิธ เรียกร้องให้ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป.ป.ช. และ นางพันทิพา จันทิก ภรรยา ออกมารับผิดชอบกรณีที่นางพันทิพายืมโฉนดที่ดินของนางยมนาไปกู้ธนาคาร โดยสัญญาว่า จะตีเช็คให้ 1.9 ล้านบาท ซึ่งนางยมนามีการทวงถามตลอด แต่ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่ต้องห่วง ไม่โกงแน่นอน เพราะนายกล้านรงค์เป็นเลขาธิการ ป.ป.ช. ย่อมต้องกลัวเสียชื่อ กำลังจะขายโรงเรียนให้ชาวต่างชาติ แล้วนำโฉนดมาคืนให้ แต่หลังจากนั้น 7 ปี  ธนาคารโทรมาบอกว่านางพันทิพา กู้เงิน 1.9 ล้านบาท และได้ทำโอดีเพิ่มอีก 3 แสนบาท ตนยังทราบอีกว่า นางพันทิพาถ่ายรูปที่ดินเป็นตึกสามชั้นไปยื่นเรื่อง แต่ที่ของนางยมนาเป็นที่ว่างเปล่า และต่อมาถูกขายทอดตลาดแล้ว ทำให้เงินในบัญชีนางยมนาถูกอายัดและถูกฟ้องล้มละลาย



กล้านรงค์-พันทิพา พ่อตัวอย่างปี 2554
นางยมนาจึงต้องนำเงิน 300,000 บาท จ่ายให้ธนาคารถอนฟ้องชั่วคราว ให้เวลานายกล้านรงค์ และนางพันทิพา รับผิดชอบ แต่นางยมนาถูกพิพากษาให้ล้มละลายในปี 2553 และธนาคารตามมายึดทรัพย์สิน จึงต้องออกมาเรียกร้องให้ทั้งคู่แสดงความรับผิดชอบโดยเร็ว พร้อมกับนำรูปเช็คเงินสดมาแสดงให้สาธาณชนได้เห็น เมื่อครั้งนายกล้านรงค์เป็นเลขาธิการ ป.ป.ช. ก็มีใบปลิวโจมตีเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง
วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 นายกล้านรงค์ได้ปฏิเสธว่าไม่เคยนำโฉนดของนางยมนามากู้หนี้ยืมสินแต่อย่างใด แต่นางยมนาเป็นคนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและทำสัญญาจำนองโดยนำโฉนดที่ดินมาค้ำประกันด้วยตนเอง และมีการเบิกเงินเกินบัญชีเรื่อยมา จนกระทั่งมีการฟ้องร้องนางยมนา และศาลได้พิพากษา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ให้นางยมนาชดใช้เงินประมาณ 2 ล้านบาท ภรรยาตนไม่เคยทำธุรกิจกับนางยมนา ขณะนี้ตนได้มอบหมายให้ทนายความศึกษาข้อเท็จจริงและหากจำเป็นจะดำเนินคดีเพื่อรักษาชื่อเสียงของตนเอง ถ้าสิ่งที่นางยมนากล่าวหาไม่มีมูลความจริง ทำไมนาย กล้านรงค์ถึงไม่รีบฟ้อง แต่ถ้าจริงก็ต้องถือว่ามีความผิดหนักมาก ในการที่เอาโฉนดที่ดินของผู้อื่นไปจำนอง ทั้งๆที่มิได้มีลายเซ็นยินยอม แสดงว่าคงต้องมีการปลอมแปลงเอกสาร ดังนั้นนายกล้านรงค์ก็คงได้แต่ปฏิเสธไปเรื่อยๆ แล้วหาทางไปไกล่เกลี่ยกันเงียบๆ

นายแก้วหน้าม้า



ขวัญสรวง (ซ้าย) และ แก้วสรร (ขวา)
นายแก้วสรร เป็นคู่แฝดกับ นายขวัญสรวง อติโพธิ บิดาคือ นาย ศิริ อติโพธิ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม, ประธาน ปปป.
หลังการรัฐประหารปี 2549 นายแก้วสรรได้รับการทาบทามจากคณะปฏิกูลการปกครองให้เป็นป.ป.ช. แต่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของคณะปฏิกูลแย้งว่านายแก้วสรรไม่ได้เป็น
ศาสตราจารย์
ขวัญสรวง อติโพธิประธานทีพีบีเอส
แถลงข่าว 15 มค.2551
ต่อมาคณะปฏิกูลได้แต่งตั้งนายแก้วสรรเป็นกรรมการ คตส. ขณะที่รัฐบาลโจรสุรยุทธ์ ได้แต่งตั้งนายขวัญสรวงให้เป็นประธานกรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย (TPBS) ที่ยึดมาจากสถานีไอทีวี
นายมีชัย ฤชุพันธ์ นักกฎหมายรับใช้พวกเผด็จการ ได้วางแผนตั้งค.ต.ส. ขึ้นมาเป็นพนักงานสอบสวนพิเศษ เพื่อทำสำนวนส่งให้อัยการฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกหาเรื่องนักการเมืองเป็นผู้ตัดสิน  ทำให้ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยค.ต.ส.ที่เป็นปรปักษ์กับนายกทักษิณ ชี้ว่ามีความผิด ตามกฎหมายป.ป.ช. มาตรา
100  ทั้งๆที่ ป.ป.ช.เคยมีมติว่า ไม่เป็นความผิดที่ต้องขึ้นศาลฎีกาแผนกเล่นงานนักการเมือง แต่ ค.ต.ส.จงใจฟ้องนายกทักษิณต่อศาลฎีกาแผนกเล่นงานนักการเมืองด้วยข้อหาว่าเป็นเจ้าพนักงานกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ทั้งๆที่ศาลยกฟ้องคดีประมูลซื้อที่ดินรัชดาทุกข้อหา

แก้วสรร อติโพธิ และวสิษฐ เดชกุญชร
วันที่ 16 พ.ค. 2556 พล.ต.อ. วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) นายขวัญสรวง อติโพธิ  อดีต ส.ว. กทม.  ร่วมกันแถลงข่าวปรากฏการณ์ไทยสปริง (Thaispring)  หรือดอกบัวแห่งการตื่นรู้  เพื่อปฏิเสธการบริหารงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยกล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลเพื่อพวกพ้องและเป็นเผด็จการเสียงข้างมาก ขาดความชอบธรรมในการปกครองประเทศ เพราะว่ามีนายกฯ อีกคนคอยเชิดอยู่เบื้องหลัง สั่งการตลอดเวลา พยายามแก้ไขและย่ำยีรัดทำมะนวย 2550 ถึงขั้นให้ลูกน้องไปขู่ฆ่าศาล พยายามจะแก้รัดทำมะนวยและออกกฎหมายเพื่อล้างผิดให้พวกของตนเอง
นายแก้วสรรอ้างว่าพวกตนต่อต้านทรราชย์เสียงข้างมาก ทั้งๆที่นายแก้วสรรเองทำงานรับใช้เผด็จการทหารที่ปล้นอำนาจของประชาชน ทำให้ประเทศชาติถดถอย สร้างความเสียหายจนประเมินค่ามิได้ และส่งผลถึงปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมืองมาจนถึงทุกวันนี้
มีคนตั้งข้อสังเกตว่านายแก้วสรรคงมีชนักติดหลังตั้งแต่ครั้งก่อสร้างศูนย์กีฬาธรรมศาสตร์รังสิต เมื่อสมัย ที่นายแก้วสรรดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ทำให้นายแก้วสรร จำเป็นต้องยอมขายวิญญาณเป็นสมุนรับใช้ฝ่ายเผด็จการเพื่อให้คุ้มครองตนเอง เพราะผลกรรมชั่วที่ทำไว้เริ่มปรากฏหลังจากการสร้างศูนย์กีฬาธรรมศาสตร์รังสิต


นายนพดล ธรรมวัฒนะฟ้องแพทยสภา
ให้ตรวจสอบจริยธรรมหมอพรทิพย์ โรจนสุนันท์
เหมือนอย่างที่นางพรทิพย์ โรจนสุนันท์ต้องเข้าไปพึ่งบารมีเปรมิกาเพื่อขอให้ช่วยเจรจากับนายนพดล ธรรมวัฒนะมิให้ฟ้องร้องตนธิกรณีที่ไปกล่าวหาว่านายนพดลก่อคดีสังหารนายห้างทองผู้เป็นพี่ชาย เมื่อเปรมิกาเรียกนายนพดลมาใกล่เกลี่ย นางพรทิพย์จึงต้องหันมารับใช้เปรมิกาเป็นการตอบแทน

แก้วสรร อติโพธิ
นายแก้วสรร ได้ประสานมือพันธมาร รวมกันเข้าเป็นเครือข่ายพลเมืองคัดค้านนิรโทษกรรมคอร์รัป ชั่นทักษิณ (คนท.) ได้ยื่นหนังสือ ต่อวุฒิสภาให้ติดตามการทำ งานของป.ป.ช., อัยการสูงสุด และตลาดหลักทรัพย์ หลัง คตส.ส่งเรื่องจากการตรวจ สอบคดีความของคุณทักษิณ ให้พิจารณาต่อ รวมถึงคดีภริยา  บุตร และ น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้การเท็จต่อ คตส. และเบิกความเท็จต่อศาลฎีกา อันเป็นคดีข้างเคียงจากที่ศาลฎีกาแผนกหาเรื่องนักการเมือง ชี้ขาดในคดียึดทรัพย์ ว่าพ.ต.ท.ทักษิณ หลีกเลี่ยงกฎหมายโดยใช้ชื่อบุตร และน้องสาวถือหุ้นชินคอร์ปแทน
ก่อนการเลือกตั้ง 4 กรกฎาคม 2554  นายแก้วสรร จงใจเล่นงานนส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ตายคามือ โดยกล่าวหาว่า น้องสาวคุณทักษิณ ให้การเท็จในคดีซุกหุ้น ภาค 2  ยิ่งกว่านั้นนายแก้วสรร เขียนบทสัมภาษณ์แบบ ถามเองตอบเอง
โดยตั้งประเด็นน่าหวาดเสียวว่า  ถ้าประชาชนต้องการ พรรคที่เอาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็ให้เลือกพรรคแมลงสาบ ถ้าประชาชนต้องการ พรรคที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่เอาสถาบันกษัตริย์ เป็นเพียงสัญลักษณ์และพร้อมจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ก็ให้เลือกพรรคเพื่อไทย
แต่ในที่สุดเมื่อ
4 ก.ค. 2554 ประชาชน 15 ล้านคนก็เลือกพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล 
และเลือกให้พรรคแมลงสาบไปเป็นฝ่ายค้าน


อดีตนายกทักษิณโฟนอิน เวทีรำลึก 3 ปีราชประสงค์
ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม 2556 เวลา 20.30 น. คุณทักษิณได้สไกป์มายังเวทีคนเสื้อแดง ที่แยกราชประสงค์ ในการชุมนุมรำลึกเหตุการณ์ 3 ปี กล่าวถึงการที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปพูดเรื่องประชาธิปไตยที่มองโกเลีย ปรากฏว่ามีบางคนออกมาเต้นกันใหญ่ โดยเฉพาะหัวหน้าพรรคแมลงสาบ แล้วก็มีนายตำรวจแก่ๆ ที่กระเด็นจากวังมาสมัยก่อนซึ่งก็คือพล.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร มีอีกคนเป็นอดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งหมายถึงนายแก้วสรรที่หวังเกาะเผด็จการ หวังมีอำนาจ ออกมาตั้งกลุ่มไทยสปริง เลียนแบบอาหรับสปริง แต่ที่แท้เป็นปลิงที่เกาะดูดเลือดคนไทย ใครอย่าไปบอกว่าเป็นลูกศิษย์แก้วสรร อติโพธิ อายเขา นายแก้วสรรเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ตอนคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีก็เคยมาหา บอกว่าจะพาบริษัททำน้ำมาคุย แต่นายกทักษิณไม่ได้ให้ความสนใจ

สุเมธ ตันติเวชกุล


สุเมธ ตันติเวชกุล วชิราวุธ 2498
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เกิด 2482 เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้กษัตริย์ภูมิพลอย่างใกล้ชิด นับเป็นบุคคลสำคัญของป้อมค่ายฝั่งอนุรักษ์นิยมกษัตริย์ เคยเรียนที่เวียดนาม จบปริญญาเอกและมีประสบการณ์ที่ฝรั่งเศส ก่อนจะกลับมาลุยงานต่อสู้คอมมิวนิสต์ และคุมโครงการในพระราชดำริ เป็นคนขยันขันแข็ง ทำงานไม่หยุด แม้อายุจะเลยวัยเกษียณมาแล้วก็ตาม แสดงความเป็นคนใกล้ชิดและโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กษัตริย์ภูมิพลรวมทั้งการเทศนาสอนสั่งในฐานะที่เป็นผู้อาวุโสที่เป็นคนดีมีคุณธรรมที่มีต้นทุนทางสังคมสูงที่ใครจะไปตั้งข้อสงสัยหรือวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ เพราะอาจเป็นการกระทบถึงกษัตริย์ภูมิพล
นายสุเมธเข้าเฝ้าเรื่องน้ำที่วังไกลกังวล 2 กพ.2552
จึงทำให้คนอย่างนายสุเมธได้ลอยหน้าลอยตา ทำหน้าตาเคร่งขรึมเข้ามามีบทบาทสำคัญในทางสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะด้วยความเกรงใจหรือเกรงกลัวก็ตาม เพราะการอาบน้ำร้อนมาก่อน ที่เพียบพร้อมไปด้วยประสบการณ์ เส้นสายและการอุปถัมภ์ ดลบันดาลให้นายสุเมธเป็นเสมือนตัวแทนหรือร่างเงาของกษัตริย์ภูมิพลที่เข้าไปเสนอหน้าในการแก้ปัญหาตั้งแต่ระดับเล็กๆ ไปจนถึงปัญหาระดับชาติ ในฐานะคนดีและผู้อาวุโสที่ไม่ควรต้องตรวจสอบหรือต้องมีการตั้งคำถาม แม้มันจะขัดกับวิถีทางของสังคมประชาธิปไตย เพราะนายสุเมธเป็นคนดีที่ทำงานเพื่อแผ่นดินหรือทำเพื่อพระเจัาแผ่นดิน ถ้าสงสัยหรือไม่มั่นใจในตัวนายสุเมธก็เท่ากับสงสัยหรือไม่แน่ใจในตัวกษัตริย์ภูมิพล ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่เหนือการวิพากษณ์วิจารณ์ ในโอกาสที่ครบ 6 รอบหรือ 72 ปี วันเกิดของนายสุเมธใน วันที่ 26 สิงหาคม 2554 ในหนังสือ 72 ปี ประสบการณ์ หลักคิด และแรงบันดาลใจ ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ที่จัดทำโดยคณะทำงานมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นางประสานสุขหัวหน้าห้องครัวไทยวังจิตรลดา
นายสุเมธเล่าว่าตนถือกำเนิดในตระกูลอำมาตย์โบราณที่เคยเป็นเจ้าเมืองและคหบดีเมืองเพชรบุรี มารดาคือ ท่านผู้หญิงประสานสุข ตันติเวชกุล ที่ทำงานเป็นแม่ครัวในวังสวนจิตรลดา ขณะที่บิดาคือ อารีย์ ตันติเวชกุล อดีตสส.นครราชสีมา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลสฤษดิ์และถนอม พ่อและแม่ของนายสุเมธแยกทางกันอยู่ตั้งแต่เขายังอายุ 5 ปี เขาจึงมีแม่เป็นหลัก และยอมรับว่าตนเองมีกิริยามารยาทเป็นแบบผู้หญิง เพราะถูกแม่สอนมาตลอด เดินดังก็ไม่ได้ต้องโดนแม่เอ็ด

เมื่อขาดโดม เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์
ก็ขาดสัญลักษณ์พิทักษ์ธรรม



สุเมธ แถลงงานจัดงานวชิราวุธ100 ปี 16ตค.2553
เมื่อนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นนายก สภา มหา วิทยาลัย ธรรมศาสตร์อีกตำแหน่ง ได้ไปงานรวมศิษย์เก่าวชิราวุธ แล้วก็เล่าเรื่องที่ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตของเขา คือผลงานเรื่องย้ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปที่รังสิต เมื่อได้มานั่งเป็นนายกสภามหาลัยธรรมศาสตร์ และเรื่องที่เขาต่อสู้กับพวกคอมมิวนิสต์ที่อยู่ตามป่าเขามาอย่างสาหัสสากรรจ์ โดยเฉพาะช่วง
6 ตุลา 2519 และทุกวันนี้ก็ยังต่อสู้อยู่ โดยยังจำได้ดีว่าเพื่อนสนิทของเขาเคยโดนสุรชัย แซ่ด่านเอาปืนจ่อหัว


ป๋วย อึ๊งภากรณ์และปรีดี พนมยงค์ ที่ฝรั่งเศส
ในยุค
14 ตุลา คม 2516 จนถึง 6 ตุลาคม 2519 ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนของการต่อสู้ ที่มีกลิ่นไอของเสรีภาพทุกตารางนิ้ว เป็นแหล่งรวมศูนย์ของนักกิจกรรม นักศึกษา ปัญญาชน ชาวนา กรรมกร มาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรม จนจบลงด้วยการสังหารหมู่โดยฝ่ายขวาในวันที่ 6 ตุลาคม 2519

สุเมธในงานวันสัญญาธรรมศักดิ์ 5 เมย.2551
จนล่วงมาถึงวันเวลาที่ฝ่ายขวาสุดโต่งอย่างนายสุเมธได้เป็นนายก สภา มหา วิทยาลัย ซึ่งมีอำนาจสูงสุดของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ แล้วย้ายธรรมศาสตร์ไปให้ไกลจากวงโคจรทางการเมือง ตัดกำลังของฝ่ายประชาธิปไตยลงจนอ่อนเปลี้ย ซ้ำยังใช้มือตีนอย่างพวกอธิการบดีกระทืบทำลายฝ่ายประชาธิปไตยมาหลายครั้งหลายหน ทำหน้าที่เป็นสมุนบริวารเผด็จการโบราณอย่างเต็มที่ โฉมหน้ากรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในยุคขวาจัดครองธรรมศาสตร์ มีรายนามที่สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจน คือ
-สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้มีอำนาจแต่งตั้งอธิการบดี
-ประเวศ วะสี กรรมการสภามหาวิทยาลัย
-สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีธรรมศาสตร์ และอุปนายกสภามหาวิทยาลัย
-ชวน หลีกภัย ผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคแมลงสาบ
-นรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัดทำมะนวย
2550
-สมคิด เลิศไพฑูรย์ มือเขียนรัดทำมะนวย
2550
-เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เจ้าของทฤษฎี สองนคราประชาธิปไตย ที่กล่าวว่า คนชนบทตั้งรัฐบาล แต่คนกรุงเทพล้มรัฐบาล อดีตหัวหน้าพรรคมหาชนของพลตรีสนั่นที่เป็นสาขาของพรรคแมลงสาบ

ตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตำแหน่งที่กษัตริย์ภูมิพลแต่งตั้ง โดยสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจในการดำเนินการให้กษัตริย์แต่งตั้งและถอดถอนอธิการบดี ศาสตราจารย์ คณบดี รองคณบดี หัวหน้าแผนก ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการศูนย์ หัวหน้าภาควิชา ฯลฯ
ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมสนธิลิ้มถึงต้องไปเริ่มต้นก่อม็อบไล่ทักษิณที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ และตอนก่อนรัฐประหาร
19 กันยา 2549 สนธิลิ้มก็ยกพวกมาม็อบปิดเกมที่ธรรมศาสตร์โดยใช้สัญลักษณ์เสื้อสีเหลืองกับผ้าพันคอสีฟ้าอย่างออกนอกหน้า ใช้คำว่าฟ้าเปิดกันอย่างโจ่งแจ้งที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ เพราะพวกพันธมารได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีทั้งจากท่านอธิการบดี และท่านนายกสภามหาเวรตะไล


สุรพล นิติไกรพจน์
ตอนที่จะไล่นายกทักษิณโดยขอนายกพระราชทานตามมาตรา
7 ก็เลยให้เป็นหน้าที่ของสุรพล นิติไกรพจน์ พอทำรัฐประหารสำเร็จก็ต้องเอานายสุรพลไปนั่งเป็นสภานิติบัญญัติเพราะแกเก่งกฎหมาย แต่พอเลือกตั้ง ประชาชนดันไปเลือกคนของทักษิณเข้ามาอีก อธิการบดีสุรพลก็ต้องประชุมอธิการบดีทั่วประเทศหรือ ทปอ. ไล่นายกสมัคร นายกสมชาย บอกว่าอย่ารังแกม็อบพันธมาร


อนุพงษ์ออกทีวีช่อง 3 ให้นายกสมชาย
ยุบสภา 26พย.2551
วันดีคืนร้ายพวกพันธมารยึดสนามบิน สุวรรณ ภูมิ นายสุรพลก็ไปจับมือกับพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ออกแถลงข่าวให้รัฐบาลยุบสภาแก้ปัญหา แทนที่จะเร่งดำเนินคดีผู้ก่อการร้ายปิดสนามบิน พอรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน พลเอกอนุพงษ์กลับไม่ยอมทำอะไรเลย

วันดีคืนดีนายสุรพลก็ไปเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยเกษตร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีทบวงมหาทะไล เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีโจรสุรยุทธ์ เป็นประธานคณะกรรมการบริษัท อสมท. คุมทีวีช่อง 9
แต่ในสมัยนายกทักษิณไม่เคยให้นายสุรพลมีตำแหน่งอะไรเลย ตำแหน่งอธิการของนายสุรพลมีผลประโยชน์มากมายมหาศาล คุมทั้งคนคุมทั้งงบประมาณ คุมโครงการรับเหมาก่อสร้างเป็นพันเป็นหมื่นล้าน เช่น สนามกีฬาเอเชียนเกมส์ที่รังสิต รวมทั้งแคมปัสหรือวิทยาเขตต่างจังหวัด โครงการปริญญาโทภาคพิเศษ โครงการธรรมศาสตร์อินเตอร์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นช่องทางหาเงินทั้งนั้นเลย

มหาลัยธรรมศาสตร์จึงเกี่ยวพันกับการเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยนายปรีดีก่อตั้งธรรมศาสตร์ ก็เอาคนของตนเข้าไปดูแล ใช้ธรรมศาสตร์เป็นฐานกู้ชาติสมัยเสรีไทย แม้แต่ตอนจะทำปฏิวัติ
26ก.พ.  2492 ยึดอำนาจคืนจากพวกรัฐประหาร 2490 ก็ได้ฐานกำลังจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ธรรมศาสตร์นี่แหละที่ช่วยลุยเป็นแนวหน้า พอนายปรีดีโดนขับไสไล่ส่งออกไปแล้ว พวกนิยมระบอบเจ้าก็ยึดเอาคืน โดยการแต่งตั้งพรรคพวกของตนมาเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย



นรนิติ เศรษฐบุตรและสมคิด เลิศไพทูรย์
ในยุคพอเพียงก็ตั้งนายสุเมธ เฟอรารี่ เป็นนายกสภาตั้งแต่ปี 2548-2554 ต่อมาจึงแต่งตั้งนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัดทำมะนวย 2550 เป็นนายกสภาสืบต่อจากนายสุเมธเฟอรารี่ โดยมีนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ สมาชิกสภาร่างรัดทำมะนวย 2550 เป็นอธิการบดี

สุเมธ
นักโฆษณาสถาบันกษัตริย์
11  ม.ค. 2554  นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนามาบรรยายเรื่อง หลักการทรงงาน ที่กองบัญชาการทหารพัฒนา เนื่องในพิธีเปิดโครงการ 84 พรรษา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เทิดไท้ มหาราชัน
นายสุเมธ กล่าวว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้นำในทุกๆด้าน มีความสามารถหลากหลายจนได้รับปริญญาสดุดีทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในสาขานิติศาสตร์ หรือหมอความ ทางด้านการแพทย์ ก็ได้เป็นหมอยา ทางด้านดนตรี ก็ได้เป็นหมอลำ


ประชาชนบางคน พากันซาบซึ้งน้ำตาไหลพราก
นายสุเมธอ้างว่ากษัตริย์ภูมิพลได้ทำงานมากมายตลอดเวลาที่ครองอำนาจ ประชาชนก็ได้รับผลจากการพัฒนามากมาย แต่ประชาชนไทยไม่เคยสนใจในคำสั่งสอนของกษัตริย์ภูมิพล บางคนชอบมารอต้อนรับ เอาแต่พากันวิ่งมาหาน้ำตาไหล แต่ไม่เข้าใจในคำสั่งสอนของกษัตริย์  ตลอดเวลาการครองอำนาจมากว่า 60 ปี กษัตริย์ภูมิพลได้พูดไว้มากมายหลายเรื่อง แต่คนไทยไม่เข้าใจและไม่เคยใส่ใจ กลับชอบไปเห่อค่านิยมของต่างชาติ ทำให้สังคมเละแทะ  เช่น ความอยากร่ำรวยซึ่งไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ที่สำคัญอยู่ที่การใช้เงินให้เกิดประโยชน์เหมือนกับงบประมาณของแผ่นดิน ที่เราต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ คนไทยจะต้องภูมิใจในความเป็นไทย ต้องปฎิบัติตามธรรมภิบาล 10 ประการ อย่าให้กษัตริย์ภูมิพลต้องทำอยู่คนเดียว การทำงานของกษัตริย์ภูมิพลยังเน้นเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ข้าราชการที่ทำงานต้องไม่มีที่ดินอยู่รอบโครงการ ถึงแม้ว่าจะไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดจริยธรรม ถ้าหากโกงทุกอย่างก็จบ และ ถ้าอยากร่ำรวย ก็จะต้องลาออกจากข้าราชการ


ให้องคมนตรีและภริยาเข้าพบ 9 กค.2555
แต่สิ่งที่นายสุเมธไม่ได้ชี้แจงคือกษัตริย์ภูมิพลและคนที่ทำงานให้กษัตริย์ภูมิพล ทั้งนายสุเมธ เปรมิกา องคมนตรวยและนายทหารแห่งกองหน่วยบัญชาการทหารพัฒนานั้นร่ำรวยมั่งคั่งกันแค่ไหน มีทรัพย์สินกันคนละกี่สิบกี่ร้อยล้านพันล้านและเอามาจากไหน
โครงการพระราชดำริเริ่มมา 60 กว่าปีแล้ว และก็มีต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ รวมถึงโครงการใหม่ๆ ถึงแม้ว่ากษัตริย์ภูมิพลจะป่วยและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่โครงการต่างๆก็ดำเนินการผ่านพระเทพฯและหน่วยงานต่างๆที่กษัตริย์ภูมิพลได้ตั้งไว้ และระยะหลังๆมานี้จะมีเรื่องภัยพิบัติมาเรื่อยๆตั้งแต่ สินามิ ดินถล่ม น้ำท่วม ซึ่งต่อไปนี้ เราจะต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติมากขึ้น โลกกำลังเปลี่ยนแปลง ซึ่งกษัตริย์ภูมิพลเคยบอกไว้ว่า มนุษย์เราชอบรังแกธรรมชาติ ระวังว่าสักวันหนึ่งธรรมชาติจะโกรธและลงโทษ เวลานี้ก็รู้สึกจะครบแล้วทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งทุกประเทศได้รับผลกระทบแม้แต่สหรัฐอเมริกาที่มีเทคโนโลยีสูง สามารถรู้ล่วงหน้าแต่ก็หนีไม่พ้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะเอาชนะธรรมชาติได้ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติให้ได้ แทนที่จะไปเอาชนะธรรมชาติ เราจะต้องปรับตัวให้ได้และต้องฟื้นฟูในเรื่องของ ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดี เราจะต้องลงไม้ลงมือทำ รักษาดิน น้ำ ดูแลเรื่องมลพิษ ขยะ ควบคุมบริหารทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะปล่อยปละละเลยอีกต่อไปไม่ได้แล้ว แต่เป็นหน้าที่ของเราต้องทำทุกคน โดยต้องหันหน้ามาเริ่มดำเนินการตามโครงการพระราชดำริที่ควรจะเริ่มมาหลายปีแล้ว


สุเมธ ตันติเวชกุล งานวันเกี่ยวข้าวธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2554 ในงานวันเกี่ยวข้าวธรรมศาสตร์  ศูนย์รังสิต ดร.สุเมธ ให้สัมภาษณ์ตำหนิเว็บไซต์แวนคูเวอร์ซัน ของประเทศแคนาดา ที่รายงานข่าวว่ากษัตริย์ไทยเป็นผู้นำที่รวยที่สุดในโลก เพราะพวกฝรั่งมันโง่ มันไม่รู้ว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นั้นไม่ใช่ของกษัตริย์ภูมิพลจริงๆ แต่มันเป็นแค่สมบัติหรือมรดกตกทอดมาถึงลูกถึงหลาน มันเป็นของหลวง หรือของรัฐ แต่ฝรั่งมันเข้าใจว่าเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน แท้ที่จริงกระทรวงการคลังดูแล ประธานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไม่ใช่สมบัติของกษัตริย์ แต่มีคนไปขยายความเผยแพร่ไปต่างๆนานา ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าอะไรเป็นอะไร ทรัพย์สินส่วนพระองค์ของในหลวง เช่น วังจิตรลดาของท่าน ก็หลังเล็กๆ เล็กกว่าบ้านเศรษฐีคนไทยบางคนเสียอีก เแล้วบอกว่าในหลวงรวยที่สุดในโลกได้อย่างไร สติไม่ดีแน่ๆเลย เพราะเท่าที่นายสุเมธได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด ก็เห็นอยู่ว่าท่านใช้จ่ายน้อยที่สุด และเป็นตัวอย่างของการประหยัดจริงๆ
ส่วนพวกที่ชอบเอาเรื่องของกษัตริย์มาพูดวิพากษ์วิจารณ์ตามที่สาธารณะก็เป็นพวกที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสาระ ไม่ควรไปสนใจให้รกสมองเปล่าๆ แม้ว่าตอนนี้กษัตริย์ภูมิพลยังป่วยอยู่ เจ็บหลังและเดินไม่ได้ แต่ท่านก็ยังขยันทำงานอยู่ตลอด ไม่เคยได้หยุด ทั้งเรื่องน้ำ ดิน อากาศ และทุกข์สุขของประชาชน

สุเมธระหว่างถ่ายทำรายการจารึกไว้ในแผ่นดิน
นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้บันทึก เทป รายการ จารึก ไว้ใน แผ่นดิน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551  ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ( ททบ. 5 ) เพื่อผลิตสารคดียกย่องเทิดทูนกษัตริย์ภูมิพลโดยทำเป็นสารคดีสั้น ความยาว 1 นาที ออกอากาศวันจันทร์-อาทิตย์ เวลาประมาณ 19.59 น. ก่อนรายการข่าวสองทุ่ม เพื่อให้ประชาชนเกิดความซาบซึ้งถึงขั้นน้ำหูน้าตาไหลพรากต่อบุญคุณของกษัตริย์ภูมิพล


เจ้าหน้าที่รายงานผล 4350โครงการพระราชดำริ
11กย.2556
นายสุเมธเล่าว่าแม้กษัตริย์ภูมิพลจะแก่ชรามากเพราะอายุเกิน 80 ปีแล้ว การที่ป่วยอยู่โรงพยาบาลศิริราชก็เพราะได้ทำงานมาอย่างหนัก ไปเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างมากมาย โดยนายสุเมธได้มีโอกาสตามไปด้วยตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา เห็นว่ากษัตริย์ภูมิพลทำงานหนักเกินกว่าร่างกายมนุษย์จะพึงแบกรับได้ ทำให้ร่างกายต้องสึกหรอไปมาก แต่กษัตริย์ภูมิพลเป็นคนมองการณ์ไกลโดยได้วางแผนการแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้าและตั้งองค์กรที่จะรับงานไปดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น มูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิชัยพัฒนา และโครงการพระราชดำริ และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ทำให้มีองค์กรที่สามารถทำให้งานเดินหน้าต่อไปได้ แม้ว่าระยะหลังกษัตริย์ภูมิพลจะไม่ได้ออกไปไหน แต่งานทั้งหลายก็ไม่ได้หยุดนิ่ง โดยสั่งงานผ่านพระเทพฯ ที่เข้าเฝ้าบ่อยมากๆ และรับคำสั่งมา ทำให้งานไม่ได้หยุดลงเลย



โคฟีอันนันถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุด
ด้านการพัฒนามนุษย์ วังไกลกังวล 26 พค.2549

ในฐานะกษัตริย์ภูมิพลเป็นประธานกิตติมศักดิ์สถาบันน้ำ ได้สั่งให้ข้อมูลและสั่งราชการตลอดเวลา แม้ว่ายังเจ็บไข้ได้ป่วย ออกไปไหนไม่ได้ แต่ท่านเป็นคนฉลาดเหนือมนุษย์ ท่านรู้ทุกเรื่อง ขนาดหลับตาก็ยังเห็นหมด
มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้โทรศัพท์มาเข้ามาตอนประมาณตีสองตีสาม แสดงให้เห็นว่าท่านทำงานตลอดเวลาเหมือนเซเว่นอีเลเว่น ไม่ต้องหลับไม่ต้องนอน และไม่สนใจว่าคนอื่นต้องหลับต้องนอนหรือเปล่า แต่ส่วนมากจะสั่งงานผ่านพระเทพฯ





กษัตริย์ใช้วิทยุสื่อสารสั่งงานและฟังข่าวตำรวจ
บางครั้งท่านรู้รายละเอียดมากกว่าเราที่อยู่ในพื้นที่ มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านจะเดินทางไปลาว เราไปนอนรออยู่ก่อนที่เวียงจันทน์ ท่านก็สั่งผ่านศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยว่า พิกัดที่ส่งไปผิดพลาดไปประมาณ 500เมตร ทั้งๆ ที่คณะทำงานขนระบบ
GPS ไปกันเพียบแสดงว่าท่านเก่งเครื่องจีพีเอสเสียอีก เพราะเมื่อเข้าไปลองวัดดูใหม่ก็ปรากฏว่าผิดพลาดจริง ๆ
กษัตริย์ภูมิพลจะมุ่งมั่นอยู่กับงานกับงานโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพร่างกาย เวลาที่ท่านทำงานทุกอย่าง ท่านคิดแต่เรื่องคนอื่นตลอดเวลา ท่านเกรงใจคน ไม่ต้องการให้คนอื่นลำบาก บางคราวเดินทางออกไปโดยไม่แจ้งหมายกำหนดการล่วงหน้า เพราะกลัวว่าจะต้องมีคนมาคอยรับจะทำให้ลำบาก พวกเราก็ต้องคอยเก็งเอาว่าท่านจะไปทางไหน โดยเราก็ต้องเตรียมพร้อมเสมอ มีรถนำขบวนเตรียมไว้ทั้งซ้าย-ขวา ท่านอยากไปทางไหน พวกเราก็พร้อมไปได้ทุกทางทุกเวลา


สั่งนายกยิ่งลักษณ์เร่งผันน้ำทางตะวันออก 12ตค.2554
ครั้งที่แล้วที่กษัตริย์ภูมิพลไปนอนที่โรงพยาบาลเพราะต้องผ่าตัด อีก 5 ชั่วโมง จะไปถึงโรงพยาบาลศิริราช ได้สั่งให้ทีมงานติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อติดตามสถานการณ์พายุที่จะเข้าฝั่ง ท่านเป็นห่วงงาน โดยไม่คิดถึงตนเองทั้งๆที่ไม่ใช่หน้าที่และไม่มีอำนาจ เพระมันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและข้าราชการที่ท่านไม่ควรเข้าไปแทรกแซงจุ้นจ้าน ไม่ใช่ว่าพอท่านป่วยแล้วท่านจะหยุดแทรกแซงข้าราชการ ตอนนี้แม้แต่ท่านจะป่วยกึ่งพิการเดินไม่ได้ แต่ก็ยังอุตส่าห์ทำงานเซ็นหนังสืออยู่ตลอดเวลา การที่กษัตริย์ภูมิพลต้องอาศัยโรงพยาบาลศิริราชเป็นวังแห่งที่สอง ทั้งๆที่อาการทั่วไปหายดีหมดแล้ว เหลือแต่เพียงการต้องทำกายภาพบำบัด หากท่านออกจากโรงพยาบาล ก็เกรงใจทีมแพทย์จะไม่มีความสะดวกเพราะท่านคิดถึงคนอื่นตลอดเวลา แม้จะไปหัวหิน ก็จะรอให้ถึงวันเปิดเทอม เพราะจะได้มีคนน้อยๆ รถจะได้ไม่ติด
ท่านไม่เคยยกเลิกกำหนดการ  ไม่ว่าฝนตก แดดออก ท่านก็จะต้องไปให้ได้ มีอยู่ปีหนึ่งท่านออกพื้นที่ทั้งๆน้ำท่วม ท่านโดนแมลงกัดจนมีแผลที่เท้า ท่านก็ยังมีสั่งงานต่างๆต่อไป เพราะท่านต้องดูด้วยตาตนเองทุกอย่างทุกเรื่อง

พันธมารชูภาพกษัตริย์เคลื่อนไหวล้มรัฐบาลเป็นประจำ
ถ้าเราทำงานผิดพลาดท่านก็จะเตือน เพื่อไม่ให้เราผิดพลาดอีก ท่านเตือนพวกเราว่าอย่าให้ตัวเองอ้วนเกินไป ให้มีวินัยในการประพฤติตัว ให้กินน้อยๆ จะได้อยู่ช่วยกันทำงานจนกว่าท่านจะมีอายุถึง 120 ปี
ท่านเป็นคนไม่ทุกข์ แต่ถ้าลูกๆทะเลาะกัน แบ่งเป็นเสื้อเหลืองเสื้อแดง ท่านเป็นพ่อเป็นแม่ท่านก็ต้องทุกข์ ทั้งๆที่ท่านเป็นคนที่ให้ท้ายเสื้อเหลืองรังแกเสื้อแดงมาตลอด แต่ท่านก็อยากให้เสื้อแดงยอมแพ้ราบคาบซะดีๆ อย่าดื้อ อย่าไปรักทักษิณอีกต่อไปเลย เมื่อบ้านเมืองมีวิกฤต จากการสร้างสถานการณ์ของลูกน้องท่านเอง ท่านก็จะเตือนให้รักษาบ้าน รักษาเมือง ให้มีสติ เอาสติกลับมา อย่าทะเลาะกัน  ให้ยอมศิโรราบต่อพวกเผด็จการที่มันปล้นประเทศ


จำลองและสุจินดาเข้าเฝ้า 20 พค. 2535

ท่านไม่เคยทำอะไรตามอำเภอใจ เพราะท่านทำผิดไม่ได้ ท่านต้องยึดหลักกฎหมายและรัดทำมะนวยอย่างเคร่งครัด ตอนพฤษภาทมิฬ 2535 ที่มีการยิงประชาชน ตอนนั้นยังมีนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกมายุ่งเรื่องการเมืองไม่ได้ เพราะจะถูกหาว่าเข้าข้างรัฐบาล เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายปะทะกันจนควบคุมกันไม่ได้ มีคนตาย ท่านจึงต้องออกมา  ที่จริงใครๆก็เห็นว่าตอน 14 ตุลา ท่านเข้าข้างถนอมและตำหนินักศึกษา ตอนพฤษภทมิฬ ท่านเข้าข้างรสช. และตำหนิพลตรีจำลอง แต่เมื่อเกิดการปะทะ และท่านเห็นประชาชนไม่ยอมแน่ๆ ท่านจึงฉวยโอกาสมาเล่นงานพวกขุนศึก



ทรงแจกลูกฟุตบอลแก่เด็กในชนบทห่างไกล
นายสุเมธอ้างว่าสถาบันกษัตริย์ของไทยไม่เหมือนกับสถาบันกษัตริย์ประเทศอื่น แม้เราจะถวายคำว่ามหาราช ท่านก็ยังไม่รับ เพราะท่านเป็นนักบุญที่มีชีวิต 

ตลอด 63 ปี ท่านทำงานตลอด ท่านทำอะไรไม่ดีต่อแผ่นดินบ้าง ความจริงก็คือรัฐบาลพลเอกเปรมิกาของกษัตริย์ภูมิพลเองนั่นแหละที่เป็นคนถวายคำว่ามหาราชทั้งๆที่กษัตริย์ยังไม่ทันตาย ถ้าถามว่ากษัตริริย์ภูมิพลทำอะไรที่ไม่ดีบ้าง ก็คงดูแค่ว่าทำไมท่านไม่คัดค้านการปล้นอำนาจ แต่กลับแสดงท่าทีสนับสนุนพวกปล้นอำนาจมาโดยตลอด แม้แต่ในการปล้นอำนาจเมื่อ 19 กันยายน
2549 ท่านก็ยังให้องคมนตรวยสุรายึดมาเป็นนายก และได้แต่งตั้งให้พวกที่มีบทบาทร่วมสมคบกันปล้นอำนาจประชาชน อย่างนายชาญชัย ลิขิตจิตถะและ พล.อ.อ. ชลิต ผุกผาสุข ได้เป็นองคมนตรวย



นายสุเมธยังได้ตำหนิเด็กรุ่นใหม่ ที่ถูกครอบงำโดยโลกตะวันตก จนลืมรากเหง้าตัวเอง คิดเรื่องเงินอย่างเดียว ทำงานก็เพื่อเงิน ไม่สนใจเรื่องคุณธรรม ไม่รู้เรื่องผิดชอบชั่วดี  ยกย่องคนรวยคนคอร์รัปชั่น นั่นคือการโจมตีนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

ทั้งๆที่นักการเมืองต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สิน ต้องผ่านการตรวจสอบมากมายสารพัดและยังมีขบวนการตุลาโกงที่คอยหาเรื่องใส่ความยัดเยียดความผิดเพื่อสกัดกั้นและทำลายนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย แต่สถาบันกษัตริย์ที่ถูกเปิดโปงว่าเป็นราชวงศ์ที่มั่งคั่งร่ำรวยที่สุดในโลก  กลับได้รับการยกเว้น ไม่ถูกตรวจสอบและห้ามวิจารณ์โดยเด็ดขาดเพราะถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายความมั่นคงของชาติมาตรา 112
 
นายสุเมธแก้ตัวว่าราชวงศ์ไทยถูกโจมตี ถูกนินทาและถูกนำไปแอบอ้างมาตลอดนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว แต่กษัตริย์ไทยก็ยังต้องอดทนอบรมสั่งสอนให้คนไทยเลิกทะเลาะกัน แต่ก็ยังโดนด่าอีก นายสุเมธอ้างตนว่าเป็นอำมาตย์ 100% ในชีวิตไม่เคยทำอะไร นอกจากเป็นข้าราชการ ที่มียศ มีศักดิ์ เมื่อบ้านเมืองจนมุม ก็มีแต่พวกอำมาตย์ที่กู้ชาติ และทำงานไม่เคยหยุด เสาร์ - อาทิตย์ก็ทำงาน ถ้าใครยังไม่พอใจ ไม่อยากอยู่เมืองไทย ก็เชิญอพยพไปอยู่ประเทศอื่นได้ แต่ตนอยากอยู่ที่นี่ อยากให้ลูกหลานอยู่ที่นี่ ใครจะสร้างรัฐใหม่ ไปอยู่รัฐใหม่ เราไม่ไป เราจะอยู่รัฐเก่านี่แหละ
สื่อต้องทบทวนตัวเอง ถ้าสื่อจับมือกันกระหน่ำคนที่ทำผิด พักเดียวก็อยู่ ตอนนี้สื่อไม่มีเอกภาพ แต่ถ้าลองพร้อมใจกัน หยุดทำมาหากินสักพัก แล้วเห็นใครบ้า ๆ บอ ๆ ก็กระหน่ำให้อยู่ ขุดโคตรมาเลย รับรอง ทุกอย่างจะเข้าที่โดยเร็วที่สุด นายสุเมธคาดหวังในพลังของสื่อมาก ให้หันมาเป็นสื่อกู้ชาติในลักษณะแบบสื่อพันธมารที่ช่วยกันล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
นายสุเมธกล่าวอ้างว่าประชาธิปไตยไม่ได้สอนว่าให้อยู่เฉยๆ เวลาเห็นคนโกงแม้ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง ตนเองเป็นอำมาตย์ แต่เป็นคนทำงานพัฒนาชนบท เคยออกรบ โดดร่มกลางป่า ตอนนี้เป็นอดีตอำมาตย์ที่เกษียณ แต่ยังกินเงินเดือนอำมาตย์อยู่ รับเงินเดือนทุกเดือน โดนด่าทั้งๆที่มาทำงานช่วยเหลือประชาชน แดงก็ด่า เหลืองก็ด่า ทั้งๆที่ตนอยู่ตรงกลางที่สุดแล้ว จะเอาอะไรไปตอบโต้ ใครเดือดร้อนก็ไปช่วย อย่าพะวงว่าจะโดนด่า เพราะพระพุทธเจ้ายังถูกนินทา โดนทำร้ายด้วย แล้วเราจะเหลืออะไร คนที่พูดคำว่า จงรักภักดี จะต้องมีสติเหนือสิ่งอื่นใด ก็จะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เพราะฉะนั้น คนในสังคมต้องมีสติ อย่าขาดสติ ก็จะทำให้เราเข้าใจได้ดีที่สุด
นายสุเมธยอมรับว่าตนเองเป็นอำมาตย์ที่กินเงินเดือนของประชาชนแต่ทำงานให้กษัตริย์ และใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างอำมาตย์แต่กลับเรียกร้องต้องการให้คนรากหญ้าที่เป็นเจ้าของเงินภาษีอากรให้อยู่อย่างพอเพียง นายสุเมธและคณะพร่ำสอนให้ประชาชนอยู่อย่างพอเพียง ทั้งๆที่สังคมประเทศชาติต้องล้มลุกคุกคลานเพราะการทำรัฐประหารของพวกอำมาตย์ ที่พากันแสดงตัวแสดงตนออกมากดดัน สร้างวาทะกรรมต่างๆ เตรียมทำการรัฐประหารเงียบอีกโดยไม่ยอมรับวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย
นายสุเมธและคณะโอ้อวดและยืนยันในแนวความคิดให้คนดีมีอำนาจ และต้องหาทางกีดกันให้คนไม่ดีออกจากอำนาจ โดยที่นายสุเมธอุปโลกน์ว่าพวกตนเท่านั้นที่เป็นคนดี เป็นคนตัดสินชี้ว่าใครเป็นคนดีและใครเป็นคนไม่ดี การให้คนดีมีอำนาจและการป้องกันไม่ให้คนที่ไม่ดีขึ้นมีอำนาจ ก็คือการเปิดทางให้ใช้วิธีที่ไม่ชอบธรรมไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

กษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2 และมเหสี
นายสุเมธยังคุยโม้ว่าตนได้มีโอกาสไปประเทศรัสเซีย ที่เป็นต้นตำรับของการปกครองคอมมิวนิสต์ ตอนนี้คนรัสเซียอยากมีกษัตริย์แบบพระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ 2  ก็ได้แต่อัญเชิญเถ้ากระดูกของพระเจ้าซาร์มาตั้งไว้ในโบสถ์หลวง สถาปนาให้เป็นนักบุญนิโคลัสเพื่อสักการบูชา ซึ่งก็สายไปแล้ว เพราะได้ทำลายสิ่งที่ตอนนี้ต้องการที่สุดไปแล้ว แต่ของไทยเรามีกษัตริย์ที่มีผลงานชัดเจนดียิ่งกว่านักบุญเสียอีก และทำงานหนักมาตลอดกว่า 60 ปี แต่คนไทยกลับไม่สำนึกและปกป้องเอาไว้ จะได้ไม่ต้องมาเสียใจกันทีหลังเหมือนคนรัสเซีย ทั้งๆที่คนรัสเซียทั่วไปไม่มีใครที่ใฝ่ฝันถึงพระเจ้าซาร์



อนุสาวรีย์นักบญนิโคลัสของโบสถ์รัสเซีย
ทั้งๆที่นักบุญนิโคลัสกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสเป็นบุคคลคนละคนและเกิดต่างยุคต่างสมัยกันกว่า
1500 ปี ขณะที่คนฝรั่งเศสก็ไม่ได้โหยหาให้สถาบันกษัตริย์แบบพระเจ้าหลุยส์ที่กดขี่ขูดรีดประชาชนกลับหวนคืนมา คนอเมริกันก็คงไม่มีใครอยากถูกปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ขณะที่พลเมืองในลาตินอเมริกาก็ไม่มีใครอีกแล้วที่อยากอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าแผ่นดินสเปน พลเมืองแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ไม่เคยคิดเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูระบอบจักรพรรดิจีนหรือฮ่องเต้ที่นำแต่ความทุกข์ยากหิวโหยมาให้แก่พลเมืองจีน ประชาชนเนปาลต่างก็ได้ร่วมกันขับไล่กษัตริย์คเยนทราที่คอยจ้องทำลายระบอบประชาธิปไตยของพวกเขา นายสุเมธพยายามสร้างภาพลวงตาให้เห็นว่าพลเมืองโลกที่เป็นแค่พวกที่คลานอยู่กับพื้น ที่พึงพอใจกับการจะเป็นไพร่ทาสที่ไม่อยากปลดปล่อยตนเองให้เป็นเสรีชนอีกต่อไป 
รัสปูติน (Rasputin )
ในช่วงท้ายๆของการปกครองระบอบกษัตริย์ เรามักจะเห็นความเสื่อมทรามตกต่ำของผู้มีอำนาจ ในกรณีพระเจ้าซาร์มีการอันเชิญนักบวชสติแตกอย่างรัสปูติน ( Rasputin )มาเป็นที่ปรึกษา มีการส่งทหารไปรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยไม่มีรองเท้า ไม่มีอาวุธ ในช่วงท้ายของราชวงศ์ฝรั่งเศส ราชินีมารีอังตัวเนตพูดว่าถ้าคนจนไม่มีขนมปังกินก็ควรจะไปกินขนมเค้กแทน
การที่นายสุเมธต้องหลอกตัวเอง และหลอกคนอื่นด้วยการยกเรื่องโกหกขึ้นมาอ้างนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมตกต่ำของสถาบันกษัตริย์ไทยนั่นเอง ทั้งๆที่โลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว โลกไม่ได้แบน แต่โลกหมุนรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์ตามหลักการวิทยาศาสตร์ โลกแบนๆตามความเชื่อโบราณที่เป็นจุดรวมศูนย์ของกษัตริย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ไม่มีอีกแล้ว  ดวงอาทิตย์ไม่ได้หมุนรอบตัวกษัตริย์ กษัตริย์มิใช่ราชาแห่งเทพที่เป็นศูนย์รวมของจักรวาลอีกต่อไปแล้ว  พลเมืองโลกต้องการประชาธิปไตย ต้องการยืนขึ้นเป็นอย่างมนุษย์ ที่ต้องการมีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียม

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์



NIDA สถาบันบัณฑิตย์พัฒนบริหารศาสตร์
ถนนเสรีไทย คลองจั่น บางกะปิ
นิด้าหรือสถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของรัฐบาล เปิดสอนเฉพาะระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ที่เปิดการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจหรือ MBA เป็นแห่งแรกในไทย ก่อตั้งขึ้นในปี  2509 จากการสนับสนุนของมูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ธรรมศาสตร์เข้ามา พวกผู้หลักผู้ใหญ่ก็แห่ไปเรียน เจ๊แดงเยาวภาและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ก็ไปเป็นลูกศิษย์คณะรัฐประศาสน์กับ ศ. ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์  ช่วงนั้นพลเอกอนุพงศ์ เผ่าจินดาก็ไปเรียนโทด้วย ทั้งพลเอกอนุพงศ์และนายกสมชายเคยเป็นนายกสมาคมศิษย์เก่านิด้าด้วยกันทั้งคู่ แต่นายสมชายเป็นน้องเขยของนายกทักษิณที่โดนอธิการบดีสุรพลกับอธิการบดีสมบัติออกมาร่วมมือกับพลเอกอนุพงษ์ออกทีวีไล่ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี



ดร.ปรีชา จรุงกิจอนันต์
คุณสมชายกับคุณเยาวภาเข้าไปเรียนในช่วงที่ ดร. ปรีชา จรุงกิจอนันต์เป็นอธิการบดีนิด้า จึงได้ช่วยแนะนำให้ดร.ปรีชาไปทำงานให้นายกทักษิณ ให้ไปช่วยสร้างสนามบินหนองงูเห่า ดร.ปรีชาเคยบริหาร บงล. เจ้าพระยาและเป็นพี่ชายที่ส่งเสียวาณิช จรุงกิจอานันต์ให้ได้เรียนต่างประเทศ จนต่อมาได้เป็นนักเขียนโด่งดังและกวีซีไรท์
ในตอนนั้น ศ.ดร. สมบัติก็รอคิวจะเป็นอธิการบดี แต่ไม่เห็นดร.ปรีชาพ้นจากตำแหน่งเสียที ดร.สมบัติจึงย้ายข้ามฟากจากคณะรัฐประศาสน์ไปอยู่คณะบริหารที่อยู่ตึกเดียวกัน แล้วเดินสายหาคะแนนว่า ถ้าเอาดร.ปรีชาลง แล้วตนได้เป็นอธิการบดี ก็จะให้คณะบริหารได้เป็นรองอธิการดูแลเรื่องเงินทอง อยากสร้างอะไรอยากรับเหมาอะไร อยากเปิดโครงการภาคพิเศษ อยากเปิดอินเตอร์ อยากเปิดมินิเอ็มบีเอเพื่อทำมาหากินอะไร ก็เชิญตามสบายเลย
เมื่อคณะใหญ่ที่สุดคือรัฐประศาสน์ รองลงมาก็คณะบริหาร จับมือกันก็ช่วยให้ดร.สมบัติได้เป็นอธิการบดีแบบลอยลำ ดร.ปรีชาที่หลุดจากเก้าอี้ แทนที่จะได้ไปพักผ่อนอย่างมีความสุข แต่กลับกลายเป็นเหยื่อให้คณะปฏิกูล
19 กันยา ตามถล่ม โดน ดร.สมบัติและสนธลิ้มตามไปเล่นงานในฐานะบอร์ดการท่าอากาศยานว่าโกงกิน ตั้งกรรมการสอบเพื่อหาเรื่องให้ได้


สมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์
ดร. สมบัติได้เป็นสมาชิก สภา นิติบัญญัติแห่งชาติของคณะปฏิกูลการปกครอง ในปี 2549  และได้เป็นอธิการบดีนิด้าในปี  2550  และเป็นกรรมการองค์การเภสัชกรรม  กรรมการการเคหะแห่งชาติ  เป็นอธิการบดีนิด้าที่มีความใกล้ชิดกับพรรคแมลงสาบ ได้เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขรัดทำมะนวยเพื่อให้พรรคแมลงสาบได้เปรียบในการเลือกตั้ง และต่อมาเป็นคนออกมาต่อต้านการเสนอของพรรคเพื่อไทยเพื่อแก้ไขรัดทำมะนวย
2550 โดยดร.สมบัติอ้างว่าเป็นการแก้ไขรัดทำมะนวยโจรเพื่อช่วยทักษิณ


ทวีศักดิ์ สูทกวาทินนำถวายสัตย์ฯต้านระบอบทักษิณ
สมบัติมีลูกน้องคนสนิทคือ รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทินที่จบทันตแพทย์จุฬา แต่มาเอาดีทำปริญญาโทเอกทางรัฐประศาสน์ แล้วก็เป็นอาจารย์คณะรัฐประศาสน์ สมบัติก็ส่งไปสร้างสายสัมพันธ์กับพวกทหาร ให้ไปเรียนวปอ. สร้างความสนิทแนบแน่นกับพวกนายทหารใหญ่ และหันมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวของพันธมารโดยให้หมอฟันทวีศักดิ์แถลงสนับสนุนพวกพันธมารที่ตึกคณะรัฐประศาสน์ เกณฑ์เอาพวกนักศึกษาปริญญาโทที่เรียนไม่ค่อยจะรอดทั้งหลายมายกป้ายเป็นวอลล์เปเปอร์สนับสนุนขบวนการพันธมาร ใครมาก็เอา
A ไป ใครไม่มา เอาแต่หลบก็ต้องรับเกรดแย่ลงตามลำดับความขยัน โทษฐานไม่สนับสนุนการปล้นอำนาจเพื่อถวายคืนให้ในหลวง ต่อมาหมอฟันทวีศกดิ์ก็มาเป็นแกนนำกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ที่เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวแนวขวาจัดดักดานเพื่อชนกับกลุ่มนิติราษฎร์
ดร.สมบัติได้ชื่อว่าเป็นจอมฉวยโอกาสมาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา ที่แกมีชื่อในประวัติศาสตร์
14 ตุลาเป็นเพราะบังเอิญถึงคิวของมหาลัยเกษตรที่ได้เป็นเลขาธิการศูนย์นิสิต ในปี 2516 แต่นายสมบัติก็ไม่ได้มีบทบาทอะไร พอเสกสรรค์ ประเสริฐกุลพาคลื่นมหาชนไปพึ่งบารมีกษัตริย์ภูมิพลที่สวนจิตรลดา สมบัติก็ไปตะโกนด่าผ่านโทรโข่งกล่าวหาว่าเสกสรรค์จะบุกสวนจิตรลดา ไปรับแผนของพวกคอมมิวนิสต์ แต่พอนักศึกษาประชาชนได้รับชัยชนะ นายสมบัติก็เฮกับเขาด้วย อวดอ้างว่าเป็นผลงานของตนที่เป็นเลขาศูนย์นิสิต  จากนั้นนายสมบัติก็ชอบเข้าหาพวกอำนาจนอกระบบ โดยอาศัยชื่อ 14 ตุลาไปนัดกินข้าวกับบิ๊กจิ๋วยุให้เป็นนายก  ต่อมายุคหลังๆเมื่อพลเอกอนุพงศ์ไปเรียนโทที่คณะรัฐประศาสน์ สมบัติก็เกาะติดหากินกับอนุพงศ์ สร้างสายสัมพันธ์ออกมาหน้าจอทีวีเรียกร้องให้นายกสมชายลาออก
 

ดร. ประดิษฐ์ วรรณรัตน์
ต่อมาได้มีการแต่งตั้ง ดร. ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อดีตวิศวกรออกแบบโครงสร้าง เป็นอธิการบดีนิด้าแทน ดร. สมบัติที่หมดวาระในเดือนมิ.ย. 2556 ˜โดยตั้งเป้าให้นิด้าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก  เพราะมี ดร.ถึงร้อยละ 90 ˜ ต้องวางตัวเป็นกลาง  ไม่เป็นเหลืองหรือแดง ซึ่งเป็นการทำร้ายประเทศไทย สถาบันการศึกษาต้องเป็นที่พึ่งของสังคม ไม่ใช่ทำเพื่อคนใดคนหนึ่ง จะ˜สร้างสารคดีสอนให้คนไทยปรองดองให้ดูว่าประเทศอื่นที่แตกแยกกันแล้วเป็นอย่างไร

คณะกรรมโกงสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ศ. เสน่ห์ จามริก


รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 199 ให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรวม 11 คน ซึ่งกษัตริย์แต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ชุดแรกมีนายเสน่ห์ จามริกเป็นประธาน มีวาระ 6 ปี ตั้งแต่ปี 2544 ต่อเนื่องมาถึงกลางปี 2552

เสน่ห์ จามริก
อาจารย์เสน่ห์เป็นราษฎรสูงอายุ นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน เคยเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการ ร่วมก่อตั้งสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ต่อมาคือ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน หรือ สสส. เป็นนายกสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย กรรมการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น เป็นประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถือเป็นผู้มีบารมีทั้งวงการสิทธิมนุษยชน วงวิชาการ และเอ็นจีโอผู้เชื่อมต่อกับอำนาจรัฐโบราณ


จรัล ดิษฐาอภิชัย
แต่กรรมการสิทธิฯในยุคที่นายเสน่ห์เป็นประธานกลับไม่สามารถคุ้มครองสิทธิของกรรมการสิทธิเอง จากกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติของโจรคมช.ได้ประชุมลับอย่างรีบร้อนลงมติ 156 เสียง ให้ถอดถอนนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ออกจากตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2550 ซึ่งมีผลทันที โดยอ้างเหตุว่านายจรัลปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ และไม่เป็นกลาง อันเนื่องมาจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) หน้าบ้านเปรมิกา ประธานองคมนตรวย จนมีการสลายการชุมนุมโดยตำรวจและจับกุมแกนนำกลุ่ม นปก.จำนวน 9 คนซึ่งมีนายจรัลรวมอยู่ด้วย ทั้งๆที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติของโจรคมช. ไม่มีความชอบธรรมในการถอดถอนนายจรัล เพราะเป็นสภาที่แต่งตั้งโดยคณะโจรรัฐประหาร ที่ได้อำนาจรัฐมาโดยมิชอบตามวิถีทางประชาธิปไตย
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ก.ค.
2551 คณะกรรมโกงสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มีนายเสน่ห์ จามริก เป็นประธานได้มีหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติ นายบัน คี มูน เพื่อแสดงถึงความกังวลและความผิดหวังอย่างยิ่ง กรณีขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงโดยองค์กรของสหประชาชาติ  ซึ่งเป็นบทบาททางการเมืองของคณะกรรมโกงสิทธิมนุษยชนของไทยที่ออกนอกลู่นอกทางไปไกล  เพราะกรณีปราสาทพระวิหาร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนเลยแม้แต่น้อย แต่กลับจะเพิ่มความขัดแย้งระหว่างประเทศให้มีมากขึ้นไปอีก ตามความต้องการของฝ่ายนิยมระบอบเผด็จการโดยกษัตริย์

นางอมรา พงศาพิชญ์
แต่รัดทำมะนวย 2550 ของโจรคมช. บัญญัติให้คณะกรรมการสรรหากรรมโกงสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมี 7 คน ได้แก่ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัดทำมะนวย ประธานศาลโปกคลอง ประธานสภาผู้แทน ผู้นำฝ่ายค้าน ตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและศาลปกครอง ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือก กสม. จำนวน 7 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี สรุปคือมาจากการสรรหาของบรรดาหัวหน้าและตัวแทนของตุลาโกงทั้งหลายเป็นส่วนใหญ่เหมือนองค์กรขยะอื่นๆโดยมีนางอมรา พงศาพิชญ์  ได้เป็นประธานคณะกรรมโกงสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ชัยอนันต์ สมุทวณิช
นางอมราเป็นอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์จุฬาทั้งๆที่มีคะแนนเสียงต่ำสุด เป็นอับดับที่ 3 จากการสรรหาแต่นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ซึ่งในตอนนั้นทำงานให้นายสนธิลิ้ม เป็นกรรมการสรรหา โดยอ้างว่านางอมรา มีความเหมาะสมที่สุด ที่แท้ก็เป็นเพราะนางอมราเป็นหัวหอกนำนักวิชาการออกแถลงการณ์ขับไล่รัฐบาลทักษิณ โดยนางอมราพร้อมกับนายชัยอนันต์ และพวก ใช้ชื่อคณะรัฐศาสตร์จุฬาประกาศขับไล่นายกทักษิณออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 2 กพ.2549 ก่อนที่นายสนธิลิ้ม จะชุมนุมในวันที่ 4 กพ. 2549
นางอมราเป็นประธานคณะกรรมโกงสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีผลงานที่คาดไม่ถึงหลายกรณี คือ คราวที่ม็อบพันธมารก่อจราจลปิดล้อมรัฐสภา 7 ตุลาคม 2551 รวมทั้งบุกยึดทำเนียบ สถานีโทรทัศน์
NBT และสถานที่ราชการ คณะกรรมโกงสิทธิ์ประท้วงว่าฝ่ายรัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชน และละเมิดกฎหมาย รัฐบาลต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ในสมัยรัฐบาลมาร์คแมลงสาบสั่งปราบกลุ่ม นปช. ระหว่างเดือนเม.ย.ถึงพ.ค. 2553 ทำให้มีคนตายไม่ต่ำกว่า 91 คน คณะกรรมโกงสิทธิ์กลับระบุว่า การที่รัฐบาลมาร์คแมลงสาบสังหารประชาชน ไม่ถือเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่พอนายวีระและนางสาวราตรี เจตนาไปบุกรุกแดนให้เขมรจับเมื่อ  29 ธันวาคม 2553 คณะกรรมโกงสิทธิ์ก็แห่กันไปช่วย กรรมโกงสิทธิมนุษยชนในสมัยของนางอมราไม่เคยสนใจเรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายเผด็จการที่โบราณและป่าเถื่อนและมีประชาชนถูกริดรอนสิทธิเสรีภาพเป็นจำนวนมากจากกฎหมายปิดปากประชาชนฉบับนี้ นอกจากนี้ยังได้มีการมอบรางวัลเกียรติยศ ผู้อุทิศเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2555 ให้แก่พวกที่อยู่ตรงข้ามฝ่ายประชาธิปไตย เช่น ว. วชิรเมธี นางพรทิพย์ โรจนสุนันท์  นายวีระ สมความคิด และน.ส. ณาตยา แวววีรคุปต์ ฯลฯ

หอการค้าเพื่อพ่อค้าใหญ่


สภาหอการค้าไทย 150/2 ถนนราชบพิธ
สภาหอการค้าไทยร่วมกับภาคีสมาคมพ่อค้าที่เหลือทั้งแบกทั้งอุ้มรัฐบาลมาร์คแมลงสาบอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงนาทีพลิกผันที่ส่งให้มาร์คแมลงสาบขึ้นเป็นนายกแบบปล้นกลางแดด แลกกับความวิบัติของเศรษฐกิจบ้านเมือง ก็ได้อาศัยสภาหอการค้าไทยเป็นคนทั้งผลักทั้งดัน และออกมาเล่นบทห้ามไม่ให้พรรคการเมืองที่ชนะเสียงข้างมากได้เป็นรัฐบาลต่อไป หลังเหตุการณ์ยึดสนามบินจบลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 แล้วตุลาการศาลรัดทำมะนวยตัดสินอย่างลุกลี้ลุกลนยุบพรรคพลังประชาชนทิ้ง

หอการค้าไทยยังคงอุ้มชูมาร์คแมลงสาบอย่างออกนอกหน้า แม้ว่ารัฐบาลมาร์คแมลงสาบจะใช้นโยบายคลั่งชาติ ประกาศลดระดับความสัมพันธ์กับกัมพูชาซึ่งกระทบต่อการค้าระหว่าง 2 ประเทศซึ่งมีมูลค่านับแสนล้านบาทต่อปี  แทนที่ประธานหอการค้าจะออกมาเรียกร้องสันติภาพจะได้ทำมาค้าขายกันต่อไป กลับออกมาสนับสนุนอย่างออกนอกหน้าและเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แทนที่จะแสดงความยินดีตามมารยาท ก็กลับแสดงท่าทีไม่เป็นมิตรออกมาตำหนิแบบไม่มีเหตุผลว่าให้หารัฐมนตรีที่ฉลาดๆมาหน่อย เพราะทีมเศรษฐกิจมีแต่พวกโนเนม ทั้งๆที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็มีบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างดร.โอฬาร ไชยประวัติ กับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ อยู่ในหัวแถวทีมเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยแล้วก็ตาม


ดุสิต นนทะนาคร
นายดุสิต นนทะนาคร ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานกรรมการหอการค้าไทย เมื่อ
26 มีนาคม 2552 แบบลึกลับ แต่รู้กันในวงการพ่อค้าใหญ่ว่าผู้มีบารมีขอมา ทั้งๆที่ตามคิวและตามสัญญาสุภาพบุรุษแล้ว เมื่อนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานหอการค้าคนก่อนหมดวาระลง จะเป็นคิวของนายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าคนที่ 1 ขึ้นเป็นแทน แม้แต่นายประมณฑ์ก็กล่าวสนับสนุน จนมีการแจกประวัติว่าที่ประธานหอการค้าคนใหม่และเตรียมเลี้ยงฉลองยกใหญ่ แต่แล้วพอใกล้วันเลือกประธานเข้าจริงๆ ก็เกิดมีข้อมูลใหม่หรือรายการคุณพ่อขอมา ทำให้นายพงษ์ศักดิ์ต้องประกาศไม่ขอชิงตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลอย่างกะทันหันว่า ต้องไปดูแลธุรกิจทอผ้าของตนเอง เพราะเจอผลกระทบทางเศรษฐกิจ และขอให้รองประธานคนที่ 2 คือนายดุสิต นนทะนาคร ขึ้นเป็นแทน 

ประมนต์ สุธีวงศ์
นายดุสิตเป็นลูกหม้อเครือซิเมนต์ไทย เช่นเดียวกับนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานหอการค้าคนก่อนหน้านี้ที่ได้เป็นสนช.จากการแต่งตั้งของโจรกบฏคมช. นายประมนต์เคยเชียร์องคมนตรวยสุรยุทธ์ เขายายเที่ยงที่มาเป็นนายกฯหลังการรัฐประหาร19กันยาฯว่า " ท่านเป็นคนดี เป็นที่เคารพนับถือ มีผลงานในอดีตเป็นที่ยอมรับ จึงเหมาะสมกับตำแหน่งนายกฯ "  ในขณะที่นายประมนต์ชอบที่จะที่ต่อต้านขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง นายประมนต์ สุธีวงศ์ เป็นประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันประเทศไทยที่มุ่งเล่นงานเฉพาะรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยเท่านั้น
นายดุสิต มีบทบาทก่อนหน้านั้น โดยออกมาพูดตอนม็อบพันธมารยึดสนามบินเมื่อปลายปี 2551 ว่า "ไทยจะต้องยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยเร็วที่สุด ถ้าปล่อยให้ยืดเยื้อจะมีปัญหาแน่นอน การที่รัฐบาลไม่สามารถยุติความขัดแย้งได้ ทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศนายกรัฐมนตรีจึงควรที่จะประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองอื่น เข้ามาบริหารประเทศ หากนายกไม่ลาออก ก็ควรที่จะประกาศยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่ “ ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขปัญหาพันธมารยึดสนามบินด้วยการรีบร้อนสั่งยุบพรรคพลังประชาชน มีผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ตอนนั้นนายดุสิตซึ่งเป็นรองประธานสภาหอการค้าก็ออกมาเป็นตัวตั้งตัวตีแถลงข่าวร่วมกับสภาอุตสาหกรรม กับสมาคมธนาคารไทยว่า พรรคพวกทักษิณพอได้แล้ว เป็นนายกฯมา 2 คนแล้ว ทั้งสมัคร สุนทรเวช ทั้งสมชาย บ้านเมืองก็ชิบหายมากพอแล้ว ให้คนอื่นคือฝ่ายมาร์ค-แมลงสาบลองเป็นมั่ง พวกพ่อค้าจะได้ทำมาหากินกันเป็นปกติสุข... ต่อมาพอพวกนปช.เสื้อแดงชุมนุมใหญ่ไล่รัฐบาลมาร์คแมลงสาบช่วงสงกรานต์ ปี 2552 และเรียกร้องให้รัฐบาลจากค่ายทหารยุบสภาในเดือนมีนาคม และ19 พฤษภาคม 2553 แต่หนหลังนี้นายดุสิตกลับเรียกร้องให้ผู้ชุมนุม ยุติการกระทำใดๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ  บุคคลที่เป็นต้นเหตุควรต้องมองถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ 
นายดุสิตจบปริญญาโทวิศวกรรมโครงสร้างจากอเมริกา เป็นลูกหม้อทำงานกับเครือซิเมนต์ไทยมาแต่ต้นจนเกษียณ โดยเครือซิเมนต์ไทยก็เป็นที่ทราบกันดีว่ามีสำนักงานทรัพย์สินของกษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นายดุสิตก็ออกมาคัดค้านการประกันค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทตั้งแต่เริ่มต้น ในนามของ 3 สมาคม สุดท้ายก็ต้องถอย ต่อมาก็ตั้งศูนย์ต่อต้านคอรัปชั่น ที่หอการค้า และเสนอให้เพิ่มอำนาจ ปปช. โดยเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2554 นายดุสิตร่วมก่อตั้งภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น (ภตค.) 21 องค์กร ร่วมกันประกาศงดจ่ายใต้โต๊ะ โดยเจาะจงกล่าวหาโจมตีรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่มาจากการเลือกตั้งว่า ในอดีตจ่ายเงินใต้โต๊ะ 2-3 % ยังพอรับได้ แต่ตอนนี้ตัวเลขถึง 30% หากไม่ต่อต้านจริงจัง อนาคตอาจเพิ่มเป็น 80-100% ประเทศล่มจมแน่
นายดุสิตถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 ทำให้เว็บไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในเครือเนชั่ว ของสุทธิชัย หยุ่น จัดทำคลิปวิดิโอไว้อาลัยนายดุสิต นนทะนาคร ที่ได้อุปถัมถ์ค้ำจุนกันมาในฐานะผู้ร่วมอุดมการณ์เผด็จการดักดานต่อต้านรัฐบาลประชาธิปไตยมาด้วยกัน
สำหรับภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นที่นายดุสิตเป็นประธานและเป็นตัวตั้งตัวตีนั้น มีเครือเนชั่วของสุทธิชัยหยุ่น รับจ้างเป็นผู้จัดกิจกรรมมาตลอด โดยนายดุสิตได้ขอให้สภาหอการค้าไทยที่เขาเป็นประธานอยู่เข้าร่วมสนับสนุน รวมทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยด้วย
สันติ วิลาสศักดานนท์
คนสหพัฒน์
สปอนเซอร์หลักพันธมาร-เนชั่ว
สันติ วิลาสศักดานนท์

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในเรื่องดันมาร์คแมลงสาบเป็นนายกฯ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง(SPI) บริษัทในเครือสหพัฒนพิบูล ยักษ์ใหญ่ที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคขายคนไทยมานานหลายสิบปีเป็นสหพัฒน์ที่ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากมาหลายปีจากการถูกพวกโมเดิร์นเทรด อย่างคาร์ฟู และโลตัสเล่นงาน ไล่บี้อย่างหนัก
วงจรธุรกิจที่ผลิตและขายสินค้าป้อนพวกร้านค้าย่อยหรือโชห่วย เป็นกิจการที่เป็นหม้อข้าวมาตั้งแต่ยุคเจ้าสัวเทียม โชควัฒนา กำลังยอบแยบ จนกระทั่งนายณรงค์ โชควัฒนา ลูกชายเจ้าสัวเทียมคนที่ 4 ต้องออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ต่อต้านการขยายตัวของห้างสมัยใหม่หรือโมเดิร์นเทรด เป็นการเคลื่อนไหวที่แนบแน่นอย่างยิ่งกับพันธมารของสนธิลิ้ม โดยสหพัฒน์เป็นสปอนเซอร์หลักของพันธมาร ทั้งนายสันติและนายณรงค์ยังมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพวกนายทหารและอำนาจโบราณของไทย ทั้งสองคนจึงได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ) ในยุคที่โจรกบฏคมช.ครองเมือง สหพัฒน์จัดงานใหญ่ซุปเปอร์แกรนด์เซลทุกปี และทุกปีจะจ้างเครือเนชั่วเป็นผู้จัดและประสานงาน โดยให้เปรมิกาเป็นประธานเปิดงานทุกปี มีอยู่ปีหนึ่งที่สหพัฒน์จัดหนุ่มหล่อล่ำไปโชว์กล้ามต้อนรับเอาใจเปรมิกาจนน้ำลายหกเป็นที่ฮือฮา

พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล เป็นประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต่อจากนายสันติ เมื่อ 20 เมษายน 2553 นายพยุงศักดิ์ทำงานปูนซิเมนต์ไทย ตั้งแต่ ปี 2518 - มกราคม 2553 แต่ต่อมาได้มีการเสนอให้ปลดนายพยุงศักดิ์ เพราะไม่สามารถขับเคลื่อนให้รัฐบาลเลื่อนการประกาศขึ้นค่าแรงทั่วประเทศวันละ 300 บาท จากวันที่ 1 มกราคม 2555 ไปเป็นวันที่ 1 มกราคม 2558 นั้น จึงถูกนำขึ้นมาปั่นกระแสเพื่อสร้างแนวร่วมต่อต้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทยจากสมาชิกธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีอยู่ราว 10,000 ราย  และกล่าวหาว่านายพยุงศักดิ์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดรัฐบาลยิ่งลักษณ์มากเกินไปโดยได้เสนอให้นายสันติ วิลาสศักดานนท์อดีตประธานให้เป็นประธานส.อ.ท.คนใหม่

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
ประธานสมาคมธนาคารไทย



อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์
คนนี้ไม่ค่อยมีอะไรเด่นนัก ปี 2537 ช่วงที่ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์เฟื่องฟูสุดขีด ได้เป็นผู้จัดการเงินทุนหลักทรัพย์ไอเอฟซีที ไฟแนนซ์  ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ ช่วงใกล้จุดแตกดับ เป็นกรรมการผู้จัดการ ธนาคารนครหลวงไทย นายอภิศักดิ์ก็เรียนจบวปอ.เหมือนนายประมนต์ และนายสันติ แต่พอได้ไปทำงานที่ไหน ก็มีอันต้องปิดกิจการกันไปหมดทั้งบงล.ไอเอฟซีที แบงก์บีบีซี แบงก์นครหลวง ต่อมาได้มาทำงานที่ธนาคารกรุงไทย ทั้งสมาคมทำหน้าที่เป็นเพียงตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพของนายชาตรี โสภณพานิชที่ผูกติดกับเปรมิกมาตั้งแต่เมื่อมี วปรอ. ใหม่ๆแล้ว ส่วนกลุ่มอุตสาหรรมใหญ่ก็ได้แก่เครือซิเมนต์ไทย ที่มีสำนักงานทรัพย์สินถือหุ้นใหญ่ เรื่องการค้าเครื่องอุปโภคบริโภคก็มีเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์เเครือซีพีและเครือสหพัฒน์ สมาคมธุรกิจของไทยต่างก็ต้องทำมาหากินกับเจ้ากับนายทุนที่เป็นเจ้าของประเทศตัวจริงด้วยกันทั้งนั้น แต่เดิมมีวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อปี 2498 โดยจอมพล ป. เปิดการศึกษาเฉพาะผู้บริหารชั้นสูงของฝ่ายทหารและพลเรือนเท่านั้น ต่อมาในปี  2532 สมัยรัฐบาลเปรมิกาจึงได้เปิดหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน หรือ ปรอ. ขึ้นมาอีกหลักสูตรหนึ่ง โดยเอาพวกพ่อค้ามาอบรมเรียนหนังสือร่วมกับพวกนายทหารและข้าราชการ รุ่นแรกๆที่มาเรียนก็อย่างพวกเจ้าสัวชาตรี แบงก์กรุงเทพ โดยพวกพ่อค้าที่มาเรียนต้องเป็นระดับของจริงเท่านั้น ให้มาเรียนกับพวกนายพล เรียนกันปีกว่า เรียนกันแทบทุกวัน ตอนแรกก็เข้าค่ายลูกเสือละลายพฤติกรรม เรียนรู้กินนอน ไปเที่ยวดูงานเมืองนอกด้วยกัน ทำรายงานด้วยกัน ตกเย็นกินข้าว เสาร์อาทิตย์ตีกอล์ฟ ตกค่ำเที่ยวกลางคืนด้วยกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น

บวรศักดิ์งานเปิดสมาคมสถาบันพระปกเปล้า
23พย.2553
สถาบันพระปกเกล้าของ ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ก็มีหลักสูตรคล้ายๆ วปอ. ขึ้นมาเหมือนกัน เอาพวกนายพล พวกพ่อค้าใหญ่ พวกนักวิชาการ เอ็นจีโอที่มีชื่อ รวมทั้งพวกสื่อหัวกระทิทั้งหลายไปสุมหัวสร้างความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกันขึ้นมา ให้เป็นที่รวมของคนที่อำนาจเงิน อำนาจทางทหาร อำนาจราชการ อำนาจสื่อ  มารวมตัวกันเป็นศูนย์รวมอำนาจที่เบ็ดเสร็จครบเครื่อง สร้างระบบอุปถัมถ์เล่นพรรคเล่นพวกกันไปทั่วทุกวงการ  เช่น พอทหารทำรัฐประหาร ก็เอาพวกพ่อค้าเพื่อนร่วมรุ่นไปเป็นรัฐมนตรี ไปเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ เอาไปนั่งเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจหาเงิน เพราะทหารหาเงินไม่เป็น เป็นเหมือนรวมการเฉพาะกิจที่แสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันบนความวอดวายของประเทศชาติ
กลายเป็นเอกลักษณ์แบบไทยๆ ที่นายทุนกับกองทัพจับมือกันปล้นประเทศ


ขี้ฑูต 3 ตัว
กระทรวงต่างประเทศและนักการทูตถือเป็นขบวนการในเครือข่ายนิยมระบอบกษัตริย์ที่ตามล่าตามล้างนายกทักษิณ เลยพลอยทำลายประชาธิปไตยให้ย่อยยับลงไปด้วย เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทสูง และถือว่ามีเครดิตในเวลาเคลื่อนไหว
นักการทูตตัวเด่นๆที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายพันธมารก็มีนายกษิต ภิรมย์ อันนี้ไม่ขอสาธยายสรรพคุณ เพราะมีให้หาอ่านตามร้านขายยาทั่วไปอยู่แล้ว


อัษฎา ชัยนาม
มีนักการทูตอีกสองคนคือ นายอัษฎาเป็นคนพี่ นายสุรพงษ์เป็นผู้น้อง ทั้งสองมีศักดิ์เป็นหลานลุงของนายดิเรก ชัยนาม อดีตผู้ก่อการ
2475 และวีรบุรุษเสรีไทยกู้ชาติ เป็นรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีการคลัง การต่างประเทศ ยุติธรรมและคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ที่กลายเป็นปัญหาใหญ่เพราะนายกทักษิณไปตั้งนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ด๊อกเตอร์ทางกฎหมายจากฮาร์วาร์ดไปคุมกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี
2540 สมัยรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา ก็ดันไปตั้งนายสุรเกียรติ์เป็นรัฐมนตรีคลัง ทั้งๆที่ไม่ความรู้เรื่องเศรษฐกิจ นายสุรเกียรติก็มั่วของแกไปเรื่อย


วิจิตร สุพินิจ
ตอนนั้นนายวิจิตร สุพินิจ เป็นผู้ว่าแบงก์ชาติก็ยอมปล่อยให้นายสุรเกียรติ์แสดงฝีมือ โดยนายสุรเกียรติได้ใช้นโยบาย 2 สูง คือให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สูงๆเข้าไว้ โดยมีนายเสรี จินตนเสรี ลูกน้องผู้ว่าวิจิตรเป็นคุมตลาดหุ้นก็ปล่อยให้พวกนายราเกซ สักเสนา กับเสี่ยสองปั่นหุ้นธนาคารกรุงเทพพณิชยการกันอย่างสนุก โดยให้ดอกเบี้ยสูง เงินของฝรั่งก็ทะลักเข้ามาฝากแบงก์ไทย เพราะสมัยนั้นอเมริกา ยุโรป ดอกเบี้ยเงินฝากแค่ 2 - 3 % แต่เมืองไทยให้ดอกเบี้ยเงินฝาก 10 % ส่วนพวกไฟแนนซ์ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 15%  เงินนอกก็ไหลเข้า


เสรี จินตนเสรี
พอเศรษฐกิจขาลง ก็ยังไปยืนดอกเบี้ยเงินฝากให้สูงเข้าไว้ จะลดดอกเบี้ยก็ไม่ได้ เพราะเงินจะไหลทะลักออก จะปล่อยหุ้นลงก็ไม่ได้ เลยต้องเอาเงินรัฐบาลไปยันไว้โดยตั้งกองทุนพยุงหุ้น  แต่ก็ยันไว้ไม่ได้นาน พอรัฐบาลบรรหารล้มไป นายสุรเกียรติ์ก็พ้นจากตำแหน่ง รมต.คลัง บิ๊กจิ๋วก็มาเป็นนายกพอดี ผู้ว่าวิจิตรก็บอกนายกจิ๋วให้เลิกนโยบาย
2 สูงที่ทำท่าจะไปไม่ไหว ต้องปล่อยให้หุ้นลงตามธรรมชาติ และต้องลดดอกเบี้ย บิ๊กจิ๋วเป็นทหารที่ไม่รู้เรื่องเศรษฐกิจก็เออออตามใจท่านผู้ว่า เงินนอกที่มาฝากกินดอกเบี้ยเมืองไทยก็ถูกถอนพรวดทันที เงินในตลาดหุ้นเมื่อไม่มีกองทุนพยุงก็เกิดภาวะฟองสบู่แตก เศรษฐกิจก็พังป่นปี้ ส่วนเรื่องที่ผู้ว่าคนต่อมาคือนายเริงชัยเอาเงินบาทไปสู้กับจอร์ชโซรอส แล้วขาดทุนย่อยยับก็เป็นเพียงเรื่องปลายเหตุ เพราะยังไงก็ต้องพังอยู่แล้ว เนื่องจากพื้นฐานมันเป็นฟองสบู่มาตั้งแต่ยุคนายสุรเกียรติ์แล้ว ในที่สุดก็ต้องลดค่าเงินบาท เอาเมืองไทยไปจำนำกับ IMF นายกบิ๊กจิ๋วจึงต้องกลายเป็นจำเลยทั้งที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย


ท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์
แม่ยายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
แต่นายสุรเกียรติ์ก็ลอยนวลมาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสมัยนายกทักษิณ เพราะนายสุรเกียรติ์มีแม่ยายเป็นน้องสาวราชินีสิริกิติ์ซึ่งนักการเมืองไทยทุกคนต้องเอาใจ แถมยังต้องเสนอชื่อนายสุรเกียรติ์ให้ยิ่งใหญ่ขึ้นไปในระดับโลกเพื่อเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติให้ได้แบบสุดๆ ทำกันทุกแบบทุกทาง ต้องเอาให้เป็นให้ได้   แต่ก็ได้ถอนตัวในเดือนตุลาคม  2549 ภายหลังทราบผลการหยั่งเสียง นายอัษฎา ชัยนาม เป็นอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เคยเป็นท่านทูตประจำสหประชาชาติ ตอนใกล้เกษียณก็ถือโอกาสวิจารณ์นโยบายต่างประเทศเรื่องต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาลทักษิณว่าล้มเหลวเพราะเปลี่ยนแปลงไปมา ไม่แน่นอน แถมเขียนลงหนังสือพิมพ์วิจารณ์นายสุรเกียรติ์ตอนหลังเกษียณอีก เพราะเห็นว่านายสุรเกียรติ์ไม่ใช่คนดีที่มีความรู้ความสามารถอะไรมากมายนัก แต่เป็นได้แค่คนโกหกหลอกลวงที่เอาแต่ได้
นายอัษฎาถูกนายนิตย์ พิบูลสงคราม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งกรรมการสอบสวนเนื่องจากนายอัษฎาไม่ได้ไปรับเสด็จเจ้านายระดับสูง แม้จะอ้างว่าป่วย แต่ก็ไม่ได้มีการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทน เป็นเหตุให้นายอัษฎากล่าวหาว่านายสุรเกียรติ์พยายามปลดตนออกจากตำแหน่ง  แต่นายกทักษิณได้ช่วยไว้ถึง 3 ครั้ง
นายสุรเกียรติ์ยังสวมบทหมาป่ากับลูกแกะ โดยหันมาเล่นงานนายสุรพงษ์ ผู้เป็นน้องชายของนายอัษฎา เริ่มจากการย้ายจากอธิบดีกรมใหญ่ไปเป็นท่านทูตที่เยอรมัน แถมให้ย้ายไปอยู่แถวอาฟริกา ต่อมานายกทักษิณให้มีทูตซีอีโอ แต่พวกทูตที่ถือว่าตนเป็นพวกผู้ดีก็ไม่ค่อยพอใจ หาว่านายกทักษิณไปลดเกียรติลดศักดิ์ศรีให้ท่านทูตลงมาเป็นพ่อค้า


สุรพงษ์ ชัยนาม
นายสุรพงษ์ ชัยนาม เคยเขียนหนังสือแนวมาร์คซิสม์ไว้หลายเล่ม ในสมัยกระแสสังคมนิยมขึ้นสูง แต่เมื่อไม่พอใจรัฐบาลทักษิณ ทั้งนายอัษฎาและนายสุรพงษ์ ชัยนามสองพี่น้องหันมาจับมือกับนายกษิต ขึ้นเวทีกู้ชาติของพันธมารเมื่อ 15 มีนาคม 2549 โจมตีรัฐบาลทักษิณพร้อมทั้งเล่นงานนายสุรเกียรติ์ว่าเป็นคนกะล่อน โกหกและสร้างภาพ รังแกข้าราชการหวังแต่จะเป็นเลขาธิการยูเอ็น
ต่อมานายสุรเกียรติ์ ได้ยื่นฟ้อง นายอัษฎา ฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานและหมิ่นประมาทตนว่าไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับเลือกเป็นเลขาธิการยูเอ็น รวมทั้งการวิจารณ์นโยบายบริหารงานกระทรวงการต่างประเทศ
ในท้ายที่สุดนายสุรเกียติ์ก็หันมาหักหลังนายกทักษิณตอนเกิดรัฐประหาร
19 กันยา 2549
ส่วนนายสุรพงษ์กลายมาเป็นมือไม้ให้รัฐบาลโจรสุรยุทธ์และเขียนบทความเชียร์รัฐประหาร
19 กันยา 2549 โดยโมเมเอาว่าเหมือนการปฏิวัติสังคมนิยมเพื่อกอบกู้ฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย
นายสุรพงษ์ ชัยนาม ได้เป็นที่ปรึกษานายกษิตรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ในสมัยรัฐบาลมาร์ค แมลงสาบ ส่วนนายอัษฎาได้เป็นกรรมาธิการเขตแดนไทย-กัมพูชา หรือ
JBC

เบื้องหลังคนทำโพล

เอแบคโพล
ศรีศักดิ์ จามรมาน
ประธาน เอแบคโพล
ABAC POLL

ศรีศักดิ์ จามรมาน

ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมานเป็นลูกพระยานิติศาสตรไพศาลย์ ( วัน จามรมาน ) อดีตอธิบดีกรมพระอาลักษณ์ รัฐมนตรียุติธรรมและรักษาการนายกรัฐมนตรีระหว่างที่พระยาพหลพลพยุหเสนาลาป่วยประมาณ 6 เดือน รวมทั้งตำแหน่งประธานคณะราษฎร  คุณศรีศักดิ์จบวิศวกรรมศาสตร์โยธาจุฬา จบปริญญาเอกคอมพิวเตอร์ จากจอร์เจีย สหรัฐเมื่อปี 2507 เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นประธานบริษัทคอมพิวเตอร์และสหวิทยาการจำกัด ให้คำปรึกษาแก่ธนาคารไทยพาณิชย์ ลูกค้าธนาคารกรุงเทพ เป็นที่ปรึกษาสำนักปลัดบัญชีทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทเคเอสซี  ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกและใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีมูลค่าถึง 40,000 ล้านบาท เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ รับทำวิจัยเชิงธุรกิจและทำวิจัยสาธารณประโยชน์ ได้รับขนานนามว่าเป็นบุรุษคอมพิวเตอร์แห่งเอเซีย และเป็นบิดาอินเทอร์เน็ตไทย
 

นพดล กรรณิกา

ส่วนดร. นพดล กรรณิกา เป็นผอ.สำนักวิจัย จบปริญญาเอกด้านการจัดการวิศวกรรมคอม พิวเตอร์ มหา วิทยา ลัยอัสสัมชัญ ปริญญาโทด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจและการทำโพล จากมิชิแกน ดร.นพดลประกาศตัวว่าเป็นนักวิชาการที่เป็นกลาง คอยออกโพลสำรวจความเห็นของประชาชนว่าเดือดร้อนจากการชุมนุมปิดถนนของทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง แต่มีทัศนะส่วนตัวเอียงไปทางเหลือง ทัศนะบ้านเมืองก็ไปทางเดียวกับมาร์คแมลงสาบ เลยได้รับเชิญให้เข้าทำเนียบสมัยรัฐบาลมาร์คแมลงสาบเป็นประจำ เพราะมาร์คแมลงสาบอยากขอคำปรึกษาในเรื่องของประชามติต่อตัวเขา และคำชี้แนะทางวิชาการ

สวนดุสิตโพล

สุขุม เฉลยทรัพย์
มีอาจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์เป็นเจ้าสำนัก เป็นคู่แข่งคนสำคัญกับเอแบคโพล เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี  2535 จากงานภาคปฏิบัติให้นักศึกษาในหลักสูตรบรรณารักษ์และสารนิเทศ เป็นการฝึกด้านการหาข้อมูลข่าวสารให้กับนักศึกษาในสถานการณ์จริง และเป็นการให้บริการทางด้านวิชาการแก่สังคม  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการพัฒนาระบบการเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. 3 มีนาคม 2556 สวนดุสิตโพลถูกกล่าวหาว่าไปทำโพลเชียร์ พล.ต.อ.พงศพัศ พงศ์เจริญผู้สมัครผู้ว่ากทม.ของพรรคเพื่อไทย ก่อนหน้านี้นายมานิจ สุขสมจิตร ลาออกจากนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เนื่องจากไม่พอใจกรณีมหาวิทยาลัยไปรับจัดทำเวทีเสวนาแก้ไขรัดทำมะนวย 108 แห่งให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะนายมานิจเองก็เป็นสมาชิกสภาร่างรัดทำมะนวยของคณะปฏิกูลการปกครอง  แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าหม่อมสุขุมพันธ์แห่งพรรคแมลงสาบกลับพลิกล้อคชนะการเลือกตั้ง ทำให้พรรคแมลงสาบและพวกสลิ่มออกมาถล่มสวนดุสิตโพลว่ารับจ้างพรรคเพื่อไทยสร้างโพลโกหก อาจารย์สุขุมจึงต้องออกมายอมรับความผิดพลาด พร้อมสรุปเพื่อการวางแผนให้รัดกุม ต้องควบคุมตัวแปร โดยเฉพาะพฤติกรรมการให้ข้อมูลของคนกรุงเทพฯ  แม้จะได้ดำเนินการตามหลักวิชาการอย่างเคร่งครัดแล้วก็ตาม แต่ยังขาดความรอบคอบในการควบคุมตัวแปรที่คณะทำงานต้องทันกับเกมการเมืองที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
โดยความเป็นจริงแล้วไม่ว่าวงการไหนก็ล้วนแต่มีฝักฝ่ายด้วยกันทั้งนั้น ตราบใดที่คนยังต้องอยู่ต้องกิน แต่บางคนก็ชอบอวดอ้างว่าตนบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่เข้าข้างใครทั้งสิ้น นับจากปี 2547-2555 สวนดุสิตได้รับว่าจ้างวิจัยเชิงสำรวจ และทำโพลให้แก่หน่วยงานรัฐทั้งสิ้น 21 แห่ง 42 ครั้ง วงเงินรวมกว่า 141 ล้านบาท

กรุงเทพโพลล์

เจริญ คันธวงศ์
เป็นของมหา วิทยา ลัย กรุงเทพ ซึ่งก่อตั้งโดยตระกูลโอสถา นุ เคราะห์

โดยมีนายเจริญ คันธวงศ์ เป็นอธิการบดีคนแรกที่เป็นมาถึง 25 ปีตั้งแต่สมัยเรียกว่าครูใหญ่
เป็นประธาน ส.ส.พรรคแมลงสาบ ปัจจุบันยังคงเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย
และได้รับการยกย่องเป็นอธิการบดีกิตติคุณก่อตั้ง



ธนู กุลชล



ส่วนอธิการบดีคนที่สอง ที่เป็นมาถึง
20 ปี คือ ดร.ธนู กุลชล
ก็เข้าไปเป็น สว.ลากตั้งของพวกโจรกบฏคมช.เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551







ทำไมนิด้าโพล
จึงแม่นอยู่โพลเดียว

ผลการเลือกตั้งสส.ทั่วประเทศ 3 กค. 2554
สวนดุสิตโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศนอกคูหาเลือกตั้ง หรือ  EXIT POLL ทั้ง 375 เขตเลือกตั้ง จำนวน 157,759 ตัวอย่าง ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ระหว่างเวลา 8.00 - 14.00 น. บริเวณหน้าคูหาเลือกตั้ง ให้พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.รวม 313 คน พรรคแมลงสาบได้ ส.ส. รวม152 คน
โดย กทม. พรรคเพื่อไทยจะได้
28 คน พรรคแมลงสาบได้ 5 คน
เอแบคโพล ให้พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.รวม
299 พรรคแมลงสาบได้ส.ส.รวม 132
โดยกทม. พรรคเพื่อไทยจะได้
24 คน  พรรคแมลงสาบได้ 9 คน
หลังปิดหีบลงคะแนน สื่อก็รีบแถลงผลของโพล แต่พรรคแมลงสาบรีบโต้แย้งทันทีว่าพวกตนต้องชนะการเลือกตั้งส.ส.ในกทม. และผลที่ออกมาสำหรับกทม.กลับผิดคาด คือ พรรคเพื่อไทยได้ส.ส.แค่
10 คน พรรคแมลงสาบได้ส.ส.ถึง 23 คน


มรว.สุขุมพันธุ์ และ พล.ต.อ.พงศพัศ
ในการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2556
เอแบคโพลและสวนดุสิตโพล ฟันธงให้พงศพัศ ชนะเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม.
สวนดุสิตโพล ให้พงศพัศ
49.01% ตามด้วยสุขุมพันธ์ 39.65%
เอแบคโพลล์ ให้พงศพัศ
40.9 ถึง 50.9% ตามด้วยสุขุมพันธ์ 34.1%
มีแต่นิด้าโพลเท่านั้น ที่ให้ สุขุมพันธุ์ 
43.16% ตามด้วยพงศพัศ 41.45%
ผลการเลือกตั้ง สุขุมพันธุ์ ได้ราว
1,250,000 หรือ 47.75 % พงศพัศ ได้ราว  1,070,000 หรือ 40.97 %


สุวิชา เป้าอารีย์
ดร. สุวิชา เป้าอารีย์  ผอ.นิด้าโพล เจ้าตำรับโพลมือถือ ที่ดังเป็นพลุแตกชั่วข้ามคืนวันที่ 3 มี.ค.2556 สำหรับนิด้าโพล เพราะเป็นเพียงโพลเดียว ที่ทำนายว่าสุขุมพันธุ์ จะชนะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. เหนือพงศพัศ อ้างว่านิด้าโพลทำการสำรวจผ่านทางโทรศัพท์ มีการทำความรู้จักกับกลุ่มตัวอย่างก่อนที่จะมีการเก็บข้อมูล เพื่อเป็นสร้างความสัมพันธ์ ทำให้ผู้ตอบพร้อมจะให้ข้อมูลที่แท้จริง คือจะไม่มีการเผชิญหน้า ลดความไม่ไว้วางใจ ทำให้ได้คำตอบตามความจริง



ภาพตัดต่อที่ใช้โจมตีพล.ต.อ. พงศพัศ
แต่เมื่อได้พิจารณาตามข้อเท็จจริงแล้ว จะเห็นได้ว่าวิธีการทำโพลของนิด้า ก็ไม่น่าจะช่วยให้แม่นยำกว่าโพลอื่นๆเลย เพราะนิด้าโพลบอกเองว่าเป็น โพลมือถือ มีฐานข้อมูลอายุ อาชีพ รายได้ ที่อยู่ เพศ แล้วโทรไปสอบถาม อ้างว่าทำให้คนกล้าพูด แต่เอาเข้าจริง คนไม่รู้จักกันมาโทรถามทางมือถือ เราก็มักโกหกได้ง่ายๆ ต่างกับการถามซึ่งหน้า ถ้าผู้สอบถามมีการฝึกมาดี จะดูออกว่าพูดจริงหรือโกหก ถ้าคิดอย่างนิด้า สำนักโพลทุกสำนักก็ต้องหันมาใช้การสอบถามทางมือถือหมดแล้วเพราะมันง่ายดี
แต่ ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.เอแบคโพล วิเคราะห์ว่าเอแบคโพลมีหัวหน้าคุมงานดูแลการลงพื้นที่และให้แต่ละคนถ่ายรูปส่งมาให้ซุปเปอร์ไวเซอร์ เพื่อยืนยันว่าไปเก็บข้อมูลในจุดไหนบ้าง และมีวิธีที่ทำให้ผู้ตอบไว้ใจโดยเอาแบบสอบถามใส่ซองให้เห็นต่อหน้าแล้วปิดผนึก เพื่อยืนยันว่าคนที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลไม่รู้ว่ากลุ่มตัวอย่างรายนั้นตอบว่าอะไร ตนเชื่อว่าวิธีการนี้จะทำให้คนไว้ใจที่จะให้ข้อมูลกับเอแบคโพล  ทั้งนี้เอแบคโพลสุ่มตัวอย่างทั้งหมด
5 ชั้น ทั้งเขตปกครอง แขวง ชุมชน ครัวเรือน และคนในครัวเรือน ต่างจากสหรัฐที่มีการสุ่มมีเพียง 2 ชั้น โดยใช้สอบถามทางโทรศัพท์อีกชั้นหนึ่ง เพราะมีโทรศัพท์เกือบทุกครัวเรือน แต่ประเทศไทยทำไม่ได้ เพราะครัวเรือนที่มีโทรศัพท์บ้านมีเพียง 35% ทำให้ต้องสุ่มตัวอย่างถึง 5 ชั้น

การแถลงเปิดตัวกลุ่มสยามภิวัฒณ์
การที่นิด้าโพลนำมาอ้างว่าตนมีวิธีการทำโพลที่แม่นยำเพราะใช้วิธีสอบถามทางโทรศัพท์แบบไม่ต้องเผชิญหน้า จึงน่าจะเป็นแค่ข้ออ้าง เพราะเจ้าของนิดาโพลคงจะรู้ดีว่าโพลอื่นๆเขาแม่นอยู่แล้ว เพราะทำตามหลักวิชาการ แต่นิด้าโพลไม่ใช่โพลธรรมดา เพราะดร.สุวิชา เป้าอารีย์  ผอ.นิด้าโพลเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ที่แสดงจุดยืนชัดเจนคือเป็นศัตรูกับฝ่ายทักษิณและคนเสื้อแดง โดยอ้างว่าต่อต้านการผูกขาดอำนาจในสังคมไทยซึ่งก็คือต่อต้านการที่พรรคของคุณทักษิณชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง โดยได้ออกแถลงการณ์ของกลุ่ม เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 มี รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน  ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ  ดร. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ดร.สุวิชา เป้าอารีย์  รศ.นเรศร์ เกษะประกร ดร.ปุ่น วิชชุไตรภพ ซึ่งบรรดาคณาจารย์พวกนี้เป็นฝ่ายนิยมชมชอบและรับใช้ระบอบเผด็จการดักดานมาโดยตลอด
ดังนั้นการที่พรรคแมลงสาบชนะการเลือกตั้งในกทม. ทั้งการเลือกตั้งสส.และผู้ว่ากทม. จึงเป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยและฝ่ายประชาธิปไตยควรจะต้องตั้งข้อสงสัยและพยายามค้นหาสาเหตุที่แท้จริงให้ได้ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขในคราวต่อไป
…………