วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

รู้ทันเจ้าของคอกม้า ตอน มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ Heritage of Absolute Monarchy



ฟังเสียงพร้อมดนตรี :
http://www.4shared.com/mp3/zT1-fMOS/Heritage_of_Absolute_Monarchy_.htmlhttp://www.mediafire.com/?vq0x8z4015yu4k7


รู้ทันเจ้าของคอกม้า

ตอน มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 

สมบูรณาญาสิทธิราชย์
( Absolute Monarchy )


คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง  และ มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ กษัตริย์คือกฎหมาย กล่าวคือ คำสั่ง และความต้องการต่างๆของกษัตริย์ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองอย่างอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใดๆ จะห้ามปรามหรือยับยั้งได้ ถือว่ากษัตริย์คือองค์รัฏฐาธิปัตย์ เพราะระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับกษัตริย์ โดยคาดหวังว่ากษัตริย์ต้องทรงคุณธรรม สืบสายเลือดที่สูงส่งและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด
แต่เดิมไม่ปรากฏคำว่าสมบูรณา ญาสิทธิราชย์ในภาษาไทย แต่เกิดขึ้นจากการแปลคำว่า  absolute monarchy โดยการสมาสศัพท์ดังต่อไปนี้
สมบูรณ คือ บริบูรณ์ครบถ้วน  เด็ดขาดสิ้นเชิง
อาญา คือ อำนาจ หรือ โทษ
สิทธิ คือ  อำนาจอันชอบธรรม
ราชย คือ ความเป็นกษัตริย์

เมื่อรวมกันแล้ว จึงมีความหมายว่า ฐานะความเป็นกษัตริย์อันทรงสิทธิอำนาจเด็ดขาดทั้งปวงหมายความถึง การที่กษัตริย์เป็นเจ้าชีวิตเหนือไพร่ฟ้าทุกคน พระองค์สามารถให้โทษหรืออภัยโทษแก่ผู้ใดก็ได้ในพระราชอาณาจักรของพระองค์เอง

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย

ประเทศไทยเคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า
รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ครั้งที่ 2 ในปี 2416
" พระบรม ราชานุภาพของพระเจ้า แผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้ " โดยมีจุดเริ่มต้นของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในไทย ตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ครั้งที่ 2 ของรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะ อายุครบ 20 ปี ในปี  2416



หน่วยทหารมหาดเล็ก สมัยรัชกาลที่ 5

โดยมีการปฏิรูประบอบกองทัพ เกิดกองทหารหน้า ต่อมาพัฒนาเป็นกระทรวงกลาโหม มีโครงสร้างกองทัพในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รวมทั้งมีการปรับโครงสร้างการเมืองการปกครองอีก 2 ด้านหลัก คือการจัดโครงสร้างด้านการคลัง
หอรัษฎากรพิพัฒน์เดิม ในพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว

ยกเลิกการจัดการเงินแบบเก่า ที่เคยใช้พวกเจ้าภาษีนายอากร และระบบส่วยสาอากรผ่านเจ้านายและขุนนางที่รั่วไหลมาก  มาสู่การเก็บภาษีในลักษณะรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง โดยตราพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์  2416 และกรมพระคลังมหาสมบัติ 2418 ทำให้กษัตริย์ไม่ต้องรับส่วยสาอากรผ่านเจ้าเมืองและขุนนางศักดินาที่มีมาแต่เดิม

กรมพระยาดำรงตรวจราชการมณฑลอุดร 2449
ในด้านการปกครอง มีการเปลี่ยนจากระบอบเจ้าเมือง
/ เจ้า ประเทศ ราช ของท้องถิ่นมาเป็นระบบ ข้าหลวงจากส่วนกลาง โดยในปี 2435 มีการตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ 12 กระทรวง และโอนการปกครองหัวเมืองทั้งหมดมาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย สิ้นสุดระบบจตุสดมภ์ และระบบอัครมหาเสนาบดีคือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม


ประชุมเทศาภิบาล กระทรวงมหาดไทย 2439
จัดระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่ เรียกว่าเทศาภิบาล แบ่งเป็นมณฑล เมือง อำเภอ เปลี่ยนผ่านอำนาจจากการแบ่งปันพื้นที่และผลประโยชน์แบบศักดินาสวามิภักดิ์ มาสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างบุคลากรขึ้นมารองรับระบอบการปกครองบริหารราชการแบบใหม่อย่างเร่งด่วน เรียกว่าข้าราชการใหม่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และเป็นศูนย์รวมของรัฐชาติสมัยใหม่นี้แทนที่ระบบความภักดีในเจ้านายเดิมแบบศักดินาที่ถูกขจัดไป
โรงเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว
รัชกาลที่
5 ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ขึ้นภายในพระบรมมหาราชวังหรือวัดพระแก้ว เมื่อปี 2442 ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี และให้เอาพระเกี้ยว มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน เพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้จะได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิด ตามประเพณีที่ข้าราชการจะทำงานในกรมมหาดเล็กก่อน จึงให้ชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก
ต่อมารัชกาลที่ 6 จึงสถาปนาขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบิดา คือรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2460
เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย มีเป้าหมายสำคัญในการผลิตคนมารับใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรวบอำนาจการปกครองทั้งหมดเข้าสู่ส่วนกลางในเวลานั้น

ทหารและพลเรือนร่วมทำการยึดอำนาจ 24 มิถุนายน 2475
ระบอบสมบูร ณา ญาสิทธิ ราชย์ มีอายุราว
50 ปี ระหว่าง  2425 - 2475 นับจากปีที่ รัชกาลที่ 5 มีพระราชอำนาจอย่างเต็มที่แล้วเริ่มปฏิรูปครั้งใหญ่ จนถึงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
โดยข้าราชการทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดย มีสาเหตุมาจากอิทธิพลของแนวความคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตกโดยเฉพาะในหมู่ข้าราชการที่ได้รับการศึกษามาจากยุโรป ประกอบกับวิกฤติทางการคลังทำให้รัฐบาลต้องตัดรายจ่ายในเงินเดือนของข้าราชการฝ่ายต่างๆ รวมไปถึงความไม่พอใจเจ้านายบางพระองค์ คณะผู้ก่อการ ซึ่งเรียกตนเองว่าคณะราษฎร ได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้น โดยมีพระยามโนปกรณ์ นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ได้ประกาศให้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 27 มิถุนายน 2475 และรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 ใช้ระบบรัฐสภา

มรดกทรราชย์ทายาทอสูร

นายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่ระบอบสมบูร ณาญา สิทธิราชย์ยังไม่จบสิ้นอย่างที่คิด เพราะมันได้สร้างฐานรากหลายๆด้านแก่สังคมการเมืองไทยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นฐานรากของปัญหาเรื้อรังหลายอย่างที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่แก้ไขยากมากเพราะเรื้อรังมานาน ทั้งๆที่คณะราษฎรได้ล้มเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเป็นทางการไปแล้ว แต่คณะราษฎรเองกลับสืบทอดมรดกหลายอย่างของระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชย์ในเวลาต่อมา

จุดประสงค์ของคณะราษฎรในการเลิกล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นก็เพื่อยกเลิกรูปแบบการปกครองที่ถือว่าล้าหลังและป่าเถื่อน เพื่อให้สยามได้ปกครองแบบประชาธิปไตย
นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
นักโฆษณาสถาบันกษัตริย์
แต่ฝ่ายนิยม ระบอบ กษัตริย์กลับต้องการรักษาระบอบสมบูร ณาญา สิทธิราชย์เพื่อปกป้องสถานะอำนาจที่พวกเขาเคยมี โดยอ้างคุโณปการของสถาบันกษัตริย์ในการปกปักษ์รักษาจารีตประเพณี อ้างว่ากษัตริย์ทรงเป็นนักพัฒนาที่มีความทันสมัย คอยให้คำแนะนำแก่รัฐบาล ให้ความดูแลทุกข์สุขแก่พสกนิกร และเป็นศูนย์รวมใจมาช้านาน แต่ในขณะเดียวกันพระราชอำนาจอันทรงพลานุภาพที่ถูกปกป้องไว้ด้วยเกราะกำบังของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น แสดงถึงพระราชอำนาจอันยิ่งใหญ่ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

18 มิย. 2553 กองทัพประชาชนรวบรวมรายชื่อถวายคืนพระราชอำนาจ
การยกย่องสรรเสริญพระราชอำนาจของกษัตริย์เป็นการลดความสำคัญของสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายนิยมระบอบกษัตริย์ได้ร่วมมือกับนักประวัติศาสตร์และนักวิชาการอนุรักษ์นิยมรวมทั้งสื่อที่ทรงอิทธิพลในการสร้างภาพด้านลบต่อการเมืองของไทยว่าเกิดจากบรรดานักการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบและไร้จริยธรรม โดยไม่ได้กล่าวถึงการเข้ามาแทรงแซงของสถาบันกษัตริย์ กลายเป็นวัฒนธรรมการเมืองไทยแบบใหม่ที่อ้างสิทธิโดยชอบธรรมในการเข้าแทรกแซงและครอบงำทางการเมืองของกษัตริย์อย่างต่อเนื่อง
เครือข่ายผู้สนับสนุนระบอบเผด็จการดักดานแห่งชาติ
ทั้งการอาศัยเครือข่ายที่เกาะเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ทั้ง ราชนิกุล องคมนตรี และผู้ปฏิบัติงานรับใช้กษัตริย์ รวมถึงฝ่ายนิยมระบอบกษัตริย์ซึ่งได้ปวารณาตัวที่จะปกป้องสถาบันกษัตริย์ในทุกภาคส่วน
ของสังคม เช่น กองทัพ หน่วยงานราชการ พรรคการฝ่ายเมืองฝ่ายนิยมระบอบกษัตริย์ และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ รวมกันเป็นเครือข่ายของสถาบันกษัตริย์   ซึ่งเป็นเครือข่ายอำนาจที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศไทย โดยมีกษัตริย์ภูมิพลอยู่บนส่วนยอดสุด มีฝ่ายบริหารที่นำโดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพและอดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี โดยอาศัยความคิดความเชื่อทางสังคมวัฒนธรรมและทางการเมือง ที่ฝังรากยึดโยงอยู่กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั้งสิ้น
25 เดือน 5 ปี 2555 เสด็จทุ่งมะขามหย่อง หวังเอาฤกษ์เอาชัย
แต่การโฆษณา ชวนเชื่อให้สถาบัน กษัตริย์เป็นแบบอย่างของวิถีชีวิตคนไทยนั้น โดยเฉพาะการสรรเสริญเยินยอพระเกียรติให้มีความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงเทวราชอย่างไม่หยุดหย่อน ตลอดรัชสมัยของกษัตริย์ภูมิพล ส่งผลให้เกิดสายใยที่แนบแน่นระหว่างกษัตริย์ภูมิพลกับสังคมและการเมือง ที่กลายเป็นเหมือนเรือนจำทางความคิด ที่กักขังไม่ให้คนไทยสามารถแสดงความคิดเห็นที่ต่างไปจากกรอบความคิดคลั่งเจ้าบ้ากษัตริย์ ความคิดที่แตกต่างกลายเป็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากมันอาจคุกคามต่อสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ คนที่ละเมิดข้อห้ามจะถูกลงโทษจำคุกสูงสุดถึง
15 ปี ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งมีบทลงโทษรุนแรงที่สุดในโลก จากการโฆษณาชวนเชื่อว่าประเทศไทยจำเป็นต้องเลือกรับเฉพาะแนวคิดที่เหมาะสมกับประเทศไทยเท่านั้น  ประชาธิปไตยนั้นจะต้องถูกนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเชื่อ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยดั้งเดิม เพื่อรักษาเอกลักษณ์ที่เรียกว่าความเป็นไทย โดยมีองค์ประกอบหลักคือ ชาติ ศาสนาพุทธ และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ได้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 และถูกใช้โฆษณามาตลอด เพื่อธำรงรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้ยืนนานต่อไป


นายกทักษิณแสดงความจงรักภักดีเสมอมา แต่ไร้ผล
แม้ว่าไทยจะประกาศใช้การปกครองแบบประชา ธิปไตย แต่ก็เป็นประชา ธิปไตยแค่เปลือกนอกเท่านั้น แก่นแท้ก็ยังคงมีอุดมการณ์แบบกษัตริย์นิยมที่ฝังรากไว้ จึงเป็นแค่เหล้าเก่าในขวดใหม่ ในชื่อของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือ แม้จะมีรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตยแต่กษัตริย์ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญทางการเมือง  รวมถึงการสร้างประวัติศาสตร์ที่เชิดชูกษัตริย์ราชวงศ์จักรีว่าทรงพระปรีชาสามารถในการปกป้องผืนแผ่นดินไทย และให้ขับไล่ผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองออกจากประเทศ ด้วยข้อหาว่าเนรคุณต่อสถาบันกษัตริย์  โดยเฉพาะกลุ่มที่ตั้งคำถามถึงสถานภาพและบทบาทที่ควรจะเป็นของสถาบันกษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย กษัตริย์ภูมิพลมิได้เป็นแค่ประมุขของประเทศ แต่ได้ถูกยกให้เป็นเสมือนเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ที่ใครจะล่วงละเมิดมิได้
เสด็จพื้นที่ทุรกันดาร กลายเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ
ในขณะเดียวกันก็ยังสร้างภาพให้เป็นพ่อของแผ่นดิน จากภาพยนต์ โฆษณา การเสด็จเยือนท้องถิ่นทุรกันดารที่ออกฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อสร้างความผูกพันเชิงบุญคุณกับประชาชน พร้อมทั้งยกบทบาทให้กษัตริย์ภูมิพลเป็นเหมือนอัศวินม้าขาวผู้แก้วิกฤติการณ์ของชาติซึ่งพระองค์มีส่วนที่ก่อให้เกิดวิกฤตินั่นเอง
แต่กษัตริย์ภูมิพลที่ใกล้ชิดกับประชาชนหรือเป็นพ่อของประชาชนและกษัตริย์ภูมิพลที่เป็นเสมือนเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์สูงส่ง มันเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันเองอย่างมาก

 

ทรงให้สุนัขเดินนำหน้า เพื่อให้ประชาชนหมอบกราบ
มีการฟื้นฟูธรรมเนียมปฏิบัติเก่าแก่ที่ดูโบราณและดักดาน เช่น การหมอบคลาน ที่ได้ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี 2416 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นปู่ของกษัตริย์ภูมิพล เพราะทรงเห็นว่าการหมอบคลานเป็นเรื่องที่ป่าเถื่อนและล้าสมัย การฟื้นฟูการหมอบคลานก็คือความต้องการที่จะให้มีการยกสถานะของกษัตริย์ให้เป็นเทพเจ้าในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากกว่าการเป็นกษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมในระบอบประชาธิปไตย
การที่ฝ่ายนิยมระบอบกษัตริย์และกษัตริย์ภูมิพลลงมาเล่นการเมืองเสียเอง ย่อมนำไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์


เมื่อใดก็ตามที่ประเทศไทยมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง ก็มักถูกมองว่าเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ นับตั้งแต่นายกทักษิณ นายกสมัคร นายกสมชาย และรวมถึงนายกยิ่งลักษณ์ โดยฝ่ายนิยมระบอบกษัตริย์ได้อาศัยการใช้มาตรา
112 ในการห้ำหั่นกำจัดคู่ต่อสู้ โดยในปี 2548 มีคดีที่เกี่ยวกับกฏหมายหมิ่นกษัตริย์ 33 คดี ในปี 2550 เพิ่มเป็น 126 คดี ปี 2552 เพิ่มเป็น 164 คดี ในปี 2553 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 478 คดี ในสมัยรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 

รูปแบบของมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีมรดกที่ลึกซึ้งกว้างไกล เพราะมันคือ ระบอบอำนาจที่ให้กำเนิดและหล่อหลอมรัฐไทยในช่วงขณะที่ประเทศไทยเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ เป็นยุคที่มีการวางรากฐานโครงสร้างของรัฐสมัยใหม่ของไทยที่ก่อรูปขึ้นและกลายเป็นรากฐานของสังคมไทยสมัยใหม่ในเวลาต่อมา
จุดมุ่งหมายของพวกพันธมาร
ก็คือระบอบเผด็จการดักดานของกษัตริย์ภูมิพล
ผลผลิตสำคัญที่สุดของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือประเทศไทยสมัยใหม่ที่อ้างคุณูปการของกษัตริย์อันน่าเฉลิมฉลองให้อยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน แต่คุณูปการที่น่าเฉลิมฉลองน่าภาคภูมิใจนั้น กลับเป็นกรอบกำแพงที่กักขังสังคมไทยไว้ จนไม่สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้เราไม่สามารถแม้แต่จะคิดออกนอกกรอบกำแพง หรือถึงกับรังเกียจ ลงโทษ ทำร้ายคนที่คิดออกนอกกรอบกำแพง โดยอาศัยกฎหมายอาญามาตรา 112

พุทธศาสนากับระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์

วชิรญาณภิกขุ บวช 2367-2394
ขบวนการธรรมยุตินิกายของวชิรญาณภิกษุ หรือเจ้าฟ้ามงกุฎ ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อพุทธศาสนาที่แต่เดิมแสดงถึงสัจจธรรมของโลกธรรมชาติทั้งปวง ให้มาเป็นระบบความเชื่อทางศีลธรรมของปัจเจกบุคคล ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสองประการ คือ การสถาปนาคณะสงฆ์ที่รวมศูนย์ตามแบบการปกครองของรัฐ และแผ่ขยายความคิด การตีความและคัมภีร์ที่ถือตามมาตรฐานของกรุงเทพ เพื่อให้พุทธศาสนาของไทยมีมาตรฐานเดียวกัน โดยเริ่มขึ้นในครึ่งหลังของรัชกาลที่
5


รัชกาลที่ 6 ต้นตำรับ คาถา ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
และการทำให้พุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทยที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ได้ริเริ่มลัทธิชาตินิยมของความเป็นไทยด้วยวาทกรรม ชาติ ศาสน์ กษัตริย์อันทรงพลัง และกลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งยังคงเป็นมรดกที่อยู่กับประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบันอย่างแข็งแกร่ง
พุทธศาสนาถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อประกันความสัมพันธ์ทางสังคมตามลำดับชั้นของบุญบารมี  ประชาชนไทยไม่เคยได้เป็นพลเมืองที่เท่าเทียมกัน


รัชกาลที่ 6 เน้นการทำหน้าที่ แต่ไม่พูดถึงสิทธิเสรีภาพ
สังคมไทยแบบพุทธ คือแนวคิดที่เน้นว่าสังคมจะเป็นปกติสุขและพัฒนาไปได้ ก็ต่อเมื่อหน่วยต่างๆของสังคมจะต้องรู้จักหน้าที่ของตนและทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน เปรียบเสมือนอวัยวะต่างๆของร่างกายซึ่งมีหน้าที่ต่างๆกัน มีความสำคัญไม่เท่ากัน แต่ต้องประสานสอดคล้องกัน สังคมจึงจะไม่เจ็บป่วย องค์รวมที่เรียกว่าประเทศไทย จึงเต็มไปด้วยหน่วยย่อยๆที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะพิจารณาหน่วยสังคมใดๆ เช่นครอบครัว ที่ทำงาน หมู่บ้าน ตำบล จังหวัด กระทรวงทบวงกรม โรงเรียน บริษัท โรงงาน ฯลฯ ก็จะพบผู้คนที่มีบุญบารมีไม่เท่ากัน และต้องยอมรับความสูงต่ำในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่ทุกๆคนล้วนมีความสำคัญ เพราะทุกอวัยวะทุกหน้าที่ล้วนมีความสำคัญ โดยไม่ให้ความสำคัญกับหลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค สังคมไทยกลัวความขัดแย้งซึ่งเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย จึงเรียกร้องและเน้นแต่ความสามัคคีและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลที่มีสังกัดต้องขึ้นต่อผู้อื่น มากกว่าสิทธิและเสรีภาพซึ่งเป็นหลักประกันพื้นฐานอันจำเป็นของบุคคล

พระพุทธองค์แสดงกาลามสูตรต่อชาวกาลามะ แคว้นโกศล
อันที่จริงหลักทางพุทธศาสนารวมทั้งหลักศาสนาทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออกหลายแห่งถือว่าคนเราเสมอภาคเท่าเทียมกัน ความขัดแย้งที่อยู่ในกรอบถือเป็นเรื่องปกติและแปรเป็นพลัง สร้างสรรค์ แต่ประวัติศาสตร์ไทยได้สร้างเรื่องโกหกของสุโขทัยให้เป็นแบบฉบับของการปกครองแบบพ่อปกครองลูก  ตามด้วยเรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยาและกู้อิสรภาพกลับมา
2 ครั้ง


ภาพวาดเหตุการณ์รุกรานของฝรั่งเศส
ทำให้รัชกาลที่ 5 ต้องยอมเสียดินแดน
โดยใช้ทัศนะชาตินิยมต่อต้านการรุกรานของต่างชาติในยุคล่าอาณานิคม  ร..112 หรือ 2437 แต่เอาพม่ามาเป็นอริราชศัตรูแทนพวกนักล่าอาณานิคมตะวันตก โดยมีกษัตริย์ราชวงศ์จักรีเป็นผู้นำของชาติ และปรับเปลี่ยนมาเป็นกษัตริย์ภูมิพลที่กลายเป็นหัวใจของรัฐสังคมสมัยใหม่ของไทยที่ต้องเป็นทั้งสมมติเทพและผู้ทรงบุญบารมีสูงสุดในแผ่นดินตามคติ ฮินดู-พุทธที่ปรับเปลี่ยนเรื่อยมา ภารกิจของกษัตริย์ไทยจึงมิใช่เพียงแค่ทรงทศพิธราชธรรมเพื่อปกป้องคุ้มครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินตามคติความเชื่อแต่โบราณ แต่ยังต้องทรงเป็นผู้นำรัฐบาลผู้บริหารระบบราชการแบบใหม่ที่มีหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุขของราษฎร จึงต้องถูกวิพากษณ์วิจารณ์เป็นธรรมดา ซึ่งล้วนเป็นภารกิจที่กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โบราณไม่เคยต้องรับผิดชอบ

พลโทผิน ชุณหะวัณ ผู้นำรัฐประหาร 2490
เมื่อฝ่ายเจ้าฟื้นคืนอำนาจหลังการรัฐประหาร
2490 นั้น พวกเขามีทุนอยู่แล้วในการเมืองวัฒนธรรมและภูมิปัญญา สิ่งที่ฝ่ายเจ้าทำ คือรื้อฟื้นฐานความชอบธรรมที่อิงอยู่กับคติฮินดู - พุทธแต่โบราณ ฟื้นสถานะกษัตริย์อันศักดิ์สิทธิ์ กับสร้างกษัตริย์ของปวงชนชาวไทยขึ้นมาอีกครั้ง โดยออกแบบระบบการเมืองที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองโดยให้อยู่ข้างบนของระบบการเมืองปกติอีกชั้นหนึ่ง ให้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับระบบการเมืองที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์เสียอีก เพราะมีรัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการหรือเป็นผู้รับผิดชอบแทนกษัตริย์ สถานะของกษัตริย์ที่อยู่เหนือการเมืองแบบนี้ช่วยเสริมความมั่นคง ทำให้กษัตริย์ไม่ต้องเผชิญการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ ที่สำคัญคือทำให้กษัตริย์อยู่ในสถานะละเมิดมิได้ ฟ้องเอาผิดไม่ได้ เป็นการจงใจเลือกใช้กลไกทางกฏหมายของยุโรปเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าเอง เพราะฝรั่งใช้กลไกนี้เพื่อคุ้มครองกษัตริย์ที่ไม่ทรงทำอะไรเลยทางการเมือง แต่ฝ่ายเจ้าของไทยเอามาใช้เป็นเกราะกำบังกษัตริย์ที่กำลังรื้อฟื้นบทบาทและสถานะพิเศษทางการเมืองขึ้นมาอีกครั้ง และเป็นที่มาของกฎหมายอาญามาตรา 112 ในปัจจุบัน

เช้า14 ต.ค. 2516 ฝ่ายเจ้าสร้างสถานการณ์หน้าสวนจิตรลดา
ระบอบ กษัตริย์ไทยสมัยใหม่เริ่มถือกำเนิดมากับยุคเผด็จการทหารขนานแท้หลังการรัฐประหาร
2490 โดยเติบโตเข้มแข็งขึ้นภายใต้เผด็จการทหารยุคพัฒนา และบรรลุจุดหมายโดยพื้นฐานเมื่อโค่นเผด็จการทหารถนอม - ประภาส ลงในปี 2516 ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้เวลาเสริมสร้างความมั่นคงในเวลา 15 ปีต่อมา ในที่สุดฝ่ายเจ้าก็สามารถสถาปนาระบอบกษัตริย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รักของมหาชนและอยู่ข้างบนของระบบการเมืองได้สำเร็จ นี่คือมรดกของสมบูรณา ญาสิทธิราชย์ที่ปรับตัวกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งในยุคปัจจุบันของทศวรรษที่ 2550 ฝ่ายเจ้าคงคิดว่านี่เป็นบทบาทสถานะทางการเมืองที่มั่นคงปลอดภัยที่สุด ได้ประโยชน์ที่สุด ให้เป็นสถาบันกษัตริย์แบบนี้ตลอดไป แต่บทบาทสถานะทางการเมืองของสถาบันกษัตริย์แบบนี้มีปัญหาในตัวเองที่ไม่มีทางแก้ตกและไม่มีทางอยู่ยั่งยืนได้ตลอดไปอย่างที่ฝ่ายเจ้าปรารถนา
ปัญหาความขัดแย้งในตัวเองเป็นดังที่รัชกาลที่
7 มีบันทึกเมื่อปี 2469 ว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เหมาะสมกับประเทศสยามตราบเท่าที่เรามีพระเจ้าแผ่นดินที่ดี ทว่าแนวความคิดนี้เป็นแต่เพียง ทฤษฎี .... ไม่แน่นอนว่าเราจะมีพระเจ้าแผ่นดินที่ดีอยู่เสมอ ...  
ปัญหาในตัวของสถาบันกษัตริย์เอง ก็คือ บทบาทสาธารณะกับสถานะศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้ เป็นสิ่งที่ไปด้วยกันไม่ได้ การจะบังคับให้ประชาชนเห็นแต่ด้านดีของกษัตริย์ที่ยังมีบทบาททางการเมือง ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีใครหรือสถาบันใดที่สามารถมีบทบาททางการเมืองโดยไม่ต้องขัดแย้งในทางสาธารณะ ถ้าจะคงสถานะศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่รักของประชาชนได้ยาวนานก็ต้องไม่มีบทบาท ทางการเมืองอย่างสิ้นเชิง การที่พวกนิยมกษัตริย์อยากให้ประเทศไทยมีกษัตริย์แบบรัชกาลที่
5 หรือพระปิยมหาราช ให้เป็นสถาบันกษัตริย์ไปนานๆ โดยไม่ขึ้นกับตัวบุคคล ก็เป็นสิ่งที่ฝืนกับความเป็นจริงดังที่รัชกาลที่ 7 ก็ได้เคยมีบันทึกไว้ ความสำเร็จของรัชกาลที่ 5 ก็มิได้เกิดจากแบบแผนของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามการโฆษณาชวนเชื่อแต่อย่างใด ฝ่ายเจ้าสมัยนั้นอยากให้พระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์มีบทบาทสถานะที่โดดเด่น เชิดชูให้รัชกาลทื่ 6 เป็นพระมหาธีรราชเจ้าหรือกษัตริย์นักปราชญ์ แต่บรรดาเจ้านายแวดล้อมพระองค์กลับละทิ้งพระองค์ก่อนประชาชนเสียอีก ซ้ำร้ายผลของการโฆษณาความสำเร็จที่ล้นเหลือเกินจริงของรัชกาลที่ 5 กลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระบรมโอรสาธิราชซึ่งเป็นลูกหลานล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ขึ้นครองราชย์ การที่ฝ่ายเจ้าประโคมแซ่ซร้องสรรเสริญรัชกาลที่ 5
ว่ายิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ไทยที่มีมาก่อน แม้แต่คณะราษฎรก็ยังต้องเทิดทูน ก็ยิ่งทำให้พระราชโอรสมีโอกาสน้อยลงทุกทีที่จะเทียบเคียงความสำเร็จ เท่ากับปิดประตูอนาคตของกษัตริย์องค์ต่อๆไปเสียเอง

รัชกาลที่ 6 และบรรดาหนุ่มๆผู้ใกล้ชิด
โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในยุคนั้นก็ยังมีคุณสมบัติส่วนพระองค์ที่เจ้านายสมัยนั้นรับไม่ได้ ยิ่งทำให้พระองค์ขาดความชอบธรรม คือ นอกจากจะเทียบพระราชบิดาไม่ได้แล้ว ตัวพระองค์เองยังเริ่มต้นที่ติดลบอีกด้วย จึงนำไปสู่กาลอวสานต์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ต้องการให้กษัตริย์มีพระราชอำนาจทางการเมืองให้เป็นสถาบันที่ถาวร แต่ต้องอาศัยบทบาทที่สูงส่งของตัวบุคคล ซึ่งมันขัดแย้งกันเอง โดยที่ฝ่ายเจ้าก็ไม่รู้ตัวว่าพวกเขากำลังสืบทอดมรดกของความขัดแย้งจนทำให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกทำลายลงเมื่อปี 2475 และในทศวรรษที่ 2550 นี้ พวกเจ้าก็กำลังเผชิญปัญหาเดิมๆ เหมือนเมื่อช่วงปฏิวัติ 2475 แต่พวกเจ้าก็ยังไม่ตระหนัก ยังดิ้นขลุกขลักๆ ในกรอบเดิมๆ เอาแต่โทษคนอื่นเหมือนเดิม พอมีคนเสนอทางออกให้ ก็กลับไปเล่นงานเขา ด่าทอไล่ให้ออกไปอยู่นอกประเทศ ข่มขู่ ยัดข้อหา จับกุมคุมขังพวกเขาเหล่านั้น บทเรียนจากอดีตสอนให้รู้ว่าพวกคลั่งเจ้า รักในหลวงแบบเสียสติจนต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนี่แหละ ที่กำลังทำให้ปัญหาทับถมหนักหน่วงขึ้นทุกที การกดขี่ปราบปรามทำร้ายประชาชนด้วยอำนาจรัฐและกฎหมาย มีแต่จะทำใหัทุกอย่างเลวร้ายลง เป็นการสร้างปัญหาให้แก่อนาคตของสถาบันกษัตริย์ แม้แต่ทัศนะคติและวาทกรรมต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยก็ยังอยู่ในกรอบซ้ำๆซากๆ 
พระองค์เจ้าปฤษฏางค์
ผู้เสนอการปฏิรูปรูปต่อรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5 เคยมีความเห็นต่อคำกราบบังคมทูลของกลุ่มเจ้านายที่ให้แก้ไขระบบบริหารราชการแผ่นดิน และต่อพวกที่ต้องการระบอบรัฐสภา ว่าเป็นการพยายามเอาข้าวสาลีมาปลูกในดินสยามที่เหมาะกับข้าวจ้าวเท่านั้น รัชกาลที่ 6 ก็ทรงเห็นว่าพวกที่อยากเห็นสยามเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองหรือเป็นสาธารณรัฐเป็นพวกลัทธิเอาอย่าง ฝ่ายเจ้าและพวกอนุรักษ์นิยมเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นเพียงความคิดของพวกหัวนอกไม่กี่คน และไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นแค่การชิงสุกก่อนห่าม เพราะประชาชนยังไม่พร้อมที่จริงแล้วคนที่ไม่พร้อมที่สุด ก็คือพวกเจ้าที่กุมอำนาจแต่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆที่พวกตนล้วนมีการศึกษาดีทั้งนั้น แต่พวกเจ้าก็ไม่ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนในการตัดสินอนาคตของตนเอง
จรัสพงษ์ สุรัสวดี หรือซูโม่ตู้
ดูถูกว่าคนรากหญ้าเหมือนลิงบาบู
การเรียกร้องประชาธิปไตยถูกหาว่าเป็นเรื่องของฝรั่งทั้งในสมัยก่อนและในสมัยนี้ ไม่เหมาะกับสังคมไทย เพราะประชาชนยังไม่พร้อม การศึกษายังไม่พอ ประชาธิปไตยเป็นสมบัติหวงห้ามของคนมีการศึกษาเท่านั้น ปัญญาชนผู้มีการศึกษายังคงเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจากเบื้องบนโดยพระราชอำนาจเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ทั้งๆที่พวกเจ้าก็ไม่เคยที่จะยอมเปลี่ยนแปลง สังคมไทยก็ยังคงวนเวียนอยู่กับทัศนคติเหล่านี้ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ทุกวันนี้

 

7 ธค. 2555 นายกยิ่งลักษณ์กราบพระเทพ สันนิบาตสโมสร ทำเนียบรัฐบาล
ดูเหมือนว่า พวกเจ้ามีความพยายามที่จะปรับตัวน้อยเสียยิ่งกว่าเมื่อ
80 ปีก่อน แต่กลับปราบปรามหนักยิ่งกว่า 80 ปีก่อนเสียอีก ทางออกที่ถาวรในระยะยาว ก็คือ เลิกความพยายามสืบทอดมรดกที่มาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เลิกการพยายามสร้างกษัตริย์ที่มีบทบาททางการเมืองแบบศักดิ์สิทธิ์เหนือมนุษย์และอยู่ชั้นบนของระบบการเมือง ซึ่งจะเป็นการช่วยประคองให้กษัตริย์ทุกพระองค์ ไม่ว่าจะปรีชาสามารถมากน้อยเพียงใดก็ยังคงเป็นที่เคารพรักของมหาชนได้อย่างสนิทใจ

กองทัพที่ยังรับใช้สมบูรณาญาสิทธิราชย์
การปกครองระบอบศักดินาจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา สมัยอยุธยาสืบเนื่องมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ อาศัยระบอบไพร่เป็นฐานพลังการผลิตที่สำคัญและจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจการเมืองของสยาม เพราะเป็นแรงงานด้านโยธาให้แก่ราชการ เป็นฐานอำนาจทางการเมืองให้มูลนายต้นสังกัด เป็นกำลังในการผลิตภาคการเกษตรกรรม และเป็นกำลังในการรบยามบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม
ครั้นเมื่อสยามมีการขยายตัวในด้านเศรษฐกิจและสังคมในสมัยรัชกาลที่ 5 จากการติดต่อสัมพันธ์ค้าขายกับชาติตะวันตก ระบบการผลิตแบบเลี้ยงตัวเองเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตเพื่อขาย นำไปสู่พัฒนาการของระบบเงินตรา ระบบการเงินการคลัง ในรูปแบบทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ ทำให้ระบอบไพร่กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบ้านเมือง เพราะไพร่ต้องสังกัดมูลนายจึงย้ายที่อยู่ไม่ได้ เป็นการขัดขวางการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ระบอบไพร่ยังทำให้ขุนนางและเจ้านายเชื้อพระวงศ์มีกำลังทหารส่วนตัวที่เรียกว่าไพร่สม ที่ยากแก่การควบคุม
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หรือวังหน้า
โอรสของพระปิ่นเกล้า
จนเกิดกรณีวังหน้าในปี 2417 เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ / สถานมงคล ไม่พอใจที่รัชกาลที่ 5 รวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง โดยตั้งระบบหอรัษฎากรพิพัฒน์ รวบรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ทำให้พวกขุนนางและเจ้านายไม่พอใจมากโดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ/สถานมงคล ซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง 1 ใน 3 มีทหารในสังกัดถึง 2,000 นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก จึงเกิดการตอบโต้ มีการสะสมอาวุธ เกิดความขัดแย้งระหว่างวังหลวงคือรัชกาลที่ 5 กับวังหน้า ทั้งยังทรงระแวงว่าจะถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่ได้รับการแต่งตั้งจากรัชกาลที่ 5 โดยตรง จนเกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง  ที่เรียกว่าวิกฤตการณ์วังหน้า  รัชกาลที่ 5 จึงต้องรีบยกเลิกระบอบไพร่โดยให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน ไม่ให้เจ้านายและขุนนางชั้นสูงมีทหารเป็นกองกำลังส่วนตัวที่เรียกว่าไพร่สม อีกต่อไป และให้มีโรงทหารหน้า ซึ่งพัฒนาไปเป็นกระทรวงกลาโหม เพื่อการสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ให้กษัตริย์มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่ผู้เดียว
ในสมัยรัชกาลที่
ได้สร้างอุดมการณ์ชาตินิยม เพื่อตอบโต้การปกครองอื่นที่ไม่ใช่ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยกล่าวหาว่าเป็นเรื่องของคนที่ไม่ใช่คนไทย  เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับความเป็นชาติไทย
รัชกาลที่ 6 ใช้ชื่ออัศวพาหุ เขียนบทความ
รัชกาลที่
6 ได้เน้นและปลูกฝังความหมายของชาติไทย รูปแบบของความเป็นไทย และ หน้าที่ของคนไทย เพราะไม่เช่นนั้นก็จะต้องประสบกับภัยพิบัติ คือ ถูกดูดกลืนโดยชาวจีน ซึ่งรัชกาลที่ 6 เห็นว่าชาวจีนเป็นอันตรายเพราะจะมาทำลายความเป็นไทย และจะใช้อิทธิพลครอบครองผืนแผ่นดิน ผลประโยชน์และการดำเนินชีวิตของคนไทย  
รัชกาลที่ 6 โฆษณาว่าความเป็นไทยประกอบด้วย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยเน้นความสำคัญไว้ที่สถาบันกษัตริย์  ทหารของกองทัพไทยที่ยึดคติ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กลายเป็นฐานอำนาจของกษัตริย์ ที่ไม่จำเป็นต้องมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อประชาชน แต่ในรัฐที่เป็นประชาธิปไตย จะต้องสร้างหลักคิดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งพลเรือน และทหารตำรวจให้มีจิตสำนึกอยู่เสมอว่า เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง และงบประมาณทั้งหมด ล้วนมาจากภาษีอากรของประชาชนทั้งประเทศ เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงต้องมีหน้าที่รับใช้ประชาชนซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูพวกตนโดยจะต้องไม่ทรยศต่อประชาชน กองทัพในประเทศประชาธิปไตยจะต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของตัวแทนของประชาชนซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจของปวงชน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีสถานะเป็นประมุขฝ่ายบริหาร แต่ในราชอาณาจักรไทย กษัตริย์ภูมิพลคือผู้มีอำนาจสั่งการกองทัพอย่างสมบูรณ์แต่ผู้เดียว รวมทั้งการสั่งทหารให้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองแม้จะเป็นความผิดฐานกบฏก็ตาม เพราะถือว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ที่สามารถทำผิดให้เป็นถูกและทำถูกให้เป็นผิดได้เสมอ

อำนาจตุลาการ
ในมือของระบอบกษัตริย์



กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธฺ์
รพีพัฒนศักดิ์
โอรส ร. 5
พระบิดานักกฎหมายไทย
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการแบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วน โดยมีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงทั้งอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ แต่ยกเว้นอำนาจตุลาการที่รับโครงสร้างจากระบอบเก่ามาสวมทับกับระบอบใหม่ทั้งหมด ทั้งยังไม่มีวาระในการดำรงตำแหน่ง  แม้จะอ้างความเป็นอิสระแต่ต้องเข้าใจว่าอำนาจตุลาการนั้นเป็นของประชาชน และการยึดโยงกับประชาชนก็ไม่ได้กระทบต่อความเป็นอิสระของตุลาการ ที่หมายถึง
-เป็นอิสระในทางเนื้อหา คือ พิพากษาคดีไปตามกฎหมาย ตามความรู้ในวิชาชีพ ไม่มีใบสั่งจากใคร
-เป็นอิสระจากอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการด้วยกันเอง คือ ศาลไม่จำเป็นต้องผูกพันกับคำพิพากษาของศาลฎีกาที่เคยตัดสินมาแล้ว หากไม่เห็นด้วย หรือมีเหตุผลดีกว่า และต้องเป็นอิสระจากอิทธิพลทางสังคม ไม่ตัดสินตามกระแส ไม่อ้างสถานการณ์ความวุ่นวาย ไม่อ้างกระแสพระราชดำรัสหรือพระบรมราโชวาทใดๆของกษัตริย์ภูมิพล
ในต่างประเทศถือเป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่เห็นด้วย ก็สามารถเดินขบวนประท้วงคำพิพากษาได้ เพราะเจ้าของอำนาจมีสิทธิที่จะแสดงออกได้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าถูกกดทับ หรือปิดปากในนามของการละเมิดอำนาจศาล

ผู้พิพากษาต้องเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนทำหน้าที่
การกำหนดการเข้าสู่ตำแหน่งผู้พิพากษาโดยเชื่อมโยงกับประชาชนก็ไม่ได้ขัดแย้งกับหลักความเป็นอิสระ เพราะกระบวนการคัดเลือกตุลาการไม่ควรเป็นระบบปิด หลายประเทศสร้างระบบเปิดให้กับตุลาการในหลายรูปแบบ เช่น เลือกตั้งโดยตรง คัดเลือกและเสนอชื่อโดยฝ่ายบริหาร คัดเลือกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ หรือรูปแบบผสมให้ตุลาการและฝ่ายนิติบัญญัติร่วมกันคัดเลือก ขณะที่บางประเทศใช้ระบบลูกขุน ให้คนธรรมดาเป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลชั้นต้น เช่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เพื่อทำให้กระบวนการดำเนินคดีอยู่ในสายตาของสาธารณชนด้วย แต่เมื่อเสนอแนวทางนี้ในสังคมไทยก็มักจบด้วยข้ออ้างว่าการทำเช่นนี้ ทำให้คนทั่วไปมีอิทธิพลต่อตุลาการได้ อันเป็นมุมมองที่เห็นว่าประชาชนไทยยังไม่ฉลาด ไม่มีความสามารถในการจัดการปกครองตนเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดของสังคมไทย

19 กค.2549 ประธาน3ศาล นัดหารือตามบัญชากษัตริย์ภูมิพล
ปัญหาใหญ่ที่สุดของตุลาการไทย คือ การขาดอุดมการณ์ประชา ธิปไตย เพราะผู้พิพากษาจะต้องมีจิตสำนึกว่าตนใช้อำนาจของประชาชนในการตัดสินคดี จึงจำเป็นต้องมีการปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตยและนิติรัฐ และต้องเปลี่ยนโครงสร้างตุลาการให้สามารถตรวจสอบได้ แต่รัดทำมะนวย
2550 กลับเพิ่มอำนาจให้ตุลาการมากขึ้น เป็นระบบปิดมากขึ้น สร้างตุลาโกงวิบัติซึ่งอ้างว่าศาลเป็นองค์กรเดียวที่จะแก้ปัญหาการเมืองไทยได้ แต่ที่ผ่านมาก็มีแต่จะสร้างปัญหาและความไม่เป็นธรรม เป็นแนวทางที่ผิดและขัดต่อหลักการประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
แม้ว่า พรบ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
 2543 มาตรา 26 วรรค 3 จะระบุว่าคนสมัครสอบคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาจะต้องเป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่กลับปรากฏตามข่าวว่า นายชาญชัย ลิขิตจิตถะประธานศาลฎีกา นายอักขราทร จุฬาลักษณ์ ประธานศาลปกครองสูงสุดและนายจรัล ภักดีธนากุลปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้ไปร่วมประชุมล้มรัฐบาลทักษิณที่บ้านของนายปีย์ มาลากุลพระสหายของกษัตริย์ภูมิพล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 
โดยที่สังคมไม่เอาเรื่อง และไม่เคยมีใครออกมารับผิดชอบแถลงข้อเท็จจริงแต่อย่างใด



สารพัดเรื่องโฆษณาชวนเชื่อ
ของกษัตริย์ภูมิพล


1. คนไทยทุกคน
รักกษัตริย์ภูมิพลจริงหรือ


พวกพันธมารคลั่งเจ้า ขณะยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ
ประชาชนไทยทุกคนล้วนถูกอบรมสั่งสอนได้ยินได้ฟังแต่ด้านที่ดีของกษัตริย์ภูมิพลและราชวงศ์ อีกทั้งยังมีกฎหมายปิดปาก ห้ามกล่าวถึงด้านที่ไม่ดีของกษัตริย์ภูมิพลและราชวงศ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชนหรือไม่ เพียงใดก็ตาม

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ยังมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังรักและภักดีต่อกษัตริย์ภูมิพลและราชวงศ์ แต่ก็คงมีประชาชนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่อาจจะไม่รัก หรือไม่ได้เชิดชูบูชากษัตริย์ภูมิพลโดยเฉพาะเมื่อกษัตริย์ภูมิพลได้แสดงบทบาทเป็นหัวหน้าคณะปฎิกูลการปกครองเข้ายึดอำนาจของปวงชนเมื่อวันที่
19 กันยายน 2549


10 เม.ย. 2554 นายจตุพรโดนข้อหาหมิ่นกษัตริย์
เพราะพูดความจริงบนเวทีปราศัย
ยิ่งภายหลังเหตุการณ์สังหารหมู่ประชา ชนกลาง กรุงเทพ มหานคร ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 โดยทหารรักษาพระองค์และทหารเสือราชินี ยิ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากได้เห็นความจริงและตัวตนของกษัตริย์ภูมิพลและราชนีสิริกิติ์ ที่เรียกกันว่าปรากฏการณ์ตาสว่าง ได้เห็นเครือข่ายของกษัตริย์ภูมิพลดำเนินแผนโค่นล้มทำลายรัฐบาลที่ประชาชนส่วนใหญ่ชื่นชม ทำลายระบอบประชาธิปไตย ทำลายพรรคการเมืองที่คนส่วนใหญ่เลือก สร้างความวุ่นวายด้วยพฤติกรรมรุนแรง เช่น การยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบิน และใช้อาวุธสังหารหมู่ประชาชนเสื้อแดงอย่างเลือดเย็น ด้วยข้ออ้างของการปกป้องกษัตริย์ภูมิพล รวมทั้งการที่ราชินีสิริกิติ์และฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ไปงานศพของพวกพันธมาร รวมทั้งงานศพของทหารที่เข้าร่วมการสังหารประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ยิ่งทำให้ประชาชนหมดความศรัทธาในราชวงศ์มากขึ้น


โดยมีคนจำนวนมากที่กำลังรอความหวังให้กษัตริย์ภูมิพลสวรรคตในเวลาอีกไม่นานนัก เพราะสุขภาพของพระองค์ก็ทรุดโทรมลงไปมาก ขณะที่หวังกันว่าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 10 องค์ต่อไป ก็คงจะไม่เหี้ยมโหดอำมหิตวิปริตเจ้าเล่ห์เหมือนกษัตริย์ภูมิพลผู้เป็นบิดา ขณะที่มีข่าวดีว่าราชินีสิริกิติ์ผู้มีบทบาทสำคัญ ได้มีอาการป่วยหนักถึงขั้นที่ไม่อาจเยียวยารักษาได้อีกต่อไป หลังจากที่กษัตริย์ภูมิพลสวรรคตไปแล้ว ระบอบทรราชย์ที่ยึดครองประเทศไทยมากว่าหกสิบปี ก็คงจะลดความเลวร้ายลงไปมาก และคงเปิดทางให้ระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนาอย่างมั่นคงยั่งยืนต่อไป



2. กษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้สร้างความสงบ
และความมั่นคง ให้กับสังคมไทยจริงหรือ

รัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต
เป็นที่ทราบกันดีว่า กษัตริย์ภูมิพลมีส่วนในกรณีสวรรคตของรัชกาลที่
8 ผู้เป็นพระเชษฐา  แต่กษัตริย์ภูมิพลกลับเงียบเฉยและปล่อยให้คนบริสุทธิ์สามคนถูกประหารชีวิตเพื่อปิดคดีให้ตนเองพ้นผิด กษัตริย์ภูมิพลยังได้รู้เห็นเป็นใจให้นำกรณีสวรรคตมาใช้เป็นข้ออ้างในการทำลายและขับไล่นายปรีดี ออกจากประเทศไทยและนำไปสู่การทำรัฐประหารฟื้นอำนาจของระบอบกษัตริย์  กษัตริย์ภูมิพลยังมีส่วนสร้างสถานการณ์ให้เกิดการปะทะกันในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เพื่อขับไล่กลุ่มถนอม - ประภาส - ณรงค์ที่กำลังคุมอำนาจ

กษัตริย์ภูมิพลให้กำลังใจพวกลูกเสือชาวบ้าน
ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ต่อจากนั้นสามปีก็เป็นคนจัดตั้งกองกำลังขวาพิฆาตซ้ายสร้างสถานการณ์ให้เกิดการสังหารหมู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 ต่อมากษัตริย์ภูมิพลได้ให้ท้ายพลเอกสุจินดาและพวกรสช. ในขณะที่ตำหนิขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และต่อมากษัตริย์ภูมิพลก็ยอมให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล ใช้เสื้อเหลืองพร้อมทั้งชูคำขวัญสู้เพื่อในหลวง เพื่อสร้างความปั่นป่วนและนำไปสู่การยึดอำนาจของทหารของพระราชาที่กษัตริย์ภูมิพลถึงกับให้คณะทหารกบฏเข้าเฝ้าเพื่อแสดงการประทับรับรองการยึดอำนาจของปวงชนเมื่อ 19 กันยายน 2549  กษัตริย์ภูมิพลจึงมิได้รักประชาชนและสร้างความสงบร่มเย็นตามคำโฆษณาชวนเชื่อแต่อย่างใด และต่อมาก็ได้ปล่อยให้ทหารรักษาพระองค์และทหารเสือราชินีสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2553

3. กษัตริย์ภูมิพลส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคม
ผ่านโครงการหลวงต่างๆ

เพราะรักประชาชน ใช่หรือไม่



อ้างว่าเป็นเจ้าของทฤษฎีแก้มลิง
สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมและฝนแล้ง
โครงการหลวงหรือโครงการพระราชดำริของกษัตริย์ภูมิพลและราชวงศ์เป็นโครงการที่ไม่มีการตรวจสอบและห้ามผู้ใดวิพากษณ์วิจารณ์โดยเด็ดขาด แต่ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดินเป็นหลักจึงเปิดช่องให้มีการทุจริตได้โดยง่าย และมีจุดประสงค์เพียงเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อให้กษัตริย์ภูมิพลและราชวงศ์โดยมิได้คำนึงถึงสาระประโยชน์หรือความคุ้มค่าที่จะเกิดต่อประชาชนอย่างแท้จริงแต่อย่างใด พบว่าโครงการหลวงมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนน้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของ พตท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้เครือข่ายของกษัตริย์ภูมิพลไม่พอใจเป็นอย่างมาก
เครือข่ายนิยมเผด็จการดักดานพยายามโฆษณาสร้างภาพให้เห็นว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นแบบอย่างของการใช้ชีวิตที่ประหยัดมัธย้สถ์เป็นที่สุดและยังอ้างหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อกดทับให้ประชาชนมุ่งเน้นแต่การอดออมและยอมรับระบอบที่ไม่เป็นธรรม

ฟอร์บรายงานว่ากษัตริย์ภูมิพลมีทรัพย์สิน
30 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในปี 2551 ลดลงจากปีก่อน
5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในขณะที่นิตยสาร ฟอร์บ ( Forbes ) ได้เปิดเผยความจริงตั้งแต่ปี 2552 ว่ากษัตริย์ภูมิพลมีทรัพย์สินที่ตรวจสอบได้ไม่ต่ำกว่า 30 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านล้านบาท  ในขณะที่มหาเศรษฐีไทย 40 อันดับแรก มีทรัพย์สินรวมกันแค่ 25 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือรวมกันแล้วยังน้อยกว่าของกษัตริย์ภูมิพลราว 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาท  นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังต้องใช้เงินประมาณเลี้ยงดูและสนับสนุนกษัตริย์ภูมิพลและราชวงศ์อีกไม่ต่ำกว่าปีละหลายพันล้านบาท และถ้านับรวมรายจ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อสนับสนุนระบอบกษัตริย์ก็จะเป็นเงินนับหมื่นล้านบาท เฉพาะค่าเครื่องบิน พระที่นั่งก็ต้องใช้เงินงบประมาณถึง 3,650 ล้านบาท  แต่ก็ไม่มีนักการเมืองหรือนักวิชาการคนใดที่จะกล้าวิจารณ์ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้มีการอภิปรายตรวจสอบ หรือขัดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เหมือนกับที่เคยวิจารณ์นโยบายประชานิยมเพื่อประชาชนผู้ด้อยโอกาสของพรรคไทยรักไทย เศรษฐกิจพอเพียงของกษัตริย์ภูมิพลก็ไม่ใช่ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นเพียงแค่ลัทธิทางการเมืองของพวกล้าหลังที่พยายามจะแช่แข็งความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อประโยชน์ของคนชั้นสูงที่มีความได้เปรียบอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครกล้าวิจารณ์ลัทธิที่คับแคบนี้ เพราะเกรงกลัวว่าจะเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  และต้องแสดงการประจบสอพลอกษัตริย์ภูมิพลอย่างเต็มที่ ถึงกับต้องนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาบรรจุไว้ในรัดทำมะนวยให้เป็นนโยบายแห่งรัฐที่รัฐบาลจะต้องนำไปยึดถือปฏิบัติ ทั้งๆที่มันขัดต่อการพัฒนาประเทศชาติอย่างสิ้นเชิง


4. กษัตริย์ภูมิพลก็คือผู้มีบารมี
หรือมีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญนั่นเอง



ให้พวกกบฏเข้าเฝ้าออกทีวี
กลางดึก 19 ก.ย. 2549 เพื่อสยบการต่อต้าน
เมื่อทหารจะก่อรัฐประหารก็มีการเข้าเฝ้าหรือคลานเข้าไปหากษัตริย์ภูมิพล เพื่อรับคำสั่งหรือขอความเห็นชอบ โดยเฉพาะการยึดอำนาจเมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่กษัตริย์ภูมิพลต้องลงทุนเปิดตัวให้พวกคณะปฏิกูลการปกครองเข้าเฝ้า ดังที่พลเอกเปรมได้ยืนยันต่อสาธารณะว่าทหารหรือกองทัพนั้นเป็นของพระราชาหรือกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง

กล่าวหาว่าการเลือกตั้งไม่เป็นประชาธิปไตย
25 เมย. 2549 ให้ศาลหาทางล้มรัฐบาล
ก่อนหน้าและหลังการรัฐประหารครั้งนี้ กษัตริย์ภูมิพลยังได้ออกมาสั่งการให้บรรดาตุลาการช่วยกันหาทางล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดังที่ได้ปรากฏให้เห็นตามสื่อต่างๆ ลงท้ายด้วยการปูนบำเหน็จให้บรรดาตุลาการชั้นผู้ใหญ่ได้มีตำแหน่งใหญ่โตในองค์กรขยะต่างๆและในศาลสารพัดศาล รวมถึงการต่ออายุราชการให้ตุลาการอีก
10ปี โดยให้เกษียณที่อายุ 70 ปี เพื่อเป็นหลักประกันในการครอบงำอำนาจตุลาการต่อไป


ลงนามแต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี
แม้ว่ากษัตริย์ภูมิพลจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการฟื้นฟูและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถานภาพและพระราชอำนาจของสถาบันกษัตริย์ตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่รัฐประหารในปี 2549 นั้น ได้สร้างความสั่นคลอนให้กับสถาบันกษัตริย์เป็นอย่างมาก  และตอกย้ำให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองที่ขยายตัวหนักยิ่งขึ้น

การก้าวขึ้นสู่อำนาจของ พตท. ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2544 ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อระบอบราชาธิปไตย จนต้องมีการใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือทำลายล้างทางการเมืองซึ่งกลับส่งผลให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมลงอย่างมาก ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแบบที่เป็นอยู่นี้ มีความเหมาะสมต่อประเทศไทยน้อยลงไปทุกที เพราะมรดกของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นไม่สามารถอยู่ร่วมกับคุณค่าสมัยใหม่ของระบอบประชาธิปไตย และมีแต่นำไปสู่ความขัดแย้งทางด้านหลักการที่หนักหน่วงรุนแรงยิ่งขึ้นทุกที  เช่น ความขัดแย้งระหว่างอำนาจของกษัตริย์ภูมิพลและอำนาจของรัฐสภาและรัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชน  การรัฐประหารในปี 2549 ที่แสดงให้เห็นว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นหัวหน้าในการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนไทยจำนวนมากได้ตระหนักและเข้าใจว่าประเทศไทยไม่เคยก้าวข้ามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริง ในขณะที่ระบอบประชาธิปไตยของไทยเราต้องถูกสกัดขัดขวางมาโดยตลอด

9 กค. 2555 เรียกองคมนตรีมาเน้นเรื่องโครงการพระราชดำริ
กษัตริย์ภูมิพลได้ปลูกฝังความคิดและค่านิยมซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน และแตกต่างขัดแย้งไปจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของทั่วโลก สิ่งนี้ได้ลดทอนอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และได้แสดงให้เห็นถึงสายตาที่คับแคบผ่านทางพระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจที่สนับสนุนและรับรองการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยอาศัยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเกราะป้องกันมิให้ผู้ใดวิพากษณ์วิจารณ์ได้ นับเป็นความล้มเหลวของสถาบันกษัตริย์ไทยที่ไม่สามารถเดินไปสู่เส้นทางแห่งประชาธิปไตย

วชิราลงกรณ์มกุฏราชกุมารตลอดกาล
สิ่งที่บางคนยังคาดหวังไว้ก็คือ หลังจากที่กษัตริย์ภูมิพลสวรรคตไปแล้ว ถ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป ก็คงจะทรงปรับปรุงสถานภาพและบทบาทของพระองค์ และใช้โอกาสนี้เพื่อที่จะรื้อถอนเครือข่ายระบอบกษัตริย์ และปรับสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีสถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญเฉกเช่นประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย สถาบันกษัตริย์ไทยจะต้องมีความยินยอมพร้อมใจที่จะปฏิรูปตัวเองโดยการยอมสลัดทิ้งภาวะเสมือนสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นเสมือนมรดกตกยุคไปให้ได้โดยเร็วที่สุด ทางออกของวิกฤตการณ์นี้จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจของบุคคลในเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ต่อสถานการณ์การเมืองที่เป็นจริง ก่อนที่ประชาชนจะพร้อมใจกันเรียกร้องให้มีประมุขที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง
………………..
………………..