วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

รู้ทันเจ้าของคอกม้า ตอนกษัตริย์ไทย ยิ่งใหญ่จริงหรือ C2 SO 06



ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ :
http://www.4shared.com/mp3/2fQuQlKj/See_Through_Stable_Owner__06.html


หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?44v7ib7jb594i3z

..........
รู้ทันเจ้าของคอกม้า

ตอนกษัตริย์ไทย ยิ่งใหญ่จริงหรือ


รัชกาลที่ 7 ท่านต้องการประชาธิปไตยจริงหรือ

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 มักถูกฝ่ายนิยมเจ้าโจมตีว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่าม เพราะพระปกเกล้าหรือรัชกาลที่ 7 เตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้อยู่แล้ว โดยมีร่างรัฐธรรมนูญอยู่ 3 ฉบับที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์มักอ้างอยู่เสมอว่า เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่กษัตริย์เตรียมมอบให้กับประชาชน

ฉบับแรก คือ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม ซึ่งสันนิษฐานว่าพระองค์เจ้าเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ เป็นผู้ยกร่างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีเนื้อหาตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยแท้ ให้กษัตริย์มีอำนาจครอบคลุม มีราชอาญาสิทธิ์เด็ดขาดในการตัดสินใจทั้งหมด เป็นเจ้าครองแผ่นดิน เป็นบ่อเกิดความยุติธรรม เป็นบ่อเกิดฐานันดรศักดิ์ เป็นจอมทัพ พระราชดำรัสเป็นกฎหมาย มีรัฐมนตรีสภา องคมนตรีสภา เสนาบดีสภา ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ทั้งหมด และอำนาจสุดท้ายอยู่ที่กษัตริย์

ฉบับที่สอง ยกร่างโดยพระยากัลยาณไมตรี ( ฟรานซิส บี แซร์ Francis B Sayre ) ในปี 2469 ให้อำนาจสูงสุดของราชอาณาจักรเป็นของกษัตริย์ กษัตริย์มีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีต้องปฏิบัติตามคำสั่งของกษัตริย์  อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ อำนาจนิติบัญญัติก็เป็นของกษัตริย์


ฉบับที่สาม ยกร่างโดยเรยมอนด์ บี สตีเวนส์ ( Raymond Bartlett Stevens ) และ พระยาศรีวิสารวาจา ( เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล ) เมื่อปี 2474  ให้มีอภิรัฐมนตรีสภาเป็นที่ปรึกษากษัตริย์ กษัตริย์มีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีมาบริหารประเทศ มีสภานิติบัญญัติที่มาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ทั้งหมด หรืออาจให้มีการเลือกตั้งบางส่วน  คณะอภิรัฐมนตรีได้พิจารณาเนื้อหาสาระและสถานการณ์แล้ว เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะประกาศใช้
ร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับนี้ไม่เป็นรัฐธรรมนูญในความหมายสมัยใหม่แบบประชาธิปไตย เพราะ รัฐธรรมนูญสมัยใหม่แบบประชาธิปไตยต้องกำหนดให้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนเท่านั้น ต้องมีการแบ่งแยกอำนาจ รับรองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และหากจะให้มีกษัตริย์ต่อไปก็ต้องกำหนดให้กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และกษัตริย์ไม่ต้องรับผิด เพราะไม่มีอำนาจกระทำการใดโดยลำพัง

หากมีการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญของกษัตริย์ให้เป็นกฎหมาย ร่างกฎหมายทั้งสามก็เป็นเพียงกฎหมายของกษัตริย์ ที่เข้ามาจัดการปัญหาและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบเก่าเท่านั้น โดยไม่ได้ลดอำนาจกษัตริย์ ประชาชนไม่ได้เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด ไม่ได้ทำให้คนเป็นพลเมือง เป็นผู้ทรงสิทธิ เพราะกฎหมายของกษัตริย์ไม่ได้ให้อำนาจแก่ประชาชน

ตราบจนกระทั่งคณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จึงได้มีพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475 ถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย แต่สาเหตุที่ไม่ใช้ชื่อรัฐธรรมนูญเพราะในขณะนั้นยังมิได้มีการบัญญัติคำว่ารัฐธรรมนูญ คณะราษฎรจึงใช้คำว่าธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน เพื่อให้ราษฎรเข้าใจได้ง่ายๆ  ส่วนคำว่ารัฐธรรมนูญนั้น หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรได้เสนอผ่านทางหนังสือพิมพ์ประชาชาติว่าคำว่าธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน นั้นยืดยาวไป จึงควรใช้คำว่า รัฐธรรมนูญ แทนคำว่า ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน

ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม 27 มิถุนายน 2475 มีเอกลักษณ์หลายประการ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของระบอบใหม่ ที่ตัดขาดจากระบอบเดิม เปลี่ยนหลักการพื้นฐานจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์มีอำนาจเป็นล้นพ้น เด็ดขาด ปกครองประเทศได้ตามอัธยาศัย มาเป็นกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย โดยได้จัดวางหลักการมูลฐานใหม่ ให้อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย คณะราษฎรใช้วิธียึดอำนาจรัฐซึ่งเป็นของราษฎรอยู่เดิมโดยธรรมชาติ คืนให้แก่ราษฎรผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง มิใช่การแย่งอำนาจอันเป็นของกษัตริย์แต่อย่างใด แม้ว่าราษฎรบางคนอาจไม่รู้ตัว เพราะถูกกษัตริย์ทึกทักเอาอำนาจไปครอบครองมาช้านาน

คณะราษฎร 2475 ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาชำระสะสางบรรดากฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ขัดต่อระบอบประชาธิปไตย ในปี 2478 สภาผู้แทนราษฎรได้ยกเลิกความผิดฐาน  เพื่อจะกวนให้เกิดขึ้นซึ่งความเกลียดชังระวางคนต่างชั้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ระบบชนชั้นในสังคมตามกฎหมายในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่กษัตริย์ได้ฉกฉวยเอาอำนาจรัฐไปใช้เป็นอภิสิทธิ์ส่วนตน และกอบโกยเอาทรัพย์สินของประชาราษฎร
โดยที่พระบรมราชตระกูลยังมีเอกสิทธิ์เหนือสามัญชน วางตนอยู่เหนือกฎหมายเช่นเดียวกับกษัตริย์ โดยมีกฎหมายคุ้มครองบุคคลระดับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ตามสายลงมาจนถึงหม่อม สามารถกระทำผิดกฎหมายได้โดยปราศจากความผิดและความรับผิด เว้นแต่พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมราชโองการให้พิจารณาความผิดและความรับผิดเป็นรายกรณีไป ตามกฎที่ 61 ว่าด้วยเรื่องหม่อมห้ามต้องหาในคดีอาญา ร.ศ. 130 หรือ พ.ศ. 2455

และยังครอบคลุมไปถึงเสนาบดีเจ้ากระทรวงทั้งปวง ซึ่งต้องรวมไปถึงอภิรัฐมนตรีและองคมนตรีไปด้วยโดยปริยาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ. 127 หรือ พ.ศ. 2452  มาตรา 5 ที่บัญญัติว่า กล่าวโทษเสนาบดีเจ้ากระทรวงทั้งปวง  ในข้อที่เกี่ยวด้วยหน้าที่ราชการ  ห้ามไม่ให้ฟ้องยังโรงศาล  ทั้งๆที่คนพวกนี้ต่างก็ได้กินเบี้ยหวัดเงินปีของชาติ จึงควรต้องมีหน้าที่จะต้องทำการงานให้แก่ปวงชน แทนที่จะอาศัยความเหลื่อมล้ำต่ำสูง แบ่งชั้นวรรณะ ไม่มีความเสมอภาค
ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติให้ยกเลิกตำแหน่งองคมนตรีและอภิรัฐมนตรีทั้งหมด ตามราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่
17 กรกฎาคม 2475

รวมทั้งให้กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองหนึ่งซึ่งมีพระราชอำนาจได้เท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด ดังนั้น พระราชอำนาจใดของกษัตริย์ที่มีมาแต่เดิม ที่ตกทอดกันมาตามธรรมเนียมโบราณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริง หรือเป็นการสร้างเรื่องขึ้นหลอกลวง ย่อมต้องถูกยกเลิกไป และจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด พระราชอำนาจของกษัตริย์จะมีเพียงใดย่อมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับประชาธิปไตยตามระบอบใหม่ การเพิ่มพระราชอำนาจให้กษัตริย์โดยผ่านประเพณี ย่อมไม่ถูกต้อง
ทั้งยังกำหนดกษัตริย์ไม่อาจกระทำการใดได้โดยลำพัง การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
คณะราษฎรได้ยึดอำนาจจากกษัตริย์ โดยได้ถูกโอนไปยังคณะราษฎร มีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองชั่วคราว เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 

จากนั้นในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 รัชกาลที่ 7 จึงยอมลงนามประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม คือ ยินยอมลงมาเป็นกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ให้อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย แปลว่ากษัตริย์ไม่ได้เป็นเจ้าของและผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศอีกต่อไป และอำนาจสูงสุดของประเทศไม่มีวันกลับไปสู่กษัตริย์ได้อีก แม้ในเวลาต่อมาจะเกิดรัฐประหารอีกหลายครั้ง จะเกิดรัฐธรรมนูญใหม่อีกหลายฉบับ ก็ไม่ปรากฏว่ามีการบัญญัติให้อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของกษัตริย์ ดังนั้นการอธิบายว่าระบอบประชาธิปไตยไทยให้อำนาจอธิปไตยอยู่ที่กษัตริย์และประชาชน หรืออ้างว่าอำนาจอธิปไตยไหลย้อนกลับไปยังกษัตริย์ทุกครั้งหลังรัฐประหาร  จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย

ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม 27 มิถุนายน 2475 ไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญที่กษัตริย์มอบให้ด้วยความเต็มใจหรือตามเจตจำนงของตนเอง จดหมายสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 ได้บันทึกไว้ว่า ได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้นำมาให้ข้าพเจ้าลงนาม ข้าพเจ้าก็รู้ทันทีว่า หลักการของผู้ก่อการกับหลักการของข้าพเจ้าไม่พ้องกันเสียแล้ว... แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าเวลานั้นเป็นเวลาฉุกเฉิน และสมควรจะรักษาความสงบไว้ก่อนเพื่อหาโอกาสผ่อนผันในภายหลัง ข้าพเจ้าจึงได้ยอมผ่อนผันตามประสงค์ของคณะผู้ก่อการฯในครั้งนั้น ทั้งที่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับหลักการนั้นเลย   แถลงการณ์คณะราษฎรก็เขียนชัดเจนว่าได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว .... จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน 

นายปรีดี พนมยงค์ได้บันทึกไว้ในหลายที่ว่าธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับ 27 มิถุนายน 2475 นั้น เดิมไม่มีคำว่าชั่วคราว แต่รัชกาลที่ 7 ได้ขอให้เติมคำว่าชั่วคราวไว้ และรับสั่งว่าให้ใช้ธรรมนูญนั้นไปชั่วคราวก่อน เห็นได้ชัดเจนว่าคณะราษฎรไม่ได้ต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว แต่เป็นรัชกาลที่ 7 ที่ทำให้รัฐธรรมนูญนี้กลายเป็นของชั่วคราว
เนื้อหาในธรรมนูญก็แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่ต้องการให้รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้เป็นการถาวรตลอดไป โดยแบ่งสภาผู้แทนราษฎรเป็น 3 สมัย ในสมัยแรก ประกอบไปด้วยสมาชิก 70 คน มาจากการแต่งตั้งโดยผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ในสมัยที่สอง 6 เดือนถัดมา ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งบวกกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเดิมอีก 70 คน และในสมัยที่สาม เมื่อราษฎรสอบไล่ชั้นประถมเกินครึ่ง หรือไม่เกิน 10 ปีนับแต่ประกาศใช้ธรรมนูญนี้ ให้ส.ส.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

ทั้งยังได้มีบทบัญญัติให้กษัตริย์ถูกดำเนินคดีอาญาได้ ตามมาตรา 6 ที่บัญญัติว่า กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย  หมายความว่า กษัตริย์อาจถูกดำเนินคดีอาญาได้ แต่ศาลไม่มีอำนาจพิจารณา และให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัย

คณะราษฎร :

ต้นตำรับการปรองดองแห่งชาติ



เมื่อธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม
27 มิถุนายน 2475 ถูกรัชกาลที่ 7 เติมคำว่าชั่วคราวลงไปทำให้ต้องมีการทำรัฐธรรมนูญถาวรขึ้น คณะราษฎรได้จัดให้มีคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยกรรมการ 7 คน ต่อมาพระยามโนปกรณ์นิติธาดาขอเพิ่มอนุกรรมการอีก 2 คน โดยมีนายปรีดี พนมยงค์ เพียงคนเดียวเท่านั้นที่มาจากสายคณะราษฎร
คณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้สอบถามความเห็นจากรัชกาลที่ 7 สม่ำเสมอและร่วมมือกันร่างจนเป็นที่พอพระทัยมาก ถึงกับเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับ 10 ธันวาคม 2475 พร้อมพระราชปรารภในทำนองว่ารัชกาลที่ 7 เองที่ปรารถนาพระราชทานรัฐธรรมนูญ

โดยรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 ได้เปลี่ยนแปลงหลักการของธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม 27 มิถุนายน 2475 ไปหลายเรื่อง เช่น อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ เปลี่ยนกษัตริย์ให้เป็นพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 จึงเป็นผลิตผลของการปรองดองกันระหว่างคณะราษฎรกับฝ่ายเจ้า

ภายหลังคณะราษฎรยังได้แสดงไมตรีจิตต่อพวกนิยมเจ้าอีกหลายครั้ง เช่น ให้อภัยโทษให้นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา หรือกรมขุนชัยนาทนเรนทร และคืนสถานะและฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ให้หลังจากนั้นกรมขุนชัยนาทนเรนทรก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในทางประวัติศาสตร์การ เมืองไทย อีกสองครั้ง คือ กรณีรัชกาลที่ 8 สวรรคต 9 มิถุนายน 2489 โดยกรมขุนชัยนาทเป็นคนห้ามการชันสูติพระศพและให้ออกข่าวว่ารัชกาลที่ 8 ยิงตัวเอง และกรณีรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ที่กรมขุนชัยนาทในฐานะผู้สำเร็จราชการลงนามรับรองการรัฐประหารของ ผิน ชุณหะวัณเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ฉีกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 9 พฤศจิกายน 2490 ซึ่งเป็นการลงนามเพียงคนเดียว ซึ่งตามรัฐธรรมนูญต้องเป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งหมายถึงบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อีกทั้งเป็นการทำผิดต่อคำปฏิญาณตนต่อรัฐสภาว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

การต่อสู้กันระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่หลังการปฏิวัติของคณะราษฎรเป็นไปตามการคาดการณ์ของจอมพล ป. จากการต่อต้านของกลุ่มอำนาจเก่า ต่อสภาผู้แทนฯในปี 2482 หลังจากรัฐบาลได้ปราบปรามการก่อการบกบฎและก่อวินาศกรรมโดยกลุ่มอํานาจเก่าลงได้ เช่น กบฏบวรเดช การลอบสังหารคณะราษฎร และตัวจอมพล ป ตามที่เขาได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2483 ไว้ว่า

ผมขอยืนยันว่า ในชั่วชีวิตเรา บางทีลูกเราด้วย จะต้องรบกันไปอีก และแย่งกันในระบอบเก่ากับระบอบใหม่นี้ เพราะเหตุเราจะต้องประสานกัน เราต้องการความสงบสุข เราต้องการสร้างชาติ  เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลง การปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น เราจึงไม่ได้ทำอะไรเลยกับพวกที่เห็นตรงกันข้ามใครจะไปไหนก็ได้ ทำอะไรก็ได้

เมื่อเปรียบกับในต่างประเทศ ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า เราทำมาผิดกันไกล เช่น ฝรั่งเศสปฏิวัติกัน เขาก็ฆ่ากันนับพันๆคน จนถึงกับเอาใส่รถใส่เกวียนไปฆ่ากัน ส่วนเราเปลี่ยนกัน เปลี่ยนทั้งพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนทั้งอำนาจอะไรต่ออะไรด้วย เราก็ไม่ได้ทำอะไรกันเลย มิได้มีการเสียเลือดเสียเนื้อกันเลย และผมคิดว่า ในชีวิตเรา ในชีวิตลูกของเรา พวกรักระบอบเก่าแก้แค้นก็ไม่หมด เพราะว่าเราปล่อยไว้...พวกผมขอให้หมด ปิดฉากพยาบาทกัน แต่พวกตรงข้ามเขาไม่ยอม ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร 
เมื่อเปรียบกับในต่างประเทศ ท่านทั้งหลายจะเห็นว่า เราทำมาผิดกันไกล เช่น ฝรั่งเศสปฏิวัติกัน เขาก็ฆ่ากันนับพันๆคน จนถึงกับเอาใส่รถใส่เกวียนไปฆ่ากัน ส่วนเราเปลี่ยนกัน เปลี่ยนทั้งพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนทั้งอำนาจอะไรต่ออะไรด้วย เราก็ไม่ได้ทำอะไรกันเลย มิได้มีการเสียเลือดเสียเนื้อกันเลย และผมคิดว่า ในชีวิตเรา ในชีวิตลูกของเรา พวกรักระบอบเก่าแก้แค้นก็ไม่หมด เพราะว่าเราปล่อยไว้...พวกผมขอให้หมด ปิดฉากพยาบาทกัน แต่พวกตรงข้ามเขาไม่ยอม ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร เขาแสดงทีท่าว่า ต่อให้ถึงลูกหลานเหลนของเราก็ต้องรบกันอยู่นั่นเอง ก็มีปัญหาขึ้นว่า ถ้าเช่นนั้นทำไมจึงไม่แก้เล่า ถ้ามีแก้ ก็ต้องทำเด็ดขาดอย่างพระพุทธยอดฟ้าทรงปฏิบัติกับพวกเจ้าตาก ซึ่งได้ผลดีมาแล้ว แต่เราทำไม่ได้ จะไปล่มเรือฆ่ากันอย่างนั้นพ้นสมัย และกลัวบาปด้วย แต่ฆ่า 18 คนเท่านี้ก็พออยู่แล้ว เป็นประวัติการณ์ที่เรายังไม่ลืมเหตุการณ์อันนี้ ถ้าเราจะให้หมดไปจริง ๆ ที่จะให้ระบอบใหม่นี้มั่นคงแล้วจะเป็นอย่างไร ดูอย่างฝรั่งเศสเมื่อครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 นั้น เอาไปประหารกันทีเดียว ...อีกอย่างหนึ่ง เราจะปราบด้วยวิธีอื่นก็ได้ พวกที่อยู่ในระบอบเก่าไม่เปลี่ยนหัวมาเป็นระบอบใหม่ ก็ให้หนีไปเสียจากเมืองไทย สภาฯ นี้ก็อนุมัติให้รัฐบาลทำได้ ให้ออกกฎหมายว่าพวกนี้ให้ผมริบทรัพย์ แล้วเนรเทศไปให้หมด  

คณะราษฎรจึงเป็นต้นแบบของการปรองดองแห่งชาติ แต่ผลลัพธ์ที่คณะราษฎรได้รับกลับมา ก็เป็นดังที่เห็นๆกันอยู่ ว่ามีแต่จะถอยหลังลงไปทุกที
แวดวงกฎหมายของไทยส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ที่นักกฎหมายจำนวนมากผ่านการศึกษา เติบโตและบ่มเพาะภายใต้อุดมการณ์กษัตริย์นิยม ในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 ภายใต้อิทธิพลของการสร้างคำอธิบายของนักกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พวกเขากลับเชื่อว่าเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่จากระบอบเก่าไปสู่ระบอบใหม่ แต่เป็นการแย่งชิงอำนาจจากกษัตริย์มาแล้วกลับนำมาใช้ในทางที่ผิดจนเกิดวงจรอุบาทว์และการรัฐประหารบ่อยครั้ง ระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญของประเทศนี้เกิดจากกษัตริย์ยอมเสียสละ พระราชทานอำนาจอธิปไตยแก่ประชาชน ระบบการเมืองและกฎหมายในระบอบปัจจุบันจึงมีความต่อเนื่องกับระบอบเก่า ไม่ได้มีการตัดตอนหรือการปฏิวัติโดยคณะราษฎรแต่อย่างใด

 
คำอธิบายของนักกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบประชา ธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการสร้างเทพนิยาย ที่กลับหัวกลับหางจากความจริงทางประวัติศาสตร์ โดยเปลี่ยนให้ 24 มิถุนายน 2475 เป็นการแย่งชิงอำนาจของกษัตริย์ไป คณะราษฎรเป็นต้นแบบของการรัฐประหาร และแต่งเรื่องให้กษัตริย์เป็นพระบิดาของประชาธิปไตย สถาบันกษัตริย์กลับกลายเป็นเนื้อเดียวกันกับประชาธิปไตย

ปัญญาชนฝ่ายนิยมกษัตริย์รู้ดีว่าไม่อาจเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาลงไปในรัฐธรรมนูญ ในยุคโลกาภิวัตน์เพราะสังคมโลกคงจะไม่ยอมรับ เนื่องจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็คือเผด็จการรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่กระแสโลกปัจจุบันบังคับให้ทุกประเทศต้องเป็นประชาธิปไตย และการเสนออะไรที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง ย่อมทำให้ปัญญาชนฝ่ายนิยมกษัตริย์จะดูโง่เขลาเกินไป

นอกจากนี้หากกำหนดให้กษัตริย์มีอำนาจและบทบาทมากขึ้นในการตัดสินใจหรือกระทำการโดยลำพังย่อมหมายความว่ากษัตริย์จะต้องรับผิดชอบและตกเป็นเป้าของการถูกวิจารณ์อย่างแน่นอน พวกเขาจึงต้องแสดงให้คนเห็นว่าเป็นระบอบใหม่ โดยการนำเอาระบอบเก่าที่พวกเขาปรารถนา เข้ามาตัดต่อพันธุกรรมผสมเข้ากับระบอบใหม่ เมื่อผสมกันแล้ว ลูกที่ได้ออกมาก็ตั้งชื่อให้ว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งๆที่พระราชอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหมายถึงอำนาจหน้าที่บางอย่างโดยให้ทางคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบเท่านั้น จะทรงใช้โดยลำพังพระองค์เองมิได้ มิฉะนั้นจะเป็นการผิดต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

วิธีการตัดต่อพันธุกรรม ต้องกระทำในรูปของกฎเกณฑ์ที่พวกเขาสร้างขึ้นเอง และให้เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้ เพราะจะปรากฏชัดเจนจนเกินไป พวกเขาจึงสร้างกฎเกณฑ์ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมา อันได้แก่ ธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมสังคมไทย เอกลักษณ์ บารมีของกษัตริย์  การดำรงอยู่ของกษัตริย์ในแผ่นดินนี้อย่างต่อเนื่อง  ศาสนา ฯลฯ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มอำนาจและบทบาทกษัตริย์  และยังอ้างว่ามันเป็นเพราะพระบารมีของกษัตริย์แต่ละองค์


โดยได้กลบเกลื่อนข้อเท็จจริงอันสำคัญที่ว่า 24 มิถุนายน 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่กลับหลักการทุกสิ่งทุกอย่างจากเดิม ให้อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย ยกเลิกอำนาจอันล้นพ้นของกษัตริย์ และให้กษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองหนึ่งที่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ทำให้ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิ เป็นผู้มีอำนาจที่ไม่ได้ขึ้นกับใคร แต่เป็นผู้มีอัตวินิจฉัยคือมีสิทธิที่จะคิดเองและตัดสินใจได้เองในการดำเนินชีวิตและกำหนดชะตากรรมของตนเอง รากฐานความคิดของ 2475 จึงมีความจำเป็นต่อนักกฎหมายในระบอบใหม่ การเปลี่ยนระบบคิดของนักกฎหมายไทยที่อิงกับอุดมการณ์นิยมกษัตริย์ ให้มาสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และการต่อสู้ทางความคิดเพื่อสถาปนาความคิดแบบประชาธิปไตยใหม่เข้าไปแทนที่ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่น้อยไปกว่าการออกแบบรัฐธรรมนูญ  

กำเนิดองคมนตรี
ตามรัฐธรรมนูญ
2490



ที่ปรึกษาของกษัตริย์ ตรงกับคำว่า ปรีวีเคาน์ซิล ( Privy Council ) ซึ่งในสมัยก่อนใช้คำว่าสภาที่ปรึกษาในพระองค์ หรือ อภิรัฐมนตรี ปัจจุบันเรียกว่าองคมนตรี

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เคยอภิปรายในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2491 โดยมีความเห็นโดยสรุปว่า ไม่ควรมีอภิรัฐมนตรี อภิรัฐมนตรีทำไม่ดีแล้วก็รุ่มร่าม ไปๆมาๆจะเป็นอย่างนั้น แม้พระมหากษัตริย์ทรงพระเยาว์ก็ไม่จำเป็นต้องมีอภิรัฐมนตรี เพราะจะเป็นองค์กรที่มีอำนาจและอิทธิพลซึ่งเราไม่ทราบว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร ข้ออ้างที่ว่าอภิรัฐมนตรีมีอำนาจให้คำแนะนำ ก็คงไม่จำเป็นเพราะว่าพระมหากษัตริย์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ควรให้อำนาจแก่ท่าน ถ้าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีท่านต้องปรึกษาใครก็ได้ ...บางคนอ้างว่าในการรับสนองพระบรมราชโองการนั้น ควรจะมีผู้เป็นกลางรับสนอง แต่คนที่จะเป็นกลางได้จริงๆนั้นมีส่วนน้อย และความจริงตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีบทบัญญัติไว้ว่าพระบรมราชโองการ กระแสรับสั่งอะไรต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีรับสนอง ซึ่งดีอยู่แล้ว การมีอภิรัฐมนตรีก็เท่ากับจะทำให้คนที่ไม่มีความรับผิดชอบเข้ามาเกี่ยวข้อง ในเมื่อเราได้แบ่งอำนาจไว้เป็นสามส่วนดีแล้ว นิติบัญญัติอยู่ที่สภา ตุลาการอยู่กับศาล บริหารอยู่กับคณะรัฐบาล แล้วยังจะสร้างอำนาจอะไรกันอีก อำนาจอภิรัฐมนตรีเป็น Super government เป็นรัฐบาลเหนือรัฐบาลกระนั้นหรือ ที่จะบัญญัติดังนี้เท่ากับตั้งระบอบใหม่ เป็นระบอบการปกครองที่ไม่มีการรับผิดชอบ..
การปกครองระบอบประชาธิปไตยต้องมีทั้งความรับผิดชอบ การที่จะมีแต่สิทธิอย่างอภิรัฐมนตรี แต่ไม่มีความรับผิดชอบต่อใครนั้น ไม่ใช่วิถีทางแห่งความรับผิดชอบตามระบอบประชาธิปไตย อภิรัฐมนตรีไม่ต้องมีความรับผิดชอบอะไร แต่งตั้งขึ้นมาแล้วก็ถอดไม่ได้ ทำผิดก็เอาออกไม่ได้ เรื่องนี้จะเท่ากับเป็นเรื่องถอยหลังเข้าคลองไปหาการปกครองชนิดที่ล่วงเลยมาแล้ว ทีนี้จะพูดไปถึงพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่หัว เป็นอันว่าจะต้องมีออฟฟิสหรือสำนักงาน กรมราชเลขานุการในพระองค์ก็เป็นออฟฟิสมีอยู่แล้ว...และที่ว่าในหลวงมีพระราชภารกิจมากทั่วทุกมุม ทุกกระทรวงทบวงกรม ก็ไม่จริง ในหลวงภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญทรงพระราชอำนาจโดยจำกัด...ท่านทรงปกเกล้า ไม่ได้ทรงปกครอง มีราชการอะไร รัฐมนตรีก็มีความรับผิดชอบเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโดยตรงอยู่แล้ว แม้จนกระทั่งการใช้พระราชอำนาจยับยั้งกฎหมาย ก็ต้องมีรัฐมนตรีรับสนอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ยังจะมาตั้งที่ปรึกษาอะไรกันอีก ก็รัฐบาลของพระองค์นั่นแหละเป็นที่ปรึกษาอย่างดีที่สุดและใกล้ชิดที่สุดอยู่แล้ว ไม่ควรกำหนดให้เป็นอย่างอื่น...บางคนอ้างว่าในหลวงทรงพระเยาว์ จึงต้องเขียนรัฐธรรมนูญให้ในหลวงยังเป็นเด็กอยู่ตลอดไปนั่นเอง แต่ตามหลักรัฐธรรมนูญแล้วในหลวงจะต้องโต ถ้าจะมานั่งเลี้ยงในหลวงแบบไม่รู้จักโตแล้ว ก็เท่ากับว่าเราขาดความเคารพพระองค์...ในอังกฤษมีปรีวีเคาน์ซิล ( Privy Council ) แต่นั่นเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ไม่ใช่หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะไม่มีที่ไหนเขาแต่งตั้งที่ปรึกษากษัตริย์ให้อยู่เหนือรัฐบาล เพราะฉะนั้นเกรงว่าการตั้งอภิรัฐมนตรีจะทำให้เสียหลักการปกครอง เพราะที่ปรึกษาที่พระเจ้าแผ่นดินควรจะปรึกษาก็คือรัฐบาล ทำไมเราจะต้องมีอภิรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษา และรัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นนั้นก็ด้วยความชอบของสภา สมาชิกสภามาจากราษฎร ทำไมรัฐบาลของราษฎรจะเป็นที่ปรึกษาของในหลวงไม่ได้ รัฐบาลควรจะเป็นผู้ถวายคำปรึกษาโดยเฉพาะ มิฉะนั้นในหลวงจะเหินห่างไปจากราษฎรและเหินห่างไปจากระบอบประชาธิปไตย..


ควรเล็งผลในอนาคตด้วย ว่าถ้าให้อภิรัฐมนตรีเป็นที่ปรึกษาและเกิดไปให้คำปรึกษาขัดกับความเห็นของรัฐบาล แล้วจะทำอย่างไร รัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวก็จะเอาใจออกห่างจากพระเจ้าอยู่หัว หนักเข้า ไม่รัฐบาลจะต้องลาออกหรือไม่ก็ในหลวงจะต้องสละราชสมบัติ แล้วจะไปกันใหญ่  ถ้ารัฐบาลที่ลาออกไม่ดี ประชาชนไม่ชอบ ก็พอทำเนา แต่ถ้าเป็นรัฐบาลดี ที่ประชาชนเขานิยมชมชอบ แล้วมาเกิดมีความเห็นขัดแย้งกับในหลวง เนื่องแต่คำปรึกษาแนะนำของอภิรัฐมนตรี อย่างนี้จะมิเป็นให้ราษฎรเอาใจออกห่างจากในหลวงหรือ หลักการอย่างนี้ จึงไม่ช่วยค้ำจุนราชบัลลังก์ไว้เลย

นี่คือสรุปคำอภิปรายของมรว.เสนีย์ ปราโมชที่ได้เคยอภิปรายไว้ในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2491 แต่นักการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ปี 2555 – 2556 กลับยืนยันว่าจะไม่มีการแก้ไขรัดทำมะนวยหมวดพระมหากษัตริย์ แม้ว่าเมื่อกว่าหกสิบปีก่อน มรว.เสนีย์ ปราโมชก็ยังได้อภิปรายไว้ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการให้มีอภิรัฐมนตรี หรือ องคมนตรีนั่นเอง แสดงให้เห็นว่าการเมืองของไทยล้าหลังยิ่งกว่าเมื่อหกสิบปีที่แล้ว

คณะราษฎรตักเตือนพระราชวงศ์
ให้หยุดกล่าวความอันเป็นเสี้ยนหนาม
แก่ความสงบและคำปฏิญาณตนต่อคณะราษฎร


การยึดอำนาจการปกครองได้เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2475 เริ่มแต่เวลาใกล้รุ่ง ขณะนั้นรัชกาลที่ 7 และพระนางรำไพพรรณี พร้อมด้วยพระบรมวงศ์บางพระองค์ ประทับอยู่ที่วังไกลกังวล หัวหิน

พอได้ฤกษ์ คณะราษฎร คือ ข้าราชการฝ่ายทหารบก ทหารเรือ และราษฎร ได้ส่งกำลังทหารพร้อมด้วยอาวุธและรถถังไปตามวังพระบรมวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บางแห่ง มีวังบางขุนพรหม วังวรดิศ วังบ้านดอกไม้ วังเจ้าฟ้ากรมพระนริศ เป็นต้น แล้วทูลเชิญท่านเจ้าของวัง คือ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไปสู่พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นตัวประกัน

เหล่าทหารที่มิได้ถูกคณะราษฎรเรียกเข้าสมทบด้วยในชั้นต้น คือ ทหารรักษาวัง และทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ราบที่
1 ได้ถูกปลดอาวุธในตอนเช้าวันแรก

เหตุร้ายแรงในวันแรกมีอยู่เพียงรายเดียว คือ นายพลตรี พระยาเสนาสงคราม ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ได้ทำการขัดขืนเมื่อคณะราษฎรไปเชิญตัว จึงได้ถูกยิงบาดเจ็บสี่แห่ง แต่หาได้ถึงชีวิตไม่ และต่อมา อาการก็ได้ดีขึ้นมากแล้ว หวังว่าจะพ้นเขตอันตราย
ในวันเดียวกันนี้ คณะราษฎรได้ตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารขึ้น มีสำนักอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม มีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นประธาน

ในวันนั้น คณะราษฎรได้ส่งนายนาวาตรี หลวงศุภชลาศัย ไปยังไกลกังวลโดยเรือสุโขทัย เพื่อทูลเชิญเชิญรัชกาลที่
7 กลับคืนพระนคi โดยรถไฟพิเศษเมื่อเวลาราวเที่ยงคืนวัน อาทิตย์ (ที่ 26 มิถุนายน) พร้อมด้วยพระบรมวงศ์และราชบริพาร แล้วประทับ ณ วังศุโขทัยอันเป็นวังเดิมของพระองค์


พระบรมวงศ์ที่ถูกเชิญไปประทับ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อเป็นประกันชั่วคราว กับผู้ที่ถูกกักโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งในระหว่างนั้น ที่สำคัญก็คือ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระนครสวรรค์วรพินิตหรือเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ [แต่กรมพระนริศกับกรมพระยาดำรงให้เสด็จกลับวังได้ในวันหลังต่อมา] พระองค์เจ้าอลงกฏ รองเสนาบดีกลาโหมหม่อมเจ้าวงศ์นิรชร เจ้ากรมตำรวจภูบาล นายพลโท พระยาสีหราชเดโชชัย เสนาธิการทหารบกนายพลตรี พระยาพิชัยสงคราม แม่ทัพที่ 1 นายพลตรี พระยาเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยาน นายพลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศอธิบดีกรมตำรวจ ตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจนั้น ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้แต่งตั้งให้นายพันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ เป็นผู้ทำการแทน
สถานที่ทำการของรัฐบาลบางแห่งได้อยู่ในความควบคุมของคณะราษฎรมาตั้งแต่ แรก เช่น สถานีวิทยุ  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข กรมรถไฟหลวง ฯลฯ พระบรมมหาราชวัง และสวนสุนันทา ก็ได้อยู่ในความอารักขาของคณะราษฎรเช่นเดียวกัน

ต่อมาคณะราษฎรได้มีหนังสือถึงรัชกาลที่ 7 เพื่อให้ช่วยเตือนพวกเจ้านายเชื้อพระองค์ที่พูดจาไม่เหมาะสมขัดต่อแนวนโยบายของคณะราษฎรโดยมีเนื้อหาพอสรุปได้ดังนี้

พระที่นั่งอนันตสมาคม

วันที่ 28 มิถุนายน 2475
ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้าคณะราษฎร  ขอกราบบังคมทูลให้ทรงทราบดังนี้
พระองค์คงได้ตระหนักแก่ใจอยู่แล้วว่า  คณะราษฎรมีความประสงค์ให้ประเทศชาติมีความสงบและความเจริญ
แต่มาบัดนี้ได้ปรากฏว่า
 พระราชวงศ์ได้มีปากเสียงอันเป็นเสี้ยนหนามแก่ความสงบ
ซึ่งถ้าหากจะเพิกเฉยเสียก็เกรงจะเป็นเชื้อลุกลามต่อไป  และถ้าคณะราษฎรจะจัดการปราบปรามเสียเองก็เกรงจะเป็นที่ขุ่นเคืองพระทัย  ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้แจ้งมาให้ทรงทราบ  เพื่อขอได้ทรงช่วยทำความเข้าใจในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย 
โดยขออย่าให้พระบรมวงศานุวงศ์หยุดมีปากเสียงอันจะพึงเป็นเสี้ยนหนามแก่ความสงบอีกต่อไป
 
ทั้งนี้จักเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่คณะราษฎรเป็นล้นเกล้า ฯ

ข่าวที่คณะราษฎรได้รับมา มี
1.กรมพระกำแพงเพ็ชร์อรรคโยธิน 
2.กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร 
3.พระองค์เจ้าธานีนิวัต 
4.หม่อมเจ้าหญิงสืบพันธ์ ฯ 
5.พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา
เจ้าทั้ง 5 พระองค์นี้ได้ใช้ถ้อยคำอันเป็นเสี้ยนหนามแก่ความสงบ 
โดยใช้ถ้อยคำเสียดสีคณะราษฎรด้วยอาการอันไม่สมควร

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ
          ข้าพระพุทธเจ้า
                    พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
                                  ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร

คำปฏิญาณตนของพระบรมวงศานุวงศ์ต่อคณะราษฎร

พระที่นั่งอนันตสมาคม

วันที่ 28 มิถุนายน 2475
ข้าพเจ้า กรมพระนริศรานุวัติวงศ์ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์
อาภา  ขอให้สัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระศรีรัตนไตรย์แลสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสกลโลกไว้แก่คณะราษฎร์  ว่า  เนื่องแต่ที่คณะราษฎรมีความประสงค์จำนงหมายอยู่ในอันจะบำรุงชาติไทยให้รุ่งเรืองเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น  ที่ได้เชิญข้าพเจ้ามาประทับอยู่ณะที่นี้  ก็ด้วยความจำใจจำทำเพื่อความปลอดภัยของอาณาประชาราษฎร์และแก่ตัวข้าพเจ้าเองด้วย  แต่บัดนี้คณะ
ราษฎร์เห็นว่าถึงเวลาที่ควรจะให้ความผ่อนผันได้บ้าง  จึงได้ยอมให้ข้าพเจ้าเป็นอิสสระ  โดยข้าพเจ้าได้ให้สัตย์ปฏิญาณไว้ว่า   ข้าพเจ้าจะไม่กระทำการใด ๆ อันจะพึงเป็นภัยแก่คณะราษฎร
ทั้งด้วยกายและวาจาใจ  ถ้าปรากฏว่าข้าพเจ้าผิดคำปฏิญาณก็ขอให้คณะราษฎรจัดการแก่ข้าพเจ้าตามที่เห็นสมควร.



ลงพระนาม

  นริศ       



ดำรงราชานุภาพ   





อาทิตย์




จะเห็นได้ว่าคณะราษฎรได้ใช้อำนาจฝากให้รัชกาลที่
7 ไปว่ากล่าวตักเตือนบรรดาญาติของพระองค์ให้สงบปากสงบคำ อย่าได้พูดจาไปในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญใหม่หรือระบอบประชาธิปไตย ซึ่งผิดกับสมัยปัจจุบันที่ได้กลับกลายเป็นว่าระบอบกษัตริย์อยู่เหนือระบอบประชาธิปไตยและอยู่เหนือกฎหมายไปแล้ว


การทำลายกฎหมาย
และคำพิพากษา

ในระบอบเผด็จการ


ในขณะที่นักกฎหมายรวมทั้งศาลไทยได้ยอมจำนนและปกป้องกฎหมายและคำพิพากษาในระบอบเผด็จการ แต่ประเทศประชาธิปไตยหลายประเทศได้พากันการทำลายกฎหมายและคำพิพากษาในระบอบเผด็จการมาแล้ว เช่น

เยอรมนี ประเทศเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ความปรากฏชัดว่า ศาลต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลพิเศษที่อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ ( Adolf Hitler ) จัดตั้งขึ้นเป็นศาลสูงสุดในคดีอาญาทางการเมือง  หรือศาลประชาชนสูงสุด ที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการทรยศต่อชาติ ต่อมาได้มีการขยายไปในคดีอาญาอื่นๆด้วย เช่น การวิจารณ์หรือแสดงความสงสัยในชัยชนะในสงครามของรัฐบาลนาซีเยอรมัน ศาลดังกล่าวนี้ก็อาจลงโทษประหารชีวิตผู้วิจารณ์หรือแสดงความสงสัยในชัยชนะ นั้นเสียก็ได้ 
ศาลสูงชุดนี้ได้พิพากษาลงโทษบุคคลจำนวนมากโดยขัดต่อหลักการพื้นฐานทางกฎหมายและความยุติธรรม  ใช้วิธีการตีความกฎหมายขยายความออกไป เพื่อลงโทษบุคคลโดยศาลได้ปักธงในการลงโทษบุคคลไว้ก่อนแล้ว และใช้เทคนิคโวหาร และการตีความกฎหมายโดยบิดเบือนต่อหลักวิชาการทางนิติศาสตร์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลงโทษบุคคลนั้น รวมทั้งแรงจูงใจในทางการเมือง เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และศาสนา
อีกทั้งกระบวนการในการดำเนินคดีที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานหลายประการ เช่น การไม่ยอมมีให้มีการคัดค้านผู้พิพากษาที่เห็นได้ชัดว่ามีส่วนได้เสีย หรือมีอคติในการพิจารณาพิพากษาคดี การจำกัดสิทธิในการนำพยานหลักฐานเข้าหักล้างข้อกล่าวหา การกำหนดให้การพิจารณาพิพากษากระทำโดยศาลชั้นเดียว ไม่ยอมให้มีการอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา การจำกัดระยะเวลาในการต่อสู้คดีของจำเลย เพื่อให้กระบวนพิจารณาจบไปโดยเร็ว รวมถึงบรรยากาศของการโหมโฆษณาชวนเชื่อในทางสาธารณะ และแนวความคิดของผู้พิพากษาตุลาการในคดีว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ถูกกล่าวหาเพียงใด ที่น่าสังเวชก็คือ แม้ว่าศาลในเวลานั้นต้องใช้กฎหมายของเผด็จการนาซีในการพิจารณาพิพากษาคดีก็ตาม ก็ยังไม่สามารถเอาผิดกับผู้ถูกกล่าวหาได้ ศาลจึงต้องพยายามตีความกฎหมายเพื่อเอาผิดผู้ถูกกล่าวหาจนได้

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ได้มีเสียงเรียกร้องให้ลบล้างหรือยกเลิกคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการครองอำนาจของรัฐบาลนาซี  ในระยะแรกให้มีการลบล้างคำพิพากษาของศาลนาซีเป็นรายคดีไป เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงแน่นอนของศาล แต่วิธีการดังกล่าวมีปัญหาในทางปฏิบัติมาก


ต่อมาใน 2528 สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์เยอรมนีได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ประกาศว่า ศาลสูงสุดคดีอาญาทางการเมืองเป็นเครื่องมือก่อการร้ายเพื่อทำให้ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จนาซีสำเร็จผลโดยบริบูรณ์ ด้วยเหตุนี้บรรดาคำพิพากษาทั้งหลายที่เกิดจากการตัดสินของศาลดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆในทางกฎหมาย และในปี 2545 ได้มีการออกรัฐบัญญัติลบล้างคำพิพากษานาซีที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรมในคดีอาญา กฎหมายฉบับนี้มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลสูงสุดคดีอาญาทางการเมืองและศาลพิเศษคดีอาญาทุกคำพิพากษา

ฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสยอมแพ้ต่อเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2483 รัฐสภาได้ตรารัฐบัญญัติมอบอำนาจทุกประการให้แก่รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐภายใต้อำนาจและการลงนามของนายพลเปเทน ( General Henri Philippe Petain ) รัฐบาลได้ย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองวิชชี่ ( Vichy ) และให้ความร่วมมือกับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามนโยบายร่วมเป็นพันธมิตร ( Collaboration )


  
นายพลเปเทนปกครองฝรั่งเศสโดยใช้อำนาจเผด็จการ ภายใต้คำขวัญ  ชาติ งาน และ ครอบครัว ซึ่งใช้แทน เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ  รัฐบาลวิชชี่ร่วมมือกับเยอรมนีในการใช้มาตรการโหดร้ายทารุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับคนเชื้อชาติยิวไปเข้าค่ายกักกัน มีนักกฎหมายผู้มีชื่อเสียงหลายคนให้ความร่วมมือกับระบอบวิชชี่อย่างเต็มใจ ถือเป็นยุคมืดของฝรั่งเศส โดยมีนายพลเปเทนเป็นผู้กุมอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว


เมื่อเยอรมนีแพ้สงคราม ฝรั่งเศสได้รับการปลดปล่อยอิสรภาพ คณะกรรมการกู้ชาติฝรั่งเศสกลายเป็นรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ตรารัฐกำหนดขึ้นฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2487 ว่าด้วยการก่อตั้งความชอบด้วยกฎหมายแบบสาธารณรัฐขึ้นใหม่ในดินแดนฝรั่งเศส ประกาศชัดเจนว่าสาธารณรัฐฝรั่งเศสยังดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องและไม่เคยยุติการคงอยู่ในทางกฎหมาย และถือว่ารัฐบาลวิชชี่เป็นโมฆะและไม่มีผลทางกฎหมายใดๆ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะใช้ชื่อใด  ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย และไม่มีผลทางกฎหมาย 


โดยมุ่งทำลายเฉพาะการกระทำต่างๆในสมัยระบอบวิชชี่ที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ และไม่สอดคล้องกับนิติรัฐประชาธิปไตย ส่วนผู้กระทำการในสมัยนั้นก็ยังคงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น ขับไล่คนเชื้อชาติยิว จับคนเชื้อชาติยิวขึ้นรถไฟเพื่อพาไปเข้าค่ายกักกัน พิพากษาจำคุก ประหารชีวิต ฆ่าคนตาย เป็นต้น

นอกจากนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสได้ใช้มาตรการจัดการบุคคลผู้มีส่วนร่วมกับระบอบวิชชี่ เป็นการชำระล้างให้บริสุทธิ์ ( épuration ) ที่ใช้กันในหลายประเทศโดยมีเป้าหมาย มีการจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีบุคคลที่มีส่วนร่วมกับระบอบวิชชี่ ปลดเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนร่วมกับระบอบวิชชี่ ตลอดจนพวกที่มีอุดมการณ์และทัศนคติสนับสนุนนาซีและวิชชี่ ทั้งกีดกันไม่ให้เข้าทำงานหรือเลื่อนชั้น ทั้งในกระบวนการยุติธรรม การศึกษา สื่อสารมวลชน การเงินการธนาคาร การประกันภัย หรือร่วมในสหภาพแรงงาน รวมทั้งการจำกัดสิทธิเลือกตั้งและสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น

สวิตเซอร์แลนด์ ปี 2546 รัฐสภาสวิตเซอร์แลนด์ได้ตรารัฐบัญญัติเพิกถอนคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาลงโทษบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หลบหนีลี้ภัยจากการกระทำของนาซี และเยียวยาให้แก่บุคคลเหล่านั้น โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการเยียวยาชดเชย ทำหน้าที่พิจารณาคำร้องขอการเยียวยาชดเชยของบุคคลที่เคยต้องโทษตามคำพิพากษา และโดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องขอ ในกรณีที่บุคคลนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว ก็ให้ญาติเป็นผู้ร้องขอแทน  

กรีซ หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาสนับสนุนฝ่ายกษัตริย์นิยมให้ได้รับชัยชนะ และประกาศนำรัฐธรรมนูญ 2454 ซึ่งกำหนดให้มีกษัตริย์ กลับมาปัดฝุ่นใช้บังคับใหม่ให้เป็นรัฐธรรมนูญ 2495 โดยเรียกกันว่าประชาธิปไตยแบบกษัตริย์
ต่อมาทหารกลุ่มหนึ่งได้ก่อการรัฐประหาร 21 เมษายน 2510 ยกเลิกระบอบกษัตริย์ และล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2495 คณะรัฐประหารได้ปกครองแบบเผด็จการทหาร ต่อมารัฐบาลเผด็จการไม่อาจแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองได้ โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งกับไซปรัส

  
รัฐบาลเผด็จการทหารจึงล้มไปในปี 2517 นายคาราแมนลิส Kara manlis อดีตนายกรัฐมนตรีและผู้นำฝ่ายขวาซึ่งลี้ภัยอยู่ที่ปารีสตั้งแต่ปี 2506 ได้รับเชิญกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เขาจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติโดยรวมขั้วการเมืองทุกฝ่าย ประกาศใช้คำสั่งทางรัฐธรรมนูญ 2517 เพื่อฟื้นฟูความชอบด้วยกฎหมายแบบประชาธิปไตย โดยรับแนวความคิดมาจากฝรั่งเศส จัดการทำลายผลิตผลทางกฎหมายสมัยเผด็จการทหาร ให้บรรดารัฐธรรมนูญสมัยเผด็จการทหาร ( ตั้งแต่ปี 2511 ถึง 2516 ) และการกระทำที่มีเนื้อหาทางรัฐธรรมนูญทั้งหลายที่ประกาศใช้ตั้งแต่ 21 เมษายน 2510 คือวันที่คณะทหารทำรัฐประหาร ให้เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย แต่เพื่อไม่ให้เป็นการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ 2495 กลับมาอีก


กษัตริย์ คอนสแตนตินที่สอง  Constantine II องค์สุดท้ายของกรีซ
รัฐบาลจึงประกาศให้นำรัฐธรรมนูญ 2495 มาใช้ทั้งฉบับ เว้นแต่เรื่องรูปแบบรัฐที่มีกษัตริย์เป็นประมุข  เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ชี้ขาดว่ากรีซสมควรเป็นสาธารณรัฐหรือมีกษัตริย์ โดยรัฐบาลให้มีการออกเสียงลงประชามติในปี 2517 ว่า ผลปรากฏว่าประชาชนจำนวนร้อยละ 69.2 เห็นด้วยกับรูปแบบสาธารณรัฐ เป็นอันว่า นับแต่นี้เป็นต้นไป กรีซไม่มีกษัตริย์ และเป็นสาธารณรัฐ  รัฐบาลแห่งชาติยังได้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และให้เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง รวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ และได้ลงนามในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป


สเปน สงครามกลางเมืองในสเปนสิ้นสุดลงเมื่อปี 2479 โดยนายพลฟรานซิสโก้ฟรังโก ( Francisco Franco )ได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆ และเข้าสู่อำนาจด้วยการรัฐประหาร ปกครองสเปนด้วยระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ ตรากฎหมายและออกคำสั่งละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ใช้กำลังเข้าปราบปรามเข่นฆ่าบุคคลที่คิดแตกต่าง ออกมาตรการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ภายหลังระบอบฟรังโก้ล่มสลาย สเปนได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่นิติรัฐประชาธิปไตย ภายใต้การนำของกษัตริย์ฆวน คาร์ลอสและกลุ่มการเมืองทุกกลุ่ม ในท้ายที่สุด ประชาชนก็ได้ออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญ 2521  แต่ผลกระทบจากการกระทำต่างๆในระบอบฟรังโก้ก็ไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาเท่าที่ควร

ปี 2547 ปัญญาชน นักสิทธิมนุษยชน องค์กรเอกชน และกลุ่มเครือญาติของผู้เสียหายจากระบอบฟรังโก้ ได้รวมตัวกันจัดทำแถลงการณ์ข้อเสนอถึงรัฐบาลและรัฐสภาเพื่อลบล้างผลพวงและแก้ไขเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากระบอบฟรังโก้ เสนอให้รัฐสภาตรากฎหมายเพื่อประกาศความเสียเปล่าของทุกการกระทำที่มีผลทางกฎหมายในระบอบฟรังโก้ ด้วยเหตุที่ว่า สหประชาชาติได้มีมติเมื่อปี 2489 ว่าระบอบฟรังโก้เป็นระบอบการปกครองแบบฟาสซิสต์ และการกระทำใดๆในระบอบฟรังโก้มีความผิดตามกฎหมายอาญาระหว่างประเทศอีกด้วย



ตุรกี
หลังจากมุสตาฟา เคมาล อัลตาเติร์ก (
Mustafa Kemal Atatürk ) ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของตุรกี มาเป็นระบอบเคมาลิสต์สมัยใหม่ แต่ก็ยังมีการรัฐประหารโดยคณะทหารหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2503 2514



และครั้งที่สามในปี 2523 โดยนายพลคีแนน เอฟเรน ( Kenan Evren ) ได้เป็นประธานา ธิบดี มีรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งแต่ 2523-2526 มีการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2525 และออกเสียงประชามติ ภายใต้การควบคุมของคณะรัฐประหาร ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหารนี้นำมาซึ่งการนองเลือด มีประชาชนเสียชีวิต 5000 คน ถูกจำคุก 6000 คน ถูกดำเนินคดี 200,000 คน เสียสัญชาติตุรกีไปอีกร่วม 10,000 คน มีประชาชนอีกนับหมื่นที่ได้รับการทรมาน


บรรดานักการเมืองทั้งฝ่าย รัฐบาลและฝ่ายค้านต่างเห็นตรงกันมานานแล้วว่า เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ 2525 ไม่ได้มาตรฐานประชาธิปไตย
มีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกมาตรา
15 ที่ห้ามการฟ้องร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือรัฐบาลของคณะรัฐประหาร แต่ได้เสียงเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาไม่ถึงร้อยละ 70 จึงต้องนำไปให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติ เห็นชอบร้อยละ 57.90 เท่ากับได้ยกเลิกเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของคณะรัฐประหารและพวก สมาคมนักกฎหมายและนักสิทธิมนุษยชนจึงเดินหน้ากล่าวโทษนายพลคีแนน เอฟเรน และพวกในความผิดฐานกบฏ ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในเยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ กรีซ สเปน และตุรกี เป็นตัวอย่างของการลบล้างการกระทำในสมัยเผด็จการ ที่สามารถทำได้  เพื่อให้ได้ระบบกฎหมายแบบนิติรัฐประชาธิปไตยกลับคืนมา พร้อมทั้งสั่งสอนบุคคลที่กระทำการร่วมมือ และสนับสนุนเผด็จการได้อีกด้วย อีกทั้งเป็นการประกาศให้เห็นว่า ต่อไปนี้ หากมีรัฐประหารเกิดขึ้นอีก ก็เป็นไปได้ว่าเมื่อคณะรัฐประหารหมดอำนาจลง ระบบการเมืองกฎหมายเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจตัวจริงในระบอบประชาธิปไตย ย่อมมีความชอบธรรมอย่างเต็มที่ในการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร และนำตัวคณะรัฐประหารมาลงโทษ


สำหรับประเทศไทยอาจต้องเร่งให้มีร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง
เพื่อนิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่
19 กันยายน 2549


และจัดตั้งคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งทางการเมืองอันเป็นเหตุให้มีการเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองของประชาชนตลอดจนมีการกระทำอื่นใดไม่ว่าจะเป็นการกระทำ ทางกายภาพหรือการแสดงความคิดเห็นอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดย คปค. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

อันนำไปสู่การกล่าวหาและดำเนินคดีกับประชาชนจำนวนมาก ทั้งนี้เมื่อได้คำนึงว่าบรรดาการกระทำต่างๆ ของประชาชนนั้นได้กระทำไปเพื่อแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมืองอันเป็น สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน จึงสมควรให้มีการนิรโทษกรรมแก่ประชาชนในกรณีดังกล่าวเพื่อขจัดความขัดแย้งที่ยังคงปรากฏอยู่ แต่การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุมไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใด ๆ หากการกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมายทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีผู้ใดกล้าทำการยึดอำนาจแล้วมานิรโทษกรรมตนเองในภายหลังอีกต่อไป โดยให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องรับผิดชอบการกระทำของตน
ทั้งนี้อาจให้มีคณะกรรมการขจัดความขัดแย้งอันประกอบด้วยกรรมการขจัดความขัดแย้งจากบุคคลที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งจากฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมทั้งอดีตผู้พิพากษาและอดีตอัยการซึ่งได้รับเลือกจากรัฐสภา

อุตสาหกรรม
สร้างภาพ
ของสถาบันกษัตริย์ไทย


รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้เข้ามีบทบาทในการสร้างสถาบันกษัตริย์ไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธวิธีการต่อสู้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสมัยสงครามเย็น (Cold War) นายพอลล์ กู้ด (Paul Good) เจ้าหน้าที่สำนักข่าวสารอเมริกัน (United States Information Service หรือ USIS)  (ช่วงปี 2506 - 2511 ) ได้กล่าวว่าพวกเขาทั้งหมด มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ให้รัฐบาลไทย ด้วยการแจกจ่ายรูปถ่ายของกษัตริย์และราชินี เพื่อให้กษัตริย์ภูมิพลได้มาเป็นพันธมิตรที่ไว้ใจและเชี่อใจได้ในภูมิภาคอินโดจีน โดยจะกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสร้างความศรัทธาของประชาชนต่อกษัตริย์ ให้กษัตริย์เป็นจุดศูนย์รวมของชีวิตจิตใจของประชาชนเพื่อต้านภัยจากฝ่ายคอมมิวนิสต์จากทางฝั่งประเทศลาวและกัมพูชาโดยผ่านมาจากประเทศเวียดนาม

สำนักข่าวสาร อเมริกันได้สั่งพิมพ์ภาพถ่ายของกษัตริย์ภูมิพลจากโรงพิมพ์ของตนในกรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์และได้ทำการจ่ายแจกให้แก่ประชาชนไทยทั่วประเทศเพื่อนำขึ้นไปติดไว้ตามฝาผนังในบ้านเรือนกันที่เรียกว่า รูปที่มีทุกบ้าน  เมื่อเวลาผ่านไป คนไทยก็ได้รับเอาอิทธิพลที่สร้างขึ้นโดยสหรัฐ และโหนกระแสสร้างความจงรักภักดี ปลุกความเป็นชาตินิยมคลั่งเจ้าขึ้นมา

หยาดพระเสโท
ปฏิมากรรมแห่งแผ่นดิน

 

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ เอสซีจี ซึ่งทั้งหมดเป็นเครือข่ายของกษัตริย์ภูมิพล ร่วมกันจัดการแสดงเฉลิมพระเกียรติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2555 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่กษัตริย์ภูมิพลมีอายุครบ 84 ปี มีการแสดงสารคดีและการแสดงวงออร์เคสตราระดับโลก รวมทั้งการจัดแสดงประติมากรรมรูปหยดน้ำในชื่อ หยาดพระเสโท ซึ่งสื่อถึงหยาดพระเสโทหรือหยาดเหงื่อของทั้งสองพระองค์ ด้วยพระวิริยอุตสาหะในการทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อพสกนิกรชาวไทยได้มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามไว้ชื่นชมและใช้อย่างยั่งยืนต่อไป....

เป็นการโฆษณษชวนเชื่อว่ากษัตริย์ภูมิพลเหน็ดเหนื่อยขนาดเหงื่อหยดเป็นเม็ดใหญ่กว่าบาตรพระ ขณะที่ห้ามประเมิน ห้ามตรวจสอบ ห้ามวิจารณ์ ว่าผลงานนั้นมีสาระ มีความยั่งยืน มีคุณภาพและปริมาณสมดั่งคำโฆษณา หรือไม่ เพียงใด  นี่มิใช่การลวงโลกอีกหรือ
ในขณะที่พรรคการเมืองต้องเสนอนโยบาย ให้ประชาชนเลือกเข้ามา บริหารประเทศ ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน มีการตรวจสอบ มีวาระ สามารถซักถาม วิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลา อะไรมันจะน่าเชื่อถือ มีความจริงแท้ และมีสาระประโยชน์มากกว่ากัน
แต่ประชาชนไทยมีสิทธิ์เสรีภาพที่จะตัดสินใจเลือกเองแล้วหรือยัง หรือจะต้องอดทนจำยอมต่อไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

สังฆราชถวายพระพร
พระราชาผู้ทรงธรรม
ย่อมเป็นร่มใหญ่ของปวงประชานิกร

 

1 ธันวาคม 2555 สังฆราชญาณสังวร ได้ถวายพระพรแก่กษัตริย์ภูมิพล เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิด  5 ธันวาคม 2555 ความว่า ชาติไทยเราได้รักษาสิ่งสำคัญ 2 สิ่ง ควบคู่กันมาโดยตลอด คือ รักษาพระพุทธศาสนา และมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของชาติ นับได้ว่าเป็นการดำเนินตามพระพุทธภาษิตที่ว่า ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม เหมือนฉัตรหรือร่มใหญ่ในฤดูฝน และ พระราชาเป็นประมุขของมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมเปรียบเสมือนร่มใหญ่ในฤดูฝนของผู้ประพฤติธรรมทั้งปวงฉันใด พระราชาผู้ทรงธรรมย่อมเป็นร่มใหญ่ของปวงประชานิกรฉันนั้น  ประเทศไทยเราได้มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นฉัตรใหญ่มาโดยลำดับ แต่ละพระองค์มีพระราชกฤษฎาภินิหารต่างๆกัน ตามควรแก่เหตุการณ์ในยุคสมัยนั้นๆ ประดุจทรงอุบัติเพื่อกอบกู้สถานการณ์และดำรงรักษาแผ่นดินไว้ให้เป็นสุข


พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าย่อมประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นประโยชน์สุขแก่ปวงประชานิกรและบ้านเมืองเพียงไร ทรงดำรงพระองค์ในราชธรรมโดยมิได้บกพร่อง ควรที่ประชาชาวไทยทุกหมู่เหล่าจักได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงความจงรักภักดี ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2555 นี้ จึงขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยพร้อมกันอธิษฐานจิต น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล ให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงพระเจริญด้วยจตุรพิธพรชัยยิ่งๆ ขึ้นไป ตลอดจิรกาล ขอพระราชทานถวายพระพร

มีพุทธภาษิตว่ากรรมย่อมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ และควรบูชาบุคคลที่ควรบูชา ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม กรรมเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ไม่มีใครช่วยใครได้ ถ้ากษัตริย์ทำดี กรรมที่ดีก็จะคุ้มครองรักษาตัวของกษัตริย์เอง และมีผลให้บ้านเมืองสงบสุข แต่ถ้ากษัตริย์ทำชั่ว กษัตริย์ก็ต้องรับผลกรรมจากการกระทำของตนและมีผลทำให้บ้านเมืองไม่สงบ มีแต่ความแตกแยก ไม่มีความเป็นธรรมอย่างที่เห็นๆกันอยู่

เมื่อเป็นเช่นนี้สังฆราชญาณสังวรยังมีหน้ามาโกหกประจบสอพลอว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้ทรงคุณธรรม การกระทำเช่นนี้ก็คงเป็นแค่หน้าที่ของสมุนบริวารที่ได้ดิบได้ดีจากการประจบสอพลอ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าที่ญาณสังวรได้เป็นสังฆราชก็เพราะการรับใช้ใกล้ชิดและประจบสอพลอกษัตริย์ภูมิพลมาโดยตลอด และมีหลายครั้งที่ทำหน้าที่โฆษณาลวงโลกว่ากษัตริย์ภูมิพลได้บรรลุธรรมขั้นสูงซึ่งเป็นการอวดอุตริมนุสธรรม เป็นอาบัติถึงขั้นปาราชิก คือขาดจากความเป็นพระ เป็นเรื่องของคนพาลที่ยกย่องคนพาลด้วยกันเองโดยแท้

วัฒนธรรมดัดจริตของคนพาล
เหนือเมฆ เหนือการตรวจสอบ
เหนือความถูกต้องทั้งปวง


กรณีการสั่งยุติละครเหนือเมฆทางทีวีช่องสามเป็นตัวอย่างที่สื่อของไทยใช้โจมตีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยไม่สนใจค้นหาข้อเท็จจริง ไม่ว่าใครจะสั่งยุติการออกอากาศ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ไม่สำคัญ สื่อมวลชนไทยบางส่วนหรืออาจเรียกว่าสื่อมวลโจรที่ไม่เคยสนใจเรื่องสิทธิเสรีภาพหรือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เป็นแค่พวกที่พึ่งพิงเผด็จการโบราณที่นิ่งเฉยต่อการปล้นอำนาจของประชาชนและก้มหัวให้กับระบอบเผด็จการโบราณที่มีกษัตริย์ไทยเป็นหัวขบวน และยังทำตัวรับใช้ระบอบเผด็จการผูกขาดอำนาจของกษัตริย์โดยทำตัวเป็นเครื่องมือบ่อนทำลายระบบพรรคการเมืองและนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมาโดยตลอด

ทั้งๆที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ออกมาแถลงชัดเจนว่าทางสถานีเป็นผู้สั่งระงับเอง แต่พวกสื่อโจรก็ไม่สนใจเรื่องข้อเท็จจริง ทั้งยังพยายามประโคมให้เป็นเรื่องใหญ่โตคอขาดบาดตายยิ่งกว่าการยึดอำนาจของพวกทหารพระราชาหรือการสังหารหมู่ประชาชนกลางกรุงเทพโดยทหารรักษาพระองค์และทหารเสือราชินี


แม้ว่าละครเรื่องเหนือเมฆเจือปนด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนักและโจมตีนักการเมืองซึ่งเป็นเรื่องที่สื่อโจรก็รุมกันประณามนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นปกติอยู่แล้ว โดยไม่เคยมีสื่อโจรที่เกรงใจหรือเกรงกลัวรัฐบาลและรัฐบาลก็ดูเหมือนจะเป็นฝ่ายโดนกล่าวหาร้ายอย่างไม่มีเหตุผลแทบจะทุกเรื่องมานานแล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งจะต้องไปสั่งให้หยุดฉายละครที่อ้างว่าเปิดโปงพฤติกรรมนักการเมืองที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงอยู่แล้ว ในขณะที่สื่อโจรก็ไม่เคยเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้ชมละครทีวีเมื่อคราวที่มีการสั่งระงับละครเรื่องพระเจ้าตากสินในตอนปลายของเรื่อง ที่มีฉากนายทองด้วงหาเรื่องก่อการกบฏประหารพระเจ้าตากสินแล้วสถาปนาราชวงศ์จักรี สื่อโจรของไทยก็เหมือนคณะกรรมการสิทธิมนุษยโจร ที่ทำงานให้โจร และไม่เคยรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชนไทยที่ถูกพวกเผด็จการทหารของกษัตริย์กระทำย่ำยีมาหลายครั้งหลายคราว

เปรียบเทียบกับกรณีการแบนหรือปิดกั้นประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์นิติราษฎร์ ซึ่งปรากฏข้อความการห้ามเผยแพร่โดยกระทรวงไอซีที บางที่ปรากฏข้อความอ้างคำสั่งศาล นี่เป็นเรื่องที่รัฐเกี่ยวข้องชัดเจน แต่สื่อโจรของไทยกลับไม่สนใจเรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพ
เรื่องการงดเสนอละครเหนือเมฆนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ควรต้องเรียกร้องข้อเท็จจริงเป็นอันดับแรก ว่าการแบนละครเรื่องนี้มันเกิดจากอะไร และนักการเมืองที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น มาเกี่ยวข้องในรูปแบบใด

บางคนอ้างว่าต้นเหตุมาจากภาพรัศมีผู้บารมีสูง ที่มีการใส่ภาพรัศมีเรืองรองของผู้มีบารมี  ซึ่งอาจถูกนำไปตีความหมายให้เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 ได้ง่ายมาก ซึ่งอาจทำให้ช่อง 3 กลายเป็นจำเลยแบบคดีอากง  ซึ่งไม่มีใครจะรับประกันได้ จากกระแสคลั่งเจ้าที่ขาดสติที่เห็นๆกันอยู่ แต่ความคลุมเครือที่ช่อง 3 กับทีมละครไม่ยอมพูดความจริง ย่อมทำให้รัฐบาลถูกมองว่าเป็นตัวการ และเป็นโอกาสของพวกนิยมระบอบโบราณได้โอกาสโจมตีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

แท้จริงแล้ว อำนาจมืดที่มันเหนือเมฆ เหนือกฎหมาย เหนือความถูกต้อง เหนือความเป็นธรรม  เหนือการวิจารณ์ เหนือการตรวจสอบ แถมไม่รู้ว่าจากไหนกันแน่ ไม่มีวาระ ไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน ไม่ต้องเสียภาษี แถมยังสามารถเรี่ยไรเชิงบังคับ กึ่งรับสินบน ตามอัธยาศรัย แปลว่า ตามใจชอบ โดยไม่ต้องทำบัญชี ห้ามไม่ให้มีการตรวจสอบ สร้างภาพว่าเป็นตัวอย่างของความประหยัด แต่ก็ถูกฝรั่งเปิดโปงว่ามั่งคั่งร่ำรวยกว่าใครๆ

ท่านนักวิชาการไทย นักสื่อสารมวลชนไทยทั้งหลาย  ในเมื่อท่านยังอดทน ยอมรับมาตรฐานของคนบางคนที่มันแสนจะวิปริตผิดเพี้ยนมาได้นานแสนนานมาแล้ว ท่านยอมรับการปล้นอำนาจโดยทหารเผด็จการ ที่มีผู้ยิ่งใหญ่ให้การรับรอง ยอมรับการใช้กำลังทหารติดอาวุธเข้าปราบปรามประชาชนที่เรียกร้องรัฐบาลที่แพ้การเลือกตั้ง ให้ยุบสภา.. แต่ทำไมท่านถึงทนไม่ได้ที่ช่องสามเอง ได้งดการออกอากาศละครที่เสียดสีนักการเมือง มันจะไม่เข้าทำนอง ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น หรือเป็นอาการดัดจริตจนเกินไปดอกหรือ

รักอธิปไตยรักแผ่นดินไทยแบบลวงโลก
พันธมารยื่นข้อเสนอจี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์
ให้ปฏิเสธอำนาจศาลโลก รักษาอธิปไตยไทย


8 ธ.ค. 2555 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ โฆษกพันธมารเพื่อเผด็จการโดยกษัตริย์พร้อมด้วยมวลชน 150 คน เดินทางมายื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลไทยปฏิเสธอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และรักษาอำนาจอธิปไตยแห่งราชอาณาไทย พร้อมทั้งถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนุสัญญามรดกโลก และให้ช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ซึ่งถูกทหารกัมพูชาจับเนื่องจากเข้าไปหาเรื่องในแผ่นดินกัมพูชา

ถ้าพูดเรื่องการสูญเสียดินแดน ก็ต้องไปโทษกษัตริย์สยามโดยเฉพาะรัชกาลที่ 5 ในยุคที่อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาล่าเมืองขึ้นในแถบประเทศอินโดจีน ที่ไม่เคยคิดต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดนเหมือนกษัตริย์ในประเทศอื่นๆ... โดยมีการยกดินแดนสยามมากกว่าครึ่งหนึ่งให้ต่างชาติ...แถมยังอ้างว่า เป็นความปรีชาสามารถที่รักษาเอกราชหรือบัลลังก์ของตนเอาไว้ได้


ในเรื่อง ประสาทพระวิหาร มันยุติตั้งแต่รัฐบาลศักดินาสยามไปยอมรับแผนที่ของฝรั่งเศสแล้ว ในเมื่อเรื่องนี้มันจบไปนานแล้ว ก็ควรจะร่วมมือกัน เพื่อประโชน์และสันติสุขร่วมกัน การที่กัมพูชาขอให้ประสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ย่อมเป็นเรื่องดี ที่จะเกิดประโยชน์แก่ทั้งกัมพูชาและไทย


มีแต่พวกบ้าคลั่งเสียสติและต้องการหาเรื่องเท่านั้น ที่จะพยายามหยิบยกเรื่องดีๆเช่นนี้ ให้มันกลายเป็นปัญหาบานปลาย ถึงอย่างไร ก็ขอให้คิดถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงทหารตำรวจที่ต้องเสี่ยงชีวิต บาดเจ็บล้มตาย ในเรื่องที่แสนจะไร้สาระเช่นนี้

………………………..