วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

112 สยองพระเกียรติ ตอนที่ 8 : ความภูมิใจหรือน่าละอายกันแน่ Section 112 08

ฟังเสียงพร้อมเพลงประกอบ  : http://www.4shared.com/mp3/0fFgzRVC/Section_112_The_Royal_Threat_0.html 
หรือที่ :
http://www.mediafire.com/?m4mu5w7i6jz7m6b



112 สยองพระเกียรติ
ตอนที่
8 : ความภูมิใจหรือน่าละอายกันแน่

สังคมลัทธิเทวราช










ในโลกมนุษย์ยุคต้นคริสตศตวรรษที่ 21  ดูเหมือนจะมีสังคมเพียงสองประเภทที่สมาชิกในสังคมสามารถถูกกฎหมายตัดสินจำคุกเป็นเวลานานนับสิบปี ด้วยข้อหาส่งข้อความสั้นจากโทรศัพท์มือถือของคนคนหนึ่งไปยังโทรศัพท์มือถือของคนอีกคนหนึ่ง ด้วยข้อหาแปลความบางบทบางตอนจากหนังสือภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งเพื่อเผยแพร่ในพื้นที่ออนไลน์ส่วนตัว และด้วยข้อหาแสดงความเห็นทางการเมืองของตนบนเวทีสาธารณะ สังคมสองประเภทที่ว่าคือ สังคมเผด็จการกับสังคมลัทธิที่คลั่งคลุ้มในความเชื่อเบ็ดเสร็จสำเร็จรูปโดยปราศจากการตั้งคำถาม และโดยมิแยแสต่อเหตุผล สิทธิมนุษยชน และความจริง
 
สังคมเผด็จการ คือสังคมที่ปกครองโดยกำลัง โดยการบังคับข่มขู่ เป็นการปกครองด้วยความกลัว โดยคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่เห็นคนอื่นที่เหลือเป็นเพียงฝูงสัตว์ สมาชิกในสังคมเผด็จการอาจเต็มไปด้วยความอัดอั้นตันใจ และไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ ที่คุ้มค่ากับการต้องใช้ชีวิตอยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้นำทรราชย์กับสมุนถืออาวุธ ทว่าไม่มีทางเลือก ต้องดำรงอยู่ในกรอบขังนั้นด้วยความจำทน
แต่สังคมลัทธินั้น สมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมลัทธิต่างค่อนข้างสุขีปรีดา ซึ้งซาบในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวและความมั่นคงกลมเกลียวของความเป็นสาวก ภายใต้การปกครองของผู้นำ ซึ่งมักได้รับการยกชูอยู่สูงจนมีสถานะเหนือมนุษย์ หรือมีภาพลักษณ์เป็นวีรชนไร้ผู้เทียมทาน
และตราบใดที่สถานการณ์ในสังคมลัทธิดำเนินราบรื่นตามสูตรสำเร็จ ที่ถูกสถาปนาขึ้นด้วยการอ้างอิงความเห็นชอบของผู้นำ หรืออุปโลกน์ว่าเป็นการทำเพื่อผู้นำ สมาชิกส่วนใหญ่ต่างอิ่มเอมภาคภูมิกับการได้เกิดมารับใช้และปกป้องลัทธิของตนโดยถ้วนหน้า และด้วยเชื่อมั่นว่าคำสอนของลัทธิคือสัจธรรมแห่งชีวิต สมาชิกทั้งหลายจึงมั่นใจว่า สิ่งที่ลัทธิสอนสั่งให้ตนเป็นและปฏิบัติคือ ความถูกต้อง คือความดี คือความมีศีลธรรม กระทั่งถึงขั้นต้องการให้สืบสานข้ามรุ่นไปยังชาติภพอื่น เมื่อมีสมาชิกหัวแข็ง ริอ่านแตกแถว คิดต่าง ตั้งคำถามสงสัย และหาญกล้าแสดงทีท่าผิดแผกไปจากข้อบังคับหรือความเชื่อของลัทธิ ทั้งในทางรุนแรงและนุ่มนวล ทั้งโดยตั้งใจและโดยไร้เดียงสา สาวกข้างมากมักเกิดอาการใจสั่น หวั่นหวาดว่าฐานความเชื่อของพวกตนจะถูกลบหลู่ดูแคลน กังวลวิตกว่าสมาชิกกบฏส่วนน้อยนั้น จะสร้างรอยร้าวและส่งผลให้เสาหลักของลัทธิล้มครืนลง ข้อกล่าวหาที่ดีที่สุดเท่าที่สาวกลัทธิจะนำมาใส่ร้ายข่มขู่ผู้คิดต่าง มักมีเพียงข้อกล่าวหาที่ไร้น้ำหนักและปราศจากเหตุผล อาทิ ผู้คิดต่างเป็นคนเลวทรามเพราะตั้งคำถามกับผู้นำหรือกับความศรัทธาในตัวผู้นำผู้ประเสริฐ ผู้คิดต่างต้องการทำร้ายผู้นำหรือทำลายลัทธิ เพราะคนหวังดีที่ไหนจะเสือกคิดต่าง การคิดต่างแปลว่าผู้คิดต่างเนรคุณต่อลัทธิซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของผู้คิด ต่าง ดังนั้นผู้คิดต่างจึงควรออกไปจากบ้านหรือปลดตัวเองออกจากลัทธิเสีย สาวกลัทธิผู้มีจิตใจเหี้ยมโหดมักมีความเห็นถึงขั้นที่ว่าผู้คิดต่างทั้งหลาย สมควรถูกฆ่าล้างโคตร นอกจากนั้นยังมีการกีดกั้นขัดขวาง ประณามความเห็นหรือความช่วยเหลือจากคนนอก โดยประกาศว่าคนนอกไม่เข้าใจในพื้นฐานวัฒนธรรมอันลึกซึ้งของลัทธิตน ทั้งหมดนั้นล้วนมิใช่เหตุผลที่เกิดจากการคิด หากแต่เป็นเหตุผลที่เกิดจากการบังคับไม่ให้คิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแม้แต่น้อย เนื่องเพราะกฎข้อที่หนึ่งของการเป็นสมาชิกลัทธิคือ ต้องถอดสมองส่วนที่ใช้ตรรกะและเหตุผลทิ้งไปเสียก่อน ตามด้วยกฎข้อที่สองที่ต้องเชื่อว่ากฎระเบียบและคำสอนของลัทธิย่อมถูกต้องหมดจด และแม้ว่าสาวกลัทธิจะนิยมใช้ถ้อยคำขับไล่ไสส่งผู้คิดต่างให้ออกห่างไปจากลัทธิ ทว่าในทางปฏิบัติพวกเขาพอใจกับการคุมขัง ทำร้าย หรือบังคับข่มขู่ให้ผู้คิดต่างต้องถอนคำพูด กลับใจ หรือปิดปากไว้ด้วยความกลัวเสียมากกว่า เป็นที่รู้กันดีในหมู่ผู้มีประสบการณ์เข้าร่วมลัทธิ ว่าการสมัครเข้าเป็นสมาชิกเป็นเรื่องง่ายดาย ทว่าการลาออกหรือการปลดปล่อยตนเองจากสถานะของความเป็นสาวกนั้นเป็นเรื่องที่แทบต้องเอาชีวิตทั้งของตนเองและคนใกล้ชิดเข้าแลก สังคมลัทธิทนไม่ได้ที่จะปล่อยให้ผู้คิดต่างลอยนวล สมาชิกของสังคมลัทธิมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะถูกครอบงำ

มิหนำซ้ำยังพากันเสนอตัวเป็นผู้ตรวจตราความเรียบร้อยในลัทธิอย่างบ้าคลั่งเสียเอง โดยมิต้องรับคำสั่งจากเบื้องบน ปัญหาส่วนใหญ่ของสังคมเผด็จการอยู่ที่ตัวผู้นำ ในขณะที่ปัญหาสำคัญของสังคมลัทธิอยู่ที่ตัวสมาชิกเอง ทั้งสมาชิกวงใน ที่ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากการบริหารลัทธิ และบรรดาสาวกคลั่งจัดที่หลับหูหลับตาศรัทธาลัทธิและพร้อมจะทำการกำจัดผู้เป็นกบฏ หรือผู้ที่ถูกพวกเขากล่าวหาว่าเป็นกบฏให้ราบคาบไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ความเกลียดชัง ความรุนแรง และความอัปรีย์ที่เกิดขึ้นในสังคมลัทธิจึงไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นจากการเห็นชอบหรือจากความประสงค์โดยตรงของผู้นำ บ่อยครั้งมันเกิดจากสาวกผู้เสนอหน้าแสดงความรัก ความภักดี และใช้ข้ออ้างอันปราศจากเหตุผลทั้งหลาย สร้างความชอบธรรมให้กับพฤติกรรมล่าแม่มดและการข่มขู่ผู้คิดต่างอย่างไม่มีจริยธรรมหรือความยุติธรรมใดๆ



ในยุคสมัยนี้ สาธารณรัฐ ประ ชา  ธิปไตย ประชา ชน เกาหลีหรือเกาหลีเหนือ อาจเป็นตัวอย่างชัดเจนที่สุดของสังคมที่มีส่วนผสมของทั้งสังคมเผด็จการและสังคมลัทธิ ที่บูชาประธานาธิบดี คิม อิล ซุง ผู้มีสถานะเป็นประธานาธิบดี ตลอดกาล แม้ว่าเขาได้ตายไปแล้วตั้งแต่ปี  2537  ทว่าจากสภาวะที่ปรากฏชัดในสังคมไทยปัจจุบัน

นอกจากกรณีการกล่าวหา ใส่ร้าย ข่มเหง ฟ้องร้อง และลงโทษผู้คิดต่างอย่างเกินเลยหนักหน่วง ยังมีกรณีการเกิดรัฐประหารที่ขัดขวางการก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง มาหลายต่อหลายครั้ง นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ จะมีก็เพียงผู้นิยมหลอกลวงตนเองอย่างล้ำลึก หรือสาวกคลั่งจัดในลัทธิเท่านั้นที่จะไม่สรุปว่าสังคมไทยก็มีคุณสมบัติที่มิเพียงละม้ายสังคมเผด็จการ มิเพียงคล้ายสังคมลัทธิ หากแต่ดูเหมือนจะมีส่วนผสมของสังคมทั้งสองประเภทอยู่อย่างกลมกลืนเช่นกัน



คงเกินเลยความจริงหากจะวางสังคมไทยไว้บนแท่นฐานเดียวกันกับเกาหลีเหนือ อย่างน้อยจากภาพภายนอก สังคมไทยยังคงเป็นสังคมเปิด ให้เสรีภาพในการใช้ชีวิตกับสมาชิกในสังคม มีการถ่ายเทและสานต่อทางปัญญากับนานาประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศเสรีนิยมที่มีความมั่นคงทางประชาธิปไตยและสนับสนุนสิทธิพื้นฐานทางความคิดและการแสดงออกของปัจเจกชนอย่างเข้มแข็งมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ สังคมไทยยังขึ้นชื่อในสากลโลกว่าเป็นประเทศที่มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่างมากที่สุดประเทศหนึ่ง จึงมิอาจกล่าวได้ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่สมาชิกส่วนใหญ่ตกอยู่ในความหวาดกลัว ถูกปิดหูปิดตา หรือถูกกีดกันกดข่มมิให้ได้สัมผัสการคิดต่างและแนวทางเสรี สมาชิกในสังคมไทยส่วนใหญ่มีิอิสระในการเดินทางออกนอกประเทศ มีทางเลือกในการประกอบอาชีพ มีอิสระในการนับถือศาสนา มีโอกาสปรนเปรอตนเองด้วยความบันเทิงนานาชนิด ด้วยความสุขสบาย หรูหราฟุ่มเฟือย



สังคมไทยยังถือว่าห่างไกลจากการตกอยู่ภายใต้สภาวะขั้นวิกฤตของความเป็นสังคมเผด็จการและความเป็นสังคมลัทธิสุดโต่งอย่างไม่ต้องสงสัย เช่นนั้นแล้ว เหตุใดเมื่อมีการพูดถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์ เหตุใดเมื่อมีการตัดสินลงโทษผู้ถูกกล่าวหาว่าลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ เหตุใดเมื่อสมาชิกบางคนมีพฤติกรรมขัดแย้งกับธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวเนื่องกับสถาบันกษัตริย์ที่สังคมเรียกร้องแกมบังคับให้ปฏิบัติ ทั้งที่บางธรรมเนียมมิได้เป็นกฎหมายหรือระเบียบกำหนดอย่างเป็นทางการ บรรยากาศและอารมณ์ของสังคมไทยจึงเคลื่อนเข้าใกล้เส้นขีดของความเป็นสังคมเผด็จการและสังคมลัทธิได้ทันทีอย่างน่าวิตก ความเป็นสังคมอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง ดังที่ชาวโลกเยินยอสรรเสริญไว้ เหือดหายในพริบตา

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เวทีนาฏราช 6 พค.2553
ปัญญาชนผู้ชาญฉลาด ได้รับการศึกษาขั้นสูงสุดจากประเทศโลกที่หนึ่ง กลับกลายเป็นผู้สนับสนุนการโฆษณาชวนเชื่อและพิธีกรรมไร้ตรรกะโดยปราศจากยางอาย ศิลปินผู้ชื่นชมการมองมุมกลับ การแหกคอก การคิดนอกกรอบ ต่างแปรร่างเป็นนักอนุรักษ์นิยมผู้ปกป้องทัศนคติสำเร็จรูปใส่ผงชูรส นักสื่อสารมวลชนที่ดิ้นรนเรียกร้องเสรีภาพสื่อ ต่างเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ มิกล้าเปิดพื้นที่ให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกริดรอนเสรีภาพและผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแก ครูบาอาจารย์ นายแพทย์ พระสงฆ์ผู้พร่ำเทศนาวิถีแห่งพุทธอันเปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา ต่างกลายเป็นกระบอกเสียงให้กับสาวกวงในของลัทธิ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม


จรัญ ภักดีธนากุล และ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ แกนนำตุลาโกงรัดทำมะนวย
กระทั่งทนายและผู้พิพากษาซึ่งเป็นความหวังสุดท้ายทางกฎหมายของประชาชน ต่างตัดสินใจแทบเป็นเสียงเดียวกันว่าการปกป้องตรรกะผิดเพี้ยนสำคัญกว่าการรักษาความยุติธรรม หากความเป็นคนไทย คือการอยู่ในศีลธรรมอันดี รักสามัคคี มีความโอบอ้อมอารี ดังที่ป่าวประกาศกันอยู่ทุกเช้าค่ำ เมื่อมีการพูดถึงบทบาทของสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา กลับดูเหมือนว่าประเทศนี้จะมีคนไทยอาศัยอยู่ไม่มากเท่าไรเลย


คุณฐิตินันท์ โดนรุม ฐานหมิ่นกษัตริย์
หน้าศาลรัดทำมะนวย 13 กค. 2555
เหตุใดความเป็นสังคมอารมณ์ดี เป็นสังคมใจกว้าง เป็นสังคมไม่เป็นไรของไทย จึงบอบบางและผันปรวนได้ง่ายดายเพียงนั้น หากคำตอบคือความรัก ย่อมเป็นเรื่องวิปริตพิสดารไม่น้อยที่ความรักกลับบันดาลให้แผ่นดินไทยเจิ่งนองไปด้วยอุทกภัยแห่งความเกลียดชัง หลากล้นท่วมท้นหนทางแห่งเหตุผลจนไม่มีใครเอาอยู่เช่นนี้ หากยังสามารถสันนิษฐานด้วยความหวังว่าสังคมไทยไม่สุดขั้วในความเป็นเผด็จการ และเป็นสังคมลัทธิเทียบเท่าเกาหลีเหนือ เหตุผลที่มีความเป็นไปได้ที่สุดข้อหนึ่ง คือสมาชิกในสังคมบางส่วนยังไม่เข้าใจความสำคัญและบทบาทของเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกที่แท้จริงดีพอ ยังไม่รู้ซึ้งว่าอิสรภาพในการเลือก ในการใช้ชีวิต ในการดำรงสถานะของความเป็นปัจเจกชนในสังคม เป็นอิสรภาพที่งอกเงยขึ้นจากรากแห่งเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกทั้งสิ้น คุณสมบัติที่น่ายินดีที่สุดของมนุษยชาติไม่ใช่การสามารถก้าวขึ้นสู่สถานะของ สัตว์ผู้ครองโลก แต่คือการสามารถก้าวขึ้นสู่สถานะของสัตว์ผู้รู้จักเรียนรู้จนมีเหตุผลเพียงพอที่จะหาหนทางอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางความคิดอย่างเป็นธรรมและสันติ ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเจริญแล้ว มิได้เจริญเพราะก้าวหน้าทางวัตถุเท่านั้น ตรงกันข้าม การใช้เหตุผล การยอมรับในตรรกะ การให้ความสำคัญกับการมองโลกอย่างเป็นวิทยาศาสตร์


รายการตอบโจทย์ เรื่องสถาบันกษัตริย์ ทางทีพีบีเอส 15 มีค. 2556 ที่ถูกสั่งปิด
การเข้าใจว่าความแตกต่างหลากหลายคือธรรมชาติของโลกและสังคมมนุษย์ คือความเจริญทางปัญญาที่เอื้อให้เกิดความเจริญทางวัตถุและการพัฒนาด้านอื่นๆตามมาอีกมากมาย ในขณะที่การปิดปาก การเซ็นเซอร์ การบังคับข่มขู่ให้อยู่ในกรอบกำหนดกักขัง คือต้นเหตุสำคัญของความหยุดนิ่ง ความล้าหลัง ความแร้นแค้น จนอาจเลยเถิดถึงการล่มสลายของสังคม แสงสว่างจากไฟฟ้าจะไม่สามารถเกิดขึ้น ไม่สามารถได้รับการแพร่กระจายแจกจ่ายความสะดวกสบายกับมนุษย์ไปทั่วทุกมุมโลก หากผู้คิดประดิษฐ์ไม่ได้รับการคุ้มครองจากแสงสว่างทางปัญญาที่มาพร้อมกับเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก แสงไฟแห่งเหตุผลจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์ยิ่งกว่าแสงไฟฟ้า แสงไฟแห่งปัญญาจึงเป็นแสงไฟดวงสำคัญที่เราจำเป็นต้องยึดมั่นหมั่นดูแลรักษา มิให้มอดดับ หากเรายังต้องการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างสงบและเสรี  ตราบใดที่แสงไฟแห่งเหตุผลยังคงมีช่องทางส่องสว่าง ความหวังที่สังคมจะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆนานาไปได้ย่อมยังเรืองรองอยู่เสมอ สมาชิกในสังคมผู้สามารถถือตนเป็นปัจเจกชนอยู่ได้ทุกวันนี้ ล้วนเป็นหนี้บุญคุณบรรพบุรุษที่ต่อสู้โดยเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก นับตั้งแต่การต่อสู้กับทรราชย์ กับอำนาจปกครองของศาสนา กับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับเผด็จการทหาร กับทรราชย์ในคราบสังคมนิยม พวกเขาคือสถาปนิก วิศวกร และช่างก่อสร้างตัวจริงของบ้านเสรี หลังที่เราใช้พำนักพักพิง สังคมมนุษย์ยุคสมัยใหม่ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากมิใช่เพราะการเสียสละและการสังเวยตนของบรรพบุรุษ บรรพบุรุษที่ว่านั้นไม่จำกัดเฉพาะบรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ หากคือบรรพบุรุษของโลก ต่างยุคต่างสมัย ต่างภูมิประเทศ ต่างยุทธศาสตร์ในการต่อสู้

จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี รวมพลต่อต้านนิติราษฎร์ 28 มค. 2555
กาลเวลาได้ดำเนินมาถึงช่วงที่ผู้ต้องการปกป้องการเป็นปัจเจกชนจะต้องแสดงออกร่วมกันทางสังคม จึงจำเป็นต้องเสียสละร่วมกันปกปักรักษาแสงไฟแห่งปัญญา แสงไฟแห่งเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกเอาไว้ด้วยกัน หากสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมเชื่อมั่นว่าสังคมไทยไม่ใช่สังคมเผด็จการ ไม่ใช่สังคมลัทธิที่ิมืดบอดทางเหตุผล ทว่าเป็นสังคมเสรีที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และหากความเป็นคนไทย จะเป็นสถานะที่น่าภาคภูมิใจในสากลโลกโดยแท้จริง ถึงเวลาแล้วที่แสงไฟแห่งเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกที่มักถูกหรี่ดับลง ต้องได้รับการกอบกู้ให้หลุดพ้นจากกำมือของกลุ่มคนผู้เป็นปรปักษ์ต่อปัญญาและความก้าวหน้าของสังคม สังคมที่ได้รับการปกครองโดยธรรมไม่มีความจำเป็นต้องหวาดกลัวความจริง ไม่ต้องกักขังผู้เห็นต่าง ไม่ต้องใช้คำว่ากบฏปรักปรำสมาชิกด้วยกัน การมอบเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกอย่างหมดจดให้กับสังคมคือบทพิสูจน์ที่จะสะท้อนภาพได้แจ่มชัดที่สุดว่า ตัวตนที่แท้ของสังคมนี้เป็นเช่นไร หากสมาชิกในสังคมกล้ายืนยันว่าสังคมไทยไม่ใช่สังคมเผด็จการ ไม่ใช่สังคมลัทธิ วิธีพิสูจน์ที่จะปราศจากข้อกังขาโดยสิ้นเชิง คือต้องปรับระดับแสงไฟแห่งเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกให้เจิดจำรัสถึงขีดสุด ความถูกต้องที่แท้ย่อมกล้าปรากฏตัวในที่แจ้ง ความจริงที่แท้ย่อมกล้าสบตากับแสงไฟ หากสมาชิกในสังคมร่วมแรงร่วมใจรักษาแสงไฟแห่งเหตุผลและปัญญาดวงสำคัญดวงนั้นไว้ด้วยกัน สังคมไทยก็ยังมีหวังที่จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง

สังคมจิ้งจก
และมนุษย์ล่องหน


จิ้งจกหรือกิ้งก่าเป็นสัตว์ที่เปลี่ยนสีของมันให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ได้ ขณะเดียวกันก็อาศัยการหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้สัตว์ชนิดอื่นรับรู้การมีอยู่ของมัน คนไทยก็ถูกบังคับให้ทำตัวเหมือนไม่มีตัวตนเป็นมนุษย์ล่องหนที่ไม่ส่งเสียง ไม่ไหวติง ต้องนิ่งสนิทเมื่อเผชิญกับมาตรา 112 เพื่อการเอาตัวรอดจากความป่าเถื่อนรุนแรงโดยรัฐและสังคม
ปัจจุบัน คนจำนวนมากในสังคมไทยน่าจะเคยได้ยิน ได้ฟัง หรือผ่านตาเรื่องราวเกี่ยวกับมาตรา
112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาบ้าง แต่การถกเถียงพูดถึงให้รอบด้านในประเด็นนี้ในเมืองไทยก็ยังทำได้อย่างจำกัด และต้องระแวดระวังสิ่งที่ตนเองจะพูด ขณะเดียวกันเราก็ไม่ทราบกันนักว่ามีใครบ้างที่โดนกล่าวหาในคดีนี้ ยกเว้นคนที่พอจะมีชื่อเสียงอยู่บ้าง อีกทั้งในทางสาธารณะ เราก็แทบไม่รู้ว่าข้อความหรือการแสดงออกซึ่งคนที่ถูกกล่าวหาในคดีพูดหรือทำอะไร และการนำคำพูดนั้นมาวิเคราะห์วิจารณ์ กล่าวซ้ำ หรือเผยแพร่เพื่อทำความเข้าใจอย่างมีเหตุมีผลสามารถทำได้หรือไม่  ถึงที่สุดเราแทบบอกไม่ได้เลยว่าเส้นแบ่งระหว่างการหมิ่นหรือไม่หมิ่นทางกฎหมายอยู่ตรงที่ใด เราสามารถเอ่ยถึงสถาบันในแบบใดได้บ้าง ทำให้ความเงียบล้อมรอบประเด็นเหล่านี้กลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ราวกับว่าข้อมูลในคดีนี้และเส้นแบ่งต่างๆ กลายเป็นสิ่งล่องหนอย่างหนึ่ง


ผู้โดนจำขังหรือกล่าวหาจากมาตรา112 ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นคดีการเมือง หรือ นักโทษการเมือง โดยอ้างว่าคดีอาญาในหมวดของความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และเป็นคดีร้ายแรงกระทบต่อความรู้สึกของประชาชน เมื่อรัฐบาลมีการย้ายเฉพาะนักโทษการเมืองไปยังเรือนจำหลักสี่เพื่อให้นักโทษมีความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ไม่นับนักโทษคดีมาตรา 112  ทำให้พวกเขายังถูกคุมขังไว้ที่เดิม ทั้งๆที่สิ่งที่พวกเขาพูด หรือแสดงออก ล้วนเป็นปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประเด็นสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์โดยตรง การไม่ถูกยอมรับให้เป็นนักโทษทางการเมืองหรือนักโทษทางความคิด แต่กลับจัดวางในหมวดความมั่นคงและคดีอาญา ทำให้กระบวนการยุติธรรมและการพิจารณาคดีเหล่านี้ ยืนอยู่บนฐานการมองผู้ต้องหาในฐานะอาชญากรที่ทำอาชญากรรมรุนแรง ถูกมองว่ามีความผิดตั้งแต่ถูกแจ้งความ ทั้งที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์ความผิดในชั้นศาล กระบวนการยุติธรรมและพิจารณาคดีก็ถูกปฏิบัติแตกต่างไปจากความผิดในลักษณะอื่นๆ เช่น การพิจารณาคดีในทางลับ สิทธิในการประกันตัวที่ไม่ได้รับการพิจารณา ไม่ว่าจะยื่นประกันไปกี่ครั้ง หรือการตัดสินโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ

เหตุที่กรณีมาตรา
112 จำนวนมากแทบไม่เป็นที่รู้จักเพราะ ตัวผู้ต้องคดีจำนวนมากเลือกที่จะทำตัวเองให้ล่องหนเสียเอง เพื่อไม่ให้ตนเองหรือครอบครัวต้องเผชิญกับความไม่ปลอดภัยหรือความรุนแรง การเลือกจะต่อสู้และเป็นข่าวโด่งดังกลับทำให้ยิ่งเป็นที่จับตาและเพ็งเล็งจาก อำนาจ กระบวนการยุติธรรม หรือกระบวนการทางสังคมมากยิ่งขึ้น  และส่วนมากคนเหล่านี้จะเป็นคนเล็กคนน้อยที่ไม่มีชื่อเสียง ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่มีสถานะทางสังคม และโดยมากเป็นคนไม่มีฐานะนัก ทำให้การคุ้มครองจากสาธารณะแทบเป็นไปไม่ได้  ทนายความในคดีมาตรา 112 ของพวกเขามักย้ำหลายครั้งว่าต้องเงียบๆ อย่างเดียว ยิ่งตีมากยิ่งทำให้เขาโกรธแค้น และยิ่งสั่งลงมาแรง ยิ่งเงียบยิ่งมีโอกาสได้ประกันตัวในชั้นสืบสวน และรีบยอมรับสารภาพเพื่อให้เสร็จสิ้นกระบวนการโดยเร็ว ญาติของผู้ต้องหาคดี 112 ก็ขอเงียบๆ ไม่ส่งเสียงดัง เพราะไม่มีอะไรที่จะต่อสู้ เพราะเป็นสามัญชนไม่มีอะไรเลย ถ้าดังแล้ว เขาอาจจะหมั่นไส้  ยิ่งดิ้นเท่าไรก็ยิ่งรัดตัวผู้ต้องหาจำนวนมากจึงเลือกจะอยู่ในความเงียบ อยู่ในสถานะล่องหน และเผชิญกับกระบวนการยุติธรรมเองอย่างเงียบๆ ซึ่งต้องแลกมาด้วยการจำยอม รับสารภาพ และรอคอยการอภัยโทษหรือลดโทษในขั้นตอนต่างๆ ทำตัวนิ่งๆไม่ไหวติงและเงียบที่สุด เพื่อให้กลืนเข้ากับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด จนกระทั่งล่องหนหายไป...ไม่ต้องไปโต้แย้งเด็ดขาด ให้จำไว้และท่องไว้ตลอดเวลาว่าใครละเมิดกฎหมายก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย เพราะศาลพิจารณากฎหมายอย่างโดดๆ แยกขาดออกจากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นอยู่ในสังคม ราวกับสิ่งอื่นๆไม่มีอยู่ มีแต่เพียงตัวกฎหมาย และผู้คนที่อยู่ดีๆ ก็ลุกขึ้นมากระทำการหมิ่นฯ หรือแม้แต่อยู่ๆ ก็จ้องล้มเจ้าอยู่เต็มไปหมด โดยไม่มีที่มาที่ไป เรื่องอื่นๆไม่ใช่สาระหรือประเด็นที่สำคัญ ศาลก็จะเลือกบันทึกเฉพาะประเด็นทางเทคนิคหรือการตีความข้อความที่ถูกกล่าวหาเท่านั้น โดยถือว่าประชาชนต้องเคารพสักการะเทิดทูนพระเจ้าอยู่หัวอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีอย่างอื่น โดยดูแต่เฉพาะข้อความที่พวกเขาถูกกล่าวหาหรือแสดงออก โดยไม่พิจารณาเหตุผลหรือสภาพแวดล้อมที่ทำให้พวกเขาทำเช่นนั้น
หลายคนเมื่อโดนคดี
112 ก็จะถูกญาติพี่น้องตัดขาด เพราะเป็นคดีที่ร้ายแรง ไม่มีใครอยากยุ่งเกี่ยวด้วย ช่วงถูกจับถูกคุมขัง ไม่มีญาติพี่น้องกล้าไปเยี่ยมหรือให้ความช่วยเหลือ ทำเหมือนไม่เคยรู้จักไม่เคยเกี่ยวข้องกัน ไม่มีการถามไถ่การกระทำ มุมมอง ความคิด จากจำเลยคดี112 เสียด้วยซ้ำ เพียงแค่รู้ว่าใครคนหนึ่งในครอบครัวโดนกล่าวหาด้วยกฎหมายมาตรานี้ ความเป็นมนุษย์ในด้านที่ดำรงอยู่ด้วยสายสัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจของครอบครัวเพื่อนฝูง กลับถูกทำลายขาดสะบั้นลงอย่างง่ายดายจนน่าตระหนก




การห้ามวิจารณ์กษัตริย์ไทยคือตัวชี้วัด
ว่าไม่มีประชาธิปไตยเลย

การจัดงานเผาพระเมรุที่ท้องสนามหลวงเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ถือเป็นตัวดัชนีชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทยได้ จากการดูว่าประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์หรืออภิปรายเรื่องดังกล่าวในที่สาธารณะได้หรือไม่ ถ้าหากว่าวิจารณ์ไม่ได้ ก็แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นประชาธิปไตย เพราะหากใช้มาตรฐานเดียวกันกับนักการเมือง เช่น หากญาติของนักการเมืองเสียชีวิต แล้วมีการใช้เงินหลายพันล้านบาท เพื่อที่จะใช้จ่ายเป็นค่าจัดงานศพแล้ว เหล่านักวิชาการหรือภาคส่วนอื่นๆ ก็จะคงจะทนไม่ได้ต้องออกมาคัดค้านอย่างเป็นแน่แท้ หากแต่เมื่อเป็นเรื่องของสถาบันกษัตริย์ กลับไม่มีคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ เช่นเดียวกับการนำเสนอข่าวพระราชสำนักในเวลาสองทุ่ม ไม่มีการนำเสนอข่าวสารในที่อื่นใด ที่เป็นการนำเสนอด้านเดียวเช่นนี้ และยังไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อีก จึงแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า ในขณะนี้ประเทศไทยไม่ได้เป็นประชาธิปไตย เมื่อโยงเข้ามากับเรื่องการรณรงค์ของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) ที่ เสนอให้แก้กฎหมายเพื่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯได้ แต่ยังมีข้อยกเว้นสำหรับสถาบันกษัตริย์เป็นพิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องแปลก ว่าทำไมเมื่อเราคิดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ จึงต้องมีบรรทัดฐานอีกแบบหนึ่ง แต่หากคิดถึงเรื่องนักการเมือง เราถึงด่าได้โดยไม่ต้องไปมีอะไรคุ้มครองเป็นพิเศษ การรณรงค์ของครก. 112 เรื่องกฎหมายหมิ่นฯ เป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ซึ่งรัฐสภาในต่างประเทศจะทำหน้าที่ต่อสู้กับสถาบันกษัตริย์เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ในประเทศไทยกลับไม่มีใครในสภาไม่ว่าจากฝ่ายใดที่จะกล้าแตะต้องเรื่องนี้ ไม่มีแม้แต่การริเริ่มที่จะช่วยนักโทษที่ยังต้องติดคุกอยู่จากคดีการเมือง การรณรงค์เพียงการแก้ไขม. 112 จึงควรเปลี่ยนเป็นการมุ่งรณรงค์เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในระยะยาว โดยอาจเปลี่ยนองค์กรอย่าง ครก. 112 เป็น เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์  ที่มุ่งเน้นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างรอบด้าน เนื่องจาก มาตรา 112 เป็นเรื่องที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสถานะของสถาบันกษัตริย์เท่านั้น จะเห็นจากเมื่อเปิดการโต้เถียงเกี่ยวกับมาตรา 112 คนที่ไม่เห็นด้วยก็จะอ้างว่าสถาบันมีคุณงามความดี ทำประโยชน์ให้ประเทศ ฯลฯ ซึ่งเป็นการโต้เถียงกันคนละเรื่อง  มาตรา 112 จึงเป็นเพียงตัวแสดงออกท้ายๆ ของสถานะของสถาบันกษัตริย์เท่านั้น ทำไมเราไม่ยกระดับการรณรงค์เรื่องนี้ไปสู่การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างเต็มตัว เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญหน้ากับเรื่องนี้ โดยจำเป็นที่จะต้องพูดถึงตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในระยะยาว เพราะตราบใดที่ประเทศไทยยังมีการอ้างชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และอ้างว่าสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางของชีวิตทางสังคมการเมืองทุกอย่าง อันนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย ตราบใดที่ชีวิตประจำวัน 24 ชั่วโมงของเราจะต้องอ้างอิงศูนย์กลางเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา อันนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยแน่ๆ ในประเทศแบบนี้ ไม่มีแม้แต่ประชาชน มันมีแต่ฝุ่นใต้ตีน ประชาชนจริงๆ คือคนที่มีสิทธิ คนที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต่อเรื่องสาธารณะ

การต่อสู้เพื่อประชา ธิปไตยในสังคมไทย ก็คือการต่อสู้เพื่อยุติสถานะสถาบันกษัตริย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถ้าไม่แก้เรื่องสถานะ ของสถาบัน กษัตริย์ ตัวกฎหมายมาตรา 112 ก็จะไม่มีทางเปลี่ยน เพราะหากกฎหมายเปลี่ยนแต่อุดมการณ์ในสังคมยังไม่เปลี่ยน ก็คงจะไม่เปลี่ยนอะไรเพราะศาลก็คงตัดสินแบบเดิม ถ้าหากต้องการแก้กฎหมาย ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนอุดมการณ์ก่อน เพราะเมื่อเราพูดถึงเรื่องลัทธินิยมกษัตริย์ล้นเกิน ก็จะพบว่ามันมีองค์ประกอบ เช่น ข่าวสองทุ่ม ซึ่งความบ้าคลั่งกษัตริย์จะแก้ไม่ได้ถ้ายังคงมีข่าวสองทุ่มหรือข่าวในพระราชสำนักอยู่ แม้แต่เรื่องการแก้ผลพวงของการรัฐประหารและปฏิรูปศาล ก็เป็นแค่การจัดการที่ผลหรือปลายเหตุมากกว่า เพราะคนที่ทำรัฐประหารเอง เขาทำเพื่อรักษาสถานะสถาบันกษัตริย์จากการท้าทายของอำนาจแบบสมัยใหม่ เราจึงจำเป็นต้องแก้ที่ตัวสาเหตุ เพราะคณะรัฐประหารหากเขาจะทำอีกจริงๆ เดี๋ยวก็ฉีกรัฐธรรมนูญแล้วร่างมาตราใหม่ขึ้นมาได้

ประเด็นที่สำคัญคือ เราต้องยุติของสถานะของสถาบันกษัตริย์ ที่มักถูกเอาไปอ้างกัน เพราะในประเทศอื่นๆ ไม่ว่าในประเทศญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ หรือเบลเยี่ยม ก็ไม่อ้างกันแล้ว แต่ที่ไทยยังอ้างอยู่ได้ ก็เป็นเพราะอุดมการณ์กษัตริย์นิยม และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ประกอบกันขึ้นมา
ต่อให้รณรงค์เรื่องแก้ไขมาตรา
112 ให้ตาย ตราบใดที่ยังมีข่าวสองทุ่ม มีโครงการหลวงอยู่ มันก็แก้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการแก้ 112 ก็ต้องแก้ทั้งชุด และต้องเสนอทั้งชุด เป็นไปไม่ได้ที่จะเสนอว่าเราต้องแก้ 112 ก่อน แล้วเราค่อยมาวิจารณ์มันไม่ได้ เพราะจริงๆ แล้ว คนที่ไม่รับเขาก็ไม่รับทั้งนั้น สำหรับคนที่รณรงค์ในเรื่องนี้อยู่ มันอาจจะดูน่าหดหู่ แต่มันก็ไม่มีทางเลือกอื่นแล้วนักวิชาการและปัญญาชนทั้งหลายที่เป็นประชาธิปไตย ต้องถือเป็นพันธะหรือภารกิจศักดิ์สิทธิ์ต้องผลักดันการเปลี่ยนประเทศไทย จากประเทศที่ต้องอาศัยสถาบันกษัตริย์ไม่ใช่ศูนย์กลางของชีวิตคนไทยอีกต่อไป  กับทุกอย่างที่เราเห็น เช่น อย่างยาเสพติดเพื่อพ่อ ขับรถดีก็เพื่อพ่อ รัฐประหารเพื่อพ่อ ราชประสงค์เพื่อพ่อ การอ้างอย่างนี้ต้องหมดไป ตราบใดที่เราปฏิบัติกับสถาบันกษัตริย์แบบเดียวกับที่เราปฏิบัติกับนักการเมืองไม่ได้ การวิจารณ์มันก็ไม่มีความหมาย เพราะจะทำให้ชีวิตทางการเมืองของสังคมไม่มีความหมาย ถ้าเราไม่ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้ใช้บรรทัดฐานเดียวกับที่ใช้กับคนทั่วไปได้ เราก็ไม่มีประชาธิปไตย


เปรียบเทียบกษัตริย์กับพระ
ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลเหมือนกัน

แม้แต่พระเขียนจดหมายรักถึงสีกา แบบนี้แม้เป็นเรื่องส่วนตัวก็จริง แต่พระไม่ได้รับความคุ้มครอง คนเอาเรื่องพระเขียนจดหมายรักถึงสีกามาเปิดเผย ย่อมอ้างสถานะของพระที่อาจถูกเปิดเผยวิจารณ์เรื่องส่วนตัวได้ เพราะพระถือเป็นปูชนียบุคคลเป็นบุคคลสาธารณะที่อยู่ได้ด้วยการบริจาคทำบุญของญาติโยม กรณีนี้จะเห็นผลดีของการยอมให้พระถูกวิจารณ์ในเรื่องส่วนตัวว่า เป็นการสร้างกรอบความประพฤติของพระ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคล หากทำอะไรผิดไปจากสถานะของพระ ก็จะถูกชาวบ้านติเตียนไม่นับถือเป็นพระ พระกลัวไม่ถูกนับถือ พระก็จะไม่ทำอะไรให้ชาวบ้านติเตียน หรืออย่างน้อยก็ไม่ทำประเจิดประเจ้อ ไม่เกรงใจชาวบ้าน แต่ถ้าไปออกกฎหมายห้ามวิจารณ์ห้ามติเตียนพระ ทั้งๆที่พระก็คือคนเหมือนกัน ย่อมมีโอกาสประพฤติผิดได้เสมอ ยิ่งพระดังๆ มีแต่คนห้อมล้อมยกยอ ท่ามกลางลาภยศสรรเสริญ มันก็เผลอกายเผลอใจได้ตามประสาคนประสาพระ  พระมหากษัตริย์ก็เป็นปุถุชนและเป็นปูชนียบุคคลที่สังคมให้ความเคารพนับถือ แต่ทำไมไม่ใช้บรรทัดฐานเดียวกันกับสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้ประพฤติตนอยู่ในกรอบ แม้แต่นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็ยังถือเป็นบุคคลสาธารณะที่ต้องแจ้งรายการบัญชีทรัพย์สินและการตรวจสอบวิพากษณ์วิจารณ์ แต่ทำไมจึงยกเว้น ห้ามตรวจสอบและวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกับสถาบันอื่นๆที่ไม่ได้มีข้อยกเว้นใดๆ 

คดีหมิ่น ตาม ม.112 นั้นศาลฎีกา วางแนวบรรทัดฐานว่า เป็นคดีที่อยู่คนละหมวดกับคดีหมิ่นปกติ ไม่สามารถนำข้อต่อสู้เกี่ยวกับ คดีหมิ่นปกติมาใช้ได้ เช่น การพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงที่กล่าวเป็นจริงหรือมีประโยชน์ต่อสาธารณะได้
การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์โดยแท้จริงแล้วไม่เกี่ยวกับความมั่นคง เพราะแค่ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียชื่อเสียงเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การกำหนดโทษหมิ่นพระมหากษัตริย์ให้สูงกว่าบุคคลทั่วไป เป็นสิ่งที่สามารถทำได้แต่ไม่ควรสูงมากเกินไป หรือมากเท่าปัจจุบัน ซึ่งในต่างประเทศก็มีกฎหมายในลักษณะเดียวกับมาตรา112 แต่มีโทษน้อยกว่า ที่สำคัญยังมีการยังมีการดำเนินคดีและลงโทษน้อยมาก อาจลงโทษแค่ปรับ ตัวกฎหมายนี้แม้ว่ามีอยู่แต่ก็เสมือนตายไปแล้ว ซ้ำเมื่อศาลมีคำพิพากษาก็ยังสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้
ส่วนมาตรา
8 ของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ทางใดๆมิได้
คำว่าเคารพสักการะเขียนขึ้นมาเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่ไว้บังคับให้ประชาชนทำ และละเมิดมิได้หมายถึง ห้ามฟ้องร้อง ไม่ใช่ห้ามวิพากษณ์วิจารณ์ในบทบาทสาธารณะ


พลเมืองสหรัฐฟ้องบริษัทเว็บโฮสติ้ง
ฐานส่งข้อมูลบุคคลของเขา
ไปให้รัฐบาลไทย



พลเมืองสหรัฐอเมริกาฟ้องเน็ตเฟิร์มส (Netfirms) ผู้ให้บริการพื้นที่เว็บสัญชาติแคนาดาซึ่งมีกิจการอยู่ในสหรัฐฯ ฐานส่งข้อมูลส่วนตัวของเขาให้กับรัฐบาลไทย โดยยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 การเปิดเผยข้อมูลโดยเน็ตเฟิร์มสทำให้เจ้าหน้าที่ไทยสามารถชี้ตัว กักขัง และสอบสวนโจทก์ คือนายแอนโทนี ชัย (Anthony Chai) ทั้งในประเทศไทยและในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยตั้งข้อกล่าวหาว่านายชัยละเมิดกฎหมายไทย จากข้อความที่เขาโพสต์วิพากษ์วิจารณ์กฎหมายของไทยที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก
องค์กรสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์สยูเอสเอ (
World Organization for Human Rights USA) และ สำนักกฎหมายสเนลล์และวิลเมอร์ (Law Office of Snell & Wilmer) ยื่นต่อต่อศาลแขวงประจำแคลิฟอร์เนียกลาง กล่าวหาว่าการกระทำของบริษัทเน็ตเฟิร์มสดังกล่าว ผิดกฎหมายแคลิฟอร์เนีย รวมถึงผิดรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ นายชัยเป็นเจ้าของร้านคอมพิวเตอร์ในลองบีช แคลิฟอร์เนีย ที่ซึ่งตัวเขาและลูกค้าได้เข้าถึงและส่งความคิดเห็นโดยไม่เปิดเผยตัวตนลงในเว็บไซต์ภาษาไทยที่สนับสนุนประชาธิปไตย ชื่อ manusaya.com ซึ่งใช้บริการพื้นที่เว็บของบริษัทเน็ตเฟิร์มส ความคิดเห็นซึ่งไม่แสดงตัวตนจำนวนมากได้แสดงความกังวลต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไทย ซึ่งห้ามการแสดงออกในทางลบใดๆ ต่อสถาบันกษัตริย์ของไทย และมีบทลงโทษที่รุนแรง ซึ่งรวมถึงการจำคุกสูงสุด 15 ปี
สิทธิในความเป็นส่วนตัวของนายชัยถูกละเมิด เมื่อรัฐบาลไทยได้ร้องขอไปยังบริษัทเน็ตเฟิร์มสให้หยุดการให้บริการเว็บไซต์
manusaya.com และให้ส่งหมายเลขไอพีและที่อยู่อีเมลของนายชัยให้กับเจ้าหน้าที่ของไทย โดยไม่ได้ขออนุญาตหรือแจ้งให้นายชัยทราบก่อน จากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นความลับของนายชัยให้กับเจ้าหน้าที่ของไทยนี้ ทำให้เขาถูกกักขังที่สนามบินกรุงเทพในเวลาต่อมา และถูกนำตัวไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อสอบสวนเกี่ยวกับเว็บไซต์ดังกล่าว ในที่สุดหลังจากถูกปล่อยตัวจากการคุมตัวของตำรวจในกรุงเทพและกลับไปยังแคลิฟอร์เนียแล้ว นายชัยยังถูกเจ้าหน้าที่ของไทยสอบสวนต่อเป็นเวลาอีกสองวัน ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในฮอลลีวูด แคลิฟอร์เนีย นายชัยได้รับแจ้งในภายหลังจากเจ้าหน้าที่ของไทยว่า หากเขาเดินทางกลับมายังประเทศไทยอีก เขาจะถูกจับและฟ้องในข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
พฤษภาคม
2549



แอนโทนี ชัย (Anthony Chai ) พลเมืองสหรัฐเชื้อสายไทย เดินทางกลับแผ่นดินเกิดของเขาเพื่อพบเพื่อนและญาติ เขาเยี่ยมหลานสาวและหลานชายและใช้เวลาช่วงหนึ่งที่หัวหิน ในขณะที่ชัยกำลังเดินทางกลับแคลิฟอร์เนีย ผ่านทางสนามบินที่กรุงเทพ เขาถูกเจ้าหน้าที่กรมสอบสอนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)กักตัวไว้ โดยแจ้งว่าพวกเขามีหมายจับตัวนายชัย จากการกระทำผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การกล่าวในที่สาธารณะที่จงใจละเมิดเกียรติภูมิขององค์พระประมุข เจ้าหน้าที่ดีเอสไอนำชัยไปยังกองสอบสวน ไม่ให้เขากินข้าว กินน้ำ และยังไม่ให้เขานอนจนกระทั่งตีสามครึ่ง โดยได้พูดถึงข้อกล่าวหาและข่มขู่เขาตลอดเวลาว่าผมรู้ว่าญาติคุณอาศัยอยู่ที่ไหนในกรุงเทพและแคลิฟอร์เนีย ถ้าคุณอยากให้พวกเขามีชีวิตอย่างสงบสุข คุณต้องให้ความร่วมมือ ในช่วงแรกที่เขาถูกกักขังชัยได้ร้องขอทนาย แต่ทนายแทบไม่พูดอะไรเลยในระหว่างที่เขาถูกสอบสวน นอกจากแนะนำให้เขาตอบคำถามที่ตำรวจถาม เขาต้องอดทนจนกระทั่งผ่านพ้นการถามที่ยาวนานสองช่วง โดยเขาไม่ได้รับอาหาร น้ำ หรืออนุญาตให้นอน ในระหว่างนั้น เจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้เอาคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปของเขาไป และบังคับให้ชัยบอกอีเมลและรหัสผ่านของเขาทั้งหมด เจ้าหน้าที่ได้แสดงเอกสารเปิดเผยที่อยู่อีเมลที่เขาและคนที่เขารู้จักใช้ในการโพสต์ความเห็นที่เว็บไซต์ manusaya.com และเจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้ใช้กำลังบังคับเขาให้เขียนคำรับสารภาพว่าเขาได้ทำผิดกฎหมายหมิ่นพระเดชานุภาพของไทย โดยสัญญาว่าจะไม่ทำผิดอีก และจะยกย่องพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย

17:00 น. ของวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ชัยถูกปล่อยตัว แต่ถูกเตือนว่าเขาอาจถูกจับได้อีกหากเดินทางกลับมาประเทศไทย เขาติดต่อครอบครัวเพื่อบอกเรื่องที่เกิดขึ้น และเดินทางกลับไปยังลองบีช แคลิฟอร์เนีย ที่ซึ่งเขาเปิดร้านขายและรับซ่อมคอมพิวเตอร์





ต่อมาคนที่ดูแลการสอบสวนของเขาในตอนนั้นคือพ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน  ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศเป็นและรองอธิบดีดีเอสไอได้เริ่มติดต่อชัยที่สหรัฐ โดยญาณพลขอให้ชัยส่งสำเนาของเอกสารสนับสนุนประชาธิปไตยหรือต่อต้านสถาบันกษัตริย์ ที่เขามีในครอบครอง ญาณพลไม่เพียงติดต่อชัยทางอีเมลเท่านั้น ในเดือน กรกฎาคม 2549 าณพลยังได้มาหาชัยที่สหรัฐ ในระหว่างที่ญาณพลเข้ารับการอบรมที่จัดโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่กรุง วอชิงตันดีซี เนื่องจากชัยต้องการจะแสดงให้เห็นว่าเขาให้ความร่วมมือกับการสอบสวน เขาตกลงที่จะพบญาณพล ที่สนามบินนานาชาติลอสแอนเจลิส



ระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์ ญาณพลได้บอกชัยว่า อยากให้ชัยนำไอพอดหรือของมีค่าที่คล้ายๆกันมาเพื่อเป็นของฝากแก่ลูกของเขา ชัยได้พบญาณพลประมาณสามสิบนาที ที่ร้านอาหารแมคโดนัลด์ในสนามบิน แต่ชัยไม่ได้นำไอพอดไปด้วย เขานำหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาษาไทยมา ซึ่งเขาคิดว่าญาณพลจะได้อ่านระหว่างเที่ยวบินกลับประเทศไทย ญาณพลแสดงอย่างชัดเจนว่าเขาผิดหวังเป็นอย่างมากที่ชัยไม่ได้นำของขวัญมีค่าอะไรมาเลย

ชัยถามว่าจะได้เครื่องคอมพิวเตอร์คืนหรือไม่ และได้รับคำตอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะอยู่กับเจ้าหน้าที่ไปจนตลอดการสอบสวน หลังจากนั้น ญาณพลได้เขียนไปหาชัยบอกให้เขากลับประเทศไทยเพื่อสอบถามเพิ่มเติม ถึงเวลาสำหรับคุณแล้ว ที่จะยอมมอบตัวอย่างเป็นทางการต่อเจ้าหน้าที่สอบสวนของคดีนี้ คุณต้องมามอบตัวที่สำนักงานของเราในวันที่
24 สิงหาคม 2549 เวลา 10:00 .

โดยข้อเท็จจริง แอนโทนี ชัย ได้ใช้ที่อยู่อีเมลนิรนามของเขาโพสต์ความเห็นวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทยลงในเว็บไซต์ www.manusaya.com ซึ่งเจ้าหน้าที่ของไทยได้ประณามต่อสาธารณะว่าเว็บไซต์ดังกล่าวสนับสนุนให้ ผู้คนเสียศรัทธาและความรักต่อสถาบันกษัตริย์ รวมถึงเจ้าหญิงทุกพระองค์ เว็บไซต์ดังกล่าวถูกปิดในที่สุดโดยเน็ตเฟิร์ม ตามคำร้องขอของรัฐบาลไทย เน็ตเฟิร์มไม่ได้เพียงปิดเว็บไซต์แต่ยังได้มอบหมายเลขไอพีของชัยและที่อยู่อีเมลอีกสองอันซึ่งเชื่อมโยงกับหมายเลขไอพีดังกล่าวก่อนเดือนพฤษภาคม 2549 ตามคำร้องขอของรัฐบาลไทย  โดยที่ชัยไม่ได้รับรู้หรือให้การยินยอม ทั้งไม่ได้ร้องขอคำสั่งศาล หมายศาล หรือใบอนุญาตใด ๆ จากเจ้าหน้าที่ของไทย และไม่ได้ติดต่อไปยังกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐเพื่อขอคำแนะนำ ชัยได้ฟ้องเน็ตเฟิร์มให้จ่ายค่าชดใช้และค่าเสียหายเป็นเงิน 75,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวสองล้านสองแสนห้าหมื่นบาท ด้วยความช่วยเหลือจากองค์กรสากลเพื่อสิทธิมนุษยชน ยื่นฟ้องต่อศาลแขวงแคลิฟอร์เนียกลาง โดยกล่าวหาว่าเน็ตเฟิร์มได้ละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของแคนาดา  มาตราที่ว่าด้วยความเป็นส่วนตัวในประมวลกฎหมายธุรกิจและวิชาชีพของแคลิฟอร์เนีย และคำประกาศสิทธิซึ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญของแคลิฟอร์เนีย


สงครามไฮเทคเพื่อพิทักษ์
สถาบันเก่าแก่จากคำดูหมิ่น



ต้นเดือนตุลาคม 2554 โทมัส ฟูลเลอร์ (Thomas Fuller) ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์ พาผู้อ่านเข้าไปดูเบื้องหลังวอร์รูม ที่ใช้บัญชาการในการจัดการเว็บหมิ่น ของประเทศไทย ในห้องสุดทางเดินที่ซับซ้อนภายในศูนย์ราชการขนาดใหญ่ถนนแจ้งวัฒนะ มีผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์หลายคนกำลังนั่งไล่ล่าหารูปภาพ บทความ ข้อความในเฟซบุค และสิ่งใดก็ตามในโลกอินเตอร์เน็ตที่อาจมีเนื้อหาดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์

ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การที่มีชื่อว่า ศูนย์ปฏิบัติการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ( Cyber Security Operation Center: CSOC ) ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์เรียกหน่วยงานนี้ว่าวอร์รูม คือศูนย์บัญชาการแห่งปฏิบัติการขนานใหญ่และเฉียบขาดอันมีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดข้อความดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ให้หมดสิ้นจากโลกอินเตอร์เน็ต

หน่วยราชการยืนยันว่าจะขยายผลการดำเนินงานของปฏิบัติการล้อมปราบทางอินเตอร์เน็ตครั้งนี้ต่อไปให้เข้มข้นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์จำนวน
10 นาย ภายใต้การบังคับการของนายสุรชัย นิลแสง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสารวัตรไซเบอร์ของกระทรวงไอซีทีเรามุ่งมั่นต่อหน้าที่ของเราตรงนี้ เพราะเรารักและเทิดทูนบูชาสถาบันพระมหากษัตริย์ นายสุรชัยกล่าวและได้พานักข่าวไปชมส่วนต่างๆในวอร์รูม รวมทั้งบริเวณสำหรับเก็บคอมพิวเตอร์ซึ่งทางหน่วยงานได้ยึดมาจากผู้ต้องสงสัย ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่อนุญาตให้บันทึกภาพแสดงให้เห็นระดับความใหญ่โตของศึกออนไลน์ระหว่าง รัฐบาลไทยและบรรดาผู้คิดต่างในประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และก็ได้แสดงถึงความคลุมเครือของมาตรฐานที่ใช้กำหนดว่า ข้อความหรือการกระทำใดบ้างที่ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นสถาบันกันแน่ ตามที่มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับปฏิบัติการดังกล่าวในประเทศไทยได้แสดงความเห็นว่า การไล่ล่าความผิดในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นนี้กำลังละเมิดสิทธิของพลเมือง รัฐบาลในหลายประเทศ โดยเฉพาะในจีนและสิงคโปร์ต่างก็พยายามควบคุมข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเช่นกัน แต่ไม่มีที่ใดที่มีการควบคุมอินเตอร์เน็ตอย่างออกนอกหน้าและตะบี้ตะบันแบบในประเทศไทย ทีมผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูมแห่งนี้ได้ปิดกั้นเว็บเพจเป็นจำนวนถึง 70,000 เพจในเวลาเพียง 4 ปี โดยส่วนใหญ่ หรือประมาณ 60,000 เพจ ถูกบล็อกด้วยข้อหาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามที่เปิดเผยโดยนายสุรชัย (เว็บเพจอื่นๆส่วนมากถูกบล็อกคด้วยข้อหาอนาจาร) นายสุรชัยยังได้อธิบายด้วยว่า ทุกครั้งที่จะมีการบล็อกหน้าเว็บ หน่วยงานของเขาจะต้องขอคำสั่งจากศาลก่อนเสมอ และศาลก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะออกคำสั่งในการบล็อกเว็บเหล่านี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว เนื่องจากการอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศไทย และเป็นเรื่องที่คุยกันได้แต่ในระดับหลบๆซ่อนๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าจุดประสงค์ของข้อความโจมตีพระบรมวงศานุวงศ์ เหล่านั้นคืออะไรกันแน่ ไม่เคยมีการประท้วงในที่สาธารณะต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเลยตลอด เวลากว่า 60 ปีที่พระองค์ทรงครองราชย์ แม้แต่ผู้ประท้วงต่อต้านอำนาจในสังคมที่แข็งกร้าวที่สุดก็ยังไม่เรียกตนเองว่าเป็นผู้นิยมสาธารณรัฐหรือระบอบประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต ก็ได้กลายเป็นแนวปราการที่ป้องกันการดูหมิ่นเหยียดหยามสถาบัน ที่กำลังเผชิญหน้ากับการไร้ความยำเกรงและการออกนอกกรอบของคนที่เกิดมาในยุคสมัยของเฟซบุ๊ก ประชาชนไทยหลายคนอาจจะมีความเกรงกลัวมากเกินกว่าจะกบฏต่อปูชนียวาทกรรมหลักนี้ในที่สาธารณะ แต่พวกเขาสามารถเลือกที่จะแสดงข้อความจาบจ้วงต่อสถาบันพระมหาพระมหากษัตริย์ อย่างไม่คณามือได้ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยความนิรนามของอินเตอร์เน็ตนั่นเอง สุรชัยกล่าวว่า จำนวนเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบัน เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหลังการรัฐประหารในเดือนกันยายน  2549 การรัฐประหารดังกล่าวก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทยอย่างชัดเจน และยังเป็นจุดกำเนิดของคนเสื้อแดง ที่มีจุดยืนต่อต้านการแทรกแซงของทหารในการเมือง และสนับสนุนอดีตนายก ทักษิณ ชินวัตร



สำหรับบุคคลภายนอกสังคมไทยแล้ว ประเทศไทยดูเป็นประเทศที่รักสนุกและไม่เข้มงวด เป็นประเทศที่นิติรัฐสามารถเอนอ่อนได้ดังต้นอ้อในสายลม แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเรียกสั้นๆโดยคนไทยว่าสถาบัน กลับเป็นเสาหินตั้งตระหง่านอยู่เหนือนิสัยใจคอแบบอะไรก็ได้ ของสังคมไทย คนไทยหลายคนกลายเป็นขึงขังขึ้นมาทันทีในเรื่องการพิทักษ์ไว้ซึ่งพระบารมี แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



หลายคนกังวลใจต่อพระพลานามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์จะทรงมีพระชนมายุถึง 84 พรรษาในเดือนธันวาคม 2554 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชมาเป็นเวลาสองปีติดต่อกันแล้ว และพระองค์ก็เสด็จออกสู่โลกภายนอกให้สาธารณชนได้เห็นน้อยลง กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสามารถให้โทษจำคุกได้ถึง 15 ปีต่อผู้ที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ซึ่งออกในปี 2550 โดยรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารอีกต่อหนึ่ง ก็คาดโทษจำคุกอีก 5 ปีสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน นายสุรชัยเผยว่าบางกรณีก็ตัดสินได้ง่ายว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแน่นอน เช่น เขาไม่เคยลังเลที่จะบล๊อกเว็บเพจใดก็ตามที่มีรูปเท้าวางอยู่เหนือพระเศียรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันถือว่าเป็นการดูหมิ่นรุนแรงในวัฒนธรรมไทย นายสุรชัยยังอธิบายเพิ่มเติมว่า การใช้สรรพนามที่ไม่เหมาะสมนำหน้าพระนามขององค์พระเจ้าอยู่หัวก็ถือเป็นความผิดที่เห็นได้ชัดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การไล่ล่าการหมิ่นพระบรมเดชนุภาพก็ซับซ้อนได้มากกว่านั้นพวกนี้ชอบโพสต์คำเปรียบเปรยและพวกเขามีรหัสลับใช้กันเอง

รัฐบาลได้เพิ่มงบประมาณวอร์รูมแห่งนี้แล้ว และในเร็วๆนี้จะมีการเพิ่มระดับผู้ปฏิบัติงานจนสามารถดำเนินการได้ตลอด
24 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูมเปิดเผยว่า ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพส่วนใหญ่โพสต์กันในเวลาหลังเที่ยงคืนและช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนรุ่งสาง อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการปราบปรามข้อความหมิ่นฯเหล่านี้ได้ทำให้ประชาชนหลายคนในประเทศไทยวิตกกังวล ซึ่งพวกเขามองว่าการกระทำเช่นนี้ไม่ต่างจากการล่าแม่มด นอกจากนี้ยังมีบรรดานักเขียน นักวิชาการ และศิลปินกลุ่มต่างๆที่ชี้ว่า กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมืออย่างผิดๆได้ ในเดือนสิงหาคม 2554 คณาจารย์ทั้งไทยและต่างชาติจำนวน 112 คนได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกที่มีเนื้อหาชี้แจงว่า การกวาดล้างทางอินเตอร์เน็ตที่กำลังดำรงอยู่เป็นภัยต่ออนาคตประชาธิปไตยในประเทศไทย แก่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ใช้พื้นที่บทบรรณาธิการเมื่อเร็วๆ นี้แสดงความเห็นว่า พ.ร.บ. การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ กำลังถูกใช้อย่างไร้การควบคุมและพิจารณา โดยวิจารณ์ไว้ว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดหรือบล๊อกเว็บไซต์นับหมื่นๆเว็บโดยปราศจากหลักฐานที่ชี้ชัดถึงการกระทำผิด และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เว็บไซต์เหล่านั้นทั้งหมดจะทำผิดข้อหาหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพจริง



มีกรณีหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ จิรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ ประชาไท ได้ถูกดำเนินคดีเนื่องมาจากบางข้อความที่โพสต์ในเว็บไซต์แห่งนั้นมีเนื้อหา ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จีรนุช อธิบายตนเองต่อศาลว่า ในวันหนึ่งๆ นั้นเธอต้องอ่านข้อความจำนวนเป็นพันๆ ที่โพสต์ในเว็บไซต์และจัดการลบข้อความที่มีลักษณะหมิ่นฯเมื่อเธอพบเจอเข้า อย่างไรก็ตาม ฝ่ายผู้ฟ้องร้องกลับบอกว่า จีรนุชลบความเห็นเหล่านั้นไม่เร็วพอ การพิจารณาคดีครั้งนี้ได้รับความสนใจจากบริษัทที่ทำธุรกิจในโลกอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Google, Yahoo และ Ebay ล่าสุด Asia Internet Coalition อันเป็นสมาคมร่วมของอุตสาหกรรมธุรกิจในอินเตอร์เน็ตซึ่งก่อตั้งร่วมกัน โดยบริษัทเหล่านั้น ได้ออกแถลงการณ์เมื่อเดือนที่แล้วว่า การบังคับใช้กฏหมายของ พรบ. คอมพิวเตอร์ดังกล่าว อาจจะส่งผลให้บริษัทที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตปฏิเสธที่จะทำธุรกิจในประเทศไทยได้เมื่อมีการนำเอาสื่อกลางของการใช้อินเตอร์เน็ตมารับความผิดชอบแทนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเช่นนี้ กรณีของจีรนุช อาจถือได้ว่าเป็นตัวอย่างการดำเนินคดี ที่อันตรายและสามารถมีผลต่อเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศ ผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูม กล่าวว่าพวกเขากำลังถูกกดดันจากทุกฝ่าย สำนักงานของพวกเขาได้รับการร้องเรียนทางอีเมลล์ประมาณ 20-100 ฉบับต่อวัน อีเมลล์เหล่านั้นแบ่งฝ่ายกันดังเช่นสังคมไทย บ้างก็สนับสนุน บ้างก็ต่อต้านปฏิบัติการของวอร์รูม ผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์บางกลุ่มก็มีจุดยืนที่สุดโต่ง เมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้ นางฟ้างาย คำอโศก สตรีผู้หนึ่งจากประเทศไทยภาคเหนือ ได้ล่ารายชื่อจำนวน 130,000 รายชื่อเพื่อสนับสนุนให้ยกเลิกระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันของประเทศไทย และแทนที่ด้วยรัฐบาลอันประกอบด้วย ความดีและคุณธรรมที่พระราชทานโดยพระมหากษัตริย์แทน ฟ้างาย เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกเมื่อพูดคุยเกี่ยวกับการรณรงค์ครั้งนี้ของเธอเราได้เห็นว่าในหลวงท่านทรงเสียสละเพื่อชาวเรา เรามีความรักในจิตวิญญาณของเราแด่พระองค์ท่าน พระองค์ทรงเป็นเหมือนเทพองค์หนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในอีกฟากหนึ่งคือการขานตอบกฏหมายอันจำกัดสิทธินี้ด้วยการเสียดสี ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ต 24 ชั่วโมงที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลในปี 2552 ได้รับการโทรเข้ามาร้องเรียนหลายสิบครั้งต่อวัน แต่ปรากฏว่าการโทรเหล่านี้หลายครั้งก็ไม่ได้จริงจังแต่อย่างใด “90% ที่โทรเข้ามาคือโทรมาแกล้งเล่นณัฐ พยงค์ศรี ผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์คนหนึ่งในห้องกล่าวกับผู้สื่อข่าว นายสุรชัย ผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของทีมในวอร์รูม เปิดเผยว่าเขาต้องถามหาคำชี้แนะจากผู้บังคับบัญชาอีกต่อหนึ่งเสมอๆ โดยนายสุรชัยใช้โปรแกรมชื่อว่า แมงมุมที่สร้างขึ้นมาสำหรับการนี้โดยเฉพาะในการท่องไปตามโลกอินเตอร์เน็ตและแจ้ง ให้ทราบถึงเนื้อหาที่อาจเข้าข่ายดูหมิ่นเบื้องสูง จากนั้น เขาจึงปรึกษากับหน่วยทหารพิเศษที่ประจำการ ณ พระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพิจารณาความร้ายแรงของแต่ละเนื้อหาเมื่อผู้บังคับบัญชาเหล่านี้พิจารณาแล้วตัดสินใจให้บล็อก เราก็ต้องทำการบล็อกตามคำสั่ง... หลายคนปฏิเสธที่จะมารับหน้าที่ตรงนี้...ไม่ว่าจะถูกหรือผิด คนที่โดนว่าทั้งขึ้นทั้งล่องก็คือพวกเราอยู่ดี

วิกิลีกส์และรายงานลับของสถานทูตสหรัฐ



วิกิลีกส์ (Wikileaks) เป็นเว็บไซต์ที่เปิดเผยข้อมูลเอกสารที่รั่วไหลของรัฐบาลและบริษัทในประเทศตะวันตก ในเดือนเมษายน 2553 วิกิลีกส์ได้เผยแพร่ภาพวิดีโอที่ถูกบันทึกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 แสดงภาพการโจมตีทางอากาศของกองทัพสหรัฐต่อกรุงแบกแดดที่ทำให้มีพลเรือนชาวอิรักเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2553 ก็ได้เผยแพร่เอกสารลับที่ไม่เคยถูกเผยแพร่จำนวนมากกว่า 76,900 ฉบับ เกี่ยวกับปฏิบัติการของสหรัฐในอัฟกานิสถาน และในเดือนตุลาคมก็ได้เผยแพร่เอกสารลับกว่า 400,000 ฉบับเกี่ยวกับสงครามอิรัก ในเดือนมิถุนายน 2553 รัฐบาลไทยได้ทำการบล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์นี้ เนื่องจากเผยแพร่เนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ ปลายเดือนพฤศจิกายน 2553 ทางเว็บไซต์ได้เผยแพร่โทรเลขเอกสารลับและเอกสารปกปิดทางการทูต กว่า 100,000 หน้าของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ  จนทำให้นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ ได้ออกแถลงการณ์ประณาม



ต่อมาในวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ตำรวจสากล ได้ออกหมายจับจูเลียน อาสซานจ์ (Julian Assange)  ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ ในข้อหาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ  จากนั้นเว็บไซต์ได้ถูกแครกเกอร์ โจมตีจนทำให้ผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการใช้ แต่ยังมีโดเมนสำรองที่จดทะเบียนในสวิตเซอร์แลนด์ใช้พนักงานหลักๆ แค่ 5 คน แต่มีเครือข่ายอาสาสมัครกว่า 1,000 คน ที่ร่วมด้วยช่วยกันคัดกรอง ตรวจสอบ แก้ไข ก่อนเผยแพร่จนกลายเป็นฐานข้อมูลเอกสารลับใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
สำหรับงบประมาณอาศัยการบริจาคเป็นหลัก มีงบประมาณ 1.75 แสนปอนด์ต่อปี หรือราว 8 ล้านบาทเศษ และได้รับการสนับสนุนด้านกฎหมายจากสำนักข่าวชื่อดังหลายแห่ง
องค์กรแห่งนี้เรียกตัวเองว่า เป็นระบบปลอดเซ็นเซอร์สำหรับการแพร่งพรายเอกสารลับจำนวนมหาศาลแบบที่ไม่สามารถแกะรอยไปยังที่มาได้ เอกสารถูกเก็บอย่างดีในเซิร์ฟเวอร์หลักที่สวีเดน และอีกหลายประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองความลับสื่อ
ข้อมูลถูกเข้ารหัสป้องกันระดับเดียวกับกองทัพ เพื่อปกป้องแหล่งข่าว
และต่อต้านความพยายามบุกรุกของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนบริษัท และเหล่าแฮ็กเกอร์ที่อยากลองดี เป้าหมายของ วิกิลีกส์ คือการสร้างสำนักข่าวกรองของประชาชน
ยึดมั่นกับสิ่งที่เรียกว่า ความโปร่งใสสุดขั้ว ด้วยความเชื่อว่ายิ่งลับน้อยเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
ภายในปีเดียวนับจากเปิดตัวเว็บไซต์ วิกิลีกส์คุยว่าฐานข้อมูลของตนเก็บเอกสารแนวเปิดโปง 1.2 ล้านชิ้น และมีผู้ส่งเอกสารเข้าไปนับหมื่นชิ้นในแต่ละวัน  


รายงานลับทางการทูตสหรัฐ
เกี่ยวกับไทย

รายงานลับทางการทูตที่รั่วไหลออกมาผ่านทางวิกิลีกส์เปิดโปงให้รู้ว่า สหรัฐอเมริกาเห็นชอบกับการรัฐประหารของกองทัพ ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน  2549 ถึงแม้หน้าฉากที่แสดงออกต่อสาธารณะนั้น สหรัฐฯ จะทำเหมือนวางระยะห่างจากการยึดอำนาจก็ตาม รายงานลับทางการทูตเผยให้เห็นพฤติกรรมต่อต้านประชาธิปไตยของสหรัฐฯ และประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ที่ซ่อนอยู่ในการดำเนินการทางการทูตแบบเร้นลับหลังฉาก เอกสารเหล่านี้ชี้ให้เห็นด้วยว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกองทัพไทยและลุงสมชาย โดยมีการปรึกษาหารือกันว่าจะจัดการอย่างไรกับฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณ ความจริงที่ถูกเปิดเผยนี้ได้สร้างผลเสียต่อราชวงศ์ไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลังของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงต้องพยายามสกัดกั้นการเผยแพร่ของข้อมูล  บทความบทหนึ่งบนเว็บไซท์ของ บางกอกโพสต์ ถูกถอดออกหลังจากนำขึ้นเผยแพร่ได้ไม่กี่ชั่วโมง รายงานลับทางการทูตนี้ได้ทำลายเทพนิยายปรำปราที่ปลูกฝังกันมานมนานว่าลุงสมชายเป็นกลางและอยู่เหนือการเมือง  

 

รายงานลับทางการทูตจากสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20 กันยายน  2549 บันทึกการสนทนาระหว่างนายราล์ฟ แอล. บอยซ์ (Ralph L. Boyce) กับพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ทั้งสองพบกันเป็นการส่วนตัว หลังจากกองทหารและรถถังเพิ่งเคลื่อนเข้ายึดเมืองหลวงและล้มรัฐบาลทักษิณใน บ่ายวันที่ 19 กันยายน 2549
บอยซ์ได้เริ่มต้นด้วยการถามสนธิเกี่ยว กับการเข้าเฝ้าลุงสมชายเมื่อคืนนี้ มีใครเข้าเฝ้าบ้าง สนธิกล่าวว่าประธานองคมนตรีเปรม ติณสูลานนท์ได้นำเขา  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เรืองโรจน์ และผู้บัญชาการทหารเรือ สถิรพันธุ์ เข้าเฝ้า สนธิเน้นว่า พวกเขาเป็นฝ่ายถูกเรียกเข้าไปในวัง เขาไม่ได้เป็นฝ่ายพยายามขอเข้าเฝ้า เขากล่าวว่าลุงสมชายทรงผ่อนคลายและมีความสุข ทรงยิ้มตลอดเวลาการเข้าเฝ้า สนธิมีท่าทีผ่อนคลายและสงบ เห็นได้ชัดว่าการเข้าเฝ้าเป็นจุดเปลี่ยนของสถานการณ์ จากท่าทีที่ต้องการต่อสู้และโต้ตอบของนายกทักษิณมาเป็นการยอมรับสภาพหรือยอมแพ้ โดยสิ้นเชิงเมื่อทักษิณได้รู้ข่าวการเข้าเฝ้า เพราะอากัปกริยาของลุงสมชายเป็นการบ่งบอกถึงการสนับสนุนคณะรัฐประหารอย่างชัดเจน

เกิดความแตกแยกที่ร้าวลึกขึ้นในหมู่ชนชั้นปกครองไทย กลุ่มธุรกิจและการเมืองดั้งเดิมที่รายรอบสถาบันกษัตริย์ กองทัพและกลไกรัฐ ต่างหันมาเป็นปฏิปักษ์ต่อนายกทักษิณมหาเศรษฐี ผู้นำรัฐบาลที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ ในเอเชีย ช่วง
2540-2541 ตามเงื่อนไขของไอเอมเอฟ
กลุ่มธุรกิจสายอนุรักษ์ได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขึ้นเพื่อโค่นล้ม รัฐบาลทักษิณ กลุ่มพันธมิตรฯ แสร้งวางตัวเป็นเสียงคัดค้านการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจของทักษิณ โดยจัดระดมมวลชนเสื้อเหลือง ประท้วงในกรุงเทพฯ เพื่อช่วยสร้างเงื่อนไขให้กองทัพเข้ามารัฐประหาร


รายงานลับชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลบุช ทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับการรัฐประหารมาตั้งแต่ช่วงเตรียมการและให้ความเห็นชอบเป็นนัยๆ ส่วนการแสดงออกต่อสาธารณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ แสดงความกังวลนั้น เป็นเรื่องที่มีการตกลงกับผู้นำรัฐประหารล่วงหน้าก่อนแล้ว

บอยซ์ เขียนว่า เมื่อกล่าวถึงปฏิกิริยาของสหรัฐฯ ผมเตือนพลเอกสนธิ ถึงการสนทนาของเราเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 ที่ผมบอกเขาว่า ปฏิบัติการทางทหารใดๆ ย่อมส่งผลให้มีการระงับโครงการความช่วยเหลือในทันที.....ผมบอกเขาว่า เขาต้องคาดหมายไว้ว่าเราจะประกาศมาตรการแบบนั้นออกมาโดยเร็ว เขาก็เข้าใจดี ผมเสริมต่อว่า การฟื้นฟูความช่วยเหลือต่าง ๆ จะเกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเข้ามาดำรงตำแหน่ง

ก่อนเข้าพบทูตสหรัฐฯ พลเอกสนธิได้ประกาศแล้วว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวและแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนภายในสองสัปดาห์ แน่นอนว่ารัฐบาลพลเรือนที่วางไว้ เป็นแค่ฉากบังหน้าให้กองทัพ กระนั้นก็ตาม บอยซ์แสดงความคิดเห็นในเชิงชมเชยว่า นี่คือ ตัวอย่างที่ดี
ทำเนียบขาวของรัฐบาลบุชทำทีท่าระงับความช่วยเหลือทางการทหารและการซ้อมรบร่วมกับประเทศไทย เพื่อแสดงความกังวล แต่ไม่นานก็รื้อฟื้นความสัมพันธ์ตามปรกติกับกองทัพไทย รัฐบาลทหารจัดการเลือกตั้งในปลายปี
2550 ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พรรคพลังประชาชนที่สนับสนุนทักษิณก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ถึงแม้วอชิงตันจะชื่นชมผลการเลือกตั้งว่าเป็นการกลับไปสู่ประชาธิปไตย แต่รัฐบาลที่มาจากพรรคพลังประชาชนย่อมไม่ใช่ผลลัพธ์ที่สหรัฐคาดหวัง

เมื่อไม่สามารถสกัดกั้นการกลับมาของรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ สถาบันอำนาจเก่าจึงร่วมมือกันรณรงค์เพื่อโค่นล้มรัฐบาล การประท้วงของพันธมิตรฯกลับมาอย่างรวดเร็ว ในเดือนกันยายน 2551 ศาลรัฐธรรมนูญของไทยก็ลงมติถอดถอนนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ด้วยข้ออ้างเล็กน้อยว่า เขาละเมิดกฎหมายด้วยการออกรายการทำอาหารทางทีวี


จากรายงานทางการทูตที่รั่วไหลออกมาอีกฉบับหนึ่ง นายสมัครกล่าวแก่ เอกอัครราชทูต สหรัฐฯ นายเอริก จอห์น (Eric G. John) ในเดือนตุลาคม 2551 ว่าป้าสมจิต มีส่วนรู้เห็นกับการรัฐประหาร 2549 รวมทั้งความปั่นป่วนวุ่นวายที่เกิดจากการประท้วงของพันธมิตรฯด้วยในตอนนั้น ที่จริงคงเป็นการแก้ตัวให้ลุงสมชายว่าไม่ได้รู้เห็น หากแต่เป็นการสั่งการของป้าสมจิตคนเดียว ซึ่งเป็นเรื่องโกหก พันธมิตรฯ ยังดำเนินการประท้วงด้วยการยึดทำเนียบรัฐบาล เพื่อบีบให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลงจากตำแหน่ง แต่สหรัฐไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณะในเรื่องนี้
บันทึกความจำของสหรัฐฯ อีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ในเดือนพฤศจิกายน  2551 ยืนยันว่า กลุ่มอำนาจได้มีการปรึกษาหารือที่จะมีการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ป้าสมจิตได้เสด็จงานเผาศพพันธมิตรเสื้อเหลืองคนหนึ่งที่เสียชีวิตจากการปะทะกับตำรวจระหว่างเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลของพวกทักษิณ แต่โทรเลขรายงานว่าลุงสมชายสั่งพลเอกอนุพงษ์อย่างชัดเจนไม่ให้ทำการรัฐประหารโดยอ้างคำพูดของที่ปรึกษาป้าสมจิต ซึ่งทางการสหรัฐก็ทราบเรื่องนี้และไม่ได้คัดค้าน

อีกเพียงหนึ่งเดือนต่อมา ในเดือนธันวาคม 
2551 กลุ่มพันธมิตรฯยึดสนามบินสองแห่งในกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย พร้อมๆกับศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลังประชาชนด้วยข้อหาที่ปั้นแต่งขึ้นมาว่าโกงการเลือกตั้ง จากนั้นกองทัพก็เกลี้ยกล่อมพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ให้จับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ของนายอภิสิทธิ์และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมารายงานทางการทูตยืนยันให้เห็นได้ชัดว่าการที่สหรัฐเพิกเฉยต่อการรัฐประหาร 2549 เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ที่มีสายสัมพันธ์ยาวนานกับกองทัพไทย ย้อนกลับไปตั้งแต่ทศวรรษ 2500 และ 2510 เมื่อวอชิงตันหนุนหลังระบอบเผด็จการทหารของไทย และใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพปฏิบัติการทางทหารช่วงสงครามเวียดนามสหรัฐฯจะประณามหรือจะประนีประนอมกับรัฐบาลทหาร ก็ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเท่านั้น สหรัฐฯ ยังคงคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อระบอบเผด็จการทหารพม่าที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยและวางท่าเป็นผู้ปกป้องสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของชาวพม่า แต่สิ่งที่วอชิงตันคัดค้านจริงๆ ไม่ใช่การละเมิดสิทธิประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน แต่เป็นเพราะไม่พอใจต่อความสัมพันธ์แนบแน่นระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับจีนต่างหาก เนื่องจากจีนเป็นคู่แข่งรายใหญ่ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้

การผลักดันรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ไม่ได้มาตามระบบการเลือกตั้งขึ้นสู่อำนาจ เป็นชนวนให้เกิดการประท้วงของมวลชนที่นำโดยแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ที่สนับสนุนทักษิณ ขบวนการเสื้อแดงนี้มีแนวโน้มที่จะขยายกลายเป็นขบวนการสังคมที่กว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้เพราะกลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักธุรกิจรายย่อยและแรงงานในเมืองเริ่มส่งเสียงแสดงความไม่พอใจจากปัญหาของตนเองเช่นกัน นายกอภิสิทธิ์ตอบโต้ด้วยการกดขี่ปราบปราม จนลงเอยด้วยการที่กองทัพเข้าสลายการชุมนุมอย่างนองเลือดในวันที่
19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งกองทหารติดอาวุธหนักยิงใส่ผู้ประท้วง มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 91 คนจากการปะทะในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 เช่นเดียวกับการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 ที่สหรัฐยังคงไม่ได้กล่าวประณามการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์หรือกองทัพไทยแม้แต่น้อย


อดีตนายกอานันท์ยืนยันว่าอาการและอารมณ์ของลุงสมชายยังแย่อยู่ สาเหตุหลักก็เพราะทักษิณ เนื่องจากลุงสมชายวิตกกังวลและไม่สบายใจเรื่องทักษิณมาตลอด และการกระทำที่ท้าทายของทักษิณกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

พล.อ.อ.สิทธิ เล่าว่านายกอภิสิทธิ์ได้มาอวยพรวันเกิดอายุ 90 ของตน และบอกว่าเมื่อไทยไม่ได้เป็นประธานอาเชี่ยนแล้ว ตนก็ไม่จำเป็นต้องไปเกรงใจที่จะสงบปากสงบคำโต้ตอบนายกฮุนเซนอีกต่อไป แต่สิทธิแสดงความเป็นห่วงเพราะนอกจากกัมพูชาและบรูไนที่ยืนข้างทักษิณเพราะความสนิทส่วนตัวอย่างชัดเจนแล้ว ทั้งลาวและเวียตนามก็คงจะหนุนหลังฮุนเซนในกรณีพิพาทกับไทยเช่นกัน




อีริคจอนทูตสหรัฐได้แจ้งข่าวแก่รัฐบาลสหรัฐโดยอ้างแหล่งข่าวทางการทูตหลังจากลุงสมชายเข้ารักษาอาการป่วยในปี 2552 ว่าลุงสมชายป่วยด้วยโรคพาร์คินสัน ความเครียดและอาการเจ็บหลังเรื้อรัง รองนายกสุเทพได้บอกทูตสหรัฐว่าลุงสมชายมีอาการทางจิต โดยสุเทพยืนยันว่าลุงสมชายมีอาการเครียดและวิตกกังวลเป็นประจำ ทั้งเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินและวาระสุดท้ายของตนที่ใกล้เข้ามา

อีริคจอนรายงานว่าลุงสมชายมีความวิตกกังวลเรื่องเสี่ยอูซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นคนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวที่คาดเดาไม่ได้ และเสี่ยอูใช้เวลากว่าสามในสี่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาในยุโรปโดยส่วนใหญ่ประทับ ณ วิลล่าที่เป็นสถานบริการสปาทางการแพทย์อยู่นอกเมืองมิวนิคของเยอรมันนีไปประมาณ 20 กิโลเมตร โดยอยู่กับภรรยาน้อยแอร์โฮสเตรสที่เสี่ยอูรักมากและสุนัขพุดเดิ้ลชื่อฟูฟู ขณะที่ประชาชนไม่ค่อยจะยอมรับรัศมีจันทร์เป็นราชินีเพราะคลิ้ปวีดีโอริมสระน้ำที่รัศมีจันทร์อยู่ในชุดเปลือยอก



ที่น่าตกใจคือท่านทูตอีริคจอนยอมรับข่าวลือที่ว่าเสี่ยอูกำลังรับการรักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วยที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ในปี 2552 อีริคได้รายงานโดยเชื่อว่าเสี่ยอูมีอาการป่วยจากโรคทางโลหิตอาจเป็นเอชไอวีคือเอดส์ หรือตับอักเสบชนิดซี หรือเป็นมะเร็งเม็ดเลือด หรือเป็นหลายโรคผสมกัน ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเลือดบ่อยๆ ส่วนป้าสมจิตก็มีบทบาททางการเมืองมากขึ้นในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของพวกพันธมิตรเสื้อเหลืองต่อต้านอดีตนายกทักษิณและสนับสนุนการรัฐประหารที่ขับไล่นายกทักษิณในปี 2549 ทำให้เสี่ยอูไม่ค่อยพอใจนักเพราะเสี่ยอูเคยได้เงินก้อนใหญ่จากนายกทักษิณโดยเฉพาะเงินจากรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่ง

......................