วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

โลกและโลกาภิวัตน์ ตอนที่ 1 Globalisation 01

อัดเสียงใหม่ แก้ไข ไม่มีเสียงซ่า 8 ก.พ.2557  :

http://youtu.be/SilhKh_Dhpk
https://www.mediafire.com/?bpl2o4z3f012vfu
http://www.4shared.com/mp3/QPkyw79Zce/World__Globalisation_part_1.html






........................................

กำเนิดและวิวัฒนาการของมนุษย์



โลกในยุคแรกเป็นกลุ่มก๊าซร้อนและหมอกเพลิง เป็นของเหลวหนืดร้อน ถูกกระหน่ำชนด้วยอุกกาบาตตลอดเวลา องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น เหล็ก และนิเกิล จมตัวลงสู่แก่นกลางของโลก ขณะที่องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุเบา ลอยตัวขึ้นสู่เปลือกนอก ก๊าซไฮโดรเจนถูกลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ทำลายให้แตกเป็นประจุ ส่วนหนึ่งรวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นไอน้ำ(H2O) เมื่อโลกเย็นลง เปลือกนอกตกผลึกเป็นของแข็ง ไอน้ำในอากาศควบแน่นเกิดฝน
ก๊าซออกซิเจนที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบน แตกตัวและรวมตัวเป็นก๊าซโอโซน (O3) ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเล็ต (Ultra Violet) ทำให้สิ่งมีชีวิตมากขึ้น และปริมาณของออกซิเจนมากขึ้นอีก ทำให้เกิดปัจจัยธาตุพื้นฐานในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต คือน้ำ (H2O) และออกซิเจน (O2)ในขณะที่กากเถ้าจากปฏิกิริยาเคมีถูกแรงดึงดูดตกตะกอนทับถมลงในน้ำวันแล้ววันเล่า นับล้านปีของวัฏจักรทางเคมีรวมทั้งวัฏจักรของน้ำทำให้ตะกอนเถ้าเคมีเพิ่มปริมาณขึ้นและเปลี่ยนสภาพเป็นแผ่นดิน ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน เมื่อปัจจัยพื้นฐาน รวมทั้งอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกลดลงอยู่ในระดับเหมาะสม สิ่งมีชีวิตจำพวกสัตว์เซลเดียวจึงถือกำเนิดขึ้นในน้ำ

ชาลส์ ดาร์วินCharles Darwin
จากนั้นก็วิวัฒนาการเป็นสัตว์หลายเซล สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์บก อวัยวะของสัตว์แต่ละยุคสมัยเกิดพัฒนาการหดหายไปหรือแปรสภาพไปให้เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิต ตามทฤษฏีวิวัฒนาการ ( Evolution THeory ) และกฎแห่งการใช้และไม่ใช้ ของชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) บิดาแห่งวงการชีววิทยา

เมื่อกว่า 60 ล้านปี ได้มีสายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งได้วิวัฒนาการกลายเป็นมนุษย์วานร (Ape) พยายามยืดตัวขึ้น และเคลื่อนไหวด้วยการใช้เท้าหลัง ในขณะที่เท้าคู่หน้าได้พัฒนาเป็นการทำหน้าที่อย่างอื่นเช่น การช่วยพยุงตัว การหยิบจับ หรือการถือวัตถุสิ่งของ

เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบัน โดยใช้ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ว่า Homo Sapiens ซึ่งแปลว่า มนุษย์จากนั้นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ได้วิวัฒนาการผ่านยุคสมัยต่างๆ เริ่มต้นจากมนุษย์ยุคหินเก่า (Stone Age) ซึ่งมีเพียงขวานหินรวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินเป็นอุปกรณ์ในการดำรงชีวิต
สภาพการดำรงชีวิตในยุคแรกจะอยู่กันเป็นกลุ่มเมื่อจำนวนสมาชิกเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามธรรมชาติหรือจากการโจมตีกวาดต้อนกลุ่มที่ด้อยกว่ามาเป็นบริวาร พัฒนาขึ้นเป็นเผ่าชนหลายๆ เผ่าชนถูกผนวกให้มีจำนวนมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่แว่นแคว้นและอาณาจักร พัฒนารูปแบบการเมืองการปกครอง เพื่อที่จะร้อยรัดให้คนจำนวนมากอยู่รวมกันด้วยความสงบสันติ แต่ความต้องการทรัพยากรที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและความกระหายอำนาจ ทำให้เกิดสงคราม อาณาจักรที่เข้มแข็งกว่าจะผนวกอารณาจักรที่อ่อนแอกว่าให้เข้าไปรวมอยู่ภายใต้การปกครอง และเกิดการสถาปนารัฐชาติหรือประเทศต่างๆ ขึ้นทั่วโลก
ลักษณะทางกายภาพของโลก
โลกเกิดจากกลุ่มก๊าซร้อนที่รวมตัวกันและกลายเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4,500 ล้านปีมาแล้ว ในช่วงแรกๆ โลกเป็นของแข็งก้อนกลมอัดกันแน่นและร้อนจัด ต่อมาจึงเย็นตัวลง เมื่อโลกเย็นตัวลงใหม่ๆ นั้น ต้องใช้เวลาปรับสภาพอยู่ประมาณ 3,000 ล้านปี จึงเริ่มมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เกิดขึ้น และใช้เวลาวิวัฒนาการอีกประมาณ 1,000 ล้านปี จึงได้มีสภาพแวดล้อมทั่วไปคล้ายคลึงกับที่ปรากฏในปัจจุบัน
ในสมัยโบราณ มนุษย์เคยเชื่อกันว่า โลกมีสัณฐานแบนคล้ายจานข้าว นักเดินเรือในสมัยนั้นจึงไม่กล้าเดินทางไปในมหาสมุทรไกลๆ เพราะกลัวว่าจะตกขอบโลก
ต่อมามีการเดินเรือรอบโลกโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลแลน (Ferdinand Magellan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าโลกมีสัณฐานกลม และในปัจจุบันมีการส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศออกไปนอกโลกในระยะไกลและถ่ายภาพโลกไว้ จากภาพถ่ายเหล่านั้นก็ปรากฏชัดว่าโลกมีสัณฐานกลมขนาดของโลกเมื่อวัดระยะทางในแนวเส้นศูนย์สูตรจะได้ความยาวประมาณ 12,756 กิโลเมตร และวัดในแนวขั้วโลกเหนือ-ใต้ยาวประมาณ 12,719 กิโลเมตร
ทำให้โลกมีลักษณะกลมแป้นเหมือนผลส้มที่ตรงกลางป่องเล็กน้อยและขั้วโลกทั้งสองมีลักษณะแบนโลก มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาโดยหมุนรอบตัวเองใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงและหมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 106,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 364 ¼ วัน
ประชากรโลกเมื่อกลางปี 2554 มีประมาณ 6,988,300,000 คน หรือราว 7,000 ล้านคน เป็นชาวจีนราว 1350 ล้านคน หรือ 19% เป็นชาวอินเดียราว 1200 ล้าคน หรือ 17% ประชากรเกือบ 90% ของโลกอาศัยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร และ 9ใน10 ใช้พื้นที่อาศัยเพียง 20% ของพื้นที่โลก

การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโลก


-
ปรากฏการณ์เอลนิญโญ (El Niño) เอล นิญโญ หรือ เอล นิโน เป็นภาษาสเปน แปลว่า เด็กชาย (Child Boy) หรือ พระกุมารเยซู (Infant Jesus) เนื่องจากปรากฏการณ์นี้มักจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมหลังเทศกาลคริสต์มาส ชาวสเปนเป็นชนชาติแรกที่สังเกตพบปรากฏการณ์นี้มาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมแถบอเมริกาใต้บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ที่กั้นระหว่างทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปอเมริกากลางและใต้ ในยามปกติบริเวณเส้นศูนย์สูตรที่มีอุณหภูมิสูงกว่า อากาศเหนือมหาสมุทรลอยขึ้น เกิดเป็นลมสินค้าตะวันออก พัดมายังเอเชียใต้ และพัดจากชายฝั่งตะวันออกอเมริกาใต้และอเมริกากลาง ไปยังชายฝั่งออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกเอาไอน้ำมายังแผ่นดินบริเวณอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือทำให้ฝนตกชุก กระแสน้ำเย็นเบื้องล่างจะไหลเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นในซีกตะวันออกและนำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมาทำให้ปลาชุกชุม ที่ชายฝั่งเปรูแต่ถ้าปีไหนเกิดปรากฏการณ์เอล นิญโญ ลมสินค้าจะอ่อนลง กระแสน้ำอุ่นไหลย้อนมาทางตะวันออก เกิดฝนตกหนักในเปรูและเอกวาดอร์ กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้น ทำให้ชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลา ฝั่งตะวันตกเกิดความแห้งแล้งและเกิดไฟไหม้ป่าในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลียตอนเหนือ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏการณ์เอล นิญโญในปี พ.ศ. 2540 ทำให้ประเทศแถบเอเชียที่ทำการเกษตรได้รับผลกระทบรุนแรง ออสเตรเลียแห้งแล้งเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ อินโดนีเซียแห้งแล้งจัดกว่า 10 เดือน เกิดไฟป่าและควันไฟร้ายแรง ประเทศเปรูเคยจับปลาได้น้อยลงมาก ความร้อนที่เกิดขึ้นกระจายสู่ชั้นบรรยากาศ ทำให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นส่วนปรากฏการณ์ลานิญญา(La Niña) มาจากภาษาสเปน แปลว่า เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คือปรากฏการณ์กลับกันกับเอล นิญโญ โดยอุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้เส้นศูนย์สูตรเกิดแปรปรวนและเย็นลงกว่าปกติ กระแสลมสินค้าตะวันออกมีกำลังแรง ทำให้อินโดนีเซีย และออสเตรเลียเกิดฝนตกหนัก
เอล นิญโญทำให้เกิดฝนตกหนักในอเมริกาใต้และเกิดความแห้งแล้งในออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกัน ลา นิญญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สึนามิ (Tsunami) มาจากภาษาญี่ปุ่น สึ แปลว่า ท่าเรือ นามิ แปลว่า คลื่น จากการที่ชาวประมงญี่ปุ่นซึ่งแล่นเรือกลับเข้าฝั่งมายังท่าเรือพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่าเรือถูกทำลายพังพินาศหมดสิ้น ระหว่างที่ลอยเรืออยู่กลางทะเลนั้นไม่ได้รู้สึกถึงความผิดปกติเลย เพราะคลื่นสึนามิมีขนาดเล็กมากเมื่ออยู่ในพื้นน้ำนอกชายฝั่ง คลื่นสึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล จากแผ่นดินใต้ทะเลเคลื่อนตัว ภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดหรือจากวัตถุนอกโลก เช่น ดาวหางหรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกสู่พื้นทะเล คลื่นจะถาโถมเข้าสู่ชายฝั่งด้วยความเร็วและรุนแรง สร้างความเสียหายแก่ชีวิตทรัพย์สินจากการที่โลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกเป็นชิ้นๆ ต่อกันอยู่และมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาจากการไหลวนของหินหลอมละลายภายในโลก ทำให้เกิดแผ่นดินไหว บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อย การเกิดแผ่นดินไหวใต้ท้องทะเลลึกจะทำให้น้ำทะเลเหนือส่วนนั้นก็ถูกดันหรือดูดเข้ามาแทนที่อย่างฉับพลัน ในปริมาณหลายล้านตัน ทำให้เกิดคลื่นสะท้อนออกไปทุกทิศ เป็นแหล่งกำเนิดของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลใกล้ขอบทวีปมีโอกาสเกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่และมีพลังทำลายสูง เพราะมีจุดที่เกิดแผ่นดินไหวและการระเบิดของภูเขาไฟบ่อย โดยเฉพาะขอบมหาสมุทรแปซิฟิกที่เรียกว่า วงแหวนไฟ (Ring of Fire) เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในทะเล จะเกิดแรงกระเพื่อมอย่างรุนแรงไปสู่น้ำทะเล เกิดคลื่น แพร่ออกไปเป็นวงทุกทิศทุกทาง ขณะที่คลื่นอยู่เหนือมหาสมุทรที่มีน้ำลึก จะมีขนาดใหญ่มาก ฐานกว้าง 100 กิโลเมตร สูงเพียง 1 เมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 700 – 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เมื่อคลื่นเข้าใกล้ชายฝั่ง สภาพท้องทะเลที่ตื้นเขินทำให้คลื่นลดความเร็วและอัดตัวจนมีฐานกว้างเพียง 2 – 3 กิโลเมตร แต่สูงถึง 10 – 30 เมตร เมื่อกระทบชายฝั่ง และมีคลื่นเป็นระลอกตามมา เข้าทำลายชายฝั่งลึกเข้าไปหลายกิโลเมตร คลื่นสึนามิเป็นคลื่นในน้ำจึงเดินทางช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวบนพื้นดิน คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง
สภาวะโลกร้อน
(Global Warming)

หรือ ภาวะเรือนกระจก
(Green House Effect)


คือ สภาวะที่อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น เกิดจากการที่โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างที่เคยเป็น แม้ว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงไม่กี่องศา แต่ก็ทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง
โลกเราจะได้รับพลังงานประมาณ 99.95 % จากดวงอาทิตย์ โลกได้เก็บพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์โดยกลไกที่เรียกว่าก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ที่ทำหน้าที่ดักและสะท้อนความร้อนที่โลกแผ่กลับออกไปในอวกาศให้กลับเข้าไปในโลกอีก หากไม่มีก๊าซกลุ่มนี้ โลกจะไม่สามารถเก็บพลังงานไว้ได้ และจะมีอุณหภูมิแปรปรวนมากในแต่ละวันก๊าซกลุ่มนี้เสมือนผ้าห่มบาง ๆ ที่คลุมโลก แต่โลกได้มีการสะสมก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ โดยเฉพาะน้ำมันที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน ทำให้โลกไม่สามารถแผ่ความร้อนออกไปได้อย่างที่เคย ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสมือนกับโลกมีผ้าห่มที่หนาขึ้นแม้ว่าอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ส่งผลกระทบเป็นทอดๆ และเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลกที่มากขึ้น ไปเพิ่มน้ำในมหาสมุทร ประกอบกับอุณหภูมิน้ำสูงขึ้น น้ำจะมีการขยายตัวร่วมด้วย ทำให้น้ำในมหาสมุทรเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้เมืองสำคัญๆที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันทีหากน้ำแข็งละลายหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6-8 เมตร ความเค็มของน้ำทะเลเจือจางลง ทำให้กระแสน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนทิศทาง ความจุความร้อนเปลี่ยน ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรง เกิดพายุหมุนมากขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น
บางภูมิภาคเกิดความแห้งแล้งอย่างไม่เคยมีมาก่อน ต้นไม้ในป่าล้มตายจากการขาดน้ำ ไม่ดูดคาร์บอนไดออกไซด์
เพื่อสังเคราะห์แสงแต่ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการย่อยสลาย ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงรวมทั้งการตัดไม้ทำลายป่า จนเกิดสภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็วและรุนแรง




ในปี พ.ศ. 2535 มีการประกาศข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ขององค์การสหประชาชาติ ประกาศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีการจัดทำพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) เป็นสนธิสัญญาให้ประเทศพัฒนาแล้วลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ภายในปีพ.ศ.2551-2555 และมีผลบังคับใช้ 90 วันหลังการลงนามของ 55 ประเทศ

สถานการณ์ด้านสังคม
และวัฒนธรรม
การรับเอาวัฒนธรรมของสังคมอื่นมาในระยะแรกอาจจะเรียกว่าเป็นการยืมวัฒนธรรม แต่เมื่อนานเข้าการยืมก็จะกลายเป็นการรับวัฒนธรรม เป็นการแพร่กระจาย เคลื่อนที่ของวัฒนธรรมขยายวงกว้างออกไปยังชุมชนอื่นหรือสังคมอื่น เกิดการปรับวัฒนธรรมให้เข้ากัน มีการละทิ้งวัฒนธรรมเดิมของตัวเองบางส่วน และเกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม และทำให้เอกลักษณ์เดิมเปลี่ยนไป ด้วยกระบวนการทางวัฒนธรรมต่อไปนี้
สังคมโลก เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต สองอภิมหาอำนาจเข้ามามีบทบาท แบ่งโลกออกเป็นสองค่ายต่อสู้กัน เกิดการแข่งขันกันสร้างอิทธิพลในดินแดนต่างๆ เกิดสงครามเย็น(Cold War)ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก มหาอำนาจแต่ละค่ายต่างแข่งขันกันผลิตอาวุธ ดินแดนที่เคยตกเป็นอาณานิคมได้ต่อสู้เรียกร้องเอกราช เกิดการสู้รบในอินโดจีนอย่างรุนแรงโดยเฉพาะในเวียดนามเมื่อสหภาพโซเวียตเปลี่ยนนโยบายการปกครองและเศรษฐกิจ ประกาศแยกเป็นรัสเซียและเครือรัฐอิสระหรือซีไอเอส (CIS) อีก 11 ประเทศโดยประธานาธิบดีบอริส เยลซิน(Boris Yeltsin) เมื่อปี 2534 (1991)ส่งผลให้ประเทศล่มสลายลง สงครามเย็นจึงยุติลง สังคมโลกยุคปัจจุบันมีความก้าวหน้าเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงเป็นการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์
โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยี จากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและการเมืองโลก ทำให้ประเทศต่างๆต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลงดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกัน สามารถติดต่อกันได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีเหมือนเป็นหมู่บ้านเดียวกัน (Global Village) กลายเป็นโลกไร้พรมแดนที่ก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนยุคสมัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก่อให้เกิดกระแสวัฒนธรรมโลกครอบงำทางด้านความคิด การมองโลก การแต่งกาย การบริโภคนิยมเข้าครอบคลุมเหนือวัฒนธรรมของประชาคมทั่วโลก เป็นสังคมโลกไร้พรมแดนกระบวนการโลกาภิวัตน์ คือ กระบวนการเศรษฐกิจโลกไร้พรมแดนที่ทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียวที่ใช้ความเหนือกว่าของทุน เทคโนโลยี การบริหารจัดการ และอิทธิพลทางการเมือง ผ่านกลไกต่าง ๆ ขององค์กรระหว่างประเทศมาบีบให้ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ของประเทศที่มีก้าวหน้ากว่า ภายใต้แนวคิดการค้าเสรี ในช่วง 20 กว่าปีแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ประมาณ พ.ศ. 2488-2512) เศรษฐกิจของประเทศทุนนิยมตะวันตกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ควบคู่ไปกับการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชนเพิ่มขึ้นจนกระทั่งต้นทศวรรษที่ 1970 (ประมาณ ปี พ.ศ. 2513 - 2518 ) ลัทธิทุนนิยมก็เริ่มประสบปัญหาใหญ่ 2 ประการ คือ ผลิตสินค้าล้นเกินกว่าความต้องการภายในประเทศ และบริษัทใหญ่หลายแห่งสะสมกำไรมหาศาลเกินขนาด จึงต้องมองหาตลาดใหม่และย้ายฐานการผลิตซึ่งมีแรงงานราคาต่ำกว่า และเป็นตลาดใหม่ที่กำลังขยายตัว สามารถรองรับสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นได้ หรือการใช้วิธีว่าจ้างบริษัทในประเทศอื่นให้ผลิตชิ้นส่วนบางอย่างของสินค้าที่สามารถผลิตได้ถูกที่สุดแล้วขนส่งข้ามประเทศมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์เต็มรูปในอีกประเทศหนึ่ง ต้องทำกำไรโดยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต หรือหันไปไปปล่อยเงินกู้เพื่อกินดอกเบี้ย และเก็งกำไรซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และเงินตรา ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 20 มีศูนย์กลางอำนาจอยู่สองทวีปที่ทรงพลังอำนาจของโลก กล่าวคือ อเมริกาเหนือและยุโรป

จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ 21 หรือปี 2000 กลับมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ 3 แห่ง คือ เอเชีย อเมริกาเหนือและยุโรป ทั้งในส่วนข่าวสารข้อมูล เทคโนโลยีและทุนซึ่งได้เคลื่อนผ่านข้ามพรมแดนด้วยความเร็วของจดหมายอีเล็คทรอนิค รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตและสนับสนุนตลาดเสรี โดยการแปรรูปกิจการของรัฐให้เป็นของเอกชน ยกเลิกระเบียบข้อบังคับ และ เปิดเสรีด้านการค้าและการเงิน เป็นมาตรการสำคัญของกระบวนการโลกาภิวัตน์ เพื่อเพิ่มอำนาจในการแข่งขันที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญและทันสมัย (Modernization) จนเกิดความขัดแย้งขึ้น จากการที่มีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ขณะที่ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้หลากหลายโดยสะดวก และรวดเร็ว

ระบบเศรษฐกิจ
สามารถจำแนกออกเป็น 4 ระบบด้วยกัน คือ
ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี
หรือทุนนิยม
(Capitalism)

โดยเอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ รัฐทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ใช้ระบบราคาหรือระบบตลาดในการตัดสินใจ กำไรคือแรงจูงใจของการผลิต จึงมีการแข่งขันสูงและเป็นไปอย่างเสรี ข้อดีคือ เกิดแรงจูงใจในการทำงาน เพราะทำแล้วรายได้เป็นของตนเอง ผู้ผลิตแต่ละรายต้องแข่งขันกันขายสินค้าและบริการให้มากที่สุด จึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอทำให้คุณภาพของงานและสินค้าดีขึ้นผู้บริโภคมีโอกาสเลือกบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ในราคาที่เป็นธรรมมากที่สุด ข้อเสียคือ การกระจายรายได้ของประชาชนไม่เท่าเทียมกัน คนที่มีทรัพย์สินมากย่อมมีโอกาสแสวงหารายได้มาก มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของบุคคลมาก หากนายทุนคำนึงถึงแต่กำไร จะส่งผลให้เกิดความระส่ำระสายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะสงคราม รัฐบาลอาจต้องหันมาแทรกแซงกิจกรรมของเอกชน อาจต้องใช้วิธีปันส่วนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม โดยรัฐเข้าไปควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังคงให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว เช่น ที่พักอาศัย ข้อดีคือประชาชนมีมีรายได้ใกล้เคียงกัน เศรษฐกิจไม่ค่อยผันแปรขึ้นลงมากนัก รัฐครอบครองปัจจัยพื้นฐานและกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด ข้อเสียคือแรงจูงใจในการทำงานต่ำ เพระกำไรตกเป็นของรัฐ คนงานจะได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็น ผู้บริโภคไม่มีโอกาสเลือกสินค้าได้มาก ประชาชนไม่มีเสรีภาพเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถหรือต้องการจะทำ ไม่ค่อยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะไม่มีการแข่งขัน สินค้าและบริการอาจไม่มีคุณภาพ
ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐเป็นเจ้าของทุนและปัจจัยการผลิตทุกชนิด รัฐเป็นผู้ตัดสินใจทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด เป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง เอกชนไม่มีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่าง เช่น การถือครองที่ดิน เลนิน (Lenin) นักปฏิวัติโซเวียต ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและนำระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาใช้กับสหภาพรัสเซียเป็นประเทศแรก
แต่ได้เลิกล้มไปแล้วในราวปี 2534 สมัยนายกอร์บาชอฟ ( Gorbachev ) ที่นำนโยบายกลาสนอสต์ ( Glasnost การเปิดกว้างทางการเมือง ) และเปเรสตรอยกา ( Perestroika การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่) มาปฎิรูปการปกครองข้อดีคือไม่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบของประชาชนในเชิงเศรษฐกิจ เกิดความเสมอภาค เพราะรัฐเป็นผู้แจกจ่ายผลผลิต โดยเท่าเทียมกัน ข้อเสียคือประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการไม่พัฒนา เพราะขาดแรงจูงใจในการผลิต ไม่มีผลกำไรที่เป็นสิ่งล่อใจ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดโดยรัฐบาล การดำเนินงานล่าช้าเพราะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย มีลักษณะคล้ายกับระบบราชการ ประเทศที่เคยเป็นแบบอย่างของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ได้แก่ สหภาพโซเวียต ซึ่งได้ล่มสลายไปแล้ว สาธารณรัฐประชาชนจีนก็ไม่ได้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จริงๆ รวมทั้งเวียตนามและสปป.ลาวก็เช่นกัน
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม โดยรวมเอาลักษณะสำคัญของทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน เรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมใหม่ ที่รัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจรัฐบาลมีบทบาทวางแผนเศรษฐกิจบางประการ และปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องนำทาง

ข้อดีคือ รายได้กำหนดจากผลงานและความสามารถ ทำให้มีแรงจูงใจในการทำงาน เอกชนยังมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน สินค้าจึงมีคุณภาพสูง ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควร มีความเท่าเทียมในรายได้และทรัพย์สินมากขึ้นข้อเสียคือ การควบคุมเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานกับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่ การบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐไม่มีประสิทธิภาพเท่าเอกชน

มาตรวัดรายรับ
และผลผลิตของประเทศ

-ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ
หรือ จีเอ็นพี

( Gross national product, GNP )
คือมูลค่าของสินค้าและบริการทั้งหมดที่คนในประเทศนั้นผลิต ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกประเทศ

-ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
หรือ จีดีพี (Gross domestic product, GDP)

คือผลผลิตและบริการรวมที่ผลิตในประเทศไม่ว่าชาติใดเป็นผู้ผลิต
ตัวเลขผลผลิตดังกล่าวเป็นเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนมาตรฐานการครองชีพและระดับความเป็นอยู่ของประชากร
สถานการณ์การผลิต การจัดการธุรกิจในปัจจุบันมาจากการร่วมมือกันระหว่างหลายบริษัทที่สนับสนุนกันและกัน มีเครือข่ายการจัดหา หรือ โซ่อุปทาน ( Supply Chain ) โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลกันตลอดทั้งเครือข่ายการจัดหา เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด ด้วยต้นทุนต่ำ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย สร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจ เช่น ญี่ปุ่นเห็นว่าจีนเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าต้นทุนต่ำ และคุณภาพยังมีปัญหา บวกกับระเบียบข้อบังคับที่ผู้ลงทุนสามารถขนเงินออกนอกประเทศในจำนวนที่จำกัดทำให้นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นไม่สะดวกและไม่อยากลงทุน ส่วนอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีปัญหาในด้านความสงบเรียบร้อย ส่วนไทยเป็นประเทศที่ญี่ปุ่นมั่นใจคุณภาพฝีมือแรงงาน และกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เอื้ออำนวย ดังนั้นประเทศญี่ปุ่น จึงมักจะมาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยโดยเฉพาะการผลิตยานยนต์ และไม่ใช่เพียงแค่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เหมือนในอดีต ปัจจุบันญี่ปุ่นให้ประเทศไทยผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์ทั้งคัน และส่งออกไปให้ประเทศคู่ค้าของญี่ปุ่นภายใต้ตรายี่ห้อของญี่ปุ่น เช่น Toyota Honda Isuzu ซึ่งญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์ด้าน GSP (สิทธิพิเศษทางการค้า) ถ้าญี่ปุ่นส่งออกเอง อาจต้องเสียภาษี 50% แต่ถ้าเป็นประเทศไทยส่งออก เสียภาษีแค่ 5 - 10% เป็นต้นการผลิตในอนาคตจะเป็นการผลิตขนาดใหญ่ปริมาณมากในลักษณะของการแบ่งงาน (Outsource) คือการแบ่งงานเป็นส่วนๆ แล้วแบ่งส่วนให้คนนอกองค์กรทำ ในกรณีที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า มีบริษัทที่เป็นศูนย์กลางรับผลิตสินค้าให้กับทุกยี่ห้อ เช่น ประเทศจีนรับผลิตยาสีฟันให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพราะมีต้นทุนต่ำ มีบริษัทที่มีแต่ตรายี่ห้อ (Brand) เพียงอย่างเดียว ไม่เป็นผู้ผลิตและไม่เป็นผู้ขาย แต่จะจ้างบริษัทอื่นผลิตและขายให้ และมีบริษัทที่ทำหน้าที่ขายและกระจายสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว (Broker) เพื่อให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพและได้รับประโยชน์สูงสุดแต่ละประเทศจึงเลือกผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพดีและต้นทุนต่ำ แล้วนำสินค้าไปขายในตลาดโลก ส่วนสินค้าและบริการที่ผลิตเองแล้วต้นทุนสูง หรือไม่สามารถผลิตได้ก็จะซื้อมาบริโภค ทำให้ชาวโลกได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาไม่แพง ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสบริโภคสินค้าใหม่ๆเพิ่มขึ้นและมีมาตรฐานดีขึ้นในราคาที่ถูกลง ประเทศที่ผลิตได้แต่ต้นทุนสูงก็จะเลือกนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศแทนการผลิตเอง ทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับประโยชน์สูงสุด เกิดการแบ่งงานกันทำตามความถนัด ตามความสามารถ ให้ต้นทุนต่ำ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันทำให้ ทำให้ความรู้และเทคนิคการผลิตกระจายไปยังประเทศต่างๆ ได้มีโอกาสพัฒนาและปรับปรุงการผลิตให้ดีขึ้น

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
หลายประเทศต้องการให้มีนโยบายการค้าเสรีทั่วโลก แต่ประเทศต่างๆ มักใช้นโยบายภาษีหรือนโยบายอื่นมากีดกันทางการค้า จึงมีบางประเทศหันมารวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วพยายามลดหรือเลิกใช้นโยบายจำกัดการค้าระหว่างประเทศภายในกลุ่ม พร้อมทั้งหาลู่ทางขยายการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น

1) องค์กรค้าโลก WTO (World Trade Organization) เป็นองค์กรการค้าระหว่างประเทศที่พัฒนามาจากความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT : General Agreement on Tariffs and Trade) เพื่อพัฒนาระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ ให้เป็นไปตามความตกลงทางการค้า และเป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 ที่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ต้องมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ และต้องปรับตัวเพื่อเข้าสู่กับการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น2) เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA: ASEAN Free Trade Area) สมาคมอาเซียนจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยมีประเทศสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งในขณะนั้น 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เกิดขึ้นจากแรงจูงใจทางการเมือง เพื่อยุติข้อบาดหมางทางด้านพรมแดนระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ให้ความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ในปีพ.ศ. 2535 อาเซียนได้ลงนามความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ลดภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ทำให้การค้าภายในกลุ่มอาเซียนมีการขยายตัว
3) เอเป็ค APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาค เริ่มแรกมีสมาชิก 12 ประเทศ ต่อมาเพิ่มเป็น 21 ประเทศ

4) โอเป็ค OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries) คือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ที่สร้างอำนาจต่อรองในเรื่องของราคาและเงื่อนไขการขายน้ำมัน มี 13 ประเทศคือ อิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ ลิเบีย สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาบอง ไนจีเรีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และอินโดนีเซีย

5) ไอเอ็มเอฟ IMF (International Monetary Fund) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1944(2487) พร้อมกับธนาคารโลก โดยธนาคารโลกจะจัดหาทุนระยะยาว อัตราดอกเบี้ยต่ำให้ประเทศที่ประสบปัญหาจากภัยสงคราม ส่วน IMF จะช่วยส่งเสริมเสถียรภาพในด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิก

6) เอฟทีเอ FTA (Free Trade Agreement) FTA คือ การรวมกลุ่มเศรษฐกิจเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศภาคีทำได้เสรี ปราศจากข้อกีดกันการค้า

การเมืองระหว่างประเทศ
(International Politics)

องค์กรการก่อการร้ายหลักๆ ที่เป็นที่รู้จัก มีดังนี้
- พีแอลโอ PLO ( Palestinian Liberation Organization ) กลุ่ม PLO องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป็นขบวนการกู้ชาติเพื่อปลดปล่อยดินแดนปาเลสไตน์ จากการยึดครองของประเทศอิสราเอล ประกอบด้วยกลุ่มองค์กรเล็กๆ หลายกลุ่ม รวมถึงกลุ่ม Al-Fatah มีผู้นำคือนายยัสเซอร์ อาราฟัต Yasser Arafat ที่ถึงแก่กรรมไปเมื่อปี พ.ศ.2547- ฮิสบัลเลาะห์ Hizballah (Islamic Jihad) ก่อตั้งขึ้นหลังจากที่กองทัพอิสราเอลเข้ายึดครองเลบานอนในปี พ.ศ. 2525 ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน มีเป้าหมายเป็นกองกำลังต่อต้านเพื่อปลดปล่อยดินแดนที่ถูกอิสราเอลยึดครอง และจัดตั้งสาธารณรัฐอิสลามในประเทศเลบานอน ผลักดันกลุ่มชนที่มิใช่อิสลามออกไปจากพื้นที่ เป็นกองกำลังนิกายชีอะห์ของเลบานอนที่ต่อต้านกลุ่มประเทศตะวันตกและประเทศอิสราเอล- ฮามาส Hamas
(Islamic Resistance Movement)
เป็นกลุ่มการเมืองหนึ่งใน PLO ของมุสลิมนิกานสุนี่(Sunni)มีเป้าหมายจัดตั้งรัฐอิสลามของชาวปาเลสไตน์ขึ้นในพื้นที่ของประเทศอิสราเอล ส่วนใหญ่เป็นกองกำลังติดอาวุธที่นิยมใช้ความรุนแรง ถนัดในการใช้ระเบิดและการลอบสังหาร
-อัลไกด้า Al Queda เป็นเครือข่ายก่อการร้ายนานาชาติ ก่อตั้งโดยนายโอซามา บิน ลาเดน (Osama bin laden) เพื่อกวาดล้างอิทธิพลตะวันตกออกจากประเทศมุสลิม เชื่อว่าเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการโจมตีอาคาร World Trade Center และอาคาร Pentagon เมื่อ 11 กันยายน ค.ศ.2001/2544 ต่อมาประธานาธิบดีโอบามายืนยันว่าสหรัฐได้ส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษสังหารบิลลาเดนเสียชีวิตแล้วในปากีสถาน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 

โดยการจี้เครื่องบินโดยสารแล้วบังคับบินพุ่งชนจนเป็นเหตุให้อาคาร World Trade Center พังถล่ม มีผู้เสียชีวิต 3,056 คน ทำให้สหรัฐฯ ประกาศสงครามกับการก่อการร้ายโดยพุ่งเป้าไปที่นายบินลาเดน ผู้นำของเครือข่ายอัลเคด้า และผู้นำกลุ่มตาลิบันในประเทศอัฟกานิสถานที่ให้แหล่งพักพิงแก่ขบวนการก่อการร้าย สหรัฐล้มเหลวในการบีบบังคับกลุ่มตาลิบันให้ส่งตัวนายบินลาเดน จึงเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่ออัฟกานิสถาน

ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์





สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เมื่อปี พ.ศ.2488 และครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2535 รวมทั้งสิ้น 1,030 ครั้ง แบบใต้ดิน 815 ครั้ง
สหรัฐอเมริกายังเป็นประเทศเดียวในโลก ที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการทำสงคราม ทิ้งระเบิดปรมาณูลงบนเกาะฮิโรชิม่า (Hiroshima) และนางาซากิ (Nagasaki) เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 สังหารคนราว 140,000 คนและต่อมาเสียชีวิตตามไปอีก 70,000 คน และญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้สงครามรัสเซียเป็นประเทศที่ 2 ที่ทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เมื่อปี พ.ศ.2492 และครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2533 ทั้งหมด 715 ครั้ง แบบใต้ดิน 496 ครั้ง
ประเทศที่ 3 ที่ทดลองนิวเคลียร์ คืออังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2495 ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2534 ทั้งหมด 45 ครั้ง แบบใต้ดิน 24 ครั้ง
ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่ 4 ที่ทดลองนิวเคลียร์ เมื่อปี พ.ศ.2503 ครั้งล่าสุดเกิดเมื่อปี พ.ศ.2539 ทั้งหมด 210 ครั้ง แบบใต้ดิน 160 ครั้ง ประเทศจีน เป็นประเทศที่ 5 ที่มีการทดลองนิวเคลียร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 ครั้งหลังสุดเมื่อปี พ.ศ.2539 ทั้งหมด 43 ครั้ง แบบใต้ดิน 22 ครั้ง ประเทศที่ 6 ที่ทดลองนิวเคลียร์ คืออินเดียในปี พ.ศ.2517 ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.2541 รวม 7 ครั้ง ประเทศที่ 7 คือปากีสถาน เมื่อปี พ.ศ.2541 ทั้งหมด 6 ครั้ง เพื่อตอบโต้อินเดียสหรัฐฯ กับโซเวียตมหาอำนาจนิวเคลียร์ทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงในการเจรจาลดอาวุธยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Limitation talks: SALT) จนกระทั่งโซเวียตได้ล่มสลายกลายเป็น รัสเซียและประเทศเล็กๆ อีกกว่า 14 ประเทศ

เกาหลีเหนือเป็นประเทศที่ 8 ที่มีการทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อปี 2536 เมื่อไม่ยอมให้คณะผู้ตรวจการของสำนักงานปรมาณูสากล (ไอเออีเอ) เข้าตรวจสอบโรงงาน 2 แห่งที่ต้องสงสัยว่ามีกากนิวเคลียร์ แล้วก็ประกาศถอนตัวออกจากสนธิสัญญาห้ามแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้คาบสมุทรเกาหลีเกิดตึงเครียดเรื่อยมา ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2549 รัฐบาลเปียงยางของเกาหลีเหนือ เดินหน้าทดลองยิงขีปนาวุธอย่างน้อย 6 ลูก เป็นที่ตื่นตระหนกของนานาชาติ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ทำให้หลายประเทศต่างออกมาข่มขู่ ประกาศจะใช้มาตรการเด็ดขาดกับเกาหลีเหนือ ฐานที่ไม่ยอมฟังเสียงของชาวโลก คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ลงมติเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2549 คว่ำบาตรทางการเงินและอาวุธต่อเกาหลีเหนือนิวเคลียร์ในอิหร่าน
คณะผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล (IAEA) แห่งสหประชาชาติ เข้าไปตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน พบว่าสามารถผลิตวัตถุดิบทำระเบิดปรมาณูได้ทำให้สหรัฐอเมริกาเชื่อว่าอิหร่านลักลอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย จึงบีบสหประชาชาติใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน ในเดือนเมษายน พ.ศ.2549 อิหร่านออกมาเปิดเผยว่าการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมในโรงงานเมืองนาทานซ์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้สหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส เสนอคณะมนตรีความมั่นคงเรียกร้องอิหร่านยุติการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม
แต่รัฐสภาอิหร่านโต้กลับว่าจะถอนตัวจากสนธิสัญญาแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ (NPT) จนเกิดข่าวลือว่า สหรัฐจะใช้มาตรการทางทหารจัดการกับอิหร่าน แต่อิหร่านขู่ว่าจะตอบโต้ผู้รุกรานอย่างสาสม ในที่สุด คณะมนตรีความมั่นคงก็มีมติให้คว่ำบาตรอิหร่าน ที่เดินหน้าโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของตนต่อไป จึงมีแนวโน้มว่าสหรัฐอาจใช้กำลังโจมตีอิหร่าน และอาจกลายเป็นสงครามขนาดใหญ่ขึ้นได้

สถานการณ์สงครามในอิรัก
หลังการโค่นล้มซัดดัม
สหรัฐอเมริกาทำสงครามบุกประเทศอิรักเพื่อโค่นอำนาจประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็น ( Saddam Hussein ) โดย ประธานาธิบดี จอร์จ บุช อ้างเหตุผลว่าอิรักมีอาวุธทำลายร้ายแรงและให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะ (Al-Qaeda) ของบินลาเด็น

แต่หลังจากสหรัฐได้โค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัมและยึดครองอิรักเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปี กลับไม่พบหลักฐานตามที่กล่าวอ้าง คณะกรรมาธิการข่าวกรองของวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา ได้ข้อสรุปและเปิดเผยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2547 ว่า สหรัฐอเมริกาได้รุกรานอิรักโดยอาศัยข้อมูลข่าวกรองที่ล้าสมัย ไม่ถูกต้อง และเป็นข้อมูลที่ไม่ชอบธรรมที่ประธานาธิบดีบุชใช้อ้างในการทำสงคราม พบว่า สำนักข่าวกรองกลาง (CIA) ไม่สามารถหาหลักฐานมาแสดงว่าซัดดัมกับอัลกออิดะเป็นพันธมิตรกันฮันส์ บลิกซ์ (Hans Blix) อดีตหัวหน้าผู้ตรวจสอบอาวุธในอิรักของสหประชาชาติ (UNMOVIC) ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์รายวันของประเทศสเปนเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2546 ว่า ผู้นำของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้วางแผนที่จะรุกรานอิรักไว้ล่วงหน้ามาเป็นเวลานานแล้ว และไม่สนใจว่าคณะตรวจสอบอาวุธจะพบอาวุธทำลายร้ายแรงในอิรักหรือไม่ และไม่ต้องการให้มีการตรวจสอบค้นหาอาวุธต่อไป ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2547 ชาวอเมริกาส่วนใหญ่ มีความเห็นว่าการทำสงครามของสหรัฐในอิรักเป็นสิ่งที่ผิดพลาด และมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่รู้สึกปลอดภัยขึ้นหลังจากการโค่นซัดดัมแล้ว ชาวอิรักจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบซัดดัม แต่ก็เกลียดการรุกรานของสหรัฐอเมริกา โดยร้อยละ 92 ของชาวอิรักเห็นว่ากองกำลังที่นำโดยสหรัฐในอิรักเป็นผู้ยึดครอง การทำสงครามของสหรัฐ ทำให้ชาวอิรักที่เป็นพลเรือนต้องเสียชีวิตไปมากกว่า 13,000 คน ทหารอเมริกันเองก็เสียชีวิตร่วม 1,000 คน

สงครามครูเส็ด
(The Crusades)
หลังจากพระเยซูสิ้นพระชนม์ประมาณปี ค.ศ. 440-461 พระสันตะปาปาเลโอที่ 1(Pope Saint Leo the Great) ได้สร้างศูนย์รวมอำนาจของศาสนจักรที่นครวาติกัน ทรงออกสมณโองการการปฏิบัติตนของศาสนิกชนที่ดี โดยถือเป็นกฎหมายศาสนา เรียกว่ากฎหมายศักดิ์สิทธิ์ เมื่อคริสต์ศาสนาเจริญถึงขีดสุด เข้าควบคุมฝ่ายอาณาจักรให้ทำตามความประสงค์ของตน รวมถึงการสั่งให้คนพลีชีพเพื่อศาสนาได้ มีการทำสงครามเผยแพร่ศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามศาสนา จนเกิดการแตกแยกเป็นนิกายต่าง ๆ ทำให้ฝ่ายอาณาจักรแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อศาสนจักรสงครามศาสนาครั้งใหญ่คือสงครามครูเสด (Crusades) กินเวลา 196 ปี รวม 7 ครั้ง เรียกว่า สงครามศาสนา 200 ปี มีสาเหตุจากพระสันตะปาปาผู้นำทางศาสนาและการปกครองมีบัญชาให้กษัตริย์ยุโรปยกกองทัพไปปราบพวกนอกศาสนาในปาเลสไตน์ กลายเป็นสงครามระหว่างคริสต์กับมุสลิม ทำให้ชาวคริสต์เกิดความเบื่อหน่ายและไม่เชื่อฟังคำบัญชาของพระสันตะปาปา แตกเป็นนิกายต่าง ๆ ได้แก่ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ ออร์ธอดอกซ์ เชิร์ทออฟอิงแลนด์

สิทธิมนุษยชน
( Human Rights )


หมายถึง สิทธิความเป็นมนุษย์ อันเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนโดยไม่เลือกว่าจะมีเชื้อชาติ แหล่งกำเนิด เพศ อายุ สีผิว ที่แตกต่างหรือยากดีมีจนหรือเป็นคนพิการ สิทธิมนุษยชนนั้นไม่มีพรมแดน การกระทำต่อกันอย่างหยามเกียรติและละเมิดศักดิ์ศรีของความเป็นคน ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนสากล
ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และพลเมือง (Declaration of the Rights of Man and of the Citizen) เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1789 และกฎหมายรัฐธรรมนูญของอเมริกาค.ศ.1791 พัฒนามาจากแนวคิดเรื่องสิทธิโดยธรรมชาติเป็นสิทธิทางกฎหมาย และเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของชาติในยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยยึดความเสมอภาคและการปฏิบัติต่อคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
สงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2482-2488) นำมาซึ่งการทำลายล้างชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษยชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการอ้างเหตุแห่งเชื้อชาติและศาสนา จึงได้มีบทบัญญัติระดับนานาชาติ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคน มีการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เกิดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งสหประชาชาติ ได้มีมติรับรองเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ถือเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติต่อมวลมนุษย์ที่ประเทศทั่วโลกยอมรับ มาตราแรกกล่าวถึงความเท่าเทียมกันของศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ทุกคน มาตราที่สองกล่าวถึงสิทธิของบุคคลโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใดๆ ทั้งสิ้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ ICCPR ประเทศที่ให้สัตยาบันลงนามรับรองจะต้องปฏิบัติตามเพราะมีข้อผูกพันทางกฎหมาย เมื่อกติกาทั้งสองฉบับมีผลในการบังคับใช้ในปี 2519 สนธิสัญญานี้ให้คำมั่นว่า ภาคีจะเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของบุคคล ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการรวมตัว สิทธิเลือกตัง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้โดยภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540

สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน เป็นกระแสที่แผ่ขยายไปทั่วโลก ควบคู่กับกระแสการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ รัฐบาลและสถาบันการเมืองการปกครองทั่วโลกเริ่มนำปัญหาสิทธิมนุษยชนมาเป็นวาระทางการเมือง ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับ ทำให้รัฐบาลไทยมีพันธกรณีต้องส่งเสริมและพัฒนากฎหมายและแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศรวมทั้งจัดทำรายงานเสนอต่อสหประชาชาติ การจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์กรอิสระต่างๆ เพื่อเป็นหลักประกัน แต่ประเทศไทยยังมีกฎหมายอีกมากที่ยังไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ข้อ 1 ทุกคนมีศักดิ์ศรี สิทธิ และเสรีภาพเท่าเทียมกันและต้องปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง
ข้อ 2 ทุกคนมีสิทธิ และเสรีภาพ อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิตอยู่และมีความมั่นคง
ข้อ 4. ห้ามบังคับคนเป็นทาส และห้ามค้าทาสทุกรูปแบบ
ข้อ 5 ห้ามการทรมาน หรือลงโทษทารุณโหดร้ายผิดมนุษย์
ข้อ 6 สิทธิในการได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย
ข้อ 7 สิทธิในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อ 8 สิทธิในการได้รับการเยียวยาจากศาล
ข้อ 9 ห้ามการจับกุม คุมขัง หรือเนรเทศโดยพลการ
ข้อ 10 สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย
ข้อ 11 สิทธิในการได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ก่อนศาลตัดสินและต้องมีกฎหมายกำหนดว่า การกระทำนั้นเป็นความผิด
ข้อ 12 ห้ามรบกวนความเป็นอยู่ส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน การติดต่อสื่อสารรวมทั้ง ห้ามทำลายชื่อเสียงและเกียรติยศ
ข้อ 13 เสรีภาพในการเดินทาง และเลือกถิ่นที่อยู่ในประเทศ รวมทั้งการออกนอกประเทศ หรือกลับเข้าประเทศโดยเสรี
ข้อ 14 สิทธิในการลี้ภัยไปประเทศอื่น เพื่อให้พ้นจากการถูกประหัตประหาร
ข้อ 15 สิทธิในการได้รับสัญชาติและเปลี่ยนสัญชาติ
ข้อ 16 สิทธิในการเลือกคู่ครองและสร้างครอบครัว
ข้อ 17 สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
ข้อ 18 เสรีภาพในความคิด มโนธรรม ความเชื่อ หรือการถือศาสนา
ข้อ 19 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกรวมทั้งการได้รับข้อมูลข่าวสาร
ข้อ 20 สิทธิในการชุมนุมโดยสงบและรวมกลุ่ม และห้ามบังคับเป็นสมาชิกสมาคม
ข้อ 21 สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในรัฐบาลทั้งทางตรงและโดยผ่านผู้แทนอย่างอิสระและมีสิทธิ เข้าถึงบริการสาธารณะโดยเท่าเทียมกัน
ข้อ 22 สิทธิในการได้รับความมั่นคงทางสังคม และได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดยการกำหนดระเบียบ และทัพยากรของประเทศตนเอง
ข้อ 23 สิทธิในการมีงานทำตามที่ต้องการ และได้รับการประกันการว่างงาน รวมทั้งได้รับ ค่าตอบแทนเท่ากัน สำหรับงานอย่างเดียวกัน และรายได้ต้องเพียงพอแก่การดำรงชีพ สำหรับตนและครอบครัว ตลอดจนสิทธิก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน
ข้อ 24 สิทธิในการพักผ่อน และมีเวลาพักจากการทำงาน
ข้อ 25 สิทธิในการได้รับมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอและได้รับปัจจัยสี่ ตลอดจนต้องคุ้มครองแม่และเด็กเป็นพิเศษ
ข้อ 26 สิทธิในการได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
ข้อ 27 สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมและวิถีของชุมชน และได้รับการคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อ 28 สังคมต้องมีระเบียบทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้บุคคลได้รับสิทธิ และเสรีภาพตามปฏิญญานี้
ข้อ 29 บุคคลย่อมมีหน้าที่ต่อชุมชน การใช้สิทธิเสรีภาพจะต้องเคารพในสิทธิและเสรีภาพ ของผู้อื่น
ข้อ 30 ห้ามมิให้รัฐ กลุ่มชน หรือบุคคล กระทำการทำลายสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรอง ในปฏิญญานี้

เทคโนโลยี่และการเปลี่ยนแปลง

เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ เป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันแทบทุกประเทศล้วนต้องการสร้างความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ด้วยการสร้างองค์ความรู้และความได้เปรียบทางเทคโนโลยีใหม่ๆ แทนความได้เปรียบในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีสามารถสร้างความเจริญมั่งคั่งได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในสังคมธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ ยุคอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนสู่ยุคข่าวสารข้อมูล ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีราคาถูกและมีประสิทธิภาพดีกว่า ใช้ง่ายและพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เกิดสภาพการทำงานได้ทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบอินเตอร์เนต หรือ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์การค้าบนเครือข่ายอิเลคโทรนิค (E- commerce ) ขยายไปทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายที่แนบแน่นขึ้น มีการบังคับบัญชาเป็นแบบแนวราบมากขึ้น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทั่วโลกทำได้สะดวกมากขึ้น

สังคมออนไลน์
หรือสังคมอินเตอร์เนท

การอัพโหลด (Upload)

หรือบรรจุข้อมูล สมัยก่อนสังคมออนไลน์ส่วนมากคือการดาวน์โหลดคือถ่ายข้อมูลหรือบริโภคข้อมูลข่าวสารเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคได้เปลี่ยนเป็นผู้ผลิตข้อมูลข่าวสารและบรรจุสู่ระบบเครือข่าย ผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น- เว็บบล็อก (Web Blog) เปรียบเสมือนหนังสือพิมพ์หรือวารสารส่วนตัวที่ผลิตได้เองในเว็บไซต์ เพื่อให้คนทั่วโลกได้เยี่ยมชมและแสดงความคิดเห็น อาจใช้เพียงเครื่องเล่น MP3 ในการบันทึกเสียงหรือใช้กล้องดิจิตอลที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือในการบันทึกภาพ ในปี 2550 มีประมาณ 24 ล้านบล็อกและเพิ่มขึ้นวันละกว่า 70,000 บล็อก และเพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ ห้าเดือน - คลิปวีดิโอออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ยูทูป youtube.com ให้คนทั่วไปได้นำคลิปวีดีโอสั้นๆ อัพโหลดหรือบรรจุไว้ในเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้ชม ผู้เข้าชมกว่า 100 ล้านครั้งต่อวัน ในปี 2550 มีผู้นำวิดีโอขึ้นเว็บกว่า 65,000 เรื่องต่อเดือน สมาชิกเพิ่มขึ้นเดือนละ 20 ล้านคน - สารานุกรมเสรีออนไลน์ เช่น วิกิพีเดีย (wikipedia.org) ที่ร่วมกันสร้างและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอโดยผู้อ่าน โดยเปิดให้นำไปใช้ได้โดยเสรี ในปี 2550 มีทั้งหมด 250 ภาษา มีบทความมากกว่า 6,000,000 บทความ และมีบทความภาษาไทยกว่า 22,000 บทความ
ปัญญาประดิษฐ์
( Artificial Intelligence AI ) คือเครื่องจักรที่สามารถทำงานได้เหมือนคน เช่น หุ่นยนต์ (Robot) เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ในชีวิตประจำวัน เช่น ดีพบลูทู ( Deep Blue II ) ของบริษัท IBM ที่สามารถเอาชนะแชมป์โลกหมากรุกเมื่อปี 2540
จีพีเอส GPS ระบบระบุพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System) คือเครื่องมือที่ทำงานโดยการรับสัญญาณจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง เพื่อระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก มีการนำ GPS ไปใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) ซึ่งสามารถมองเห็นรายละเอียดของพื้นโลกได้ชัดเจน โดยภาพถ่ายดาวเทียมเหล่านี้สามารถสืบค้นได้ฟรีผ่านทางอินเตอร์เน็ตทาง Google Earth ที่แสดงภูมิประเทศรายละเอียดของพื้นที่ต่างๆทั่วโลกอย่างชัดเจน

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
หรือจีไอเอส ( Geographic Information System, GIS ) คือ การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ จัดการและวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่นความสูงต่ำของพื้นที่ ภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประโยชน์ในงานวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อเสียจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นการแพร่ระบาดของเว็บไซต์ลามก เว็บไซต์การพนัน ยาเสพติดและของผิดกฎหมายหรือละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งตรวจสอบอย่างทั่วถึงได้ยาก
เว็บแคม (webcam) เป็นกล้องที่ส่งสัญญาณภาพผ่านทางคอมพิวเตอร์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยที่แต่ละฝ่ายสามารถเห็นภาพกันและกันขณะพูดคุย แต่มีการใช้ในการชมและถ่ายทอดกิจกรรมลามก อาชญากรคอมพิวเตอร์ เช่น แฮกเกอร์ (Hacker) ที่พยายามแอบลักลอบเข้าสู่ระบบ เพื่อล้วงความลับหรือแอบดูข้อมูลข่าวสาร ลักลอบใช้ข้อมูลบัตรเครดิต ลบรายชื่อผู้ใช้งานในระบบ ทำลายข้อมูลข่าวสารหรือทำความเสียหายให้กับองค์กร การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปสร้างความเสียหายหรือรบกวนต่อระบบคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีชีวภาพ
( Bio Technology )
ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ทั้งการขยายและปรับปรุงพันธุ์ ในทางการแพทย์และการเกษตร เช่น การคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ที่ต้านทานโรคศัตรูพืช เพื่อลดการใช้สารเคมี ปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ที่ทนทานต่อภาวะแห้งแล้ง หรืออุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไปเพื่อเพิ่มผลผลิต การค้นคิดอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เช่นอาหารไขมันต่ำ อาหารที่คงความสดได้นานกว่า โดยไม่ต้องใส่สารเคมี การคิดตัวยาหยุดยั้งเนื้อเยื่อมะเร็งแทนการใช้สารเคมีทำลาย การคิดค้นวัคซีนป้องกันไวรัสตับ ผลงานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพที่โดดเด่น คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน เพื่อขยายพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืช โรคพืช การพัฒนาผลไม้ให้สุกงอมช้า การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ การผลิตปุ๋ยชีวภาพจากสารอินทรีย์ การใช้จุลินทรีย์ในการกำจัดขยะหรือน้ำเน่าเสีย การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิตแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบโรคทางพันธุกรรม

การโคลนนิ่ง(Cloning)
และการตัดต่อยีน

ยีน ( Gene ) เป็นตัวสั่งการสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดว่าจะมีรูปร่าง หน้าตาอย่างไร จะสร้างหรือผลิตอะไรออกมา โดยมีดีเอ็นเอ DNA ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียงตัวกันเป็นลำดับเหมือนตัวอักษรที่เรียงกันเป็นข้อความกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม ที่สามารถถ่ายทอดต่อไปยังลูกหลานได้ มีโครงสร้างเป็นสายคู่ พันกันเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียนที่แต่ละขั้นเป็นตัวอักษรแต่ละตัว กลไกของเซลล์จะอ่านรหัสในดีเอ็นเอแล้วแปลออกมาเป็นการผลิตโปรตีนต่างๆ เป็นโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่ต่างๆ ของเซลล์ มีหน้าที่โดยเฉพาะทำให้เราสามารถตัดยีนแต่ละยีนออกมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง แล้วนำไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ให้สามารถทำงานได้ เรียกว่า พืชหรือสัตว์ข้ามพันธุ์
การโคลนนิ่ง ( Cloning ) หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ ที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติ คือ ฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน การโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นได้นานแล้วคือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไปในวงการเกษตร มีการโคลนนิ่งสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในปี พ.ศ. 2539 โดยนักวิทยาศาสตร์จากสกอต์แลนด์ โดยเอาเซลล์ต่อมน้ำนมของแกะตัวหนึ่ง ไปผสมกับไข่ของแม่แกะอีกตัวหนึ่ง แล้วใช้ไฟฟ้ากระตุ้นไข่ให้เป็นตัวอ่อนโดยมีเฉพาะดีเอ็นเอที่ได้จากเซลล์ต่อมน้ำนมจากแกะตัวแรกเท่านั้น จึงเป็นโคลนของแกะตัวแรก เปรียบได้กับการทำสำเนาหรือกอปปี้ ตัวอ่อนนี้ถูกนำไปฝากไว้ในครรภ์ของแม่แกะอีกตัวหนึ่ง จนคลอดลูกออกมาชื่อว่าดอลลี่ จากนั้นได้พัฒนาเทคนิคการโคลนนิ่งรวมทั้งการโคลนสัตว์อื่นๆ เช่น วัว หนู แมว สุนัข ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจขบวนการทำงานของยีน และการจำแนกชนิดของเซลล์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการแพทย์ เช่น การกระตุ้นเซลล์สมองหรือเซลล์ไต ให้แบ่งตัวทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และพืชหายาก และใกล้สูญพันธุ์ ให้ขยายจำนวนได้เร็วกว่าการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ คู่สมรสที่ไม่มีบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสได้บุตรมากขึ้น การปลูกถ่ายอวัยวะทำให้ได้อวัยวะที่เข้ากันได้ ช่วยลดความเสี่ยงจีเอมโอ ( GMO ) การตัดต่อยีน การดัดแปลงพันธุกรรมมาจาก Genetically Modified Organisms คือ สิ่งมีชีวิตที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาใหม่โดยการตัดต่อยีนส์ จากสิ่งมีชีวิตอื่น เข้าไปในสิ่งมีชีวิตนั้นๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงยีนส์โดยการฉายแสงรังสี เพื่อเลือกลักษณะพันธุกรรมที่ต้องการ เพื่อพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร อุตสาหกรรม อาหาร ยารักษาโรค และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสามารถปรับปรุงพันธุ์พืชให้ต้านทานแมลงและโรค ให้มีคุณภาพผลผลิตตามต้องการ เช่น สุกงอมช้าลง ให้ผลิตสารพิเศษ เช่น มีวิตามินมากขึ้น มีกลิ่นหอมมากขึ้น ตัวอย่าง เช่น มะเขือเทศสุกงอมช้าและไม่นิ่ม เก็บไว้ได้นาน ไม่เน่าเสียเร็ว ฟักทองต้านไวรัส ถั่วเหลืองต้านวัชพืช
มันฝรั่งต้านแมลง ฝ้ายที่ทนยาฆ่าวัชพืช ข้าวที่มีวิตามินเอ เมล็ดทานตะวันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เป็นต้น



การพัฒนาพันธุ์สัตว์ ให้โตเร็วและมีขนาดใหญ่กว่าปกติ กินอาหารลดลง และขับถ่ายของเสียลดลง ทนทานโรคและแมลง ตัวอย่าง เช่น ลูกหมูโตเร็วกว่าปกติ ถึงร้อยละ 40 และมีขนาดใหญ่กว่าหมูปกติ ในขณะที่กินอาหารลดลง 25% หมูเหล่านี้ขับถ่ายของเสียลดลงมาก



วัวที่ทนโรคและแมลง
ไข่ไก่ที่มีโคเลสเตอรอลน้อยลง ปลาทูน่าโตเร็วและต้านทานโรค ปลาแซลมอนที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ผลิตสินค้าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ในปีพ.ศ. 2536 เริ่มมีผลิตภัณฑ์ GMOs ออกมาจำหน่ายในในเชิงพาณิชย์

สินค้า GMOที่ได้รับอนุญาตจากคณะบริหารอาหารและยาของสหรัฐ Food and Drug Administration (FDA) ให้วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในปี 2550 ราว 40 รายการ โดยเฉพาะของบริษัทมอนซานโต้(Monsanto) ของสหรัฐ บริษัทยักษ์ใหญ่ ผู้นำด้านเทคโลโลยี่ชีวภาพ
ภายใต้เครื่องหมายการค้าเรานด์อัพ(Roundup) เช่น ถั่วเหลือง Roundup ready ฝ้ายบีที ข้าวโพดบีที และมันฝรั่งบีที โดยถือว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยมีการเพาะปลูกพืช GMOs เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดย ในปีพ.ศ. 2541 เพิ่มเป็น 173.75 ล้านไร่ โดยแบ่งเป็นสหรัฐ 128.13 ล้านไร่ อาร์เจนตินา 26.99 ล้านไร่ ออสเตรเลีย 17.5 ล้านไร่ และยังมีเม็กซิโก สเปน ผรั่งเศส จีน อินเดีย และแอฟริกาใต้โดยมีพืช GMOs ประมาณ 40-50 ชนิดเช่นถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย คาโนลา มันฝรั่ง มะเขือเทศ เป็นต้น
แต่ เนื่องจากยังไม่มีความแน่ชัดว่าสิ่งมีชีวิตตัดต่อยีนนี้จะไม่เกิดอันตรายต่อ ผู้บริโภคและส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม หรือความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้หลายประเทศพยายามหามาตรการควบคุมความเสี่ยงจากพืชจีเอ็มโอโดยจัดทำพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ(Cartagena Protocol on Biosafety) ที่เมืองคาร์ทาเกน่า ประเทศสเปน เริ่มมีผลใช้บังคับในปี 2546 ให้สินค้าส่งออกจีเอ็มโอต้องแจ้งข้อมูลความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างละเอียดต่อผู้นำเข้า ซึ่งผู้นำเข้าต้องมีมาตรการในการตรวจสอบด้วย
สำหรับประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์หรือพันธุ์พืชจีเอ็มโอเพื่อเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัยเฉพาะในโรงเรือนหรือแปลงทดลองเท่านั้นมิให้ดำเนินการในไร่นาของเกษตรกร สิทธิบัตรยีน สิทธิบัตร เป็นรูปแบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพราะบริษัทเอกชนที่ทำงานด้านเทคโนโลยี่ชีวภาพอ้างว่าต้องลงทุนหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ ในการค้นหาลำดับยีนเพื่อนำไปสู่การผลิตตัวยาใหม่ๆ แต่หากมีการจดสิทธิบัตรยีน โดยเฉพาะผลิตจากพืช GMOs สังคมเกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ที่ได้จากพืช GMOs ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้ เกษตรกรต้องเอาเมล็ดพันธุ์มาจากเจ้าของลิขสิทธิ์ คือต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ด้วย ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่ไม่มีการยอมรับพืช GMOs ก็จะถูกกดดันจากประเทศมหาอำนาจ จึงจำต้องสั่งซื้อพันธุ์พืช GMOs ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เทคโนโลยีทุกปี ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังอาจมีการจดลิขสิทธิ์พืช GMOs ที่ตนได้ทำการค้นคว้าแม้ว่าเป็นพืชที่เป็นสายพันธุ์ธรรมชาติที่ไม่ใช่ของประเทศตน เช่น ยางพารา อ้อยโครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ (The Human Genome Project) เกิดขึ้นในปี 2533 เป็นความร่วมมือวิจัยระหว่างรัฐบาลสหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่นและจีน นำโดยสถาบันวิจัยรหัสพันธุกรรมมนุษย์แห่งชาติของสหรัฐ ในการศึกษาเพื่อถอดรหัสการจัดเรียงตัวของ DNA หรือพันธุกรรมของมนุษย์ในเดือนเมษายน พ.ศ.2546 ทำให้ทราบว่าในมนุษย์มีหน่วยพันธุกรรม 3 พันล้านตัว ช่วยให้เข้าใจการทำงานของร่างกายอย่างลึกซึ้ง ทำให้ทราบถึงกลไกทั้งทางกายภาพและพฤติกรรม รวมทั้งการเจ็บไข้ได้ป่วยและความผิดปกติทางพันธุกรรมตั้งแต่ก่อนการปฏิสนธิ เช่น รู้ว่าเด็กคนใดเกิดมาแล้วจะมีพฤติกรรมอย่างไร จะเป็นคนเก่งกาจแค่ไหน รวมทั้งจะเป็นโรคอะไร และจะมีอายุมากน้อยเพียงใดจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ที่มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์หรือความผิดปกติของยีนได้ล่วงหน้า เช่น โรคโลหิตเป็นพิษ โรคอัลไซเมอร์ โรคแก่เกินวัย เป็นต้น ซึ่งเป็นผลดีในการป้องกัน แต่อาจส่งผลต่อจิตใจผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีหญิงบางคนทราบล่วงหน้าว่าลูกในท้องที่จะเกิดออกมาจะมีพฤติกรรมเลวร้าย จะมีชีวิตอยู่ได้ไม่กี่ขวบ เป็นต้น แผนที่พันธุกรรมทำให้แพทย์สามารถนำข้อมูลพันธุกรรมไปใช้ทดสอบทางพันธุกรรมแก่คนไข้  เพื่อหาทางป้องกันหรือรักษาได้ล่วงหน้า สามารถทำนายความรุนแรงของโรคจากลายพิมพ์ทางพันธุกรรม ช่วยให้มีการพัฒนาวิธีการรักษาในระดับโมเลกุล เช่น ควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงยีนที่ทำหน้าที่บกพร่องด้วยการทำยีนใหม่เข้าไปทดแทน โดยมีการค้นพบยีนใหม่ๆ ของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา เช่น ยีนที่ควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกันโรค ยีนควบคุมความอ้วน ยีนควบคุมการชัก ยีนที่เป็นสาเหตุของโรคพาร์คินสัน และแม้แต่ยีนที่ส่งผลให้เซลล์จบชีวิตของตนเอง เป็นที่คาดหวังว่าในอนาคตข้างหน้าจะเป็นยุคใหม่ของการแพทย์ที่เข้าถึงกลไกการดำรงชีวิตของมนุษย์ การชราภาพ และการเกิดโรคต่างๆ จนสามารถคิดค้นยาและวิธีการที่จะทำให้ชีวิตยืนยาว แข็งแรง และคุณภาพชีวิตดีขึ้น


การโคลนนิ่งมนุษย์

แบ่งเป็นการโคลนนิ่งเพื่อการบำบัดรักษา เช่น เซลล์สมองเพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์หรือโรคพาร์คินสัน การนำเซลล์สร้างเนื้อเยื่อใส่เพื่อสร้างเนื้อเยื่อทดแทนในผู้ป่วยมีบาดแผลพุพองจากไฟไหม้ เป็นต้น การโคลนนิ่งเพื่อการสืบพันธุ์ เช่น คู่สมรสที่มีบุตรยาก ความต้องการมีบุตรของกลุ่มรักร่วมเพศ หรือเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดปกติทางพันธุกรรม
การโคลนนิ่งมนุษย์มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ ความเสี่ยงในการโคลนนิ่ง เช่น เซลล์ที่นำมาโคลนอาจตายหรือได้มนุษย์ที่ผิดปกติ หรือหากนำเซลล์จากมนุษย์ที่มีอายุ 40 ปีมาโคลน มนุษย์ดังกล่าวจะมีอายุจริงเท่าไร ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสี่ยงเหล่านี้
มนุษย์ที่เกิดจากการโคลนนิ่งจะมีฐานะทางกฎหมายอย่างไร การโคลนนิ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับจากทางศาสนา อาจมีวัตถุประสงค์แอบแฝง เช่น อาจมีต้องการที่โคลนนิ่งจอมเผด็จการบางคนขึ้นมาเพื่อปกครองประเทศต่อไป หรืออาจโคลนนิ่งมนุษย์ขึ้นมาเพื่อเป็นทหารในการสู้รบ เป็นต้น แม้ในปัจจุบันจะยังไม่ยอมให้โคลนมนุษย์ได้ทั้งคน แต่ถ้าเป็นอวัยวะต่างๆ อาทิ ไต ตับ ตา ปอด หัวใจ จะยอมให้มีการโคลนหรือไม่ เนื่องจากอวัยวะเหล่านี้เป็นที่ต้องการของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเปลี่ยนอวัยวะ ในปัจจุบันมีผู้บริจาคอวัยวะน้อย แต่ผู้รอรับบริจาคอวัยวะมีมาก

นาโนเทคโนโลยี
(Nanotechnolody)

คำว่านาโน (Nano) แปลว่าคนแคระในภาษากรีก เป็นมาตราวัดความยาวตามมาตราเมตริก 1 นาโนเมตร มีขนาด 1 ในพันล้านส่วนของ 1 เมตร (คือ 10 ยกกำลังลบ 9เมตร) แสดงว่ามีขนาดเล็กมาก นาโนเทคโนโลยีจึงเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ว่าด้วยการสร้างหรือสังเคราะห์สิ่งของที่มีขนาดเล็กระดับโมเลกุลและอะตอมหรือ เทคโนโลยีขนาดจิ๋วขนาด 1-100 นาโนเมตร เป็นการผสมผสานของวิทยาศาสตร์หลายแขนง ที่จะสร้างและจัดเรียงอนุภาคต่างๆ เพื่อสร้างสสารหรือโครงสร้างของสารในแบบใหม่ๆที่ให้คุณสมบัติพิเศษที่อาจจะไม่เคยมีก่อนทั้งด้านฟิสิกส์ เคมีหรือชีวะเครื่องมือที่ใช้จึงต้องมีความสามารถในการมองเห็นอะตอมได้ เป็นครั้งแรก ในปี 2524 เครื่องมือนี้ยังสามารถนำมาใช้เคลื่อนย้ายและจัดเรียงอะตอม(atom manipulation mode) โดยใช้หัวเข็มหยิบหยิบอะตอมและเคลื่อนย้ายไปยังจุดที่ต้องการ ปี 2528 ได้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลคาร์บอนทรงกลมเหมือนลูกฟุตบอล มีสรรพคุณเป็นยาต้านไวรัส แบคทีเรีย มะเร็ง เนื้องอก การตายของเซลล์ และต้านอนุมูลอิสระ ทั้งยังเป็นส่วนประกอบหลักในการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ในปี 2539 นักเคมีญี่ปุ่น ได้ค้นพบท่อนาโนคาร์บอน (carbon nanotube) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ 50,000 เท่า แต่มีคุณสมบัติที่แข็งแรงและเหนียวกว่าเหล็กกล้า 100 เท่า สามารถนำไฟฟ้า ใช้เป็นสายไฟจิ๋วในเครื่องใช้ไฟฟ้าจิ๋ว (nanoelectronics) ใช้ทอเป็นเส้นใยที่มีความละเอียดสูง และทนทานกว่าไทเทเนียม นาโนเทคโนโลยี กำลังกลายมาเป็นโครงการศึกษาและวิจัยในระดับชาติของหลายประเทศ สหรัฐได้ให้การสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีมาหลายปีแล้ว ไต้หวัน มีการจัดตั้งศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยี่ในปี 2545 ญี่ปุ่น จีน และประเทศในทวีปยุโรปก็มีความตื่นตัวมาก สหภาพยุโรปได้ทุ่มเงินกว่า 13,000 ล้านยูโรในการวิจัยและพัฒนานาโนเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นาโนในอนาคต เช่น คอมพิวเตอร์นาโน จักรกลนาโน ในอนาคตจะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ เช่น การผลิตเป็นชิพความจำที่ใช้โมเลกุลของสสารเป็นทรานซิสเตอร์แทนซิลิกอน นาโนเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมทั้งการวิจัยพัฒนาคอมพิวเตอร์ชีวภาพ(Biological Computer)ที่สามารถถอดระหัสดีเอ็นเอเช่น การสร้างหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว เท่าเม็ดเลือดแดง ( Nanobot ) ซึ่งสามารถเข้าไปรักษาโรค ซ่อมแซมผนังเซลล์ ทำลายไขมันที่อุดตันในเส้นเลือดหรือมะเร็งเนื้อร้ายในจุดที่เราต้องการได้ โดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด หรือการใช้เซลล์ประดิษฐ์ขนาดจิ๋วเรียกว่านาโนดีคอย ไว้ดักจับไวรัส พวกเอดส์ ตับอักเสบ หรือ ไข้หวัดใหญ่ แทนกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมทั้งการผลิตแก้วหูเทียม ผิวหนังเทียมสามารถทำขึ้นทดแทนได้อย่างง่ายดาย
นาโนวัสดุศาสตร์ เช่น ท่อนาโน (Nanotube) ที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ นำไฟฟ้าได้ดีกว่าทองแดง เบากว่าพลาสติก แข็งแรงกว่าเหล็ก แข็งกว่าเพชร และบางกว่าเส้นผม สามารถกำหนดรูปร่างได้ตามต้องการรวมถึงวัสดุฉลาด ( Intelligent / Smart Materials ) ที่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงและตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าเหมือนพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต สามารถทำหน้าที่ได้ตามเป้าหมาย เช่นซ่อมแซมตัวเองได้ ฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้เอง เชื้อเพลิงจรวดที่เผาผลาญอย่างรวดเร็ว เครื่องตรวจจับอาวุธชีวภาพเสื้อผ้าไร้รอยยับและป้องกันรอยเปื้อน ครีมที่แทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ลึกยิ่งขึ้น แว่นกันแดดที่ลดการสะท้อนแสง ป้องกันรอยขีดข่วน สีทาผนังที่ป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต เป็นต้น ซึ่งในอนาคตนาโนเทคโนโลยีจะทำได้ดีขึ้น ใช้วัสดุน้อยลง ใช้พลังงานน้อยลง
ผลทางด้านลบของนาโนเทคโนโลยี อาจเกิดขึ้นได้ ถ้ามีการใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อการทำลายล้าง เช่น การสร้างเครื่องยนต์ขนาดจิ๋วเพื่อการสังหารหรือทำลายล้างศัตรู ซึ่งสามารถซุกซ่อนไปได้ ถ้าทำมาจากท่อนาโนคาร์บอนก็ไม่สามารถใช้เครื่องตรวจสอบโลหะตรวจจับได้ประเทศที่พัฒนาแล้วมักครอบครองเทคโนโลยีที่สูงกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ประเทศที่ไม่สามารถมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองต่างก็มีความจำเป็นต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ ต้องนำทรัพยากรที่ตนมีอยู่แลกกับการนำเข้าเทคโนโลยีที่ทันสมัย กลายเป็นเพียงประเทศที่เป็นฐานการผลิต เพราะมีปัจจัยการผลิตราคาถูก ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน แรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อมไม่เข้มงวด และตกอยู่ในสภาวะด้อยพัฒนาต่อไป จึงจำเป็นต้องปรับตัวในเรื่องการสร้างองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีด้วยตนเอง ต้องมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ ทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนจากการพึ่งพาต่างประเทศมาเป็นการพึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี

โลกาภิวัตน์ทำให้
โลกไร้พรมแดน

คือ เป็นโลกของการไหลเวียนของสินค้า การเงินและการบริการ เป็นยุคการค้าเสรี ที่เกิดขึ้นทุกที่ทั่วโลกทั้งในแง่มุมทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นผลมาจากนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี พบว่าประเทศกำลังพัฒนา 24 ประเทศที่เข้าร่วมในเศรษฐกิจระดับโลกในรอบ 20 ปีตั้งแต่ช่วงปี1990 หรือราวพ.ศ. 2540 ได้ประสบความสำเร็จในด้านของรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก รวมไปถึงคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการศึกษาที่ดีขึ้น ได้แก่ ประเทศจีน อินเดีย ฮังการี และเม็กซิโก แต่ประเทศแถบแอฟริกา ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศสหภาพโซเวียตเก่า และประเทศอื่นๆที่ไม่มีศักยภาพพอ ยังมีมาตรฐานคงที่หรือลดลงกว่าเดิมแม้ว่ากระแสโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่น่าพอใจและส่งผลดีต่อประชาชนและสังคมโดยทั่วไป แต่บางคนเห็นว่าโลกาภิวัตน์เปรียบเสมือนพลังผลักดันไปสู่ความหรูหราฟุ้งเฟ้อและโดยที่ยังไม่พร้อม ส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วต้องเจอปัญหาการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากประเทศที่กำลังพัฒนา ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาก็กลัวว่าจะไม่สามารถสู้ประเทศที่พัฒนาแล้วและยิ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศตนอ่อนแอมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสากล และมีปัญหาความไม่แน่นอนในระบบเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นที่มีการนำมาลงทุนในประเทศ ซึ่งอาจทำให้สถาบันการเงินในประเทศไม่สามารถต้านรับเงินทุนก้อนใหญ่ที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจกระแสโลกาภิวัตน์ได้ทำให้กระบวนการต่างๆของโลกง่ายขึ้น และราคาถูกลง แต่ละประเทศได้รับประโยชน์ไม่เท่ากัน บางประเทศจะสูญเสียผลประโยชน์เพราะยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าได้ รัฐบาลในประเทศที่มีการพัฒนาน้อยควรปกป้องผลประโยชน์ให้กลุ่มที่เสียเปรียบ เช่น กลุ่มแรงงานไร้ฝีมือที่ได้ค่าแรงต่ำ หรือควรเข้มงวดกับสินค้านำเข้า หรือการค้าขายและนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนระยะสั้น โดยต้องมีนโยบายสอดคล้องกับยุคโลกาภิวัตน์ และระบบเศรษฐกิจเสรี ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเน้นฝึกฝนวิชาชีพ การศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม ให้แรงงานได้พัฒนาให้เหมาะสมกับกระแสการเปลี่ยนแปลง มีการวางระบบสวัสดิการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานในกรณีที่ไม่มีงานทำทิศทางเศรษฐกิจระดับโลกคือการทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจและการเงินมั่นคงขึ้น มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่สำคัญคือการที่นักลงทุนระยะสั้น มีการเก็งกำไรมากเกินไปในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นแต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มถดถอยต่างก็พากันถอนเงินทุนออกไปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ โลกมีทั้งการแข่งขัน และความร่วมมือ มีความร่วมมือจับกันเป็นกลุ่ม เป็นพันธมิตรกัน เพื่อร่วมแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกันด้วยภูมิปัญญา ต่างจากเดิมที่แข่งกันเพียงด้านกำลังเงิน และกำลังคนเท่านั้น เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และทุกประเทศต่างมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จึงต้องเสริมสร้างปัจจัยของการพัฒนาคือ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และกลไกระดับชาติ ให้มีกลไกรองรับกระแสโลกาภิวัตน์และนโยบายในประเทศที่มีความเข้มแข็งเพียงพอ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นคือการมีส่วนร่วมของประชาชนในทิศทางที่พึงปรารถนา โดยยึดหลักการการพึ่งตนเอง และการสร้างความเข้มแข็งซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อเนื่องและมั่นคง

ความหมายของโลกาภิวัตน์

โลกาภิวัตน์ ( Globalization )  คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ในทุกๆด้าน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกหลายต่อหลายครั้งตั้งแต่ครั้งโบราณกาล เหมือนกับคลื่นสามลูก ได้แก่คลื่นลูกที่ 1 คือ การปฏิวัติเกษตรกรรม เกิดขึ้นราว 8,000 - 12,000 ปี ก่อน เป็นยุคสมัยที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงจากความป่าเถื่อน ซึ่งยังชีพด้วยการเก็บผลไม้ ล่าสัตว์ ตกปลา มาเป็นความมีอารยธรรม คือเริ่มรู้จักการทำการเกษตร การขุด พรวนดิน เพาะปลูก นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเป็น อาหารและใช้งาน มีการค้าขายกันทำให้สังคมมนุษย์เจริญขึ้นมามาก แต่ก็ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำลาย เช่น การแผ้วถางป่าเพื่อขยายพื้นที่การเกษตร การทำไร่เลื่อนลอย


คลื่นลูกที่ 2 คือการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดขึ้นเมื่อราว 200 – 300 ปีก่อน (ค.ศ. 1650 – 1750 หรือราวพ.ศ. 2200-2300) เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการนำพลังงานจากน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติมาใช้และเกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตวัตถุดิบและสินค้าจากการ เกษตรมาเป็นการผลิตโดยใช้เครื่องจักรกลที่ผลิตด้วยพลังไอน้ำขนาดใหญ่และ กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมคลื่นลูกที่ 3 คือ การปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดขึ้นราว ค.ศ. 1955 หรือในราวพ.ศ. 2500 เป็นต้นมา เป็นยุคที่มีการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทร คมนาคม เกิดการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร อย่างรวดเร็วโลกา ภิวัตน์ คือ สาเหตุที่มีผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ หมายถึง การแผ่ถึงกันทั่วโลก ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง การดำเนินชีวิตประจำวันได้ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปตามมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกโลกาภิวัตน์มีผลกระทบในทั้งทางบวกและลบ ทางลบมักจะเห็นได้จากการแพร่ขยายของโรคและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทางด้าน การค้า ยาเสพติด อาชญากรข้ามชาติ การก่อการร้ายสากล และการอพยพย้ายถิ่นที่ผิดกฎหมาย ทางบวกจะเป็นการแลกเปลี่ยนแบ่งปันเทคโนโลยี ความรู้ เงินลงทุน ทรัพยากร และคุณค่าทางจริยธรรม (ค่านิยม) 

สิ่งที่เห็นได้ชัดในยุคโลกาภิวัตน์ คือ การไหลหมุนเวียนของเงินลงทุน การค้า วัฒนธรรมตะวันตกฯลฯ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจอย่างรอบด้าน ในสภาพของความเป็นมาและที่กำลังจะเป็นไปของโลกในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์กายภาพ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง กฎหมาย และเทคโนโลยี เพื่อสามารถรับมือกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ในอนาคตได้อย่างเท่าทัน

จากโลกกลม
มาสู่โลกที่แบนราบ



ในช่วงศตวรรษที่ 2540 ได้เกิดการปฏิวัติเทคโนโลยี่สารสนเทศขนานใหญ่ที่ทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้โลกที่มีพื้นที่เท่าเดิมกลายเป็นโลกที่แคบลงไปถนัดตากลายเป็นสนามแข่งขันเต็มรูปแบบในทุกพื้นที่ทั่วโลก ทุนโลกาภิวัตน์สามารถยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนทั่วไปและกลายเป็นสังคมแห่งฐานความรู้ที่คนทั่วทุกมุมโลกสามารถแบ่งปันความรู้และร่วมงานกันด้วยความเร็วสูงและสดวกสบายราคาประหยัดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มีการแบ่งงานกระจายงานออกไปในประเทศต่างๆเป็นการกระตุ้นการย้ายฐานการผลิตและแยกกิจกรรมของบริษัทออกไปยังต่างประเทศและสามารถเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศและทำงานเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างใดๆอีกต่อไป ทั้งเรื่องระยะทาง เวลาและภาษา
หลายประเทศได้ชั่งตรองระหว่างข้อดีและข้อเสียของบรรษัทข้ามชาติและนำมาเป็นบันไดของการก้าวกระโดดทั้งด้านการนำเข้าทุนและการส่งออกทุน ที่เห็นชัดคือประเทศจีนที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนแต่มิได้ปฏิเสธเรื่องทุนโลกาภิวัตน์ จากประสบการณ์การแลกเปลี่ยนทำให้จีนมีความสามารถในการเรียนรู้ความทางเศรษฐกิจและพัฒนาบรรษัทข้ามชาติเชื้อสายจีนขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ มีทั้งยุทธศาสตร์การเชิญทุนต่างชาติเข้าประเทศอย่างมีข้อแม้น้อยที่สุด แล้วเร่งพัฒนาตนเองเพื่อก้าวออกไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งตรงข้ามกับประเทศไทยที่มีการก่อกระแสต้านโลกาภิวัตน์ แม้กระทั่งโครงการวางท่อส่งก๊าซ ต้านทุนและบรรษัทข้ามชาติ นอกจากกีดกันไม่เชิญเข้ามาแล้วยังมีแนวคิดทำลายทุนเชื้อสายไทยด้วยกันเองบรรษัทข้ามชาติในยุคอาณานิคมเก่าเน้นการขูดรีดหากำไรให้มากที่สุดและมีการใช้กำลังติดอาวุธในบางครั้ง แต่บรรษัทข้ามชาติในยุคโลกาภิวัตน์มีการเชื่อมโยงและแบ่งงานควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศที่กว้างขวางด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าและด้วยปัจจัยที่เอื้ออำนวยกว่า

เช่น กรณีสหรัฐพยายามกีดกันญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นต้องไปลงทุนในประเทศต่างๆเพื่อแสวงหาโควต้าส่งออกไปสหรัฐ โดยที่บรรษัทข้ามชาติไม่สามารถขูดรีดหาผลกำไรสูงสุดได้เหมือนแต่ก่อน เพราะการไปลงทุนในประเทศอื่นย่อมต้องมีข้อตกลงและต้องเคารพกฎหมายของประเทศนั้นๆและยังมีการตรวจสอบทางสาธารณะอีกมากมาย รัฐบาลจีนจึงไม่ได้เกรงกลัวบรรดาบรรษัทต่างชาติทั้งหลาย
ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยที่เกิดแนวต่อต้านอย่างกว้างขวาง ซึ่งสะท้อนว่าคนไทยค้าขายไม่เป็นหรือไม่กล้าเรียนรู้ที่จะเข้าแข่งขัน กลายเป็นพวกที่ปิดตนเอง ไม่ยอมเรียนรู้โลก ทั้งๆที่โลกาภิวัตน์กำลังจัดโลกให้เข้าสู่ระนาบเดียวกัน ให้มีกฎกติกาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายต่างๆอีกมากมายเพิ่อปรับตนเองให้เป็นสากลตามแบบอารยประเทศ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญคือการสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ของกลุ่มอำนาจเก่า ทั้งกลุ่มทุนอนุรักษ์เก่า กลุ่มนักกฏหมายและขุนนางข้าราชการเก่า ซึ่งคนพวกนี้ไม่ยินยอมและไม่ยอมรับระเบียบกติกาสากล จึงทำให้ประเทศไทยต้องจมอยู่กับความอ่อนด้อยทางเทคโนโลยี่ และมีความล้าหลังมากลงไปทุกทีโลกาภิวัตน์ได้ทำให้โลกเข้าสู่ระนาบที่แบนราบมากขึ้นทุกที ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆได้ด้วยตนเองโดยตรง ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อตั๋วเครื่องบินและสั่งพิมพ์บัตรโดยสารได้ด้วยตนเองที่บ้านโดยไม่ต้องอาศัยพนักงานบริษัทจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน การพัฒนาเทคโนโลยี่ที่สำคัญคือการเปลี่ยนจากระบบสัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนที่ต่อเนื่องที่เรียกว่าระบบอนาล้อก(Analog)หรือเชิงอุปมานในสมัยที่เราใช้ม้วนเทปวีดีโอหรือนาฬิกาแบบเข็มสมัยเก่าโดยมีการนำมาแปลงเป็นระบบดิจิตอล(Digital)คือแปลงเป็นสัญญาณตัวเลขซึ่งสะดวกต่อการจัดเก็บดัดแปลงเชื่อมต่อให้เป็นระบบหรือเครือข่ายเดียวกันทั่วโลก ทำให้เราสามารถจัดเก็บและส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากทั้งเอกสารรวมทั้งภาพและเสียงไว้ในหน่วยความจำที่มีขนาดเล็กมากๆประเทศในยุโรปก็มีการรวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรปเพื่อการต่อรองและสร้างสมดุลในหลายๆด้าน มีความพยายามสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี่ของตนเอง สร้างเงินสกุลยูโรเพื่อให้ปลอดพ้นจากการครอบงำของมหาอำนาจสมัยใหม่คือสหรัฐอเมริกา โดยมีการแข่งขันทั้งเรื่องทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี่กันมาตลอดประเทศญี่ปุ่นก็เป็นชาติที่มีศักยภาพสูงในการเรียนรู้เทคโนโลยี่จากตะวันตกอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นสูงมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองโดยพวกราชวงศ์และขุนนางโชกุนได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการเรียนรู้เทคโนโลยี่แม้ต่อมาจะกลายเป็นประเทศที่แพ้สงครามแต่ก็ใช้บทเรียนมาเป็นแรงจูงใจสร้างชาติด้วยการพยายามเรียนรู้เทคโนโลยี่อย่างจริงจังและกว้างขวางจีนไต้หวัน (Chinese Taipei) ก็เป็นประเทศที่ถูกกดดันด้วยปัจจัยแวดล้อมทางด้านการเมืองและความมั่นคง ทำให้ต้องหาทางออกเพื่อความอยู่รอดของตนเองโดยเร่งพัฒนาเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมต่อตนเองโดยมีสหรัฐคอยสนับสนุนส่วนเกาหลีใต้ต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีเชื้อสายเดียวกันคือเกาหลีเหนือที่ครอบงำด้วยความคิดสังคมนิยมทำให้เกาหลีใต้จำเป็นมียุทธศาสตร์ชาติและวิสัยทัศน์เพื่อนำพาชาติบ้านเมืองให้พัฒนาก้าวหน้าเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบสิงคโปร์พัฒนาขึ้นมาจากการเป็นเกาะเล็กๆที่ยากจนแต่อาศัยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่เปิดตัวกว้างสู่โลกภายนอกแสวงหาปัจจัยต่างๆเข้ามาเป็นเครื่องมือในการสร้างชาติ เป็นนายหน้าที่กว้างขวางในธุรกิจหลายแขนงสามารถเรียนรู้และต่อยอดเทคโนโลยี่ได้โดยง่าย กลายเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้ามั่งคั่งและมั่นคงมีกองทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลและบริษัทข้ามชาติใหญ่ๆเข้าไปลงทุน เป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบบริหารจัดการเป็นเลิศ
สิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมากในอนาคตก็คือการที่การที่ประชากรขนาดมหึมา ทั้งจีน อินเดียและรัสเซียรวมทั้งสิ้นราว 3,000 ล้านคนหรือกว่า 40%ของประชากรโลก ได้เข้าร่วมในการแข่งขันภายใต้เงื่อนไขโลกที่ถูกทำให้แบนราบให้อยู่ในระดับเดียว ถ้าประชากรเหล่านี้เพียง10% คือ 300 ล้านคนเข้าร่วมการแข่งขันอย่างจริงจังในกระบวนการโลกาภิวัตน์ ย่อมนับเป็นจำนวนที่มากกว่าแรงงานของชาวสหรัฐถึงสองเท่าสหรัฐจะมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจโลกน้อยลงขณะที่เอเซียจะมีบทบาททางเศรษฐกิจโลกมากขึ้นโดยมีเนื้อหาที่ต่างไปจากอดีต เช่น ประเทศจีนที่พยายามพึ่งตนเองและได้พัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาตร์เทคโนโลยี่ช่วงชิงโอกาสเรียนรู้แลรับการสนับสนุนจากต่างประเทศ เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าด้วยยุทธศาสตร์เปิดประเทศเพื่อเชิญเข้ามา เปิดให้ทุนต่างประเทศเข้าสู่จีน มีการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นในเมืองต่างๆเพื่อยกระดับความเจริญก้าวหน้าและความกินดีอยู่ดีของประชาชนจีนภายในเวลาไม่เกินสิบปี ทั้งๆที่ประเทศจีนเคยมีสภาพพื้นฐานที่ต่ำมาก เต็มไปด้วยความยากจนและล้าหลัง แต่ผู้นำของจีนยอมรับว่าไม่อาจปิดประเทศต่อไปอีกแล้ว จำเป็นต้องเปิดประเทศเพื่อรับความเจริญจากภายนอกเข้ามาเป็นตัวกำหนดเพื่อช่วยผลักดันให้สามารถพึ่งตนเองได้ เป็นวิธีการที่รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ ทำให้จีนประสบความสำเร็จในการเชื่อมตนเองเข้ากับระบบทุนนิยมของโลกแบบมียุทธศาสตร์และขั้นตอน มีพลังการผลิตและการพัฒนาเต็มที่และต่อเนื่องจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ใช้เงินทุนของรัฐขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศกลายเป็นระบบทุนนิยมโดยรัฐที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์โดยเริ่มพัฒนาจากความคิดเหมาเจ๋อตงมาถึงยุคของเติ้งเสี่ยวผิงที่ผลักดันให้ประเทศจีนก้าวเข้าสู่สี่ทันสมัยเป็นการตั้งต้นใช้วิทยาศาสตร์มารับใช้ภารกิจสร้างชาติอย่างแท้จริง ผ่านสู่ยุคผู้นำรุ่นที่สามเจียงเจ๋อหมินที่นำเอาระบบเศรษฐกิจการตลาดที่เปิดกว้าง มาถึงยุคหูจิ่นเทา ก็ยังดำเนินการต่อไป ถือการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติเป็นมาตรฐานวัดความถูกต้อง เรียนรู้จากความจริง ทั้งจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง เพื่อนำไปกำหนดและสร้างวิสัยทัศน์ในอนาคตประเทศอินเดียก็ได้ก้าวสู่สภาพใหม่กลายเป็นแกนนำของเอเชียใต้ จากรากฐานทางธุรกิจและการค้าที่ถูกวางไว้สมัยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษรวมทั้งมีรัฐธรรมนูญที่ชัดเจนในเรื่องระบอบประชาธิปไตยทำให้บรรดาอำนาจเก่าหรือความคิดจิตสำนึกเรื่องชนชั้นวรรณะไม่ได้ขัดขวางการพัฒนาของกลุ่มทุนในประเทศ ประกอบกับสังคมอินเดียมีจุดเด่นในเรื่องการเรียนรู้และมีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีรวมไปถึงการมีพื้นฐานอุตสาหกรรมเหล็กที่เป็นพื้นฐานสำคัญของอุตสาหกรรมอื่นๆรวมไปถึงเทคโนโลยี่ด้านนิวเคลียร์ที่ทำให้เกิดความร่วมมือใกล้ชิดกับภาคเอกชนของสหรัฐ และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ชีวภาพที่พัฒนาได้เร็ว โดยเฉพาะด้านซอฟแวร์คือชุดคำสั่งหรือโปรแกรมสั่งงานที่กลายเป็นจุดแข็งของอินเดียที่มีต่างประเทศเข้าไปลงทุนเป็นการสร้างเสถียรภาพมิใช่เป็นภัยคุกคามอย่างที่พวกนักต่อต้านโลกาภิวัตน์ชอบวิตกกังวลกัน ทั้งๆที่เมื่อก่อน อินเดียก็เคยต่อต้านการใช้คอมพิวเตอร์เพราะเขาเคยใช้ระบบอนาล้อกแบบเก่าไม่อยากเปลี่ยนระบบดิจิตอลหรือระบบตัวเลขแบบใหม่เพราะกลัวว่าคนจะตกงาน แต่ต่อมาอินเดียได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งใหม่ส่งเป็นสินค้าออกทำเงินเข้าประเทศได้มากมาย
รัสเซียซึ่งเคยเป็นมหาอำนาจเดิมก็พยายามปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยี่ให้ทันสมัย

ประเทศอิสลามอย่างมาเลย์เซียก็สามารถเชื่อมต่อและก้าวหน้าทันกระแสโลก มีระบบกฎหมายที่ทันสมัยโดยอังกฤษได้วางรากฐานไว้ ระบอบของอำนาจเก่าก็ไม่ได้ลงมาแทรกแซงการบริหารของรัฐบาล นอกจากพื้นฐานเทคโนโลยี่ที่ถ่ายทอดมาจากอังกฤษแล้วระยะต่อมายังมีพลังเงินทุนจากโลกมุสลิมเข้าสนับสนุนโดยเฉพาะจากซาอุดิอารเบีย ช่วยให้มีศักยภาพขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศไปได้มาก โดยเฉพาะแนวทางของมหาธีร์ โมฮัมหมัด(Mahathir Mohamad)ที่ได้รับการสืบทอด โดยมีนโยบายต่างประเทศที่ลึกซึ้งสามารถเชื่อมต่อโลกมุสลิมเป็นฐานและอาศัยความช่วยเหลือของสหรัฐในผลประโยชน์หลายด้านพร้อมกันไป ทำให้มาเลย์เซียเป็นประเทศที่มีอัตราการพัฒนาที่โดดเด่นในภูมิภาคอาเชี่ยนมหาธีร์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปีพ.ศ.2524 โดยเริ่มนโยบายอิสลามานุวัตร ( Islamization ) คือปรับใช้ศาสนาอิสลามให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาของสังคมมลายูซึ่งเต็มไปด้วยการทุจริตคอรัปชั่น ความเกียจคร้านและการหลงใหลวัตถุเป็นต้น รัฐบาลมาเลย์เซียได้ใช้ศาสนาอย่างจริงจังเพื่อเข้าคลี่คลายปัญหาของประเทศได้ตามต้องการเพราะมีอำนาจเบ็ดเสร็จทางการเมืองและสามารถจัดแถวของสื่อมวลชนให้เป็นเครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ศาสนาในแนวทางใหม่ที่เรียกว่าศาสนาแบบพลเมืองเพื่อเปลี่ยนจิตสำนึก พฤติกรรม วัฒนธรรม ความคิดให้รองรับการเข้าสู่โลกาภิวัตน์ตามแบบฉบับที่เป็นตัวของตัวเอง โดยนำประชาชนก้าวพ้นจากความล้าหลัง ให้ทันการแข่งขันของระบบโลก
ประเทศอิสลามที่โดดเด่นอีกประเทศหนึ่งคืออิหร่านที่โคไมนี่ ( Ayatollah Khomeini ) ได้ทำการชำระสะสางสังคมในทุกด้านโดยไม่ได้ขัดแย้งกับเทคโนโลยี่สมัยใหม่ โดยอาศัยพื้นฐานตั้งแต่สมัยที่ยังคบกับสหรัฐโดยต่อยอดองค์ความรู้จากหลายประเทศทั้งฝรั่งเศส เยอรมันและรัสเซียจนกลายเป็นประเทศอิสลามที่มีเทคโนโลยี่ในระดับหัวแถวและมีความพร้อมในเรื่องการใช้พลังงานนิวเคลียร์

แต่ละประเทศมีการปรับตัวที่แตกต่างกัน โดยประเทศแถบยุโรปที่มีพื้นฐานการพัฒนามาก่อนก็จะทำการพัฒนาเทคโนโลยี่อย่างต่อเนื่องกันไป ส่วนประเทศที่องค์ความรู้ยังไม่แน่นพอก็อาศัยการลอกแบบหรือพยายามเรียนรู้และสร้างบุคคลากรของตนเองเพื่อต่อยอด แต่ละชาติที่ขยับขับเคลื่อนตามกระแสโลกาภิวัตน์นี้ล้วนมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลไปในอนาคต มีผู้นำประเทศที่เฉียบแหลมที่เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี่ที่จะเป็นบันไดสำคัญในการสร้างรากฐานให้บ้านเมืองในด้านต่างๆ พร้อมทั้งสามารถสร้างพลังขับเคลื่อนให้คนในชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี่และกระแสโลกาภิวัตน์
เมื่อโอกาสของเอเซียได้ก้าวเข้ามาแล้ว ประเทศไทยได้เตรียมรับสถานการณ์อย่างไร ในขณะที่ระบอบการปกครองยังถูกครอบงำอยู่ด้วยกลไกอำนาจรัฐแบบโบราณที่คับแคบและล้าหลังแทนที่จะเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงและวางแผนไปดักรอรองรับอนาคตภายภาคหน้า เป็นการแข่งขันกันด้วยเรื่องของความเร็วเพื่อนำชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดและพร้อมที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าโดยเลี่ยงไม่พ้นที่จะล้างกติกาเก่าๆและต้องเร่งปรับปรุงยกเครื่องประเทศไทยครั้งใหญ่เพราะโลกาภิวัตน์เป็นของจริงที่เราจะปฏิเสธไม่ได้และหลีกหนีไม่พ้นขณะที่ประเทศต่างๆทั่วโลก กำลังพูดถึงโลกของอนาคตและเทคโนโลยี่สมัยใหม่ แต่ประเทศไทยกลับสนับสนุนระบอบความคิดที่โบราณล้าหลังและมุ่งโค่นล้มรัฐบาลที่มีแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย ต่อต้านความคิดโลกาภิวัตน์ คัดค้านเทคโนโลยี่สมัยใหม่ ซึ่งมีแต่จะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ล้มเหลวและล้าหลังลงไปเรื่อยๆ
พวกนักสังคมวิทยาและนักเศรษฐศาตร์แนวโบราณของไทยไม่เข้าใจโลกาภิวัตน์ที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่สมัยใหม่ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก พวกเขาอธิบายไม่ได้ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไร จึงหาทางออกที่ค่อนข้างจะหลงทิศผิดทาง กระทั่งเรียกร้องสิ่งยึดเหนี่ยวตามความคิดความเชื่อของตน เช่น แนวทางบุญนิยมเพื่อต่อตานกระแสโลกาภิวัตน์และสร้างชาติตามแบบของพวกเขา แล้วรื้อฟื้นเศรษฐกิจชุมชนหรือชุมชนนิยมมาแทนกระแสความก้าวหน้าเทคโนโลยี่ของโลก กลุ่มอำนาจเก่าที่มีความคิดในแนวทุนนิยมโบราณพยายามทุกวิถีทางในการเคลื่อนไหวเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์โลกาภิวัตน์ในแนวทางทุนนิยมสมัยใหม่โดยพยายามกล่าวหาโจมตีว่ารัฐบาลกำลังนำพาสังคมและชาติบ้านเมืองไปสู่ภาวะเสี่ยง เพื่อสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในสังคมไทย เปิดโอกาสให้พวกแนวคิดโบราณที่ไม่เข้าใจโลกาภิวัตน์ได้มีโอกาสเข้าปกครองบ้านเมืองเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับกระแสหลักของโลกเป็นการนำพาชาติบ้านเมืองให้กลับคืนไปสู่สภาพที่ล้าหลังยิ่งกว่ายุคสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งนี้เพราะขาดพื้นฐานความเข้าใจในเทคโนโลยี่และการเปลี่ยนแปลงพัฒนาของโลกที่ต้องอาศัยทั้งความรู้และมุมมองทั้งระบบเท่านั้นจึงจะมองเห็นภาพด้วยความเข้าใจที่ไม่สับสนและบิดเบือนห่างไกลไปจากข้อเท็จจริง โดยพยายามโจมตีว่ากระแสโลกาภิวัตน์เป็นกระแสมารที่น่ากลัวและชั่วร้าย กล่าวหาว่าทุนสมัยใหม่เป็นทุนสามานย์ที่มีแต่แต่ความเลวร้าย สร้างทัศนคติย้อนยุคที่ถอยหลัง กลายเป็นชาติที่ปฏิเสธเทคโนโลยี่ รู้แต่เพียงการสั่งซื้อนำเข้ามาเท่านั้น เป็นเพียงโลกาภิวัตน์แบบผิวเปลือกเป็นเพียงผู้บริโภคที่มีแต่สร้างความมั่งคั่งให้เฉพาะกลุ่มทุนเก่าที่เป็นนายหน้านำเข้าสินค้าเทคโนโลยี่ ทำให้ไทยกลายเป็นผู้บริโภคที่ต้องพึ่งพาต่างประเทศเรื่อยไปพวกนักต่อต้านโลกาภิวัตน์ยังมีทัศนะของการวิตกล่วงหน้าที่มองว่าเทคโนโลยี่สมัยใหม่จะทำให้คนกลายเป็นเพียงฟันเฟืองตัวเล็กๆที่ไม่มีความหมายอีกต่อไป มนุษย์ก็จะหมดคุณค่า ทั้งๆที่ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะเข้าสู่โลกาภิวัตน์ เพราะยังไม่มีปัจจัยที่พร้อมเท่าที่ควร ขณะที่ประเทศจีน อินเดีย มาเลย์เซียและเวียตนามมีปัจจัยที่ดีกว่าและมีศักยภาพที่สูงกว่าไทย แต่พวกนักต่อต้านโลกาภิวัตน์ของไทยกลับมองว่าโลกาภิวัตน์เป็นพัฒนาก้าวใหม่ของระบบขูดรีดและกระบวนการแสวงหาผลกำไรที่สมควรต้องต่อต้านกันตลอดไป ลงท้ายก็สรุปเอาว่าเพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ เราก็ควรไม่คบกับมัน ปฏิเสธไปเลย แล้วหันมาก้มหน้าก้มตาปิดประเทศ ดำเนินการพัฒนาตามแบบไทยๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาตามธรรมชาติแบบพอเพียง หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งตามสภาพที่เป็นจริงมีแต่ความว่างเปล่าและไร้แก่นสารทั้งสิ้นเพราะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย โดยเฉพาะปัญหาเรื่องความยากจนของประชาชนส่วนใหญ๋ บางครั้งก็สร้างจินตนาการว่าจะเกิดความวุ่นวายและการจราจลอย่างหนักจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่สมัยใหม่ กลายเป็นกลียุคเมื่อเกิดสงครามโลก เกิดภาวะฟองสบู่ มลภาวะทางอุตสาหกรรม ภาวะโลกร้อน ศาสนาและจริยธรรมเสื่อมทรุด หุ่นยนต์ที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ซึ่งเป็นเรื่องการจินตนาการถึงอนาคตที่ไม่มีใครรู้ เป็นเรื่องที่คิดเองและกลัวไปเองทั้งๆที่ไม่ใช่เรื่องเฉพาะหน้าและไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่อย่างไร ในเมื่อปัจจุบันประเทศไทยก็ยังไม่ได้ตั้งต้นด้วยซ้ำที่จะวางแนวทางรูปธรรมในการสร้างเทคโนโลยี่ของตนเอง แถมยังไม่รู้และไม่เข้าใจเรื่องของโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันด้วยซ้ำ แล้วจะนำความวิตกกังวลในอนาคตมาเป็นเหตุผลประกอบการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ปัจจุบันได้อย่างไรในขณะที่โลกกำลังเข้าสู่ความเป็นระนาบแบนราบที่มีการแข่งขันสูงมาก ทุกประเทศจึงต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนผู้คนจำนวนมากให้ได้มากที่สุด ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพที่พร้อมเข้าสู่สนามแข่งขัน ความสำเร็จของประเทศชาติในการปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ของโลกยังต้องอาศัยการมีผู้นำในสังคมที่มีวิสัยทัศน์ รวมถึงพลังทางสังคมที่ต้องร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศ เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงย่อมไม่มีอะไรที่สมบูรณ์พร้อมไปหมด แต่มันเป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขและพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีวันหยุดนิ่ง
ขณะที่หัวขบวนนักต่อต้านโลกาภิวัตน์ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการสายสังคมศาสตร์ มีงานประจำที่มีรายได้อย่างน้อยเดือนละหลายหมื่นบาท โดยไม่มีความจำเป็นจะต้องพัฒนาการผลิตใดๆและไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากผลิตวาทกรรมหาเรื่องโต้แย้งคัดค้านระบบทุนสมัยใหม่เท่านั้นก็พอ ถึงขนาดว่าถ้าใครเห็นด้วยกับโลกาภิวัตน์ก็แสดงว่าขายชาติ ไม่รักความเป็นไทย เป็นพวกทุนสามานย์ความขัดแย้งหลักในสังคมไทยที่ร้าวลึกในเรื่องของโครงสร้างทางอำนาจเป็นความขัดแย้งในเรื่องความคิดและการแย่งชิงอำนาจระหว่างทุนจารีตโบราณกับทุนนิยมโลกาภิวัตน์ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันให้ชัดเจน คือ -ต้องทำความเข้าใจกระแสโลกาภิวัตน์ด้วยหลักการที่มีเหตุผลและพิสูจน์จับต้องได้ ที่ไม่ขวางโลกและไม่เพ้อฝัน-ต้องอธิบายเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนว่ามีวิธีการปฏิบัติอย่างไร รวมถึงวิธีการที่จะไปเชื่อมต่อไปกับกระแสโลกาภิวัตน์โดยต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของโลกสมัยใหม่ มิใช่อ้างเอาเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นแค่เครื่องมือทำลายปฏิปักษ์ทางการเมือง-เรื่องการขยายพระราชอำนาจ เป็นเรื่องที่ต้องยืนยันให้ชัดเจนว่าขัดกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งจะนำไปสู่กระแสความขัดแย้งครั้งใหญ่ในสงคมไทยที่ยอมกันไม่ได้ โดยจะไม่มีใครมาเป็นคนกลางที่เจรจาได้อีกแล้วการฟื้นอำนาจโบราณเริ่มขึ้นจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์โดยพลโทผิน ชุณหะวัณแล้วร่างรัฐรรมนูญ 2492 ในขณะนั้นได้มีส.ส.ร่วมกันอภิปรายว่าร่างรัฐธรรมนูญ2492ไม่ใช่ประชาธิปไตยอันแท้จริง แต่มีลัทธิการปกครองแปลกประหลาดแทรกซ่อนอยู่ คือ ลัทธินิยมกษัตริย์โดยต้องการให้กษัตริย์เข้ามาพัวพันกับการเมืองมากเกินไปโดยการถวายพระราชอำนาจมากกว่าเดิม จึงเป็นรัฐธรรมนูญของกษัตริย์อย่างชัดเจนทีเดียว โดยกษัตริย์สามารถฆ่าคนได้โดยไม่มีความผิด


นายเลียง ไชยกาล สส.อุบลราชธานี ได้อภิปรายเตือนสติไว้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะนำไปสู่ยุคเข็ญและการปฏิวัตินองเลือดเพราะถวายอำนาจแก่กษัตริย์มากเกินสมควร ดังนั้นเรื่องการถวายคืนพระราชอำนาจจึงเป็นเรื่องที่ขัดต่อระบอบประชาธิปไตยและจะนำมาซึ่งปัญหายุ่งยากที่ไม่อาจแก้ไขได้โดยง่าย ในเวลานั้นได้มีการอภิปรายทางหน้าหนังสือพิมพ์อย่างเข้มข้นว่าสถานภาพและพระราชอำนาจของกษัตริย์ควรมีแค่ไหน โดยเรียกพวกที่สนับสนุนการขยายพระราชอำนาจว่าเป็นพวกกษัตริย์นิยม การเรียกร้องให้มีการขยายพระราชอำนาจขณะที่ยังมีรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักการประชาธิปไตย แต่เป็นการปกครองแบบมีพระราชอำนาจนำ หรือระบอบราชาธิปไตยที่ทำลายอำนาจอธิปไตยของปวงชนหรือไม่เชื่อในอำนาจของปวงชน และคิดว่าประชาชนไม่สมควรมีอำนาจด้วยซ้ำไปองค์กรที่จัดตั้งกันเป็นเครือข่ายต่อต้านและล้มล้างรัฐบาลทุนสมัยใหม่ กลับเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยขบวนแถวของกลุ่มทุนที่มีความสามานย์มากกว่า ทั้งพวกค้าย้าเสพติด โสเภณีข้ามชาติ หวยเถื่อน สินค้าเถื่อนตามชายแดน น้ำมันเถื่อน รวมทั้งพวกที่หากินกับการสมยอมเรื่องราคา ถึงขนาดมีข่าวว่ากลุ่มค้ายาเสพติดลงขันจ้างมือปืนฆ่าผู้นำรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายทำสงครามต่อต้านการค้ายาเสพติดประเทศไทยไม่มีเอกภาพของการชี้นำทางความคิดเหมือนประเทศอื่นๆเพราะไทยมีแนวคิดที่ทับซ้อนอยู่ในเครือข่ายอำนาจรัฐ เริ่มจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบกับการไม่สนใจสร้างกลุ่มทุนที่พัฒนาเทคโนโลยี่เป็นของตนเอง แต่กลับก่อตั้งสำนักงานกปร.หรือสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นเครื่องยืนยันว่ารัฐบาลสนับสนุนโครงการพระราชดำริของกษัตริย์โดยเข้าไปครอบงำอยู่ในคณะกรรมการพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความพยายามหยิบยกเอาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปพุ่งชนหักล้างกระแสโลกาภิวัตน์ในยุคสมัยหนึ่งโครงการพระราชดำริเป็นส่วนหนึ่งของแผนป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในชื่อของการพัฒนาเพื่อความมั่นคงเป็นสงครามเพื่อแย่งชิงมวลชนโดยมีการประสานงานกับระบบทหาร ตำรวจพลเรือนและพลังมวลชนโดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง เป็นการรื้อฟื้นบทบาทของกษัตริย์ให้เป็นสถาบันสูงสุดที่ล่วงละเมิดมิได้ เป็นการสร้างระบบอำนาจเก่าที่แฝงอยู่ในกลไกรัฐโดยมีกษัตริย์เป็นศูนย์กลางที่เป็นความคาดหวังและความชอบธรรมในระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย
ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีรัฐบาลได้จัดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของกปร.เพิ่มขึ้น 6 เท่าตัวจากงบ 300 ล้านบาทในปี 2525 เป็น 2000 ล้านบาทในปี 2544 ทั้งๆที่ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เทอะทะหาสาระไม่ค่อยได้แต่เป็นแค่การสร้างความนิยมที่เต็มไปด้วยพิธีรีตองที่ฉาบฉวยนอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เรียกว่าโพสต์โมเดิร์นคือพวกที่ปฏิเสธโลกที่ทันสมัย เป็นพวกแนวปัญญาชนที่มีแต่อุดมคติที่หวาดกลัวต่อโลกของความเจริญของยุคทุนนิยมและภัยของสงครามโลกครั้งที่สามหรือวิกฤติหายนะของโลกที่เกิดจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี่คนพวกนี้จะเน้นการเพิ่มบทบาทในภาคชุมชนและลดอำนาจรัฐส่วนกลาง และเสนอให้ประเทศไทยหันหัวเรือออกจากกระแสโลกาภิวัตน์ ยุติเรื่องทางเทคโนโลยี่และสร้างประเทศเพื่อเตรียมรับมหันตภัยที่กำลังจะมาเยือน ทั้งๆที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะมีความหายนะตามที่พวกตนหวาดกลัวจริงหรือไม่ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือเป็นกลุ่มลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีการสะสมทุนในระดับไม่ต่ำกว่า 600,000 ล้านบาทรวมทั้งสถานภาพอันยิ่งใหญ่ซึ่งจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างอุตสาหกรรมต้นน้ำและสร้างความเป็นเจ้าของทางเทคโนโลยี่ขึ้นมาเองแทนที่จะใช้ระบบผูกขาดที่หากินแบบง่ายๆโดยมีเครือข่ายอุปถัมภ์ในระบบข้าราชการเป็นฐานสำคัญ

...........................